อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทดุอาอฺ ให้พ้นจากการสร้างความเดือดร้อนของผู้ปฏิเสธ


رَبَّنَالاَتَجْعَلْنَافِتْنَةً لِلَّذِيْنَ كَـفَرُوْا وَاغْفِرْلَنَارَبَّنَا إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيْزُ الْحَكِيْمُ

"ร็อบบะนา ลาตัญญะอัลนา ฟิตนะตัน ลิลละซีนะกะฟะรู วัฆฟิรละนา ร็อบบะนา อินนะกะ อันตัลอะซีซุลหะกีม"

{ ความว่า : โอ้ พระเจ้าของเรา โปรดอย่าได้ให้ข้าพระองค์เป็นบททดสอบของบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายเลย และโปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วย แท้จริง พระองค์คือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ }


(ซูเราะฮฺอัล มุมตะฮินะฮฺ อายะฮฺที่ 5)

ดุอาอฺปลดหนี้สิน



اللَّهُمَّ اكْفِنِيْ بِحَلَالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِنِيْ بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ

"อัลลอฮุมมักฟินี บิหะลาลิกะ อันหะรอมิกะ วะอัฆนินี บิฟัฎลิกะ อัมมัน สิวาก"

{ ความว่า : โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้สิ่งหะลาลของพระองค์เพียงพอแก่ฉัน (ให้พ้น)จากสิ่งหะรอมของพระองค์ และโปรดให้ฉันร่ำรวยเนื่องด้วยความโปรดปรานของพระองค์ พ้นจาก(การพึ่งพา)ผู้อื่นนอกจากพระองค์ }

ใครที่อ่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺจะช่วยให้เขาพ้นหนี้สิน

(บันทึกโดย ติรมิซี / หะดีษหะซัน)

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อย่าพัวพันกับดุนยาจนลืมสิทธิของผู้สร้าง

อิหม่ามอิบนุบาซ รอหิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า :

"เราขอความต่ออัลลอฮฺให้รอดพ้นจากสิ่งดังกล่าว ...

คนๆหนึ่งลุกขึ้นเพื่อธุระทางโลกของเขา เเละเพื่อสิทธิของสิ่งถูกสร้าง เเต่เขากลับไม่ลุกขึ้นเพื่อสิทธิของอัลลอฮฺ #ผู้ทรงสูงส่ง"

มัจมั๊วะฟ่าตาวา : (29/179)

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ผู้ศรัทธา คือ ผู้ที่พบกับความสุขอันแท้จริง





อัลลอฮ์ ตรัสไว้มีความว่า



“ และสิ่งใดที่พวกเจ้าได้รับนั้นเป็นเพียงการสนุกสนานเพลิดเพลินแห่งชีวิตของโลกนี้เท่านั้น



แต่สิ่งที่มีอยู่ ณ ที่อัลลอฮฺนั้น ดีกว่าและจีรังกว่า สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา



และพวกเขามอบหมายไว้วางใจแด่พระเจ้าของพวกเขา



และบรรดาผู้ที่หลีกเลี่ยงการทำบาปใหญ่และการทำลามก และเมื่อพวกเขาโกรธพวกเขาก็อภัยให้”



ซูเราะฮ์ อัซซูรอ: 36-37



จากความหมายของโองการของพระองค์อัลลอฮ์ ดังกล่าวคือ อันความกรุณาปราณีในรูปแบบของวัตถุที่พระเจ้าได้มอบให้มนุษย์นั้นมากมาย ไม่เป็นการประหลาดอะไรที่คนที่ร่ำรวยอยู่แล้วยิ่งร่ำรวยเพิ่มขึ้นอีก คนที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วก็ยิ่งเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอีก คนที่ยากจนก็กลายเป็นคนร่ำรวย คนที่ลำบากก็ได้รับความสุขสบาย เพราะมีโอกาสใหม่ๆที่จะสร้างความร่ำรวยได้ การแข่งขันกันในการหาผลประโยชน์ สร้างความร่ำรวย กอบโกยและตักตวง เอาความสุขสบายด้านวัตถุนั้น นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทั่งมีการทุ่มเทพลังทั้งหมดเพื่อสิ่งดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราควรจะสำนึกอยู่เสมอนั้นก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้รับอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ความสุขสบาย ล้วนเป็นความกรุณาปราณีของพระองค์อัลลอฮ์ ทั้งสิ้น



มนุษย์ถูกเตือนให้ทราบว่า ความกรุณาปราณีของอัลลอฮ์ ในรูปแบบของความร่ำรวย ความสุขสบายและเกียรติยศเหล่านั้นเป็นความสุขสบายชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น สำหรับชีวิตในโลกอันชั่วคราวนี้จะหาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ทั้งหมดนั้นอยู่ในลักษณะชั่วคราวเท่านั้น



ชีวิตในโลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งทดสอบนานาชนิด และเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้น ทุกคนจะต้องกลับไปหาพระเจ้า ทิ้งทรัพย์สมบัติและความร่ำรวยตลอดจนตำแหน่งหน้าที่และเกียรติยศต่างๆไว้เบื้องหลัง



ด้วยเหตุดังกล่าวมนุษย์ได้ถูกเตือนให้ทราบว่า สิ่งตอบแทนของพระองค์อัลลอฮ์ ในรูปแบบของความสุขอันนิรันดรนั้นกำลังรอท่านอยู่ ณ วันอาคิเราะฮ์หรือวันปรโลก ซึงเป็นความสุขที่ถาวรกว่า เป็นความสุขที่มั่นคง และนิรันดรไม่มีวันสิ้นสุด การที่มนุษย์ได้สูญเสียผลประโยชน์ต่างๆในโลกนี้อันเป็นสิ่งชั่วคราวนั้น ย่อมเป็นของธรรมดา ไม่ควรจะไปเสียใจ หน้าที่ของมนุษย์ก็คือการแสวงหาความสุขวันอาคิเราะฮ์



ส่วนความสุขแห่งอาคิเราะฮ์นั้นถูกเตรียมไว้สำหรับตอบแทนผู้ศรัทธา มีอีมาน มอบกายใจแด่พระบัญชาของพระองค์อัลลอฮ์ พร้อมกับปฏิบัติตามข้อใช้ และหลีกห่างจากข้อห้ามของศาสนาอย่างเด็ดขาด และพร้อมที่จะให้อภัยเสมอหากมีอะไรทำให้เขาบันดาลโทสะขึ้น





สรุปแล้วผู้ที่จะลิ้มรสแห่งความสุขนิรันดรดังกล่าวนั้น ได้แก่กลุ่มชนที่รักพระเจ้า ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจและซื่อสัตย์ ยึดเอาสัจธรรมคำสอนของอิสลามเป็นธรรมนูญแห่งชีวิต ด้วยเหตุดังกล่าว ความภาคภูมิใจในความร่ำรวย ความสุขสบาย เกียรติยศในโลกนี้นั้น เป็นภาพลวงตาที่หาแก่นสารอะไรไม่ได้เลย เพราะทุกอย่างนั้นเราจะต้องทิ้งมันไว้เบื้องหลังไม่วันใดก็วันหนึ่งเป็นแน่



โอ้ ! อัลลอฮ์ ผู้เป็นที่รักยิ่ง โปรดให้เรามีชีวิตอยู่ และกลับสู่พระองค์ในฐานะมุสลิมด้วยเถิด อามีน......


ยังไม่ถึงเวลากลัวอัลลอฮ์ หรือ...!





โดย.... อ. อับดุลเราะมัน เจะอารง



ในอัล-กุรอานได้มีอายะฮ์หนึ่งที่ผู้ไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่อ่านแล้วทำให้เขาสำนึกตัว ยอมรับความผิดพลาด ความไม่แยแสต่อหน้าที่ ผู้ที่หลงลืมอ่านแล้วจะตื่นตัว ผู้ที่เคยกระทำความผิดอ่านแล้วจะไม่ยอมหวนกลับปฏิบัติอีกแล้ว นั่นคืออายะฮ์ทีความว่า



ألَمْ يأْنِ لِلذينَ آمَنوا أن تخْشَعَ قلوْبُهم لِذِكْرِ الله وما نزَلَ من الحقِ ولا يكونوا كالَّذينَ أُوتُو الكِتابَ مِن قبْلُ فطالَ عليهِمُ الأمَدُ فقَسَت قلُوبَهم وكَثيرٌ منْهم فاسِقون (الحديد/16)



“ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่หัวใจของพวกเขาจะนอบน้อมต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และสิ่งซึ่งได้มีลงมา คือ ความจริง



และพวกเขาอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์มาแต่ก่อนนี้ แล้วช่วงเวลาได้เนิ่นนานเกินไปแก่พวกเขา



ดังนั้นจิตใจของพวกเขาจึงแข็งกระด้างและส่วนมากของพวกเขาจึงเป็นผู้ฝ่าฝืน”



เป็นการปรามบรรดาผู้ศรัทธาว่า ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่พวกเขาจะมีหัวใจที่นอบน้อมต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ สัญญาดีและสัญญาร้ายของพระองค์ และอย่าได้เป็นเช่นพวกยะฮูด พวกนะศอรอ ที่อัลลอฮ์ ทรงประทานคัมภีร์เตารอห์และอินญีลให้แก่พวกเขา ครั้นเวลาได้ลวงเลยมาเป็นเวลานานระหว่างพวกเขากับบรรดานบีของพวกเขา ดังนั้น จิตใจของพวกเขาจึงแข็งกระด้างด้วยการวุ่นอยู่แต่ในเรื่องของโลกดุนยาพวกเขาจึงกลายเป็นผู้ฝ่าฝืน ไม่เชื่อฟังและจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ปฏิเสธและไม่สนใจต่อข้อใช้ข้อห้ามของศาสนา





นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานได้อธิบายอายะฮ์นี้ไว้ว่า เวลาได้ถึงมาแล้วสำหรับบรรดามุอฺมินที่จะทบทวนตัวเอง ตั้งสติ มองดูผลงานที่ดีงามและผลงานที่เลว เมื่อรู้ว่าผลงานที่ดีงามยังน้อยอยู่พยายามให้ใกล้ชิดกับพระองค์อัลลอฮ์ ให้มากขึ้น เพราะคำเตือนจากอัล-กุรอานได้ผ่านมามากมายแล้ว และมีผู้อธิบายอายะฮ์นี้ไว้ว่า ยังไม่ถึงเวลาหรือที่บรรดาชาวคัมภีร์เตารอฮ์(คือชาวยิว) และชาวคัมภีร์อินญีล(ชาวคริสต์)ที่จะเกรงขามและนอบน้อมยอมรับคัมภีร์อัล-กุรอาน เพื่อไม่ให้พวกเขาเป็นผู้ตามนบีมูซา และตามนบีอีซา ในยุคแรก ๆ แต่ต่อมาเวลาได้ล่วงเลยไปมากทำให้หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้าง ไม่สามารถยอมรับคัมภีร์อัล-กุรอานได้



สาเหตุของการประทานอายะฮ์นี้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายลึกซึ้งไปอีก อิมามกุรฏุบีย์รายงานว่า เมื่อบรรดาเศาะหาบะฮ์ได้อพยพไปอาศัยที่นครมะดีนะฮ์ พวกเขารู้สึกสบายอกสบายใจ ไร้ความกดดันและการขู่เข็ญ มีการหัวเราะกัน สนุกสนาน เฮฮากันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้พระองค์อัลลอฮ์ ตักเตือนพวกเขาด้วยอายะฮ์นี้ และท่านเราะสูล ได้กล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ทรงตั้งใจจะค่อย ๆ สั่งให้พวกเจ้าสำรวมตน



บทสรุปจากอายะฮ์



1. อายะฮ์ใช้ให้เรามีความสำรวมตน รำลึกถึงความโปรดปรานของพระองค์และเตือนมิให้เราเป็นเสมือนคนยุคก่อน ๆ ที่เมื่อมีน้ำฝนตกลงมา พวกเขาไม่ตักตวงเก็บน้ำฝนนั้นไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพาะปลูก



2. อายะฮ์เตือนมิให้บรรดามุอฺมินนิ่งเฉย เดียวดาย ไม่ตอบสนองกับอายะฮ์ที่ประทานลงมา หัวใจที่ไม่ตอบสนองอายะฮ์อัล-กุรอานหมายถึงหัวใจที่แข็งกระด้าง และหัวใจแข็งกระด้างคือหัวใจที่ปฏิเสธพระองค์อัลลอฮ์



3. หัวใจของมนุษย์ควรเป็นหัวใจที่อ่อนไหว อ่อนโยน นอบน้อม เกรงกลัวและร้องไห้บ่อยครั้งยอมรับความยิ่งใหญ่ของพระองค์



พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า



فلْيضْحَكوا قليلاً ولْيبْكوا كثيراً جزاءً بِما كانوا يكْسِبون (التوبة/82)



“พวกเขาจงหัวเราะแต่น้อย และจงร้องไห้มาก ๆ เถิด (กล่าวคือที่พวกเขาจะถูกลงโทษนั้นก็มิใช่อื่นใด เป็นเพียงการตอบแทนตามที่พวกเขากระทำเท่านั้น)”



ดังนั้น โอ้ บรรดาผู้บูชาเจว็ดทั้งหลาย ถึงเวลาแล้วที่พวกท่านทั้งหลายจะเปลี่ยนกลับมาบูชาพระองค์อัลลอฮ์ องค์เดียว



พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า



يا أيُّها النَّاسُ اعْبُدوا ربَّكمُ الَّذي خلَقَكمْ والَّذي مِن قبْلِكم لعلَّكم تتَّقون ن الَّذي جعَلَ لكمُ الأرْضَ فِراشاً والسَّماءَ بِناءً وأنْزَلَ مِن السَّماءِ ماءً فأخْرَجَ بِه مِنَ الثَّمَراتِ رزْقاً لكُم فلا تجْعلوا للهِ أنْداداً وأنتُم تعْلَمون (البقرة/21)



“มนุษย์เอ๋ย ! จงเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าที่ทรงบังเกิดพวกเจ้า และบรรดาผู้มาก่อนพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง



คือผู้ทรงให้แผ่นดินเป็นที่นอนและฟ้าเป็นอาคารแก่พวกเจ้า และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วได้ทรงให้บรรดาผลไม้ออกมาเนื่องด้วยน้ำนั้น



ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่าให้มีผู้เท่าเทียมใด ๆขึ้นสำหรับอัลลอฮ์ โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่”



โอ้ บรรดาผู้บูชาอารมณ์ตนเอง โดยยอมตามทุกสิ่งทุกอย่างที่อารมณ์ฝ่ายต่ำชอบ ได้เวลาแล้วหรือยังที่จะหักห้าม ขัดขืน ไม่ยอมตามอารมณ์แล้วกลับมานอบน้อม ยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ ผู้ทรงเตรียมสวนสวรรค์สำหรับผู้ที่ตามคำสอนของพระองค์ และเตรียมไฟนรกไว้สำหรับผู้ที่เนรคุณต่อพระองค์



พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า



فإنْ لم يسْتَجِيبوا لَك فاعْلَم أنَّما يتَبِعونَ أهْواءَهم وَمَن أضَلُّ مِمَّنِ اتَّبَهَ هَواهُ بغيْرِ هُدًى مِن اللهِ (القَصَص/50)



“หากพวกเขาไม่ยอมสนองตอบเจ้า ก็พึงรู้เถิดว่า แท้จริงพวกเขาปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของพวกเขาเท่านั้น



และผู้ใดเล่าจะหลงยิ่งไปกว่าผู้ปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของเขา โดยปราศจากแนวทางและหลักฐานที่ถูกต้องจากอัลลอฮ์”



โอ้ บรรดาผู้ที่ยังลังเลใจจะบูชาอะไรดี ถึงเวลาแล้วที่ท่านทั้งหลายจะยอมรับพระองค์อัลลอฮ์ และปฏิบัติตามบัญชาที่พระองค์ทรงสั่งสอนทุกประการในชีวิตประจำวัน เพื่อรำลึกถึงบุญคุณที่พระองค์ทรงมอบให้



พระองค์ทรงตรัสไว้ความว่า



إنْ يتَّبِعونَ إلاَّ الظَّنَّ وما تهْوَى الأنْفُسُ ولقَدْ جاءَهمُ الهُدى (النجم/23)



“พวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากการคาดคะเน และสิ่งที่อารมณ์ปรารถนา



และโดยแน่นอน แนวทางที่ถูกต้อง(ฮิดายะฮ์)จากพระเจ้าของพวกเขาได้มีมายังพวกเขาแล้ว”



โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาในพระองค์อัลลอฮ์ แต่ในบางครั้งบางคราว พวกเขาแพ้อารมณ์ของตนเอง โดยที่พวกเขาประกอบความดีปะปนกับความชั่วบ้าง ได้เวลาแล้วที่พวกเขาทั้งหลายจะกลับเนื้อกลับตัว ยอมรับและสารภาพผิดก่อนที่วิญญาณจะถึงคอหอย



พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า



وآخَرونَ اعْتَرَفوا بِذنُوبِهم خلَطوا عملاً صالِحاً وآخَرَ سيِّئاً عسى اللهُ أن يتوبَ عليهِم (التوبة/102)



“และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพความผิดของพวกเขา โดยที่พวกเขาประกอบกรรมดีปะปนไปกับงานที่ชั่ว หวังว่าอัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา”


วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ฮุก่มการรับประทานสัตว์เชือดพลีของชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺ ( ذَبَائِحُ الشِيْعَة )








{ คุยกันก่อนอ่าน : พี่น้องที่จะไม่อ่านเกี่ยวกับการเท้าความสามารถอ่านหุก่มของเรื่องนี้ได้เลยโดยอ่านข้ามไปสามย่อหน้าจากนี้,ในข้อเขียนนี้สวนใหญ่จะใช้คำว่าอาหารแทนคำว่าสัตว์พลีจึงเรียนมาให้ทราบนะครับเกรงจะเข้าใจผิดกันว่าหมายถึงทุกอย่างที่ชีอะฮทำเป็นอาหาร }





ไม่นานมานี้ผมถูกสักถามจากพี่น้องบางสวนเกี่ยวกับการรับประทานอาหารในร้านของชีอะฮฺซึ่งอยู่ในเขตรั้วมหาวิทยาลัยทำให้ผู้ถามเกี่ยวกับเรื่องนี้รู้สึกกังวลเป็นพิเศษเนื่องจากมีกลุ่มพี่น้องมุสลิมีนและมุสลิมะฮฺชาวซุนนีย์เราจำนวนมากเดินเข้าออกร้านดังกล่าวเป็นจำนวนมาก





ในร้านอาหารดังกล่าวก็เต็มไปด้วยอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์,ของคาว,และของหวานที่ถูกปากน่ารับประทานตกแต่งไปด้วยสีสันและรูปทรงตามเทรนของวัยรุ่นที่มักจะนิยมรับประทานกัน





ในขณะเดียวกันวันสองวันมานี้ผมดันไปเปิดเจอคลิปวิดิโอและข่าวสารบ้านเมืองในโลกอาหรับที่เป็นข้อเขียน ปรากฎว่ามีการแจกจ่ายอาหารของกลุ่มชีอะฮฺอิหม่ามสิบสองส่งตรงจากประเทศอิหร่านเลี้ยงอาหารละศิลอดให้กับมุสลิมซุนนีย์เราในปาเลสไตน์ จึงทำให้ผมรู้สึกหวาดวิตกถึงความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนนี้จะมีผลทำให้มุสลิมไทยเราจำนวนไม่น้อยเลยจะเข้าใจไปว่าซุนนีย์เราสามารถรับประทานสัตว์พลีของชีอะฮฺได้จึงก่อเกิดข้อเขียนนี้ขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ อินชาอัลลอฮฺ





การรับประทานสัตว์พลีของกลุ่มชีอะฮฺถือว่าห้ามรับประทานด้วยกับการพิจรณาตามตัวบทและหลักฐานของศาสนาทำให้เราทราบว่าสัตว์พลีของมุสลิมและอะฮลุลกิตาบนั้นสามารถรับประทานได้ แต่สัตว์พลีของมุชริกีน,มะญูซี,และผู้ที่ตกมุรตัดนั้นไม่เป็นที่อนุญาตให้รับประทาน





นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า





“ ภาพรวมอะกีดะฮฺและหลักการปฏิบัติของชีอะฮนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่าพวกเขาออกจากศาสนาอิสลามไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อของพวกเขาที่ว่า พระมหาคัมภีร์กุรอานถูกบิดเบือน,บรรดาอิหม่ามของพวกเขานั้นมีความหยั่งรู้เกี่ยวกับเรื่องเร้นลับทั้งเชื่อว่าพวกเขานั้นมะอฺซูมปราศจากบาปและความบกพร่อง พวกเขานั้นขอช่วยเหลือ (อิสติฆอษะฮฺ) จากบรรดาคนตาย รวมถึงขอดุอาอฺจากพวกเขาด้วย ทั้งพวกเขายังทำการสุญูดต่อกุโบรต่างๆของคนตายที่เขานับถือ พวกเขาด่าทอและตักฟีรต่อกลุ่มคนที่ประเสริฐที่สุดถัดจากบรรดานบี และบรรดาร่อซูล นั้นคือบรรดาซอฮาบะฮของท่านนบีมุหัมหมัด “





เช่นเดียวกันผมจะขอยกฟัตวาจากลัดนะฮดาอิมะฮที่ได้ถูกถามเกี่ยวกับปัญหาว่าด้วยการรับประทานสัตว์พลีของพวกชีอะฮญะอฺฟะรียะฮฺที่พวกเขานั้นวิงวอนขอดุอาอฺกับท่านอะลีย์,ท่านหะซัน,ท่านหุเซน,และคนอื่นๆ





โดยที่ลัจนะฮดาอิมะฮตอบว่า





“ หากว่ามันเป็นไปตามนั้น คือ พวกชีอะฮญะอฺฟะรียะฮพวกนี้วิงวอนขอดุอาอฺจากท่านอะลีท่านหะซันท่านหุเซนและคนอื่นๆ ถือว่าพวกชีอะฮพวกนี้นั้นเป็นมุชริกีนออกจากศาสนาอิสลามแล้ว “





ฮัมซะฮฺ ขำวิลัย


18/9/1439


วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เหตุไฉนดุอาถึงไม่ถูกตอบรับ?







ครั้งหนึ่งท่านอิบรอฮีม อิบนุ อัดฮัม (ร.ฮ.)


ได้เดินผ่านมาในตลาด ผู้คนต่างรุมล้อมรวมอยู่กับท่าน


และพวกเขาก็กล่าวกับท่านว่า:


ท่านอะบา อิสฮาก:(หมายถึงท่านอิบรอฮีม อิบนุ อัดฮัม)


แท้จริงพระอัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์อัลกุรอานว่า:


((أد عوني أستجب لكم))


"สูเจ้าทั้งหลายจงขอจากฉัน(หมายถึงอัลลอฮฺ)แล้วฉันจะตอบรับการวอนขอของสูเจ้า"





พวกเราก็วอนขอมาเป็นปี ๆ แล้ว แต่พระองค์ก็ยังไม่ตอบรับการวอนขอของพวกเราเลย?


(ประหนึ่งว่าพวกเขาต้องการตัดพ้อกับท่านอิบรอฮีม อิบนุ อีดฮัมว่า พระดำรัสของอัลลอฮฺสัจจะจริงเสมอมิใช่หรือ?)





ท่านอิบรอฮีม อิบนุ อัดฮัม จึงกล่าวตอบผู้คนเหล่านั้นว่า:


อาจเป็นไปได้ว่าหัวใจของพวกท่านมันตายสนิท (มืดบอด)ในเรื่องราว 10 ประการต่อไปนี้


แล้วไฉนเลยดุอาของพวกท่านจะถูกตอบรับได้อย่างไรกัน?





