อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่สากล แอบแฝงด้วยประวัติศาสตร์



1.  เมื่อปี  คศ.1492  ณ  ดินแดนอัลอันดะลุส  (Andalucia)  ในสเปน  สูญเสียที่มั่นสุดท้ายของชาวมุสลิมในอาณาจักรฆอรนาเฏาะฮฺ  (Granada)  แก่อาณาจักรคริสเตียนสเปน      การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างสองฝ่ายเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการในวันที่  2  ร่อบีอุลเอาวัล  ฮ.ศ.897  ตรงกับวันที่  2  มกราคม  คศ.1492  ซึ่งในวันเดียวกันนั้น  กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่  5  กับพระราชินี  อิซาเบลล่าก็ได้เสด็จเข้าสู่พระราชวัง  อัลฮัมรออฺ  (Alhambra)  อันเป็นที่ประทับของกษัตริย์  อบูอับดิลลาฮฺ  และมีการนำไม้กางเขนเงินขึ้นสู่ยอดโดมของมัสญิดในพระราชวัง  กษัตริย์อบูอับดิลลาฮฺได้จุมพิตพระหัตถ์ของกษัตริย์คริสเตียนแห่งสเปนและดำเนินออกจากพระราชวัง  ความจริงชาวมุสลิมได้สูญเสียฆอรนาเฏาะฮฺมาตั้งแต่วันที่  1  มกราคมของปีนั้น  (1492)  แล้ว เพียงแต่การสูญเสียอย่างเป็นทางการนั้นเกิดขึ้นในวันถัดมา  คือ  วันที่  2  มกราคม  1492      การเฉลิมฉลองของชาวคริสเตียนในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะในปี  คศ.1492  จึงเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะที่มีต่อชาวมุสลิม

2.  ชะรอยไก่งวงมีสัญลักษณ์แอบแฝง   พวกฝรั่งเรียกไก่งวงว่า  เทอคิ  (Turkey)  ซึ่งหมายถึง  ไก่แขกตุรกีและตุรกีในชั้นหลังก็หมายถึง  พวกมุสลิมที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกับพวกฝรั่งชาวคริสเตียนในการทำสงครามศาสนา  (ครูเสด)  การฆ่าไก่งวงเพื่อรับประทานเป็นอาหารในช่วงคริสต์มาสอีฟก็คือสัญลักษณ์ในการพิฆาตพวกเติร์กหรือพวกคนต่างศาสนาที่หมายถึง "มุสลิม "

3.  เทศกาลปามะเขือเทศในสเปนนั้น คือการรำลึกถึงเหตุการณ์ ”การอพยพของชาวมุสลิมออกจากบรรดาหัวเมืองที่ตกเป็นของฝ่ายคริสเตียนสเปน” เมื่อชาวมุสลิมละทิ้งบ้านเรือนของพวกตนและพากันอพยพออกจากเมือง  ในระหว่างทางนั้นต้องเดินผ่านบ้านเรือนและชุมชนของชาวคริสเตียนซึ่งพวกนั้นก็จะขว้างปาสิ่งของประดามีเข้าใส่กลุ่มชาวมุสลิมไม่เว้นแม้แต่มะเขือเทศที่พวกเขาหยิบฉวยได้จากก้นครัว นี่คือที่มาของเทศกาลปามะเขือเทศในสเปน




อย่าบริจาคทานในสิ่งที่เราไม่ต้องการ



อิสลามสนับสนุนให้มุสลิมบริจาคทานให้กับผู้ยากไร้ ขัดสน หรือยากจน หรืออยู่ในสภาวะที่ลำบาก เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกือกูนพวกเขา มีความเห็นอกเห็นใจเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เกิดความรู้สึกดีๆ มีความอิ่มอกอิ่มใจที่ได้ให้การช่วยเหลือบริจาค แต่กระนั้นก็ตามสิ่งที่เราบริจาคไปนั้น ก็จำต้องเป็นสิ่งที่เรามีความปรารถนา ความต้องการที่จะใช้ หรือรับประทานมัน มีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือ ไม่ใช่ว่าเหตุที่เราศอดะเกาะฮ์บริจาคไปนั้น ก็เพราะเราไม่ต้องการ หรือไม่ใช้มันแล้ว จึงต้องบริจาคมันไป หรือหากเป็นอาหารเครื่องดื่ม ที่บริจาคไปก็ด้วยเหตุที่เราไม่รับประทานมัน ถ้าเป็นสิ่งที่เรารับประทานได้ หรือเป็นอาหารที่เราชอบรับประทานก็จะไม่บริจาคไป เช่นนี้จึงขัดกับแนวทางอิสลาม
  
ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“พวกท่านทั้งหลายอย่าให้อาหารกับคนยากจน ในสิ่งที่พวกท่านไม่รับประทาน” (บึนทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)




والله ولي التوفيق


ลูกสามารถไปร่วมพิธีศพของพ่อ แม่ ต่างศาสนาได้หรือไม่



อัสลามูอาลัยกุม ขอถามว่า ลูกเป็นมุสลิม แต่พ่อกับแม่เป็นพุทธ หากพ่อหรือแม่เสียชีวิต ลูกสามารถร่วมพิธีศพได้หรือไม่ อย่างไร สลาม

....................

ตอบ

คนเป็นพ่อแม่ ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาใหน เขาคือ ผู้มีพระคุณ เราจะต้อง ดูแล เอาใจใส่ และเชื่อฟังท่านในสิ่งที่ไม่ขัดต่อศาสนา

อัล-กุรอานโองการหนึ่ง กล่าวถึงบิดามารดาและบุตรที่มีความเชื่อแตกต่างกัน

وَإِن جَاهَدَاكَ عَلى أَن تُشْرِكَ بِي مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ فَلَاتُطِعْهُمَا وَصَاحِبْهُمَا فِي الدُّنْيَا مَعْرُوفًا

และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขาทั้งสอง และจงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดี-
อัล-กุรอานลูกมาน ๑๕

เมื่อท่านทั้งสองเสียชีวิต เราก็ไปเยี่ยมศพท่านได้ แต่ไม่อนุญาตให้ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาอื่น
เช่นพิธีศพตามหลักความเชื่อศาสนาอื่น เป็นต้น เราร่วมไม่ได้ พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
" لكم دينكم ولي دين "
ความว่า "ศาสนาของพวกท่าน ก็สำหรับพวกท่าน และสำหรับฉัน คือศาสนาของฉัน" (ซูเราะฮฺอัลกาฟิรูน อายะฮฺที่ 6)


والله أعلم بالصواب


.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม




คิลาฟียะฮคืออะไร




คำนี้ ได้ยินกันบ่อย เช่น ปัญหาคิลาฟียะฮ ,เป็นโรคจิต หมกมุ่นอยู่ในเรื่องคิลาฟียะฮ มันเป็นปัญญหาคิลาฟิยะฮ อย่าไปพูด เดี๋ยวคนแตกแยก....เพราะฉนั้นเรามาศึกษาคำว่า "คิลาฟียะฮกันดีไหม..
คำว่า คิลาฟียะฮ แปลว่า ขัดแย้ง แปลว่า แตกต่าง ในวิชาการทางศาสนา หมายถึง การที่บุคคลมีความเชื่อ มีความเห็นต่างกัน
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมักจะเรียกภาษาอาหรับว่า المسائل الخلافية หมายถึงปัญหา หรือประเด็นขัดแย้ง หรือมีความเห็นต่างกัน
การมีความเห็นต่างกันเป็นเรื่อง ธรรมดา และเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ในโลกนี้มีความเห็นตรงกันหมด นี่ซิ มันผิดธรรมชาติ
สำหรับปัญหาศาสนาที่มีความเห็นที่แตกต่างกันนั้น มีสาเหตุ พอสรุปได้ดั่งนี้
๑. เข้าใจตัวบทต่างกัน
๒. ความความรู้ไม่เท่ากันในเรื่องนั้นๆ หรือ บางคนได้รับหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่บางคนไม่ได้รับ เป็นต้น
๓. การตีค่าของหะดิษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกัน บ้างก็เชื่อว่า เศาะเฮียะ บ้างก็เชื่อเฎาะอีฟ
๔,. ความเห็นไม่ตรงกันในประเด็นที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน บ้างก็จำกัดที่หลักฐาน บ้างก็ใช้ความเห็นตัดสินว่าดีถึงแม้จะไม่มีหลักฐาน เป็นต้น
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

وكثير من مجتهدي السلف والخلف قد قالوا وفعلوا ما هو بدعة ولم يعلموا أنه بدعة، إما لأحاديث ضعيفة ظنوها صحيحة، وإما لآيات فهموا منها ما لم يُرد منها، وإما لرأي رأوه، وفي المسألة نصوص لم تبلغهم، وإذا اتقى الرجل ربه ما استطاع دخل في قوله: {رَبَّنَا لاَ تُؤَاخِذْنَا إِن نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا} [البقرة:286

และส่วนมากจากมุจญตะฮิด ยุคสะลัฟและเคาะลัฟ พวกเขาได้กล่าวและได้ทำ บางสิ่ง ที่มันเป็นบิดอะฮ โดยที่เขาไม่รู้ว่า มันเป็น บิดอะฮ อาจจะเป็นเพราะ บรรดาหะดิษเฎาะอีฟ ที่พวกเขาเข้าใจว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ , อาจจะเป็นเพราะ บรรดาอายะฮ ที่ พวกเขาเข้าใจ ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายจากมัน ,อาจจะเป็นเพราะความเห็นที่พวกเขาได้แสดงความเห็น และอาจจะเป็นเพราะในบางประเด็นปัญหา หลักฐานที่เป็นตัวบท ไม่ได้ถึงไปยังพวกเขา และเมื่อ คนนั้น ยำเกรงต่อ พระเจ้าของเขา ตามขีดความสามารถของเขา เขาก็เข้าอยู่ในคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า (" โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดอย่าเอาผิดเราในสิ่งที่เราลืมหรือ ผิดพลาด ) อัลบะเกาะฮเราะฮ /286 - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 19/191
เพราะฉะนั้น การตามผู้รู้ต้อง ใช้สติปัญญาและเหตุผลในการตาม ไม่ใช่ตามแบบหูหนวกตาบอด หรือ ยึดติดกับผู้คนใดคนหนึ่ง
แบบปิดหูปิดตา
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

فدين الله مبني على اتباع كتاب الله، وسنة نبيه، وما اتفقت عليه الأمة، فهذه الثلاثة هي المعصومة، وما تنازعت فيه الأمة إلى الله والرسول, وليس لأحد أن ينصب للأمة شخصًا يدعو إلى طريقته، يوالي عليها ويعادي، غير كلام الله ورسوله وما اجتمعت عليه الأمة، بل هذا من فعل أهل البدع الذين ينصبون لهم شخصا أو كلاما يفرقون به بين الأمة، يوالون به على ذلك الكلام أو تلك السنة ويعادون

ดังนั้นศาสนาของอัลลอฮ วางอยู่บนรากฐาน บนการตาม คัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮของนบีของพระองค์ และสิ่งที่ประชาชาติ(อุมมะฮ)ได้มีมติฟ้องกัน และ นี่คือ รากฐานสามประการ มันคือสิ่งที่ได้รับการประกันจากความผิดพลาด และสิ่งที่ประชาชาตินำข้อขัดแย้งไปหาอัลลอฮและรอซูล และไม่อนุญาตแก่บุคคลใด กำหนดบุคคลหนึ่งบุคคลใดให้แก่ประชาชาติ(อุมมะฮ) แล้วเรียกร้องไปสู่แนวทางของเขา เป็นมิตรและเป็นศัตรูกันอยู่บนแนวทางนั้น อื่นจากคำพูดของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ และสิ่งที่อุมมะฮมีมติฟ้องกัน แต่ทว่า กรณีนี้(การกำหนดบุคคลให้ประชาติถือตาม) เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำของชาวบิดอะฮ ที่พวกเขากำหนด บุคคลหนึ่ง บุคคลใด ให้แก่พวกเขา หรือกำหนด คำพูด(ทัศนะ)ใดที่ทำให้เกิดการแตกแยกระหว่างอุมมะฮ พวกเขาเป็นมิตรกันบนคำพูด(ทัศนะ)นั้นหรือ เป็นศัตรูกันบนแนวทางนั้น - ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ 20/64
การเห็นต่างในสังคมบ้านเรา ไม่เหมือนการเห็นต่างของอุลามาอฺยุคสะลัฟ เพราะพวกเขามีความเห็นต่าง แต่พวกเขาไม่แตกแยก ไม่เป็นศัตรู กัน ไม่เหมือน มุสลิมเราในยุคปัจจุบัน
ปัญหาคิลาฟียะฮที่เกิดในสังคมบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการยึดมัซฮับ เหนือ ตัวบทที่เป็นหลักฐานจากอัลกุรอ่านและหะดิษ
กล่าวคือ ไม่ว่า อัลกุรอ่านและหะดิษ เศาะเฮียะอย่างไร แต่ถ้าไม่ตรงกับมัซฮับของฉัน หรือ คำสอนครูของฉัน ฉันไม่รับ แบบนี้
เรียกว่า “เอาความเห็นไปขัดแย้งตัวบท” เป็นประเด็นคิลาฟียะฮที่ควรตำหนิ เป็นอย่างยิ่ง

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

ولو كان قوم على بدعة أو فجور ولو نهوا عن ذلك وقع بسبب ذلك شر أعظم مما هم عليه من ذلك ولم يمكن منعهم منه ولم يحصل بالنهي مصلحة راجحة لم ينهوا عنه

และหากคนกลุ่มหนึ่ง อยู่บน บิดอะฮ หรือ ความชั่ว และหากพวกเขาถูกห้ามจากดังกล่าว และด้วยเหตดังกล่าว(ด้วยเหตุที่ไปห้าม)ก็จะเกิดความชั่วร้ายใหญ่หลวงยิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาอยู่บนมัน จากดังกล่าวนั้น
และ เขาไม่สามารถที่จะยับยั้งพวกเขาได้ และด้วยการห้ามนั้นไม่ก่อให้เกิดผลดีที่มีน้ำหนัก(หมายถึงเกิดผลเสียมากกว่า) พวกเขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 14 หน้า 472
กล่าวคือ หากคนกลุ่มใดทำบิดอะฮ หรือทำชั่ว หากห้าม ก็จะมีผลทำให้ความชั่วนั้นรุนแรงขึ้น “หรือที่สำนวนไทยกล่าวว่า “ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ” และไม่สามารถที่จะไปยับยั้งได้ และไม่ก่อให้เกิดผลดีเลย ก็ไม่ควรจะห้าม ณ เวลานั้น
นี่คือ มารยาทอย่างหนึ่งที่ผู้รู้จะต้องวางตัวในท่ามกลางสังคมทีมีความเข้าใจและการกระทำที่แตกต่างและหลากหลาย ต้องดูจังหวะและหากุศโลบายที่แยบยลในการห้ามในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ควรจะหักด้ามพร้าด้วยเข่า

อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

قولي صحيح يحتمل الخطأ وقول غيري خطأ يحتمل الصواب
คำพูดของฉันที่ว่าถูกต้อง อาจจะเป็นไปได้ว่าผิดพลาด และคำพูดของคนอื่นจากฉันที่ผิดพลาด อาจจะเป็นไปได้ว่า ถูกต้อง
راجع رسالة رفع الملام عن الأئمة الأعلام لابن تيمية، والكفاية في عِلم الرواية للخطيب ص 52 وما بعدها، وشرح الألفية للعراقي ص 9.
@@@@
มนุษย์ทุกคนผิดพลาดได้นอกจากท่านนบี ศอลฯ ไม่ว่า เขาจะเป็นมุจญตะฮิดก็ตาม จากคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ สอนให้เราอย่าได้ตัดสิน ทัศนะผู้อื่น แบบอคติ ต้องศึกษาว่า ทัศนะที่ต่างกับเรา เขามีหลักฐานใหม และทัศนะของเรามีหลักฐานไหม ไม่ใช่นั่งเทียนตัดสิน ว่าคนอื่นผิด

