อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ใครบ้างทำเมาลิดนบี





1. นบี ศอ็ลฯ ไม่ทำ
2. อบูบักร์ อัศศิดดีก ไม่ทำ
3. อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ ไม่ทำ
4. อุษมาน บิน อัฟฟาน ไม่ทำ
5. อาลี บิน อบีฏอลิบ ไม่ทำ
6. บรรดาเศาะหาบะฮ อื่นๆที่เหลือ ไม่ทำ
7. อิหม่ามอบูหะนีฟะฮ ไม่ทำ
8. อิหม่ามมาลิก ไม่ทำ
9. อิหม่ามชาฟิอี ไม่ทำ
10. อิหม่ามอะหมัด ไม่ทำ
11. อิหม่ามบุคอรี ไม่ทำ
12. อิหม่ามมุสลิม ไม่ทำ
13. อิหม่ามอบูดาวูด ไม่ทำ
14. อิหม่ามอัตติรมิซีย์ ไม่ทำ
15. อิหม่ามอันนะสาอีย ไม่ทำ
16. ราชวงศ์ อัลอุบัยดียะฮ ชีอียะฮ (ราชวงศชีอะฮฟาฏิมีย์)
ทำ







วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ท่านนบีสนับสนุนหรือรับรองการทำเมาลิดจริงหรือ



มีพี่น้องมุสลิมได้อ้างคำพูดของท่านนบี(ซล)เพื่อ "อ้างอิงการทำเมาลิด" ให้เป็นความชอบธรรม
ท่านร่อซูล(ซล) กล่าวว่า


من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดี ในอิสลาม แน่นอน เขาจะได้รับ ผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำแบบอย่างที่เลว ในอิสลาม แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
ฮะดีษนี้ ซอเหี๊ยะ ไม่มีขอกังขาใดๆ
คำถามคือ เป้าหมายของคำพูดของท่านนบี(ซล) คือให้กระทำ เมาลิด จริงหรือไม่ !

มาดูตัวบทฮะดีษเต็มกันครับว่า สาเหตุ มาจากอะไร ?
ท่านญะรีร (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า

كُنّا عِنْدَ رَسُوْلِ اللهِ فِي صَدْرِ النَّهَارِ، قَال: فَجَاء قَومٌ حُفاة عُراة مُجْتابي النمار والعَباء مُتَقَلِّدي السُيوف عَامتهم مِن مُضِر - بَل كُلُّهم مِن مضر - فَتَمعر وجه رسول الله (أي: تغير) لما رأى بِهم مِن الفَاقة، فَدَخَلَ ثُمَّ خَرَجَ فَأَمَرَ بِلالا فَأَذَّنَ وَأَقَامَ فَصَلّى ثم خَطَبَ فَقَال: {يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَاءً وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي تَسَاءَلُونَ بِهِ وَالْأَرْحَامَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا} والآية التي في الحشر: {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ} تَصَدّق رَجُل مِن من دِيْنارِه مِن دِرْهَمِه من ثوبِه مِن صاعِ بُرِّه مِن صَاعِ تَمْرِه حتى قال: وَلو بِشِقِّ تَمْرَةٍ، قال: فجاءَ رجُل مِن الأنصار بصرة كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِز عَنْها - بَل قَد عَجَزَتْ - قَال: ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاس حَتى رَأَيْت كومين مِن طَعَام وثِيَاب حَتّى رَأَيْتُ وَجْهَ رسولِ الله يَتَهَلَّل كَأنه مَذهَبُه فقال رسول الله مَنْ سَنَّ فِي الإسلام سُنَّة حَسَنَة فَلَهُ أَجْرُها وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُص مِن أُجُوْرِهم شَيْء، وَمَنْ سَنَّ فِي الإِسلام سُنَّة سَيِّئَة كاَنَ عَلَيْه وِزْرها وَوِزْر مَن عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِه مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْء& [أخرجه مسلم]

.(ครั้งหนึ่ง) เราได้อยู่กับท่านร่อซูล (ซล) ในช่วงแรกของกลางวัน เขากล่าว(ต่อไป)ว่า ได้มีชนกลุ่มหนึ่งเปลือยเท้า นุ่งน้อยห่มน้อย สวมเสื้อหนังเสือ และผ้าโผก สะพายดาบ คนส่วนใหญ่มาจาก(เผ่า)มุฎ็อรฺ -ที่จริงจากมุฎ็อรฺทั้งหมดนั่นแหละ- แล้วสีหน้าท่านก็เปลี่ยน(เป็นเศร้า) เพราะเห็นความยากจนข้นแค้นที่เกิดกับพวกเขา แล้วท่านก็กลับเข้าไป จากนั้นท่านก็ออกมา(อีกครั้ง) แล้วสั่งให้บิลาลอาซาน และอิกอมะฮฺ แล้วก็ละหมาด จากนั้นท่านก็กล่าวโอวาท ว่า

"มนุษย์เอ๋ย จงสำรวมตนต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ผู้ได้ทรงบังเกิดสูเจ้าจากชีวิตเดียว

และได้ทรงบังเกิดจากมัน ซึ่งคู่ครองของมัน และได้ทรงแพร่จากทั้งสองซึ่งผู้ชาย และผู้หญิงมากมาย

และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺพระผู้ซึ่งสูเจ้าต่างพากันถามถึงพระองค์ และ(จงสำรวมตนในเรื่อง)การสัมพันธ์ทางเครือญาติ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเฝ้าดูสูเจ้าเสมอ"

และอายะห์ที่อยู่ใน(ซูเราะฮฺ)อัล-ฮัชร์

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และชีวิตหนึ่งจง(พิจารณา)ดู ถึงสิ่งที่พวกเขาได้ทำล่วงไว้สำหรับพรุ่งนี้
และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตระหนักถึงที่สูเจ้ากระทำ"
คนหนึ่ง(ขอให้)บริจาคจากทองดีนารฺของเขา จากเงินดิรฺฮัมของเขา จากเสื้อผ้าของเขา จากข้าวสาลี 1 ซออฺ จากอินทผลัม 1 ซออฺ กระทั้งท่านกล่าวว่า และแม้เพียงอินผลัมซีกเดียว
เขากล่าวต่อไปว่า แล้วได้มีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอรฺมาพร้อมกับถุงที่มือแทบยกไม่ไหว –ที่จริงก็ไม่ไหวนั่นแหละ-
เขากล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นคนอื่นๆพากันทำตามจนกระทั้งฉันเห็นเป็นกองพะเนินสองกอง กองอาหารและกองเสื้อผ้า จนฉันเห็นใบหน้าของท่านปลาบปลื้มดุจว่ามันเคลือบด้วยทอง แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
“ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของเขา และของผู้ที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด
และผู้ใดทำแบบอย่างที่เลวในอิสลาม เขาย่อมได้รับบาปของเขา และบาปของคนที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่บาปของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด”
(บันทึกโดยมุสลิม)

เห็นไหมครับฮะดีษนี้กล่าวถึงเรื่อง ที่มีคนทำทาน แล้วมีคนเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่เรื่องอุตริบิดอะฮ หรือ เมาลิดนบี เลย
เห็นได้ว่า ข้างต้น เป็นเรื่องของคนที่ปฏิบัติตามสิ่งที่มีบัญญัติไว้ตือ การให้ทาน และมีคนเอาเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่ คิดแบบอย่างที่อารมณ์ตัวเองเห็นว่าดี แล้วให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างหรือปฏิบัติตาม

ฉะนั้นหะดิษนี้ ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง "การฟื้นฟูสุนนะฮ" และ การเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ทีศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะที่มาของคำพูดของท่านนบี(ซล) ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮ ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

คำว่า "سن ในหะดิษเป้าหมายที่ว่าก็คือ أحيا อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงฟื้นฟูสุนนะฮที่ดี เพราะเรื่องราวมันเกี่ยวกับคนที่ทำแบบอย่างในคำสอนที่มีมาอยู่แล้ว

ดังฮะดีษอีกบทหนึ่งมาอธิบาย

"ฮะดีษ อธิบาย ฮะดีษ"


أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ مَنْ أَحْيَا سُنَّةً مِنْ سُنَّتِي فَعَمِلَ بِهَا النَّاسُ كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا وَمَنْ ابْتَدَعَ بِدْعَةً فَعُمِلَ بِهَا كَانَ عَلَيْهِ أَوْزَارُ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِ مَنْ عَمِلَ بِهَا شَيْئًا

แท้จริง ร่อซูล(ซล)กล่าวว่า “ผู้ใดฟื้นฟู สุนนะฮ จากสุนนะฮของฉัน แล้วบรรดาผู้คนปฏิบัติด้วยมัน เขาก็จะได้รับผมตอบแทน เท่ากับผลตอบแทนผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากการตอบแทน(ผลบุญ)ของพวกเขา และผู้ใด อุตริบิดอะฮ แล้วถูกปฏิบัติตามด้วยมัน เขาก็จะได้รับความผิด เท่ากับความผิดผู้ที่ปฏิบัติมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากความผิด(บาป)ของผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน – รายงานโดยอิบนุมาญะฮ

قال الشيخ الألباني في صحيح ابن ماجه صحيح لغيره)
เพราะฉะนั้น การอ้างฮะดิษข้างต้นสนับสนุนบิดอะฮ เป็นการบิดเบือนจากข้อเท็จจริง เพราะฮะดิษที่สอง ยืนยันว่า “คือ การฟื้นฟูสุนนะฮ ไม่ใช่อุตริบิดอะฮ นะครับ

"คำอธิบายของปราชญ์"
ชัยคฺบินบาซ(รฮ) ได้กล่าวถึง คำว่า
من سن سنة حسنة ว่า

وليس معناها الابتداع في الدين

ความหมายของมัน ไม่ใช่อุตริบิดอะฮในศาสนา

ท่านอิบนุอุษัยมีน(รฮ)ให้ความหมายไว้สองแนวทางคือ

1. أي: من ابتدأ العمل بالسنة، หมายถึง ผู้ริเริมปฏิบัติตามสุนนะฮ
2. أي: سن الوصول إلى شيء مشروع หมายถึง ทำแบบอย่างที่นำไปสู่สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้แล้ว- ดู ชัรหุหะดิษอัรบะอีน ของ อิบนุอุษัยมีน หน้า 311-312







จัด"เมาลิด" รักนบีจริงหรือ ?





⏩เราขอถามบรรดาผู้ที่จัดพิธีเมาลิดท่านนบี ﷺ ว่า :

➡1.การงานนี้เป็นการฏออะฮฺ(การเชื่อฟัง) หรือ เป็นมะอฺศียะฮฺ(การฝ่าฝืน) ? ถ้าหากว่า :
☞เป็นการฝ่าฝืน = ก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้ปฏิบัติ (เป็นอันว่าจบในประเด็นนี้)

☛เเต่ถ้าบอกว่าเป็นการฏออะฮฺ เราก็ต้องถามต่อว่า :

➡2.ท่านนบีﷺรู้เห็นกับการเเสดงออกถึงการฏออะฮฺในลักษณะเช่นนี้หรือไม่ ?

☞ถ้าตอบว่าท่านนบีﷺไม่รู้ในเรื่องนี้ = เท่ากับเป็นการกล่าวหาท่านนบีﷺว่าไม่มีความรู้ ! (เป็นอันว่าจบในประเด็นนี้)

☛เเต่ถ้าหากตอบว่าท่านนบีﷺรับทราบเเละรู้เห็นในเรื่องนี้ เราก็ต้องถามต่ออีกว่า :

➡3.ท่านนบีﷺได้เผยเเพร่เเละบอกต่อเเก่เราเกี่ยวกับการเเสดงออกถึงการฏออะฮฺเช่นนี้หรือไม่ ?

☞ถ้าตอบว่าท่านนบีﷺไม่ได้เผยเเพร่สิ่งดังกล่าวนี้ = เท่ากับเป็นการกล่าวหาท่านนบีﷺว่าไม่เผยเเพร่ศาสนา ปิดบังหมกเม็ดศาสนา! (เป็นอันว่าจบ)

☛เเต่ถ้าตอบว่าท่านนบีﷺได้เผยเเพร่สิ่งดังกล่าวนี้เเก่เรา ...

⏩"ก็จงเอาหลักฐานมาเเสดงให้เเก่เราเถิด ไม่ต้องเยอะ ขอเเค่เพียงบทเดียวที่ถูกต้องเท่านั้นเป็นอันเพียงพอเเล้ว"⏪

ถ้าหากมีตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องจากอัล-กุรอานเเละซุนนะฮฺเเม้เพียงเเค่บทเดียวที่มาสั่งใช้หรือสนับสนุนให้จัดพิธีเมาลิดเนื่องในวันเกิดของท่านนบีﷺเราจะไม่เถียงเลยซักคำ มิหนำซ้ำยังเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องเจริญรอยตามอย่างเคร่งครัดอีกต่างหาก เเต่ถ้าหากไม่มีหลักฐานรองรับเราก็ไม่สามารถที่จะกระทำสิ่งดังกล่าวนี้ได้ เพราะเราตระหนักในคำสั่งเสียของท่านนบีﷺที่ว่า :

مَن أحدثَ في أمرِنا هذا ما ليس منه فهو ردٌّ (أخرجه البخاري)

ความว่า : ผู้ใดที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นในกิจการของเรา โดยที่สิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในการงานของเรา ถือว่า(การงานนั้น)ถูกปฏิเสธ

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรี)

เเละทุกการงานในกิจการของศาสนาที่ไม่มีรูปแบบจากท่านนบีﷺ กล่าวคือไม่ได้มาจากการปฏิบัติ การพูด หรือการยอมรับของท่านต่อการกระทำของบรรดาศอหาบะฮฺ สิ่งนั้นมันก็ไม่สามารถจะเป็นอื่นใดไปได้นอกจาก"บิดอะฮฺ"(อุตริกรรม) ที่จะนำพาผู้ปฏิบัติมันไปสู่ความหลงผิดเเละไฟนรก ดังคำกล่าวของท่านนบีﷺ :

كلُّ بدعةٍ ضلالة(خرجه مسلم في الصحيح) زاد النسائي بإسنادٍ حسن: وكل ضلالةٍ في النار .

ความว่า : ทุกบิดอะฮฺคือความหลงผิด (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมในศอฮีฮฺ) เเละท่านอิหม่ามนะซาอียฺได้เพิ่มในตัวบทด้วยสายรายงานที่ดีว่า : และทุกๆความหลงผิดนั้น อยู่ในนรก


เมื่อทราบเช่นนี้เเล้วเราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่ประกาศตนว่ารักท่านนบีﷺให้ได้ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านนบีﷺอย่างเคร่งครัด เเละออกห่างจากสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺทุกชนิด ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ท่านได้คาดโทษไว้อย่างรุนเเรง เเละเเน่นอนว่าเเบบอย่างการเเสดงออกถึงความรักต่อท่านนบีﷺที่ดีที่สุดนั้น คือเเบบอย่างจากเหล่าบรรดาศอหาบะฮฺของท่านที่ท่านได้ให้การรับรอง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขพร้อมกับท่านนบีﷺมาทั้งชีวิต จึงเป็นที่เเน่นอนว่าความรักของพวกเขาที่มีต่อท่านนบีﷺนั้น ย่อมมากกว่าความรักของพวกเราเป็นไหนๆ เเบบอย่างที่ว่านี้คือการเจริญรอยตามแบบฉบับของท่านเเละออกห่างจากคำสั่งห้ามของท่านอย่างสุดความสามารถ

เราไม่เคยพบว่าบรรดาศอหาบะฮฺผู้มีเกียรติเหล่านี้ได้จัดงานเมาลิดให้เเก่ท่านนบีﷺเลยทั้งๆที่เขารักนบีﷺยิ่งชีพ

เราไม่เคยพบว่าบรรพชนยุคเเรกเขาทำเมาลิดให้เเก่ท่านนบีﷺเลย

เราไม่พบหลักฐานว่าบรรดาอิหม่ามแห่งมัซฮับทั้งสี่คนใดได้จัดพิธีกรรมเมาลิดเลย

เเต่สิ่งที่เราทราบมาจากหน้าประวัติศาสตร์นั้นคือ จุดเริ่มต้นของพิธีเมาลิดนบีนั้นมาจากลัทธิชีอะฮฺในยุคหลังนี้เเล้ว !

