อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภูเขาเปลี่ยนเป็นทราย

เหตุการณ์หายนะบางอย่างในวันอวสานและสาเหตุของมัน

การใกล้เข้ามาของวันอวสานเป็นช่วงเวลาของความสับสนอลหม่านบนโลก ในบทต่อไปนี้ เราจะพูดกันถึงเรื่องเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวกับวันอวสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจความจริงนี้ ในความหมายที่แท้จริง มีความพยายามมากมายในการค้นหาสาเหตุที่มาของเหตุการณ์เช่นนั้น ซึ่งจะเป้นประโยชน์ต่อบรรดาผู้ติดตามเรื่องนี้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

****ภูเขาเปลี่ยนเป็นทราย****

ลักษณะที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของวันอวสานที่เราสามารถเข้าใจได้จากคัมภีร์กุรอานก็คือในระหว่างขั้นตอนนี้ พื้นที่ราบสูง เนินเขา ภูเขาและหุบเขาบนผืนโลกจะถูกทำลายราบ ภูเขาจะเปลี่ยนเป็นฝุ่นกระจายว่อนไปโดยรอบ หลังจากนั้นโลกจะกลายเป็นกองขยะ ซึ่งเราพอมองเห็นได้จากอายะฮฺต่อไปนี้ : -

"พวกเขาถามเจ้าเกียวกับภูเขา จงตอบพวกเขาว่า "พระผู้อภิบาลของฉันจะทำให้มันกลายเป็นผงธุลีที่กระจายว่อน แล้วพระองค์จะทรงทำให้ผืนดินราบเตียนเป็นทุ่งโล่ง ในนั้น เจ้าจะไม่เห็นทั้งที่ลุ่มและที่ดอน" (กุรอาน 20 : 105 - 107)

"เจ้าเห็นภูเขาและเจ้าเจ้าคิดว่ามันถูกตรึงไว้อย่างมั่นคง แต่ในวันนั้นมันจะล่องลอยเหมือนเมฆที่เป็นปรากฏการณ์แห่งอำนาของอัลลอฮิผู้่ทรงบัญชราทุกสิ่ง แท้จริง พระองค์ฺเป็นผู้ทรงรู้ถึงสิ่งที่สูเจ้ากระทำ" (กุรอาน 27 : 88)

"และภูเขาจะเหมือนกับขนสัตว์หลากสีที่ปลิวว่อน" (กุรอาน 101 : 5)

ปรากฏการณ์แห่งวันอวสานของโลกเช่นเดียวกันนี้ยังได้ถูกอธิบายไว้ในอายะฮฺต่อไปนี้อีกว่า : -

"เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นจะไม่มีใครปฏิเสธการเกิดขึ้นของมัน มันจะเป็นเหตุการณืที่สร้างความอัปยศให้คนกลุ่มหนึ่งและยกย่องคนอีกกลุ่มหนึ่ง โลกจะเกิดสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงฉับพลัน และภูเขาทั้งหลายจะพังทลายและแตกสลายกลายเป็นฝุ่น" (กุรอาน 56 : 1 - 6)

เราจะอธิิบายความหมายองอายะฮฺดังกล่าวมานี้อย่างไร ? ภูเขาจะถูกบดขยี้และปลิว่อนได้อย่างไร ? โลกจะถูกบดขยี้เป็นผุยผงได้อย่างไร ? คำถามเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงกลไกของวันอวสานของโลก

ภายใต้สถานการณืปกติ เรารู้ถึงกระบวนการผุพังอย่างช้า ๆ ของหินตัวแทนของ
ธรรมชาติอย่างเช่น ลม ฝน พืช อุณหภูมิและปฏิกิริยาทางเคมีทั้งหมดนี้ล้วนช่วยกันกัดกร่อนหินให้แตกสลาย ทรายและตะกอนในแม่น้ำก็มาจากการร่วนซุยของภูเขา แต่ภาพเหตุการณ์ทำลายล้างที่คัมภีร์กุรอานกล่าวไว้ข้างต้นนัั้นไม่มีส่วนใด ๆ เกี่ยวข้องกับกระบวนการผุพังตามปกติเลย กระบวนการผุพังและทำลายตามธรรมชาติต้องใช้เวลานานกว่าจะเสร็จสื้นสมบูรณ์ ดังนั้น กระบวนการรที่ทำให้เกิดผลดังกล่าวในอายะฮฺข้างต้นจะต้องมีอำนาจทรงพลังกว่านั้นมาก

คัมภีร์กุรอาน 21 : 31 ให้ความคิดแก่เราว่าภูเขาเป็นสิ่งที่ทำให้โลกมั่นคงต่อการสั่นสะเทือนที่จะเกิดขึ้น

เราสามารถลงความเห็นจากตรงนี้ได้ว่าในขณะที่ภูเขาผุพังไปตามกระบวนการทางธรรมชาตินั้น มันก็ถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงโดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการระเบิดของภูเขาไฟ ความสมดุลของโลกในการหมุนรอบแกนของตัวเองจะมีผลในทางกลับกัน ซึ่งจะทำให้โลกสั่นสะเทือนรุนแรงยิ่งขึ้นและแตกออก

มีการค้นพบว่าถ้าการสั่นสะเทือนมีความรุนแรงและบ่อยครั้งจนเกินระดับหนึ่ง ของแข็งทั้งบนพื้นโลกก็จะถูกบดและแตกสลาย ดังนั้น การสั่นสะเทือนที่กล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอาน 79 : 6 - 7 ก็จะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูเากลายเป็นผุยผง

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่ภูเขาจะลอยอยู่กลางอากาศและกลายเป็นเหมือนขนสัตว์หลากสีที่กระจายไปทั่วนั้นไม่สามารถอธิบายได้โดยการสันนิษฐานเรื่องการสั่นสะเทือนเท่านั้น

ปรากฏการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นกับแรงเหวี่ยงออกจากศูนย์กลางของโลกที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความเร็วในการหมุนรอบแกนของตัวเองและรอบวงโคจรของมันซึ่งเราได้พูดกันไปแล้ว ในตอนแรก ภูเขาจะแตกออกและหลังจากนั้นมันก็จะถูกเหวี่ยงกระจายออกไปโดยรอบ

การเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง การสั่นสะเทือนและการบดของมวลสารโลก การระเบิดของพลังงานและการปลิวว่อนของภูเขาที่แตกออกเป็นเสี่ยงสามารถอธิบายได้โดยข้อสันนิษฐานในเรื่องการระเบิดของแกนภายในของโลก เป็นที่รู้กันว่าภายในของโลกนั้นอยู่ภายใต้แรงกดที่สูงมากและมีสมดุลที่เปราะบาง มันเหมือนกับภาชนะทนความกดสูงใบหนึ่ง ถ้าความสมดุลนี้ถูกรบกวน โลกก็อาจระเบิิดได้เหมือนกับลูกระเบิดที่ปล่อยพลังงานอันมหาศาลออกมา เมื่อผนวกกับความสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและคลื่นความสูงเปลือกโลกและภูเาก็จะปลิวว่อนไปในอวกาศ

.................................................
(จากหนังสือ : วันอวสาน และชีวิตหลังความตาย วาระสุดท้ายของจักรวาล จากมุมมองของคัมภีรกุรอาน)
โดย : เอส. บะชีรุดดีน มะฮฺมูด
บรรจง บินกาซัน : แปล
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส




ศิษย์ถามอาจารย์



ศิษย์ --- อาจารย์ ครับ เราจะทำอย่างไรกับบุคคลต่อไปนี้?
.
ศิษย์ --- ผู้รู้ ที่รู้ ว่าตนเองรู้
.
อาจารย์ ---- เขาคือ อาลิม จงปฏิบัติตามเขา
.
ศิษย์ --- ผู้รู้ ที่ไม่รู้ ว่าตนเองรู้
.
อาจารย์ ---- เขาคือ อาลิม ที่นอนหลับ จงปลุกให้เขาตื่น
.
ศิษย์ --- ผู้ไม่รู้ ที่รู้ ว่าตนเองไม่รู้
.
อาจารย์ ---- เขาคือผู้ที่ต้องการคำชี้นำ จงสอนเขา
.
ศิษย์ --- ผู้ไม่รู้ ที่ไม่รู้ ว่าตนเองไม่รู้
.
อาจารย์ ---- เขาคือคนโง่ จงหลีกห่างจากเขา
.
ศิษย์ --- .......................!

.....................................
อดทน นะคนแปลกหน้า


ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงยืดชีวิตของผมให้ถึงเดือนเราะมะฎอนอีกครั้งและต่อ ๆ ไป


ผมเคยเข้าค่ายภาคฤดูร้อน 2 ครั้ง เมื่อกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.6 และ ม.1 วัยนั้นเป็นวัยที่เรียกว่าซนมาก ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าอัธยาศัยกับผู้คนง่ายมาก เล่นทุกอย่างที่เด็ก ๆ สมัยนั้นเล่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ปิงปอง และกีฬาอื่น ๆ อีกมาก

การจัดอบรมเข้าค่ายภาคฤดูร้อนสำหรับเด็ก ๆ ถือว่าเป็นการตัรบิยะฮฺ (อบรมสั่งสอน) ในด้านการเรียนรู้ การใช้ชีวิตตามวิถีทางอิสลาม การเชื่อมโยงอุควะฮฺ (ความเป็นพี่น้อง) และอื่น ๆ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่สั้นนี้ เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดให้กับพวกเขา

เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเห็นชอบเท่าไหร่นักกับการเข้าค่าย เพราะส่วนใหญ่พวกเขาจะถูกบังคับให้เข้า เพราะว่าพ่อแม่ของพวกเขาไม่อยากเห็นลูก ๆ ของพวกเขาใช้เวลาปิดเทอมใหญ่ด้วยงานการที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงทำให้เด็ก ๆ ส่วนใหญ่เข้าค่ายด้วยหน้าตาที่ไม่ค่อยจะสดชื่นนัก

เมื่อวันแรกได้เริ่มขึ้น ผมเริ่มจะหันซ้ายหันขวาเพื่อหาเพื่อนที่รู้จัก แต่ก็ยังดีที่มีเพื่อนที่รู้จักกันแค่คนเดียว ส่วนอีกร้อยกว่าคนที่เหลือ ไม่รู้จักสักคนเลย จึงเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในช่วงเวลาสิบวันแห่งการอบรม เพราะวันแรกผมยังไม่รู้จักใคร แต่ผมต้องใช้เวลาคลุกคลีกับพวกเขาตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียน หอพัก โรงอาหาร สนาม และที่อื่น ๆ จึงทำให้ผมนีกถึงบ้าน พ่อแม่ และเพื่อน ๆ ที่บ้าน

ในวันที่สอง ผมเริ่มที่จะคุ้นหน้ากับเพื่อน ๆ โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ที่อยู่หอเดียวกัน ได้ถามไถ่ไปมา จึงทำให้รู้จักชื่อ ที่อยู่ จึงทำให้ความสัมพันธ์กระชับขึ้น และในวันที่สาม ผมเริ่มรู้จักชื่อเพื่อน ๆ ในห้องเรียน รู้จักชื่อพี่เลี้ยง และรู้ถึงนิสัยเพื่อน ๆ ที่อยู่ในหอเดียวกัน

ในวันที่สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก ช่วงนั้นผมลืมบ้านตัวเองเลย ลืมพ่อแม่ ลืมเพื่อนบ้าน (ไปชั่วขณะ) เพราะกำลังเสพความสุขกับเพื่อน ๆ ในค่าย ผมมีเพื่อนร้อยกว่าคน ผมรู้จักเกือบทุกคน เพราะเรียนในห้องเดียวกัน ละหมาดญะมาอะฮฺพร้อม ๆ กัน กินข้าวพร้อม ๆ กัน (ถือว่าเป็นกิจกรรรมที่ทำร่วมกัน) ก็เลยทำให้ผมมีความสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น

ในวันที่เก้า เมื่อผมและเพื่อน ๆ รู้ว่าพรุ่งนี้เป็นวันสุดท้าย เราต่างก็เขียนชื่อที่อยู่ของตัวเอง แล้วก็ยื่นให้เพื่อน ๆ เพื่อให้พวกเขาได้ทำการติดต่อกัน และต่างคนก็ต่างรู้สึกหดหู่ใจกับจากลาในพรุ่งนี้

และในวันที่สิบหรือวันสุดท้าย บอกได้เลยว่า เป็นวันที่ผมกับเพื่อน ๆ พูดน้อยที่สุด เพราะไม่รู้จะพูดอะไร มันตื้นตันอยู่ในหัวใจ ต่างคนก็ต่างดูโศกเศร้า และเมื่อพี่เลี้ยงเรียกทุกคนมาอยู่กันพร้อมหน้า พี่เลี้ยงแต่ละคนก็พูดถึงความรู้สึกที่พวกเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ก็ได้ทำให้ใครหลาย ๆ คนกลั้นน้ำตาไม่ไหว และท้ายที่สุด เป็นการโอบกอดกัน เพื่อมาอัฟกันและกัน ไม่มีใครสักคนเลยที่ไม่ร้อง ทุกคนต่างก็ร้องไห้ออกมา

ที่ผมเล่าเรื่องอดีตซะยาว เพราะความรู้สึกในครั้งนั้น มันเกิดขึ้นอีกครั้งในวันนี้ นั่นคือช่วงสิบวันท้ายของเราะมะฎอน เพราะวันแรกของอิอฺติกาฟ ผมยังไม่ชินกับคนรอบข้าง (ไม่รู้ว่าเขาจะนอนดิ้นหรือเปล่า กรนหรือเปล่า และกังวลว่าผมจะนอนหลับหรือเปล่า) การละหมาดในยามค่ำคืนที่ต้องตื่นตีสองครึ่ง จึงทำให้การนอนหลับไม่เพียงพอ รู้สึกเพลีย (เพราะยังไม่ชิน)

แต่วันที่สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด ผมเริ่มชินกับการตื่นตีสองครึ่ง ยืนละหมาดเป็นชั่วโมง อ่านอัลกุรอ่านวันละสามถึงสี่ญุซฺ ทำหะละเกาะฮฺ ฟังตัฟซีรฺ ละหมาดในยามค่ำคืน ซึ่งทั้งหมดนี้ ผมรู้สึกว่าผมมีความสุขมาก ไม่อยากให้วันเวลาดี ๆ แบบนี้หายไปเลย

และวันสุดท้าย หวังลึก ๆ ว่าคืนนี้ต้องมีตะรอวีฮฺอีก จะได้ตื่นมาละหมาดในยามค่ำคืนอีก หากแต่ว่าอัลลอฮฺทรงไม่ประสงค์กับสิ่งที่ผมต้องการอีกแล้ว พระองค์ทรงปิดฉากวันเวลาของเราะมะฎอนแล้ว หัวใจนี้รู้สึกหดหู่มาก ก็เลยขอดุอาอฺเพื่อให้พระองค์ทรงยืดชีวิตของผมให้ถึงเดือนเราะมะฎอนอีกครั้งและต่อ ๆ ไป เพราะมีความหวังอย่างยิ่งที่อยากจะใช้ชีวิต อย่างที่เคยใช้ในเราะมะฎอน

อามีน ยา ร็อบบัล อาละมีน


.....................
อูลุล อัลบ๊าบ



ดอกกุหลาบสีม่วง



เรื่องเล่าจากคุณแม่ท่านหนึ่ง

"ดอกกุหลาบสีม่วง"

เคยสังเกตไหมว่า...เวลาเราเดินชนคนแปลกหน้า
คุณจะเอ่ย “ขอโทษ ไม่ได้ตั้งใจ” ในทันทีที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น
และคนที่คุณชนก็จะตอบกลับมาว่า “ขออภัย ฉันเองไม่ทันเห็นคุณเช่นกัน”

ดูเหมือนว่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่มีมารยาทในสังคมทุกหนทุกแห่ง แต่... "หากเรากลับมามองดูคนที่เราคุ้นเคย.. คนที่อยู่กับเราทุกวัน...
คนที่รักเรา.. คนที่ห่วงเรา.. คนที่คอยดูแลเราอยู่เสมอ.."

พวกเรามักไม่ค่อยจะสุภาพ และขาดความเข้าใจ กับบุคคลเหล่านี้เสมอมา หากคุณทั้งหลายกำลังจะเอ่ยปากปฏิเสธ หรือนึกไม่ออก และอาจไม่เชื่อว่าสิ่งที่ผมพูดข้างต้นนี้เป็นความจริง

ผมอยากจะเล่าเรื่องๆ หนึ่งให้ฟัง ผมขอให้ชื่อว่า "ดอกกุหลาบสีม่วง"
เป็นเรื่องราวของหญิงผู้เป็นแม่กับลูกสาวตัวเล็กๆ คนหนึ่ง
เรามาฟังคุณแม่ท่านนี้เล่าเรื่องสั้นๆ แต่แฝงไว้ด้วยข้อคิดกันเถอะครับ

>>>> "ดอกกุหลาบสีม่วง" <<<<<

ที่บ้านเย็นวันนั้น ฉันทำอาหารอยู่ในครัว ลูกสาวตัวน้อยแอบมายืนข้างหลัง ไม่ทันระวัง ฉันหันกลับมาชนเธอล้มลง!!

"อย่ามายืนเกะกะ" ฉันดุใส่.. ลูกสาวเดินจากไป ด้วยหัวใจที่ปวดร้าว

คืนนั้นฉันได้ยินเสียงกระซิบจากเบื้องลึกของหัวใจว่า...
"กับคนแปลกหน้าเจ้าสุภาพได้ กับลูกรักชิดใกล้ ทำไมทำได้ลงคอ
ดูที่พื้นครัวสิ ดอกกุหลาบหลากสีที่ลูกอุตส่าห์เก็บมา หวังให้เจ้าแปลกใจ
ตกเกลื่อนอยู่ทั่วไป น้ำตาเธอไหล เหตุใดไม่แลเห็น"

ฉันเพิ่งรู้ตัว เลยค่อยๆ ย่องเข้าไปนั่งคุกเข่าข้างเตียงลูก

"ตื่นเถิดคนดี ดอกกุหลาบนี้ลูกเก็บมาให้แม่หรือ"
"ใช่ค่ะ หนูเห็นดอกกุหลาบบานสวยงามเหมือนคุณแม่ หนูรู้ว่าคุณแม่
ต้องชอบโดยเฉพาะดอกกุหลาบสีม่วง" ... ลูกตอบ

ฉันตื้นตันใจมาก "ลูกรัก แม่ขอโทษจริงๆ ที่ดุหนู"
"แม่ขา ไม่เป็นไรหรอก หนูรักแม่"

"แม่ก็รักลูก แม่ชอบดอกกุหลาบของหนูมาก โดยเฉพาะกุหลาบสีม่วงจ้ะ”

งานไม่ใช่ทั้งหมดของ"ชีวิต"!!!
เราจึงไม่ควรแต่จะก้าวหน้าในการงานเท่านั้น ต้องรู้จักที่จะหยุดพักด้วย

"ชีวิตที่มีแต่งาน".. เปรียบเสมือนกับ "หนังสือที่ไม่มีวรรคตอน"
ปราศจากย่อหน้า และไม่มีรูปภาพสอดแทรก คนอ่านคงดูแล้วไม่ค่อย
น่าสนใจ ...และหากเราตายจากไปในวันพรุ่งนี้ อีกไม่กี่วัน นายจ้างก็หาคนใหม่มาทำแทนได้

...แต่ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังอาจโศกเศร้าไปชั่วชีวิต ลองคิดดูว่าคุ้มไหม? หากเราจะทุ่มเทตัวเองให้กับงานมากกว่า...ครอบครัว

พวกเรารู้ไหมครับว่า FAMILY ย่อมาจากอะไร?
คำว่า FAMILY = (F)ATHER (A)ND (M)OTHER (I) (L)OVE (Y)OU.