อิบนุ อบิลอิซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

مَسَائِلُ النِّزَاعِ الَّتِي تَتَنَازَعُ فِيهَا الْأُمَّةُ ، فِي الْأُصُولِ وَالْفُرُوعِ - إِذَا لَمْ تُرَدَّ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ - لَمْ يَتَبَيَّنْ فِيهَا الْحَقُّ ، بَلْ يَصِيرُ فِيهَا الْمُتَنَازِعُونَ عَلَى غَيْرِ بَيِّنَةٍ مِنْ أَمْرِهِمْ

บรรดาประเด็นขัดแย้ง ที่อุมมะฮขัดแย้งกันในมัน ในเรื่อง อุศูล(หลักศรัทธา)และฟุรูอฺ(หมายหลักปฏิบัติ) เมื่อมันไม่ถูกนำกลับไปยังอัลลอฮ(อัลกุรอ่าน)และรอซูล(อัสสุนนะฮ) ความจริงก็จะไม่ปรากฏในมัน
ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ที่ขัดแย้งในมัน ก็จะอยู่บนความไม่ชัดเจนจากกิจการ(ศาสนา)ของพวกเขา..ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฏาะหาวียะฮ เล่ม 2 หน้า 778
@@@@
สรุป หากประเด็นขัดแย้ง ไม่ว่าในเรืองอะกีดะฮ หรือเรื่อง อิบาดะฮ หากไม่นำกลับไปให้อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ตัดสินความจริงก็จะไมปรากฏ

والله أعلم بالصواب —

อัสสุนนะฮ



1. ความหมายอัสสุนนะฮในเชิงภาษา

หมายถึง แนวทาง (الطريقة) ดังหะดิษที่ว่า

وعَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيّ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللّهِ صلى الله عليه وسلم "لَتَتّبِعُنّ سَنَنَ الّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ. شِبْراً بِشِبْرٍ، وَذِرَاعاً بِذِرَاعٍ. حَتّىَ لَوْ دَخَلُوا فِي جُحْرِ ضَبَ لاَتّبَعْتُمُوهُمْ" قُلْنَا: يَا رَسُولَ اللّهِ آلْيَهُودُ وَالنّصَارَىَ؟ قَالَ "فَمَنْ؟

ความว่า: รายงานจากอบีซะอีด อัลคุดรีย์กล่าวว่า รซูลุลลอฮ กล่าวว่าพวกท่านจะเดินตามสุนนะฮ(แนวทาง)คนยุคก่อนพวกท่าน ทีละคืบ ทีละศอก หากแม้นพวกนั้นจะเดินเข้าไปในรูแย้ พวกท่านก็จะเดินตามพวกนั้นเข้าไป สาวกก็ถามท่านว่า: พวกเหล่านั้นคือชาวยิวและชาวคริสต์ใช่ไหม? ท่านก็ตอบ: แล้วจะเป็นใครอีกล่ะ นอกเหนือพวกนั้น - อัลบุคอรี กิตาบุลเอียะติศอม

2. ความหมายอัสสุนนะฮในเชิงวิชาการ

2.1 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักวิชาการหะดิษ

ما أضيف إلى النبي - صلى الله عليه و سلم - من قول أو فعل أو تقرير أو وصف خَلْقي أو خُلُقي سواء كان قبل البعثة أو بعدها

“สิ่งที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จาก คำพูด , การกระทำ ,การยอมรับ , ลักษณะความเป็นมนุษย์(ของท่านนบี) หรือ เกี่ยวกับมารยาท(ของท่านนบี) ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนการเป็นนบี และหลังจากเป็นนบีก็ตาม - ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 259 และ อัสสุนนะฮ วะมะกานะตุฮา ฟีอัตตัชเรียะ อัลอิสลามีย์ ของ อัสสุบาอี หน้า 47

2.2 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักวิชาการหลักนิติศาสตร์อิสลาม

ما أضيف إلى النبي - صلى الله عليه و سلم - من قول أو فعل أو تقرير "

“สิ่งที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จาก คำพูด , การกระทำ หรือ การยอมรับ - อัลอะหฺกาม ฟีอุศูลิลอะหกาม ของ อัลอะมะดีย์ เล่ม 1 หน้า 156 และ อัรชาดุลฟุหูล ของ อัชเชากานีย์ หน้า 67

2.3 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักกฎหมายอิสลาม (ฟุเกาะฮาฮฺ)

ما يقابل الواجب " ، و تسمى المستحب و النفل و المندوب و المرغب فيه

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “วาญิบ” และ ได้ถูกเรียกว่า “มุสตะหับบะฮ” นัฟลุน , มันดูบ และ สิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ – ดู อัลอิดดะฮ ฟีอุศูลิลฟิกฮ ของ อบียะอลา เล่ม 1 หน้า 66 และ ฟัตหุลบารีย์ ของ อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร เล่ม 13 หน้า 259

อิหม่ามอะหมัด( ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

أصول السنة عندنا التمسك بما كان عليه أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم، والاقتداء بهم وترك البدع، وكل بدعة فهي ضلالة، وترك الخصومات والجلوس مع أصحاب الأهواء وترك المراء والجدال والخصومات في الدين،

“รากฐานอัสสุนนะฮ ในทัศนะของเราคือ การยึดมั่น ด้วยสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนหยัดอยู่บนมัน ปฏิบัติตามพวกเขา , ทิ้งบรรดาบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ มันคือ การหลงผิด,
ทิ้งการทะเลาะวิวาทกัน, การนั่งร่วมกับบรรดาตามอารมณ์ , ละทิ้งการวิวาทกัน, การโต้เถียงกันและการทะเลาะวิวาทกันในเรื่องของศาสนา – ชัรหุอุศูลอัลเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 156

อิหม่ามอะหมัด( ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

والسنة عندنا آثار رسول الله صلى الله عليه وسلم، والسنة تفسر القرآن وهي دلائل القرآن وليس في السنة قياس، ولا تضرب لها الأمثال، ولا تدرك بالعقول ولا الأهواء إنما هو الاتباع وترك الهوى

และ อัสสุนนะฮนะฮ ในทัศนะของเราคือ บรรดาร่องรอย(หะดิษ)ของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัสสุนนะฮ นั้น มันทำหน้าที่อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน และมันคือ บรรดาหลักฐานของอัลกุรอ่าน และในอัสสุนนะฮนั้นไม่มีการกิยาส(ที่ขัดแย้งกับตัวบท) ,ไม่มีการยกตัวอย่างมาเทียบกับอัสสุนนะฮ และ อัสสุนนะฮ จะไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยความคิดเห็นและอารมณ์ ความจริง มัน(อัสสุนนะฮ)คือ การเจริญรอยตามและละทิ้งการตามอารมณ์เท่านั้น
- ชัรหุอุศูลุสสุนนะฮของอิหม่ามอะหมัด อธิบาย โดย الشيخ عبد العزيز بن عبد الله الراجحي เรื่อง معنى السنة وعلاقتها بالقرآن

عن المقدام بن معد يكرب رضي الله عنه ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : ألا إني أوتيت الكتاب ومثله معه

รายงานจากอัลมิกดาม บิน มะอฺดุ ยักรอ็บ (ร.ฎ) ว่า แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
พึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริง ฉันได้รับคัมภีร์(อัลกุรอ่าน)และ สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน – รายงานโดยอะหมัดและอบูดาวูด

อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وهذا هو السنة بلا شك

“และนี้คือ อัสสุนนะฮ อย่างไม่ต้องสงสัย” - อัตติบยาน ฟีอักสามิลกุรอ่าน หน้า 156
หมายความว่า คำว่า “สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน” หมายถึง อัสสุนนะฮ”

والسنة جاءت مبينة لمجمل القرآن ومكملة له، كما في قوله -صلى الله عليه وسلم ألا وإني أوتيت القرآن ومثله معه فكثير من الأحكام الشرعية جاءت مجملة في القرآن، وجاء بيانها وتفسيرها وكيفيتها في السنة، وأمر الله -سبحانه وتعالى- باتباع سنة النبي -صلى الله عليه وسلم-، كما في قوله -تعالى فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ وكما في قوله -صلى الله عليه وسلم عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ولا يجادل في حجية السنة إلا أهل البدع، وعموم المسلمين جميعا يحتجون بسنة النبي صلى الله عليه وسلم.

และอัสสุนนะฮ ได้มา เพื่อทำหน้าที่อธิบายความหมายโดยสรุปของอัลกุรอ่านและเพื่อทำความสมบูรณ์ให้แก่อัลกุรอ่าน ดังสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า “พึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริง ฉันได้รับคัมภีร์(อัลกุรอ่าน)และ สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน” เพราะส่วนมากจากบรรดาข้อกำหนด(หุกุม)เกี่ยวกับ ศาสนบัญญัติ มันมาในลักษณะความหมายโดยสรุปในอัลกุรอ่าน และ การให้รายละเอียด ,การอรรถาธิบาย และการพรรณนารูปแบบวิธีการของมัน ได้ปรากฏมาในอัสสุนนะฮ และอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงใช้ให้ปฏิบัติตามสุนนะฮของนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังปรากฏในคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า “ แล้วถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำมันกลับไปยังอัลลอฮและรอซูล และดังเช่นสิ่งที่ปรากฏในคำพูดคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า “พวกท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามสุนนะฮของฉันและสุนนะฮของบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำ หลังจากฉัน และ ไม่มีผู้ใดโต้แย้งหลักฐานอัสสุนนะฮ นอกจาก ชาวบิดอะฮเท่านั้น และบรรดามุสลิมทั่วไปทั้งหมด พวกเข้าอ้างหลักฐานด้วยสุนนะฮของของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ชัรหุอัลมะหัลลา อะลัลวะเราะกอต ของ الشيخ أحمد بن عبد الله بن حميد เรื่อง นิยามของอัสสุนนะฮ
_________________
والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้ม



สุขสันต์วันคริสมาสต์ แต่คำอวยพรในวันอีดพูดไม่เป็น



ผู้ใดทำการเลียนแบบคล้ายกับชนกลุ่มหนึ่ง แน่นอนเขาย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา” หะดีษ
เจอมมาเยอะ

เด็กมุสลิมเราพอถึงวันที่ 25 ธันวาที่ไร ก็จะติดปากกันว่า "Merry cristmas"

สุขสันต์วันคริสมาสต์

 แต่ " ﺗﻘﺒﻞ ﺍﻟﻠﻪ ﻣﻨﺎ ﻭﻣﻨﻜﻢ " คำดุอาอฺ คำอวยพรในวันอีด พูดไม่เป็น ไม่กล้าพูด
((ซะงั้น!!))

คริสมาสต์ คือวันคล้ายวันประสูตของพระเยซู (ไบเบิ้ลเองก็ไม่มีหลักฐานเรื่องวันเกิดของเยซู) ซึ่งมัน
ไม่เกี่ยวอะไรกับการเป็นมุสลิมอย่างเราๆเลย

ต้นคริสมาสต์ที่เยาวชนมุสลิมบางคนก็ชอบกันนักกันหน้า มันคืออะไรรู้กันไหม

ต้นคริสมาสต์คือต้นมะกอกยิว ที่ยิวใช้หลบซ่อนตัว ต่อมาเป็นต้นไม้ที่หาได้ยากจึงใช้ต้นสนแทน
และต้นสนคือต้นไม่ชนิดเดียวที่ใช้สุมไฟนบีอิบรอฮีม

ซานตาครอสซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวันคริสมาสต์ก็คือนักบวชนิโคลรัส เยาวชนของเราก็ปลื้มกับการ
ได้สวมหมวกซานต้ากันซะจัง แต่ฮิญาบที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามในอิสลามนั้นกลับทิ้งกันได้ลง
อัลลอฮฺก็สั่งห้ามการปฎิบัติ และการแต่งตัวที่เลียนแบบศาสนาใดๆ

จากหะดีษข้างต้น ลองพิจรณาคำว่า"เขาย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา" ((อันตรายไหมกับชาฮาดะห์ของเรา))
อิสลามเรานั้นเป็นศาสนาที่สวยงามและปลอดภัยที่สุดแล้ว อย่าเอาตัวเองไปเสี่ยงกับชาฮาดะห์ที่เรา
ได้มากันโดยง่ายดายนักเลย





ตะบัรรุกคืออะไร





คำว่า "التبرك คือ طلب البركة หมายถึงการแสวงหาความจำเริญ
คำว่า "บะเรากัต หมายถึง ความดีอันมากมากมาย
เราจะให้ได้รับบะเราะกัต ก็ด้วยการทำอิบาดะฮ การดุอา การปฏิบัติตนอยู่ในคำสอน เพราะ ผู้เพิ่มพูนความดีงามอันมากมากมายคืออัลลอฮ ตะอาลา เช่นดุอาที่ขึ้นต้นว่า

اللهم بارك لنا

โอ้อัลลอฮ โปรดประทานความจำเริญให้แก่เรา....

การตะบัรรุก (การแสวงหาหาความดี) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หนึ่ง – ตะบัรรุก มัชรูอฺ (ตะบัรรุกที่ถูกบัญญัติใว้)
สอง – ตะบัรรุก บาฏิล (ตะบัรรุกที่เป็นเท็จหรือเป็น”โมฆะ)
การตะบัรรรุกที่เป็นสิ่งที่มีบัญญัติไว้เช่น
หนึ่ง – ตะบัรรุกด้วยการแสดงด้วยวาจา ,การกระทำ และด้วยแสดงรูปแบบ
เช่น การอ่านอัลกุรอ่าน ,การศึกษาหาความรู้ศาสนา และการรับประทานอาหารพร้อมกัน
เช่น ท่านนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า

اجتمعوا على طعامكم ، واذكروا اسم الله عليه ، يباركْ لكم فيه.

พวกท่านจงรวมตัวกันบน(การรับประทาน)อาหารของพวกท่านและจงกล่าวพระนามของอัลลอฮบนมัน
,พวกท่านจะได้รับบะเราะกัตในมัน
รายงานโดย อบูดาวูด
การรับประทานอาหารร่วมกันและการกล่าวพระนามของอัลลอฮ การรับประทานแบบนั้นจะได้รับบะเราะกัต(การเพิ่มพูดความดีจากอัลลอฮ)

สอง - การตะบัรรุกสถานที่ เช่น ไปละหมาดที่มัสยิดอัลหะรอม ,มัสยิดนะบะวีย หรือ มัสยิดอัลอักศอ ดังท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

;لَا تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلَاثَةِ مَسَاجِدَ المَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم، وَمَسْجِدِ الْأَقْصَى
ความว่า “ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดเราะสูล และมัสยิดอัล-อักศอ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัล-อัล-บุคอรีย์ย์ 1189 และมุสลิม 1397)

3. การตะบัรรุกด้วยวิธีการที่ศาสนาบัญญัติไว้ เช่น ท่านนบี ศอลฯ สอนให้เลียนิ้วและภาชนะที่เศษอาหารติดอยู่ เมื่อรับประทานอาหาร

عَنْ جَابِرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَمَرَ بِلَعْقِ الأَصَابِعِ وَالصَّحْفَةِ وَقَالَ : إِنَّكُمْ لاَ تَدْرُونَ فِي أَيِّهِ الْبَرَكَةُ

มีรายงานจากท่านญาบิร (ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ) ว่า ท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.) ได้สั่งให้เลียอาหารที่ติดอยู่ที่นิ้วมือและภาชนะให้หมด โดยท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้หรอกว่า ในอาหารตรงไหนที่มีความจำเริญ(บะเราะกัต)อยู่- รายงานโดยมุสลิม

4. ตะบัรรุก ด้วยอาหาร หรือ เครื่องดื่ม ที่ศาสนาได้สอนว่ามีความจำเริญเช่น ผลมะกอก เป็นต้น
ดังหะดิษ

كُلُوا الزَّيْتَ وَادَّهِنُوا بِهِ فَإِنَّهُ مِنْ شَجَرَةٍ مُبَارَكَةٍ"

พวกท่านจงกินผลมะกอก และจงชโลมน้ำมันด้วยมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากต้นไม้ที่ได้รับความจำเริญ(บะเราะกัต
- أي: الزيتون- رواه الترمذي (4/285) ، وابن ماجه (2/1103) ، وانظر "السلسلة الصحيحة"(379).