ท้ายสุด ! ขอย้ำว่าถ้าใครมีหลักฐานที่ถูกต้องจากศาสนามาเเสดงให้เเก่เรา เราก็จะรับฟัง เเละยอมรับเเต่โดยดี

อิสลามตามแบบฉบับ



วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

น้ำซอฟัร คืออุตริกรรมที่ไม่มีในอิสลาม



เดือนซอฟัรเป็นเดือนแห่งอัปมงคล ซึ่งเป็นความเชื่อที่ยังมีให้เห็นกันอยู่ดังนั้นเพื่อขจัดมันให้พ้นไปและเพื่อชีวิตที่ปลอดภัยจึงมีการกระทำสิ่งต่อไปนี้คือ ทำน้ำซอฟัรในวันพุธสุดท้ายของเดือน โดยรวบรวมโองการอัลกุรอานที่เรียกว่า “อายาตสลาม
เช็ค มุหัมหมัด อับดุสสลาม อัชชะกีรีย์กล่าวว่า
قد اعتاد
الجهلاء أن يكتبوا آيات السلام كـ (( سلام على نوح في العالمين )) إلخ في آخر
أربعاء من شهر صفر ثم يضعونها في الأواني و يشربون و يتبركون بها و يتهادونها
لاعتقادهم أن هذا يُذهب الشرور ، وهذا اعتقاد فاسد ، وتشاؤم مذموم ، وابتداع قبيح
يجب أن يُنكره كل من يراه على فاعله .
แท้จริงบรรดาคนโง่เขลา (ญาฮิล) ได้เคยชิน (หมายถึงปฏิบัติจนเป็นประเพณี -ผู้แปล)ต่อการที่พวกเขาเขียน อายาตสาลาม เช่น (สะลาม อะลานุหฺ ฟิลอาละมีน) จนจบ ในวันพุธสุดท้ายของเดือนเซาฟัร หลังจากนั้น พวกเขาวางมันในภาชนะ และพวกเขาดื่ม, เอาบะเราะกัต ด้วยมัน และ พวกเขาได้ทำการฮะดียะฮมันแก่กันและกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่า กรณีนี้ ขจัดความชั่วร้ายต่างๆได้ และนี้คือความเชื่อที่ผิด ,เป็นการเชื่อลางร้าย ที่ถูกตำหนิ และ
เป็นการอุตริบิดอะฮที่น่าเกลียด ,ทุกคนที่เห็นมัน จำเป็นจะต้อง ห้ามปรามผู้ที่กระทำมัน - อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 111-112
การกระทำข้างต้น อยู่ในข่ายการเชื่อโชคลาง หรือลางร้าย
ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า
وعن أبي هريرة
أ: "لا عدوى ولا طيرة ولا هامة ولا صفر
(رواه البخاري ومسلم) (3). وفي رواية: "ولا نوء ولا غُول" (رواه مسلم)
(4).
จากอบีฮุร็อยเราะห์ แท้จริงท่านนบี กล่าวว่า "ไม่มีโรคระบาด ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮูก และไม่มีเดือนซอฟัร"
ในบางรายงาน "และไม่มีดวงดาว(เชื่อดวงดาว) และไม่มีภูติผีปีศาจ" (บันทึกโดยบุครีย์และมุสลิม)
ท่านนบี ได้กล่าวเตือนไว้ว่า
: الطِّيَرَةُ شِرْكٌ الطِّيَرَةُ شِرْكٌ وَلَكِنَّ
اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُذْهِبُهُ بِالتَّوَكُّلِ
“ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี แต่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้มันหายไปด้วยกับ
การมอบหมาย” (บันทึกโดยอะหฺมัด : 4183 อบูดาวุด : 3910 ติรมีซียฺ : 1614
มีการอ้างหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา กล่าวเท็จแก่นบี ศอ็ลฯ เพื่อจะบอกว่า เดือนซอฟัรเป็นเดือนอัปมงคล คือ อ้างว่ารายงานจากอิบนุอับบาส (ร.ฎ) ว่านบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า
آخر أربعاء من شهر صفر
يوم نحس مستمر
วันพุธสุดท้ายของเดือนซอฟัร คือวันที่โชคร้าย ตลอด
أورده السيوطي في
اللآلئ المصنوعة في الأحاديث الموضوعة 2/458
อิบนุเราะญับ อัลหัมบะลี กล่าวว่า
و كثير من الجهال يتشاءم بصفر و ربما ينهى عن السفر فيه و التشاؤم بصفر هو من جنس الطيرة المنهى عنها و كذلك التشاؤم بالأيام كيوم الأربعاء و قد روي أنه : [ يوم نحس مستمر ] في حديث لا يصح
และ ส่วนมากจาก บรรดาผู้ที่โง่เขลา เชื่อลางร้ายเดือนซอฟัร ,บางครั้ง เขาห้ามเดินทางในเดือนนั้น และการเชื่อลางร้ายในเดือนซอฟัรนั้น มันคือ ประเภทหนึ่งของ อัฏฏิยะเราะฮ(การเชื่อโชคลาง)ที่ถูกห้าม และในทำนองเดียวกันนั้น การเชื่อลางร้ายในบรรดาวันต่างๆ เช่นวันพุธ และแท้จริงได้มีรายงาน ว่า แท้จริงมัน(วันพุธ) คือวันที่โชคร้ายตลอด ในหะดิษหนึ่ง ซึ่ง ไม่เศาะเฮียะ – ดู ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ หน้า 148
>>>>>>>>>>>>>
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การเชื่อว่า เดือนซอฟัรเป็นเดือนอัปมงคล และ การทำน้ำซอฟัรเพื่อขจัดความชั่วร้ายนั้น ไม่มีในคำสอนอิสลาม แต่เป็นบิดอะฮ


และสำหรับคำกล่าวต่อไปนี้

رَأَيْتُ أَبِىْ يَكْتُبُ التَّعَاوِيْدَ لِلَّذِىْ يُصْرَعُ وَلِلحَمِىِّ لِأَهْلِهِ وَقَرَابَاتِهِ ، وَيَكْتُبُ لِلْمَرْأَةِ إِذَا عَسُرَ عَلَيْهَا الْوِلَادَةُ فِىْ جَامٍ أَوْ شَيْءٍ نَظِيْفٍ ، وَيَكْتُبُ حَدِيْثَ إبْنِ عَبَّاسٍ ، إِلَّا أَنَّهُ كَانَ يَفْعَلُ ذَلِكَ عِنْدَ وُقُوْعِ الْبَلاَءِ ، وَرَأَيْتُ يُعَوِّذُ فِى الْمَاءِ وَيُشْرِبُهُ الْمَرِيْضَ ، وَيَصُبُّ عَلَى رَأْسِهِ مِنْهُ ، وَرَأَيْتُ أَبِىْ يَأْخُذُ شَعْرَةٍ مِنْ شَعْرِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَيَضَعُهَا عَلَى فِيْهِ يُقَبِّلُهَا ، وَأَحْسِبُ أَنِّىْ قَدْ رَأَيْتُهُ يَضَعُهَا عَلَى رَأْسِهِ أَوْ عَيْنِهِ ، فَغَمَّسَهَا فِى الْمَاءِ ثُمَّ شَرَبَهُ يَسْتَشْفِى بِهِ ، وَرَأَيْتُهُ قَدْ أَخَذَ قَصْعَةَ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَ بِهَا إِلِيْهِ أَبُوْ يَعْقُوْبَ بْنُ سُلَيْمَانَ بْنِ جَعْفَرَ فَغَسَلَهَا فِىْ جُبِّ الْمَاءِ ثُمَّ شَرِبَ فِيْهَا ، وَرَأَيْتُ مِنْ مَاءِ زَمْزَمَ يَسْتَشْفِىْ بِهِ وَيَمْسَحُ بِهِ يَدَيْهِ وَوَجْهَهُ

“ข้าพเจ้า ได้เห็นบิดา(คืออิหม่ามอะหมัด) ทำการเขียนสิ่งที่ขอความคุ้มครองให้กับผู้เป็นลมและผู้ที่ป่วยไข้  ที่เป็นครอบครัวและเครือญาติของท่าน  และบิดาได้เขียนในถ้วยหรือสิ่งที่สะอาดให้กับสตรีคนหนึ่งในยามที่นางคลอด ลำบาก  และบิดาเขียนหะดิษของท่านอิบนุอับบาส  แต่ท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าวในยามที่มีภัยมาทดสอบ  และข้าพเจ้าเห็นบิดาทำการอ่านดุอาอ์ขอการคุ้มครอง(แล้วเป่า)ลงในน้ำและให้ ผู้ป่วยดื่มและทำการรดน้ำนั้นลงบนศีรษะ  และข้าพเจ้าเห็นบิดาได้เอาเส้นผมของท่านนะบีย์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วนำมาวางบนปากของท่านเพื่อทำการจูบมัน  และข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ข้าพเจ้าได้เคยเห็นบิดาวางเส้นผมของท่านนะบีย์ บนศีรษะและตาของท่าน  แล้วท่านก็นำเส้นผมของท่านนบีจุ่มลงในน้ำ จากนั้นก็ทำการดื่มน้ำนั้น เพื่อขอให้หาย(จากการป่วย)ด้วยน้ำนั้น  และข้าพเจ้าเห็นบิดาเอาจานของท่านนะบีย์ ที่อบูยะอฺกูบ บิน สุไลมาน บิน ญะฟัร ได้ส่งมาให้ท่าน  ดังนั้น  บิดาจึงทำการล้างมันในบ่อน้ำแล้วก็ดื่มมัน  และข้าพเจ้าได้เห็นบิดาเอาน้ำซัมซัมมารักษา และเอามาลูบสองมือและใบหน้าของท่าน”
อับดุลลอฮ์ บิน อะห์มัด, มะซาอิล อิมามอะหฺมัด, หน้า 447


คำกล่าวข้างต้นนั้น ก้ออาจจะขัดแย้งกับสุนนะของท่านนบีเพราะนบีกล่าวว่า ไม่มีโรคบาดเจ็บ ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮุก
บันทึกที่ซอเฮียะของมุสลิม  นบีกล่าวชัดเจนโดยผ่านการรายงานของ อบีฮุรัยเราะ


การเขียนตัวหนังสือหรืออะรัยก้อแล้วแต่ มันมีความเชื่อว่า มีลางร้าย แล้วก้อลงมือเขียนกัน

ถ้าหาดิสของบุตรอิหม่ามอะหมัดมีเขียนใว้ก้อจะขัดกับหาดิสนบีข้างต้นที่ยกมาให้ดู มันค้านกับหาดิสนบีก้อหมายถึงรายงานของเขาเชื่อถือไม่ได้. ตามมาตรฐานของชาวมุสลิม  และความเชื่อเหล่านี้ มันคือการเชื่อมโยงไปกับการตั้งภาคีสะด้วยซ้ำ



เมื่อทัศนะผู้รู้ขัดแย้งกับสุนนะฮนบี เราจะเลือกทางใด






          ผู้รู้ไม่ว่าจะระดับใด ย่อมมีถูก มีผิด  และมีการผิดพลาดในการวินิจฉัย  แล้วถ้าเขามีทัศนะไม่ตรงกับสุนนะฮ  เราจะตามใคร และเลือกทางใด

و عن سالم بن عبد الله بن عمر قال: إني لجالس مع ابن عمر رضي الله عنه في المسجد، إذ جاءه رجلٌ من أهل الشام فسأله عن التمتع بالعمرة إلى الحج؟ فقال ابن عمر: حسن جميل، فقال: فإن أباك كان ينهى عن ذلك؟ فقال: ويلك، فإنْ كان أبي قد نَهَى عن ذلك، و قد فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم و أمر به، فبقول أبي تأخذ، أم بأمرِ رسول الله صلى الله عليه وسلم؟! قال: بأمر رسول الله صلى الله عليه وسلم، فقال: فقُمْ عني (6

รายงานจาก สาลิม บุตร อับดุลลอฮ บุตร อุมัร เขากล่าวว่า " แท้จริงข้าพเจ้าได้นั่งอยู่กับ ท่านอิบนิอุมัร ในมัสยิด ปรากฏว่า มีชายคนหนึ่ง จากชาวเมืองชาม มาหาเขา แล้วถามเกียวกับการทำหัจญตะมัตตัวะ ท่านอิบนุอมัรกล่าวตอบว่า " ดีและสวยงาม" แล้วเขา(ชายผู้นั้น)กล่าวว่า " ความจริงพ่อของท่าน(หมายถึงอุมัร)ได้ห้ามเรื่องดังกล่าวไว้นะ ? ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า"เสียหายแล้วละท่าน ! แล้วถ้าหากพ่อของฉันได้ห้ามเรื่องนั้น แต่ความจริง ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯได้ปฏิบัติและได้สั่งเอาไว้ แล้วท่านจะเอาคำพูดขอพ่อฉันหรือ คำสั่งของท่านรซูลุลลอฮ(สอลฯ มายึดถือล่ะ ? เขา(ชายผู้นั้น)ตอบว่า" (ข้าพเจ้า)เอาคำสั่งของรซูลุลลอฮ ศอลฯ มายึดถือ แล้วเขา(อิบนิอุมัร)กล่าวว่า "ดังนั้นจงลุกขึ้นไปเสียจากฉัน
- 6-إسناده صحيح ، رواه الطحاوي في شرح معانى الآثار (1/272) وأبو يعلى في مسنده ، انظر مقدمة صفة الصلاة للعلامة الألباني (ص32) .
.................................................
หะดิษข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าใครก็ตามหากมีทัศนะไม่ตรงกับสุนนะฮของท่านรอซูล เขาก็ต้องเอาสุนนะฮรอซูล ศอลฯ มาปฏิบัติ ไม่ใช่ตักลิดตามผู้อื่น
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
أجمع المسلمون على أنَّ مَن استبان له سُنَّةٌ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم لم يحل له أنْ يَدَعها لقول أحد
บรรดามุสลิมต่างก็มีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดที่สุนนะฮจากรซูลุลลอฮ ศอลฯ ได้ปรากฏชัดเจนแก่เขาแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้เขาละทิ้งมัน(สุนนะฮ) เพื่อไปเอาคำพูดของคนหนึ่งคนใด
الفلاني ص 68
อิมามชาฟิอีย์เคยพูดไว้ว่า
إِذَا وَجَدْتُمْ فِي كِتَابِي خِلافَ سُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُولُوا بِسُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَدَعُوا مَا قُلْتُ
ความว่า "เมื่อพวกท่านพบในตำราของฉันแตกต่างกับสุนนะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺ ดังนั้นพวกท่านจงปฏิบัติตาม สุนนะฮฺของรสูลุลลอฮฺเถิด และจงทิ้งสิ่งที่ฉันพูด
- มะริฟะฮ สุนันวัลอะษาร ของ อัลบัยหะกีย หะดิษ หมายเลข ๑๐๙

ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ระบุในอัลมัจญมัวะว่า

وَكَانَ جَمَاعَةٌ مِنْ مُتَقَدِّمِي أَصْحَابِنَا إذَا رَأَوْا مَسْأَلَةً فِيهَا حَدِيثٌ ، وَمَذْهَبُ الشَّافِعِيِّ خِلَافُهُ عَمِلُوا بِالْحَدِيثِ

และ มีคณะหนึ่งจากสหายของเรายุคก่อน เมื่อพวกเขาเห็นในประเด็นใดมีหะดิษ และมัซฮับชาฟิอีย์ ขัดแย้งกับหะดิษ พวกเขาก็ปฏิบัติตามหะดิษ – ดูอัลมัจญมัวะ เล่ม 1 หน้า 105



والله أعلم بالصو






การปล่อยให้กางเกง หรือ ผ้านุ่งต่ำกว่าตาตุ่ม




สำหรับผู้ที่ปล่อยให้เครื่องนุ่งห่มห้อยลงมาต่ำกว่าตาตุ่ม โดยที่ไม่มีเจตนา หยิ่งผยองหรือ โอ้อวด บรรดานักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน  โดยแบ่งเป็น 3 ทัศนะ คือ ทัศนะที่เห็นว่าฮะรอม  ทัศนะที่เห็นว่า มักโระฮฺ และ ทัศนะที่เห็นว่า มุบาฮฺ อนุญาตให้กระทำได้
อุละมาอฺส่วนใหญ่จากมัสฮับทั้ง 4 มีความเห็นว่า ไม่ถือว่าเป็นการฮะรอม   อิบนิมุฟลิฮฺ กล่าวเอาไว้ใน อัล-อะดาบ อัชชัรอียยะฮฺ ว่า:
ท่านอิหม่าม อบูอะนีฟะฮฺ ( ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วย ) ได้สวมใส่ ริดาอฺที่ยาว ลากกับพื้น  และมีผู้กล่าวกับท่านว่า  เรามิได้ถูกห้ามให้ทำสิ่งนี้หรอกหรือ? ท่านอิหม่ามจึงกล่าวว่า “ นั่นมันสำหรับผู้ที่โอ้อวด แต่เรามิได้เป็นหนึ่งในหมู่พวกนั้น”
ดูจาก อัล- ฟาตาวา อัล- ฮินดียฺยะฮฺ

ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ( ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วย)กล่าวเอาไว้เในเรื่องนี้ ดั่งที่ถูกยกมาอ้างอิงโดยท่านอิหม่ามน่ะว่ะวี ในหนังสือ อัล-มัจมูอฺ( 3/177)  โดยกล่าวว่า “ ไม่เป็นการอนุญาตที่จะปล่อยให้อาภรณ์ห้อยต่ำลงมากว่าตาตุ่ม เมื่อจะทำการละหมาด หรือ ในกรณีอื่นๆก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการโอ้อวด  แต่สำหรับการปล่อยให้ลงมาต่ำกว่าตาตุ่มที่มีสาเหตุอื่นๆในขณะละหมาดโดยไม่ได้เป็นการโอ้อวดแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะท่านนบี ( ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวกับท่านอบูบักร เมื่อท่านอบูบักรได้บอกกับท่านนบีว่า ชายอาภรณ์ของท่าน(อบูบักร)ก็ห้อยลงมาต่ำกว่าตาตุ่ม ซึ่งท่านนบีก็ได้กล่าวว่า “ เจ้าไม่ได้เป็นหนึ่งในพวกเขาเหล่านั้น ( นั้นคือ พวกที่ปล่อยให้อาภรณ์ห้อยต่ำกว่าตาตุ่มเพื่อเป็นการโอ้อวด)
เชค ตะกียุดดีน ( อิบนฺตัยมียะฮฺ- ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วย) ก็ได้สนับสนุน ทัศนะที่บอกว่า ไม่เป็นการฮะรอม แต่ท่านมิได้กล่าวว่า มันเป็นการมักโระฮฺ หรือไม่
อ้างจาก : ชัรฮฺ อัล- อุมดะฮฺ โดย เชคคุลอิสลาม อิบนิตัยมียะฮฺ  หน้าที่ 361-362 )

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

องค์ประกอบที่มีอยู่ในการทำเมาลิดนบียฺ





คำว่า “ทำเมาลิด” อย่างที่นิยมกระทำกันในบ้านเรามีรูปแบบและพิธีกรรมเฉพาะเช่นเมื่อเราทำอิซีกุโบร์แล้วก็จะพ่วงด้วยการอ่านบทกวีที่เป็นประวัติของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จากหนังสือ บัรซันญียฺ แล้วก็เศาะละหฺวาต เป็นต้น นี่คือการทำเมาลิดอย่างที่รู้กัน
 และสิ่งที่มุ่งหมายในประเด็นที่ว่า ไม่มีการทำเมาลิดปรากฏในสุนนะฮฺของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็คือการทำเมาลิดตามรูปแบบที่รู้กันและนิยมกระทำกันในบ้านเรานี่แหละ


การทำเศาะดะเกาะฮฺ การเล่าชีวประวัติ การถือศีลอด ทั้งหมดเป็นส่วนประกอบในการทำเมาลิด ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศและกลายเป็นรูปแบบหรือประเภทที่หลากหลายของการทำเมาลิด เพราะเวลาเราพูดถึงการทำเมาลิดก็จะมีเรื่องการพิธีกรรมที่ว่ามา มีการเลี้ยงอาหารซึ่งเป็นเศาะดะเกาะฮฺประเภทหนึ่ง ทั้งหมดรวมกันเป็นองค์ประกอบของการทำบุญเมาลิดนบียฺ


