อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

คำถามทำไมอิสลามถึงห้ามกินหมู



ความจริงแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่าการบริโภคเนื้อหมูได้ถูกห้ามในอิสลาม สิ่งที่จะกล่าวต่อจากนี้  จะอธิบายทัศนะต่างๆของข้อห้ามนี้

1. เนื้อหมูถูกห้ามในอัลกุรอาน

กุรอานนั้นได้ห้ามการบริโภคเนื้อหมู ไม่น้อยกว่า 4 แห่งที่แตกต่างกัน มันถูกห้ามในซูเราะฮฺ 2:173  5:3  6:145 และ16:115

“ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าแล้ว(สำหรับอาหาร) คือ เนื้อสัตว์ที่ตายเอง เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่กล่าวนามอื่นจากอัลเลาะฮฺ(ขณะเชือด)” (อัลกุรอาน 5:3)

โองการกุรอานที่กล่าวมานี้เป็นการเพียงพอแล้วที่จะทำให้มุสลิมคนหนึ่งเชื่อมั่นว่าทำไมเนื้อหมูจึงถูกห้าม

2. การบริโภคเนื้อหมูเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด

ผู้ที่มิใช่มุสลิมและผู้ที่ไม่เชื่อว่าการมีอยู่ของพระเจ้าจะเห็นด้วยเพียงแค่ ถ้าทำให้เชื่อโดยผ่านทางเหตุผล ตรรกะ และวิทยาศาสตร์ การกินเนื้อหมูนั้นเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไม่น้อยกว่า 70 ชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลหนึ่งจะสามารถมีหนอนพยาธิ(จากการกินเนื้อหมู)ที่แตกต่างกันได้หลาย ชนิด เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ เป็นต้น หนึ่งในพยาธิที่อันตรายมากที่สุด ซึ่งศัพท์เฉพาะทาง เรียกว่า Taenia Solium  หรือ พยาธิตัวตืด มันจะแฝงตัวอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน เซลล์ไข่ของมันจะเข้าตามกระแสเลือด และสามารถไปถึงทุกส่วนของร่างกาย ถ้ามันเข้าไปในสมองก็เป็นสาเหตุให้เกิดความจำเสื่อม ถ้ามันเข้าสู่หัวใจก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจ ถ้ามันเข้าสู่ตาก็จะทำให้ตาบอด ถ้ามันเข้าสู่ตับก็จะทำให้ตับถูกทำลาย มันสามารถทำลายอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย

หนอนพยาธิตัวอื่นที่เป็นอันตราย ก็คือ Trichura Tichurasis  ซึ่ง โดยทั่วไปมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเนื้อหมูที่ว่าถ้ามีการปรุงสุกเป็นอย่าง ดี ไข่ของมันก็จะตาย แต่ในงานวิจัยที่น่าเชื่อถือในอเมริกา พบว่า จากยี่สิบสี่คนที่ต้องทนทุกข์จากโรคพยาธิ Trichura Tichurasis  มี จำนวนยี่สิบสองคนที่ปรุงสุกเนื้อหมูเป็นอย่างดี นี่สามารถบ่งชี้ได้ว่าไข่พยาธิชนิดนี้ที่มีอยู่ในเนื้อหมูจะยังไม่ตายภายใต้ อุณหภูมิที่ใช้ในการปรุงอาหารปกติ

 3. เนื้อหมูก่อให้เกิดสร้างไขมัน

เนื้อ หมูก่อให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อน้อยมาก และมีไขมันมากเกินความจำเป็น ไขมันนี้จะสะสมอยู่ในเส้นเลือดและเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ จึงไม่แปลกใจเลยว่ามีคนอเมริกัน 50 เปอร์เซ็นต้องทนทุกข์กับโรคความดันโลหิตสูง

4. หมูเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่สกปรกที่สุดในโลก

หมู เป็นสัตว์ที่สกปรกที่สุดในโลก มันใช้ชีวิตและเติบโตบนโคลน มูล และสิ่งสกปรกโสโครก เท่าที่ข้าพเจ้ารู้มันเป็นสัตว์ที่กินซากสกปรกที่ดีที่สุดที่พระเจ้าทรง สร้าง ในหมู่บ้านที่ไม่มีห้องน้ำสมัยใหม่และชาวบ้านนั้นจะขับถ่ายสิ่งปฏิกูลในที่โล่ง บ่อยครั้งมากที่สิ่งขับถ่ายนั้นถูกทำให้สะอาดโดยหมู

บาง คนอาจโต้แย้งว่าแล้วอย่างในเมืองที่พัฒนาแล้วอย่างออสเตรเลีย หมูถูกเลี้ยงอย่างสะอาดและถูกสุขลักษณะ แม้ว่าจะเลี้ยงหมูในคอกที่ถูกสุขลักษณะเพียงใด แม้คุณจะพยายามอย่างหนักที่จะเลี้ยงพวกมันให้สะอาด แต่โดยธรรมชาติแล้วมันก็ยังเป็นสัตว์ที่สกปรกอยู่ดี พวกมันจะกินและสนุกกับมูลของมันเหมือนกับที่สนุกกับสิ่งขับถ่ายใกล้เคียงของ พวกมัน

5. หมูเป็นสัตว์ที่มีความอายน้อยที่สุด

หมูเป็นสัตว์ที่มีความอายน้อยที่สุดในหน้าแผ่นดินบนโลกนี้ มันเป็นสัตว์ที่เชิญชวนตัวอื่นให้ร่วมเพศกับคู่ของมัน ในอเมริกาผู้คนส่วนมากรับประทานเนื้อหมู บ่อยครั้งมากหลังจากการเต้นรำและงานรื่นเริง พวกเขาจะแลกเปลี่ยนคู่ภรรยากัน หลายคนพูดว่า “นายนอนกับภรรยาของฉันและฉันจะนอนกับภรรยาของนาย” (เนื่องจากผู้รับประทานเนื้อสัตว์ชนิดใดจะได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมของมัน)

ถ้า คุณกินเนื้อหมูแล้วก็จะมีพฤติกรรมเหมือนหมู เราคนอินเดียมองอเมริกาว่าทันสมัยและกร้านโลกมาก อย่างไรก็ตามสิ่งที่พวกเขาทำนั้น เราก็ทำตามหลังเขาไม่กี่ปี อย่างในบทความของแม็กกาซีน Island ที่บอกว่าพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนคู่ภรรยานี้จะกลายเป็นสิ่งปกติในสังคมผู้ร่ำรวยในบอมเบย์(เนื่องจากพวกเขากินอยู่เหมือนคนตะวันตก)


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ตอบคำถามโดย ดร.ซากิร ไนค์
นะญาฮฺ แปลและเรียบรียง
http://www.fityah.com

การช่วยตัวเองให้หลั่งน้ำอสุจิ



การที่ผู้ชายทำให้น้ำอสุจิหลังออกมาด้วยมือของเขานั้น เป็นสิ่งขัดแย้งกบเรื่องของมารยาทและจริยธรรมที่ดี และนักนิติศาสตร์อิสลามก็ได้ขัดแย้งกันในเรื่องของข้อตัดสินของมัน
บางท่านก็มีความเห็นว่า มันเป็นสิ่งต้องห้ามโดยสิ้นเชิง

และบางท่านก็มีความเห็นว่า เป็นที่ต้องห้าม เฉพาะบางสถานการณ์เท่านั้น และเป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำในบางสภาพด้วยซ้ำไป

และอีกบางพวกก็เห็นว่า มันเป็นเพียงสิ่งที่น่ารังเกียจเท่านั้น

ส่วนบรรดาพวกที่เห็นว่า เป็นสิ่งต้องห้าม ก็คือ นักวิชาการมัซฮับมาลิกี มัซอับชาฟิอีย์ และมัซฮับซัยดียะฮฺ และหลักฐานของพวกเขาในการลงความเห็นว่าห้ามก็คือ ว่า อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงใช้ให้รักษาอวัยวะเพศเอาไว้ให้ดีในทุกสภาพ เว้นแต่ผู้ที่เป็นสามีภรรยากันเท่านั้น และทาสีที่อยู่ในความครอบครอง

ดังนั้น เมื่อคนใดที่เขาทำเกินขอบเขตในสองสภาพนี้ แล้วก็ทำให้น้ำอสุจิหลั่งออกมานั้น ก็เท่ากับเขาเป็นผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนสิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติไว้สำหรับพวกเขาไปสู่สิ่งที่พระองค์ทรงห้ามพวกเขาไว้

พระองค์อัลลอฮิทรงตรัสว่า


وَالَّذِينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظُونَ ( 5 ) 
"และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้รักษา (ไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของ) ทวารของพวกเขา"

إِلَّا عَلَىٰ أَزْوَاجِهِمْ أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ فَإِنَّهُمْ غَيْرُ مَلُومِينَ ( 6 )
"เว้นแต่แก่บรรดาภรรยาของพวกเขา หรือที่มือขวาของพวกเขาครอบครอง (คือทาสี) ในกรณีเช่นนั้นพวกเขาจะไม่ถูกตำหนิ"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมุมินูน 23 อายะฮฺที่ 5-6)

ส่วนบรรดาผู้มีทัศนะว่าเป็นที่ต้องห้ามในบางสถานการณ์ และเป็นสิ่งจำเป็นในบางสถานการณ์ ก็คือ นักวิชาการมัซฮับฮานาฟีย์ พวกเขาได้กล่าวว่า จำเป็นต้องช่วยตัวเองให้หลั่งอสุจิเมื่อเกรงว่าจะทำซินา หากไม่ทำเช่นนั้น โดยตั้งอยู่บนกฏเกณฑ์ที่ว่า กระทำในสิ่งที่เป็นโทษเบากว่า และเป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อมันกลายเป็นการกระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศ และผลพวกต่างๆของมัน และไม่เป็นไรหากมีอารมณ์จัด และเขาไม่มีภริยา หรือทาสีไว้ระบายอารมณ์ทางเพศ และการหลั่งด้วยตัวเองนั้นก้เพื่อให้เกิดความสงบอารมณ์เท่านั้น

มัซฮับฮัมบาลี กล่าวว่า เป็นที่ต้องห้าม นอกจากการที่จะสำเร็จความใคร่ด้วยตัวของเขาเองนั้น เพื่อเกรงว่าตัวเองไปทำวินา หรือกลัวว่ามีผลต่อสุขภาพ และเขาไม่เคยมีภริยา หรือทาสีสักคน อีกทั้งไม่มีความสารถในการสมรส ดังนั้นไม่เป็นบาปแก่เขา

สำหรับท่านอิบนุ ฮัซมิน มีความเห็นว่า การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นสิ่งน่ารังเกียจแต่ไม่เป็นบาปใดๆเลย เพราะว่าการที่ผู้ชายสัมผัสอวัยวะของเขาเองด้วยมือซ้ายนั้น เป็นที่เปิดกว้าง อนุญาตตามมติของนักวิชาการทั้งหมด และเมื่อเป็นที่อนุญาตแล้วก็ไม่มีอะไรจะมาเพิ่มเติมเกินกว่าการอนุญาตอีก เว้นแต่ว่าตั้งใจให้หลั่งน้ำอสุจิออกมา ก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามใดๆ ในการกระทำเช่นนั้นโดยพื้นฐานเลย



والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมผู้ศรัทธา


การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมทางด้านทรัพย์สิน

                   เมื่อเรารับทราบข่าวการขอรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือพี่น้องมุสลิม สมควรอย่างยิ่งยวดที่เราจะต้องให้ความร่วมมือ ในกิจการนั้น โดยที่เรานั้นไม่จำเป็นต้องบริจาคอย่างมากมาย มีน้อยบริจาคน้อย มีมากก็บริจาคมาก หรือถ้าเรา ไม่มีทรัพย์สิน ก็ช่วยเหลือโดยการกระจายข่าวการรับบริจาคไปยังผู้ที่มีฐานะดี เป็นต้น ซึ่งเงินที่เราได้บริจาคไปนั้น นอกจากจะไปช่วยเหลือพี่น้องของเราในการผ่อนทุกข์แล้ว เราก็ยังได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮฺอย่างมากมาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงมีรับสั่งว่า

مَثَلُ الَّذِينَ يُنْفِقُونَ أَمْوَالَهُمْ فِي سَبِيلِ اللَّهِ كَمَثَلِ حَبَّةٍ أَنْبَتَتْ سَبْعَ سَنَابِلَ فِي كُلِّ سُنْبُلَةٍ مِئَةُ حَبَّةٍ وَاللَّهُ يُضَاعِفُ لِمَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ

“อุปมาบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขาในทางของอัลลอฮฺนั้น ดังอุปมัยเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่งที่งอก ขึ้นเป็นเจ็ดรวง ซึ่งในแต่ละรวงนั้นมีจำนวนร้อยเมล็ด และอัลลอฮฺนั้นทรงเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์ทรง ประสงค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้ ”
(อัลบะกอเราะฮฺ : 261)

وَمَا أَنْفَقْتُمْ مِنْ شَيْءٍ فَهُوَ يُخْلِفُهُ وَهُوَ خَيْرُ الرَّازِقِينَ

“และอันใดที่พวกเจ้าบริจาคไป พระองค์จะทรงทดแทนมันให้ และพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ดีเลิศในหมู่ บรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ ”
(สะบะอฺ : 39)

มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَا مِنْ يَوْمٍ يُصْبِحُ الْعِبَادُ فِيهِ إِلَّا مَلَكَانِ يَنْزِلَانِ فَيَقُولُ أَحَدُهُمَا اللَّهُمَّ أَعْطِ مُنْفِقًا خَلَفًا وَيَقُولُ الْآخَرُ اللَّهُمَّ أَعْطِ مُمْسِكًا تَلَفًا

“ไม่มีวันใดที่บ่าวของอัลลอฮฺตื่นขึ้นมาในยามเช้า เว้นแต่จะมีมะลาอิกะฮฺ 2 ท่านลงมา ท่านหนึ่งจะกล่าว ว่า ข้าแด่อัลลอฮฺได้โปรดประทานสิ่งทดแทนแก่ผู้ที่บริจาค อีกท่านหนึ่งจะกล่าวว่า ข้าแด่อัลลอฮฺได้ โปรดหยิบยื่นความพินาศแก่ผู้ที่ไม่ยอมบริจาค ”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 1374 มุสลิม : 1010)

ในสถานการณ์ในปัจจุบันก็มีการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่เดือดร้อนจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอยู่ ตลอด อาทิเช่น บริจาคเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวซีเรีย ปาเลสไตน์ โรฮิงญา เป็นต้น ถือเป็นโอกาสดีที่เรานั้นมี โอกาสได้ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมของเราที่เดือดร้อน ดังนั้นจงฉกฉวยโอกาสทองนี้ เพื่อที่อย่างน้อยจะเป็นคำตอบ ในวันที่อัลลอฮฺจะทรงสอบสวนเราว่า มีทรัพย์สินแล้วเคยบริจาคช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่เดือดร้อนสัก 1 บาทมั้ย ?


การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมให้พ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ

นอกจากว่าเราจะช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมของเราในด้านทรัพย์สินแล้วนั้น เราก็ต้องช่วยเหลือในเรื่องอื่น ๆ ด้วย อาทิเช่น การจัดการธุระต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นลุล่วงไปด้วยดี ช่วยหาทางออกในปัญหาต่าง ๆ ที่เราจะช่วยเหลือได้ เพื่อที่พระองค์อัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือให้เราปลดเปลื้องจากความทุกข์ร้อนต่าง ๆ ในวันกิยามะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงมีรับสั่งว่า

مَنْ يَشْفَعْ شَفَاعَةً حَسَنَةً يَكُنْ لَهُ نَصِيبٌ مِنْهَا

 “บุคคลใดให้ความช่วยเหลืออย่างดี เขามีสิทธิ์ได้รับส่วนดีจากความช่วยเหลือนั้น ”
(อันนิซาอฺ : 85)

มีรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا نَفَّسَ اللهُ عَنْهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَوْمِ اْلقِيَامَةِ ، وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ اللهُ علَيْهِ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ

“ผู้ใดปลดเปลื้องความทุกข์ร้อนอย่างหนึ่งจากความทุกข์ร้อนต่าง ๆ ของโลกนี้ให้แก่ผู้ศรัทธา อัลลอฮฺจะทรงปลดเปลื้องความทุกข์ร้อนอย่างหนึ่งจากความทุกข์ร้อนต่างๆในวันกิยามะฮฺให้แก่เขา และผู้ใดเอื้ออำนวยความสะดวก (ผ่อนปน) ให้แก่ผู้เดือดร้อน (ขัดสน) คนหนึ่ง อัลลอฮฺจะทรงประทาน ความสะดวกง่ายดายแก่เขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ...”
(บันทึกโดยมุสลิม : 2699)


การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่ถูกอธรรมและเป็นผู้อธรรม

มีรายงานจากอนัส อิบนิ มาลิก  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

انْصُرْ أَخَاكَ ظَالِمًا أَوْ مَظْلُومًا فَقَالَ رَجُلٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَنْصُرُهُ إِذَا كَانَ مَظْلُومًا أَفَرَأَيْتَ إِذَا كَانَ ظَالِمًا كَيْفَ أَنْصُرُهُ قَالَ تَحْجُزُهُ أَوْ تَمْنَعُهُ مِنْ الظُّلْمِ فَإِنَّ ذَلِكَ نَصْرُهُ

 “ จงช่วยเหลือพี่น้องของพวกท่านที่เป็นผู้อธรรมหรือถูกอธรรม ดังนั้นเศาะฮาบะฮฺคนหนึ่งก็กล่าวถาม ว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันจะช่วยเหลือเขาหากว่าเขาเป็นผู้ถูกอธรรม ท่านจงบอกฉันเถิด ว่าฉันจะช่วย เหลือเขาอย่างไร หากว่าเขาเป็นผู้อธรรม ? ท่านร่อซูล ตอบว่า : ท่านจงยับยั้งเขา  หรือห้ามเขา จากสื่ง ที่เขาอธรรม ดังกล่าวนั่นแหละคือการช่วยเหลือเขา ”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ  : 6552 ติรมีซียฺ : หมวดที่ว่าด้วยเรื่องฟิตนะฮฺ : 2356)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ชี้แจงให้พวกเราทราบว่า การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมมีทั้งที่ถูกอธรรม หรือเป็นผู้อธรรม พี่น้องชาวปาเลสไตน์ ซีเรีย ชาวโรฮิงญา และที่อื่น ๆ นั้น ถูกอธรรม ฉะนั้นมุสลิมต้องหาทาง ช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

และเช่นเดียวกันก็มีพี่น้องมุสลิมของเราที่เป็นผู้ที่อธรรม ฉะนั้นมุสลิมก็จะต้องห้ามปรามจากความอธรรม ให้ผู้ที่อธรรมนั้นยุติการเป็นศัตรูกันโดยไม่ชอบธรรม ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นจะทรงลงโทษเขาได้หากไม่เลิก ความอธรรม ดังนั้นการห้ามปราบ ยับยั้งผู้ที่อธรรมไม่ให้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮฺนั้น นั่นแหละคือการช่วย เหลือเขา


การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมโดยการต่อต้านศัตรูของอิสลาม

มุสลิมจะต้องไม่เห็นดีเห็นงาม ให้ความร่วมมือ กับศัตรูของอิสลามในทุกรูปแบบ ไม่นำบุคคลเหล่านั้นมาเป็นมิตร หรือเพื่อนพ้อง และหากเราทราบว่าสินค้ายี่ห้อใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้เป็นอาวุธ ในการเฆ่นฆ่า พี่น้องมุสลิม เราต้องเลิกสนับสนุน อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا لَا تَتَّخِذُوا الَّذِينَ اتَّخَذُوا دِينَكُمْ هُزُوًا وَلَعِبًا مِنَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِنْ قَبْلِكُمْ وَالْكُفَّارَ أَوْلِيَاءَ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنِينَ

“บรรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงอย่าได้ยึดเอามาเป็นมิตรผู้ซึ่งถือเอาศรัทธาของพวกเจ้าเป็นการ เย้ยหยัน และเป็นการล้อเล่นจากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนพวกเจ้า และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งหลาย และพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา ” 
(อัล-มาอิดะฮฺ : 57)

وَقَدْ نَزَّلَ عَلَيْكُمْ فِي الْكِتَابِ أَنْ إِذَا سَمِعْتُمْ آَيَاتِ اللَّهِ يُكْفَرُ بِهَا وَيُسْتَهْزَأُ بِهَا فَلَا تَقْعُدُوا مَعَهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا فِي حَدِيثٍ غَيْرِهِ إِنَّكُمْ إِذًا مِثْلُهُمْ إِنَّ اللَّهَ جَامِعُ الْمُنَافِقِينَ وَالْكَافِرِينَ فِي جَهَنَّمَ جَمِيعًا

“และแท้จริง อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้าแล้วในคัมภีร์นั้นว่า เมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโอง การของอัลลอฮฺถูกปฏิเสธศรัทธาและถูกเย้ยหยัน (โดยคนที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม) ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่านั่ง ร่วมกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะพูดคุยกันในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริง  ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว พวกเจ้าก็จะ เหมือนพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรวบรวมบรรดามุนาฟิกและบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไว้ในนรก ญะฮันนัมทั้งหมด ”
(อัน-นิสาอ์ 140)

ส่วนบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไม่ได้รังเกลียด เหยีดหยาม ดูถูกอิสลาม บุคคลเหล่านี้มุสลิมก็สามารถ ที่จะเป็นเพื่อนกับบุคลเหล่านี้ได้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า

لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُمْ مِنْ دِيَارِكُمْ أَنْ تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ

“อัลลอฮฺ  มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความ ยุติธรรมแก่พวกเขา  แท้จริงอัลลอฮฺ  ทรงรักผู้มีความยุติธรรม ”
(อัลมุมตะฮินะฮฺ : 8)

การช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมโดยการขอดุอาอฺ

ถือเป็นพื้นฐานจำเป็นที่มุสลิมจะต้องขอดุอาอฺให้กับพี่น้องมุสลิมที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่ตลอดเวลา เพราะใน ปัจจุบันนั้น มุสลิมนั้นถูกรุกราน อธรรม ข่มเหงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราไม่มีความสามารถที่จะไปช่วยเหลือได้ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องขอดุอาอฺ เพราะเป็นการปฏิบัติได้ทุกที่ ทุกเวลา และเป็นการแสดงออก ถึงความห่วงใย มีความรักให้กับพี่น้องมุสลิมของเรา

สิ่งดังกล่าวนั้นเป็นเพียงแค่บางส่วนในการที่เราจะต้องช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่รับความเดือดร้อนในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราในฐานะที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนนั้น แต่เราเองก็กำลังถูกทดสอบจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่าเมื่อพี่น้องมุสลิมได้รับความเดือดร้อน เราทำสิ่งใดบ้าง เราช่วยเหลือพี่น้องมากน้อยแค่ไหน แน่นอน ถ้าหากว่าเราทำสักหนึ่งอย่าง อาจจะเป็น การช่วยเหลือเงินบริจาค หรือขอดุอาอฺ อย่างน้อยเราก็ยังพอมีคำตอบ ในวันกิยามะฮฺ วันที่เราจะถูกสอบสวนทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น


وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين، ومن تبعهم بإحسان إلى يوم الدين

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ
http://www.warasatussunnah.net

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ



การรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบ ปู เต่า เป็นต้นนั้น นักวิชาการได้มีทัศนะต่าง เป็น 2 ทัศนะ คือ

ทัศนะแรก ถือว่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบกเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในการรับประทาน เนื่องจากเนื้อของมันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ผู้ที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้แก่ มัซฮับชาฟีอีย์

อิบนุลอะรอบี ได้กล่าวว่า
“ทัศนะที่ถูกต้องในเรื่องที่เป็นทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำนั้น เป็นที่ต้องห้ามรับประทาน เพราะมีหลักฐานที่ขัดแย้งกัน 2 อย่าง คือ หลักฐานที่อนุมัติ และหลักฐานที่เป็นที่ต้องห้าม ดังนั้นเราจึงถือว่า หลักฐานที่เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม) มีน้ำหนักกว่า โดยเป็นการเอาเผื่อไว้”

ซึ่งการห้ามรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นเพียงทัศนะของนักวิชาการเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อห้ามที่ได้จากตัวบทของอัลกุรฺอาน หรือหะดีษแต่อย่างใด

ทัศนะที่ 2 ถือว่าสัตว์น้ำไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในน้ำเพียงอย่างเดียวหรืออาศัยอยู่ในน้ำและบนบกเป็นที่อนุญาตให้ทานได้ถ้าหากว่าส่วนใหญ่มันอาศัยอยู่ในน้ำจริง ก็เป็นที่อนุญาต แม้มันจะสามารถอาศัยอยู่บนบกก็ตาม นอกจากที่มีหลักฐานห้ามไม่ให้ฆ่ามัน อย่าง กบ

รายงานจากท่านอับดิรเราะฮฺมาน ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าวว่า

{ أن طبيبا سأل النبي صلى الله عليه وسلم عن ضفدع يجعلها في دواء فنهاه عن قتلها } وروى الإمام أحمد وأبو داود
นายแพทย์คนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เกี่ยวกับกบที่จะเอามาทำเป็นยารักษาโรค แต่ท่านได้ห้ามไม่ให้ฆ่ามัน” (บันทึกหะดิษโดบอบูดาวูด อันนะซาอีย์ และอะห์มัด โดยถือว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
 ***ผู้ที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้แก่ มัซฮับอัลมาลิกียะฮฺ

ดังนั้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างปู ไม่ว่าจะเป็นปูทะเล ปูนา จะอาศัยอยู่ในทะเล ลำคลอง หรือแหล่งน้ำที่อยู่บนภูเขาก็ตาม ก็รับประทานได้ นั้่นรวมถึงการที่นำปูเหล่านี้ไปหมักดอง หรือปูส้ม ก็ไม่มีสาเหตุใด ที่ศาสนาห้ามรับประทาน หากมันไม่เกิดพิษภัย หรือมึนเมาอันเกิดจากหมักดองนั้น และอันเนื่องจากไม่บทบัญญัติห้ามไว้โดยเฉพาะอย่าง กบ นั้นเอง

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
قُل لَّا أَجِدُ فِي مَا أُوحِيَ إِلَيَّ مُحَرَّمًا عَلَىٰ طَاعِمٍ يَطْعَمُهُ إِلَّا أَن يَكُونَ مَيْتَةً أَوْ دَمًا مَّسْفُوحًا أَوْ لَحْمَ خِنزِيرٍ فَإِنَّهُ رِجْسٌ أَوْ فِسْقًا أُهِلَّ لِغَيْرِ اللَّهِ بِهِ فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلَا عَادٍ فَإِنَّ رَبَّكَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ( 145 )
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่พบว่าในสิ่งที่ถูกให้เป็นโองการแก่ฉันนั้น มีสิ่งต้องห้ามแก่ผู้บริโภคที่จะบริโภคมัน นอกจากสิ่งนั้นเป็นสัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออก หรือเนื้อสุกร แท้จริงมันเป็นสิ่งโสมม หรือเป็นสิ่งละเมิด ซึ่งถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ที่มัน ถ้าผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่เป็นผู้แสวงหา และมิใช่ผู้ละเมิด แล้วไซร้ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6: 145)



وَمَا لَكُمْ أَلَّا تَأْكُلُوا مِمَّا ذُكِرَ اسْمُ اللَّهِ عَلَيْهِ وَقَدْ فَصَّلَ لَكُم مَّا حَرَّمَ عَلَيْكُمْ إِلَّا مَا اضْطُرِرْتُمْ إِلَيْهِ وَإِنَّ كَثِيرًا لَّيُضِلُّونَ بِأَهْوَائِهِم بِغَيْرِ عِلْمٍ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِالْمُعْتَدِينَ ( 119 )
“แลมีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? ที่พวกเข้าไม่บริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์ถูกกล่าวบนมัน ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่ง ที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า นอกจากสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความคับขันให้ต้องการ มันเท่านั้น และแท้จริงมีผู้คนมากมายทำให้ผู้อื่นหลงผิดไป ด้วยความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเจ้านั้นคือผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งต่อผู้ละเมิดทั้งหลาย”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6: 119)


أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ وَطَعَامُهُ مَتَاعًا لَّكُمْ وَلِلسَّيَّارَةِ وَحُرِّمَ عَلَيْكُمْ صَيْدُ الْبَرِّ مَا دُمْتُمْ حُرُمًا وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ ( 96 )
"ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล และอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่พวกเจ้า และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่พวกเจ้าครองอิห์รอมอยู่และจงยำเกรงอัลลอฮ์เภิดผู้ที่พวกเจ้าจะถูกรวบรวมนำไปสู่พระองค์"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5:96)


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

สตรีเป็นวะลีย์นิกาห์



อิสลามห้ามสตรีเป็นวะลีย์ทำการนิกาห์ให้หญิงที่จะทำการนิกาห์โดดเด็ดขาด แต่หน้าที่วะลีย์นี้อิสลามได้บัญญัติไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น

รายงานจากท่านญะมีล บิน อัลหะซัน อัลอะตะกีย์ จากท่านมุหัมมัด บินมัรฺวาน อัลอุก้อยลีย์ จากท่านฮิชาม บิน หัซซาน จากท่านมุหัมมัด บินซีรีน จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“สตรีจะนิกาห์ให้สตรีด้วยกันไม่ได้ และสตรีจะนิกาห์ให้ตัวเองก็ไม่ได้ เพราะสตรีที่ซินาก็คือสตรีที่นิกาห์ตัวเอง”(บันทึกหะดิษโดยอัดดารุกุฏนีย์ และท่านอัลบัยฮะกีย์)

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ได้จัดการนิกาห์ชายผู้หนึ่งอันเป็นลูกพี่ชายของท่าน โดยท่านให้มีม่านกั้นในระหว่างพวกเขา แล้วท่านก็กล่าว(อบรม) แก่พวกเขา จนกระทั่งเมื่อไม่มีอื่นใดที่จะต้องทำอีกนอกจากการนิกาห์ ท่านก็ใช้ให้ชายผู้หนึ่งทำการนิกาห์ให้แก่เขา แล้วท่านกล่าวว่า
“การนิกาห์จะมอบให้สตรีทำไม่ได้” (บันทึกหะดิษโดยอับดุรฺรอซซาก หนังสืออัลมุศ็อนนัฟ)

والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานะหะดิษว่าด้วยความประเสร็ฐของสูเราะฮฺยาซีน




           สูเราะฮฺยาซีนเป็นสูเราะฮ์หนึ่งของคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นสูเราะฮฺมักกียะฮฺ สูเราะฮฺที่ 36 มีทั้งหมด 83 อายะฮฺ  ซึ่งมุสลิมในบ้านเรานิยมนำสูเราะฮฺยาซีนมาอ่านในพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา เช่น  พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธียกเสาเอก พิธีอิซ๊กุโบร์ พิธีทำบุญบ้านคนตาย หรือจะเป็นการอ่านสูเราฮฺยาซีนให้แก่ผู้ที่ป่วยหนักใกล้ตาย หรือหลังจากเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ทั้งยังมีการอ่านสูเราะฮฺยาซีนเป็นประจำในคืนวันศุกร์อีกด้วย โดยเข้าใจว่าพิธีกรรมต่างๆที่ปฏิบัติสืบต่อกนมานั้นเป็นแบบฉบับของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม

สำหรับการอ่าน การท่องจำ และการนำสิ่งที่อยู่ในอัลกุรอานนั้นอันรวมถึงสูเราะฮฺยาซีนมาปฏิบัติอย่างเคร่งคลัด ไม่ว่าอายะฮฺใด หรือสูเราะฮฺใดของอัลกุรอาน เป็นสิ่งจำเป็นต่อมุสลิมทุกคน ดั่งเช่นบรรดาเศาะหาบะฮฺ และชนรุ่นก่อนกระทำกันมา  ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวเอาไว้ว่าผู้ที่อ่าน 1 ตัวอักษรจากคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้นั้นพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา จะตอบแทน 1 ความดี ซึ่ง 1 ความดี เท่ากับ 10 ความดี ดังหะดิษที่รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของมัสอูด เล่าว่า
บุคคลใดที่อ่านหนึ่งตัวอักษรจากคัมภีร์อัลกุรอาน สำหรับเขาจะได้หนึ่งความดี ซึ่งหนึ่งความดีเท่ากับสิบความดี ฉันไม่ได้กล่าวว่า อลิฟลามมีม หนึ่งตัวอักษร แต่ทว่า อลิฟ (เท่ากับ) หนึ่งตัวอักษร ลาม หนึ่งตัวอักษร และมีม หนึ่ง อักษร (บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 2835)
ดังนั้นมุสลิมคนใดอ่านเพียง 1 อักษร จากสูเราะฮฺยาซีน เขาผู้นั้น พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา จะตอบแทน 1 ความดี และ 1 ความดี เท่ากับ 10 ความดี เหมือนอย่างที่เขาอ่านอักษรหนึ่งอักษรใดในสูเราะฮฺอื่นๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน

แต่สำหรับการนำสูเราะฮฺยาซีนมาอ่านเป็นหมู่คณะหรือปัจเจกชน เป็นการเฉพาะเจาะจงเวลา และสถานที่เป็นพิธีกรรมต่างๆ หรือนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานถึงผลบุญหรือความประเสริฐของการอ่านสูเราะฮ์ยาซีนนั้น จำต้องอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน หรือหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ จึงจะนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงเป็นบทบัญญัติศาสนาได้ 

แต่จากการตรวจสอบหะดิษที่กล่าวถึงผลบุญมากมายหรือความประเสร็ฐของการอ่านสูเราะฮฺยาซีนของนักวิชาการศาสนา กลับไม่พบหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺที่กล่าวถึงเรื่องนี้สักบทเดียว แต่กลับเป็นหะดิษที่มีสถานะเฎาะอิฟและเมาฎัวอฺทั้งสิ้น ซึ่งขอนำเสนอหะดิษที่กล่าวถึงผลบุญหรือความประเสร็ฐของการอ่านสูเราะฮฺยาซีนพร้อมสถานะและสาเหตุ ดังจะกล่าวต่อไปนี้


วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วิพากษ์อบูสะละฟีย์




    หลังจากที่ได้นำเสนอตัวอย่างหลักฐานจำนวนมากมายที่ยืนยันว่า อัลลอฮทรงอยู่สูงเหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวลแล้วนั้น เราจะขอวิพากษ์ต่องานเขียนของอบูสะละฟีย์ ในหัวข้อที่มีชื่อว่า “วิพากษ์หลักเชื่อมั่นในเรื่องพระเจ้าของพวกวะฮฺฮาบีย์สะละฟีย์” เนื้อหาสำคัญก็คือ เขายืนยันว่า อัลลอฮทรงมีอยู่โดยปราศจากที่ประทับ หมายความว่า เขาปฏิเสธความเชื่อที่ว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าด้วยกับข้อโต้แย้ง(เหตุผล)บางประการที่เขาได้นำเสนอขึ้นมา

วิพากษ์หนึ่ง

    หนึ่งในคำโต้แย้งของอบูสะละฟีย์ ก็คือ เขาปฏิเสธความถูกต้อง(เศาะฮีหฺ)ของหะดีษญาริยะฮฺ หมายถึง หะดีษที่รายงานโดยท่านมุอาวิยะฮฺ บิน อัล-หะกัม อัส-สุลัยมีย์ ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ถามทาสของเขาว่า อัลลอฮอยู่ที่ไหน? โดยอ้างว่า หะดีษดังกล่าวนี้ มุฎเฏาะริบ(หมายถึง หะดีษที่รายงานจากหลายสายรายงานและแต่ละสายรายงานนั้น ความเข้มแข็งอยู่ในระดับเดียวกัน โดยไม่สร้างที่จะรวมหรือเสริมความเข็มแข็งให้แก่กันได้) จนกระทั่งได้กล่าวว่า คำถามที่ว่า อัลลอฮอยู่ที่ไหน? นั้น ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แต่เป็นส่วนเพิ่มเติมจากผู้รายงาน!
    สำหรับคำตอบนั้น แม้ว่าเราอยากจะชี้แจ้งถึงมุฎเฏาะริบที่เขาได้ตั้งข้อกังขาไว้ก็ตาม แต่เพื่อความรวบรัดของการวิพาก์นี้ เราขอตอบเพียงว่า หากหะดีษญาริยะฮฺที่ถามว่าอัลลอฮอยู่ที่ไหนนั้นเป็นหะดีษเฎาะอีฟ งั้นก็เก็บมันไหวเถิด แต่จะว่าอย่างไรกับหลักฐานอื่นๆ ทั้งจากอัล-กุรอานและหะดีษของท่านนบี ที่บ่งชี้อย่างชัดเจนที่สุดว่าอัลลอฮทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้าง? จะเอาหลักฐานพวกนี้ไปไว้ที่ไหน? หรือว่าต้องถูกตีความอีก?

วิพากษ์สอง

    เขายังกล่าวอีกว่า “ความเชื่อที่ว่าอัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้านั้น คือ ความเชื่อของฟิรเอานฺ ซึ่งอัล-กุรอานได้แฉเอาไว้ อัลลอฮทรงตรัสว่า

.وَ قالَ فِرْعَوْنُ يا هامانُ ابْنِ لي صَرْحاً لَعَلِّي أَبْلُغُ الْأَسْبابَ * أَسْبابَ السَّماواتِ فَأَطَّلِعَ إِلى إِلهِ مُوسى وَ إِنِّي لَأَظُنُّهُ كاذِباً وَ كَذلِكَ زُيِّنَ لِفِرْعَوْنَ سُوءُ عَمَلِهِ وَ صُدَّ عَنِ السَّبيلِ وَ ما كَيْدُ فِرْعَوْنَ إِلاَّ في تَبابٍ .

และฟิรเอานฺกล่าวว่า โอ้ฮามานเอ๋ย! จงสร้างหอสูงให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่จะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่ชั้นฟ้าทั้งหลาย เพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก เช่นนั้นแหละ การงานที่ชั่วช้าของเขาได้ถูกทำให้เพริศแพร้วแก่ฟิรเอานฺ และเขาถูกปิดกั้นจากแนวทาง (ของอัลลอฮ) และแผนการของฟิรเอานฺนั้นมิใช่อื่นนอกจากอยู่ในความหายนะ(สูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 36-37)”

    นี่เป็นการอรรถธิบายจากไหนกัน? มิใช่ว่าฟิรเอานฺหรอกหรือที่ปฏิเสธความเชื่อของนบีมูซาที่เชื่อว่าอัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า? ดังนั้น แท้จริงแล้ว ฟิรเอานฺต่างหากที่ปฏิเสธการอยู่เหนือชั้นฟ้าของอัลลอฮ แล้วไปเอามาจากไหนกันว่า นั่นคือความเชื่อของฟิรเอานฺ? แท้จริง นี่คือการใส่ร้ายที่หามีหลักฐานรองรับไม่! เขาไม่ได้ชี้หลักฐานสำหรับข้อใส่ไคล้นั้นเลย แต่เขาเข้าใจผิดอย่างมหันต์ อีกทั้งห่างไกลจากความเข้าใจอุละมาอ์ผู้ยิ่งใหญ่ ดั่งเช่นท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ อัล-หะนะฟีย์ ด้วย!!

    ลองพิจารณาคำกล่าวของท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ เกี่ยวกับอายะฮฺดังกล่าวอีกครั้ง ท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ กล่าวว่า “พวกญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาต(อาตมัน)ของอัลลอฮนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาคือผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ ส่วนผู้ที่ยืนยัน(เชื่อ)ในการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาตของอัลลอฮนั้น พวกเขาคือผู้เจริญรอยตามท่านนบีมูสาและเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านนบีมุหัมมัด” และก่อนหน้านี้ ท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ ก็ได้กล่าววา “ฟิรเอานฺนั้นปฏิเสธมูซาที่บอกว่า พระเจ้าของเขาอยู่เหนือชั้นฟ้า”[16]

    ท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า

كَذَّبَ مُوسَى فِي قَوْلِهِ إنَّ اللَّهَ فَوْقَ السَّمَوَاتِ

“ฟิรเอานฺปฏิเสธมูซา ที่กล่าวว่า แท้จริง อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า”[17]

    ถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านก็ลองพิจารณาดูเถิดว่า ใครกันแน่ที่เป็นผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ!!

    เพื่อมิให้ตอนที่สองนี้ยาวเกินไป เราจะนำเสนอประเด็นต่างๆต่อไปในตอนที่สาม ยังมีชุบฮาตอีกมากมายที่จำเป็นต้องตอบโต้ ซึ่งเราจะคลี่คลายออกมาในตอนต่อไป ในตอนที่สามนั้น อินชาอัลลอฮ เราจะนำเสนอความเชื่อของบรรดาเศาะหาบะฮฺ , บรรดาอุละมาอ์มัซฮับ และอุละมาอ์คนอื่นๆที่สนับสนุน(ยืนยัน)ความเชื่อที่ว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งมวล

   ขออัลลอฮทรงประทานความง่ายดายในการนำเสนอต่อไป อัลลอฮเท่านั้นคือผู้ทรงประทานเตาฟีก


________________________________________
[1]  ดู มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา , อะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ , 5/121 , ดารุล วะฟาอ์ , พิมพ์ครั้งที่ 3 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1426 และดูใน บะยานุ ตัลบีสิล ญะฮฺมียะฮฺ , อะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ , 1/555 , มัฏบะอะตุล หุกูมะฮฺ , พิมพ์ครั้งที่ 1 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1392
[2]  ดู ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ , อิบนุ อบิลอิซซฺ อัล-หะนะฟีย์ , คำนิยมโดย ดร.อับดุลลอฮ บิน อับดุลมุหฺสิน อัต-ตุรกีย์ และชุอัยบฺ อัล-อัรเนาษฺ , 2/437-442 , มุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ , พิมพ์ครั้งที่ 2 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1421
[3] บันทึกโดยอัล-หากิม , ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่า หะดีษนี้เศาะฮีหฺ ใน สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะหีหะฮฺ หมายเลขที่ 871
[5]  ฟัยดุล เกาะดีร ชัรหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีร , อัล-มุนะวีย์ , 1/184 , เมากิอฺ ยะอฺสูบ
[6]  บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขที่ 772
[7]  บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขที่ 3194 และมุสลิม หมายเลขที่ 2751
[8]  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลขที่ 4941 และอัต-ติรมีซีย์ หมายเลขที่ 1924 ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่า หะดีษนี้เศาะฮีหฺ
[9]  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลขที่ 1488 ชัยคฺ อัล-อัลบานีนย์กล่าวไว้ใน เศาะฮีหฺ วะ เฎาะอีฟ สุนัน อบีดาวูด ว่า หะดีษนี้เศาะฮีหฺ
[10]  บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขที่ 1145 และมุสลิม หมายเลขที่ 758
[11]  บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขที่ 1218
[12]  บันทึกโดยอะหฺมัด 5/447 , มาลิกในอัล-มุวัฏฏออ์ 666 , มุสลิม 537 , อบูดาวูด 3282 , อัน-นะสาอีย์ ในอัล-มุจญ์ตะบา 3/15 , อิบนุ คุซัยมะฮฺ 178-180 , อิบนุ อบีอาศิม ในอัส-สุนนะฮฺ 1/215 , อัล-ละลิกะอีย์ ในอุศูล อะฮฺลิสสุนนะฮฺ 3/392 , อัซ-ซะฮะบีย์ ในอัล-อุลุวฺ 81
[13]  มุคตะศ็อร อัล-อุลุวฺ , ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ , อัซ-ซะฮะบีย์ , ตรวจทานโดย ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ , หน้า 81 , อัล-มักตับ อัล-อิสลามีย์ , พิมพ์ครั้งที่ 2 , 1412
[14]  ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ 2/441
[15]  หะดีษ มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม
[16]  ดู ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ 2/441
[17]  มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา 3/225

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

โดย มุหัมมัด อับดุฮฺ ตัวสิกัล
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

1,000หลักฐานบ่งชี้ว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล




    มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ การสถาพรและความศานติมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮ และครอบครัวของท่าน และเศาะหาบะฮฺของท่าน และผู้ปฏิบัติตามพวกท่านด้วยความดีงาม จวบจนวันกิยามะฮฺ

    ต่อไปนี้ เราจะนำเสนอหลักฐานต่างๆที่กล่าวว่า อัลลอฮทรงประทับอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งหมด เพื่อเป็นการตอบโต้อบูสะละฟีย์ที่สร้างความสงสัยและเคลือบแคลงใจแก่ความเชื่อเช่นนี้ โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดช่วยเหลือข้าพระองค์ให้ได้รับความพึงพอพระทัยจากพระองค์ด้วย

อุละมาอ์คนสำคัญของมัซฮับชาฟิอีย์ระบุว่ามีหลักฐาน 1,000 ชิ้น

    มากมายเหลือเกินผู้ที่อ้างตนเป็นชาฟิอิยยะฮฺ(ผู้ปฏิบัติตามมัซฮับชาฟิอีย์) แต่กลับห่างไกลเหลือเกินจากอะกีดะฮฺ-หลักความเชื่อที่บรรดาอุละมาอ์ชาฟิอิยยะฮฺยึดถือกัน โปรดพิจารณาสิ่งที่ท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ นำเสนอต่อไปนี้ให้ดี

قَالَ بَعْضُ أَكَابِرِ أَصْحَابِ الشَّافِعِيِّ : فِي الْقُرْآنِ " أَلْفُ دَلِيلٍ " أَوْ أَزْيَدُ : تَدُلُّ عَلَى أَنَّ اللَّهَ تَعَالَى عَالٍ عَلَى الْخَلْقِ وَأَنَّهُ فَوْقَ عِبَادِهِ . وَقَالَ غَيْرُهُ : فِيهِ " ثَلَاثُمِائَةِ " دَلِيلٍ تَدُلُّ عَلَى ذَلِكَ

“อุละมาอ์คนสำคัญของมัซฮับชาฟิอีย์บางส่วนกล่าวว่า ในอัล-กุรอานพบ 1,000 หลักฐานหรือมากกว่านั้นที่บ่งชี้ว่า อัลลอฮทรงประทับอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล และส่วนหนึ่งของพวกเขากล่าวว่า มี 300 หลักฐานที่ชี้ชัดถึงเรื่องนี้”[1]

    จำนวนมากจริงๆที่อ้างต้นเป็นชาฟิอิยยะฮฺ แต่กลับปฏิเสธ เมื่อ(มีหลักฐาน)ปรากฏชัดว่า อัลลอฮทรงประทับอยู่ข้างบน ทั้งๆที่ความเชื่อนี้ได้รับการสนับสนุนด้วย 1,000 หลักฐาน น่าแปลกใจจริงๆ!