ประการที่หนึ่ง


พวกท่านศรัทธาอีหม่านต่ออัลลอฮฺ


แต่พวกท่านละเลยไม่ยอมปฎิบัติหน้าที่ต่อพระองค์ตามที่พระองค์ได้บัญชาใช้





ประการที่สอง


พวกท่านอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน


แต่พวกท่านไม่ยอมปฎิบัติตามอัลกุรอาน





ประการที่สาม


พวกท่านอ้างว่ารักท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์(ศ.ล.)


แต่พวกท่านกลับทิ้งแนวทางหรือ"ซุนนะฮ์"ของท่านโดยไม่ยอมดำเนินตามแบบฉบับของท่าน





ประการที่สี่


พวกท่านอ้างว่าเป็นศัตรูคู่อริกับมารร้ายซัยฎอน


ทั้งๆที่พวกท่านกลับเชื่อฟังมัน และเห็นด้วยกับมัน





ประการที่ห้า


พวกท่านวอนขอให้ได้เข้าสวรรค์


โดยพวกท่านไม่ยอมปฎิบัติ"อะมั้ล"ที่ทำให้ได้เข้าสวรรค์





ประการที่หก


พวกท่านขอให้รอดพ้นจากนรก


โดยที่พวกท่านกลับโยนตัวของพวกท่านลงไปในนรกเสียเอง





ประการที่เจ็ด


พวกท่านพูดว่า:ความตายเป็นสัจธรรมที่ทุกคนหนีไม่พ้น โดยที่พวกท่านไม่เคยตระเตรียมหรือตระหนักสำหรับมันเลย





ประการที่แปด


พวกท่านอยู่มัวสนใจอยู่กับข้อบกพร่องหรือตำหนิของคนอื่น โดยที่พวกท่านมองไม่เห็นข้อบกพร่องของตัวพวกท่านเอง





ประการที่เก้า


พวกท่านบริโภค"เนี๊ยะมัต"ความโปรดปรานที่พระเจ้าของพวกท่านทรงประทานให้ โดยที่พวกท่านไม่เคยแม้แต่จะคิดขอบคุณพระองค์





ประการที่สิบ(สุดท้าย)


พวกท่านฝังศพคนตายหรือเห็นคนตายไปแล้วหลายต่อหลายคน โดยที่พวกท่านก็ไม่เคยคิดพิจรณาอย่างจริงจังว่า:


สักวันคงมาถึงพวกท่าน!!





--------------------------------------------


ยาม..วิงวอน


آمين..يارب


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อกลุ่มชนที่ถูกอุปโลกน์ฉายาให้ว่า"พวกวะฮาบี"



📩 ขอฝากสาส์นนี้ไปยังผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อกลุ่มชนที่ถูกอุปโลกน์ฉายาให้ว่า"พวกวะฮาบี"...

👉 บางคนเกลียดวาฮาบี ด่าทอวะฮาบี สาปแช่งวะฮาบี ให้หุก่มที่ร้ายเเรงต่อวะฮาบี เลยเถิดไปจนถึงขั้นว่ามีราชครูบางสำนัก เวลาขึ้นบรรยายไม่ว่าจะกี่เวทีก็มีเเต่ข้อกล่าวหา คำใส่ไคล้ต่อกลุ่มที่ถูกเรียกว่าวะฮาบี และที่น่ารังเกียจที่สุดคือการเอาหุก่มกุฟรฺ(การปฏิเสธศรัทธา)มาครอบให้เเก่คนกลุ่มนี้ จนถึงขั้นประกาศว่าหะล้าลเลือดเนื้อ ทรัพย์สินของพวกวะฮาบี !!! (ขออัลลอฮฺทรงจัดการกับเขาด้วยความยุติธรรมของพระองค์ด้วยเถิด)

👉 เเต่มนุษย์จำพวกนี้เวลาที่เดินทางไปมักกะฮฺหรือมะดีนะฮฺ ซึ่งพูดกันง่ายๆว่าที่นั่นคือรังของวะฮาบีเลยทีเดียว พวกเขากลับไปละหมาดตามหลังชัยคฺ สุเดส , ชัยคฺ ชุเรม , ชัยคฺ มาฮิร , ชัยคฺ บันดัร กันได้หน้าตาเฉย !!!

👉 #ไม่รู้หรือว่า สุเดส ชุเรม มาฮิร บันดัร ที่ไปละหมาดตามหลังเขา มิหนำซ้ำบางทียังชื่นชอบเสียงของเขาเเล้วเอามาลอกเลียนแบบการอ่านกันเต็มบ้านเต็มเมืองนั้น ว่าท่านเหล่านั้นคือ"วะฮาบี" ที่พวกเขาด่าทอ สาปแช่ง หุก่มตกนรกกันไปแล้ว ! เเต่กลับไปละหมาดตามเขาได้หน้าตาเฉย ... !? ละหมาดใช้ได้ไหม ?

#ขอฝากคำถามเพียงเเค่นี้ ???


      ••┈┈•┈┈•⊰✿📚✿⊱•┈┈•┈┈•

👉 ส่วนเราขอบอกพวกท่านให้หูตาสว่างกันบ้างว่า : คำว่าวะฮาบี คือเกียรติของเรา !

📍 อัล-อัลลามะฮฺ ศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัล-เฟาซาน -หะฟิซอฮุลลอฮฺ- ถูกถามว่า :

   อะไรคือสาเหตุของการตั้งชื่อผู้เรียกร้องไปสู่เตาฮีดในทุกๆสถานที่ เรียกพวกเขาว่าวะฮาบียะฮฺ โดยเริ่มต้นจากชัยคฺ มุฮัมหมัด บิน อับดุลวะฮาบ รอหิมาฮุลลอฮฺ โดยคำๆนี้ได้กลายเป็นวาทกรรมที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากหนีออกจากบรรดาผู้ที่เรียกร้องไปสู่เตาฮีด(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ) ?

👉 ท่านตอบว่า :

   ไม่เลย , ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มันไม่ได้ทำให้ผู้คนหนีไปไหนเลย !

นี่คือเกียรติของเขา - มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ -

ถ้าหากว่าผู้ที่เรียกร้องไปสู่เตาฮีดถูกเรียกว่าวะฮาบี ถ้าเช่นนั้นผู้ที่เรียกร้องไปสู่ชิริกจะถูกเรียกว่าอะไรกันละ ?

        ถูกเรียกว่าอะไร ?

        ญาฮิลีย์(คนโง่เขลา)รึ ?

      

   ฉะนั้นนี่คือเกียรติของเรา

ปล่อยให้พวกเขาเรียกวะฮาบีไปเถิด - อัลฮัมดุลิลลาฮฺ -

ซึ่งนี่เป็นการยืนยันจากพวกเขาเองว่าแท้จริงการดะอฺวะฮฺของวะฮาบียะฮฺนั้น เป็นการเรียกร้องไปสู่เตาฮีด  !  ครับ

العلامة صالح الفوزان حفظه الله :

لا والله ما تْنَفِّر ،هذا فخر لنا ولله الحمد ، إنّو الّلي يدعو إلى التوحيد يسمى وهّابي ، إذن الّلي يدعو إلى الشرك وِيش يسمى ؟

يسمى إيش ؟

جاهلي

هذا فخر لنا خَلْهُم يْسَمُّون وهابي الحمد لله ، هذه شهادة منهم أن دعوة الوهابية أنها إلى التوحيد ، نعم .

[ที่มา] :  الدر النضيد في إخلاص كلمة التوحيد

#อิสลามตามแบบฉบับ



วะฮ์ฮาบียะฮฺ “ฟื้นฟูอิสลามตามวิถีสลัฟ”




        ก่อนปี ค.ศ. 1765
         
          คำว่า วะฮ์ฮาบียะฮฺ ได้มาจากชื่อบิดาของ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ (ค.ศ.1703-1791)
          วะฮ์ฮาบียะฮฺ คือขบวนการฟื้นฟูวิถีการปฏิบัติของสะลัฟ คนในกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า สะละฟียฺ(คนที่ปฏิบัติตามแนวทางของสลัฟที่ดี) แต่คนในกลุ่มอื่นจะเรียกพวกเขาว่า วะฮ์ฮาบียฺ และพยายามทำให้ชื่อเรียกนี้ฟังดูน่ากลัวเหมือนเป็นตัวอันตราย
          มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ ผู้นำทางจิตวิญญาณ และมุฮัมมัด บินสะอู๊ด(เสียชีวิต ค.ศ.1765) ผู้นำทางการเมือง ได้ร่วมมือกันจนสามารถก่อตั้งประเทศซาอุดิอารเบียได้สำเร็จ แม้ต่อมาจะถูกทำลายอีก 2 ครั้ง แต่ก็สามารถกอบกู้ขึ้นได้อีกเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้การนำของกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาละสะอูด(ค.ศ.1879-1953)
          ในเวลานั้นโลกอิสลามเต็มไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ มากมาย ที่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความเชื่อและหลักปฏิบัติศาสนาไปจากสมัยสลัฟอย่างมาก ความพยายามเรียกร้องให้หวนกลับไปใช้แนวทางของสลัฟที่ดีจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของกลุ่มสะละฟียะฮฺ (มุสลิมที่ยึดมั่นแนวทางของสลัฟที่ดี)
         
   ความเชื่อบางประการของกลุ่มนี้
          1. เรียกร้องให้กลับไปใช้วิธีการเข้าใจศาสนาตามแบบของสลัฟ คือการศึกษาอัลกุรอาน และหะดีษที่เชื่อถือได้ผ่านมุมมองความเข้าใจของสลัฟที่ดี เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่อัลลอฮฺและเราะสูลรับรองแล้ว
          2. ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบสถานะของฮะดีษ
          3. อิสลามให้การรับรองการปฏิบัติตามแนวทางของบรรพชน 3 รุ่นแรกของอิสลาม(สะลัฟ) ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางของสลัฟเรียกว่า สะละฟียฺ
          4. เชื่อว่า "ตัวบทกับปัญญาไม่ขัดแย้งกัน" ปัญญาที่ดีจะต้องคิดสอดคล้องกับตัวบทเสมอ หากเรื่องใดที่ปัญญายังไม่อาจเข้าใจ ก็จะยกตัวบทนำปัญญาเสมอ เพราะตัวบทคือสัจธรรมที่มาจากอัลลอฮฺ และปัญญาคือเครื่องมือทำความเข้าใจที่มีข้อจำกัดมากมาย
          5. แบ่งเตาฮีดเป็น 3 ประเภท คือ (1) เตาฮีดรุบูบียะฮฺ (2) เตาฮีดอุลูฮียะฮฺ และ (3) เตาฮีดพระนามและศิฟัต ที่ต้องแยกเรื่องเตาฮีดพระนามและศิฟัตออกมาจากเตาฮีดรุบูบียะฮฺ ก็เพราะเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้มุสลิมแตกเป็นกลุ่มต่าง ๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องแยกออกมาอธิบายเป็นการเฉพาะ
          6. ยืนยันศิฟัตทั้งหมดที่อัลลอฮฺหรือเราะสูลของพระองค์ยืนยัน ในแบบที่คู่ควรกับความสูงส่งของพระองค์ และไม่เหมือนกับมัคลู๊กใด ไม่มีการปฏิเสธ ไม่ตีความ ไม่เปรียบเทียบ และไม่ถามถึงรายละเอียดวิธีการ
          7. อัลกุรอานคือคำพูดของอัลลอฮฺทั้งคำและความหมาย อัลกุรอานไม่ใช่มัคลู๊ก
          8. ศรัทธา(อีมาน) ประกอบด้วยกาย วาจา และใจ ศรัทธามีเพิ่มมีลดได้ เพิ่มเมื่อทำความดี ลดเมื่อทำบาป ศรัทธาเริ่มแรกคือศรัทธาด้วยใจและปฏิญาณด้วยวาจา
          9. คนที่ทำบาปใหญ่ยังไม่พ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม นอกจากทำบาปที่ทำให้เสียอีมานเท่านั้น
          10. มุสลิมที่มีความชั่วมากกว่าความดี พระองค์จะลงโทษหรือให้อภัยก็ได้ตามประสงค์ของพระองค์
          11. บรรดานบีเท่านั้นที่เป็นผู้ไร้บาป(มะอฺศูม) เศาะฮาบะฮฺ หรือบรรดาลูกหลานนบี ไม่มีใครเป็นมะอฺศูม
          12. รักและให้เกียรติทั้งบรรดาเศาะฮาบะฮฺ ภรรยานบี และลูกหลานของนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม
          13. ไม่อนุญาตให้ใช้สื่อ(ตะวัสสุล)กับคนตายได้แม้จะเป็นนบีก็ตาม แต่อนุญาตใช้สื่อจากความดีที่ทำไปได้
          14. ให้อดทนกับผู้ปกครองที่ไม่ดี แม้จะถูกยึดทรัพย์หรือถูกโบยด้วยความไม่เป็นธรรมก็ตาม จนกว่าจะเห็นการกระทำที่เป็นปฏิเสธ(กุโฟร)อย่างแจ่มชัดไม่มีชุบฮะฮฺใด ๆ และการออกมาต่อต้านต้องมีผลดีมากกว่าผลร้ายที่จะตามมา
          15. ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะฮฺเป็นหลายประเภท เพื่อเป็นการให้เกียรติท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ที่กล่าวว่า "ทุกบิดอะฮฺคือการหลงผิด" และเพราะถือว่ามันคือประตูสู่การเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญที่หลายกลุ่มมักใช้เป็นข้ออ้าง
          16. ให้ความสำคัญกับเรื่องการรักเพื่ออัลลอฮฺ(วะลาอ์) โกรธเพื่ออัลลอฮฺ(บะรออ์) และการตักเตือน(นะศีหะฮฺ)
          17. เชื่อเรื่องการลงโทษในหลุมฝังศพ และการขอชะฟาอะฮฺในวันกิยามะฮฺ
         
