อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การขาดละหมาดวันศุกร์ 3 ครั้่งติดต่อกัน

صلاة يوم الجمعة

 หากมุสลิมชายที่บรรลุศาสนภาวะ (หมายถึง เขาเริ่มมีการฝันเปียกแล้ว) หรือไม่ใช่ผู้ป่วย หรือกรณีที่มิใช่บุคคลได้รับการยกเว้นทางศาสนาโดยไม่ต้องมาละหมาดวันศุกร์(ญุมอัต) แล้วเขาไม่มาละหมาดวันศุกร์ถึง 3 ครั้งด้วยกัน พระองค์จะประทับตราเขาให้เป็นบุคคลที่หลงลืม เป็นบุคคลที่เพิกเฉยต่อการรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ นั่นหมายถึงความอัปยศที่บ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮฺซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์อย่างรุนแรงยิ่ง ดังนั้นวาญิบสำหรับมุสลิมชายจะต้องให้ความสนใจต่อการละหมาดวันศุกร์ด้วย

ท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวไว้ว่า

  •  “ บุคคลใดที่ละทิ้งการนมาซวันศุกร์ 3 ครั้งในสภาพที่เพิกเฉย (ไม่สนใจ) พระองค์อัลลอฮฺ(จะ) ทรงประทับบนหัวใจของเขา (ให้เป็นผู้ที่หลงลืม) “ (บันทึกโดยบุคอรีย์,มุสลิม,ติรฺมิซีย์,อบูดาวูด และนะสาอีย์)


การละทิ้งการละหมาดวันศุกร์ถือเป็นบาปใหญ่ ฉะนั้นจำเป็นสำหรับเขาจะต้องเตาบะฮฺ (กลับเนื้อกลับตัว) ยังพระองค์อัลลอฮฺ

โดยมีเงื่อนไขให้กระทำ 3 ข้อต่อไปนี้
 1. ให้เสียใจในสิ่งที่ตนเองกระทำความผิดที่ผ่านมา (หากร้องไห้ด้วยถือว่าประเสริฐยิ่ง)
2. ต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปละทิ้งการละหมาดวันศุกร์อีก
 3. ตั้งแต่นี้ต่อไปจะต้องละหมาดวันศุกร์ในครบทุกศุกร์ หากกระทำทั้งสามข้อข้างต้น อินชาอัลลอฮฺหวังในการอภัยโทษจากพระองค์อัลลอฮฺ



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


การถือศีลอดสุนนะฮฺ



การถือศีลอดที่เป็นสุนนะฮฺมีดังนี้

การถือศีลอดสุนนะฮฺนั้นมีให้ถือศีลอดในวันต่างๆ ต่อไปนี้

1. ถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาล
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

« مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ »

“บุคคลใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน จากนั้นเขา (ถือศีลอดสุนนะฮฺ) ต่อเนื่องอีก 6 วันของเดือนเชาวาล เช่นนี้ประหนึ่งเขาถือศีลอดตลอดทั้งปี ” 

อิมามอะหฺมัดมีทัศนะว่า “ให้ถือศีลอดสุนนะฮฺเชาวาลติดกัน หรือไม่ติดต่อกันก็ได้ ซึ่งวิธีหนึ่งจะไม่ดีกว่าอีกวิธีหนึ่ง”
ส่วนมัซฮับชาฟิอียะฮฺมีทัศนะว่า “ที่ดีแล้วควรถือศีลอดติดต่อกันทั้ง 6 วัน ภายหลังจากวันอีดิลฟิฏริเลย”

2. ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ
ท่านอบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า

وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ فَقَالَ « يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ وَالْبَاقِيَةَ »

“ท่านรสูลุลลอฮฺถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ท่านรสูลตอบว่า (การถือศีลอดสุนนะฮฺในวันดังกล่าว) จะถูกอภัยโทษให้หนึ่งปีที่ผ่านมา และอีกหนึ่งปีในอนาคต” 
ส่วนบุคคลที่อยู่ในช่วงการประกอบพิธีหัจญ์ ซึ่งวันนั้นก็ต้องไปพำนักที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ไม่ส่งเสริมให้พวกเขาถือศีลอดสุนนะฮฺในวันอะเราะฟะฮฺ
นางอุมมุลฟัฎริเล่าว่า

شَكَّ النَّاسُ فِى صِيَامِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَوْمَ عَرَفَةَ ، فَأَرْسَلْتُ إِلَيْهِ بِإِنَاءٍ فِيهِ لَبَنٌ فَشَرِبَ

“ผู้คนสงสัยเกี่ยวกับการถือศีลอด (สุนนะฮฺ) ของท่านรสูลุลอฮฺในวันอะเราะฟะฮฺ, ฉันจึงส่งภาชนะที่บรรจุนมยื่นให้แก่ท่านรสูล จากนั้นท่านรสูลก็ดื่ม (นมนั้น)” 

3. ถือศีลอดในวันอาชูรออ์
มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 มุหัรฺร็อม
ท่านอบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า

وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُورَاءَ فَقَالَ « يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ »

“ท่านรสูลุลลอฮฺถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านรสูลตอบว่า (การถือศีลอดในวันดังกล่าว) เขาจะถูกอภัยโทษให้หนึ่งปีที่ผ่านมา” 

อนึ่ง มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอดในวันที่ 9 มุหัรฺร็อมอีกด้วย

« لَئِنْ بَقِيتُ إِلَى قَابِلٍ لأَصُومَنَّ التَّاسِعَ »

“หากฉันมีชีวิตอยู่ถึงปีหน้า แน่นอนฉันจะถือศีลอดในวันที่ 9 (มุหัรฺร็อม) ด้วย” 

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า

فَلَمْ يَأْتِ الْعَامُ الْمُقْبِلُ حَتَّى تُوُفِّىَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم

“ดังนั้นยังไม่ถึงปีหน้าเลย ท่านรสูลุลลอฮฺก็สิ้นชีวิตเสียก่อน” 
แต่อย่างไรก็ตาม การถือศีลอดในวันที่ 9 มุหัรฺร็อมถือว่าเป็นสุนนะฮฺ เพราะสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺพูดเอาไว้ถือว่าเป็นสุนนะฮฺเช่นกัน

4. ถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน
ศาสนาส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนนะฮฺมากๆ ในเดือนชะอฺบาน ซึ่งท่านนบีมุหัมมัดเองก็ถือศีลอดสุนนะฮฺในเดือนชะอฺบานมากเช่นกัน
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า

وَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم اسْتَكْمَلَ صِيَامَ شَهْرٍ قَطُّ إِلاَّ رَمَضَانَ وَمَا رَأَيْتُهُ فِى شَهْرٍ أَكْثَرَ صِيَامًا مِنْهُ فِى شَعْبَانَ

“และฉันไม่เคยเห็นท่านรสูลุลลอฮฺถือศีลอดเต็มเดือนนอกจากเดือนเราะมะฎอน และฉันไม่เคยเห็นท่านรสูลถือศีลอด (สุนนะฮฺ) มากมายเท่ากับในเดือนชะอฺบานเลย” 

อีกหะดีษบทหนึ่งระบุว่า

ذَلِكَ شَهْرٌ يَغْفُلُ النَّاسُ عَنْهُ بَيْنَ رَجَبٍ وَرَمَضَانَ وَهُوَ شَهْرٌ تُرْفَعُ فِيهِ الأَعْمَالُ إِلَى رَبِّ الْعَالَمِينَ فَأُحِبُّ أَنْ يُرْفَعَ عَمَلِى وَأَنَا صَائِمٌ »

“นั่นเป็นเดือนที่อยู่ระหว่างเดือนเราะญับ กับเดือนเราะมะฎอน (คือเดือนชะอฺบาน) ผู้คนมักจะเพิกเฉยจากเดือนดังกล่าว และยังเป็นเดือนที่การงานต่างๆ จะถูกยกไปเสนอยังพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้นฉันจึงชอบให้การงานของฉันถูกยก (ในเดือนดังกล่าว) ในสภาพที่ฉันถือศีลอด” 

5. ถือศีลอดในวันจันทร์ กับวันพฤหัสบดี
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺส่วนใหญ่จะถือศีลอดในวันจันทร์กับวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ มีผู้ถามท่านรสูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านรสูลตอบว่า

« إِنَّ الأَعْمَالَ تُعْرَضُ كُلَّ اثْنَيْنِ وَخَمِيسٍ - أَوْ كُلَّ يَوْمِ اثْنَيْنِ وَخَمِيسٍ - فَيَغْفِرُ اللَّهُ لِكُلِّ مُسْلِمٍ أَوْ لِكُلِّ مُؤْمِنٍ إِلاَّ الْمُتَهَاجِرَيْنِ فَيَقُولُ أَخِّرْهُمَا »

“แท้จริงการงานต่างๆ จะถูกเสนอ (ยังอัลลอฮฺ) ทุกวันจันทร์กับวันพฤหัสบดี ดังนั้นพระองค์อัลลอฮฺจะอภัยโทษให้แก่มุสลิมทุกคน หรือมุอฺมินทุกคน ยกเว้นบุคคลสองคนที่ทะเลาะกัน จะกล่าวขึ้นว่า ประวิงเขาทั้งสองไว้ก่อน (ยังไม่อภัย จนกว่าจะคืนดีกันก่อน) ” 

6. ถือศีลอดในวันที่ 13, 14 และ15 ของเดือนอฺรับ
มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอดสุนนะฮฺในวันที่ 13, 14 และ15 ของเดือนอฺรับ
ท่านอบูซัรฺรินเล่าว่า

« يَا أَبَا ذَرٍّ إِذَا صُمْتَ مِنَ الشَّهْرِ ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ فَصُمْ ثَلاَثَ عَشْرَةَ وَأَرْبَعَ عَشْرَةَ وَخَمْسَ عَشْرَةَ »

“โอ้ท่านอบูซัรฺริน เมื่อท่านถือศีลอด 3 วันในหนึ่งเดือน ท่านจงถือศีลอดในวันที่ 13, 14 และ 15 (ของทุกเดือน) เถิด” 
อนึ่ง การทำความดี 1 เท่ากับ 10 ความดี กล่าวคือ ถือศีลอด 1 วัน เท่ากับ 10 วัน ฉะนั้น 3 วัน จึงเท่ากับ 30 วัน 1 เดือนพอดี

7. การถือศีลอดวันเว้นวัน
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

« أَحَبُّ الصِّيَامِ إِلَى اللَّهِ صِيَامُ دَاوُدَ ، كَانَ يَصُومُ يَوْمًا وَيُفْطِرُ يَوْمًا

“การถือศีลอดซึ่งเป็นที่รักยิ่ง ณ พระองค์อัลลอฮฺ คือการถือศีลอดของนบีดาวูด คือถือศีลอดหนึ่งวัน และละทิ้งการถือศีลอดหนึ่งวัน” 

8. การถือศีลอด 9 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ
นางฮุนัยดะฮฺ บุตรสาวของคอลิด ฟังจากภรรยาคนหนึ่งของท่านรสูลุลลอฮฺ โดยนางเล่าว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَصُومُ يَوْمَ تِسْعِ ذِى الْحِجَّةِ

“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺจะถือศีลอด 9 วัน (ช่วงต้น) ของเดือนซุลหิจญะฮฺ”



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


เมื่อพวกเขาไม่สนใจสุนนะฮฺ




และมันมิใช่อื่นใดนอกจากอุปมาพวกเขา...

