อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

อำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี


.มะห์มูด (ปราโมทย์ศรีอุทัย 
ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 8 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีไว้ดังต่อไปนี้ 
(๑)  ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
(๒)  แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๓)  ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา ๓๕ (๑๑เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
(๔)  ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
และมาตรา 9  บัญญัติไว้ว่า  จุฬาราชมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)  ตาย
(๒)  ลาออก
(๓)  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
อธิบาย
เมื่อเราพิจารณาดูสาระสำคัญจากมาตรา 8 และมาตรา 9 จะพบว่า ...
(1).  ในมาตรา 8 (3ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า  การดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา อันหมายถึงวันถือศีลอดและวันออกอีด เป็นหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีซึ่งเป็น ผู้นำระดับสูงสุด ของมุสลิมในประเทศไทยเท่านั้น ...
หลักกฎหมายข้อนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่มีปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,  และสมัยของคอลีฟะฮ์ซึ่งเป็นผู้นำของมุสลิมหลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา .. ดังรายงานจากหะดีษที่ถูกต้องในเรื่องนี้ ... 
นั่นคือ ผู้ที่จะรับรองการเห็นดวงจันทร์  และประกาศให้ประชาชนถือศีลอดและออกอีดจะต้องเป็น ผู้นำสูงสุดของประเทศ อันได้แก่ ตัวท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเอง, หรือบรรดาคอลีฟะฮ์ซึ่งเป็นผู้นำของอาณาจักร (ประเทศอิสลามและพำนักอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง,  หรือผู้นำ (أَمِيْرٌในแต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศราชที่ได้รับการแต่งตั้งจากคอลีฟะฮ์เท่านั้น ... 
และแม้กระทั่งคำกล่าวของบรรดานักวิชาการที่ว่า  จำเป็นสำหรับประชาชนในประเทศใดๆ จะต้องถือศีลอดและออกอีดตาม  อิหม่าม (إِمَامٌของพวกเขา ...
คำว่า  อิหม่าม  ตามคำกล่าวข้างต้น ไม่ได้หมายถึงอิหม่ามประจำมัสญิด,  อิหม่าม (ประธานชมรมใดๆ ของมุสลิม,  อิหม่าม(นายกสมาคมใดๆของมุสลิม ฯลฯ อันเป็นเพียงอิหม่ามเฉพาะกลุ่ม  ดังความเข้าใจผิดๆของบุคคลบางคน ...
แต่คำว่า  อิหม่าม  ในที่นี้  จะหมายถึง  إِمَامٌ أَعْظَمُ  หรือ  ผู้นำระดับสูงสุดของมุสลิมภายในแต่ละประเทศ ดังกล่าวมาแล้ว ...
อนึ่ง สำหรับกรณีที่ท่านจุฬาราชมนตรีได้มีคำสั่งให้มุสลิมในประเทศไทยดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันตรุษอีดิ้ลอัฎหาอ์ หรือวันรายาหัจญี นั้น ... 
กรณีนี้ผมมีความเห็นว่า การออกคำสั่งดังกล่าวของท่านจุฬาราชมนตรี แม้จะถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการ   ซึ่งสมควรจะถูกยกเว้น จากมาตรา 8 (3 ดังรายละเอียดและหลักฐานที่จะได้กล่าวถึงตั้งแต่บทที่ 7 เป็นต้นไป ... 
(2).  ในมาตรา 9 ทั้ง 3 วงเล็บ  ระบุวาระสิ้นสุดของการเป็นจุฬาราชมนตรีไว้คือตาย,  หรือลาออก,  หรือทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออก  อย่างใดอย่างหนึ่ง ...
เพราะฉะนั้น  ตราบใดก็ตามที่ไม่บังเกิดมีอย่างใดอย่างหนึ่งจากทั้ง 3 ประการนั้นปรากฏขึ้น ...
ตราบนั้น จุฬาราชมนตรีก็ไม่มีวันหลุดพ้นจากตำแหน่ง แม้ว่าจะมีพฤติการณ์บางอย่างที่เรา  รับไม่ได้ เกิดขึ้นในตัวของท่าน ... 
หรือว่า .. ต่อให้มีคนจำนวนมากมายออกมาเดินขบวนขับไล่,  หรือมีการล่ารายชื่อได้ถึง 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อให้มีการถอดถอนท่านออกจากตำแหน่งก็ตาม ... 
 ปัญหาจึงมีอยู่ว่า  สมมุติถ้าปรากฏมี พฤติการณ์บางอย่าง อันเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเรา .. บังเกิดขึ้นในตัว ผู้นำ ของเรา ไม่ว่าจะเป็นจุฬาราชมนตรีท่านใดก็ตาม ...
เรามีสิทธิ์จะ  แยกตัว  ออกจากการฏออัต (طَاعَةٌ) ด้วยการไม่ปฏิบัติตามผู้นำใน “คำสั่งที่ถูกต้องของท่าน .. ได้หรือไม่ ? ...
คำตอบก็คือ  ไม่ได้อย่างเด็ดขาด! .. ตราบใดที่เรายังมีอีหม่านและเคารพเทิดทูนต่อคำสั่งของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ทว่า,  เรามีทางเลือกในกรณีนี้เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ  ...
1.  ให้ อดทน ต่อพฤติการณ์อันไม่ถูกต้องดังกล่าวของผู้นำ, หรือ
2.  ให้  กล้าพูดความจริงต่อหน้าผู้นำ  .. ในพฤติการณ์ที่ไม่ถูกต้องของท่าน ...
หลักฐานในเรื่องนี้ จะมีการนำเสนอในตอนหลัง .. อินชาอัลลอฮ์ ... 
แต่เท่าที่มีการปฏิบัติกันในบางกลุ่มของผู้ที่รังเกียจพฤติการณ์บางอย่างของ ผู้นำมุสลิมในประเทศไทย  คือจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน  พวกเขากลับปฏิบัติ  สวนทาง กับคำสั่งท่านศาสดา คือ ...
1.  ไม่ยอมอดทนต่อพฤติการณ์ที่ไม่ถูกต้องของผู้นำ ...
2.  ไม่มีความ  กล้า  พอที่จะ  ญิฮาด  ตามคำสั่งของท่านศาสดา.. ด้วย การพูดตักเตือนและพูดความจริงต่อหน้าผู้นำ ...
ที่แย่ไปกว่านั้น พวกเขายังใช้วิธีการ นินทา ..  คือ การโพนทะนาความไม่ถูกต้องของผู้นำลับหลังในที่สาธารณะอีกต่างหาก ...
อย่างนี้ถ้าเป็นสมัยอดีต ผมไม่แน่ใจว่า บุคคลเหล่านี้จะถูกเรียกว่าอะไรดี ? ...
อะฮ์ลิซ ซุนนะฮ์ (ผู้ปฏิบัติตามซุนนะฮ์)  หรือ  คอวาริจญ์ (พวกนอกคอกกันแน่ ? ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น