เช่น การดื่มน้ำซัมๆ
เช่นนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า

"إِنَّها -أي ماء زمزم - مُبَارَكَةٌ، إِنَّهَا طَعَامُ طُعْمٍ).
แท้จริงมัน (หมายถึงน้ำซัมซัม)นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความจำเริญ(บะเราะกัต),แท้จริงมัน เป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย-รายงานโดยมุสลิม

5. ตะบัรรุก(แสวงหาบะเราะกัต)ด้วยบรรดาเวลา ที่ศาสนาได้เจาะจงไว้ เช่น เดือนเราะมะฎอน ,คืน อัลเกาะดัร เป็นต้น

สอง – ตะบัรรุกบาฏิล (ตะบัรรุที่ไม่ถูกต้อง) หรือ ตะบัรรุกมัมนูวะ (ตะบัรรุกถูกห้าม)
- ตะบัรรุก ด้วยสถานที่ที่ศาสนบัญญัติไม่ได้ระบุไว้ เช่น ตะบัรรุก ด้วยการลูบมะกอมอิบรอฮีม ,การจูบประตูมัสยิด เป็นต้น
- ตะบัรรุกด้วยสถานที่ที่นบีเคยนั่ง หรือ เคยละหมาด หรือ ได้ทำสัตยาบัน เป็นต้น

عَنْ نَافِعٍ، قَالَ: " بَلَغَ عُمَرَ بْنَ الْخَطَّابِ أَنَّ نَاسًا يَأْتُونَ الشَّجَرَةَ الَّتِي بُويِعَ تَحْتَهَا، قَالَ: فَأَمَرَ بِهَا فَقُطِعَتْ "

รายงานจากนาเฟียะ กล่าวว่า “อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ ได้ทราบข่าวว่า บรรดาผู้คน ไปยังต้นไม้ที่(ท่านรซูลุลลอฮ)เคยมีการทำสัตยาบันใต้ของมัน เขา(นาเฟียะ)กล่าวว่า “แล้วเขา(อุมัร) ได้สั่ง ตัดต้นไม้นั้นเสีย- มุศอ็นนิฟ อิบนิอบีชัยบะฮ หะดิษหมายเลข 7371

ขอชี้แจงว่า การตะบัรรุก หรือ การขอความเจริญจากอัลลอฮ ด้วยบุคคลและร่องรอยของบุคคลคลนั้น เราไม่ได้ค้านเกี่ยวกับการตะบัรรุกต่อท่านนบี แต่กับคนอื่นเราไม่เห็นด้วย ดังหลังฐานข้างล่าง

อิหม่ามอัชชาติบีย์กล่าวว่า

الصحابة رضي الله عنهم بعد موته عليه الصلاة والسلام لم يقع من أحد منهم شيء من ذلك بالنسبة إلى من خلفه، إذ لم يترك النبي صلى الله عيه وسلم بعده في الأمة أفضل من أبي بكر الصديق رضي الله عنه، فهو كان خليفته، ولم يفعل به شيء من ذلك، ولا عمر رضي الله عنه، وهو كان أفضل الأمة بعده، ثم كذلك عثمان، ثم علي، ثم سائر الصحابة الذين لا أحد أفضل منهم في الأمة، ثم لم يثبت لواحد منهم من طريق صحيح معروف أن متبركا تبرك به على أحد تلك الوجوه أو نحوها ـ يقصد التبرك بالشعر والثياب وفضل الوضوء ونحو ذلك ـ، بل اقتصروا فيهم على الاقتداء بالأفعال والأقوال والسير التي اتبعوا فيها النبي صلى الله عيه وسلم ، فهو إذا إجماع منهم على ترك تلك الأشياء

บรรดาเศาะหาบะฮ (ร.ฎ)นั้น หลังจากที่นบี ศอ้ลฯ เสียชีวิต ก็ไม่ได้มีสิ่งใดๆ เกิดขึ้นจากคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา จากดังกล่าว(จากการตะบัรรุก) ด้วยการอ้างผู้ที่อยู่ยุคหลังจากท่านนบี ขณะที่ท่านนบี ศอ็ลฯ ไม่ได้ทิ้งไว้ ในอุมมะฮนี้ หลังจากท่านได้เสียชีวิต ที่ประเสริฐ ไปกว่า อบีบักรฺอัศศิดดีก (ร.ฎ) โดยที่เขาเป็นเคาะลิฟะฮของท่านนบี และไม่มีสิ่งใดถูกปฏิบัติกับเขา(อบูบักร) จากดังกล่าว (หมายถึงการตะบัรรุก) และ ไม่ได้ถูกปฏิบัติกับท่านอุมัร(ร.ฎ) โดยที่ท่านอุมัร เป็นอุมมะฮที่ประเสริฐ รองจากเขา(รองจากอบูบักร) ต่อมาก็ในทำนองเดียวกัน อุษมาน ,อาลี และบรรดาเศาะหาบะฮอื่นๆที่ไม่มีใครประเสริฐกว่าพวกเขาในอุมมะฮนี้ ต่อมา ไม่มีการยืนยัน สำหรับคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา จากสายรายงานที่เศาะเฮียะ ที่เป็นที่รู้จัก ว่า ผู้ที่ทำการตะบัรรุก(ผู้เอาบะกัต) ได้ทำการตะบัรรุก กับเขา บนวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือในทำนองนั้น เจตนา ทำการตะบัรรุก(ขอความจำเริญ) ด้วยผม ,เสื้อผ้า ,น้ำเหลือจากการการอาบน้ำละหมาด และในทำนองนั้น แต่ทว่า พวกเขาได้พอเพียง บนการปฏิบัติตาม การกระทำและคำพูด และดำเนินตาม ที่พวกเขาได้ปฏิบัติตามนบี ศอ็ลฯ ในมัน ดังนั้น มันคือ มติเอกฉันท์จากพวกเขา(เหล่าเศาะหาบะฮ) บนการละทิ้งบรรดาสิ่งต่างๆดังกล่าวนั้น -อัลเอียะติศอม ๑/๓๑๐
………………………….
หลังจากท่านนบี ศอลฯ เสียชีวิต ก็ไม่มีเศาะหาบะฮคนใด ทำการตะบัรรุก กับอบูบัก ,อุมัร ,อุษมาน ,อาลี และเหล่าสาวกที่สำคัญๆเลย แต่ทว่า พวกเขาพอเพียงอยู่กับการเจริญรอยตามสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติตามนบี ศอลฯ ดังนั้น การละทิ้งจากการขอบะกัต(ตะบัรรุก) กับบุคคลที่นอกเหนือจากนบี จึงเป็นอิจญมาอฺจากเหล่าเศาหาบะฮ

والله أعلم بالصواب

........................
อะสัน หมัดอะดั้ม




ใครกันแน่ มีอะกีดะฮสะลัฟ มาพิสูจน์กัน



อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ (ฮ.ศ 673-748 )ได้กล่าวถึงข้อแตกต่างระหว่างอะกีดะฮสะลัฟ กับอะกีดะฮที่ไม่ใช่สะลัฟดังนี้

مَقَالَةُ السَّلَفِ وَأَئِمَّةِ السُّنَّةِ بَلِ وَالصَّحَابَةِ وَاللهِ وَرَسُوْلِهِ وَالْمُؤْمِنُوْنَ أَنَّ الله عزوجل فِي السَّمَاءِ وَأَنَّ اللهَ عَلَى الْعَرْشِ وَأَنَّ اللهَ فَوْقَ سَمَاوَاتِهِ وَأَنَّه يَنْزِلُ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا .وَحُجَّتُهُمْ عَلَى ذَلِكَ النُّصُوْصُ وَالآثَارُ.

ท่านนะสะลัฟ และอิหม่ามอัสสุนนะฮ ยิ่งไปกว่านั้น เหล่า เศาะหาบะฮ ,อัลลฮ ,รซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา คือ อัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงสูงส่ง อยู่บน ฟ้า ,แท้จริงอัลลอฮ อยู่บนอะรัช และแท้จริงอัลลอฮ อยู่เหนือ บรรดาชั้นฟ้าของพระองค์ และแท้จริง พระองค์ เสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา และ หลักฐานของพวกเขา(พวกสะลัฟ) บนดังกล่าวคือ บรรดาตัวบท(อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ) และอะษัร (คำพูดเหล่าสะลัฟ))

وَمَقَالَةُ الْجَهْمِيَّةِ أَنَّ اللهَ تَبَارَكَ وَتعَالَى فِيْ جَمِيْعِ الأَمْكِنَةِ تَعَالَى اللهُ عَنْ قَوْلِهِمْ بَلْ هُوَ مَعَنَا أَيْنَمَا كُنَّا بِعِلْمِهِ
และทัศนะ พวกญะฮมียะฮคือ แท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงบริสุทธิ์ และสูงส่ง อยู่ในบรรดาสถานที่ทั้งหมด ,(อัซซะฮะบียกล่าวว่า) อัลลอฮทรงบริสุทธิ์จาก การกล่าว(อ้าง)ของพวกเขา แต่ทว่า พระองค์ทรงอยู่พร้อมกับเรา ที่ใหนก็ตามที่เราอยู่ ด้วยความรอบรู้ของพระองค์

وَمَقاَلُ مُتَأَخِّرِيْ الْمُتَكَلِّمِيْنَ أَنَّ اللهَ تَعَالَى لَيْسَ فِيْ السَّمَاءِ وَلَا عَلَى الْعَرْشِ وَلَا عَلَى السَّمَوَاتِ وَلَا فِيْ الأَرْضِ وَلَا دَاخِلَ الْعَالِمِ وَلَا خَارِجَ الْعَالَمِ وَلَا هُوَ بَائِنٌ عَنْ خَلْقِهِ وَلَا مُتَّصِلٍ بِهِمْ

และทัศนะ บรรดานักกาลาม(นักวิภาษวิทยา)ยุคหลัง คือ แท้จริง อัลลอฮตะอาลา ไม่ได้อยู่บนฟ้า ไม่ได้อยู่บนอะรัช ไม่ได้อยู่บนชั้นฟ้า ,ไม่ได้อยู่บนพื้นดิน ,ไม่ได้อยู่ในสากลจักรวาล(อาลัม) และไม่ได้อยู่นอกสากลจักรวาล ,พระองค์ไม่ได้แยก(เป็นอิสระ)จากมัคลูคของพระองค์ และไม่ได้ติดกับพวกเขา – ดู อัลอุลูว หน้า 143
.............

จากคำยืนยันของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ข้างต้น พิสูจน์กันเอาเองว่า ใครมีอะกีดะฮสะลัฟ และใครแอบอ้างสะลัฟ



..............................
อะสัน  หมัดอะดั้ม



เหตุผลที่ว่า ทำไม เมาลิดไม่ใช่สุนนะฮ




อิหม่ามอบูหัฟศิน ตาญุดดีน อัลฟากิฮานีย์ กล่าวว่า

لا أعلم لهذا المولد أصلاً في كتاب ولا سنة ولا يُنقل عملُهُ عن أحد من علماء الأمة الذين هم القدوة في الدين، المتمسكون بآثار المتقدمين: بل هو بدعة أحدثها البطالون... وهو ليس بواجب إجماعاً ولا مندوباً لأن حقيقة المندوب ما طلبه الشرع من غير ذم على تركه، وهذا لم يأذن فيه الشرع، ولا فعله الصحابة ولا التابعون فيما علمت، وهذا جوابي عنه بين يدي الله تعالى إن سُئلتُ عنه

ข้าพเจ้าไม่รู้ที่มา(หลักฐาน)สำหรับการฉลองวันเกิดนี้(เมาลิดนบี) ในกิตาบุ้ลลอฮ และไม่(รู้ว่ามีที่มา)จากสุนนะฮ และไม่มีคนใดจากบรรดาผู้รู้แห่งอุมมะฮ ผู้ซึ่ง พวกเขาคือ แบบอย่างในศาสนา ,เป็นบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในบรรดาร่องรอย(แบบอย่าง)บรรดาบรรพชนรุ่นก่อน ในทางกลับกัน มัน(การทำเมาลิด)คือ บิดอะฮ ที่บรรดาพวกไร้สาระ อุตริมันขึ้นมาใหม่ ..ทั้งๆที่มันไม่ได้เป็นวาญิบโดยมติเอกฉันท์ (ของนักวิชาการ)และไม่ได้เป็นสุนัต เพราะว่า แก่นแท้ของสิ่งที่เป็นสุนัต(สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ)นั้น คือ สิ่งที่มีบัญญัติใช้ให้กระทำ โดยไม่ตำหนิผู้ที่ละทิ้งมัน และกรณีนี้ศาสนาไม่ได้อนุญาต ในมัน และบรรดาเศาะหาบะฮและเหล่าตาบิอีน ไม่ได้กระทำมัน ตามที่ข้าพเจ้าได้รู้มา และนี้คือคำตอบของข้าพเจ้าเกี่ยวกับมัน ต่อหน้าอัลลอฮ ตะอาลา หากข้าพเจ้าถูกสอบสวนจากมัน

المورد في عمل المولد 20 – 22 ط: مكتبة المعارف. وانظر الحاوي للفتاوي 1/190 – 192 رسالة: حسن المقصد في عمل المولد

สรุป ที่ว่าการเฉลิมฉลองเมาลิดนบี ไม่ใช่สุนนะฮ
๑. ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮ
๒. ไม่มีคำสอนจากผู้รู้แห่งอุมมะฮ ที่ยึดแนวทางสะลัฟ
๓. ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ว่าเป็นวาญิบ หรือสุนัต
๔. บรรดาเศาะหาบะฮและตาบิอีนไม่ได้กระทำมัน

والله أعلم بالصواب


.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม



สุนนะฮเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ไม่ใช่บิดอะฮ



ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ร.อ) กล่าวว่า

وَقَدْ قَالَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي الْحَدِيثِ الَّذِي رَوَاهُ أَهْلُ السُّنَنِ وَصَحَّحَهُ التِّرْمِذِيُّ وَغَيْرُهُ : { عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ مِنْ بَعْدِي تَمَسَّكُوا بِهَا وَعَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الْأُمُورِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ } فَمَا سَنَّهُ الْخُلَفَاءُ الرَّاشِدُونَ لَيْسَ بِدْعَةً شَرْعِيَّةً يُنْهَى عَنْهَا وَإِنْ كَانَ يُسَمَّى فِي اللُّغَةِ بِدْعَةً لِكَوْنِهِ اُبْتُدِئَ . كَمَا قَالَ عُمَرُ : نِعْمَت الْبِدْعَةُ هَذِهِ وَاَلَّتِي يَنَامُونَ عَنْهَا أَفْضَلُ.