หลักฐานที่เข้มแข็งจากอัล-กุรอานและหะดีษอัน-นะบะวีย์

    ต่อไปนี้ เราจะได้พบกับหลักฐานต่างๆที่เราได้นำมาจากการนำเสนอของท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ อัล-หะนะฟีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ ในชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวิยะฮ�“หลักฐานต่างๆที่ชัดเจนชี้ชัดว่าอัลลอฮทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล หลักฐานต่างๆเหล่านี้มีมากจนอาจจะถึง 20 ชนิดหลักฐาน”[3]
   
    นี่เพียงแค่ชนิดของหลักฐานที่บ่งชี้การอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งหมดของอัลลอฮเท่านั้น ยังไม่รับจำนวนหลักฐานจากชนิดของหลักฐานดังกล่าวเลย หากชนิดหลักฐานดังกล่าวได้ถูกแจกแจงรายละเอียดแล้ว ก็อาจจะได้จำนวน 1,000 หลักฐานดังที่อุละมาอ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ข้างต้นเป็นแน่ ต่อจากนี้ เราจะนำเสนอชนิดของหลักฐานที่ท่านอิบนุ อบิลอิซซฺ ได้กล่าวไว้ และเราเพิ่มเติม(นำเสนอ)ตัวอย่างหลักฐานด้วย หวังว่าสิ่งนี้จะช่วยเปิดหัวใจแก่เจ้าของบล๊อกอบูสะละฟีย์ที่คอยสร้างความสับสันในเรื่องนี้

    หนึ่ง    หลักฐานชัดแจ้งที่ชี้ชัดว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างบน โดยการใช้คำว่า “เฟากอ” และนำหน้าด้วยคำว่า “มิน” เช่นดำรัสของอัลลอฮที่ว่า

يَخَافُونَ رَبَّهُم مِّن

พวกเขากลัวพระเจ้าของพวกเขา ที่อยู่เหนือพวกเขา
(สูเราะฮฺอัน-นะหลฺ 16 : 50)

    สอง   หลักฐานชัดเจนที่บอกว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างน ด้วยการใช้คำว่า “เฟากอ” โดยไม่มีคำว่า “มิน” นำหน้า เช่น อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

وَهُوَ الْقَاهِرُ فَوْقَ عِبَادِهِ

และพระองค์คือผู้ทรงอำนาจ อยู่เหนือปวงบ่าวของพระองค์
(สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6 : 18 , 61)

    สาม   หลักฐานชัดแจ้งที่บอกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นไปยังพระองค์ ด้วยการใช้คำว่า “ตะอฺรุญู” เช่น ดำรัสของอัลลอฮ ที่ว่า

تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ

มลาอิกะฮฺและอัร-รูหฺ(ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์
(สูเราะฮฺอัล-มะอาริจญ์ 70 : 4)

    สี่   หลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นไปยังพระองค์ ด้วยการใช้คำว่า “เศาะอะดา-ยัศอะดู” นี่ย่อมบ่งชี้ว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างบนและเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะทรงอยู่ข้างล่างเช่นเดียวกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังเช่นที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า

إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ

คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์
(สูเราะฮฺฟาฏิร 35 : 10)

    และยังมีตัวอย่างจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากท่านอิบนุอุมัร ท่านเราะสูลกล่าวว่า

اِتَّقُوْا دَعْوَةَ المَظْلُوْمِ فَإِنَّهَا تَصْعُدُ إِلَى اللهِ كَأَنَّهَا شَرَارَةٌ

“จงระวังการวิงวอนขอของผู้ถูกอธรรม (เพราะ)คำวิงวอนนั้นจะขึ้นไปยังอัลลอฮดังเช่นประกายไฟ�“ดั่งเช่นประกายไฟ” คือ ถึงอย่างรวดเร็ว เพราะนี่คือดุอาอ์ของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์คับขัน(ต้องการอย่างเร่งด่วน)[5]

    ห้า   หลักฐานชัดเจนที่ชี้ชัดว่า สิ่งถูกสร้างบางอย่างถูกยกขึ้นไปยังพระองค์ ด้วยการใช้คำว่า “เราะฟะอา” สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกยกขี้นไปยังอัลลอฮ ย่อมบ่งชี้ว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างบน

    อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

بَلْ رَفَعَهُ اللَّهُ إِلَيْهِ

หามิได้ อัลลอฮได้ทรงยกเขา (อีซา) ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก
(สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ 4 : 158)

    เช่นกัน อัลลอฮทรงตรัสว่า

إِذْ قَالَ اللَّهُ يَا عِيسَى إِنِّي مُتَوَفِّيكَ وَرَافِعُكَ إِلَيَّ

จงลำลึกถึงขณะที่อัลลอฮ ตรัสว่าโอ้อีซา! ข้าจะเป็นผู้รับเจ้าไปพร้อมด้วยชีวิตและร่างกายของเจ้า และจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้า
(สูเราะฮฺอาลิ อิมรอน 3 : 55)

    ห้า   หลักฐานชัดเจนที่กล่าวว่า อัลลอฮทรง “อุลุวฺ” อย่างแน่นอน. ความ อุลุวฺ ของอัลลอฮนี้ หมายถึงความสูงส่งในเชิงซาต(หมายถึง อาตมันของอัลลอฮทรงอยู่ข้างบนเหนือทุกสรรพสิ่ง) ส่วนคำว่า ก็อดรฺ หมายถึง อัลลอฮทรงสูงส่งในความประสงค์ของพระองค์ และคำว่า ชัรฟฺ หมายถึง อัลลอฮทรงสูงส่งในคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ ดังที่อัลลอฮทรงตรัสไว้ว่า

وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ

และพระองค์ทรงสูงส่ง อีกทั้งทรงยิ่งใหญ่
(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : 255)

และเช่นเดียวกัน ในอายะฮฺ

وَهُوَ الْعَلِيُّ الْكَبِيرُ

และพระองค์เป็นผู้ทรงสูงสุด ผู้ทรงยิ่งใหญ่
(สูเราะฮฺสะบะอ์ 34 : 23)

إِنَّهُ عَلِيٌّ حَكِيمٌ

ท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงปรีชาญาณ
(สูเราะฮฺอัช-ชูรอ 42 : 51)

    และบ่อยครั้งที่เรากล่าวซิกรฺขณะสุญูดว่า

سُبْحَانَ رَبِّىَ الأَعْلَى

มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ผู้ทรงสูงส่� “สูงส่ง-สูงสุด” นี้ คือส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่บ่งชี้ว่า อาตมันของอัลลอฮนั้นทรงสูงส่ง หมายถึง อัลลอฮทรงอยู่ข้างบน

    เจ็ด   หลักฐานที่กล่าวว่า อัล-กิตาบ(อัล-กุรอาน)ถูกประทานลงมาจากพระองค์ สิ่งหนึ่งที่ถูกประทานลงมา ย่อมมาจากข้างบนสู่ข้างล่าง อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า

تَنْزِيلُ الْكِتَابِ مِنَ اللَّهِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ

คัมภีร์นี้เป็นการประทานลงมาจากอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ
(สูเราะฮฺอัซ-ซุมัร 39 : 1)

تَنْزِيلُ الْكِتَابِ مِنَ اللَّهِ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ

คัมภีร์นี้เป็นการประทานลงมาจากอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้
(สูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 2)

تَنْزِيلٌ مِنَ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

(อัลกุรอานนี้) เป็นการประทานลงมาจากพระผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
(สูเราะฮฺฟุศศิลัต 41 : 2)

تَنْزِيلٌ مِنْ حَكِيمٍ حَمِيدٍ

เป็นการประทานจากพระผู้ทรงปรีชาญาณผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ
(สูเราะฮฺฟุศศิลัต 41 : 42)

قُلْ نَزَّلَهُ رُوحُ الْقُدُسِ مِنْ رَبِّكَ بِالْحَقِّ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด วิญญาณบริสุทธิ์ได้นำมัน(โองการอัลกุรอาน)ลงมาจากพระเจ้าของเจ้าด้วยความจริง
(สูเราะฮฺอัน-นะหลฺ 16 : 102)

إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِينَ

แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน
(สูเราะฮฺอัด-ดุคอน 44 : 3)

    แปด   หลักฐานชัดเจนที่ชี้ชัดเป็นการเฉพาะว่า สิ่งถูกสร้างบางชนิดมีอยู่ ณ ที่พระองค์ และสิ่งนี้ย่อมบ่งชี้ว่า สิ่งถูกสร้างบางชนิดอยู่ใกล้ชิดอัลลอฮมากกว่าสิ่งถูกสร้างชนิดอื่น เช่นในดำรัสของอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ว่า

إِنَّ الَّذِينَ عِنْدَ رَبِّكَ

แท้จริงบรรดา ผู้ที่อยู่ที่พระเจ้าของเจ้านั้น...
(สูเราะฮฺอัล-อะอฺร็อฟ 7 : 206)

    และเช่นเดียวกัน ในดำรัสของอัลลอฮ ที่ว่า

وَلَهُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَمَنْ عِنْدَهُ

และเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และผู้ที่อยู่ ณ ที่พระองค์(หมายถึง มลาอิกะฮฺ)
(สูเราะฮฺอัล-อัมบิยาอ์ 21 : 19)

    ดูอายะฮฺเหล่านี้สิ อัลลอฮได้สร้างความแตกต่างระหว่างคำว่า “ละฮู มัน...” ที่บ่งชี้ถึงการครอบครองทั้งหมดของอัลลอฮ(คือ อยู่กับอัลลอฮทั้งหมด) และคำว่า “มัน อินดะฮู...” ซึ่งบอกว่ามลาอิกะฮฺและบ่าวของพระองค์อยู่ ณ ที่พระองค์เป็นการเฉพาะ

    อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ คำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า

لَمَّا قَضَى اللَّهُ الْخَلْقَ كَتَبَ فِى كِتَابِهِ ، فَهْوَ عِنْدَهُ فَوْقَ الْعَرْشِ إِنَّ رَحْمَتِى غَلَبَتْ غَضَبِى

“ครั้นที่อัลลอฮทรงกำหนดแก่สิ่งถูกสร้างของพระองค์นั้น พระองค์ทรงบันทึกลงในบันทึกของพระองค์ ซึ่งมันอยู่เหนือบัลลังก์ ว่า : แท้จริง ความเมตตาของข้ามาก่อนความโกรธกริ้วของข้า�เก้า   หลักฐานชัดเจนที่กล่าวว่า “อัลลอฮ ฟิส สะมาอ์” สำหรับอะฮฺลิสสุนนะฮฺแล้ว ความหมายของคำว่า “ฟิส สะมาอ์” ในที่นี้มีสองความหมาย

    1-คำว่า “ฟี” ในที่นี้หมายถึง “อะลา” หมายถึง อยู่เหนือ/อยู่ข้างบน คำว่า “ฟิส สะมาอ์” จึงหมายถึง อยู่เหนือฟากฟ้า
    2-คำว่า “สะมาอ์” ในที่นี้หมายถึง อัล-อุลุวฺ(ความสูง) คำว่า “ฟิส สะมาอ์” ก็จะหมายถึง อยู่ที่สูง

    ทั้งสองความหมายข้างต้นนั้นมิได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด และอย่าใดเข้าใจว่า คำว่า “ฟิส สะมาอ์” หมายถึง ทรงอยู่ในฟากฟ้า ดังที่คนบางกลุ่มเข้าใจ คำว่า “ฟิส สะมาอ์” นั้นมีความหมายเป็นไปตามที่เราได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น

    ตัวอย่างหลักฐานดังกล่าว ก็คือคำตรัสของอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ที่ว่า

أَأَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ أَنْ يَخْسِفَ بِكُمُ الْأَرْضَ فَإِذَا هِيَ تَمُورُ

พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ จากการที่พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้า(หมายถึง ทรงสถิตอยู่เหนือฟากฟ้า)จะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าแล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว
(สูเราะฮฺอัล-มุลกฺ 67 : 16)

    และในหะดีษ

الرَّاحِمُونَ يَرْحَمُهُمُ الرَّحْمَنُ ارْحَمُوا أَهْلَ الأَرْضِ يَرْحَمْكُمْ مَنْ فِى السَّمَاءِ

“ผู้ที่เมตตาจะได้รับความเมตตาจากผู้ทรงเมตตา (ดังนั้น)จงเมตตาต่อชาวโลกเถิด (แล้ว)แล้วผู้ที่อยู่ ณ ฟากฟ้า(อัลลอฮ)ก็จะเมตตาพวกท่าน�สิบ   หลักฐานชัดเจนที่กล่าวว่า อัลลอฮทรง อิสตะวา(ประทับ)บนอรัช. อรัช-บัลลังก์ คือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮที่อยู่สูงที่สุด ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่นในอายะฮฺที่ว่า

الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى

ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
(สูเราะฮฺฏอฮา 20 : 5)


    สิบเอ็ด   หลักฐานที่บ่งชี้ว่า บัญญัติให้ยกมือเมื่อขอดุอาอ์ ดังคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

إِنَّ رَبَّكُمْ تَبَارَكَ وَتَعَالَى حَيِىٌّ كَرِيمٌ يَسْتَحْيِى مِنْ عَبْدِهِ إِذَا رَفَعَ يَدَيْهِ إِلَيْهِ أَنْ يَرُدَّهُمَا صِفْرًا

“แท้จริง พระผู้อภิบาลของพวกท่าน ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ทรงละเอียดและมีเกียรติยิ่ง พระองค์ทรงละอายต่อปวงบ่าวของพระองค์ เมื่อบ่าวยกมือ(วิงวอนขอ)ต่อพระองค์ แล้วพระองค์ก็ทรงคืนแก่มัน(มือทั้งสอง)ในสภาพที่ว่างเปล่า�สิบสอง   หลักฐานที่บอกว่า อัลลอฮทรงเสด็จลงมายังชั้นฟ้าแห่งดุนยาในทุกค่ำคืน ทุกคนรับทราบว่า การลงมา ก็คือ การมาจากที่ข้างบนสู่ข้างล่าง ในเรื่องนี้ มีระบุอยู่ในหะดีษมุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ ว่า

يَنْزِلُ رَبُّنَا تَبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا حِينَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَقُولُ مَنْ يَدْعُونِى فَأَسْتَجِيبَ لَهُ مَنْ يَسْأَلُنِى فَأُعْطِيَهُ مَنْ يَسْتَغْفِرُنِى فَأَغْفِرَ لَهُ

“พระผู้อภิบาลของเรา ตะบาเราะกะ วะตะอาลา จะเสด็จลงมาในทุกค่ำคืนยังชั้นฟ้าดุนยา  จงกระทั่งเมื่อเหลือเวลาหนึ่งในสามของช่วงท้ายของกลางคืน พระองค์จะตรัสว่า : ผู้ใดก็ตามที่วิงวอนต่อข้า ข้าจะตอบรับเขา ผู้ใดก็ตามขอจากข้า ข้าจะให้เขา ใครก็ตามที่ขออภัยโทษจากข้า ข้าจะอภัยให้เขา�สิบสาม      แสดงสัญลักษณ์ด้วยการชี้ไปยังท้องฟ้า ซึ่งบ่งบอกว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างบน ดังที่มีปรากฏในรายงานของมุสลิทในหะดีษที่ยาว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้เมื่อผู้คนได้รวมตัวกันอย่างมากมาย ในวันที่ประเสริฐ และในสถานที่ที่ประเสริฐ

قَالُوا نَشْهَدُ أَنَّكَ قَدْ بَلَّغْتَ وَأَدَّيْتَ وَنَصَحْتَ. فَقَالَ بِإِصْبَعِهِ السَّبَّابَةِ يَرْفَعُهَا إِلَى السَّمَاءِ وَيَنْكُتُهَا إِلَى النَّاسِ « اللَّهُمَّ اشْهَدِ اللَّهُمَّ اشْهَدْ ». ثَلاَثَ مَرَّاتٍ

ผู้คนที่มาชุมนุมกล่าวว่า “เราเป็นพยานว่า ท่านได้ทำการเผยแพร่ ปฏิบัติ และมอบคำตักเตือนแล้ว” ท่าน(นบี)จึงกล่าวพร้อมกับชี้นิ้วชี้ของท่านไปยังฟากฟ้า ว่า “โอ้อัลลอฮ โปรดเป็นพยาน โอ้อัลลอฮ โปรดเป็นพยาน” (ท่านกล่าวสามครั้ง)[11]


    สิบสี่   หลักฐานที่กล่าวว่า “อัยนัลลอฮ-อัลลอฮอยู่ที่ไหน?” ตัวอย่างคือ หลักฐานจากหะดีษที่รายงานโดยท่านมุอาวิยะฮฺ บิน อัล-หะกัม อัส-สุลัยมีย์ ด้วยสำนวนของมุสลิม
    ฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามทาสของฉันคนนี้ว่า

أَيْنَ اللَّهُ

“อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”

เขาตอบว่า

فِى السَّمَاءِ

“อยู่เหนือฟากฟ้า”

    แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” ทาสของฉันตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ”
    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ

“ปล่อยเขาให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงเขาคือผู้ศรัทธา”[12]