   ข้อกล่าวหาบางประการที่กลุ่มต่าง ๆ ใช้กับกลุ่มนี้
          1. กล่าวหาว่า "เป็นพวกตัจสีม" คือ ผู้ที่เชื่อว่าอัลลอฮฺมีอวัยวะ หรือมีร่างกาย แต่ในความเป็นจริงวะฮ์ฮาบียฺ เพียงบอกว่า มือเป็นศิฟัต(คุณลักษณะหนึ่ง)ของอัลลอฮฺ และไม่เหมือนกับมัคลู๊ก ไม่ให้ใช้คำว่า เป็นอวัยวะ หรือเป็นร่างกาย และถือว่าการใช้คำเหล่านั้นเป็นคำบิดอะฮฺ เราใช้ได้เฉพาะคำเดียวกับที่อัลลอฮฺ และเราะสูลใช้เท่านั้น ใช้เกินไปกว่านั้นไม่ได้ เพราะเรารู้จักพระองค์เท่าที่พระองค์และเราะสูลบอกให้เราทราบเท่านั้น เราไม่อาจใช้สติปัญญาตีความศิฟัตของอัลลอฮฺเอาเองโดยปราศจากหลักฐานจากตัวบทได้
          2. กล่าวหาว่า "เป็นพวกชอบหุก่มชาวบ้านไปทั่ว" แต่ในความเป็นจริง การชี้แจงความจริงอาจต้องมีการพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละกลุ่มด้วย ไม่มีการหุก่มที่ตัวบุคคลแต่อย่างใด (นอกจากบุคคลที่ศาสนารับรองเช่น ฟิรอูน อบูละฮับ เป็นต้น) หากมีก็เป็นเพียงการหุก่มที่ตัวของการกระทำ ไม่ใช่ที่ตัวผู้กระทำ และยังใช้ให้มองแง่ดีกับพี่น้องมุสลิมของเขาว่า เขาคนนั้นอาจยังมีข้อคลุมเครืออยู่หรือยังไม่รู้ความจริง ตัวเขามีหน้าที่ต้องพยายามอธิบายโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมสวยงาม
          3. กล่าวหาว่า "เป็นพวกชอบสร้างความแตกแยก" แต่หากเราได้ศึกษาประวัตินบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จะพบว่าท่านนบีเป็นบุคคลแรกที่ถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหานี้ แต่ท่านก็อดทน ทำงานเผยแผ่ของท่านต่อไปจนอิสลามได้มาถึงเราทุกวันนี้ หากท่านหยุดเสียแต่ตอนที่ได้ยินคำพูดนี้ พวกเราจะได้เป็นมุสลิมแบบทุกวันนี้หรือเปล่า สำหรับคนที่รักนบี การเรียกร้องให้กลับไปทำตามสุนนะฮฺนบี ไม่ใช่เป็นการสร้างความแตกแยก แต่เป็นการแยกสัจธรรมกับความเท็จให้ออกจากกัน
          4. กล่าวหาว่า "ชอบพูดจารุนแรง ก้าวร้าว ไม่มีมารยาท" เป็นพฤติกรรมส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับคำสอนของกลุ่ม บางคนที่เป็นอย่างนั้นเพราะความจริงใจ แต่ขาดความเข้าใจเรื่องวิธีการอธิบาย จึงพูดออกไปตรง ๆ ทำให้บางคนรับไม่ได้ หรือมีคนอ้างตนว่าเป็นสะละฟียฺบางคนแต่เขารู้จักวะฮ์ฮาบียฺ หรือสะละฟียฺเพียงผิวเผิน ก็เอาไปพูดจากับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ผิด ๆ ถูก ๆ จึงทำให้คนอื่นเข้าใจสะละฟียฺผิดไปจากความเป็นจริง





คำพูดจากปลายลิ้น

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...

พี่น้องที่รักทุกท่าน ความโปรดปรานอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราได้รับจากอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาอย่างล้นเหลือ นั่นก็คือ “ลิ้น” ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัล-บะลัด 8-9 ความว่า

﴿ أَلَمۡ نَجۡعَل لَّهُۥ عَيۡنَيۡنِ ٨ وَلِسَانٗا وَشَفَتَيۡنِ ٩ ﴾  [البلد : 8-9]

“เรามิได้ทำให้เขามีดวงตาทั้งสองดอกหรือ และลิ้นและริมฝีปากทั้งสองด้วย”

หากใครมิได้ใช้ลิ้นไปในหนทางแห่งการภักดีต่ออัลลอฮฺ แน่นอนว่าจะเป็นความหายนะอย่างร้ายแรงต่อเจ้าของ อัลลอฮฺตรัส ความว่า

﴿ يَوۡمَ تَشۡهَدُ عَلَيۡهِمۡ أَلۡسِنَتُهُمۡ وَأَيۡدِيهِمۡ وَأَرۡجُلُهُم بِمَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٢٤ ﴾  [النور : 24]

“วันที่ลิ้น มือ และเท้าของพวกเขาจะเป็นสักขีพยานต่อพวกเขา ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัล-นูร : 24)

และยังมีหลักฐานอีกมากมายที่ส่งเสริมให้ระวังรักษาลิ้น ดังที่อัลลอฮฺตรัส  ความว่า

﴿ مَّا يَلۡفِظُ مِن قَوۡلٍ إِلَّا لَدَيۡهِ رَقِيبٌ عَتِيدٞ ١٨  ﴾   [ق : 18]

“ไม่มีคำพูดใดที่เขากล่าวออกมา เว้นแต่จะมีมะลัก(เทวฑูต)ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อมที่จะบันทึก”(กอฟ : 18)

และพระองค์ยังตรัสอีก  ความว่า

﴿ وَلَا تَقُولُواْ لِمَا تَصِفُ أَلۡسِنَتُكُمُ ٱلۡكَذِبَ هَٰذَا حَلَٰلٞ وَهَٰذَا حَرَامٞ لِّتَفۡتَرُواْ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَۚ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَفۡتَرُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ لَا يُفۡلِحُونَ ١١٦ ﴾  [النحل : 116]

“และพวกเจ้าอย่าได้กล่าวเท็จตามที่ลิ้นของพวกเจ้าต้องการ ว่าสิ่งนี้หะลาลและสิ่งนี้หะรอม เพื่อที่พวกเจ้าจะกล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ

แท้จริงบรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลฮฺจะไม่ประสบผลสำเร็จ” (อัล-นะหฺลฺ : 116)

สำหรับหะดีษมีด้วยกันหลายบท อาทิเช่น

          หะดีษที่รายงานโดยมุอ๊าซฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เขาได้ถามท่านเราะสูล  เกี่ยวกับการงานที่นำไปสู่สวรรค์และห่างไกลจากไฟนรก ท่านนบี  จึงได้บอกเขาเกี่ยวกับเรื่องหลักๆ ของกิจการนี้ คืออิสลาม รวมทั้งละหมาดที่เป็นเสาหลัก และการญิฮาดที่ถือว่าเป็นจุดสุดยอดของมัน แล้วท่านจึงกล่าวถามมุอ๊าซฺ  ว่า

«أَلَا أُخْبِرُكَ بِمَلَاكِ ذَلِكَ كُلِّهِ؟» قُلْتُ: بَلَى يَا نَبِيَّ اللَّهِ، فَأَخَذَ بِلِسَانِهِ، قَالَ: «كُفَّ عَلَيْكَ هَذَا»، فَقُلْتُ: يَا نَبِيَّ اللَّهِ وَإِنَّا لَمُؤَاخَذُونَ بِمَا نَتَكَلَّمُ بِهِ؟، فَقَالَ : «ثَكِلَتْكَ أُمُّكَ يَا مُعَاذُ، وَهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ فِي النَّارِ عَلَى وُجُوهِهِمْ أَوْ عَلَى مَنَاخِرِهِمْ إِلَّا حَصَائِدُ أَلْسِنَتِهِمْ» [رواه الترمذي برقم 2616، وقال : هذا حديث حسن صحيح]

“เอาไหมล่ะ หากฉันจะบอกเจ้าซึ่งสิ่งที่ครอบคลุมทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด?”

ฉัน(มุอ๊าซฺ)ตอบว่า “เอาครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ”

แล้วท่านก็จับลิ้นของท่าน และกล่าวว่า “ท่านจงระงับสิ่งนี้”

ฉันจึงกล่าวว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ พวกเราจะถูกสอบสวนในสิ่งที่เราได้พูดด้วยกระนั้นหรือ ?”

