อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้หญิงละหมาดเหมือนกับที่ผู้ชายกระทำ

                         
                      ลักษณะการละหมาดของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รวมถึงการละหมาดชายและหญิง ซึ่งจะมีความเท่าเทียมกัน ไม่ปรากฏในสุนนะฮฺ สิ่งที่มากำหนดยกเว้นกลุ่มสตรี จากบางส่วนของสิ่งที่ได้ปรากฏตามหลักฐานไปกว่านั้น ความทั่วๆไปของคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ครอบไปถึงสตรี

จากรายงานท่านอบู กิลาบะฮฺ เล่าวว่าท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"พวกท่านจงละหมาด เสมือนพวกท่านเห็นฉันละหมาด" (หะดิษเศาะเฮี๊ยะฮฺ บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 595)
จากหะดิษระบุว่า "เสมือนพวกท่านเห็นฉันละหมาด" พวกท่านในที่นี้  หมายถึงมุสลิมทั้งมวลรวมถึงสตรีด้วย

ท่านอิบรอฮีม อันนะค่ออีย์ ได้กล่าวว่า
"ผู้หญิงกระทำในละหมาด เหมือนกับที่ผู้ชายกระทำ" (บันทึกโดยอิบนุ อบีไชยบะฮฺ (1/75/2))

รายงานจากท่านอุมมุดดัรด้าอฺ เล่าว่า
"นางได้นั่งในละหมาดของนาง เหมือนกับการนั่งของผู้ชาย และนางเป็นผู้ที่มีความเข้าใจดีในวิชาฟิกหฺ"(บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ ในตั๊ตตารี้คุศฆี้ร หน้า 95 ด้วยสายสืบที่ถูกต้อง)


والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



ผลไม้หมักก่อนกลายเป็นสุราและหลังกลายเป็นน้ำส้ม



                     สำหรับน้ำผลไม้คั้น และน้ำองุ่นหมักก่อนจะเปลี่ยนเป็นสุรา ศาสนาอนุญาตให้ดื่มได้

ดังมีหลักฐานหะดิษ

                       รายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลฮุอันฮุ เล่าว่า
“ฉันเคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยถือสิอด และฉันก็คอยปรนิบัติ การถือศิลอดของท่านด้วยน้ำองุ่นที่ฉันทำขึ้น ต่อมาฉันก็ได้นำมาให้ท่านท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมดื่ม ซึ่งมันกำลังมีปฏิกิริยา(เปลี่ยนเป็นสุรา) ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวขึ้นว่า “จงทุบมันกับฝานี้ เพราะแท้จริงเครื่องดื่มนี้สำหรับคนที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด อันนะซาอีย์ และอิบนิมาญะฮฺ)

รายงานจากท่านอิบนิ อุมัร ร่อฎียัลลฮุอันฮุ ท่านกล่าวว่า
“จงดื่มมันเถิด ตราบใดที่ชัยฏอนยังไม่มาเอามัน” และคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า “นานเท่าใดที่ชัยฏอนจะมาเอาไป”(หมายถึงเก็บไว้กี่วันจึงกลายเป็นสิ่งหะรอม) ท่านอิบนิ อุมัร ร่อฎียัลลฮุอันฮุ จึงกล่าวตอบว่า “ได้นานแค่ 3 วัน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)
*******
                        สำหรับสุราที่เปลี่ยนกลายเป็นน้ำส้มนั้น อุลามะฮฺได้ลงความเห็นว่า สุรานั้นหากกลายสภาพเป็นน้ำส้มด้วยตัวของมันเองแล้ว (คือไม่ได้ใส่เชื้อเร่ง หรือส่วนผสมอื่นๆ) ก็เป็นที่อนุมัติให้รับประทานได้




والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



ตามชาวสลัฟ


             ความจำเป็นในการปฏิบัติตามชนรุ่นก่อน(สลัฟ)คือบรรดาสาวกของท่านนบีและผู้ที่ดำเนินตามท่านเหล่านั้นด้วยดี

จำเป็นที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามชนรุ่นก่อน(อัสสลัฟ)และดำเนินตามแนวทางที่เขาเหล่านั้นเคยปฏิบัติมาในสิ่งที่เป็นศาสนกิจโดยทั่วไป และในบที่ว่าด้วยการศรัทธาต่อบรรดาพระนามและคุณลักษณะของพระองค์

เพราะว่าท่านเหล่านั้นเป็นประชาชาติที่รู้ดียิ่งกว่า แนวทางของท่านเหล่านั้นก็เป้นแนวทางที่เที่ยงตรงที่สุดและหนทางของท่านเหล่านั้นก็เป็นแนวทางที่มีความรัดกุมมากที่สุด นั่นคือการยอมรับจำนนต่อคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺที่มีปรากฎอยู่ในอัลกุรอ่านและซุนนะฮฺของท่านนบี และมีหัวใจที่เชื่อมั่นต่อคุณลักษณะของพระองค์ โดยปราศจากการปฏิเสธใดๆและยอมรับคุณลักษณะเหล่านั้นดังที่มีปรากฎมา
ท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
"พวกท่านจงยึดมั่นในแนวทางของฉันและแนวทางของบรรดาผู้ปกครองที่ปราดเปรื่องที่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องต่อจากฉัน ท่านทั้งหลายจงกัดมันไว้ด้วยกราม(ยึดถือให้มั่น ) และท่านทั้งหลายพึงระวังเป็นเนืองนิจซึ่งกิจการที่จะถูกให้มีขึ้นใหม่ ( บิดอะฮฺ ) เพราะสิ่งที่ถูกให้มีขึ้นใหม่ทุกอย่างนั้นเป็นอุตริ และการอุตริทุกอย่างนั้นเป็นการหลงทาง"(โดย อบูดาวูด 4/201. อัตติรมิซีย์ 5/44 . อัดดาริมี 1/44 .มุสนัดอิหม่ามอะหมัด 4/127)
ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ มัสอู๊ด กล่าวว่า
"ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามและจงอย่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ แท้จริงนั้น พวกท่านได้รับพอเพียงแล้ว"
--------------
จากหนังสือ หลักการเชื่อมั่นของมุสลิมรุ่แรก โดย อับดุลลอฮฺ อับดุลฆอนี ค็อยยาฏ ค่อเฏีบประจำมัสยิด อัล-หะรอม

การแต่งงานกับหญิงชาวคัมภีร์และหญิงมุชริกะฮฺ




                                   อิสลามอนุญาตให้ชายมุสลิมแต่งงานกับหญิงอิสระชาวคัมภีร์(ยะฮูดีหรือยิวส์ , นัศรอนีหรือคริสต์)ได้

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า


الْيَوْمَ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَطَعَامُ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ حِلٌّ لَّكُمْ وَطَعَامُكُمْ حِلٌّ لَّهُمْ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الْمُؤْمِنَاتِ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِن قَبْلِكُمْ إِذَا آتَيْتُمُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ مُحْصِنِينَ غَيْرَ مُسَافِحِينَ وَلَا مُتَّخِذِي أَخْدَانٍ وَمَن يَكْفُرْ بِالْإِيمَانِ فَقَدْ حَبِطَ عَمَلُهُ وَهُوَ فِي الْآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِينَ ( 5 )
"วันนี้สิ่งดี ๆ ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้น เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขาและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ ในหมู่ผู้ศรัทธาหญิงและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ในหมู่ผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อน จากพวกเจ้าก็เป็นอนุมัติแก่พวกเจ้าด้วย เมื่อพวกเจ้าได้มอบให้แก่พวกนางซึ่งมะหัร์ของพวกนางในฐานะเป็นผู้แต่งงานมิใช่เป็นผู้กระทำการซินาโดยเปิดเผย และมิใช่ยึดเอานางเป็นเพื่อน โดยกระทำซินาลับ ๆ และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธา แน่นอนงานของเขาก็ไร้ผล ขณะเดียวกันในวันปรโลกพวกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน" (อัลกุรอาน สูเราะฮิอัล-มาอิดะฮฺ 5: 5)


                          อิบนุล มุนษิร ได้กล่าวว่า ไม่มีข้อห้ามใดๆจากคนรุ่นก่อนๆ ที่จะห้ามในเรื่องดังกล่าว

รายงานจากท่าน อิบนิ อุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม เล่าว่า
เขาถูกถามเกี่ยวกับชายคนหนึ่งแต่งงานกับหญิงชาวคริสต์(นัศรอนี) หรือหญิงยะฮูดี (ยิวส์) เขาตอบว่า “อัลลอฮ์ทรงห้ามหญิงบูชาเจว็ดแก่บรรดาผู้ศรัทธาชาย และฉันไม่ทราบสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเรื่องของการชิริกที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการที่หญิงคนหนึ่งกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าของนาง คือ อีซา(เยซู) หรือคนหนนึ่งคนใดที่เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ”

                       -อุสมานร่อฎียัลลอฮุอันฮุมได้แต่งงานกับนาอิละฮฺ บุตรี อักก้อรอกิเศาะฮฺ อัลกัลป์บียะฮฺที่เป็นชาวคริสต์ ซึ่งนางได้เข้ารับอิสลามที่อุสมานนั้นเอง
                       -หุษัยฟะฮฺ ได้เคยแต่งงานกับหญิงชาวยิวส์ ที่เป็นชาวเมืองอัลมะดาอิน

                       แต่อย่างไรก็ตามการแต่งงานกับหญิงชาวคัมภีร์ ถึงแม้จะเป็นที่อนุมัติ แต่ทว่าเป็นการน่าเกลียด(มักรูฮฺ) เพราะไม่เป็นที่ปลอดภัยที่เขาจะเอนเอียงไปตามวิถีทางของนาง ก็อาจจะทำให้เสียศาสนาไป หรือพวกพ้องที่อยู่ในศาสนาของนางจะทำให้เขาหันเหออกไป

                       และหากหญิงชาวคัมภีร์ผู้นั้นเป็นหญิงที่เป็นคู่กรณีสงครามกันก็ถือเป็นการน่าเกลียดยิ่ง เพราะอาจจะเป็นสายลับให้ฝ่ายศัตรูได้

                       *****สำหรับหญิงมุชริกะฮฺ(บูชาเจว็ด) นั้น ถือว่านางไม่มีศาสนาตามหลักการอิสลาม ถึงแม้ว่านางมีหลักยึดมั่นตามลัทธิของนาง และลัทธิของนางใช้ให้นางมีความรับผิดชอบ ใช้ให้ทำความดี ห้ามมิให้นางทำความชั่วก็ตาม นั่นมันเป็นเรื่องตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่การบูชาเจว็ดนั้นมันเป็นเรื่องเหลวไหล เชื่อเรื่องโชคลาง ความฝัน และถูกไชฏอนชักนำ ซึ่งจะทำให้นางหักหลังสามี ทำให้หลักเชื่อมั่นของลูกๆต้องเสียหาย

                         ถ้าหากฝ่ายชายยังคงทึ่งในความสวยงามของนางละก็ จะเป็นการช่วยให้กระโจนเข้าไปสู่การหลงออกจากทางนำได้ เพราะการมองแต่ภาพภายนอก อันเนื่องจากความสวยของรูป จะทำให้หัวใจของเขาเปิดช่องให้ความชั่วเล็ดลอดเข้ามา บางที่ความสวยจะทำให้เกิดความหลงใหลเพลิดเพลิน สภาพของเขาก็ยิ่งแย่ลง

                          ส่วนหญิงชาวคัมภีร์ คือชาวยิวส์ และคริสต์ นั้น ระหว่างศาสนาของนางดั่งเดิมกับคนมุมินผู้ศรัทาไม่แตกต่างอะไรมากนัก

                          พวกชาวคัมภีร์เดิม ยังศรัทาต่ออัลลอฮฺ เคารพกราบไหว้พระองค์ ศรัทาต่อบรรดานบีและชีวิตปรโลก และเชื่อในผลตอบแทน และศานาของเขาก็ใช้ให้ทำความดี และห้ามความชั่ว

                          ข้อแตกต่างที่เป็นจุดสำคัญก็คือ การศรัทาต่อการเป็นรสูลของท่านนบีมูอัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และการที่พวกเขายอมศรัทธาต่อการเป็นนบีโดยทัวๆไปก็ไม่ห้ามที่เขาจะไม่ศรัทาต่อท่านนบี องค์สุดท้ายนอกจากสิ่งที่เขาไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น



والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การปราศจากเสื้อผ้าคือการกลับสู่ความเป็นเดรัจฉาน



                                    สิ่งสำคัญที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์เดรัจฉานนั้นก็คือ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวะตาอาลา ทรงตรัสว่า


يَا بَنِي آدَمَ قَدْ أَنزَلْنَا عَلَيْكُمْ لِبَاسًا يُوَارِي سَوْآتِكُمْ وَرِيشًا وَلِبَاسُ التَّقْوَىٰ ذَٰلِكَ خَيْرٌ ذَٰلِكَ مِنْ آيَاتِ اللَّهِ لَعَلَّهُمْ يَذَّكَّرُونَ ( 26 )
"ลูกหลานอาดัมเอ๋ย! แท้จริงเราได้ให้ลงมาแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งเครื่องนุ่งห่ม ทีปกปิดสิ่งที่อันน่าละอายของพวกเจ้าและเครื่องนุ่งห่มที่ให้ความสวยงาม และเครื่องนุ่งห่มแห่งความยำเกรง นั่นคือสิ่งที่ดียิ่ง นั่นแหละคือส่วนหนึ่งจากบรรดาโองการของอัลลอฮ์ เพื่อที่ว่าเขาเหล่านั้นจะได้รำลึก"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อะอฺกอฟ  7: 26)

                                       เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับนั้น ทั้งสองเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองและอารยธรรม อัตตะบัรรุจ หรือการพยายามเปิดเผยสิ่งที่จำเป็นที่ต้องปกปิด การปราศจากเสื้อผ้า เป็นการกลับไปสู่ความเดรัจฉาน และชีวิตยุคเริ่มแรกของโลก