    อิมามอัซ-ซะฮะบีย์ กล่าวว่า “นี่คือความเห็นของฉัน ว่า ผู้ใดก็ตามที่ถูกถามว่า อัลลอฮอยู่ที่ไหน? ก็จะถูกฉายภาพให้แก่เขาด้วยธรรมชาติของเขาว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า ในรายงานนี้มี 2 เรื่องสำคัญ คือ [1]อนุญาตให้คนๆหนึ่งถามว่า ‘อัลลอฮอยู่ที่ไหน?’ แล�
    แล้วท่านอัซ-ซะฮะบีย์ ก็กล่าวว่า “ผู้ใดปฏิเสธสองสิ่งนี้ หมายความว่า เขาได้สิ่งที่สวนทางท่านมุศเฏาะฟา(ท่านนบีมุหัมมัด) ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม”[13]


    สิบห้า   หลักฐานที่กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยืนยันความถูกของคนที่กล่าวว่า พระผู้อภิบาลของเขาอยู่เหนือฟากฟ้า และท่านกล่าวว่า คนดังกล่าวคือผู้ศรัทธา ตัวอย่างก็คือ หะดีษที่กล่าวไว้ในข้อที่สิบสี่ข้างต้น


    สิบหก   หลักฐานที่บอกว่า อัลลอฮทรงเล่าถึงฟิรเอานฺใช้บันไดที่ขึ้นไปสู่ท้องฟ้าเพื่อมองดูพระเจ้าของมูซา แล้วฟิรเอานฺก็ปฏิเสธของความเชื่อของมูซาเกี่ยวกับการมีอยู่ของอัลลอฮเหนือฟากฟ้า อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

وَقَالَ فِرْعَوْنُ يَا هَامَانُ ابْنِ لِي صَرْحًا لَعَلِّي أَبْلُغُ الْأَسْبَابَ (36) أَسْبَابَ السَّمَاوَاتِ فَأَطَّلِعَ إِلَى إِلَهِ مُوسَى وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ كَاذِبًا

และฟิรเอานฺกล่าวว่า โอ้ฮามานเอ๋ย! จงสร้างหอสูงให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่จะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่ชั้นฟ้าทั้งหลาย เพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริง ฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก
(สูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 36-37)

    อิบนุ อบิลอิซซฺ กล่าวว่า “พวกญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาต(อาตมัน)ของอัลลอฮนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาคือผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ ส่วนผู้ที่ยืนยัน(เชื่อ)ในการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาตของอัลลอฮนั้น พวกเขาคือผู้เจริญรอยตามท่านนบีมูสาและเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านนบีมุหัมมัด”[14]


    สิบเจ็ด   เรื่องราวที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เล่าไว้ว่า ท่านได้พบเจอกับนบีมูซา อะลัยฮิสลาม และพระองค์อัลลอฮ ครั้นเหตุการณ์อิสรออ์ มิอฺร็อจญ์ ขณะนั้นท่านต้องการขอลดเวลาการละหมาด ท่านจึงขึ้นไปหาอัลลอฮและกลับมายังนบีมูซาอีกครั้ง(ซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งเวลาการละหมาดลดลงเหลือ 5 เวลาจาก 50 เวลา-ผู้แปล)[15]
    เหตุการณ์อิสรออ์ มิอฺร็อจญ์ นี้ชี้ชัดมากกว่า อัลลอฮทรงอยู่ข้างบน


    สิบแปด   มีรูปแบบที่แตกต่างมากมายของหลักฐานจากอัล-กุรอานและอัส-สุนนะฮฺที่บ่งชี้ว่า ชาวสวรรค์จะมองเห็นอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา. ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ฉายภาพให้เห็นว่า ชาวสวรรค์จะมองเห็นอัลลอฮ ดั่งที่พวกเขามองเห็นดวงจันทร์ในคืนจันทร์เพ็ญ โดยปราศจากเมฆบดบัง ชาวสวรรค์มองเห็นอัลลอฮ และอัลลอฮทรงอยู่เหนือพวกเขา

    ดังกล่าวนี้ คือ ตัวอย่างรูปแบบหลักฐานที่ยืนยันว่า อัลลอฮทรงอยู่สูงเหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล และมิได้อยู่ทุกๆที่ ดังที่คนบางกลุ่มได้สร้าง(และเผยแพร่)ความสับสันและคลางแคลงใจ

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

โดย มุหัมมัด อับดุฮฺ ตัวสิกัล
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

ความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ





    มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และการสถาพรและความศานติมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮ และแด่ครอบครัวของท่าน และเศาะหาบะฮฺของท่าน และบรรดาผู้ปฏิบัติตามด้วยดี ตลอดจวบจนถึงวันอาคิเราะฮฺ

    ณ เวลานี้ อัลหัมดุลิลลาฮ การดะอฺวะฮฺเริ่มแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก เว็ปไซต์เพื่อการดะอฺวะฮฺก็เพิ่มมากขึ้น นี่คือสิ่งที่ควรชุกูรอย่างมาก แต่ในขณะเดียวนั้น การเรียกร้องไปสู่ความเชื่อ-ความเข้าใจที่เบี่ยงเบนก็แพร่กระจายมากเช่นกัน จนนำมาซึ่งความปวดร้าวในตอนท้าย คนเอาวามที่ธรรมชาติของเขาบริสุทธิ์ ก็ต้องแปดเปื้อนชุบฮาตต่างๆที่ทำให้หัวใจของพวกเขาบอดไป ส่วนหนึ่ง ก็คือ ชุบฮาตต่างๆที่เผยแพร่โดยบรรดาบล็อกเกอร์ที่ต่อต้านสะละฟีย์ ซึ่งตั้งชื่อบล็อกตัวเองว่า “อบูสะละฟีย์”(เป็นบล็อกแอนตี้สะละฟีย์ในอินโดนีเซีย-ผู้แปล)
     ชุบฮาตที่มีและแข็งกร้าวมาก ก็คือ เกี่ยวกับความเชื่อของพวกเขาที่ว่า อัลลอฮมีอยู่โดยปราศจากที่พำนัก-สถานที่(คือ อัลลอฮอยู่ทุกที่ ไม่ได้อยู่บนอรัช(บัลลังก์) ตามที่มีระบุอยู่ในอัล-กุรอาน-ผู้แปล) นี่คือการต่อต้านของพวกเขาต่ออะกีดะฮฺอะฮฺลุสสุนนะฮฺที่เชื่อว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือชั้นฟ้า และประทับสูงเหนืออรัชของพระองค์ หวังว่า ด้วยความเชื่อเหลือและเตาฟีกจากอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เราจะสามารถเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ได้ โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ โปรดช่วยเหลือฉันให้ได้รับความพอพระทัยจากพระองค์ด้วยเถิด

ความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ

    มีความเชื่อบางประการที่จำเป็นต้องยึดถือและเชื่อมันสำหรับมุสลิมคนหนึ่งเกี่ยวกับพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ ดังที่ท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อะกีดะฮฺ อัล-วะสิฏียะฮฺ ท่านกล่าวเอาไว้ว่า :

ومن الإيمان بالله الإيمان بما وصف به نفسه في كتابه وبما وصفه به رسوله محمد صلى الله عليه و سلم من غير تحريف ولا تعطيل ومن غير تكييف ولا تمثيل بل يؤمنون بأن الله سبحانه ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

“และส่วนหนึ่งจากการศรัทธาต่ออัลลอฮ ก็คือ การศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮได้กำหนดคุณลักษณะไว้ให้แก่พระองค์เองในอัล-กุรอาน และต่อสิ่งที่เราะสูลของพระองค์ได้ระบุคุณลักษณะเอาไว้โดยมิได้ตะหฺรีฟ ตะอ์ฏีล ตักยีฟ และตัมษีล(ความหมายของคำเหล่านี้ เราจะอธิบายไว้ข้างล่างต่อไป) แต่พวกเขา(อะฮฺลิสสุนนะฮฺ)จะศรัทธาว่า ไม่มีสิ่งใดเสมือเหมือนกับอัลลอฮ และอัลลอฮทรงได้ยิน และทรงมองเห็น”[1]

    เกี่ยวกับการอธิบายของท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ข้างต้นนี้ ปรากฏในคำกล่าวของอุละมาอ์คนอื่นๆด้วยเช่นกัน อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า

لَا يُوصَفُ اللَّهُ إِلَّا بِمَا وَصَفَ بِهِ نَفْسَهُ ، أَوْ وَصَفَهُ بِهِ رَسُولُهُ ، لَا يُتَجَاوَزُ الْقُرْآنُ وَالْحَدِيثُ

“อัลลอฮจะไม่ถูกกำหนดคุณลักษณะ เว้นแต่ด้วยสิ่งที่อัลลอฮทรงกำหนดคุณลักษณะแก่พระองค์เอง หรือที่ท่านนบีได้ระบุคุณลักษณะของพระองค์เอาไว้ (ดังนั้น)อย่าได้กำหนดคุณลักษณะของอัลลอฮด้วยสิ่งอื่นจากอัล-กุรอานและอัล-หะดีษ”[2]

    ในคำอธิบายข้างต้นนี้ เป็นผลที่ได้จากการวิเคราะห์และพิจารณาอัล-กุรอานและอัส-สุนนะฮฺ ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า ความเชื่อที่มุสลิมคนหนึ่งจำเป็นต้องเชื่อถือนั้น เป็นดังนี้

    หนึ่ง   มุสลิมจะต้องเรียก(หรือเชื่อใน)พระนามของอัลลอฮอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับที่อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้ทรงตั้งหรือเรียก(พระนามของพระองค์เอง)ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ และตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮได้ตั้งหรือเรียกไว้ด้วยคำพูดของท่าน
    สอง   พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น จะต้องปราศจากการตะหฺรีฟ และตะอ์ฏีล และการตักยีฟและตัมษีลด้วย

    ตะหฺรีฟ คือ การเบี่ยงเบนความหมายของพระนามหรือคุณลักษณะของอัลลอฮจากความที่แท้จริงโดยปราศจากความชอบธรรม เช่น การเบี่ยงเบนความหมายของคุณลักษณะ มะหับบะฮฺ(ความรัก)สำหรับอัลลอฮ ให้กลายเป็น อิรอดะตุล ค็อยรฺ(การประสงค์ดี)
    ตะอ์ฏีล คือ การปฏิเสธพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ เช่น การปฏิเสธการมีพระหัตถ์ของอัลลอฮ
    ตักยีฟ คือ การระบุสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน เช่น การกล่าวว่า ความยาวของแขนเท่ากับ 50 เซนติเมตร การตักยีฟนั้นไม่อนุญาตให้กระทำต่อคุณลักษณะของอัลลอฮได้ เพราะอัลลอฮมิได้ทรงระบุคุณลักษณะของพระองค์ด้วยการระบุอย่างชัดเจน(เป๊ะๆ-ผู้แปล)
    ตัมษีล คือ การเปรียบเทียบคุณลักษณะของอัลลอฮกับคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง เช่น การกล่าวว่า อัลลอฮทรงมีพระหัตถ์และเหมือนกับมือของเรา(ของมนุษย์หรือสิ่งอื่นๆ)

    ทั้งสี่ประการนี้เป็นที่ต้องห้ามในการเชื่อถือศรัทธาต่อพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ เพราะอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น
(สูเราะฮฺอัช-ชูรอ 42 : 11)

    อายะฮฺ

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ

    “ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์” คือ คำตอบโต้ต่อพวกที่ทำการตักยีฟและตัมษีล คือ ที่เทียบคุณลักษณะของอัลลอฮด้วยคุณลักษณะของมนุษย์ คือ ด้วยการระบุคุณลักษณะของอัลลอฮอย่างชัดเจน ทั้งที่ผู้ที่รู้ดีที่สุดในสิ่งนั้น มีเพียงอัลลอฮ ผู้เดียวเท่านั้น

    ส่วนอายะฮฺ

وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

    “และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น” เป็นคำตอบโต้แก่พวกที่ทำการตะหฺรีฟและตะอ์ฏีล เพราะในอายะฮฺนี้ อัลลอฮตรัสว่า พระองค์ทรงมีคุณลักษณะแห่งการได้ยินและมองเห็น สิ่งถูกสร้างก็มีคุณลักษณะของการได้ยินและมองเห็นเช่นกัน แต่แน่นอนที่สุด ทั้งสองคุณลักษณะนี้สำหรับอัลลอฮ ย่อมแตกต่างจากสิ่งถูกสร้าง ดังนั้น ทั้งสองคุณลักษณะข้างต้นจึงมิอาจถูกตะหฺรีฟ(เบี่ยงเบน)ความหมาย และมิอาจถูกตะอ์ฏีล(ปฏิเสธความหมายของมัน)ด้วย และสิ่งนี้(การตะหฺรีฟและตะอ์ฏีล) ก็มิอาจกระทำกับคุณลักษณะอื่นๆของอัลลอฮด้วย

 จงเข้าใจอายะฮฺศิฟาต(อายะฮฺที่กล่าวถึงคุณลักษณะของอัลลอฮ)อย่างตรงไปตรง โดยไม่ตีความ

    เจ้าของบล๊อกอบูสะละฟีย์นั้น ครั้นทำการโต้แย้งหลักฐานของอุซตาซ อบุลเญาซาอ์ หะฟิเซาะฮุลลอฮ เกี่ยวกับการประทับของอัลลอฮเหนืออรัชของพระองค์นั้น เขากล่าวว่า

    “ลักษณะที่พบเห็นจากหลักฐานที่กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาว่า อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงอยู่บนชั้นฟ้านั้น แน่นอนว่านั่นมิใช่ความหมายที่แท้จริง มันจำเป็นต้องถูกตีความ เพราะอัลลอฮไม่ควรถูกถามด้วยคำถามว่า : พระองค์อยู่ที่ไหน? ทรงตรัสที่ไหน? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยกล่าว(ถึงสิ่งนี้)เลย ดังที่เราได้นำเสนอหลักฐานไปแล้ว”

    เราอยากให้ผู้อ่านได้พิจารณาคำพูดที่เราได้ขีดเส้นข้างล่างเอาไว้

    นี่คือ ฐานความเข้าใจของอบูสะละฟีย์ เมื่อต้องการตอบโต้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประทับของอัลลอฮเหนืออรัชของพระองค์ เขาเชื่อว่า หลักฐานต่างๆที่ระบุเช่นนั้น จำเป็นต้องตีความทั้งหมด คือ จะต้องเปลี่ยนความหมาย(ที่ระบุชัดเจนนั้น)ด้วยกับความหมายอื่น และอย่าได้เข้าใจอย่างตรงไปตรงมา(ตามที่ได้ระบุไว้ในอายะฮฺ) นี่คือความสับสน(และการเบี่ยงเบน)ของอบูสะละฟีย์ในการทำความเข้าใจพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ
    ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ควาหมายของการเข้าใจอย่างตรงไปตรงมานั้น คือ การเข้าใจความหมายที่นึกคิดได้(ทันที)ในห้วงความคิด เช่น เมื่อเราพูดว่า “อลีมองเห็นสิงโต” ความหมายที่เรานึกขึ้นได้เลย ก็คือ อลีมองเห็นสัตว์ดุที่มีชื่อว่าสิงโต (คือมองเห็นตัวสิงโตจริงๆ) นี่คือความหมายของการเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา
    แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ว่า สิงโต ณ ที่นั้นอาจมีความหมายเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น หมายความ ผู้กล้าหาญ เช่น เรากล่าวว่า “อลี สิงโตผู้พิชิตศัตรู” ความหมายตรงนี้ ก็จะไม่ใช่ ราชสีย์หรือสิงโตที่เป็นสัตว์ร้าย แต่หมายผู้กล้าหาญ เนื่องจากถูกทำให้เข้าใจได้ด้วยประโยคของมัน ดังนั้น หาเราได้ยินคำว่าสิงโตเพียงคำเดียว แน่นอนว่า ความคิดเราจะต้องนึกคิดขึ้นมาในทันทีว่า หมายความ สิงโตที่เป็นสัตว์ร้าย
    ในการเข้าใจคุณลักษณะของอัลลอฮก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา สอดคล้องเหมาะสมกับความหมายที่ผุกขึ้นมาในห้วงความคิดของเรา โดยปราศจากการตีความไปยังความหมายอื่นอย่างไม่มีหลักฐาน(คือ หากไม่มีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ก็มิอาจตีความคุณลักษณะของอัลลอฮเป็นอื่นจากความหมายที่แสดงอย่างตรงไปตรงมาในอายะฮฺหรือหะดีษได้) นี่คือสิ่งที่อัลลอฮได้สั่งใช้เราเมื่อต้องการเข้าใจความหมายในอายะฮฺอัล-กุรอาน