แต่ถ้าแยกองค์ประกอบเหล่านั้นออกมาเป็นเอกเทศ โดยทั่วไปแล้วไม่มีใครเขาถือกันว่าเป็นการทำเมาลิดนบียฺ
 เช่น ถือศีลอดวันจันทร์เพราะเป็นสุนนะฮฺซึ่งถึงแม้ว่าจะเกี่ยวกับวันที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เกิดก็ไม่มีผู้ใดเจตนาหรืออ้างว่าตนทำเมาลิดนบียฺด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์ แต่ที่ถือเพราะเป็นสุนนะฮฺของท่านนบียฺ และในงานบุญเมาลิดนบียฺก็ไม่ได้จัดตรงวันจันทร์เพียงวันเดียว วันอื่นก็จัดกัน อ่านมุโลดนบีเสร็จก็ทานอาหารกินเหนียวกัน น้อยคนที่จะถือศีลอดในวันที่จัดงานบุญเมาลิดนบียฺ

การเศาะละหวาตก็เช่นกันเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในการทำเมาลิดนบียฺ แต่เมื่อแยกออกมาเป็นเอกเทศ หรือรวมอยู่ในการประกอบศาสนกิจอื่นๆ ทั้งที่วาญิบต้องเศาะละหวาต เช่น ในการตะชะฮฺฮุดครั้งที่ 2 ในละหมาด (มาหยัง) และที่เป็นองค์ประกอบในรุก่นคุฏบะฮฺวันศุกร์ตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ

หรือในการขอดุอาอฺทั่วไปที่มีสุนนะฮฺให้กล่าวเศาะละหวาต เป็นต้น เท่าที่รู้ไม่มีใครตั้งเจตนาหรือกล่าวอ้างว่าตนทำเมาลิดนบีนฺ แต่ที่กล่าวเศาะหวาตเพราะเป็นรุ่ก่นที่วาญิบหรือมีสุนนะฮฺให้กล่าว และเศาะละหวาตก็ไม่ได้ผูกพันอยู่กับวันจันทร์ซึ่งเป็นวันที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เกิดเพียงวันนั้นวันเดียว แต่ต้องเศาะละหวาตทุกวันอย่างน้อยก็ในการละหมาด 5 เวลา มิหนำซ้ำถ้าจะเศาะละหวาตมากๆ ก็มีหลักฐานระบุว่าให้กระทำในวันศุกร์มิใช่วันจันทร์

การเล่าชีวประวัติของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ซึ่งจริงๆ มิใช่เล่าแต่เป็นการอ่านบทกวีภาษาอาหรับที่บางทีคนอ่านเซียนทำนองมากกว่ารู้ความหมายของเนื้อหานั่นก็เป็นองค์ประกอบของการทำเมาลิดอย่างที่นิยมทำกันในบ้านเราและขาดมิได้เสียด้วย เพราะถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำเมาลิดนบียฺ หากแต่เป็นเพียงการซิกรุลลอฮฺ (อีซีกุโบรฺ) และร่วมขอดุอาอฺในงานบุญนั้นเท่านั้น

แต่ถ้าแยกการเล่าหรือการเรียนรู้ประวัติของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ซึ่งมิใช่แค่ตอนเกิดที่เรียกว่าเมาลิด แต่รวมถึงอายุขัยของท่านทั้งหมดจนกระทั่งวะฟาตฺ เวลาแยกออกมาเป็นเอกเทศแล้วก็ไม่มีผู้ใดอ้างว่าตนทำเมาลิดนบียฺ เช่น เด็กฟัรฎูอีนอ่านตำราอัตชีวประวัติของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ของสมาคมคุรุสัมพันธ์ หรือครูที่สอนเล่าเรื่องเกี่ยวกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ให้เด็กฟังและจดจำก็ไม่มีใครเรียกการเล่าหรือการอ่านหนังสือนั้นว่าเป็นการทำเมาลิดนบีหรือกล่าวอ้างว่านั่นเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำเมาลิดนบียฺ เพราะการทำเมาลิดนบีมีรูปแบบเดียวอย่างที่รู้กัน และในรูปแบบเดียวนั้นก็มีองค์ประกอบที่ว่ามา

ซึ่งกรณีนี้แหล่ะที่ผมบอกว่าไม่มีปรากฏในสุนนะฮฺว่าท่านนบีทำรูปแบบที่มีองค์ประกอบรวมกันนั้นเอาไว้  ไม่ได้ปฏิเสธสุนนะฮฺในเรื่องการทำเศาะดะเกาะฮฺ การเลี้ยงอาหาร การเศาะละหวาต และการถือศีลอดในวันจันทร์ หรือแม้กระทั่งการขอบคุณอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ให้นบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เกิดมาหรือการรำลึกถึงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ตลอดเวลาไม่ใช่เฉพาะวันจันทร์วันเดียว



วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ผู้ทำเมาลิดยอมรับว่าเป็นบิดอะฮ์ ไม่ใช่สุนนะฮ์






บิดอะฮฺที่ว่านั้นเป็นบิดอะฮฺประเภทใด เป็นบิดอะฮฺทางศาสนา (บิดอะฮฺชัรอียะฮฺ) หรือเป็นบิดอะฮฺทางภาษา (บิดอะฮฺ ลุเฆาะวียะฮฺ) โดยยึดหลักที่ว่า ทุกๆ สิ่งที่ไม่มีในสมัยนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) หรือทุกๆ สิ่งที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ไม่ได้ทำหรือไม่มีในสมัยชาวสะลัฟ ศอลิหฺ จะต้องเป็นบิดอะฮฺทางศาสนาที่หลงผิด (บิดอะฮฺ เฎาะลาละฮฺ) เสมอไป

เพราะทุกสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนนั้น เรียกว่า บิดอะฮฺ คือเป็นของที่ถูกทำขึ้นใหม่ตามหลักภาษาทั้งสิ้น เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต การจัดงานน้ำชาการกุศล การจัดทำรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งหมดเรียกว่าบิดอะฮฺทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าเป็นบิดอะฮฺอะไร หรือเป็นบิดอะฮฺประเภทใด ระหว่างบิดอะฮฺทางศาสนา และบิดอะฮฺทางภาษา หรือว่าเป็นบิดอะฮฺดีนียะฮฺ (อุตริกรรมในศาสนา) หรือว่าเป็นบิดอะฮฺทางโลก (บิดอะฮฺดุนยะวียะฮฺ) ที่อยู่ในหมวดมุอามะล๊าต


คำกล่าวของชัยคฺ อะลี มะหฺฟู๊ซฺ ในตำรา อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎ็อรฺ อัล-อิบติดาอฺ หน้า 251 ที่ว่า

وَلَانِزَاعَ في أَنَّهَا مِنَ الْبِدَعِ ، إِنَّمَاالنِّزَاعُ في حُسْنِهَا وَقُبْحِهَا...
   “และไม่มีข้อถกเถียงในประเด็นที่ว่า แท้จริงบรรดาเมาลิด (อัล-มะวาลิด) นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮฺ อันที่จริงการถกเถียงนั้นอยู่ในกรณีว่าดีและน่าเกลียดท่านั้น...”

หมายความว่า เรื่องการเป็นบิดอะฮฺนั้นไม่ต้องเถียงกัน แต่เป็นบิดอะฮฺที่ดี (บิดอะฮฺ หะสะนะฮฺ) หรือเป็นบิดอะฮฺที่น่าเกลียด (บิดอะฮฺ เกาะบีหะฮฺ) ตรงนี้แหล่ะที่เขาเถียงกัน


ในหน้า 229 เล่มเดียวกัน อิมามอัส-สุยูฏียฺ (ร.ฮ.) อ้างถึงคำตอบของชัยคุลอิสลาม อัล-หาฟิซฺ อบุลฟัฏล์ อะหฺมัด อิบนุ หะญัร ถึงเรื่องการทำเมาลิด ซึ่งตอบว่า

أَصْلُ عَمَلِ الْمولدِ بِدْعَةٌ لم تُنْقَلْ عَنْ أَحَدٍ مِنَ السَّلَفِ الصَّالِحِ مِنَ الْقُرُوْنِ الْثَلَاثَةِ ، ولكنها مع ذلك قَدِاشْتَمَلَتْ على مَحَاسِنَ وضِدِّهَا ، فَمَنْ تَحَرّى في عَمَلِهَاالْمَحَاسِنَ وتَجَنَّبَ ضِدَّهَا كان بدعةً حَسَنَةً وَإِلَّافَلَا...

   “หลักเดิมของการทำเมาลิดนั้นเป็นบิดอะฮฺที่ไม่เคยถูกถ่ายทอดมาจากผู้ใดจากชนรุ่นสะลัฟ ศอลิหฺจากศตวรรษทั้งสาม แต่ทว่าการเป็นบิดอะฮฺพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนั้น แน่นอนมันได้ประมวลถึงสิ่งดีๆ หลายอย่างและสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งดีๆ นั้น

ฉะนั้นผู้ใดมุ่งเลือกเอาเฉพาะสิ่งดีๆ ในการทำบิดอะฮฺนั้น และหลีกห่างสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งดีๆ นั้น การทำเมาลิดก็ย่อมเป็นบิดอะฮฺที่ดี และหากไม่เป็นเช่นที่ว่ามาก็ไม่ใช่ (บิดอะฮฺที่ดี).....”


หากว่าการทำเมาลิดเป็นสุนนะฮฺที่ชัดเจนเด็ดขาดเพราะมีหลักฐานทั้งสุนนะฮฺ เกาลียะฮฺ และฟิอฺลียะฮฺ  เหตุไฉนท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ หะญัร (ร.ฮ.) จึงตอบเช่นนั้น


ในหน้าที่ 223 เล่มเดียวกัน อิมามอัส-สุยูฏียฺ (ร.ฮ.) ก็ตอบโต้อัช-ชัยคฺ ตาญุดดีน อุมัร อิบนุ อะลี อัล-ลัคมียฺ อัส-สะกันดะรียฺ ที่รู้จักกันว่า อัล-ฟากิฮานียฺ นักวิชาการมาลิกียะฮฺรุ่นหลังที่อ้างว่า การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮฺที่ถูกตำหนิ (บิดอะฮฺมัซฺมูมะฮฺ) ในตำราของอัลฟากิฮานียฺที่ชื่อ “อัล-เมาวฺริด ฟิล กะลาม อะลา อะมะลิลเมาลิด” เพราะอะไรหรือ? เพราะนักวิชาการ 2 ท่านนี้มีความเห็นต่างกัน คนแรกว่า บิดอะฮฺ หะสะนะฮฺ คนหลังว่า บิดอะฮฺ มัซฺมูมะฮฺ


หากว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) คือผู้ที่ริเริ่มทำเมาลิดโยถือศีลอดในวันจันทร์ตามที่เข้าใจ ทำไมอิมามอัส-สุยูฏียฺ (ร.ฮ.) จึงกล่าวว่า คนแรกที่จัดงานเมาลิดคือ กษัตริย์เมืองอัรบิลฺซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) วะฟาตไปแล้วถึง 600 ปีเศษ 
และหากการจัดงานเมาลิดเป็นสุนนะฮฺเกาลียะฮฺและฟิอฺลียะฮฺ ทำไมอิมามอัส-สุยูฏียฺ (ร.ฮ.) จึงกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮฺที่ดี



อิบนุตัยมียะฮ กับการเฉลิมฉลองวันเกิดนบี (เมาลิด)





ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

لا على البدع من اتخاذ مولد النبي - صلى الله عليه وسلم - عيداً. مع اختلاف الناس في مولده. فإن هذا لم يفعله السلف، مع قيام المقتضي له وعدم المانع منه لو كان خيراً.

(การแสดงออกดังกล่าวนั้น)ไม่ใช่อยู่บนบิดอะฮ จาก การยึดเอาวันเกิดรซูลุลลอฮ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งที่ บรรดาผู้คนมีความเห็นแย้งกันในวันเกิดของท่าน นบี เพราะแท้จริงกิจกรรมนี้ ชาวสะลัฟไม่ได้ปฏิบัติมัน ทั้งๆที่มีเหตุผล ให้กระทำ และไม่มีอุปสรรคยับยั้งมัน หากมันเป็นสิ่งที่ดี

ولو كان هذا خيراً محضًا، أو راجحاً لكان السلف - رضي الله عنهم - أحق به منا، فإنهم كانوا أشد محبة لرسول الله - صلى الله عليه وسلم - وتعظيماً له منا، وهم على الخير أحرص

และถ้าปรากฏว่า กิจกรรมนี้ดีล้วนๆ หรือ หนักไปในทางที่ดี แน่นอน ชาวสะลัฟ(ร.ฎ) สมควรที่จะปฏิบัติด้วยมันก่อนเราเสียอีก เพราะแท้จริง พวกเขา รักรอซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ และให้ความสำคัญต่อท่าน ยิ่งกว่าพวกเรา โดยที่พวกเขามีความปรารถนายิ่งต่อ ความดี

. وإنما كمال محبته وتعظيمه في متابعته وطاعته واتباع أمره، وإحياء سنته باطناً وظاهراً، ونشر ما بُعِث به، والجهاد على ذلك بالقلب واليد واللسان. فإن هذه طريقة السابقين الأولين، من المهاجرين والأنصار، والذين اتبعوهم بإحسان

และความจริง การรักและการให้ความสำคัญ ต่อรซูลุลลุฮ ศอ็ลฯ ที่สมบูรณ์ยิ่งนั้น อยู่ในการ ปฏิบัติตาม ,การเชื่อฟังท่าน,การปฏิบัติตามคำสัง และฟื้นฟูสุนนะฮของท่านรซูลุลลอฮ ด้วยใจและการกระทำ และเผยแพร่ สิ่งที่ท่านรซูลถูกส่งมาด้วยมัน และต่อสู้ บนดังกล่าว ด้วยใจ ,มือ และวาจา และแท้จริงนี้คือ แนวทางของบรรพชนยุคก่อน จากบรรดามุฮาญิรีนและอันศอรฺ และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามพวกเขาด้วยสิ่งดีงาม – ดูอิกติฏออ อัสสิริตุลมุสตะกีม หน้า 266 เรื่อง


الأعياد الزمانية المبتدعة


เช็คอุษัยมีน กล่าวว่า

أما لو كان جاهلا فإنه لا يأثم؛ لأن جميع المعاصي لا يأثم بها إلا مع العلم، وقد يثاب على حسن قصده، وقد نبه على ذلك شيخ الإسلام
ابن تيمية في كتابه (اقتضاء الصراط المستقيم) ؛ فيثاب على نيته دون عمله، فعمله هذا غير صالح ولا مقبول عند الله


สำหรับ ถ้าหากว่าเขาเป็นคนไม่รู้ แท้จริงเขาก็ไม่มีความผิด (ไม่บาป) เพราะแท้จริงบรรดาผู้ที่ทำการฝ่าฝืนทั้งหมด จะไม่มีความผิดด้วยมัน นอกจากพร้อมกับความรู้ (ว่าผิด) และแท้จริง เขาได้รับผลตอบแทน บนการเจตนาดี ของเขา และแท้จริง ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ ได้เตือนไว้ในตำราของเขา (อิกติเฎาะอฺอัสสิรอตุลมุสตะกีม) ว่า เขาได้รับผลตอบแทน(ผลบุญ) บนการเนียตของเขา อื่นจากการกระทำของเขา เพราะการกระทำของเขานี้ ไม่ถูกต้อง และไม่ถูกรับรอง ณ อัลลอฮ – ดู อัลเกาลุลมุฟีด เล่ม 1 หน้า 385


ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وأما اتخاذ موسم غير المواسم الشرعية كبعض ليالي شهر ربيع الأول التي يقال : إنها ليلة المولد , أو بعض ليالي رجب , أو ثامن عشر ذي الحجة , أو أول جمعة من رجب , أو ثامن من شوال الذي يسميه الجهَّال عيد الأبرار : فإنها من البدع التي لم يستحبها السلف , ولم يفعلوها. والله سبحانه وتعالى أعلم
"สำหรับการยึดเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด(มาเฉลิมฉลอง)อื่นจากบรรดาเทศกาลทางศาสนบัญัติ เช่น บางคืนของเดือนเราะบิอุลเอาวัล ซึ่ง เรียกกันว่า "คืนเมาลิด" หรือ บางคืนของเดือนเราะญับ หรือ คืนที่แปดของเดือนซุลหิจญะฮ หรือ วันศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือ วันที่แปดของเดือนเชาวาล ที่บรรดาพวกโง่เง่า เรียกว่า "อีดุลอับรอ็ร" นั้น แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮ ที่บรรดาชาวสะลัฟไม่ส่งเสริมให้กระทำและพวกเขาไม่ได้กระทำมัน ,วัลลอฮุซุบหานะฮูวะตะอาลา อะอฺลัม. - มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 25 หน้า 298





วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เรื่องทางดุนยา



เรื่องทางดุนยา ใครจะสอนจะเรียนทางโทรทัศน์ดาวเทียม,วิทยุ,ดีวีดี,หหรือไปนั่งเรียนในห้องเรียนไม่ได้มีการจำกัดวิธีการ ใครจะขี่อูฐขับรถยนต์มอร์เตอร์ไซค์หรือนั่งรถไฟหรือเครื่องบิน จะเปิดแอร์เปิดพัดลมหรือจะใช้พัดไม่ใผ่ หรือจะใช้ข้าวของเครื่องอำนวยความสะดวกในยุคสมัยนี้..นี่เป็นเรื่องทางดุนยา อย่า!เอามาปนคำสั่งของศาสนา!
..
*
عَنْ عَائِشَةَ رضي الله عنها، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم سَمِعَ أَصْوَاتًا . فَقَالَ " مَا هَذَا الصَّوْتُ " . قَالُوا النَّخْلُ يُؤَبِّرُونَهُ فَقَالَ " لَوْ لَمْ يَفْعَلُوا لَصَلَحَ " . فَلَمْ يُؤَبِّرُوا عَامَئِذٍ فَصَارَ شِيصًا فَذَكَرُوا لِلنَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ :
" إِنْ كَانَ شَيْئًا مِنْ أَمْرِ دُنْيَاكُمْ فَشَأْنَكُمْ بِهِ وَإِنْ كَانَ شَيْئًا مِنْ أُمُورِ دِينِكُمْ فَإِلَىَّ "
صحيح-الألباني"صحيح ابن ماجه": 2019 , صحيح-الألباني"صحيح الجامع": 5601, صحيح ابن حبان: 22
..
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เมื่อ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ยินเสียงดังมาจากต้นอินผลัม ท่านได้กล่าวถามว่า " เสียงนี้คืออะไร? " พวกเขา(ชาวสวนอินทผลัม)กล่าวตอบว่า " พวกเรากำลังผสมเกสรอินทผลัม " ท่านนบีฯจึงกล่าวว่า " ถ้าพวกท่านไม่ทำอย่างนั้นมันอาจจะดีกว่านะ " ในปีนั้นอินทผลัมก็ไม่ได้รับการผสมเกสร และในปีนั้นอินทผลัมก็ไม่ติดผลอย่างที่เคย ชาวสวนจึงนำเรื่องดังกล่าวไปบอกท่านนบีฯ และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า ;
“หากว่ามีเรื่องใดก็ตามจากดุนยาของพวกเจ้า มันก็เป็นหน้าที่ของพวกเจ้าในเรื่องนั้น และแท้จริงหากมีเรื่องใดก็ตามจากของศาสนาของพวกเจ้า ก็จงกลับมาที่ฉัน”
เศาะฮีหฺ–อัลบานียฺ "เศาะฮีหฺ อิบนุ มาญะฮฺ" : 2019 , เศาะฮีหฺ

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นบีไม่ได้กินมาก (นบีต๊ะมาแกปีแน)





ส่วนหนึ่งของหนังสือ เรื่อง “นบีไม่ได้กินมาก...พิธีกรรมความเชื่อมลายูในกระแสการตื่นตัวในศาสนาอิสลาม”
ผู้เขียน “อนุสรณ์ อุณโณ” คนต่างศาสนิกในฐานะนักมนุษย์วิทยา โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการอยู่ร่วมคลุคลีกับชุมชนมุสลิมมลายูรามันห์ จังหวัดยะลา และการพูดคุยซักถามคนในพื้นที่  (ในช่วงปี พ.ศ.2559)
จัดทำโดย ปาตานี ฟอรั่ม
 ซึ่งจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมมุสลิมมลายูยังเหนียวแน่นและปนเปกับพิธีกรรมและหลักความเชื่อเดิมๆของประเพณีท้องถิ่นมลายูและถูกผนึกร่วมกับศาสนาอิสลาม ซึ่งบางพิธีกรรมหรือความเชื่ออาจขัดกับหลักบทบัญญัติศาสนาอิสลามและถึงขั้นชิริก


ในที่นี้ จะขอยกเนื้อหาบางส่วนที่ผู้เขียนได้สัมผัสในเรื่องนี้ และเป็นที่มาของชื่อเรื่องหนังสือเล่มนี้

...ม้าพยศวิญญาณบรรพบุรุษและศาสดา...