ผู้ที่จัดงานเมาลิดฉลองวันเกิดให้ท่านนบีเสียใหญโต

 แต่ไม่ปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่าน...

ก็เสมือนดั่งผู้ที่ประดับประดาอัล-กุรฺอานเสียงดูสวยงาม

 แต่ไม่เคยอ่านมัน หรือเคยอ่านบ้าง แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติตาม

 และอุปมาเหมือนดั่งผู้ที่ตกแต่งมัสยิดอย่างเลิศหรู

 แต่ไม่เคยเข้าไปละหมาดในมัสยิดนั้น

 หรือาจจะเคยเข้าไปละหมาดบ้าง ก็แค่บางครั้งเท่านั้น...

 (ท่านเชคคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ท่านกล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฎออุศ ศิรอฏิล มุสตะกีมฯ เล่มที่ 2 หน้าที่ 124)

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


เพียงพอแล้วสำหรับสุนนะฮฺ




ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เคยกล่าวไว้ว่า
พวกท่านจงปฏิบัติตาม และและพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด แน่นอนพวกท่านถูก(กำหนดสุนนะฮฺ) ให้ (เพื่อปฏิบัติ) จนเพียงพอแล้ว (บันทึกโดยท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสืออัซ-ซุฮิดิ เล่มที่ 2 หน้า 590 หมายเลข 315 , ท่านอะหฺมัด ในหนังสือ อัซ-ซุฮิดิ หน้า 162 , ท่านอัด-ดาริมียฺ เล่มที่ 1 หน้า80 , ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ อัซะซุนนะฮฺ หน้า 23 , ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสื อัล-มัลค็อลฯ หมายเลข 204)

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

เธอคือภรรยาทีศอลีฮะห์



มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง

ผู้เป็นสามีสอนภรรยาอ่านและท่องอัลกุรอ่านเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง สามีกำลังหาสิ่งของอะไรบางอย่าง แล้วบังเอิญพบเห็นประกาศนียบัตรท่องจำอัลกุรอ่าน 30 ยุซ ซึ่งเป็นของภรรยา
เขาก็เลยถามตัวเองในใจว่า : เป็นไปได้ไงที่ภรรยาฉันท่องจำอัลกุรอ่านทั้งเล่ม แล้วมีประกาศนียบัตรด้วย ?

เขาก็เลยไปถามภรรยาเขากับเรื่องนี้

แล้วนางก็ตอบว่า : ก็เพราะว่าคุณไม่เคยถามฉัน ว่าฉันท่องจำอัลกุรอ่านหรือเปล่า ? และฉันก็เลือกที่ไม่อยากจะบอกคุณ ก็เพราะว่าฉันอยากที่จะเป็นเด็กเล็กเด็กน้อย ที่จะคอยอยู่ในการดูแลของคุณ ถ้าหากว่าฉันอ่านผิด ตัวคุณเป็นเหมือนกำบังที่ให้ความร่มเงาแก่ฉัน แต่ถ้าหากว่าฉันอ่านถูก คุณก็จะหาของขวัญและพร้อมมอบกำลังใจให้ฉันได้อ่านอัลกุรอ่านอย่างสม่ำเสมอ และฉันก็อยากจะให้คุณรู้สึกว่า ตัวคุณเองเป็นอาจารย์ที่ได้สอนสั่งฉัน จนกระทั่งสองเราจะได้พำนักในสวรรค์อันนิรันดร์

ผู้เป็นสามีรู้สึกถึงความซาบซึ้ง ที่ภรรยาเขาได้กระทำมา แล้วเขาก็ได้หลั่งน้ำตา เพราะรู้ว่าภรรยาของเขาได้มอบความรักที่ยิ่งใหญ่

แล้วเขาก็จูบที่หน้าผากของเธอ พร้อมกล่าวว่า : อัลฮัมดูลิลาฮฺ ที่อัลลอฮฺทรงได้โปรดปรานนิอฺมัตให้แก่ฉัน ด้วยภรรยาที่ศอลีฮะห์



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



บทความดีๆโดย : صفحة"حب الله" اللي بيحب ربنا يضغط لايك/ انشرها بقدر حبك لله
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

อิสลามห้ามเรียกร้องตำแหน่ง



                   ศาสนาไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดเรียกร้อง หรือขอตำแหน่งหน้าที่ใดๆ เพื่อให้ตนได้ดำรงตำแหน่งนั้น  และไม่อนุมัติที่จะมอบตำแหน่งนั้นตามที่เขาเรียกร้อง ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะมอบตำแหน่งหน้าที่กับผู้ที่เรียกร้องอยากได้ตำแหน่ง 

ปัจจุบันมิใช่แค่เรียกร้องตำแหน่งเพียงลมปากเท่านั้น แต่ยังยัดเยียดเงินเพื่อจะได้ครอบครองตำแหน่งอีกต่างหาก แน่นอนบุคคลเหล่านี้ อิสลามปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ที่จะสนับสนุนเขาขึ้นครองตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าตำแหน่งทางศาสนา ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งใดๆก็ตาม ที่ส่งผลให้เขาผู้เรียกร้องตำแหน่งได้รับตำแหน่งจากที่เขาเรียกร้องนั้น ผู้ใดยอมรับ หรือสนับผู้นั้น ถือว่าเขาปฏิเสธสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้ห้ามไว้แล้ว

รายงานจากท่านอับดุรเราะหฺมาน อิบนุ สะมุเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้กล่าวกับฉันว่า
อับดุลลอฮฺเอ๋ย ท่านอย่าได้ขอตำแหน่งหน้าที่ใดๆ เพราะถ้าท่านได้ท่านได้รับตำแหน่งเพราะการขอ ท่านก็จะถูกทำให้ละเลยต่อหน้าที่ตำแหน่งนั้น  แต่ถ้าท่านได้ตำแหน่งมาโดยไม่ได้ขอ ท่านก็จะได้รับการช่วยเหลือในตำแหน่งนั้นๆ (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1791)

รายงานจากอบู มูซา ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า
ฉันได้เข้าไปหาท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) พร้อมกับชายอีก 2 คน ซึ่งเป็นคนในตระกูลของอาของฉัน คนหนึ่งในสองคนได้กล่าวว่า
โอ้ ท่านรสูล(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ขอได้แต่งตั้งฉันให้ทำหน้าที่บางส่วนตามที่อัลลอฮฺ พระผู้ทรงอานุภาพและเกรียงไกรยิ่ง ได้ทรงมอบหมายท่าน"
 อีกคนหนึ่งก็กล่าว (กับท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) เช่นเดียวกัน ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) จึงกล่าวว่า
ฉันจะไม่ให้มีใครคนใดดูแลปกครองงานนี้ ตามที่เขาขอจะเป็น และจะไม่ให้ตำแหน่งกับใครที่เขาโลภอยากได้ตำแหน่ง (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1792)

รายงานจากท่านอบู ซัรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า
ฉันเองได้กล่าว(ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ว่า
โอ้ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ท่านจะไม่มอบงานให้ฉันทำเลยหรือ ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้เอามือของท่านตบ 2 ไหล่ของฉัน ต่อจากนั้นก้กล่าวว่า
อบู ซัรฺเอ๋ย ท่านนั้นชักอ่อนแรงแล้วนะ ในกิจการต่างๆนั้นต้องมีความไว้วางใจกัน และในกิจการต่างๆนั้น ในวันกิยามะฮฺจะมีแต่ความละอาย และความเสียใจ เว้นแต่บุคคล (ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น) ได้ตามสิทธิ์ (ยุติธรรม) และปฏิบัติหน้าที่ซึ่งในกิจการนั้นเป็นหน้าที่สำหรับเขา (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1793)


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

การซื้อหย่า (อัล-คุลอฺ์ الخلع )





การซื้อหย่า  คือ การที่สามีปลดปล่อยภรรยาของเขาให้พ้นจากพันธะกรณีของการแต่งงานโดยมีทรัพย์สินเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ฝ่ายหญิงมอบให้แก่ฝ่ายชาย

วิทยปัญญาในการบัญญัติการซื้อหย่า
เมื่อความรักระหว่างสามีภรรยาได้หายไป ความรังเกียจและเกลียดชังได้เข้ามาแทน และเมื่อมีปัญหาและอุปสรรคในการครองชีวิตคู่  และความบกพร่องของสามีภรรยาหรือคนใดคนหนึ่งได้เผยขึ้น  อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา จึงได้วางแนวทางและทางออกกับปัญหาดังกล่าว
ถ้าหากปัญหาดังกล่าวเกิดจากฝ่ายชาย อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ให้สิทธิ์แก่ฝ่ายชายด้วยการประกาศหย่า แต่ถ้าหากเกิดจากฝ่ายหญิงแท้จริงอัลลอฮฺก็ได้อนุญาตให้นางไถ่ถอนหรือซื้อหย่า ด้วยการยกทรัพย์สินจำนวนหนึ่งให้กับฝ่ายชาย จะเท่ากับ หรือน้อยกว่า หรือมากกว่าที่นางได้รับจากฝ่ายชาย ( สินสมรส ) เพื่อให้สามีปลดปล่อยนางจากพันธะกรณีแห่งการแต่งงาน 

1. อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่
﴿الطَّلَاقُ مَرَّتَانِ فَإِمْسَاكٌ بِمَعْرُوفٍ أَوْ تَسْرِيحٌ بِإِحْسَانٍ وَلَا يَحِلُّ لَكُمْ أَنْ تَأْخُذُوا مِمَّا آتَيْتُمُوهُنَّ شَيْئًا إِلَّا أَنْ يَخَافَا أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ اللهِ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ اللهِ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْهِمَا فِيمَا افْتَدَتْ بِهِ ﴾
ความว่า : การหย่านั้นมีสองครั้ง แล้วให้มีการยับยั้งไว้(ไม่หย่าขาด)โดยชอบธรรม หรือไม่ก็ให้ปล่อยไป(หย่าขาด)พร้อมด้วยการทำดี(คือไม่ทารุณและเอาเปรียบ) และไม่อนุญาตแก่พวกเจ้า ในการที่พวกเจ้า จะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง (มะฮัรหรือสินสมรส) นอกจากทั้งสองเกรงว่า จะไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮฺได้เท่านั้น ถ้าหากพวกเจ้าเกรงว่าเขาทั้งสองจะไม่ดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮฺแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาทั้งสองในสิ่งที่นางใช้มันไถ่ตัวนาง (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 229)

2. รายงานจากอิบนุอับบาส เราะฏิยัลลอฮฺอันฮุมา ว่า แท้จริงภรรยาของษาบิต อิบนุ ก็อยสฺ ได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า  โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ  ฉันไม่ตำหนิอุปนิสัยเขาและเรื่องศาสนาของเขา แต่ฉันไม่ชอบการปฏิเสธในอิสลาม (หมายความว่า หากฉันยังอยู่กับเขา ความไม่เชื่อฟังของฉันต่อสามีอาจทำให้ฉันตกอยู่ในสภาพที่ทำให้ฉันปฏิเสธอิสลามได้)  ท่านรอซูลุลอฮฺ  ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้กล่าวว่า

«أَتَرُدِّينَ عَلَيْـهِ حَدِيْقَتَـهُ؟» قَالَتْ: نَعَمْ، قَالَ رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم : «اقْبَلِ الحَدِيْقَةَ وَطَلِّقْهَا تَطْلِيقَةً».
ความว่า : "เธอจะคืนสวนให้เขาหรือไม่?" นางกล่าวว่า : ฉันยินดีคืนให้เขา ท่านรอซูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัลฮิวะสัลลัม  จึงบอกแก่ษาบิตว่า  "ท่านจงรับสวนนั้นแล้วประกาศหย่านางหนึ่งครั้ง"   ( รายงานโดย อัล-บุคอรีย์  เลขที่ 5273 )

ปัจจัยต่างๆที่อนุญาตให้ทำการซื้อหย่า
1. อนุญาตให้ทำการซื้อหย่าได้เมื่อภรรยาไม่พอใจสามีของนางอันเนื่องมาจากสามีมีบุคลิกการอยู่ร่วมกันไม่ดี หรืออุปนิสัยไม่ดี หรือมีหน้าตาและรูปร่างอัปลักษณ์ หรือเพราะกลัวมีบาปเนื่องจากไม่ให้สิทธิ์ต่อสามี และสามีควรจะตอบรับข้อเรียกร้องของนางในการซื้อหย่าหากต้นเหตุนั้นเป็นที่อนุมัติ
2.  เมื่อภรรยาไม่พอใจสามีของนางอันเนื่องจากความบกพร่องของสามีในเรื่องศาสนา เช่นสามีไม่ทำการละหมาด หรือส่ำส่อน ซึ่งนางไม่สามารถที่จะตักเตือนเขาได้ นางจำเป็นต้องหาทางเพื่อปลดปล่อยตัวเองออกจากเขา  และเมื่อเขาได้กระทำสิ่งต้องห้ามบางอย่าง แต่เขามิได้บังคับให้นางกระทำสิ่งนั้น ก็ไม่จำเป็นสำหรับนางที่จะต้องทำการซื้อหย่า  หากหญิงใดได้ขอหย่าจากสามีโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนัก กลิ่นหอมของสวนสวรรค์จะถูกห้ามสำหรับนาง

หุกุ่มการกลั่นแกล้งภรรยา
เป็นที่ต้องห้ามแก่สามีที่จะกลั่นแกล้งและทรมานภรรยาของตนเพื่อจะบังคับให้นางขอหย่าโดยหวังที่จะให้นางคืนทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่เขาได้ให้กับนางไว้ เว้นแต่กรณีที่นางได้กระทำผิดศีลธรรมอย่างชัดเจนเท่านั้นที่สามีมีสิทธิ์เรียกร้องมะฮัรส่วนหนึ่งคืนจากเธอได้
 อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا يَحِلُّ لَكُمْ أَنْ تَرِثُوا النِّسَاءَ كَرْهًا وَلَا تَعْضُلُوهُنَّ لِتَذْهَبُوا بِبَعْضِ مَا آتَيْتُمُوهُنَّ إِلَّا أَنْ يَأْتِينَ بِفَاحِشَةٍ مُبَيِّنَةٍ وَعَاشِرُوهُنَّ بِالْمَعْرُوفِ فَإِنْ كَرِهْتُمُوهُنَّ فَعَسَى أَنْ تَكْرَهُوا شَيْئًا وَيَجْعَلَ اللهُ فِيهِ خَيْرًا كَثِيرًا﴾
ความว่า : ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันการที่พวกเจ้าจะขัดขวางบรรดานางเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง นอกจากว่าพวกนางจะกระทำสิ่งลามกอันชัดแจ้งเท่านั้น และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งขณะเดียวกันอัลลอฮฺก็ทรงให้มีในสิ่งนั้น ซึ่งความดีอันมากมาย (  อัน-นิซาอฺ  - 19 )

หุกุ่มการซื้อหย่า
การซื้อหย่า คือการยกเลิก ถึงแม้จะเกิดขึ้นโดย กล่าวคำ (ถอดถอน  الخلع , ยกเลิก الفسخ , ไถ่ถอน الفداء )  แต่ถ้าหากเกิดขึ้นด้วยการกล่าวคำหย่า หรือด้วยคำหย่าที่เป็นนัย และมีความตั้งใจจะหย่าก็ถือเป็นการหย่า และฝ่ายชายไม่สามารถที่จะกล่าวถ้อยคำคืนดีกับนางได้ ถ้าต้องการกลับคืนดีก็ต้องแต่งงานใหม่และต้องมีสินสอดใหม่ หลังจากที่นางได้พ้นอิดดะฮฺหากการหย่านั้นไม่ใช่ครั้งที่สาม  

เวลาสำหรับการซื้อหย่า
อนุญาตให้ไถ่ถอนได้ทุกเวลา ขณะที่มีรอบเดือนหรือไม่มี  และหญิงที่ซื้อหย่าจะมีช่วงเวลาแห่งการรอคอย (อิดดะฮฺ) เพียงการมารอบเดือนครั้งเดียว และอนุญาตให้สามีแต่งงานกับภรรยาที่ได้ไถ่ถอนไปแล้วโดยต้องมีความยินยอมจากนาง ด้วยสัญญาแต่งงานและสินสอดใหม่ หลังจากพ้นช่วงเวลาแห่งการรอคอย (อิดดะฮฺ)

ทรัพย์สินที่ใช้ในการซื้อหย่า
ทรัพย์สินทุกอย่างที่สามารถนำมาเป็นสินสอดได้ก็สามารถใช้เป็นข้อแลกเปลี่ยนในการซื้อหย่าได้ เมื่อภรรยาได้กล่าวว่า  จงปลดปล่อยฉันด้วยเงินหนึ่งพัน(ที่นางจ่ายให้กับเขา)  แล้วสามีก็ได้ปฏิบัติ นางจะหลุดพ้นจากสามีทันที และสามีมีสิทธิ์จะได้รับเงินหนึ่งพันที่นางได้กล่าวไว้  และสามีไม่ควรเอาทรัพย์สินที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนจากนางมากกว่าสินสมรสที่เขาได้ให้กับนางไว้


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
มุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แด่ผู้ที่นอนตอนบ่าย !




รายจากท่านอนัส ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

" ท่านทั้งหลาย จงนอนตอนบ่าย แท้จริงชัยฎอนนั้นจะไม่นอนตอนบ่าย " เชคอัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดิษ ศเอฮี๊ยะ ลําดับหะดิส4431 หนังสือศอเฮี๊ยะ ญามิอฺ ศอฆีร

โอ้ผู้ที่รักแบบอย่างของมุฮัมหมัดเอ่ย ! จงฟื้นฟูแบบอย่างอันดีงาม

นี้เถิด เพราะมันกําลังจะหายไปจากประชาชาติของอิสลาม โดยการที่ประชาชาติอื่นนํามันไปใช้ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า สิ่งเหล่านี้ อิสลามสอนไว้หมดแล้ว !!



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

                         อูลุล อัลบ๊าบ

การร้องเพลงประกอบเสียงดนตรีคือกลลวงของชัยฏอน



ในเลห์กลต่างๆ ของชัยฏอน

ที่มันนำเอามาใช้หลอกผู้ที่มีความรู้ ปัญญา และศาสนาน้อย

และนำเอามาใช้จับหัวใจของพวกผู้โง่เขลา

และพวกก่อความเสื่อมเสียนั้น คือ

การฟังการโห่ร้อง การตบมือ การร้องเพลง

ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นที่ต้องห้าม

ที่ห้ามไม่ให้อัลกุรอานเล็ดลอดเข้าไปในหัวใจ

และทำให้มันเกาะแน่นอยู่กับความชั่วต่างๆ

และการฝ่าฝืน ซึ่งมันก็เป็นกุรอานของชัยฏอน

สิ่งกำบังที่หนาทึบ ที่มาขวางกั้น

ไม่ให้ไปถึงผู้ทรงปรานี(อัลลอฮฺ)

และมันก็คือหนทางที่นำไปสู่การส่มสู่ระหว่างผู้ชายกับผู้ชายด้วยกัน

และการผิดประเวณี

และด้วยสิ่งกล่าวนี้

ผู้ที่มีความรักที่ชั่วช้าก็จะได้จากคนรักของตนซึ่งที่สุดของความหวัง..

