อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รากฐานของงานดะวะฮ์



1.การรู้แจ้งในเนื้อหาทำการเทศนาดะอฺวะฮ์

2.ปฏิบัติในสิ่งที่ตนสอน

3.ชำระเจตนารมณ์ให้บริสุทธิ์

เพื่อพักดีต่อพระองค์ หาใช่เพื่อการโออวด สร้างชื่อสียง หรือให้ยกสถานะ หรือหาใช่เพื่อบรรลุเป้าหมายอันเพริศแพร้วของโลกีย์

4.ลำดับความสำคัญของสิ่งที่สอน
เริ่มแรกจำต้องเทศนาผู้คนให้ปฏิรูปการศรัทธาให้เกิดความถูกต้อง ผ่านการกำชับใช้ให้ประกอบกิจศาสนาเกิดความบริสุทธิ์ต่อพระเจ้า และทำการป้องปราบการบูชาสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากพระองค์อัลลอฮ์ จากนั้นก็สอนสั่งให้มีการธำรงรักษาการละหมาด บริจาคทาน และสอนให้ประพฤติดีในสิ่งที่ศาสนาบังคับและละทิ้งอกุศลกรรมที่ศาสนาห้าม
ในวิถีทางและประวัติชีวิตของท่านนบี(ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นมีแบบอย่างที่ดีเลิศยิ่งในเรื่องการดะวะฮ์ และยังเป็นระบบการทำงานที่สมบูรณ์แบบยิ่ง ในขณะพำนักอยู่ในนครมักกะฮฺ 13 ปี เพื่อเทศนามนุษย์ไปสู่การสักการะพระเจ้าองค์เดียวและปรามการส่ำส่อนในด้านการบูชาทวยเทพ ท่านเทศนาเรื่องเหล่านั้นก่อนจะสั่งใช้ผู้คนทำการละหมาด, บริจาคทาน, ถือศิลอดและประกอบพิธีฮัจญ์ และท่านได้สอนเตาฮีดก่อนที่ท่านจะออกคำสั่งห้ามการกิน
ดอกเบี้ย, การผิดประเวณี การลักขโมยและการสังหารชีวิตใดที่ไม่สิทธิธรรมทางกฎหมายรองรับ

5.การอดทนมุมานะต่ออุปสรรคที่จะต้องประสบในหนทางของงานดะอฺวะฮ์ และอดทนกับการเผชิญหนากับภยันตรายจากน้ำมือมนุษย์

6. นักดะอฺวะฮ์จำเป็นต้องเป็นผู้มีมารยาทดีงาม

7. นักดะอฺวะฮ์จำต้องยืนหยัดในความหวัง
ไม่สิ้นหวังในความช่วยเหลือของอัลลอฮ์แม้กาลเวลาอันยาวนานจะผ่านพ้นไปก็ตาม


(ศอลิฮฺบินเฟาซาน)

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รายอแน...ใครสอนให้ละหมาดตัสเบียะหรือ


รายอแน หรือ อีดอัลอับรอร ได้เคยชี้แจงไปแล้วว่า ไม่มีที่มาในคำสอนอิสลาม
ดังที่ ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ)ได้กล่าวไว้ว่า
وأما اتخاذ موسم غير المواسم الشرعية كبعض ليالي شهر ربيع الأول التي يقال : إنها ليلة المولد , أو بعض ليالي رجب , أو ثامن عشر ذي الحجة , أو أول جمعة من رجب , أو ثامن من شوال الذي يسميه الجهَّال عيد الأبرار : فإنها من البدع التي لم يستحبها السلف , ولم يفعلوها. والله سبحانه وتعالى أعلم). ا.هـ.
สำหรับการยึดเทศกาลหนึ่งเทศกาลใดอื่นจากเทศกาลแห่งศาสนบัญญัติ เช่น บางคืนในเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่ถูกเรียกว่าคืนเมาลิด บางคืนในเดือนเราะญับ วันที่ 18 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ, ศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 ของเดือนเชาวาลซึ่งผู้โง่เขลาเรียกมันว่า ‘อีดอับรอรฺ’ ล้วนแล้วแต่เป็นบิดอะฮฺอุตริกรรมที่บรรดาสลัฟ (ชนยุคแรก) มิได้สนับสนุนให้กระทำมัน และพวกเขาไม่เคยปฏิบัติ วัลลอฮุสุบหานะฮูวะตาลาอะอฺลัม” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 25/298)