การนำม้าไปฝึกซ้อมที่สนามแข่งดูจะเป็นไปด้วยความราบรื่น เด็กวัยรุ่นทั้งสามคนช่วยกันต้อนมันขึ้นกระบะท้าย..จากนั้นรถก็เคลื่อนตัวออกไป ม้าเริ่มกระสับกระส่ายและแสดงออกอาการพยศทันทีที่รถเคลื่อนตัว...ข่าวเกี่ยวม้าพยศและบาดเจ็บแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ...ก๊ะด๊ะลูกจ้างตัดยางครอบครัวมาน สันนิษฐานว่าเหตุการณ์ “สะเทือนขวัญ” ดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ครอบครัวมานไม่ได้จัดพิธีบวงสรวงให้วิญญาณบรรพบุรุษเป็นการเฉพาะมาเป็นเวลานานแล้ว พวกเขาเพียงแต่เอ่ยชื่อวิญญาณรวมๆในการประกอบพิธีที่ผ่านมา ไม่ได้ระบุจำเพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคนไหน เหตุการณ์ม้าพยศจนบาดเจ็บจึงเป็นเสมือนสัญญาณเตือนจากวิญญาณบรรพบุรุษที่ถูกละเลย จิ๊เยะ อาสาวของมานสนับสนุนข้อสันนิษฐานของก๊ะเด๊ะพร้อมกล่าวเพิ่มว่าเธอได้บนกับวิญญาณบรรพบุรุษมาหลายครั้งแล้วแต่ว่ายังไม่ได้จัดพิธีแก้บนให้สักที หากว่ามานตัดสินใจจะประกอบพิธีให้กับวิญญาณบรรพบุรุษในครั้งนี้เธอก็สนับสนุนไก่สำหรับใช้ในพิธี ผู้ร่วมสนทนาคนอื่นเห็นด้วยกับ “ทฤษฎี” ของก๊ะเด๊ะ และเห็นพ้องต้องกันว่าครอบครัวมานควรจัดพิธีบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษให้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้น


พิธีบวงสรรงจัดขึ้นบริเวณด้านหลังของบ้านซึ่งถัดห้องครัวออกไป โดยมี จิงนู เป็นผู้ประกอบหลัก และมีแชเอ๊ะ จากบ้านโพระซึ่งอยู่ถัดไปอีกสองหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลภูตผีวิญญาณหรือสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่อาจรบกวนการประกอบพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ รวมทั้งเพื่อนบ้านทุกเพศทุกวัยรวมประมาณยี่สิบคน พิธีเริ่มต้นด้วยการที่ผู้เข้าร่วมมพิธีสวดอัลกุรอาน ร่วมกันหนึ่งบท ต่อด้วยการสวดอัลกุรอานเดี่ยวของจิงนู จากนั้นเป็นการถวายเครื่องบวงสรรงให้กับดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ โดยมีมานเป็นผู้ช่วย เพราะเขารู้ว่าถาดเครื่องบวงสรรงใดจะถวายให้กับวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหน จิงนูกล่าวดุอาอ์ ขณะที่มานใช้มือแตะถาดเครื่องบวงทรวงแต่ละถาดพร้อมกับเอ่ยชื่อวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังเสร็จพิธีเครื่องบวงสรวงในฐาดถูกแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับประทานกัน จิงนูรับประทานเครื่องบวงสรวงเล็กน้อย เขารับผ้าหนึ่งผืนพร้อมกับข้าวสารหนึ่งถุงเป็นของกำนัลก่อนเดินทางกลับ มานกล่าวว่า เขารู้สึกดีขึ้นมากหลังจากได้จัดพิธี  เขากล่าวว่า “เราไม่น่าลืมจัดพิธีให้วิญญาณบรรพบุรุษนี้เลย จะได้ไม่ต้องมีเรื่องเกิดขึ้น”  เช่นเดียวกันจามุน้าชายมาน กล่าวว่า “ดีนะที่เราได้จัดพิธีนี้เพราะว่าวิญญาณจะได้พอใจจะได้ไม่มารบกวนเราหรือว่าก่อเรื่องอะไรอีก”


แม้พิธีกรรมนี้จะจัดขึ้นเพื่อบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่เชื่อว่าทำให้ม้าเกิดอาการพยศเป็นหลัก แต่ก็เป็นการบวงาสรวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์อื่นด้วยในเวลาเดียวกัน
โดยนอกจากถาดบวงสรวงสำหรับโต๊ะแนะแนะ (ปู่ย่าตายาย) ถาดบวงสรวงที่เหลือมีไว้สำหรับวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธฺ์อื่น ได้แก่ โต๊ะลาเม็ง (ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน) โต๊ะนิ (เจ้าเมืองรามันห์) โต๊ะปานังสาระ (ครูกริช) โต๊ะกือดางี (ครูศิลปะ) และนบีมูฮัมหมัด


ถาดบวงสรวงแต่ละถาดประกอบด้วยข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวเหลือง ขนมโบราณ สำหรับหมากพลู น้ำ กล้วย ข้าวตอก และไก่ย่าง เว้นแต่ถาดบวงสรวงนบีมูฮัมหมัดที่ต่างออกไป คือ ไม่มีสำหรับหมากพลู แต่มีดอกไม้แทน โดยมานให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ “นบีไม่ได้กินหมาก เพราะว่าท่านเป็นชาวอาหรับ แล้วเวลาประกอบพิธีชาวอาหรับนิยมใช้ดอกไม้ ก็เลยใช้ดอกไม้แทนหมากในถาดของนบี”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่ครอบครัวมานรวมถึงเพื่อนบ้านให้ความเคารพนับถือ ไม่ได้มีแต่เพียงดวงวิญญาณบรรพบุรุษซึ่งเชื่อสามารถบรรดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ กับพวกเขาและสิ่งรอบตัวได้ หากแต่หมายรวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นด้วย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าและเจ้าเมืองรามันส์) วัฒนธรรมมลายู (ครูกริชและครูศิลปะ) และศานาอิสลาม (นบีมูฮัมหมัด)




รายละเอียดอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ โปรดหาซื้ออ่านได้ตามร้านหนังสือศาสนาทั่วไป


ติดตามเพจ แสวงหาสัจธรรมจากอิสลาม ทางเฟสบุ๊ค ได้ ตามเว็บไซต์ https://www.facebook.com/is19102559/













วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชีวประวัติของเชคดาวูด อัล-ฟะฎอนีย์







 การกำเนิด


ชัยคฺดาวูดอัลฟะฎอนีย์มีชื่อเต็มว่า ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ บิน อิดรีส อัล-ยาวีย์
อัลฟะฎอนีย์ อัลมลายูวีย์ ท่านเป็นที่รู้จักกันในโลกมลายูด้วยชื่อย่อว่า “ชัยคฺดาวูด”หรือที่เรียกกันใน
ปัตตานีว่า “โต๊ะชัยคฺดาวูด” (Faisol Haji Awang et.al.,2009:675)
บรรดานักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสถานที่เกิดของชัยคฺดาวูด บิน
อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฎอนีย์และปีเกิดของท่านดังนี้คือ อิสมาอิล เจะดาวูด(Ismail Che Daud,1988:3)ได้
กล่าวในหนังสือของท่าน “Tokoh-Tokoh Ulama Semenanjung melayu (1)” และอะฮฺหมัด ฟัตฮี
อัล-ฟะฏอนีย์(Ahmad Fathy al-Fatani,2002:25) ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า “Ulama besar dari
Patani ”ว่า ชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺอัล-ฟะฏอนีย์เกิดที่หมู่บ้านปาเระมัรหูมใกล้เคียงกับ
หมู่บ้านกรือเซะ ประมาณ 7 กิโลเมตรซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองปัตตานีในปัจจุบัน
อับดุลลอฮฺ อัล-กอรี ได้กล่าวในวารสาร DIAN ฉบับที่10 ว่า ชัยคฺดาวูด บิน
อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์เกิดที่หมู่บ้านบือนังกูเจร์ จังหวัดปัตตานี(Abdullah al-Qari,1967:135)
ส่วนหะยีวันมุหัมหมัดเศาะฆีร อับดุลลอฮฺ(H.W.M.Shaghir Abdullah,1990:21 ) อืงกู อิบรอหีม
อิสมาอีล (Engku Ibrahim Ismail,1992:18)และโยนี ตัมกีน บิน บูรหาน (Joni Tamkin bin
Borhan,2001:2) ได้ให้ทัศนะว่า ชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์เกิดที่กรือเซะซึ่งเป็นชื่อของ
เมืองหนึ่งในจังหวัดปัตตานีตั้งอยู่ติดกับชายหาด และเป็นที่ตั้งของมัสยิดหนึ่งซึ่งเก่าแก่และมี
ชื่อเสียงมากทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดปัตตานี
ปัตตานีซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ในอดีตนั้น
เคยเป็นรัฐปัตตานีที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านประวัติศาสตร์และเป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามในเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ และในยุคนั้นรัฐปัตตานีเป็นที่รู้จักกันในนามของ “อัล-เดาละฮฺ อัล-อิสลามิยะฮฺ
ปัตตนีดารุสสลาม” ความเจริญรุ่งเรืองของรัฐปัตตานีในอดีตนั้นไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักของประเทศ
เพื่อนบ้านเท่านั้นแต่ยังเป็นที่รู้จักของบรรดานักค้าขายที่เดินทางมาจากเปอร์เซีย อินเดีย จีน อังกฤษ
และโปรตุเกตุอีกด้วย (Faisol Haji Awang et.al.,2009:676)


ส่วนปีที่กำเนิดของชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์นั้นนักวิชาการต่างก็มี
ความเห็นที่แตกต่างกันเช่นกัน คือ ปีฮ.ศ. 1133 / ค.ศ. 1720 ปีฮ.ศ. 1153 / ค.ศ. 1740 และปี ฮ.ศ.
1183 / ค.ศ. 1769 (Engku Ibrahim Ismail,1992:20) ตามความเห็นของอะฮฺหมัด ฟัตฮี อัล-ฟะฏอนีย์
(Ahmad Fathy al-Fatani,2002:26)ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า“Ulama besar dari Patani”และ
อิสมาอิล เจะดาวูด (Ismail Che Daud,1988:4) ในหนังสือ “Tokoh-Tokoh Ulama Semenanjung
melayu (1)” ปีที่เกิดของชัยคฺดาวูดบินอับดุลลอฮฺอัล-ฟะฏอนีย์ คือ ปีฮ.ศ. 1183 จากหลักฐานคำ
กล่าวของหะยีอิสเหาะ ตีกัตในวันที่13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517ปีที่เกิดของชัยคฺดาวูดบินอับดุลลอฮฺ
อัล-ฟะฏอนีย์ คือปี1183 ฮ.ศ. ซึ่งตรงกับปีค.ศ. 1769
ส่วนมุหัมหมัด ซัมเบอรี(Mohd. Zamberi,1994:112) ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า
“Patani dalam Tamadun melayu” อืงกู อิบรอหิม อิสมาอิล (Engku Ibrahim Ismail, 1992:18)ใน
หนังสือ “Syeikh Dawud Satu Analilsis Peranan dan Sumbagannya Terhadap Khazanah Islam di
Nusantara” และหะยีวันมุฮัมหมัดเศาะฆีรฺ อับดุลลอฮฺ(W.H.M. Shaghir Abdullah,2000:2)ใน
หนังสือ (Penyebaran Islam & silsilah Ulama Sejagat Dunia Melayu)มีความเห็นว่าปีที่เกิดของชัยคฺ
ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺอัล-ฟะฏอนีย์คือปีฮ.ศ. 1133 ซึ่งตรงปีค.ศ. 1720 เป็นปีน่าเชื่อถือมากที่สุดจาก
หลักฐานที่ค้นพบจากข้อเขียนของโต๊ะครูหะยีอับดุลฮามีดบินอับดุลกอดีรฺ อัส-สะนาวี เขียนใน
หนังสือ “Risalah Bahasan Niat Sembahyang”ของท่านว่า
“Dan sangat mustajab doanya dan panjang umurnya kodar 166 tahun iaitu mati
pada masa Sultan Syarif Muhammad Arsyad Khan Al-abbasi 1297h.”
ความว่า“การขอพรของท่านนั้นได้รับการตอบรับจากอัลลอฮฺและอายุของท่านยืน
ยาวนานถึง166ปี คือท่านได้เสียชีวิตในสมัยสุลต่านชะรีฟ มุฮัมหมัด อัรฺชาด ข่าน
อัล-อับบาสีย์ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1297”
เมื่อนำเลข 1297ไปลบกับ 166 ดังที่โต๊ะครูหะยีอับดุลฮามีดบินอับดุลกอดีรฺ
อัส-สะนาวีได้กล่าวนั้นผลลัพธ์ก็จะได้1131ซึ่งหมายถึงปีฮ.ศ.1131/ค.ศ.1718 คือปีเกิดของชัยคฺดาวูด
บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ซึ่งมีความต่างกันเพียงสองปีเท่านั้นกับปี1133
ส่วนอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันปีเกิดของชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺอัล-ฟะฏอนีย์ คือ
สิ่งที่ได้กล่าวไว้ในตำรา“Majmu’ul Ahadith li Tahrikin Naimin”เขียนโดยโต๊ะครูหะยีมุหัมหมัดนูรฺ
อัล-มัรฺซูกีย์ ตุยง อัล-ฟะฏอนีย์ ว่า ได้มีการพบปะและการสัมภาษณ์กันระหว่างโต๊ะครูชัยคฺอุสมาน