หากคุณเป็น "ลูก"
ก็จงให้เวลากับพ่อ-แม่ มากขึ้นยามท่าน "แก่ตัวลง"

หากคุณเป็น "พ่อ" หรือ "แม่" ที่ต้องทำงานนอกบ้านหรือยุ่งกับงานบ้าน
ก็จงรู้จักแบ่งเวลาให้กับงานที่รับผิดชอบและคนที่รอคุณอยู่ที่บ้าน หรือลูกๆ
ที่มีคุณเป็นความหวังให้สมดุลย์กัน

อย่ารอให้มีใครมาบอกให้จัดความสำคัญเสียใหม่
แต่จงพยายามย้ำถามตนเองอยู่เสมอว่า...

"ครอบครัว สำคัญน้อยกว่า งาน และ คนแปลกหน้า หรือ?"


.................................................
ต้นฉบับจาก www.ranthong.com
เรียบเรียงใหม่ อับดุลรอมาน หะระตี





อย่าพ่ายแพ้แม้กระทั่งใจเราเอง


<<<<<<<สงครามทางความคิด>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
สงครามที่เกิดจากความคิดที่แตกต่างกัน
แต่ไม่ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""'
แท้จริง ทางเดินที่ปราศจากการสำนึกว่าตัวตนมาจากไหนแล้วต้องไปเจอผู้ใด
นั้นเป็นทางเดินที่จะไม่ก้าวหน้าสู่ความสัจจริง
การทะนงตัว การตากับบูร การคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูก
โดยไม่รับฟังใคร โดยอ้างว่า ค่อยมาเจอกันในวันตัดสิน
<<<<<<<<<<<<<<<<มาซาอัลลอฮ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>.

นั้นคือความจริง ที่นอกจากไม่ยอมรับความเป็นจริงแล้วยังพ่ายตัวเองด้วยความจริงอีกด้วยเช่นกัน
เปิดรับ ไตร่ตรอง ในทุกอย่างที่เข้ามาเพราะนั้นคือแนวทางเข้าสู่ทางออกที่ดีที่สุด
ที่พระองค์ทรงประสงค์ อินซาอัลลอฮ
ดุอาอมากๆ เตาบัติตัวมากๆ แท้จริงอัลลอฮได้ กำหนดทุกอย่างหมดแล้ว
แม้กระทั้งใครคือชาวนรก ใครเป็นชาวสวรรค์ ณ ที่อัลลอฮ
<<<<<<อย่าพ่ายแพ้แม้กระทั่งใจเราเอง>>>>>>>>>>>>>>>>>>

อัลลอฮุอักบัร
นาอูซุบิละฮิมินัซซาลิก

อัซตัฆฟิรูลลอฮ อินนาลิละห์

.....................
Abunufai Yee



เคยวิ่งระยะทางไกลไหม ?



ถ้าเราเริ่มวิ่งด้วยระยะทางที่ไกล รับรองว่าไปไม่ไกล เพราะสมรรถภาพของร่างกาย ไม่สามารถรับไหวได้ จึงทำให้ร่างกายเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง และไปไม่ไหว จึงทำให้เราต้องพักผ่อนไว้ก่อน

เมื่อเราวิ่งในวันถัดไป เราสามารถวิ่งได้ไกลกว่าระยะทางของเมื่อวาน เป็นเพราะว่า กล้ามเนื้อและร่างกายของเราเริ่มคุ้นเคยกับการวิ่ง และมันจะค่อย ๆ ปรับไปตามกาลเวลา และสุดท้าย เราสามารถวิ่งไปตามที่เราได้คาดหวังไว้

มันก็เหมือนกับการทำอิบาดะฮฺ ก่อนที่จะเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน การกระทำอิบาดะฮฺของเราในเดือนอื่น ๆ จะไม่เทียบเท่ากับเดือนเราะมะฎอน แต่เมื่อเดือนเราะมะฎอนได้มาเยือน เราทุกคนต่างก็เร่งสปีดการกระทำอิบาดะฮฺ เพื่อที่จะกอบโกยผลบุญให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หากแต่วันแรก ๆ ของเดือน เราก็หมดแรงไปเสียก่อน โดยการกระทำอิบาดะฮฺของเราจะยังไม่ถึงตามเป้าที่ได้ตั้งไว้ บางคนได้ตั้งเป้าละหมาดตะรอวีห์ให้นานที่สุด แต่เมื่อได้แค่ครึ่งของมัน ก็รู้สึกเมื่อยตามตัว อาการล้า และง่วง หรืออ่านอัลกุรฺอานให้ได้มากที่สุด แต่เมื่อได้ถึงแค่ครึ่งทาง ก็รู้สึกแสบคอ ปวดตา และอีกหลาย ๆ อุปสรรค แต่เมื่อวันเวลาของเราะมะฎอนได้ผ่านมาเรื่อย ๆ เราจะสึกชินไปกับการกระทำอิบาดะฮฺ เราจะเมื่อยไม่มากเท่ากับวันแรก ๆ และเราจะไม่รู้สึกท้อในการอ่านอัลกุรอ่าน เพราะร่างกายของเราได้ปรับไปตามทุกอิริยาบถของการกระทำอิบาดะฮฺแล้ว

เมื่อเราะมะฎอนได้จากไปแล้ว สมรรถภาพของเราในการกระทำอิบาดะฮฺจะยังคงฟิตแน่นอยู่ ตราบใดที่เรายังรักษาการกระทำอิบาดะฮฺของเราให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลา หากแต่ว่าเราไม่รักษามันแล้ว มันจะค่อย ๆ เสื่อมลงไปตามกาลเวลา ยืนละหมาดฟัรฎูก็ยังรู้สึกเมื่อย อ่านอัลกุรฺอานวันละแผ่นสองแผ่นก็ยังรู้สึกเกียจคร้าน

มันช่างน่าเสียดายมาก ที่ร่างกายของเราฟิตแล้ว แต่ว่าเราไม่พยายามรักษาสมรรถภาพของมัน และจงระวังให้มากที่สุด เมื่อเราไม่พยายามออกแรงในการกระทำอิบาดะฮฺแล้ว นอกเหนือว่ามันจะทำให้ร่างกายของเราเสื่อมลงแล้ว มันจะทำให้ร่างกายของเราเป็นอัมพาตได้ (หมายถึง อัมพาตในการออกแรงทำการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺซุบหานะฮุวะตะอาลา)

นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิกะ


....................
อูลุล อัลบ๊าบ





สามสิ่งที่เป็นบาปใหญ่ที่สุด




สิ่งที่เป็นบาปใหญ่สุด เรียกตามลำดับดังนี้
1. การตั้งภัคคีกับพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา
2.การฆ่าลูกของตนเอง
3.การทำซินากับหญิงที่มีครอบครัวแล้ว

รายงานจากท่านอบับดุลลอฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
"ฉันได้ถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า : อะไรคือบาปใหญ่ที่สุดในทัศนะของอัลลอฮฺ?ท่านตอบว่า : การที่ท่านตั้งสิ่งใดขึ้นมาเคารพสักการะควบคู่กับอัลลอฮฺ ทั้งๆที่พระองค์เท่านั้นที่ทรงสร้างท่านขึ้นมาแันจึงกล่าวว่า : นั้นคือบาปใหญ่อยู่แล้ว และได้ถามว่า : แล้วหลังจากนั้นล่ะ? ท่านกล่าวว่า : การฆ่าลูกของท่านเพราะกลัวว่าเขาจะมาแย่งอาหารของท่านฉันถามอีกว่า : แล้วอะไรอีก?ท่านตอบว่า : การทำชู้กับภรรยาของเพื่อนบ้านของเขา" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 6.4)


الله أعلم بالصواب



มารยาทในการขออนุญาต



อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าเข้าไปในบ้านใดอื่นจากบ้านของพวกเจ้า จนกว่าจะขออนุญาติและให้สลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน” (สูเราะฮฺอัน-นูร:27)

และอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสอีกว่า

“และเมื่อเด็ก ๆ ในหมู่พวกเจ้าบรรลุศาสนภาวะ ก็จงให้พวกเขาขออนุญาตเช่นเดียวกับบรรดาชนก่อนหน้าพวกเขาได้ขออนุญาต”
(สูเราะอฺอันนูร:59)



ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

“ฉันได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในเรื่องหนี้สินที่พ่อของฉันค้างไว้ แล้วฉันก็ได้เคาะประตู

ท่านก็กล่าวว่า “นี่ใครกัน?”

ฉันก็กล่าวตอบว่า “ฉันเอง”

แล้วท่านก็กล่าวว่า “ฉันเอง ฉันเอง” ราวกับว่าท่านรังเกียจมัน”

(บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)


ท่านซะฮฺล์ บินสะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

“อันที่จริงการขออนุญาตถูกกำหนดขึ้นเพราะการมอง(เพื่อยับยั้งสายตา)”

(บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)


ท่านกัลดะฮฺ บิน อัลหัมบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่าเขาได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เขาเล่าต่อไปว่า

“แล้วฉันก็ได้เข้ามาหาท่าน และไม่ได้ให้สลาม

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า จงกลับออกไป แล้วจงกล่าวว่า อัสสลามุ อลัยกุม ฉันเข้าได้ไหม ?”

(บันทึกโดยอบูดาวูดและอัตติรมิซียฺ)


ท่านอบูมูซา อัลอัชอะรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า

“เมื่อพวกท่านคนใดได้ขออนุญาตสามครั้ง แต่ยังไม่ได้รับอนุญาต เขาก็จงกลับไป”

(บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)



คำอธิบาย


การขออนุญาตนั้นเป็นมารยาทหนึ่งที่อิสลามส่งเสริมให้กระทำ เพราะเพื่อเป็นการปกปิด ป้องกันเอาเราะฮฺและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น การขออนุญาตถูกกำหนดให้ทำสามครั้งโดยการเคาะที่ประตู หรือการขอเข้าไป หากได้รับอนุญาตก็ดี แต่หากไม่ก็จงกลับไป และไม่ให้ขอเกินสามครั้ง



ประโยชน์ที่ได้รับ


 เป็นคำสั่งใช้ให้ขออนุญาตก่อนเข้าบ้าน

 สุนนะฮฺอย่างหนึ่งเมื่อถูกกล่าวแก่ผู้ขออนุญาตว่า ท่านเป็นใคร ก็ให้เขาเอ่ยชื่อของเขา และไม่ให้พูดว่า ฉันเอง

 การขออนุญาตให้ทำสามครั้ง หากได้รับอนุญาตจึงค่อยเข้าไป หาไม่แล้ว ก็ให้ผู้ขออนุญาตกลับไปก่อน


.......................................................................

ที่มาแหล่งข้อมูล : http://www.risalahradio.com/


หลังจากที่เรา "อด" เราจะพบ "อีด"





หลังจากที่เรา "อด" เราจะพบ "อีด"
หลังจากที่เรา "ปอสอ" เราจะพบ "รายอ"

อีดมุบาร็อก ตะก้อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมินกุม

(ขออัลลอฮฺทรงรับการงานที่ดีจากเราและจากท่าน) สิ่งใดผิดพลาดไปหรือทำให้พี่น้องขุ่นข้องหมองใจ ขอมอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ขอมะอัฟพี่น้องทุกท่าน หากมีสิ่งใดล่วงเกินไปและขอพระองค์ทรงเมตตาพี่น้องทุกท่าน และเพิ่มพูนรสกีที่กว้างขวาง
และขอให้พี่น้องทุกท่านมั่นคงในอีหม่าน โอ้อัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ

หากมีคำพูดหรือข้อความใดที่เป็นการล่วงเกินหรือผิดพลาด และทำให้พี่น้องไม่สบายใจ ก็ขอมะอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ขอให้พี่น้องทุกคนได้รับผลบุญและการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ ซ.บ.ในรอมฎอนครั้งนี้ และขอให้ทุกๆวันของเรานับจากนี้ เป็นดั่งเช่นทุกวันในเดือนรอมฎอน ..

สุดท้ายนี้ อย่าลืมชื่อเราในดุอาอฺของท่าน และอย่าลืมดุอาอฺให้พี่น้องฟีลัสฏีน ซีเรีย โรฮิงญา และที่อื่นๆ น่ะค่ะ

อามีนยาร็อบบัลอาละมีน


....................................
Weedad Binti HJ-yusof‎




สงเสริมให้กล่าวคุฏบะฮ์วันศุกร์ด้วยเสียงอันดัง



ศาสนาส่งเสริมให้อ่านคุฏบะฮฺวันศุกร์ด้วยเสียง และเป็นคำพูดที่ชัดเจนฟังง่าย ไม่ใช้คำที่วกวนกำกวม และไม่หยาบคาย

รายงานจากท่านญาบิร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
"ปรากฎว่าท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อท่านกล่าวคุฏบะฮฺด้วยดวงตาทั้งสองของท่านแดงกล่ำ เสียงดังแสดงความโกรธมาก จนกระทั่งเสมือนว่าท่านกำลังตักเตือนทหาร ท่านกล่าวว่า : ศัตรูได้เข้าจู่โจมพวกท่านแล้วในตอนเช้า หรือตอนเย็น" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม และอิมามอิบนุมาญะฮ์)

อิมามอันนะวะวี (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) กล่าว่า
"คุกบะฮฺนั้นส่งเสริมให้ใช้ภาาาที่ชัดเจนฟังง่าย เรียบเรียงโดยไม่ยืดเยื้อ และไม่ใช้ศัพท์สูงเกินไป ไม่ใช้คำที่วกวนไปมาไม่เป็นที่น่าคิด ไม่หยาบคาย เพราะจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ให้เลือกใช้คำดีๆ กินใจเข้าใจง่าย"

ท่านอิบนุก็อยยิม (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ)  ได้กล่าวว่า
"เช่นเดียวกันปรากฎว่าการเทศนา(คุฏบะฮฺ) ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้น ที่จริงแล้วเป็นการเน้นถึงหลักศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อมลาอิกะฮ์ คัมภีร์ ต่อรสูล ต่อวันที่ไปพบพระองค์ กล่าวถึงสวรรค์ นรก สิ่งที่อัลลอฮฺทรงสัญญาไว้แก่บรรดาคนที่พระองค์รัก และคนที่ภักดีต่อพระองค์ สิ่งที่พระองค์ได้สัญญาไว้กับศัตรูของพระองค์และผู้ที่ทำความชั่ว คำเทศนาของท่านจะทำให้หัวใจเปี่ยมไปด้วยความศรัทธา..."



الله أعلم بالصواب




วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ส่งเสริมให้ละหมาดวันศุกร์ที่ยาวและคุฏบะฮฺที่สั้น



การคุฏบะฮฺวันศุกร์สั้นๆ และการละหมาดวันศุกร์ยาวๆ นั้นเป็นแบบอย่างและหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนนั้นเข้าใจเป้าหมายดี เพราะคนที่พูดสั้นๆนั้นถือเป็นการพอเพียงแล้ว สำหรับคำพูดน้อยๆ แต่มีความหมายมากๆ

รายงานจากท่านอัมมาร อิบนิยาซิร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"แท้จริงการที่คนนั้นละหมาดยาวกล่าวคุฏบะฮฺสั้นๆนั้น เป็นเครื่องหมายแห่งความเข้าใจ ดังนั้น พวกท่านจงให้ยาวในการละหมาดและจงให้คุฏบะฮฺสั้นๆ" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม และอิมามอะหฺมัด)

รายงานจากท่านญาบิร อิบนิสะมุเราะฮฺ  (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
"ปรากฎว่าการละหมาดของท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นปานกลาง คุฏบะฮฺของท่านก็ปานกกลาง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม อัตติรมีซี)

รายงานจากท่านอับดิลลาฮฺ อิบนิอะบีเอาฟา (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
"ปรากฎว่าการละหมาดของท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นจะละหมาดยาว และกล่าวคุฏบะฮฺสั้น" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอันนะสาอีย์ ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)

الله أعلم بالصواب





อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสองของข้า


อัลลอฮทรง กล่าวถึง เรื่องราวของ อิบลิสว่า

قَالَ يَا إِبْلِيسُ مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ أَأَسْتَكْبَرْتَ أَمْ كُنْتَ مِنَ

พระองค์ตรัสว่า “อิบลีสเอ๋ย
อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสอง
ของข้า ? เจ้าเย่อหยิ่งจองหองนักหรือ หรือว่าเจ้าอยู่ในหมู่ผู้สูงส่ง -
ศอด/75

เช็คอิบนุญิบรีน กล่าวว่า

فيها إثبات أن الله تعالى خص آدم -عليه السلام- بأنه خلقه بيديه سبحانه،
فأثبت الله تعالى لنفسه يدين حقيقيتين على ما يليق بجلاله وكماله، وقد حرف
ذلك المعتزلة والأشعرية، فقالوا: المراد خلقته بقدرتي أو خلقته بنعمتي،

ในมัน(ในอายะฮนี้) คือ การรับรองว่า อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ได้เฉพาะแก่อาดัม
อะลัยฮิสสลาม เป็นกรณีพิเศษ ว่าแท้จริง
พระองค์ทรงสร้างเขาด้วยสองมือของพระองค์ มหาบริสุทธิ์ แด่พระองค์
เพราะอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงรับรองสองมือที่แท้จริงแก่พระองค์เอง
บนสิ่งที่เหมาะสมกับความสูงส่งและความสมบูรณ์ของพระองค์ และ แท้จริง
พวกมุอฺตะซิละฮและอัชอะรียะฮ ได้เปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยกล่าวว่า หมายถึง
พระองค์ทรงสร้างเขา(อาดัม) ด้วยกุดเราะฮ(พลังอำนาจ) ของข้า หรือ
ทรงสร้างเขาด้วยเนียะมัต(ความโปรดปราน)ของข้า

http://ibn-jebreen.com/book.php?cat=1&book=43&toc=1689&page=1585&subid=29252

...........

มันช่างน่าสมเพท จริงๆ ที่ มุอฺตะซิละฮและอะชาอีเราะฮ ปฏิเสธสิฟัตมือ
ของอัลลอฮ โดยการตีความคำว่า "สองมือ" หมายถึง พลังอำนาจ มีด้วยหรือ
สองพลังอำนาจในพระเจ้าองค์เดียว เพราะคำว่า"يدي " เป็นมุษันนา(ทวีพจน์)
หมายถึง จำนวนสอง

อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า

يُخْبِر تَعَالَى ذِكْره بِذَلِكَ أَنَّهُ خَلَقَ آدَم بِيَدَيْهِ , كَمَا :
23102 - حَدَّثَنَا اِبْن الْمُثَنَّى , قَالَ : ثنا مُحَمَّد بْن جَعْفَر
, قَالَ : ثنا شُعْبَة , قَالَ : أَخْبَرَنِي عُبَيْد المكتب , قَالَ :
سَمِعْت مُجَاهِدًا يُحَدِّث عَنْ اِبْن عُمَر , قَالَ : خَلَقَ اللَّه
أَرْبَعَة بِيَدِهِ : الْعَرْش , وَعَدْن , وَالْقَلَم , وَآدَم , ثُمَّ
قَالَ لِكُلِّ شَيْء كُنْ فَكَانَ

อัลลอฮ ตะอาลา ผู้ซึ่ง การสดุดีพระองค์นั้นสูงส่งยิ่ง ได้ทรงบอกดังกล่าวว่า
พระองค์ทรงสร้างอาดัม ด้วยสองมือของพระองค์ ดังหะดิษ(หมายเลข 23102)
อิบนุมุษันนา ได้เล่าเรา โดยกล่าวว่า มุหัมหมัด บิน ยะอฺฟัรได้เล่าเรา
โดยกล่าวว่า ชุอฺบะฮได้เล่าเรา โดยกล่าวว่า " อุบัยดิน อัลมักตับ
ได้บอกข้าพเจ้า โดยกล่าวว่า " ข้าพเจ้าได้ยิน มุญาฮิด รายงานจากอิบนุอุมัร
ว่า เขาได้กล่าวว่า " อัลลอฮได้ทรงสร้างสี่อย่าง ด้วยมือของพระองค์คือ

1. อะรัช

2. สวรรค์อัดนิน

3. อัลกอลัม

4. อาดัม

หลังจากนั้น ทรงตรัสแก่ทุกๆสิ่งว่า "จงเป็น" แล้วมันก็เป็นขึ้นมา"- ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายซูเราะฮศอด อายะฮ 75

.........