                                      การมีชีวิตนั้น คือจะต้องดำเนินไปตามธรรมชาติของโลก ไม่อาจกลับไปสู่การถอยหลังเข้าคลองได้อีก นอกจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตที่ทำให้เปลี่ยนความคิดไปเป็นอย่างนั้น ทำให้ต้องเดินถอยหลังย้อนยุค ย้อนไปจากความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์

                                     และเมื่อปรากฏว่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นสิ่งจำเป็นแก่มนุษย์ผู้เจริญแล้ว สำหรับสตรีแล้วยิ่งต้องจำเป็นยิ่งกว่า เพราะมันจะเป็นสิ่งที่รักษาศาสนา ความมีเกียรติ และความละอายของนาง ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้ จะติดอยู่กับสตรียิ่งไปกว่าสุภาพบุรุษ ด้วยเหตุนี้ ความเรียบร้อย การรักษาตัว และเกียรติย่อมจะต้องดูแล และสมควรเป็นอย่างยิ่ง....>>>>><<<<<


والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

อัลกุรอานมีเพียงฉบับเดียวไม่เคยสังคายนาและไม่มีข้อสงสัย‏




                                  ผมชื่อยูซุฟ เอสเตส ชื่อเดิม สคิพ เอสเตส ผมเกิดในครอบครัวคริสเตียน ‘บอร์นอะเกน’ ที่เคร่งครัดในแถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา ผมศึกษาศาสนาทุกศาสนา ยกเว้นศาสนาอิสลาม เพราะผมและบรรดาศาสนาจารย์และมิชชันนารีทั้งหลายที่ผมเคยร่วมเดินทางเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วย ต่างก็เกลียดพวกมุสลิมและศาสนาอิสลามเข้ากระดูก แถมบางคนยังโกหกเพื่อให้ผู้คนเกลียดกลัวอิสลาม

                                   และในปี 1991 พ่อบอกผมว่าจะทำธุรกิจกับมุสลิมชาวอียิปต์ ได้ยินดังนั้น อารมณ์ผมสะดุดทันที ไม่มีทางที่ผมจะทำธุรกิจกับชาวมุสลิมซึ่งเป็นศัตรูกับพระเจ้า ซึ่งบรรดานักเทศน์สอนว่าพวกมุสลิมไม่เชื่อในพระเจ้า จูบพื้นวันละห้าเวลา และกราบไหว้หินดำ(กะบะฮ์)กลางทะเลทราย แต่พ่อก็หวานล้อมให้ผมพบเจอเขา และผมก็ได้เจอเขา เขาชื่อมุฮัมมัด ผมจะทำทุกวิถีทางให้เขาเข้าคริสต์ให้ได้

                                   คืนหนึ่งหลังอาหารค่ำเราทุกคนถกกันเรื่องไบเบิล เรื่องความรอด พ่อผมเอาไบเบิลฉบับคิงเจมส์(KJV) ผมเอาฉบับ Revised Sandard Version(RSV) ในฉบับของผมนี่บรรณาธิการเขียนไว้ชัดเจนว่าไบเบิลฉบับคิงเจมส์มีข้อผิดพลาดและบกพร่องเยอะมาก
 ภรรยาเอาฉบับ Good Nood for Modern Man ของจิมมี สแวกการ์ต
ส่วนบาทหลวงก็มีไบเบิลของคาทอลิก
แต่ละบทและข้อความเอามาเทียบกับฉบับอื่นไม่ได้ ไปเบิลคาทอลิมี 73 เล่ม ส่วนโปรเตสแตนท์มี 66 เล่ม
(ความแตกต่างของจำนวนเล่มอยู่ที่ไบเบิลพันธะสัญญาเก่า(คัมภีร์เตารอต) ไบเบิลโปรเตสแตนท์พันธะสัญญาเก่าเป็นสารบบปาเลสไตน์หมายถึงคัมภีร์พันธะสัญญาเก่าที่ชาวยิวปาเลสไตน์ใช้ก่อนหน้ายุคพระเยซู(ศาสนทูตอีซา) เป็นภาษาฮิบรูไบเบิลมี 39 เล่ม ส่วนไบเบิลคาทอลิกเรียกว่าสารบบอเล็กซานเดรีย(อียิปต์)เป็นไบเบิลพันธะสัญญาเก่าที่ชาวยิวในอเล็กซานเดรียใช้กันและถูกแปลเป็นภาษากรีกมี 46 เล่ม ในเดือนกรกฎาคม 1519 ในการโต้วาทีที่เมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมัน เมื่อโยฮัน เอ็คฝ่ายคาทอลิกอ้างข้อความจากหนังสือแมคคาบีฉบับที่ 2 เพื่อสนับสนุนคำสอนเรื่องไฟชำระ แต่ท่านมาร์ตินคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าหนังสือดังกล่าวไม่อยู่ในระบบ ท่านมาร์ตินได้กำหนดให้มีเฉพาะบทที่มีในคัมภีร์ยิวเท่านั้น และตัด 7 เล่มที่ไม่มีในคัมภีร์ยิวออก ท่านมาร์ตินเป็นผู้ก่อตั้งคริสต์โปรเตสแตนท์ ส่วนนิกายที่นับถือตามแนวทางท่านคือนิกายลูเทอรัน)

เมื่อถกกัน ผมก็เพิ่งรู้ว่าบางเรื่องที่ผมไม่เคยรู้มีเขียนไว้ในไบเบิลฉบับอื่นด้วย

*****ในช่วงที่เราชาวคริสต์โต้แย้งกันเรื่องไบเบิล มุฮัมมัดได้แต่ยิ้ม นั้งกอดอกฟังเฉย ไม่พูดซักคำ!

ผมก็เลยถามเขา “อัล-กุรอานของคุณมีกี่ฉบับ?”

เขาตอบว่า “อัล-กุรอานมีเพียงฉบับเดียว" เป็นภาษาอารบิกที่ยังคงใช้อยู่ทุกวันนี้ และไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงหรือสังคายนาเลยตลอดระยะเวลา 1,400 ปี”

เขายังบอกอีกว่า “ปัจจุบันมีคนนับหมื่นนับแสนสามารถท่องจำอัล-กุรอานได้ทั้งเล่ม ตั้งแต่อัล-กุรอานได้ลงมาให้มนุษย์ มีผู้คนนับล้านจดจำอัลกุรอานได้จากปกหน้าถึงปกหลังทุกตัวอักษรไม่มีผิดเพี้ยน” 

และเขายังบอกว่า “และอัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่ไม่มีข้อสงสัย”(เครียร์หมด)

    “คัมภีร์นี้ได้ประทานลงมาจากพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก เป็นคัมภีร์ที่ไม่มีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น”(อัล-กุรอาน :บทที่ 32 โองการที่ 2)

!!!!~?????ของเรามีหลายฉบับ ของเขามีฉบับเดียวแถมบอกว่าเป็นคัมภีร์ที่ไม่มีข้อสงสัย ภาษาดังเดิมของไบเบิลคือภาษาอาราเมอิก เป็นภาษาที่ตายแล้วตั้งหลายศตวรรษแถมต้นฉบับของไบเบิลก็สูญหายไปตั้งหลายศตวรรษก่อน....!!!!

                          และในที่สุด ในเดือนกรกฎาคม ปี 1991ผม ,ภรรยา ,พ่อ และบาทหลวงคาทอลิกก็ได้กล่าวชาฮาดาฮ์เข้ารับอิสลาม ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นไปโดยพระประสงค์และพระเมตตาของอัลลอฮ์ผู้นำพวกเราไปสู่สัจธรรมแห่งอิสลาม..." (ู^_^)


السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ وَبَرَكَاتُهُ



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

พึงระวังอย่าสุญูดเหมือนท่านอนของสุนัข



                         ขณะสุญูดให้เราพึงระวัง อย่าให้ข้อศอกทั้งสองราบกับพื้น ต้องยกข้อศอกทั้งสองขึ้นออกจากลำตัว เพราะการสุญูดโดยให้ข้อศอกราบกับพื้น ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า มันเสมือนกับท่านอนราบของสุนัข 

รายงานจากท่านญาบิรฺ เล่าว่า แท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่านสุญูด เขาจงยก(ข้อศอก) ขึ้นเถิด และอย่าทำให้ข้อศอกทั้งสองของเขาราบกับพื้น เสมือนท่า(นอน)ราบของสุนัข” (หะดิษเศาะเฮี๊ยะฮฺ บันทึกหะดิษโดยอัตติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 255 และนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 881)

รายงานจากท่านอัลบัรฺรออ์ เล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
“เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สุญูด ท่านรสูลจะวางมือทั้งสองของท่าน และท่านจะยกข้อศอกทั้งสองของท่าน (สูงจากพื้น)อีกด้วย” (หะดิษเศาะเฮี๊ยะฮฺ บันทึกหะดิษโดยมุสลิม  หะดิษเลขที่ 763 และอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 17760)

รายงานจากนางมัยมูนะฮฺ เล่าว่า
“เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สุญูด ท่านรสูลจะทำให้ข้อศอกออกห่างจากลำตัวจนกระทั้งว่า หากลูกแกะต้องการเดินลอดผ่านข้อศอกทั้งสองนั้น มันจะเดินผ่านไปได้” (หะดิษเศาะเฮี๊ยะฮฺ บันทึกหะดิษโดยมุสลิม  หะดิษเลขที่ 765 อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 763 และอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 25581...)


والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ท่านอิมาม อัลบานีย์ กล่าวถึงยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์



ท่านอิมาม อัลบานีย์ ได้กล่าวว่า

“ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์ เป็นผู้ที่เคยศึกษาศาสนาจากมหาวิทยาลัยอัลอัสฮัร และไม่ได้ศึกษาแนวทาง(การเข้าใจศาสนา)ตามเจตนารมณ์ของอัลกุรอานและซุนนะฮฺ คนผู้นี้ยังมักชอบออกคำวินิจฉัยปัญหาศาสนาแก่ประชาชนซึ่งสวนทางกับหลักนิติบัญญัติของอิสลาม และสำหรับในตัวเขานั้นมีหลักปรัชญาที่อันตรายมาก และหากมีบางสิ่งมายังตัวเขาอันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามหลักการศาสนา เกาะเราะฎอวีย์ ก็จะทำให้สภาพการเป็นของต้องห้ามในตัวของสิ่งนั้นอันตรธานหายไปด้วยกับโวหารของเขาว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดแจ้งในการห้ามเรื่องเหล่านั้นเลย! ฉะนั้นเขาจึงทำให้ดนตรีเป็นสิ่งที่อนุญาต”

ท่านอิมาม อัลบานีย์ กล่าวต่อไปว่า

“จงเปลี่ยนทัศนะคติของพวกท่านจากเกาะเราะฎอวีย์ เสียใหม่เถิด และจงทิ้งเขาไปเสีย สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากสิ่งที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ เพราะหากมีปัญหาใดตามในเรื่องสิ่งต้องห้ามตามหลักการศาสนาเกิดขึ้น เขาก็จะกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดแจ้งห้ามในเรื่องนั้น”

มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์, ซิลซิละตุลฮุดาวันนูร (เทปคาสเซ็ตท์), เลขที่ 362

พระนามอัลลอฮฺดีกว่าคำว่าพระเจ้าหรือ God




                       คำว่า “อัลลอฮฺ” ในภาษาอาหรับเป็นคำบริสุทธิ์และไม่เหมือนสิ่งใด ผิดกับคำว่า “พระเจ้า” หรือ “God” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำไปเล่นคำอย่างอื่นได้

                      คำว่า God ในภาษาอังกฤษ ถ้าใส่ตัว s เข้าไป มันก็กลายเป็นพหูพจน์ ซึ่งหมายถึงพระเจ้าหลายองค์ อัลลอฮฺทรงเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกพจน์ คำว่าอัลลอฮฺไม่มีพหูพจน์

                      ถ้าต่อท้ายคำว่า “dess” หลังคำว่า God มันก้จะกลายเป็น goddess ที่เป็นพระเจ้าเพศหญิง ซึ่งนั้นก็ไม่ใช่อัลลอฮฺอีกเช่นกัน อัลลอฮฺทรงไม่มีเพศ

                    ถ้าเอาคำ father ไปต่อท้าย มันก็จะกลายเป็น godfather ซึ่งหมายถึงผู้ปกครองดูแล หรือเจ้าพ่อ ซึ่งไม่มีในอิสลาม

                     ถ้าเอาคำว่า “tin” ใส่ไว้ข้างหน้า มันก็จะกลายเป็น “tingod” ซึ่งหมายถึงพระเจ้าที่ทำปลอมขึ้นมา

                     แต่คำว่าอัลลอฮฺเป็นคำที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองไม่เหมือนสิ่งใด ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดภาพทางความคิดขึ้นมา และไม่อาจถูกนำไปเล่นเป็นคำอย่างอื่น ดังนั้นมุสลิมจึงชอบพระนามอัลลอฮฺมากกว่าเมื่อจะพูดถึงพระผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งคำว่า พระเจ้า หรือคำว่า God เป็นคำนามที่ไม่เหมาะสมที่จะแทนคำอัลลอฮฺได้


والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

อิสลามกับไฟแนนซ์




                 ไฟแนนซ์คือธุรกิจที่แสวงหากำไรจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่ผ่อนชำระปกติพร้อมเงินต้นหรือดอกเบี้ยปรับล่าช้า จากการผิดนัดชำระตามวันและเวลาที่กำหนดกันไว้ ฉะนั้นการทำนิติกรรมใดๆ กับไฟแนนซ์ก็คือการเอาตัวเข้าไปผูกพันกับดอกเบี้ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                พระองค์อัลลอฮ์ ได้ทรงกล่าวว่า