ญะลาลุดดีนกับผู้อาวุโสท่านหนึ่งมีชื่อว่าหะยีอะบูบักรฺอายุ150ปีเมื่อปีฮ.ศ.1328/ค.ศ.1910ในการ
พบปะระหว่างโต๊ะครูชัยคฺอุสมาน ญะลาลุดดีนกับหะยีอะบูบักรฺ ชัยคฺอุสมานได้ถามถึงอายุของอะบู
บักรฺ สมัยที่ท่านได้ไปยังนครมักกะฮฺและท่านได้พบกับนักปราชญ์ท่านใดบ้าง ท่านหะยีอะบูบักรฺ
ตอบว่าปัจจุบันท่านมีอายุ150แล้วได้ไปยังนครมักกะฮฺตั้งแต่ท่านยังเด็กอยู่และท่านได้พบกับชัยคฺ
ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ผู้ซึ่งมีงานเขียนอันมากมาย(H.W.M. Shaghir Abdullah,1991:7)
เมื่อนำเอาอายุของหะยีอะบูบักรฺคือปีฮ.ศ.1328 ลบด้วย150แล้ว ผลลัพธ์จะเท่ากับ
1178 นั้นคือหะยีอะบูบักรฺเกิดในปีฮ.ศ. 1178/ค.ศ.1763ถ้าหากชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ
อัล-ฟะฏอนีย์เกิดเมื่อปีฮ.ศ. 1178/ค.ศ.1763ดังที่หะยีอิสเหาะ ตีกัตและอิสมาอีล เจ๊ะดาวูดคือปีเกิด
ของชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ฮ.ศ.1183/ค.ศ.1769แล้วได้อ้างไปแล้วนั้นย่อม
หมายความว่าหะยีอะบูบักรฺมีอายุแก่กว่าชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์เพียง 2 ปีเท่านั้นซึ่ง
เป็นไปไม่ได้เพราะในขณะที่หะยีอะบูบักรฺได้เดินทางไปอาศัยอยู่ ณ นครมักกะฮฺและได้พบกับชัยคฺ
ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ซึ่งในขณะนั้นเขายังเป็นเด็กอยู่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุไม่
เกิน 15 ปีถ้าหากว่าเพิ่มตัวเลข 15 ปีจากปี ฮ.ศ. 1178 จะได้ตัวเลขเป็นปี ฮ.ศ. 1193/ค.ศ. 1779 คือปีที่
หะยีอะบูบักรฺได้พบกับชัยคฺดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ตามคำให้สัมภาษณ์ซึ่งขณะนั้นชัยคฺ
ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์มีสถานภาพเป็นอุลามาอฺที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักกันในมหา
นครมักกะฮฺแล้วซึ่งเป็นไปไม่ได้หากท่านได้ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ.1183/คศ.1769ในขณะที่ปีฮ.ศ.
1193/ค.ศ.1779ท่านได้กลายเป็นนักปราชญ์ที่โดดเด่นด้วยอายุเพียง 10 ปีเท่านั้น(H.W.M.Shaghir
Abdullah,1991:7)
อันเนื่องจากหลักฐานที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้วิจัยมีความเห็นว่าชัยคฺดาวูด บิน
อับดุลลอฮฺ อัล-ฟะฏอนีย์ถือกำเนิดที่กรือเซะในปีฮ.ศ.1133ตรงกับปีค.ศ.1720 คงจะเป็นข้อมูลที่
น่าเชื่อถือมากที่สุด
2.2 ต้นตระกูล
ชัยคฺดาวูดอัล-ฟะฏอนีย์ บิดาชื่อชัยคฺวันอับดุลลอฮฺ บินชัยคฺวันอิดรีส (โต๊ะวันดือรา
เซะ หรือชัยคฺวันสะนิ) อัล-ฟะฏอนีย์ บินโต๊ะวันอะบูบักรฺ บินโต๊ะกายอปันดัก บินอันดี(ฟากิฮฺอะลี)
ดาโต๊ะมหาราชาเลลา ตรงจุดนี้เองเชื้อสายของชัยคฺดาวูดบินอับดุลลอฮฺอัล-ฟะฏอนีย์ทางบิดาและ
มารดามาบรรจบกัน คือมารดาของท่านชื่อวันฟาฎิมะฮฺ บินตฺ วันสะลามะฮฺ บินตฺโต๊ะบันดาวันสู บิน
โต๊ะกายอ รากนา ดีราญา บินอันดี(ฟากิฮฺอาลี)ดาโต๊ะมาหาราชาเลลา บินมุสฎอฟาดาตูญัมบู(สุลต่าน
อับดุลหะมีด ซาห์) บินสุลต่านมูซอฟฟัร วาลี อัล-ลอฮฺ บินสุลต่านอบูอับดุลลอฮฺ อุมดะฮฺ อัล-ดีน
(วันอบูหรือวันบุตรีหรือเมาลานาอิราเอล) กษัตริย์แห่งจำปาปี ค.ศ.1471
ฟากิฮฺอะลี ดาตูญัมบู มหาราชาเลลา บิน มุสฏอฟาดาตู ญัมบู(สุลต่านอับดุลหะมีด
ซาห์) บินสุลต่านมูซอฟฟัรวาลี อัล-ลอฮฺ บิน ซัยยิดอะลี บินซัยยิดนูรอะลัม บิน เมาลานาชัยคฺญามาล
อัล-ดีน อัล-อักบารฺ อัล-หุซัยนี( ณ สุลาวีซี) บินซัยยิด อะฮฺหมัด ซาห์(อินเดีย) บินซัยยิดอับดุลมาลีก
@ อับดุลมุลูก (อินเดีย) บิน ซัยยิดอะลาวี(หัฎรอเมาตฺ) บินซัยยิดมุหัมหมัดศอฮิบ มิรบัต บิน ซัยยิด
อะลี คอลี กอซัม (หัฎรอเมาตฺ) อิหม่าม อีซา นากีบ (บัสเราะฮฺ) บินมุหัมหมัด นากีบ (บัเราะฮฺ) บิน
อิหม่ามอะลี อัล-อุไรดี(มะดีนะฮฺ) บินญะอฺฟารฺ ศอดิก บินอิหม่ามมุหัมหมัดบากิรฺบินอิหม่ามบากิรฺ
บินอิหม่ามอะลีซัยนฺอัล-อาบิดีน บินอิหม่าม หุซัยนฺ บินอะลี เป็นบุตรชายของฟะฏิมะฮฺ บินตฺ
มุหัมหมัด b . ซึ่งอาจแสดงความสัมพันธ์การสืบเชื้อสายดังแผนภูมิต่อไปนี้(W.H.M. Shaghir
Abdullah,1990:9-10)







อากีดะฮ์ของชัยคฺอับดุลกอดีร...อัลลอฮฺทรงอยู่เบื้องสูง






ชัยคฺอับดุลกอดีร อัลญีลานีย์ เกิดในปี ฮิจเราะห์ที่  ๔๗๐ – ๕๖๑ (เกิดก่อนวาฮาบีย์)  มีการอ้างว่าท่านเป็นผู้นำซูฟีย์สายฏอริเกาะฮอัลกอดิรียะฮอัศศูฟียะฮ   มาดูอะกีดะฮของท่าน ดังนี้

وهو بجهة العلو مستو على العرش، محتو على الملك، محيط علمه بالأشياء، {إليه يصعد الكلم الطيب والعمل الصالح يرفعه})

และพระองค์อยู่ทิศเบื้องสูง ทรงเป็นผู้สถิตเหนือบัลลังค์ ทรงเป็นผู้มีอำนาจเหนือการปกครอง ความรู้ของพระองค์ ครอบคลุมบรรดาสรรพสิ่ง (คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์  และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญมัน(ฟาฏิร/10) – ดู الغنية لطالبي طريق الحق لعبد القادر الجيلاني (ج1 ص121 و123

และเขาได้กล่าวอีกว่า

وينبغي إطلاق صفة الاستواء من غير تأويل ، وأنه استواء الذات على العرش لا على معنى القعود والمماسة كما قالت المجسمة والكرامية ، ولا على معنى العلو والرفعة كما قالت الأشعرية ، ولا معنى الاستيلاء والغلبة كما قالت المعتزلة ، لأن الشرع لم يرد بذلك ولا نقل عن أحد من الصحابة والتابعين من السلف الصالح من أصحاب الحديث ذلك ، بل المنقول عنهم حمله على الإطلاق

และสมควรกล่าวคุณลักษณะของการอิสติวาอฺ ไว้กว้าง โดยไม่ตีความ  และแท้จริงมันคือ การอิสติวาอฺ ของซาต(ตัวตนของอัลลออ เหนืออะรัช  ไม่ได้อยู่บนความหมายว่า นั่ง หรือ การสัมผัส อย่างเช่นที่กลุ่มมุญัสสิมะฮและอัลกะรอมียะฮได้กล่าวไว้ และไม่ใช่ความหมาย ว่า สู่งส่งและสูงศักดิ์ ดังที่กลุ่มอัชอะรียะฮกล่าวไว้ และไม่ใช่ ความหมายว่า การยึดครองและการพิชิต ดังที่ กลุ่มมุอตะซิละอ ได้กล่าวไว้ เพราะว่า  ตัวบททางศาสนาบัญญัติไม่ได้บอกกล่าวถึงความหมายดังกล่าวนั้นๆไว้ แล้วก็ไม่ปรากฏการรายงานจากบรรดาซอฮาบะฮฺหรือจากบรรดาตะบีอีนจากยุคสลัฟหรือจากบรรดานักวิชาการหะดีษถึงการตีความในแบบเหล่านี้เลย” ในทางกลับกัน  สิ่งที่ถูกรายงานจากพวกเขา (ความหมายของอิสติวาอฺนั้น)คือ การถือมันตามที่ถูกกล่าวไว้กว้าง(ในตัวบท) -ดูเชคอับดุลกอดีรญีลานี หนังสือ ฆุนยะตุตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 73
และเช็คอับดุลกอเดร อัลญัยลานีย์ ได้กล่าวอีกว่า

وأنه تعالى ينزل في كل ليلة إلى سماء الدنيا كيف شاء وكما شاء ، فيغفر لمن أذنب وأخطأ وأجرم وعصى لمن يختار من عباده ويشاء تبارك العلي الأعلى ، لا إله إلا هو له الأسماء الحسنى ، لا بمعنى نزول الرحمة وثوابه على ما ادعته المعتزلة والأشعرية

และแท้จริง อัลลอฮตาอาลา ทรงเสด็จลงมา ยังฟากฟ้าดุนยาในทุกๆคืน ตามรูปแบบที่ทรงประสงค์ ดังสิ่งที่ทรงประสงค์ แล้วทางอภัยแก่ผู้ที่ทำบาป ,ทำความผิด ,ก่ออาชญกรรมและทำการฝ่าฝืน แก่ผู้ที่ทรงเลือก จากบรรดาบ่าวของพระองค์ และผู้ทรงบริสุทธิ์ ทรงสูงส่งยิ่ง ทรงประสงค์ ,ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงมี บรรดาพระนามที่สวยงาม ,การเสด็จลงมา (นูซูล) นั้น ไม่ใช่ ความหมายว่า ความเมตตาและผลบุญของพระองค์ ตามที่ กลุ่มมุอตะซิละฮและ อัชอะรียะฮ อ้าง
-จากหนังสือที่อ้างแล้ว
>>>>>>>>>>>>
ข้างต้นชี้ให้เห็นว่า อะกีดะฮของ ชัยคฺอับดุลกอดีร อัลญีลานีย์  คือ อะกีดะฮสะลัฟ ที่เชื่อในการอยู่ทิศเบื้องสูงของอัลลอฮ และคำว่า อยู่บนอะรัช ไม่ได้หมายถึงนั่งและสัมผัสกับอะรัช แต่หมายถึง อยู่เหนืออะรัช  เหนือมัคลูคแยกจากมัคลูคทั้งหลาย และบรรดามุสลิมส่วนหนึ่งที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็นวะฮบีย์ ก็ไม่ได้เชื่อว่า อัลลอฮอาศัยอะรัชเป็นที่อยู่อาศัย  ดังที่พวกอคติได้ใส่ใคล้และปรักปรำ –วัลอิยาซุบิลละฮ

อ.อะสัน หมัดอะดั้ม



ท่านจะเป็นคนหนึ่งที่จะประสบความสำเร็จ



ใช่!...พวกเราเกิดไม่ทันกับยุคของท่านนบี(ศ.ล)
ใช่!...พวกเราเกิดไม่ทันกับยุคของบรรดาซอฮาบะห์(รฏ)
ใช่!...พวกเราเกิดไม่ทันกับยุคของบรรดาตาบีอีนและตาบีอีน
แต่...พวกเราสามารถที่จะตามพวกเขาได้ และรับรองว่าพวกเขาไม่มีวันพาเราหลงอย่างแน่นอน
ด้วยเงื่อนไขง่ายๆดังนี้...
เราต้องเชื่อเหมือนที่พวกเขาเชื่อ
เราต้องปฏิบัติเหมือนที่พวกเขาปฏิบัติ
เราต้องมีจุดยืนเหมือนจุดยืนของพวกเขา
และห้ามไปทำอิบาดะห์อะไรก็ตามที่พวกเขาไม่เคยทำ
ถ้าหากว่า ใครก็ตามที่สามารถทำได้ ตามเงื่อนไขที่ผมเขียนมาข้างบนนี้ ผมกล้ารับรองได้เลยว่า ท่านจะเป็นคนหนึ่งที่จะประสบความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ


#บังอีข้างสุเหร่า

เขากล่าวหาว่าฉันเป็นพวกวะฮาบีย์





ชี้แจง โดย อ.ฟารีด เฟ็นดี้
คนที่กล่าวหาชาวบ้านว่าเป็นพวก วะฮาบีย์
ไอ้คนที่กล่าวหาเขาเป็นไครไปดูซิ
ไปดูว่าเขาเป็นใคร
1.ไม่ทำ ชิริก ก็ฝักใฝ่อยู่กับ บิดอะห์ หรือ คูราฟาต ใช่ไม่ใช่
ก็แค่นั่น เราจะไปแคร์อะไร เขาจะเรียกเขาจะว่าใครเป็น
วะฮาบีย์
หน้าที่ของเราก็คือเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์และรอซูล
ถ้าหากว่า คำว่า #วะฮาบีย์
หมายถึงการไม่ยุ่งกับชิริกและบิดอะห์
พี่น้องรู้ไหม
ศอฮาบะห์ ทั้งหมดนั่นแหละคือ วะฮาบีย์
มีศอฮาบะห์คนไหนทำชิริก
มีศอฮาบะห์คนไหนทำบิดอะห์
แม้กระทั่งอิหม่ามทั้ง 4
ถ้าบอกว่าคนละหมาดไม่อ่านอุซ็อลลี
คือ วะฮาบีย์
อิหม่ามชาฟีอีย์ก็คือหัวหน้า วะฮาบีย์
อิหม่ามชาฟีอีย์นั่นแหละคือหัวหอก วะฮาบีย์
เพราะอิหม่ามชาฟีอีย์ก็ไม่ทำ เมาลิด
เพราะงั้นวันนี้เราได้ความกระจ่างแล้วนะครับ
คนที่เอาคำว่า วะฮาบีย์
มากล่าวหาใส่ร้ายผู้ที่ยืนหยัดไม่ใช่ใครที่ไหนหรอก
ก็จำพวกที่สาละวนอยู่กับกุโบร์
อะกีดะห์ของพวกที่ทำชิริกและบิดอะห์
พี่น้องลองดูเหอะ
คนที่กล่าวหาคนที่ใส่ร้ายก็หนีไม่พ้นไปจากคนกลุ่มนี้
เพราะงั้นเวลาที่เราได้ฟังเรื่องใดๆให้เราพินิจพิจารณา
พี่น้องไม่ต้องไปหวั่นไหว..ไปหวั่นวิตกที่เขากล่าวหาว่าเป็นพวกวะฮาบีย์
จะตั้งชื่อว่าอะไร
มันจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่
แต่ที่สำคัญคือความเชื่อเราเหมือนใครอิบาดะห์เราเหมือนใครจะเรียกอะไรชั่งหัวมัน
หรือวันข้างหน้ามันจะตั้งชื่อใหม่เรียกพวกเราชั่งหัวมัน
แต่ที่สำคัญเนี่ยไปวันกิยามะฮฺ
อัลลอฮ์จะไม่ถามหรอก..กลุ่มท่านชื่ออะไร
อัลลอฮ์จะสอบอะไรเป็นสำคัญล่ะ
อัลลอฮ์จะสอบอะกีดะห์
ว่าถูกไหมใช่ไหม
อิบาดะห์ว่าถูกไม่ใช่ไหม
เพราะงั้นวันนี้เราถึงต้องเช็คว่าอะกีดะห์เราเหมือนใครอิบาดะห์เราเหมือนใคร



อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้







วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การอ่านอัลกุรอ่านดังในพื้นที่สาธารณะ





การอ่านอัลกุรอ่านดังในพื้นที่สาธารณะ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง หากรบกวนคนอื่น มุสลิมควรอ่านในสถานทีที่เหมาะสม เเละห้ามอ่านดังจนไปรบกวนคนอื่น เพราะ ท่านนบี ศอลฯ ห้ามสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น 

1. ฮะรอม หากอ่านเสียงดัง จนรบกวนคนอื่น หรือ สร้างความลำบากให้คน หรือ เจตนาอ่านเพื่อให้คนอื่นคิดว่า เราขยันทำอิบาดัต ตามคำกล่าวในตำรา ชัรฮู อัลมุนตาฮา

لا يجوز رفع الصوت بالقرآن في الأسواق مع اشتغال أهلها بتجارتهم وعدم استماعهم له، لما فيه من الامتهان

ท่าน อัลฮาฟิส อิลนุ ฮะญัร อัลอัศก่อลล่านีย์ กล่าวว่า   การอ่านอัลกุรอ่าน ในเวลากลางคืนเสียงดังนั้น เป็นสิ่งที่ดีงาม ยกเว้น สร้างความเดือดร้อนเเก่คนอื่น

وفيه أن رفع الصوت بالقرآن بالليل مستحسن، لكن محله إذا لم يؤذ أحدا

ส่วนท่าน อีหม่าม อัลบัยฮะกีย์ กล่าวว่า

فصل في رفع الصوت بالقرآن إذا لم يتأذ به أصحابه، أو كان وحده، أو كانوا يستمعون له.

ความว่า : การอ่าน อัลกุรอ่านเสียงดัง นั้น สามารถทำได้ หากอยู่คนเดียว เเละคนอื่นต้องการฟัง  ยกเว้นการอ่านสร้างความเดือดร้อนคยอื่น "

ดังนั้นเวลา อ่านอัลกุรอ่าน ควรดูสถานที่  หากอยู่คนเดียว สามารถอ่านดังได้    เเต่หากอยู่ในตลาด ในบริเวณสาธารณะ ไม่ควรทำ เพราะ มีอีกหลายคนต้องการพักผ่อน เช่น คนเพนจร ไร้บ้าน คนขายของ ยุ่งกับการคำนวณ ขายของ คยซื้อสินค้า คนเดินทาง ไปทำงาน บางครั้ง ต้องการพักผ่อนบนรถไฟ ระหว่างเดินทาง ฯลฯ   เเละเราไม่ควรสร้างวาทกรรมเรื่อง การเผยเพร่โดยวิธีอ่านดัง เพราะ บางครั้ง การทำอีบาดัตเเบบนี้ สามารถสร้างมะซียัตได้ครับ..

2. ซุนัต หากคนอื่นต้องการฟัง เเละไม่ได้สร้างความรำคาญ..

