อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

ลางสังหรณ์



 

 
ลางสังหรณ์มีความรู้สึกว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีขึ้น ฝันดี ฝันไม่ดี ฝันถึงเหตุการณ์ใดแล้วอีกไม่นานฝันนั้นก็เกิดขึ้นจริงแล้วถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้กับพี่น้องมุสลิม เราจะควรจะทำอย่างไร

 

     หลายคนคงเคยมีอาการแปลกๆ เช่น ตาซ้ายกระตุก ตาขวาเขม่น หรือที่เราคิดว่ามันเป็นลางสังหรณ์มีความรู้สึกว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีขึ้น ฝันดี ฝันไม่ดี ฝันถึงเหตุการณ์ใดแล้วอีกไม่นานฝันนั้นก็เกิดขึ้นจริง เดจาวูที่เหมือนกับเคยเกิดเหตุการณ์หรือคำพูดแบบนี้ เราเคยพบ เคยเห็น เคยเกิดขึ้นมาก่อน เอ..แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้กับพี่น้องมุสลิม เราจะควรจะทำอย่างไร? จะเชื่อได้หรือไม่!

     ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ อาจารย์อับดุลวาเฮด หวังประโยชน์ อาจารย์สอนศาสนา ร.ร.ศาสนูปถัมภ์ และวิทยากรประจำสถานีโทรทัศน์ TMTV ถึงประเด็นดังกล่าว เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

     ลางสังหรณ์
     “เรื่องของคำว่าลางสังหรณ์ มันเป็นเหมือนความรู้สึกของคน ที่คิดว่ามันน่าจะเกิดขึ้น หรือความรู้สึกของคนที่บอกว่า มันน่าจะเป็นแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนั้น นั่นคือความรู้สึกของคนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือลางบอกเหตุ คือ ถ้ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น มันจะนำไปสู่สิ่งนี้ สิ่งนั้น จากที่กล่าวแล้วมันมีความเป็นไปได้ เพราะในเรื่องของหลักการอิสลามก็พูดถึงเรื่องนี้อยู่ แต่ก่อนจะกล่าวถึงตรงนี้ ต้องทราบก่อนว่า ชีวิตของอิสลามที่เป็นไป มันเป็นไปตามกำหนดการณ์ของอัลลอฮฺ(ซบ.) เรียกว่า “กอดฎอกอฎัร”

     กอดฎอกอฎัร
     คำว่า “กอฎอ” คือ สิ่งที่มันเกิดขึ้น “กอฎัร” ก็คือ สิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดเอาไว้ เช่น ก่อนที่โลกนี้จะเกิดขึ้น ประมาณ 50,000 ปี อัลลอฮฺ(ซบ.) ก็เป็นผู้กำหนดว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ก่อนที่จะสร้างโลกนี้ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เพราะอัลลอฮฺ(ซบ.) สร้างโลกนี้มามันก็จะเป็นไปตามกำหนดการณ์ของอัลลอฮฺ(ซบ.) ดังนั้นที่เราใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้อัลลอฮฺ(ซบ.) ก็กำหนดไว้อยู่แล้ว และมันต้องเป็นไปตามนั้น

     กำหนดการณ์เหล่านี้ มันสามารถมีการปรับเปลี่ยนได้ตามที่พระองค์บอกไว้ว่า ให้เราขอดุอาอฺ ทุกคนสามารถรับรู้ด้วยตนเองอยู่แล้ว เช่น ถ้าเราจะข้ามถนน แต่เราหลับตาข้ามก็จะต้องโดนชน ถ้าเราเลือกอย่างนี้มันก็เป็นไปตามกำหนดที่อัลลอฮฺ(ซบ.) บอกเพราะเราหลับตาข้ามถนนเราก็ถูกรถชน แต่ถ้าเกิดคุณเลือกที่จะมองขวา มองซ้าย ก่อนการข้ามถนน อย่างนี้แสดงว่าเราเชื่อมั่น หมายความว่าชีวิตเราไม่ได้มีทางเลือกเดียว นี่คือเรื่องของกอฎอกอฎัรในส่วนของทางโลก

     ในเรื่องของทางธรรม ด้านศาสนา เช่น อัลลอฮฺ(ซบ.) กำหนดไว้มุสลิมจะต้องละหมาด ถามว่าเมื่อได้เวลาละหมาด 5 เวลา ทุกคนเดินเข้าเสื่อละหมาดเลยไหมนั่นก็อยู่ที่เราตัดสินใจ สิ่งที่ศาสนากำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่เราไม่ทำแสดงว่าก็ไม่มีใครมาบังคับเราได้ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกของเรา เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจเรื่องกอฎอกอฎัร การเป็นไปตามกำหนดสภาวะนั้น อยู่ที่วิธีการเลือกตัดสินใจของเราเช่นกัน”

     ความฝัน
     “โดยพื้นฐานอิสลาม ดังที่ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวไว้ความว่า "การฝันดีมาจากพระองค์อัลลอฮฺ ส่วนการฝัน (ที่ไม่ดี) มาจากชัยฏอน" (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม) ฝันที่มากจากอัลลอฮฺ(ซบ.) หลักการอิสลามบอกไว้ว่า “ฝันดีเป็นหนึ่งในสี่สิบส่วนของความดีที่ท่านนบีได้รับ” ท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้รับความดี 40 ส่วน ขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้รับวะฮีย์ อัลลอฮฺ(ซบ.) ลงวะฮีย์มาให้นบี(ซ.ล.) พูดไปตามคำบัญชาของพระองค์ ดังที่จะเห็นได้จากหลักการที่มาจากอัลกุรอาน ซึ่งเป็นคำพูดของอัลลอฮฺ(ซบ.) ให้ท่านนบี(ซ.ล.) มาบอก หรือหะดิษที่ท่านนบี(ซ.ล.) พูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแพทย์ เรื่องสังคม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสิ่งเร้นลับที่เกิดขึ้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) พูดนั้นเป็นความดีที่ท่านนบีได้รับและนบีพูดออกไป มันเป็น 40 ส่วน และเราจะได้ 1 ใน 40 ส่วน จากความดีที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ ซึ่งได้มาจากความฝันที่เป็นฝันดี การฝันดีเป็น 1 ใน 40 ความดีที่ท่านนบีได้ พูดง่ายๆ ว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ฝันดี ได้ 40 เท่า แต่เราได้ 1 เท่า ฉะนั้นคนที่ฝันดีอยากจะได้อะไรก็ขอดุอาอฺแล้วเราก็จะได้สิ่งนั้น ส่วนอนาคตเราสามารถรู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณขยันมาตั้งแต่เด็ก ทำมาหากินเรียนรู้เรียนทุกอย่าง และคุณก็รอบคอบในการทำมาหากินคุณก็จะประสบความสำเร็จ นี่เป็นลางบอกไว้อยู่แล้วว่าอนาคตคุณจะรวย จะสบาย เพราะคุณลำบากตั้งแต่วันนี้ อันนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ส่วนฝันร้ายที่มาจากชัยตอน เช่น การฝันว่าได้ร่วมหลับนอนกับเพศตรงข้าม ฝันอย่างนี้ไม่ได้เรียกว่าฝันดี คนหนุ่มสาวอาจจะบอกว่านี่คือฝันดี ที่จริงแล้วไม่ใช่เป็นฝันที่มาจากชัยตอน”

     ฝันว่าคนตายมาหา
     “การฝันว่าคนตายจะกลับมาเป็นฝันดีหรือไม่? อันนี้เป็นฝันไม่ดี เพราะมันขัดต่อหลักการของอัลกุรอานและหะดิษ ชีวิตของคนเป็นกับคนตาย มันมีบัรซัคมากั้นอยู่ บัรซัคคือ โลกที่มันปิดกั้นอยู่ระหว่างคนเป็นกับคนตาย ไม่มีทางที่คนตายจะกลับมา แต่เมื่อหลังจากตายไปแล้ววิญญาณไปอยู่ไหน? อัลลอฮฺ(ซบ.) ก็จะเอาวิญญาณไว้ในสถานที่ที่พระองค์ทรงเตรียมไว้ให้ คนดีก็อยู่ในสวรรค์อยู่สูงสุดอยู่กับบรรดาอัมบียะห์ อยู่ในหัวใจของนกสีเขียวที่บินอยู่ในสรวงสวรรค์ และคนชั่วจะอยาในที่ต่ำๆ ไม่สามารถขึ้นไปบนสวรรค์ได้ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าคนตาย ตายไปแล้วมาเข้าฝันอยากกินข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวเหนียวถั่วดำ ไก่ย่าง เมื่อเราตื่นมาก็ทำให้เพราะคนตายมาเข้าฝันบอกว่าอยากกิน กรณีนี้ในอิสลามไม่มีบทบัญญัติให้เราปฏิบัติ ทั้งอัลกุรอาน หะดิษ และประวัติศาสตร์ เพียงแต่เรากลัวเพราะมันเป็นการชี้นำของชัยตอนให้เราฝัน ถ้าหากเป็นความฝันเช่นนี้ให้เราลองนึกย้อนไปขณะที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ปกติก็ทานอาหารเหล่านี้อยู่แล้ว มันเป็นเพียงความรู้สึกภายใต้จิตใต้สำนึกของเราเองที่วนอยู่ หากเราทำเลี้ยงเขานั่นถือว่าเป็นการทำถวายชัยตอน เพราะชัยตอนมันมาเข้าฝันเรา เป็นชิริก (การตั้งภาคี) ชัยตอนต้องการให้เราทำชิริกเพราะมันถูกสาปแช่งอยู่ในนรกที่มันทำแบบนี้เพราะมันต้องการให้เราเป็นพวกของมันมัน”




     ความเชื่อ
     “มีอยู่ความเชื่อหนึ่ง เช่น พฤหัสบดีค่ำลง หรือคืนวันศุกร์ จะมีวิญญาณกลับมา ซึ่งอันนี้ไม่มีหลักฐานปรากฎ ถ้าบอกว่าคนตายจะกลับมา ผมให้แง่คิดไว้อย่างหนึ่งกับคนที่คิดอย่างนั้น แง่คิดแรก คือ สมมติว่าถ้าภรรยาเสียชีวิต และสามียังอยู่บ้าน ต่อมาคืนวันศุกร์ วิญญาณภรรยากลับมาบ้าน เห็นสามีนอนกับเมียใหม่ เตียงเดิมที่นอนเดิมชุดเดิม ถามว่าวิญญาณจะเครียดไหม ขนาดอยู่บนดุนยายังเครียดเลย

     แง่คิดที่สอง คือ ที่ท่านนบี(ซ.ล.) บอกว่าคนชั่วที่ตายไปแล้วจะอยู่ต่ำๆ แต่คนดีจะอยู่สูง ฉะนั้นวิญญาณที่กลับมาจะเป็นคนชั่วหรือคนดีล่ะให้เราคิด ถ้าเราบอกว่าวิญญาณพ่อเรากลับมาแสดงว่าพ่อเราชั่ว เพราะนั้นถ้าคิดแบบนี้หลักการนั้นก็ไม่เกิด”

     ฉะนั้น ฝันดี ให้เราขอบคุณอัลลอฮฺ(ซบ.) ดังที่ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวไว้ความว่า "การฝันดีมาจากพระองค์อัลลอฮฺ ส่วนการฝัน (ที่ไม่ดี) มาจากชัยตอน ดังนั้นบุคคลใดที่ฝันเห็นสิ่งที่เขารังเกียจ เขาจงเป่าทางด้านซ้ายของเขา 3 ครั้ง และเขาจงขอความคุ้มครอง (ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) ให้พ้นจากชัยตอน (ซึ่งการกระทำเช่นนั้น) ชัยฏอนไม่สามารถทำอันตรายเขาได้" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษที่ 6480 และมุสลิม หะดิษที่ 4195) หะดิษข้างต้นชี้ให้รู้ว่า หากเราฝันดีนั่นมาจากอัลลอฮฺและศาสนาอนุญาตให้เราเล่าเรื่องราวความฝันให้ผู้อื่นฟังได้

     ส่วนกรณีที่เราฝันไม่ดี นั่นมาจากชัยฏอน หากตกใจตื่นขึ้นมา ศาสนาก็สั่งใช้ให้เราถ่ม หรือเป่าไปทางด้านซ้าย 3 ครั้ง แล้วกล่าวว่า “อะอูซุบิ้ลลาฮิมินัชชัยตอนิรร่อญีม” ความว่า "ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยตอนที่ถูกสาปแช่ง" เปลี่ยนอิริยาบทท่านอน และมีซุนนะห์ไม่ต้องเล่าความฝันที่ไม่ดีนั้นให้แก่ผู้อื่นฟัง ข้อแนะนำ ก่อนนอนท่านอาบน้ำละหมาด อ่านดุอาอฺ ตามด้วยกุลอะอูซุบิร็อบบิ้ลนาซ 3 ครั้ง เป่าและลูบตัวของเรา แล้วอ่านอายะห์กุรซีย์ อินชาอัลลอฮฺท่านจะได้รับความคุ้มครองจนกระทั้งเช้า”

     ลางร้ายในอิสลาม
     “ในอิสลามไม่มีลางร้าย แต่หลายคนคงเคยเกิดเหตุการณ์ “เดจาวู” เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อยู่ๆ ก็มีเหตุการณ์แวบเข้ามาว่าเหมือนเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในฝันหรือในอดีต เป็นภาพหนึ่ง หรือมิติหนึ่งของชีวิตที่หลายๆ คนเคยเกิด ผมเองก็เคยเกิดในหลายๆ ครั้ง เช่น เรารู้สึกว่า เราเคยเดินมาตรงนี้แล้ว พอเดินไปแล้วเรารรู้สึกว่ามันต้องเจอเหตุการณ์อะไรสักอย่าง เหตุการณ์อย่างนี้ก็มีอยู่ในหะดิษ เหมือนเราเคยนึกถึงอะไรแล้วเดินไป เหมือนมันจะใช่ แล้วพอไปถึงมันก็ใช่จริงๆ เหมือนลางบอกเหตุ จิตสำนึกของเรามันพาไป ฉะนั้นอยู่ที่เราตะวักกั้ลต่ออัลลอฮฺ(ซบ.) ว่าเราจะตะวักกั้ลเดินไปแล้วจะเจออะไร หรือเราจะเชื่อในสิ่งที่เร้นลับ มันเป็นจิตสำนึกที่อัลลอฺฮ(ซบ.) ให้ไว้ นี่ก็เป็นลางบอกเหตุเหมือนกันประการหนึ่ง บางทีถ้าเรารู้ว่ามันไม่ดีแล้วเราเปลี่ยนใจ แล้วเราก็ตะวักกั้ลกับอัลลอฮฺ(ซบ.) นี่คือทางออก

     อย่างไรก็ตามในหลักการอิสลามมีอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างในชีวิตเราต้องเลือกแบบนั้นทั้งหมด และให้รู้ว่าชีวิตของเราจะไปได้ดีหรือไม่ได้ดีนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) บอกว่า ให้ดูว่าเราเกิดมาเราทำอะไรง่ายสำหรับชีวิต เช่น ถึงเวลาละหมาดเราลุกขึ้นละหมาดง่าย บริจาคง่าย ช่วยเหลือคนอื่นง่าย ให้อภัยง่าย เรื่องศาสนาเราทำง่ายทั้งหมด เหมือนกับเราเกิดมาเพื่อที่จะทำสิ่งนี้ อย่างนี้แสดงว่าอนาคตเราเหมือนเราจะไปสวรรค์ เพราะเราทำงานของชาวสวรรค์ แต่ถ้าเป็นชาวนรก ถึงเวลาละหมาดยาก แต่ทำชั่วเนี่ยง่าย ทะเลาะกันก็ง่าย ทำลายสิ่งของง่าย อะไรที่เป็นความชั่วเราทำง่าย แสดงว่าเราถูกสร้างมาเพื่อสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องฝืนฝึกปฏิบัติตัวเอง”