 وَأَحَلَّ اللهُ البَيْعَ وَحَرَّمَ الرَبَا

“และพระองค์อัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการค้าขาย แต่ห้ามเรื่องดอกเบี้ย” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 275

                 ซึ่งการชำระปกตินี้มีดอกเบี้ยที่ควบรวมกับเงินต้นไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น

                นาย ก ซื้อรถยนต์คันหนึ่งราคา 300,000.- บาท โดยชำรำเงินสดให้กับบริษัทรถยนต์เป็นเงิน 50,000 บาทและยังคงเหลือยอดค้างชำระที่นาย ก ต้องจ่ายให้แก่บริษัทรถยนต์อีก 250,000.- บาท (นี่คือยอดเงินต้นของกรณีนี้) ดังนั้นบริษัทรถยนต์จึงให้ทำการจดนิติกรรมกับบริษัทไฟแนนซ์ หรือพูดง่ายๆว่า กู้เงินไฟแนนซ์ 250,000.- บาทเพื่อชำระให้แก่บริษัทรถยนต์ ด้วยวิธีการเช่าซื้อและถูกบังคับประกัน

                การเช่าซื้อ หมายถึง รถยนต์คันดังกล่าวนี้จะถูกจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อบริษัทไฟแนนซ์  (คือไฟแนนซ์เป็นเจ้าของ) ส่วนนาย ก ผู้เช่าซื้อนั้นได้รับสิทธิ์ครอบครอง จนกว่านาย ก จะผ่อนชำระให้แก่ไฟแนนซ์จนครบถ้วนเสียก่อน จึงจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของ นาย ก อย่างถูกต้อง

                เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของไฟแนนซ์ แน่นอนว่า เขาต้องบังคับให้ผู้เช่าซื้อทำประกันภัย ในระหว่างการผ่อนชำระ โดยผู้เอาประกันก็คือไฟแนนซ์ ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์นั่นเอง

                วิธีการคิดคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยจากการเช่าซื้อในครั้งนี้คือ เงินต้นคูณด้วยดอกเบี้ย คูณด้วยจำนวนปีที่ต้องการผ่อนชำระ หารด้วยจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระดังนี้

                เงินต้น 250,000.- บาท คูณด้วย ดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี (โดยประมาณ)  เท่ากับปีละ 20,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 3 ปีเท่ากับดอกเบี้ยทั้งหมด 60,000.-บาท รวมเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นเงิน 310,000.- บาท หลังจากนั้น หารด้วยจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระคือ 36 เดือน จะได้ยอดผ่อนชำระเดือนละ 8,612.- บาท

               ในยอดผ่อนชำระรายเดือนจำนวน 8,612.- บาทนี้ มีเงินต้นอยู่ 6,945.- บาท และดอกเบี้ย 1,667.- บาท จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยนี้ เป็นอัตราคงที่ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายที่ผ่อนชำระ แม้จะผ่อนชำระไปแล้ว 10 เดือนก็ไม่ทำให้อัตราดอกบี้ยลดลงแต่ประการใด เนื่องจากว่าได้นำเอาดอกเบี้ยทั้งหมดไปควบรวมกับเงินต้นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หรือกล่าวได้ว่า ต้นลดแต่ดอกไม่ลด โหดกว่าดอกเบี้ยธนาคารหลายเท่านัก

                ที่กล่าวมานี้คืออัตราการผ่อนชำระปกติโดยไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่เข้าใจว่าถ้าไม่ผิดสัญญาก็ไม่เป็นไร แต่ที่จริงแล้วการไม่ผิดสัญญานี้มันมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องฮารอม แน่นอน

                แต่หากผิดสัญญาเช่าซื้อ ก็ต้องเจอเบี้ยปรับล่าช้าอีก อย่างนี้คือ ฮารอม ซ้ำซ้อน !!!!!


 
والله أعلم بالصواب



โดย  อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันนี้วันอะรอฟะฮฺ


                       วันอะรอฟะฮฺเป็นวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ได้ทำการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮ. และเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการถือศิลอดสุนนะฮฺวันอะรอฟะฮฺ

นอกจากนี้วันอะรอฟะฮฺยังมีความสำคัญอื่นอีก ดังนี้

***วันอะรอฟะฮฺ(อะเราะฟะฮฺ แปลว่า พบและรูจัก) เป็นวันหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์และเป็น วันหนึ่งที่พระองค์ทรงให้ความเมตตา ของพระองค์สมบูรณ์

รายงานจาก ฎอริก อิบนุ ซิฮาบ ได้กล่าวว่า
أنََّ رجُلاً من اليهودِ قالَ لِعمرَ بنِ الخطَّابِ : يا أمير المؤمِنين ، آيةٌ في كِتابِ الله تقْرؤُونَها  ، 
لو علَينا معْشِرَ اليهودِ نَزَلَت لاتَّخَدنا دلك اليومَ عيْداً ، قال أيُّ آيةٍ ؟  قال : (اليومَ أكمَلْتُ 
لكم دينَكم وأتْمَمْتُ عليكم نعْمتِي ورَضِيتُ لكمُ الإسلامَ ديْناً) (المائدة/3) قال عمر :  قد
عرفْنا دلك اليومَ والمكانَ الدي نزَلَت فيه على النَّبِيِّ  T وهو قائِمٌ بِعرفةَ يومَ الجمُعةِ  (رواه
البخاري ومسلم)

"ยิวคนหนึ่ง ได้กล่าวแก่ท่านอุมัรว่า : แท้จริงพวกท่านได้อ่านโองการหนึ่งในคัมภีร์ของพวกท่านหรือไม่ ซึ่งหากว่าโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาให้กับพวกเราชาวยิวแล้วละก็ แน่นอนว่า เราจะเอาวันที่ประทานโองการนั้นมาเป็นวันรื่นเริง

ท่านอุมัร กล่าวว่า : แล้วมันคือโองการใดเล่า ?

พวกยิวตอบว่า : คือ โองการที่ว่า

ٱلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِى وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلإسْلاَمَ دِيناً} [المائدة: 3]. 

".....วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้ยินยอมอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว...."(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ 5:3)

ท่านอุมัร กล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ แน่นอนว่า ฉันรู้ดีถึงวันที่โองการนั้นลงมายังท่านเราะซูล ตลอดเวลาที่โองการนั้นลงมา (กล่าวคือ ถูกประทานลงมายังท่านเราะซูล ในตอนเย็นวันอะรอฟะฮ์ ที่ตรงกับวันศุกร์ เดือน ซุลฮิจญะฮ์ ที่ 10 )"  (บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม)


****วันอะรอฟะฮฺเป็นวันที่ทราบกันอยู่แล้วซึ่งเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงสรรเสริญในคัมภีร์ของพระองค์ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า :

لِّيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَّعْلُومَاتٍ عَلَىٰ مَا رَزَقَهُم مِّن بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ فَكُلُوا مِنْهَا وَأَطْعِمُوا الْبَائِسَ الْفَقِيرَ ( 28 )
“เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วม เป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮ์ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว คือวันเชือด ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเจ้าจงกินเนื้อมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ฮัจญ์ 22:28)

ท่าน อิบนู อับบาส กล่าวว่า: "วันที่รู้กันอยู่แล้ว" ก็คือ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺก็คือวันอารอฟะฮฺนั้นเอง


***วันอารอฟะฮฺเป็นวันหนึ่งที่อัลลอฮฺใช้ในการสาบานและแน่นอนเมื่ออัลลอฮฺทรงสาบานก็จะสาบานด้วยกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า :
وَشَاهِدٍ وَمَشْهُودٍ ( 3 ) 
"และด้วยผู้เป็นพยานและผู้ที่ถูกเป็นพยาน"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบุรูจญ์ 85:3)


รายงานจากท่านอบูฮูร็อยเราะฮฺ ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)กล่าวว่า:

"วันที่ถูกสัญญาคือ วันกิยามะฮ์, วันที่ถูกเป็นพยานคือ วันอารอฟะฮฺ,และผู้ที่เป็นพยานก็คือ วันศุกร์" (ติรมีซียฺ)  
                                                                                                                      
        และอัลลอฮฺทรงตรัสว่า:


وَالشَّفْعِ وَالْوَتْرِ ( 3 )
"และด้วยสิ่งที่เป็น คู่ และที่เป็นคี่" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ฟัจญ์ร 89:3)


           ท่าน อิบนู อับบาส รอดิยัลลอฮุ อันฮุ กล่าวว่า:  วันที่เป็นคู่คือ วันอีดิ้ล อัฏฮา

           ท่าน อักรอมะฮฺและท่านอัฏ เฏาะฮาก บอกว่า: วันที่เป็นคี่คือ วันอะรอฟะฮฺ


*****วันอารอฟะฮฺเป็นวันหนึ่งที่ดีที่สุดในการขอพร
ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)กล่าวว่า:
"ดุอาที่ดีที่สุดคือ ดุอาแห่งวันอารอฟะฮ์" (ศอฮียฺ อัล อัลบานียฺ)

******วันอารอฟะฮฺเป็นวันแห่งการอภัยโทษและเป็นวันแห่งการปลดปล่อยมนุษย์จากไฟ นรกและเป็นวันแห่งความสวยงามสำหรับผู้ที่อยู่ ณ ทุ่งอารอฟะฮฺ
ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)กล่าวว่า:
            "ไม่มีวันใดที่อัลลอฮ์จะทรงปลดปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากนรกมากกว่าวัน อะรอฟะฮ์และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าวของพระองค์)ต่อมวลมะลาอิกะฮฺพระองค์ทรงกล่าว(ด้วยความภาคภูมิใจ)ว่า: พวกเขาเหล่านี้ประสงค์สิ่งใดกัน?" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม)

          และในบางสายรายงานท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)กล่าว:
            "แท้จริงอัลลอฮฺทรงนำเสนอต่อมวลมะลาอิกะฮฺด้วยความภาคภูมิใจ(ในความพยายามทำความดีของบ่าวของพระองค์) ในวันอะรอฟะฮ์ของชาวอะรอฟะฮ์และพระองค์ทรงตรัสว่า : “พวกเจ้าจงดูบรรดาบ่าวของฉันซิ พวกเขาได้มาหาฉันด้วยลักษณะผมที่ยุ่งเหยิงคลุกฝุ่น”(บันทึกหะดิษโดย อิมาม อะหมัด)


อะรอฟะฮฺเป็นวันหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขอันสำคัญยิ่งในการประกอบพิธีฮัจ
ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)กล่าวว่า:
"ฮัจญ์คือ อะรอฟะฮ์"(บันทึกหะดิษโดยบุคอรี มุสลิม)

 *******ท่านนะบีอะดัมได้พบกับกับภรรยาของท่านที่ชือว่าเฮาวาอ์ ณ ที่แห่งนี้หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้นำทั้งสองลงมาจากสวรรค์

 ******ท่านนะบีอิรอฮีมได้เจอกับภรรยาของท่านและลูกชายของท่านนะบีอิสมาอีลหลังจากนะบีอิบรอฮีมได้ทิ้งทั้งแม่และลูก ณ นครมักกะฮ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้และน้ำ และกลับได้ยังถิ่นเดิมคือปาเลสไตน์



والله أعلم بالصواب


▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿





เมื่ออิสลามไม่ได้บังคับนับถือศาสนาจะเผยแพร่ด้วยดาบได้ไง



หลักเกณฑ์พื้นฐานที่กำหนดในคัมภีร์อัลกุรอาน คือ สิทธิ์เสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ดังปรากฏในอัลกุรอานซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 259 ความว่า

"ไม่มีการบังคับใดๆ(ให้นับถือ)ในศาสนาอิสลาม"

         ศาสนาอิสลามได้เน้นการนับถือศาสนาว่าเป็นเรื่องของเสรีภาพของมนุษย์ที่มีความศรัทธาอย่างไร เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลกาห์ฟี โองการที่ 29  ความว่า

"สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าดังนั้นผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ"

          อัลกุรอานได้กล่าวว่าศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนฑูต  มีหน้าที่เผยแผ่ข่าวสารของพระผู้เป็นเจ้า แต่มิได้รับมอบหมายให้บังคับมนุษย์ให้นับถือศาสนาอิสลาม ดังปรากฏใน ซูเราะฮ์ ยูนุส โองการที่ 99 ความว่า

"เจ้าจะบังคับมวลชนจนกว่าพวกเขาจะเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ"

และในซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะห์ โองการที่ 22  ความว่า

"เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา "

และในซูเราะฮ์ อัลชูรออ์ โองการที่ 48  ความว่า

"แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ (ไม่ยอมรับการเรียกร้อง)ดังนั้นเรามิได้ส่งเจ้ามายังพวกเขาเพื่อเป็นผู้คุ้มกันรักษา"

         โดยโองการดังกล่าวเหล่านั้นได้บัญญัติไว้อ่างชัดเจนว่า อัลกุรอานไม่มีการบังคับให้มีการนับถือศาสนาอิสลาม

         อิสลามได้กำหนดพิธีการต่างๆให้มุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม หากประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาอิสลาม วิธีการดังกล่าวนี้มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอานซึ่งบัญญัติให้การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นไปด้วยความเฉลียวฉลาด และการบอกกล่าวที่น่ารับฟัง ดังปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลนะห์ โองการ 125 ความว่า

"จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของเจ้า โดยสุขุมและการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า"

และในซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 83 ความว่า

"และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี"

         อัลกุรอานมีวรรคตอน (อายะฮ์) ไม่น้อยกว่า 120 วรรคตอน ที่ได้เน้นถึงบทบาทพื้นฐานสำหรับมุสลิมที่จะชักจูงให้ผู้คนนับถือศาสนาอิสลาม โดยการชักชวนยังนุ่มนวล และสุขุม และปล่อยให้ผู้ที่ถูกชักชวนตัดสินเองว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ หลังจากที่ศาสดามุฮัมมัด ได้ยึดครองมักกะฮ์ ท่านได้กล่าวแก่ชาวเมืองมักกะฮ์ว่า "ท่านมีเสรีภาพแล้ว" และท่านก็ไม่ได้บังคับให้พวกเขารับอิสลาม