ฮุกุ่มจะตามอิลละห์ ทีตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุ อารีดีย์  ดังนั้น ไม่ควรเหมารวมว่า การอ่านอัลุกุรอ่าน เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป  เพราะ ฮุกุ่มจะเเยกออกไปอีก

1. การอ่านอัลกุรอ่าน =  สิ่งที่ดีลีซาตีฮีย์
2. การอ่านอัลกุรอ่านเสียงดังลั่นรบกวนคนอื่น= ฮะรอมลีฆอยรีฮีย์
3. การอ่านอัลกุรอ่านดัง เเละมีเจตนาให้คนอื่นคิดว่า เราขยันทำอีบาดัต = ฮะรอม ลีฆอยรีฮีย์ ( محرم لغيره)

🔇อย่าทำตัวเคร่งศาสนา โดยที่สร้างความเดือดร้อนเเก่คนอื่น





วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ฮิญาบราคาหมื่นแปด








"" อ่านแล้วน้ำตาไหล เพราะความตักวาของครอบครัวนี้

หญิงหม้ายวัยสามสิบต้น ๆ พร้อมลูกชาย
วัยเก้าขวบและวัยสองขวบเศษเดินทางจาก
ปัตตานีมุ่งหน้าสู่ภูมิลำเนาเดิม
นางเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด รับอิสลาม
ได้สิบห้าปี ภายหลังแต่งงานกับมุสลิมแถวสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่กินกันได้ประมาณ
สิบปี ชีวิตคู่เริ่มมีปัญหาถึงขั้นหย่าร้าง ทำให้
ต้องกลับมาปักหลัก ณ ที่เดิมที่เคยรับอิสลาม
   สิ่งแรกที่นางต้องรีบทำโดยด่วนคือ การหา
งานทำ ชีวิตในเมืองหลวงทุกย่างก้าวล้วนแล้ว
แต่ต้องใช้เงินทั้งสิ้น เงินที่ติดตัวมาหลังจากที่
หย่าก็มีไม่มาก เพราะถูกอธรรมจากฝ่ายอดีต
สามีเนื่องด้วยตัวเองหัวเดียวกระเทียมลีบ แต่
นางเป็นคนมีความรู้เลยคิดว่าคงหางานทำได้
ไม่ยาก
    วันแรกของการออกหางานทำ นางอาศัย
การเดินเท้า หางานตามป้ายที่ติดตามป้ายประ
กาศ ตามเสาไฟฟ้า  หรือแม้แต่หน้ากระจก
บริษัทต่าง ๆ  การกลับมาคราวนี้แตกต่างจาก
คราวที่แล้วโดยสิ้นเชิง เพราะคราวที่แล้วนาง
ยังเป็นต่างศาสนิก แต่คราวนี้นางเป็นมุสลีมะฮฺ
แถมใส่ฮิญาบผืนยาวใหญ่ปิดหน้าอย่างกับนินจา
พอเข้าไปแจ้งความจำนงค์ว่าจะมาสมัครงาน
เลยถูกปฏิเสธตั้งแต่ยังไม่เขียนใบสมัครด้วยซ้ำ
นางไม่ย่อท้อยังคงเดินหางานทำต่อไป พลันสาย
ตาหันมาหยุดอยู่ที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่ง หน้า
ประตูกระจกติดป้ายไว้ว่า "รับสมัครพนักงาน
ต้อนรับ 1 ตำแหน่ง" นางไม่รีรอตัดสินใจก้าว
เท้าเข้าไปทันที  ที่นี่เปิดโอกาสให้นางได้กรอก
ใบสมัครพร้อมยื่นหลักฐาน หลังกรอกใบสมัคร
เสร็จนั่งรออยู่สักครู่มีเสียงเรียกจากพนักงาน
หญิงคนหนึ่งให้เข้าสัมภาษณ์ในห้องผู้จัดการ
นางเดินเข้าไปในห้อง พร้อมทรุดตัวลงนั่งที่
เก้าอี้เบื้องหน้าชายผู้หนึ่งหน้าตาละม้ายคล้าย
ลูกครึ่ง เขาทักทายเป็นภาษาอังกฤษทันที
นางตอบรับ นี่คงจะเริ่มต้นการสัมภาษณ์
แล้วสินะ นึกในใจเป็นธรรมดาของตำแหน่ง
พนักงานต้อนรับที่ต้องติดต่อกับบุคคลหลาย
ชาติหลายภาษา ภาษาอังกฤษจึงถูกเลือก
ให้เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสาร นางได้
ใช้ภาษาที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ที่
คุณพ่อจ้างมิชชันนารีจากออสเตรเลียมาสอน
ภาษาให้เป็นเวลาสิบกว่าปี จึงทำให้นางผ่าน
ด่านตรงนี้ไปได้ไม่ยากเย็นนัก อัลฮัมดุลิลลาฮฺ
   หลังจากสัมภาษณ์เสร็จเรียบร้อย นี่คือบท
ทดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับนาง เพราะคำตอบ
ที่ได้คือ
ผู้จัดการ. :  ทางเรามีความยินดีขอแจ้งให้คุณ
ได้ทราบว่าเรารับคุณเข้าทำงานในตำแหน่ง
พนักงานต้อนรับด้วยเงินเดือนขั้นแรก 18,000
บาทต่อเดือน แต่มีข้อแม้ว่าคุณจะต้องแต่งกาย
ตามเครื่องแบบที่โรงแรมกำหนดให้  หากคุณ
ยอมทำตามเงื่อนไขของเรา พรุ่งนี้มาเริ่มงาน
ได้เลย"
   นางอึ้งไปครู่ใหญ่ จึงบอกกับผู้จัดการไปว่า
ขอกลับไปคิดที่บ้านสักหนึ่งวันแล้วจะให้คำตอบ
ผู้จัดการรับคำแล้วลุกเดินจากไป ทิ้งความเงียบ
ไว้ให้กับนางที่ยังคงนั่งนิ่งราวกับหุ่น
นางเดินกลับที่พักด้วยความเลื่อนลอย ในใจ
ครุ่นคิดถึงเรื่องราวที่ผ่านมาเมื่อสักครู่ ตั้งแต่
รับอิสลามมา นางยังไม่เคยถอดฮิญาบออก
นอกบ้านเลยแม้แต่ครั้งเดียว นี่นางต้องถอด
ฮิญาบเพื่อแลกกับเงินเดือน 18,000 บาทเลยหรือ?
พลางคิดในใจ โอ้อัลลอฮฺ !! พระองค์ทรงกำลัง
ทดสอบบ่าวผู้อ่อนแอคนนี้อยู่ใช่ไหม? ขอพระองค์
ทรงให้ทางออกที่ดีกว่านี้ด้วยเถิด
      คืนนั้นหลังจากทานอาหารเย็นเสร็จ นาง
ได้เรียกลูกชายคนโตเข้ามาคุยเกี่ยวกับเรื่องงาน ลูกชายเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงบอกกับผู้เป็นแม่ว่า
ลูกชาย : อุมมีย์ไม่ต้องไปทำงานที่นั่นหรอก
เพราะหากต้องแลกกับการที่ต้องถอดฮิญาบ
แล้วถึงจะได้เงินมา ผมว่ามันไม่คุ้มกันหรอกกับ
การที่จะทำให้อัลลอฮฺไม่พอใจ ไม่เป็นไรหรอก
ครับ เดี๋ยวเราลองขอเช่าที่เล็ก ๆ กับคนแถวนี้
ดู ขายของกินอะไรก็ได้ อุมมีย์ก็ทำอาหารอร่อย
ตั้งหลายอย่าง หลังจากกลับจากโรงเรียนผม
ค่อยมาสลับให้อุมมีย์ได้พักมั่ง ทำการบ้านไป
พลางขายไปพลางก็คงจะได้อยู่ ส่วนช่วงมัฆริบ
ก็สลับกันไปละหมาด
นาง :  จะดีเหรอลูก? หนูกลับจากโรงเรียนมา
เหนื่อยๆ น่ะ ยังต้องมาช่วยอุมมีย์ขายของอีก
ไหนจะการบ้านอีก
ลูกชาย :  ถึงจะเหนื่อยกาย แต่ไม่หนักใจนะครับ เพราะมันคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ หากเรายอมแลก
เครื่องแบบที่พระองค์ทรงจัดไว้ให้อุมมีย์กับเงิน
18,000. มันอาจจะดูเยอะแต่..อัลลอฮฺน่าจะให้
เราเยอะยิ่งกว่า ถ้าเราทำให้พระองค์พอใจ
    ได้ยินลูกชายพูดดังนั้น นางถึงกับกลั้น
น้ำตาไว้ไม่อยู่ดึงลูกชายมาสวมกอดด้วยความ
รักอย่างสุดหัวใจ พร้อมกล่าวขอบคุณลูกชาย
ที่เข้าใจความรู้สึกของนางเป็นอย่างดี นี่แหละกระมัง ของขวัญอันล้ำค่าและยิ่งใหญ่ที่หาซื้อและแลกไม่ได้ด้วยเงิน

🎀cr : อัลลอฮฺ์ให้
.......


จะเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง ก็สามารถที่จะทำให้หลายๆคนได้คิด(หากจะเป็นบ่าวผู้ที่ศรัทธา)เพราะทุกๆก้าวย่างของชืวิตนั้น จะต้องพบกับบททดสอบอยู่เบื่องหน้า!





ข้อความที่แชร์ไม่มีหลักฐาน "ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม






ข้อความที่มีการแชร์ใน โลกโซเชียล

"ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม

1)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนออกจากบ้าน มวลมาลาอีกะฮ.70,000ท่านจะคุ้มครองป้องกันภัยให้กับเขาตลอดทั้งวัน

2)ใครที่อ่านอายะตุลกุรุซีย์ก่อนเข้าบ้านความแห้งแล้งกันดารความยากไร้จะไม่แผ้วพานบ้านของเขา

3)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังอาบน้ำนมาชทุกครั้งเกียรติประวัติของเขาจะสูงส่งณ.เอกองค์อัลลอฮ.

4)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนเข้านอนมวลมาลาอีกะฮ.จะคุ้มครองปัองกันเขาตลอดราตรีกาล

5)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังนมาซฟัรดู 5 เวลาระยะทางระหว่างเขากับสวนสวรรค์ห่างกันแค่ความตายเท่านั้น(สวรรค์จะเป็นสถานที่พำนักสำหรับเขาอย่างแน่นอน)

ใครที่ช่วยแชร์คุณประโยชน์โภชผลของ"อายะกุรุซีย์"ด้วยใจอิคลาศบริสุทธิ

อามีน ยา ร๊อบบัลอาลามีน"

**** ตอบคำถามโดย อ.กิสมัต ปาทาน

ข้อที่ 1  เชคอุษัยมีน บอกว่า ไม่มีซุนนะห์ให้อ่าน อายะห์กรุซีย์ก่อน ออกบ้าน

ข้อที่ 2  ไม่มีหลักฐาน ระบุให้กระทำ แต่นักวิชาการ บอกว่า ถ้าทำ ทำได้ เพราะมี ชาวสลัฟบางคน ทำไว้ แต่ให้รู้ไว้ว่า ไม่มีหลักฐานจากหะดีษมาบอกให้ทำ
และที่ชาวสลัฟทำ เขาอ่านเมื่อเข้าไปยังที่หนึ่งที่ใด ไม่ได้เจาะจงแค่ เข้าบ้าน

ข้อที่ 3
هذا حديث باطل مكذوب ، وقد رواه الديلمي في "مسند الفردوس" – كما في "كنز العمال" (9/465)  - بنحوه ، من طريق مقاتل بن سليمان حدثنا فضل بن عبيد عن
  سفيان الثوري عن عبيد الله العمري عن  نافع عن ابن عمر رفعه : ( من قرأ آية الكرسي على أثر وضوئه أعطاه الله عز وجل ثواب أربعين عالما ، ورفع له أربعين درجة ، وزوجه أربعين حوراء ) . وهذا إسناد موضوع ، ومقاتل بن سليمان كذاب مشهور ، قال النسائي : " الكذابون المعروفون بوضع
.( الحديث: ابن أبي يحيى بالمدينة ، والواقدى ببغداد ، ومقاتل بن سليمان بخراسان ، ومحمد بن سعيد  بالشام " انتهى من "ميزان الاعتدال" (3 /562)

ข้อนี้ ไม่ข้อแปล เพราะเป็นหะดีษ เมาฎูอฺ (เก๊)

ข้อที่ 4

عَنْ مُحَمَّد بْن سِيرِينَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : وَكَّلَنِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِحِفْظِ زَكَاة رَمَضَان فَأَتَانِي آتٍ فَجَعَلَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته وَقُلْت : لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاجٌ وَعَلَيَّ عِيَالٌ وَلِي حَاجَةٌ شَدِيدَةٌ قَالَ فَخَلَّيْت عَنْهُ فَأَصْبَحْت فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قَالَ : قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة شَدِيدَة وَعِيَالًا فَرَحِمْته وَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَعَرَفْت أَنَّهُ سَيَعُودُ لِقَوْلِ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَنَّهُ سَيَعُودُ فَرَصَدْتُهُ فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاج وَعَلَيَّ عِيَال لَا أَعُود فَرَحْمَته وَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة وَعِيَالًا فَرَحْمَته فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَرَصَدْته الثَّالِثَة فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه بِهَا وَهَذَا آخِر ثَلَاث مَرَّات أَنَّك تَزْعُم أَنَّك لَا تَعُود ثُمَّ تَعُود فَقَالَ : دَعْنِي أُعَلِّمك كَلِمَات يَنْفَعك اللَّه بِهَا قُلْت وَمَا هِيَ ؟ قَالَ : إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم " حَتَّى تَخْتِم الْآيَة فَإِنَّك لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح فَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قُلْت يَا رَسُول اللَّه زَعَمَ أَنَّهُ يُعَلِّمنِي كَلِمَات يَنْفَعنِي اللَّه بِهَا فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ : مَا هِيَ ؟ قَالَ : قَالَ لِي إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ مِنْ أَوَّلهَا حَتَّى تَخْتِم الْآيَة " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم" وَقَالَ لِي لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح وَكَانُوا أَحْرَص شَيْء عَلَى الْخَيْر فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَمَّا إِنَّهُ صَدَقَك وَهُوَ كَذُوب تَعْلَم مَنْ تُخَاطِبُ مِنْ ثَلَاث لَيَالٍ يَا أَبَا هُرَيْرَة قُلْت لَا قَالَ : ذَاكَ شَيْطَان رواه البخاري والنسائي .


ในการบันทึกของอิหม่ามบุคอรียฺ รายงานโดยท่านมุฮัมมัด อิบนุซีรีน (ตาบิอีน) ว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ*รายงานว่า ท่านนบี  มอบหมายให้ฉันรักษาซะกาตของเดือนรอมฎอน (แสดงว่าสมัยท่านนบี มีคลังเก็บซะกาต คือ ทรัพย์สิน พืช สัตว์ น้ำมันมะกอก ฯลฯ คือบัยตุ้ลม้าล) ก็มีผู้ที่มาผู้หนึ่ง แล้วก็เริ่มตัก อบูฮุร็อยเราะฮฺก็จับเขาไว้และว่า ฉันจะยกเรื่องนี้ถึงท่านนี้ ผู้นั้นก็กล่าวว่า ฉันเป็นคนลำบากยากจนมีลูกหลานมากมาย ปล่อยฉันไปเถอะ พอตื่นเช้าละหมาดกับนบี นบี  ก็กล่าวกับอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า เชลยที่ท่านจับเขาเมื่อคืนน่ะท่านได้ทำอะไรกับเขา อบูฮุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า เขาบอกว่าเขายากจนมีลูกหลานมากมาย ฉันจึงปล่อยเขาไป นบี ก็บอกว่า ผู้นั้นน่ะโกหกและมันจะมาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺก็เชื่อว่ามันจะมาอีก คืนนั้นขณะที่อบูฮุร็อยเราะฮฺเฝ้าอยู่ ผู้นั้นก็มาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺจับได้และว่าเรื่องนี้จะต้องถึงท่านนบี ผู้นั้นก็บอกว่า ได้โปรดเถอะ ฉันน่ะยากจน มีครอบครัวต้องรับผิดชอบ ฉันจะไม่กลับมาอีกแล้ว สัญญา อบูฮุร็อยเราะฮฺสงสารจึงปล่อยไป พอเช้าท่านนบี ก็ถามถึงเชลยเมื่อคืนอีก ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺก็เล่าให้ฟัง ท่านนบีก็บอกว่าเขาโกหก และคืนที่สามมันก็มาอีก อบูฮุร็อยเราะฮฺจับไว้และว่า เรื่องนี้ต้องถึงท่านนบี นี่ครั้งที่สามแล้ว ทุกครั้งเจ้าก็บอกว่าจะไม่ทำอีก มันก็บอกว่า ปล่อยฉันและฉันจะสอนคำพูดที่เป็นประโยชน์ อัลลอฮฺจะให้แก่ท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺก็เชื่อถามว่า อะไรล่ะ มันก็บอกว่า เมื่อท่านจะนอนก็จงอ่านอายะตุลกุรซียฺจนจบ ท่านจะได้รับการคุ้มครองจากอัลลอฮฺตะอาลาตลอดไป
ไม่มีชัยฏอนใดๆจะสามารถมาอยู่ใกล้ท่านจนถึงยามเช้า อบูหุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า ความรู้เข้าท่า และปล่อยไป พอเช้าท่านนบี  ถามว่า ขโมยเมื่อคืนทำอะไร อบูหุร็อยเราะฮฺก็บอกว่า โอ้ร่อซุล มันบอกว่าจะสอนอะไรดีๆและอัลลอฮฺจะให้เป็นประโยชน์แก่ท่าน ท่านนบี  ก็ถามว่าอะไรล่ะ อบูฮุร็อยเราะฮฺบอกว่า มันบอกให้อ่านอายะตุลกุรซียฺแล้วอัลลอฮฺจะคุ้มครองทั้งคืน (บรรดาเศาะฮาบะฮฺเป็นผู้ที่แสวงหาความดีอย่างมากเหลือเกิน) ฉันจึงปล่อยมันไป ท่านนบี ก็บอกว่า คราวนี้มันพูดจริง แต่มันช่างโกหกเสียนี่กระไร โอ้อบูหุร็อยเราะฮฺท่านรู้ไหมว่าสามคืนน่ะท่านพูดกับใคร แท้จริงมันเป็นชัยฏอน

อิหม่ามบุคคอรี บอกว่า ศอเฮียะห์

ข้อที่ 5

จากท่านอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า


«مَنْ قَرَأَ آيَةَ الْكُرْسِيِّ دُبُرَ كُلِّ صَلاةٍ مَكْتُوبَةٍ لَمْ يَمْنَعْهُ مِنْ دُخُولِ الْجَنَّةِ ، إلا أَنْ يَمُوتَ» [أخرجه النسائي في سننه الكبرى (رقم 9848) وصححه المنذري في الترغيب والترهيب وصححه الألباني في صحيح الجامع (رقم 6464)] 

“ผู้ใดอ่านอายะฮฺ อัล-กุรสียฺ (อายะฮฺที่ 255 ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ) ทุก ๆ หลังละหมาดฟัรฎู ก็ไม่มีสิ่งใดขัดขวางไม่ให้เขาเข้าสวนสวรรค์ได้นอกจากความตายเท่านั้น(กล่าวคือ เมื่อเขาตายก็จะได้เข้าสวรรค์อย่างแน่นอน)” (บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ ใน “สุนัน อัล-กุบรอ” หมายเลข 9848 และชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺใน “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ” หมายเลข 6464)

*** สรุป

"ประโยชน์ผลของ"อายะกุรุซีย์"ที่คุณไม่ควรลืม

1)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนออกจากบ้าน มวลมาลาอีกะฮ.70,000ท่านจะคุ้มครองป้องกันภัยให้กับเขาตลอดทั้งวัน  
ไม่มีซุนนะห์ให้อ่าน

2)ใครที่อ่านอายะตุลกุรุซีย์ก่อนเข้าบ้านความแห้งแล้งกันดารความยากไร้จะไม่แผ้วพานบ้านของเขา  อ่านก็ได้ไม่อ่าน
ทำได้ เพราะมี ชาวสลัฟบางคน ทำไว้ แต่ให้รู้ไว้ว่า ไม่มีหลักฐานจากหะดีษมาบอกให้ทำ และที่ชาวสลัฟทำ เขาอ่านเมื่อเข้าไปยังที่หนึ่งที่ใด ไม่ได้เจาะจงแค่ เข้าบ้าน