....ไม่เป็นที่สงสัยใดเลยว่าสตรีที่มีความหึงหวงทุกคนนั้น

นางจะให้ครอบครัวของนางออกห่างจากการฟังเพลง

เหมือนกับที่พวกนางออกห่างสาเหตุต่างๆของความสงสัย..

เป็นที่ทราบในหมู่คณะว่า สตรีนั้น เมื่อนางไม่ยินดีกับผู้ชาย

 เขาก็จะพยายามให้นางได้รับฟังเสียงเพลง

แล้วเมื่อนั้นเอง นางก็จะให้การโอนอ่อน

ทั้งนี้ก็เนื่องจากสตรีนั้น

ต่างมีความรู้สึกต่อเสียงต่างๆได้ไวมาก

แล้วเมื่อเสียงเกิดขึ้นด้วยการร้องเพลง

การมีความรู้สึกของนางนั้น

มันก็จะเกิดขึ้นได้ด้วย 2 ทางด้วยกัน

คือ ทางด้านเสียง และทางด้านความหมายของมัน..

...แล้วเมื่อมีกลอง เครื่องดีดสีตีเป่า และการเต้นรำ

ด้วยลำตัวที่อ่อนไปแอ่นมา

แล้วหากสตรีนั้นถูกจับได้ ด้วยการร้องเพลงใดๆ

นางก็ถูกจับได้ด้วยการร้องเพลงนี้แหละ

ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า

กี่มากน้อยแล้วที่สตรีที่เป็นอิสระ

มีเสรีภาพในตัวของนาง
ได้กลายเป็นโสเภณีคนหนึ่ง...ด้วยการ ร้องเพลง..

(อิมามอัลอัลลามะฮ์ อิบนุลกอยยิม ร่อหิมาฮุลลอฮฺ ในหนังสืออิฆอษะตุลละฮ์ฟาน เล่ม 1 หน้าที่ 242 , 248 , 264 ,265)

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ทุกการแต่งงาน(นิกะฮฺ)หญิงต้องมีวะลีย์




ศาสนาไม่อนุญาตให้หญิงมุสลิมะฮฺคนหนึ่งคนใด จัดการแต่งงาน โดยที่นางไม่มีวะลีย์ (ผู้ปกครอง) หรือนางจะจัดการแต่งงานให้กับตนเองไม่ได้ และการแต่งงานนั้นจะไม่เกิดขึ้นด้วยคำพูดของนาง การมีวะลีย์ถือเป็นเงื่อนไขในความถูกต้องของพิธีการแต่งงาน จึงวาญิบที่นางจะต้องมีวะลีย์ในการจัดการแต่งงานให้แก่นางทุกกรณี นั้นคือ ไม่ว่าหญิงที่จะจัดการแต่งงานนั้น จะเป็นผู้ที่มีอายุน้อย บรรลุศาสนภาวะ หรือยังไม่บรรลุศาสนภาวะ หรือแก่ชราภาพแล้วก็ตาม หรือไม่ว่าหญิงนั้นจะเป็นสาวโสด หรือผ่านการแต่งงานมาแล้วก็ตาม และวะลีย์ที่จะทำนิกะฮฺนั้นจะเป็นวะลีย์อักร็อบ หรือวะลีย์ลำดับใกล้ชิด อันได้แก่ ญาติผู้ชายที่ใกล้ชิดที่สุด ของหญิงผู้นั้นนั้น เช่น พ่อของนาง ปู่ของนาง พ่อของปู่ของนาง...ตามลำดับความใกล้ชิด หรือวะลีย์อับอัด หรือวะลีย์ลำดับไกลออกไป ได้แก่ วะลีย์สุลฏอน(วะลีย์อาม) ซึ่งเป็นประมุขของประชากรมุสลิม หรือวะลีย์หากิม(กอฎีย์) หรือผู้ปกครอง ผู้นำ หรือผู้พิพากษา ก็ตาม

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
 “ لا نكاح إلا بولي  
ความว่า ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงาน (หรือการแต่งงานใช้ไม่ได้) ยกเว้นจะต้องมีวะลีย์เท่านั้น  (บันทึกโดยอบูดาวูด ลำดับหะดีษที่ 2085 ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่า หะดีษข้างต้นเศาะเฮียะฮฺ)

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
 “ أيما امرأة نكحت بغير إذن وليها فنكاحها باطل فنكاحها باطل فنكاحها باطل    
 ความว่า สตรีท่านใดที่แต่งงานโดยมิได้รับอนุญาตจากวะลีย์ของนาง เช่นนี้การแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ, การแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการแต่งงานของนางนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ(บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 1102, อบูดาวูด หะดีษที่ 2083, อิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1879, ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่า หะดีษข้างต้น เศาะเฮียะฮ อ้างอิงจากหนังสือ อิรฺวาอุลเฆาะลีล ลำดับหะดีษที่ 1840)

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  กล่าวว่า
لا تزوج المرأة المرأة ولا تزوج المرأة نفسها فإن الزانية هي التي تزوج نفسها   ”
 ความว่า สตรีจะไม่แต่งงานกับสตรี และสตรีจะไม่แต่งงานด้วยตัวของนางเอง แท้จริงสตรีที่ทำซินาคือ การที่นางแต่งงานด้วยตัวของนางเอง (โดยไม่มีวะลีย์ของนาง)  (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ ลำดับหะดีษที่ 1872 ซึ่งเชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะเฮียฮฺ)

สำหรับการจัดการแต่งงานของหญิงหม้ายนั้น นอกจากต้องมีวะลีย์แล้ว จำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจากนางด้วยวาจาของที่จะจัดการแต่งงานชายใดกับนางอีกด้วย หมายความว่านางยินยอมด้วยตัวของนางเอง ว่าด้วยการตอบรับการแต่งงานของผู้มาสู่ขอด้วยคำพูดจากใจของนาง

รายงานท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  กล่าวว่า

  : [لا تنكح الأيم حتى تستأمر ، ولا تنكح البكر حتى تستأذن] قالوا : يا رسول الله ! وكيف إذنها ؟ قال : [أن تسكت] .

          ไม่อนุญาตให้หญิงหม้ายนิกาหฺ จากกว่านางจะถูกขอคำสั่งเสียก่อน และหญิงบริสุทธิ์ (ผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน) จะไม่แต่งงานจนกว่านางจะถูกขออนุญาตเสียก่อน  บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวถามว่า การยินยอมของนางเป็นเช่นไร? ท่านรสูลตอบว่า คือการนิ่งของนางนั่นเอง (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 6970)

รายงานจากนางค็อนสาอ์ อัลอันศอรียะฮฺเล่าว่า      
إن أباها زوجها وهي ثيب فكرهت ذلك فأتت رسول اللّه صلى اللّه عليه وآله وسلم فرد نكاحها‏‏‏.
          แท้จริงมีบิดา (ผู้หนึ่ง) แต่งงานลูกสาว (ของเขา) ซึ่งนางเป็นหญิงหม้าย แต่ทว่านางรังเกียจการแต่งงานครั้งนั้น นางจึงมาหาท่านรสูลุลลอฮฺ ท่านรสูลจึงยกเลิกการแต่งงานของนาง (ทันที)(บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ อบูดาวูด ติรฺมีซีย์)

และเมื่อหญิงมีวะลีย์ที่จะทำการแต่งงานให้กับนางแล้ว วะลีย์ของนางอาจจะมอบหมายให้ผู้อื่นแต่งงานแทนได้ เพราะวะลีย์รับรู้และยอมรับการแต่งงานของนางแล้ว


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

การมีหิกมะฮฺในการเผยแผ่อัล-อิสลาม





  การมีหิกมะฮฺ หรือความเหมาะสมในคำพูด การกระทำ สถาภาพ ระดับความเข้าใจ ขอบเขตการเชื่อฟังของแต่ละคน ด้วยคำตักเตือนที่ดี และความเชื่อพร้อมกับการวางตัวอย่างเหมาะสมในการดะวะฮฺเผยแผ่อัล-อิสลาม หรือการเชิญชวนมุสลิม หรือที่ไม่ใช่มุสลิม สู่แนวทางของอัลลอฮฺที่เที่ยงตรงนั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อการดาวะฮฺหรือเผยแผ่อัล-อิสลามดังกล่าว ไม่ด้วยการมีมารยาทที่ดี ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส่ การกล่าวสลาม ความอ่อนโยนสุขุม พร้อมด้วยอะกีดะฮฺที่ถูกต้อง มีความรู้ ความเข้าใจ และหลักฐาน ตลอดมีความอดทนหนักแน่นและไม่เร่งรีบที่จะเห็นผลของงานดะวะฮฺที่เรากำลังดำเนินอยู่

อิสลามถูกอุบัติขึ้นมา เพื่อให้ประชาติเผยแพร่ความถูกต้อง เมื่อเราเป็นคนหนึ่งแห่งประชาชาติอิสลาม เราจะไม่ได้รับความประเสร็ฐจนกว่าจะทำหน้าที่เผยแผ่อัล-อิสลาม ซึ่งการเผยแผ่อัล-อิสลามก็เป็นอิบาดะฮฺชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับการละหมาด หรือการถือศิลอด แต่การเผยแผ่อัล-อิสลามจะสำเร็จได้นั้นต้องมีหิกมะฮฺ ความเหมาะสมในการเผยแผ่อัล-อิสลาม เราจำต้องศึกษาทำความเข้าใจในหน้าที่และปฏิบัติอย่างดีที่สุดตามจรรยามารยาทของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดายุคแรกในการเผยแผ่อิสลาม

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَن ضَلَّ عَن سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ ( 125 ) 
"จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นะหลฺ 16:125)


ดังนั้น เราจะบรรลุการมีหิกมะฮฺในการดะวะฮฺ ด้วยการปลูกฐานแห่งเจตคติของตนเอง ด้วยหลักฐานจากอัลกิตาบและอัสสุนนะฮ พร้อมด้วยความเข้าใจของอัสสะละฟุศศอลิหฺ...