ท่านตอบว่า “แม่ของท่านได้เสียท่านแล้ว โอ้ มุอ๊าซฺเอ๋ย (เป็นสำนวนพูดในภาษาอาหรับที่กล่าวออกมาเพื่อเป็นการเตือนหรือติงคู่สนทนา) แล้วที่มนุษย์ต้องถลำหน้าหรือจมูกเข้าไปในไฟนรกมิใช่เพราะผลพวงมาจากลิ้นดอกหรือ?” (บันทึกโดย อัต-ติรฺมิซียฺ  : 2616)

จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

«إِنَّ الْعَبْدَ لَيَتَكَلَّمُ بِالْكَلِمَةِ مَا يَتَبَيَّنُ مَا فِيهَا، يَهْوِي بِهَا فِي النَّارِ أَبْعَدَ مَا بَيْنَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ» [رواه البخاري برقم 6477، ومسلم برقم 2988]

“บ่าวผู้หนึ่งอาจจะพูดจาด้วยคำพูด โดยที่เขาไม่ทราบว่าอัลลอฮฺทรงกริ้วหรือไม่

แต่แล้วมันกลับเป็นเหตุทำให้เขาตกไปในหุบเหวแห่งไฟนรก ที่มีความลึกเฉกเช่นความห่างของทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6477 และมุสลิม : 2988)

จากสะฮ์ลฺ อิบนุ สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ يَضْمَنْ لِي مَا بَيْنَ لَحْيَيْهِ وَمَا بَيْنَ رِجْلَيْهِ، أَضْمَنْ لَهُ الْجَنَّةَ» [رواه البخاري برقم 6474]

“ผู้ใดที่ประกันตนเองได้ว่าจะรักษาลิ้นและอวัยวะเพศของเขาจากการละเมิดได้ แน่นอนฉันจะรับประกันสวรรค์ให้แก่เขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6474)

จากอุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ถามท่านเราะสูลว่าสิ่งใดที่จะทำให้รอดพ้นจากไฟนรก ท่าน ตอบว่า

قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا النَّجَاةُ؟، قَالَ: «أَمْسِكْ عَلَيْكَ لِسَانَكَ، وَلْيَسَعْكَ بَيْتُكَ، وَابْكِ عَلَى خَطِيئَتِكَ» [رواه الترمذي برقم 2406]

“จงจับลิ้นของท่านให้ดี(ระมัดระวังคำพูด หยุดพูดในสิ่งที่ไม่ดี) และให้บ้านของท่านเป็นที่ปลอดภัยสำหรับท่าน และจงร้องไห้ต่อความผิดของท่าน” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ  : 2406)

จากสุฟยาน อัษ-ษะเกาะฟีย์ เล่าว่า เขาได้พูดกับท่านเราะสูล  ในวันหนึ่งว่า

قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ حَدِّثْنِي بِأَمْرٍ أَعْتَصِمُ بِهِ، قَالَ : «قُلْ رَبِّيَ اللَّهُ ثُمَّ اسْتَقِمْ»، قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا أَخْوَفُ مَا تَخَافُ عَلَيَّ؟، فَأَخَذَ بِلِسَانِ نَفْسِهِ ثُمَّ قَالَ : «هَذَا» [رواه الترمذي برقم 2410]

ท่านกรุณาสอนฉันสักเรื่องหนึ่งเพื่อที่ฉันจะได้ถือปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ท่านเราะสูลจึงตอบว่า  “เจ้าจงกล่าวว่าพระเจ้าของฉันคืออัลลอฮฺ แล้วจงยืนหยัดอย่างมั่นคงในศาสนา”

ต่อมาฉันถามท่านอีกว่า สิ่งใดที่ท่านคิดว่าน่ากลัวที่สุดสำหรับฉัน? ท่านได้ชี้ไปที่ลิ้นของท่านแล้วบอกว่า “สิ่งนี้แหล่ะ” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซียฺ  : 2410)

จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า “ฉันขอเตือนท่านทั้งหลายว่าอย่าได้พูดมากอย่างพร่ำเพรื่อ ให้พูดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น” (หนังสืออัศ-ศ็อมตฺ) ของอิบนุ อะบิดดุนยา หน้า 241 )

มีรายงานว่ามุฮัมหมัด อิบนุ วาสิอฺ พูดกับมาลิก อิบนุ ดีนารฺ ว่า

“โอ้ อบู ยะหฺยา  การรักษาลิ้นเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้คนมากทีเดียว และยากยิ่งมากกว่าการรักษาทรัพย์สินเสียอีก” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 120)

อัล-เอาซาอีย์กล่าวว่า “ ท่านเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ ได้ส่งสาส์นมาให้แก่พวกเรา ซึ่งไม่มีใครท่องจำได้นอกจากฉันกับมักหูลเท่านั้น จดหมายดังกล่าวมีใจความว่า

ใครก็แล้วแต่ที่เขานึกถึงความตาย เขาจะพอใจกับสิ่งน้อยนิดที่เขาครอบครองอยู่ในโลกนี้

และใครก็ตามที่เขาเอาคำพูดของเขามาเทียบชั่งกับการกระทำของตัวเอง เขาก็จะลดการพูดในสิ่งที่ไร้สาระ” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 112)

อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าไม่มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การกักขัง(ขังลืม)มากไปกว่าลิ้น” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 200)

อิหม่าม อัน-นะวาวีย์ กล่าวว่า “พึงรู้เถิดว่า...เป็นการสมควรอย่างยิ่งแก่มุกัลลัฟ(ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ)ทุกคนจะต้องรักษาลิ้นของเขาจากคำพูดที่ไร้สาระ แต่ต้องพูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ หากเห็นว่าประโยชน์กับโทษเท่ากันก็ให้นิ่งเงียบจะดีกว่า เพราะมันอาจจะชักนำไปสู่คำพูดที่หะรอมหรือมักรูฮฺได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น และยากที่จะหยุดยั้งไว้ได้” (ชัรหฺ เศาะฮีหฺมุสลิม เล่ม 2  หน้า 19)

การเคลื่อนไหวของลิ้นนับได้ว่าชั่วช้าที่สุดในบรรดาการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย และเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดของคนเรา

          อิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า “ช่างน่าฉงนเหลือเกินที่ผู้คนต่างพยายามที่จะปกปักษ์ตัวเองจากการกินทรัพย์สินที่หะรอม การอธรรม การผิดประเวณี การลักขโมย การดื่มเหล้า และการมองสิ่งที่หะรอม เป็นต้น แต่เป็นเรื่องยากเอามากๆ ที่เขาจะรักษาลิ้นของเขาได้ คนบางคนเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นว่าเป็นผู้ดีมีศาสนา แต่เขากลับพูดในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกริ้วโดยไม่แยแส อันเป็นเหตุทำให้ตกนรกได้ด้วยคำพูดเพียงคำเดียว ในบางครั้งท่านเจอคนที่ดูเลื่อมใสในศาสนา ไม่ยุ่งเรื่องชั่วช้าลามก แต่วาจาของเขาชอบถากถางและเชือดเฉือนเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่นทั้งที่ยังมีวิตอยู่และที่ตายไปแล้ว โดยที่เขาไม่แยแสว่าพูดอะไรออกไป” (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟี ลิมัน สะอะละ อัน อัด-ดะวาอ์ อัช-ชาฟี  หน้า 140)

หากท่านต้องการทราบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว ขอให้ทบทวนหะดีษที่รายงานโดยญุนดุบ อิบนุ อับดิลลาฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَدَّثَ أَنَّ رَجُلًا قَالَ : «وَاللَّهِ لَا يَغْفِرُ اللَّهُ لِفُلَانٍ. وَإِنَّ اللَّهَ تَعَالَى قَالَ : مَنْ ذَا الَّذِي يَتَأَلَّى عَلَيَّ أَنْ لَا أَغْفِرَ لِفُلَانٍ، فَإِنِّي قَدْ غَفَرْتُ لِفُلَانٍ وَأَحْبَطْتُ عَمَلَكَ» [رواه مسلم برقم 2621]

ท่านเราะสูลได้กล่าวถึงชายผู้หนึ่งที่เขาพูดว่า  “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าอัลลอฮฺจะไม่ให้อภัยแก่คนนั้นคนนี้

อัลลอฮฺจึงกล่าวว่า ใครนะที่บังอาจพูดว่าฉันจะไม่ให้อภัยแก่คนนั้นคนนี้ อันแท้จริงฉันได้ให้อภัยแก่เขาแล้ว และได้ทำให้การงานของเจ้าเสียหายไม่มีภาคผลใดๆ ทั้งสิ้น” (บันทึกโดยมุสลิม  : 2621)

          อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “เพราะเขาได้พูดคำๆ หนึ่งที่ทำลายดุนยาและอาคิเราะฮฺของเขา และชายผู้หนึ่งได้ใส่ร้ายผู้อื่น เพื่อนของเขาจึงถามเขาว่า คุณได้เคยออกรบกับชาวโรมันแล้วหรือเปล่า? เขาตอบว่า ไม่เคยครับ เขาจึงกล่าวกับเพื่อนว่า แปลกน่ะที่ชาวนะศอรอ(คริสเตียน)รอดพ้นจากเงื้อมมือคุณ แต่พี่น้องของคุณกลับไม่รอดพ้นจากปลายลิ้นของคุณ”

อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า “ความผิด( บาป )ถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นเกิดจากลิ้น (หรือเก้าส่วนสิบ)”

นักกวีผู้หนึ่งกล่าวว่า

ลิ้นของเจ้าพึงรักษาโอ้มนุษย์
 
อย่าปล่อยให้มันฉกเจ้า เพราะแท้จริงมันอสรพิษ

กี่มากน้อยในกุโบร์ที่กลายเป็นเหยื่อของลิ้นตัวเอง

แม้แต่เหล่าผู้กล้าก็ไม่อาจหาญจะเผชิญมัน

         อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า “ภัยอันตรายจากปลายลิ้นมีสองประการใหญ่ๆ หากเขารอดพ้นจากประการหนึ่งประการใดยากที่เขาจะรอดพ้นจากอีกประการ นั่นคือ 1) ไม่กล้าพูดความจริง และ 2) กล้าที่จะพูดความเท็จและอุปโลกน์ความชั่ว ความเลวร้ายของทั้งสองอาจเลื่อมล้ำกันตามสภาพและเวลา ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่กล้าพูดความจริงถือได้ว่าเป็นชัยฏอนใบ้ ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ชอบโต้เถียง ชอบต่อรอง หากเขาไม่กลัวว่าตัวเองจะเจอกับจุดจบ ตัวอย่างก็คือผู้ที่สามารถจะยับยั้งความชั่วต่อหน้าเขาได้ แต่เขากลับไม่ทำ

ท่านนบี  กล่าวว่า

«مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الْإِيمَانِ» [رواه مسلم برقم 49]

“ผู้ใดที่พบเห็นความชั่วก็จงยับยั้งด้วยอำนาจที่เขามี หากไม่มีอำนาจก็ให้ยับยั้งด้วยวาจา

แต่หากไม่สามารถทำได้อีกก็ให้นิ่งเงียบเถิด และการนิ่งเงียบถือว่าการมีอีหม่านที่อ่อนที่สุดแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม  : 49)

         สำหรับผู้ที่กล้าจะพูดความเท็จ และอุปโลกน์ความชั่ว เขาคือมารร้ายพูดเก่งที่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ มีผู้คนจำนวนมากที่งมงายโดยการโน้มน้าวหรือการนิ่งเงียบของเขา

           แต่ผู้ที่อยู่ระหว่างเส้นทางทั้งสองนี้เป็นผู้ที่เดินบนเส้นทางอันเที่ยงตรง เขายับยั้งที่จะพูดความเท็จ หรือแม้แต่สิ่งที่ไร้สาระ และกล้าพูดความจริงที่จะเกิดประโยชน์แก่เขาในโลกอาคิเราะฮฺ บางครั้งเราเห็นว่า คนๆ หนึ่งทำความดีมากมายดั่งภูผา แต่เขากลับทำลายมันเพียงด้วยปลายลิ้นที่ไร้กระดูก และผู้หนึ่งทำความชั่วอย่างมากมาย แต่เขาได้ทำลายมันด้วยกับการกล่าวซิกรุลลอฮฺ – จบการอ้าง  (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟี ลิมัน สะอะละ อัน อัด-ดะวาอ์ อัช-ชาฟี หน้า 142)

ขอความช่วยเหลือและขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ทรงอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างด้วยเถิด อามีน
والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .



วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ซุนนะแท้ใช่ว่าใบปริญญาเป็นเครื่องการันตี



ยุคนี้ เป็นยุคที่มีการหาความชอบธรรมในการสอนกิตาบุลลอฮ และอัสสุนนะฮ ด้วยการเอาใบปริญญามาเป็นเครื่องชี้วัดว่า "เป็นผู้มีคุณสมบัติชี้นำสังคมได้ สอนศาสนาได้ คนที่ไม่มีปริญาก็จะถูกถีบและผลักใสไม่ให้มีที่ยืนบนเวทีการทำงานเผยแพร่ศาสนา

มีบทกลอนอยู่บทหนึ่ง น่าเอามาคิดใคร่ครวญ

ปริญญา นั้นหรือ คือกระดาษ
มันมิอาจ เปลี่ยนแปลง สันดานได้
คุณความดี นั้นยาก ลำบากไซร้
มีเกียรติยศ ยิ่งใหญ่ กว่าปริญญา

ปริญญา นั้นหรือ คือสมมติ
มิใช่สิ่ง สูงสุด ในแหล่งหล้า
แม้แต่องค์ จอมปราชญ์ พระศาสดา
ก็ไม่มี ปริญญา สักหนึ่งใบ

....
อิบนุกะษีร(ร.ฮ) ได้กล่าวว่า
وقد قال يونس بن عبد الأعلى الصدفي : قلت للشافعي : كان الليث بن سعد يقول : إذا رأيتم الرجل يمشي على الماء فلا تغتروا به حتى تعرضوا أمره على الكتاب والسنة ، فقال الشافعي : قصر الليث رحمه الله ، بل إذا رأيتم الرجل يمشي على الماء ويطير في الهواء فلا تغتروا به حتى تعرضوا أمره على الكتاب والسنة
" ..
และแท้จริง ยูนูส บิน อับดิลอะลาอัศเศาะดะฟีย์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่ ชาฟิอีว่า อัลลัยษฺ บิน สะอีด กล่าวว่า เมื่อพวกท่านเห็นคนหนึ่งคนใด สามารถเดินบนน้ำได้ ท่านอย่าได้หลงเชื่อกับเขาผู้นั้น จนกว่าท่านจะนำพฤติกรรมและการปฏิบัติของเขา มาเทียบเคียงกับอัลกุรอานและสุนนะฮฺก่อน
แล้วชาฟิอี กล่าวว่า ท่านอัลลัยษฺ (ร.ฮ) ยังกล่าวไม่ครบถ้วน แต่ทว่า เมื่อพวกท่านเห็นคนหนึ่งคนใด สามารถเดินบนน้ำได้และเหาะเหิน บน อากาศได้ ท่านอย่าได้หลงเชื่อกับเขาผู้นั้น จนกว่าท่านจะนำพฤติกรรมและการปฏิบัติของเขา มาเทียบเคียงกับอัลกุรอานและสุนนะฮฺก่อน - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 1 หน้า 362
.......
คนบางกลุ่มที่หลงงมงาย และเลยเถิดกับปริญญาซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ ถึงขนาดดูหมิ่นดูแคลนผู้ที่ไม่มีใบปริญญา ไม่มีใบรับรองจากอุลามาอฺ มาการันตีความรู้ความเข้าใจศาสนา แล้วพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้สังคมพลักใสไม่ให้มีที่ยืนบนโลกของนักดาอีย์

คนที่คู่ควรชี้นำสังคมนำสังคมให้ดำเนินตามแนวทางของอัลลอฮ ตาอาลา คือสอนและเผยแพร่ศาสนาตามกิตาบุลลอฮ และสุนนะฮนบี ยืนหยัด ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกิตาบุลลอฮและสุนนะฮนบี ไม่ใช่คนที่มีใบปริญญา แต่วาจาและพฤติกรรมสถุล ไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรม อย่าว่าจะมีใบปริญญาเลย ต่อให้มี อิทธิฤทธิ์ เหาะเหินในอากาศหรือเดินบนน้้ำได้ ก็ไม่คู่ควรที่จะนำพาสังคม ในนามศาสนาของอัลลอฮแม้แต่น้อย
والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม
26/3/61

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

อายะฮฺอัลกุรซีย์






1. เป็นอายะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และประเสริฐที่สุดในอัลกุรอาน

2. อายะฮฺอัลกุรซีย์มีทั้งหมด 10 ประโยค

3. ในอายะฮฺอัลกุรซีย์มีพระนามของอัลลอฮฺถูกกล่าวไว้ทั้งหมด 5 พระนาม

4. มีคุณลักษณะของอัลลอฮฺถูกกล่าวไว้ในอายะฮฺอัลกุรซีย์มากกว่า 20 คุณลักษณะ

***เนื้อหาและสาระสำคัญต่างๆในอายะฮฺอัลกุรซีย์***

1. เป็นอายะฮฺที่ประมวลไว้ด้วยหลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ (เตาฮีด) ทั้งสามประเภทโดยเฉพาะในเรื่องพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ

2. ในอายะฮฺนี้บอกคุณลักษณะของพระเจ้าที่คู่ควรเคารพบูชาอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการปฏิเสธพระเจ้าจอมปลอมเอาไว้ (พื้นฐานของเตาฮีดอุลูฮียะฮฺ)

3. หนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้าที่แท้จริงก็คือการมีชีวิตนิรันดร์ไม่มีวันตายหรือดับสูญและดูแลทุกสรรพสิ่งได้อย่างสะดวกง่ายดายตลอดกาลโดยไม่เหน็ดเหนื่อยหรือพักผ่อน (พื้นฐานของเตาฮีดรุบูบียะฮฺรวมถึงพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ)

4. บ่งบอกถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่และกรรมสิทธิ์ของพระองค์ต่อทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง (อัลมุลกฺ)

5. บ่งบอกว่าการให้ความช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮฺ) ต่อบ่าวของพระองค์ทั้งหมดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์เพียงผู้เดียว

6. บ่งบอกถึงความรอบรู้ของพระองค์อันสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ (อัลอิลมฺ) และไม่มีสิ่งใดที่จะเล็ดรอดไปจากความรอบรู้ของพระองค์ (อัลอิฮาเฏาะฮฺ)

7. บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของสิ่งถูกสร้างบางอย่างของพระองค์ ก็คือ อัลกุรซีย์ หมายถึง แท่นที่วางเท้าของอัลลอฮฺ โดยกุรซีย์ของอัลลอฮฺนั้นมีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลสุดขอบฟ้าและแผ่นดิน แต่กุรซีย์ก็ยังไม่ใช้สิ่งถูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดของอัลลอฮฺ เพราะสิ่งถูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดของอัลลอฮฺก็คืออัลอัรชฺ(บัลลังก์)ของพระองค์นั่นเอง ฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นการยืนยันว่าความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺนั้นสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติและไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะเทียบเทียมพระองค์ได้เลย

8. บ่งบอกถึงพลานุภาพและอำนาจของอัลลอฮฺที่ไร้ขีดจำกัดและสมบูรณ์แบบในการดูแลชั้นฟ้าและแผ่นดินอันกว้างใหญ่ทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย

9. บ่งบอกถึงความสูงส่ง (อัลอุลูว์) และความยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่สมบูรณ์แบบไร้ที่ติและคู่ควรกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์

***เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอายะฮฺ อัลกุรซีย์***

อัลกุรซีย์ ตามหลักภาษาเดิมๆแปลว่า เก้าอี้  แต่เมื่อพาดพิงไปหาอัลลอฮฺ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานในยุคสลัฟระบุไว้ว่ามีหลายความหมาย แต่ความหมายที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ แท่นที่วางพระบาท(เท้า)ทั้งสองข้างของพระองค์

มุสลิมควรจะอ่านอายะฮฺอัลกุรซีย์วันละ 8 ครั้ง
ในวาระและเวลาดังต่อไปนี้

หลังละหมาดฟัรฎูห้าเวลา เวลาละหนึ่งครั้ง = รวมเป็น 5 ครั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับคือ เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้เข้าสวรรค์

ตอนเช้าและตอนค่ำอย่างละครั้ง = 2 ครั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับคือ ได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจากการคุกคามของชัยฏอน

ก่อนเข้านอน = 1 ครั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับคือ ได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจากการคุกคามของชัยฏอน

รวมเป็นทั้งหมดวันละ = 8 ครั้ง

วัลลอฮฺ อะอฺลัม

ผู้หญิงที่รับนับถืออิสลามเป็นคนแรก




▪คนแรกที่ได้ทราบข่าวนี้จากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลฯ คือ..
ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ-ภริยาของท่านเอง
เวลานั้นนางมีอายุได้ 55 ปี นางมีความเชื่อมั่นว่าเรื่องที่ท่านนบีฯ
ศ็อลฯ นำมาแจ้งนั้นเป็นความจริง นางได้ร่วมทุกข์สุขอยู่กับท่านมาแล้ว15 ปี เป็นที่รักแก่ท่านอย่างยิ่ง แม้ว่าจะมีวัยต่างกันก็ตาม

▪ท่านอับดุลลอฮ์ บินญอฺฟัร รายงานว่า
"ฉันได้ยินท่านอะลีย์พูดที่
เมืองกูฟะฮฺ
"ฉันได้ยินท่าน
รสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ กล่าวว่า
☆ผู้หญิงที่ประเสริฐในสมัยของเธอคือมัรฺยัม บินตุ อิมรอน
☆และที่ประเสริฐอีกในสมัยของ
เธอคือ เคาะดียะฮฺ บินตุ คุวัยลิด'"
(มุสลิม บทที่44
กิตาบุฟะฏออิลิสเศาะหาบะฮฺ
บาบที่11)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า "ฉันไม่หึงภริยาคนใดของท่านนบีฯ ศ็อลฯ เว้นแต่ในกรณีของท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ แม้ฉันไม่เคยพบเธอ"
เธอกล่าวต่อไปว่า
"เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ
ศ็อลฯ เชือดแกะ ท่านก็บอกว่า ให้เอาเนื้อไปให้เพื่อนๆของเคาะดียะฮฺ'
เธอกล่าวอีกว่า"วันหนึ่งฉันรู้สึก
รำคาญฉันจึงพูดว่า
เคาะดียะฮฺ!! (เท่านั้นที่ท่านคิดถึงตลอดเวลา)'
ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า"ความรักของเธอนั้น(คือของเคาะดียะฮฺ) ได้ถูกมอบแก่ฉัน"
(มุสลิม บทที่44บาบที่11)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานแล้ว นางฮาละฮฺ บินตุ คุวัยลิด
(น้องสาวของท่านหญิงเคาะดียะฮฺ)
ขออนุญาตเข้ามาพบท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ
ท่านก็นึกถึงการขออนุญาตของท่านหญิงเคาะดียะฮฺได้ ท่านดีใจ
ท่านพูดว่า 'โอ้ อัลลอฮฺ! นี่ฮาละ บินตุ คุวัยลิด นี่'
ฉันจึงหึงและพูดว่า
'ทำไมท่านยังนึกถึงหญิงแก่คนหนึ่งในบรรดาหญิงแก่ของพวกกุร็อยชฺที่มีเหงือกแดงเถือกและตายไปนานแล้ว ทั้งๆที่อัลลอฮฺทรงให้หญิงที่ดีกว่านางแก่ท่าน' "
(มุสลิม บทที่44 บาบที่11)
ทำไมท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลฯ จึงอยู่ร่วมครองเรือนกับท่านหญิงเคาะดียะฮฺนานถึง25ปี โดยที่ท่านไม่ได้แต่งงานอีกทั้งๆที่นางเองก็มีอายุมากกว่าท่านถึง 25 ปี?
▪หะดิษ ข้างต้นนั้นเป็นคำตอบในตัวที่ดีอยู่แล้ว




ความพอเพียง

قال النبي صلى الله عليه وسلم ((ليس الغنى عن كثرة العَرَض، ولكن الغنى غنى النفس)) متفق عليه.

ท่านนบีได้กล่าวว่า "ความพอเพียง(ที่แท้จริง)นั้นมิใช่ด้วยการมีทรัพย์สมบัติ แต่ทว่าความพอเพียง(ที่แท้จริง)นั้นคือความพอเพียงที่จิตใจ"
บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และอิมามมุสลิม

ทีนี้เราลองมาพิจารณากันดูว่า...

กี่มากน้อยที่คนร่ำรวยมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่เขาไม่สามารถกินอาหารที่เขาชอบได้ เพราะโรคประจำตัว ถึงจะมีเงินมากหรืออยากกินแค่ไหนก็กินไม่ได้

กี่มากน้อยที่คนยากจนไร้สมบัติ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่สามารถกินอาหารที่เขาชอบได้ เพราะไม่มีเงินซื้อ ถึงจะอยากกินแค่ไหนก็กินไม่ได้

ดังนั้นเราจะเห็นว่าไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ผลลัพธ์เหมือนกันถึงแม้จะต่างสาเหตุก็ตาม

ฉะนั้นตรงนี้บ่งบอกให้เรารู้ว่าความรวยความจนไม่สามารถชี้วัดความสุขหรือดับความปรารถนาได้อย่างแท้จริง แต่ทว่าความพอเพียงต่างหากที่ก่อให้เกิดความสุขและดับความปรารถนาอันไร้ขอบเขตอย่างไม่สิ้นสุดได้อย่างแท้จริง

قال النبي صلى الله عليه وسلم ((وَمَنْ يَسْتَعْفِفْ يُعِفَّهُ اللَّهُ ، وَمَنْ يَسْتَغْنِ يُغْنِهِ اللَّهُ...)) متفق عليه.
ท่านนบีกล่าวว่า "ผู้ใดแสวงหาความเรียบง่าย อัลลอฮฺจะทรงให้เขามีความเรียบง่าย และผู้ใดแสวงหาความพอเพียง อัลลอฮฺจะทรงให้เขามีความพอเพียง"
บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และอิมามมุสลิม

วัลลอฮฺ อะอฺลัม



اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْهُدَى، وَالتُّقَى، وَالْعَفَافَ، وَالْغِنَى





เลือกคบเพื่อนดี



              
*อัลลอฮ์มิได้ทรงห้ามสูเจ้า
(ที่จะคบค้าสมาคม/เป็นมิตร)

*กับบรรดาผู้ที่ มิได้รุกราน
(ต่อต้าน)สูเจ้า ในเรื่องศาสนา

*และมิได้ขับไล่สูเจ้า ออกจาก
แหล่งอาศัยของสูเจ้า

*ที่สูเจ้าจะทำความดีต่อพวกเขา
*และเที่ยงธรรมต่อพวกเขา

*แท้จริง อัลลอฮ์ทรงรัก
*ผู้มีความยุติธรรม
................
     *วจนะศาสดา*
-รู้ไหมหน้าที่ต่อเพื่อนบ้านนั้นมีอะไร?
..จงช่วยเหลือ เมื่อเขาต้องการ
..จงให้ เมื่อเขาขอ
..จงค้ำจุน เมื่อเขายากจน
..จงคิดถึง เมื่อเขาหายหน้าไป
..จงช่วยรักษา เมื่อเขาป่วยไข้
..จงตามไปส่งศพ เมื่อเขาตาย
..จงแสดงความเห็นใจ&ช่วยเหลือ
  เมื่อเขาประสบกับความวิบัติ
..จงอย่าสร้างสิ่งปลูกสร้างให้สูง
จนปิดทางลมบ้านผู้อื่นโดยเขาไม่อนุญาต
..อย่าสร้างความเดือดร้อนใดๆให้แก่เพื่อนบ้าน(เผาขยะรมควัน,จอดรถขวางประตู,ทำเสียงดังรบกวน!..ฯลฯ)
..ถ้าท่านซื้อผลไม้มา ก็จงแจกให้แก่เพื่อนบ้านด้วย แต่หากมีไม่พอ ก็อย่าปล่อยให้ลูกนำออกไปกินนอกบ้านให้ลูกเพื่อนเห็น จนเกิดความอยาก! (อบูซัยดฺ-บียฮะกีย์)

- ผู้ใดกินจนอิ่มท้องแล้วปล่อยให้เพื่อนบ้านอดอยากหิวโหยเขาคนนั้นไม่ใช่มุสลิม(ฏ็อบรอนีย์ บัยฮะกี)

-บุคคล2ประเภทที่จะไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์ในวันปรโลกคือ..ผู้ที่ตัดญาติมิตร &..ผู้ที่เป็นเพื่อนบ้านที่เลวร้าย(ดาเราะมีย์)









วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ชิริกในสังคมมุสลิม



ตัวอย่างการกระทำที่เป็นชิริกในสังคมมุสลิม


1-การกราบไหว้ บูชาเจว็ด รูปปั้น รูปภาพ บุคคล ครูบาอาจารย์ กษัตริย์ เสาหรือธง หรือสิ่งใดๆนอกเหนือจากอัลลอฮฺ รวมถึง คนที่ทำอิบาดะฮฺ เช่น ละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอด ทำหัจญ์ หรืออิบาดะฮฺใดๆ เพื่อบูชาให้สิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ อันนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำชิริก


การเคารพสักการะกุโบรฺหรือหลุมฝังศพ หรือการที่เชื่อว่าคนดีหรือคนศอลิหฺที่เสียชีวิตไปแล้วจะสามารถให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ได้ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ ۞وَقَضَىٰ رَبُّكَ أَلَّا تَعۡبُدُوٓاْ إِلَّآ إِيَّاهُ﴾ [الإسراء: ٢٣] 

ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้น” [สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์ อายะฮฺที่ 23]


3-การขอพร ขอดุอาอ์จากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ เช่น จากนบี มลาอิกะฮฺ ญิน ชัยฏอน คนตาย รูปเจว็ด รูปปั้น รูปภาพ หรือสิ่งถูกสร้างที่ประหลาด เช่น วัวสองหัว ควายห้าขา เป็นต้น แม้ว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วจะเป็นคนดีหรือคนศอลิหฺแค่ไหนหรือแม้แต่เป็นนบีก็ตามก็ถือว่าเป็นชิริกเช่นที่ร้ายแรงเช่นเดียวกัน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ أَمَّن يُجِيبُ ٱلۡمُضۡطَرَّ إِذَا دَعَاهُ وَيَكۡشِفُ ٱلسُّوٓءَ وَيَجۡعَلُكُمۡ خُلَفَآءَ ٱلۡأَرۡضِۗ أَءِلَٰهٞ مَّعَ ٱللَّهِۚ قَلِيلٗا مَّا تَذَكَّرُونَ ٦٢ ﴾ [النمل: ٦٢] 
ความว่า “หรือผู้ใดเล่าจะตอบรับผู้ร้องทุกข์ เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระองค์ และทรงปลดเปลื้องความชั่วร้ายนั้น และทรงทำให้พวกเจ้า เป็นผู้ปกครองแผ่นดิน จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ?  ส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะใคร่ครวญ” [สูเราะฮฺอัน-นัมลฺ อายะฮฺที่ 62]


4-เฏาะวาฟกุโบรฺ ก็ถือเป็นชิริกเช่นกัน จนถึงขั้นที่บางคนจะทำการของผู้ที่ตนเองคิดว่าเป็นคนดีคนศอลิหฺหรือเป็นโต๊ะครูผู้มีความรู้หรือโต๊ะวลี ยืนเคารพกุโบรฺด้วยความคุชูอฺ นอบน้อมต่ำต้อยต่อหน้ากุโบรฺ บางคนเอาใบหน้าไปสัมผัสกับกุโบรฺหรือแม้แต่สุญูดต่อกุโบรฺ โดยอ้างว่าเป็นการแสวงหาบารอกัตแต่ไม่ได้เคารพบูชาแต่อย่างใด บางคนจะลูบเช็ดกุโบรฺ จูบกุโบรฺเสมือนว่าเป็นหินดำที่กะอฺบะฮฺ บางคนจะโกนหัวต่อหน้ากุโบรฺเสมือนว่าไปทำหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ จนถึงขั้นที่ได้มีการแต่งหนังสือตำรับตำราในหัวข้อ “การทำหัจญ์ที่กุโบรฺและหลุมฝังศพบรรดาวลี” เพราะพวกเขาเชื่อว่า บรรดาวลีสามารถควบคุมดูแลสิ่งต่างๆในจักรวาล สามารถให้คุณให้โทษได้ทั้งๆที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَإِن يَمۡسَسۡكَ ٱللَّهُ بِضُرّٖ فَلَا كَاشِفَ لَهُۥٓ إِلَّا هُوَۖ وَإِن يُرِدۡكَ بِخَيۡرٖ فَلَا رَآدَّ لِفَضۡلِهِۦۚ يُصِيبُ بِهِۦ مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۚ وَهُوَ ٱلۡغَفُورُ ٱلرَّحِيمُ ١٠٧ ﴾ [يونس: ١٠٧] 
ความว่า “และหากอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกข์ภัยประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ปลดเปลื้องมันได้นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนาความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์ทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” [สูเราะฮฺยูนุส อายะฮฺที่ 107]

บางคนถึงขั้นที่ขอดุอาอฺต่อกุโบรฺให้หายป่วย ให้ได้ลูก ให้ได้ริซกีทรัพย์สินเงินทอง บางคนจะกล่าวต่อกุโบรฺว่า โอ้ท่าน ฉันจากบ้านมาไกลมาหาท่าน ขอท่านจงอย่าได้ทำให้ฉันผิดหวังเลย ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ وَمَنۡ أَضَلُّ مِمَّن يَدۡعُواْ مِن دُونِ ٱللَّهِ مَن لَّا يَسۡتَجِيبُ لَهُۥٓ إِلَىٰ يَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَهُمۡ عَن دُعَآئِهِمۡ غَٰفِلُونَ ٥ ﴾ [الأحقاف: ٥] 

ความว่า “และใครเล่าจะหลงทางมากไปกว่าผู้ที่วิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺที่มันจะไม่ตอบรับ  (การวิงวอนของ)  เขาจนถึงวันกิยามะฮ์ และพวกมันเฉยเมยต่อการวิงวอนขอของพวกเขา” [สูเราะฮฺอัล-อะหฺกอฟ อายะฮฺที่ 5]

ท่านนบีมุหัมมัดก็ยังได้เตือนมิให้กระทำเหล่านี้เพราะจะทำให้คนๆ นั้นต้องตกนรก 

«مَنْ مَاتَ وَهْوَ يَدْعُو مِنْ دُونِ اللَّهِ نِدًّا دَخَلَ النَّارَ» [البخاري]

“ผู้ใดที่เสียชีวิตในสภาพที่เขาดุอาอฺต่อสิ่งภาคีอื่นนอกจากอัลลฮฺจะตกนรก” [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ]


4-เฏาะวาฟกุโบรฺ ก็ถือเป็นชิริกเช่นกัน จนถึงขั้นที่บางคนจะทำการของผู้ที่ตนเองคิดว่าเป็นคนดีคนศอลิหฺหรือเป็นโต๊ะครูผู้มีความรู้หรือโต๊ะวลี ยืนเคารพกุโบรฺด้วยความคุชูอฺ นอบน้อมต่ำต้อยต่อหน้ากุโบรฺ บางคนเอาใบหน้าไปสัมผัสกับกุโบรฺหรือแม้แต่สุญูดต่อกุโบรฺ โดยอ้างว่าเป็นการแสวงหาบารอกัตแต่ไม่ได้เคารพบูชาแต่อย่างใด บางคนจะลูบเช็ดกุโบรฺ จูบกุโบรฺเสมือนว่าเป็นหินดำที่กะอฺบะฮฺ บางคนจะโกนหัวต่อหน้ากุโบรฺเสมือนว่าไปทำหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ จนถึงขั้นที่ได้มีการแต่งหนังสือตำรับตำราในหัวข้อ “การทำหัจญ์ที่กุโบรฺและหลุมฝังศพบรรดาวลี” เพราะพวกเขาเชื่อว่า บรรดาวลีสามารถควบคุมดูแลสิ่งต่างๆในจักรวาล สามารถให้คุณให้โทษได้ทั้งๆที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَإِن يَمۡسَسۡكَ ٱللَّهُ بِضُرّٖ فَلَا كَاشِفَ لَهُۥٓ إِلَّا هُوَۖ وَإِن يُرِدۡكَ بِخَيۡرٖ فَلَا رَآدَّ لِفَضۡلِهِۦۚ يُصِيبُ بِهِۦ مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۚ وَهُوَ ٱلۡغَفُورُ ٱلرَّحِيمُ ١٠٧ ﴾ [يونس: ١٠٧] 
ความว่า “และหากอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกข์ภัยประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ปลดเปลื้องมันได้นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนาความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์ทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” [สูเราะฮฺยูนุส อายะฮฺที่ 107]

บางคนถึงขั้นที่ขอดุอาอฺต่อกุโบรฺให้หายป่วย ให้ได้ลูก ให้ได้ริซกีทรัพย์สินเงินทอง บางคนจะกล่าวต่อกุโบรฺว่า โอ้ท่าน ฉันจากบ้านมาไกลมาหาท่าน ขอท่านจงอย่าได้ทำให้ฉันผิดหวังเลย ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ وَمَنۡ أَضَلُّ مِمَّن يَدۡعُواْ مِن دُونِ ٱللَّهِ مَن لَّا يَسۡتَجِيبُ لَهُۥٓ إِلَىٰ يَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَهُمۡ عَن دُعَآئِهِمۡ غَٰفِلُونَ ٥ ﴾ [الأحقاف: ٥] 

ความว่า “และใครเล่าจะหลงทางมากไปกว่าผู้ที่วิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺที่มันจะไม่ตอบรับ  (การวิงวอนของ)  เขาจนถึงวันกิยามะฮ์ และพวกมันเฉยเมยต่อการวิงวอนขอของพวกเขา” [สูเราะฮฺอัล-อะหฺกอฟ อายะฮฺที่ 5]

ท่านนบีมุหัมมัดก็ยังได้เตือนมิให้กระทำเหล่านี้เพราะจะทำให้คนๆ นั้นต้องตกนรก 

«مَنْ مَاتَ وَهْوَ يَدْعُو مِنْ دُونِ اللَّهِ نِدًّا دَخَلَ النَّارَ» [البخاري]

“ผู้ใดที่เสียชีวิตในสภาพที่เขาดุอาอฺต่อสิ่งภาคีอื่นนอกจากอัลลฮฺจะตกนรก” [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ]



โชคราง



ความเชื่อของมุสลิมคือ ไม่ว่าจะสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีที่มาประสบกับเราล้วนแล้วแต่มาจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับคำทำนายทายทัก โชคลาง ของขลัง ฮวงจุ้ย ล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อของญาฮิลียะห์ ที่อิสลามได้ยกเลิกและต่อต้านอย่างรุนแรง แต่ก็ยังคงหลงเหลือมาในยุคปัจจุบัน ด้วยกับความอุตสาหะพยายามของชัยฏอนในการเผยแพร่ให้ผู้คนหลงไหล และออกจากจากความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวที่ท่านนบี  ได้นำมาเผยแผ่ให้แก่เรา เพื่อจะดึงผู้คนที่หลงผิดไปอยู่กับพวกมันมากทีสุดในนรกญะฮันนัม



        ดังนั้นชัยฏอนจึงอาศัยหนทางแห่งความเชื่อในการดึงมนุษย์ให้หลงผิดในทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ในสังคมมุสลิมยังหลงงมงายกับความเชื่อโชคลางดังกล่าวอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งใครที่มาเตือนด้วยกับหลักการที่ถูกต้อง ถึงกับต้องตัดขาดกันเลยทีเดียว




ในความจมปลักอยู่กับสิ่งงมงายดังกล่าว ได้มีคนถามผู้รู้เกี่ยวกับปัญหา ท่านเชคตอบคำถามดังกล่าวไว้ว่า



         คำถาม : สำหรับคนที่มีความเชื่อ หรือเชื่อลางร้าย หรือทำนายทายทัก หรือสงสัยว่าจะส่งผลเสียให้เกิดแก่เขา เช่นเจ็บไข้ได้ป่วย หรืออื่นๆ จากบางวัน หรือบางเดือน หรือบางตัวเลข และเวลาต่างๆ หรืออื่นจากนี้ หรือจากการเข้าบ้านนั้นจะเป็นอย่างนั้น สวมเสื้อสีนี้จะเป็นอย่างนี้ อนุญาติหรือไม่ ?



         คำตอบ : ทั้งหมดที่พูดมาไม่อนุญาติทั้งสิ้น ทว่ามันเป็นประเพณีของชาวญาฮิลียะห์ที่งมงาย(ยุคก่อนอิสลามจะมา) เมื่ออิสลามมาเพื่อปฏิเสธและล้มเลิกมัน  แน่นอนว่าหลักฐานมากมายชัดเจนว่าได้ห้ามสิ่่งดังกล่าว เพราะมันคือการตั้งภาคี และมันไม่มีผลใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือให้โทษ เพราะไม่มีผู้ที่ให้ หรือไม่ให้ ผู้ให้ประโยชน์ หรือให้โทษ นอกจากอัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น



พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า



"และหากว่าอัลลอฮ์ ทรงให้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า แล้วก็ไม่มีผู้ใดจะเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น

และหากพระองค์ทรงให้ความดีอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า แท้จริงพระองค์นั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง"



ในฮะดิษ อิบนิ อับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่มา แท้จริง ท่านนบี  กล่าวว่า

         "หากประชาชาตินี้รวมตัวกันในการที่จะให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าด้วยสิ่งใด พวกเขาก็ไม่ให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าได้ เว้นเสียแต่ว่า อัลลอฮ์ได้บันทึกสิ่งนั้นไว้ให้แก่เจ้าแล้ว และหากประชาชาตินี้รวมตัวกันในการที่จะให้เกิดโทษแก่เจ้าด้วยกับสิ่งใด พวกเขาก็ไม่อาจให้เกิดโทษแก่เจ้าได้ เว้นแต่อัลลอฮ์จะบันทึกสิ่งนั้นไว้ให้แก่เจ้าแล้ว ปากกาถูกยกแล้ว และน้ำหมึดก็แห้งแล้ว"


จากอบีฮุร็อยเราะห์ แท้จริงท่านนบี  กล่าวว่า

"ไม่มีโรคระบาด ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮูก และไม่มีเดือนซอฟัร"


ในบางรายงาน "และไม่มีดวงดาว (เชื่อดวงดาว) และไม่มีภูติผีปีศาจ"

(บันทึกโดยบุครีย์และมุสลิม)



        ท่านนบี  ได้ห้ามการเชื่อลางร้าย และได้กล่าวไว้ในฮะดิษ และบอกว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีจริงและไม่มีผลร้ายใดๆ ทว่ามันคือความเข้าใจผิดและจินตนาการที่เลวร้ายเท่านั้น และคำกล่าวของท่านนบี  ที่ว่า "และไม่มีเดือนซอฟัร" ท่านนบี  ได้ห้ามในสิ่งที่บรรดาชนในยุคญาฮิลียะห์ได้เชื่อว่าจะเกิดลางร้ายขึ้นในเดือนซอฟัร(เดือนที่สองในปฏิทินอิสลาม) พวกเขากล่าวกันว่ามันคือ"เดือนแห่งความโชคร้าย" และท่านนบี  ก็ได้ห้ามสิ่งดังกล่าวและยกเลิกมัน



       และท่านก็ได้กล่าวว่า เดือนซอฟัร เหมือนเดือนอื่นๆจากเดือนทั้งหลาย ไม่มีผลใดๆในการได้รับความดีหรือผลักไสความชั่ว  เช่นเดียวกันกับวัน เดือน ปีทั้งหลายก็ไม่แตกต่าง ซึ่งปรากฏว่าชาวญาฮิลียะห์นั้นเชื่อลางร้ายในวันพุธ เชื่อว่าจะเกิดลางร้ายเกี่ยวกับการแต่งงานในเดือนเชาวาล(เดือนที่สิบ)แบบเจาะจง


จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวว่า

ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์  ได้ทำการแต่งงานกับฉันในเดือนเชาวาลและร่วมหอกับฉันในเดือนเชาวาล


ดังนั้น ณ ท่านนบี  แล้วจะมีภริยาของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์คนใดเล่าจะโชคดีไปกว่าฉัน


อุรวะฮ์กล่าวว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ชอบที่จะให้บรรดาสตรีของนางเข้า(เรือนหอ)ในเดือนเชาวาล"

รายงานโดยมุสลิม (2551)


        และนี่ก็เหมือนกันกับ ลางร้ายของพวกรอฟิเฎาะ ที่เรียกว่า อัลอะชะเราะห์ และความโกรธเกลียดของพวกเขาต่อวันนี้ และการเป็นศัตรูต่อพวกเขา คือ สิบคนที่ได้รับข่าวดีว่าเป็นชาวสวรรค์จากซอฮาบะห์ของท่านนบี  นี่คือความโง่และสติปัญญาที่เบาบางของพวกเขา และคำพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่าน อิบนุตัยมียะห์ได้เขียนไว้มากมายในหนังสือของท่าน (อัลมินฮาจ) ในการตอบโต้พวกรอฟิเฎาะห์


        เช่นเดียวกันกับบรรดาผู้ที่เชื่อในเรื่องดวงดาว เอามาอนุมานเข้ากับวันเวลา และรู้สึกว่าจะได้รับลางร้าย และเวลานั้นดี เวลานี้ไม่ดี ข้อตัดสินดังกล่าวในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับดวงดาวนั้นไม่ได้ถูกปิดบังเลยแม้แต่น้อยจากหลักการของอิสลามว่าเป็นเรื่องที่ต้องห้าม และมันคือสิ่งหนึ่งจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และคำพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมากมาย ทุกเรื่องราวที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมของชาวญาฮิลียะห์ ซึ่งบทบัญญัติอิสลามได้ปฏิเสธและยกเลิกมันโดยสิ้นเชิง


        ท่านอิบนุก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า โชคลาง คือ ลางร้ายที่มาจากการมองเห็น หรือได้ยิน ดังนั้นเมื่อมนุษย์ถูกใช้งาน และเขาก็กลับมาจากการเดินทาง (ไปๆมาๆด้วยกับการเชื่อโชคลาง) หรือ ปฏิเสธที่จะทำมันอันเนื่องจากลางร้าย แน่นอนว่าเขาติดกับดักของการตั้งภาคีแล้ว ทว่าเขานั้นได้พึ่งพิงและเขาได้ถอนตัวออกจากการมอบหมายต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา และเปิดประสู่ความหวาดกลัว และผูกพันกับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ และลางร้ายจากสิ่งที่เขาเห็น หรือ ได้ยิน ตัดขาดออกจากจุดยืนที่ว่า


{إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ} فاتحة 6

"เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ"

{فَاعْبُدْهُ وَتَوَكَّلْ عَلَيْهِ} هود 123

"ดังนั้นจงภักดีต่อพระองค์ และมอบหมายต่อพระองค์"

، {عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ وَإِلَيْهِ أُنِيبُ} هود 88

"แด่พระองค์ฉันขอมอบหมายและยังพระองค์เท่านั้นฉันกลับไปหา"


        หัวใจของเขาก็กลายเป็นว่าถูกแขวนไว้กับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ ทั้งด้านเคารพภักดี และการมอบหมาย และก็จะมาทำลายหัวใจและความศรัทธา และเขายังคงมุ่งเป้าหมายไปสู่ลางร้าย และเขับเคลื่อนไปทุกทิศทางที่ชัยฏอนก็มีอำนาจเหนือเขา มันเป็นผู้ที่ทำลายศาสนาและดุนยา กี่มากน้อยแล้วที่ได้รับความวิบัติด้วยสาเหตุดังกล่าว และขาดทุนทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ และหลักฐานห้ามจากโชคลางและลางร้ายเป็นที่รู้จักกันดีและมีอย่างมากมาย



       จากคำฟัตวาจากท่านเชคก็ได้ชี้ชัดแล้วว่า การเชื่อเรื่องโชคลางเป็นหนึ่งจากการตั้งภาคีที่นับว่าเป็นบาปที่พระองค์อัลลอฮ์จะไม่อภัยโทษให้แก่เขาเป็นอันขาด ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า


"แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น"

(นิสาอ์ 48)




       และถ้าหากเราจะศึกษาจริงๆ เราก็จะพบว่า การเชื่อโชคลางนั้นเป็นหลักคำสอนของศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่ศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน