อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การตรวจค้นและศาลมืด




แผนกตรวจค้น หรือ บัญชีการตรวจค้น


ผ่านไป 4 ศตวรรษของการล่มสลายของเมืองอันดะลุส นโปเลียนได้ส่งกองทัพไปพิชิตสเปนหลังจากนั้นได้ออกพระราชบัญญัติปี ค.ศ. 1808 ให้ยกเลิกแผนกตรวจค้นทั่วราชอาณาจักสเปน

นายทหารของกองทัพฝรั่งเศสคนหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า
“เราได้เข้าไปตรวจค้นในโบสถ์แห่งหนึ่งที่เราเคยได้ยินว่ามีการกระทำการทรมาน (ต่อชาวบ้านที่นับถือต่างนิกาย และมุสลิม) จากแผนกตรวจค้น

เราพยายามค้นหาสถานที่พวกเขาใช้ทรมานคน จนกระทั่งเราเกิดความท้อแท้และเชื่อว่าไม่น่าจะมีการทรมานในโบสถ์นี้ เพราะเราได้ทำการตรวจค้นโบสถ์ทุกซอกทุกมุม ทุกชั้นทุกห้องและด้วยทุกทางแล้ว แต่เราก้ไม่เจอหลักฐานพอที่จะบอกได้ว่า โบสถ์แห่งนี้เคยมีการทรมานอย่างที่มีคนเคยเล่ากัน แล้วเราก็เตรียมตัวเพื่อที่จะออกจากที่นี่

ขณะที่พวกเราทำการค้นหากันอยู่นั้นพวกบาทหลวง(ชาวคริสเตียน) ต่างก็ยืนยันและพากันสาบานเสียงแข็งว่าข่าวลือทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องเท็จ ในขณะเดียวกันหัวหน้าผู้ดูแลโบสถ์ก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่าไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น ณ โบสถ์แห่งนี้เลย

หัวหน้าโบสถ์กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือเบาๆ เขาก้มหัวเพื่อหลบสายตาของพวกเราอย่างนอบน้อม พวกเราสังเกตเห็นว่าตาของเขาเปียกชื้นไปด้วยรอยน้ำตา ข้าพเจ้าได้สั่งให้ทหารเตรียมตัวเพื่อจะได้ออกไปจากโบสถ์นี้เสียที่ แต่ร้อยโทเดอลีล ได้ขอเวลาข้าพเจ้าในการตรวจค้นเพิ่ม เขาพูดว่า “จะว่าไปแล้วภารกิจของเรายังไม่เสร็จสิ้นนะครับท่านผู้พัน” ข้าพเจ้าได้แย้งเขาไปว่า “ในเมื่อเราได้ค้นหาทั่วทุกซอกทุกมุมของโบสถ์นี้แล้ว แต่ไม่เจออะไรเลย ท่านต้องการอะไรกันแน่ ร้อยโทเดอลีล เขากล่าวตอบกลับมาว่า “ ข้าพเจ้าต้องการค้นชั้นใต้ดินของโบสถ์นี้ เพราะใจข้าพเจ้าเชื่อว่าความลับน่าจะอยู่ชั้นใต้ดินนี้แหละ”


เมื่อนักบวชได้ยินคำพูดของร้อยโทเดอลีล พวกเขาได้มองทางเราอย่างเคร่งเคลียด จึงทำให้ข้าพเจ้าต้องสั่งทหารค้นอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้สั่งให้ทหารนำพรมอันหรูหราออกไปจากพื้นของโบสถ์ แล้วข้าพเจ้าได้สั่งให้รดน้ำลงบนพื้น หลังจากนั้นก็สั่งเกตเห็นว่าน้ำค่อยๆไหลลงไปที่มุมห้องแห่งหนึ่ง ทำให้ร้อยโทเดอลีลถึงกับตะโกนออกมา เนื่องจากความดีใจ เขากล่าวว่า "ดูนี่สิ นี้คือประตู" แล้วเราก็มองตามที่ร้อยโทเดอลีลบอก ซึ่งความจริงก้ตรงตามที่เขาบอกทุกประการ ตรงมุมของห้องนั้นเป็นประตูที่ต้องเปิดด้วยวิธีการที่เจ้าเลห์และแยบยลอย่างยิ่ง นั้นก็คือการดึงสายโซ่ใต้โต๊ะทำงานของหัวหน้าโบสถ์ออกนั้นเอง


จากนั้นทหารก็ทำลายประตูด้วยพานท้ายปืนของพวกเขา ซึ่งนั่นทำให้คณะนักบวชต่างพากันหน้าซีด เมื่อประตูเปิดเราเห็นบันไดสู่ชั้นใต้ดิน ก่อนที่จะลงบันไดไปนั้น ข้าพเจ้าเดินไปตรงมุมหนึ่งที่มีเทียนขนาดใหญ่ ทันใดนั้นเองหัวหน้านักบวชได้เอื้อมมือมาแตะไหล่ข้าพเจ้าพร้อมกับพูดขอร้องว่า "อย่าเอามือที่เปลื้อนเลือดสงครามของท่านมาแตะเทียนอันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์นี้เลย"

ข้าพเจ้าตอบกลับไปว่า "ท่านนักบวชมือของท่านต่างหากที่ไม่สมควรไปจับเทียนเปื้อนเลือดของผู้บริสุทธิ์(ที่พวกท่านทรมาน) และจะได้เห็นกันว่ามือใครที่สกปรกกว่าใครกันแน่ที่เป็นนักฆ่าเลือดเย็น"

ตรงมุมนั้น ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่ามีรูปขนาดใหญ่รูปหนึ่งแขวนอยู่ รูปนั้นเป็นรูปผู้นำแผนกการตรวจค้นคนหนึ่งของยุคก่อนหน้านี้ (หมายถึงรูปภาพที่ถูกนับถือบูชาให้เป็นวีรบุรุษคนสำคัญในการทรมานมุสลิมและชาวอาหรับ) เมื่อข้าพเจ้าเห็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็มุ่งลงไปในชั้นใต้ดินโดยทันที

ข้าพเจ้าเดินไปตามบันไดพร้อมทหารของข้าพเจ้าซึ่งเดินตามมาติดๆ ทหารของข้าพเจ้าทั้งหมดล้วนถือดาบอยู่ในมืออย่างเตรียมพร้อม เมื่อเราลงมาถึงห้องสี่เหลี่ยม เราพบว่าตรงกลางห้องคือศาลตัดสิน ลักษณะของมันเป็นเสาใหญ่ทำจากหินอ่อนและมีโซ่เหล็กมัดอยู่รอบๆเสา โซ่นี้มีไว้มัดจำเลยที่จะถูกตัดสินนั้นเอง

ส่วนหน้าเสาหินอ่อนนี้เป็นม้านั่งเพื่อให้หัวหน้าแผนกนั่งเพื่อทำการตัดสินผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น ถัดจากห้องนี้เราได้เข้าไปในห้องสำหรับทรมานและฉีกร่างของคนเป็น ห้องนี้ถือเป็นห้องใต้ดินที่กว้างและใหญ่มาก


เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นสิ่งต่างๆในห้องนี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นกลัวและขนลุก ข้าพเจ้าเกลียดชังความเลวร้ายเหล่านี้ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า

เราได้เห็นช่องเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวคน บ้างก็ตั้งเป็นแนวตรง บ้างก็ตั้งเป็นแนวขวาง นั้นหมายถึงว่า นักโทษผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ ต้องยืนหรือไม่ก็นอนจนตาย ซากศพของคนเหล่านั้นยังคงมีอยู่ให้เห็น บางคนตายจนร่างกายเน่าเปื่อย บางคนก็เห็นเนื้อหลุดเป็นชิ้นๆไปแล้ว เพื่อที่จะทำให้กลิ่นเหม็นเบาบางลงบ้าง  ข้าพเจ้าได้สั่งให้ทหารเปิดหน้าต่างออกซึ่งนั้นเป็นเพียงช่องลมเล็กๆ เท่านั้น

นอกจากนี้เราได้พบโครงกระดูกของคนที่ยังถูกมัดติดอยู่กับโซ่ในห้องนี้ด้วย นักโทษที่เราพบนั้นมีทั้งชายและหญิงอายุของนักโทษเหล่านั้นจะอยู่ระหว่าง 14-70 ปี เราได้ช่วยเหลือนักโทษบางคนที่ยังมีชีวิตอยู่ออกมา ซึ่งบางคนก็มีอาการร่อแร่ปางตายแล้ว

นักโทษบางคนถึงกับเป็นบ้าเพราะถูกทรมานมากและนานจนเกินไป นักโทษทุกคนต่างอยู่ในสภาพเปลือยกาย ภาพที่เห็นนั้นถึงกับทำให้ทหารของข้าพเจ้าบางคนต้องถอดเสื้อคลุมออกเพื่อให้นักโทษเหล่านั้นแทน

เราค่อยๆนำนักโทษออกจากห้องขังอย่างระมัดระวังที่ละขั้นตอน เพราะเรากลัวว่าดวงตาของนักโทษที่คุ้นชินกับความมืดมายาวนานอาจจะบอดลง หากดวงตาของพวกเขาได้เห็นแสงสว่างในทันทีโดยที่ไม่ได้มีการปรับสายตาหรือทำให้ดวงตาได้ต้องแสงที่ละนิดที่ละน้อย บรรดานักโทษต่างร้องไห้ด้วยความดีใจ บางคนถึงขนาดจูบมือจูบเท้าผู้ที่ปลดปล่อยพวกเขาให้พ้นจากการทรมานอันน่ากลัวนี้ เสียงร้องไห้นี้ระงมไปทั่วทั่งบรรยากาศ เชื่อว่าถ้าก้อนหินร้องไห้ได้ก้อนหินก็คงร้องไห้ไปด้วยแน่แล้ว

หลังจากนั้นเราย้ายไปยังห้องถัดไป ซึ่งห้องนี้ยิ่งทำให้เราขนพองสยองเกล้าขึ้นกว่าเดิม เราเห็นเครื่องมืออันน่าขยะแขยงที่ใช้ในการทรมานผู้คน หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือสำหรับหักกระดูกและบดคนเป็นๆ เครื่องบดนี้จะเริ่มบดกระดูกจากเท้าเรื่อยไปจนถึงหน้าอก ศีรษะ และมือตามลำดับ เครื่องจะบดจนกระทั่งเนื้อแยกออกเป็นชิ้นๆ นั่นหมายความว่าอีกฝั่งหนึ่งของเครื่องบดจะเป็นช่องที่รวบรวมเนื้อและเลือดของมนุษย์ที่ถูกบด และนี่คือสิ่งที่พวกเขาได้ทำกับผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น

เราได้เห็นกล่องซึ่งมีขนาดเท่าหัวของมนุษย์ กล่องนี้เอาไว้ใช้สวมให้แก่นักโทษที่พวกเขาต้องการทรมาน พวกเขาจะผูกแขนผูกขาของนักโทษด้วยโซ่ เพื่อที่จะไม่ให้นักโทษเคลื่อนไหว ข้างบนกล่องนี้มีรูที่ถูกเจาะไว้เพื่อที่พวกเขาจะได้หยอดน้ำเย็นที่ละหยดลงบนหัวนักโทษตามเวลาที่กำหนด คือนาทีละหนึ่งหยดๆหลายคนถุกทรมานเช่นนี้จนบ้าและก็มีบางคนต้องตายจากการทรมานชนิดนี้



ต่อมาเราได้เห็นโลงที่มีฝาโลงถูกเสียบด้วยมีดและของมีคมสำหรับทรมานคนหนุ่มหรือวัยรุ่น พวกเขาจะเอาคนหนุ่มหรือวัยรุ่นโยนใส่โลง หลังจากนั้นก็จะปิดฝาโลงที่มีมีดหรือของแหลมคมปักอยู่ เมื่อโลงถูกปิดสนิทแล้ว มีดที่ปักอยู่กับฝาโลงก็จะทิ่มแทงนักโทษไปทั่วทั้งตัว

นอกจากนี้ เราได้เห็นเครื่องมือทรมานชิ้นอื่นๆอีก เช่น ตะขอแหลมสำหรับเกี่ยวลิ้นคน ซึ่งหลังจากที่มันเกี่ยวลิ้นของนักโทษแล้ว มันจะถูกดึงเพื่อให้ลิ้นนั้นออกมา แล้วลิ้นก็จะฉีกออก ตะขอบางอันใช้เกี่ยวไปที่เต้านมของผู้หญิงแล้วดึง ดั่งเช่นการดึงลิ้น เพื่อให้เต้านมฉีกออก หรือบางครั้งพวกเขาก็ตัดเต้านมทิ้งด้วยมีดไปเลยก็มี เราได้พบแส้เหล็กที่มีหนามแหลมคม แส้นี้ใช้ตีนักโทษที่ถูกให้เปลื่อย เพื่อทำให้กระดูกของเขาแตกละเอียด แล้วเนื้อก็หลุดลุ่ยออกมาเป็นชิ้น

(จากหนังสือ การตรวจค้นและศาลมืด ของ ดร.อาลี มัซฮัร ถ่ายทอดจากหนังสือแนวคิดหัวรุนแรงและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หน้า 311-318 อารีซัน เก็นตาสา แปล)



การทรมานดังกล่าวนี้เป็นเพียงแค่การลงโทษกลุ่มคริสเตียนต่างนิกายทีไม่ลงรอยกันกับพวกเขาเท่านั้น ดังนั้นท่านทั้งหลายลองคิดดูว่าที่พวกเขาทำกับมุสลิมจะหนักขนาดไหน แน่นอนจะต้องหนักและทรมานกว่าแน่นอน
























ข้อชี้ขาดของการรับประทานสัตว์ที่กินมูลเป็นอาหาร


ข้อชี้ขาดของการรับประทานอัล-ญัลลาละฮฺ

อัล-ญัลลาละฮฺ (สัตว์ที่กินมูลหรือขี้เป็นอาหาร) ไม่ว่าจะเป็นปศุสัตว์ ไก่ และอื่นๆ คือสัตว์ที่ชอบกินของสกปรกเป็นอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ใช้ขับขี่ หรือกินเนื้อเป็นอาหาร หรือดื่มนมของมัน แม้แต่กินไข่ของมันจนกว่าจะกักขังมันไว้และให้กินแต่อาหารที่สะอาด และแน่ใจว่าเป็นสัตว์สะอาดแล้ว

......................................................
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน


...........................