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำพูดที่มีหิกมะฮฺ ให้ข้อคิดเตือนใจ



อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า

"لا يصح لك عبودية ما دام لغير الله في قلبك بقية"

"ท่านจะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่บ่าวอย่างสมบูรณ์ ตราบใดที่หัวใจของท่านยังมีที่ว่างให้แก่สิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ"


<-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·´¯`·.¸>

<-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·´¯`·.¸>

<-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·´¯`·.¸>

เตือนด้วยรัก ทักด้วยใจ

คืนนี้เราจะมานอนเหมือนท่านนบีกัน



แต่ก่อนเราไม่รู้ว่าจะนอนเหมือนท่านอย่างไร...
แต่วันนี้ เราได้เรียนรู้ถึงสุนนะห์ ของบุรุษที่มีแบบอย่างที่ดีที่สุด
อัลฮัมดุลิลละห์ เราจะพยายามทำสุนนะห์นี้ไปตลอดชีวิตของเรา^^

" การนอนและตื่นของท่านนบี "


สิ่งที่ควรทำเมื่อจะเข้านอน

มีรายงานจากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«أَطْفِئُوا المَصَابِيْـحَ بِاللَّيلِ إذَا رَقَدْتُـمْ، وَأَغْلِقُوا الأَبْوَابَ، وَأَوْكِئُوا الأَسْقِيَةَ، وَخَـمِّرُوا الطَّعَامَ وَالشَّرَابَ»
ความว่า : “พวกท่านจงดับตะเกียงในตอนกลางคืนเมื่อพวกท่านจะนอน จงปิดประตูลงกลอน จงปิดมัดปากภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด และจงครอบอาหารและเครื่องดื่ม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3280 และมุสลิม หมายเลข 2012)

ล้างมือให้หมดคราบมันก่อนจะนอน 
มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า :
«مَنْ نَامَ وَفِي يَدِهِ غَمَرٌ وَلَمْ يَغْسِلْهُ فَأَصَابَهُ شَيْءٌ، فَلَا يَلُومَنَّ إِلَّا نَفْسَهُ»
ความว่า : “ผู้ใดเข้านอนแล้วที่มือของเขามีกลิ่นไขมันและเขาไม่ได้ล้างมือ แล้วก็เกิดสิ่งหนึ่งกับตัวเขา เขาก็จงอย่ากล่าวโทษนอกจากต่อตัวเอง" (หะดีษ เศาะฮีหฺ, บันทึกโดย อบู ดาวูด หมายเลข 3852 ตามสำนวนนี้, อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 1860)

คุณค่าของการนอนโดยที่มีน้ำละหมาด 
มีรายงานจากมุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَبِيتُ عَلَى ذِكْرٍ طَاهِرًا، فَيَتَعَارُّ مِنَ اللَّيْلِ، فَيَسْأَلُ اللَّهَ خَيْرًا مِنَ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ إِلاَّ أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»
ความว่า : “ไม่มีมุสลิมคนใดที่นอนด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺโดยที่เขามีน้ำละหมาดแล้วตกใจตี่นในตอนกลางคืนแล้วเขาก็ขอความดีงามของโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺจากอัลลอฮฺ เว้นแต่พระองค์จะประทานสิ่งนั้นให้กับเขา” (เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 22048, อบู ดาวูด หมายเลข 5042 เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 4216 และ บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 3881 เศาะฮีหฺ สุนัน อิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3131)

อายะฮฺอัลกุรอานที่มุสลิมควรอ่านก่อนจะนอน
1. มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า :
أَنَّ النَّبِىَّ صلى الله عليه وسلم كَانَ إِذَا أَوَى إِلَى فِرَاشِهِ كُلَّ لَيْلَةٍ جَمَعَ كَفَّيْهِ ثُمَّ نَفَثَ فِيهِمَا فَقَرَأَ فِيهِمَا ( قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ ) وَ ( قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ ) وَ ( قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ )، ثُمَّ يَمْسَحُ بِهِمَا مَا اسْتَطَاعَ مِنْ جَسَدِهِ يَبْدَأُ بِهِمَا عَلَى رَأْسِهِ وَوَجْهِهِ وَمَا أَقْبَلَ مِنْ جَسَدِهِ يَفْعَلُ ذَلِكَ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ทุก ๆ คืนเมื่อท่านเข้าไปยังที่นอนของท่าน ท่านจะรวบสองฝ่ามือของท่านเข้าด้วยกัน จากนั้นท่านจะเป่าลมลงในฝ่ามือทั้งสองแล้วก็อ่านซูเราะฮฺ กุลฮุวัลลอฮุอะหัด (ซูเราะฮฺอัลอิคลาส) ซูเราะฮฺ กุลอะอูซุบิร็อบบิลฟะลัก (ซูเราะฮฺอัลฟะลัก) และซูเราะฮฺ กุลอะอูซุบิร็อบบินนาส (ซูเราะฮฺอันนาส) เสร็จแล้วท่านก็จะเอามือทั้งสองลูบตามตัวทั่วเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยท่านจะใช้มือทั้งสองเริ่มลูบจากศรีษะ ใบหน้า และด้านหน้าของลำตัวก่อน ซึ่งท่านจะทำอย่างนั้นเป็นจำนวนสามครั้งด้วยกัน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5017)

2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า:
وَكَّلَنِي رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم بِـحِفْظِ زَكَاةِ رَمَضَانَ، فَأَتَانِي آتٍ فَجَعَلَ يَـحْثُو مِنَ الطَّعَامِ، فَأَخَذْتُـهُ فَقُلْتُ: لأَرْفَعَنَّكَ إلَى رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم ـ فَقَصَّ الحَدِيثَ- فَقَالَ: إذَا أَوَيْتَ إلَى فِرَاشِكَ فَاقْرَأْ آيَةَ الكُرْسِيِّ، لَـمْ يَزَلْ مَعَكَ مِنَ الله حَافِظٌ، وَلا يَـقْرَبُكَ شَيْطَانٌ حَتَّى تُصْبِـحَ، فَقَالَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم: «صَدَقَكَ وَهُوَ كَذُوبٌ، ذَاكَ شَيْطَانٌ»
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้มอบหมายให้ฉันดูแลซะกาตเราะมะฎอน จู่ ๆ ก็มีคนผู้หนึ่งเข้ามาหาฉัน แล้วเขาก็เริ่มโกยอาหารส่วนหนึ่ง ฉันเลยจับเขาแล้วบอกว่า “ฉันจะฟ้องเจ้าต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อย่างแน่นอน (เขาเล่าเหตุการณ์ต่อจนกระทั่งว่า) แล้วเขาก็กล่าวว่า “เมื่อท่านจะเข้าไปยังที่นอนของท่าน ท่านก็จงอ่านอายัตอัลกุรสีย์แล้วอัลลอฮฺจะเป็นผู้คุ้มครองท่านเสมอ อีกทั้งชัยฏอนก็ไม่สามารถจะเข้าใกล้ท่านได้จนถึงท่านตื่นเช้า” (เมื่ออบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าเรื่องนี้แก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ท่านนบีก็บอกว่า “เขาบอกความจริงกับท่านทั้ง ๆ ที่ตัวเองเป็นนักโกหก นั้นแหล่ะคือตัวชัยฏอน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ในลักษณะตะอฺลีก หมายเลข 5010, อัน-นะสาอีย์และคนอื่น ๆ ได้สานต่อด้วยสายรายงานที่เศาะฮีหฺ ดู มุคตะศ็อร เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ โดยอัล-อัลบานีย์ 2:106)

การกล่าวตักบีร ตัสบีห และตัหมีดก่อนจะนอน
มีรายงานจากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ فَاطِمَةَ رضي الله عنها جاءت تسأل النبي خَادِمًا فَلَمْ تُوَافِقْهُ، قالت ... فَأَتَانَا وَقَدْ أخذنا مَضَاجِعَنَا ... فَقَالَ :«أَلاَ أَدُلُّكُمَا عَلَى خَيْرٍ مِمَّا سَأَلْتُمَاني؟، إِذَا أَخَذْتُمَا مَضَاجِعَكُمَا فَكَبِّرَا اللَّهَ أَرْبَعًا وَثَلاَثِينَ، وَاحْمَدَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، وَسَبِّحَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، فَإِنَّ ذَلِكَ خَيْرٌ لَكُمَا مِمَّا سَأَلْتُمَاهُ»
ความว่า : นางฟาฏิมะฮฺได้มาขอคนใช้จากท่านนบี แต่เธอกลับไม่ได้รับการตอบสนองจากท่าน เธอเล่าว่า ...”แล้วท่านก็มาหาเรา โดยที่เราได้เข้านอนแล้ว ... ท่านจึงบอกว่า จะเอาไม่ล่ะ ฉันจะแนะนำสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่เธอทั้งสองได้ขอจากฉัน ? เมื่อพวกเธอจะนอน จงกล่าวตักบีรเทิดทูนอัลลอฮฺ (อัลลอฮฺอักบัร) สามสิบสี่ครั้ง กล่าวสรรเสริญ (อัลหัมดุลิลลาฮฺ) สามสิบสามครั้ง และกล่าวตัสบีห (ซุบหานัลลอฮฺสามสิบสามครั้ง เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นดีเลิศสำหรับเธอทั้งสองกว่าสิ่งที่ได้ขอมา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3113 และมุสลิม หมายเลข 2727)

อย่ามีที่นอนหลายที่โดยไม่จำเป็น
มีรายงานจากญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเขาว่า :
«فِرَاشٌ لِلرَّجُلِ وَفِرَاشٌ لاِمْرَأَتِهِ وَالثَّالِثُ لِلضَّيْفِ، وَالرَّابِعُ لِلشَّيْطَانِ»
ความว่า : “หนึ่งที่นอนสำหรับผู้ชาย หนึ่งที่นอนสำหรับภรรยาของเขา ที่สามสำหรับแขก และที่สี่สำหรับชัยฏอน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2084)