ยิ่งไปกว่านั้น มีการกำหนดให้มีการละหมาดญะมาอะฮตัสเบียะในวันอีดอัลอับรอร ที่ถูกอุตริขึ้นมาอีก ยิ่ง ไปกันใหญ่
เพราะหะดิษเกี่ยวกับการละหมาดตัสเบียะ ก็มีปัญหา ดังที่นักวิชาการได้ระบุไว้ต่อไปนี้

1.ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ ซึ่งเป็นนักวิชาการสายชาฟิอีกล่าวไว้ว่า
قَالَ الْقَاضِي حُسَيْنٌ وَصَاحِبَا التَّهْذِيبِ وَالتَّتِمَّةِ وَالرُّويَانِيُّ فِي أَوَاخِرِ كِتَابِ الْجَنَائِزِ مِنْ كِتَابِهِ الْبَحْرِ : يُسْتَحَبُّ صَلَاةُ التَّسْبِيحِ لِلْحَدِيثِ الْوَارِدِ فِيهَا وَفِي هَذَا الِاسْتِحْبَابِ نَظَرٌ ; لِأَنَّ حَدِيثَهَا ضَعِيفٌ ، وَفِيهَا تَغْيِيرٌ لِنَظْمِ الصَّلَاةِ الْمَعْرُوفِ ، فَيَنْبَغِي أَلَا يُفْعَلَ بِغَيْرِ حَدِيثٍ ، وَلَيْسَ حَدِيثُهَا بِثَابِتٍ ، وَهُوَ مَا رَوَاهُ ابْنُ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا
อัลกอฎีย์ หุสัยน และเจ้าของหนังสืออัตตะฮซีบและอัตตะติมะฮและอัรรูยานีย์ ได้กล่าวไว้ในช่วงท้ายของกิตาบอัลญะนาอิซ จากหนังสือของเขาว่า ""ชอบให้ละหมาดตัสเบียะ เพราะมีหะดิษรายงานในมัน"
(ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า) " และในกรณีบอกว่าชอบ(มุสตะหับบะฮ)ให้ปฏิบัตินี้ ต้องพิจารณา เพราะแท้จริงมันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ และในมัน(การละหมาดตัสเบียะ) เป็นการเปลียนแปลงรูปแบบการละหมาดที่เป็นที่รู้กัน ดังนั้น จึงควรจะไม่ปฏิบัติ โดยไม่มีหะดิษมาสนับสนุน และหะดิษของมัน(ของการละหมาดตัสเบียะ) ไม่แน่นอน คือ หะดิษที่รายงานโดย อิบนุอับบาส (ร.ฎ) ........จนจบหะดิษ
- ดู อัลมัจญมัวะ ชัรหุลมุหัซซับ เล่ม 3 หน้า 546- 547
หลังจากที่ระบุหะดิษละหมาดตัสเบียะ อิหม่ามนะวาวีย์ ระบุ ในช่วงท้ายว่า
وَقَدْ قَالَ الْعُقَيْلِيُّ : لَيْسَ فِي صَلَاةِ التَّسْبِيحِ حَدِيثٌ يَثْبُتُ ، وَكَذَا ذَكَرَ أَبُو بَكْرِ بْنُ الْعَرَبِيِّ وَآخَرُونَ ، أَنَّهُ لَيْسَ فِيهِ حَدِيثٌ صَحِيحٌ وَلَا حَسَنٌ وَاَللَّهُ أَعْلَمُ
และแท้จริง อัลอุกอ็ยลีย์ ได้กล่าวว่า " ในละหมาดตัศเบียะไม่มีหะดิษที่แน่นอน และเช่นเดียวกันนั้น ,อบูบักร บิน อัลอะเราะบีย์ และบรรดาคนอื่นๆได้กล่าวว่า " แท้จริงในมัน ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และหะดิษหะซัน -วัลลอฮุอะอลัม -
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