     ฝากถึงพี่น้องมุสลิม
     “คำว่า โชคลางของมุสลิม หรือดวงของเรา เราเอาไปผูกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ ชีวิตของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลข เช่น วันที่ 12 เดือน 12 ปี 2012 บางคนคิดว่าเลขสวยแล้วจะดี หลายคนใช้วันนี้เป็นวันแต่งงาน จดทะเบียสมรส สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ตัวเลข เราฝากดวงของเราจะดีหรือไม่ดีเราผูกไว้กับอัลลอฮฺ(ซบ.) ทุกวันดีหมดเพราะเป็นวันเวลาของอัลลอฮฺ(ซบ.) เพราะฉะนั้นโชคของเราที่อัลลอฮฺ(ซบ.) กำหนดให้ที่เป็นเรื่องดีเราก็ต้องขอบคุณ ถ้าเป็นเรื่องไม่ดีเราก็ต้องอดทนและผ่านอุปสรรคตรงนั้น นำแนวทางอิสลามมาแก้ไข เราจะทุกข์ ป่วย หรืออะไรก็ตาม ทั้งหมดจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่เรายึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามแค่ไหน ชีวิตจะตกอับหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นขึ้นอยู่กับการโคจรของดวงดาว แต่อยู่ที่อัลลอฮฺ(ซบ.) ทดสอบเราและเราจะผ่านหรือไม่? ยิ่งเราอยู่ในภาวะวิกฤตเราต้องยึดอิสลาม จะบ่นหรือคิดว่าเราอีหม่านเยอะแต่ทำไมต้องถูกทดสอบนั้นไม่ได้ เมื่อเราย่ำแย่ยากจนทำไมทดสอบมาก ก็เพราะอัลลอฮฺ(ซบ.) รัก เพราะเรามีความดีมาก เราอีหม่านมากอัลลอฮฺ(ซบ.) ทดสอบหนัก ก็ฝากให้ทุกคนรู้ว่าชีวิตของคนเราทุกวันนี้ต้องอดทนอย่างเดียว” อ.อับดุลวาเฮด กล่าวทิ้งท้าย

................................................................................
http://www.thaimuslim.com/view.php?c=6&id=21928

กับดักแห่ง...ดุนยา



ได้อ่านบทความจากหนังสือเล่มหนึ่ง...จึงอยากแบ่งปัน

สารจากคนจมน้ำ...บทความเตือนใจตัวเองและแด่พี่น้องร่วมศรัทธา...

เราต่างก็รับรู้ว่าดุนยานั้นถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์..และในดุนยานั้น
มันมีความเพริศแพร้ว..ยั่วยวน..พร้อมทั้งเชิญชวนให้เรานั้นได้ลุ่มหลง
กับมัน เมื่อใครตอบรับคำเชิญชวนของดุนยา มันก็จะเข้ามาห้อมล้อม
ตัวเขาเหล่านั้นโดยไม่รีรอ เขาจะสนุกสนาน เพลิดเพลิน ลุ่มหลงในมัน
จนไม่สามารถหลีกหนี หรือหลุดพ้นไปจากมันได้ ในที่สุดเขาก็ต้องตก
เป็นทาสของดุนยา จะเพราะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

เราอาจจะบอกแก่ตัวเองว่าเพราะภาระหน้าที่ ทางโลกที่เราต้องรับผิดชอบ
ความจำเป็นบังคับ เราต้องทำงาน เราต้องอยู่ร่วมกันในสังคม เราต้องหาเงิน
เพื่อยังชีพ ต้องเลี้ยงดูครอบครัว และอีกหลายร้อยสาเหตุที่ทำให้เราไม่มีเวลา
ให้กับตัวเอง ในการประกอบอิบาดะฮฺเพื่อพระองค์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา
ต้องตกอยู่ในกระแสธารอันเชี่ยวกรากของดุนยา กว่าจะรู้สึกตัวเราก็กลายเป็น
ทาสของมันจนถอนตัวไม่ขึ้น

เราทำแต่งาน จนวันๆผ่านพ้นไปโดยที่เราไม่ได้ตระเตรียมเสบียงที่จะติดตัวเรา
ไปยังโลกอาคิเราะฮฺ หรือจะทำก็เพียงน้อยนิดเท่านั้น และจากที่เคยทำอามั้ล
อิบาดะฮฺเพื่อพระองค์อย่างมากมาย ทำด้วยความรู้สึกเป็นสุขใจ กลับกลาย
เป็นเพียงทำเพื่อให้มันผ่านพ้น หรืออาจละทิ้งในสิ่งที่เคยทำเพื่อพระองค์
มุ่งแต่คิดที่จะให้ได้รับสิ่งตอบแทนในโลกดุนยานี้เพียงอย่างเดียว จะบริจาคใน
แต่ละครั้งก็ตระหนี่ คิดแล้วคิดอีกเพียงเพราะกลัวที่จะอด เราอาจไม่ได้อดเพียง
คนเดียว แต่หมายถึงครอบครัวของเราด้วย นี่คือความรู้สึกที่เรายกให้ครอบครัว
มีอำนาจต่อเราเหนือพระองค์ บางคนอาจตกหลุมรักใครสักคน ในหัวใจของเขา
ในความรู้สึกนึกคิด ก็จะมีแต่คนๆนั้น จนหลงลืมพระองค์ และบางคนอาจจะเลย
เถิดจนถึงขั้นทำในสิ่งที่ผิดต่อคำสั่งของพระองค์ เข้าใกล้การซินา จะด้วยทางตาด้วยการมองดู ทางหูด้วยการพูดคุยกัน ทางโทรศัพท์ แชท ไลน์ หรือแม้แต่นัดเจอเพื่อไปเที่ยวด้วยกัน อาจจะมีคนอื่นไปด้วย เพื่อไม่ให้ผิดมากนัก แต่นั่นก็เพราะเราตกเป็นทาสของมัน อาจเป็นเพราะชัยฏอน นั้นมันทำงานหนัก เราที่
เป็นมนุษย์ จึงไม่ต้านแรงแห่งการยั่วยุของมันได้ จนเราลืมสิ้นลืมหน้าที่ ลืมบทบาทที่เราต้องมาอยู่ในโลกดุนยาแห่งนี้ หลงลืมความตาย ลืมวันที่เราต้อง
กลับไปยังพระองค์ หากเป็นเช่นนี้แล้วเราจะเหลืออะไร เปรียบเสมือนดั่งคนจมน้ำ
ที่ไม่อาจช่วยเหลือใครได้แม้แต่ตัวเอง

อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ..ซูเราะอันนัจม อายะฮฺที่ 39

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَـٰنِ إِلَّا مَا سَعَىٰ ﴿٣٩﴾

ความว่า... “และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้”

และอัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ..ซูเราะอัลฟาฏิรฺ อายะฮฺที่ 5 อีกว่า

يَـٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ إِنَّ وَعْدَ ٱللَّهِ حَقٌّۭ ۖ فَلَا تَغُرَّنَّكُمُ ٱلْحَيَوٰةُ ٱلدُّنْيَا ۖ وَلَا يَغُرَّنَّكُم بِٱللَّهِ ٱلْغَرُورُ ﴿٥﴾

ความว่า... “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้เป็นจริงเสมอ ดังนั้น
อย่าให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกดุนยานี้ล่อลวงพวกเจ้า และอย่าให้การหลอกล่อ
(ของชัยฏอน) มาล่อลวงพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺเป็นอันขาด”

และพระองค์ยังทรงถามเราอีกว่า..

يَـٰٓأَيُّهَا ٱلْإِنسَـٰنُ مَا غَرَّكَ بِرَبِّكَ ٱلْكَرِيمِ ﴿٦﴾

ความว่า... “โอ้มนุษย์เอ๋ย อะไรเล่าที่ได้ล่อลวงเจ้า(ให้หันห่าง)จากพระผู้อภิบาล
ของเจ้าผู้ทรงเกื้อกูล” ( อัล-อิมฟิฏอรฺ : 6 )



น่าเสียดายเหลือเกินที่เราไม่ได้เอาใจใส่ในคำตักเตือนจากพระองค์ แต่เรา
กลับเมามัวลุ่มหลง แม้แต่เพ้อฝันหลอกตัวเองไปวันๆ ตั้งความหวังในสิ่งที่
ไม่จีรัง เปรียบได้ดังกับคนที่เป็นโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้

ท่านอิหม่าม อัล - ฆอซาลี ปราชญ์ของโลกมุสลิมท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
“ช่างเป็นเรื่องที่ประหลาดเสียเหลือเกิน ที่เมื่อเราปรารถนาที่จะมีทรัพย์สมบัติ
ในโลกนี้ เราได้ทำการเพราะปลูก ทำการค้า และยอมที่จะเดินทางไป ไม่ว่า
การเดินทางนั้นจะมีระยะทางที่ไกล หรือมีความเสี่ยงเพียงใดก็ตาม ทั้งนี้
ก็เพียงเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ได้ถูกจัดเตรียมไว้ให้แก่เรา(โดยอัลลอฮ์) แต่เรา
กลับลืมไปว่า อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาไว้แล้วถึงการประทานปัจจัยยังชีพให้แก่
เรา และเมื่อเราหวังในการตอบแทนในโลกอาคิเราะฮฺ เราก็เชื่อว่าจะต้องขอ
การอภัยโทษและขอความเมตตาจากพระองค์”

และคำแนะนำจาก ท่านหะซัน ท่านได้กล่าวไว้ว่า ...
“จงตื่นขึ้นเถิด ณ บัดนี้ (รู้สึกตัว)เพราะทันทีที่ท่านตาย การกระทำที่ท่าน
จะได้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺจะยุติลง(สิ้นสุด) ขออัลลอฮฺ ทรงประทานพรแก่บ่าว
ผู้ใคร่ครวญต่อชีวิตของเขา และได้ร้องให้เพราะบาปอันมากมายของเขา”

จากบทความนี้หวังว่าพี่น้องจะได้ใคร่ครวญกับเวลาแห่งชีวิตที่เหลืออยู่
เพราะตัวเองก็เคยเป็นผู้หนึ่งที่เปรียบเสมือนคนจมน้ำเหมือนกัน แม้ว่า
จะไม่ได้ตื่นขึ้นมา หรือผ่านพ้นจากสภาพคนจมน้ำมาเพราะบทความนี้
แต่ก็หวังว่ามันคงจะช่วยเตือนสติใครบางคนได้บ้าง

.........................................................
ขออัลลอฮฺได้โปรดตอบแทน ผู้เขียน..
สารจากคนจมน้ำ แด่...ทาสแห่งดุนยา
โดย..มัจญดีย์ อัลฮิลาลีย์


แต่งงานกับลูกสาวพิการตาบอดและหูหนวกแลกกับการอภัยโทษ



เรื่องเล่าชายคนหนึ่งกับลูกแอปเปิ้ล (และผู้หญิงตาบอด เป็นใบ้ หูหนวก)

เพียงแอปเปิ้ลครึ่งผล
วันหนึ่งบนเส้นทางเมืองกูฟะฮ ( ในอีรัค ) ท่าน ซาบิต บิน อิบรอฮีม -ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ- เดินผ่านทางสายนั้น พลันสายตาเหลือบไปเห็นแอปเปิ้ลผลหนึ่งตกอยู่นอกสวน ด้วยความหิว ท่านจึงหยิบมันขึ้นรับประทาน แต่พอทานไปได้ครึ่งผล ท่านฉุกคิดได้ว่า ท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะทานแอปเปิ้ลผลนี้ ท่านจึงตัดสินใจเดินเข้าไปพบกับคนทำสวน

แล้วพูดว่า : " ขอโทษนะครับ ผมได้ทานแอปเปิ้ลไปครึ่งผล ขอให้ท่านยกโทษให้ผมด้วยที่หยิบมันทานโดยไม่ได้รับอนุญาติ นี่ครับอีกครึ่งหนึ่ง โปรดเอาคืนไปเถิด "

คนสวน : " ฉันไม่มีสิทธิ์จะยกโทษให้ท่านได้ เพราะสวนนี้ไม่ได้เป็นของฉัน แต่มันเป็นของเจ้านายฉัน "

ซาบิต : " แล้วเจ้านายของท่านอยู่ไหนละครับ ผมจะได้ไปขอให้เขายกโทษ "

คนสวน : " ท่านต้องใช้เวลา 1 วัน กับ 1คืน นะกว่าจะได้พบกับเขา "

ซาบิต : " ผมต้องไปหาเขาให้ได้ แม้จะไกลแค่ไหน เพราะการที่ผมทานแอปเปิ้ลไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ มันก็ไม่ฮาล้าลสำหรับผม ท่านร่อซู้ล ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า " ผู้ใดที่ร่างกายของเขาเติบโตมาจากของที่ฮารอม ไฟนรกก็คู่ควรกับเขาแล้ว "

ท่านซาบิตได้ออกเดินทางไปพบกับเจ้าของสวน เมื่อถึงที่หมาย ท่านได้เคาะประตูบ้าน ทันทีที่ประตูถูกเปิดออก

ท่านให้สลามและพูดว่า : " นายท่านครับ ได้โปรดยกโทษให้ผมด้วย เพราะผมทานแอปเปิ้ลของท่านไปครึ่งผลโดยไม่ได้รับอนุญาต นี่ครับ อีกครึ่งที่เหลือ "

เจ้าของสวนพิจารณาชายหนุ่มผู้มาเยือนพลางกล่าวว่า : " เจ้าหนุ่มเอ๋ย เราคงยกโทษให้เจ้าไม่ได้หรอก นอกจากเจ้าจะยอมรับข้อแม้ของเราก่อน "

ท่านซาบิตถาม : "อะไรหรือครับ ?"

เจ้าของสวนตอบ :" เจ้าต้องแต่งงานกับลูกสาวของเรา "

ท่านซาบิตรำพึงกับตัวเองว่า อะไรกันนี่ ข้อแม้ที่ว่าคือการแต่งงานกับลูกสาวของท่านผู้นี้น่ะหรือ ?!

" เราจะบอกคุณลักษณะของนางให้เจ้าได้คิดก่อนที่เจ้าจะตอบตกลง ..ลูกสาวของเราเป็นหญิงตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ และ เป็นอัมพาต แต่หากท่านไม่ยอมรับเงื่อนไขข้อนี้ เราคงให้อภัยท่านไม่ได้หรอก "

ท่านซาบิตใช้ความคิดกับสิ่งที่ได้ยินก่อนยินยอมตอบตกลงว่า : " ครับ ตกลง ผมยอมสู่ขอเธอ ยอมแต่งงานกับเธอ ผมจะดูแลเธอเอง ผมมั่นใจครับว่า อัลลอฮ ทรงบรรจุความดีให้ผม ณ ที่พระองค์แล้ว "


เมื่อท่านซาบิตตอบตกลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าของสวนจึงนำพยานมาสองคนเพื่อทำพิธีนิกาฮ และเมื่อพิธีสิ้นสุดลง เจ้าของสวนก็พาลูกสาวมารอที่ห้องของท่านซาบิต ท่านซาบิตเตรียมพร้อมสำหรับการพบเจ้าสาวเป็นครั้งแรก หากแต่ท่านยังคงลังเลที่จะให้สลามกับเธอ พลันก็คิดขึ้นได้ว่ามะลาอีกะฮย่อมได้ยินสลามและตอบสลามของท่าน..