    เราลองพิจารณาอายะฮฺต่อไปนี้ให้ดี อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

وَإِنَّهُ لَتَنْزِيلُ رَبِّ الْعَالَمِينَ (192) نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ (193) عَلَى قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنْذِرِينَ (194) بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُبِينٍ (195)

และแท้จริงมัน เป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง เป็นภาษาอรับอันชัดแจ้ง
(สูเราะฮฺอัช-ชุอะรออ์ 26 : 192-195)

    ดูสิ อายะฮฺเหล่านี้ยืนยันว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงด้วยเป็นภาษาอรับอย่างชัดแจ้ง เข้าใจมันได้ในทันที

    ในอายะฮฺอื่น อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

إِنَّا جَعَلْنَاهُ قُرْآَنًا عَرَبِيًّا لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ

แท้จริงเราได้ทำให้คัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา
(สูเราะฮฺอัซ-ซุครุฟ 43 : 3)

    อายะฮฺนี้ก็เช่นกัน คือ อายะฮฺได้อธิบายว่า อัล-กุรอานนั้นถูกประทานลงด้วยเป็นภาษาอรับ ที่เข้าใจได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องการการตีความไปยังความหมายอื่น
    และอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ยังสั่งใช้ให้เราปฏิบัติสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงประทานลงมา หมายความว่า ให้สอดคล้องกับที่เราเข้าใจได้ในห้วงความคิดของตนเอง อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

اتَّبِعُوا مَا أُنْزِلَ إِلَيْكُمْ مِنْ رَبِّكُمْ وَلَا تَتَّبِعُوا مِنْ دُونِهِ أَوْلِيَاءَ

พวกเจ้าจงปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเจ้าจากพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด
(สูเราะฮฺ อัล-อะอฺร็อฟ 7 : 3)

    เมื่ออัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงประทานอัล-กุรอานเป็นภาษาอรับเพื่อให้ง่ายต่อการใคร่ครวญและเข้าใจ แล้วอัลลอฮก็สั่งใช้ให้ปฏิบัติตามมั้ง ดังนั้น จำเป็นสำหรับเราที่จะต้องเข้าใจอายะฮฺต่างๆที่มีอย่างตรงไปตรงมา ให้สอดคล้องเหมาะสมกับความหมายในภาษาอรับ เว้นแต่ชะรีอะฮฺจะมีประสงค์เป็นอื่นไป(คือ ยกเว้นจะมีหลักฐานมาสนับสนุน-ยืนยันให้ตีความเป็นอื่นได้) เรื่องนี้ก็จะถูกนำไปใช้กับอายะฮฺอื่นๆที่กล่าวถึงคุณลักษณะของอัลลอฮเช่นกัน(เช่น เกี่ยวกับพระหัตถ์ , พระพักตร์ , การประทับเหนือบังลังก์ และอื่นๆ)
    การยึดมั่นอย่างตรงไปตรงมากับหลักฐานที่กล่าวถึงคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น คือสิ่งสำคัญที่เราต้องปฏิบัติ เพราะการชี้ไปยัง(หมายถึง การสรุป)คุณลักษณะของอัลลอฮนั้น จำเป็นต้องมีหลักฐาน ไม่มีช่องว่าง(โอกาส)สำหรับความคิดที่จะทำการอธิบายหรือระบุรายละเอียดของคุณลักษณะของอัลลอฮได้
    หากมีใครกล่าวว่า “อย่าเข้าใจอายะฮฺที่พูดถึงคุณลักษณะของอัลลอฮอย่างตรงไปตรงมา เพราะมันมิใช่ความหมายที่แท้จริง?” เราตอบว่า “แล้วความหมายที่แท้จริงที่พวกท่านหมายถึงนั้น คืออะไรล่ะ?”

    หนึ่ง   หากพวกท่านหมายถึง การเข้าใจความหมายที่ระบุไว้ในหลักฐาน ด้วยการเข้าใจคุณลักษณะดังกล่าวของอัลลอฮอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับพระองค์ โดยปราศจากการตัมษีลแล้วละก็ นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งนี้จำเป็นที่บ่าวทุกคนจะต้องน้อมรับและศรัทธา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮจะอธิบายถึงคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ แล้วสิ่งนั้นกลับมิใช่สิ่งที่พระองค์ประสงค์ และไม่ได้อธิบายมันแก่ปวงบ่าวของพระองค์
    สอง   หากความหมายที่แท้จริงที่หมายถึงนั้น คือ การเข้าใจคุณลักษณะของอัลลอฮด้วยการตัมษีล นี่ไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้อง และแท้จริงแล้ว นี่ไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงจากอัล-กิตาบและอัส-สุนนะฮฺที่ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของอัลลอฮ เพราะการเข้าใจเช่นนี้นั่น คือ ความเข้าใจแห่งการปฏิเสธและเป็นโมฆะ อีกทั้งยังค้านกับหลักฐานและอิจญ์มาอ์(มติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์)ด้ว�“คุณลักษณะของอัลลอฮจำเป็นต้องถูกตีความ” สิ แท้จริงแล้ว มันเป็นคำชี้แจ้งที่ผิดไปจากอิจญ์มาอ์ โปรดพิจารณามติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์ ต่อไปนี้ให้ดีเถิด

การเข้าใจคุณลักษณะของออัลลอฮอย่างตรงไปตรงมานั้น คือ อิจญ์มาอ์(มติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์)

อัล-อิมาม อัล-ค็อฏฏอบีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “แนวทางการศรัทธาของสะลัฟต่อคุณลักษณะของอัลลอฮ คือ การยืนยันและเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา พวกเขาปฏิเสธการระบุรูปแบบ(กัยฟิยะฮฺ)ของคุณลักษณะดังกล่าว และพวกเขาจะไม่ทำการตัชบิฮฺ(การเปรียบเทียบคุณลักษณะของอัลลอฮกับคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง)”[/color][4]

อัล-หาฟิซ อิบนุ อับดิลบัรรฺ เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “อะฮฺลุสสุนนะฮฺมีมติเอกฉันท์กในการยืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮตามที่มีอยู่ในอัล-กิตาบและอัส-สุนนะฮฺ พวกเขาเข้าใจมันตามความเป็นจริงของมัน และไม่เข้าใจมันด้วยการอุปมา-เปรียบเทียบ แต่พึงทราบเถิดว่า พวกเขาจะไม่กล่าวถึงรูปแบบของคุณลักษณะดังกล่าว(เช่น การจินตนาการภาพว่า พระหัตถ์ และพระพักตร์ หรือคุณลักษณะอื่นๆของอัลลอฮนั้นเป็นแบบไหน? อย่างไร?)
แตกต่างจากพวกญะฮฺมียะฮฺ , มุอฺตะซิละฮฺ และเคาะวาริจญ์ พวกเขาปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ พวกเขาจะไม่เข้าใจไปตามความหมายที่แท้จริงของมัน พวกเขาเชื่อว่า พวกเขาที่ยืนยันในคุณลักษณะของอัลลอฮนั้นคือ มุตะชาบิหะฮฺ (พวกที่เปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง)
แต่สำหรับพวกที่ยืนยันในคุณลักษณะของอัลลอฮ(หมายถึง อะฮฺลุสสุนนะฮฺ)นั้น จะถือว่า พวกเขามุอฺตะซิละฮฺ(และอื่นๆ)นั่นแหล่ะที่ปฏิเสธอัลลอฮในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า”[5]

ชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “บรรดาชนรุ่นแรกของอุมมะฮฺ(สะละฟุล อุมมะฮฺ)และอิมามทั้งหลายได้มีมติเอกฉันท์ว่า หลักฐานต่างๆที่กล่าวถึงคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น จำเป็นต้องเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา ด้วยคุณลักษณะที่คู่ควรสำหรับพระองค์ โดยปราศจากการตะหฺรีฟ และพึงทราบไว้ว่า การเข้าใจคุณลักษณะของอัลลอฮอย่างตรงไปตรงมานั้น มิได้หมายความว่า เราได้ทำการเทียบเคียงอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้างแต่อย่างใด”[6]

แล้วทำไมเราถึงต้องเข้าใจหลักฐานต่างๆที่พูดถึงคุณลักษณะของอัลลอฮ(เช่น พระหัตถ์ , พระพักตร์ , ความโกรธกริ้ว , การประทับเหนืออรัช และอื่นๆ)อย่างตรงไปตรงมาด้วย

คำตอบ :

เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮที่จะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วสิ่งนั้นกลับไม่ใช่สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ หรือมันกลับสวนทางกับความจริงของมัน โดยปราศจากคำอธิบาย(หรือคำชี้แจง)
การระบุคุณลักษณะสำหรับอัลลอฮนั้น ต้องมีหลักฐาน และการเบนความหมายของคุณลักษณะของพระองค์จากความหมายที่ปรากฏชัด(ในอายะฮฺหรือหะดีษ)นั้น ก็จำเป็นต้องมีหลักฐานเช่นกัน นี่คือมติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์อะฮฺลุสสุนนะฮฺ

คำใส่ไคล้ : การกำหนดคุณลักษณะของอัลลอฮ ถือเป็นการตัชบิฮฺ(การเปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง)

นี่คือคำใส่ไคล้อื่นอีกประการหนึ่งจากอบูสะละฟีย์ในบทความบางบทของเขาต่อผู้ที่เชื่อว่า อัลลอฮทรงประทับอยู่เหนือชั้นฟ้า เขากล่าวว่า พวกที่เชื่อในคุณลักษณะเช่นนั้น ถือเป็น มุญัสสิมะฮฺ หรือ มุชับบิหะฮฺ หมายถึง พวกเขาที่เปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง

และนี่คือสิ่งที่ท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ได้กำหนดเกณฑ์(คุณลักษณะของพวกเขามุอฺตะซิละฮฺและญะฮฺมิยะฮฺ)เอาไว้ โดยท่านได้กล่าวว่า “พวกมุอฺตะซิละฮฺ , ญะฮฺมิยะฮฺ และพวกที่คล้ายคลึงพวกเขาที่ปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น พวกเขากล่าวว่า ทุกคนที่กำหนด(เชื่อใน)คุณลักษณะสำหรับอัลลอฮนั้น ถือเป็นมุญัสสิมะฮฺ หรือมุชับบิหะฮฺ ใช่เพียงแค่นั้น บางคนในหมู่พวกเขายังกล่าวว่า บรรดาอิมามคนสำคัญที่มีชื่อเสียง(เช่น อิมามมาลิก , อิมามชาฟิอีย์ , อิมามอะหฺมัด และผู้เจริญรอยตามพวกท่าน)เป็นมุญัสสิมะฮฺหรือมุชับบิหะฮฺ”
นี่คือเจ้าของบล๊อกอบูสะละฟีย์ผู้เจริญรอยตามแนวทางมุอฺตะซิละฮฺและญะฮฺมิยะฮฺ ไม่แตกต่างอะไรเลยระหว่างเขากับคนกลุ่มนั้น แต่สบายใจเถิด อัลหัมดุลิลลาฮ คำใส่ไคล้เช่นนี้ ถูกตอบโต้จากบรรดาอุละมาอ์รุ่นก่อนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น พิจารณาคำกล่าวของพวกเขาต่อไปนี้ให้ดีเถิด

ท่านนุอัยมฺ บิน หัมมาด อัล-หาฟิซ เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “ผู้ใดเปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง เขาเป็นกาฟิร ผู้ใดปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮที่พระองค์ทรงกำหนดให้แก่พระองค์เอง เขาเป็นกาฟิร แต่ทว่า การกำหนดคุณลักษณะตามที่พระองค์ทรงกำหนดให้แก่พระองค์เอง หรือที่เราะสูลของพระองค์ได้ทรงกำหนด(แจ้ง)ไว้นั้น ไม่ใช่การตัชบิฮฺ”

ท่านอิสหาก บิน เราะหุวะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “ที่เรียกว่าตัชบิฮฺ คือ เมื่อเรากล่าวว่า ‘พระหัตถ์ของอัลลอฮเหมือนกับมือของเรา หรือการได้ยินของพระองค์เหมือนกับการได้ยินของเรา’ นี่แหล่ะที่เรียกว่า ตัชบิฮฺ แต่ทว่า หากเรากล่าวตามสิ่งที่อัลลอฮทรงตรัสเอาไว้ คือ กล่าวว่า อัลลอฮทรงมีพระหัตถ์ การได้ยิน และการมองเห็น และเราไม่กล่าวว่า ‘ลักษณะพระหัตถ์ของพระองค์เป็นอย่างไร?’ และไม่กล่าวว่า ‘คุณลักษณะของอัลลอฮนั้นเหมือนกับคุณลักษณะของเรา’ เช่นนี้ ไม่ใช้การตัชบิฮฺ เพราะพึงทราบเถิดว่า อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น
(สูเราะฮฺอัช-ชูรอ 42 : 11)

ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ กล่าวว่า “หากการเชื่อในการอยู่เหนือ(สิ่งถูกสร้างทั้งมวล)สำหรับอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา หมายถึงการตัชบิฮฺ ทุกคนที่เชื่อในคุณลักษณะอื่นๆสำหรับอัลลอฮ เช่น การเชื่อว่าอัลลอฮทรงอำนาจ , อัลลอฮทรงได้ยิน หรืออัลลอฮทรงมองเห็น คนที่เชื่อเช่นนี้ ก็จะต้องถูกเรียกว่าเป็นมุชับบิหะฮฺด้วย แต่ทว่า ไม่มีมุสลิมคนใดในวันนี้ที่อ้างตนเป็นอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ กล่าวว่า ผู้ที่เชื่อในคุณลักษณะดังกล่าวสำหรับอัลลอฮนั้น เป็นมุชับบิหะฮฺ ซึ่งต่างจากพวกที่ปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ นั่นคือ พวกมุอฺตะซิละฮฺ”[7]

สรปแล้ว หากเราที่กล่าวว่า อัลลอฮทรงประทับอยู่เหนือชั้นฟ้า เป็นพวกมุชับบิหะฮฺ ดังนั้นท่านก็จะต้องกล่าวแก่คนที่เชื่อในคุณลักษณะแห่งการได้ยิน การมองเห็น และการมีอยู่ของอัลลอฮ ว่าเป็นมุชับบิหะฮฺด้วย เพราะคุณลักษณะเหล่านี้ ก็มีอยู่กับสิ่งถูกสร้างเช่นกัน แต่ว่า แน่นอน ท่านจะหลีกหนี และไม่กล่าวเช่นนั้น

ดังนั้น การที่เรากล่าวว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือชั้นฟ้า เหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล นั่นมิได้หมายความว่า อัลลอฮทรงเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง ดังนั้นเราจึงไม่ใช่มุชับบิหะฮฺ ดังที่ท่านอ้าง(ใส่ร้าย)

คนที่ปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ หรือกล่าวว่า ‘อัลลอฮมิได้อยู่เหนือชั้นฟ้า’ เพราะ(เชื่อว่า)เรามิอาจเข้าใจอายะฮฺต่างๆที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมาได้ แต่ต้องเข้าใจตามความอื่น(ที่ได้ตีความไป) พวกเขานั่นแหล่ะคือมุชับบิหะฮฺ? การใส่ร้ายนี้ก็จะกลับกัน?