         มุสลิมไม่เคยบังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนายิว หรือคริสต์ยอมรับนับถือในศสนาอิสลาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอุมัร อิบนุคอตตอบ รอฏิยัลลอฮุอันฮุ ผู้เป็นคอรีฟะฮ์ที่สอง ได้ให้หลักประกันแก่ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเล็มที่จะใช้ชีวิตของตนเองได้อย่างมั่นคง โดยมีศาสนสถานไม้กางเขน และจะไม่คุกคามสิทธิใดๆทางศาสนาของเขา

        ภายหลังจากศาสดามุฮัมมัด  อพยพไปยังนครมะดีนะฮ์แล้ว ได้บัญญัติในธรรมนูญการปกครองฉบับแรกว่าชาวยิวเป็นชาติที่อยู่ร่วมกับชาวมุสลิมในประชาคมเดียวกัน โดยท่านศาสดาได้ให้สิทธิแก่ชาวยิวที่จะปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างอิสระ

          ในหนังสือเรื่อง "Allah ist ganz anders" ( อัลลอฮ์ทรงเป็นอย่างอื่นโดยสิ้นเชิง) นาง Sigrid Hunke  นักบูรพาคดีชาวเยอรมันได้ปฏิเสธว่าอิสลามเผยแพร่ด้วยคมดาบ และได้เขียนบทความไว้ว่า "การมีขันติธรรมของชาวอาหรับ มีบทบาทสำคัญต่อการเผยแผ่ของศาสนาอิสลาม" ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดต่อข้อกล่าวหาว่า ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ด้วยไฟและคมดาบ ในข้อความอีกตอนหนึ่งของหนังสือดังกล่าว นางได้เขียนว่า "ชาวคริสต์และยิว ได้เปลี่ยนศาสนาของตนด้วยความสมัครใจ"

         เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กองทหารมุสลิมไม่เคยบุกรุกและยึดครองเอเซียใต้หรือแอฟริกาตะวันตก แต่ศาสนาอิสลามได้ขยายและงอกงามในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเหล่านั้น หลังจากที่พ่อค้าชาวมุสลิมได้เดินทางไปค้าขาย พวกมุสลิมซึ่งมีจิตใจใฝ่สันติได้สร้างความประทับใจให้แก่พลเมืองในประเทศดังกล่าว โดยประชาชนของประเทศที่อยู่ห่างไกลเหล่านั้น ได้สังเกตเห็นการกระทำ ความมีศีลธรรมตลอดจนพฤติกรรมของชาวมุสลิมจึงค่อยๆ ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามในที่สุด

ศาสตราจารย์ ดร. มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก

د. محمود حمدي زقزوق

มุฮัมมัดในไบเบิ้ลพันธสัญญาเก่า




         การปรากฏตัวของนะบีมุฮัมมัด  ได้ถูกระบุอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาต่างๆ ภายในโลก รวมทั้งในคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ สิ่งที่ระบุในคัมภีร์ไบเบิ้ล คือ พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสแก่ นะบีมูซา(Moses) อะลัยฮิสลามว่า


"I will raise them up a Prophet from among their brethren , like unto thee , and will put my words in his mouth , and he shall speak unto them all that I shall command him."

(Deuteronomy 18:18)

"ข้าจะให้พยากรณ์บังเกิดขึ้น สำหรับเขาทั้งหลาย จากในท่ามกลางพี่น้องของเขา เหมือนอย่างตัวเจ้า และข้าจะเอาถ้อยคำของข้า ใส่ในปากของเขา และผู้นั้นจะกล่าวสำแดงแก่เขาทั้งหลาย สิ่งสารพัดที่ข้าจะสั่งแก่ผู้นั้น"
 (พระบัญญัติ 18:18)

          ถ้าราถามชาวคริสต์ว่า ศาสดาผู้นั้นคือผู้ใด พวกเขาจะตอบว่า หมายถึง ศาสดาเยซู (Jesus)หรือศาสดาอีซา อลัยฮิสลาม  สำหรับถ้อยคำที่มีความสำคัญที่ชี้ถึงการเป็นศาสดาคือ " like unto thee "  เหมือนเจ้า หมายความว่า ผู้เป็นศาสดามีคุณลักษณะคล้ายศาสดามูซา (Moses) อลัยฮิสลาม

          ชาวคริสต์กล่าวว่า นะบีอีซา มีลักษณะคล้ายกับ นะบีมูซา เพราะว่านะบีมูซาเป็นชาวยิว นะบีอีซา ก็เป็นชาวยิวเช่นกัน ประการที่ 2 นะบีมูซาเป็นศาสดา นะบีอีซาก็เป็นศาสดาเช่นกัน เพราะฉะนั้นนะบีอีซาจึงมีลักษณะคล้ายนะบีมูซา และอัลลอฮ์ ซุบฮานาฮุว่าตะอาลา ได้บอกกับนะบีมูซาไว้ก่อนแล้ว


          ถ้าหากว่าเหตุผลเพียง 2 ประการนี้ คือ สิ่งบ่งชี้ถึงการเป็นศาสดาที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ดังนั้น สรุปประเด็นได้ว่า บรรดาศาสดาทั้งหลายที่มีมาหลังจากนะบีมูซา ยังเป็นลูกหลานชาวอิสรออีล เหมาะสมที่จะเป็นศาสดา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายนะบีมูซาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโซโลมอน (Solomon สุไลมาน)อิสยาห์ ยะซายา (Isaiah) เอเสเคียน ยะเอศเคล (Ezekiel) ดาเนียล (Daniel) โฮเชยา โฮเซอา (Hosea) โยเอล (Joel) มาลาชิ (Malachi) ยอห์น โยฮัน (ผู้ล้างบาป) (John the Baptist) เป็นต้น เพราะพวกเขาทั้งหมดเป็นชาวยิว ซึ่งอยู่ในเชื้อสายของการเป็นศาสดา แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากพิเคราะห์ดูความหมาย ของคำว่า การเป็นศาสดาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็จะทราบทันทีว่า คำว่า"ศาสดา" ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิ้ล หมายถึง ศาสดาท่านสุดท้าย อันได้แก่ ศาสดามุฮัมมัด  ประเด็นต่อไปนี้คือสิ่งชี้ชัดว่า นะบีมุฮัมมัด  มีลักษณะคล้ายนะบีมูซา อลัยฮิสลาม ส่วนนะบีอีซา นั้นไม่มีลักษณะคล้ายนะบีมูซาแต่อย่างใด กล่าวคือ

     1. นะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซา มีบิดาและมารดา แต่นะบีอีซา มีเพียงมารดา ไม่มีบิดา โดยที่ท่านเกิดมาด้วยเดชานุภาพของอัลลอฮ์  โดยที่ไม่มีชายใดร่วมกับมารดาของท่าน (นางมัรยัม) แต่อย่างใด

     2. ทั้งนะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซา ได้แต่งงานมีภรรยา แต่นะบีอีซามิได้แต่งงาน ไม่มีภรรยาและไม่มีบุตร

     3. ทั้งนะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซา ตายตามธรรมชาติ แต่นะบีอีซานั้น อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ทรงนำท่านไปยังพระองค์โดยมีชีวิต

     4. ทั้งนะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซา นอกจากจะเป็นศาสดาแล้วยังมีอำนาจคอยมองอณาจักร นะบีอีซามิได้มีอำนาจคอยมองอณาจักรแต่อย่างใด

     5. ทั้งนะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซา ได้รับการยอมรับจากหมู่ชนของท่านในฐานะศาสดา ขณะที่ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ แต่นะบีอีซานั้นหมู่คณะของท่านส่วนมากไม่ยอมรับท่าน

     6.ทั้งนะบีมุฮัมมัด และนะบีมูซาได้รับบัญญัติมา เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ประชาชาติในยุคนั้น ส่วนนะบีอีซาปฏิบัติตามบัญญัติของนะบีมูซาในคัมภีร์ไบเบิ้ล มัดทิว บทที่ 5 ข้อที่ 17 ว่า

"อย่าคิดว่าเรามาเพื่อลบล้างบัญญัติ ในคัมภีร์เดิม หรือลบล้างถ้อยคำของประกาศศาสดาพยากรณ์

หากเรามาเพื่อให้บทบัญญัติ และคำพยากรณ์เหล่านั้นสมบูรณ์ เกิดผลสมจริงทุกประการ"


          ในที่นี้จึงสรุปได้ว่า นะบีอีซา อลัยฮิสลาม ไม่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับนะบีมูซา อลัยฮิสลาม เราลองอ่านคำบอกเล่านี้อีกครั้งว่า

"เราจะให้ผู้พยากรณ์บังเกิดสำหรับเขาทั้งหลาย ท่ามกลางพี่น้องของเขาเหมือนอย่างตัวเจ้า"


          เรามาพิจารณาดูว่าผู้ใด คือ พี่น้องของชาวยิว ?

          นะบีอิบรอฮีมมีบุตร 2 คน คือ นะบีอิสมาอีล และนะบีอิสหาก ชาวอาหรับสืบเชื้อสายมาจากนะบีอิสมาอีล ชาวยิวสืบเชื้อสายมาจากนะบีอิสหาก ดังนั้น ทั้งชาวอาหรับและชาวยิวต่างเป็นพี่น้องกัน   นะบีมุฮัมมัด  ปรากฏตัวขึ้น ท่ามกลางบรรดาพี่น้องเหล่านั้น เพราะท่านสืบเชื้อสายมาจากนะบีอิสมาอีล บุตรของนะบีอิบรอฮีม อลัยฮิสลาม

          คัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวต่อไปว่า

"และข้าจะใส่ถ้อยคำของข้าในปากเขา"

          นะบีมุฮัมมัด เป็นผู้ที่อ่านไม่เป็น เขียนไม่เป็น ดังนั้นเมื่อมีวะฮีย์มาจากอัลลอฮ์ ท่านจะรีบท่องจำซ้ำไปซ้ำมาเหมือนกับว่า ถ้อยคำนั้นถูกนำมาใส่ไว้ในปากของท่าน ยิ่งไปกว่านั้น ตัวบทยังได้สำทับอย่างรุนแรง โดยที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

" And it shall come to pass that whosoever will not hearken unto my words which he shall speak in my name I will require it of him " (In the Catholic Bible te words are I will take renenze).

 (Deuteronry 18:19)

"และผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่นับถ้อยคำของข้า ซึ่งศาสดาพยากรณ์ จะกล่าวในนามของข้า ข้าจะถือโทษผู้นั้น"


         ตามนัยนี้หมายความว่า ถ้าผู้ใดที่ไม่เชื่อฟังคำพูดของศาสดาผู้นี้ โดยที่เขากล่าวในนามของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระองค์จะลงโทษผู้นั้น ซึ่งไม่มีศาสดาคนใดที่ระบุอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคำสำทับของพระผู้เป็นเจ้า

 ..............................................................................................................................................
คำแปลใช้ตามพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ฉบับ พิมพ์ปี ค.ศ.1992 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความแตกต่างกับคำแปลฉบับปี ค.ศ.1971 และคำว่า "Prophet" ในคัมภีร์แปลว่า ผู้พยากรณ์ ผู้เผยวจนะ ดังคำแปล ฉบับ ค.ศ.1971 มีว่า "เราจะโปรดให้บังเกิด ผู้เผยวจนะอย่างเจ้าในหมู่พวกพี่น้องของเขา และเราจะใส่ถ้อยคำของเราในปากของเขา และเขาจะกล่าวบรรดาสิ่งที่เราบัญชาไว้แก่ประชาชนทั้งหลาย"


* Prophet ในพจนานุกรมทั่วไป แปลว่า พระศาสดา ผู้พยากรณ์ ผู้ทำนาย

โดย อ.มุนีร  มูหะหมัด

มูฮัมมัดที่ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู

ท่านบีมุอัมมัดถูกกล่าวไว้ในภวิษยะ ปุราณะ


ตามภวิษยะ ปุราณะ ในประติสรรคะ บรรพ 3 ขัณฑ์ 3 อัธยายะ 3 โศลก 5-8 มีข้อความว่า

                         "มเลชชาคนหนึ่ง(คนต่างชาติและพูดภาษาต่างชาติ) ครูทางจิตวิญญาณจะปรากฏขึ้นพร้อมกับสาวกของเขา นามของเขาคือมุฮัมมัด ราชา(โภช) หลังจากอาบน้ำให้มหาเทวอาหรับใน "ปัญจคัพยะ" และแม่น้ำคงคา (การชำระบาปทั้งหมด) ได้มอบของขวัญด้วยความจริงใจแก่เขาและแสดงความเคารพนับถือเขา โดยกล่าวว่า "ฉันขอก้มคำนับท่าน โอ ท่านผู้เป็นความภาคภูมิใจของมนุษยชาติ ผู้อาศัยอยู่ในอารเบีย ท่านได้รวมกองทัพที่ยิ่งใหญ่เพื่อที่จะฆ่ามารร้าย และท่านเองได้รับการคุ้มครองจากฝ่ายตรงข้ามมเชชา"

ท่านนบีมูอัมมัดถูกกล่าวไว้ในภวิษยะ ปุราณะ ในประติสรรคะ บรรพ 3 ขัณฑ์ 3 อัธยายะ 3 โศลก 10-27 มหาฤษี วยส ได้กล่าวว่า