ท่านซาบิตจึงกล่าวให้สลาม เจ้าสาวตอบรับสลามอย่างอ่อนโยน และยืนขึ้นต้อนรับจับมือท่าน

ท่านซาบิตอุทานด้วยความตกใจว่า : " อะไรกันนี่ เกิดอะไรขึ้น ?! "

เธอรับสลาม แสดงว่าเธอก็ไม่ได้เป็นใบ้ ไม่ได้หูหนวก

เธอลุกขึ้นยืน แสดงว่าเธอก็เดินได้ ไม่ได้เป็นอัมพาต

เธอจับมือ แสดงว่าเธอมองเห็นไม่ได้ตาบอด แล้วทำไมพ่อของเธอถึงได้บอกว่าเธอเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ท่านซาบิตนั่งลงข้างๆ เจ้าสาวของท่าน และเริ่มถามนางว่า : ทำไมครับ ทำไมคุณพ่อของคุณถึงได้บอกผมว่าคุณเป็นผู้หญิงตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ และเป็นอัมพาต ?

" ที่คุณพ่อบอกว่าฉันตาบอด ก็เพราะ ตาฉันบอดจากสิ่งที่ฮะรอม,ต้องห้าม

หูฉันหนวก จากสิ่งพระองค์ไม่พอพระทัย

ลิ้นเป็นใบ้ จากทุกสิ่งที่ไม่ใช่การรำลึกถึงพระองค์

และเป็นอัมพาต จากการย่ำไปในที่ที่พระองค์กริ้ว "

- ท่านซาบิตผู้นี้เองที่เป็นบิดาของอิมาม นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ อบูฮะนีฟะฮ. อันนั๊วะมาน บิน ซาบิต หรือ อิมาม ฮะนะฟีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ

.....................
Cr:Muslimthai

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ชัยฏอนสอนฟาโรห์



ฟาโรห์(ฟิรอูน)แห่งอียิปต์มักอ้างตนอยู่เสมอว่า ตนคือพระเจ้า วันหนึ่งขณะฟาโรห์จะกินองุ่น ชัยฏอนได้เข้ามาหา

ชัยฏอน : พระองค์(ฟาโรห์)ทำองุ่นให้เป็นเพชรได้ไหม?

ฟาโรห์ : ไม่ได้หรอก หากแกเก่งก็ลองทำให้ข้าดูซิ

ชัยฏอนจึงทำให้ดู ด้วยกลอุบายของมัน องุ่นกลายเป็นเพชรในบัดดล

ฟาโรห์ : (ตื่นเต้น) โอ สุดยอดจริงๆ แกเก่งมากจริงๆ ข้าขอยกย่อง

ชัยฏอน : นี่ขนาดข้าเก่งแบบนี้น่ะ อัลลอฮยังไม่นับข้าเป็นบ่าวของพระองค์เลย แล้วคนโง่ไร้ความสามารถอย่างท่าน จะอ้างตนเป็นถึงพระเจ้าได้อย่างไรกัน??

ฟาโรห์ : .......(เงิบ.....คนโพสต่อเอง อิอิ)

....................
Isme Badarin

ทำไมมุสลิมรับอั่งเปาไม่ได้?



"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" มุสลิมบางคนกล่าวว่าเป็นเพียงโบนัส หรือรางวัลปลอบใจลูกจ้าง หรือพนักงาน ก็สามารถรับได้

ความจริงเงินโบนัส ที่นายจ้าง หรือเจ้าของกิจการ ห้างหุ่นส่วน บริษัท ได้มอบให้แก่ลูกจ้าง หรือพนักงานนั้น มีเงื่อนไขว่า เงินโบนัส  เป็นเงินแบ่งส่วนหรือปันผลกำไรในรอบปี  ซึ่งหากนายจ้างมีกำไรมาก็จ่ายโบนัสมาก  มีกำไรน้อยก็จ่ายน้อย  ขึ้นกับผลประกอบการ เงินโบนัสจึงเป็นที่อนุมัติตามหลักการอิสลาม

ส่วน "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" นั้น ไม่ใช่เงินโบนัสตามที่มุสลิมบางคนเข้าใจกัน มีเงื่อนไขความเชื่อแตกต่างกับโบนัส ไม่ได้ขึ้นอยู่เงินแบ่งส่วนหรือปันผลกำไรในรอบปี และไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะลูกจ้าง หรือพนักงานที่ทำงานให้กับนายจ้างเท่านั้น ที่จะได้รับ "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" แต่รวมถึงคนอื่นๆด้วย

ที่มาและความหมายหลักความเชื่อของการให้"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย"

อั่งเปา (จีน: 红包; พินอิน: hóngbāo หงเปา)
คำว่า อั่ง แปลว่า แดง
คำว่า เปา แปลว่า ซอง
อั่งเปา จึงหมายถึง ซองสีแดง
สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี ความมีชีวิตชีวา และความโชคดีของชาวจีน
เงินที่บรรจุภายในซองบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย

อั่งเปานิยมมีการให้มอบให้ในงานสำคัญของครอบครัว เช่น พิธีแต่งงาน หรือ วันตรุษจีน (วันปีใหม่ของจีน) โดยในวันตรุษจีนผู้ที่มีอายุสูงกว่าหรือทำงานมีเงินเดือนแล้ว จะเป็นคนให้อั่งเป่าแก่เด็กหรือญาติที่ยังไม่ได้ทำงาน

สำหรับ "แต๊ะเอีย"
คำว่า "แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด
คำว่า "เอีย" แปลว่า เอว เมื่อรวมกัน
 "แต๊ะเอีย" ก็หมายถึง "ของที่มากดหรือทับเอว" หรือ "ผูกไว้ที่เอว"
 คำนี้มีที่มาจากคนจีนสมัยก่อนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง หากจะพกไปไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในเทศกาลตรุษจีน ผู้ให้ก็จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้ผู้รับ ทีนี้ผู้รับก็จะนำพวงเหรียญนี้มาผูกไว้ที่เอว เรียกว่า "แต๊ะเอีย" นั่นเอง

การให้ "อั่งเปา หรือ "แต๊ะเอีย" จะให้เป็นจำนวนที่คนจีนนิยมให้ "แต๊ะเอีย" เลข 8 เป็นจำนวนยอดนิยม
ที่สุด เพราะในภาษาจีนเลข 8 อ่านออกเสียงคล้ายกับคำที่มีความหมายว่า ความร่ำรวย ความรุ่งโรจน์ ความรุ่งเรือง
 หรืออาจจะให้เป็นจำนวนเลข 2 ซึ่งหมายถึงคู่ก็ได้
ขณะที่บางบ้านก็เลือกให้จำนวนเลข 4 ซึ่งเรียกว่า "ซี่สี่" หมายถึง คู่สี่ เพราะถือเป็นสิริมงคล
 อย่างเช่นให้แต๊ะเอีย 400 ก็จะให้เป็นธนบัตร 100 บาท จำนวน 4 ใบ หรือจะให้เป็นสองเท่า หรือสามเท่าของ "ซี่สี่" ก็ได้ เช่น ให้ 800 หรือ 1,200 บาท ก็เป็นสิริมงคล


จากที่มาและความหมายหลักความเชื่อของการให้"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" ข้างตน จึงเป็นที่ห้ามสำหรับมุสลิมที่จะรับ"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย เด็ดขาด อันเนื่องจากซองอั่งเปา มีที่มาจากความเชื่อของชาวจีน กล่าวคือ ซองอั่งเปาจะต้องเป็นซองสีแดงเท่านั้น เพราะสีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นมงคลยินดี นอกจากนั้นสีแดงยังเป็นสัญญลักษณ์ของพลังอำนาจที่จะขจัดปัดเป่าสิ่งไม่เป็นมงคลทั้งหลายด้วย ก่อนการใช้ อั่งเปา อย่างเป็นรูปแบบนั้น ชาวจีนใช้ แถบแดง เป็นตัวแทนแห่งความเป็นมงคลและขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ฉะนั้นซองอั่งเปาจึงไม่อนุญาตให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงเท่านั้น ด้วยเหตุผลความเชื่อข้างต้นขัดแย้งกับอิสลาม เพราะอิสลามสอนถึงความจำเริญมาจากพระองค์อัลลอฮฺ หรือสิ่งที่พระองค์ทรงระบุเท่านั้น ส่วนเรื่องสีแดงเป็นสีแห่งความสิริมงคล หรือเป็นสีแห่งการขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล ทัศนะของอิสลามไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสีต่างๆ และไม่เชื่ออีกว่าสีต่างๆ จะกำหนดโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ และอิสลามก็ไม่มีความเชื่ออีกเช่นกันว่าสีต่างๆ จะกำหนดความจำเริญ หรือกำหนดความอัปมงคลในชีวิตประจำวันของมนุษย์เหมือนกัน

ชาวจีนมีความเชื่อว่า "อั่งเปา ซองแดงบรรจุธนบัตรเป็น ของขวัญ ในการเริ่มต้นชีวิตในขวบปีใหม่และการพักผ่อนอันเบิกบานติดต่อกันนานหลายๆ วัน” ยิ่งประเด็นนี้ไม่ต้องพูดถึง มุสลิมไม่มีความเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว เพราะอิสลามมิได้ระบุว่า การเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ้นเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลามก็ตาม

 เงินที่ได้รับในวันตรุษจีนนี้จึงเรียกว่า เงินแต๊ะเอีย และถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่งซึ่งคนจีนรวมทั้งคนไทยเชื้อสายจีนได้ตั้งความปรารถนาจิตใจจดจ่อที่จะได้รับในวันตรุษจีน ฉะนั้นซองที่เรียกว่า เงิน (หรือซอง) แต๊ะเอียก็ถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่ง ซึ่งโชคลาภข้างต้นเป็นความเชื่อของชาวจีน ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย เพราะมุสลิมถูกสอนให้เชื่อว่าความจำเริญ (หรือบะเราะกะฮฺ) นั้นมาจากพระเจ้า หรือสิ่งที่พระเจ้ากำหนดไว้เท่านั้นว่าสิ่งนั้นทำแล้วมีความจำเริญ สิ่งนั้นทำแล้วได้รับความเมตตา

 และ“เงินแต๊ะเอีย หรือ อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดง เด็ก ๆ มักได้จากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ โดยแต่โบราณเรียกเงินนี้ว่า ‘เงินเอี๊ยบส่วยจี๊ เอี๊ยบ’ แปลว่า กด , อัด , ห้าม ส่วย แปลว่า อายุ
เอี๊ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา 100 ธรรมเนียมจีนโบราณ บอกว่า ดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง 100 อัน ร้อยด้วยด้ายแดง ผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ‘ซวย เอี๊ยบส่วย’ หรือ ‘เอี๊ยบซวย’ จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่

والله أعلم بالصواب




ดุอาอ์หลังตืนนอนและดุอาอ์เมื่อไปพำนักยังสถานที่หนึ่งที่ใด


"ดุอาอฺหลังตื่นนอน"

الحَمْـدُ لِلّهِ الَّذِي أَحْـيَانَا بَعْـدَ مَا أَمَاتَـنَا وَإِلَيْهِ النُّـشُوْرِ

อัลฮัมดุลิลลาฮิลล่าซียฺ อะฮฺยานา บะอฺด้ามา อ่ามาต้านา ว่าอิลัยฮินนุชูรฺ

ความว่า:
การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงให้เราได้ฟื้นขึ้นมาอีกหลังจากที่ให้เราตายไป(นอนหลับ) และยังพระองค์คือการฟื้นคืนชีพกลับไป


"ดุอาอเข้าที่พัก หรือพักตามป่าตามเขา หรือสถานที่น่ากลัว"

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ

อ้าอูซู่ บิกะลิมาติ้ลลาฮิตตามมาตี้ มินชัรฺรี่มาค่อลัก

ความว่า:
ฉันขอความคุ้มครองด้วยพจนารถของอัลลอฮฺอันสมบูรณ์ให้พ้นจากความร้ายของสิ่งที่พระองค์ได้สร้างขึ้นมา

ความประเสริฐ: จะไม่มีสิ่งใดมาทำอันตรายเขาขณะที่เขายังอยู่ที่นั่น

(ดุอาอฺนี้มาจากฮะดีษบันทึกโดย: มุสลิม(2708)
ระดับฮาดีษ: ซอเฮียะฮฺ)

........................
จากนี้ จนนิรัดร์

อาหารเซ่นไหว้



เซ่นไหว้ เป็นคำสองคำที่นำมาผสมกัน คือคำว่า เซ่น+ไหว้

เซ่น เป็นคำกริยา หมายถึง เอาอาหาร หรือสิ่งอื่นใด ไปไหว้ หรือสังเหวยผีหรือเจ้า  เช่น เซ่นผี เซ่นเจ้า
ไหว้ เป็นคำกริยา หมายถึง การทำความเคารพ เช่น เซ่นเจ้าตามธรรมเนียมจีน ไหว้ผี ทำพิธีเซ่นไหว้ผี

เซ่นไหว้  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เซ่นสรวง,เซ่นสังเวย หมายถึง การบูชาเทวดา เจ้า ผีสาง หรือสิ่งที่นับถือ ด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน

ารทำพิธีเซ่นไหว้ของคนต่างศาสนิก

โดยการนำเครื่องเซ่นไหว้ เช่น หมูเห็ด เป็ดไก่ ไปเซ่นไหว้ที่ฮวงซุ้ย ศาลพระภูมิ เป็นต้น โดยมีความเชื่อว่า เป็นการระลึกถึงดวงวิญญาณที่เร่ร่อนไม่มีญาติ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเทพเจ้า บรรพบุรุษ และดวงวิญญาณเหล่านั้นได้รับการเซ่นไหว้จนอิ่มหนำสำราญแล้ว จะอวยพรให้พวกเขาอยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งตนเองและครอบครัว

และได้วอนขอต่อสิ่งที่ตนไปวอนขอ อันได้แก่ กล่าวว่า เจ้าที่เจ้าทางที่อยู่ที่นี่ทั้งหมดลูกช้างมาขออยู่อาศัยมาพึ่งใบบุญ หากลูกช้างทำผิดประการใดขออย่าได้ถือสาลูกช้างเลย ยกโทษให้ลูกช้างด้วยเถิดอย่าได้เบียดเบียนกันเลยหากต้องการอะไรที่ลูกช้างให้ได้ก็ขอให้มาบอกลูกช้างด้วย วันนี้ลูกช้างนำของ... ขอจงได้โปรดปกป้องคุ้มครองข้าพเจ้าและครอบครัวด้วย ขอให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรืองอย่าได้เจ็บไข้ได้ป่วยประการได้เลย

หลังจากเซ่นไหว้แล้ว รอจนธูปหมดดอกให้ลาของเซ่นไหว้ ไปแจกผู้คน โดยขณะลาให้บอกกล่าวต่อสิ่งที่เซ่นไหว้ว่า ของที่เจ้า ผีสาง ได้ทานหมดแล้ว ลูกช้างจะลาเอาไปแจกเเพื่อให้เป็นบุญเป็นกุศลต่อไป เป็นต้น


อิสลามกับการเซ่นไหว้

อิสลามถือว่าเป็นบาปใหญ่ ในการที่มุสลิมคนใดได้เอาการเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ไปให้แก่ผู้อื่น นอกเหนืออัลลอฮฺ อย่างเช่น การกราบไหว้บูชา การเชือสัตว์พลี การเซ่นไหว้ หรือวอนขอ ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ผีสาง เทวดา หรือหลุ่มศพบรรดาวะลีย์ หรือสิ่งหนึ่งใดที่เขาเชื่อว่าจะช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ ภัยอันตราย หรือให้เขาประสบความสำเร็จ อยู่เย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรือง เป็นต้น 

พรองคือัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

﴿ فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَٱنۡحَرۡ ٢ ﴾ [الكوثر: ٢]  

ความว่า "ดังนั้นเจ้าจงละหมาดเพื่อพระเจ้าของเจ้า และจงเชือดสัตว์พลี(เพื่อพระองค์)"  [สูเราะฮฺ อัล-เกาษัรฺ อายะฮฺที่ 2] 


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَلَا أُنَبِّئُكُمْ بِأَكْبَرِ الْكَبَائِرِ (ثَلَاثًا) قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ الْإِشْرَاكُ بِاللَّهِ» [البخاري ومسلم]