จากรายละเอียดข้างต้น เมื่อพี่น้องได้อ่านอย่างมีวิจารณญาน
ก็จะพิสูจน์ได้ว่า ระหว่างอะชาอีเราะฮ และ คนที่ถูกฉายาว่า"วะฮบีย"
ใครกันแน่ที่มีอะกีดะฮที่หลงผิด นะอูซุบิลละฮ∙


∙อัลบัยฮะกีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

{ مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ} يُبطل التأويل بالنعمة والقدرة لأن نعم الله أكثر من أن تحصى

อายะฮที่ว่า
(อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสอง
ของข้า ?)การตีความ ด้วยคำว่า "เนียะมัต"(ความโปรดปราน)และ
กุดเราะฮ(พลังอำนาจ)นั้น เป็นโมฆะ เพราะ เนียะมัตของอัลลอฮนั้น
มากมายเกินที่จะประเมินได้ - อัลเอียะติกอด หน้า 88

...........

เพราะถ้าตีความคำว่า "สองมือ" คือ เนียะมัต ก็ต้องแปลว่า "สองเนียะมัต"
แบบนี้พิลึกสิ้นดี แต่ อะชาอีเราะฮ ก็ยังภูมิใจว่า เขามีอะกีดะฮถูกต้อง
ส่วนวะฮบีย์นั้นหลงผิด นะอูซุบิลละฮ∙




การเคลื่อนไหวของอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอารียฺ เป็นงานที่กระทำต่อเนื่องจากอิหม่ามอะหฺมัด บิน หัมบัล



การเคลื่อนไหวของอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอารียฺ ถือเป็นงานที่กระทำต่อเนื่องจากอิหม่ามอะหฺมัด บิน หัมบัล ดังปรากฏคำยืนยันของอบุล หะสัน อัล-อัชอารียฺได้กล่าวยืนยันวิธีวิทยาของตนเองเอาไว้หนังสือ อัล-อิบานะฮฺ อัน อุศูล อัล-ดิยานะฮฺ ว่า

“ทัศนะของเราที่เราจะได้กล่าว ศาสนาของเราที่เราจะประกาศ คือการยึดมั่นต่อคัมภีร์ของพระเจ้าของเรา ต่อแบบฉบับ(ซุนนะฮฺ)ของศาสนทูตของเรา และสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ ตะบิอูน และผู้นำต่าง ๆ แห่งอัล-หะดีษ ด้วยสิ่งเหล่านี้เองที่เรายึดมั่น และด้วยสิ่งที่ อบู อับดุลลอฮฺ บิน อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด บิน หันบัล - ขออัลลอฮฺประทานความสว่างไสวแก่ดวงหน้าของเขา ยกฐานะของเขา และตอบแทนรางวัลให้แก่เขา - เราก็มีทัศนะ(เช่นเขา) และด้วยสิ่งที่ขัดแย้งกับทัศนะของเขา เราก็ขัดแย้ง(เช่นเดียวกับเขา) เพราะว่าเขาคือผู้นำ(อีหม่าม)ที่มีคุณธรรม เป็นหัวหน้าที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งอัลลอฮฺได้ทำให้สัจธรรมปรากฏชัดเจนผ่านเขา ได้ขจัดความหลงทางด้วยกับเขา ได้ทำให้วิถีทาง(มันฮัจญฺ)กระจ่างชัดด้วยกับเขา ได้ทรงทำให้อุตริกรรมของบรรดาผู้อุตริทั้งหลาย ความเบี่ยงเบนออกจากสัจธรรมของบรรดาผู้เบี่ยงเบนทั้งหลาย ความสงสัยในสัจธรรมของบรรดาผู้สงสัยทั้งหลาย แตกสลายไปด้วยกับเขา

อัล-อิบานะฮฺ อัน อุศูล อัล-ดิยานะฮฺ หน้า 5

อุละมาอ์ร่วมสมัย ของท่าน อบู ฮะซัน อัลอัชอะรีย์



ทางด้านวิชาการในสมัยของอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์จะโดดเด่นด้วยอุละมาอ์ผู้โด่งดัง ทั้งด้านวิชาการหะดีษ ฟิกฮฺ และอะกีดะฮฺ ในบรรดาอุละมาอ์เหล่านั้นได้แก่
- ดาวูด บิน อาลี อัลซอฮิรีย์ เสียชีวิตปี 270 ฮ.ศ./883 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 389, อัลกามิล เล่ม 2 หน้า 417, อัลบิดายะฮิ เล่ม 11 หน้า 47)
- อัลเราะบีอฺ บิน สุลัยมาน ลูกศิษย์คนสนิทของอิมามอัชชาฟิอีย์ เสียชีวิตปี 270 ฮ.ศ./883 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 390, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 48)
- อิบนุมาญะฮฺ เจ้าของสุนันอิบนุมาญะฮฺ เสียชีวิตปี 273 ฮ.ศ./886 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 425, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 52)
- อบู บะกัร อัลมัรวะซีย์ ลูกศิษย์คนสนิทของอิมามอะหฺมัด เสียชีวิตปี 275 ฮ.ศ./888 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 396)
- อบูดาวูด อัลสิญิสตานีย์ เจ้าของหนังสือสุนันอบุดาวูด เสียชีวิตปี 275 ฮ.ศ./888 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 396, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 54)
- อิบนุกุตัยบะฮฺ อัลดัยนะวะรีย์ เสียชีวิตปี 276 ฮ.ศ./889 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 438, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 397, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 48)
- อัตติรมิซีย์ เจ้าของหนังสือสุนันอัตติรมิซีย์ เสียชีวิตปี 279 ฮ.ศ./892 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 460, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 402, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 66)
- อุษมาน บิน สะอีด อัดดาริมีย์ เสียชีวิตปี 280 อ.ศ./893 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 403, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 69)
- อิบรอฮีม บิน อิสหาก อัลหัรบีย์ ลูกศิษย์คนสนิทอีกคนหนึ่งของอิมามอะหฺมัด เสียชีวิตปี 285 ฮ.ศ./898 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 492, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 410, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 79)
- อับดุลลอฮฺ บิน อิมามอะหมัด เสียชีวิตปี 290 ฮ.ศ./904 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 539, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 3418, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 96)
- มุหัมมัด บิน นัศรฺ อัลมัรวะซีย์ เสียชีวิตปี 294 ฮ.ศ./907 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 426, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 102)
- อันนะสาอีย์ เจ้าของหนังสือสุนันอันนะสาอีย์ เสียชีวิตปี 303 ฮ.ศ./911 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 96, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 444, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 123)
- มุหัมมัด บิน ญะรีร อัตเฏาะบะรีย์ เสียชีวิตปี 310 ฮ.ศ./923 ค.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 134, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 460, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 145)
- มุหัมมัด บิน อิสหาก อิบนุคุซัยมะฮฺ เสียชีวิตปี 311 ฮ.ศ./924 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 462, สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 365)
- มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อิบนุลมุนซิร เสียชีวิตปี 318 ฮ.ศ./930 ค.ศ.
- อะหมัด บิน มุหัมมัด อัตเฏาะหาวีย์ เสียชีวิตปี 321 ฮ.ศ./933 ค.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 2 หน้า 11, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 174)

และอุละมาอ์ท่านอื่นๆอีกนับสิบคน


1.3 กลุ่มและแนวคิดต่างๆ

เช่นเดียวกับที่มีกลุ่มนักวิภาษวิทยา (มุตะกัลลิมีน) มุอฺตะซิละฮฺ และซูฟี และอื่นๆ จำนวนหนึ่ง ในบรรดานักวิภาษวิทยา มุอฺตะซิละฮฺ ซูฟี และชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺที่เป็นที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักในยุคนี้ได้แก่
- อะหมัด บิน มัคลัด เมาลา อัลมุอฺตะศิม เป็นนักเผยแพร่แนวคิดมุอฺตะซิละฮฺ เสียชีวิตปี 269 ฮ.ศ. (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 398)
- อิบนุ อัลรอวันดีย์ เป็นหนึ่งในแกนนำมุอฺตะซิละฮฺ แล้วประกาศตัวออก เสียชีวิตปี 300 ฮ.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 439)
- อบู อาลี อัลญุบบาอีย์ พ่อเลี้ยงของอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ อิมามมุอฺตะซีละฮฺ เสียชีวิตปี 303 ฮ.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 96)
- อับดุลลอฮฺ บิน อะหมัด อัลบัลคีย์ เชคมุอฺตะซิละฮฺ เสียชีวิตปี 319 ฮ.ศ. อัลอิบัร เล่ม 2 หน้า 4)
- อบู ฮาชิม อัลญุบบาอีย์ เสียชีวิตปี 321 ฮ.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 273-274, อัลอิบัร เล่ม 2 หน้า 12)
- สะฮฺล์ บิน อับดุลลอฮฺ อัลตุสตุรีย์ เสียชีวิตปี 283 ฮ.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 407)
- อะหมัด บิน อีซา อัลหัซซาซ ผู้ริเริ่มพูดเรื่องการสูญสลายและการมีคงอยู่ของสวรรค์และนรก เสียชีวิตปี 286 ฮ.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หล้า 412)
- อัลญุนัยด์ บิน มุหัมมัด อบู อัลกอสิม ผู้นำกลุ่มซูฟี เสียชีวิตปี 298 ฮ.ศ. (อัลอิบัร เล่ม 1 หล้า 435)
- อัลหัลลาจญ์ ถูกสังหารชีวิตปี 309 ฮ.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 126-129, อัลอิบัร เล่ม 1 หล้า 454)
- อิบนุ อบี อัลเกาะรอกุร อัลชัลมะฆอนีย์ ถูกสังหารปี 322 ฮ.ศ. (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 290-294, อัลอิบัร เล่ม 2 หล้า 14)
- มุหัมมัด บิน ยะอฺกูบ อัลกุลัยนีย์ เจ้าของหนังสือหะดีษชีอะฮฺอัลกาฟีย์ เสียชีวิตปี 329 ฮ.ศ. (สิยัรอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 15 หน้า 280)

ส่วนบรรดาอุละมาอ์ที่โน้มเอียงทางคำพูดด้านวิภาษวิทยา ได้แก่
- อะหมัด บิน อิสหาก อัลเศาะบะฆีย์ เสียชีวิตปี 342 ฮ.ศ.
- มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ อบู อาลี อัลษะเกาะฟีย์ หลานอัลหัจญาจญ์ เสียชีวิตปี 328 ฮ.ศ. อัลเศาะบะฆีย์กล่าวว่า “เราไม่รู้จักการโต้เถียงและการวิภาษจนกระทั่งอบู อาลี อัลษะเกาะฟีย์เดินทางมายังอิรัก” (สิยัรอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 15 หน้า 282)
- มุหัมมัด บิน มุหัมมัด อบู อัลมันศูร อัลมาตุรีดีย์ อิมามสายมาตุรีดียะฮฺ เสียชีวิตปี 333 ฮ.ศ.

นี่คือส่วนหนึ่งของภูมิหลังสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่บรรดาแกนนำอะฮฺลุสสุนนะฮฺมีความเข้มแข็งและมีบารมีจนเป็นที่น่าเกรงขาม ถึงขนาดเคาะลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎ็อดต้องออกคำสั่งให้บรรดานักคัดหนังสือที่อาศัยอยู่ในกรุงแบกแดดตอนนั้น – ปี 279 ฮ.ศ. – ให้พวกเขาสาบานตนว่า จะไม่คัดและขายหนังสือประเภทวิภาษวิทยาและปราชญา และห้ามไม่ให้บรรดานักเล่าเรื่อง ซูฟี หมอดู และอื่นๆ กระทำการใดๆในมัสยิด หรือตามถนนหนทางต่างๆ (อัลกามิล เล่ม 7 หน้า 453, อัลอิบัร เล่ม 1 หน้า 400, อัลบิดายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 64)



ศิฟาตของอัลลอฮ์ท่านจงปล่อยให้ผ่านไปตามที่มีรายงานจงอย่าตีความ



อัซซะฮะบีย์กล่าวว่า “อบู หะสัน มีความเฉลียวฉลาดที่น่าอัศจรรย์ มีความรอบรู้ที่กว้างขวาง มีสิ่งดีๆหลายอย่างในตัวท่าน และท่านมีงานเขียนและตำรามากมายที่บ่งบอกถึงความรอบรู้ที่กว้างขวางของท่าน” ท่านยังกล่าวอีกว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นงานเขียนด้านอุศูล (อะกีดะฮฺ) ของอบู หะสัน 4 เล่ม ซึ่งได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ของแนวทางสะลัฟในเรื่องของคุณลักษณะของอัลลอฮฺ (ศิฟาต)

ท่านกล่าวว่า “ท่านจงปล่อยให้ผ่านไปตามที่มีรายงาน”

แล้วท่านก็กล่าวว่า “และด้วยวิธีการดังกล่าวคือทัศนะของข้าพเจ้า แล้วด้วยการดังกล่าวคือสิ่งที่ข้าพเจ้ายึดมั่น และท่านจงอย่าไปตีความ (ตะอฺวีล)” (สิยัรอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 15 หน้า 87, 86)

คณาจารย์ของท่านอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์


ได้ร่ำเรียนและตักตวงวิชาความรู้จากคณาจารย์หลากหลายสาขาวิชา ในบรรดาคณาจารย์ที่สำคัญๆของท่านได้แก่

- อบู อาลี มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ อัลญุบบาอีย์ เสียชีวิตปี 303 ฮ.ศ. เป็นพ่อเลี้ยงและอาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในชีวิตของอบู หะสัน ด้านการเลี้ยงดู และการประสาทวิชาความรู้ ก่อนที่ท่านจะสลัดทิ้งความเชื่อตามแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺ (อัลกามิล เล่ม 8 หน้า 96)

- ซะกะรียา บิน ยะหฺยา อัสสาญีย์ เสียชีวิตปี 307 ฮ.ศ. เป็นนักรายงานหะดีษและมุฟตีแห่งเมืองบัศเราะฮฺ ถือได้ว่าอัสสาญีย์เป็นอาจารย์คนแรกของอบูหะสัน เพราะบิดาของท่านได้สั่งเสียและฝากฝังอบูหะสันไว้กับอัสสาญีย์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 400, เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 299, 355, อัลมิลัล วัลนิหัล ของอัลบัฆดาดีย์ หน้า 128-129) และจากอาจารย์ท่านนี้เองที่อบูหะสันได้รับรายงานหะดีษและได่รับการประสาทความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺตามทัศนะของอุละมาอ์สะลัฟ และใช้อ้างอิงในงานประพันธ์ของท่านหลายเล่ม (สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 98, ตัซกิเราะฮฺ อัลหุฟฟาซ ของ อัซซะฮะบีย์ เล่ม 2 หน้า 709)

- อบู อัลอับบาส อะหมัด บิน อุมัร อิบนุ สุร็อยจญ์ อัลกอฎีย์ ผู้ได้รับฉายาชาฟิอีย์ที่ 2 และอิมามมุญัดดิดแห่งศตวรรษที่สาม เสียชีวิตปี 303 ฮ.ศ. เป็นอาจารย์ด้านนิติศาสตร์หรือฟิกฮฺของอัลอัชอะรีย์ (อัลบิดายะฮฺ วะอันนิฮายะฮฺ เล่ม 11 หน้า 187)

- อิบรอฮีม บิน อะหมัด อบู อิสหาก อัลมัรวะซีย์ เป็นสหายและศิษย์เอกของของอบู อัลอับบาส อิบนุสุร็อยจญ์ และเป็นแกนนำมัซฮับชาฟิอีย์ในสมัยนั้น เสียชีวิตปี 340 ฮ.ศ. (ตารีฆบัฆดาด เล่ม 11 หน้า 347, วะฟะยาต อัลอะอฺยาน ของอิบนุค็อลลิกาน เล่ม 3 หน้า 384)

- มุหัมมัด บิน อาลี อบู บะกัร อัลก็อฟฟาล (ใหญ่) อัชชาชีย์ เสียชีวิตปี 365 ฮ.ศ. เป็นหนึ่งในบรรดาอาจารย์ของ อบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ที่มีการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ระหว่างกัน โดยที่อบูหะสันจะศึกษาวิชาฟิกฮฺมัซฮับชาฟิอีย์จากอัลก็อฟฟาล ส่วนอัลก็อฟฟาลก็จะศึกษาวิชาวิภาควิทยา (อิลมุลกะลาม) จากอบูหะสัน (เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 200-202, ตับยีนกัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 182-183, สิยัรอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 16 หน้า 283-285)

- อัลฟัฎลฺ บิน อัลหุบาบ อบู เคาะลีฟะฮฺ อัลญุมะฮีย์ เสียชีวิตปี 305 ฮ.ศ. (สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 15 หน้า 86, ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 400, เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 5 หน้า 355)

และอาจารย์ท่านอื่นๆอีกจำนวนมาก ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมตามแหล่งอ้างอิงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2007, 03:11:56 PM โดย وا شُغْلاه » บันทึกการเข้า
รักท่านนบี ต้องปกป้องเกียรติท่าน
salafy

6. ศิษยานุศิษย์

ด้วยความโด่งดังของบทบาทและจุดยืนของอบู หะสัน อัลอัชอารีย์ในด้านการประกาศตัวต่อต้านและตอบโต้แนวคิดของมุอฺตะวิละฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรื่องราวการประกาศกลับตัวของท่านต่อหน้าชุมชนดังกระฉ่อนไปทั่วทุกมุมเมือง จึงไม่เป็นการแปลกที่จะมีบรรดาผู้แสวงหาความรู้ทยอยกันไปเป็นลูกศิษย์ของท่านเป็นจำนวนมาก แต่โดยภาพรวมแล้วบรรดาลูกศิษย์ของท่านส่วนใหญ่ จะไปตักตวงเอาวิชาความรู้จากท่านในด้านอะกีดะฮฺ และหลักการศรัทธาที่อบู หะสันได้วางรากฐานไว้ หลังจากที่ท่านได้กลับตัวจากแนวคิดมุอฺตะซิละฮฺ

ถึงแม้ว่าท่านจะมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากมายก็ตาม แต่ลูกศิษย์ที่ถือว่าเป็นศิษย์เอกและมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดของอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ ตามที่อัสสุบกีย์ (เฏาะบะกอต เล่ม 3 หน้า 368-369) ได้เล่าไว้มีเพียง 4 ท่านแรกต่อไปนี้เท่านั้น นั่นคือ