ไม่พูดคุยหลังจากอิชาอฺยกเว้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี 
มีรายงานจากอบู บัรซะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم كَانَ لَا يُحِبُّ النَّوْمَ قَبْلَها وَلا الْحَدِيثَ بَعْدَها
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ นั้น ไม่ชอบการนอนก่อนมัน(หมายถึงก่อนละหมาดอิชาอ์) และไม่ชอบการพูดคุยหลังจากมัน(หมายถึงหลังละหมาดอิชาอ์) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 599 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 647)

การสะบัดที่นอนสามครั้ง
มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«إِذَا أَوَى أَحَدُكُمْ إِلَى فِرَاشِهِ فَلْيَنْفُضْ فِرَاشَهُ بِدَاخِلَةِ إِزَارِهِ ، فَإِنَّهُ لاَ يَدْرِى مَا خَلَفَهُ عَلَيْهِ ، ثُمَّ يَقُولُ: بِاسْمِكَ رَبِّ وَضَعْتُ جَنْبِى، وَبِكَ أَرْفَعُهُ، إِنْ أَمْسَكْتَ نَفْسِى فَارْحَمْهَا، وَإِنْ أَرْسَلْتَهَا فَاحْفَظْهَا بِمَا تَحْفَظُ بِهِ عِبَادَكَ الصَّالِحِينَ».
ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดเข้าไปยังที่นอนของเขา ขอให้เขาจงสะบัดที่นอนด้วยชายผ้าด้านในของเขา เพราะเขาไม่รู้หรอกว่าอะไรมาอยู่บนนั้นหลังจากที่เขาจากไป จากนั้นให้กล่าวว่า
بِاسْمِكَ رَبِّ وَضَعْتُ جَنْبِى، وَبِكَ أَرْفَعُهُ، إِنْ أَمْسَكْتَ نَفْسِى فَارْحَمْهَا، وَإِنْ أَرْسَلْتَهَا فَاحْفَظْهَا بِمَا تَحْفَظُ بِهِ عِبَادَكَ الصَّالِحِينَ
(ความว่า ด้วยนามของพระองค์ โอ้พระเจ้าของฉัน ฉันขอวางสีข้างลงนอน และด้วยพระองค์ฉันยกมันขึ้น หากพระองค์กักดวงวิญญานฉันไว้(ให้ฉันตาย) ก็ขอโปรดทรงปรานีต่อมัน และหากพระองค์ปล่อยมันไป(ให้ฟื้นตื่น) ก็ขอโปรดทรงคุ้มครองมันอย่างที่พระองค์ทรงคุ้มครองปวงบ่าวที่ดีทั้งหลาย) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6320 และมุสลิม หมายเลข 2714)
และในอีกสำนวนหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«فَلْيَنْفُضْهُ بِصَنِفَةِ ثَوْبِهِ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ»
ความว่า : “ขอให้เขาจงสะบัดมันด้วยชายผ้าของเขาสามครั้ง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 7393)

ให้เอาน้ำละหมาดแล้วนอนบนซีกตัวด้านขวา 
จากอัล-บัรรออฺ บิน อาซิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า:
«إذَا أَتَيْتَ مَضْجَعَكَ فَتَوَضَّأ وَضُوءَكَ لِلصَّلاةِ، ثُمَّ اضْطَجِعَ عَلَى شِقِّكَ الأَيْـمَنِ، وَقُلْ: اللَّهُـمَّ أَسْلَـمْتُ وَجْهِي إلَيْكَ، وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إلَيكَ، وَأَلْـجَأْتُ ظَهْرِي إلَيكَ، رَغْبَةً وَرَهْبَةً إلَيكَ، لَا مَلْـجَأَ وَلَا مَنْجَا مِنْكَ إلَّا إلَيكَ، آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ، وَبِنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ، فَإنْ مِتَّ، مِتَّ عَلَى الفِطْرَةِ، وَاجْعَلْـهُنَّ آخِرَ مَا تَقُولُ».
ความว่า : “เมื่อท่านจะนอน ท่านก็จงเอาน้ำละหมาดดังน้ำละหมาดเพื่อการละหมาดของท่าน จากนั้น ท่านก็จงนอนบนซีกตัวด้านขวาและกล่าวว่า
اللَّهُـمَّ أَسْلَـمْتُ وَجْهِي إلَيْكَ، وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إلَيكَ، وَأَلْـجَأْتُ ظَهْرِي إلَيكَ، رَغْبَةً وَرَهْبَةً إلَيكَ، لَا مَلْـجَأَ وَلَا مَنْجَا مِنْكَ إلَّا إلَيكَ، آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ، وَبِنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ
(แปลว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ฉันได้มอบตัวให้กับพระองค์แล้ว ฉันได้มอบหมายการงานทุกสิ่งให้กับพระองค์แล้ว และฉันได้ฝากเนื้อฝากตัวให้กับพระองค์แล้ว ด้วยความรักและความยำเกรงที่มีต่อพระองค์ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ปลอดภัยจากพระองค์นอกจากด้วยการเข้าหาพระองค์ ฉันศรัทธาแล้วต่อคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมา และต่อนบีที่พระองค์ได้ทรงส่งมา) ซึ่งถ้าหากท่านตาย ท่านก็จะตามในความบริสุทธิ์ และจงให้คำเหล่านี้เป็นคำสุดท้ายที่ท่านพูด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6311 และมุสลิม หมายเลข 2710)

คำที่ควรกล่าวเมื่อจะนอนและเมื่อตึ่น 
1. มีรายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كَانَ إِذَا أَوَى إِلَى فِرَاشِهِ قَالَ: «الْـحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي أَطْعَمَنَا وَسَقَانَا وَكَفَانَا وَآوَانَا، فَكَمْ مِمَّنْ لاَ كَافِيَ لَهُ وَلاَ مُؤْوِيَ»
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเข้าไปยังที่นอน ท่านจะกล่าวว่า
الْـحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي أَطْعَمَنَا وَسَقَانَا وَكَفَانَا وَآوَانَا، فَكَمْ مِمَّنْ لاَ كَافِيَ لَهُ وَلاَ مُؤْوِيَ
(ความว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺผู้ทรงให้อาหาร ให้เครื่องดื่ม ให้ความพอเพียง และให้การคุ้มครองต่อเรา ซึ่งยังมีคนเป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้ให้หลักประกันและให้การคุ้มครองต่อเขา) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2715)

2. ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะกล่าวดุอาอ์ว่า :
«اللَّهُـمَّ خَلَقْتَ نَفْسِي وَأَنْتَ تَوَفَّاهَا، لَكَ مَـمَاتُـهَا وَمَـحْيَاهَا، إنْ أَحْيَيْتَـهَا فَاحْفَظْـهَـا، وَإنْ أَمَتَّـهَا فَاغْفِـرْ لَـهَـا، اللَّهُـمَّ إنِّـي أَسْأَلُــكَ العَافِيَــةَ»
(ความว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! พระองค์ได้ทรงสร้างชีวิตของฉันและพระองค์จะทำให้มันตาย การตายและการเป็นของมันเป็นอำนาจของพระองค์เท่านั้น หากพระองค์ให้มันฟื้นก็จงปกป้องคุ้มครองมัน และหากพระองค์ให้มันตายก็จงประทานอภัยโทษต่อมัน โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ฉันใคร่ขอความสุขสันติจากพระองค์) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2712)

3. ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะนอนบนสีข้างด้านขวาและจะกล่าวดุอาอ์ว่า :
«اللَّهُـمَّ رَبَّ السَّمَاوَاتِ، وَرَبَّ الأَرْضِ، وَرَبَّ العَرْشِ العَظِيمِ، رَبَّنَا وَرَبَّ كُلِّ شَيْءٍ، فَالِقَ الحَبِّ وَالنَّوَى، وَمُنْزِلَ التَّورَاةِ وَالإنْجِيلِ وَالفُرْقَانِ، أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ كُلِّ شَيْءٍ أَنْتَ آخِذٌ بِنَاصِيَتِـهِ. اللَّهُـمَّ أَنْتَ الأَوَّلُ فَلَيْسَ قَبْلَكَ شَيْءٌ، وَأَنْتَ الآخِرُ فَلَيْسَ بَـعْدَكَ شَيْءٌ، وَأَنْتَ الظَّاهِرُ فَلَيْسَ فَوقَكَ شَيْءٌ، وَأَنْتَ البَاطِنُ فَلَيْسَ دُونَـكَ شَيْءٌ، اقْـضِ عَنَّا الدَّيْنَ، وَأَغْنِنَا مِنَ الفَقْرِ»
(ความว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ โอ้พระผู้ทรงเป็นพระเจ้าแห่งฟากฟ้า พระเจ้าแห่งแผ่นดิน และพระเจ้าแห่งบัลลังค์อันยิ่งใหญ่ โอ้ พระเจ้าของเราและพระเจ้าของทุกสรรพสิ่ง ผู้ทรงให้เมล็ดพืชและอินทผาลัมปริออก ผู้ทรงประทานคัมภีร์เตารอต อินญีล และอัลฟุรกอน (อัลกุรอาน) เราขอหลีกเลี่ยงด้วยพระองค์จากความชั่วร้ายของทุก ๆ สิ่งที่พระองค์ทรงเป็นผู้กุมขม่อมของมัน โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! พระองค์คือผู้แรกซึ่งไม่มีสิ่งใด ๆ ก่อนหน้าพระองค์ พระองค์คือผู้สุดท้ายซึ่งไม่มีสิ่งใดหลังจากพระองค์ พระองค์คือผู้โดดเด่นซึ่งไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าพระองค์ และพระองค์คือผู้ซ่อนเร้นซึ่งไม่มีสิ่งใดนอกเหนือจากพระองค์ ขอโปรดทรงชำระหนี้ให้เราและให้เรารอดพ้นจากความยากไร้) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2713)

4. ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะกล่าวดุอาอ์ว่า :
«اللَّهُـمَّ عَالِـمَ الغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ فاطِرَ السَّماوَاتِ والأرضِ ربَّ كُلِّ شيءٍ وَمَلِيْكَهُ أشْهَدُ أَن لَا إلٰهَ إلَّا أنتَ أعُوذُ بِكَ مِن شَرِّ نَفْسِي وَمِنْ شَرِّ الشَّيطانِ وَشِرْكِه»
(ความว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ โอ้ผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่เร้นลับและสิ่งที่โจ่งแจ้ง ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าต่างๆ และแผ่นดิน ผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่งและผู้ทรงเป็นผู้ครอบครองมัน ฉันขอเป็นพยานว่าไม่มีพระเจ้าที่ควรแก่การกราบไหว้นอกจากพระองค์ ฉันขอหลีกเลี่ยงด้วยพระองค์จากความชั่วของตัวฉัน ความชั่วของชัยฏอนและมิตรสหายของมัน) (เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอัลเฏาะยาลิสีย์ หมายเลข 9 และบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3392 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2701)

5.มีรายงานจากอัรบัรรออฺ บินอาซิบ ว่า :
أَنَّ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كانَ إِذَا نَامَ وَضَعَ يَدَهُ الْيُمْنَى تَحْتَ خَدِّهِ وَقَالَ «اللَّهُمَّ قِنِي عَذَابَكَ يَوْمَ تَبْعَثُ عِبَادَكَ»
ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านจะนอน ท่านจะวางมือขวาไว้ใต้แก้มและกล่าวว่า
اللَّهُمَّ قِنِي عَذَابَكَ يَوْمَ تَبْعَثُ عِبَادَكَ
(แปลว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงปกป้องฉันจากโทษทัณฑ์ของพระองค์ในวันที่พระองค์ทรงฟื้นชีพปวงบ่าวของพระองค์) (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 18659 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัล-เศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 2745)

6. มีรายงานจากอบู อัล-อัซฮัร อัล-อันมารีย์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า:
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كَانَ إِذَا أَخَذَ مَضْجَعَهُ مِنَ اللَّيْلِ قَالَ: «بِسْمِ اللَّهِ وَضَعْتُ جَنْبِي، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي وَأَخْسِئْ شَيْطَانِي وَفُكَّ رِهَانِي وَاجْعَلْنِي فِي النَّدِيِّ الأَعْلٰى»
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านจะนอนในตอนกลางคืนท่านจะกล่าวว่า
بِسْمِ اللَّهِ وَضَعْتُ جَنْبِي، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي وَأَخْسِئْ شَيْطَانِي وَفُكَّ رِهَانِي وَاجْعَلْنِي فِي النَّدِيِّ الأَعْلٰى
(ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺฉันล้มตัวนอน โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงยกโทษในความผิดให้แก่ฉัน ขอโปรดตะเพิดขับไล่ชัยฏอนของฉันออกไป ขอโปรดทรงปลดพันธนาการของฉัน และขอโปรดให้ฉันได้ร่วมอยู่ในสังคมชั้นสูงส่ง(คือสังคมของเหล่ามะลาอิกะฮฺ)) (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 5054 เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 4226)

7. จากหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم إِذَا أَخَذَ مَضْجَعَهُ مِنَ اللَّيْلِ وَضَعَ يَدَهُ تَحْتَ خَدِّهِ ثُمَّ يَقُولُ: «اللَّهُمَّ بِاسْمِكَ أَمُوتُ وَأَحْيَا» . وَإِذَا اسْتَيْقَظَ قَالَ: «الـْحَمْدُ لِلهِ الَّذِي أَحْيَانَا بَعْدَ مَا أَمَاتَنَا وَإِلَيْهِ النُّشُورُ»
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านเข้านอนในตอนกลางคืนท่านจะวางมือไว้ใต้แก้มและกล่าวว่า
اللَّهُمَّ بِاسْمِكَ أَمُوتُ وَأَحْيَا
(ความว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ด้วยพระนามของพระองค์ฉันตายและฉันฟื้น)
และเมื่อท่านตื่น ท่านจะกล่าวว่า
الـْحَمْدُ لِلهِ الَّذِي أَحْيَانَا بَعْدَ مَا أَمَاتَنَا وَإِلَيْهِ النُّشُورُ
(ความว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺที่ทรงฟื้นชีพเราหลังจากที่ได้ทรงทำให้เราตายไปและการฟื้นชีพใหม่จะต้องมีสู่พระองค์เท่านั้น) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6314 และมุสลิม หมายเลข 2711)

ให้เข้านอนโดยที่จิตใจไม่นึกจะโกงหรือริษยาต่อผู้ใดทั้งสิ้น
มีรายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวว่า :
سمعتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم يَقُولُ فِى رَجُلٍ مِنَ الأَنْصَارِ ثَلاَثَ مِرَارٍ: «يَطْلُعُ عَلَيْكُمُ الآنَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ» وفيه... : فَبَاتَ عِنْدَهُ عبدُاللهِ بن عَمْرٍو ثَلَاثَ لَيَالٍ، وقال له : أَرَدْتُ أَنْ آوِيَ إِلَيْكَ لِأَنْظُرَ مَا عَمَلُكَ فَأَقْتَدِيَ بِهِ، فَلَمْ أَرَكَ تَعْمَلُ كَثِيرَ عَمَلٍ، فَمَا الَّذِي بَلَغَ بِكَ مَا قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم؟ فَقَالَ: مَا هُوَ إِلاَّ مَا رَأَيْتَ. قَالَ: فَلَمَّا وَلَّيْتُ دَعَانِي. فَقَالَ: مَا هُوَ إِلاَّ مَا رَأَيْتَ غَيْرَ أَنِّي لاَ أَجِدُ فِى نَفْسِي لأَحَدٍ مِنَ الْمُسْلِمِينَ غِشًّا، وَلاَ أَحْسُدُ أَحَداً عَلَى خَيْرٍ أَعْطَاهُ اللَّهُ إِيَّاهُ. فَقَالَ عَبْدُ اللَّهِ هَذِهِ الَّتِي بَلَغَتْ بِكَ وَهِيَ الَّتِي لاَ نُطِيقُ.
ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวถึงชายชาวอันศอรผู้หนึ่งสามครั้งด้วยกัน (ท่านกล่าวว่า) “ขณะนี้ชายชาวสวรรค์ผู้หนึ่งกำลังมาถึงที่พวกท่านแล้ว “ ... แล้วอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ ก็ได้ไปค้างคืนกับเขาเป็นเวลาสามคืน และเขาบอกว่า “ที่ฉันต้องการจะอยู่กับท่านก็เพื่อจะดูว่าอะไรคือการปฏิบัติของท่านแล้วฉันก็จะได้ทำตามด้วย แต่ฉันกลับไม่เห็นท่านกระทำการหลายอย่างเลย แล้วอะไรคือสิ่งที่เป็นข่าวเกี่ยวกับตัวท่านที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้พูดถึง” เขาเลยตอบว่า “ก็ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งที่ท่านเห็นนี่แหล่ะ” เขาเล่าว่า ครั้น เมื่อฉันหันหลังกลับ เขาก็เรียกฉัน แล้วบอกว่า “ก็ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งที่ท่านเห็นนี่แหล่ะ เพียงแต่ว่าในจิตใจฉันไม่เคยมีความรู้สึกคดโกงหรือริษยาต่อมุสลิมคนใดเลยในสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานให้แก่เขา” อับดุลลอฮฺเลยกล่าวว่า “นี่แหล่ะ คือสิ่งที่เป็นข่าวเกี่ยวกับตัวท่าน และมันคือสิ่งพวกเราทำไม่ได้” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 12697 อัล-อัรนาอูฏ กล่าวว่า สายรายงานเศาะฮีหฺ)

คำที่ควรกล่าวและสิ่งที่ควรกระทำเมื่อสะดุ้งตื่นในตอนกลางคืน 
มีรายงานจากอุบาดะฮฺ บิน อัศ-ศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
«مَنْ تَعَارَّ مِنَ اللَّيْلِ فَقَالَ: لاَ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الـْمُلْكُ ، وَلَهُ الْـحَمْدُ ، وَهُوَ عَلٰى كُلِّ شَىْءٍ قَدِيرٌ . الْحَمْدُ للهِ، وَسُبْحَانَ اللهِ ، وَلاَ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ ، وَلاَ حَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ. ثُمَّ قَالَ: اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي أَوْ دَعَا؛ اسْتُجِيبَ ، فَإِنْ تَوَضَّأَ وَصَلَّى قُبِلَتْ صَلاَتُهُ»
ความว่า : “ผู้ใดที่สะดุ้งตื่นในตอนกลางคืนแล้วเขากล่าวว่า
لاَ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الـْمُلْكُ ، وَلَهُ الْـحَمْدُ ، وَهُوَ عَلٰى كُلِّ شَىْءٍ قَدِيرٌ . الْحَمْدُ للهِ، وَسُبْحَانَ اللهِ ، وَلاَ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ ، وَلاَ حَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ
(ความว่า ไม่มีพระเจ้าผู้ควรแก่กราบไหว้นอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงกับพระองค์ อำนาจทั้งหมดเป็นของพระองค์ เหล่าการสรรเสริญเป็นเพียงของพระองค์ โดยพระองค์ทรงสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ไม่มีพระเจ้าที่ควรแก่การกราบไหว้นอกจากอัลลอฮฺ อัลลอฮฺคือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด และไม่มีความสามารถและไม่มีพลังนอกจากด้วยอัลลอฮฺ)
จากนั้นเขากล่าวต่อไปว่า اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي (แปลว่า โอ้ พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงประทานอภัยให้แก่ฉัน) หรือเขาดุอาอ์ใดๆ เขาก็จะได้รับการตอบสนอง และหากเขาเอาน้ำละหมาดแล้วละหมาดๆ ของเขานั้นก็จะถูกตอบรับ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1154)

เรารักนบี ปฏิบัติตามท่านนบี ถึงจะเรียกว่ารักกันจริง


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
                  Love Sunnah-Nabi เรารักนบี

การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงาน




การที่วะลีย์จะจัดการแต่งงานให้แก่สตรีมุสลิมะฮ์คนหนึ่งนั้น การรับความคิดเห็นจากนาง หรือได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากนางนั้น มีความแตกต่างกัน 3 สภาพด้วยกันคือ

1.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงผู้ที่มีอายุน้อยที่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน

2.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ ที่ยังไม่ได้ผ่านการแต่งงาน (แม้จะเป็นหญิงแก่ชราก็ตาม)
3.การจัดการแต่งงานนิกะฮฺหญิงหม้ายหรือหญิงผู้ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้ว

การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานซึ่งมีอายุน้อยที่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน

การจัดการแต่งงานให้กับหญิง ซึ่งนางนั้นยังมีอายุน้อย และไม่เคยผ่านการแต่งงานนั้น นักวิชาการไม่มีความขัดแย้งกันแต่ประการใด ว่า พ่อของนางนั้นมีสิทธิ์ที่จะจัดการแต่งงานให้แก่เธอ โดยที่ไม่ต้องได้รับฟังความเห็น หรืออนุญาตใดๆจากเธอ

ซึ่งมีรายงานหะดิษมาว่า
ท่านอบูบักร อัศศิดดิก ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้จัดการแต่งงานลูกสาวของท่าน คือ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ให้แก่ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เธอมีอายุน้อย คือ 6 ขวบ และให้เธอได้เข้าร่วมห้องหอกับรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เธอมีอายุได้ 9 ขวบ (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านอิมามเชากานีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
ในหะดิษนั้น มีสิ่งบ่งบอกถึงว่า ให้พ่อจัดการแต่งงานลูกสาวของตน ก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะได้ และได้กล่าวเช่นเดียวกันว่า ในหะดิษนั้นมีสิ่งที่บ่งบอกถึงว่า อนุญาตให้จัดการแต่งงานสตรีที่มีอายุน้อยให้แก่ชายที่มีอายุมากได้ ซึ่งอิมามบุคอรีย์ก็ได้จัดหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวไว้ ได้นำหะดิษของท่านอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา มากล่าว และเล่าในอัลฟัตฮ์ว่า มีการเห็นพ้องต้องกัน ในเรื่องดังกล่าว (หนังสือ ไนยลุลเอาฏ้อร เล่มที่ 6 หน้าที่ 128-129)

ท่านอิมามเชากานีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ ยังได้กล่าวอีกว่า
อิบนุลมุนซิรได้กล่าวว่า
นักวิชาการทุกคนที่เราจดจำจากพวกเขาได้เห็นพ้องต้องกันว่า การที่พ่อจัดการแต่งงานให้แก่ลูกสาวของตน ที่ยังมีอายุน้อยอยู่นั้น มันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ เมื่อเขาได้จัดการแต่งงานเธอให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติครบ (หนังสือ อัลมุฆนี เล่ม 6 หน้าที่ 487)

ท่านชัยค์ ดร.ซอและฮฺ อัลเฟาซาน กล่าวว่า
และในการจัดการแต่งงานให้แก่อาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ของอบูบักร์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ ในขณะที่เธอมรอายุได้ 6 ขวบ ให้แก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น มันเป็นการโต้ตอบพวกปฏิเสธการจัดการแต่งงานผู้ที่มีอายุน้อยให้แก่ผู้มีอายุมาก พวกเขาทำให้เกิดภพที่เสียในเรื่องดังกล่าว และถือว่ามันเป็นสิ่งน่าเกลียด และอันนี้ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากความโง่เขลาของพวกเขาเท่านั้น หรือพวกเขานั้นเป็นผู้บ่อนทำลาย

การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานที่บรรลุศาสนภาวะซึ่งไม่เคยผ่านการแต่งงาน

สตรีที่ยังไม่ผ่านการแต่งงาน แต่บรรลุศาสนภาวะแล้ว การที่ผู้ปกครองจะทำการจัดแต่งงานนิกะฮฺให้แก่นางได้นั้น ต้องได้รับความเห็น หรือได้รับอนุญาตจากนางเสียก่อนเท่านั้น และการอนุญาตของเธอนั้นคือ การนิ่งของเธอนั้นเอง

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า

  : ولا تنكح البكر حتى تستأذن] قالوا : يا رسول الله ! وكيف إذنها ؟ قال : [أن تسكت] .

และสตรีที่ยังไม่ผ่านการแต่งงานมานั้น จะไม่มีใครมาแต่งงานให้แก่นางได้ จนกว่าจะมีการขออนุญาตจากเธฮเสียก่อน พวกเขากล่าวว่า โอ้ ท่านรสูลุลลอฮฺ แล้วการอนุญาตของเธอเป็นอย่างไร? ท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า การที่เธอนิ่ง (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

จากหลักฐานหะดิษ จำเป็นที่จะได้รับอนุญาตจากหญิงผู้จะถูกจัดการแต่งงาน ซึ่งนางเป็นหญิงไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน และนางได้บรรลุตามบัญญัติศาสนภาวะแล้ว ถึงแม้ผู้ที่จะจัดการแต่งงานให้แก่นางนั้น จะเป็นบิดาของนางก็ตาม และการนิ่งเฉยของนาง ศาสนาถือว่านางยินยอมให้วะลีย์จัดการแต่งงานให้นางแล้ว ส่วนการที่นางพูดออกมาเป็นคำพูดนั้นก็เป็นที่ชัดเจนอยู่ในคำพูดของนางอยู่แล้ว และเป็นทัศนะที่ถูกต้อง จากคำกล่าวของบรรดาผู้รู้

อัลลอัลลามะฮ์ อิบนุล กอยยิม ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
และอันนี้ คือ คำกล่าวของส่วนใหญ่ของสลัฟ และแนวความคิดของอิมามอบูหะนีฟะฮ์ และอะหฺมัด ในรายงานหนึ่งจากท่าน และมันก็เป็นคำกล่าวที่เรานำมาใช้ในการปฏิบัติตามอัลลอฮฺ ที่เราไม่เชื่อถือสิ่งอื่นใด นอกเหนือจากสิ่งดังกล่าว และมันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับข้อชี้ขาดของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม การสั่งใช้ของท่าน และการสั่งห้ามของท่าน (หนังสือ อัลฮัดย์ เล่มที่ 5 หน้าที่ 96)

การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้ที่จะทำการแต่งงานที่ผ่านการแต่งงานแล้ว(หญิงหม้าย)

สตรีที่ผ่านการแต่งงานแล้ว การที่วะลีย์ของนางจะจัดการแต่งงานให้แก่นางได้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากนางเสียก่อน โดยต้องได้รับอนุญาตจากนางด้วยคำพูดออกมาของนาง การนิ่งเฉยของนาง ไม่ถือว่าได้รับอนุญาตจากนางแล้ว วะลีย์จึงไม่สามารถแต่งงานให้แก่นางได้

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า

أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: " والبكر تستأمر وإذنها سكوتها" رواه مسلم

หญิงหม้ายนั้น นางมีสิทธิ์ (ตอบรับการแต่งงาน) ด้วยตัวของนางมากกว่าวะลีย์ของนาง ส่วนหญิงบริสุทธิ์นั้น นางจะต้องถูกขอคำสั่ง (จากวะลีย์ของนางด้วย) ซึ่งการยินยอมของนางคือการนิ่ง( บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 4121)

อัลลอัลลามะฮ์ อิบนุล กอยยิม ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ส่วนสตรีที่ได้ผ่านการแต่งงานมาแล้วนั้น เราก็ไม่ทราบว่ามีความขัดแย้งใดๆ ในหมู่นักวิชาการในการอนุญาตของนางด้วยการพูดออกมา เพื่อการบอกเล่า และอีกอย่างหนึ่งนั้น ลิ้นนั้นมันเป็นสิ่งที่จะแสดงออกมาถึงสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจ และมันเป็นสิ่งที่ถูกยึดถือ ในทุกที่ที่การอนุญาตถูกยึดถือในที่นั้น (หนังสือ อัลมุฆนี เล่มที่ 6 หน้าที่ 493)

ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ไตยมียะฮ์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า
สตรีนั้นไม่สมควรแก่คนหนึ่งคนใด ที่จะไปแต่งงานให้แก่นางนอกจากด้วยการอนุญาตของนางเท่านั้น เหมือนกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ใช้ แล้วหากนางไม่ชอบสิ่งดังกล่าว ก็ไม่มีใครที่จะมาบังคับให้นางแต่งงานได้ นอกจากสตรีที่ยังไม่ได้ผ่านการแต่งงานมาก่อน ที่มีอายุน้อยเท่านั้น พ่อของเธอนั้นสามารถที่จะแต่งงานให้แก่เธอได้ และเธอนั้นไม่มีการอนุญาตใดๆ ส่วนสตรีที่บรรลุศาสนภาวะ ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วนั้น ก็ไม่อนุญาตให้แต่งงานให้แก่นาง โดยไม่มีการอนุญาตของนาง จะเป็นพ่อของนาง หรือคนอื่นก็ตาม ด้วยการเห็นพ้องต้องกันของบรรดามุสลิม แล้วพ่อ และปู่นั้นก็สมควรสำหรับเขาทั้งสอง ที่จักต้องมีการขออนุญาตจากนาง          บรรดาผู้รูมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ในเรื่องของการอนุญาตของนางว่า มันเป็นสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้มีการกระทำ          และที่ถูกต้องนั้น เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็น และจำเป็นต่อผู้ปกครองของสตรี ที่จักต้องมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ในเรื่องของผู้ที่เขาจะแต่งงานนางให้แก่เขา และมองดูคู่ครองของนางว่า เขามีคุณสมบัติครบหรือไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้ว เขาแต่งงานให้นางก็เนื่องจากผลประโยชน์ของนาง ไม่ใช่ผลประโยชน์ของตัวของเขาเอง (หนังสือ มัจญ์มูอุลฟะตาวา เล่มที่ 32 หน้าที่ 39-40)

สรุป การที่วะลีย์จะจัดการแต่งงานให้กับหญิงมุสลิมคนหนึ่งนั้น การได้รับอนุญาตจากหญิงผู้นั้นมีความแตกต่างกัน คือ หากหญิงนั้นยังมีอายุน้อย ไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน วะลีย์จัดการแต่งงานให้นางได้เลย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากนาง หากหญิงนั้นบรรลุศาสนภาวะแล้ว แต่ไม่เคยผ่านการแต่งงาน ก็ต้องได้อนุญาตจากนางก่อน การนิ่งของนางถือว่านางอนุญาตแล้ว และสำหรับหญิงหม้ายนั้น ต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดเจนจากปากของนาง


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