2.หาฟิซอิบนุหะญัร(ร.ฮ)กล่าวว่า
الْحَقُّ أَنَّ طُرُقَهُ كُلَّهَا ضَعِيفَةٌ ، وَإِنْ كَانَ حَدِيثُ ابْنِ عَبَّاسٍ يَقْرَبُ مِنْ شَرْطِ الْحَسَنِ إِلاَّ أَنَّهُ شَاذٌّ لِشِدَّةِ الْفَرْدِيَّةِ فِيهِ وَعَدَمِ الشَّاهِدِ وَالْمُتَابِعِ مِنْ وَجْهٍ مُعْتَبَرٍ ، وَمُخَالَفَةِ هَيْئَتِهَا لِهَيْئَةِ بَاقِي الصَّلَوَاتِ
ที่ถูกต้องนั้น แท้จริงบรรดาสายรายงานของมัน ทั้งหมด เฎาะอีฟ และแม้ปรากฏว่า หะดิษอิบนุอับบาส จะใกล้เคียงกับ เงื่อนไขของหะดิษหะซัน ก็ตาม แต่ ว่า มันเป็นหะดิษที่แปลก เพราะความโดดดียวอย่างรุนแรง ในมัน โดยที่ไม่มีหะดิษมาสนับสนุน จากทางอื่นที่ได้รับการยอมรับ และ รูปแบบของมันแตกต่างจากรูปแบบของบรรดาละหมาดอื่น- อัตตัลคีศุลหะบีร เล่ม 2 หน้า 18
3. อิบนุกุดามะฮ (ร.ฮ) กล่าวว่า
فأما صلاة التسبيح , فإن أحمد قال : ما يعجبني . قيل له : لم ؟ قال : ليس فيها شيء يصح ، ونفض يده كالمنكر
สำหรับละหมาดตัศเบียะนั้น แท้จริงอะหมัด(บิน หัมบัล) กล่าวว่า ""การละหมาดตัสเบียะ ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจ " มีผู้ถามว่า "ทำไมหรือ? ท่านกล่าวว่า "ในนั้นไม่มีหะดิษเศาะเฮียะเลย และท่านได้สะบัดมือของท่าน เหมือนกับว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม - อัลมุฆนีย์ 1/438
3.ท่านเช็คอับดุลอาซีซ บิน บาซได้ตอบคำถามในเรื่องนี้ว่า
اختلف العلماء في حديث صلاة التسابيح والصواب أنه ليس بصحيح لأنه شاذ ومنكر المتن ومخالف للأحاديث الصحيحة المعروفة عن النبي صلى الله عليه وسلم في صلاة النافلة ، الصلاة التي شرعها الله لعباده في ركوعها وسجودها وغير ذلك ، ولهذا الصواب : قول من قال بعدم صحته لما ذكرنا ولأن أسانيده كلها ضعيفة
บรรดานักวิชาการได้มีความเห็นขัดแย้งกันในหะดิษเกี่ยวกับละหมาดตัสเบียะ และที่ถูกต้องนั้น ไม่เศาะเฮียะ เพราะเป็นหะดิษที่ตัวบท เพี้ยนและมุงกัร(ถูกปฏิเสธ) และ ขัดแย้งกับบรรดาหะดิษเศาะเฮียะ ที่เป็นที่รู้กันจากนบี ในการละหมาดสุนัต ,ละหมาดซึ่ง อัลลออ ได้ทรงบัญญัติให้แก่บ่าวของพระองค์ ใน การรุกัวะของมัน ,การสุญูดของมัน และอื่นจากนั้น และเพราะเหตุนี้ ที่ถูกต้องคือ คำพูดของผู้ที่กล่าวว่า ไม่เศาะเฮียะ ดังที่เราได้ระบุไว้แล้ว และ เพราะว่า บรรดาสายรายงานของมันทั้งหมด เฎาะอีฟ (อ่อนหลักฐาน) - ดู มัจมัวะฟะตาวา วะมะกอลาต เล่ม ๑๑
การกำหนดวันอีดขึ้นมาใหม่ แล้วนำการละหมาดตัสเบียะมาแทนที่ละหมาดอีด มันคือ การอุตริบิดอะฮในเรื่องอิบาดะฮชัดเจน ส่วนเรื่องการละหมาดตัสเบียะที่ไม่นำมาประกอบกับอีดที่กำหนดขึ้นใหม่ นั้น นักวิชาการเห็นขัดแย้งในสถานะของหะดิษ เพราะฉะนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของพี่น้องผู้อ่าน

والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม

1/7/60