1- อิบนุ มุญาฮิด มุหัมมัด บิน อะหมัด บิน ยะอฺกูบ อัตฏออีย์ อัลบัฆดาดีย์ เสียชีวิตปี 370 ฮ.ศ. ซึ่งต่อมาได้เป็นอาจารย์คนสำคัญของอัลบากิลลานีย์ (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 177, สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 16 หน้า 305, อัดดีบาจญ์ อัลมัซฮับ เล่ม 2 หน้า 210)

2. อบู อัลหะสัน อัลบาฮิลีย์ อัซซาฮฺโ อัสซูฟีย์ เสียชีวิตประมาณปี 375 ฮ.ศ. ซึ่งต่อมาได้เป็นอาจารย์ของ อบู อิสหาก อัลอิสฟิรอยีนีย์, อิบนุเฟาร้อก และอัลบากิลลานีย์ (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 178, สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 16 หน้า 304, อัลวาฟี บิลวะฟะยาต เล่ม 12 หน้า 312)

3. อบู อัลหุเสน บุนดาร บิน อัลหุเสน อัชชีรอซีย์ อัสซูฟีย์ คนใช้ของอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ เสียชีวิตปี 353 ฮ.ศ. (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 179, สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 16 หน้า 108, หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 10 หน้า 385, เฏาะบะกอต อัสซูฟียะฮฺ หน้า 467, เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 224)

4. อบู อัลหะสัน อาลี บิน มะฮฺดี อัตเฏาะบะรีย์ เสียชีวิตประมาณปี 380 ฮ.ศ. (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 195, เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 466)

5. อบู บะกัร อัลก็อฟฟาล อัชชาชีย์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในทำเนียบของคณาจารย์

6. อิบนุคุฟัยฟ์ อบู อับดิลลาฮฺ มุหัมมัด บิน คุฟัยฟ์ อัชชีรอซีย์ อัสซูฟีย์ เสียชีวิตปี 371 ฮ.ศ. (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 190, สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 16 หน้า 342, หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 10 หน้า 386, เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 149)
และศานุศิษย์ท่านอื่นๆอีกจำนวนมาก ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมตามแหล่งอ้างอิงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

หมายเหตุ บรรดารายชื่อที่อิบนุอะสากิรได้ระบุไว้ในทำเนียบเฏาะบะกอตสหายของอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์รุ่นที่ 1 ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นลูกศิษย์ที่ร่ำเรียนกับอบู หะสัน ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “รุ่น (เฏาะบะเกาะฮฺ) ที่ 1 คือบรรดาสหายของอบู หะสัน ที่ได้รับเอาวิชาความรู้มาจากท่าน และบรรดาผู้ที่มีทัศนะเช่นเดียวกับท่านที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน หรือได้ศึกษาจากทัศนะของท่าน (แต่ไม่ได้เรียนกับท่านโดยตรง)” (ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรอ หน้า 177)

อัสสุบกีย์กล่าวว่า “และบางที บรรดาบุคคลเหล่านั้น (หมายถึงผู้ที่มีรายชื่อในทำเนียบรุ่นที่ 1 ของบรรดาสหายของอบู หะสัน ตามที่มีระบุในหนังสือของอิบนุอะสากิร) เป็นบุคคลที่ไม่มีการยืนยันว่าพวกเขาได้เคยนั่งเรียนกับเชค (อบู หะสัน) แต่ ทุกคนเป็นผู้ที่อยู่ร่วมสมัยกับท่าน และดำเนินตามแนวทาง (มัซฮับ) ของท่าน” (เฏาะบะกอต อัสสุบกีย์ เล่ม 3 หน้า 368)

ดังนั้น การที่มีนักวิชาการบางท่านได้รวบรวมรายชื่อที่อิบนุอะสากิรได้ระบุไว้ในทำเนียบสหายรุ่นที่ 1 ของอบูหะสัน และยืนยันว่าทั้งหมดเป็นสานุศิษย์ของท่าน จึงเป็นการกระทำและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง วัลลอฮุอะอฺลัม (ดูตัวอย่างการเขียนของเจ้าของหนังสือ บัยนะ อบี หะสัน อัลอัชอะรีย์ วะ อัลมุนตะสิบีน อิลัยฮิ ฟี อัลอะกีดะฮฺ หน้า 37



อัลอิบานะฮฺฉบับที่วางจำหน่าย


หนังสือ อัลอิบานะฮฺเคยถูกจัดพิมพ์จำหน่ายแล้วหลายครั้งจากหลายๆสำนักพิมพ์ และแต่ละสำนักพิมพ์มีข้อดีข้อเสียในการตะหฺกีกที่แตกต่างกัน ตามความถนัดและข้อมูลที่มีอยู่ของแต่ละมุหักกิก ทั้งที่จัดพิมพ์ที่อินเดีย อียิปต์ เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย (มหาวิทยาลัยอิมามมุหัมมัด บิน สุอูด, มหาวิทยาลัยอิสลาม มาดีนะฮฺ และมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ) ซึ่งทั้งหมดมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างกันเลย นอกจากเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดด้านการพิมพ์เท่านั้นเอง

แต่ฉบับพิมพ์ที่โด่งดังและได้รับความนิยมที่สุดคือฉบับพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ดารอัสศอดิร ปี 1397 ฮ.ศ./1977 ค.ศ. ภายใต้การตะหฺกีกของ ดร.เฟากิยะฮฺ หุเสน มะหฺมูด ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบกับเมนูสคริปต์ จำนวน 4 ฉบับ

1. เมนูสคริปต์จากเทศบาลอิสกันดะริยะฮฺ เป็นเมนูสคริปต์ของหนังสืออัลอิบานะฮฺฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด และเขียนด้วยอักษรที่ชัดเจน ซึ่งผู้ตะหฺกีกได้ยึดเมนูสคริปต์ฉบับนี้เป็นฉบับแม่หรือต้นแบบ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เมนูสคริปต์ชุดนี้ไม่มีระบุวันที่ของการคัดลอกกำกับไว้
2. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดอัลอัซฮัร เขียนด้วยปากกาธรรมดา และระบุวันเสร็จจากการคัดลอกว่า วันอาทิตย์ที่ 5 เราะบีอุลเอาวัล ปี ฮ.ศ. 1308
3. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดรีแวน (Revan)ระบุวันเสร็จจากการคัดลอกว่า วันอังคาร ของเดือนมัรร็อม ปี ฮ.ศ. 1084
4. เมนูสคริปต์จากห้องสมุดดารุลกุตุบ อัลมัศริยะฮฺ เป็นเมนูสคริปต์ที่ถูกเขียนใหม่ ระบุวันเสร็จสิ้นการคัดลอกว่า วันเสาร์ เดือน ซุลหิจญะฮฺ ปี ฮ.ศ. 308 ซึ่งเป็นปีที่อบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นมุหักกิกจึงพิจารณาว่า เป็นการกำกับวันที่ที่ผิดพลาด โดยตกหล่นเลข 1 ไปหนึ่งตัว ที่ถูกต้องคือ 1307 ไม่ใช่ 307 วัลลอฮุอะอฺลัม

ดร. เฟากียะฮฺได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างเมนูสคริปต์ทั้ง 4 ฉบับ และได้ข้อสรุปว่า เมนูสคริปต์ทั้ง 3 ฉบับหลัง (เลข 2,3,4) ล้วนมีส่วนคล้ายคลึงกันมากด้านสำนวนและเนื้อหา จะมีความแตกต่างเพียงน้อยนิดเท่านั้น ซึ่งค้านกับเมนูสคริปต์ที่มาจากเทศบาลอัลอัสกันดาริยะฮฺ (เลข 1) ที่ ดร. ได้ยึดเป็นบรรทัดฐานในการตะหฺกีก ซึ่งมีการเพิ่มเติมข้อความที่น่ากังขาและไม่น่าจะเป็นข้อความที่มาจากต้นฉบับเดิมที่เขียนโดยอบู หะสัน อัลอะชอะรีย์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาและทบทวนโดยละเอียดและรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง (ดู บทนำหนังสือ อัลอิบานะฮฺ, ตะหฺกีก ดร.เฟากิยะฮฺ หน้า 187-192)



การอิสติวาอ์เหนืออะรัชของอัลลอฮ์



แท้จริง ชาวมุอฺตะซิละฮฺ ญะฮฺมิยะฮฺ และหะรูริยะฮฺ พวกเขากล่าวว่า “ความหมายของคำตรัสของอัลลอฮฺ
(الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى)
“ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่เหนือบัลลังก์” (ฏอฮา/5)

หมายถึง “ยึดครอง (อิสเตาลา), ครอบครอง (มิลก์) และ เอาชนะด้วยการบังคับ (ก็อฮร์) และอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ทุกหนแห่ง พวกเขาปฏิเสธการอยู่เหนืออะรัชของอัลลอฮฺ ดังที่บรรดาผู้สัจจริงได้กล่าวไว้ และพวกเขายึดมั่นว่า อิสติวาอ์นั้นคือกุดเราะฮฺ (มีอำนาจเหนือ)

ถ้าเป็นอย่างที่พวกเขากล่าวไว้ มันก็จะไม่แตกต่างกันเลยระหว่างอะรัชกับพื้นดินทั้งเจ็ดชั้น เพราะอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกๆสิ่งและเหนือพื้นดิน ดังนั้นอัลลอฮฺผู้ทรงบริสุทธิ์จึงทรงมีอำนาจเหนือพื้นดิน เหนือหญ้า และเหนือทุกๆสิ่งที่มีอยู่ในโกลนี้ ดังนั้น ถ้าหากว่าอัลลอฮฺทรงอิสติวาอ์บนอะรัชด้วยความหมาย “อิสตีลาอ์” (มีอำนาจเหนือ) ในขณะที่พระองค์ทรงทรงมีอำนาจเหนือทุกๆสิ่งอยู่แล้ว แน่นอนว่าพระองค์ย่อมต้องอิสติวาอ์เหนืออะรัช เหนือพื้นดิน เหนือชั้นฟ้า เหนือหญ้า และเหนือสิ่งโสโครก เพราะพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกๆสิ่ง ทรงปกครอง (อิสเตาลา) เหนือพวกมันทั้งหลายอยู่แล้ว...

มุอฺตะวิละฮฺ หะรูริยะฮฺ และญะฮฺมิยะฮฺ ยังเชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ทุกๆที่ ดังนั้นจึงจำเป็นต่อพวกเขา (ที่ต้องเชื่อว่า) พระองค์มีอยู่ในท้องของมัรยัม ในหญ้า และในห้องสุขา อัลลอฮฺทรงสูงส่งจากคำพูดของพวกเขาด้วยความสูงส่งที่ใหญ่ยิ่ง

ปัญหา (คำตอบ)
ให้ตอบพวกเขาไปว่า ในเมื่อการอิสติวาอ์เหนืออะรัชไม่ได้มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่อะรัช โดยปราศจากสิ่งอื่นตามที่นักวิชาการ บรรดาผู้รายงานเคาะบัร และผู้แบกอาษารได้กล่าวไว้ และอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่ในทุกๆสถานที่ พระองค์ทรงอยู่ใต้พื้นดินที่มีฟ้าอยู่เหนือมัน และในเมื่อพระองค์ทรงอยู่ใต้พื้นดิน และพื้นดินอยู่เหนือพระองค์ และฟ้าอยู่เหนือพื้นดิน ในการดังกล่าวทำให้พวกท่านจำเป็นต้องกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นอยู่ใต้ของใต้และสิ่งอื่นๆอยู่เหนือพระองค์ และพระองค์ทรงอยู่เหนือของเหนือและทุกๆสิ่งอยู่ใต้พระองค์ ในการดังกล่าวทำให้พระองค์จำเป็นต้องอยู่ภายใต้สิ่งที่อยู่เหนือพระองค์ และอยู่เหนือสิ่งที่อยู่ใต้พระองค์ (ในเวลาเดียวกัน) สภาพเช่นนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และขัดแย้งกัน (อัลลอฮฺทรงสูงส่งจากสิ่งนั้นด้วยความสูงส่งที่ใหญ่ยิ่ง-(ส)-)


หลังจากนั้นอบู หะสันก็ได้ยกหลักฐานต่างๆมาสนับสนุน ทั้งหลักฐานที่มาจากอายะฮฺอัลกุรอาน และหลักฐานจากสุนนะฮฺ ซึ่งในจำนวนหลักฐานดังกล่าวได้แก่

1.หะดีษนุซูล
2.อายะฮฺที่ 50 ของซูเราะฮฺ อันนะหฺลุ
3.อายะฮฺที่ 4 ของซูเราะฮฺอัลมะอาริจญ์
4.อายะฮฺที่ 59 ของซุเราะฮฺอัลฟุรกอน
5.อายะฮฺที่ 4 ของซูเราะฮฺอัสสัจญ์ดะฮฺ
6.อายะฮฺที่ 158 ของซูเราะฮฺอันนิสาอ์ ฯลฯ

อบู หะสันได้ปิดท้ายหลักฐานของท่านด้วยหะดีษญานิยะฮฺ (ทาสี) ที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมถามนางว่า “อัลลอฮฺทรงอยู่ที่ใด?”

นางตอบว่า “บนฟ้า”

นบีถามว่า “แล้วฉันเป็นใคร?”

นางตอบว่า “ท่านคือเราะสูลุลลอฮฺ”

ดังนั้น นบีจึงกล่าว (แก่เจ้านายของนาง) ว่า “จงปล่อยนางให้เป็นอิสระเสีย เพราะแท้จริงนางเป็นหญิงผู้ศรัทธา” (บันทึกโดยมุสลิม และท่านอื่นๆ)


เสร็จแล้วอบูหะสันก็กล่าวทิ้งท้ายว่า “นี่เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า แท้จริง อัลลอฮฺนั้นทรงอยู่บน/เหนืออะรัช และเหนือชั้นฟ้า (เป็นการอยู่เหนือที่พระองค์ไม่ได้เพิ่มความใกล้ชิดจากอะรัช-(ส)-) (อัลอิบานะฮฺ หน้า 105-119)



ทัศนะว่า “อัลอิบานะฮฺ” คืองานประพันธ์เล่มสุดท้ายของอัลอัชอะรีย์


ส่วนผู้ที่มีทัศนะว่า “อัลอิบานะฮฺ” คืองานประพันธ์เล่มสุดท้ายของอัลอัชอะรีย์ได้ยกหลักฐานต่างๆเพื่อยืนยันทัศนะของตนดังนี้

ก.รายงานของอิบนุอะสากิร จากอิบนัซเราะฮฺเกี่ยกวับเรื่องราวการกลับตัวของอัลอัชอะรีย์ ซึ่งมีเนื้อหาตอนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากนั้น ท่านได้ออกไปยังมัสญิดแล้วเดินขึ้นมินบัร และกล่าวว่า “โอ้ปวงชนทั้งหลาย แท้จริง เหตุที่ฉันได้หลบหน้าจากพวกท่านในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะฉันได้พิจารณาหลักฐานต่างๆที่ฉันมีอยู่ปรากฏว่าหลักฐานต่างๆเหล่านั้นมีความเท่าเทียมกัน และฉันไม่สามารถแยกแยะและตัดสินได้ว่าอันไหนจริงและอันไหนเท็จ ดังนั้นฉันจึงได้ขอให้อัลลอฮฺทรงชี้ทางนำฉัน และพระองค์ก็ได้ชี้นำฉันสู่ความเชื่อตามที่ฉันได้บรรจุมันไว้ในหนังสือต่างๆของฉันเหล่านี้ และฉันได้ถอนตัวออกจากความเชื่อทั้งหมดที่ฉันเคยยึดถือ เสมือนกับที่ฉันได้ถอดเสื้อของฉันตัวนี้ออกจากร่างกายของฉัน” แล้วท่านก็ถอดเสื้อออกจากตัว แล้วโยนมันทิ้ง และส่งมอบงานประพันธ์ชิ้นใหม่ของท่านแก่ปวงชน และในจำนวนงานประพันธ์เหล่านั้นมีหนังสือ “อัลลุมะอฺ” รวมอยู่ด้วย และหนังสือที่เปิดโปงข้อตำหนิและความบกพร่องของมุอฺตะวิละฮฺ ท่านให้ชื่อว่า “กัชฟุลอัสรอรฺ มะฮัตกุลอสตาร” และหนังสือเล่มอื่นๆ (อัตตับยีน หน้า 39) นี่คือหลักฐานที่บ่งบอกว่าหนังสืออัลลุมะอฺถูกประพันธ์ก่อนอัลอิบานะฮฺ

ข.เมื่อครั้งที่อัลอัชอะรีย์กล่าวถึงงานประพันธ์ต่างๆของท่านในหนังสือ “อัลอุมัด” ท่านไม่ได้ระบุหนังสืออัลอิบานะฮฺในจำนวนงานประพันธ์ของท่าน ในขณะที่อิบนุเฟาร็อกระบุว่างานประพันธ์ดังกล่าวท่านได้ประพันธ์ขึ้นในปี 320 ฮ.ศ. หมายความว่า ถูกประพันธ์ 4 ปีก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตตามทัศนะของอิบนุเฟาร็อก ดังนั้น ถ้าหากว่าหนังสืออัลอิบานะฮฺเป็นหนึ่งในจำนวนงานประพันธ์ของท่านก่อนหน้านั้น ท่านย่อมต้องระบุหนังสืออัลอิบานะฮฺรวมอยู่ในจำนวนหนังสือเหล่านั้นด้วย อิบนุเฟาร็อกก็เช่นกัน เมื่อครั้งที่ท่านได้เพิ่มเติมงานประพันธ์ของอัลอัชอะรีย์หลังจากนั้น ท่านก็ไม่ได้กล่าวถึงหนังสืออัลอิบานะฮฺเช่นกัน แต่อิบนอะสากิรผู้ซึ่งคัดลอกมาจากอิบนุเฟาร็อกกลับระบุชื่อหนังสืออัลอิบานะฮฺรวมอยู่ในบรรดางานประพันธ์ของอัลอัชอะรีย์ และท่านยังได้ยกเนื้อหาบางส่วนจากหนังสืออัลอิบานะฮฺมาอ้างด้วย นี่เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า หนังสืออัลอิบานะฮฺคืองานประพันธ์เล่มสุดท้ายของอัลอัชอะรีย์ ในขณะที่อัลอัชอะรีย์เองกลับกล่าวถึงหนังสืออัลลุมะอฺในจำนวนงานประพันธ์ของท่าน ซึ่งเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่บ่งชี้ว่าหนังสืออัลลุมะอฺถูกประพันธ์ขึ้นก่อนอัลอิบานะฮฺ (อัตตับยีน หน้า 128-135)