นักวิชาการสายมัซฮับมาลีกีย์ ปัสสาวะของสัตว์ที่เรากินเนื้อมันได้ เช่น อูฐ วัว แพะ แกะ ไก่ นกพิราบ นกทั้งหลาย และมูลของมันเป็นสิ่งสะอาด (อาศัยหะดิษที่นบีอนุญาตให้พวกอุรอนียีนดื่มปัสสาวะอูฐ และท่านอนุญาตให้ละหมาดในคอกแกะและคอกแพะได้) แต่ยกเว้นสัตว์ที่มันกินและดื่มนะญิส เนื้อของมันจึงเป็นนะญิสด้วย และเช่นเดียวกันมีสิ่งที่น่าเกลียด ปัสสาวะและอุจจาระของมันจึงน่าเกลียดด้วย

........................
(อัลฟิกฮุลอิสลามี)




การบริโภคเต่าและสุนัขทะเลทราย




ถาม
การบริโภคเต่าและสุนัขทะเลทราย มีข้อตัดสินว่าอย่างไร?
الفتوى

الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد:
فالصحيح عند أهل العلم -إن شاء الله - جواز أكل السلحفاة بحرية كانت أو برية لأن الله جل وعلا يقول : (كلوا مما في الأرض حلالاً طيباً ).[ البقرة: 168]. مع قوله : (وقد فصل لكم ما حرم عليكم ). [الأنعام: 119]. ولم يفصل لنا تحريم السلحفاة فهي حلال كلها، وهذا مذهب فقهاء المدينة وكثير من أهل العلم، ومنهم من أجاز أكل البحرية دون البرية، ومن العلماء من منع أكلها مطلقاً. وأما الضبع فالصحيح عند أهل العلم أنها مباحة الأكل وهو الصحيح من مذهب الشافعية والحنابلة، وكره المالكية أكلها ولم يحرموه ، وقال الحنفية بالتحريم. ودليل الإباحة: ما رواه أحمد وأبو داود والنسائي وابن ماجه والترمذي من حديث جابر بن عبد الله أنه سئل عن الضبع فأمر بأكلها فقيل له : أصيد هي؟ فقال : نعم، فقيل له : أسمعته من رسول الله صلى الله عليه وسلم ؟ قال: نعم .[ وقال الترمذي حسن صحيح] . والله تعالى أعلم

ตอบ 

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และขอให้พรและควาสันติสุขจงประสบแด่รซูลุลลอฮ และดังนั้น

ที่ถูกต้องในทัศนะของนักวิชาการ – อินชาอัลลอฮ
อนุญาตให้รับประทานเต่า ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเลหรือเต่าบก เพราะอัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ตรัสว่า
(พวกเจ้าจงจงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน) – อัลบะเกาะฮเราะ/168 ,พร้อมกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า) และพระองค์ไม่ได้ทรงแจกแจงแก่เราว่าเตาเป็นที่ต้องห้าม เพราะฉะนั้น มันเป็นสิ่งที่หะลาล ทั้งหมด และนี้คือ มัซฮับฟุเกาะฮาอฺ(นักนิติศาสตร์อิสลาม)แห่งมะดีนะฮ และบรรดานักวิชาการส่วนมาก และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ ผู้ที่อนุญาตให้บริโภคเต่าทะเลได้แต่ไม่อนุญาตเต่าบก และส่วนหนึ่งจากอุลามาอฺ ห้ามบริโภคมันทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้ และสำหรับสุนัขทะเลทรายนั้น ที่ถูกต้อง(เศาะเฮียะ)ในทัศนะของนักวิชาการ นั้นอนุญาตให้บริโภคได้ และมันเป็นทัศนะที่ถูกต้องจากมัซฮับของนักวิชาการสายชาฟิอียะฮและหะนาบะฮละฮ และนักวิชาการสายมาลิกียะฮ กล่าวว่าเป็นมักรูฮ และพวกเขาไม่ได้ถือว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)และนักวิชาการสายหะนะฟียะฮ กล่าวว่า หะรอม(ห้ามบริโภค) และหลักฐานที่แสดงว่า อนุญาต(ให้บริโภคเนื้อสุนัขทะเลทรายได้)คือ หะดิษรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด,อบูดาวูด,นะสาอีย์อิบนุมาญะฮและอัตติรมิซีย์ จากญาบีร บิน อับดุลลอฮว่า “เขาถูกถามเกี่ยวกับสุนัขทะเลทราย แล้วเขาใช้ให้บริโภคมัน และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ล่ามันเองหรือ ? เขา(ญาบีร)ตอบว่า “ครับ”และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ยินมันจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมหรือ? เขา(ญาบีร บิน อับดุลลอฮ) กล่าวตอบว่า “ครับ”(อิหม่ามอัตติรมิซีย์กล่าวว่า เป็นหะดิษหะซัน อีกทั้งเศาะเฮียะ) - วัลลอฮุอะลัม


يقول الدكتور عبد الله الفقيه مشرف شبكة الفتوى الفقهية : 
السلحفاة نوعان: بحرية، وبرية 
فأما البحرية منها، فيجوز أكلها لعموم قوله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ) المائدة:96 . 
ولقوله صلى الله عليه وسلم: "هو الطهور ماؤه، الحل ميتته" رواه أصحاب السنن . 
قال البخاري في كتاب الذبائح والصيد: باب قول الله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ)، ثم قال رحمه الله: ولم ير الحسن بالسلحفاة بأساً. والأحوط أن تذبح خروجا من الخلاف 
وأما السلحفاة البرية، فلا يجوز أكلها، إلا بعد ذبحها . 
قال ابن قدامة: كل ما يعيش في البر من دواب لا يحل بغير ذكاة، كطير الماء، والسلحفاة... وقال أحمد: كلب الماء يذبح، ولا أرى بأساً بالسلحفاة إذا ذبح ، والرق يذبح. (والرق: السلحفاة العظيمة، كما جاء في فقه اللغة للثعالبي 

والله أعلم 

ดร. อับดุลลอฮ อัลฟะกีฮ มุชัรรอฟ แห่งเว็บ อัลฟัตวาอัลฟิกฮียะฮ กล่าวว่า 
เตานั้น แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ เต่าทะเล และเต่าบก สำหรับ เต่าทะเลนั้น อนุญาตให้บริโภคมันได้ เพราะคำตรัสของอัลลอฮ ที่ตรัสเอาไว้แบบกว้างๆว่า (ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) – อัลมาอิดะฮ/96 

และเพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (น้ำทะเลนั้นสะอาด,สัตว์ทะเลที่ตายนั้นหะลาล” –รายงานโดย บรรดาเจ้าของสุนัน 

อัลบุคอรีย์ ได้กล่าวเอาไว้ใน เรื่อง อัซซะบาเอียะหฺวัศศอ็ยดุ บทว่า ด้วยคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า(ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) หลังจากนั้นท่านอิหม่ามบุคอรีกล่าวว่า “ อัลหะซัน(อัลบัศรีย์) ไม่เห็นว่าเต่านั้น เป็นสิ่งเลวร้าย (หมายถึงเป็นสิ่งต้องห้าม) และที่ปลอดภัยที่สุด ควรเชือดเสียก่อน เพื่อให้ออกจากกรณีการขัดแย้งของนักวิชาการ(คิลาฟ) และสำหรับ เต่าที่อยู่บนบกนั้น ไม่อนุญาตให้บริโภคมัน นอกจากหลังจากเชือดมันเท่านั้น 

อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่ดำรงชีวิตอยู่บนบก จากบรรดาสัตว์ ไม่อนุญาต(ให้บริโภค)โดยปราศจากการเชือด เช่น นกน้ำ และเต่า.... 

อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า “หมาน้ำ นั้น ต้องเชือดเสียก่อน และข้าพเจ้าไม่เห็นว่าเต่านั้น เลวร้าย(ต้องห้าม) เมื่อมันได้ถูกเชือดแล้ว และ อัรรอ็ก นั้น ต้องเชือดเสียก่อน (อัรรอ็ก คือ เต่าทะเลขนาดใหญ่)(1) ดังปรากฏใน หนังสือฟิกฮุลลุเฆาะฮ ของ อัษษะอาละบีย์ – วัลลอฮุอะอฺลัม 
(1)ดู รายละเอียดจาก อัลมุฆนีย์ เล่ม 7 หน้า 338






หลักการต่างๆ และเงื่อนไขของสัตว์ที่จะนำมารับประทาน




หลักการต่างๆ เกี่ยวกับอาหารฮาลาล 

ฮาลาลด้วยตัวของมันเอง ลักษณะฮาลาล ณ ที่นี้ หมายถึง

- ต้องไม่เป็นนะญิส(สิ่งสกปรก) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1) นะญิส มุค็อฟฟะฟะฮฺ (เบา) ได้แก่ ปัสสาวะเด็กชายอายุไม่เกินสองปีที่กินแต่นมแม่
2) นะญิส มุตะวัสสิเฏาะฮฺ (ปานกลาง) ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด มูลสัตว์ ซากสัตว์ และอื่นๆ
3) นะญิส มุฆ็อลละเซาะฮฺ (หนัก) ได้แก่ สุกรและสุนัข

- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่มีเขี้ยว งา และกรงเล็บที่แข็งแรง และใช้อวัยวะดังกล่าวนั้นในการหาอาหาร เช่น สิงโต เสือ หมี ช้าง และสัตว์อื่น ๆที่มีลักษณะคล้ายกันนี้รวมถึงนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บ เช่น แร้ง เหยี่ยว เป็นต้น
- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่าตามหลักการศาสนาอิสลาม เช่น มด และนกหัวขวาน
- ต้องไม่เป็นสัตว์ที่พิจารณาโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ เช่น เหา แมลงวัน หนอน ค้างคาว และสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
- ต้องไม่เป็นสัตว์เลื้อยคลานหรือมีพิษร้าย เช่น กิ้งก่า งู และและสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
- ต้องไม่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

อัลลอฮฺได้ตรัสในบทที่ 2 อัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 173 ว่า
﴿إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكُمُ الْمَيْتَةَ وَالدَّمَ وَلَحْمَ الْخِنزِيرِ وَمَا أُهِلَّ بِهِ لِغَيْرِ اللهِ﴾ (البقرة : 173)
ความว่า แท้ริงพระองค์ทรงห้ามรับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่เชือดเพื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวและนกที่มีกรงเล็บ (บันทึกโดยมุสลิม 3574)

สัตว์ที่อยู่ในทะเลกินได้ทั้งหมดจริงหรือ เช่นปลาฉลาม จระเข้น้ำเค็มในทะเล

هو طهور ماؤه الحل ميتتة
ทะเลนั้นน้ำของมันสะอาดสัตว์ทะเลที่ตาย(ซากสัตว์) ก็เป็นที่อนุมัติ
เพราะฉนั้นสัตส์ที่ตายในทะเลถือว่าอนุญาติให้รับประทานได้
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวและนกที่มีกรงเล็บ (บันทึกโดยมุสลิม 3574)

ดังนั้นปลาฉลามและจรเข้ใช้เขี้ยวหาอาหาร จึงไม่อนุญาติให้รับประทานแม้จะอยู่ในทะเลก็ตาม


เงื่อนไขของสัตว์ที่จะนำมารับประทาน

อาหารชนิดต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติอิสลาม มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ดังต่อไปนี้

ก. อาหารต้องห้ามที่มีบทบัญญัติในอัลกุรอาน กล่าวไว้คือ 

1. อาหารของบุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่อาหารของตนเอง โดยเขาไม่มีสิทธิ์ใดๆเลยในอาหารนั้น ดังที่อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ ความว่า "สูเจ้าทั้งหลายอย่าได้รับประทาน ทรัพย์สินของสูเจ้าทั้งหลาย โดยมิชอบธรรม" และท่านนบียังได้กล่าวอีกว่า "บุคคลหนึ่งบุคคลใดอย่าได้รีดนมสัตว์ของอีกบุคคลหนึ่ง นอกจากจะได้รับอนุญาติจากเขาเสียก่อน"

2. ซากสัตว์ที่ตาย โดยมิได้เชือดอย่างถูกต้องตามศาสนบัญญัติ เช่น ถูกรัดคอตาย ถูกตีตาย ตกจากที่สูง ถูกสัตว์ที่มีเขาแทงตาย หรือถูกสัตว์ดุร้ายกัดกิน เป็นต้น

 3. เลือดของสัตว์ที่พุ่งออกมาขณะทำการเชือด หรือการเจาะคอ ไม่ว่าเลือดนั้นมากหรือน้อยก็ตาม

4. เนื้อสุกร ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดๆของตัวสุกรทั้งหมดนั้นเป็นที่ต้องห้าม 5. สัตว์ที่เชือดโดยกล่าวสิ่งอื่นนอกจากพระนามของอัลลอฮ์

6. สิ่งที่ถูกเชือดเพื่อการบูชายันต์ เป็นสิ่งต้องห้ามทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเชือดที่กุโบร์ หรือการเชือดเพื่อเป็นสื่อ (ตะวัซซุ้ล) ติดต่อกับอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ก็ตาม หลักฐานสิ่งต้องห้ามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ในอายะห์ที่ 3 ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ ความว่า "เป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับสูเจ้าทั้งหลาย คือซากสัตว์ที่ตายแล้ว เลือดสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดโดยมิได้กล่าวนามของอัลลอฮ์ สัตว์ที่ถูกเขาของสัตว์อื่นแทงตาย สัตว์ที่ถูกสัตว์ดุร้ายกันกัดกิน นอกจากเจ้าจะเชือดมัน (หรือกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ขณะปล่อยไปล่าเหยื่อ) และสัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อการบูชายันต์"

ข. อาหารต้องห้ามที่มีตัวบทจากท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวไว้คือ 

1. "ลาบ้าน" (ลาที่อาศัยอยู่กับคนเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน) โดยมีรายงานท่านญาบิร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุว่า "ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม ได้ห้ามมิให้รับประทานเนื้อของลาบ้าน ในวันคอยบัร (สงครามคอยบัร) และอนุญาตให้รับประทานเนื้อของม้าได้"

2. "ล่อ" ซึ่งกิยาสมาจากลาบ้านที่มีหลักฐานห้ามรับประทานจากฮะดิษในข้อ1 และในอัลกุรอานได้กล่าวไว้ในอายะห์ที่ 8 ซูเราะห์อันนะฮล์ ความว่า "และม้า ล่อ และลานั้น เผื่อสูเจ้าจะใช้โดยสารมัน และเป็นเครื่องประดับ (สำหรับสูเจ้า)"

3. สัตว์ที่ใช้เขี้ยวจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น สิงโต หมี เสือ ช้าง หมาป่า หมาจิ้งจอก เป็นต้น

4. สัตว์ที่ใช้กรงเล็บจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น เหยี่ยว อินทรี นกเค้าแมว เป็นต้น ดังที่ท่านอิบนิอับบาสรายงานว่า "ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม ห้ามมิให้รับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวเล็บดุร้าย และนกที่ใช้กรงเล็บในการหาเหยื่อ"

5. สัตว์ที่กินสิ่งสกปรกเป็นอาหาร โดยไม่อนุญาตให้รับประทานมันได้นอกจากขังมันไว้สักระยะหนึ่งแ และเช่นกัน น้ำนมของสัตว์นั้นๆ ดังมีฮะดิษจากอิบนุอุมัรได้กล่าวไว้ว่า ว่าท่านนบีทรงห้ามกินเนื้อของมันและนมของมัน จนกว่าจะขังมันไว้ให้ปลอดภัยจากนะยิสเสียก่อน


ภรรยาที่หึ่งหวง


หลายๆคนอาจคิดว่า การมีภรรยาที่หึ่งห่วงจนเกินไป อาจทำลายชีวิตคู่ ซึ่งจริงๆแล้ว ชีวิตคู่จะเบิกบานหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหึ่งหวงของภรรยาแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องปกติที่นางหึ่งหวงสามี เป็นการแสดงออกของนางถึงความรักที่มีต่อคุณสามี อยู่ที่ว่า คุณสามีจะรับและวางตัวอย่างไร ในขณะที่นางกำลังแสดงอาการหึ่งหวง

ในบรรดาภรรยานะบี ไม่มีอีกแล้วคนที่นะบีรักมากที่สุดไปกว่าท่านหญิงอะอีชะห์ (หลังจากการเสียชีวิตของคอดีญะห์) และเป็นที่รู้กันว่า ท่านหญิ่งอะอีชะห์เป็นภรรยาที่หึ่งหวงมากที่สุด

มีหลายหะดีษที่รายงานมาว่า ในวันที่นะบีอยู่กับท่านหญิ่งอะอีชะห์ อยู่ๆก็มีภรรยาบางคนได้ส่งอาหารให้กับนะบี ท่านหญิ่งอะอีชะห์โกรธมาก ที่นางส่งมาให้ ทั้นๆที่วันนั้นเป็นวันของท่านหญิ่งอะอีชะห์ ครั้งหนึ่ง ท่านหญิ่งอะอีชะห์ตบอาหารที่ส่งมา จนภาชนะแตก แต่นะบีก็ไม่ได้ว่าอะไร เงียบ จนทำให้นางรู้สึกผิด แล้วถามนะบีว่า นางควรทำอย่างไร นะบีก็ยิ้ม และกล่าวว่า ก็ให้ทำอาหารชดให้กับนะบี
มาชาอัลลอฮฺ อัคลากนะบีช่างสวยงามจริงๆ ต่างกันเยอะจากอัคลากของพวกเรา