หลักฐานก็คือ พึงทราบไว้ว่า ทุกๆคนที่ปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น พวกเขาได้ทำการปฏิเสธก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบคุณลักษณะของอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง พวกเขาเริ่มต้นด้วยการคิดว่า “หากเรายืนยันในคุณลักษณะแห่งพระหัตถ์ , พระพักตร์ และคุณลักษณะอื่นๆแก่อัลลอฮ นี่เท่ากับว่า เราได้ทำการเปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง”

และเพื่อให้คุณลักษณะของอัลลอฮไม่เหมือนกับสิ่งถูกสร้าง พวกเขาจึงปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ คือ ปฏิเสธคุณลักษณะพระหัตถ์ , พระพักตร์ และคุณลักษณะอื่นๆ นี่คือความคิดเริ่มแรกของพวกมุอ์ฏิละฮฺ(พวกปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ )จนกระทั่งบรรดาอุละมาอ์กล่าวว่า “กุลลุ มุอ์ฏีล มุชับบิฮฺ” หมายถึง ทุกคนที่ปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น คือผู้ที่เปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งถูกสร้าง(ทำการตัชบิฮฺ) เพราะกลัวที่จะเปรียบเทียบอัลลอฮ สุดท้ายพวกเขาจึงปฏิเสธคุณลักษณะของพระองค์ แล้วใครล่ะ คือมุชับบิหะฮฺ หรือมุญัสสิมะฮฺตัวจริง?

ในตอนต่อไปของบทความเรื่องนี้ เราจะนำเสนอเสนอหลักฐานต่างๆจากอัล-กุรอานและอัส-สุนนะฮฺเกี่ยวกับการประทับของอัลลอฮเหนือชั้นฟ้า
อัลลอฮเท่านั้นที่ทรงประทานเตาฟีก ขออัลลอฮประทานความง่ายดายในการนำเสนอบทความตอนต่อไป
________________________________________
[1]  อัล-อะกีดะฮฺ อัล-วาสิฏียะฮฺ , อะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ อิบนุ ตัยมียะฮฺ , หน้า 8 , ดารุลอะกีดะฮฺ , พิมพ์ครั้งที่ 1 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1426
[2] อะกอวิลุษ ษิกูต ฟี ตะอ์วีลิล อัสมาอ์ วัศ-ศิฟาต วัล-อายาติ อัล-มุหฺกะมาต วัล-มุตะชาบิหาต , มัรอีย์ บิน ยูสุฟ อัล-หัมบะลีย์ อัล-มักดิสีย์ , ตรวจทานโดย ชุอัยบฺ อัล-อัร-เนาษฺ , หน้า 234 , มุอัสสะสะฮฺ อัร-ริสาละฮฺ , พิมพ์ครั้งที่ 1 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1406
[3]  คำอธบายนี้ เรานำมาจาก ตักรีบุต ตัดมูริยะฮฺ , ชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน , หน้า 45-46 , ดารุล อาษาร , พิมพ์ครั้งที่ 1 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1422
[4] ดู มุคตะศ็อร อัล-อุลุวฺ ลิล อะลิยยิล เฆาะฟาร , อัล-หาฟิซ ชัมสุดดีน อัซ-ซะฮะบีย์ , ตรวจทานโดย ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ , หน้า 38 , อัล-มักตับ อัล-อิสลามีย์ , พิมพ์ครั้งที่ 2 , ปีฮิจเราะฮฺที่ 1412
[5] อ้างแล้ว
[6]  ตักรีบุต ตัดมูรียะฮฺ หน้า 46
[7] ดู มุคตะศ็อร อัล-อุลุวฺ หน้า 67
"


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
โดย มุหัมมัด อับดุฮฺ ตัวสิกัล


แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

เมื่อคำถามว่าพระองค์อัลลอฮฺอยู่ไหน




หากมีคำถามว่าพระองค์อัลลอฮ.อยู่ที่ไหน? จงตอบเถิดว่า พระองค์อยู่บนฟ้า คำตอบนี้เราได้มาจากตัวบทหลักฐานจากฮาดิษ ซอเฮียะห์ดังนี้

ครั้งหนึ่ง มูอาวียะห์ บุตร อัลฮากัม อัสซูลามี ท่านต้องการที่จะให้อิสรภาพกับ ญารียะห์ทาสของท่าน มูอาวียะห์ได้นำตัวญารียะห์ไปหาท่านรอซูล ซ.ล ท่านรอซูลได้ถามญารียะห์ว่า พระองค์อัลลอฮ.อยู่ที่ไหน? เธอตอบว่า พระองค์อัลลอฮอยู่บนฟ้า ท่านรอซูลได้ถามต่อไปว่า แล้วฉันเป็นใคร? เขาก็ตอบว่าท่านคือศาสนทูตของพระองค์ หลังจากนั้นท่านรอซูลได้กล่าวกับมูอาวียะห์ว่า ปล่อยเธอให้เป็นอิสระเถิด เพราะแท้จริงเธอคือผู้ศรัทธา ฮาดิษนี้บันทึกโดยนักบันทึกฮาดิษหลายท่าน เช่น อิหม่ามมาลิก

ความจริงแล้วพระองค์อัลลอฮ.ทรงสถิตอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์ดังที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ถึงความเหมาะสมความมีเกียรติและความเกรียงไกรของพระองค์ ดังหลักฐานต่อไปนี้

พระองค์ตรัสว่า

]إِنَّ رَبَّكُمُ اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ[………

แท้จริงพระผู้อภิบาลของพวกเจ้านั้น คืออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผนดินภายในหกวันแล้วทรงสถิตย์อยู่บนบัลลังก์..................[1]

พระองค์ตรัสว่า

]الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى[

ผู้ทรงกรุณาสถิตอยู่บนบัลลังก์ [2]


พระองค์ตรัสว่า

]إِنَّ رَبَّكُمُ اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ يُدَبِّرُ الأمْرَ مَا مِنْ شَفِيعٍ إِلا مِنْ بَعْدِ إِذْنِهِ ذَلِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ فَاعْبُدُوهُ أَفَلا تَذَكَّرُونَ[

แท้จริงพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าคืออัลลอฮ.ผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผนดินในเวลาหกวันแล้วพระองค์ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์ ทรงบริหารกิจการไม่มีผู้ใดให้ความช่วยเหลือใดๆเว้นแต่ต้องได้รับอนุมัติจากพระองค์นั้นคืออัลลอฮ.พระผู้อภิบาลของพวกเจ้า พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อพระองค์เถิด พวกเจ้าไม่ได้ใคร่ครวญดอกหรือ?[3]

พระองค์ตรัสว่า

]الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضَ وَمَا بَيْنَهُمَا فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ الرَّحْمَنُ فَاسْأَلْ بِهِ خَبِيرًا[

พระผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่มีอยู่ในระหว่างทั้งสองนั้นในหกวัน แล้วพระองค์ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ พระองค์ผู้ทรงกรุณา ดังนั้นเจ้าจงถามผู้รอบรู้เกี่ยวกับพระองค์เถิด[4]

มีหลักฐานจากกุรอานหลายโองการที่กล่าวถึงการทรงสถิตบนบัลลังก์ของพระองค์บนฟ้า ดังนั้นไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนคุณลักษณะของพระองค์ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ด้วยพระองค์เองไปเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่ง เรานั้นเป็นใคร?ที่ต้องการเปลี่ยนคำว่า อิสตาวะ( استواء ) ให้เป็น อิสเตาลา( استولا ) เราเป็นคนที่เก่งที่สุดกระนั้นหรือ?ทั้งๆที่เราไม่มีความสามารถ หรือเราคิดว่าสติปัญญาของเราล่ำเลิศสามารถที่จะเปลี่ยนคำของพระองค์อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ด้วยพระองค์เอง?

ในพระดำรัสของพระองค์ที่กล่าวถึงการสถิตอยู่บนบัลลังก์โดยใช้คำว่า อิสตาวะ อาลันอัรช์มีอยู่ประมาณ 7 โองการ ถ้าหากว่าพระองค์อัลลอฮฺประสงค์ที่จะกล่าวไปสู่ความหมายอื่นแน่นอนพระองค์จะต้องกล่าวถึงสิ่งนั้นอย่างชัดเจน

ถือว่าเป็นความผิดผลาดอย่างร้ายแรงสำหรับบุคคลที่พวกเขาเปลี่ยนแปลงคำของอัลลอฮฺซึ่งเป็นคำที่พระองค์กำหนดขึ้นมาที่ประกฎในคัมภีร์ของพระองค์ไปสู่อีกความหมายหนึ่ง โดยใช้ความคิด การคาดคะแน่ การคาดเดาตามอารมณ์ตัวเอง แท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์ยิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาคาดคิด

พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า

]فَاطِرُ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضِ جَعَلَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ أَزْوَاجًا وَمِنَ الأنْعَامِ أَزْوَاجًا يَذْرَؤُكُمْ فِيهِ لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ[

พระผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินพระองค์ที่ทำให้มีคู่ครองแก่พวกเจ้าซึ่งจากตัวของพวกเจ้าเอง และจากปศุสัตว์นั้นทรงทำให้มีคู่ผัวเมีย ด้วยเหตุนี้ทรงแพร่พันธ์พวกเจ้าไว้อย่างมากมาย ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงเห็น [5]

และพระองค์ตรัสว่า

]هَؤُلاءِ قَوْمُنَا اتَّخَذُوا مِنْ دُونِهِ آلِهَةً لَوْلا يَأْتُونَ عَلَيْهِمْ بِسُلْطَانٍ بَيِّنٍ فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَى عَلَى اللَّهِ كَذِبًا[

กลุ่มชนเหล่านั้นของเราได้ยืมเอาพระเจ้าต่างๆอื่นจากพระองค์ ทำไม่พวกเขาจึงไม่นำหลักฐานอันชัดแจ้งมายืนยันเล่า ดังนั้นจะมีผู้ใดอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ [6]

และพระองค์ตรัสว่า

]وَلِلَّهِ الأسْمَاءُ الْحُسْنَى فَادْعُوهُ بِهَا وَذَرُوا الَّذِينَ يُلْحِدُونَ فِي أَسْمَائِهِ سَيُجْزَوْنَ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ[

และอัลลอฮฺนั้นมีบรรดาพระนามที่สวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงวิงวอนต่อพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงอย่ายุ่งกับบรรดาผู้ที่ทำให้เพี้ยนกับพระนามของพระองค์เลย พวกนั้นจะถูกลงโทษในสิ่งที่พวกเขากระทำ [7]

เชค ซอแหละอับดุลลอฮฺ เฟาซานได้อรรถาธิบายโองการนี้ในหนังสือเตาฮีดของท่าน จำเป็นที่เราจะต้องยึดมันในพระนามของพระองค์ตามที่พระองค์ได้กำหนด และใครก็ตามที่ได้ปฏิเสธ พระนามเหล่านั้นเท่ากับว่าเขากำลังปฏิเสธในสิ่งที่พระองค์นำมา แท้จริงพระองค์ทรงโกรธกริ้วบุคคลที่พวกเขาได้เปลี่ยนพระนามต่างๆของพระองค์และพวกเขาจะได้รับการลงโทษในความผิดที่ได้ก่อขึ้น เชคซอแหละอับดุลลอฮฺเฟาซานได้กล่าวอีกว่า โองการอัลกุรอานทั้ง 7 ที่มีคำว่า อิสตาวะ ประกฎในรูปคำและประโยคก็ดีที่เหมือนกัน เป็นการบ่งบอกว่าโองการดังกล่าวมีความหมายตามที่ประกฎโดยไม่ต้องการการตะวิล[8]...................................

อัรชี ( عرش ) ในภาษาอาหรับหมายถึงบัลลังก์ของกษัตริย์ แต่อัรชี ( عرش ) ที่ประกฏในกุรอานนั้นหมายถึงบัลลังก์ของพระองค์อัลลอฮฺที่มีบรรดามลาอิกะห์แบกอยู่และเสมือนหลังคาที่ให้รมเงาแก่สิ่งถูกสร้าง

พระองค์ตรัสว่า

]وَالْمَلَكُ عَلَى أَرْجَائِهَا وَيَحْمِلُ عَرْشَ رَبِّكَ فَوْقَهُمْ يَوْمَئِذٍ ثَمَانِيَةٌ[

และมะลักก์จะประกฎอยู่บนเวหาและ(มะลาอีกะฮฺ)จำนวนแปดท่านจะทูนบัลลังก์ของพระผู้อภิบาลของเจ้าไว้ในวันนั้น [9]

พระองค์ตรัสว่า

]الَّذِينَ يَحْمِلُونَ الْعَرْشَ وَمَنْ حَوْلَهُ يُسَبِّحُونَ بِحَمْدِ رَبِّهِمْ وَيُؤْمِنُونَ بِهِ وَيَسْتَغْفِرُونَ لِلَّذِينَ آمَنُوا رَبَّنَا وَسِعْتَ كُلَّ شَيْءٍ رَحْمَةً وَعِلْمًا فَاغْفِرْ لِلَّذِينَ تَابُوا وَاتَّبَعُوا سَبِيلَكَ وَقِهِمْ عَذَابَ الْجَحِيمِ[

บรรดาผู้แบกบัลลังก์และผู้ที่อยู่รอบๆบัลลังก์ต่างก็แซ่ซ้องด้วยการสดุดีสรรเสริญพระผู้อภิบาลของพวกเขาและศรัทธาต่อพระองค์และขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา โอ้พระผู้อภิบาลของเราพระองค์ท่านทรงแผ่ความเมตตาและความรู้ไปทั่วทุกสิ่ง ขอพระองค์โปรดอภัยแก่บรรดาผู้ขอลุแก่โทษและดำเนินตามแนวทางของพระองค์ท่าน และทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด [10]

ฉนั้นเป็นการเหมาะสมแล้วสำหรับผู้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างพระองค์ที่สถิตอยู่บนบัลลังก์ เราไม่ทราบวิธีการและคุณลักษณะอื่นๆในการสถิตย์อยู่บนบัลลังของพระองค์ แต่ทว่าเรายึดมันในสิ่งสอดคล้องและเราเขาใจตามความหมายในภาษาอาหรับ เหมือนคุณลักษณะอื่นๆของพระองค์ที่ประกฎในกุรอานที่ถูกประทานมาด้วยภาษาอาหรับ

มีหลักฐานอีกที่จะยืนยันว่าพระองค์และศูนย์บัญชาการของพระองค์อยู่บนฟ้า

พระองค์ตรัสว่า

]أَأَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ أَنْ يَخْسِفَ بِكُمُ الأرْضَ فَإِذَا هِيَ تَمُورُ[

พวกเจ้าปลอดภัยหรือ? จากการที่พระผู้ทรงสถิตอยู่ ณ ฟากฟ้าจะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้า แล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว (สั่นสะเทือน) [11]

และพระองค์ตรัสว่า

]يُدَبِّرُ الأمْرَ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأرْضِ ثُمَّ يَعْرُجُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ أَلْفَ سَنَةٍ مِمَّا تَعُدُّونَ[

พระองค์ทรงบริหารกิจการชั้นฟ้าสู่แผ่นดิน แล้วมันจะขึ้นไปสู่พระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับหนึ่งพันปีตามที่พวกเจ้านับ [12]

ความหมายที่ว่ากิจการชั้นฟ้าสู่แผ่นดินแล้วมันขึ้นไปสู่พระองค์ เมือคำว่าขึ้นถูกมาใช้สถานทีที่ขึ้นนั้นต้องมุ่งไปสู่ที่สู่ง ฉนันที่สู่งที่ว่านั้นก็คือบนฟ้า

พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า

]مَنْ كَانَ يُرِيدُ الْعِزَّةَ فَلِلَّهِ الْعِزَّةُ جَمِيعًا إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ وَالَّذِينَ يَمْكُرُونَ السَّيِّئَاتِ لَهُمْ عَذَابٌ شَدِيدٌ وَمَكْرُ أُولَئِكَ هُوَ يَبُورُ[

ผู้ใดต้องการอำนาจดังนั้นอำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺคำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญมันและบรรดาผู้วางแผนชั่วร้ายทั้งหลายนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบและแผนการของชนเหล่านั้นย่อมพินาศ [13]

หลักฐานดังต่อไปนี้เป็นหลักฐานที่บอกว่า ญิบริล ขึ้นไปสู่พระองค์

พระองค์ตรัสว่า

]تَعْرُجُ الْمَلائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ[

มะลาอิกะฮฺและอัรรูฮ์(ญิบริล)จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกนี้) [14]

เหตุการณ์ดังต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ที่ฟาโรผู้ถือตัวเองเป็นพระเจ้า เยอะเย้ยนบีมูซา (อ.ล)

พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า

]وَقَالَ فِرْعَوْنُ يَا هَامَانُ ابْنِ لِي صَرْحًا لَعَلِّي أَبْلُغُ الأسْبَابَ ( )أَسْبَابَ السَّمَاوَاتِ فَأَطَّلِعَ إِلَى إِلَهِ مُوسَى وَإِنِّي لأظُنُّهُ كَاذِبًا وَكَذَلِكَ زُيِّنَ لِفِرْعَوْنَ سُوءُ عَمَلِهِ وَصُدَّ عَنِ السَّبِيلِ وَمَا كَيْدُ فِرْعَوْنَ إِلا فِي تَبَابٍ[

และฟิรเอาวน์กล่าวว่า โอ้ฮามานเฮ่ยจงสร้างหอส่งให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่ฉันจะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่บรรดาชั้นฟ้าเพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก เช่นนั้นแหละการงานที่ชั่วช้าของเขาได้ถูกทำให้เพริศแพร้วแก่ฟิรออาวน์และเขาถูกปิดกั้นจากแนวทางของอัลลอฮฺ และแผนการของฟิรอาวน์นั้นไม่ใช่อื่นใดนอกจากอยู่ในความหายนะเท่านั้น [15]

ดังนั้นใครก็ตามที่มีความเชื่อว่าพระองค์อัลลอฮฺไม่ได้อยู่บนฟ้าแน่แท้เขากำลังปฏิเสธในสิ่งที่พระองค์ได้แจ้งว่าพระองค์อยู่บนฟ้า พฤติกรรมของเขาไม่ต่างอะไรกับฟิอาวน์ที่เขาได้ปฏิเสธคำพูดของนบีมูซา

พระองค์อัลลอฮฺได้ยก(บ่งบอกว่ายกขึ้นข้างบน)นบีอีซามายังพระองค์

พระองค์ตรัสว่า

]إِذْ قَالَ اللَّهُ يَا عِيسَى إِنِّي مُتَوَفِّيكَ وَرَافِعُكَ إِلَيَّ وَمُطَهِّرُكَ مِنَ الَّذِينَ كَفَرُوا وَجَاعِلُ الَّذِينَ اتَّبَعُوكَ فَوْقَ الَّذِينَ كَفَرُوا إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ ثُمَّ إِلَيَّ مَرْجِعُكُمْ فَأَحْكُمُ بَيْنَكُمْ فِيمَا كُنْتُمْ فِيهِ تَخْتَلِفُونَ[

จงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่าโอ้อีซา ข้าเป็นผู้ที่รับเจ้าไปและจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้า และจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้า และจะเป็นผุ้ทำให้เจ้าบริสุทธ์พ้นจากบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาและจะเป็นผู้ทำให้บรรดาที่ปฏิบัติตามเจ้า เหนือผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย จนกระทั่งถึงวันกียามะฮฺและยังข้านั้นคือการกลับไปของพวกเจ้าแล้วข้าจะตัดสินระหว่างพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าขัดแย้งกัน [16]

พระองค์อัลลอฮฺตรัสอีกว่า

]بَلْ رَفَعَهُ اللَّهُ إِلَيْهِ وَكَانَ اللَّهُ عَزِيزًا حَكِيمًا[

หามิได้อัลลอฮฺได้ทรงยกเขา(อีซา)ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก และประกฎว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ [17]

พระองค์บอกว่าพระองค์นั้นอยู่ข้างบนและที่สู่ง

พระองค์ตรัสว่า

]يَخَافُونَ رَبَّهُمْ مِنْ فَوْقِهِمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ[

พวกมันจะกลัวพระผู้อภิบาลของพวกมันผู้ทรงอำนาจที่อยู่เหนือพวกเขาโดยที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่พวกมันถูกบัญชาใช้ [18]

พระองค์อัลลออฺทรงบอกว่าอัล กุรอานถูกประทานจากฟากฟ้า

พระองค์ตรัสว่า

]وَإِنَّهُ لَتَنْزِيلُ رَبِّ الْعَالَمِينَ (192)نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الأمِينُ (193)عَلَى قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنْذِرِينَ (194)بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُبِينٍ [195

และแท้จริงคัมภีร์กุรอานนั้นเป็นการประทานลงมาจากพระผู้อภิบาลสากลโลก อัรรูฮ์ผู้ซื่อสัตว์(ท่านญิบริล)ได้นำลงมายังหัวใจของพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นผู้ตักเตือน โดยเป็นภาษาอาหรับอย่างชัดแจ้ง [19]

พระองค์ตรัสอีกว่า

]تَنْزِيلُ الْكِتَابِ مِنَ اللَّهِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ[

คัมภีร์กุรอานนี้ถูกประทานมาจากพระองค์อัลลอฮฺผุ้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปริชาญาณ [20]

และพระองค์ตรัสอีกว่า

]وَأَنَّا لَمَسْنَا السَّمَاءَ فَوَجَدْنَاهَا مُلِئَتْ حَرَسًا شَدِيدًا وَشُهُبًا ( )وَأَنَّا كُنَّا نَقْعُدُ مِنْهَا مَقَاعِدَ لِلسَّمْعِ فَمَنْ يَسْتَمِعِ الآنَ يَجِدْ لَهُ شِهَابًا رَصَدًا[

และแท้จริงเรา(ญิน)ได้ค้นคว้าหาข่าว ณ ชั้นฟ้าแต่เราได้พบ ณ ที่นั้นเต็มไปด้วยยามเฝ้าผู้เข็มแข็งและเปลวเพลิง และแท้จริงเราเคยนั่ง ณ สถานที่นั่งในท้องฟ้าเพื่อฟัง แต่ขณะนี้ผู้ใดนั่งฟังก็จะพบเปลวเพลิงถูกเตรียมไว้สำหรับพวกเขา [21]

มีโองการกุอานมากมายที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าพระองค์อัลลอฮฺอยู่บนฟ้าสถิตอยู่บนบัลลังก์ของพระองค์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ท่านนบีอิสเราะจ์เมียะรอจได้ชี้ให้เห็นว่านบีมูฮำหมัดมุ่งไปยังบนฟ้า

ที่นี่เรามาดูหลักฐานที่มาจากศอฮาบะฮฺ

อุมัรบุตร ของคอตอบกล่าวว่า: แท้จริงกิจการต่างๆมาจากทางโน้น พร้อมกับชี้นิ้วไปบนฟ้า (บันทึกโดย อิหม่าม อัชซาฮอาบี ในหนังสือของท่านและท่านกล่าวว่าสายรายงานนี้ถูกต้อง )

อีกสายรายงานหนึ่งเป็นสายรายงานมาจากอิบนุอับบาส

จากอิบนุ อับบาสท่านได้กล่าวว่า แท้จริงท่านรอซูล(ซ.ล)ได้กล่าวคุตบะฮฺต่อหน้าผู้คนในวัน นัหร์(วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ อิบนุ อับบาสได้กล่าวต่ออีกว่า ขณะที่ท่านนบีกล่าวคุตบะฮฺอยู่นั้น ท่าน นบีได้เงยศรีษะของท่านสู่ท้องฟ้าพร้อมกับกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลของฉัน ไม่ใช่ข้าพระองค์ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศดอกหรือ? โอ้พระผู้อภิบาลของฉันไม่ใช่ข้าพระองค์ได้ประกาศแล้วดอกหรือ? (บันทึกโดย บุคอรี เล่ม2 หน้า 191 )

จุดยืนบรรดาอิหมาม อะลิซุนนะฮฺ และบรรดา ตาบีอีน ตาบิอิตตาบิอีน

อิหมาม อาบูฮานีฟะฮฺ

ท่านได้กล่าวว่าใครที่ได้ปฏิเสธว่าอัลลอฮฺอยู่บนฟ้า แน่นอนเขาได้เป็นผู้ปฏิเสธ

อิหมามมาลิกบุตรของอานัส

ท่านได้กล่าวว่าพระองค์อัลลอฮฺอยู่บนฟ้า แต่ความรู้ของพระองค์อยู่ทุกๆที่ ไม่มีสิ่งใดที่พระองค์ไม่ล่วงรู้

อิหมามชาฟีอี

ท่านได้กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺสถิตอยู่บนบัลลังก์ บนฟ้า


อิหมามอะหมัด

ท่านได้กล่าวว่า ถูกต้องแล้วพระองค์อัลลอฮฺสถิตอยู่บนบัลลังก์ของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่จะปกปิดในความรอบรู้ของพระองค์

อิหม่ามติรมีซี

ท่านได้กล่าวว่า อูลามะ(ผู้มีความรู้) ได้กล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ ตามที่พระองค์ได้แจ้งไว้ด้วยพระองค์เอง ( อ้างมาจาก หนังสือ อัล อุลู โดยอิหมามซาฮาบี )

อิหมามอิบนุคุชัยมะฮฺ

ท่านได้กล่าวว่า ใครที่ไม่ศรัทธา พระองค์อัลลอฮฺทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ของพระองค์บนฟ้าชั้นที่ 7 เท่ากับว่าเขาได้ปฏิเสธพระเจ้าของเขา หลังจากที่หลักฐานได้ประจักแก่เขา คำพูดนี้ถูกต้อง (บันทึกโดย อัล ฮากิม ในหนังสือมัฆรีฟะฮฺ อูลูมิล ฮาดิษ หน้าที่ 84

เชคคุลอิสลาม อิหม่ามอับดุลกอเดร จัยลานี

ไม่อนุญาตให้เชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺทรงอยู่ทุกๆที่แต่จะต้องยึดมั่นว่าพระองค์ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ ดังเช่นที่พระได้ตรัสไว้ الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى ผู้ทรงกรุณาทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ ในซูเราะฮ ตอฮาโองการที่ 5 (อ้างจากฟัตวา ฮามาวียะฮฺกุบรอ หน้าที่ 87

ต่อไปนี้ข้าพเจ้าได้นำคำอรรถธิบายของอัล ฮาฟิซ อิบนุกาซีร เรามาพิจารณาในสิ่งที่เขาได้อรรถธิบาย เกี่ยวกับโองการกุอาน นี้ ( ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ ) ดังต่อไปนี้

พระองค์ตรัสว่า

]ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ [

หลังจากนั้นพระองค์ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ [22]

สำหรับบุคคลที่พวกเขามีหลากหลายทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความจริงเกี่ยวกับสถานที่ของพระองค์นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องหน้าที่เราจะมาทำการศึกษาค้นคว้าให้ละเอียด กลับกันเรื่องนี้ให้เรายึดมั่นศรัทธาตามบรรดาชาวสาลัฟฟุลซอแหละ เช่น อิหม่ามมาลิก . อัล อูซัยดี . อัซซุรี. อัลลัยษฺ บุตรของสะอัด. อัชชาฟีอี .อะหมัดบุตรของฮัมบัล. อิสหากบุตรของรอฮาวัยฮฺ และบุคคลอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเป็นซึ่งเป็นอิหม่าม(ผู้นำ)ของผู้ศรัทธาจะเป็นอิหม่ามยุคก่อนหรือยุคนี้ก็ดี กล่าวคือพวกเขาได้ปล่อยตามที่โองการถูกประทานโดยไม่มีการ ตักญิฟ[23] ตัชบิฮฺ[24] และตะติล[25]และอะไรที่มีการจินตนาการณ์มโนภาพในความคิดของกลุ่มคนมูชาบิฮฺ(คือคนที่เทียบเคียงคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง) ความจริงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

]لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ[

ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงเห็น [26]

นุอิม บุตรของอะหมัด อัลคุซาอี ท่านเป็นครูของพ่ออิหม่ามบุคอรี ท่านได้กล่าวว่าใครที่เทียบเคียงอัลลอฮฺเสมอเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง และใครที่ปฏิเสธในสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะต่างของพระองค์และในสิ่งที่ท่านบีได้แจ้งไว้ ว่าแท้จริงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ แน่นอนเขาได้เป็นผู้ปฏิเสธ

ดังนั้นใครก็ตามที่เขาศรัทธาในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานที่ประกฎในกุรอานและฮาดิษที่ซอเฮียะห์ที่กล่าวเกี่ยวกับความเหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และพวกเขายึดมั่นศรัทธาต่อคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮฺ เช่นนั้นแหละพวกเขาได้เดินบนแนวทางที่ถูกต้องแล้ว

เป็นที่ประจักชัดแล้วแม้กระทั้งบรรดาอิหม่ามผู้มีความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น อิบนุกาซีร อิหม่ามชาฟีอี อิหม่ามอะหมัด อิหมามมาลิก และบุคคลอื่นๆ พวกเขาเหล่านั้นมีทัศนะที่ตรงกันกับบรรดาชาวสาลัฟ พวกเขาศรัทธาว่าอัลลอฮฺทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ซึ่งเหมาะสมแล้วกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยไม่มีการตะวิล[27]และตะติล[28]

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

]هَؤُلاءِ قَوْمُنَا اتَّخَذُوا مِنْ دُونِهِ آلِهَةً لَوْلا يَأْتُونَ عَلَيْهِمْ بِسُلْطَانٍ بَيِّنٍ فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَى عَلَى اللَّهِ كَذِبًا[

กลุ่มชนเหล่านั้นของเราได้ยึดเอาพระเจ้าต่างๆอื่นจากพระองค์ ทำไม่พวกเขาจึงไม่นำหลักฐานอันชัดแจ้งมายืนยันเล่า ดังนั้นจะมีผู้ใดอธรรมยิ่งกว่าผู้ที่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ [29]


والله أعلم بالصواب


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


แหล่งอ้างอิง

1. Kitab al-ibanah al-usul ad-diyanah, Imam Abu hasan al-Asy ary.

2. kitab aqidah Shahih Penyebab Selamatnya Muslim,al-Hafizd Abu Bakar al-Humaidi, Pustaka Imam as-Syafie ,Indonesia.

3. al-Aqidah at-Thahawiyah,imam Abu Jaafar at-Thahawi.

4. al-Uluw,al-imam az-Zahabi.

5. Fatwa Hamawiyyah kubra,Sheikhul Islam Ibnu Taimiyyah.

6. Tafseer Ibnu Katheer,e-book Terbitan Darussalama(English version).

7. at-Tauhid Lish-Shafil Awwal al-Ally, Sheikh Dr.Soleh Fauzan bin Fauzan bin Abdullah al-Fauzan.


[1] อัล อะรอฟ :54

[2] ตอฮา :5

[3] ยูนุส :3

[4] ฟุรกอน : 59

[5] อัล ชูรอ :11

[6] อัล กาฟี: 15

[7] อัล อะรอฟ : 180

[8] เปลี่ยนจากความหมายเดิมไปสู่อีกความหมายหนึ่ง ผู้แปล

[9] อัล ฮากอฮฺ : 17

[10] อัล ฆอฟัร :7

[11] อัล มุลกฺ : 16

[12] อัล สาญาดะฮฺ : 5

[13] อัล ฟาฏิรฺ :10

[14] อัล มาอะริจจ์: 4

[15] อัล ฆอฟัร : 36-37

[16] อัล อาลอิมรอน :55

[17] อัล นิสา :158

[18] อัล นะฮลุ :50

[19] อัล ชูอาเราะฮฺ :192-195

[20] อัล ซูมัรฺ :1

[21] อัล ญิน : 8-9

[22] อัล อะรอฟ :54

[23] สงสัยในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเช่นการตั้งคำถามว่า ลักษณะของพระองค์และคุณลักษณะของพระองค์เป็นอย่างไร?การตั้งคำถามแบบนี้อิหม่ามมาลิกกล่าวว่าเป็นบิดอะฮฺ ผู้แปล

[24] เปรียบเทียบคุณลักษณะของอัลลอฮฺเสมอเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง ผู้แปล

[25] คือปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ ผู้แปล

[26] อัล ชูรอ :11

[27] เปลี่ยนจากความหมายเดิมไปสู่อีกความหมายหนึ่ง ผู้แปล

[28] คือปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ ผู้แปล

[29] กะห์ฟี : 15



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



เรียบเรียงโดย นาวาวี

ผู้แปล เดช คำเคน

www.an-nawawi.blogspot.com