ค.เรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างอัลอัชอะรีย์กับอัลบัรบะฮารีย์เชคหันบะลีย์ (ต.328 ฮ.ศ.) ที่แบกแดด ดังที่อบูยะอฺลาได้เล่าไว้ว่า “หลังจากที่อัลอัชอะรีย์ได้เข้าไปยังแบกแดด ท่านได้ไปหาอัลบัรบะฮารีย์ และกล่าวแก่ท่านว่า “ฉันได้ตอบโต้อัลญุบบาอีย์ และอบูฮาชิม และฉันได้วิพากษ์พวกเขาและชาวยิว นะศอรอว์ และมะญูสีย์...” พออัลอัชรีย์พูดจบ อัลบัรบะฮารีย์จึงกล่าวขึ้นว่า “ฉันไม่เข้าใจเลยแม้แต่นิดในสิ่งที่เจ้าพูด และเราไม่รู้นอกจากสิ่งที่อบูอับดิลลาฮฺ อะหมัด บิน หันบัลได้พูดไว้” ดังนั้น อัลอัชอะรีย์จึงจากอัลบัรบะฮารีย์ไป และประพันธ์หนังสืออัลอิบานะฮฺ แต่อัลบัรบะฮารีย์ก็ไม่ยอมรับ ดังนั้นท่านจึงไม่ปรากฎตัวในสังคมจนกระทั่งท่านเดินทางออกจากแบกแดก” (เฏาะบะกอต อัลหะนาบิละฮฺ 2/18, สิยัรอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ 15/90) แต่อิบนอุสากิรระบุว่า “เป็นรายงานที่อ่อน โดยเฉพาะคำกล่าวตอนท้ายที่ว่า “ดังนั้นท่านจึงไม่ปรากฎตัวในสังคมจนกระทั่งท่านเดินทางออกจากแบกแดก” เพราะหลังจากที่อัลอัชอะรีย์เดินทางเข้าแบกแดก ท่านก็ไม่ได้เดินทางออกไปไหนจนกระทั่งท่านเสียชีวิตที่นั่น” (อัตตับยีน หน้า 391) จะเห็นได้ว่า อิบนุอะสากิรเองก็ไม่ได้ปฏิเสธถึงการมาทีหลังของหนังสืออัลอิบานะฮฺ ท่านเพียงแต่ปฏิเสธเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางออกจากแบกแดกของอัลอัชอะรีย์เท่านั้นเอง วัลลอฮุอะอฺลัม

มีอุละมาอ์จำนวนหนึ่งที่มีทัศนะว่าหนังสืออัลอิบานะฮฺคืองานประพันธ์เล่มสุดท้ายของอัลอัชอะรีย์ ในจำนวนอุละมาอ์เหล่านั้นได้แก่
1.อิมามอัลกุรรออ์ อบูอะลี อัลหะสัน บิน บิน อะลี บิน อิบรอฮีม อัลฟาริสีย์ (ดู ริสาละฮฺฟี อัซซับ อัน อบีอัลหะสัน อัลอัชอะรีย์ ของอิบนุดิรบาส หน้า 115)
2.อบู อัลกอสิม อับดุลมะลิก บิน อีซา บิน ดิรบาส (ต.605 ฮ.ศ.) (ดู ริสาละฮฺฟี อัซซับ อัน อบีอัลหะสัน อัลอัชอะรีย์ ของอิบนุดิรบาส หน้า 107)
3.อิบนุตัยมิยะฮฺ (อัลมัจญ์มูอฺ 5/93, 6/359)
4.อิบนุก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ (มุคตะศ็อร อัสเศาะวาอิก 2/136)
5.อิบนุลอะมาด อัลหันบะลีย์ (ชะซะรอต อัซซะฮับ 2/303)
6.อิบนุกะษีร (เฏาะบะกอต อัชชาฟิอียะฮฺ 1/210)
7.เชคอิบรอฮีม บิน มุศเตาะฟา อัลหะละบีย์ (ต.1190 ฮ.ศ.) (อัลลัมอะฮฺ ฟี ตะหฺกีก มะบาหิษ อัลวุญูด วัลหุดูษ วัลก็อดริ วะอัฟอาล อัลอิบาด หน้า 57)
8.เชคอิบรอฮีม บิน หะสัน อัลกูรอนีย์ (ต.1101 ฮ.ศ.) (หน้า 36)
9.เชคคอลิก อัลนักชะบันดีย์ อัชชาฟิอีย์ (ญะลาอุลอัยนัยน์ หน้า 157)
10.เชคนุอฺมาน ค็อยรุดดีน อัลอะลูสีย์ (ญะลาอุลอัยนัยน์ หน้า 462)
11.เชคมุหิบบุดดีน อัลเคาะฏีบ (เชิงอรรถหนังสืออัลมุนตะกอ หน้า 41, 43) และท่านอื่นๆ

อุละมาอ์เหล่านี้ต่างระบุว่า หนังสืออัลอิบานะฮฺ คืองานประพันธ์เล่มสุดท้ายของอัลอัชอะรีย์ และมีนักศึกษาวิจัยจำนวนหนึ่งที่ให้น้ำหนักกับทัศนะนี้ ในจำนวนท่านเหล่านั้น ได้แก่
-รอญิหฺ อัลกุรดีย์ ในหนังสือ อะลากอต ศิฟาติลลาฮฺ ตะอาลา บิซาติฮฺ หน้า 142
-มุหัมมัด อะหมัด มะหฺมูด ในหนังสืออัลหะนาบิละฮฺ ฟีบัฆดาด หน้า 186
-ริฎอ นะอฺสาน ในหนังสือ อะลากอต อัลอิษบาตร วะ อัตตัฟวีฎ หน้า 41-44
-โกลด์ ชีเฮอร์ ในหนังสือ อัลอะกีดะฮฺ วะอัชชะรีอะฮฺ ฟี อัลอิสลาม หน้า 122

นี่คือหลักฐานอย่างสรุปของผู้ที่มีทัศนะว่าหนังสืออัลอิบานะฮฺถูกประพันธ์หลังหนังสืออัลลุมะอฺ ซึ่งจะพบว่ามีน้ำหนักกว่าทัศนะที่ว่าหนังสืออัลลุมะอฺถูกประพันธ์หลังหนังสืออัลอิบานะฮฺ และยังเป็นการตอกย้ำถึงความอ่อนของทัศนะที่ว่า อัลอัชอะรีย์กลับตัวสู่แนวทางสะลัฟก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นท่านก็ยืนหยัดอยู่บนแนวทางสายกลาง หรือแนวทางอิบนุกุลลาบ วัลลอฮุอะอฺลัม



จากการวิจารณ์ที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่าทัศนะที่ 1 เป็นทัศนะที่อ่อน พร้อมกันนั้น ยังไม่ได้อยู่ในกรอบของความขัดแย้งที่กำลังศึกษาอยู่ ซึ่งทัศนะนี้วางอยู่บนข้ออ้างที่ว่า อัลอัชอะรีย์ทำการตะวีล (ตีความ) คุณลักษณะด้านการรายงาน (ศิฟาตเคาะบะรียะฮฺ) หรืออ้างว่าท่านมีทัศนะแบบมอบหมาย (ตัฟวีฎ) หรือเอาใจอุละมาอ์สายหันบะลีย์เมื่อครั้งที่ท่านประพันธ์หนังสืออัลอิบานะฮฺ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเนื้อหาตรงๆของหนังสืออัลอิบานะฮฺมิได้เป็นทัศนะที่ท่านยึดมั่นอยู่แต่อย่างใด ทั้งหมดนั้นก็เพื่อที่จะปฏิเสธวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นกับอัลอัชอะรีย์ เมื่อครั้งที่ชาวอะชาอิเราะฮฺได้เบี่ยงเบนและหันเหออกจากทัศนะของอัลอัชอะรีย์อย่างมากมาย เช่นเดียวกับที่ได้ชี้แจงไปแล้วว่าทัศนะที่ 3 และ 5 เป็นทัศนะที่อ่อน

หลักฐานของทัศนะที่ 2 และคำวิจารณ์

ส่วนผู้ที่มีทัศนะที่ว่าท่านยังคงดำเนินอยู่ตามแนวทางอิบนุกุลลาบ และยังไม่ได้กลับตัวอย่างสมบูรณ์ ในบรรดาอุละมาอ์ที่มีทัศนะนี้ได้แก่ อิบนุหัซมิน (อัลฟัศลุ 3/25), อับดุลญับบาร อัลฮะมะดารชนีย์ (ชัรหฺ อัลอุศูล อัลค็อมสะฮฺ หน้า 528), อิบนุ อบี อัลอิซฺ (ชัรหฺ อัตเฏาะหาวิยะฮฺ หน้า 180), อิบนุตัยมิยะฮฺ และอิบนุก็อยยิม

1. อิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวว่า “หลังจากที่อบู อัลหะสัน อัลอัชอะรีย์กลับตัวจากแนวทางมุอฺตะซิละฮฺ ท่านได้ดำเนินตามแนวทางอิบนุกุลลาบ และเอนเอียงไปทางแนวทางของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ และอัลหะดีษ พร้อมทั้งพาดพิงไปยังอิหม่ามอะหมัด ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในงานประพันธ์ต่างๆของท่าน อาทิ อัลอิบานะฮฺ, อัลมูญัซ, อัลมะกอลาต เป็นต้น ท่านชอบที่จะคลุกคลีกับอะฮฺลุสสุนนะฮฺและอัลหะดีษเสมือนกับการคลุกคลีของมุตะกัลลิม (นักตรรกะ) กับพวกเขา” (ดัรอุอัตตะอารุฎ 2/16)
ส่วนอิบนุก็อยยุมก็เห็นด้วยกับทัศนะของอิบนุตัยมิยะฮฺดังกล่าว(อิจญ์ติมาอฺอัลญุยูซฺอัลอิสลามิยะฮฺ หน้า 181)

2. อิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวว่า “และบรรดาอิหม่ามชาวสุนนะฮฺพวกเขาจะปฏิเสธอิบนุกุลลาบและอัลอัชอะรีย์ด้านแนวคิดบางอย่างของญะฮฺมิยะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺที่ยังหลงเหลือ (และมีอิทธิพลต่อทั้งสอง) อาทิ ความเชื่อด้านความถูกต้องของแนวทางอะอฺรอฎ (คุณลักษณะที่ไม่มีตัวตนและต้องพึ่งพาสิ่งอื่นที่มีตัวตน (เญาฮัร) อาทิ สี กลิ่น รส -อัรรอฆิบ-) และส่วนประกอบของร่างกายหรือมวลสาร...และอื่นๆที่เป็นปัญหาที่ยุ่งยากสำหรับบรรดาผู้ที่รอบรู้เรื่องอัสสุนนะฮฺ อัลหะดีษ และทัศนะต่างๆของชนสะลัฟและบรรดาอิมหม่ามต่างๆมากกว่าอัลอัชอะรีย์ เช่น อัลหาริษ อัลมุหาสิบีย์, อบู อะลี อัสษะเกาะฟีย์ และอบู บะกัร บิน อิสหาก อัสเศาะบะฆีย์...” (ดัรอุอัตตะอารุฎ 7/97)


3. จากอิบนุตัยมิยะฮฺหลังจากยกอ้างทัศนะของผู้ที่มีทัศนะเกี่ยวกับกะลามุลลอฮฺ (คำตรัสของอัลลอฮฺ) ว่า “หุรูฟหรืออักขระอัลกุรอานไม่ใช่คำตรัสของอัลลอฮฺ เพราะแท้จริงคำตรัสของอัลลอฮฺนั้นคือความหมายที่ยืนหยัดด้วยตนเอง นั่นคือ คำสั่งใช้ คำสั่งห้าม และการแจ้งข่าว” ท่านก็กล่าววิพากษ์ว่า “ทัศนะนี้ผู้แรกที่อุตริมันขึ้นมาคืออิบนุกุลลาบ แต่พร้อมกันนั้น ท่านเองและบรรดาผู้ที่ติดตามท่าน อาทิ อัลอัชอะรีย์ และอื่นๆ กลับกล่าวว่า “อัลกุรอานถูกรักษาไว้ในจิตใจอย่างแท้จริง ถูกอ่านด้วยลิ้นอย่างแท้จริง และถูกบันทึกลงในคัมภีร์อย่างแท้จริง...” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 8/424)
นี่คือหลักฐานสำคัญยิ่งที่บ่งชี้ถึงทัศนะของอิบนุตัยมิยะฮฺเกี่ยวกับหลักฐานนี้ซึ่งมีระบุในหนังสืออัลอิบานะฮฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาหลักฐานต่างๆของผู้มีทัศนะว่าท่านอัลอัชอะรีย์กลับตัวจากแนวทางของอิบนุกุลลาบสู่ทัศนะของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ

4. อิบนุก็อยยิมได้กล่าวถึงทัศนะต่างๆเกี่ยวกับกะลามุลลอฮฺ และในจำนวนนั้น ท่านได้กล่าวถึงทัศนะของอัลอัชอะรีย์ด้วย ท่านกล่าวว่า “แนวทางที่ห้า คือแนวทางของอัลอัชอะรีย์ และผู้ที่เห็นพ้องกับท่าน นั่นคือ กะลามุลลอฮฺ คือความหมายเดียวที่ยืนหยัดด้วยซาตของพระผู้อภิบาล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่คงอยู่แต่ดั้งเดิม (เกาะดีมะฮฺ อะซะลิยะฮฺ) ไม่ได้อยู่ในรูปของอักขระและเสียง ไม่มีการแบ่งแยก และชิ้นส่วน...” (มุคตะศ็อรอัสเศาะวาอิกฺ 2/291)


5. อิบนุตัยมิยะฮฺไม่ได้จัดทัศนะต่างๆของอัลอัชอะรีย์ไว้ในบรรทัดฐานเดียวกันทั้งหมดในด้านความใกล้ชิดกับแนวทางสะลัฟ ท่านมีทัศนะว่า หลังจากที่อัลอัชอะรีย์เดินทางเข้าแบกแดด ท่านได้รับเอาสิ่งอื่นจากที่ท่านได้รับที่บัศเราะฮฺจากแนวทางของอะฮฺลุสสุนนะฮฺด้วย ท่านกล่าวว่า “อัลอัชอะรีย์ ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นหนึ่งในบรรดาสานุศิษย์ของแนวทางมุอฺตะซิละฮฺ แล้วกลับตัวจากแนวทางนั้น เพราะท่านเป็นลูกศิษย์ของอัลญุบบาอีย์ และโน้มเอียงไปทางแนวทางของอิบนุกุลลาบ และได้ศึกษาวิชาการหะดีษจากซะกะรียา อัสสาญีย์ที่บัศเราะฮฺ ต่อมาหลังจากที่ท่านเดินทางไปยังแบกแดด ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติมกับอุละมาอ์หันบะลีย์ ซึ่งเป็นจุดยืนสุดท้ายของท่าน ตามที่ท่านและบรรดาสหายของท่านได้กล่าวไว้ในตำราของพวกเขา” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 3/228)

ดังนั้น สถานะของหนังสืออัลอิบานะฮฺตามทัศนะของอิบนุตัยมิยะฮฺ จึงแตกต่างจากหนังสืออื่นๆที่ท่านได้ประพันธ์ไว้ก่อนหน้าที่ท่านเดินทางไปยังแบกแดด
จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงพอสรุปหลักฐานของผู้ที่มีทัศนะว่าอัลอัชอะรีย์ยังคงดำเนินตามแนวทางของอิบนุกุลลาบอยู่จงบจนวาระสุดท้ายของชีวิตได้ดังนี้

1. อัลอัชอะรีย์ไม่ได้ระบุในหนังสืออัลอิบานะฮฺว่าท่านได้กลับตัวจากแนวทางอิบนุกุลลาบแล้ว ส่วนทัศนะของท่านเกี่ยกวับปัญหาอัลกุรอานและคำตรัสของอัลลอฮฺนั้น ท่านเพียงแค่เน้นด้านการวิพากษ์ทัศนะของมุอฺตะวิละฮฺที่มีทัศนะว่าอัลกุรอานเป็นมัคลูก (สิ่งที่ถูกสร้าง) เพราะถ้าหากท่านมีทัศนะว่าคำพูดหรือแนวทางของอิบนุกุลลาบเกี่ยวกับสถานะของอัลกุรอาน -ที่ท่านยึดตามอยู่- เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านย่อมต้องกล่าววิพากษ์และกล่าวว่าเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องตามไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นการบ่งชี้ว่า ทัศนะต่างๆของท่านที่สอดคล้องกับจุดยืนของอะฮฺลุสสุนะฮฺไม่ได้ขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านยึดมั่นที่รับมาจากแนวทางของอิบนุกุลลาบ

2. ถ้าหากว่าอัลอัชอีย์กลับตัวสู่แนวทางสะลัฟอย่างเต็มรูปแบบจริง แน่นอนว่าอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺบางท่านคงไม่จะตำหนิและปฏิเสธทัศนะหรือจุดยืนบางอย่างของท่านที่ค้านกับทัศนะของชนสะลัฟ วัลลอฮุอะอฺลัม

คำพูดเกี่ยวกับพระพักตร์ สองพระเนตรและสองพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ


อัลกะลามฟีอัลวัจญ์ฮฺ วัลอัยนัยนฺ...วัลยะดัยนฺ
(คำพูดเกี่ยวกับพระพักตร์ สองพระเนตร...และสองพระหัตถ์*)
(ดู อัลอิบานะฮฺ ตะหฺกีก เฟากียะฮฺ หน้า 120-140)

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلاَّ وَجْهَهُ
“ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” (อัลเกาะศ็อศ 88)

وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الْجَلاَلِ وَالإِكْرَامِ
“และมีแต่พระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่” (อัรเราะหฺมาน 27)

ดังนั้น พระองค์ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงมีพระพักตร์ที่ไม่สูญสลายและจะไม่พบกับความสูยเสีย
พระองค์ทรงตรัสว่า

تَجْرِي بِأَعْيُنِنَا
“เรือได้แล่นไปต่อหน้าบรรดาพระเนตร (การคุ้มครองดูแล) ของเรา” (อัลเกาะมัร 14)

وَاصْنَعِ الْفُلْكَ بِأَعْيُنِنَا وَوَحْيِنَا
“และเจ้าจงสร้างเรือต่อหน้าพระเนตร (ภายใต้การดูแล) ของเราและตามคำบัญชาของเรา” (ฮูด 37)

ดังนั้น พระองค์ทรงเล่าว่าพระองค์ทรงมีพระพักตร์ และพระเนตรที่ไม่สามารถจะ(จินตนาการ)วิธีการและขอบเขต

พระองค์ทรงตรัสว่า
وَاصْبِرْ لِحُكْمِ رَبِّكَ فَإِنَّكَ بِأَعْيُنِنَا
“ดังนั้น เจ้าจงอดทนต่อพระบัญชาของพระเจ้าของเจ้า เพราะแท้จริง เจ้านั้นอยู่ในเบื้องบรรดาพระเนตร (การคุ้มครองดูแล) ของเรา” (อัตฏูร 48)

وَلِتُصْنَعَ عَلَى عَيْنِي
“เพื่อที่เจ้าจะได้รับการเลี้ยงดูภายใต้พระเนตรของข้า” (ฏอฮา 39)


ตอน
และญะฮฺมิยะฮฺปฏิเสธการมีพระพักตร์ (الوجه) สำหรับอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ และล้มล้างว่าพระองค์ทรงได้ยิน (السمع) ทรงมองเห็น (البصر) และทรงมีดวงเนตร (العين) และ (ทัศนะของ) พวกเขาสอดคล้องกับ (ทัศนะของ) นะศอรอ เพราะนะศอรอไม่ได้ยืนยันว่าอัลลอฮฺทรงได้ยินและทรงมองเห็นนอกจากด้วยความที่ว่าพระองค์ทรงรอบรู้...