.............................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม  สือแม






วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปีนี้จะรายอวันไหน


ปีนี้เป็นอีกปีที่เอกองค์อัลลอฮฺได้ทดสอบเรา บรรดามุสลิมทั้งหลาย ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยความแตกต่างทางความเห็นและการกำหนดวันอีดอัฎหา ซึ่งมีผลต่อสังคมมุสลิมโดยรวม
สิ่งที่นักวิชาการอิสลามเห็นพ้องต้องกัน คือ การกำหนดวันแรกของรอมฏอนและการกำหนดวันอีดอัฎหาและเชือดกุรบานนั้น จะกำหนดด้วยการดูเดือน อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
يَسْأَلُونَكَ عَنِ الأهِلَّةِ قُلْ هِيَ مَوَاقِيتُ لِلنَّاسِ وَالْحَجِّ (البقرة: 189).
ความว่า ขาเหล่านั้นจะถามเจ้า เกี่ยวกับเดือนแรกขึ้น จงกล่าวเถิด มันคือกำหนดเวลาต่างๆ สำหรับมนุษย์ และสำหรับประกอบพิธี
นะบีก็ได้กล่าวเช่นเดี่ยวกันว่า
عن الحارث بن الحاطب قال: عهد إلينا رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم أن ننسك للرؤية فإن لم نره وشهد شاهدا عدل نسكنا بشهادتهما (رواه أبو داود، وصححه جماعة من العلماء منهم الشيخ الألباني)
ความว่า จากอัลหาริษ บิน อัลหาติบ กล่าวว่า ท่านนะบีได้ให้คำมั่นสัญญากับพวกเราให้เราทำการกุรบาน (คือทำการอีด) เนื่องจากการมองเห็นเดือน หากเราไม่เห็นมัน และมีพยานสองคนที่ยุติธรรมให้การว่าเห็น ก็ให้เรานั้นทำการอีดด้วยการเป็นพยานของทั้งสอง
จากหลักฐานเหล่านี้ จึงเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อเห็นเดือน ก็จะต้องกำหนดวันแรกของเดือน และวันที่ ๑๐ ของเดือนซุลหิจจะห์ ก็เป็นวันอีด
แต่ปัญหา คือ เมื่อการมองเห็นเดือนนั้นเกิดขึ้นในบางประเทศ แต่อีกประเทศหนึ่งไม่มองเห็น จำเป็นหรือไม่ที่ประเทศที่ไม่เห็นเดือนต้องตามประเทศที่เห็นเดือน
นักวิชาการอิสลามมี ๒ ทัศนะ ๑. ทัศนะของอุลามาอฺเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า จำเป็นสำหรับประเทศที่ได้รับข่าวการมองเห็นต้องตามประเทศที่เห็น ๒. ทัศนะที่มัชฮูรและใช้กันในมัซหับอิหม่ามชาฟีอีย์เห็นว่า แต่ละประเทศต้องปฎิบัติตามการมองเห็นของแต่ละประเทศ
ถามว่า สองทัศนะนี้ ทัศนะไหนที่ดีกว่า แน่นอน สำหรับผมแล้ว ทัศนะที่ดีกว่านั้น เป็นทัศนะเสียงส่วนใหญ่ของนักวิชาการอิสลาม ซึ่งปีนี้ ทางประเทศสาอุก็ได้ประกาศวันอีดตรงกับวันเสาว์ ที่ ๔ ต.ล. ๒๕๕๗ บนพื้นฐานการมองเห็นเดือน แต่ประเทศไทยที่มีจุฬาเป็นที่อ้างอิงสูงสุดสำหรับมุสลิมในประเทศไทยกลับประกาศวันอีดเป็นวันอาทิตย์ ที่ ๕ หลังจากสาอุหนึ่งวัน
จึงเกิดประเด็นคำถามว่า เราจะรายอวันไหน วันเสาว์ตามสาอุ หรือว่า วันอาทิตย์ตามประกาศจุฬา เพราะวันอะร่อฟะห์มีเพียงวันเดี่ยว คือ วันที่บรรดาผู้ทำฮัจย์ทำการวุกุฟที่ทุ่งอะร่อฟะห์
ซึ่งนักวิชาการอิสลามเองก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันว่า วันอะร่อฟะห์ของแต่ละประเทศคือวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ของแต่ประเทศ หรือว่า วันที่ ๙ ของเหล่าผู้ทำฮัจย์ที่กำลังวุกูฟที่ทุ่งอะร่อฟะห์ ณ เมืองมักกะห์
ถ้าให้ตอบตรงๆแบบไม่ต้องมองถึงผลกระทบอื่นๆที่จะตามมา ก็จะตอบว่า รายอวันเสาว์เป็นทัศนะที่ดีกว่า และสมเหตุสมผลกับหลักฐานที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงผลกระทบที่จะตามมา คือ ความแตกแยก ความไม่เป็นหนึ่งเดี่ยวกันของมุสลิมในการปฎิบัติสิ่งที่เป็นชีอาร์ของอิสลามแล้ว อุลามาอฺหลายท่าน มากกว่าสามสิบกว่าคนในบรรดานักวิชาการร่วมสมัย ไม่ว่า ผู้ที่เห็นว่าทุกประเทศต้องยึดเดือนเดี่ยวกัน หรือผู้ที่เห็นต่าง เช่น เชคอัลบานี เชคอุษัยมีน เชคอัลเฟาซาน เชคบินบาซ เชคมูหัมมัดอัชชันกีตีย์ เชคยูซูฟ อัลกุรฎอวีย์ เชคมัคลูฟ และท่านอื่นๆ เห็นว่า
ให้แต่ละประเทศทำการถือศิลอด ทำการอีดฟิตร์ และอีดอัฎหา ตามที่ประเทศนั้นๆประกาศ เช่นเดี่ยวกันกับทางอัลลุจนะห์อัดดาอิมะห์ได้ให้การฟัตว่าในแนวทางเดี่ยวกัน เพื่อมิให้ความแตกแยกที่เกิดขึ้นในสังคมแพร่ขยายกว้าง โดยเฉพาะเชคบินบาซที่ย้ำนักย้ำนาในมัจมุอฺฟะตาวาของท่านให้มุสลิมแต่ละประเทศนั้นยึดประกาศประเทศของตัวเองเป็นหลัก แม้จะมีความแตกต่างในวันอะร่อฟะห์ก็ตาม
จากเหตุผลทั้งหลายนั้น ผมจึงเห็นว่า ควรยึดประกาศของแต่ละประเทศ เพราะนะบีกล่าวว่า
الصَّومُ يومَ تَصومونَ ، والفِطرُ يومَ تُفطِرونَ ، والأضحَى يومَ تُضحُّونَ
ความว่า วันถือศิลอด คือ วันที่พวกเจ้าได้ถือศิลอด วันอีดฟิตร์ คือ วันที่พวกเจ้าละศิลอด (คือเข้าเดือนชะวาล) และวันอัฎหา คือ วันที่พวกเจ้าทำการกุรบาน
เป็นหะดีษที่นักวิชาการหะดีษมีความที่แตกต่างกัน แต่ทัศนะส่วนมากและด้วยหลายๆตัวบท หะดีษนี้เป็นที่ยอมรับว่ารับได้
ความหมายของหะดีษนี้ คือ การถือศิลอด การรายอฟิตรี และการเชือดกุรบานหรือรายออัฏหานั้น ตามที่กลุ่มผู้มีอำนาจหน้าที่และคนส่วนใหญ่ได้กำหนด แม้จะแตกต่างจากประเทศอื่นก็ตาม
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีหน้าที่และมีอำนาจในการประกาศการกำหนดเดือนในแต่ละปี ควรแลเห็นความสำคัญของความเป็นหนึ่งเดี่ยวของมุสลิมในประเทศในการดำเนินอิบาดัตที่เป็นชีอารอิสลาม และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมด้วยกัน โดยเฉพาะในการกำหนด วันอีดอัฎหา เพราะทุกคนก็ทราบดีแล้ว ด้วยสื่อต่างๆที่ทันสมัย ว่า บรรดาผู้ทำฮัจย์ เขากำหลังวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์วันไหน ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่จะรวบรวมมุสลิมในอีดอัฎหา

วัลลอฮูอะลัมบิศศ่อวาบ

.........................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม



ปีนี้ จะถือศิลอดวันอะร่อฟะห์วันไหน


การเริ่มวันใหม่จะเริ่มนับเมื่อพระอาทิตย์ตกดินตามหลักการอิสลาม ซึ่งทัศนะของนักวิชาการอิสลามส่วนมากนั้น เมื่อมีการเห็นเดือนรอมฎอนหรือชัววาลหรือซุลหิจจะห์ในคืนหนึ่งคืนใด ณ มุมไหนของโลกก็ตาม ประเทศที่มีค่ำคืนเดี่ยวกันก็จะเริ่มถือศิลอดหรืออีดพร้อมๆกัน แม้บางประเทศอาจจะเริ่มช้าหรือเร็วกว่าประเทศอื่น แต่ทั้งหมดก็เริ่มวันเดี่ยวกัน
เช่น เมื่อประเทศสาอุเห็นเดือนซุลหิจจะห์ในคืนวันพุธ (นับตามหลักสากล) หรือคืนวันพฤหัส (นับแบบอิสลาม) คืนนั้นก็จะเริ่มวันแรกของซุลหิจจะห์ ซึ่งประเทศไทยกับประเทศสาอุนั้นต่างกันเพียง ๔ ชั่วโมง หากสาอุเห็นเวลา ๑๘.๓๐ น. ประเทศไทยก็เวลา ๒๒.๓๐ น. ซึ่งทั้งสองประเทศยังอยู่ในค่ำคืนเดี่ยวกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเริ่มซุลหิจจะห์พร้อมๆกันในคืนนั้น ตามทัศนะอุลามาอฺเสียงส่วนมาก
ดังนั้น วันที่ ๙ ซุลหิจจะฮฺ ของสาอุก็จะเริ่มในคืนวันศุกร์ (นับแบบอิสลาม) หรือคืนวันพฤหัส (นับแบบสากล) ประเทศไทยก็เช่นเดี่ยวกันจะเริ่มในคืนวันศุกร์ตามทัศนะอุลามาอฺส่วนมาก เพียงแต่คืนวันวันอะร่อฟะห์ใน ประเทศไทยจะเริ่มก่อนสาอุ ๔ ชั่วโมง
เมื่อมีการเริ่มถือศิลอดวันอะร่อฟะห์ คนในประเทศไทยจะเริ่มถือศิลอดก่อนคนในประเทศอื่นที่มีโซลเวลาเดี่ยวกันและมีค่ำคืนเดี่ยวกันกับสาอุเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง หรือเร็วกว่าผู้ที่ทำหัจออกจากมีนาในช่วงเช้าไปยังทุ่งอะร่อฟะห์เป็นเวลา ๔ ชั่วโมง ซึ่งผู้ทำฮัจญ์บางคนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้นอนที่มีนาในคืนนั้น แต่จะออกไปยังอะร่อฟะห์เลยในคืนนั้น
ซึ่งช่วงเวลาของการวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์จะเริ่มจากช่วงซุฮฺรีของวันอะร่อฟะห์ไปจนถึงซุบฮฺ (คือก่อนซุบฮฺ) หรือเข้าคืนวันอีดอัฏหา ซึ่งตามทัศนะของอุลามาอฺสายมัซหับอิหม่ามอะห์มัดนั้น การวูกูฟก่อนเทียงวันอะร่อฟะห์นั้นสามารถกระทำได้ แต่ต้องเชือดสัตว์ แต่ทัศนะอุลามาอฺส่วนมากจะถือว่าหัจของเขาเป็นโมฆะ
จากที่ได้กล่าวมานั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ทำการถือศิลอดในวันศุกร์ที่ ๓ ต.ค. นี้ เขาได้เริ่มเข้าคืนอะร่อฟะห์พร้อมๆกับสาอุ แต่จะเร็วกว่าสาอุ ๔ ชั่วโมง และทำการถือศิลอดในวันอะร่อฟะห์แน่นอน คือ ตรงกับวันอะร่อฟะห์ของสาอุอย่างแน่นอน เพียงแต่จะทันกับการวูกูฟของบรรดาผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ในช่วงกลางวันเพียง ๒ ชั่วโมงกว่าโดยประมาณ เพราะการวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ตามทัศนะส่วนมากจะเริ่มเวลาในประเทศไทยประมาณ ๑๖.๑๑ น.
ซึ่งหากคนหนึ่งคนใดถือศิลอดในวันเสาร์ที่ ๔ ต.ค. เขาจะถือศิลอดในคืนวันอีดของประเทศสาอุ เพราะคืนวันเสาร์ (นับแบบอิสลาม) หรือคืนวันศุกร์ (นับแบบสากล) เป็นคืนวันอีด ซึ่งประเทศที่อยู่ในโซลเดี่ยวกันและมีค่ำคืนเดี่ยวกันกับสาอุจะเริ่มทำการตักบีรอีดตั้งแต่เวลาซุบฮฺ เช้าตรู่ของวันอีด แต่เขาจะทันกับการวูกูฟของบรรดาผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ในช่วงค่ำเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง และอีก ๙ ชั่วโมงก็จะเป็นวันอีดของสาอุ
ดังนั้น คนที่จะถือศิลอดวันเสาร์ จะเริ่มในคืนวันอีดของสาอุ แม้จะทันกับการวูกูฟ แต่จะทันในคืนอีดเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง นอกจากนั้น ก็เป็นวันอีดของสาอุทันที
นี้คือข้อเท็จจริง ที่ทุกคนก็ทราบดี ลองเปิดดูทีวีดาวเทียมหรือโทรไปถามญาติๆที่อยู่ ณ มักกะห์ ก็จะรู้ทันทีว่า สิ่งที่ผมกล่าวไปทั้งหมดนั้น ความจริง ไม่ใช่ว่าเราถือศิลอดวันเสาร์จะตรงกับวันอะร่อฟะห์ของสาอุ เพราะวันอะร่อฟะห์จะเริ่มจากคืนวันศุกร์ (นับแบบอิสลาม) และจะจบลงด้วยการเข้าของคืนวันอีด ซึ่งต่างจากการวูกูฟที่จะเริ่มจากซุฮฺรีของวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ และจะจบลงด้วยการเข้าของเวลาซุบฮฺของวันอีด
จึงไม่ควรสับสนระหว่าง วันอะร่อฟะห์ที่นะบีให้เราผู้ที่ไม่ได้ปฎิบัติหัจญ์ให้ถือศิลอดในวันนั้น ท่านนะบีกล่าวความว่า การถือศิลอดวันอะร่อฟะห์จะลบล้างบาปสองปี ปีที่ผ่านมาและปีที่จะมา (รายงานโดยมุสลิม เลขที่ ๑๑๖๒)
การตั้งนิยัตถือศิลอดจะเริ่มในค่ำคืนวันอะร่อฟะห์ จะถือศิลอดจากซุบฮฺของวันอะร่อฟะห์จนถึงมัฆริบของคืนวันอีด จึงแตกต่างจากการวูกูฟที่เริ่มจากซุฮฺรีของวันอะร่อฟะห์ และจบลงด้วยการเข้าของซุบฮฺของวันอีด
ซึ่งผู้ที่เห็นว่า วันเสาร์ของสาอุและของไทยนั้นเป็นวันอีดก็ไม่สามารถที่จะถือศิลอดได้ เพราะเป็นวันอีด เว้นแต่ผู้ยึดทัศนะที่ว่า วันเสาร์คือวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ ไม่ใช่วันอีด ก็สามารถที่จะถือศิลอดได้ แต่เป็นวันอะร่อฟะห์สำหรับประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นวันอะร่อฟะห์ที่ช้ากว่าวันอะร่อฟะห์ของผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ หนึ่งวัน
ท่านคิดว่า ท่านจะถือศิลอดวันอะร่อฟะห์ในวันศุกร์หรือวันเสาร์ ขอให้ทบทวนให้ดี วัลลอฮูอะลัม