ความว่า “เอาไหมฉันจะบอกแก่พวกเจ้าถึงสิ่งที่เป็นบาปใหญ่ที่สุดในบรรดาบาปใหญ่ทั้งหลาย(สามครั้ง)?” เศาะหาบะฮฺตอบว่า “แน่นอน โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺ” ท่านได้ตอบว่า “(นั่นคือ)การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ”  [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม]
คนๆ นั้นต้องตกนรก  

«مَنْ مَاتَ وَهْوَ يَدْعُو مِنْ دُونِ اللَّهِ نِدًّا دَخَلَ النَّارَ» [البخاري]

“ผู้ใดที่เสียชีวิตในสภาพที่เขาดุอาอฺต่อสิ่งภาคีอื่นนอกจากอัลลฮฺจะตกนรก” [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ]


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«وَلَعَنَ اللَّهُ مَنْ ذَبَحَ لِغَيْرِ اللَّهِ» [مسلم]

“และอัลลอฮฺจะทรงสาปแช่งผู้ที่เชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ” [บันทึกโดยมุสลิม]


จากหลักฐานข้างต้น การเซ่นไหว้  เซ่นสรวง,เซ่นสังเวย พวกผีสาง เจ้าต่างๆ ที่คนต่างศาสนิกนับถือ  เป็นการผินเอาการเคารภักดีชนิดหนึ่งชนิดใด ไปให้แก่ผู้อื่น นอกเหนือจากพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ซึ่งเป็นบาปใหญ่หลวงสำหรับอิสลาม จนถึงขั้นที่ทำให้ออกนอกศาสนาและทำให้คนที่กระทำต้องตกนรกอย่างถาวรหากเขาตายในสภาพที่ทำชิริก

ดังนั้น สำหรับ อาหาร เครื่องดื่ม ที่คนต่างาสนิกนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ภูตผี เทวดา ที่เขาเชื่อกัน จึงเป็นที่ต้องห้าม(หะรอม)สำหรับมุสลิมที่จะรับประทานมัน ถึงแม้ว่าสัตว์เซ่นไหว้นั้นมุสลิมเป็นผู้เชือดก็ตาม
รายงานจากท่านษาบิต บุตรของเฎาะฮากเล่าว่า 
ชายผู้หนึ่งบนบาน (นะซัร) ว่าจะเชือดอูฐหนึ่งตัว ณ บริเวณ (ที่เรียกว่า) บุวานะฮ, ท่านรสูลุลลอฮจึงถามเขาว่า ณ สถานที่แห่งนั้นเคยมีรูปเจว็ดหนึ่งจากบรรดารูปเจว็ดที่เคยถูกเคารพภักดีในสมัยญาฮิลียะฮ์ (หมายถึงสมัยก่อนที่ท่านรสูลถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี) หรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ตอบว่า ไม่เคยมีการกระเช่นนั้นครับ, ท่านรสูลถามต่ออีกว่า สถานที่แห่งนั้นเคยมีการจัดงานวันรื่นเริงของพวกเขาหรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ก็ตอบว่า ไม่เคยมีการกระทำกันครับ, ท่านรสูลจึงกล่าวขึ้นว่า เช่นนั้นท่านจงทำให้สิ่งที่ท่านบนบานให้ครบถ้วนสมบูรณ์เถิด แท้จริงไม่มีการทำการบนบานครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องของการฝ่าฝืนพระองค์อัลลอฮ์ “ (บันทึกโดยอะหมัด,อบูดาวูด และอิบนุมาญะฮ์) 

จากหะดิษข้างต้น คณะกรรมการถาวรเพื่อวินิจฉัยความรู้และการฟัตวาของประเทศซาอุดิอาระเบีย (เล่ม 1 หน้า 194) อธิบายว่า 
“ ห้ามการเชือดสัตว์ยังสถานที่ซึ่งนามอื่นจากนามของอัลลอฮ์ถูกกล่าวยังสถานที่แห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เคยมีรูปเจว็ด, สุสาน หรือสถานที่ซึ่งกลุ่มชนในยุคญาฮิลียะฮ์เคยเฉลิมฉลองวันรื่นเริงของพวกเขา แม้ว่าการเชือดยังสถานที่ดังกล่าวจะมีเป้าหมายว่าเชือดเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ก็ตาม “ 

 แม้ว่าสถานที่ใดซึ่งเคยถูกกราบไหว้ หรือเซ่นไหว้เจ้าอื่น ท่านรสูลยังไม่อนุญาตให้มุสลิมเชือดสัตว์ยังสถานที่แห่งนั้นเลย นับประสาอะไรกับการที่นำสัตว์ ขนม หรือผลไม้ที่ผ่านการเซ่นไหว้, กราบไหว้ หรือพิธีกรรมของเจ้าองค์อื่นๆ ศาสนาจะอนุญาตให้รับประทาน

والله أعلم بالصواب




วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เจ้าที่อิสลาม






คนที่นำภาพมาแจ้งว่าอยู่ที่ ซอยรามคำแหง 152 มีศาลที่ชาวบ้านในซอยดังกล่าว นั้นกราบไหว้กันมานาน แต่ศาลแห่งนี้ห้ามนำ"หมู" มาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ เพราะหน้าศาลมีป้ายที่เขียนข้อความสั้นๆว่า

"เจ้าที่อิสลาม ห้ามไหว้หมู"

มุสลิมส่วนใหญ่เห็นภาพนี้แล้วอดแปลกใจไม่ได้  เพราะในอิสลามนั้นไม่มีความเชื่อเรื่องเจ้าที่เจ้าทางแต่อย่างไร

มุสลิมเมื่อรับศาสนานั้นต้องกล่าวคำปฎิญาณว่า

"ไม่มีสิ่งสักการะได้  เว้นแต่พระเจ้า"

นอกจากนี้ในบทแรกของคำภีร์ยังมียังมีระบุอีกว่า

"พระเจ้าเท่านั้นที่เราของความช่วยเหลือ"


ภาพนี้จึงเป็นภาพที่แปลกตาสำหรับมุสลิม  จะว่าไปผมเคยได้ยินเรื่องเจ้าอิสลามมาเยอะมากเหมือนกัน เช่น

ที่ลาดกระบัง สถาบันพระจอมเกล้าฯ อาจาร์ยผมท่านมาจากที่นั้นท่านบอกเจ้าที่แรง

เป็นเจ้าอิสลาม  ห้ามถวายหมู

เท่าที่รู้บ้านพิษณุโลก  บ้านพักนายกรัฐมนตรีก็มีเจ้าเป็นอิสลาม  มีเรื่องเล่าว่า เคยมีนายกคนหนึ่งไปถวายหัวหมูตอนรับตำแหน่ง  จากนั้นไม่ถึง 7 วันถูกปฎิวัติ

ฯลฯ

คนเชื่อไม่ใช่มุสลิม  คนที่มาเล่าให้ผมฟังโดยมากก็ต่างศาสนิก  เขาเชื่อของเขาแล้วทำ  ไม่มีมุสลิมสักคนไปกราบไห้วศาลที่มี"เจ้าที่อิสลาม"เลย


ภาพนี้จึงเป็นเรื่องของคนต่างศาสนิก เอาคนตายในอิสลามไปไหว้  (แต่ความจริงแล้วมันคือญินไม่ใช่วิญญาณของคนตายมุสลิมหรอก)

ตามหลักความเชื่ออิสลาม ไม่มีระบบผี วิญญาณของผู้ตายไม่มาปรากฎให้มนุษย์เห็น  เพราะคนที่ตายไปแล้วอยู่คนละโลกกัน วิญญาณคนตายจะอยู่อีกโลกหนึ่งที่เรียกว่า "อลัมบัรซัค" ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ปิดกั้นที่อยู่ระหว่างโลกดุนยา กับ โลกอาคิเราะห์ และปิดกั้นระหว่างความตาย กับการกลับมาสู่โลกดุนยา

พระองค์อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสไว้ความว่า

العنكبوت57   ((  كُلُّ نَفْسٍ ذَائِقَةُ الْمَوْتِ ثُمَّ إِلَيْنَا تُرْجَعُونَ))

"ทุก ๆ ชีวิตเป็นผู้ลิ้มรสความตาย แล้วพวกเจ้าจะถูกนำกลับยังเรา"

ทุกชีวิตที่กลับคืนสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์ตะอาลาแล้วนั้น เขาจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งวิญญาณ คือ โลกอาลัมบัรซัค หรือโลกในหลุมฝังศพ

ดังนั้นวิญญาณผู้ตายจึงไม่มาวนเวียน สิงสถิตอยู่ตามวัตถุใดๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาลที่มนุษย์สร้างขึ้น จอมปลวก หรือต้นไม้ ก็ตามที

แต่สิ่งเหล่านี้ ที่ปรากฏให้มนุษย์เห็น มันคือ ญิณ ซึ่งบุรูษของมัน พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ทรงสร้างมันมาจากไฟ ญิน มีทั้งญินดี ญินร้าย ญินร้ายเรียกว่า ชัยฏอน พวกนี้มันจะคอยหลอกล่อมนุษย์ ให้หลงรอยตามมัน มันมีการสืบเผ่าพันธ์ุ มีการกินการดื่ม มีการนับถือศาสนาเหมือนกับมนุษย์ แต่ที่สำคัญที่มนุษย์ไม่มี คือ มันสามารถแปลงร่างต่างๆได้ มันเห็นมนุษย์ แต่มนุษย์กลับไม่เห็นมัน เว้นแต่มันจะปรากฏให้มนุษย์เห็น มันสามารถเข้าเรือนร่างมนุษย์ได้ เพราะมันเป็นสสารอย่างไฟ ที่เขาเรียกว่าผีเข้านั้นแหละ
มันจึงอาศัยโอกาสหลอกล่อให้มนุษย์กราบไหว้บูชามัน นำอาหาร เครื่องดื่มมาเซ่นไหว้มัน หากวันใดมนุษย์ไม่นำของเซ่นไหว้ไปบูชามัน มันก็จะแสดงอิทธิฤทธิ์ความน่ากลัวให้มนุษย์เห็น

จึงสรุปได้ว่าอิสลามไม่มีการกราบไหว้เจ้าที่เจ้าทาง มันเป็นความเชื่อของคนต่างศาสนิก ที่มีความเชื่อในเรื่องวนเวียนว่ายตายเกิด นั้นเอง


والله أعلم بالصواب




ฉันสะอื้นร้องไห้ออกมา



ไม่ใช่เพราะความรักที่สูญสิ้น
ไม่ใช่เพราะคนที่จากฉันไป เป็นเพราะยุ่งเหยิงกับงานการของโลกดุนยา
ไม่ใช่เพราะบรรดาสหายของฉัน ที่ได้ทิ้งให้ฉันต้องอยู่เพียงลำพัง
ไม่ใช่เพราะความโศกเศร้าที่หมักหมมอยู่กับฉัน

หากแต่ว่าฉันได้สะอื้นร้องไห้ออกมา เป็นเพราะว่า :

ฉันไม่เคยใคร่ครวญและร้องไห้ออกมา ที่เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ
ฉันไม่เคยตั้งจิตใจให้สงบนิ่งได้ เมื่อกำลังละหมาด
ฉันไม่เคยวิงวอนขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเลย เมื่อบททดสอบเข้ามาทาบทาม
ฉันสะอื้นร้องไห้ออกมา เป็นเพราะว่าฉันได้ตีตัวออกห่างจากอัลกุรอ่านเป็นเวลาที่ยาวนาน โดยที่ไม่มีเหตุผลเลย
ฉันสะอื้นร้องไห้ออกมา เป็นเพราะว่าฉันได้ทำให้เวลาอิบาดัตต่ออัลลอฮฺได้สั้นลงมาเรื่อย ๆ

โอ้ อัลลอฮฺ โปรดพระองค์ทรงให้น้ำตาของฉันได้รินไหลออกมา และทำให้ฉันได้สะอื้นร้องไห้ออกมา และโปรดพระองค์ทรงชี้นำด้วยหนทางที่นำไปสู่พระองค์ด้วยเถิด



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

บทความดี ๆ จากเพจ : إلهي أنت تعلم كيف حالي
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


ดุอาอฺที่ถูกขอเพื่อคุณ



ท่านอิบนุล ก็อยยิม รอหิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

เมื่อตัวคุณได้หลับไป อาจจะมีกว่าสิบบทดุอาอฺที่ถูกขอเพื่อคุณ (โดยที่คุณไม่อาจจะรับรู้ได้) และบทดุอาอฺนั้น อาจจะมาจาก :

คนยากจน ที่คุณได้เทคแคร์
คนที่หิวโหย ที่คุณได้มอบอาหารให้
คนที่โศกเศร้า ที่คุณได้ทำให้เขามีรอยยิ้ม
คนที่ประสบกับปัญหา ที่คุณได้เข้ามาแก้ไขและเยียวยา

ฉะนั้น อย่าได้มองข้ามในการกระทำความดี ถึงแม้ว่าเราอาจจะมองว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่น้อยนิดมาก หากแต่ในสายตาของผู้ที่ได้ประสบนั้น มันยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เขาจะบรรยาย

.............................................................................
ข้อความดี ๆ โดย : Women of Paradise نســاءُ الجـنّــة
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ 

อย่าได้ลุ่มหลงด้วการกระทำของคุณ



มีคนได้กล่าวแก่เชค อิบนุ บาซฺ เราะหิมาฮุลลอฮฺว่า : โอ้ เชค มีคนได้หลงไปในทางที่ผิด
เชคก็ตอบไปว่า : หวังว่าในการหลงไปในทางที่ผิดของเขา จะมาจาก 2 ประการ :

1. เขาอาจจะยังไม่ได้ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งความยึดมั่นในศาสนา
2. หรืออาจเป็นไปได้ว่า เขายังไม่ชุโกรฺ (ขอบคุณ) ต่อพระองค์ในความยืนหยัดอยู่บนศาสนา

เมื่ออัลลอฮฺทรงได้เลือกให้คุณได้อยู่บนหนทางแห่งความเที่ยงตรงแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะว่า ตัวคุณเป็นคนพิเศษ หรือด้วยความภักดีของคุณ หากแต่เป็นเพราะความเมตตาของพระองค์ที่ถูกเผื่อแผ่ไว้ ที่พระองค์มีความสามารถจะทรงยึดเมื่อใดก็ได้

ฉะนั้น อย่าได้ลุ่มหลงด้วยการกระทำของคุณ ความรู้ของคุณ การอิบาดัตของคุณ และอย่าได้ดูหมิ่นคนที่ได้หลงไปในทางที่ผิด ถ้าหากว่าความเมตตาของอัลลอฮฺไม่ได้ถูกเผื่อแผ่ให้แก่คุณ ตัวคุณต้องตกอยู่ในสภาพที่เหมือนเขาแน่นอน

อย่าได้คิดว่า ความยึดมั่นในการยืนหยัด (อยู่ในศาสนา) เป็นเพราะฝีมือการกระทำของคุณ ที่มั่นใจในตัวตน แต่โปรดจงใคร่ครวญที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวแก่ท่านนบี มุหัมมัด ศ็อลฯ ว่า :

وَلَوْلَا أَن ثَبَّتْنَاكَ لَقَدْ كِدتَّ تَرْ‌كَنُ إِلَيْهِمْ شَيْئًا قَلِيلًا

และหากว่าเรามิได้ให้เจ้าตั้งมั่นอยู่บนความจริงแล้ว โดยแน่นอนยิ่ง เจ้าอาจจะโน้มเอียงไปทางพวกเขาบ้างเล็กน้อย (ซูเราะห์ อัล อิสรออฺ : 74)

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

บทความดี ๆ จากเพจ : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول ( ص )
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ 

ความเข้าใจเกี่ยวการกำหนดสภาวะของอัลลอฮซึ่งมีต่อมัคลูก



ความเข้าใจเกี่ยวการกำหนดสภาวะของอัลลอฮ
ซึ่งมีต่อมัคลูก ที่พระองค์ทรงสร้าง
ซึ่งเป็นเรื่องที่อีกหลายคนยังไม่เข้าใจ..