และแท้จริง นบี ศอ็ลฯ กล่าวไว้ใน หะดิษที่รายงานโดย อะฮลุสสุนัน และอัตติรมิซิย์และคนอื่นจากเขา ได้ตัดสินว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะ ว่า

عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ مِنْ بَعْدِي تَمَسَّكُوا بِهَا وَعَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الْأُمُورِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ

หน้าที่ของพวกท่าน คือ การปฏิบัติตามสุนนะฮของฉันและสุนนะฮบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ทรงคุณธรรม ผู้ได้รับทางนำ หลังจากฉัน พวกท่านจงยึดถือด้วยมัน และจงกัดมันให้มั่นด้วยฟันกราม และพวกท่านจงระวังบรรดากิจการที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่(ในศาสนา) แท้จริงทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ และทุกๆบิดอะฮ เป็นการหลงผิด
ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้กำหนดมันให้เป็นแบบอย่าง มันไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา ที่ถูกห้ามจากมัน และแม้มันจะถูกเรียกในทางภาษาว่า บิดอะฮก็ตาม เพราะมัน ถูกริเริ่ม ดังที่อุมัร กล่าวว่า

نِعْمَت الْبِدْعَةُ هَذِهِ

นี้เป็นบิดอะฮที่ดี
และช่วงเวลาที่พวกเขานอนกันนั้น ดีกว่า - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม ๒๑ หน้า ๓๑๙

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

เพราะฉะนั้น หมดยุคแล้วที่จะอ้าง การกระทำของเคาะลิฟะฮทั้งสี่ มาสนับสนุนบิดอะฮ


والله أعلم بالصواب

.........................
อะสัน  หมัดอะดั้ม




มันคือหลักฐานการทำเมาลิดจริงหรือ



เขาอ้างว่า

สำหรับเมาลิด ประเภทที่สองนั้น(18) เป็นซุนนะฮ์ เพราะมีบรรดาฮะดีษ ที่ได้รายงานเกี่ยวกับการซิกรุลลอฮ์ ตามนัยยะเฉพาะเจาะจง (มัคศูเศาะฮ์) และนัยยะโดยเปิดกว้าง (อามมะฮ์) เช่นคำกล่าวของท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

لاَ يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُوْنَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا حَفَّتْهُمُ المَلاَئِكَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِيْنَةُ، وَذَكَرَهُمُ اللهُ فِيْمَنْ عِنْدَهُ

“ไม่มีชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดทำการนั่งซิกรุลลอฮ์(19) อัซซะวะญัลล่า นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์ จะห้อมล้อมพวกเขา ความเมตตาจะแผ่คลุมพวกเขา ความสงบสุข ก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์” (20)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ชี้แจง

เหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และบรรดาบรรพชนยุคสะลัฟ ผู้ทรงธรรม ยุคสามร้อยปีแรก ไม่ปรากฏว่า พวกเขาเอาหะดิษนี้มาเป็นหลักฐาน เฉลิมฉลองวันเกิดหรือเมาลิดนบี ศอ็ลฯ และไม่มีบรรดาอิหม่ามนักหะดิษอธิบายว่าหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐาน การทำเมาลิด การอ้างหลักฐานข้างต้น ว่า เป็นหลักฐานอนุญาตให้ทำเมาลิดและ เมาลิด เป็นสุนนะฮ เป็นการใช้ความเห็นล้วนๆโดยไม่พิจาณาดูว่า สะลัฟเขาเอาหะดิษข้างต้นมาเป็นหลักฐานเรื่องอะไร

อิหม่ามนะวาวีย์เองได้กล่าวว่า

وَفِي هَذَا دَلِيلٌ لِفَضْلِ الِاجْتِمَاعِ عَلَى تِلَاوَةِ الْقُرْآنِ فِي الْمَسْجِدِ وَهُوَ مَذْهَبُنَا وَمَذْهَبُ الْجُمْهُورِ

ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐานแสดงบอกถึงคุณค่าของการรวมตัวกัน อ่านอัลกุรอ่านในมัสญิด และมันคือ มัซฮับ(ทัศนะ/แนวทาง)ของเราและแนวทางของนักปราชญ์ส่วนใหญุ – ดูตุหฟะตุลอะวะซีย์ ชัรหุสุนันอัตติรมิซีย์ อธิบายหะดิษหมาย 3378 กิตาบุดดะอวาต

อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وإنّما الاستحسان تلذذ، ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم، ولجاز أن يشرع في الدين في كلّ باب، وأن يخرج كلّ أحد لنفسه شرعاً
ความจริง การอิสติหซาน (การกำหนดหุกุมศาสนาด้วยการเห็นว่าดี)นั้น คือการทำตามอารมณ์ เพราะหากอนุญาตให้คนใด ทำตามที่เห็นว่าดี(อิสติหซาน)ในเรื่องศาสนา แน่นอน ก็จะอนุญาตเรื่องดังกล่าว แก่นักใช้เหตุผล โดยไม่ใช่ผู้มีความรู้ และแน่นอน ก็จะอนุญาตให้เขาบัญญัติใน ศาสนา ในทุกๆเรื่อง และ ทุกคนก็จะสามารถออกศาสนบัญญัติให้แก่ตัวเองได้ – ดูอัรริสาละฮ หน้า 507

@@@
ข้างต้น ท่านอิหม่ามชาฟิอี อธิบายชัดเจนว่า หากให้คนเรากำหนดหุกุมศาสนา ตามความเห็นว่าสิ่งนั้นดี ก็แสดงว่าอนุญาตให้คนเราบัญญัติศาสนาให้แก่ตัวเองได้

เหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า

من استحسن فقد شرع

ผู้ใด กำหนดหุกุม ตามที่เห็นว่าดี แน่นอนเขาได้กำหนดศาสนบัญญัติขึ้นมา ใหม่ – ดูจากตำราเล่มเดียวกัน

อิบนุหัซมิน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้น่าสนใจคือ

الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان.

ความจริง ก็คือความจริง แม้บรรดามนุษย์จะเกลียดชังมันก็ตาม และความเท็จ ก็คือความเท็จ แม้ว่ามนุษย์จะเห็นว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องนั้น การกำหนดหุมกุมเพราะเห็นว่าดี นั้นเป็นการชะฮวัต(เป็นความปราถนาของอารมณ์) และ คือการตามอารมณ์ และเป็นการลุ่มหลง และขอวิงวอนต่ออัลลอฮตะอาลา ให้พ้นจากความสิ้นหวังด้วยเถิด – ดู อัลอะหกาม ฟี อุศูลิลอะหกาม เล่ม 2 หน้ 196

والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม






วิญญานนบีมาร่วมงานเมาลิดจริงหรือ




มีการอ้างหะดิษต่อไปนี้

قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : إن روحي حاضر عند ذكر مولد الشريف

แปลว่า รอซูลพูดว่าแท้จริงวิญญาณของฉันจะมาร่วมในพิธีเมาลิดเมื่อมีการซิกีรถึงเมาลิดอันทรงเกียรติ

เช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ ได้ชี้แจงว่า

ومن ذلك: أن بعضهم يظن أن رسول الله صلى الله عليه وسلم يحضر المولد، ولهذا يقومون له محيين ومرحبين، وهذا من أعظم الباطل، وأقبح الجهل، فإن الرسول صلى الله عليه وسلم لا يخرج من قبره قبل يوم القيامة، ولا يتصل بأحد من الناس، ولا يحضر اجتماعهم، بل هو مقيم في قبره إلى يوم القيامة، وروحه في أعلى عليين عند ربه في دار الكرامة، كما قال الله تعالى في سورة المؤمنين: {ثُمَّ إِنَّكُمْ بَعْدَ ذَلِكَ لَمَيِّتُونَ ثُمَّ إِنَّكُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ تُبْعَثُونَ}[10]، وقال النبي صلى الله عليه وسلم : ((أنا أول من ينشق عنه القبر يوم القيامة وأنا أول شافع وأول مشفع)) عليه من ربه أفضل الصلاة والسلام، فهذه الآية الكريمة، والحديث الشريف، وما جاء في معناهما من الآيات والأحاديث، كلها تدل على أن النبي صلى الله عليه وسلم وغيره من الأموات، إنما يخرجون من قبورهم يوم القيامة، وهذا أمر مجمع عليه بين علماء المسلمين ليس فيه نزاع بينهم، فينبغي لكل مسلم التنبه لهذه الأمور، والحذر مما أحدثه الجهال وأشباههم من البدع

จากดังกล่าวนั้น บางส่วนของพวกเขา เข้าใจว่า รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาร่วมเมาลิด และเพราะเหตุนี้พวกเขา ได้ยืนขึ้น เพื่อแสดงการเคารพและให้การต้อนรับแก่ท่านรอซูล และนี้คือ ความเท็จอันมหันต์ และความโง่เขลาที่น่าเกลียดยิ่ง เพราะแท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ออกจากกุบูร(หลุมศพ)ของท่านก่อน วันกิยามะฮ และจะไม่ติดต่อกับมนุษย์คนใด และจะไม่มาร่วมการชุมนุมของพวกเขา แต่ทว่า ท่านอยู่ในหลุมศพ(กุบูร)ของท่าน จนกระทั่งวันกิยามะฮ และวิญญาณของท่านรซูล อยู่ในที่อันสูงส่ง ณ พระผู้อภิบาลของท่าน ในบ้านอันทรงเกียรติ ดังที่อัลลอฮ ตะอาลาตรัสในซูเราะฮอัลมุอฺมินูนว่า

ثُمَّ إِنَّكُمْ بَعْدَ ذَلِكَ لَمَيِّتُونَ، ثُمَّ إِنَّكُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ تُبْعَثُونَ]

“หลังจากนั้นพวกเจ้าก็จะต้องพบกับความตาย และหลังจากนั้นในวันกิยามะฮฺพวกเจ้าก็จะถูกทำให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง”-อัลมุมินูน/15-16

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

أنا أول من تنشق الأرض عنه يوم القيامة ولا فخر، وأنا أول شافع وأول مشفع ولا فخر

ฉันคือ บุคคลแรกที่ฟื้นคืนชีฟ ในวันกิยามะฮ และ ไม่ใช่เป็นการโอ้อวด และ ฉันคือ ผู้ที่ให้การอนุเคราะห์(แก่ผู้อื่น) และเป็นผู้ที่ได้รับการการอนุเคราะห์คนแรก และไม่ใช่เป็นการโอ้อวด 
พรอันประเสริฐและความสันติสุขจากพระเจ้า ได้โปรดประสบแด่ท่านด้วยเถิด

، فهذه الآية الكريمة، والحديث الشريف، وما جاء في معناهما من الآيات والأحاديث، كلها تدل على أن النبي صلى الله عليه وسلم وغيره من الأموات، إنما يخرجون من قبورهم يوم القيامة، وهذا أمر مجمع عليه بين علماء المسلمين ليس فيه نزاع بينهم، فينبغي لكل مسلم التنبه لهذه الأمور، والحذر مما أحدثه الجهال وأشباههم من البدع

ดังนั้น อายะฮและหะดิษอันทรงเกียรติ นี้ และสิ่งที่มีมาในความหมายของมันทั้งสอง จากบรรดาอายะฮและหะดิษ ทั้งหมด แสดงบอกว่า “ แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และผู้อื่นจากท่าน จากบรรดาผู้ที่เสียชีวิต ความจริงพวกเขาจะออกจากหลุมศพ(กุบูร)ของพวกเขาในวันกิยามะฮเท่านั้น และนี้คือ สิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ระหว่างบรรดาปราชญ์มุสลิม บนมัน โดยไม่มีการขัดแย้ง ดังนั้นสมควร มุสลิมทุกคนจะต้องตักเตือนให้ระมัดระวัง บรรดาเรื่องเหล่านี้ และ ระวังจากบรรดาบิดอะฮที่ บรรดาพวกโง่เขลาและบรรดาผู้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเขา ได้อุตริมันขึ้นมาใหม่

http://www.binbaz.org.sa/mat/8184


.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม








หัวใจของคุณอยู่ที่ไหน ?




*** ตอนที่ 1 เรื่องของหัวใจ *** 

04 : หัวใจของคุณอยู่ที่ไหน ?

เราได้เดินทางและเรียนรู้มาด้วยกันตลอดเส้นทาง เพื่อค้นหาและทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งที่มีความมหัศจรรย์และมีพลังเหลือคณานับที่เราเรียกกันว่า “หัวใจ” และตอนนี้เราก็ได้เดินทางมาเกือบถึงบทสรุปของเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าสิ่งนี้แล้ว เหตุผลที่ผมพาท่านผู้อ่านออกเดินทางค้นหาและทำความรู้จักกับหัวใจ นั่นก็เพราะว่าเป็นประตูบานสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่การพิชิตใจของผู้อื่น การที่เราจะสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนอื่นได้นั้น เราก็ต้องทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับหัวใจก่อนเป็นอันดับแรกใช่ไหมละครับ

มาถึงตอนนี้ผมมักจะมีคำถามอยู่คำถามหนึ่งที่ผมมักจะถามตนเองอยู่บ่อยครั้งและผมมักจะส่งคำถามนี้ให้แก่พี่น้องคนรอบข้างอยู่เป็นประจำเมื่อผมได้พบเจอกับพวกเขา และเช่นกันครับ ผมก็อยากถามพีน้องคุณผู้อ่านเช่นกันว่า

ความสัมพัน์ระหว่างท่านกับอัลลอฮฺเป็นยังไงกันบ้าง ?
สภาพหัวใจของพวกท่านที่มีต่ออัลลอฮฺเป็นอย่างไรกันบ้าง ?
หัวใจของท่านอยู่ที่ไหน ? และหัวใจของท่านผูกพันอยู่กับสิ่งใด ?

พี่น้องเคยสังเกตไหมครับ หากเราใช้เวลาทั้งหมดไปกับสิ่งใด เราทุ่มเท ใจจดใจจ่อ พยายาม และชวนขวายให้ได้สิ่งใด หัวใจของเราก็จะได้รับในสิ่งนั้น หัวใจของเราจะรัก คิดถึง ถวิลหา และผูกพันอยู่กับสิ่งนั้น

หากเราต้องการตรวจสอบหัวใจของเราว่าเรามีความรักให้กับสิ่งใด เราลองสังเกตและสำรวจดูสิว่า เรามีความรัก คิดถึง และผูกพันอยู่กับสิ่งใด ?

หลายคนได้มอบความรักให้แก่เฟสบุค แต่เพียงไม่กี่นาทีเขาต้องจากเฟสบุค หัวใจของเขาก็ยังคงคิดถึง คะนึงหา ยิ่งกว่าภรรยาที่คิดถึงสามีของนาง ยิ่งกว่าแม่คิดถึงลูกของนางเสียอีก ครั้นเมื่อเขาต้องจากมันไปเพื่อทำการงานบางอย่าง บ่อยครั้งที่หัวใจของเขาคิดถึงเฟสบุค ครั้งเมื่อเขามีเวลาแม้เพียงไม่กี่นาที เขาไม่รอช้าที่จะหยิบมือถือขึ้นมาและเข้าไปหาสิ่งที่หัวใจเขาถามหาและรอคอย เช่นนี้แหละ หัวใจของเขาได้มอบความรักให้แก่เฟสบุคไปแล้ว

สุบหานัลลอฮฺ !!! แล้วหัวใจของเรากับผู้ทรงเป็นเจ้าของหัวใจละ ? เรารัก คิดถึง และผูกพันกับพระองค์มากน้อยแค่ไหน ?

หัวใจของเราเคยคิดถึง คะนึงหา และปรารถนาอยากพบกับพระองค์ในวันแห่งการตอบแทนมากน้อยเพียงใด ?