.............................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม





หะดีษของอิบนฺอับบาส เกี่ยวกับการดูเดือน

ข้อสังเกตุจากหะดีษของอิบนฺอับบาส เกี่ยวกับการดูเดือน

عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الْفَضْلِ بِنْتَ الْحَارِثِ بَعَثَتْهُ إِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَّامِ. قَالَ: فَقَدِمْتُ الشَّامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَلَيَّ رَمَضَانُ وَأَنَا بِالشَّامِ فَرَأَيْتُ الْهِلَالَ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ الْمَدِينَةَ فِي آخِرِ الشَّهْرِ فَسَأَلَنِي عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الْهِلَالَ فَقَالَ مَتَى رَأَيْتُمْ الْهِلَالَ فَقُلْتُ رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ فَقَالَ أَنْتَ رَأَيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَّاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لَكِنَّا رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ السَّبْتِ فَلَا نَزَالُ نَصُومُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلَاثِينَ أَوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَ لَا تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ
لَا هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
وَشَكَّ يَحْيَى بْنُ يَحْيَى فِي نَكْتَفِي أَوْ تَكْتَفِي (رواه مسلم)
ความว่า จากกุรัยบ์ซึ่งอุมอัลฟัฎล์ บินต์ อัลหาริษ ได้ส่งท่านไปยังมุอาวียะห์ ณ ประเทศชาม เขา (กุรัยบ์) กล่าวว่า ฉันมาถึงชาม แล้วได้ทำภารกิจที่นางมอบมาย และรอมฎอนก็ได้เริ่มในขณะที่ฉันอยู่ ณ ชาม ฉันได้เห็นเดือนคืนวันศุกร์ หลังจากนั้น ฉันก็ได้กลับมายังมะดีนะห์ในช่วงท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านอับดุลเลาะห์ อิบนฺ อับบาส ก็ได้ถามฉัน และได้พูดถึงการเห็นเดือน แล้วท่านก็ถามว่า พวกเจ้าเห็นเดือนคืนไหน ฉันก็ตอบเขาไปว่า พวกเราเห็นเดือนคืนวันศุกร์ อิบนฺอับบาสจึงถามย้ำอีกว่า เจ้าเห็นเองใช่หรือไม่ ฉันก็ตอบว่า ใช่ และมุสลิม (ที่ชาม) ก็เห็นกัน พวกเขาก็เริ่มถือศิลอด และมุอาวิยะห์ (ผู้นำ ณ ตอนนั้น) ก็ได้ถือศิลอดเช่นกัน อิบนฺอับบาสจึงกล่าวว่า แต่พวกเรา (ชาวมะดีนะห์) เห็นเดือนคืนวันเสาร์ และเราก็จะถือศิลอดต่อไปจนกว่าจะครบสามสิบวันหรือเห็นเดือน (ชัววาล) ฉันก็ได้ถามว่า เจ้าไม่เพียงพอดอกรึ กับการเห็นของมุอาวียะห์และการถือศิลอดของเขา อิบนฺอับบาสจึงตอบไปว่า ไม่ เช่นนี้แหละที่นะบีได้สั่งใช้พวกเรา
ยะห์ยา บิน ยะห์ยา (ผู้รายงานหะดีษนี้) ไม่แน่ใจว่า การรายงานที่ถูกต้อง เจ้าไม่เพียงพอ หรือ เราไม่เพียงพอ รายงานโดยอิหม่ามมุสลิม

อิหม่ามนะวาวีย์อธิบายหะดีษนี้ว่า
فِيهِ حَدِيث كُرَيْب عَنْ اِبْن عَبَّاس ، وَهُوَ ظَاهِر الدَّلَالَة لِلتَّرْجَمَةِ ، وَالصَّحِيح عِنْد أَصْحَابنَا أَنَّ الرُّؤْيَة لَا تَعُمّ النَّاس ، بَلْ تَخْتَصُّ بِمَنْ قَرُبَ عَلَى مَسَافَة لَا تُقْصَر فِيهَا الصَّلَاة ، وَقِيلَ : إِنْ اِتَّفَقَ الْمَطْلَع لَزِمَهُمْ ، وَقِيلَ : إِنْ اِتَّفَقَ الْإِقْلِيم وَإِلَّا فَلَا ، وَقَالَ بَعْض أَصْحَابنَا : تَعُمّ الرُّؤْيَة فِي مَوْضِع جَمِيع أَهْل الْأَرْض
فَعَلَى هَذَا نَقُول : إِنَّمَا لَمْ يَعْمَل اِبْن عَبَّاس بِخَبَرِ كُرَيْب ؛ لِأَنَّهُ شَهَادَة فَلَا تَثْبُت بِوَاحِدٍ ، لَكِنَّ ظَاهِر حَدِيثه أَنَّهُ لَمْ يَرُدَّهُ لِهَذَا ، وَإِنَّمَا رَدَّهُ لِأَنَّ الرُّؤْيَة لَمْ يَثْبُتْ حُكْمُهَا فِي حَقِّ الْبَعِيدِ .
شرح النووي على مسلم 4 / 60
ความว่า ในบทนี้มีหะดีษกุรัยบ์จากอิบนฺอับบาส ซึ่งมันตรงกับหัวข้ออย่างชัดเจน และทัศนะที่ศ่อหิห์ (ถูกต้อง) ณ เพื่อนๆของเรา (คืออุลามาอฺสายมัซหับชาฟีอีย์) คือ การเห็นเดือนจะไม่ใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ทว่า จะใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ (กับพื้นที่ที่เห็นเดือน) ในระยะทางไม่ถึงระยะทางก่อศัรละหมาด (คือ 83 ก.ม. โดยประมาณ) มีทัศนะที่ว่า หากมัตละอฺ (สถานที่ออกของเดือน) เหมือนกัน จำเป็นที่จะต้องรับการเห็นนั้น มีทัศนะที่ว่่า หากพื้นที่เหมือนกันก็ต้องใช้ ถ้าไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นต้อง และส่วนหนึ่งของอุลามาอฺเรากล่าวว่า การเห็นเดือน ณ ที่ใดของโลก ใช้ได้กับชาวโลกทั้งหมด
ดังนั้น เราเห็นว่า แท้จริงแล้ว การที่อิบนฺอับบาสไม่รับข่าวจากกุรัยบ์ อันเนื่องจากมันเป็นชะฮาดะห์ (การเป็นพยานเพื่อรับรอง) ซึ่งมันมิอาจพิสูจย์ได้ด้วยจำนวนคนเดียว แต่สิ่งที่พบเห็นจากหะดีษนี้ อิบนฺอับบาสไม่ยอมรับ ไม่ใช่เพราะการเป็นชะฮาดะห์ แต่แท้จริงแล้ว ท่านไม่ยอมรับ เนื่องจากหุก่มการเห็นเดือนไม่สามารถใช้ได้กับคนที่อยู่ไกล

สิ่งที่เข้าใจจากหะดีษนี้ คือ
๑. อิบนฺบาส ผู้เป็นศ่อหะบะห์ อาศัยอยู่ในยุคสมัยการปกครองของมุอาวียะห์
๒. บรรดาชาวชามและผู้นำประเทศต่างถือศิลอดกันในวันศุกร์ แต่อิบนฺอับบาสและชาวมะดีนะห์ถือศิลอดในวันเสาร์
๓. อิบนฺอับบาสเห็นว่า แต่ละพื้นที่ที่มีมัตละต่างกัน แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองเดี่ยวกัน ให้แต่ละพื้นที่ถือศิลอดตามพื้นที่นั้นๆ
๔. ข่าวการเห็นเดือนของผู้นำและคนที่อยู่ในพื้นที่กับผู้นำมิอาจเปลี่ยนแปลงมัตละของแต่พื้นที่ได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ควรยึดมัตละของตัวเอง
๕. ความห่างของมัตละจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งตามทัศนะของอิหม่ามนะวาวีย์ คือ 83 ก.ม
๖. ทัศนะที่ถูกต้องสำหรับอิหม่ามนะวาวีย์ คือ ผู้ที่อยู่ห่างกันประมาณ 83 ก.ม. ให้มีมัตละต่างจากพื้นที่ที่มีระยะห่าง 83 ก.ม.โดยประมาณ
๗. อุลามาอฺมีทัศนะแตกต่างกันในประเด็นนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของอุลามาอฺสายมัซหับชาฟีอีย์เอง มีความเห็นเหมือนกับทัศนะอุลามาอฺส่วนใหญ่ คือ เมื่อเห็น ณ ที่ใด ก็ให้คนที่ได้รับข่าวนั้นใช้การมองเห็นนั้นในพื้นที่ของเขา
๘. สำหรับคนที่อยู่ไกล (ห่างกันประมาณ 83 ก.ม.) ไม่จำเป็นต้องใช้การเห็นเดือนของคนอีกพื้นที่หนึ่ง
๙. ไม่มีคำสั่งบังคับจากมุอาวียะห์ให้ทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองถือศิลอดพร้อมๆกัน
เหล่านี้ คือ ข้อสังเกตุจากหะดีษนี้ ที่เป็นหลักฐานสำหรับอุลามาอฺที่เห็นว่า แต่ละประเทศยึดการเห็นเดือนของประเทศนั้นๆ และเป็นการอธิบายของอุลามาอฺสายชะฟีอียะห์ที่ทุกคนยอมรับ
ดังนั้น หากเข้าใจจากการอธิบายของอิหม่ามนะวาวีย์แล้ว คนที่อยู่ห่างจากพื้นที่ที่เห็นเดือนระยะทางละหมาดก่อศัรก็ไม่จำเป็นต้องใช้การเห็นนั้น เมื่อเกิดคีลาฟแล้ว จึงไม่ควรตำหนิฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่เขายึดทัศนะที่มีหลักฐานที่รับได้

ขอให้ทุกคนมีความสุขในอีดปีนี้ แม้จะมีการออกอีดต่างกัน

تقبل الله منا ومنكم صالح الأعمال

อย่าลืมมาอัฟซึ่งกันและกัน


..................................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม



วันอะร่อฟะห์ ในมัซหับอิหม่ามชาฟีอีย์

วันอะร่อฟะห์ ในมัซหับอิหม่ามชาฟีอีย์ วันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ หรือว่า วันที่ผู้ทำฮัจญ์วูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์
เป็นที่น่าเศร้า เมื่อนักวิชาการชาฟีอียะห์บ้านเรา กลับไม่เข้าใจมัซหับของตนเองที่ยึดมายังยาวนาน ในเรื่องการกำหนดวันอะร่อฟะห์ โดยมองด้านเดี่ยวว่า เมื่อมัซหับชาฟีอีย์ยึดมัตละ แสดงว่า วันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ของแต่ละประเทศตามทัศนะนี้ คือ วันอะร่อฟะห์ แม้จะไม่ตรงกับวันวูกูฟของบรรดาผู้ทำฮัจญ์
ผมขอนำเสนอทัศนะของอุลามาอฺชาฟีอีย์ในการกำหนดวันอะร่อฟะห์ ว่า วันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ หรือ วันวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์
يَوْمُ عَرَفَةَ الْيَوْمُ الَّذِي يَظْهَرُ لَهُمْ أَنَّهُ يَوْمُ عَرَفَةَ سَوَاءٌ التَّاسِعُ وَالْعَاشِرُ لِخَبَرِ { الْفِطْرُ يَوْمَ يُفْطِرُ النَّاسُ وَالْأَضْحَى يَوْمَ يُضَحِّي النَّاسُ } رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَصَحَّحَهُ وَفِي رِوَايَةٍ لِلشَّافِعِيِّ { وَعَرَفَةُ يَوْمُ يعرفُ النَّاسُ }
انظر: مغني المتحاج للخطيب الشربيني 4/137, نهاية المحتاج للرملي 10/387، أسنى المطالب لشيخ الإسلام زكريا الأنصاري 1/283، وشرح البهجة الوردية له أيضا 5/290
ความว่า วันอะร่อฟะห์ คือ วันที่มีความชัดเจนสำหรับพวกเขา ว่า แท้จริง มันคือวันอะร่อฟะห์ จะตรงกับวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์หรือวันที่ ๑๐ ซุลหิจจะห์ก็ตาม เนื่องจากหะดีษ ความว่า วันละศิลอด (คือวันอีดฟิตร์) คือ วันที่บรรดามุสลิมละศิลอดกัน และวันอีดอัฎหา คือ วันที่บรรดามุสลิมต่างเชือดกุรบานกัน รายงานโดยอัลติรมีซีและท่านได้หุก่มว่า ศ่อหิหฺ และในสายรายงานหนึ่งของอิหม่ามชาฟีอีย์กล่าวว่า และวันอะร่อฟะห์ คือ วันที่บรรดาชาวมุสลิมวูกูฟกัน ณ ทุ่งอะร่อฟะห์
อิหม่ามชาฟีอีย์กล่าวในหนังสืออุมของท่านว่า
وَالْعِيدُ يَوْمُ الْفِطْرِ نَفْسُهُ وَالْعِيدُ الثَّانِي يَوْمُ الأَضْحَى نَفْسُهُ وَذَلِكَ يَوْمُ عَاشِرٍ من ذِي الْحِجَّةِ وهو الْيَوْمُ الذي يلى يوم عَرَفَةَ
الأم ـ للشافعي 1 / 230
ความว่า และวันอีดนั้น คือ วันอีดฟิตรีเอง และวันอีดที่สอง คือ วันอัฎหาเอง นั่นก็คือ วันที่ ๑๐ ซุลหิจจะห์ มันคือวันถัดไปจากวันอะร่อฟะห์
สำหรับคนที่ยึดมัซหับชาฟีอีย์ ถามว่า วันนี้ ท่านตามมัซหับชาฟีอีย์แล้วหรือยัง

.....................................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม


วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มุสลิมเดินแฟชั่น





เสียใจจัง อยากให้มุสลีมะห์ ตระหนัก หะดิษในเรื่อง สวมเสื้อหล่ะ
แต่นบีบอกว่า เปลือย...

เพราะปกปิดบางส่วน เปิดบางส่วน นาอูซุบิลลาฮิมินซาลิก
มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮุ ในฮาดิษที่ยาว กล่าวว่า ท่านร่อซูลซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า ...
(สองพวกของชาวนรก ที่ฉันไม่ได้เห็นพวกเขาทั้งสอง พวกหนึ่งมีแซ่อยู่กับพวกเขาเหมือกับหางวัว พวกเขาใช้ตีผู้คนทั้งหลาย (นินทาใส่ร้าย)
และพวกสตรีที่สวมใส่ แต่เปล่าเปลือย เอนไปเอนมา ศีรษะของพวกนางเหมือนกับโหนกอูฐ
พวกนางจะไม่ได้เข้าสวรรค์ และดมกลิ่นของมัน ทั้งๆที่กลิ่นของมันนั้นจะดมได้ในระยะทางเท่านั้นเท่านี้) มุสลิมรายงาน
นักปราชญ์บางคนได้ขยายความวจนะของท่านที่ว่า (เอนไปเอนมา) ว่าพวกนางนั้นหวีผมในลักษณะเอน ซึ่งมันเป็นหวีของหญิงโสเภณี พวกนางจะหวีเช่นนั้นให้พวกอื่น และนี่เป็นหวีผมของพวกหญิงฝรั่ง และพวกที่ดำเนินตามพวกนางจากพวกผู้หญิงของบรรดามุสลิม (มัจมั๊วฟาตาวาของ เชคฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 47 และ อัล อีฏอหฺ วัตตับยีน ของเชคฺ หะมู้ด อัต-ตุวัยญีรี หน้าที่ 85)

อย่าโกรธผม อย่าตำหนิผม ผมแค่เป็นห่วงทุกท่าน
และผมไม่ได้ฮุก่มใครครับ แต่ท่านนบีบอกไว้แล้ว
ปล...และไม่ได้หมายรวมว่า ใครแต่งตัวเช่นนี้ จะต้องตกนรกเสียทีเดียวเชียว แต่หะดิษนี้ กำลังบ่งบอกถึงความสำคัญ และเป็นบาปใหญ่หนึ่ง จากหลายๆบาปใหญ่ และหลายๆหะดิษที่ระบุ และกำชับไว้เฉพาะ สตรีให้ตระหนักครับ
วัลลอฮฮุอะลัม

................................
ชะบ๊าบ ก๊อลบุนสะลีม


มีด้วยละหมาดฮาญัตให้รถใหม่




มีเหตุการณ์แปลกๆ กับเมืองมุสลิมบ้านเรา  ผู้มีตังค์คนหนึ่ง ซื้อรถพ่วงคันใหม่มา เพื่อมาประกอบธุรกิจแล้วเชิญ โต๊ะลาแบมาละหมาดฮายัตให้รถ เพราะมีความเชื่อว่า รถจะได้มีบารอกัต ไม่เกิดอุบัติเหตุบ้าง และริซกีเข้าบ้าง ทั้งมีการเจิมรถด้วย

นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิก





ชายชู้คู่กับหญิงชู้


เฉพาะหญิงทำชู้หรือหญิงมุชริกเท่านั้น ที่เหมาะจะเป็นคู่ครองสำหรับชายทำชู้ที่ยังไม่สำนึกผิด ไม่มีหญิงผู้มีคุณธรรมและความศรัทธาคนไหนจะเหมาะสมกับเขา บรรดาผู้ศรัทธาที่ได้ถูกห้ามมิให้ยกลูกสาวของพวกเขาแต่งงานกับคนเช่นนี้

 ในทำนองเดียวกัน คู่ครองครองที่เหมาะสมสำหรับหญิงทำชู้ที่ยังไม่สำนึกผิด ก็มีแต่ชายทำชู้หรือชายมุชริกเท่านั้น พวกนางไม่เหมาะสมสำหรับชายผู้มีคุณธรรมและความศรัทธา

 บรรดาผู้ศรัทธาจึงถูกห้ามมิให้แต่งงานกับชายหรือหญิงที่รู้กันว่าเป็นคนไร้ศิลธรรม นั้นคือสำหรับชายหญิงที่ยังคงดำเดินชีวิตอยู่ในความชั่ว ไม่ใช่กับบรรดาผู้สำนึกผิดและปรับปรุงตัวเองแล้ว ผู้ที่สำนึกผิดและกลับตัว พวกเขาไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ผิดประเวณีอีกต่อไป

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

الزَّانِي لَا يَنكِحُ إِلَّا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لَا يَنكِحُهَا إِلَّا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَٰلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ

"ชายมีชู้จะไม่สมรสกับใคร นอกจากกับหญิงมีชู้หรือหญิงมุชริกะฮ์ และหญิงมีชู้จะไม่มีใครสมรสกับเธอ นอกจากกับชายมีชู้หรือชายมุชริก และ (การมีชู้) เช่นนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาผู้ศรัทธา" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นูร 24: 3)


الله أعلم بالصواب


วันที่อวัยวะของเขาเป็นพยาน


วันแห่งการฟื้นคืนชีพ หรือวันแห่งการสอบสวน อันมิใช้โลกแห่งวิญญาณ แต่มนุษย์จะฟื้นขึ้นมาในรูปร่างและชีวิตเดิมที่พวกเขาเป็นอยู่ในโลกนี้ ทุกอนูที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายของเขา จะถูกรวมขึ้นอักครั้งหนึ่งในวันนี้

 และผู้ทำผิดดึงดันปฏิเสธความผิดของตน และกล่าวหาว่าเป็นพยานเท็จ เป็นพยานโกหก และไม่ยอมรับว่าบัญชีความประพฤติของตัวเองมีอยู่ด้วย ดังนั้นพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา จึงทรงให้อวัยวะของร่างกายเขาทุกส่วนมาเป็นพยานโดยคำบัญชาของพระองค์ และจะบอกว่าเขาได้ทำความผิดอะไรไปบ้าง  การปิดปากของเขาคือการทำให้เขาหมดอำนาจในการพูด ไม่สามารถพูดอะไรได้ตามความต้องการ อวัยวะต่างๆของเขาก็จะว่าเขาผู้นี้ได้ใช้อวัยวะเหล่านั้นไปอย่างไรบ้าง

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

يَوْمَ تَشْهَدُ عَلَيْهِمْ أَلْسِنَتُهُمْ وَأَيْدِيهِمْ وَأَرْجُلُهُم بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ

"วัน ที่ลิ้นของพวกเขา และมือของพวกเขา และเท้าของพวกเขา จะเป็นพยานปรักปรำพวกเขา ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน-นูร 24: 24)

الْيَوْمَ نَخْتِمُ عَلَىٰ أَفْوَاهِهِمْ وَتُكَلِّمُنَا أَيْدِيهِمْ وَتَشْهَدُ أَرْجُلُهُم بِمَا كَانُوا يَكْسِبُونَ

"วันนี้เราจะปิดผนึกปากของพวกเขาและมือของพวกเขาจะพูดแก่เรา และเท้าของพวกเขาจะเป็นพยานตามที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺยาสีน 36: 65)


حَتَّىٰ إِذَا مَا جَاءُوهَا شَهِدَ عَلَيْهِمْ سَمْعُهُمْ وَأَبْصَارُهُمْ وَجُلُودُهُم بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ

“จนกระทั่งเมื่อพวกเขามาถึงนรก หูของพวกเขา และตาของพวกเขาและผิวหนังของพวกเขาก็จะเป็นพยานคัดค้านพวกเขาตามที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัลกุรอาน สูเราะฮ์ฟุศศิลัต 41: 20)


الله أعلم بالصواب


เมื่อผู้ปฏิเสธถูกโยนลงไปในนรก



ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 6 – 8
...........................................................

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 6
“ สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธพระผู้อภิบาลของพวกเขานั้น (1) คือ การลงโทษแห่งนรก และมันที่พำนักอันชั่วร้าย”

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 7
“ เมื่อพวกเขาถูกโยนเข้าไปในนั้น พวกเขาจะได้ยินเสียงคำราของมัน (2) ขณะที่มันกำลังเดือด”

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 8
“เหมือนกับการระเบิดด้วยความโกรธ ทุกครั้งที่คนพวกหนึ่งถูกโยนลงไปในนั้น ผู้เฝ้ามันจะถามว่า “ไม่มีผู้ตักเตือนมายังสูเจ้ากระนั้นหรือ ? ” (3)
.........................................

(1) นั่นคือ ชะตากรรมของทั้งมนุษย์หรือชัยฏอนที่ปฏิเสธพระเจ้าของตน (คำว่า “กุฟรฺ” ในภาษาอาหรับโดยความหมายทางภาษาแล้วแปลว่า “ซ่อนเร้น” หรือ “ปิดบัง” เดิมทีมันได้ถูกใช้สำหรับการซ่อนเร้นสัจธรรม และหลังจากนั้นก็ถูกใช้สำหรับการปฏิเสธซึ่งเป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า “อีมาน” คำว่า “อีมาน” มีความหมายว่า การเชื่อ การยอมรับและการยอมจำนน และ “กุฟรฺ” ก็คือการไม่เชื่อ การปฏิเสธและคัดค้าน ตามกุรอาน คนจะมีความผิดในฐษนกุฟรฺเมื่ออยู่ในกรณี ดังนี้ :

.....1) ถ้าหากเขาไม่เชื่อในอัลลอฮฺ หรือปฏิเสธที่จะยอมรับพระองค์ว่าเป็นผู้ทรงมีอำนาจสูงสุดหรือเป็นนายของเขาและของจักรวาล หรือเป็นพระเจ้าองค์เดียวที่เขาจะต้องเคารพภักดี

......2) ถ้าหากเขาประกาศยอมรับอัลลอฮฺ แต่ปฏิเสธที่จะยอมรับคำบัญชาและทางนำของพระองค์ว่า เป็นแหล่งแห่งความรู้เกี่ยวกับสัจธรรมและกฎหมายเพียงแหล่งเดียว หรือ

......3) ถ้าหากเขายอมรับทางนำของอัลลอฮฺ แต่ปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจหน้าที่ของบรรดารอซูลที่อัลลอฮิส่งมาพร้อมกับคำบัญชาและทางนำของพระองค์ หรือ

......4) ถ้าหากเขายอมรับรอซูลคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือยอมรับเพียงบางคนและปฏิเสธรอซูลคนอื่น ๆ ตามอำเภอใจหรือเพราะความอคติของเขาเอง หรือ

......5) ถ้าหากเขาละทิ้งความเชื่อของอิสลามทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด หรือละทิ้งแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตหรือคำสอนของรอซูลุลลอฮฺ หรือ

.....6) ถ้าหากยอมรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดในทางทฤษฎี แต่เจตนาละทิ้งคำบัญชาของอัลลอฮฺในทางปฏิบัติและยังคงดึงดันปฏิบัติมันต่อไปโดยดำเนินชีวิตฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์แทนที่จะยอมจำนนต่อพระองค์หรือความคิดและการปฏิบัติดังกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น คือการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺและเป็นการ “กุฟรฺ” ตามคัมภีร์กุรอาน นอกจากนี้แล้ว บางครั้งกุรอานยังใช้คำว่า “กุฟรฺ” สำหรับการเนรคุณด้วยเพราะการใช้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่อัลลอฮฺประทานให้ไปในหนทางที่ฝ่าฝืนต่อเจตนารมณ์ของพระองค์ และมีมทัศนคติดื้ดด้านต่อผู้ที่มีพระคุณต่อตัวเองนั้น มิใช่เพราะนอกไปจากการเนรคุณ

เมื่อเป็นดังนี้ จากความหมายของคำว่า “กุฟรฺ” ดังกล่าวมา ก็เป็นอันชัดเจนว่าในคำนี้ไม่มีอะไรที่ถูกนำไปใช้อย่างผิด ๆ หรือสร้างความเสียหายให้แก่ใครดังที่มีการเข้าใจผิดกันโดยทั่วไป เมื่อมุสลิมเรียกผู้ไม่ศรัทธาว่า “กาฟิรฺ” นั้น พวกเขาก็เพียงแต่ระบุถึงความจริงของคนผู้นั้นเท่านั้น

(2) คำว่า شَهِيقًا (ชะฮีก) ได้ถูกใช้เพื่อหมายถึงการทำเสียงร้องเหมือนกับเสียงร้องของลา ประโยคนี้อาจหมายความว่ามันอาจเป็นเสียงของนรกเองและอาจเป็นเสียงร้องครวญครางของผู้คนที่อยู่ในนรก ความหมายที่สองนี้ได้รับการสนับสนุนจากซูเราะฮฺ ฮูด : 106 ซึ่งได้กล่าวว่า “ในนั้นพวกเขาจะหอบและถอนหายใจ (เพราะความกระหาย)” ส่วนความหมายแรกได้รับการยืนยันจากซูเราะฮฺ อัล-ฟุรฺกอน : 12 ที่กล่าวว่า “เมื่อนรกเห็นพวกเขาจากที่ไกล พวกเขาจะได้ยินเสียงคุไหม้และเสียงคำรามของมัน” จากเหตุผลดังกล่าวนี้ ความหมายที่ถูกต้องก็คือมันเป็นทั้งเสียงคำรามของนรกเองและเสียงร้องของคนที่อยู่ในนรกด้วย

(3) ลักษณะที่แท้จริงของคำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่ผู้เฝ้านรกจะถามพวกเขาว่ามีผู้ตักเตือนจากอัลลอฮฺมายังพวกเขาหรือไม่ แต่วัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะทำให้พวกเขาตระหนักว่าการที่พวกเขาถูกโยนลงไปในนรกนั้นมิใช่เรื่องอธรรมแต่ประการใด ผู้เฝ้านรกจะพยายามทำให้พวกเขายอมรับว่าอัลลอฮฺมิได้ปล่อยพวกเขาไว้โดยมิได้บอกให้รู้ พระองค์ได้ส่งบรรดานบีมายังพวกเขา พระองค์ได้ทรงบอกความจริงและหนทางที่ถูกต้องแก่พวกเขา พระองค์ได้ทรงเตือนพวกเขาว่าถ้าพวกเขาปฏิบัติตามหนทางอื่นนอกไปจากหนทางที่ถูกต้อง มันก็จะนำเขาไปสู่นรก แต่พวกเขาไม่ฟังบรรดานบี ดังนั้น พวกเขาจึงสมควรได้รับการลงโทษที่ถูกเตรียมไว้

นี่เป็นสิ่งที่ได้มีการชี้ให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าในกุรอานว่าการทดสอบที่อัลลอฮฺได้ส่งมนุษย์มายังโลกนี้มิได้ทำโดยที่พระองค์ไม่ได้บอกให้มนุษย์ได้รู้ พระองค์ได้ทรงบอกมนุษย์ไว้แล้วว่าพระองค์ไม่เพียงแต่ต้องการจะดูว่ามนุษย์พบหนทางที่ถูกต้องด้วยตัวเองหรือไม่ แต่พระองค์ยังได้จัดเตรียมสิ่งที่เหมาะสมที่จะนำเขาไปสู่แนวทางที่ถูกต้องนั้นด้วย นั่นคือพระองค์ได้ทรงให้มีนบีเกิดขึ้นและได้ประทานคัมภีร์ลงมาตอนนี้ การทดสอบของมนุษย์อยู่ที่ว่าเขาจะยอมรับนบีและคัมภีร์ที่นบีนำมาหรือไม่และจะดำเนินชีวิตหรือหันหลังให้นบีไปทำตามความต้องการของตัวเอง ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว การมีนบีก็คือข้อโต้แย้งที่อัลลอฮฺได้ทรงนำมายืนยันต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ การยอมรับหรือการปฏิเสธนบีและคัมภีร์จึงเป็นตัวกำหนดชีวิตในอนาคตของเขาทั้งหมด หลังจากที่ให้มีนบีในหมู่มนุษย์แล้ว จึงไม่มีใครที่จะมาแก้ตัวได้ว่าเขาไม่รู้เรื่องสัจธรรมหรือเขาถูกลงโทษในขณะที่เขาเป็นผู้บริสุทธิ์


..........................................................

จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8 //อรรถาธิบายโดย : เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี // แปลโดย : บรรจง บินกาซัน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์




มีผู้ตักเตือนมายังพวกเขาแล้ว



ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 9 - 11
...........................................................

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 9
พวกเขาจะตอบว่า “มีผู้ตักเตือนมายังเราแล้ว แต่เราได้ปฏิเสธเขาและกล่าวว่า ‘อัลลอฮฺไม่ได้ส่งสิ่งใดมา พวกท่านต่างหากที่หลงผิดอย่างหนัก’ ” (1)

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 10
และพวกเขากล่าวอีกว่า “ถ้าพวกเราเพียงแค่ฟังหรือเข้าใจ (2) เราก็จะไม่ต้องมาเป็นชาวนรกเช่นนี้”

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 11
แล้วพวกเขาได้ยอมรับบาปของพวกเขา (3) ดังนั้น จงเป็นชาวนรกต่อไปเถิด
..................................................

(1) นั้นคือ “ไม่เพียงแต่สูเจ้าเท่านั้น แต่ยังรวมทั้งผู้คนที่เชื่อและปฏิบัติตามสูเจ้ายังหลงผิดอย่างหนักอีกด้วย”

(2) “ถ้าเพียงพวกเราฟังหรือเข้าใจ” หมายความว่า “ถ้าเราฟังบรรดานบีด้วยความตั้งใจดังเช่นผู้แสวงหาสัจธรรมหรือใช้สติปัญญาของเราไตร่ตรองทำความเข้าใจสิ่งที่บรรดานบีนำมาให้เรา” ในที่นี้การฟังได้ถูกจัดความสำคัญไว้ก่อนการทำความเข้าใจ เหตุผลก็คือสิ่งจำเป็นของการได้รับทางนำก็คือการฟังสิ่งที่นบีสอน (หรือการอ่านถ้าหากมันอยู่ในรูปของการเขียน) การไตร่ตรองเพื่อทำความเข้าใจสัจธรรมเป็นเรื่องที่สองรองลงมา หากปราศจากทางนำของนบี มนุษย์เองก็ไม่อาจที่จะไปถึงสัจธรรมได้โดยตรงโดยการใช้สติปัญญาและสามัญสำนึกของเขา

(3) คำว่า ذنب (บาป) ได้ถูกใช้ในรูปเอกพจน์ มันหมายความว่า บาปที่แท้จริงที่ทำให้พวกเขาสมควรตกนรกนั้นก็คือการปฏิเสธบรรดานบีและไม่เชื่อฟังท่าน ส่วนบาปอื่น ๆ ทั้งหมดนั้นเป็นผลที่ติดตามมา



..........................................................
จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8 //อรรถาธิบายโดย : เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี // แปลโดย : บรรจง บินกาซัน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์




วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การกลัวพระเจ้าที่มองไม่เห็น




ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 12
...........................................................

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 12

บรรดาผู้เกรงกลัวพระผู้อภิบาลของพวกเขาโดยที่มองไม่เห็นนั้น (1) สำหรับพวกเขาคือการให้อภัยและรางวัลตอบแทนอันใหญ่หลวง (2)
..................................................

(1) นี่คือพื้นฐานที่แท้จริงของศีลธรรมในศาสนา การที่ใครยับยั้งตนเองจากความชั่วเพราะมันเป็นความชั่วในความคิดเห็นส่วนตัวของเขาหรือเพราะโลกถือว่ามันเป็นความชั่ว หรือเพราะว่าการทำความชั่วเป็นสิ่งที่จะสร้างความเสียหายขึ้นในโลก หรือเพรามันจะถูกลงโทษโดยอำนาจในโลกนั้นเป็นพื้นฐานที่บอบบางสำหรับศีลธรรม ความเห็นส่วนตัวของมนุษย์อาจจะผิดก็ได้ เขาอาจจะถือว่าสิ่งดีเป็นสิ่งเลวและถือว่าสิ่งเลวเป็นสิ่งดี เพราะความคิดของเขาเอง ในประการแรก มาตรฐานความดีและความชั่วของโลกไม่เคยเหมือนกันและมันสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ปัจจุบันนี้ไม่มีมาตรฐานใดในปรัชญาทางศีลธรรมที่ถือว่าเป็นสากลและยั่งยืนและไม่เคยมีใครพบมาก่อน ความกลัวว่าจะสูญเสียทางโลกไม่ได้เป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับศีลธรรม คนที่หลีกเลี่ยงความชั่วเพราะกลัวว่าจะได้รับความเสียหายจากการทำความชั่วนั้น ไม่สามารถที่จะรักษาตนเองไว้ให้พ้นจากการทำชั่วได้เมื่อเขาไม่กลัวว่าจะเกิดความสูญเสียขึ้น ในทำนองเดียวกัน อันตรายของการถูกลงโทษจากอำนาจทางโลกก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถเปลี่ยนคนให้เป็นสุภาพบุรุษได้ ทุกคนรู้ว่าไม่มีอำนาจใดในโลกนี้จะรู้ทั้งสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็น อาชญากรรมหลายอย่างสามารถทำได้โดยไม่มีใครมองเห็น หลังจากนั้นก็มีวิธีการหลายอย่างที่ช่วยให้คนสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของอำนาจทุกอย่างในโลกนี้ และกฎหมายที่อำนาจในโลกนี้สร้างขึ้นไม่ครอบคลุมความชั่วทั้งหมด ความชั่วส่วนใหญ่ก็ยังไม่อยู่ภายในขอบเขตกฎหมายทางโลกในขณะที่ความชั่วนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าที่พวกเขาถือว่าเป็นสิ่งที่น่าถูกลงโทษเสียอีก นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมศาสนาแห่งสัจธรรมจึงได้วางรากฐานของศีลธรรมไว้บนพื้นฐานที่บุคคลจะต้องละเว้นความชั่ว เพราะเกรงกลัวพระเจ้าผู้มองเห็นเขาในทุกสถานการณ์ ผู้ที่ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของพระองค์ไปได้และผู้ที่ประทานเกณฑ์ตัดสินความดีและความชั่วที่เป็นมาตรฐานสากลและถาวรแก่มนุษย์ การหลีกเลี่ยงความชั่วและหันมาทำความดีเพราะเกรงกลัวพระองค์เท่านั้นคือ ความดีที่แท้จริงซึ่งศาสนาแนะนำ นอกไปจากนี้แล้ว ถ้ามนุษย์คนใดละเว้นจากการทำชั่วเพราะเหตุผลอื่นหรือเลือกทำสิ่งที่รูปแบบภายนอกถูกถือว่าเป็นการทำดีแล้ว การกระทำทางศีลธรรมเหล่านี้ของเขาจะไม่มีความในโลกหน้า เพราะมันเป็นเหมือนกับอาคารที่ถูกสร้างบนทราบ

(2) นั่นคือ การกลัวพระเจ้าที่มองไม่เห็นนั้นมีผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สองประการติดตามมา นั่นคือ ....1) ความผิดและบาปอะไรก็ตามที่เขาทำไว้เพราะความอ่อนแอของมนุษย์จะได้รับการให้อภัยถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้มิได้ถูกทำไปเพราะความไม่กลัวพระเจ้า และ .....2) ความดีอะไรก็ตามที่มนุษย์ทำไปบนพื้นฐานของความเชื่อนี้จะได้รับการตอบแทนอย่างมหาศาล

..........................................................

จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8 //อรรถาธิบายโดย : เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี // แปลโดย : บรรจง บินกาซัน
อดทน เพื่อชัยชนะ




ผู้ทรงรู้ความลับในหัวอกของมนุษย์



ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 13 - 15
...........................................................

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 13
ไม่ว่าสูเจ้าจะปิดบังคำพูดของสูเจ้า หรือพูดออกมาดัง ๆ (มันก็เหมือนกันสำหรับอัลลอฮฺ) พระองค์ทรงรู้ความลับที่อยู่ในหัวอกของสูเจ้า (1)

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 14
ผู้ทรงสร้างจะไม่รู้กระนั้นหรือ ? (2) พระองค์เป็นผู้ทรงรู้อย่างถี่ถ้วน (3) และทรงรอบรู้

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 15
พระองค์คือผู้ทรงทำให้แผ่นดินเป็นประโยชน์สำหรับสูเจ้า ดังนั้น จงเดินไปตามขอบเขตของมันและจงกินสิ่งที่อัลลอฮฺทรงจัดเตรียมไว้ให้ (4) และยังพระองค์ที่สูเจ้าจะต้องฟื้นคืนชีพขึ้นมา (5)
..................................................

(1) นี่เป็นการพูดกับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้ศรัทธาหรือผู้ปฏิเสธ สำหรับผู้ศรัทธามันมีข้อตักเตือนว่า ขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลก เขาจะต้องจดจำไว้เสมอว่าไม่เพียงแต่การกระทำที่เปิดเผยและซ่อนเร้นของเขาเท่านั้น แม้แต่เจตนาลับ ๆ และความคิดลึก ๆ ของเขาก็ไม่อาจถูกซ่อนเร้นไปจากอัลลอฮฺได้ สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธ นี่เป็นการตักเตือนว่าเขาจะทำอะไรก็ได้ที่เขาต้องการโดยไม่กลัวพระเจ้า แต่ไม่มีสิ่งใดที่เขาทำจะสามารถรอดพ้นไปจากการเฝ้ามองของพระองค์ได้

(2) ตรงนี้สามารถแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า “พระองค์จะไม่รู้ถึงสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้นมาเองหรือ ?” ในที่นี้ได้มีการใช้คำว่า مَنْ خَلَقَ ซึ่งอาจหมายถึง “ผู้ที่ได้สร้าง” และ “ผู้ที่พระองค์ได้ทรงสร้างมา” ในทั้งสองกรณี ความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม นี่เป็นข้อโต้แย้งสำหรับสิ่งที่ได้ถูกกล่าวไว้ในประโยคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ทรงสร้างจะไม่รู้ถึงสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา ? สิ่งถูกสร้างอาจจะไม่รู้จักตัวเอง แต่ผู้สร้างไม่มีทางที่จะไม่รู้ พระองค์ทรงสร้างเส้นเลือดทุกเส้นในหัวใจ ในสมองและในร่างกายของสูเจ้า สูเจ้าหายใจได้ก็เพราะพระองค์ทรงทำให้สูเจ้าสามารถหายใจได้ อวัยวะของสูเจ้าทำงานได้ก็เพราะพระองค์ทรงทำให้มันทำงานได้ แล้วมีสิ่งใดของสูเจ้าที่จะซ่อนเร้นไปจากพระองค์ ?

(3) คำว่า للَّطِيفُ หมายถึง ผู้ทำงานในลักษณะที่ไม่อาจนึกถึงและผู้ที่รู้ถึงสัจธรรมและความจริงที่ซ่อนเร้น

(4) นั่นคือ “โลกนี้ไม่ได้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสูเจ้าตามความต้องการของมันเอง และปัจจัยทั้งหลายที่สูเจ้ากำลังกินอยู่นั้นก็ไม่ได้มีอยู่ที่นี่โดยตัวของมันเอง แต่อัลลอฮฺต่างหากที่ได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้ด้วยความปรีชาสามารถและอำนาจของพระองค์ พระองค์ต่างหากที่ทำให้ชีวิตของสูเจ้าเป็นไปได้บนโลกนี้และทำให้โลกอันสวยงามใบนี้มีความสงบ จนสูเจ้าสามารถไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจและกลายเป็นโต๊ะอาหารขนาดมหึมาที่เต็มไปด้วยอาหารมากมายหลายชนิดจนนับไม่ถ้วน ถ้าหากสูเจ้าไม่หลงผิดและมองดูตัวเองด้วยการใช้สติปัญญา สูเจ้าจะพบความปรีชาสามารถอันมากมายที่อยู่ภายใต้การทำให้โลกนี้เป็นที่อาศัยและการจัดเตรียมปัจจัยอย่างมากมายสำหรับสูเจ้า
..........................................................

จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8 //อรรถาธิบายโดย : เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี // แปลโดย : บรรจง บินกาซัน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





การเตือนของฉัน




ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 16 - 19
...........................................................
ความหมาย อายะฮฺ ที่ 16 :
สูเจ้ารู้สึกปลอดภัยว่าผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้า (1) จะไม่ทำให้สูเจ้าถูกสูบจมลงไปใต้ดิน และแผ่นดินจะเริ่มสั่นสะเทือนในทันทีกระนั้นหรือ ?

ความหมาย อายะฮฺ ที่ 17 :
สูเจ้ารู้สึกปลอดภัยว่าผู้อยู่ในชั้นฟ้าจะไม่ส่งพายุที่นำก้อนหินมากระหน่ำใส่สูเจ้ากระนั้นหรือ (2) แล้วสูเจ้าจะได้รู้ว่าการเตือนของฉันน่าสะพรึงกลัวเพียงใด (3)
ความหมาย อายะฮฺ ที่ 18 :
และบรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเขาก็ปฏิเสธเช่นกัน ดังนั้น จงดูว่าการลงโทษของฉันเป็นเช่นใด (4)
ความหมาย อายะฮฺ ที่ 19 :
พวกเขาไม่ได้ดูนกเหนือพวกเขาที่กางปีกและหุบปีกของมันกระนั้นหรือ ? ไม่มีใครพยุงพวกมันไว้นอกจากผู้ทรงกรุณา (5) แท้จริงพระองค์ทรงเฝ้ามองทุกสิ่ง (6)
..................................................
(1) นี่มิได้หมายความว่าอัลลอฮฺทรงอยู่ในชั้นฟ้า แต่ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าโดยปกติแล้วมนุษย์มักจะมองขึ้นไปยังท้องฟ้าเมื่อเขาต้องการหันไปหาพระองค์ เขาจะยกมือของเขาขึ้นสูงไปยังท้องฟ้าในการวิงวอนต่อพระองค์เมื่อเขาพบว่าตัวเองตกอยู่ในสภาพที่มิอาจช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เขาประสบหายนะภัยอย่างทันทีทันใด เขาก็จะกล่าวว่ามันมาจากเบื้องบน เมื่อใดก็ตามที่มีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เขาจะกล่าวว่า มันมาจากเบื้องบนและเขามักจะเรียกคัมภีร์ที่อัลลอฮฺประทานมาว่าคัมภีร์จากเบื้องบน ตามฮะดีษของอบูดาวูด มัคนผู้หนึ่งมาหาท่านรอซูลุลลอฮฺพร้อมกับทาสหญิงผิวดำคนหนึ่งและกล่าวว่า : “ฉันจำเป็นต้องปบ่อยทาสคนหนึ่งให้เป็นอิสระ ฉันสามารถปล่อยทาสหญิงคนนี้ให้เป็นอิสระได้หรือไม่ ?” ท่านรอซุลลุลลอฮฺได้ถามทาสหญิงคนนั้นว่า “อัลลอฮฺอยู่ไหน ?” นางได้ชี้ขึ้นไปยังเบื้องบนท่านรอซูลุลลอฮฺได้ถามว่า “ฉันเป็นใคร ?” นางได้ชี้ไปยังท่านก่อนและหลังจากนั้นก็ชี้ไปบนฟ้าซึ่งเห็นได้ว่าเธอต้องการที่จะกล่าวว่า “ท่านมาจากอัลลอฮฺ” ดังนั้น ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงได้กล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระนางเป็นผู้ศรัทธา” (มีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคล้ายกับเรื่องนี้ถูกเล่าไว้ในหนังสือ “มุวัฏเฏาะอ์” มุสลิมและนะซาอีด้วย) เกี่ยวกับเรื่องของนางเคาละฮฺ บินตี ซัลบ๊ะฮฺ นั้น อุมัรฺได้กล่าวกับผู้คนว่า “นางเป็นผู้หญิงที่คำร้องของนางได้ยินไปถึงเหนือเจ็ดชั้นฟ้า” ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามันเป็นเรื่องปกติสำหรับมนุษย์ที่เมื่อใดก็ตามที่เขาคิดถึงพระเจ้า จิตใจของเขาจะหันไปยังชั้นฟ้าข้างบน ไม่ใช่แผ่นดินเบื้องล่าง ในทัศนะดังกล่าวนี่เองที่คำว่า “มันฟิสสะมาอ์” (พระองค์ผู้อยู่ในชั้นฟ้า) ได้ถูกใช้ในการพูดถึงอัลลอฮฺ ในที่นี้ไม่มีช่องโหว่ใด ๆ ที่จะทำให้สงสัยว่ากุรอานถือว่าอัลลอฮฺอาศัยอยู่ในชั้นฟ้า ความจริงแล้ว ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะมาสงสัยด้วย เพราะในตอนเริ่มต้นของซุเราะฮฺ อัล-มุลก์ก็ได้มีการกล่าวไปแล้วว่า : “พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ “ และในซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺก็ได้มีการกล่าวว่า : “สูเจ้าจะพบอัลลอฮฺไม่ว่าสูเจ้าจะหันหน้าไปทางไหนก็ตาม” (กุรอาน 2 :115)
(2) วัตถุประสงค์ของคำพูดตรงนี้ก็เพื่อที่จะย้ำว่า : “การอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของสูเจ้าบนโลกนี้ขึ้นอยู่กับความโปรดปรานและความกรุณาปรานีของอัลลอฮฺตลอดเวลา สูเจ้าไม่ได้เดินอาด ๆ อยู่บนโลกนี้ได้ด้วยอำนาจของสูเจ้าเอง สูเจ้าอยู่ภายใต้การคุ้มครองของอัลลอฮฺในทุกนาทีที่สูเจ้าใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ มิเช่นนั้นแล้ว อัลลอฮฺจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใดก็ได้ตามที่พระองค์ทรงต้องการ ซึ่งจะทำให้โลกใบนี้กลายเป้นสุสานสำหรับสูเจ้าแทนที่จะเป็นเปลให้สูเจ้านอน หรือพระองค์อาจจะทำให้เกิดลมพายุพัดกระหน่ำใส่บ้านเรือนในเมืองของสูเจ้าพังพินาศราบคาบลงไปเมื่อใดก็ได้”
(3) “การเตือนของฉัน” หมายถึงการเตือนที่ได้ถูกส่งผ่านมาทางท่านรอซูลุลลอฮฺและกุรอานถึงบรรดาผู้ปฏิเสธแห่งมักกะฮฺว่า : “ถ้าหากสูเจ้าไม่ละเว้นจากการปฏิเสธและการบูชาเทวรูป และไม่ยอมรับหลักความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวที่ถูกส่งมายังสูเจ้า สูเจ้าจะถูกอัลลอฮฺลงโทษ”
(4) นี่เป็นการพูดถึงกลุ่มคนที่ปฏิเสธบรรดารอซูลที่ได้มายังพวกเขาก่อนหน้านี้และได้ถูกอัลลอฮฺลงโทษหลังจากนั้น
(5) นั่นคือ นกแต่ละตัวที่บินอยู่ในอากาศได้นั้นอยู่ในความคุ้มครองของอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี พระองค์คือผู้ทีทำให้นกแต่ละตัวมีรูปแบบและโครงสร้างที่ทำให้มันสามารถบินได้ พระองค์คือผู้ทรงสอนวิธีการยืนให้นกแต่ละตัว พระองค์ต่างหากที่เป็นผู้ทรงทำให้อากาศเชื่อฟังกฎที่ทำให้สิ่งที่หนักกว่าอากาศสามารถบินลอยอยู่ในอากาศได้ และพระองค์อีกเช่นกันที่พยุงนกในอากาศทุกตัวไว้ มิเช่นนั้นแล้ว ทันทีที่พระองค์เลิกให้ความคุ้มครองเมื่อใด มันก็จะตกลงสู่พื้นทันที
(6) นั่นคือ นี่มิได้จำกัดอยู่แค่นกเท่านั้น แต่อะไรก็ตามที่ดำรงอยู่ได้ในโลกก็เพราะว่าอัลลอฮฺทรงให้การคุ้มครองอยู่ พระองค์เท่านั้นที่ประทานปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของทุกสิ่ง และพระองค์ต่างหากที่ทรงเฝ้าดูว่าทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมานั้นได้รับปัจจัยที่จำเป็นของชีวิต


..........................................................
จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8 //อรรถาธิบายโดย : เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี // แปลโดย : บรรจง บินกาซัน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





บุรุษจะขาดสตรีเสียมิได้


ดร. อาอิฎ อัลก็อรนีย์ ได้กล่าวว่า :

เมื่อไหร่ที่ท่านได้เป็น "บุรุษ" ที่นั่นย่อมมี "สตรีเสมอ"

เมื่อไหร่ที่ท่านได้เป็น "ชาย" ที่นั่นย่อมมี "หญิงเสมอ"

เมื่อไหร่ที่ท่านได้เป็น "ราชันย์" ที่นั่นย่อมมี "ราชินีเสมอ"

เมื่อไหร่ที่ท่านได้ "รักใคร" ที่นั่นย่อมมีคนที่ "รักท่านเสมอ"

เวลาที่อัลลอฮฺทรง "ประทานชีวิต" ให้ท่านมา ท่านจะอยู่ใน "ท้องผู้หญิง"

เวลาที่ท่าน "งอแง ร้องไห้" ท่านก็จะอยู่ใน "อ้อมกอดผู้หญิง"

เวลาที่ท่านมี "ความรัก" ท่านก็จะอยู่ใน "ดวงใจผู้หญิง"

..............................
อับดุลรอมาน หะระตี



เสริมสร้างกำลังใจให้แก่มุสลิมะฮฺทั้งหลาย

.
ถ้าหากว่ายังไม่มีบุรุษคนใดมาสู่ขอเธอแต่งงาน ทั้ง ๆ ที่เธอพร้อมที่จะเป็นภรรยาที่ดีให้แก่สามี และพร้อมที่เป็นแม่ที่ดีให้แก่ลูก ๆ โปรดจงนึกถึงท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ อะลัยฮัสสะลามเถิด เธอมีความอดทนในการรอบุรุษที่ดีที่จะเข้ามาในชีวิตของเธอ และสุดท้าย บุรุษที่ได้แต่งงานกับเธอนั้น เป็นบุรุษที่ดีที่สุดในโลก
และถ้าหากว่ายังไม่มีบุรุษคนใดเลย ที่จะเข้ามาสู่ขอเธอแต่งงาน โปรดจงนึกถึงท่านหญิงมัรยัม อะลัยฮัสสะลาม ที่พระองค์ทรงยกระดับของเธอให้สูงส่งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ
แต่ถ้าหากว่าเธอแต่งงานแล้ว แต่ว่าได้สามีที่ไม่ดี โปรดจงนึกถึงท่านหญิงอาเซีย ผู้เป็นภรรยาของฟิรอาวน์ เธอใช้ชีวิตในโลกนี้อย่างอดทน และพระองค์ก็ทรงเลือกเธอมาเป็นหนึ่งในบรรดาสตรีที่ได้เข้าสวรรค์ของพระองค์
และถ้าหากว่าเธอถูกสามีหย่าร้าง โปรดจงนึกถึงคำกล่าวของอัลลอฮฺว่า : และหากทั้งสองจะแยกกัน อัลลอฮฺก็จะทรงให้ความพอเพียงแก่เขาทั้งหมด จากความมั่งมีของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัน นิซาอฺ : 130)
การดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น มันย่อมมีรสชาติที่แตกต่างกันไป ที่ใคร ๆ ก็แล้วแต่ ล้วนไม่มีใครสามารถมาลิ้มรสชาติชีวิตของคนอื่นได้ เว้นแต่เจ้าของชีวิตนั้น ๆ ที่รู้ถึงรสชาติชีวิตของตัวเอง และชีวิตที่มีรสชาติที่ดีที่สุด เป็นชีวิตที่ได้มอบหมายให้กับเจ้าของชีวิตที่แท้จริง (นั่นคืออัลลอฮฺ)
โปรดจงมอบหมายต่ออัลลอฮฺเถิด เพราะการวาดวางของพระองค์นั้นย่อมดีกว่าการคาดการณ์ของมนุษย์อย่างแน่นอน
.

..................................................................
บทความดี ๆ โดย : Good man=الرجل الصادق الأمين
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



อย่าเป็นคนมีนิสัยญะฮีลิยะห์กับพี่น้องมุสลิม



บทเรียนจากหะดีษของอะบูซัร

عَنِ الْمَعْرُورِ بْنِ سُوَيْدٍ قَالَ مَرَرْنَا بِأَبِى ذَرٍّ بِالرَّبَذَةِ وَعَلَيْهِ بُرْدٌ وَعَلَى غُلاَمِهِ مِثْلُهُ فَقُلْنَا يَا أَبَا ذَرٍّ لَوْ جَمَعْتَ بَيْنَهُمَا كَانَتْ حُلَّةً. فَقَالَ إِنَّهُ كَانَ بَيْنِى وَبَيْنَ رَجُلٍ مِنْ إِخْوَانِى كَلاَمٌ وَكَانَتْ أَمُّهُ أَعْجَمِيَّةً فَعَيَّرْتُهُ بِأُمِّهِ فَشَكَانِى إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- فَلَقِيتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « يَا أَبَا ذَرٍّ إِنَّكَ امْرُؤٌ فِيكَ جَاهِلِيَّةٌ ». قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ سَبَّ الرِّجَالَ سَبُّوا أَبَاهُ وَأُمُّهُ. قَالَ « يَا أَبَا ذَرٍّ إِنَّكَ امْرُؤٌ فِيكَ جَاهِلِيَّةٌ هُمْ إِخْوَانُكُمْ جَعَلَهُمُ اللَّهُ تَحْتَ أَيْدِيكُمْ فَأَطْعِمُوهُمْ مِمَّا تَأْكُلُونَ وَأَلْبِسُوهُمْ مِمَّا تَلْبَسُونَ وَلاَ تُكَلِّفُوهُمْ مَا يَغْلِبُهُمْ فَإِنْ كَلَّفْتُمُوهُمْ فَأَعِينُوهُمْ ».
أخرجه البخاري في صحيحه برقم: 30، ومسلم في صحيحه برقم: 4403، واللفظ له


ความว่า จากอัลมะอฺรูร บิน สุวัยด์ กล่าวว่า ฉันได้เดินผ่านอะบูซัร ณ ร่อบะซะห์ ซึ่งมีชิ้นผ้าบนตัวท่านและคนรับใช้ของท่านเช่นเดี่ยวกัน พวกเราจึงกล่าวว่า โอ้ อะบูซัร หากเจ้ารวบรวม (ชิ้นผ้า) ระหว่างเจ้าสองคน แน่นอนมันสามารถเป็นเสื้อผ้าได้ อะบูซัร จึงกล่าวว่า แท้จริงแล้ว ระหว่างฉันและชายคนหนึ่งจากพี่น้องของฉัน(เกิดการใช้) คำพูด (ที่กระทบกระทั่งกัน) ซึ่งแม่ของเขาไม่ได้เป็นชาวอาหรับ ฉันเลยตำหนิเขาด้วยมารดาของเขา และแล้วเขาก็ได้ไปร้องเรียนต่อท่านนะบี ศ็อลลอลเลาะห์อะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อฉันได้เจอท่านนะบี ท่านนะบีจึงกล่าวแก่ฉันว่า โออะบูซัร แท้จริงเจ้านั้น เป็นบุคคลคนหนึ่งที่มีในตัวเจ้าสิ่งที่เป็นญาฮิลียะห์ ฉันจึงกล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะห์ ผู้ใดด่าว่าลูกผู้ชาย แน่นอนพวกเขาจะต้องโต้ตอบด่าว่าพ่อแม่ของเขา นะบีก็กล่าวอีกว่า โอ้ อะบูซัร แท้จริงเจ้านั้น เป็นบุคคลคนหนึ่งที่มีในตัวเจ้าสิ่งที่เป็นญาฮิลียะห์ พวกเขาเหล่านั้นคือพี่น้องของพวกเจ้า พระองค์อัลลอฮฺได้ทำให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่ภายใต้การดูแลของพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงให้อาหารแก่พวกเขา จากสิ่งที่พวกเจ้าได้กิน พวกเจ้าจงสวมใส่เสื้อผ้าแก่พวกเขาจากสิ่งที่พวกเจ้าสวมใส่ พวกเจ้าอย่่าได้สั่งใช้พวกเขาทำในสิ่งที่เกินความสามารถของพวกเขา หากพวกเจ้าสั่งใช้พวกเขา ก็จงช่วยเหลือพวกเขา

บทเรียนที่ได้จากหะดีษนี้มีดังนี้

๑. ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม แม้พวกเขาจะมีฐานะทางสังคมต่ำต้อยกว่ามุสลิมบางคน หรืออาจจะมาจากครอบครัวที่ไม่มีฐานะก็ตาม แต่พวกเขาเหล่านั้นเป็นพี่น้องกัน

๒. ไม่ควรอย่างยิ่งที่พี่น้องมุสลิมจะตำหนิหรือว่าร้ายพี่น้องมุสลิมด้วยกันโดยการใช้วาจาหรือคำพูดที่อิสลามไม่อนุญาติ หากเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับพี่น้องของเขา สิ่งที่เขาจะต้องทำ คือ การนะศีหะห์ ด้วยวิธีการที่ดี อย่างมีหิกมะห์ ไม่ใช่ใส่ร้ายหรือประจางเขา ซึ่งระหว่างนะศีหะห์กับประจางมีความแตกต่างอย่างแน่นอนและเห็นชัด

๓. มุสลิมบางคนอาจมีนิสัยญะฮีลิยะห์อยู่ในตัว ซึ่งญะฮิลียะห์ ณ ที่นี้ หมายถึง สิ่งที่ไม่ใช่อิสลามแต่อย่างใด หรือนักวิชาการร่วมสมัยหลายท่านให้ความหมายว่า สิ่งที่เป็นกุฟร์ และการที่มุสลิมมีนิสัยของคนกาฟิรอยู่ในตัวของเขา หรือไปพูดด้วยคำพูดที่เป็นกุฟร์ หรือไปกระทำด้วยการกระทำที่เป็นกุฟร์ มิได้มีความหมายว่า เขาผู้นั้นได้ตกมุรตัดและเป็นกาฟิร เว้นแต่ว่า เขาจะรู้ดีว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม แต่กลับตัดสินว่ามันเป็นที่อนุญาติในอิสลาม เช่น คนที่พูดโกหก แน่นอนการโกหกไม่ใช่นิสัยที่มาจากอิสลามอย่างแน่นอน คนที่โกหกก็รู้ดีว่า การโกหกเป็นสิ่งต้องห้าม หากเขาเห็นสิ่งต้องห้ามว่า มันเป็นสิ่งฮะลาล แน่นอนเขาจะตกมุรตัด ซึ่งมุสลิมหลายคนอาจกระทำมะศียะห์โดยที่เขาเองก็รู้ว่ามันเป็นมะศียะห์

๔. อย่าได้ใช้อารมณ์ในการตัดสินผู้อื่น เพราะการใช้อารมณ์จะทำให้เขาเกิดความผิดพลาดในการตัดสิน

๕.มุสลิมเป็นพี่น้องกัน มีอะไรก็ควรแบ่งปันซึ่งกันและกัน อย่าดูดายพี่น้องของท่านที่ตกอยู่ในความลำบาก ทั้งๆที่ท่านสามารถช่วยเหลือเขาได้

๖. คนที่เป็นนายคน ไม่ควรมอบมายงานให้กับคนที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาโดยไม่ประเมินความสามารถของเขาในการปฎิบัติงานนั้นๆ หากสิ่งท่านมอบมายให้กับลูกน้องของท่านเกินความสามารถของเขา ก็จงช่วยเหลือเขาในการทำภารกิจให้สำเร็จ

ขอให้ทุกคนเป็นพี่น้องกัน แม้จะแตกต่างทางความคิด ก็อย่าได้ทำให้หัวใจของการเป็นมุสลิมแตกแยกเลย มีอะไรที่ผิดพลาดก็จงใช้ระบบการนะศีหะห์ เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบนอกท่านนะบีศ็อลลอลเลาะห์อะลัยฮิวะสัลลัม



.............................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม  สือแม




จงระวัง กลุ่มอัลอะหฺบาช และผู้ที่ซึมซับแนวคิดนี้


ครั้งเมื่อผมเรียนอยู่ที่จอร์แดน เริ่มมีการพูดคุยกันถึงกลุ่มๆหนึ่งที่มีนักศึกษามาเลย์หลายท่านไปศึกษาหาความรู้กับโต๊ะครูของกลุ่มนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มนักศึกษาที่ไปเรียนกับกลุ่มนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม ชอบกล่าวหานักวิชาการที่ไม่ตรงกันกับกลุ่มของพวกเขาทางด้านอะกีดะห์และทางด้านฟิกฮฺ ถึงขนาดตัดสินอุลามาอฺหลายท่านว่าเป็นกาฟิร ไม่ว่าจะเป็นอุลามาอฺยุคก่อนและยุคปัจจุบันที่เป็นอุลามาอฺอะชาอีเราะห์เอง
จึงเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมกลุ่มนี้ถึงตัดสินกาฟิรคนในอะกีดะห์เดี่ยวกัน หรือว่า แท้จริงเขาแค่นำอะกีดะห์อะชาอีเราะห์บังหน้า แต่ตัวจริงแล้ว ไม่ใช่ ผมก็เคยถามคณาจารย์ของผม แม้แต่คณาจารย์ที่ยึดอะกีดะห์อะชาอีเราะห์เอง พวกเขาก็ยังเตือนผมไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มนี้ เพราะเป็นกลุ่มตักฟีรียะห์ (กลุ่มที่ชอบตัดสินกาฟิรฝ่ายตรงข้าม)
ซึ่งหากไปดูฟัตวาอุลามาอฺสายอะชาอีเราะห์และยึดมัซหับชาฟีอีย์ เกี่ยวกับกลุ่มนี้ จะเห็นได้ว่า มีอุลามาอฺร่วมสมัยหลายท่านที่เตือนพี่น้องมุสลิมจากกลุ่มนี้ เช่น ศ.ดร.อะลี ญุมอะห์ มุฟตีอียิป ก็เคยฟัตวาว่า
تنتسب هذه الطائفة إلى شخص يدعى: عبد الله الهرري الحبشي. وهي طائفة لها ظاهر وباطن. فظاهرها التمسك بظاهر مذهب الشافعي في الفقه ومذهب الإمام الأشعري في العقيدة. وباطنها تكفير المسلمين، وتفسيق المؤمنين، وإشاعة الفتنة بين الأمة، والعمالة -في مقابل المال -لأعداء الإسلام والمسلمين.
ความว่า กลุ่มนี้อ้างไปยังบุคคลที่มีนามว่า อับดุลเลาะห์ อัลฮะร่อรีย์ อัลหะบะชีย์ เป็นกลุ่มที่มีภาพภายนอกและภายใน ภายนอกของมันคือการยึดมั่นกับมัซหับอิหม่ามชาฟีอีย์ในเรื่องฟิกฮฺ และทัศนะของอิหม่ามอัลอัชอะรีย์ในเรื่องอะกีดะห์ และภายในของมัน (ตัวตนที่แท้จริงของมัน) คือ การตัดสินกาฟิรพี่น้องมุสลิม ตัดสินฟาสิกบรรดาผู้ศรัทธา สร้างฟิตนะห์ระหว่างอุมมะห์ และทำงานให้กับศัตรูอิสลามและมุสลิมแลกกับทรัพย์สิน
เช่นเดี่ยวกันกับเชคอัลบูฏีย์ เจ้าของหนังสือชิวประวัติท่านนะบีที่โดงดังที่ถูกกลุ่มนี้ตัดสินว่าเป็นกาฟิร กล่าวว่
الأحباش: الذين لهم إمام في بيروت عبد الله الهرري، يقولون في مسجدهم إن الصلاة وراء الوهابي حرام، وأن الإمام إبن تيمية كافر.
الإقتداء بالوهابي ليس محرماً وصلاة المقتدي صحيحة.
ولا يجوز تكفير مسلم لا نعلم يقيناً أنه عندما مات، مات على الكفر، وليس في الناس من يعلم أن ابن تيمية عندما مات ارتد عن الإسلام ومات كافراً.
والجماعة التي تسألني عنها يكفرون كثيراً من المسلمين، إنهم يكفرون متولي الشعراوي، والقرضاوي، ويكفرونني أنا أيضاً، ولعلهم المسلمون الوحيدون المدللون على الله، فيما يعتقدون.
ความว่า อัลอะหฺบาช คือ กลุ่มคนที่มีผู้นำอยู่ในไบรูตนามว่า อับดุลเลาะห์ อัลหะร่อรีย์ พวกเขากล่าวในมัสยิดของพวกเขา ว่า การละหมาดตามอิหม่ามวาฮาบีย์เป็นสิ่งต้องห้าม และอิหม่ามอิบนฺตัยมิยะห์เป็นกาฟิร
การตามอิหม่ามวาฮาบีไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้าม และละหมาดของผู้ตามก็ใช้ได้
และไม่อนุญาตตัดสินกาฟิรแก่พี่น้องมุสลิมที่เราไม่รู้อย่างแน่ชัดว่าเขาได้เสียชีวิตในสภาพที่เป็นกาฟิร และไม่มีใครที่รู้ว่า ท่านอิบนฺตัยมิยะห์ ขณะเสียชีวิตนั้น ได้ออกจากศาสนาอิสลามและเสียชีวิตในสภาพที่เป็นกาฟิร
และกลุ่มนี้ที่พวกท่านถามฉันถึงมันนั้น ก็ได้ทำการตัดสินพี่น้องมุสลิมมากมายว่าเป็นกาฟิร แท้จริงพวกเขาได้ตัดสินกาฟิรท่านมุตะวัลลีอัชชิรอวีย์ อัลกุรฎอวีย์ และพวกเขาก็ได้ตัดสินฉันว่าเป็นกาฟิรเช่นเดี่ยวกัน เสมือนกับว่าพวกเขาเท่านั้นที่เป็นมุสลิมที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮฺ ในสิ่งที่พวกเขาเชื่อกับมัน
ศ.ดร.วะฮฺบะห์อัซซุหัยลีย์ หนึ่งในนักวิชาการชาฟีอีย์แห่งชามก็เช่นเดี่ยวกัน ได้กล่าวว่า
أنا سئلت عن هذه الفرقة: هؤلاء الضالون المضلون يجب الابتعاد عنهم والتحذير منهم وجماعة فتنة وهم يفتون الناس بأهوائهم ويحلون الحرام ويحرمون الحلال وهم أيضا مشبوهون في صلتهم بدولة أجنبية. وبالتالي ينبغي الحذر منهم حذرا شديدا. أنا أطلب منهم أن يكونوا حذرين
ความว่า ฉันถูกถามเกี่ยวกับกลุ่มนี้ พวกเขาคือบรรดาผู้ที่คนที่หลงทางและทำให้ผู้อื่นหลงทางตามพวกเขา วาญิบที่จะต้องห่างไกลจากพวกเขา และเตือนจากพวกเขา พวกเขาคือกลุ่มคนที่สร้างฟิตนะห์ พวกเขาได้ฟัตวาให้กับพี่น้องมุสลิมตามอารมณ์ของพวกเขา พวกเขาได้ตัดสินสิ่งหะรอมว่าหะลาล และสิ่งที่หะลาลว่าหะรอม ทั้งๆที่พวกเขาเองนั้นเป็นที่สังเกตว่ามีความสัมพันธ์กับประเทศไม่ใช่มุสลิม ด้วยเหตุนี้ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังพวกเขาเหล่านี้ ฉันขอให้พวกเขาเหล่านั้นจงระมัดระวังไว้ให้ดี
เหล่านี้ คือ คำเตือนของอุลามาอฺร่วมสมัยสายมัซหับชาฟีอีย์และยึดกับอะกีดะห์อะชาอีเราะห์ ที่พยายามตักเตือนพี่น้องมุสลิมให้ระมัดระวังจากกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อันตราย เคยสร้างฟิตนะห์ในประเทศของเขาจนเป็นเหตุให้บรรดาอุลามาอฺและนักเผยแพร่อิสลามต้องถูกขังมากมาย
ที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้น กลุ่มนี้ มีอะกีดะห์และคำพูดมากมายที่ตรงกับอะกีดะห์และคำพูดของกลุ่มชีอะห์รอฟิเฎาะห์ และเป็นกลุ่มอ้างสุนนะห์เดี่ยวที่ว่าร้ายศ่อหะบีย์มุอาวิเยาะห์ เช่น อับดุลเลาะห์อัลหะบะชีย์ได้กล่าวว่า
قال الإمام علي عليه السلام: "إن الله خلق العرش إظهاراً
لقدرته لا ليجلس عليه"
ความว่า ท่านอิหม่ามอะลีอะลัยฮิสสลามกล่าวว่า แท้จริง อัลลอฮฺได้สร้างอะรัชเพื่อแสดงถึงความสามารถของพระองค์ มิใช่เพื่อประทับบนมัน
คำพูดนี้ถูกบันทึกในวารสารมะนารอัลฮุดา เล่ม ๕ หน้า ๓๗ และเป็นคำพูดเดี่ยวกันที่มีอยู่ในหนังสือ อัลอะกออิดอัลอิสลามิยะห์ของชีอะห์ที่แต่งโดยอัลฏ่อบะร่อซีย์ เล่ม ๒ หน้า ๔๐๒
ดังนั้น ขอเตือนพี่น้องมุสลิม โดยเฉพาะชาวเฟสทั้งหลาย ให้ระมัดระวังกลุ่มนี้ให้ดี และกลุ่มได้รับอิทธิผลจากกลุ่มนี้ เพราะเป็นกลุ่มที่ตัดสินอุลามาอฺมากมายว่าเป็นกาฟิร



.......................
Iprohem Suemae



คำฟัตวาของเชคอะลี ญุมอะห์ ถูกเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตมานานแล้ว ซึ่งแหล่งอ้างอิงเดิมถูกปิดแล้ว แต่มีอยู่ในเว็บทั่วไป เช่น http://www.soufia-h.net/showthread.php?t=4377 เช่นเดี่ยวกันใน http://www.eltwhed.com/vb/showthread.php?15371-%C3%DE%E6%...

http://al7ewar.net/forum/showthread.php?18422-%C7%E1%C3%C... และอื่นๆอีกมากมาย


ส่วนคำฟัตวาของศ.ดร.วะห์บะห์นั้น ก็มีเป็นเว็บและยูทูบ http://www.youtube.com/watch?v=GhkY0q6qI4A

  ส่วนคำฟัตวาของเชคอัลบูฏีย์ก็ถูกเผยแพร่ในเว็บต่างๆมากมาย เช่น http://www.soufia-h.net/showthread.php?t=8240 http://muntada.khayma.com/1/showthread.php?t=7103





เหตุใดสตรีจึงร้องไห้ (ไม่มีเหตุผล)


.
.


เด็กชายคนหนึ่งถามแม่ว่า “แม่ครับ ทำไมแม่ถึงร้องไห้”

“เพราะแม่อยากจะร้อง” ผู้เป็นแม่ตอบ

“ผมไม่เข้าใจเลย” เด็กชายพูดขึ้นมา

แม่ดึงเด็กชายมากอดและพูดว่า “หนูไม่มีวันเข้าใจหรอก ลูก”

หลังจากนั้น เด็กชายจึงไปถามพ่อแทน “พ่อครับ ทำไมแม่ถึงร้องไห้ไม่มีเหตุผล”

“ผู้หญิงทุกคนก็มักจะร้องไห้ไม่มีเห็นผลอย่างงี้แหละ ลูก” พ่อตอบอย่างไม่ใส่ใจนัก

เด็กชายยังคงสงสัยว่าทำไมผู้หญิงถึงร้องไห้ ท้ายที่สุดเขาจึงตัดสินใจถาม “เชคอาวุโส” ผู้มีความรู้ดีท่านหนึ่ง “ท่านต้องรู้คำตอบนี้แน่ๆ” เด็กชายคิด

“เชคครับ! ผมอยากทราบว่า ทำไมผู้หญิงถึงร้องไห้ง่ายจังเลยครับ”

เชคตอบว่า “ครั้งเมื่ออัลลอฮฺได้สร้าง “สตรี” ขึ้นมานั้น พระองค์ทรงทำให้พวกนางนั้นมีความพิเศษในตัวเอง พระองค์ทรงทำให้ไหล่ของนางนั้นแข็งแรงพอที่จะแบกรับน้ำหนักของโลกทั้งใบได้ อีกทั้งประทานแก่นางซึ่ง “ความนุ่มนวลมีเมตตา” เพื่อที่พวกนางนั้นจะคอยสร้างความสบายใจ (แก่คนรอบข้าง), พระองค์ทรงประทาน “ความเข้มแข็ง” ไว้ภายในตัวนาง เพื่อให้มีความอดทนต่อความเจ็บปวดยามที่พวกนางให้กำเนิดบุตร, และอดทนต่อการถูกปฏิเสธหรือการทอดทิ้งจากบุตรของนาง, พระองค์ทรงประทาน “ความแกร่ง” แก่นางเพื่อช่วยให้พวกนางนั้นสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ในยามที่คนรอบข้างตัวนางต่างหมดหวังและละทิ้งทุกอย่าง อีกทั้งพวกนางยังต้องคอยดูแลครอบครัวในขณะที่พวกนางเองก็เจ็บป่วยและเหนื่อยล้าหากแต่นางไม่เคยบ่น, พระองค์ทรงประทาน ”ความอ่อนโยน” แก่พวกนางเพื่อที่พวกนางจะคอยมอบความรักความเข้าใจแก่บุตรของนางไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใดๆ หรือแม้ว่าบุตรของนางจะทำร้ายจิตใจนางเพียงใดก็ตาม, พระองค์ทรงทำให้พวกนางมี “ความอดทน” แบกรับกับความผิดพลาดต่างๆ ของสามี และทรงสร้างนางจากซี่โครงของสามีนางเพื่อคอยปกป้องดูแลจิตใจเขา,
พระองค์ทรงประทานซึ่ง “สติปัญญา” เพื่อให้พวกนางตระหนักว่าแท้จริงแล้วสามีที่ดีนั้นย่อมไม่ทำร้ายนาง หากแต่บางครั้งก็มีการทดสอบความเข้มแข็งของนางและสุดท้ายการตัดสินใจของนางก็คือการคอยอยู่เคียงข้างเขาอย่างยืนหยัดและมั่นคง

แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็ทำให้พวกนางต้องมี “น้ำตา”

และนี่แหละคือ “น้ำตาของนาง” และมีเพียงแค่สิ่งนี้เท่านั้นที่พวกนางจะใช้มันเมื่อไหร่ก็ได้ยามที่พวกนางต้องการ พวกนางไม่มีเหตุผล ไม่มีคำอธิบาย เพราะ “น้ำตา” เป็นของนาง”

ตอนนี้หนูเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า “ความงามของสตรีนั้นไม่ได้อยู่เสื้อผ้าที่พวกนางใส่ หรือความสวยบนใบหน้าของนาง หรือวิธีการหวีผมของนาง ความสวยของพวกนางนั้นสามารถมองเห็นได้จาก “แววตา” เพราะมันเป็นประตูไปสู่หัวใจของนาง สถานที่ที่เต็มไปด้วย “ความรัก”

เด็กชายได้รับคำตอบแล้ว และเด็กชายก็ไม่เคยถามคำถามนี้อีกเลย
..

..
.....................................................
แปลจาก Why Women Cry www.lutonmuslims.co.uk