3)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังอาบน้ำนมาชทุกครั้งเกียรติประวัติของเขาจะสูงส่งณ.เอกองค์อัลลอฮ.
ไมีมี เพราะเป็นหะดีษ เมาฎูอฺ (เก๊)

4)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์ก่อนเข้านอนมวลมาลาอีกะฮ.จะคุ้มครองปัองกันเขาตลอดราตรีกาล
ควรอ่านก่อนนอนทุกวัน

5)ใครที่อ่านอายะกุรุซีย์หลังนมาซฟัรดู 5 เวลาระยะทางระหว่างเขากับสวนสวรรค์ห่างกันแค่ความตายเท่านั้น(สวรรค์จะเป็นสถานที่พำนักสำหรับเขาอย่างแน่นอน)
ควรอ่านทุกๆหลังละหมาดฟัรดู

วัลลอฮุอะอฺลัม
นักเรียนมุสลิม


.............
ผู้ที่ทำอิบาดะฮ์แบบเปิดกว้างนั้น เขาจะไม่จดจ่อให้ความสำคัญกับอิบาดะฮ์ใดเป็นการเฉพาะ เพราะเป้าหมายในการทำอิบาดะฮ์ของเขา ไม่ได้อยู่ที่ตัวอิบาดะฮ์นั้นๆ แต่เป้าหมายของเขาอยู่ที่ การแสวงหาความพอใจจากอัลลอฮ
| เชคอับดุลอะซีซ อัลฮุมัยดีย์















วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ละหมาดสุนนะฮ์ที่บ้านประเสริฐยิ่ง














การละหมาดของมุสลีมะฮ์ที่ประเสริฐที่สุดนั้นคือที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎู 5 เวลา หรือละหมาดสุนนะฮ์ก็ตาม
แต่สำหรับมุสลิมชายการละหมาดฟัรฎูที่ประเสริฐสุดนั้นคือ ที่มัสยิด แต่สำหรับละหมาดสุนนะฮ์นั้นที่ประเสริฐที่สุดคือที่บ้านของเขา


ละหมาดซุนนะฮฺที่บ้าน  ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺุอะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวมีใจความว่า:
"โอ้ผู้คนทั้งหลายพวกท่านจงละหมาดที่บ้านของพวกท่านเถิด(คือให้ใช้บ้านเป็นที่ ประกอบการละหมาดด้วย) เพราะการละหมาดที่ ประเสริฐยิ่งคือการละหมาดของคนหนึ่งนั้นที่บ้าน ของเขาเองนอกจากละหมาดฟัรฎู (ซึ่งต้องทําที่ มัสยิด)

(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย) 


นอกจากท่านบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวย้ำว่าการละหมาดสุนนะฮ์ที่บ้านของเขาประเสริฐสุด ท่านก็ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง ดังหลักฐานหะดิษที่ถูกรายงานมา


  จากรายงานของอิบนิ อุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ฉันจำได้ จากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะล้ยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวความว่า
"ละหมาดสุนนะห์วันหนึ่งๆ มี10ร๊อกาอะฮฺ คือ 2 ร๊อกาอะฮฺ ก่อนดุฮรี 2ร๊อกาอะฮฺ หลังดุฮรี 2ร๊อกาอะฮฺ หลังมักริบที่บ้านของท่าน 2ร๊อกาอะฮฺ หลังอิซาอฺที่บ้านของท่าน และ 2ร๊อกาอะฮฺ  ก่อนละหมาดศุบฮฺ"
(บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม)


ท่านรสูลุลลอฮ์(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จะละหมาดก่อน (ซุฮฺรี่) สองร็อกอัต และหลังจาก (ซุฮฺรี่) สองร็อกอัต และหลังจาก (มักริบ) สองร็อกอัตในบ้านของท่าน และจะละหมาดหลัง (อีชาอ์) สองร็อกอัต และท่านจะยังไม่ละหมาดหลังจากละหมาดวันศุกร์ จนกว่าท่านจะกลับไปบ้านแล้วท่านก็จะละหมาดสองร็อกอัต"

(บันทึกหะดิษโดยอีหม่ามบุคอรี)


จากหะดิษ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ท่านจะหมาดสุนนะฮ์ที่บ้านของท่านไม่ว่าละหมาดสุนนะฮ์นั้นจะก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎู แม้แต่ละหมาดสุนนะฮ์หลังจากละหมาดวันศุกร์ ท่านก็กลับมาละหมาดที่บ้านของท่าน ทั้งที่มัสยิดและบ้านของท่านอยู่ใกล้และติดกัน ท่านก็ยังกลับมาละหมาดสุนนะฮ์ที่บ้าน ท่านไม่เคยนอนค้างคืนที่มัสยิดเพื่อละหมาดสุนนะฮ์ในยามค่ำคืน เว้นแต่ 10 คืนสุดท้ายในเดือนรอมาฎอน และท่านไม่เคยไปนอนค้างคืนมัสยิดอื่นเพื่อละหมาดสุนนะฮ์นอกจากบ้านของท่าน ท่านละหมาดตะฮัจญุดในห้องที่ท่านนอนกับภรรยาของท่านที่บ้าน ท่านใช้วิตตามปกติในการทำอิบาดะฮ์ในบ้าน และแสวงหาปัจจัยใจเลี้ยงชีพ ร่วมถึงการใช้ชีวิตกับภรรยาและบุตร ญาติพี่น้อง และบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน ท่านนบีได้แบ่งเบาภาระภรรยาในงานบ้านในครัวเรือน ท่านสร้างแบบอย่างในการชีวิตคู่อย่างโรแมนติก ท่านนบีมักจะนอนหนุนตักของภรรยาในขณะที่ภรรยาของท่านมีประจำเดือน แล้วท่านก็อ่านกุรอ่าน ท่านนบีอาบน้ำพร้อมกับภรรยา และท่านนบีได้จูบภรรยาของท่านก่อนไปละหมาดที่มัสยิด ฯลฯ


ดังนั้น หากในบ้านของเรา อบอวลไปด้วยการทำอิบาดัต อบอวลไปด้วยการละหมาดสุนนะฮ์ การอ่านอัลกุรอาน  สามีเป็นแบบอย่างแก่ภรรยาและคนในครอบครัว และการใช้ชีวิตในบ้านและสร้างความโรแมนติกกับคนในครอบครัวในบ้าน ตามแบบอย่างของท่านนบีมุหัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อัลลอฮ์ก็จะทรงให้เราและครอบครัวมีแต่ความสุข เกิดบารอกัตและมารร้ายไกลห่างจากรั่วบ้านของเรา อินชาอัลลอฮ์


والله أعلم بالصوا
















  



ระยะเวลาของการละหมาดย่อ







ระยะเวลาของการละหมาดย่อสำหรับผู้ที่เดินทางสามารถกระทำได้ตลอดจนกว่าจะเสร็จภาระกิจ
ยกเว้นกรณีของผู้ที่มีเจตนาว่าจะพำนักยังสถานที่ๆ เขาไป เช่น เจตนาว่าจะพำนักยังสถานที่แห่งที่เขาไป 4 วัน หรือ 10 วัน เป็นต้น
ดังนั้นเขาจะต้องละหมาดเหมือนคน (มุกีม) คือคนที่ประจำอยู่กับที่ คือให้ละหมาดแบบเต็ม (ต่ามาม)


ท่านซาอีด บุตรของมุซัยยับได้กล่าวไว้ ความว่า
"ใครที่เจตนาว่าจะพำนักยังสถานที่แห่งหนึ่งเป็นเวลาสี่วันในสภาพที่เขาเป็นคนเดินทาง ดังนั้น ก็ให้เขาทำการละหมาดแบบเต็ม (ต่ามาม)"

(บันทึกโดยอีหมามมาลิก)


วัลลอฮุอะอฺลัม









สุนนะฮ์ในการเข้านอน





1.ก่อนนอนควรอาบน้ำละหมาด

ท่านนบีกล่าวว่า اذا أتيت مضجعك فتوضأ

ความว่า เมื่อท่านนบีจะเข้าไปยังที่นอนของท่าน ก็จงอาบน้ำละหมาด

2.สะบัดผ้าปูที่นอนหรือปัดสถานที่นอน ท่านนบีกล่าว่า

ความว่า “ เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านจะเข้านอนก็จงสะบัดที่นอนเสียก่อน เพราะเขาไม่ทราบว่าจะมีอะไร (ซุกซอน)อยู่ในที่นอนเขาหรือไม่) บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม ”

3.ล้มตัวลงนอนโดยตะแคงด้านขวา

4.ใช้มือขวารองแก้มขวาขณะล้มตัวลงนอน

5.อ่านดุอา

ดุอาอ์ก่อนนอน

                    وَأَحْيَى بِسْمِكَ الّلهُمَّ أَمُوْتُ

ความว่า : ในนามของท่าน ข้าแด่อัลลอฮฺที่ฉันจะต้องตายและมีชีวิตอยู่

6.ยกมือทั้งสองขึ้น พร้อมกับเป่าลงบนฝ่ามือทั้งสองและให้อ่าน

قل هو الله احد - قل أعوذ برب الفلق -قل أ عوذ برب الناس

อย่างละ 3 จบ จากนั้นให้ใช้มือทั้งสองลูบให้ทั่วร่างกาย บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์

7.อ่านอายะฮฺกุรซีย์

ผู้ใดอ่านอายะฮฺกุรซีย์ อัลลอฮจะทรงปกป้องเขาให้พ้นจากไฟนรก บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์

สุนนะฮฺเมื่อตื่นนนอน




เมื่อตื่นจากการนอนให้ปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านรอซูลดังต่อไปนี้

1.ลูบหน้า

อิมมามอันนะวะวีย์ และอิมามอิบนิหะญัรได้ยืนยันว่า : การลูบหน้าเมื่อตื่นขึ้นจากการนอนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม ดังที่ปรากฏจากหะดิษว่า

ความว่า “เมื่อท่านรอซูลได้ตื่นขึ้นจากการนอน ท่านจะนั่งพร้อมกับใช้มือของท่านลูบหน้า” บันทึกโดยอิมามมุสลิม

2.อ่านดุอาตื่นนอน

ดุอาอ์ตื่นนอน

اَلْحَمْدُ لِلّهِ الَّذِيْ أَحْيَانَا بَعْدَمَا أَمَاتَنَا وَإِلَيْه ِ النُّشُوْرُ

ความว่า : มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ซึ่งให้เรามีชีวิต ภายหลังจากที่ให้เราตายไป และเราทั้งหลายจะต้องกลับคืนสู่พระองค์"

3.แปรงฟัน
ความว่า “เมื่อท่านรอซูลตื่นจากการนอนท่านจะแปรงฟันด้วยกับไม้ข่อย” บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม

4.สูดน้ำเข้าจมูกและบ้วนปาก
ความว่า “เมื่อคนในหมู่พวกท่านตื่นจากการนอนก็จงสูดน้ำเข้าจมูกสามครั้ง เพราะชัยตอนจะสิงสถิตย์อยู่ในโพรงจมูกของผู้ที่นอนหลับ”

5.ล้างมือทั้งสองข้างสามครั้ง
ท่านรอซูลได้กล่าวว่า 
ความว่า “เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านตื่นจากการนอน ก็จงอย่าได้จุ่มมือลงในภาชนะ จนกว่าจะล้างมือสามครั้งเสียก่อน”







วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ละหมาดซุนนะห์ทั้ง 25 ประเภท







1) แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์ถูกสอบสวมเรื่องการงานของเขา คือ เรื่องการละหมาด หากละหมาดฟัรดูครบก็เป็นการดีต่อเขา แต่หากละหมาดฟัรดูไม่ครบ อัลลอฮฺจะสั่งให้มลาอิกะฮฺไปดูเรื่องการ ละหมาดซุนนะห์ <3
-----------------------------------------------------------------------------
2) มีศอฮาบะห์มาถามท่านนบีว่า จงบอกฉันหน่อยเถอะการงานอะไรทำให้อัลลอฮฺเมตตาฉันมากที่สุด ถามท่านนบีถึง 3 ครั้ง ท่านนบีจึงตอบว่า จำเป็นแกท่านที่จำเป็นต้องสุญูด (หมายถึงละหมาดซุนนะห์) ทุกครั้งที่ละหมาดจะทำให้เพิ่มพูลความดีต่างๆ และจะช่วยลบล้างความผิดจากบัญชีบาปมากมาย
-----------------------------------------------------------------------------
**(ท่านนบีเน้นย้ำว่าควรละหมาดซุนนะที่บ้านจะดีที่สุด) (ชาย,หญิง)
**ละหมาดฟัรดูควรไปละหมาดที่มัสยิดจะดีที่สุด (สำหรับผู้ชาย)
**ละหมาดฟัรดูและซุนนะห์ที่บ้านจะดีที่สุด (สำหรับผู้หญิง)
และยังมีอีกหลายๆฮะดิษที่บอกความประเสริฐของละหมาดซุนนะห์
การละหมาดซุนนะห์ทั้ง 25 ประเภท
(ประเภทที่ 1)ละหมาดซุนนะห์ก่อน-หลัง ละหมาดฟัรดู (รอวาติบ)
*หมายเหตุ รอวาติบ = ทำเป็นประจำ
-มีการละหมาดวันละ (12 รอกะอัต)
2 รอกะอัต(ก่อน)ละหมาดซุบฮิ
4 รอกะอัต(ก่อน)ละหมาดซุฮฺริ
2 รอกะอัต(หลัง)ละหมาดซุฮฺริ
2 รอกะอัต(หลัง)ละหมาดมัฆริบ
2 รอกะอัต(หลัง)ละหมาดอิชาอฺ
(มีฮะดิษรายงานว่า) ผู้ใดละหมาดซุนนะห์ทั้ง 12 รอกะอัต(รอวาติบ)
อัลลอฮฺจะทรงเมตตาสร้างบ้านหลังหนึ่งให้แก่เขาในสวนสวรรค์
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 2) การละหมาดซุนนะห์ก่อน-หลังละหมาดฟัรดู
(ไม่ใช่รอวาติบ) (ไม่ได้ทำเป็นประจำ)
4 รอกะอัต(ก่อน)ละหมาดอัสริ
2 รอกะอัต(ก่อน)ละหมาดมัฆริบ
2 รอกะอัต(หลัง)ละหมาดอัสริ
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 3) การละหมาดซุนนะห์วิเตร (ละหมาดในยามค่ำคืน) (จำนวนรอกะอัตเป็นเลขคี่ เช่น 1,3,5,7เป็นการละหมาดปิดท้าย)
ส่วนใหญ่ท่านนบีจะทำ 3 รอกะอัต แต่สามารถทำได้มากกว่านั้น
-วิธีละหมาดวิเตร
1).ละหมาดวิเตร 3 รอกะอัต รวดเดียวจบ แล้วนั่งอัตตะฮียารอกะอัตสุดท้าย
2).ละหมาดวิเตร 2 รอกะอัต แล้วให้สลาม แล้วลุกขึ้นมาละหมาดอีก 1 รอกะอัต
**ท่านนบีกระชับให้ละหมาดทุกคืน แต่หากละหมาดวิเตรแล้วไม่ต้องตื่นมาละหมาดตะฮัจญุด อีก
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 4) ละหมาดซุนนะห์ตะฮัจญุด (ละหมาดในยามค่ำคืนภายหลังจากได้นอนก่อนเข้าละหมาดซุบฮิ)
ท่านนบีจะไม่ละหมาดตะฮัจญุดเกิน 11 รอกะอัต
ให้ละหมาดครั้งละ 2 รอกะอัตจนครบ 8 รอกะอัต แล้วค่อยปิดท้ายด้วยละหมาดวิเตร อีก 3 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 5) ละหมาดซุนนะห์กิยามุลลัยลฺ (การละหมาดซุนนะในยามค่ำยืนเหมือนกับละหมาดตะฮัจญุด แต่จะต่างกันตรงที่หากไม่ได้นอนหลับจะละหมาดกิยามุลลัยลฺ
(บางทัศนะบอกเป็นละหมาดประเภทเดียวกับประเภทที่ 4)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 6) ละหมาดซุนนะห์ตะรอเวี๊ยะ (ในเดือนรอมฎอน)
ท่านนบีจะละหมาดซุนนะห์ทีละ 2 รอกะอัต เมื่อครบ 8 รอกะอัต ท่านนบีจะละหมาดวิเตรอีก 3 รอกะอัต รวมเป็น 11 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : ท่านนบีจะไม่ละหมาดซุนนะห์จะยามค่ำคืนไม่ว่าเดือนรอมฎอนหรือเดือนไหน จะละหมาดไม่เกิน 11 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 7) ละหมาดซุนนะห์ดุฮา (ละหมาดในยามสายๆ) (สามารถทำได้ทุกวัน)
ละหมาดครั้งละ 2 รอกะอัต จะละหมาดกี่รอกะอัตก็ได้
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 8) ละหมาดซุนนะห์ (ภายหลังจากอาบน้ำละหมาดเสร็จเรียบร้อย)
ละหมาด 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 9) ละหมาดซุนนะห์ก่อนออก-กลับ บ้าน
ออกจากบ้านละหมาด 2 รอกะอัต
กลับจากบ้านละหมาด 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 10) ละหมาดซุนนะห์ตะฮียะตุลมัสยิด (การละหมาดซุนนะเมื่อเข้ามัสยิด)
เมื่อเข้ามัสยิดก่อนจะนั่งลงให้ละหมาดซุนนะห์ 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 11) ละหมาดซุนนะห์ระหว่างอาซานกับอิกอมะหฺ
เมื่อมีการอาซานเสร็จสิ้นแล้วให้ละหมาดซุนนะห์ 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 12) ละหมาดซุนนะห์เพื่อเตาบะหฺ (เพื่อกลับตัว)
ละหมาดเมื่ออยากกลับเนื้อกลับตัว เสียใจที่ทำผิด
ให้ละหมาด 2 รอกะอัต (พยายามให้เสียใจระหว่างละหมาด)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 13) ละหมาดซุนนะห์วันศุกร์
ละหมาดทีละ 2 รอกะอัต ทำเรื่อยไปจนกว่าอิหม่ามมัสยิดจะขึ้นมิมบัร แล้วร่วมกันละหมาดวันศุกร์(ญุมอะห์)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 14) ละหมาดซุนนะห์หลังละหมาดวันศุกร์(ญุมอะห์)
-หากละหมาดที่มัสยิดให้ละหมาด 4 รอกะอัต
-หากละหมาดที่บ้านให้ละหมาด 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 15) ละหมาดซุนนะห์หลังจากกลับจากการเดินทางไกล
ให้ละหมาด 2 รอกะอัต (ละหมาดที่มัสยิดจะดีที่สุด)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 16) ละหมาดซุนนะห์อิสติคอเราะห์ (ละหมาดเพื่อขอความเมตตา) เช่น ละหมาดเมื่อสับสนในชีวิต
ให้ละหมาด 2 รอกะอัต หรือ ถ้ายังสับสนให้ละหมาด 2 รอกะอัตอีกๆ เรื่อยๆ
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 17) ละหมาดซุนนะห์สุริยะคาด (ทำในขณะเกิดขณะเกิดสุริยะคาด (เน้นหนักให้กระทำ)
ให้ละหมาด 2 รอกะอัต แต่ละรอกะอัตมี 2 รูกั๊วและ 2 สุญูด
**ให้ตักบีรรอตุลเอี๊ยะรอม - อ่านฟาติฮะห์ แล้วอ่านซูเราะห์ยาวๆ -รูกั๊ว แล้วขึ้นมากอดอกให้อ่านฟิาติฮะห์อีกครั้ง แล้วรูกั๊วอีกครั้งแล้ว ลงสุญูด ทำแบบนี้ทั้ง 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 18) ละหมาดซุนนะห์จันทรคาด (ทำไมขณะเกิดจันทรคาก)
(ทำเหมือนละหมาดสุริยะคาดดั่งข้อที่ 17)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 19) ละหมาดซุนนะห์อีด (อีดิ้ลฟิตตริ) (อีดิ้ลอัฎฮา)
ละหมาด 2 รอกะอัต ทำเหมือนละหมาดซุนนะห์อื่นๆ
*แต่เพิ่มตักบีรอีก 7 ครั้ง หลังจากตักบีรรอตุลเอี๊ยะรอม ในรอกะอัตแรก
*รอกะอัตที่ 2 เพิ่มตักบีรอีก 5 ครั้ง
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 20) ละหมาดซุนนะห์อิสติสกออฺ (ละหมาดขอฝน)
ให้ละหมาดตามอิหม่าม
ให้ละหมาดกลางแจ้ง,ให้ขออภัยโทษ ยกมือขอดุอาอ์สูงๆนานๆ
และให้กลับเสื้อผ้า
ให้ละหมาดซุนนะห์ 2 รอกะอัตเหมือนกับละหมาดอีด
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 21) ละหมาดซุนนห์หลังตอวาฟ
ให้ละหมาดซุนนะห์ 2 รอกะอัต ภายหลังจากตอวาฟเสร็จ
รอกะอัตแรก อ่านฟาติฮะห์กับอัลกาฟิรูน
รอกะอัตที่ 2 ให้อ่านฟาติฮะห์ กับอัลอิคลาส
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 22) ละหมาดซุนนะห์เมื่อกลับถึงบ้านในวันอีด
ให้ละหมาดซุนนะห์ 2 รอกะอัต
(บางทัศนะบอกว่าเป็นซุนนะห์เหมือนข้อที่ 9)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 23) ละหมาดซุนนะห์ละหมาดตัสเบี๊ยะ
(อุลามะอฺขัดแย้งกันว่าทำได้หรือไม่)
(เชคมูฮัมหมัด นาศิรุดดีน อััล-อัลบานีย์ บอกว่าทำได้)
ละหมาด 4 รอกะอัต รวดเดียว ไม่ต้องนั่งอาตะฮียา
แต่ละรอกะอัตให้กล่าวสดุดี(ซิกรุ้ลเลาะห์) 75 ครั้งในแต่ละรอกะอัต
เช่น (ซุบฮานัลลอฮฺวัลฮัมดุลิลละห์วาลาอิลาฮะอิลัลลอฮฺวัลลอฮุอักบัร)
*รายละเอียดมีเยอะ ขอมะอัฟที่ไม่ได้นำเสนอนะครับ
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 24) ละหมาดซุนนะห์ที่มัสยิดกูบา
เป็นการละหมาดที่มัสยิดกูบา 2 รอกะอัต
**(มีผลบุญเทียบเท่ากับการทำอุมเราะหฺ ติรมิซี)
-----------------------------------------------------------------------------
(ประเภทที่ 25) ละหมาดซุนนะห์ที่ตำบลซิ้ลฮุลัยฟะห์
ให้ละหมาด 2 รอกะอัต
-----------------------------------------------------------------------------
ป.ล ทุกๆการละหมาดซุนนะห์ย่อมมีผลบุญมากมาย มีฮะดิษรองรับ แต่ในที่นี้ไม่ได้นำเสนออย่างละเอียดขอมะอัฟ ณ ที่นี้ด้วย