*มัคลูก* หรือสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของอัลลอฮฺ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 มัคลูกของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามการกำหนดของอัลลอฮฺ ตะอาลา โดยที่สิ่งถูกสร้างเหล่านั้นไม่มีความต้องการและไม่อาจเลือกตามความประสงค์ของตนเอง เช่น ดวงดาว และจักรวาล


ประเภทที่ 2 มัคลูกของอัลลอฮฺที่มีความต้องการและสามารถเลือกตามความประสงค์ของตนเองได้ อย่างเช่น มนุษย์ ญิน มะลาอิกะฮฺ อัลลอฮฺมิได้ทรงกำกับพวกเขาเหล่านั้นโดยปราศจากการเลือกของพวกเขาเองอยู่ด้วย เพราะถ้ากำกับโดยปราศจากการเลือกของพวกเอง นั่นก็เท่ากับเป็นการบังคับพวกเขาให้ทำบาปหรือมะอฺศิยะฮฺต่อพระองค์เอง(ยามที่คนเหล่านั้นทำบาป) และยังจะทรงลงโทษพวกเขาด้วยการกระทำดังกล่าวอีกด้วย(ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง)

และแน่นอนว่าความประสงค์ของมนุษย์เองก็จะเป็นไปมิได้หากปราศจากจากการกำกับของอัลลอฮฺ เพราะถ้าหากมนุษย์สามารถทำได้เองโดยปราศจากการกำกับของอัลลอฮฺ แสดงว่าพวกเขาก็จะเป็นภาคีกับพระองค์ทั้งในเรื่องการกระทำและการประสงค์ ทว่าอัลลอฮฺได้กำหนดให้ความประสงค์ของมนุษย์นั้นอยู่ภายใต้อำนาจความประสงค์ของพระองค์ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

إِنۡ هُوَ إِلَّا ذِكۡرٞ لِّلۡعَٰلَمِينَ ٢٧ لِمَن شَآءَ مِنكُمۡ أَن يَسۡتَقِيمَ ٢٨ وَمَا تَشَآءُونَ إِلَّآ أَن يَشَآءَ ٱللَّهُ رَبُّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢٩ ﴾ [التكوير: ٢٧، ٢٩]


“มันมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นข้อตักเตือนแก่สากลโลก สำหรับบุคคลในหมู่พวกเจ้าที่ประสงค์อยู่ในทางอันเที่ยงตรง และพวกเจ้าจะไม่บรรลุถึงความต้องการใดๆ นอกจากอัลลอฮฺพระเจ้าแห่งจักรวาลทั้งมวลจะมีความประสงค์(ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น)”
(อัตตักวีรฺ : 27 - 29)

การกำหนดของอัลลอฮฺ ซึ่งทรงประกาศิตไว้แล้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้ 120 วันนั้น ชีวิตของมนุษย์ทุกคนย่อมดำเนินไปตามในสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดกฏสภาวะจากความรอบรู้ของพระองค์ทั้งสิ้น ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ถึงการกระทำภายนอกและสิ่งที่ซ่อนเร้นในจิตใจ พระองค์ทรงรู้ว่าชีวิตที่จะถือกำเนิดมานี้ในช่วงชีวิตของเขาจะฝักใฝ่ไปในหนทางใด จะทำตัวอย่างไร แล้วพระองค์จะทรงลิขิตไปตามที่ชีวิตนั้นได้ดิ้นรนขวนขวาย การขวนขวายของมนุษย์นั้นเป็นไปด้วยการเลือกปฏิบัติของตนเอง ไม่มีการบังคับ นั่นก็คือ ...*ในฐานะที่พระองค์ได้ทรงเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ล่วงหน้าแล้ว..* พระองค์จึงได้ทรงกำหนด(เตรียม)สถานการณ์ต่าง ๆ เอาไว้ล่วงหน้าตามที่พวกเขาได้ตัดสินใจทำลงไปให้เกิดขึ้นมา

เนื่องจากพระองค์ได้ทรงให้อิสระกับเจตนารมณ์เสรีในการเลือกแก่มนุษย์อย่างเต็มที่ ไม่มีชีวิตใดได้ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ถูกกำหนดไว้แม้แต่คนเดียว ซึ่งท้ายสุดพระองค์ก็จะทรงตัดสินมนุษย์จากการกระทำที่เกิดจากการเลือกของเขาว่าเขาเลือกที่จะปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสั่ง หรือว่าจะเลือกเอาทางที่พระองค์ทรงห้าม*

ดังนั้นสิ่งใดที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา ขอจงอย่าโทษอัลลอฮ ต่อผลที่ได้เกิดขึ้นจากการกำหนดล่วงหน้าที่มีอยู่ในบันทึกของพระองค์ เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมาจากเหตุที่เราได้เลือกที่จะกระทำมันทั้งสิ้น ซึ่งมนุษย์ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ตนได้ตัดสินใจเลือกโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ และนั่นถือว่าเป็นความยุติธรรมอย่างยิ่งแล้ว ณ ที่อัลลอฮ....อินชาอัลลอฮ วัลลอฮุอะลัม


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
สรุปย่อมาจากหนังสือ QUESTIONS AND ANSWERS ABOUT FAITH
BY. M. fethullah gulen
แปลโดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน
Dariyah Muslimah



มอบสัตยาบันว่าจะตักเตือนพี่น้องมุสลิม



ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ให้การตักเตือนกันเป็นศาสนา เนื่องจากการตักเตือนกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกการงาน

รายงานจากท่านตะมีม อัดดารีย์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ศาสนาคือการตักเตือนกัน"
เราถามว่า : เพื่อใครกันครับท่านร่อสูล?
ท่านกล่าวว่า : เพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อรสูลของพระองค์ เพื่อผู้นำของบรรดามุสลิม และมุสลิมทั้งมวล" (เศาะเฮียะฮฺมุสลิม เลขที่ 95/55)

ด้วยเหตุนี้ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จึงบอกเศาะหาบะฮฺให้มอบสัตยาบันกับท่านว่าจะตักเตือนพี่น้องมุสลิม

รายงานจากญะรีร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า
"ฉันได้ให้สัตยาบันกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่าจะดำรงละหมาด จ่ายซะกาต และตักเตือนแก่พี่น้องมุสลิม" (เศาะเฮียะฮฺบุคอรีย์ เลขที่ 524)


والله أعلم بالصواب



ดุอาอฺ เข้าตลาด



لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ. لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ يُحْيِي
وَيُمِيتُ وَهُوَ حَيٌّ لَا يَمُوتُ بِيَدِهِ الْخَيْرُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ


(ผู้ใดที่เข้าตลาดและกล่าวว่า "ลา อิลา ฮะอิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละหฺ ละฮุลมุลกุวะละฮุลฮัมดุ ยัวะฮฺยี วะ ยูมีตู วะฮุวะ ฮัยยน ลา ยะมูต บิยะดิฮิลคอยรฺ วะฮุวะ อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีร

 (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆคู่เคียงกับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์  พระองค์ทรงให้เกิด พระองค์ทรงให้ตาย และพระองค์คือผู้ทรงชีวินไม่มีวันตาย สิ่งดีงามอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง)"

อัลลอฮฺจะทรงบันทึกแก่เขาซึ่งพันพันความดี(หนึ่งล้าน) และจะทรงลบล้างแก่เขาซึ่งพันพันความผิด และจะทรงยกระดับแก่เขาซึ่งพันพันขั้น และบางรายงานบอกว่า และจะทรงสร้างแก่เขาซึ่งบ้านหลังหนึ่งในสวรรค์  ) รายงานโดยติรมิซียฺและอิบนุมาญะหฺ

>คุณค่า<
อัลลอฮฺจะทรงบันทึกแก่เขาซึ่งพันพัน(หนึ่งล้าน)ความดี และจะทรงลบล้างแก่เขาซึ่งพันพัน(หนึ่งล้าน)ความผิดและจะทรงยกระดับแก่เขาซึ่งพันพัน(หนึ่งล้าน)ขั้น
และบางรายงานบอกว่า และจะทรงสร้างแก่เขาซึ่งบ้านหลังหนึ่งในสวรรค์





วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สุนนะฮที่ดี และบิดอะฮฺที่ดี


อิสลามมีสุนนะฮฺ(แบบอย่าง)ที่ดี มีที่มา เช่น การทำทาน

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ใครได้วางแบบอย่าง(สุนนะฮฺ)ที่ดีขึ้นมา ผลบุญของมันก็จะได้แก่เขา และผลบุญของผู้ที่กระทำมันหลังจากเขาก็จะได้แก่เขาด้วย โดยที่ไม่มีสิ่งใดจากผลบุญของพวกเขาขาดหายไปเลย" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

สำหรับบิดอะฮฺดีในศาสนานั้น ไม่มีสิงที่เป็นบิดอะฮฺ(อุตริกรรม) ที่ดี ทุกบิดอะฮฺหากเป็นเรื่องศาสนาที่อตริขึ้นมาใหม่ ศาสนาไม่ยอมรับ และถูกปฏิเสธ แต่ถ้าเป็นอะฮฺเกี่ยวกับเรื่องดุนยา หรือตามหลักภาษานั้น หากเป็นเรื่องดีก็เป็นบิดอะฮฺดี เช่น การสร้างยานพาหนะ ถนนหนทาง เมื่อก่อนตอนยุคท่านนบี และเศาะหาบะฮฺ ไม่มียานพาหนะประเภทรถต่างๆ ถนนแบบคอตกรีต หรือลาดยางก็ไม่มี นี้แหละคือบิดอะฮฺดี ทางโลกดุนยา หรือตามหลักภาษา มันไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่ถ้าเป็นเรื่องศาสนาถึงแม้มนุษย์จะมองว่ามันเป็นเรื่องที่ดี ก็ถือเป็นบิดอะฮฺฎอลาละฮ์ หรือบิดอะฮ์เลว บิดอะฮฺหลงผิด

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا  ( 3 ) อัล-มาอิดะฮฺ - Ayaa 3

"วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5:3)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ท่านทั้งหลายจงออกห่างสิ่งต่างๆที่ถูกทำขึ้นใหม่ เพราะว่าทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นใหม่นั้น เป็นอุตริกรรม และทุสิ่งที่เป็นอุตริกรรมนั้น เป็นความหลงผิด และทุกความหลงผิดนั้น อยู่ในนรก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามนะซาอีย์)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ใครที่ได้ทำขึ้นมาใหม่ซึ่งสิ่งที่มีอยู่ในเรื่องราวของเรา มันก็เป็นสิ่งที่ถูกตีกลับ(อัลลอฮฺไม่ทรงรับ)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

รายงานจากท่านอิบนุ มาญิชูน ว่า ท่านอิมามมาลิก บิน อนัส (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.179) ท่านกล่าวว่า
"ผู้ใดอุตริกรรมสิ่งใดขึ้นมาในอิสลาม โดยมองว่ามันเป็นเรื่องดี แน่นอนเขาผู้นั้นกล่าวหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าทุจริต(หรือบกพร่อง) ในการปฏิบัติหน้าที่รสูล เพราะพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานาฮูวาตาอาลา ทรงกล่าวเอาไว้แล้วว่า วันนี้ ข้าฯ ได้ให้ศาสนาของพวกเจ้า สมบูรณ์แล้ว...ดังนั้น สิ่งใดก็ตามถ้าหากในวันนั้นมิใช่ (เป็นเรื่องของ)ศาสนา มาในวันนี้ มันก็มิใช่เรื่องศาสนา"(หนังสือ "อัล-เอี๊ยะอฺติศอม" ของท่านอัช-ชาฏิบียฺ เล่ม 1 หน้า 49)


والله أعلم بالصواب






บาปใหญ่สุด ณ อัลลอฮ์


บาปใหญ่สุด ณ อัลลอฮฺตะอาลา นั้น คือ การตั้งภาคีใหญ่สุด ที่เป็นการผินเอาการเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ไปให้แก่ผู้อื่น นอกเหนืออัลลอฮฺ อย่างการไปวิงวอนขอจากจากปู่ย่าตายายที่เสียชวิตไปแล้ว ไปวอนขอต่อหลุ่มฝังศพ เป็นต้น

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 يَا بُنَيَّ لَا تُشْرِكْ بِاللَّهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ ( 13 ) ลุกมาน - Ayaa 13

“โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน"  (อัลกุรอาน สูเราะฮฺลุกมาน 31:13)

มีผู้ถามท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า
 "บาปใดที่ใหญ่สุด ณ อัลลอฮฺ ท่านตอบว่า
: การที่ท่านวิงวอนต่อผู้เทียบเคียง ไปพร้อมๆกับอัลลออฺในขณะที่พระองค์ทรงสร้างท่านมา" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์)



والله أعلم بالصواب





อย่าหลงกลความมั่งคั่งของกาฟิรฺ



อย่าหลงกลความมั่งคั่งของกาฟิรฺ (จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน 196)


อัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพื่อให้เราได้ใคร่ครวญศึกษาและยึดถือเป็นธรรมนูญชีวิต พระองค์ตรัสว่า
﴿ كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ [ص : ٢٩]
ความว่า "คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่าง ๆ ของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ" (ศอด: 29)
และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามแนวทางที่อายะฮฺนี้ได้วางไว้ ขอให้เราได้ลองสดับรับฟังอายะฮฺหนึ่งจากอัลกุรอาน แล้วลองใคร่ครวญถึงข้อคิดและบทเรียนที่ได้รับ พระองค์ตรัสว่า
﴿ لَا يَغُرَّنَّكَ تَقَلُّبُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ فِي ٱلۡبِلَٰدِ ١٩٦ مَتَٰعٞ قَلِيلٞ ثُمَّ مَأۡوَىٰهُمۡ جَهَنَّمُۖ وَبِئۡسَ ٱلۡمِهَادُ ١٩٧ لَٰكِنِ ٱلَّذِينَ ٱتَّقَوۡاْ رَبَّهُمۡ لَهُمۡ جَنَّٰتٞ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَا نُزُلٗا مِّنۡ عِندِ ٱللَّهِۗ وَمَا عِندَ ٱللَّهِ خَيۡرٞ لِّلۡأَبۡرَارِ ١٩٨ ﴾ [آل عمران: ١٩٦-١٩٨]
ความว่า "อย่าให้การเคลื่อนไหวของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในเมือง ลวงเจ้าได้เป็นอันขาด มันเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์เล็กน้อยเท่านั้น แล้วที่อยู่ของพวกเขานั้นคือญะฮันนัม และช่างเป็นที่พักนอนที่เลวร้ายจริง ๆ แต่บรรดาผู้ที่ยำเกรงพระเจ้าของพวกเขานั้น สำหรับพวกเขาคือบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของสวนสวรรค์เหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล ทั้งนี้เป็นสถานที่รับรองที่มาจากอัลลอฮฺ และสิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺนั้น คือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่เป็นคนดีทั้งหลาย" (อาล อิมรอน: 196-198)

ชัยคฺ อับดุรฺเราะหฺมาน บิน สะอฺดีย์ กล่าวว่า “อายะฮฺนี้เป็นการปลอบประโลม ไม่ให้รู้สึกท้อใจเมื่อได้เห็นบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาใช้ชีวิตในโลกดุนยาอย่างสุขสำราญ มีธุรกิจการค้าที่ใหญ่โตสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ในบางยุคบางสมัยพวกเขายังครอบครองอำนาจและความยิ่งใหญ่ทั่วปฐพีอีกด้วย ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงความสำราญชั่วคราวที่ไม่จีรังยั่งยืน โดยพวกเขาจะได้ลิ้มรสความสุขสบายเหล่านั้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกลงโทษอย่างสาหัสสากรรจ์
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือสภาพของกาฟิรฺผู้ปฏิเสธศรัทธาที่มีความเป็นอยู่อย่างเลิศหรูในโลกดุนยา แต่จุดจบสุดท้ายก็เป็นอย่างที่ทราบ ส่วนผู้ศรัทธาที่มีความยำเกรงนั้น นอกจากพวกเขาจะมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติและสุขสบายในโลกดุนยาแล้ว พวกเขายังจะได้รับสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำลำธารไหลผ่านเบื้องล่างเป็นรางวัลตอบแทนอีกด้วย และถ้าหากว่าเขาได้ประสบกับความเดือดร้อนลำบากในโลกดุนยาบ้าง สิ่งนั้นก็ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับความสุขอันสถาพรและชีวิตที่ยืนยงในสวนสวรรค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงตรัสว่า
﴿ وَمَا عِندَ ٱللَّهِ خَيۡرٞ لِّلۡأَبۡرَارِ ﴾
ความว่า “และสิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺนั้น คือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่เป็นคนดีทั้งหลาย”

หมายถึงผู้ที่คำพูดและการกระทำของเขาล้วนแสดงออกถึงความดีงาม อัลลอฮฺผู้ทรงเปี่ยมเมตตาจึงทรงตอบแทนความดีของเขาด้วยผลบุญที่ยิ่งใหญ่มหาศาล และทรงประทานความสุขสบายที่ยั่งยืนชั่วนิรันดร” (ตัฟสีรฺ อิบนฺ สะอฺดีย์ หน้า 144)
ส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่ได้รับจากอายะฮฺนี้ คือ
หนึ่ง ผู้ศรัทธาไม่ควรจะหลงใหลได้ปลื้มไปกับสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาอันเต็มไปด้วยความสุขความสำราญ และความรื่นเริงใจ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงความสุขชั่วครู่ที่รอวันสิ้นสุด แล้วจึงถึงเวลาที่พวกเขาจะได้รับโทษอันเจ็บปวดสาสมชั่วกาลนาน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ أَفَمَن وَعَدۡنَٰهُ وَعۡدًا حَسَنٗا فَهُوَ لَٰقِيهِ كَمَن مَّتَّعۡنَٰهُ مَتَٰعَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا ثُمَّ هُوَ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ مِنَ ٱلۡمُحۡضَرِينَ ٦١ ﴾ [القصص: ٦١]
ความว่า "ดังนั้น ผู้ใดที่เราได้ให้สัญญาแก่เขาซึ่งเป็นสัญญาอันดีงาม แล้วเขาก็จะเป็นผู้ได้พบมัน จะเหมือนกับผู้ที่เราได้ให้ปัจจัยแก่เขาซึ่งแห่งชีวิตของโลกนี้ แล้วในวันกิยามะฮฺเขาจะเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า(เพื่อรับการลงโทษ)กระนั้นหรือ" (อัล-เกาะศ็อศ: 61)

และพระองค์ตรัสว่า
﴿ قُلۡ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَفۡتَرُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ لَا يُفۡلِحُونَ ٦٩ مَتَٰعٞ فِي ٱلدُّنۡيَا ثُمَّ إِلَيۡنَا مَرۡجِعُهُمۡ ثُمَّ نُذِيقُهُمُ ٱلۡعَذَابَ ٱلشَّدِيدَ بِمَا كَانُواْ يَكۡفُرُونَ ٧٠ ﴾ [يونس : ٦٩-٧٠]
ความว่า "จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แท้จริงบรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺนั้น พวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จดอก เป็นเพียงความเพลิดเพลินในโลกนี้ แล้วพวกเขาก็กลับคืนมาสู่เรา แล้วเราจะให้พวกเขาลิ้มรสการลงโทษอย่างหนัก เพราะเหตุที่พวกเขาปฏิเสธศรัทธา" (ยูนุส: 69-70)

ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« يُؤْتَى بِأَنْعَمِ أَهْلِ الدُّنْيَا مِنْ أَهْلِ النَّارِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فَيُصْبَغُ فِي النَّارِ صَبْغَةً، ثُمَّ يُقَالُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ خَيْرًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ نَعِيمٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ. وَيُؤْتَى بِأَشَدِّ النَّاسِ بُؤْسًا فِي الدُّنْيَا، مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، فَيُصْبَغُ صَبْغَةً فِي الْجَنَّةِ، فَيُقَالُ لَهُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ بُؤْسًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ شِدَّةٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ مَا مَرَّ بِي بُؤْسٌ قَطُّ، وَلَا رَأَيْتُ شِدَّةً قَطُّ » [رواه مسلم برقم 2807]
ความว่า "ในวันกิยามะฮฺ ชาวนรกที่เคยมีความเป็นอยู่สุขสบายมั่งคั่งที่สุดในโลกดุนยาจะถูกนำตัวมา จากนั้นก็จะถูกจุ่มลงไปในไฟนรกชั่วขณะหนึ่ง แล้วจึงมีเสียงกล่าวแก่เขาว่า มนุษย์เอ๋ย (ที่ผ่านมาในโลกดุนยาแต่ก่อน) เจ้าเคยประสบกับความดีงามบ้างไหม? เจ้าเคยได้รับความสุขสบายใด ๆ บ้างไหม? เขาก็จะตอบว่า ไม่เคยเลยสักนิด(เมื่อเอามาเทียบกับการโดนลงโทษในนรก) ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาล! จากนั้นชาวสวรรค์ซึ่งเคยมีความเป็นอยู่ที่ลำบากแร้นแค้นที่สุดในโลกดุนยาก็ถูกนำตัวมา และถูกโยนเข้าไปสวรรค์ชั่วขณะหนึ่ง แล้วจึงมีเสียงกล่าวแก่เขาว่า (ในดุนยา)เจ้าเคยได้ลิ้มรสความลำบากยากเข็ญมาบ้างไหม? เขาก็จะตอบว่า ไม่เลย ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้พระผู้ทรงอภิบาล ข้าพระองค์ไม่เคยได้รับความลำบากใด ๆ มาก่อนเลย ข้าพระองค์ไม่เคยรู้สึกถึงความเดือดร้อนใด ๆ เลยแม้แต่น้อย(เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับเป็นความสุขในสวรรค์)" (บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 2807)
สอง การที่อัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายและสิ่งอำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่ผู้หนึ่งผู้ใดอย่างมากมายนั้น มิได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเขาแต่อย่างใด พระองค์ตรัสว่า
﴿ أَيَحۡسَبُونَ أَنَّمَا نُمِدُّهُم بِهِۦ مِن مَّالٖ وَبَنِينَ ٥٥ نُسَارِعُ لَهُمۡ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِۚ بَل لَّا يَشۡعُرُونَ ٥٦ ﴾ [المؤمنون : ٥٥-٥٦]  
ความว่า "พวกเขาคิดหรือว่า สิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขา เช่น ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานนั้น เราได้รีบเร่งให้ความดีต่าง ๆ แก่พวกเขากระนั้นหรือ เปล่าเลย แต่ทว่าพวกเขาไม่มีความรู้สึกหรอก" (อัล-มุอ์มินูน: 55-56)

มีรายงานหะดีษบันทึกในมุสนัดอะหฺมัด (หะดีษเลขที่ 17311) จากท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا رَأَيْتَ اللَّهَ يُعْطِي الْعَبْدَ مِنَ الدُّنْيَا عَلَى مَعَاصِيهِ مَا يُحِبُّ، فَإِنَّمَا هُوَ اسْتِدْرَاجٌ » [مسند أحمد رقم 17311]
ความว่า "ถ้าท่านเห็นว่าอัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายในโลกดุนยาให้แก่คนใดคนหนึ่งอย่างมากมาย ทั้งที่เขาผู้นั้นจมปลักอยู่กับบาปความผิดและการฝ่าฝืน ก็พึงทราบเถิดว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงการประวิงเวลาให้เขาชะล่าใจ"
แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านอายะฮฺต่อไปนี้
﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦ فَتَحۡنَا عَلَيۡهِمۡ أَبۡوَٰبَ كُلِّ شَيۡءٍ حَتَّىٰٓ إِذَا فَرِحُواْ بِمَآ أُوتُوٓاْ أَخَذۡنَٰهُم بَغۡتَةٗ فَإِذَا هُم مُّبۡلِسُونَ ٤٤ ﴾ [الأنعام: ٤٤]
ความว่า "ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึก เราก็ปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง จนกระทั่งเมื่อพวกเขาระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง" (อัล-อันอาม: 44)

สาม การที่อัลลอฮฺทรงประวิงเวลาให้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้เสวยสุขอย่างเพลิดเพลินใจและได้รับสิ่งอำนวยประโยชน์อันมากมายนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการเพิ่มบาปและโทษทัณฑ์ที่พวกเขาจะได้รับในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَا يَحۡسَبَنَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْ أَنَّمَا نُمۡلِي لَهُمۡ خَيۡرٞ لِّأَنفُسِهِمۡۚ إِنَّمَا نُمۡلِي لَهُمۡ لِيَزۡدَادُوٓاْ إِثۡمٗاۖ وَلَهُمۡ عَذَابٞ مُّهِينٞ ١٧٨ ﴾ [آل عمران: ١٧٨]
ความว่า "และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่า ที่เราประวิงให้แก่พวกเขานั้นเป็นการดีแก่ตัวของพวกเขา แท้ที่จริงที่เราประวิงให้แก่พวกเขานั้น เพื่อพวกเขาจะได้เพิ่มพูนซึ่งบาปกรรมเท่านั้น และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันต่ำช้า" (อาล อิมรอน: 178)

และพระองค์ตรัสว่า
﴿ فَلَا تُعْجِبْكَ أَمْوَلُهُمْ وَلَا أَوْلَدُهُمْۚ إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ بِهَا فِي الْحَيَوةِ الدُّنْيَا وَتَزْهَقَ أَنْفُسُهُمْ وَهُمْ كَفِرُونَ ١٧٨ ﴾ [التوبة: 55]
ความว่า "ดังนั้นจงอย่าให้ทรัพย์สมบัติของพวกเขาและอย่าให้ลูก ๆ ของพวกเขาเป็นที่พึงใจแก่เจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงต้องการที่จะลงโทษพวกเขาด้วยสิ่งเหล่านั้นในชีวิตแห่งโลกนี้ และให้ชีวิตของพวกเขาออกจากร่างไป ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น" (อัต-เตาบะฮฺ: 55)


สี่ การที่อัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในโลกดุนยานี้ ก็เพราะว่าความสุขสบายเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไร้ซึ่งความสำคัญ ทั้งยังเป็นบททดสอบสำหรับพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَيَوۡمَ يُعۡرَضُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ عَلَى ٱلنَّارِ أَذۡهَبۡتُمۡ طَيِّبَٰتِكُمۡ فِي حَيَاتِكُمُ ٱلدُّنۡيَا وَٱسۡتَمۡتَعۡتُم بِهَا فَٱلۡيَوۡمَ تُجۡزَوۡنَ عَذَابَ ٱلۡهُونِ بِمَا كُنتُمۡ تَسۡتَكۡبِرُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّ وَبِمَا كُنتُمۡ تَفۡسُقُونَ ٢٠ ﴾ [الأحقاف: ٢٠]  
ความว่า "และวันที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกนำมาอยู่ต่อหน้าไฟนรก (จะมีเสียงกล่าวแก่พวกเขาว่า) พวกเจ้าได้เอาสิ่งดีงามทั้งหลายของพวกเจ้า ในการดำรงชีวิตของพวกเจ้าในโลกดุนยาไปแล้ว และพวกเจ้าได้มีความสำราญกับมันแล้ว ฉะนั้นวันนี้พวกเจ้าจะได้รับการตอบแทนด้วยการลงโทษอันอัปยศ เนื่องด้วยพวกเจ้าหยิ่งยโสในแผ่นดินโดยไม่เป็นธรรม และเนื่องด้วยพวกเจ้าฝ่าฝืน" (อัล-อะหฺกอฟ: 20)

ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ اللهَ لَا يَظْلِمُ مُؤْمِنًا حَسَنَةً، يُعْطَى بِهَا فِي الدُّنْيَا وَيُجْزَى بِهَا فِي الْآخِرَةِ، وَأَمَّا الْكَافِرُ فَيُطْعَمُ بِحَسَنَاتِ مَا عَمِلَ بِهَا لِلَّهِ فِي الدُّنْيَا، حَتَّى إِذَا أَفْضَى إِلَى الْآخِرَةِ، لَمْ تَكُنْ لَهُ حَسَنَةٌ يُجْزَى بِهَا » [رواه مسلم برقم 2808]
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรมต่อผู้ศรัทธากับความดีใด ๆ ที่เขาได้กระทำไป โดยเขาจะได้รับผลของความดีนั้นในโลกดุนยา และยังจะได้รับผลบุญในอาคิเราะฮฺอีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น คุณงามความดีใด ๆ ที่เขากระทำไปในโลกดุยา เขาก็จะได้รับสิ่งที่ดีงามตอบแทนในโลกดุนยานั้นทันที กระทั่งเมื่อเขาไปยังโลกอาคิเราะฮฺแล้ว จะไม่เหลือผลบุญความดีใด ๆ ให้เขาอีกต่อไป” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2808)



และมีรายงานบันทึกไว้ว่า เมื่อท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ขึ้นไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ณ สถานที่ซึ่งท่านได้ปลีกตัวออกห่างจากบรรดาภริยาของท่านระยะหนึ่ง แล้วเห็นท่านนอนเอนตัวอยู่บนเสื่อสานจนสีข้างเป็นรอย ท่านอุมัรฺก็ร้องไห้น้ำตาซึมพร้อมกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ในขณะที่
กิสรอ/คุสโร (กษัตริย์เปอร์เซีย) และก็อยศ็อรฺ (กษัตริย์โรม) ต่างเสวยสุขอย่างเต็มที่ แต่ท่านซึ่งเป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือกจากบรรดาบ่าวของพระองค์กลับมีสภาพความเป็นอยู่เช่นนี้หรือ?” เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งกำลังนอนเอนตัวอยู่ก็ลุกขึ้นนั่งและกล่าวว่า
« أَفِي شَكٍّ أَنْتَ يَا ابْنَ الْخَطَّابِ، أُولَئِكَ قَوْمٌ عُجِّلَتْ لَهُمْ طَيِّبَاتُهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا »
ความว่า “ท่านกำลังเคลือบแคลงสงสัยอยู่อย่างนั้นหรือ บุตรอัล-ค็อฏฏอบเอ๋ย พวกเขาเหล่านั้นเป็นกลุ่มชนที่ความสุขสบายต่าง ๆ ถูกประเคนให้พวกเขาเฉพาะขณะมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยานี้เท่านั้น”

ในรายงานอีกกระแสหนึ่งท่านกล่าวว่า
« أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ لَهُمُ الدُّنْيَا وَلَنَا الآخِرَةُ » [رواه البخاري برقم 4913 ومسلم برقم 1479]
ความว่า “ท่านไม่พอใจอย่างนั้นหรือ กับการที่พวกเขาได้ดุนยาไป ในขณะที่เราได้อาคิเราะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4913 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1479)
ห้า ส่งเสริมให้มุ่งสู่อาคิเราะฮฺและให้มักน้อยในโลกดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَلَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ زَهۡرَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا لِنَفۡتِنَهُمۡ فِيهِۚ وَرِزۡقُ رَبِّكَ خَيۡرٞ وَأَبۡقَىٰ ١٣١ ﴾ [طه: ١٣١]
ความว่า "และเจ้าจงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เราได้ให้ความเพลิดเพลินแก่บุคคลประเภทต่าง ๆ ของพวกเขา(ที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ)ซึ่งความสุขสำราญในโลกดุนยา เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้ และการตอบแทนของพระเจ้าของเจ้านั้นดียิ่งกว่าและจีรังยิ่งกว่า" (ฏอฮา: 131)

และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَزُخۡرُفٗاۚ وَإِن كُلُّ ذَٰلِكَ لَمَّا مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۚ وَٱلۡأٓخِرَةُ عِندَ رَبِّكَ لِلۡمُتَّقِينَ ٣٥ ﴾ [الزخرف: ٣٥]
ความว่า "และเราจะให้เครื่องประดับแก่พวกเขา(ที่ทำด้วยทองคำ) แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวแห่งชีวิตในโลกนี้เท่านั้น ส่วนในปรโลก ณ ที่พระเจ้าของเจ้านั้นถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ยำเกรง" (อัซ-ซุครุฟ: 35)
หก เน้นย้ำถึงความต่ำต้อยด้อยค่าของโลกดุนยา ณ อัลลอฮฺ ดังที่มีรายงานหะดีษจากท่านสะฮลฺ บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَعْدِلُ عِنْدَ اللَّهِ جَنَاحَ بَعُوضَةٍ مَا سَقَى كَافِرًا مِنْهَا شَرْبَةَ مَاءٍ» [رواه الترمذي برقم 2320]
ความว่า “หากว่าดุนยามีค่า ณ อัลลอฮฺแม้เท่าปีกยุง แน่นอนว่าพระองค์จะไม่ทรงปล่อยให้ผู้ปฏิเสธศรัทธาได้รับสิ่งใดจากดุนยาเลย แม้แต่การดื่มน้ำเพียงอึกเดียว” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2320)

ในหะดีษอีกบทหนึ่งระบุว่า ท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مَرَّ بِالسُّوقِ دَاخِلاً مِنْ بَعْضِ الْعَالِيَةِ وَالنَّاسُ كَنَفَتَهُ، فَمَرَّ بِجَدْىٍ أَسَكَّ مَيِّتٍ، فَتَنَاوَلَهُ فَأَخَذَ بِأُذُنِهِ، ثُمَّ قَالَ «أَيُّكُمْ يُحِبُّ أَنَّ هَذَا لَهُ بِدِرْهَمٍ ». فَقَالُوا: مَا نُحِبُّ أَنَّهُ لَنَا بِشَىْءٍ وَمَا نَصْنَعُ بِهِ؟، قَالَ «أَتُحِبُّونَ أَنَّهُ لَكُمْ». قَالُوا: وَاللَّهِ لَوْ كَانَ حَيًّا كَانَ عَيْبًا فِيهِ لأَنَّهُ أَسَكُّ، فَكَيْفَ وَهُوَ مَيِّتٌ، فَقَالَ: «فَوَاللَّهِ لَلدُّنْيَا أَهْوَنُ عَلَى اللَّهِ مِنْ هَذَا عَلَيْكُمْ». [رواه مسلم برقم 2956]
ความว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินผ่านตลาดโดยที่ผู้คนต่างห้อมล้อมท่าน ท่านเห็นซากลูกแพะซึ่งมีหูเล็ก ท่านจึงหยิบมันขึ้นมาแล้วกล่าวขึ้นมาว่า “ผู้ใดสนใจจะซื้อลูกแพะตัวนี้ด้วยราคาหนึ่งดิรฮัมบ้าง?” พวกเขาต่างกล่าวตอบว่า “เราไม่สนใจจะซื้อมันหรอกครับ ไม่ว่าราคามันจะถูกแค่ไหนก็ตาม เราจะซื้อมันมาเพื่อประโยชน์อันใดหรือครับ” ท่านจึงถามต่อว่า “แล้วพวกท่านสนใจไหมถ้ามันจะเป็นของพวกท่าน” พวกเขาตอบว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากว่ามันยังมีชีวิตอยู่ มันก็มีตำหนิเพราะหูมันเล็ก ถ้าเป็นซากศพเช่นนี้ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันก็ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าดุนยานี้ไร้ค่า ณ อัลลอฮฺ ยิ่งกว่าความไร้ค่าของซากสัตว์ตัวนี้ในสายตาของพวกท่านเสียอีก” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2956)

และมีรายงานจากมุสเตาริด เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« وَاللهِ مَا الدُّنْيَا فِي الْآخِرَةِ إِلَّا مِثْلُ مَا يَجْعَلُ أَحَدُكُمْ إِصْبَعَهُ هَذِهِ - وَأَشَارَ يَحْيَى بِالسَّبَّابَةِ - فِي الْيَمِّ، فَلْيَنْظُرْ بِمَ تَرْجِعُ؟ » [رواه مسلم برقم 2858]  
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โลกดุนยานั้นเมื่อเทียบกับอาคิเราะฮฺแล้ว เปรียบได้กับการที่คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจุ่มนิ้วของเขานี้ (นิ้วชี้) ลงไปในน้ำทะเล ก็ลองคิดดูแล้วกันว่าเมื่อเขายกนิ้วขึ้นมาแล้วจะมีอะไรติดมาบ้าง?” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2858)
อบุล อะตาฮิยะฮฺ กล่าวบรรยายสภาพของดุนยาว่า
إِذَا أَبْقَتِ الدُّنْيا عَلَى المَرْءِ دِينَهُ   فَمَا فَاتَهُ مِنْهَا فَلَيْسَ بِضَائِرِ
إِذَا كُنْتَ بِالدُّنْيَا بَصِيرًا فَإِنَّمَا   بَلاغُكَ مِنْهَا مِثْلُ زَادِ المُسافِرِ
وَإِنَّ امْرأً يَبْتَاعُ دُنْيَا بِدِينِهِ   لَمُنْقَلِبٌ مِنْهَا بِصَفْقَةِ خاسِر
أَلَمْ تَرَهَا تُرْقِيهِ حَتَّى إِذَا سَمَا   فَرَتْ حَلْقَهُ مِنْهَا بِمُدْيَةِ جَازِرِ
وَلا تَعْدِلُ الدُّنْيَا جَنَاحَ بَعُوضَةٍ   لَدَى اللهِ أَوْ مِعْشَارَ زُغْبَةِ طَائِرِ
ถ้ายังยืนหยัดในศาสนาได้        เรื่องดุนยาที่เสียไปก็ไม่สำคัญ
หากรู้จักดุนยาอย่างชัดแจ้ง       คงหวังแค่เตรียมสัมภาระไว้เดินทาง
ผู้ใดขายศาสนาแลกกับดุนยา   ย่อมตายไปในสภาพที่ขาดทุน
มันจะลวงล่อเขาให้หลงใหล      แล้วจึงเชือดให้ตายอย่างทารุณ
ณ อัลลอฮฺดุนยาไร้ค่าแม้ปีกยุง  หรือแม้แต่เศษเสี้ยวของขนนก


والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.


............................................................

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

แปลโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

ความรำ่รวยอยู่ที่ความพอใจ



อิสลามไม่ถือว่าความรำ่รวยนั้นอยู่ที่ว่าใครมีทรัพย์สินเงินทองหรือมีการครอบครองทรัพยกรมากกว่า แต่อิสลามถือว่าผู้ที่มีความพอ
ดีและพึ่งพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ นั้น
แหละคือ ความรำ่รวยของเขา

เมื่อผู้ใดตื้นขึ้นมาในตอนเช้า แล้ว
เขาผู้นั้นปลอดภัยในชีวิตเขา มี ความสุขในร่างกายของเขา มีอา
หารในวันนั้นก็ถือว่าคล้ายกับโลก
นี้เป็นของเขาแล้ว เราไม่จำเป็น
ต้องมีเงินล้าน บ้านใหญ่โตฬาร แม้เพียงเรามีบ้านหลังเล็กๆ มีเสื้อ
ผ้าเครื่องนุ่มห่มพอเพียงปิดสิ่งสงวนการ มีอาหารเครื่องดื้มพอ
เพียงสำหรับตนและครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องไปแบมือขอทาน หรือไปรบกวนก่อความ
เดือดร้อนแก่ผู้ใดนั้นแหละคือความพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮประ
ทานมาให้แก่เขาผู้นั้น และนั้นคือ
ความรำ่รวยของเขา....

รายงานจากท่านอะบีฮูรัยเราะฮฺ(ร.ฎ)เล่าว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าว
ว่า "ไม่ใช่ความรำ่รวย เนื่องมา
จากมีข้าวของมากมาย แต่ความ
รำ่รวยนั้นอยู่ที่ความพอใจ"
รายงานโดยบุคอรี มุสลิม ตีรมีซีย์

"เมื่อคนหนึ่งของพวกท่าน เห็น
คนที่ดีกว่าตัว ทั้งในด้านทรัพย์สิน
และรู้ร่าง ให้เขามองดูคนที่ตำ่กว่
าเขา" (บุคอรี มุสลิม และตีรมีซีย์)

"ท่านทั้งหลายจงมองดูคนที่ตำ่กว่าพวกท่าน และอย่ามองดูคนที่
สูงกว่าพวกท่านเพราะการมองดู
คนที่สูงกว่านั้น มันเหมาะที่จะทำ
ให้พวกท่านไม่ขอความโปรดปรานของอัลลอฮ เพิ่มเติมให้แก่
ตัวของพวกท่านเอง"
(บุคอรี มุสลิม และตีรมีซีย์)

"ใครบ้างที่จะเอาถ้อยคำเหล่านี้
ไปจากฉัน แล้วนำมันไปปฏิบัติหรื
อสอนแก่คนที่จะนำไปปฏิบัต ิฉันตอบว่า ฉันเอง โอ้ท่านรอซูล
ของอัลลอฮ" ท่านจับมือฉัน และ
ได้นับ5 ประการ โดยกล่าวว่า
"จงกลัวสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย ท่าน
จะเป็นมนุษย์ที่ทำอีบาดะฮดีที่สุด
จงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮแบ่งปันใหั
แก่ท่าน ท่านจะเป็นมนุษยที่รำ่รวย
ที่สุด จงทำดีต่อเพื่อนบ้านของท่า
น ท่านจะเป็นผู้มีศรัทธา จงปราถ
นาให้เพื่อนมนุษย์ได้รับสิ่งที่ท่าน
ปราถนาให้ได้แก่ท่านเอง ท่านจะ
เป็นมุสลิม และอย่าได้หัวเราะมา
ก เพราะการหัวเราะมากจะทำให้
หัวใจตายด้าน"(ตีรมีซีย์ อิหม่าน
อะหมัด)

รายงานจากท่านอุบัยดิ้ลละฮ บุตรมิฮซอน จากบิดาของเขา(ร.ฏ) เล่าว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าว
ว่า "ผู้ใดจากพวกท่านที่ตื้นเช้ามา
ปลอดภัยในชีวิตของเขา มีความ
สุขในร่างกายของเขา เขามีอา
หารในวันนั้นคล้ายกับว่าโลกนี้เป็นของเขา" (ตีรมีซีย์)

.......................
Mareena Khan

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การตั้งภาคีใหญ่สุด


การตั้งภาคี(ชิริก) : الشرك: ที่ใหญ่สุด คือการผินเอาการเคารภักดีชนิดหนึ่งชนิดใด ไปให้แก่ผู้อื่น นอกเหนือจากพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา เช่น การวิงวอนขอ การเชือดสัตว์พลี เป็นต้น

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

ولاتدعمندوناللهمالاينفعكولايضركفإنفعلتفإنكإذامنالظالمين (106)ยูนุส - Ayaa 106

“และเจ้าอย่าวิงวอนสิ่งใดอื่นจากอัลลอฮ์ที่ไม่อำนวยประโยชน์แก่เจ้า และไม่ให้โทษแก่เจ้าหากเจ้ากระทำเช่นนั้นแท้จริงเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้อธรรม”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺยูนุส 10:106 )

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บาปใหญ่ที่สุด คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การฝ่าฝืนพ่อแม่ และเป็นพยานเท็จ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

والله أعلم بالصواب






บทลงโทษการฆาตกรรมตามหลักกฎหมายอิสลาม



การฆาตกรรม (قَتْلُ النَّفْسِ)

การฆาตกรรม คือ การประทุษร้ายต่อร่างกายหรืออวัยวะในร่างกายของบุคคลอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย หรือหมายถึงการฆ่าชีวิตมนุษย์นั่นเอง ในหลักศาสนาอิสลามถือว่าการฆาตกรรมเป็นสิ่งต้องห้าม และมีโทษร้ายแรงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งนี้ เพราะการฆาตกรรมเป็นการละเมิดต่อชีวิตที่เป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยของหมู่ชนตลอดจนวิถีชีวิตในสังคมมนุษย์

พระองค์อัลลอฮฺ ทรงดำรัสว่า

(وَلاَ تَقْتُلُواْ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللّهُ إِلاَّ بِالْحَقِّ الآية)

“และพวกสูเจ้าอย่าได้สังหารชีวิตซึ่งพระองค์อัลลอฮฺทรงบัญญัติห้ามเอาไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น”   (สูเราะฮฺ อัล-อันอาม อายะฮฺที่ 151)


การฆาตกรรมตามกฎหมายอิสลามมี 3 ชนิดคือ

1. การฆาตกรรมโดยเจตนา คือ การที่บุคคลมีเจตนาสังหาร (ฆ่า) บุคคลด้วยสิ่งที่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่

2. การฆาตกรรมโดยกึ่งเจตนา หมายถึง การที่บุคคลมีเจตนาประทุษร้ายโดยมิชอบต่อบุคคลด้วยการใช้สิ่งที่ไม่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่ แต่บุคคลถึงแก่ความตายด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น อาทิเช่น การใช้ไม้ขนาดเล็กตีเบาๆแล้วผู้ถูกตีก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากการตีนั้น


3. การฆาตกรรมโดยเกิดความผิดพลาด คือ การที่บุคคลได้กระทำสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้เช่น การยิงสัตว์ที่ถูกล่าแล้วพลาดไปโดนบุคคลเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือมีความผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาเกิดขึ้น

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

وَمَن يَقْتُلْ مُؤْمِنًا مُّتَعَمِّدًا فَجَزَآؤُهُ جَهَنَّمُ خَالِدًا فِيهَا وَغَضِبَ اللّهُ عَلَيْهِ وَلَعَنَهُ وَأَعَدَّ لَهُ عَذَابًا عَظِيمًا

“และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนา การตอบแทนของผู้นั้นคือนรกอเวจีโดยที่เขาอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺทรงกริ้วผู้นั้น และทรงสาปแช่งเขา อีกทั้งทรงเตรียมการลงโทษทัณฑ์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้นั้นแล้ว   (สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 93)

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِصَاصُ فِي الْقَتْلَى الْحُرُّ بِالْحُرِّ وَالْعَبْدُ بِالْعَبْدِ وَالأُنثَى بِالأُنثَى فَمَنْ عُفِيَ لَهُ مِنْ أَخِيهِ شَيْءٌ فَاتِّبَاعٌ بِالْمَعْرُوفِ وَأَدَاء إِلَيْهِ بِإِحْسَانٍ ذَلِكَ تَخْفِيفٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَرَحْمَةٌ فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِكَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِيمٌ

“โอ้บรรดาศรัทธาชน การประหารชีวิตให้ตายตกตามกันไปในหมู่ผู้ถูกฆาตกรรมได้ถูกบัญญัติเหนือพวกสูเจ้าแล้ว เสรีชนต่อเสรีชน ทาสต่อทาส สตรีต่อสตรี ดังนั้นผู้ใดถูกอภัยให้แก่เขาผู้นั้น ซึ่งสิ่งหนึ่งจากพี่น้องของผู้ถูกฆาตกรรม ก็ให้ปฏิบัติตามความเหมาะสมและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแต่โดยดี ดังกล่าวนั้นคือการผ่อนปรนจากพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าและคือความเมตตา ดังนั้นผู้ใดละเมิดหลังจากนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดยิ่ง”  (สูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 178)