ปัญหา
ดังนั้น ผู้ใดถามเราและกล่าวว่า “พวกท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงมีพระพักตร์กระนั้นหรือ?”
ตอบเขาว่า “เราขอกล่าวเช่นนั้น ซึ่งค้านกับคำกล่าวของบรรดาผู้อุตริ และแท้จริงคำตรัสของอัลลอฮฺ (ต่อไปนี้) ได้บ่งบอกถึงสิ่งดังกล่าว

وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الْجَلاَلِ وَالإِكْرَامِ
“และมีแต่พระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่” (อัรเราะหฺมาน 27)

ปัญหา
แท้จริงเขาได้ถามเราว่า “พวกท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงมีสองพระหัตถ์กระนั้นหรือ?
ตอบเขาว่า “เราขอกล่าวเช่นนั้น (โดยปราศจากวิธีการ-ส-) และแท้จริงคำตรัสของอัลลอฮฺ (ต่อไปนี้) ได้บ่งบอกถึงสิ่งดังกล่าว

يَدُ اللهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ
“พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา” (อัลฟัตหฺ 10)

لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

และมีรายงานจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า
إن الله مسح ظهر آدم بيده فاستخرج منه ذريته
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงลูบหลังนบีอาดัมด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จึงทำให้สายตระกูล (ลูกหลาน) ของอาดัมออกมาจากท่าน” (บันทึกโดยอบู ดาวูด, อัตติรมิซีย์ และมาลิก)

ดังนั้นพระหัตถ์ของอัลลอฮฺจึงได้รับการยืนยัน (ว่ามีจริง) โดยปราศจากวิธีการ

และมีรายงานจากหะดีษท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

أن الله تعالى خلق آدم بيده، وخلق جنة عدن بيده، وكتب التوراة بيده، وغرس شجرة طوبى بيده
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงสร้างสวรรค์เอเดนด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงเขียนเตารอตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ และทรงรดต้นไม้ฏูบาด้วยพระหัตถ์ของพระองค์” (หมายถึง พระหัตถ์แห่งอำนาจของพระองค์ -ส-)

พระองค์ทรงตรัสว่า
بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ
“หามิได้ พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ถูกแบออกต่างหาก” (อัลมาอิดะฮฺ 64)...

และไม่เป็นที่อนุญาตในภาษาอาหรับและตามธรรมเนียมของนักพูดที่ผู้พูดจะกล่าวว่า “ข้าพเจ้ากระทำเช่นนั้นด้วยมือของข้าพเจ้า” อันหมายถึง “ความโปรดปรานหรือความกรุณา (นิอฺมะฮฺ)” และในเมื่ออัลลอฮฺทรงตรัสกับชาวอาหรับด้วยภาษาของพวกเขา และทรงตรัสด้วยคำพูดที่สามารถเข้าใจและเป็นไปได้ และในเมื่อไม่อนุญาตตามคำพูดของนักภาษาที่ผู้พูดจะกล่าวว่า “ข้าพเจ้ากระทำด้วยมือของข้าพเจ้า” อันหมายถึง ด้วยความโปรดปรานหรือกรุณา (นิอฺมะฮฺ) ดังนั้น ความหมายคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” อันหมายถึง “ความโปรดปรานหรือกรุณา (นิอฺมะฮฺ) ของพระองค์ จึงเป็นโมฆะ...

ปัญหา
และให้ถามชาวอุตริว่า “แล้วทำไมพวกท่านจึงคิดว่าความหมายของคำว่า “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” หมายถึง “ด้วยความโปรดปรานของข้า”?

พวกท่านคิดว่าการตีความเช่นนั้นเป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ (อิจญ์มาอฺ) หรือว่าเป็นความหมายทางภาษา?

และพวกเขาจะไม่พบการตีความหมายเช่นนั้นไม่ว่าจะเป็นมติของปวงปราชญ์หรือความหมายด้านภาษา
และถ้าพวกเขากล่าวว่า “เรากล่าวเช่นนั้นด้วยการเทียบเคียง (กิยาส)”

ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “พวกท่านพบการเทียบเคียงมาจากไหนหรือที่ว่าคำตรัสของอัลลอฮฺ “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” จะไม่มีความหมาย (อื่นเลย) นอกจาก “ความโปรดปรานหรือความกรุณา (นิอฺมะฮฺ)ของข้า (เท่านั้น)”?...

ปัญหา
และแท้จริงผู้ที่ขึ้นเสียงบางคนจะขึ้นเสียงด้วยคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

وَالسَّمَاء بَنَيْنَاهَا بِأَيْدٍ
“และชั้นฟ้า เราได้สร้างมันด้วยพลังอำนาจ” (อัซซาริยาต 47)

พวกเขากล่าวว่า الأيد “อัลอัยดิ” หมายถึง القوة “อัลกุววะฮฺ” (พลังอำนาจ) ดังนั้นคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า بيدي “ด้วยพระหัตถ์ของข้า” จำเป็นต้องให้ความหมายว่า بقدرتي “ด้วยพลังความสามารถของข้า” เช่นกัน
ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “การตีความเช่นนั้นเป็นการตีความที่เสื่อมเสียในหลายแนวทางด้วยกัน

1- คำว่า الأيد “อัลอัยดิ” (ในอายะฮฺดังกล่าว) ไม่ได้เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า اليد “อัลยัด” เพราะคำพหูพจน์ของ يد “ยะดน” คือ أيدي “อัยดี” แต่คำพหูพจน์ของ اليد “อัลยัด” ที่ให้ความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ (ความโปรดปรานหรือความกรุณา)” คือ أيادي “อะยาดี”


และเช่นเดียวกัน ถ้าหากอัลลอฮฺหมายถึง “กุดเราะฮฺ” (พลังความสามารถ) ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

แน่นอนว่าท่านนบีอาดัมไม่ได้มีความเหลื่อมล้ำเหนืออิบลีสเลยในการสร้างดังกล่าว ในขณะที่อัลลอฮิประสงค์จะให้เห็นถึงภาพความประเสริฐของอาดัมเหนืออิบลีส ซึ่งพระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์เอง ในขณะที่อิบลีสมิได้เป็นเช่นนั้น

และถ้าหากว่าพระองค์ทรงสร้างอิบลีสด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์เหมือนกับที่พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์แล้ว ดังนั้นการที่อัลลอฮฺจะบ่งบอกถึงความประเสริฐของอาดัมที่เหนือกว่าอิบลีสก็ไร้ความหมาย เพราะอิบลีสก็จะกล่าวทักท้วงพระผู้อภิบาลของเขาว่า “แท้จริงพระองค์ได้ทรงสร้างข้าด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์เหมือนกับที่พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์”

ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺประสงค์จะทำให้อาดัมประเสริฐกว่าอิบลีสด้วยการสร้างดังกล่าว พระองค์จึงตรัสตำหนิอิบลีสต่อความหยิ่งยโสของเขาที่ไม่ยอมสุญูดต่ออาดัมว่า

مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ أَسْتَكْبَرْتَ
“อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้าง (อาดัม) ด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า ? เจ้าเย่อหยิ่งจองหองกระนั้นหรือ” (ศอด 75)

จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า อายะฮฺดังกล่าวไม่ได้หมายถึง “กุดเราะฮฺ” (พลังอำนาจ) เพราะอัลลอฮฺสร้างทุกๆอย่างด้วยกุดเราะฮฺ (พลังอำนาจ) ของพระองค์ เพียงแต่ว่า พระองค์ประสงค์ที่จะยืนยันถึงสองพระหัตถ์ (ของพระองค์) ซึ่งอิบลีสมิได้มีส่วนร่วมพร้อมกับอาดัมในด้านการสร้างด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์

คำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)

ไม่พ้นความหมายต่อไปนี้
- หมายถึงการยืนยัน “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ด้วยความหมาย “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน)

- หรือหมายถึงการยืนยัน “สองพระหัตถ์ที่เป็นอวัยวะ” (ยะดัยนฺ ญาริหะตัยนฺ)

- หรือหมายถึงการยืนยันสองพระหัตถ์ด้วยความหมาย “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ)

- หรือหมายถึงการยืนยันสองพระหัตถ์ที่ไม่ใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) หรือไม่ใช่ “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) หรือไม่ใช่ “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ) โดยไม่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะทั้งสองนอกจากตามที่พระองค์ทรงกล่าวไว้

ดังนั้น ความหมายดังกล่าวจึงไม่อนุญาตให้ตีความ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) เพราะไม่เป็นอนุญาตตามทัศนะของนักภาษาที่ผู้กล่าวจะกล่าวว่า “อะมิลตุ บิยะดัยยะ” (ฉันได้กระทำด้วยมือทั้งสองของข้า) อันหมายถึง “นิอฺมะตัยยะ” (สองความโปรดปราน)...

และไม่อนุญาตตามทัศนะของเราและทัศนะของคู่ปรับของเราที่จะหมายถึง “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) และไม่อนุญาต (เช่นกัน) ตามทัศนะของคู่ปรับของเราที่จะหมายถึง “กุดเราะตัยนฺ” (สองพลังอำนาจ)
ในเมื่อความหมายของทั้งสามประเภทนั้นใช้ไม่ได้ ความหมายประเภทที่สี่จึงเป็นความหมายที่ถูกต้อง นั่นคือ ความหมายของคำตรัสของอัลลอฮฺ “บิยะดัยยะ” จึงหมายถึงการยืนยัน (อิษบาตถึงการมีจริงของ) สองพระหัตถ์ที่ไม่ใช่ญาริหะตัยนฺ (สองอวัยวะ) และไม่ใช่กุดเราะตัยนฺ (สองพลังอำนาจ) และไม่ใช่นิอฺมะตัยนฺ (สองความโปรดปราน) โดยไม่กล่าวสาธยายคุณลักษณะทั้งสองนอกจากให้กล่าวว่า “แท้จริงทั้งสองคือพระหัตถ์ที่ไม่เหมือนกับมือต่างๆ และหลุดพ้นจากความหมายของทั้งสามประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้น...

ดังนั้น สิ่งที่เราได้กล่าวไว้จึงเป็นการบ่งชี้ว่าคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
“...ต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยพระหัตถ์ทั้งสองของข้า?” (ศอด 75)
มิได้หมายถึง “นิอฺมะตัยยะ” (สองความโปรดปรานของข้า)

ปัญหา
ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “ทำไมพวกท่านจึงปฏิเสธคำตรัสของอัลลอฮฺ “บิยะดัยยะ” ที่ว่า “ยะดัยนฺ” ในที่นี้มิใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน)?

ถ้าพวกเขากล่าวว่า “เพราะคำว่า “ยะดน” (มือ) เมื่อมิได้มีความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) มันก็จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้นอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)”

ให้กล่าวแก่พวกเขาว่า “แล้วทำไมพวกท่านจึงตัดสินว่า “ยะดน” ในเมื่อมิได้มีความหมายว่า “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) มันจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้นอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)?...”

พวกเขากล่าวว่า “”ยะดน” เมื่อมิได้มีความหมายเป็น “นิอฺมะฮฺ” (ความโปรดปราน) ในสิ่งที่มองเห็น มันจะไม่เป็นความหมายอื่นนอกจาก “ญาริหะฮฺ” (อวัยวะ)”

ให้กล่าวแห่พวกเขาว่า “เมื่อพวกท่านปฏิบัติ (เทียบเคียง) กับสิ่งที่พบเห็นและพวกท่านใช้มันมาตัดสินกับอัลลอฮฺ พวกเราก็ไม่พบสิ่งที่มีชีวิตจากสิ่งที่ถูกสร้างนอกจากจะมีรูปร่าง และเลือดเนื้อเช่นเดียวกัน...
และถ้าหากว่าพวกท่านยืนยัน (อิษบาต) ความมีชีวิตของอัลลอฮฺ (หัยยน) ที่ไม่เหมือนกับการมีชีวิตของพวกเรา ดังนั้น ทำไมพวกท่านจึงปฏิเสธคุณลักษณะของ “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ตามที่อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ ว่าเป็น “ยะดัยนฺ” (สองพระหัตถ์) ที่มิใช่ “นิอฺมะตัยนฺ” (สองความโปรดปราน) และมิใช่ “ญาริหะตัยนฺ” (สองอวัยวะ) และมิได้เหมือนกับบรรดามือต่างๆ

การกลับตัวจากมุอฺตะซิละฮฺและสาเหตุของท่านอัลอัชอะรีย์




อัลอัชอะรีย์ได้ประกาศกลับตัวจากมุอฺตะซิละฮฺ หลังจากที่ท่านได้คร่ำหวอดอยู่กับแนวทางของมุอฺตะ:ซิละฮฺเป็นเวลานานถึง 40 ปี ท่านได้ขังตัวเองอยู่ในบ้านระยะหนึ่ง แล้วท่านก็ออกไปพบกับชุมชนและประกาศกลับตัวจากมุอฺตะซิละฮฺ และระบุว่าท่านไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับทัศนะต่างๆของมุอฺตะซิละฮฺอีก หลังจากนั้น ท่านได้ประพันธ์ตำราใหม่ๆเพื่อวิพากษ์ทัศนะของมุอฺตะซิละฮฺเป็นการเฉพาะ (อัลคิฏ็อฏ ของอัลมุกรีซีย์ 2/359)
เนื่องจากการกลับตัวจากมุอฺตะซิละฮฺของอัลอัชอะรีย์เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านได้ดำเนินอยู่บนแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺเป็นเวลาที่ยาวนาน ผนวกกับการประกาศกลับตัวอย่างฉับพลันทันด่วนของท่าน ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานาเกี่ยวกับสาเหตุการกลับตัวของท่าน ซึ่งพอจะสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

1. สาเหตุโดยตรงที่ทำให้ท่านกลับตัว นั่นคือความฝัน ได้มีรายงานหลายกระแสเกี่ยวกับเรื่องความฝันของท่าน ในจำนวนรายงานดังกล่าวคือ หลังจากที่อบูลหะสันได้ศึกษาอิลมุลกะลามตามแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺอย่างกว้างขวางและถึงจุดสูงสุด ในคืนหนึ่งท่านรู้สึกข้องใจเกี่ยวกับอะกีดะฮฺบางอย่างที่ท่านดำเนินอยู่ ท่านจึงลุกขึ้นละหมาดสองร็อกอัตแล้ววิงวอนขอให้อัลลอฮฺชี้ทางนำที่ถูกต้อง หลังจากนั้นท่านล้มตัวลงนอน และท่านได้ฝันเห็นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในความฝันนั้นท่านได้ร้องเรียนท่านนบีเกี่ยวกับความรู้สึกบางอย่างที่ค้างคาใจอยู่ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจึงกล่าวขึ้นว่า “ท่านจงยึดมั่นในสุนนะฮฺของฉัน” จากความฝันนั้นทำให้ท่านฉุกคิดและเริ่มนำปัญหาด้านอิลมุลกะลามไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ท่านได้พบเจอในอัลกุรอานและสุนนะฮฺ สิ่งใดที่สอดคล้องกับทั้งสองท่านก็คงมันไว้ และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับทั้งสองท่านก็ขจัดมันทิ้ง (อัตตับยีน 38-39) แต่สายรายงานนี้ไปสิ้นสุดที่สหายบางคนโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นใครและน่าเชื่อถือเพียงไหน (ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับความฝันของท่านในอัตตับยีน 40-41, อัตเฏาะบะกอตอัลกุบรอว์ 3/348-349 และตัรตีบอัลมะดาริก 5/28-29)


2. ผลจากการโต้เถียงกับอัลญุบบาอีย์ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาทิ การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง (อัลหะเราะกะฮฺวะอัสสุกูน) (ดูในอัลมะกอลาต หน้า 355-356) สามารถเรียกอัลลอฮฺว่า “อากิล” (ผู้ทรงปัญญา) ได้ไหม? (อัลมะกอลาต หน้า 226, 228) ฯลฯ แต่ที่เป็นที่กล่าวขานกันมากคือ การโต้เถียงเกี่ยวกับความเที่ยงธรรมและประโยชน์ (อย่างใดเหมาะสมและเหมาะสมกว่า) เรื่องมีอยู่ว่า

อบูลหะสันได้ถามอบูอาลีอัลญุบบาอีย์เกี่ยวกับ “สามพี่น้อง ซึ่งคนหนึ่งเป็นมุอ์มินผู้ศรัทธา ปฏิบัติดี และยำเกรง อีกคนหนึ่งเป็นกาฟิรผู้ปฏิเสธ และทำแต่ความชั่ว และอีกคนหนึ่งยังเยาว์วัยอยู่ จึงถามอาจารย์ว่า เมื่อพวกเขาทั้งสามได้เสียชีวิต พวกเขาทั้งสามจะมีสภาพเป็นเช่นไร?”
อัลญุบบาอีย์ตอบว่า “ส่วนซาฮิดคนนั้น (หมายถึงคนแรก) เขาจะอยู่ในระดับที่สูงส่ง (เข้าสวรรค์) ส่วน (คนที่สอง) ที่ปฏิเสธศรัทธาเขาจะอยู่ในระดับที่จมดิ่ง (ตกนรก) ส่วน( คนที่สาม) ที่ยังเยาว์วัยอยู่เขาก็จะอยู่ในกลุ่มชนที่ปลอดภัย”
อัลอัชอะรีย์จึงถามต่อว่า “ถ้าคนที่ยังเยาว์วัยอยู่ประสงค์จะไปอยู่ในระดับของซาฮิด เขาจะได้รับอนุญาตไหม?”
อัลญุบบาอีย์ตอบว่า “ไม่ เพราะเขาจะถูกกล่าวว่า แท้จริงพี่ชาบของเจ้าไปถึงระดับนั้นได้ เพราะการภักดีที่มากมายของเขา ส่วนเจ้าไม่มีการภักดีเหล่านั้น”
อัลอัชอะรีย์จึงแย้งว่า “แล้วถ้าน้องคนเล็กกล่าวคัดค้านว่า “ความบกพร่องไม่ได้เกิดขึ้นที่ฉัน เพราะพระองค์ไม่ได้ทรงให้ฉันมีชีวิตที่ยืนยาว และไม่ได้ทรงเปิดโอกาสให้ฉันปฏิบัติการภักดี”
อัลญุบบาอีย์ตอบว่า “อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า “แท้จริงข้าทราบมาก่อนแล้วว่า ถ้าข้าปล่อยให้เจ้ามีชีวิตต่อไป เจ้าก็จะกระทำความชั่ว และเจ้าก็จะกลายเป็นผู้ที่ควรแก่การได้รับโทษที่เจ็บปวด ดังนั้น ข้าจึงคำนึงถึงประโยชน์ของเจ้า (ด้วยการทำให้เจ้าเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์วัย)”
อัลอัชอะรีย์จึงค้านว่า “แล้วถ้าพี่ชายที่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าว (แย้งบ้างว่า) “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดั่งที่พระองค์ได้ทราบถึงสภาพของเขา (น้องคนเล็ก) แท้จริงพระองค์ก็ทรงทราบถึงสภาพของข้าน้อยเช่นกัน แล้วทำไมพระองค์ทรงคำนึงแต่ประโยชน์ของเขา และไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของข้าน้อยบ้าง?”
ดังนั้นอัลญุบบาอีย์จึงกล่าวแก่อัลอัชอะรีย์ว่า “เจ้ามันคนเสียสติ (บ้า)”
อัลอัชอะรีย์ตอบกลับว่า “เปล่า (ฉันไม่ได้บ้า) แต่ลาของเชค (หมายถึงความงี่เง่าของเชค) ได้หยุดอยู่ที่ทางลำบาก” (วะฟะยาตอัลอะอฺยาน 4/267-268, เฏาะบะกอตอัลกุบรอว์ 3/356, และดูในมะกอลาตอัลอิสลามิยีน หน้า 575)