                        "มเลชชาได้ทำลายแผ่นดินที่มีชื่อเสียงของชาวอาหรับ อารยธรรมไม่มีในประเทศนั้น ก่อนหน้านี้เคยมีผู้หลงผิดที่ฉันได้ฆ่าไปแล้ว แต่ตอนนี้ เขาปรากฏขึ้นอีกโดยศัตรูผู้ทรงอำนาจส่งเขามา เพื่อเป็นการทำให้ศัตรูเหล่านี้เห็นถึงหนทางที่ถูกต้องและให้ทางนำแก่พวกเขา โมฮะหมัดผู้มีชื่อเสียงซึ่งฉันให้ฉายาว่า "พรหม" กำลังนำ "ปิศาจ" มายังหนทางที่ถูกต้อง โอ้ราชา ท่านไม่จำเป็นต้องไปแผ่นดินของปิศาจที่โง่เขล่า ท่านจะถูกขัดเกลาให้สะอาดผ่องแผ้วโดยความปราณีของฉัน ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ในตอนกลางคืน เขาจะมีลักษณะทูตสวรรค์ คนฉลาดในคราบของปิศาจได้พูดกับราชโภชว่า โอ้ราชา อารยธรรมของท่านได้ถูกทำให้มีชัยเหนือศาสนาทั้งหมด แต่ตามคำบัญชาของอิศวร ปรมาตฺมา (สิ่งแท้จริงที่สูงส่งที่สุด) ฉันจะทำให้ความเชื่อที่เข้มแข็งของคนกินเนื้อมีพลัง สาวกของฉันจะเป็นคนที่ขลิบหนังปลายองคชาติ ไม่มีหาง(บนหัวของเขา) ไว้เครา สร้างการปฏิวัติโดยการประกาศอะซาน(การประกาศเรียกละหมาด) และจะกินสิ่งที่อนุมัติ เขาจะกินเนื้อสัตว์ทุกชนิดยกเว้นเนื้อหมู พวกเขาจะไม่แสวงหาการทำความสะอาดจากต้นไม้เตี้ย แต่จะทำความสะอาดโดยสงคราม โดยการต่อสู้ชาติต่างๆที่ไม่มีศาสนา พวกเขาจะเป็นที่รู้จักกันว่ามุซัลมาน ฉันจะเป็นผู้เริ่มต้นศาสนาของชนชาติที่กินเนื้อ"



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
โดย ดร.ซากิรฺ นาอิก
แพทย์อาชีพ และนักพูดเรื่องอิสลามและศาสนาเปรียบเทียบระดับโลกแ่ห่งประเทศอินเดีย
อ.บรรจง บินกาซัน แปล

น้ำตาผู้ศรัทธา




...ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
 “ผู้ใดที่ร้องไห้ด้วยความเกรงกลัวต่ออัลลอฮ จะไม่มีทางเข้านรกเด็ดขาด จนกว่าน้ำนม(ที่ถูกบีบออก)จะกลับเข้าไปยังที่เดิม”(หะดีษบันทึกโดย ติรมีซีย์ หมายเลขหะดีษที่ 1633)

ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวอีกเช่นกันว่า
“เจ็ดจำพวกที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮในวันที่ไม่มีร่มเงาใดเลย เว้นแต่ร่มเงาของพระองค์ คือ
หนึ่ง : ผู้นำที่ยุติธรรม
สอง : คนหนุ่มที่เติบโตขึ้นในการ(ฏออะฮฺ)อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮ
สาม : ชายที่หัวใจของเขาผูกพันกับมัสญิด
สี่ : ชายสองคน ที่เขารักกันเพื่ออัลลอฮ พบเจอและจากกันเพื่ออัลลอฮ
ห้า : ชายที่ถูกมีฐานะดีและสวยงามเชิญชวนเพื่อทำซินา แต่เขา(ปฏิเสธและ)กล่าวว่า “แท้จริงฉันเกรงกลัวต่ออัลลอฮ”
หก : บุคคลที่บริจาคด้วยความปกปิด จนกระทั่ง มือซ้ายของเขาไม่รับทราบถึงสิ่งที่มือขวาได้บริจาคออกไป
เจ็ด : บุคคลที่รำลึกถึงอัลลอฮเพียงลำพัง จนน้ำตาได้ไหลรินออกมาจากดวงตาทั้งสองของเขา”
(หะดีษบันทึกโดย บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษที่ 629 และมุสลิม หมายเลขหะดีษที่ 1031)

ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวอีกว่า
“ดวงตา 2 คู่ที่จะไม่สัมผัสกับไฟนรก (คือ) ดวงตาที่ที่ร้องไห้เพราะเกรงกลัวต่ออัลลอฮ และดวงตาที่คอยเฝ้าระวังในยามค่ำคืนเพื่อป้องกัน(การโจมตีของศัตรู)แก่ชาวมุสลิมเพื่อ(การญิฮาดใน)หนทางของอัลลออ”(หะดีษรายงานโดย ติรมีซีย์ หมายเลขหะดีษที่ 1639 ชัยคฺอัลบานีย์รับรองว่าเศาะหีหฺ ในหนังสือ เศาะหีหฺ อัตติรมีซีย์ : 1338)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ไม่มีสิ่งใดจะเป็นที่รักยิ่งสำหรับอัลลอฮ นอกเสียจาก น้ำตาและบาดแผล 2 ประเภท คือ หยดน้ำตาที่ไหลรินเพราะเกรงกลัวต่ออัลลอฮ และหยดเลือดที่ไหลรินเพราะการต่อสู้(ญิฮาด)ในหนทางของอัลลอฮ ส่วน 2 บาดแผลนั้นคือ บาดแผลบนร่างกายที่เกิดจากการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ และแผลบนร่างกายที่เกิดจากการปฏิบัติตามบทบัญญัติคำสั่งจากอัลลอฮ”(หะดีษบันทึกโดย ติรมีซีย หมายเลขหะดีษที่ 1669 ชัยคฺอัลบานีย์ กล่าวว่า เศาหีหฺ ในหนังสือ เศาะหีหฺ สุนัน ติรมีซีย์ : 1363) 


والله أعلم بالصواب


# อบูมุศลิหฺ อารี วะหฺยูดี เขียน

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การกล่าวอวยพรในวันอีด




เนื่องในวันอีด อิสลามให้แสดงความยินดีซึ่งกันและกัน และกล่าวอวยพรแก่กันว่า

تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَمِنْكُمْ

ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมิงกุม

ขออัลลอฮฺทรงตอบรับ(การงานที่ดี)จากเราและจากท่าน


عن جُبَيْرِ بْنِ نُفَيْرٍ قَالَ : كَانَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا اِلْتَقَوْا يَوْمَ الْعِيدِ يَقُولُ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ : تَقَبَّلَ اللَّهُ مِنَّا وَمِنْك . قال الحافظ : إسناده حسن .
จากญุบัยรฺ  บิน  นุฟัยรฺ  กล่าวว่า  :  ปรากฏว่าบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูล  ศ็อลลัลลอฮฺ  อะลัยฮิวะซัลลัม  เมื่อพวกเขาพบกันในวันอีดจะกล่าวอวยพรซึ่งกันและกันว่า
“ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกา”

 อัลฮาฟิซกล่าวว่า:  สายรายงานหะซัน

อิหม่ามอะหฺมัด  รอฮิมะฮุลลอฮฺ  กล่าวว่า :  นับว่าไม่เป็นอะไรการที่คนหนึ่งกล่าวกับอีกคนเนื่องในวันอีด  ว่า  “ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกา”

 อิบนุ  กุดามะฮฺ  คัดลอกคำพูดของท่านไว้ในหนังสือ อัลมุฆนียฺ

ชัยคุล อิสลามอิบนิ ตัยมิยะฮฺ  ถูกถามใน  “อัลฟะตาวา  อัลกุบรอ” (2/228) :  อนุญาตให้กล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด  และการกระทำด้วยความเคยชินของผู้คนทั่วไป  เช่น  “อีดมุบาร็อก”  หรือคำพูดทำนองเดียวกันนี้  มีปรากฏในบทบัญญัติหรือไม่ ?  และหากว่ามันมีปรากฏในบทบัญญัติ  จะกล่าวด้วยประโยคอะไร ?
ท่านตอบว่า  :  “สำหรับการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดพวกเขาจะกล่าวซึ่งกันและกันเมื่อพบกันหลังจากละหมาดวันอีด  เช่น  “ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกุม” และ “อะหาละฮุลลอฮุ  อะลัยกะ”

 และการกล่าวในทำนองเดียวกันนี้  ลักษณะเช่นนี้มีปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติและในเรื่องนี้บรรดาอิหม่ามส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าสามารถกระทำได้  เช่น  อิหม่ามอะหฺมัดและคนอื่นๆ  ทว่าท่านอิหม่ามอะหฺมัดกล่าวว่า :  ฉันจะไม่เป็นคนเริ่มกล่าวกับใครก่อนและหากมีผู้ใดมาเริ่มกล่าวกับฉันก่อนฉันจะกล่าวตอบ  เพราะว่าการกล่าวตอบคำทักทายเป็นสิ่งที่จำเป็น  ส่วนการเริ่มกล่าวคำอวยพรไม่ใช่สุนนะฮฺที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติแต่ประการใดและเช่นกันไม่มีคำสั่งห้าม  ดังนั้นผู้ใดได้ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่างและผู้ที่ไม่ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่าง  วัลลอฮุ  อะลัม”

เชคอิบนุ  อุษัยมีน  ถูกถามเรื่องหุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดมีว่าอย่างไร ?  และมีประโยคหรือสำนวนเฉพาะหรือไม่ ?
ท่านตอบว่า  :  “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำ และมันไม่มีประโยคหรือสำนวนของการอวยพรเป็นการเฉพาะ  ทว่าเป็นความเคยชินที่ผู้คนถือปฏิบัติกันมา  อนุญาตให้กระทำ และไม่มีความผิดแต่ประการใด”

ท่านได้กล่าวเช่นกันว่า  “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด  มีบรรดาเศาะหาบะฮฺ  รอฏิยัลลอฮุอันฮุม  บางกลุ่มได้ปฏิบัติกันมา  และถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติแต่ทว่าในยุคปัจจุบันเป็นประเพณีที่คุ้นเคยของผู้คน  จะกล่าวอวยพรซึ่งกันและกันในโอกาสที่กลับมาพบวันอีด และในโอกาสที่การถือศีลอด  การละหมาดกิยามครบถ้วนสมบูรณ์”

ท่านเชคยังถูกถามเรื่อง : หุก่มการจับมือ  การสวมกอดและการอวยพรหลังจากการละหมาดอีดมีว่าอย่างไร ?
ท่านตอบว่า  :“การกระทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้นับว่าไม่เป็นไร  เพราะบรรดาผู้ปฏิบัติไม่ได้ยึดถือว่ามันเป็นหนทางสู่การเคารพภักดีและเป็นการแสดงถึงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ  ทว่าพวกเขาได้ปฏิบัติมันเป็นประเพณีความเคยชินและเป็นการให้เกียรตินอบน้อม  และตราบใดที่ประเพณีปฏิบัติไม่มีบทบัญญัติมาห้าม  พื้นฐานเดิมของมันถือว่าเป็นที่อนุญาต”   (มัจญมัวะฟะตาวา  อิบนุ  อุษัยมีน 16 / 208 - 210)


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

เตรียมพร้อมต้อนรับวันอีดิ้ลอัฎฮา


อีด หมายถึง การเวียนครบรอบมาบรรจบ และมีการเฉลิมฉลอง ซึ่งอีดในอิสลาม มีเพียง 2 อีด เท่านั้น คือ อิดิ้ลฟิฏริ และอีดิ้ลอัฎฮา ไม่มีอีดอื่นอีกแล้ว ไม่ว่าอีดแน อีดหก อีดวันเกิด(ครบรอบวันเกิด แล้วมีการเฉลิมฉลอง) หรืออีดใดๆก็ตามซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานจากอัลกุรอาน และแบบอย่างจากท่านศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาศอหะบะฮฺของท่าน


عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)

ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้งสองวันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

สำหรับวันอีดิ้ลอัฎฮานั้น ตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮฺ (วันนะหฺริ หรือวันแห่งการเชือด)  ส่วนวันอารอฟะฮฺตรงกับวันที่ 9 เดือน ซุลหิจญะฮฺ เป็นวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮฺ และสำหรับมุสลิมทั่วไปที่ไม่ประกอบพิธีอัจญ์ก็จะทำการถือศิลอดสุนนะฮฺในวันนี้(การถือศิดอดวันอะรอฟะฮฺต้องยึดวันที่ผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกูฟที่ทุ่งอารอฟะฮฺเป็นหลัก ถึงแม้เวลาจะต่างกัน แต่วันต้องตรงกัน)  และวันตัชรีก ตรงกับวันที่ 11 , 12 และ 13 เดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันศาสนาอนุญาตให้เชือดสัตว์กุรบาน

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
"การถือศิลอดของพวกท่าน คือที่วันที่พวกท่านถือศิดอด วันอีดิ้ลฟิฏริของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านออกอีดิ้ลฟิฏริ และวันอีดิ้ลอัฎฮาของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านออกอีดิ้ลอัฎฮา" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกหะดิษโดยอบุดาวูด หะดิษเลขที่ 1979 อัตติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 633...)