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

وَمَن قَتَلَ مُؤْمِنًا خَطَئًا فَتَحْرِيرُ رَقَبَةٍ مُّؤْمِنَةٍ وَدِيَةٌ مُّسَلَّمَةٌ إِلَى أَهْلِهِ

“และผู้ใดได้สังหารผู้ศรัทธาโดยผิดพลาดแล้ว ก็ให้ปลดปล่อยทาสผู้ศรัทธา 1 คนให้เป็นไทแก่ตน และจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ถูกส่งมอบไปยังครอบครัวผู้ศรัทธาที่ถูกสังหารนั้น”  (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 92)


( وَمَنْ قُتِلَ مَظْلُوْمًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِيِّهِ سُلْطَانًا فَلاَ يُسْرِفْ فِي الْقَتْلِ إِنَّهُ كَانَ مَنْصُوْرًا )

และผู้ใดถูกฆ่าโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นเรา (อัลลอฮฺ) ได้ให้อำนาจแก่ทายาทหรือผู้ปกครองของเขา (ที่จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด) ฉะนั้นเขาจงอย่าล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า เพราะแท้จริงเขาเป็นผู้ที่ถูกช่วยเหลือ (ให้ได้รับสิทธิอยู่แล้ว)”  (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ อายะฮฺที่ 33)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ قَََتَلَ مُتَعَمِّدًادُفِعَ إِلىَ أَوْلِيَاءِ الْمَقْتُوْلِ ، فَإِنْ شَاﺅُوْاقَتَلُوْهُ ، وَإِنْ شَاﺅُوْاأَخَذُواالدِّيَةَ  وَهِىَ ثَلاَثُوْنَ حِقَّةً ، وثَلاَثُونَ جَذَعَةً وَأَرْبَعُونَ خَلِفَة - الحديث

“ผู้ใดฆ่าโดยเจตนา ผู้นั้นย่อมถูกผลักไปยังบรรดาทายาทของผู้ถูกฆ่า ดังนั้นหากบรรดาทายาทประสงค์ให้ประหารก็ให้ประหารชีวิตผู้นั้น และหากพวกเขาประสงค์ค่าสินไหมทดแทน พวกเขาก็เอาค่าสินไหมทดแทนนั้น คือ อูฐอายุ 3 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว , อูฐอายุ 4 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว  และอูฐที่ตั้งท้อง 40 ตัว...”   (รายงานโดย อัตติรมิซี -1387-)

รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

( شِبْهُ الْعَمْدِ قَتِيْلُ السَّوْطِ وَالْعَصٰا ، فِيْهِ مِائَةٌمِنَ اْلإِ بِلِ ، مِنْهَا أَرْبَعُوْنَ فِى بُطُوْنِهَاأَوْلاَدُهَا )

“กึ่งเจตนาคือ ผู้ที่ถูกสังหารด้วยแส้และไม้เท้า  ในการสังหารนี้คืออูฐ 100 ตัว จาก 100 ตัวนั้นคืออูฐ 40 ตัว ที่ในท้องของมันมีลูก”  (รายงานโดย อัน-นะสาอี)


ในกรณีที่ฆาตกรมีหลายคน กล่าวคือ เป็นหมู่คณะ ก็ให้ตัดสินประหารชีวิตฆาตกรทั้งหมด ดังปรากฏว่า :

1. ท่านอุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 7 คน หรือ 5 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง

2. ท่านอะลี (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 3 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง เป็นต้น

ทั้งนี้บรรดาอิหม่ามทั้ง 4 ท่านได้เห็นพ้องตรงกันว่า จำเป็นต้องประหารชีวิตกลุ่มคณะบุคคลที่ร่วมกันสังหารบุคคลเพียงคนเดียว เพื่อเป็นการปิดหนทางในการอาศัยช่องว่างทางกฏหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการตัดสินเช่นนี้

والله أعلم بالصواب


น้ำตาพี่น้องชาวซีเรีย



เธอเห็นน้ำตา....ฉันใหม...???
มันไหล...ออกเป็น สีนี้...
ได้ไหม...ช่วยหน่อย คนดี..
ช่วยหน่อย...
ช่วยหน่อย...
ช่วยหน่อย....
ช่วยฉันหน่อย.............พี่น้องของฉัน...

.........................
Cha-aree Ladee

เราไม่เอาหะดิษได้ไหม?



เรามุสลิมจะไม่เอาหะดิษไม่ได้ !!! เราต้องเอาหะดิษควบคู่ไปกับอัลกุรอาน เพราะหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ  ถือเหมือนอัลกุรอาน ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้รับวะฮีย์จากพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา เช่นเดียวกัน

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
"และเราได้ประทานอัลกุรอานลงมา เพื่อให้เจ้าได้แจกแจงแก่ผู้คนทั้งหลาย ซึ่งสิ่งที่ถูกประทานลงมายังพวกเขา และหวังว่าพวกเขาจะใช้ความคิด"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนะหล์ :44)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงฉันนี้ได้รับอัลกุรอาน และสิ่งที่เหมือนกับอัลกุรอาน มาพร้อมกับอัลกุรอาน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวู๊ด)

والله أعلم بالصواب

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ดุอาอ์โปรดรับการงาน



رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا إِنَّكَ أَنتَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ

อ่านว่า: ร็อบบ่านา ตะก็อบบัลมินนา อินน่าก้า อันตัซซ่ามีอุลอ่าลีม

ความว่า: พระผู้อภิบาลของเรา โปรดรับ(งาน) จากพวกเราด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้

ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ:127

ความละอายเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา



ความละอาย เป็นจริยธรรมประการหนึ่ง การที่บุคคลหนึ่งละเว้นสิ่งที่น่าตำหนิ หรือสิ่งที่เป็นความผิด หรือไม่เปิดเผยส่วนที่พึงปกปิด ถือว่าเขามีความละอาย ความละอายมีความผูกพันกับอิหม่าน

ท่านเราะซูล ได้กล่าวความว่า

"ความละอายเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา" (บันทึกโดย บุคคอรีย์และมุสลิม)

ขณะเดียวกันท่านเราะซูล ก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศรัทธาความว่า

"ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ตระหนัก จากคำพูดแห่งการเป็นนะบี (ศาสนฑูต) ยุคแรกคือ ถ้าหากท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ท่านปราถนาเถิด"

ผลของการมีความละอาย

1.การมีความละอายจะทำให้การอีหม่านของบุคคลสมบูรณ์ขึ้น จะทำให้ความศรัทธาสูงขึ้น

2. ผู้ใดที่ละอายต่ออัลลอฮ์ เขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ และของท่านเราะซูล จะไม่มีการยกเว้น หรือบิดเบือนในถ้อยคำต่างๆที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ และตามซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล อย่างแท้จริง

3. ความ ละอายจะทำให้บุคคลนั้น ไม่กล้าทำความชั่วและสิ่งที่น่าตำหนิ และน่ารังเกียจ เพราะความเกรงกลัวต่อพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ที่มีความละอาย จะไม่แม้แต่จะคิดในสิ่งที่ไม่ดี เพราะเขาอายต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทั้งที่เร้นลับและเปิดเผย

4.ด้วยความละอายจะทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเปิดเผยสิ่งที่พึงปกปิดต่อผู้อื่น ธรรมชาติของผู้หญิงปกติจะต้องมีความละอายอยู่ในตัว ไม่กล้าที่จะแสดงกิริยาที่ไม่สมควร ไม่กล้าที่จะโชว์สัดส่วนและเรือนร่างอย่างเปิดเผย ไม่กล้าพูดจาในสิ่งที่ไม่ดี นินทาว่าร้ายผู้อื่น ผู้หญิงที่ไม่มีความละอายมักจะทำสิ่งที่ตรงกันข้ามเสมอ และถ้านางหมดสิ้นความละอายที่อยู่ของนางก็คือนรกนั่นเอง

5.การจำแนกความแตกต่างระหว่างมนุษย์ และสัตว์ ก็คือความละอาย เพราะสัตว์ไม่ปกปิดไม่ว่าจะกิน จะถ่าย จะผสมพันธุ์ หรือจะนอน เราจะเห็นการปฏิบัติของสัตว์ทุกขั้นตอน แต่ผู้ที่เป็นมนุษย์ การกระทำทุกอย่างจะตรงข้ามกับสัตว์เดรัจฉาน การแยกมนุษย์จากสัตว์คือความละอาย มนุษย์มีมารยาทในการกิน มีห้องน้ำให้ขับถ่าย มีห้องนอนที่มิดชิดไว้สืบพันธุ์ มีบ้านเรือนให้อาศัย

6. ท่านเราะซูล กล่าวความว่า "ถ้าท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ปราถนาเถิด" ถ้อยคำนี้บอกถึง ไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่พึงละอาย เพราะถ้าหมดสิ้นความไร้ยางอายก็จะทำได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง

7. ผู้ ที่ไม่มีความละอาย เขาย่อมจะกระทำทุกสิ่งโดยไม่คำนึงถึง ว่าการกระทำดังกล่าว ชอบด้วยบัญญัติศาสนา ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและสอดคล้องกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมหรือไม่

แล้วท่านละอายต่อพระองค์หรือไม่ ! หรือละอายต่อตนเองบ้างหรือไม่

............................
สุวัฒน์ อิสมาแอล

เราทราบไหม?



เราทราบไหม?
อะไรคือสิ่งที่มีอนุภาพมากที่สุด
ที่ทำให้เราไปสู่ความสำเร็จในการใช้ชีวิต
เราทราบไหม?
อะไรที่เป็นดั่งกุญแจดอกสำคัญ
ที่ไขประตูชีวิตได้ทุกคนให้มีความสุข
ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
เราทราบไหม?
ว่าโลกนี้ เรามาเพื่อไป แต่โลกหน้าเราไปเพื่ออยู่
เราทราบไหม?
ว่าทรัพย์สมบัติที่เราขวนขวายไว้ ไม่ได้ตามเราไปสักอย่าง
เราทราบไหม?
ว่าเราต้องเตรียมเสบียงอะไรบ้างเพื่อสู่โลกสุดท้าย

............................
Ismaal Binmahmud

การงานที่มีการตั้งภาคีอยู่ด้วย


การงานที่มีการตั้งภาคีอยู่ด้วยนั้น จะไม่ให้สิ่งที่เป็นคุณแต่ประการใดแก่เขาผู้นั้นเลย การงานที่เขาทำไว้ก็สูญเปล่า และไร้ประโยชน์  ทั้งพระองค์อัลลอฮฺก็จะทอดทิ้งเขา

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 وَلَوْ أَشْرَكُوا لَحَبِطَ عَنْهُم مَّا كَانُوا يَعْمَلُونَ ( 88 ) อัล-อันอาม - Ayaa 88

"และหากเขาได้ให้มีภาคีขึ้นแล้ว แน่นอนสิ่งที่พวกเขาเคยกระทำกันมา ก็สูญสิ้นไปจากพวกเขา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6:88)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า
"พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
: ฉันเป็นผู้ถุกตั้งภาคีด้วย ที่ไม่ต้องการการตั้งภาคีมากที่สุด ใครที่ทำการงานหนึ่งการงานใด ที่เอาคนหนึ่งคนใด มามีหุ้นส่วนกับฉัน ฉันจะทอดทิ้งเขา และการตั้งภาคีของเขาด้วย" (หะดิษกุ๊ดซีย์)

والله أعلم بالصواب


วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ให้ดวงใจเปรียบเปลือกที่ห่อหุ้มเพชร



สิ่งที่เป็นบกพร่องต่อร่างกาย เราสามารถปกปิดมันได้ด้วยผืนผ้า แต่ว่าความบกพร่องของความคิด จะอยู่ที่คำแรกที่ได้พูดมันออกไป

เมื่อดวงหัวใจของเราเริ่มกระหาย อย่าได้รินด้วยสิ่งอื่นใด นอกจากอัลกุรอ่าน และเมื่อมันเริ่มก้าวร้าว อย่าไปเกี่ยวพันดวงหัวใจด้วยสิ่งอื่นใด ที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่ในโลกดุนยา เราอาจจะทิ้งมันไป หรือมันอาจจะทิ้งเราไป นอกเหนือจากอัลลอฮฺ

ถ้าหากว่าเราได้น้อมรับต่อพระองค์แล้ว พระองค์จะทรงทำให้ตัวเราได้ร่ำรวย
ถ้าหากว่าเราได้ไถ่ถามพระองค์ พระองค์ก็จะทรงตอบรับทุกคำขอของเรา
ถ้าหากว่าเราได้ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ พระองค์ก็จะทรงคุ้มครองเรา

โปรดจงทำให้ดวงหัวใจของเรา เปรียบเสมือนเปลือกที่กำลังห่อหุ้มเพชรเพียงแค่เม็ดเดียว นั่นคือ รักอัลลอฮฺซุบฮานะฮุวะตะอาลา

.............................................................................
ข้อความดี ๆ โดย : Women of Paradise نســاءُ الجـنّــة
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


การตั้งภาคีเล็กสุด


การตั้งภาคีเล็กสุด คือ การอวดอ้าง

 พระองค์อัลลอฮฺ ศุบอานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


 فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا ( 110 ) อัล-กะฮ์ฟฺ - Ayaa 110

"ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลกะฮ์ฟฺ 18:110)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"แท้จริงสิ่งที่ฉันกลัวที่สุดต่อท่านทั้งหลายนั้น คือ การตั้งภาคีเล็กสุด คือ การอวดอ้าง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด) 

และสิ่งที่อยู่ในการตั้งภาคีนั้น การที่คนเรากล่าวว่า
"หากไม่มีอัลลอฮฺ และคนนั้น คนนี้แล้ว สิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ และท่านประสงค์"

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวว่า : สิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ และคนนั้น คนนี้ ประสงค์ แต่ทว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวว่า : สิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ หลังจากนั้น (จงกล่าวว่า) สิ่งที่คนนั้น คนนี้ ประสงค์" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)


والله أعلم بالصواب



การสวมใส่เส้นด้ายหรือห่วงเพื่อการเยี่ยวยา



อิสลามห้ามใส่เส้นด้าย หรือห่วง เพื่อการเยี่ยวยา มันเป็นการพึ่งพา การมอบหมาย และขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺตะอาลา โดยมีความเชื่อว่าการผูกเส้นด้ายบริเวณข้อมือ ที่บริเวณรอบเอว หรือลำคอของเด็ก หรือผู้ใหญ่ ที่ผ่านการเสกเป่าจากโต๊ะหมอแขกแล้วนั้น จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด โรคภัยไข้เจ็บจะหายขาด หรือจะช่วยปกป้องโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งชั่วร้ายต่างๆได้ จึงเป็นที่ต้องห้ามตามหลักการอิสลาม

 พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَإِن يَمْسَسْكَ اللَّهُ بِضُرٍّ فَلَا كَاشِفَ لَهُ إِلَّا هُوَ ( 17 ) อัล-อันอาม - Ayaa 17

"และหากว่าอัลลอฮ์ ทรงให้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า แล้วก็ไม่มีผู้ใดจะเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6:17)

ท่านหุซัยฟะฮ์ กล่าวว่า
"เขาเห็นชายคนหนึ่งมีเส้นด้าย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยไข้ได้ป่วย อยู่ที่มือของชายคนนั้น แล้วเขาได้ตัดมันทิ้งไป และอ่านคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ว่า

وَمَا يُؤْمِنُ أَكْثَرُهُم بِاللَّهِ إِلَّا وَهُم مُّشْرِكُونَ ( 106 ) ยูสุฟ - Ayaa 106

"และส่วนใหญ่ของพวกเขาจะไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ เว้นแต่พวกเขาเป็นผู้ตั้งภาคี" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺยูซุฟ 12:106)
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอิบนุ อบีฮาติม)



والله أعلم بالصواب