3. เกิดจากความสับสนและความเท่าเทียมของหลักฐานที่มีอยู่ อิบนุอะสากิรได้เล่าจากอิบนุอัซเราะฮฺ ท่านได้กล่าวเกี่ยวกับอัลอัชอะรีย์ว่า “ท่านได้ดำรงอยู่บนแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺเป็นเวลาสี่สิบปี จนท่านกลายเป็นผู้นำของพวกเขา ต่อมาท่านได้เก็บตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลาสิบห้าวัน หลังจากนั้นท่านได้ออกไปยังมัสยิดใหญ่แล้วก้าวขึ้นมินบัร แล้วกล่าวว่า “ปวงชนทั้งหลาย แท้จริง ข้าพเจ้าได้ปลีกตัวจากพวกท่านในระยะเวลาดังกล่าว เพราะข้าพเจ้าได้พิจารณาและพบว่าหลักฐานต่างๆที่ข้าพเจ้ามีอยู่มีความเท่าเทียมกัน และข้าพเจ้าไม่สามารถจะตัดสินและแยกแยะได้ว่าอย่างไหนคือสัจธรรมและอย่างไหนคือสิ่งจอมปลอม ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอให้อัลลอฮฺทรงประทานทางนำ และพระองค์ก็ทรงชี้ทางนำแก่ข้าพเจ้าสู่ความเชื่อตามที่ข้าพเจ้าได้บรรจุมันไว้ในหนังสือต่างๆเหล่านี้ของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าได้ถอดออกจากความเชื่อเดิมที่ข้าพเจ้าเคยยึดมั่น เสมือนกับที่ข้าพเจ้าได้ถอดเสื้อตัวนี้ออก (จากร่างกายของข้าพเจ้า)” - แล้วท่านก็ถอดเสื้อที่สวมอยู่ออกจากร่างกายแล้วโยนทิ้ง และส่งหนังสือต่างๆที่ท่านได้เขียนขึ้นมาใหม่แก่ปวงชน ในจำนวนหนังสือเหล่านั้นได้แก่ “อัลลุมะอฺ” และหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่แฉความบกพร่องของแนวทางมุอฺตะซิละฮฺ มีชื่อว่า “กัชฟุ อัลอัสรอรฺ วะฮัตกุ อัลอัสตารฺ” และอื่นๆ (อัตตับยีน หน้า 39-40) และยังมีการกล่าวถึงสาเหตุอื่นๆอีกหลายสาเหตุซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง ณ ที่นี้

เหล่านี้คือ สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของอัลอัชอะรีย์ เพียงแต่ว่า สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ไม่มีสายรายงานใดเลยที่มีน้ำหนักพอที่จะยึดมั่นได้

วัลลอฮุอะอฺลัม




วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หลักศรัทธาของชาวสะลัฟเกี่ยวกับอัลอัสมาอ์ วัศศิฟาต

หลักการของอะฮฺลุ อัสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ หรือหลักศรัทธาของชาวสะลัฟเกี่ยวกับอัลอัสมาอ์ วัศศิฟาต คือ ยอมรับในพระนามของอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์ ตามที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ในอัลกุรอานด้วยพระองค์เองและตามที่เราะสูลของพระองค์แจ้งไว้ในอัลหะดีษ โดยที่ปราศจากการตีความหรือบิดเบือนจากตัวบท ชาวสะลัฟหรืออะฮฺลุ อัสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺจะให้การยืนหยัดกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺตามความหมายจริงเหมาะสมกับพระองค์และความรู้เรื่องกัยฟิยะฮฺ (วิธีการ) เป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น
และหากใครได้ถามเกี่ยวกับกัยฟิยะฮฺ (วิธีการ) ของพระนามของอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์ ผู้นั้น(ผู้ถาม)ถึงกับเป็นชาวบิดอะฮฺ ดังที่เคยเกิดขึ้นในยุดของอิมามมาลิก

คำกล่าวของอิมามมาลิก เบ็น อะนัส จากคำถามที่ถามถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ดังที่รายงานโดยอิบนุวะฮับ ว่า ฉันได้นั่งอยู่กับท่านอิมามมาลิก ได้มีชายคนหนึ่งเข้ามาหาท่านและกล่าวว่า โอ้ อะบูอับดุลลอฮฺ อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์บนบัลลังก์" (ซุเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)
และเขาได้ถามว่าพระองค์ทรงสถิตอย่างไร ? อิมามมาลิกเงียบมองที่พื้น และมีเหงื่อไหลออกมาจนกระทั่งเปียกไปทั้งตัว แล้วท่านก็เงยหน้าขึ้นพร้อมกับอ่านอายะฮฺอัลกุรอาน ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์บนบัลลังก์" (ซุเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)
และได้กล่าวว่า “ดังที่พระองค์ได้กล่าวไว้กับคุณลักษณะของพระองค์และอย่าได้กล่าวว่ามีพระองค์ทรงมีลักษณะอย่างไร ซึ่งคำกล่าวในลักษณะดังกล่าวถูกยกขึ้นจากพระองค์ (ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าเป็นอย่างไร) และเจ้า (ชายที่ตั้งคำถามนั้น) คือ ชาวบิดอะฮฺ จงนำเขาออกไป (al-Dhahabiy, 1991 : 141)



งูรัดมัยยิต




นาอูซูบิลละห์นี้มันงูนี้ครับอัลลอฮฺอัคบัร เหมือนที่ท่านนบีได้กล่าวไว้เลยครับว่าในกุโบรจะมีงูตะขาบแมลงป๋องสำหรับคนที่ที้งละหมาด

ชีวิตที่เพอร์เฟคคือชีวิตที่ต้องพยุงอีกชีวิตหนึ่งให้ได้เดินไปพร้อมกัน




ภาพนี้ อัลฮารอม
อยากให้ทุกคนขยายภาพนี้ให้ใหญ่ขึ้นและจงดูที่ขาผู้ชายจะพบเห็นว่าเขามีขาเดียวหรือพิการขาข้างหนึ่ง
และเขาไม่สามารถที่จะเดินได้ เราจะพบเห็นว่าขาอีกข้างนั้นคือภรรยาเขาเอง


ชีวิตที่เพอร์เฟค แต่ชีวิตที่เพอร์เฟคนั้น



✿▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬✿



บทความดีๆโดย: มันเป็นซุนนะツ
ถอดความและเรียงคำโดย: อูลุลอัลบ๊าบ



ชีอะฮฺรอฟีเฎาะฮฺจาบจ้วงจุฬาว่าไม่เห็นจันทร์เสี้ยวจริง





Muslimvoicetv ประเทศไทย เขาคือชีออะฮฺรอฟีเฎาะฮ์นิสัยเลวทรามและธาตุแท้ของลัทธิชีอะห์ที่ใช้ชื่ออิสลามกำบังตัวเอง
มันเสียดสีไม่ให้เกียรติแถมยังฟิตนะห์ว่าท่านจุฬาราชมนตรีว่าได้รับใบสั่งให้ออกอีดวันจันทร์ไม่ออกวันอังคารตามลัทธิชีอะห์ 

มันยังพูดอีกว่า ผู้นำจะต้องมีความรอบรู้ส่วนหนึ่งถามผู้รู้เฉพาะด้านอีกส่วนหนึ่งแต่ควรตรองควรสอบให้แน่ชัดในข่าวนั้นก่อนการตัดสินใจอะไรบางอย่างลงไปด้วยความยุติธรรมบนหลักการที่แท้จริงของอิลามเขาจะช่วยเหลือท่านในทุกๆกิจการ




 Zicrul Lilalameen Pathan 

มันคือชีอะฮฺอีกคน ที่กล่าวหาท่านจุฬา และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา
แค่นี้หรือหนังสือราชการไม่ต้องมีลายเซ็นใครเลยหรือ จุฬาก็ไม่ต้องเซ็นเลยหรือ อย่างน้อยถ้าจะให้ถูกอะห์กามควรมีชื่อคนเห็นจันทร์เสี้ยวกับพยานที่เชื่อถือได้อย่างน้อยสองคนไม่ใช่หนังสือแบบนี้ มันยากอะไรหนักหนากับการประกาศชื่อคนเห็นจันทร์เสี้ยวหรือว่าเห็นไม่จริง



ทั้งๆเห็นกันทั่วที่ยะหาแถมถ่ายรูปมาให้ดูและที่ท่านจุฬาร้องไห้ อันอาจเพราะท่านเสียใจของการจากไปเดือนรอมาฎอนต่างหาก






การกระทำของพวกชีอะห์ยิ่งนานวันยิ่งเห็นความโง่แถมโชว์โง่ให้คนเขาจับได้ตลอดเวลา




ท่านฮาซันบินอาลีกับขอทานชาวยิว


หลานรักของท่านนบีคนหนึ่งคือท่านฮาซันบินอาลี เคยทำให้ขอทานชาวยิวคนหนึ่งต้องฉงนสนเท่ส์มาแล้ว
วันหนึ่งท่านฮาซันมีธุระต้องออกไปนอกบ้าน ใบหน้าของท่านเปร่งประกายรัศมีผมเผ้ายุ้งเหยิง
.........เมื่อเห็นทานฮาซันเดินมาชาวยิวคนนั้นก็กล่าวว่า
.
ขอทานชาวยิว ---- นี่ ... เจ้าหลานชายของมุฮัมหมัด
.
ท่านฮาซัน ---- มีอะไรหรือ?
.
ขอทานชาวยิว ---- ฉันอยากถามเจ้าซักคำคามนึงจะได้หนือป่าว
.
ท่านฮาซัน ---- ได้ซิ
.
ขอทานชาวยิว ---- โลกดุนยานี้เป็นคุกสำหรับมุมินและเป็นสวรรค์สำหรับคนกาเฟร
.
ท่านฮาซัน ---- ใช่ปู่ของข้าเคยพูดเช่นนั้น
.
ขอทานชาวยิว ---- แต่ความสวยงามมีความสุข
สำหรับข้าเท่านั้นมันกลับเป็นนรกของข้าต่างหาก เจ้าจงดูสารรูปข้าสิ .... !!
.
ท่านฮาซัน ---- โอ้เจ้าคนยิวเอ๋ย.....ถ้าหากเจ้ารู้ถึงความเมตตาอีกมากมายที่อัลลอฮทรงเตรียมไว้ให้มุมินในสรวงสวรรค์แล้ว เจ้าต้องเห็นว่าความสะดวกสะบายและความสุขที่พวกข้ามีอยู่ในโลกนี้เป็นประหนึงคุกของพวกข้าเท่านั้น และแน่นอนหากเจ้าเห็นถึงความน่าสยดสยองของนรกที่เจ้าจะต้องเข้าไปในวันนั้น เจ้าจะเห็นว่าความเป็นอยู่ของเจ้าในวันนี้แม้จะยากจนข้นแค้นแค่ไหนมันก็เป็นประหนึ่งสวรรค์เรยที่เดียว....
........... พูดเสร็จท่านฮาซันก็เดินจากไป
.
.
.
.
.

.
.
ท่านนบี ซ.ล. บอกเราว่าโลกนี้เป็นเสมือนคุกของมุมินและเป็นสวรรค์ของคนกาเฟร ดังนั้นเราจึงมีกฎระเบียบมากมายในการดำเนินชีวิต ศาสนาของเรามีขอบเขตในการปฎิบัติไม่เหมือนคนกาเฟรที่เขาจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่กฎระเบียบที่อัลลอฮให้มาล้วนแล้วแต่เพื่อผลประโยชน์ในชีวิตเราทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เราควรปฏิบัติตัวให้ดีงามทั้งการแต่งกาย การกินการดื่ม การคบเพื่อนต่างเพศ เพื่อเราจะได้รับสวรรค์ที่กว้างขวางในโลกอาคิเราะฮ
อินชาอัลลอฮ
.
.
.
.
.
(หนังสือ: วันละเรื่อง)
อดทนคนแปลกหน้าโพส



ยิวอิสราเอลอยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 9/11 มุสลิมคือแพะรับบาป


ดร.อลัน ซับรุสคีย์ แฉ..
ยิวอิสราเอลอยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 9/11

สำนักข่าวเพรสทีวี PREES TV รายงานว่า ดร.อลัน ซับรุสคีย์ (Alan Sabrosky) นักเขียน และเป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกิจการความมั่นคงระดับชาติและระดับนานาชาติชาวอเมริกัน ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเพรสทีวีกรณีวินาศกรรม 11 ก.ย. 2001 ว่า

“อิสราเอลอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในครั้งนั้น”

ดร. อลัน ซับรุสคีย์ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของเพรสทีวีเพียงไม่กี่นาที ซึ่งมีเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ยูทูปเวลานี้ โดย ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้เปิดเผยว่า

“เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้โทรศัพท์ไปคุยกับคนรู้จักคนหนึ่งในวิทยาลัยของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เราได้พูดคุยกันนานมาก สรุปได้ว่าข้าพเจ้าได้อธิบายให้เข้าฟังอย่างทะลุปรุโปร่งที่สุด จนเขามั่นใจร้อยเปอร์เซ็นว่า วินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2001 คือภารกิจของหน่วยมอสสาดแห่งอิสราเอล”

ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อไปอีกว่า “เพื่อนร่วมงานของเขาคนนี้ ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาอยู่ ในช่วงแรกที่ข้าพเจ้าได้บอกว่า วินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2001 คือภารกิจของหน่วยมอสสาดแห่งอิสราเอล” เขาได้แสดงปฏิกิริยาไม่เชื่อในสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดออกมาทันที ทว่าเมื่อเขาได้ยินคำอธิบายต่างๆ ของข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องการรื้อถอนอาคารสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีการควบคุมโดยวิศวกรชั้นยอด ทันใดจากปฏิกิริยาไม่เชื่อของเขา กลับกลายเป็นความกริ้วโกรธขึ้นมาทันที”



ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวต่ออีกว่า “ในช่วงแรกที่เขาไม่เชื่อในสิ่งที่ข้าพเจ้าพูด ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายให้เขาฟังโดยทันทีทันใดเกี่ยวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้านรื้อถอนอาคารสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ชาวเยอรมันคนหนึ่ง นามว่า แดนนี่ ญูเอ็นโค ซึ่งได้มีการสนทนากันกรณีการถล่มลงมาของอาคารหลังที่สาม ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (WTC) ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะต้องเปิดเผยแก่ประชาคมโลกให้ได้รับรู้ก็คือ มีอาคาร 3 อาคารที่ถล่มลงมาในวันนั้น (11/9/2001) แต่ขอชี้ให้เห็นว่าไม่มีเครื่องบินลำที่ 3 บินพุ่งชนอาคารที่สาม ทว่าอาคารที่สามถล่มลงมาโดยการบังคับจากภายนอก ด้วยเหตุนี้ขอบอกว่า ทั้ง 3 อาคารที่ถล่มลงมาในวันนั้น เป็นการบังคับให้ถล่มลงมาโดยปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่การพุ่งชนของเครื่องบินแต่ประการใด”

ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวย้ำว่า “ถ้าหากว่าข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยแก่ชาวอเมริกัน และชาวอเมริกันได้รับรู้ความจริงที่ถูกปิดบังเอาไว้จากการก่อวินาศกรรมในครั้งนี้ ชาวอเมริกันจะมุ่งทำลายชาวอิสราเอลอย่างไม่หยุดหย่อนแน่นอน แม้ว่าจะต้องใช้เงินทุนมากมายเพียงใดก็ตาม”

ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า “ภารกิจครั้งนั้นของไซออนิสต์อิสราเอล เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ทว่าก็เป็นการยิงปืนนัดเดียวที่มีความหายนะซ่อนเร้นอยู่ เนื่องจากว่าถ้าหากวันใดก็ตามที่ชาวอเมริกันรับรู้เรื่องราวความจริงนี้เมื่อไหร่ พวกเขาก็จะพบกับจุดจบเช่นเดียวกัน”

ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวอีกว่า “มีหลายอย่างที่ผมค้นพบเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน แต่มีบางเหตุการณ์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างเห็นได้ชัดที่ผมเริ่มสงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน คือ สองสัปดาห์หลังจากการโจมตี มีบางอย่างที่ไม่ปะติดปะต่อกันที่ผมรู้สึกไม่เข้าใจ คือความไม่ต่อเนื่องในพฤติกรรมเกี่ยวกับรายชื่อของผู้ก่อการร้ายทั้งสิบเก้าคน และการบินของเขาพวกเขา ดูเหมือนพวกเขาไม่มีทักษะในการขับเครื่องบิน และพวกเขาบินเหมือนไม่รู้ว่าจะทำยังไงแม้เป็นบ้านเป็นเมืองของตัวเอง แต่ผมก็ลืมมันไปแล้ว”

ดร. อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวอีกว่า “กระทั่งได้มาเจอวิดีโอของ ดาเนิยล โจวิงเกล และสิ่งที่ทำให้ผมปั่นป่วน คือกรณีการพังลงอาคารหลังที่สาม ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์วันที่ 11 กันยายน นี่เป็นอาคาร 47 ชั้นของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อาคารหลังที่สามที่สูงที่สุดของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ โจ วิงเคิล ซึ่งไม่เคยมีใครได้ยินเรื่องนี้รวมทั้งผมด้วย แต่เมื่อดูที่ตัวอาคาร จะเห็นไม่มีร่องรอยความเสียหายใดๆ บนตัวอาคาร ไม่มีรอยถูกชนด้วยเครื่องบิน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย แต่มันล้มยุบลงที่ฐานของมันเองเพียงเจ็ดวินาที และทำให้เกิดความเสียหายอย่างเห็นได้ชัด”

ดร.อลัน ซับรุสคีย์ ได้กล่าวอีกว่า “และเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าสิ่งที่พวกก่อการร้ายขับเครื่องบินซึ่งเป็นชาวยุโรป 19 คน และอีกสองคนได้ทำหรือไม่ได้ทำในวันนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมมั่นใจว่าพวกเขาไม่ได้ทำให้อาคารหลังที่สามพังลงอย่างแน่นอน”

อย่างที่สองคือ วิดีโอที่ฐานชั้นล่างซึ่งถูกถ่ายไว้ในวันที่ 11 กันยาพอดี ที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 และ 2 ที่ชั้นใต้ดินของตึกแฝด ซึ่งมีตำรวจเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน นักหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ มากมายได้รวมกันที่นั่น ที่ได้เห็นและได้ยินว่ามีเสียงระเบิดเป็นครั้งที่สอง ณ ชั้นฐานของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ จุดที่เครื่องบินพุ่งชนห่างจากพื้นดิน 8,002,000 ฟุต ซึ่งแน่นอนจะไม่สามารถทำให้เกิดระเบิดในชั้นใต้ดินได้
และยังมีรายงานอีกเหตุการณ์หนึ่งในวันที่ 11 กันยายน คือมีรถตู้สีขาวคันหนึ่งปรากฏอยู่ในพื้นที่ และถูกตำรวจจับได้บนสะพาน ในรถตู้นั้นเต็มไปด้วยระเบิด และสองคนที่ถูกจับในรถคันนั้นเป็นชาวอิสราเอล และในเบอเกิลนิวเจซี่ วันเดียวกัน มีรถตู้ และมีคนหลายคนอยู่ในนั้น พวกเขาได้มีการตั้งกล้องถ่ายวีดีโออย่างพร้อมสรรพ ก่อนที่เครื่องบินลำแรกจะพุ่งชนตึก พวกเขากำลังถ่ายตึกแฝด พวกเขาฉลองกัน และก็ร้องไฮไฟฉลองกัน ราวกับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความดีใจอันล้นพ้นสำหรับพวกเขา ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นได้โทรแจ้งตำรวจ และตำรวจจับได้ทั้งหมดห้าคน ซึ่งทราบต่อมาภายหลังว่าทั้งห้าคนเป็นชาวอิสราเอล