จัดทำโดยCr.เส้นทางอันเที่ยงตรง







ข้อคิดบางประการที่สังคมมุสลิมต้องนำมาคิด






.....สมัยท่านนบี..มีศอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ห้ามท่านนบี..ไม่ให้ไปละมาดญานาซะฮ์ ให้กับชายคนหนึ่ง ซึ่งชายคนนั้นเป็นคนเกเร ไม่มีอะไรดี ...ท่านนบี...ไม่ฟังตามที่ศอฮาบะฮ์เสนอ ท่านนบี ไปละมาดให้ เมื่อละมาดเสร็จ ท่านนบี..หันมาถาม ..โอ้ศอฮาบะฮ์ของฉัน..มีใครพอจะเห็นความดีของชายผู้เสียชีวิตคนนี้ไหม...ไม่มีใครตอบ..ท่านนบี..ถามเป็นครั่งที่สอง...ก้อไม่มีใครตอบ...ท่านนบี..ถามครั้งที่สาม..โอ้ศอฮาบะฮ์ที่รักของฉัน ..ลองนึกดูสิว่าชายคนนี้ ผู้เสียชีวิตอยู่เบื้องหน้าของพวกเรามีความดีอะไบ้าง...ศอฮาบะฮ์ ท่านหนึ่งตอบ...โอ้ท่านรอซูล...ชายคนนี้ เมื่อนานมาแล้ว ฉันเคยเห็นเขา ลาดตระเวณในสนามรบยามดึกให้กับพวกเรา...ท่านนบี...บอกกับศอฮาบะฮ์ ทุกคนว่า...ดวงตาของชายผู้นี้ ได้อดหลับ อดนอน เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา ดวงตาของเขารอดพ้นจากการมองไฟนรก....


ท่านสมาชิก ความงามของอิสลาม มุมินด้วยกัน จะไม่มองความผิดพลาด ความบกพร่องของผู้อื่น เราต้องพยายาม พูดถึง ความงดงามของอิสลามให้ขยายสู่สังคมอย่างแพร่หลาย โดยพยายามมองความดีของผู้อื่นให้มาก ๆ จะทำให้การฟิตนะห์ ลดลง

ประโยคภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน






1- อินชาอัลลอฮฺ. ان شآءالله
หมายถึง : หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ ใช้เมื่อคิดจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2- มาชาอัลลอฮฺ.. ماشاءالله
หมายถึง : รู้สึกยินดีในสิ่งต่างๆซึ่งแปลว่า พระประสงค์ของอัลลอฮฺ เมื่อพอใจสิ่งใดที่เกิดกับเรา หรือเมื่อเราเห็นสิ่งที่เราพอใจ

3- อัลฮัมดุลิลลาฮ.. الحمدلله
หมายถึง : บรรดาการสรรเสริญ เป็นของอัลลอฮฺ เป็นการสรรเสริญพระเจ้า เมื่อพอใจสิ่งใดที่เกิดกับเรา

4- อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ.. استغفرالله
หมายถึง : ใช้พูดเมื่อ สำนึกผิดจากการกระทำบาป ซึ่งแปลว่าฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัย

5- ลิฮุบ บิลลาฮฺ.. لحب الله
หมายถึง : ใช้พูดเมื่อเกิดความรักกับผู้ใด ซึ่งแปลว่า รักเพื่ออัลลอฮฺ

6- ฟีอะมานิลลาฮฺ.. في أمان الله
หมายถึง : ใช้พูดเมื่อจะจากกัน ซึ่งแปลว่าขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง

7- อัลลอฮุอักบัร.. الله اكبر
หมายถึง : คำสดุดีพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายว่า อัลลอฮฺ พระผู้ทรงเกรียงไกร

8- ฟีซะบี่ลิลลาฮฺ.. في سبيل الله
หมายถึง : ในหนทางของอัลลอฮฺ เช่น บริจาคสิ่งของ หรือจ่ายทรัพย์สินเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ

9- วัลอิยาซุบิลลาฮฺ.. وعياذبالله
หมายถึง : ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ให้ห่างไกลจากสิ่งนี้) เป็นคำกล่าว ที่มักกล่าวกันเมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดี เรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น

10- นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิก
‎.نعوذ بالله من ذلك
หมายถึง : ขออัลลอฮฺคุ้มครองเราให้ห่างไกลจากสิ่งนั้น

11- อินนาลิลลาฮฺ วะอินนา อิลัยฮิรอญิอูน
‎انّالله وانّاإليه راجعون
หมายถึง : แท้จริงนั้น ตัวเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนว่า เราจะต้องกลับไปยังพระองค์"
*โดยส่วนใหญ่แล้ว ใช้กล่าวเมื่อได้รับข่าวการเสียชีวิตของพี่น้องมุสลิม เป็นการเตือนสติตนเอง และผู้คนรอบข้างแต่ในบางครั้ง ก็อาจจะใช้กล่าวเมื่อประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือเรื่องที่ไม่ดี เสมือนการอุทาน .

12- ญะซากัลลอฮฺค็อยร็อน
‎جزاكَ الله خيرا
หมายถึง : ใช้เวลา ขอบคุณ ผู้ชาย ความหมายประมาณว่า..ขออัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงตอบแทนท่านชาย

13- ญะซากิลลาฮฺค็อยร็อน
‎جزاكِ الله خيرا
หมายถึง : ใช้เวลา ขอบคุณ ผู้หญิง ความหมายคือ ขออัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงตอบแทนท่านหญิง

14- ญะซากุมุลลอฮฺค็อยร็อน
‎جزاكُمُ الله خيرا
หมายถึง ใช้เวลา ขอบคุณคนหลายๆคน อาจมีทั้งชายและหญิงรวมกัน หรือในกรณีที่เราไม่ทราบว่าคนพวกนั้นเป็น "เขา" หรือ "เธอ" ความหมายก็จะประมาณ.. ขออัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงตอบแทนพวกท่าน !
* คำว่า ขอบคุณ กับ ญะซากัลลอฮฺ จะต่างกันก็ตรงความหมายที่เกินกว่าและลึกซึ้ง เพราะ "ขอบคุณ" ก็คือ คำแสดงความขอบใจในน้ำใจที่อีกฝ่ายมีให้ ส่วน "ญะซากัลลอฮฺค็อยร็อน" ในทางภาษาอาหรับแล้วความหมายจะกินเกินขึ้นไปอีก เพราะนอกจากจะเป็นคำแสดงความขอบคุณไปในตัวแล้ว ยังเป็นคล้ายๆกับการวิงวอน~วอนขอ ให้อัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงตอบแทนบุคคลที่มีน้ำใจกับเราคนนั้นอีกทีหนึ่งด้วย
การกล่าว "ญาซากั้ลลอฮุ..." ที่ถูกต้อง
คำว่า "ญาซา" มีความหมายว่า "ตอบแทน"หรือ "ให้รางวัล" -- ซึ่ง "รางวัล" นั้น ก็มีอยู่สองประเภท นั่นคือ "รางวัลที่ดี และ "รางวัลที่เลว"
การกล่าวเพียงแค่ "ญาซากั้ลลอฮฺ" นั้น จึงมีความหมายได้สองแบบว่า "ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่ดีงาม" หรือ "ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่เลวทราม"
ดังนั้น การกล่าวเพียงแค่ "ญาซากั้ลลอฮฺ" จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจเป็นการดุอาอฺที่สาปแช่งผู้ที่เรากล่าวด้วย
การกล่าว "ญาซากั้ลลอฮฺ..." จึง ต้องมีคำมาเติมต่อท้ายให้สมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่สองแบบ คือ...
1. ญาซากั้ลลอฮุ ชัรฺรอน
‎جزاكَ الله شرا
มีความหมายว่า : ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่เลวทราม"
2. "ญาซากั้ลลอฮฺ ค็อยร็อน
‎جزاكَ الله خيرا
มีความหมายว่า : ขออัลลอฮฺทรงแทนแก่ท่านซึ่งรางวัลที่ดีงาม"
สรุปแล้ว คำว่า "ญาซากั้ลลอฮฺ ..." นั้น จำต้องตามด้วยคำต่อท้าย ไม่ว่าจะเป็น "ชัรฺร็อน" หรือ "ค็อยร็อน"
พี่น้องก็เลือกเอาว่าเราควรจะกล่าวในสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลบุญต่อตัวเราและ พี่น้องของเรา หรือจะกล่าวคำที่สร้างความหายนะให้ทั้งตัวเราและพี่น้องของเรา
หากเราต้องการกล่าวต่อพี่น้องของเรา เพื่อเป็นการขอบคุณและขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามให้แก่ผู้คนผู้นั้น ก็จงกล่าวเต็มๆ ว่า "ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อน" อย่ากล่าวเพียงแค่ว่า "ญาซากั้ลลอฮฺ"



มหัศจรรย์ของอัลกุรอ่าน ที่ทุกคนต้องทึ่ง



อัลกุรอ่าน พูดถึง...

= ดุนยา : 115 ครั้ง.
= อาคีเราะห์ : 115 ครั้ง.
= มาลาอีกะฮ์ : 88 ครั้ง.
= ชัยตอน : 88 ครั้ง.
= ชีวิต : 145 ครั้ง.
= ตาย : 145 ครั้ง.
= ผลประโยชน์ : 50 ครั้ง.
= ความเสียหาย : 50 ครั้ง
= ศาสนทูต : 50 ครั้ง.
= ประชาชาติ : 50 ครั้ง
= หัวหน้ามารร้าย (อิบลิส) : 11 ครั้ง
= ขอความคุ้มครอง : 11 ครั้ง
= มุซิบะฮ์ : 75 ครั้ง
= ขอบคุณ : 75 ครั้ง
= การให้ทาน : 73 ครั้ง
= การอิ่มเอิบ: 73 ครั้ง
= ผู้หลงผิด : 17 ครั้ง
= คนตาย :17 ครั้ง
= มุสลิมีน : 41 ครั้ง
= การญีฮาด : 41 ครั้ง
= ทอง : 8 ครั้ง
= ชีวิตที่ง่ายดาย : 8 ครั้ง
= ซากาต : 32 ครั้ง
= บารอกัต : 32 ครั้ง
= จิตใจ : 49 ครั้ง
= รัศมี : 49 ครั้ง
= ลิ้น : 25 ครั้ง
= เทศนาธรรม : 25 ครั้ง
= ความปราถนา : 8 ครั้ง
= ความกลัว : 8 ครั้ง
= พูดต่อสาธารณะ : 18 ครั้ง
= การเผยแพร่ : 18 ครั้ง
= ความยากลำบาก : 114 ครั้ง
= ความอดทน : 114 ครั้ง

. ตัวเลข
= มูฮัมหมัด : 4 ครั้ง
= ชารีอะ : 4 ครั้ง.
= ผู้ชาย : 24 ครั้ง
= ผู้หญิง : 24 ครั้ง

มาดูทางด้าน วิทยาศาสตร์
= เดือน :12 ครั้ง
= วัน : 365 ครั้ง
= ซอละต : 5 ครั้ง
= ทะเล : 32 ครั้ง
= แผ่นดิน : 13 ครั้ง

ทะเล 32 + แผ่นดิน 13 =45
ทะเล = 32 หาร 45 คูณ. 100 = 71.11111111 %
แผ่นดิน. = 13 หาร 45 คูณ 100 = 28 . 88888889 %
ทะเล + แผ่นดิน. = 100. 00 %

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพิ่งจะค้นพบความจริงแล้วว่า
พื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ 71.111 %
ในขณะปกคลุมแผ่นดิน = 28.889 %
ใครสอน...คือ อัลลอฮ์..ไง
ไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้าง

ที่มา : http://islamhouse.muslimthaipost.com



วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สิ่งที่ตกต่ำนั้นไม่ใช่อิสลาม



การวิ่งของคุณตูนไม่ใช่การทำลายอิสลาม ส่วนการที่มุสลิมะฮ์ที่สวมฮิญาบ (บางคน) ถึงเนื้อถึงตัวและถ่ายรูปกับคุณตูนนั้น ตามความเป็นจริงแล้วต้องขอบคุณคุณตูนเสียด้วยซ้ำ ที่ทำให้สังคมมุสลิมได้มองเห็นปัญหาที่แท้จริง

ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นก็คือ ความอ่อนแอและความหย่อนยานทางศีลธรรมในภาพรวมของสังคมมุสลิม เด็กผู้ชายใส่โสร่งจมปลักอยู่กับน้ำกระท่อม เด็กผู้หญิงคลุมฮิญาบหมกมุ่นอยู่กับดารานักร้อง เด็กๆ มุสลิมจากต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เช่าห้องอยู่กันเป็นคู่หญิงชาย โดยไม่ได้ทำการนิกะฮ์ ฯลฯ

ท่านรอซูล ซล. กล่าวว่า : อิสลามนั้นสูงส่ง ไม่มีสิ่งใดจะสูงส่งกว่าอิสลาม

สิ่งที่ตกต่ำนั้นไม่ใช่อิสลาม การวิ่งของคุณตูนไม่มีทางทำให้อิสลามตกต่ำ แต่ที่ตกต้ำนั้นคือมุสลิม (ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม)

และการที่มุสลิม (บางคน) ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น ออกมาโยนบาปให้คนอื่นนั้น ถือเป็นต้นเหตุแห่งฟิตนะห์ที่แท้จริงต่อมุสลิมในประเทศไทย

จะคิดจะพูดอะไรต้องใช้สมอง ไตร่ตรองให้รอบคอบ คำนวณผลกระทบที่จะเกิดกับมุสลิมในภาพรวม อย่าปล่อยให้อุดมการณ์คลั่งชาติพันธุ์ (ตะอัดซุบ) ที่แอบอ้างศาสนาของตนเป็นม่านบังตาจนมองไม่เห็นสัจธรรมความจริง



Cr.อาลีคาน ปาทาน