รายงานจากท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
"วันอารอฟะฮฺ วันนะหฺริ และวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินการดื่ม" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2066 อัตติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 704 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 2954...)
จากหะดิษวันอีดเป็นวันแห่งการกินการดื่ม ยกเว้นวันอะรอฟะฮฺ ที่ให้ถือศิลอดสุนนะฮฺ  และสำหรับวันอีด นั้นมีเพียง 2 วัน คือ อิดิ้ลฟิฏริ และอีดิ้ลอัฎฮา ตามหะดิษที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่หะดิษที่ว่า "วันอารอฟะฮฺ วันนะหฺริ และวันตัชรีก คือวันอีด" นั้น เป็นหะดิษที่กล่าวโดยครอบคลุม นัยความเป็นจริงวันอะรอฟะฮฺ และวันตัชริก (วันที่ 11 , 12 และ 13 เดือนซุลหิจญะฮฺ) ศาสนามิได้ระบุว่าเป็นวันอีด แต่วันดังกล่าวเป็นที่มีความสำคัญทางศาสนา จึงไม่ขัดแย้งกับหะดิษที่ว่าวันอีดอิสลามมีแค่วันอิดิ้ลฟิฏริ และอีดิ้ลอัฎฮาเท่านั้น



-กล่าวตักบีรฺ

สำหรับวันอีดิ้ลอัฎฮา ให้กล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ซุลฮิจญะฮฺ ส่วนการกล่าวตักบีรฺหลังละหมาดฟัรดู ให้เริ่มกล่าวตั้งแต่หลังละหมาดศุบฮฺของวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ (คืนวันอะเราะฟะฮฺ) เรื่อยไปจนกระทั้งถึงเวลาละหมาดอัศริของวันที่ 13 ซุลฮิจญะฮฺ

โดยการกล่าวตักบีรฺให้กล่าวดังนี้
الله أكبر الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ولله الحمد

อ่านว่า : อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ วะลิลลาฮิลหัมด์"

ความหมาย : อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น"


สุนนะฮฺให้ละหมาดวันอีดที่มุศ็อลลา (สนามละหมาด)


عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ وَالأَضْحَى إِلَى الْمُصَلَّى، فَأَوَّلُ شَيْءٍ يَبْدَأُ بِهِ الصَّلاَةُ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ فَيَقُومُ مُقَابِلَ النَّاسِ وَالنَّاسُ جُلُوسٌ عَلَى صُفُوفِهِمْ فَيَعِظُهُمْ وَيُوصِيهِمْ وَيَأْمُرُهُمْ، فَإِنْ كَانَ يُرِيدُ أَنْ يَقْطَعَ بَعْثًا قَطَعَهُ، أَوْ يَأْمُرَ بِشَيْءٍ أَمَرَ بِهِ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ.  (البخاري رقم 903)

ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้วท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่านต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)

และเวลาของการละหมาดอีดทั้งสองนั้น เป็นเวลาที่อนุญาตให้ละหมาดซุนนะฮฺได้ ก็คือเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้น สูงประมาณ 3 เมตร ไปจนถึง ดวงอาทิตย์คล้อย ซึ่งสมควรที่จะละหมาดอีดิ้ลฟิฏริให้ช้ากว่าอีดิ้ลอัฎฮา เพื่อที่ว่า จะได้ประวิงเวลาในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ส่วนที่ให้ละหมาดอีดิ้ลอัฏฮาเร็วนั้น เพื่อที่จะได้เชือดสัตว์กุรบ่าน

-การอาบน้ำชำระร่างกาย ใส่น้ำหอมและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดี 


، فَقَالَ :يَا رَسُولَ اللهِ، ابْتَعْ هَذِهِ تَجَمَّلْ بِهَا لِلْعِيدِ وَالْوُفُودِ، فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّمَا هَذِهِ لِبَاسُ مَنْ لاَ خَلَاقَ لَهُ». (البخاري رقم 896، مسلم 3853)
ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้นำเสื้อคลุมที่ทำด้วยผ้าไหมผืนหนึ่งมาจากตลาด และได้นำไปยังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูล ท่านน่าจะซื้อผ้านี้เอาไว้สวมและแต่งกายสำหรับวันอีดและเมื่อต้อนรับคณะผู้มาเยือน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า “แท้จริงแล้ว นี่เป็นเสื้อผ้าของพวกที่ขาดทุน(ในวันอาคิเราะฮฺ)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข896 และมุสลิม หมายเลข 3853)

รายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
“ว่าท่านมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดในวันอีด” (สุนัน อัล-บัยฮะกียฺ 3/281)

อิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวว่า
 “ในวันอีด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะสวมเสื้อผ้าที่งามที่สุดของท่าน ท่านจะมีชุดเฉพาะที่ใช้สวมใส่ในวันอีดและวันศุกร์” (ดู ซาด อัล-มะอาด 1/441)

รายงานจากท่านนาฟิอฺ ผู้รับใช้ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
“ท่านอิบนุอุมัรฺ จะอาบน้ำชำระร่างกายในวัน อีดิลฟิฏรฺก่อนที่ท่าน จะเดินทางสู่สนามละหมาด” (บันทึกโดยอิมาม มาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/177)

   ท่านอิบนุ รุชดฺ ได้กล่าวว่า
“บรรดานักวิชาการมีมติเอกฉันท์เห็นดีเห็นงามให้มีการอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อละหมาดในวันอีด ทั้งสอง” (บิดายะฮฺ อัล-มุจญ์ตะฮิด 1/216)

   ท่านอิมามมาลิก ได้กล่าวว่า
ฉันได้ยินว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายนั้น ต่างก็ส่งเสริมให้พรมน้ำหอมและแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ สวยงาม และดูดีที่ สุดในทุกวันอีด โดยเฉพาะคนที่เป็นอิมาม เพราะผู้คนทั้งหลายนั้นจะให้ความสนใจไปยังเขา” (อัล-มุฆนีย์ 5/258)
สำหรับเครื่องแต่งตัวในวันอีดนั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการอิสลาม ห้ามผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นไหม

-อาหารแรกในวันอีดิ้ลอัฎฮาคือเนื้้อกุรฺบาน



فعن بريدة -رضي الله عنه- قال: كان النبي صلى الله عليه وسلم لا يخرج يوم الفطر حتى يَطعم،
ولا يطعم يوم الأضحى حتى يصلي .الترمذي.

จากรายงานของท่านบุร็อยดะฮฺว่า "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะไม่ออกไปในวันอีดุ้ลฟิฏรฺจนกว่าจะได้รับประทานอาหาร และท่านจะไม่กินอะไรเลยในวันอีดิ้ลอัฎฮาจนกว่าจะละหมาด(จึงจะรับประทานอาหาร(เนื้อกุรบาน))"(บันทึกดดยของอิมามอัตติรมิซียฺ เชคอัลบานียฺว่าเศาะฮี้ฮฺ)



สุนนะฮฺ(มุอักกะดะฮฺ)ให้ทำอุฎียะฮฺ หรือเชื้อกุรฺบาน

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่พบกับความกว้างขวาง(เกี่ยวกับทรัพย์สิน) แล้วเขาไม่ทำกุรบาน เช่นนี้เขาจงอย่าเข้าใกล้สถานที่ละหมาด(วันอีด)ของฉัน" (หะดิษหะสัน บันทึกโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 7924)

รายงานจากท่านอัลบะรออ์ เล่าว่า ท่านรสูลลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"สิ่งแรกที่เราจะเริ่มต้น (กระทำ) ในวันของเรานี้ (หมายถึงอิดิ้ลอัฎฮา) คือเราจะละหมาดอีด เสร็จแล้วเราก็กลับไปเชือดสัตว์(กุรฺบาน) ฉะนั้นบุคคลใดปฏิบัติเยี่ยงนั้นถือว่าเขาปฏิบัติตามแนวทางของเราแล้ว ส่วนบุคคลใดที่เชือดสัตว์(กุรบาน) ก่อน (ละหมาดอีดิ้ลอัฎฮา) เท่ากับว่าเนื้อ(สัตว์ที่เชือด) นั้นมอบให้แก่ครอบครัวของเขาหาใช่เป็นการเชือดสัตว์(กุรฺบาน)พลีแต่ประการใดไม่" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกหะดิษโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 5119 และมุสลิม หะดิษเลขที่ 3627)

-การทำเศาะดะเกาะฮฺ

  ความประเสริฐของการบริจาคทาน ซึ่งเป็นอะมัลเฉพาะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งไว้ เพื่อให้สตรีปฏิบัติในวันอีด การบริจาคเศาะดะเกาะฮฺเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลดปล่อยบ่าวให้รอดพ้นจากการลงโทษในนรก   บรรดาเศาะฮาบะฮฺสตรีได้ทำตัวอย่างในการบริจาคทานด้วยการมอบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ


عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ شَهِدْتُ مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الصَّلَاةَ يَوْمَ الْعِيدِ، فَبَدَأَ بِالصَّلاَةِ قَبْلَ الْخُطْبَةِ بِغَيْرِ أَذَانٍ وَلاَ إِقَامَةٍ، ثُمَّ قَامَ مُتَوَكِّئًا عَلَى بِلاَلٍ فَأَمَرَ بِتَقْوَى اللهِ، وَحَثَّ عَلَى طَاعَتِهِ، وَوَعَظَ النَّاسَ وَذَكَّرَهُمْ، ثُمَّ مَضَى حَتَّى أَتَى النِّسَاءَ فَوَعَظَهُنَّ وَذَكَّرَهُنَّ، فَقَالَ : «تَصَدَّقْنَ، فَإِنَّ أَكْثَرَكُنَّ حَطَبُ جَهَنَّمَ»، فَقَامَتِ امْرَأَةٌ مِنْ سِطَةِ النِّسَاءِ سَفْعَاءُ الْخَدَّيْنِ، فَقَالَتْ :لِمَ يَا رَسُولَ اللهِ؟، قَالَ : «لِأَنَّكُنَّ تُكْثِرْنَ الشَّكَاةَ، وَتَكْفُرْنَ الْعَشِيرَ»، قَالَ : فَجَعَلْنَ يَتَصَدَّقْنَ مِنْ حُلِيِّهِنَّ يُلْقِينَ فِي ثَوْبِ بِلاَلٍ مِنْ أَقْرِطَتِهِنَّ وَخَوَاتِمِهِنَّ. (مسلم رقم 1467)
ความว่า จากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า “ฉันได้ออกไปละหมาดอีดพร้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้ละหมาดก่อนการให้คุฏบะฮฺ(เทศนา) โดยไม่มีการอะซานหรืออิกอมะฮฺ จากนั้นท่านได้ลุกขึ้นและยืนค้ำกับท่านบิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ และได้(ให้เทศนาโดย)สั่งให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเน้นย้ำให้เชื่อฟังพระองค์ ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนผู้ร่วมละหมาด แล้วท่านก็เดินจนกระทั่งได้ยืนอยู่หน้าเหล่าสตรี(ที่มาร่วมละหมาด) ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนพวกนาง ท่านได้กล่าวว่า “พวกนางทั้งหลาย จงให้ทานเศาะดะเกาะฮฺเถิด เพราะส่วนมากของพวกเธอนั้นคือเชื้อไฟของนรกญะฮันนัม” เมื่อนั้นได้มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ดูเลิศที่สุดจากพวกนางลุกขึ้นถามด้วยอาการตระหนกที่เห็นได้ชัดจากแก้มของนางว่า “เหตุใดที่เป็นเช่นนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นศาสนทูตแห่ง อัลลอฮฺ?” ท่านได้ตอบว่า “เหตุเพราะที่พวกนางชอบฟ้องร้องและไม่สำนึกคุณของสามี” ดังนั้น บรรดาพวกนางจึงได้ถอดต่างหูและแหวนของพวกนางเพื่อทำเศาะดะเกาะฮฺ โดยได้โยนใส่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในเสื้อของท่าน  บิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 1467)


-เดินทางไปยังที่ละหมาดด้วยเส้นทางที่แตกต่างกัน

เพื่อจะได้พบปะให้สลามแก่พี่น้องของเขาเป็นจำนวนมาก

รายงานจากท่านญาบิร อิบนิ อับดิลลาฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮมาุ กล่าวว่า

كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا كَانَ يَوْمُ عِيدٍ خَالَفَ الطَّرِيقَ

"ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น เมื่อเป็นวันอีดท่านใช้เส้นทางที่แตกต่างกัน (ไปและกลับจากที่ละหมาด) "(บันทึกโดย บุคอรียฺ : 943)

รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا خَرَجَ إِلَى الْعِيدِ رَجَعَ فِي غَيْرِ الطَّرِيقِ الَّذِي أَخَذَ فِيهِ

“อันที่จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺออกไปละหมาดอีด และกลับอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ทางที่ท่านออกไป” (บันทึกโดยอิบนิมาญะฮฺ : 1301 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนุมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1083)

  อิหม่าม อันนะวาวีย์ กล่าวว่า
 "แม้เราจะไม่ทราบเหตุผล แต่การปฏิบัติตาม (ซุนนะฮฺของท่านนบี) เป็นที่ส่งเสริมอย่างแน่นอน" (เราเฎาะฮฺ อัฏ-ฏอลิบีน 2/77)

-ส่งเสริมให้มีการขอพรซึ่งกันและกัน


ญุบัยรฺ อิบนุ นุฟัยรฺ กล่าวว่า ทุกครั้งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาเจอกันในวันอีด พวกเขาจะกล่าว ให้แก่กันว่า

تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَ مِنْكَ

"ขออัลลอฮฺทรงรับ (การงาน) ทั้งจากเราและจากท่าน" (ฟัตหุลบารีย์ 2/157)


-เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ครูอาจารย์

ให้เยี่ยมเยียนขออภัยซึ่งกันและกันในวันอีด  ให้ไปหาญาติพี่น้องที่ห่างไกล ตึดต่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดี กับเครือญาติ ตลอดครูบาอาจารย์ เพราะ วันอีดคือวันแห่งการเฉลิมฉลอง รื่นเริง จึงเหมาะสมที่สุดที่เราจะไปเยี่ยมญาติพี่น้อง ขออภัยซึ่งกันและกัน

-ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน

ให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน หรือแจกจ่ายไปยังเพื่อนบ้าน ตามสภาพของผู้นั้น

-การไปพักผ่อนหย่อนใจ

การไปพักผ่อน ยังสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อชมความงามและการสร้างของพระองค์อัลลอฮฺ และรำลึกถึงกรุณาธิคุณของพระองค์

- ให้สตรีและเด็กๆ ออกไปรวมกัน ณ.สถานที่ละหมาด 

รายงานจากอุมมุ อะฏียะฮฺ กล่าวว่า

أُمِرْنَا أَنْ نَخْرُجَ فَنُخْرِجَ الْحُيَّضَ وَالْعَوَاتِقَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَشْهَدْنَ جَمَاعَةَ الْمُسْلِمِينَ وَدَعْوَتَهُمْ وَيَعْتَزِلْنَ مُصَلَّاهُمْ

พวกเราได้ถูกใช้ให้นำ (ไปยังสถานที่ละหมาดอีด) สตรีที่มีประจำเดือน เด็ก ๆและหญิงสาว ส่วนหญิงที่มีประจำเดือนนั้น นางจะได้ร่วม รับความดี และการขอพรของบรรดามุสลิมด้วย โดยให้หญิงที่มีประจำเดือนอยู่นอกสถานที่ละหมาด” (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 938)

أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نُخْرِجَهُنَّ فِي الْفِطْرِ وَالْأَضْحَى الْعَوَاتِقَ وَالْحُيَّضَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَعْتَزِلْنَ الصَّلَاةَ وَيَشْهَدْنَ الْخَيْرَ وَدَعْوَةَ الْمُسْلِمِينَ

"ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งให้พวกเรานำบรรดาสตรีออกสู่สถานที่ละหมาดในวันอีดิ้ลฟิตรฺและอี ดิ้ลอัฎฮา พวกนาง คือเด็ก ๆ  สตรีที่มีประจำ เดือน และหญิงสาว ส่วนสตรีที่มีประจำเดือนพวกนางจะไม่ร่วมทำการละหมาด แต่จะร่วมกันเชยชมความดี งามและรับพรจากบรรดามุสลิม ในวันนั้น..." (บันทึกโดยมุสลิม : 890,1475 อะหฺมัด : 20275)

 ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้สตรีทุกคนออกมาเพื่อร่วมในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ซึ่งจะรวมถึงบรรดาหญิงสาวที่มีประจำเดือนด้วย  วัตถุประสงค์ที่ให้บรรดาหญิงสาวออกมาก็เพื่อให้เขาสามารถร่วมในกิจกรรมการทำความดีและร่วมในการขอดุอาอ์

-ไม่มีละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาดวันอีด

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ออกไปละหมาดอีดสองร็อกอะฮฺโดยท่านมิได้ละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาด(อีด)"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1587 และอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1291)


-ไม่มีสุนนะฮฺให้อาซาน หรอิกอมะฮฺก่อนละหมาดอีด

ท่านสะอด์ บุตรของอบูวักกอศ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดพร้อมกับพวกเราก่อนคุฏบะฮฺ โดยไม่มีอะซาน และอิกอมะฮฺ"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1562 และอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3042)

-ฟังคุฏบะฮฺ

  มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُصَلِّي فِي الْأَضْحَى وَالْفِطْرِ ثُمَّ يَخْطُبُ بَعْدَ الصَّلَاةِ

"อันที่จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดิ้ลอัฎฮา และอีดิ้ลฟิตริ หลังจากนั้นท่านจะกล่าวคุฏบะฮฺหลังละหมาด"(บันทึกโดยบุคอรีย : 914 อะหฺมัด : 5630)


วิธีละหมาดอีด

ร็อกอะฮฺแรก
1)ตั้งเจตนาเนียต
2)ตักบีรฺเพื่อเข้าเวลาละหมาด มะมูมไม่ต้องกล่าวตักบีรฺเสียงดัง
3)ให้กล่าวตักบีรฺอีก 7 ครั้ง  ควรเว้นระยะสักนิดหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านอะไร แต่ถ้าจะอ่านก้ย่อมกระทำได้
เพราะมีแบบอย่างจากท่านอิบนุ มัสอูด (เป็นศอหะบะฮฺ) ได้กระทำไว้ โดยกล่าวว่า
สุบฮานัลลอฮ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ"
4)อ่านดุอาอ์อิฟติตาหฺ
5)อ่านสูเราะฮฺฟาติหะฮฺ
6)อ่านสูเราะฮฺบทหนึ่งบทใด
7)ตักบีรฺเพื่อรุกั่วอฺแล้วกระทำตามขั้นตอนไปจนการสุญูด

ร็อกอะฮฺที่ 2
1)กล่าวตักบีรฺ ไม่ต้องยกมือ ขึ้นมากอดอก
2) ตักบีรฺอีก 5 ครั้ง
3)กระทำขั้นตอนเหมือนร็อกอะฮฺแรก ไปจนกระทั่งนั่งตะชะฮฺฮุดแล้วสลาม

!!!!  สำหรับการประดับประดามัสยิดในวันอีด ไม่มีแบบอยางจากท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาสละฟุศศอลิหฺในอดีตเลยแม้แต่น้อย

!!!!!  และสำหรับการเจาะจงไปเยี่ยมกุบูรฺในวันอีด ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ คำพูด หรือการยอมรับของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือแม้แต่การกระทำของบรรดาเศาะหะบะฮฺกระทำแม้แต่คนเดียว

والله أعلم بالصواب

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อิสลามคือศาสนาแรก และมนุษย์คนแรกศรัทธา




ชาย-หญิง หลายคนเข้ารับอิสลามเพราะคนรักเป็นมุสลิม..
ด้วยเหตุผลนาๆประการตัวอย่างชัดๆ เช่น
-สตรีมุสลิม แต่งตัวเรียบร้อย(ไม่โชวรูปลักษย์จนตัวเองไร้ค่า)
-สตรีมุสลิม คลุมฮิญาบปิดเส้นผม(เก็บไว้ให้คนรักเพียงคนเดียว)
#เพียงสองประการนี้ก็มีค่ามากแล้ว..แต่ทุกประการก็ทำเพื่ออัลลอฮฺยึดมั่นอย่างมั่นคงในอัลลอฮฺเป็นพระเจ้าองค์เดียว#

บุรุษมุสลิม ไม่มองหญิงนุ่งน้อยห่มน้อย(เก็บสายตาไว้มองสิ่งที่ฮะล้าล(อนุมัติ)คือมองคนที่แต่งงานแล้วเท่านั้น)
บุรุษมุสลิม ไม่ดื่มเหล้า,ไม่เล่นการพนัน,ไม่เจ้าชู้,(ไม่ทำชั่วเพราะรู้ว่าอัลลอฮฺมีจริงแล้วอัลลอฮฺจะลงโทษไม่โลกนี้ก็ในนรกก่อนได้เข้าสวรรค์)
#และอีกหลายๆอย่างที่นำมาเสนอยังไม่ครบถ้วน#

"สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจของศาสนาอิสลาม"มีอีกเยอะ

อีกอย่างที่อยากเสนอคือมุสลิมกว่า1,500ล้านคนทั่วโลกเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวที่มองไม่เห็น..เพราะแท้จริงเกินสติปัญญาของมนุษย์ธรรมดาแน่นอน 1,500เยอะไหม เยอะแน่นอนแต่เป็นเพราะความเชื่อในอัลลอฮฺ

เคยสงสัยบ้างไหมว่าเป็นเพราะอะไรว่ามีคนศรัทธามั่นอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลงเยอะมากทั้งๆที่ไม่เห็นพระเจ้า-และยังไม่ต้องสร้างรูปปั้นขึ้นมาแทนด้วย...

มหัศจรรย์ใช่ไหม...

ประโยค"ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ"
แปลว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดยกเว้นอัลลอฮฺ ใช้มาตั้งแต่นบีอาดัม (อลัยฮิสลาม) มนุษย์คนแรกมาจนถึงทุกวันนี้

มหัศจรรย์ใช่ไหม...

เด็กอายุน้อยๆ..ไม่ถึงสิบขวบได้อ่านคำตรัสของพระเจ้า...

มหัสจรรย์ใช่ไหม

และมุสลิมรู้ถึงสาเหตุที่ ศาสนาที่2,3,4,5 ~~เกินขึ้นมาใหม่ว่าส่วนใหญ่เป็นเพราะอะไร

มหัสจรรย์ใช่ไหม

นบีมูฮัมหมัด(ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ท่านเป็นผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แน่นอนคือท่านไม่สามารถแต่ง อัลกุรอาน ขึ้นมาได้เอง


وَإنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِّمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُوْرَةٍ مِّن مِّثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِّنْ دُوْنِ اللهِ إنْ كُنْتُمْ صَادِقِيْنَ 

"และหากพวกเจ้าอยู่ในความสงสัย จากสิ่งที่เราได้ประทานให้แก่บ่าวของเรา ดังนั้นจงนำมาสักบทหนึ่งให้เหมือนกัน และจงเรียกร้องประจักษ์พยานในหมู่พวกเจ้านอกจากอัลลอฮ์ หากพวกเจ้าเป็นผู้สัจจริง"

พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอัลกุรอานให้แก่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮ์ ที่ไม่มีผู้ใดสามารถเลียนแบบได้ ทั้งนี้ เพื่อยืนยันในการเป็นศาสนทูตของท่านนบีมูฮัมหมัด

พระองค์ได้ทรงกล่าวท้าทายไว้ในอายะห์นี้ว่า “และหากพวกเจ้าอยู่ในความสงสัยจากสิ่งที่ถูกประทานให้แก่บ่าวของเรา” หมายถึงสงสัยในอัลกุรอานที่ประทานให้แก่นบีมูฮัมหมัดว่าจะไม่ได้มาจากอัลลอฮ์จริง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม
เป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นเป็นผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงยืนยันไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الأُمِّيِيْنَ رَسُوْلاً مِّنْهُمْ 

“พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งศาสนทูตในกลุ่มคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็นจากพวกเขา” ซูเราะห์อัลญุมุอะห์ อายะห์ที่ 2


ดังนั้นการที่ผู้ใดจะกล่าวอ้างว่า ท่านนบีมูฮัมหมัดได้แต่งอัลกรุอานขึ้นเอง หรือได้อ่านหรือคัดลอกมาจากตำราเล่มใด จึงเป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอย
และหากคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็นอย่างมูฮัมหมัดกระทำได้จริงตามที่กล่าวหา ดังนั้นผู้อื่นก็ย่อมกระทำได้และย่อมทำได้ดีกว่า โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีคนที่อ่านออกเขียนได้ อีกทั้งมีความรู้,ความชำนาญในศาสตร์อื่นๆมากมาย

เมื่อคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็นชื่อมูฮัมหมัด เพียงคนเดียว ได้นำมาทั้งหมด 114 บท พระองค์อัลลอฮ์ทรงท้าทายว่า “ดังนั้นจงนำมาสักบทหนึ่ง” คือให้ผู้ที่สงสัยหรือผู้กล่าวหา นำมาแค่เพียงบทเดียว ไม่ว่าจะเป็นบทที่สั้นหรือยาวก็ได้ อีกทั้งให้ระดมผู้คนมาช่วยกันกระทำการเยี่ยงนี้โดยไม่จำกัดจำนวน โดยพระองค์กล่าวว่า “และจงเรียกร้องประจักษ์พยานในหมู่พวกเจ้า” คำว่า “ประจักษ์พยาน” ในที่นี้

ท่านอิบนิ อับบาส อธิบายว่า คือผู้ให้ความช่วยเหลือในหมู่พวกเจ้า
อัสซุดดีย์ ได้กล่าวว่า จาก อบี มาลิก ให้ความหมายว่า หุ้นส่วนหรือผู้ร่วมขบวนการของพวกเจ้า
มุญาฮิด กล่าวว่า (และจงเรียกร้องประจักษ์พยานในหมู่พวกเจ้า) หมายถึง รวบรวมผู้คนให้เป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้

และพระองค์อัลลอฮ์ทรงท้าทายในท้ายอายะห์นี้ว่า “หากพวกเจ้าเป็นผู้สัจจริง” คือผู้สัจจริงย่อมกระทำได้ มิใช่เป็นผู้กล่าวหาผู้อื่นอย่างเลื่อนลอย แต่ปรากฏว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่ปรากฏว่าคนทั้งโลกผู้สัจจริงในกรณีนี้แม้แต่คนเดียว ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์อัลลอฮ์ ยังกล่าวอีกว่า

قُلْ لَئِنِ اجْتَمَعَتِ الإنْسُ وَالْجِنُّ عَلَى أنْ يَأْتُوا بِمِثْلِ هَذَا الْقُرْآنِ لاَ يَأْتُوْنَ بِمِثْلِهِ وَلَوْكاَنَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيْراً


“ประกาศเถิดมูฮัมหมัด หากว่ามนุษย์และญินร่วมกันในการนำมาเช่นเดียวกับอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่สามารถนำมาเช่นเดียวกันได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันก็ตาม” ซูเราะห์ อัลอิสรออ์ อายะห์ที่ 88

อิสลามมหัศจรรย์ใช่ไหม....คนที่ได้สำผัสด้วยการเข้ารับอย่างศรัทธามั่นจากใจอย่างแท้จริง....เขาคือชาวสวรรค์


والله أعلم بالصواب


♥ Amazing of islam ♥

ข้อมูลจาก
http://www.fareedfendy.com/tafseer/al_baqarah/23.php


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


การตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสอง




จำนวนตักบีรฺ (การกล่าวอัลลอฮุอักบัร الله أكبر‎)

สำหรับตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสองนั้น ในร็อกอะฮฺแรก ให้กล่าวตักบีรฺ 7 ครั้ง และร็อกอะฮฺที่สอง 5 ครั้ง แต่มีทัศนะที่ไม่ตรงกันว่าควรตักบีร(ที่ไม่ใช่ตักบีร่อตุลอิหฺรอม) ในเวลาใด เป็นสองทัศนะ

ทัศนะแรกให้ตักบีรฺหลังจากตักบีร่อตุลอิหฺรอม(ตักบีนฺแรก) และก่อนอ่านฟาตีหะฮฺ ในทั้งสองร็อกอะฮฺ ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามมาลิก อิมามอัชชาฟีอีย์ และอิมามอะหฺมัด ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ(ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงเอ็นดูเมตตาท่าน)

โดยอ้างหลักฐาน ดังนี้

รายงานจากท่านกะซีร อิบนิ อับดิลลาฮฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา เล่าว่า
"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้ตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสองในร็อกอะฮฺที่หนึ่ง 7 ครั้ง ในร็อกอะฮฺที่สอง 5 ครั้ง ก่อนการอ่าน(หมายถึงอัลฟาติหะฮฺ)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด อัตติรฺมีซีย์ และอิบนุมาญะฮฺ)

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้ตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสอง 7 ครั้งในร็อกอะฮฺที่หนึ่ง 5ครั้งในร็อกอะฮฺที่สองก่อนอ่าน (อัลฟาติหะฮฺ)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)

รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุลอ๊าซ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"การตักบีรฺในละหมาดอีดมี 7 ครั้งในร็อกอะฮฺแรก และ 5 ครั้ง ในร็อกอะฮฺสุดท้าย ส่วนการอ่าน(ฟะติหะฮฺ) นั้นหลังจากการตักบีรฺทั้งสอง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)

 ทัศนะที่ 2 การอ่านนั้น (อัลฟาตีหะฮิและสูเราะฮฺ) จะต้องเชื่อมกันในสองร็อกอะฮฺ กล่าวคือ ให้ตักบีรฺในร็อกอะฮฺแรกก่อนการอ่าน ส่วนในร็อกอะฮฺที่สองนั้น ให้ตักบีรฺหลังการอ่าน ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามอบูนีฟะฮฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ และจากรายงานหนึ่งในมัซฮับของอิมามอะหฺมัด ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ

โดยอ้างหลักฐาน ดังนี้

รายงานจากท่านอบีมูซา อัลอัชอะรีย์ และหะดิษของท่านฮุซัยฟะฮฺ เล่าว่า
"ท่านท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตักบีรฺในละหมาดอีด 4 ตักบีรฺ เหมือนกับตักบีรฺในละหมาดญะนาซะฮฺ และอ่าน (ฟาติหะฮฺ และสูเราะฮฺ อย่างต่อเนื่อง)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด และอิมามอบูดาวูด)

 การตักบีรฺของผู้ไม่ทันการตักบีรฺของอิมาม

แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ

ทัศนะแรก มะมูมจะต้องปฏิบัติตามอิมาม แม้ไม่ทันตักบีรฺทั้งหมด โดยไม่ต้องตักบีรฺใช้ แต่ถ้าเขาละหมาดไม่ทันอิมามหนึ่งร็อกอะฮฺเต็มๆ ก็ให้เขาละหมาดใช้ร็อกอะฮฺนั้นพร้อมกับตักบีรฺทั้งหมดในร็อกอะฮฺนั้น

ทัศนะที่ 2 เมื่อผู้มาไม่ทันละหมาด สามารถที่จะตักบีรก่อนรุกัวะฮฺ ก็ให้เขาตักบีรฺ ถึงแม้อิมามจะตักบีรฺเสร็จแล้ว และเริ่มอ่านฟะติหะฮและสูเราะฮฺแล้ว เป็นทัศนะของอิมามอบูนีฟะฮ อิมามมาลิก และทัศนะเดิมของอิมามชาฟีอีย์ และทัศนะหนึ่งจากแนวมัซฮับฮัมบาลีย์

การยกมือทั้งสองในขณะตักบีรฺ

บรรดาศอหะบะฮฺมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ในหุก่มของการยกมือขณะตักบีร่อตุซซะวาอิด (คือตักบีรฺที่ไม่ใช่ตักบีรฺแรก หรือตักบีร่อตุ้ลอิหฺรอม)

 ทัศนะแรก ให้ยกมือทั้งสองขณะตักบีรฺทุกครั้งในละหมาดหมาดทั้งสอง รวมทั้งละหมาดขอฝน หรือละหมาดญะนาซะฮฺ ซึ่งเป็นทัศนะของมัซฮับชาฟีอีย์ อิมามอะหฺมัด และหนึ่งในสองของทัศนะอิมามมาลิก และอิมามอบูฮะนิฟะฮฺ

หลักฐานที่นำอ้างอิงทัศนะ

รายงานจากท่านอุมัร อิบนิล คอฏฏอบ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะยกมือทั้งสองในทุกตักบีรฺในละหมาดอีด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัยฮะกีย์)
รายงานจากท่านอิบนุ อับบ๊าส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ไม่มีการยกมือ นอกจากใน 7 ตำแหน่ง หนึ่งในเจ็ดนั้นท่านได้ระบุว่า การยกมือขณะตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสอง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัยฮะกีย์)

ทัศนะที่ 2 ไม่มีบทบัญญํติให้ยกมือขณะตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสอง รวมถึงละหมาดขอฝน และละหมาดญะนาซะฮฺ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอิมามมาลิก บางส่วนของแนวมัซฮับฮานาฟีย์

หลักฐานที่นำอ้างอิงทัศนะ

จากรายงานจากท่านอิบนิ มัสอู๊ด เล่าว่า
"ปรากฏว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ยกมือทั้งสองของท่านในละหมาด นอกจากตักบีร่อตุ้ลอิฟตอต๊าฮิเท่านั้น" 

สำหรับท่านอิมามอบูฮะนิฟะฮฺเองท่านยกมือในละหมาดอีด ละหมาดขอฝน แต่ไม่ยกมือในละหมาดญะนาซะฮฺ

โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้

รายงานจากท่านอิบนุ อับบ๊าส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ไม่มีการยกมือ นอกจากใน 7 ตำแหน่งเท่านั้น ใน 7 นั้น ไม่มีละหมาดญะนาซะฮฺ"(บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัยฮะกีย์)

รายงานจากจากท่านอาลี อิบนิ อบีฏิลิบ และท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
ท่านทั้งสองได้กล่าวว่า
"ไม่มีการยกมือ หมายถึงในละหมาดญะนาซะฮฺ นอกจากขณะตักบีร่อตุลเฮียะรอม (ตักบีรฺแรก) เท่านั้น" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัยฮะกีย์ และอัตติรมิซีย์)

การต่อเนื่องในการทำตักบีรฺ

บรรดาอุละมาอฺมีความทัศนะที่ไม่ตรงกันในเรื่องนี้

ทัศนะแรก ให้มีการเว้นช่วงระหว่างตักบีรฺ โดยไม่ให้มีการติดต่อกัน ซึงเป็นทัศนะของมัซฮับชาฟีอีย์ และมัซฮับฮัมบาลีย์  โดยให้ทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งระหว่างสองตักบีรฺ เพื่อกล่าว "ซุบฮานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร"

หลักฐานที่นำอ้างอิงทัศนะ

รายงานจากท่านอัลกอมะฮฺ เล่าว่า ท่านอับดุลลอฮ อิบนิ มัสอู๊ด ท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ และท่านฮุซัยฟะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า "ท่านวะลีด อิบนิ อุกบะฮิ ได้ออกไปพบท่านทั้งสามในวันหนึ่ง และกล่าวว่าถามท่านทั้งสามว่า
" วันอีดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว จะตักบีรฺอย่างไรกันในวันนั้น ท่านอับดุลลอฮ อิบนิ มัสอู๊ด ได้ตอบว่า "ท่านเริ่มด้วยกล่าวตักบีรฺเปิดละหมาด ต่อมาให้สรรเสริญพระเจ้าของท่านแล้วกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี ต่อจากนั้นให้ท่านขอดุอาอฺ แล้วกล่าวตักบีรฺ ละทำเหมือนกัน ต่อจากนั้น ให้ท่านขอดุอาอฺ แล้วกล่าวตักบีรฺ.....ต่อจากนั้นให้อาน (อัลฟาติหะฮฺ และสูเราะฮฺ)...."(บันทึกหะดิษโดย อัลบัยฮะกีย์)
จากหะดิษข้างต้น ระบุว่า "จากนั้นให้ท่านขอดุอา" แต่ไม่ได้ระบุให้กล่าวดุอาอ์อย่างไร บ้างก็กล่าว "ซุบฮานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร" บ้างก็กล่าว "อัลลอฮุอักบัร กะบีรอ วัลอัมดุลิลลาฮิ กะซีรอ วะซุบฮานัลลอฮิ บุกร่อเตาวะอะซีลา วะศ็อลลัลลอฮุอะลามุฮัมมัด วะอาลิฮฺ วะซํลละมะกะซีรอ" บ้างก็กล่าวว่า "ลาอิลาฮะอิลลัลอฮฺ อัลลอฮุอักบัร ฮัมฮัมดุลิ้ลลาฮฺ"

และไม่พบหลักฐานจากท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยตรงว่าให้เว้นช่วงระหว่างตักบีรฺ และกล่าวดุอาอ์ใดๆ

ทัศนะที่ 2 ให้ตักบีรฺติดต่อกัน มิต้องเว้นช่องว่างด้วยการอ่านอะไร เพราะตรงนั้นไม่ใช่ตำแหน่งที่ควรขอดุอาอฺ หรือซิกรุ้ลลอฮฺ นั้นก็คือให้กล่าวอัลลอฮุอักบัร อย่างต่อเนื่อง จนครบ 7 ครั้งในร็อกอะฮฺแรก และ 5 ครั้ง ในร็อกอะฮฺที่สอง ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามอบูฮานิฟะฮฺ และอิมามมาลิก


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿





วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การกล่าวตักบีรฺวันอีดทั้งสอง




การกล่าวตักบีรฺ หากวันอีดิลฟิฏริ ให้กล่าวตั้งแต่เมื่อเห็นหรือทราบข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว ไปจนกระทั่งยืนเพื่อละหมาดอีดิลฟิฏริ เมื่อให้สลามในละหมาดอีดอิดิลฟิฏริแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวตักบีรฺอีก

และสำหรับวันอีดิ้ลอัฎฮา ให้กล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ซุลฮิจญะฮฺ ส่วนการกล่าวตักบีรฺหลังละหมาดฟัรดู ให้เริ่มกล่าวตั้งแต่หลังละหมาดศุบฮฺของวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ (คืนวันอะเราะฟะฮฺ) เรื่อยไปจนกระทั้งถึงเวลาละหมาดอัศริของวันที่ 13 ซุลฮิจญะฮฺ

สำหรับสำนวนการตักบีรฺในวันอีดทั้งสองมีหลายสำนวน เช่น

الله أكبر ، الله أكبر ، الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ، ولله الحمد

อ่านว่า :อัลลอฮุอักบัรฺ   อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ วะลิลลาฮิลหัมด์"

ความหมาย : อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น"

แต่ที่ถือว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดคือ

الله أكبر الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ولله الحمد

อ่านว่า : อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ วะลิลลาฮิลหัมด์"

ความหมาย : อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น"

จากการรายงานหะดิษ

كان ابن مسعود رضي الله عنه يقول : اللَّهُ أَكْبَرُ اللَّهُ أَكْبَرُ ، لَا إلَهَ إلَّا اللَّهُ ، وَاَللَّهُ أَكْبَرُ اللَّهُ أَكْبَرُ وَلِلَّهِ الْحَمْدُ [ابن أبي شيبة] .

ในวันอีดท่าน(อิบนิมัสอู๊ด)จะตักบีรว่า "อัลลอฮุอักบะรุลลอฮุอักบัร (อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร) ลาอิลาหะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร(ไม่มีพระเจ้าใดนอกจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงเกรียงไกร) อัลลอฮุอักบัร(อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร) วะลิลลาฮิลฮัมดฺ(การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ)"(บันทึกโดยอิมามอิบนุอบีชัยบะฮฺ เชคอัลบานียฺตรวจสอบและว่าสายสืบเศาะเฮี๊ยะฮฺ )

 มีอีกรายงานหนึ่งที่เพิ่มตักบีรเป็น 3 ครั้ง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ทั้งสองแบบตามที่ยกมาข้างต้น

และอีกสำนวนหนึ่ง

รายงานจากท่านอิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านเคยตักบีรว่า

وعن ابن عباس رضي الله عنهما :" الله أكبر ، الله أكبر ، الله أكبر ، ولله الحمد ، الله أكبر وأجل ، الله أكبر على ما هدانا" [البيهقي[

"อัลลอฮุอักบะรุลลอฮุอักบัร (อัลลอฮฺทรงเกรียงไกรยิ่ง)  อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมดฺ (อัลลอฮฺทรงเกรียงไกรยิ่ง การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ) อัลลอฮุอักบะรุวะอะญัล (อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่) อัลลอฮุอักบะรุอะลามาหะดานา (อัลลอฮฺทรงเกรียงไกรเนื่องจากว่าอัลลอฮฺทรงให้ทางนำแก่เรา)"   (บันทึกโดยอิมามอัลบัยหะกียฺ เชคอัลบานียฺบอกว่าสายสืบเศาะเฮี๊ยะฮฺ)

และเมื่อกล่าวตักบีรแล้วให้รำลึกถึงความหมายด้วยว่าอัลลอฮฺยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าหลงไปกับสิ่งต่างๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวสวยงาม, การเชือดกุรบาน(อุฎหิยะฮฺ) ซึ่งเรากระทำด้วยความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงบัญชาให้เราทำเนื่องจากการเชือดของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ที่ถูกทดสอบให้เชือดลูกของท่านและท่านก็ยอมที่จะกระทำตามบัญชา เพราะอัลลอฮฺยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน บิดามารดา สถาบัน ฯลฯ และเราก็ต้องกลับมาทบทวนว่าชีวิตของเรามีอะไรยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺหรือไม่


والله أعلم بالصواب

ดาวน์โหลด MP3 เสียงตักบีรฺวันอีด






✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