บ่อยครั้งแค่ไหนที่เมื่อมีเรื่องราวไม่สบายใจเข้ามาให้เราต้องเศร้าหมองและวิตกกังวล อันดับแรกที่หัวใจของเราคิดถึงคือการรำลึกถึงพระองค์ และเราก็ไม่รอช้าที่จะรีบเร่งเข้าหาพระองค์ด้วยการยกมือทั้งสองของเราขึ้นพลางร้องเรียนต่อพระองค์ในสิ่งที่ทำให้เราไม่สบายใจ บอกเล่าแก่พระองค์ วอนขอต่อพระองค์ซึ่งทางออกและการช่วยเหลืออย่างมากมายจากพระองค์

น่าเศร้าใจยิ่งนัก !!! เมื่อมีเรื่องราวบททดสอบได้มาประสบแก่เรา สิ่งแรกที่เรานึกถึงคือ การบอกเล่าเรื่องราวนี้ลงบนเฟสบุค รำพึงรำพันกับผู้คน ทั้งที่พวกเขาก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรเราได้อย่างประจักษ์ชัดแจ้ง อาจจะได้แค่รับฟัง เพราะพวกเขาก็เป็นบ่าวคนหนึ่งที่อ่อนแอและมากไปด้วยความหวั่นไหว ไม่ต่างอะไรจากเรา

เหตุใดกันหนอหัวใจของเราถึงไม่นึกถึงพระองค์เป็นอันดับแรก ทั้งที่พระองค์คือผู้สร้างเรามา พระองค์คือผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้เป็นเจ้าของชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินตลอดจนสิ่งที่อยู่ในมันทั้งสอง ผู้ทรงอนุภาพเหนือทุกสิ่ง ผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย ผู้ทรงใจบุญยิ่งผู้ทรงเข้าใจเรามากกว่าที่เราเข้าใจตัวเอง เพราะพระองค์รู้จักเราดียิ่งกว่าที่เรารู้จักตนเอง และพระองค์นั้นทรงใกล้ชิดเรายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเราเสียอีก

ความว่า : และโดยแน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก (สูเราะฮฺก็อฟ 50:16)

ความว่า : และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงนั้นอยู่ใกล้ข้าจะตอบรับคำวิงวอของผู้ที่วิงวอน เมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิดและศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง (สูเราะฮฺอัลบาเกาะเราะฮฺ 2:186)

สุบหานัลลอฮฺ !!! พระองค์นั้นใกล้ชิดกับเรายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเราเสียอีก และพระองค์นั้นทรงได้ยิน ทรงตอบรับคำวิงวอนของบ่าวที่ได้วิงวอนขอต่อพระองค์อย่างแน่นอน

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลับฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ นั้นเป็นผู้ทรงละอาย ผู้ทรงใจบุญยิ่ง เมื่อมีใครสักคนยกสองมือขึ้นขอดุอาอ์ พระองค์ทรงละอายที่จะให้สองมือนั้นต้องกลับไปอย่างสูญเปล่าพร้อมกับความผิดหวัง
(ชัยคฺอัล-อัลบานีย์บันทึกไว้ในเศาะฮีหฺ อัต-ติรมีซีย์, เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ, และเศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ)

อัลลอฮฺ !!! ความรักได้ซึมซับเข้าสู่หัวใจของท่านบ้างไหม ?

เมื่อท่านได้ยินว่าพระผู้อภิบาลของท่านทรงละอายที่จะผลักใสมือทั้งสองข้างของท่านกลับไปด้วยความผิดหวัง เมื่อท่านยกมือขึ้นขอดุอาอ์ต่อพระองค์ อัลลออฺทรงละอายที่จะให้บ่าวคนใดก็ตามที่วอนขอต่อพระองค์ต้องกลับไปมือเปล่า

พี่น้องที่ผมห่วงใยในหนทางของอัลลอฮฺ ผมขอเรียกร้องตัวผมเองและพี่น้องทุกคนให้รีบเร่งกลับมาหาพระองค์เถิด รีบเร่งตอบรับเสียงเรียกจากพระองค์เถิด และรีบเร่งวิงวอนขอต่อพระองค์ในสิ่งที่เราทุกข์ร้อนใจ ไม่สบายใจ ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราเถิดครับ อย่าได้ใช้หัวใจของเราอย่างมักง่ายอีกเลยครับ อย่าได้มอบความไว้วางใจ มอบหัวใจให้แก่มนุษย์คนใดอีกเลยครับ เพราะแท้จริงแล้วยังพระองค์เท่านั้นที่เราจำเป็นต้องมอบความไว้วางใจ มอบการงานทุกอย่างและมอบความเชื่อมั่นอย่างเต็มหัวใจแต่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว

มาถึงตอนนี้เราได้เดินทางจนเราค้นพบและปริศนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจของเราก็ค่อย ๆ ถูกไขทีละบาน จน ณ ขณะนี้เราก็เริ่มที่จะรู้จักกับหัวใจของเรามากยิ่งขึ้น ด้วยพระประสงค์ของพระองค์ และประตูด่านสุดท้ายที่กำลังรอให้เราได้ค้นหาบทสรุปไปพร้อม ๆ กันว่า ที่สุดแล้วสิ่งที่หัวใจของเราตามหามาทั้งชีวิต (ขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้) จริง ๆ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร ?

### อยากบอกว่า : อย่ารอช้ารีบเข้าไปค้นหาบทสรุป “ที่สุดแห่งหัวใจ” พร้อม ๆ กันเลยครับ ###


…………………………..
กุญแจไขหัวใจ
ถ่ายทอดโดย : อายะฮฺ บิน อุมัร
(จากหนังสือ : กุญแจไขหัวใจ เล่ม 1)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์








หัวใจทำงานอย่างไร ?



*** ตอนที่ 1 เรื่องของหัวใจ *** 

03 : หัวใจทำงานอย่างไร ?

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ชองมารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องบนขวา เรียกว่า ไซนัส โนด (Sinus Node) โดยมีอัตราการปล่อยไฟฟ้าประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที (ซึ่งถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด) ไฟฟ้าที่ออกมาจาก Sinus Node จะกระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากขวาไปซ้าย (ห้องบนขวาไปห้องบนซ้าย) และลงข้างล่างด้วย เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจและส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

พี่น้องก็ได้ประจักษ์แล้วนะครับว่า หัวใจของเราเป็นอวัยวะที่มีความพิเศษและมหัศจรรย์กว่าอวัยวะส่วนอื่น ๆ และที่สำคัญหัวใจมีกระแสไฟฟ้า (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) หัวใจจึงมีความสามารถพิเศษที่เหนือกว่าอวัยวะอื่น ๆ หัวใจคือนายของร่างกาย หากหัวใจของเราดี ร่างกายส่วนอื่น ๆ ก็จะดีไปด้วย แต่หากหัวใจของเรามีปัญหา อวัยวะที่เหลือก็จะพลอยมีปัญหาไปด้วยเช่นกัน การที่หัวใจของเราจะทำงานและมีสภาพเป็นเช่นไรนั้นก็ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติตัวของเรา หากเราะพยายามสรรหาสิ่งดีงาม ใช้ชีวิตของเราให้ผูกพันกับญามะอะฮฺที่ดี เพื่อนฝูงที่ชักจูงกันสู่ความดีและช่วยกันตักเตือนห้ามปรามกันในสิ่งที่ไม่ดี เชิญชวนกันไปมัสยิด ใช้ชีวิตให้เติบโตขึ้นมาด้วยการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ให้หัวใจของเราได้ผูกพันอยู่กับมัสยิด ผูกพันกับอัลกุรอาน (กาลามุลลอฮฺ) พระดำรัสอันสูงส่งของพระองค์อัลลอฮฺที่เราสามารถสัมผัส จับ อ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจและใคร่ครวญได้ทุกเมี่อ เช่นนี้แล้วชีวิตของเราก็จะเป็นชีวิตที่เปี่ยมล้นไปด้วยความดีงาม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พบเจอแต่สิ่งดี ๆ มีชีวิตที่เปี่ยมสุขและสงบ ด้วยการอนุมัติจากอัลลอฮฺ เพราหัวใจของเราถูกวางไว้ถูกที่ถูกทาง ถูกวางในที่ที่มันสมควรถูกวาง อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วในบทที่ผ่านมา หัวใจของมนุษย์นั้นปรารถนาและต้องการชีวิตที่ดีงาม ถวิลหาความสงบสุข ด้วยการรู้จักและฏออะฮฺ (เคารพภักดี) ต่อผู้ทรงเป็นเจ้าของหัวใจ ผู้ทรงประทานความสงบลงบนหัวใจของผู้ศรัทธา ผู้ทรงเป็นเจ้าของความสุข ผู้ทรงเป็นเจ้าของความสำเร็จ เช่นนี้แหละที่หัวใจของบ่าวจะเต้นไปตามปกติ

แต่หากผู้ใดใช้ชีวิตแบบตกต่ำ แสวงหาความทุกข์ยากให้แก่ตนเองด้วยการใช้ชีวิตแบบไร้สาระ ไม่มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม ? เกิดมาเพื่ออะไร ? เป้าหมายของเขาคือสิ่งใด ? แต่เขากลับใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งหลอกลวง เพริศแพร้วอยู่กับความสวยงามของดุนยาจนลืมอาคิเราะฮฺ จมปลักอยู่กับการละเมิดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ เช่นนี้แล้วชีวิตของเขาก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ยาก เศร้าหมอง เป็นชีวิตที่อัตคัดแร้นแค้น และทุกข์ยากแสนลำเค็ญที่สุดและมิใช่แต่เพียงในโลกนี้เท่านั้น หากแต่ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญนี้ก็จะประสบกับเขาอีกคราเมื่อเขากลับไปพบกับพระผู้อภิบาลของเขาในวันแห่งการตัดสินและตอบแทน

อาจารย์ของเราและอีหม่ามของเรา ท่านอัลหาฟิน อิบนุกะษีร เราะหิมาฮุลลอฮฮ ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงใจบุญยิ่งได้ทำให้ธรรมชาติดำเนินไปตามความใจบุญของพระองค์ นั่นคือ ใครก็ตามที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งใดเขาก็จะเสียชีวิตไปพร้อมกับสิ่งนั้นและใครก็ตามที่เสียชีวิตไปพร้อมกับสิ่งใด เขาก็จะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาพร้อมกับสิ่งนั้น”

อีหม่ามมุสลิมได้รายงานไว้ในหนังสือเศาะฮีหฺของท่านว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

“บ่าวแต่ละคนจะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาใหม่ตามสภาพที่ตนได้เสียชีวิตไป”

ชัยคฺ มุฮัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายเพิ่มเติมเมื่อกล่าวถึงหะดีษบทนี้ว่า

“ดังนั้นผู้ใดที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับการภักดี เขาก็จะเสียชีวิตไปพร้อมกับการภักดี และเขาจะถูกฟื้นคืนชีพมาในสภาพที่ภักดี ส่วนผู้ใดที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่การฝ่าฝืน เขาก็จะเสียชีวิตไปพร้อมกับการฝ่าฝืน หากว่าเขาไม่เตาบะฮฺ กลับเนื้อกลับตัวสู่อัลลออฺ และแน่นอนว่าเขาจะต้องถูกฟื้นคืนชีพมาในสภาพที่ฝ่าฝืน”

อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร !!

ผลตอบแทนที่แต่ละคนจะได้รับขึ้นอยู่กับการงานที่สองมือของเขาได้ประกอบขึ้นพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงใจบุญยิ่ง ยุติธรรมยิ่ง พระองค์ทรงตอบแทนแก่บ่าวแต่ละคนตามความพยายามและการขวนขวายที่บ่าวได้ขวนขวายไว้

ณ วันนี้หัวใจของเราทำงานอย่างไร เราได้ให้หัวใจของเราผูกพันอยู่กับสิ่งใดเราก็จะได้รับในสิ่งนั้น

โอ้พี่น้องของผม ขอให้พวกเราได้ให้หัวใจของพวกเราได้ทำงานรับใช้ศาสนาของพระองค์อัลลอฮฺ ตะอาลาเถิดครับ ไม่มีหัวใจดวงใดจะสูงส่งและมีเกียรติได้นอกจากด้วยการทำงานรับใช้ศาสนาของพระองค์

หากเราได้ถวาย มอบหัวใจของเราด้วยการเข้ามาทำงานรับใช้ศาสนาของพระองค์ ช่วยเหลือพี่น้องของเรา เสียสละตนเอง เอาผลประโยชน์ส่วนร่วมมานำหน้าผลประโยชน์ส่วนตน หัวใจเช่นนี้แหละที่พระองค์อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัย เป็นหัวใจที่มีเกียรติ ณ ที่พระองค์ และได้รับการปกป้อง คุ้มครอง และได้รับการดูแลรักษา การช่วยเหลือจากพระองค์อย่างแน่นอนและหัวใจของเราก็จะทำงานและจังหวะการเต้นของหัวใจก็จะเป็นไปเพื่อพระองค์ ด้วยพระประสงค์ของพระองค์

ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย หากพวกเจ้าสนับสนุน (ศาสนาของ) อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงสนับสนุนพวกเจ้าและทรงตรึงเท้าของพวกเจ้าให้มั่นคง (สูเราะฮฺมุฮัมมัด 47 : 7)
(คำถามชวนคิด : วันนี้หัวใจของเราทำงานเพื่อใคร ?)
…………………………..
กุญแจไขหัวใจ
ถ่ายทอดโดย : อายะฮฺ บิน อุมัร
(จากหนังสือ : กุญแจไขหัวใจ เล่ม 1)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์






เรื่องราชสีห์กับหนู .