สิ่งที่ทำให้ผมโกรธมาก ก็คือรายงานเหล่านี้ได้หายไปจากสื่อชาวอเมริกัน คนส่วนมากไม่รู้ว่ามีอาคารหลังที่สามพังลงที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ คนส่วนมากไม่เคยได้ยินการรายงานการเกิดระเบิดครั้งที่สองจาก CNN ABC FOXS หรือ สื่ออื่นๆ ที่เกิดขึ้นชั้นล่างของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 และก็ 2 ไม่มีใครเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับรถตู้สองคันนั้นที่มีชาวอิสราเอลอยู่ในนั้น

มีบริษัทมากมายที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปฏิบัติการทำลายอาคารพังลง การทำให้ตึกระเบิดลงอย่างราบคาบ ต้องมีความเชี่ยวชาญด้วย ทว่าไม่มีการสืบสาวว่าทั้ง 19 คนมาจากบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญหรือไม่ การควบคุมการปฏิบัติการก็เป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทของชาวอิสราเอลเอง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สนามบินทั้งสามแห่ง ตอนที่เครื่องบินมาจอดในวันที่ 11 กันยายนเช่นกัน

การตัดตัวอาคารเพื่อวางระเบิดรอบๆ อาคารนั้นต้องใช้คนงานมากถึง 40-50 คน และไม่ใช่แค่ 2-3 นาที และหลบหนีไป ชาวอิสราเอลที่อยู่ในรถตู้ถูกปล่อยตัวหลังจากนั้นสองเดือนแต่ไม่มีใครรายงาน อย่างเดียวที่ได้ยินคือ ชาวยุโรปสิบเก้าคนขับเครื่องบินชนตึก และหลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวคราวอะไรอีกเลย ทุกอย่างกลายเป็นไม่มีเรื่องเล่าต่อ
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ได้เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 11 กันยายน 2001 มีการจี้เครื่องบินสหรัฐอเมริกาพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 3,000 คน เป็นประชาชนชาวอเมริกัน และชาติอื่นๆ อีกหลายชาติ แต่ที่น่าแปลกในประการหนึ่งไม่มีชาวยิวเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้แม้แต่คนเดียว

หลังเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน สหรัฐอเมริกาได้อ้างว่า มีผู้ก่อการร้ายจำนวน 19 คนที่เป็นแนวร่วมของขบวนการอัลกออิดะฮ์ที่อยู่ในอัฟกานิสถาน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในครั้งนี้
ในขณะที่การออกมาอ้างเช่นนั้นของสหรัฐอเมริกาในกรณีวินาศกรรมครั้งนั้น ได้มีการกระจายข่าวไปตามสื่อต่างๆ ทั่วทั้งโลก ซึ่งในสมัยนั้น จอร์จบุช เป็นผู้นำสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สหรัฐอมริกาสรุปแล้วว่าขบวนการอัลกออิดะฮ์อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ในปีนั้นเอง 2001 สหรัฐอเมริกาก็บุกอัฟกานิสถานในทันทีเพื่อตามล่าผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ที่มีหัวหน้าชื่อ อุสมะฮ์ บินลาดิน

ต่อมาในปี 2003 สหรัฐอเมริกาได้บุกอิรัก โดยอ้างว่าอิรักมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อนุภาพทำลายสูงไว้ในครอบครอง

สามารถรับชมวีดีโอการให้สัภาษณ์ดังกล่าวได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้
http://www.veteranstoday.com/2011/07/17/911-and-israel-alan-sabroskys-shocking-press-tv-interview




รายอแนไม่มีที่ไหนในโลก นอกจากสามจังหวัด



อัลลอฮฮุอักบัร
เป็นคำติดปากและธรรมเนียมปฏิบัติ รายอแน ที่อาจเป็นการอุตริกรรรมโดยไม่รู้ตัว
ทั้งๆเป็นวันที่ผ่านพ้นการบวชเชาวาลอีก 6 วันเท่านั้น ที่เค้ามักจะบวชกันต่อเนื่องถัดจากวันอีด เพื่อให้ได้ผลบุญ เท่ากับ 1 ปี ของการบวช
และการบวชเชาวาล ก็สามารถบวชภายในเดือนเชาวาลได้ ให้ครบแค่ 6 วันเท่านั้น
ขอให้เราห่างไกล และตักเตือน คนใกล้ตัว ว่ารายอแน ไม่มีในอิสลาม ไม่มีการรื่นเริงเป็นพิเศษ คือวันธรรมดาๆ วันหนึ่ง เท่านั้น
อินชาอัลลอฮ

..................................
ชะบ๊าบ ก๊อลบุนสะลีม





วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อย่าได้เสียใจกับโลกดุนยา



เวลาคนเราเกิดมา ทุกคนต้องร้องไห้
เวลาใช้ชีวิต ใคร ๆ ก็เหนื่อยใจ
แล้วสุดท้าย จะไม่มีใครเหลืออะไรให้

แต่จงมุ่งมั่นทำเพื่อโลกอาคิเราะฮฺเถิด

ช่วงเวลาแรก เราต้องเจอกับมัน (อย่างแน่นอน)
ช่วงถัดไป เราต้องยอมรับกับมัน (ด้วยผลงานที่เราได้สร้างมา)
และช่วงสุดท้าย เราจะอยู่กับมัน (จะเป็นนรกหรือสวรรค์ ก็ขึ้นอยู่กับผลงานที่เราได้สร้างมันมา)

.
.................................................
บทความดี ๆ โดย : خواطر ونصائح
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

ความเสียใจเกินกว่าน้ำตาจะหลั่งออกมา




เมื่อเราไม่ได้หลั่งน้ำตาออกมา ในเวลาที่เรากำลังเสียใจอยู่ นั่นก็ใชว่าเราไม่มีความรู้สึกใด ๆ เลย

หากแต่ว่าความเสียใจของเรานั้น มันมีมากเกินกว่าน้ำตาที่จะไหลหลั่งออกมา มันก็เลยทำให้ตัวเรานั้นดูเงียบงัน

.
...................................................
ข้อความดี ๆ โดย : خواطر ونصائح
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ





การยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺ


ส่วนหนึ่งของตัวอย่างการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺจนกระทั่งเวลาปัจจุบันคือ การตีความอายะฮฺ

الرحمن على العرش استوى
“พระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตาทรงอยู่สูงเหนืออะรัช” (ฏอฮา/5)

โดยอะชาอิเราะฮฺได้ให้ความหมายของอายะฮฺนี้ว่า “อิสเตาลา” หมายถึง “ครอบครอง” ซึ่งความหมายเช่นนี้เป็นการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺ (มะกอลาตอัลอิสลามิยีน หน้า 157, 211, อัลอิบานะฮฺ หน้า 120) ที่ค้านกับการให้ความหมายของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (ที่ให้ความหมายว่า “อะลา วัรตะฟะอา หมายถึง อยู่สูงเหนือ)

แต่ทว่าบรรดาอุละมาอ์และแกนนำสายอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺส่วนใหญ่ต่างให้น้ำหนักกับความหมายดังกล่าว และเชื่อว่านั่นคือการยึดมั่นที่ถูกต้องของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ (ดูเพิ่มเติมใน อัลอิรชาด ของ อิมาม อัลหะเราะมัยน์ หน้า 40, อัลอิกติศอด ฟี อัลอิอฺติกอด ของอิมาม อัลเฆาะซาลีย์ หน้า 38, อะสาส อัตตักดีส ของอิมาม อัรรอซีย์ หน้า 202, ฆอยะตุลมะรอม ของ อัลอามิดีย์ หน้า 141, อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต ของอัลบัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้า 309) แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น วัลลอฮุอะอฺลัม

เรามาร่วมเป็นสักขีพยานต่อการยืนยันของแกนนำมุอฺตะวิละฮฺ และการปฏิเสธของบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว ดังนี้

1. กอฎีอับดุลญับบาร อัลมุอฺตะซิลีย์ (ต.415 ฮ.ศ.) กล่าวว่า “แท้จริงความหมายของ “อิสตะวา” คือ “อิสเตาลา” (การครอบครอง) (ตันซีฮฺ อัลกุรอาน อัน อัลมะฏออิน ของกอฎี อับดุลญับบาร หน้า 175, 199, 253, ชัรหฺอัลอุศูล อัลค็อมสะฮฺ หน้า 226 อัลมุคตะศ็อล ฟีอุศูลิดดีน หน้า 333)

2. อัลบัยฮะกีย์ (ต.458 ฮ.ศ.) -หลังจากที่ท่านได้ยกทัศนะของบรรดาสะลัฟศอลิหฺจากกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อิสตะวา” ที่แปลว่า “อะลา วัรตะฟะอา” (อยู่สูงเหนือ) หรือ อิสตะวาโดยไม่ทราบวิธีการ (استوى بلا كيف) (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 303-308)- ท่านก็กล่าวยืนยันว่า “บนแนวทางนี้แหละที่บ่งบอกโดยมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ (วะศิยะฮฺอัลอิมามมุหัมมัด บิน อิดรีส อัชชาฟิอีย์ หน้า 39) และนี่แหละคือทัศนะของอะหมัด บิน หันบัล, อัลหุเสน บิน อัลฟัฎล์ อัลบะยะลีย์ และอบูสุลัยมาน อัลค็อตฏอบีย์...” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 308)

อัลบัยฮะกีย์ยังกล่าวอีกว่า “อิสตะวา” ในอายะฮฺนี้ ไม่ใช่มีความหมาย “อิสเตาลา” (ปกครองและควบคุม) เพราะคำว่า “อิสตีลาอ์” จะให้ความหมายของการเอาชนะที่อาจจะเกิดความอ่อนแอ (เพลี่ยงพล้ำ) ได้” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 310)

ส่วนหนึ่งของตัวอย่างการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺจนกระทั่งเวลาปัจจุบันคือ การตีความอายะฮฺ
الرحمن على العرش استوى
“พระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตาทรงอยู่สูงเหนืออะรัช” (ฏอฮา/5)
โดยอะชาอิเราะฮฺได้ให้ความหมายของอายะฮฺนี้ว่า “อิสเตาลา” หมายถึง “ครอบครอง” ซึ่งความหมายเช่นนี้เป็นการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺ (มะกอลาตอัลอิสลามิยีน หน้า 157, 211, อัลอิบานะฮฺ หน้า 120) ที่ค้านกับการให้ความหมายของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (ที่ให้ความหมายว่า “อะลา วัรตะฟะอา หมายถึง อยู่สูงเหนือ)

แต่ทว่าบรรดาอุละมาอ์และแกนนำสายอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺส่วนใหญ่ต่างให้น้ำหนักกับความหมายดังกล่าว และเชื่อว่านั่นคือการยึดมั่นที่ถูกต้องของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ (ดูเพิ่มเติมใน อัลอิรชาด ของ อิมาม อัลหะเราะมัยน์ หน้า 40, อัลอิกติศอด ฟี อัลอิอฺติกอด ของอิมาม อัลเฆาะซาลีย์ หน้า 38, อะสาส อัตตักดีส ของอิมาม อัรรอซีย์ หน้า 202, ฆอยะตุลมะรอม ของ อัลอามิดีย์ หน้า 141, อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต ของอัลบัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้า 309) แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น วัลลอฮุอะอฺลัม

เรามาร่วมเป็นสักขีพยานต่อการยืนยันของแกนนำมุอฺตะวิละฮฺ และการปฏิเสธของบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว ดังนี้

1. กอฎีอับดุลญับบาร อัลมุอฺตะซิลีย์ (ต.415 ฮ.ศ.) กล่าวว่า “แท้จริงความหมายของ “อิสตะวา” คือ “อิสเตาลา” (การครอบครอง) (ตันซีฮฺ อัลกุรอาน อัน อัลมะฏออิน ของกอฎี อับดุลญับบาร หน้า 175, 199, 253, ชัรหฺอัลอุศูล อัลค็อมสะฮฺ หน้า 226 อัลมุคตะศ็อล ฟีอุศูลิดดีน หน้า 333)

2. อัลบัยฮะกีย์ (ต.458 ฮ.ศ.) -หลังจากที่ท่านได้ยกทัศนะของบรรดาสะลัฟศอลิหฺจากกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อิสตะวา” ที่แปลว่า “อะลา วัรตะฟะอา” (อยู่สูงเหนือ) หรือ อิสตะวาโดยไม่ทราบวิธีการ (استوى بلا كيف) (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 303-308)- ท่านก็กล่าวยืนยันว่า “บนแนวทางนี้แหละที่บ่งบอกโดยมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ (วะศิยะฮฺอัลอิมามมุหัมมัด บิน อิดรีส อัชชาฟิอีย์ หน้า 39) และนี่แหละคือทัศนะของอะหมัด บิน หันบัล, อัลหุเสน บิน อัลฟัฎล์ อัลบะยะลีย์ และอบูสุลัยมาน อัลค็อตฏอบีย์...” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 308)

อัลบัยฮะกีย์ยังกล่าวอีกว่า “อิสตะวา” ในอายะฮฺนี้ ไม่ใช่มีความหมาย “อิสเตาลา” (ปกครองและควบคุม) เพราะคำว่า “อิสตีลาอ์” จะให้ความหมายของการเอาชนะที่อาจจะเกิดความอ่อนแอ (เพลี่ยงพล้ำ) ได้” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 310)

ส่วนหนึ่งของตัวอย่างการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺจนกระทั่งเวลาปัจจุบันคือ การตีความอายะฮฺ
الرحمن على العرش استوى
“พระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตาทรงอยู่สูงเหนืออะรัช” (ฏอฮา/5)
โดยอะชาอิเราะฮฺได้ให้ความหมายของอายะฮฺนี้ว่า “อิสเตาลา” หมายถึง “ครอบครอง” ซึ่งความหมายเช่นนี้เป็นการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺ (มะกอลาตอัลอิสลามิยีน หน้า 157, 211, อัลอิบานะฮฺ หน้า 120) ที่ค้านกับการให้ความหมายของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (ที่ให้ความหมายว่า “อะลา วัรตะฟะอา หมายถึง อยู่สูงเหนือ)

แต่ทว่าบรรดาอุละมาอ์และแกนนำสายอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺส่วนใหญ่ต่างให้น้ำหนักกับความหมายดังกล่าว และเชื่อว่านั่นคือการยึดมั่นที่ถูกต้องของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ (ดูเพิ่มเติมใน อัลอิรชาด ของ อิมาม อัลหะเราะมัยน์ หน้า 40, อัลอิกติศอด ฟี อัลอิอฺติกอด ของอิมาม อัลเฆาะซาลีย์ หน้า 38, อะสาส อัตตักดีส ของอิมาม อัรรอซีย์ หน้า 202, ฆอยะตุลมะรอม ของ อัลอามิดีย์ หน้า 141, อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต ของอัลบัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้า 309) แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น วัลลอฮุอะอฺลัม

เรามาร่วมเป็นสักขีพยานต่อการยืนยันของแกนนำมุอฺตะวิละฮฺ และการปฏิเสธของบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว ดังนี้

1. กอฎีอับดุลญับบาร อัลมุอฺตะซิลีย์ (ต.415 ฮ.ศ.) กล่าวว่า “แท้จริงความหมายของ “อิสตะวา” คือ “อิสเตาลา” (การครอบครอง) (ตันซีฮฺ อัลกุรอาน อัน อัลมะฏออิน ของกอฎี อับดุลญับบาร หน้า 175, 199, 253, ชัรหฺอัลอุศูล อัลค็อมสะฮฺ หน้า 226 อัลมุคตะศ็อล ฟีอุศูลิดดีน หน้า 333)

2. อัลบัยฮะกีย์ (ต.458 ฮ.ศ.) -หลังจากที่ท่านได้ยกทัศนะของบรรดาสะลัฟศอลิหฺจากกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อิสตะวา” ที่แปลว่า “อะลา วัรตะฟะอา” (อยู่สูงเหนือ) หรือ อิสตะวาโดยไม่ทราบวิธีการ (استوى بلا كيف) (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 303-308)- ท่านก็กล่าวยืนยันว่า “บนแนวทางนี้แหละที่บ่งบอกโดยมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ (วะศิยะฮฺอัลอิมามมุหัมมัด บิน อิดรีส อัชชาฟิอีย์ หน้า 39) และนี่แหละคือทัศนะของอะหมัด บิน หันบัล, อัลหุเสน บิน อัลฟัฎล์ อัลบะยะลีย์ และอบูสุลัยมาน อัลค็อตฏอบีย์...” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 308)

อัลบัยฮะกีย์ยังกล่าวอีกว่า “อิสตะวา” ในอายะฮฺนี้ ไม่ใช่มีความหมาย “อิสเตาลา” (ปกครองและควบคุม) เพราะคำว่า “อิสตีลาอ์” จะให้ความหมายของการเอาชนะที่อาจจะเกิดความอ่อนแอ (เพลี่ยงพล้ำ) ได้” (อัลอัสมาอ์ วัสศิฟาต เล่ม 2 หน้า 310)


 ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ได้อ้างหลักฐานอีกว่า
ذينار عن نافع عن جبير عن أبيه رضي الله عنهم أجمعين أن النبي صلى الله عليه وسلم قال ينزل ربنا عز وجل كل ليلة إلى السماء الدنيا فيقول هل من سائل فأعطيه هل من مستغفر فأغفر له حتى يطلع الفجر
روى عبيدالله بن بكر قال ثنا هشام بن أبي عبدالله عن يحيى بن كثير عن أبي جعفر أنه سمع أبا حفص يحدث أنه سمع أبا هريرة رضي الله عنه قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا بقى ثلث الليل ينزل الله تبارك وتعالى فيقول من ذا الذي يدعوني أستجيب له من ذا الذي يستكشف الضر فأكشفه عنه من ذا الذي يسترزقني فأرزقه حتى ينفجر الفجر
อัมริน บุตร ดีนาร จากนาเฟียะ จากญุบัยร์ จากบิดาของเขา (ขออัลลอฮโปรดประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเขาทั้งหมดด้วยเถิด) ว่า แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "พระเจ้าของเราผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ได้เสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ในทุกๆคืน แล้วตรัสว่า มีผู้ใดจะขอไหม เราจะมอบให้แก่เขา ,มีผู้ใดขออภัยโทษไหม เราก็จะอภัยโทษให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น



รายงานโดยอุบัยดุลลอฮ บุตร บะกัร กล่าวว่า ฮิชาม บุตร อบีอับดิลละฮ ได้เล่าแก่เรา จากยะห์ยา บุตร กะษีร จากอบียะอฺฟัร ว่า เขาได้ยิน อบูหัฟศิน เล่าว่า เขาได้ยิน อบูฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "เมื่อเหลือหนึ่งในสามของกลางคืน อัลลอฮ ผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงสูงส่ง เสด็จลงมา แล้วตรัสว่า "ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่วิงวอนขอต่อข้า ข้าก็จะตอบรับให้แก่เขา,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอให้ปลดเปลื้องความเดือดร้อน ข้าก็จะปลดเปลื้องมันให้พ้นจากเขา ,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอปัจจัยยังชีพต่อข้า ข้าก็จะประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น" - ดู อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 111 ..........
..........
จะเห็นได้ว่า ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ไม่ได้ตีความ คำว่า "ينزل الله تبارك وتعالى ตามที่พวกอัลอะชาอีเราะฮ ปัจจุบันตีความว่า "ความเมตตาของอัลลอฮ"ได้ล่งมา