หนูพูดกับราชสีห์ว่า : ฉันขออนุญาตที่จะคุยกับท่านได้ไหม ?
ราชสีห์ก็พูดว่า : มีอะไรก็ว่ามา
หนูก็พูดว่า : ฉันสามารถฆ่าท่านได้ในเวลาหนึ่งเดือน
ราชสีห์ก็หัวเราะเยาะ แล้วพูดว่า : ตัวคุณนี่นะ จะฆ่าฉันได้ ?
หนูก็พูดว่า : แต่คุณต้องให้เวลาฉันหนึ่งเดือน
ราชสีห์ก็พูดว่า : ได้ ตกลง แต่ถ้าคุณไม่สามารถฆ่าฉันได้แล้วล่ะก็ ฉันจะฆ่าคุณ
วันเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ
สัปดาห์แรก ราชสีห์ก็ได้แต่หัวเราะ แต่ว่าเขาเห็นในฝันว่า สักวันหนึ่ง หนูตัวนั้นจะต้องมาฆ่าเขาแน่ ๆ แต่ว่าเขาก็ไม่สนใจในเรื่องนี้
สัปดาห์ที่สอง ความลังเลใจก็เริ่มเข้ามาหาพร้อมกับความหวาดกลัว
สัปดาห์ที่สาม ตัวของราชสีห์ก็เริ่มสั่นด้วยความหวาดกลัว คิดต่าง ๆ นา ๆ ว่า ถ้าหากว่าความฝันที่หนูจะมาฆ่าฉันเป็นจริงล่ะ ฉันจะทำยังไงดี ?
สัปดาห์ที่สี่ ตัวราชสีห์ยืนอย่างนิ่งโดยไม่ขยับเขยื้อนเลย
เมื่อถึงเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ตามที่ได้สัญญาไว้ หนูกับบรรดาสัตว์อื่น ๆ ต่างก็มาล้อมรอบ ๆ ตัวของราชสีห์ บรรดาสัตว์ทุกตัวต่างก็ตกใจ เพราะรู้ว่าราชสีห์ได้เสียชีวิตไปแล้ว
หลังจากนี้ หนูก็รู้ว่า การที่รอกับภัยพิบัตินั้น เป็นสิ่งที่แสนหาหัสมากสำหรับจิตใจ
ตอนนี้คุณรู้หรือยังว่า ใครเป็นราชสีห์ ? และหนูตัวนั้นหมายถึงอะไร ?
ราชสีห์ตัวนั้นก็คือตัวตนของคุณนี่แหล่ะ ที่คุณต้องมีความเชื่อมั่นในตัวตนของคุณให้มาก ส่วนหนูตัวนั้นก็คือ ความลังใจของคุณและความหวั่นกลัวของคุณ
กี่ครั้งแล้ว ที่คุณรอบางสิ่งให้เกิดขึ้น แต่มันก็ไม่บังเกิดขึ้น และกี่ครั้งเล่า ที่คุณคาดคิดว่าคุณต้องประสบกับภัยพิบัติ แต่มันก็ไม่บังเกิดขึ้นมาเลย
ซึ่งเราก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันเป็นบททดสอบ ซึ่งบททดสอบทุกบทจะต้องมีทางออกของมันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ตาม
ชีวิตของคนเราจะถูกดำเนินไปอย่างเรื่อย ๆ ความล้มเหลวกับภัยพิบัตินั้น มันไม่ใช่อะไรเลย นอกเหนือจากว่ามันก็เป็นนิอฺมัตหนึ่งที่คนเรามักจะหลงลืม
ดังนั้น เมื่อภัยพิบัติยังไม่มาหาเรา เราก็อย่าไปหมกมุ่นอยู่กับมัน
หมั่นให้เรียนรู้กับบททดสอบฉบับปัจจุบัน และอย่าเพ้อฝันกับสิ่งที่ไม่ได้ทำให้ตัวเองต้องสุขใจ


.
บทความดี ๆ โดย : اقوال اعجبتني••مما قرأت
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



อย่าเจาะจงประกอบอิบาดะฮ์เฉพาะวันศุกร์


อย่าเอาคืนวันศุกร์เป็นวันที่เจาะจงเฉพาะในการทำอิบาดะฮ์ ไม่ว่าในการทำละหมาด หรือถือสิลอดก็ตาม แต่ให้กระทำมันอย่างสำม่ำเสมอทุกๆวัน

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"พวกท่านอย่าได้เจาะจงเอาคืนของวันศุกร์ เพื่อทำการละหมาด และอย่าได้ยึดการถือศิลอดเฉพาะวันศุกร์โดยไม่สนใจวันอื่นๆ นอกจากจะเป็นวันที่มีการกำหนดให้พวกท่านถือศิลอด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)







อย่าด่าไก่



อย่าด่าไก่ เพราะไก่นั้นมันได้ปลุกให้ผู้คนลุกขึ้นมาละหมาด

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

لاتصب الديك فـإنّه يوقظ للصّلاة
"สู่เจ้าทั้งหลายอย่าด่าไก่ เพราะแท้จริง ไก่นั้นมันปลุกให้เราละหมาด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)


อนาชีด ทอล์คโชว์ การเเสดงละคร อุตริกรรมในเรื่องดะอฺวะหฺ.


การเรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่เเนวทางอิสลามโดยใช้วิธีการเหล่านี้ ไม่ใช่เเนวทางของท่านรอซูล(ซ.ล.)
ในเรื่องนี้ อิหม่ามเเห่งชาวซุนนะห์ อะหมัด อิบนุ ฮัมบัล ได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการร่ายกลอนซึ่งมีดนตรีประกอบ ท่านตอบว่า"มันคือบิดอะหฺ พวกเขาที่ทำสิ่งเหล่านั้นคือ อะลุลบิดอะห์ ท่านจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา"

เเละท่าน ฟะฎีละตุชชัยคฺ มูฮัมหมัด อัล-อุษัยมีน รอหิมาฮุลลอฮฺ ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องเพลงที่มีเนื้อหาอิสลาม(อัล-อนาชีด) ท่านตอบว่า"มันเป็นบิดอะหฺ ที่นำเข้ามาโดยกลุ่มซูฟีย์ ในการอิบาดะหฺ ท่านจงละทิ้งสิ่งเหล่านั้น เเละจงกลับไปสู่อัล-กุรอานเเละซุนนะหฺ"

เเละอุลามาอฺผู้โด่งดังเเห่งประเทศซาอุดิอารเบีย ชัยคฺ ดร.ศอลิหฺ อัล-เฟาซาน หะฟิซอฮุลลอฮฺ ได้ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องอนาชีดว่า"เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มซูฟีย์ เเละพวกฮิซบียูน"
(ฟ่าต่าวา-01-1436 )





อิสลามห้ามโดยเด็ดขาด ที่จะห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลัง




อิสลามห้ามโดยเด็ดขาด ที่จะห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลัง โดยมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านั้นสามารถป้องกันให้พ้นจากภัยอันตรายได้ หรือรักษาให้หายจากโรค ซึ่งผู้ใดที่กระทำดังกล่าวถือว่าเขาเป็นผู้ที่ทำชิริก (ตั้งภาคีต่อััลลอฮฺ)อย่างชัดเจน
ซึ่งการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ เป็นบาปใหญ่ที่สุด ที่อัลลอฮฺจะไม่ประทานอภัยโทษให้ เเละผู้ที่เป็นผู้ตั้งภาคีจะต้องได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวดในนรกตลอดกาล
ซึ่งในเรื่องของเครื่องรางของขลัง ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า
"ผู้ใดที่สวมห้อย หรือ สวมใส่เครื่องรางของขลัง เเน่นอนเขาได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺเเล้ว"
หะดีษบันทึกโดย อิหม่ามอะหมัด เเละอัล-ฮากิม



อัล-อนาชีด ได้หรือไม่??


หรือจะเถียงอุลามาอฺ

อัล-อนาชีด ได้หรือไม่??

อิหม่ามเเห่งชาวซุนนะห์ อะหมัด อิบนุ ฮัมบัล ได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการร่ายกลอนซึ่งมีดนตรีประกอบ ท่านตอบว่า"มันคือบิดอะหฺ พวกเขาที่ทำสิ่งเหล่านั้นคือ อะลุลบิดอะห์ ท่านจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา"
เเละท่าน ฟะฎีละตุชชัยคฺ มูฮัมหมัด อัล-อุษัยมีน รอหิมาฮุลลอฮฺ ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องเพลงที่มีเนื้อหาอิสลาม(อัล-อนาชีด) ท่านตอบว่า"มันเป็นบิดอะหฺ ที่นำเข้ามาโดยกลุ่มซูฟีย์ ในการอิบาดะหฺ ท่านจงละทิ้งสิ่งเหล่านั้น เเละจงกลับไปสู่อัล-กุรอานเเละซุนนะหฺ"

เเละอุลามาอฺผู้โด่งดังเเห่งประเทศซาอุดิอารเบีย ชัยคฺ ดร.ศอลิหฺ อัล-เฟาซาน หะฟิซอฮุลลอฮฺ ได้ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องอนาชีดว่า"เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มซูฟีย์ เเละพวกฮิซบียูน"

(ฟ่าต่าวา-01-1436 )http://www.sahab.net/forums/index.php?showtopic=148249







วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เคาะลิฟะฮอุมัรทำบิดอะฮจริงหรือ


หลายคนมักจะนำเอาคำพูดของ เคาะลิฟะฮอุมัร(ร.ฎ)ที่ว่า

“نعمت البدعة هذه

นี้ช่างเป็น บิดอะฮที่ดีแท้
มาอ้างเป็นหลักฐานเด็ดในการประดิษฐ์บิดอะฮ ตามความเห็นว่า "ดี" ตั้งชื่อว่าบิดอะฮที่ดี(บิดอะฮหะสะนะฮ")

อับดุร-เราะหมาน บุตร อับดิ้ลกอรี ได้เล่าว่า
عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ عَبْدٍ الْقَارِيِّ أَنَّهُ قَالَ خَرَجْتُ مَعَ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ فِي رَمَضَانَ إِلَى الْمَسْجِدِ فَإِذَا النَّاسُ أَوْزَاعٌ مُتَفَرِّقُونَ يُصَلِّي الرَّجُلُ لِنَفْسِهِ وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلَاتِهِ الرَّهْطُ فَقَالَ عُمَرُ وَاللَّهِ إِنِّي لَأَرَانِي لَوْ جَمَعْتُ هَؤُلَاءِ عَلَى قَارِئٍ وَاحِدٍ لَكَانَ أَمْثَلَ فَجَمَعَهُمْ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ قَالَ ثُمَّ خَرَجْتُ مَعَهُ لَيْلَةً أُخْرَى وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بِصَلَاةِ قَارِئِهِمْ فَقَالَ عُمَرُ نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ هَذِهِ وَالَّتِي تَنَامُونَ عَنْهَا أَفْضَلُ مِنْ الَّتِي تَقُومُونَ يَعْنِي آخِرَ اللَّيْلِ وَكَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ أَوَّلَهُ

คืนหนึ่งของเดือนเราะมะฏอน ข้าพเจ้าได้ออกไปมัสญิด พร้อมกับท่านอุมัร บุตร อัลคอฏฏอบ แล้วปรากฏว่า บรรดาผู้คนในขณะนั้นอยู่ใน
สภาพที่กระจัดกระจาย (ไม่ได้ละหมาดร่วมกัน แต่ต่างทำหรือต่างกลุ่มต่างทำ) บ้างก็ละหมาดคนเดียว,บ้างก็ละหมาดแล้วมีกลุ่มคนมาละหมาด
ตามหลัง แล้วท่านอุมัรก็กล่าวว่า
“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ,ข้าพเจ้าเห็นว่า หากข้าพเจ้ารวมคนเหล่านี้ ให้มาละหมาดตามอิหม่ามคนเดียวคงจะประเสริฐยิ่งกว่า
หลังจากนั้น ท่านได้ตั้งใจที่จะกระทำเช่นนั้น แล้วท่านก็ได้รวบรวมให้พวกเขาละหมาดตาม อุบัย บุตร กะอับ เขา (อับดุรเราะหมาน)ได้กล่าวต่อไปว่า
หลังจากนั้นในอีกคืนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ออกไปพร้อมกับท่านอุมัร โดยที่บรรดาผู้คนกำลังละหมาดร่วมกัน ตามหลังอิหม่ามของพวกเขา, แล้ว
ท่านอุมัรได้กล่าวขึ้นว่า “ นี้ช่างเป็น บิดอะฮ(การริ่เริ่ม)ที่ดีแท้” และบรรดาผู้ที่ละหมาด(ญะมาอะฮ)ในช่วงต้นของกลางคืนแล้วนอนย่อมประเสริฐกว่า
พวกเขานอนหลับแล้วตื่นขึ้นมาละหมาดนี้คนเดียว
-รายงานโดยบุคอคอรี กิตาบุตตะรอเวียะและอิหมาลิกในอัลมุวัฏเฏาะ

ขอชี้แจงว่า

ขอยืนยันว่าท่านอุมัร ไม่ได้ทำบิดอะฮ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การละหมาดตะรอเวียะ โดยการตามคนเดียว ท่านนบี ศอลฯ เคยทำแบบอย่างไว้แล้ว ดังหะดิษอบีบีซัรริน ร.ฎ อีกครั้ง

صُمْنَا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَمَضَانَ ، فَلَمْ يَقُمْ بِنَا شَيْئًا مِنَ الشَّهْرِ حَتَّى بَقِيَ سَبْعٌ ، فَقَامَ بِنَا حَتَّى ذَهَبَ نَحْوٌ مِنْ ثُلُثِ اللَّيْلِ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الثَّالِثَةُ لَمْ يَقُمْ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الْخَامِسَةُ قَامَ بِنَا حَتَّى شَطْرِ اللَّيْلِ ، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، لَوْ نَفَّلْتَنَا قِيَامَ هَذِهِ اللَّيْلَةِ ؟ قَالَ : فَقَالَ : إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا قَامَ مَعَ الإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَتِهِ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الرَّابِعَةُ لَمْ يَقُمْ ، فَلَمَّا كَانَ فِي اللَّيْلَةِ الثَّالِثَةِ جَمَعَ أَهْلَهُ وَنِسَاءَهُ ، فَقَامَ بِنَا حَتَّى خَشِينَا أَنْ يَفُوتَنَا الْفَلاحُ ، قُلْتُ : وَمَا الْفَلاحُ ؟ قَالَ : السَّحُورُ ، ثُمَّ لَمْ يَقُمْ بِنَا بَقِيَّةَ الشَّهْرِ

พวกเราได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน พร้อมกับท่านรซูลุลอฮ ศอลฯ แล้วท่านไม่ได้นำ
ละหมาดพวกเราเลยสักคืน จากเดือน นั้น จนกระทั้ง เหลือเจ็ดคืน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปหนึ่งในสามของกลางคืน แล้วปรากฏว่าเมือเหลืออีกหกวัน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลือห้าวัน ท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปครึ่งคืน แล้วข้าพเจ้ากล่าวว่า”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม)
แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า “แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน แล้วเมื่อเหลืออีกสี่คืน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลืออีกสามคืน ท่านได้ชุมนุมครอบครัวของท่าน บรรดาภรรยาของท่านและบรรดาผู้คน แล้วท่านได้นำละหมาด พวกเรา จนกระทั้งพวกเราเกรงว่าจะชวดอัล-ฟัลลาห เขา(อบูซัร)กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า “อัล-ฟัลลาหนั้นคือ อะไร ท่านได้ตอบว่า คือ การรับประทานสะหูร แล้วคืนที่เหลือในเดือนนั้น ท่านก็ไม่ได้ละหมาดนำพวกเรา – หะดิษเศาะเหียะ รายงานโดยเจ้าของสุนัน

...........................

แล้วเมื่อมีหลักฐานอย่างนี้ ท่านอุมัรจะหมายถึงบิดอะฮในทางศาสนาได้อย่างไร

2. การละหมาดตารอเวียะโดยมีอิหม่ามนำนั้น ท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ส่งเสริมให้กระทำ ดังข้อความหะดิษอบีซัรรินที่ว่า

لَوْ نَفَّلْتَنَا قِيَامَ هَذِهِ اللَّيْلَةِ ؟ قَالَ : فَقَالَ : إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا قَامَ مَعَ الإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَتِهِ

ข้าพเจ้ากล่าวว่า”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม)
แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า “แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน –

........................

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท่านนบีส่งเสริม จะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร

3. การละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะ โดยการตามอิหม่ามคนเดียว ได้เกิดขึ้นก่อนคำพูด ของท่านอุมัร ที่ว่า نعمت البدعة هذه (บิดอะฮที่ดี คือ สิ่งนี้) แล้ว ดังหะดิษ อับดุรเราะหมาน บิน อับดุลกอรีย์ (ร.ฎ)

خَرَجْتُ مَعَ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِي اللَّه عَنْهم لَيْلَةً فِي رَمَضَانَ إِلَى الْمَسْجِدِ. فَإِذَا النَّاسُ أَوْزَاعٌ مُتَفَرِّقُونَ يُصَلِّي الرَّجُلُ لِنَفْسِهِ وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلاَتِهِ الرَّهْطُ. فَقَالَ عُمَرُ: إِنِّي أَرَى لَوْ جَمَعْتُ هَؤُلاَءِ عَلَى قَارِئٍ وَاحِدٍ لَكَانَ أَمْثَلَ ثُمَّ عَزَمَ فَجَمَعَهُمْ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ. ثُمَّ خَرَجْتُ مَعَهُ لَيْلَةً أُخْرَى وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بِصَلاَةِ قَارِئِهِمْ. قَالَ عُمَرُ: نِعْمَ الْبِدْعَةُ هَذِهِ وَالَّتِي يَنَامُونَ عَنْهَا أَفْضَلُ مِنِ الَّتِي يَقُومُونَ. يُرِيدُ آخِرَ اللَّيْلِ وَكَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ أَوَّلَهُ.

คืนหนึ่งในเดือนเราะมะฎอน ข้าพเจ้าได้ออกไปพร้อมกับ อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ ไปยังมัสยิด ได้พบว่าประชาชนได้แยกกันเป็นกลุ่ม ๆ คนหนึ่งละหมาดคนเดียวตามลำพัง และคนหนึ่ง ละหมาดแล้วคนกลุ่มหนึ่งละหมาดตามเขา ท่านอุมัรได้กล่าวขึ้นว่า ฉันเห็นว่า ถ้าหากฉันรวมพวกเขาเหล่านี้ ให้ตามอิหม่ามเพียงคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง ต่อมาท่านอุมัรก็ได้รวมผู้คนให้ละหมาดตามอุบัยย์ บุตร กะอับ จากนั้นฉันได้ออกไปพร้อมกับเขาในอีกคืนหนึ่ง ประชาชนกำลังละหมาดตามอิหม่ามของเขา ท่านอุมัรกล่าวว่า "นี่เป็นบิอะฮที่ดี ช่วงเวลาที่พวกเขานอนกันนั้น ดีกว่าช่วงเวลาที่พวกเขาละหมาดกิยาม เขาหมายถึงช่วงเวลาท้ายคืน แต่ประชาชนจะละหมาดกยามในตอนหัวค่ำ"- เศาะเฮียะบุคอรี กิตาบุตตะรอเวียะ
………….

คำว่า “وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلاَتِهِ الرَّهْطُ

และคนหนึ่ง ละหมาดแล้วคนกลุ่มหนึ่งละหมาดตามเขา
......
แสดงให้เห็นว่า การละหมาดตะรอเวียะ โดยการตามอิหม่ามคนเดียวก็มีมาก่อนคำพูดของท่านอุมัร ความจริงท่านอุมัร เป็นผู้ฟื้นฟูสุนนะฮที่ปรากฏในสมัยของท่านนบี ศอ็ลฯ ทั้งนี้เพราะในสมัยของเคาะลิฟะฮอบูบักร อัศเศาะดีก ท่านสาละวนอยู่กับ การปราบปรามขบถศาสนา จึงไม่มีเวลามาจัดระเบียบให้เป็นไปตามที่ท่านนบี ศอ็ล ฯเคยปฏิบัติ

4. การกระทำของอุมัรเป็นมติเห็นฟ้องของเหล่าเศาะหาบะฮ ดังหลักฐานต่อไปนี้

وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْتُ أَبَا حَنِيفَةَ عَنِ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ ؟ فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ وَلَمْ يَتَخَرَّصْهُ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا ، وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إِلَّا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلَّاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ : مِنْهُمْ عُثْمَانُ وَعَلِيٌّ وَابْنُ مَسْعُودٍ وَالْعَبَّاسُ وَابْنُهُ وَطَلْحَةُ وَالزُّبَيْرُ وَمُعَاذٌ وَأُبَيٌّ وَغَيْرُهُمْ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ ، وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمُ ، بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ

และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว

- ดู อัลอิคติยารอต ลิตะอฺลีลิลมุคตัร ของอัลมูศิลีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่ม 1 หน้า 94

............

สิ่งที่เป็นมติเห็นฟ้องของเหล่าเศาะหาบะฮ มันจะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร

5. สุนนะฮของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ไม่ใช่บิดอะฮ แต่เป็นสุนนะฮที่นบี ศอลฯ สอนให้ปฏิบัติตาม
ดังหะดิษ

ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเองที่กล่าวว่า
 ..
مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ فَسَيَرَى اخْتِلاَفاً كَثِيْرًا فعَلَيْكُمْ بِسُنَّتِىْ وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ الْمَهْدِيِّيْنَ مِنْ بَعْدِىْ عَضُّوْا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ ....

“พวกท่านคนใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อไปเขาก็จะได้เห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น หน้าที่ของพวกท่านก็คือ การปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของฉัน, และซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ผู้ปราดเปรื่องและทรงคุณธรรมหลังจากฉัน, จงกัดมัน (ซุนนะฮ์ของฉันและซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ของฉัน) ให้แน่นด้วยฟันกราม ..... ”

..................................
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นถึง ความไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ ของข้อ อ้างว่าท่านอุมัร(ร.ฎ)ทำบิดอะฮเพราะได้ทำสิ่งที่นบี ศอ็ลฯไม่เคยทำ เราสามารถทำสิ่งที่นบีศอ็ลฯไม่เคยทำได้หากเป็นสิ่งที่เห็นว่าดี

والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม





บิดอะฮที่ดี คือ สุนนะฮจริงหรือ?


มีผู้รู้ท่านหนึ่ง กล่าวว่า " บิดอะฮหะซะนะฮ คือ สุนนะฮ โดยอ้างคำพูดของอิบนุอะษีรว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80


..........

ข้อโต้แย้ง

ข้อความข้างต้นขัดกับความเป็นจริง เพราะคำว่า "บิดอะฮ"คือ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า"สุนนะฮ
บิดอะฮ์ คือ การปฏิบัติเพิ่มเติมในหลักการศาสนาที่ไม่ได้นำมาจากคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮ์ท่านนะบีมุฮัมมัด และคิดว่าการปฏิบัติเช่นนั้นจะได้ผลบุญเท่านั้นเท่านี้โดยไม่มีปรากฏในหลักฐาน

กล่าว คือ คำสอนศาสนาที่ไม่มีที่มาจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ หากสิ่งใด ตรงกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ มันเป็น" บิดอะฮ"ได้อย่างไร และบิดอะฮ กลายมาเป็นสุนนะฮได้อย่างไร เพราะท่านนบีกล่าวว่า

عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ، تمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ ، وإياكم ومحدثات الأمور ، فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة

พวกท่านจงยึดมั่นในสุนนะฮ(แบบอย่าง)ของฉัน และบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำหลังจากฉัน จงยึดถือมัน และจงกัดกรามต่อมัน(หนักแน่นอดทน) และพึงระวังสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่ในศาสนา และแท้จริงทุกสิ่งอุตริขึนใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ นั้น เป็นการหลงผิด" - บันทึกโดยอะหมัด และ อัตติรมิซีย์

ชาวอะชาอีเราะฮในปัจจุบันมักอ้างว่า ท่านเคาะลิฟะฮอุมัร ทำบิดอะฮ โดยจัดให้มีอีหม่ามนำละหมาดตะรอเวียะ ทั้งๆที่ ท่านนบีเคยทำ และท่านนบีเองก็สอนให้ตามสุนนะฮเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน แล้วสิ่งที่ท่านเคาะลิฟะฮอุมัรทำนั้น "เป็นบิดอะฮได้อย่างไร

จากหะดิษข้างต้นท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ใช้คำว่า

.... وسنة الخلفاء الراشدين (และสุนนะฮ(แบบอย่างของเคาะลิฟะอฮอัรรอชิดีน...)
ไม่ได้ใช้คำ بدعة الخلفاء الراشدين (และบิดอะฮของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน....) เพราะการกระทำของเคาะลิฟะฮในเรื่อง ศาสนา คือ สุนนะฮ ที่ท่านนบีได้รับรองไว้ มันเป็นบิดอะฮได้อย่างไร


والله أعلم بالصواب


......................
อะสัน หมัดอะดั้ม






วาทกรรม"ให้ไปขี่อูฐ"


คำว่า บิดอะฮ" ก็มักจะมีการเข้าใจสับสน บางคนมั่วถึงขนาดว่า พอมีคนมาเตือนไม่ให้ทำสิ่งที่เป็นบิดอะฮ เขากลับพูดโต้กลับมาว่า " ทำไมไปขี่อูฐ " ทำไม่ขี่เครื่องบิน เพราะนบี ไม่เคย ขี่เครื่องบิน เป็นต้น
ซึ่งที่จริงที่พูดเรื่องบิดอะฮ หมายถึงบิดอะฮ ในทางศาสนคือ
การอุตริความเชื่อหรือหลักปฏิบัติในเรื่องศาสนา ขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีคำสอนจากอัลกุรอ่านหรือหะดิษ ซึ่ง การกระทำแบบนี้เป็นข้อห้ามและท่านนบี ได้เตือนไว้

إياكم ومحدثات الأمور

พวกท่านพึงระวัง บรรดากิจการต่างๆที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่

ซึ่งหมายถึง

كل ما أحدثه الناس في دين الإسلام من البدع في العقائد والعبادات ونحوها مما لم يأت به كتاب ولا سنة ثابتة عن رسول الله صلى الله عليه وسلم، واتخذوه دينًا يعتقدونه، ويتعبدون الله به

ทุกสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่ในศาสนาอิสลาม ในเรื่อง อะกีดะฮ ,เรื่องอิบาดะฮ เป็นต้น จากสิ่งที่
อัลกุรอ่านไม่ได้นำมาและไม่ปรากฏ สุนนะฮที่แน่นอนจากรซูลุลลอฮ และพวกเขาเอามันมา
ทำเป็นศาสนา พวกเขาเชื่อมั่นและนำมันมาอิบาดะฮกับอัลลอฮ
- มัจญมัวะฟะตาวา อัลลุจญนะฮ เล่ม ๒๔ เรื่อง อะกีดะฮ
การทำบิดอะฮ นอกจากเป็นความผิดแล้ว การงานหรืออะมั้ลที่ทำนั้นจะไม่ถูกรับรอง เพราะไม่ได้เป็นคำสั่งของเจ้าของศาสนา คือ อัลลอฮ และ ศาสนาทูตของพระองค์ คือ นบีมุหัมหมัด

ท่านร่อซูลกล่าวว่า

مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ
"ใครประดิษฐ์สิ่งใหม่ในเรื่องศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากมัน มันถูกปฏิเสธ
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

เพราะฉะนั้น บิดอะฮ คือ สิ่งที่ควรระวัง ห้ามไม่ให้ทำ ไม่ใช่สิ่งที่ควรปกป้องและอนุรักษ์

والله أعلم بالصواب




อิบาดะฮในอิสลาม




เช็คมุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด กล่าวว่า

العبادات في الإسلام تقوم على أساس عظيم ، وهو أنه لا يجوز لأحد أن يتعبّد الله إلا بما شرعه الله عز وجل في كتابه ، وما جاء به نبيّه ورسوله محمد صلى الله عليه وسلم ، ومن تعبّد لله عز وجل بشيء لم يأمر الله عز وجل ورسوله به فإن الله عز وجل لا يقبل منه ذلك الشيء ، وقد أخبرنا بذلك النبي صلى الله عليه وسلم ، فعَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا قَالَتْ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ ) رواه البخاري ( كتاب الصلح / 2499

บรรดาอิบาดะฮในอิสลามนั้น ยืนอยู่บนรากฐานอันสำคัญ คือ ไม่อนุญาตให้ผู้ใด ทำการอิบาดะฮต่ออัลลอฮ นอกจากด้วยสิ่งที่อัลลอฮผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเลิศยิ่ง ได้บัญญัติไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ และสิ่งที่นบีและรอซูลของพระองค์ มุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นำมันมา และผู้ใดก็ตามทำอิบาดะฮกับอัลลอฮ ด้วยสิ่งที่อัลลอฮผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเลิศยิ่ง และรอซูลของพระองค์ไม่ได้ใช้มัน แท้จริง อัลลอฮผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเลิศยิ่ง ไม่ทรงรับสิ่งนั้นจากเขา และด้วยดังกล่าวนั้น ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกพวกเราไว้ โดยมีรายงานจากอาอิฉะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า " ท่านรซูลุ้ลลฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ

ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรา นี้ สิ่งซึ่ง ไม่ใช่อยู่ในมัน มันก็ถูกปฏิเสธ"
- รายงานโดย บุคอรี กิตาบุศศุลฮิ หะดิษ หมายเลข 2499

ฟัตวา الشيخ محمد صالح المنجد

http://islamqa.com/index.php?ref=13810&ln=ara





เมื่อหลักฐานสอนให้ถือศีลอดสุนัต กลายเป็นหลักฐานเมาลิด




น่าตกใจ เมื่อมีคนนำเอกสาร ของท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง นำหะดิษที่นบี ศอ็ลฯ ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ ถูกนำมาเป็นหลักฐานว่า นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ เป็นคนแรกที่ทำเมาลิด หะดิษดังกล่าวคือ
سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(วันที่อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
………..
วิจารณ์
หะดิษนี้ จุดโพกัสไม่ได้เน้นว่า เพราะวันเกิดของท่านนบี จึงมีสุนนะฮให้ถือศีลอด เพราะ ข้อความต่อจากนั้น ก็กล่าวอีกว่า “(และวันที่อัลกุรอ่าน)ถูกประทานลงมายังฉัน” จุดโพกัสมันอยู่ที่วันจันทร์ ท่าน รซูล ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้ถือศีลอดตะเฏาะวุอ(ศีลอดอาสา)ในวันนั้น แต่ไม่ ได้หมายถึง สุนนะฮให้ถือศีลอดเนื่องในวันเกิด
มาดูหะดิษที่ อบูฮุรัยเราะฮรายงานว่า
أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "تعرض أعمال العباد كل اثنين وخميس فأحب أن يعرض عملي وأنا صائم
แท้จริง รซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริงบรรดาการงานของบรรดาบ่าวนั้น ถูกนำเสนอในทุกๆวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้น ฉันชอบให้การงานของฉันถูกเสนอ โดยที่ฉันกำลังถือศีลอด


- والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอาดั้ม



เมื่อการรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยอบูบักร ถูกนำมาเป็นหลักฐานทำเมาลิด



มีผู้รู้บางคน อ้างว่า การรวบรวมรวมอัลกุรอ่าน ในสมัยอบูบักร์ เป็นบิดอะฮ แล้วเอากรณีดังกล่าวมาสนับสนุน การทำเมาลิต โดยอ้างว่า เป็นเป็นบิดอะฮที่ดี(บิดอะฮหะสะนะฮ)
มาดูข้อเท็จจริงดังนี้

การรวบรวมในแผ่นจารึก (การบันทึก) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

1.สมัยท่านนบี ศอ็ลฯ
สาเหตุ : เพื่อเพิ่มความแม่นยำโดยคำนึงถึงโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา
วิธีการ : บันทึกโองการแห่งอัลลอฮ์ ไว้ตามแผ่นจารึกต่างๆ เช่น ก้านอินทผลัม, กระดูก, แผ่นหิน, และอื่นๆ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ในที่เดียวกัน ทั้งนี้เพราะวะหยูยังคงประทานลงมาเรือยๆ ยังไม่จบ

2.สมัยท่านอบูบักร
สาเหตุ: ความเหวาดกลัวว่า อัลกุรอาน จะสูญสลายไปพร้อมกับการชะฮีดของบรรดาศอฮาบะฮ์ในสงครามยะมามะห์
ผู้รวบรวม : ท่าน เซด บิน ษาบิต
วิธีการ : นำอายะห์ที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านรอซู้ล พร้อมพยาน 2 คน และสำหรับโองการที่ถูกบันทึกไว้ในสมัยท่านนบี นำมาจากแผ่นจารึกต่างๆ โดยย้ายมาบันทึกและรวบรวมไว้ในคัมภีร์

3. สมัยท่านอุษมาน
สาเหตุ : ความหวั่นเกรงที่จะเกิดการขัดแย้งระหว่างแคว้นต่างๆในขณะที่แต่ละแคว้นมีการอ่านที่แตกต่างไป และทำให้เกิดการกล่าวหากันเกี่ยวกับความผิดพลาด
ผู้รวบรวม : เซด บิน ษาบิต, อับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร, ซะอีด บิน อาซ, อับดุลเราะห์มาน บิน ฮาริส
วิธีการ : คัดลอกสิ่งที่ท่านอบูบักรได้รวบรวมไว้ในคัมภีร์ต่างๆ พร้อมกับยกเลิกการอ่านเหล่านั้น คงเหลือไว้เฉพาะการอ่านของกุเรช และส่งไปยังแคว้นต่างๆ
การรวบรวมอัลอัลกุรอ่านไม่ใช่การทำบิดอะฮ

อิหม่ามสะยูฏีย์(ร.ฮ)กล่าวว่า
وَقَالَ الْحَارِثُ الْمُحَاسَبِيُّ فِي كِتَابِ فَهْمِ السُّنَنِ : كِتَابَةُ الْقُرْآنِ لَيْسَتْ بِمُحْدَثَةٍ فَإِنَّهُ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - [ ص: 211 ] كَانَ يَأْمُرُ بِكِتَابَتِهِ ، وَلَكِنَّهُ كَانَ مُفَرَّقًا فِي الرِّقَاعِ وَالْأَكْتَافِ وَالْعُسُبِ ، فَإِنَّمَا أَمَرَ الصَّدِيقِ بِنَسْخِهَا مِنْ مَكَانٍ إِلَى مَكَانٍ مُجْتَمِعًا ، وَكَانَ ذَلِكَ بِمَنْزِلَةِ أَوْرَاقٍ وُجِدَتْ فِي بَيْتِ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - فِيهَا قُرْآنٌ مُنْتَشِرٌ ، فَجَمَعَهَا جَامِعٌ ، وَرَبَطَهَا بِخَيْطٍ حَتَّى لَا يَضِيعَ مِنْهَا شَيْءٌ .
อัลหาริษ อัลมุหาสะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน ฟะฮมิอัสสุนัน ว่า การบันทึกอัลกุรอ่านนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่(หมายถึงไม่ใช่บิดอะฮ) เพราะแท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยสั่งให้บันทึกมัน แต่ว่า มัน ถูกแยกกัน อยู่ใน กระดาษ ,แผ่นหนังและ ก้านอินทผลัม แล้วความจริง อัศเศาะดีก(หมายถึงอบูบักร)ได้สั่งคัดลอกมัน จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยถูกรวมกัน และปรากฏว่าดังกล่าวนั้น อยู่ในที่ของบรรดาแผ่นกระดาษ ที่มันถูกพบในบ้านของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งในมัน คืออัลกุรอ่าน ที่ถูกให้กระจัดกระจาย แล้ว ผู้รวบรวมรวมได้รวบรวมมัน และ ได้เย็บมันด้วยเชือกด้าย จนกระทั่งไม่มีสิ่งใดจากมันสูญหาย – ดู อัลอิตกอน ฟีอุลูมิลกุรอ่น เล่ม 1 หน้า 211
............
ดังนั้นไม่ควรนำกรณีรวบรวมอัลกุรอ่านมาเป็นข้ออ้างอุตริบิดอะฮในศาสนา เพราะการรวบรวมอัลกุรอ่านเป็นรักษาคำสอนศาสนาไม่ให้สูญหาย ซึ่งต่างกับการทำเมาลิดโดยสิ้นเชิง

อิหม่ามสะยูฏีย์ กล่าวว่า
وكان غرضهم أن لا يكتب إلا من عين ما كتب بين يدي النبي(ص)لا من مجرد الحفظ .

และจุดมุ่งหมายของพวกเขา คือ จะไม่บันทึก นอกจาก ต้นฉบับของสิ่งที่ถูกบันทึก ต่อหน้าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น ไม่ใช่จากสิ่งที่ได้จำมาอย่างเดียว – ดู อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 60

รายงานจาก อับดุลลอฮ บิน อัมริน บิน อัลอาศ กล่าวว่า

جمعت القرآن ، فقرأت به كل ليلة ، فبلغ النبي (ص) فقال : أقرأه في شهر. الحديث

ข้าพเจ้า ได้รวบรวมอัลกุรอ่าน และข้าพเจ้าอ่านมันทุกคืน แล้ว ข่าวนี้ได้ถึงไปยังท่านนบี ศอ็ลฯ ท่านจึงกล่าวว่า ท่านจงอ่านมัน ทุกๆเดือน – จนจบหะดิษ
، وأصله في الصحيح.
فتح الباري: ج 9 ص 47. السنن الكبرى للنسائي، ج 5، ص 24، مسند أحمد، ج 2، ص 163، صحيح ابن حبان، ج 3، ص 33
............

มีคนอ้างว่า การรวบรวมอัลกุรอ่าน เป็นบิดอะฮ และเป็นหลักฐาน ว่า ในศาสนามีบิดอะฮที่ดี
มาดูคำอธิบายของอิบนุตัยมียะฮ

وهكذا جمع القرآن فإن المانع من جمعه على عهد رسول الله صلى الله عليه وسلم كان أن الوحي كان لا يزال ينزل فيغير الله ما يشاء ويحكم ما يريد فلو جمع في مصحف واحد لتعسر أو تعذر تغييره كل وقت فلما استقر القرآن بموته صلى الله عليه وسلم واستقرت الشريعة بموته صلى الله عليه وسلم أمن الناس من زيادة القرآن ونقصه وأمنوا من زيادة الايجاب والتحريم والمقتضي للعمل قائم بسنته صلى الله عليه وسلم فعمل المسلمون بمقتضى سنته صلى الله عليه وسلم وذلك العمل من سنته صلى الله عليه وسلم وإن كان يسمى هذا في اللغة بدعة

และในทำนองเดียวกันนี้ (ทำนองเดียวกับเรื่องละหมาดตะรอเวียะญามาอะฮ) คือ การรวบรวมอัลกุรอ่าน เพราะแท้จริง มีอุปรรคขัดขวางจากการรวบรวม ในสมัยรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งปรากฏว่า วะหยูยังคง ถูกประทานลงมาอยู่ (หมายถึงยังไม่ได้สิ้นสุดลง) เพราะอัลลอฮจะทรงเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ และทรงตัดสิน สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการ เพราะถ้าหากรวมรวมอัลกุรอ่านให้เป็นเล่มเดียว(อย่างที่ทำในสมัยอุษมาน) ก็จะเกิดความลำบาก หรือ เพราะสุดวิสัยที่จะเปลียนแปลงมัน ทุกเวลา ดังนั้น เมื่อ อัลกุรอ่านได้คงที่แล้ว(คือ การประทานได้จบสิ้นแล้ว) ด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัชชะรีอะฮ ได้คงที่แล้ว ด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มนุษย์ก็ปลอดภัยจากการเพิ่มเติมและการตัดตอนมัน และพวกเขาปลอดภัยจากการเพิ่มเติมการกำหนดหุกุมวาญิบ และหุกุมต้องห้าม (หะรอม) และ มันถูกตัดสิน สำหรับการปฏิบัติ ตามสุนนะฮ ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น บรรดามุสลิมีน ก็ปฏิบัติ ด้วยการตัดสิน /หรือความต้องการ ของสุนนะฮนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ สุนนะฮท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และหากว่า สิ่งนี้ถูกเรียกในทางภาษาว่า “บิดอะฮ”ก็ตาม ....-ดู - อิกติดออุซศิรอฏิลมุสตะกีม หน้าที่ เล่ม 2 หน้า 588-589

@@@
คำอธิบายข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนเช่นกันว่า การรวบรวมอัลกุรอ่านเป็นเล่ม ไม่ใช่บิดอะฮ เพราะสิ่งนั้น มีเหตุอุปสรรค์ที่จะทำในมัยนบี เพราะอัลกุรอ่านกำลังประทานลงมา และบางครั้ง อัลลอฮได้มีการเปลี่ยนแปลงหุกุม ซึ่งยุ่งยากที่จะแก้ไขทุกวัน แต่พอการประทานอัลกุรอ่านยุติลง และชะรีอะฮคงที่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มีการริเริ่ม รวบรวมเป็นเล่ม แบบนี้ไม่ใช่บิดอะฮ แม้ในทางภาษา เรียกว่า บิดอะฮก็ตาม และสิ่งที่คือความจำเป็นแก่มนุษย์ ที่จะได้ศึกษา และรักษาหุกุมอัลลอฮ เช่น เดียวกับการสร้างโรงเรียนศาสนา ก็เพราะมนุษย์มีความจำเป็น เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา ไม่ใช่เพิ่มเติมศาสนา และไม่ใช่ตัดตอนหุกุมศาสนา
และนี่คือ จุดมุ่งหมายของคำพูดอิบนุตัยมียะฮข้างต้น

คำพูดอิบนุตัยมียะฮที่ว่า
ما رآه المسلمون مصلحة إن كان بسبب أمر حدث بعد النبي فها هنا يجوز إحداث ما تدعو الحاجة إليه
สิ่งที่บรรดามุสลิมเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ถึงแม้ว่ามันจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยสาเหตุของกิจการที่ริเริ่มขึ้นมาใหม่หลังจากท่านนบี ศล. ฉนั้น(ประเด็น) ตรงนี้ถือว่าอนุญาตให้ริเริ่มได้กับสิ่งที่ความจำเป็นนั้นร้องหาไปยังมัน- อิกติดออุซศิรอฏิลมุสตะกีม หน้าที่ 258

@@@
คำว่า “จำเป็นในที่นี้ คือ หากไม่ทำ ก็จะเกิดผลเสียต่อประชาชน เช่น ถ้าไม่รวบรวมอัลกุรอ่าน ก็จะทำให้มนุษย์ไม่ได้รู้ศาสนาบทบัญญัติในอัลกุรอ่าน และถ้าไม่จัดให้มี โรงเรียน ,มหาลัยสอนศาสนา ก็จะไม่มีสถานที่ที่จะให้มุสลิมศึกษาศาสนาอย่างทั่วถึงและพัฒนาไปในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อผลิตบุคลากรที่เป็นผู้รู้ศาสนา ไปถ่ายทอดศาสนาต่อไป

,والله أعلم بالصواب

......................
อะสัน หมัดอะดั้ม



นางอาอีฉะฮทำนูหรีคนตายจริงหรือ




มีการอ้างการกระทำของท่านหญิงอาอีชะ (ร.ฎ)เพื่อเป็นหลักฐาน เลี้ยงอาหารเนื่องจากการตาย ดังนี้
عَنْ عَائِشَةَ زَوْجِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهَا كَانَتْ إِذَا مَاتَ الْمَيِّتُ مِنْ أَهْلِهَا فَاجْتَمَعَ لِذَلِكَ النِّسَاءُ ، ثُمَّ تَفَرَّقْنَ إِلا أَهْلَهَا وَخَاصَّتَهَا ، أَمَرَتْ بِبُرْمَةٍ مِنْ تَلْبِينَةٍ فَطُبِخَتْ ، ثُمَّ صُنِعَ ثَرِيدٌ فَصُبَّتْ التَّلْبِينَةُ عَلَيْهَا ، ثُمَّ قَالَتْ : كُلْنَ مِنْهَا ، فَإِنِّي سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُول : ( التَّلْبِينَةُ مُجِمَّةٌ لِفُؤَادِ الْمَرِيضِ ، تَذْهَبُ بِبَعْضِ الْحُزْنِ ) رواه البخاري ( 5101 ) ومسلم ( 2216 )

รายงานจาก อุรวะฮ์(หลานของท่านหญิงอาอิชะฮ์) จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยาของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า แท้จริง ท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้น เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกันเพื่อสิ่งดังกล่าว หลังจากนั้น พวกนางก็แยกย้ายกันไป นอกจากครอบครัวและบรรดาคนใกล้ชิดของนาง ดังนั้น ท่านหญิงอาอิชะฮ์จึงใช้ให้นำภาชนะหนึ่งที่มีตัลบีนะฮ์(คืออาหารที่ทำมาจากแป้งอย่างดี) แล้วนำตัลบีนะฮ์ราดบนษะรีด จากนั้นท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวว่า พวกเธอจงรับประทานมันเถิด เพราะฉันได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า (การรับประทาน)ตัลบีนะฮ์ จะทำให้ผู้ป่วยสบายใจคลายความโศรกเศร้า"
รายงานโดย อัลบุคอรี
………
ชี้แจง
ข้างต้นเป็นเรื่องของการเลี้ยงอาหารของคนในครอบครัวผู้ตายและคนใกล้ชิด ไม่ใช่ทำบุญเนื่องจากการตายแล้วเชิญบุคคลภายนอก เช่น โต๊ะละแบ มาชุมนุมกินอาหารที่บ้านผู้ตาย มีการอ่านอัลกุรอ่าน, การตะฮลีล และดุอา อุทิศบุญให้คนตายตามประเพณีนิยมในสังคม
ข้อความที่ว่า
، ثُمَّ تَفَرَّقْنَ إِلا أَهْلَهَا وَخَاصَّتَهَا ، أَمَرَتْ بِبُرْمَةٍ مِنْ تَلْبِينَةٍ فَطُبِخَتْ
หลังจากนั้น พวกนางก็แยกย้ายกันไป นอกจากครอบครัวและบรรดาคนใกล้ชิดของนาง ดังนั้น ท่านหญิงอาอิชะฮ์จึงใช้ให้นำภาชนะหนึ่งที่มีตัลบีนะฮ์(คืออาหารที่ทำมาจากแป้ง)จากนั้นทำการปรุง…..
……
เห็นได้ชัดเจนว่า คนอื่นๆที่เป็นคนนอกแยกย้ายกันกลับไปแล้ว เหลื่อแต่คนในครอบครัวและ คนที่ใกล้ชิดกับนางอาอิฉะฮเท่านั้น การอ้างกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานมาสนับสนุน การทำบุญเนื่องจากการตาย ตามประเพณีที่ทำกันปัจจุบัน เป็นการกล่าวเท็จให้แก่ท่านหญิงอาอีฉะฮ
อัลมะนาวีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
قال القرطبي: الاجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام والمبيت عندهم كل ذلك من فعل الجاهلية، قال: ونحو منه الطعام الذي يصطنعه أهل الميت في اليوم السابع، ويجتمع له الناس يريدون به القربة والترحم عليه، وهذا لم يكن فيما تقدم، ولا ينبغي للمسلمين أن يقتدوا بأهل الكفر
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์( ปราชญ์มัซฮับชาฟิอี ผู้เชี่ยวชาญด้านตัฟสีร) กล่าวว่า
การชุมนุม ที่ครอบครัวผู้ตาย และการที่พวกเขาทำอาหารกินกันและพักแรมคืน ณ ที่พวกเขา ,ทั้งหมดดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ ,เขา(อิหม่ามกุรฏุบีย) กล่าวว่า เช่น อาหารที่ครอบครัวผู้ตายทำ ในวันที่เจ็ด(ของการตาย) และ ให้บรรดาผู้คนมาร่วมชุมนุมกันสำหรับมัน ด้วยการกระทำนั้น เพื่อจุดประสงค์ที่จะทำความใกล้ชิด(อิบาดะฮต่ออัลลอฮ) และ เป็นการแสดงความสงสารต่อเขา(ผู้ตาย) และการกระทำแบบนี้ ไม่ปรากฏในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมา และไม่สมควรแก่บรรดามุสลิม ที่จะตาม (แบบอย่าง)ชาวกาเฟร ....ฟัยฎุลเกาะดีร เล่ม 1 หน้า 534
>>>>>>


والله أعلم بالصواب


.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม