อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มีเงินเก็บเท่าไหร่ จึงต้องออกซะกาต






ท่านนบีบอกว่าใครมี 20ดีนาร์
ให้ออกซากาตครึ่งดีนาร์

1 Dinar = 4.25 g
20 Dunar = 85 g

เมื่อเทียบกับหน่วยทองคำของไทย
ทอง 1บาท = 15.244 g

ดังนั้นใครที่มีเงินเก็บ
85 / 15.244 = 5.576 บ.
หรือประมาณคร่าว


เงินเหลือเก็บครบรอบปีมีมูลค่า
เท่ากับทองข้างต้น
(โดยใช้ราคาทองในปัจจุบัน)
สมมุติว่าราคาทองปัจจุบัน
ราคาบาทละ 20,000 บาท
ทอง 5.576บาท จึงเท่ากับ
5.576 * 20,000 = 111,519 บ.
เพราะฉะนั้นถ้ามีเงินเก็บ
ครบรอบปีจำนวน 111,519 บาท
ต้องนำเงินส่วนนี้มาหักออก 2.5%
นำไปออกซะกาต

สูตรวิธีการคิดซะกาต
มีเงินเก็บแสนสองขึ้นไป
ให้นำ 40 มาหารกับจำนวนเงินดังกล่าว

ผลลัพธ์ก็ออกมา จาก 2.5 %

ตัวอย่าง 111,519 ÷ 40
= 2,787บ.

วัลลอฮุอะลัม

หะดิษผลบุญละหมาดตะรอเวียะฮ์ต่อเนื่องสามสิบคืน






ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

คำถาม

อยากทราบถึงฮาดีษที่ว่าถึงคุณค่าของการละหมาดตะรอเวียะฮ์ทั้ง  30  คืนครับ ว่าเป็นฮาดีษที่เชื่อถือได้หรือไม่ ?  อย่างไร ?  อ้างจากหนังสือดุรรอตุ้นนาซีฮีน  หน้า  19 ครับ...เพราะบทความดังกล่าวได้ขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า  عن على بن أبى طلب رضى الله عنه  {سئل النبى عليه الصلاةوالسلام خن فضائل التراويح فىشهررمضان فقال ...และอีก 30 ข้อ
จึงรบกวนอาจารย์ช่วยบรรยายให้หน่อยครับ
ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

......
อยากทราบว่า หะดิษที่บอกคุณงามความดีการละหมาดตะรอเวียะห์ในเดีือนร่อมฎอนเป็นอย่างไรกันแน่ ?
ซึ่ง ตอนนี้และอดีตนั้นมีการบอกกล่าวกันเยอะมากๆ  แต่พอมาได้ยินว่า หะดีษที่บ่งบอกถึงคุณงามความดีดังกล่าวนั้น เป็นหะดีษเมาฎัวะอฺ  แสดงว่าไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานและบรรทัดฐานได้เลยแม้แต่น้อย  อันซึ่งปัจจุบันก็มีการสอนและบอกกล่าวกันอีกหลายสถานที่ เช่นที่หมู่บ้านของผมเอง  ดังนั้น เราจะมีวิธีใดบ้างที่จะชี้แจงและบอกกล่าวแก่พวกเขาถึงประเด็นดังกล่าวนั้น อย่างไงและอย่างไรดี  เพื่อความเป็นพี่น้องและเอกทัศน์ต่อความจริง  เพราะหากเราไปบอกเลยว่า สิ่งที่คุณบอกอยู่นั้น มันผิดน่ะ มันเป็นการทำบิดฺอะฮ์น่ะ  หากว่าไปพูดอย่างนี้เลย เกรงว่่า จะเกิดการไม่มองหน้ากัน หรือเกิดความแตกแยกกันอีกก็ได้  เพราะฉะนั้น หากเป็นอาจารย์ควรจะทำอย่างไรต่อประเด็นในคำถามดังกล่าวครับ...วัลลอฮุอะ อฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม วะรอห์มะตุลลอฮิ ตะอาลา วะบะรอกาตุฮฺ



คำตอบ

وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

การละหมาดตะรอวีฮฺในค่ำคืนของรอมาฎอนนั้น  ถือเป็นซุนนะฮฺโดยอิจญ์มาอฺ  เนื่องจากมีรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ  (ร.ฎ.)  ว่า  :  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ส่งเสริมและเชิญชวนในการละหมาดยามค่ำคืนของรอมาฎอนโดยที่ท่านมิได้ใช้ให้พวกเขา  (เหล่าสาวก)  กระทำแบบเด็ดขาดและเคร่งครัด 

ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  กล่าวว่า  :  (مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًاوَاحْتِسَابًاغُفِرَلَه مَاتَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِه)  “ผู้ใดละหมาดยามค่ำคืนของรอมาฎอนอันเนื่องมาจากความศรัทธาและการมุ่งหวังผลานิสงค์  ก็ถูกอภัยให้แก่เขาผู้นั้นแล้วซึ่งบาปที่มีมาก่อน”  (รายงานพ้องกันโดยบุคอรีย์และมุสลิม) 


เพียงพอแล้วสำหรับความประเสริฐและคุณค่าของการละหมาดตะรอวีฮฺในการใช้หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานประกอบกับหะดีษที่อิบนุคุซัยมะฮฺ  บันทึกเอาไว้จากท่านซัลมาน  อัลฟาริซีย์  (ร.ฎ.)  ในซ่อฮีฮฺของท่านและกล่าวว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง  ซึ่งระบุว่า  “เดือนซึ่งพระองค์ทรงกำหนดให้การถือศีลอดเป็นฟัรฎู  และการละหมาดในยามค่ำคืนเป็นกุศลกิจอาสา  ผู้ใดสร้างความใกล้ชิดกับพระองค์ด้วยประการหนึ่งจากความดี  ก็ประหนึ่งดังว่าผู้นั้นปฏิบัติ  1  ฟัรฎูในเดือนอื่น” 


กล่าวคือ  ทำซุนนะฮฺได้ภาคผลเท่ากับทำฟัรฎูนั่นเอง  เพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วสำหรับคุณค่าและความประเสริฐของการละหมาดซุนนะฮฺตะรอวีฮฺโดยไม่ต้องไปอาศัยหะดีษที่ไล่เรียงลำดับผลบุญรายคืนมาเป็นหลักฐาน  เวลาอธิบายกับพี่น้องมุสลิมก็ให้นำเสนอหะดีษที่รายงานพ้องกันโดยบุคอรีย์และมุสลิม  และหะดีษอิบนุคุซัยมะฮฺที่กล่าวมาข้างต้น  ส่วนถ้าจะพาดพิงถึงหะดีษผลบุญรายคืนก็บอกกับพี่น้องว่า  เป็นหะดีษที่ไม่มีสายรายงาน  อย่าไปยึดเอามาเป็นหลักฐาน  พูดแค่นี้ก็พอ  ไม่ต้องรุนแรง 


ส่วนที่คุณ  dragon  ยกตัวอย่างสำนวนในการบอกกับพี่น้องว่า  “สิ่งที่คุณบอกอยู่นั้น  มันผิดน่ะ  มันเป็นการทำบิดอะฮฺน่ะ”  อันนี้ไม่ควร  แต่ให้พูดว่า  สิ่งที่คุณบอกอยู่นั้น  มันไม่ชัวร์น่ะ คุณน่าจะตรวจสอบหะดีษที่ว่าเสียก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร?  และให้ไปบอกกับคนที่ชอบสาธยายนั้นเป็นกรณีสองต่อสอง  อย่าไปขัดต่อหน้าผู้คน 


และจริง ๆ แล้ว  เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการทำบิดอะฮฺ  เพราะการละหมาดตะรอวีฮฺเป็นซุนนะฮฺ  ส่วนข้อมูลที่นำมาอ้างในการชักชวนผู้คนให้ปฏิบัติซุนนะฮฺนี้นั่นเป็นข้อมูลที่มีปัญหา  ปัญหาจึงอยู่ที่ข้อมูล  ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องบิดอะฮฺอะไรนั่น  ไปพูดเรื่องนี้ว่าเป็นบิดอะฮฺ  ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับบิดอะฮฺก็จะเกิดเรื่องได้โดยเฉพาะกับคนที่แสลงหูกับคำ ๆ นี้  จึงต้องเรียบเรียงและเคลียร์ประเด็นในการอธิบายให้ดี!





والله ولي التوفيق







ไขข้อข้องใจหะดิษผลบุญละหมาดตะรอเวียะฮ์ 30 คืน




ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

🏠

.....
คำถาม

อ้างจากหนังสือดุรเราะตุนนาศีหีน อ้างถึงรายงานจากท่านอลีเราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า

คืนที่1 ผู้ละหมาดจะไม่มีบาปเหมือนกับตอนที่เขาถูกคลอดจากท้องมารดาใหม่ๆ
คืนที่ 2 อัลเลาะห์อภัยโทษแก่เขาและบิดาของเขาหากเขาทั้งสองเป็นผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์
คืน ที่ 3 มาลาอีกะจะประกาศใต้อารัชว่าเจ้าจงเริ่มทำความดีเถิดเพราะความชั่วทั้งหลาย ถูกลบล้างออกไปหมดแล้วเจ้าจงใช้ชีวิตให้สวยงามต่อไป
คืนที่4 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับคนที่อ่านคัมภีร์เตารอต อินยีล ซาบูรและอัลกรุอาน
คืนที่5 ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ได้ไปละหมาดทีมัสยิดหะรอม มัสยิดนาบาวีมัสยิดอัลอักซอ
คืน ที่ 6ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ไปทำเตาวาฟ ณ บัลตุลมะมุร (กิบลัตของมาลาอีกะตรงกับบัยตุลเลาะ)หินและของมีค่าทั้งหมดในโลกนี้จะขออภัย ให้แก่เขา
คืนที่ 7 ได้ผลบุญเหมือนกับเขาได้เกิดในสมัยที่ท่านนาบีมูซาสงครามกับฟิรอูนและฮามาน
คืนที่ 8จะได้รับผลบุญเหมือนกับอัลเลาะห์ได้ประทานแก่นาบีอิบฮีม (อ.)
คืนที่ 9 บุญที่ได้รับจะเท่ากับบุญการอีบาดะของนาบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)
คืนที่ 10 อัลเลาะห์จะทรงบันดาลให้พบแต่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้า
คืนที่ 11 หากพวกเขาสิ้นชีวิตในคืนนี้ เขาก็เหมือนกับทากรที่ถูกคลอดใหม่ๆ
คืนที่ 12 เขาจะเกิดมาในวันกียามะด้วยใบหน้าที่ดุจดั่งจันทร์เพ็ญ
คืนที่ 13 เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในวันกียามะ
คืนที่ 14 ในวันกียามะมาลาอีกะจะเป็นพยานยืนเคียงข้างเขา
คืนที่ 15 มาลาอีกะตลอดจนมาลักที่แบกอารัชต่างๆจะอวยพรให้แก่เขา
คืนที่ 16 เขาจะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ปลอดภัยจากนรก
คืนที่ 17เขาจะได้บุญเท่ากับผลบุญบรรดานาบีรวมกัน
คืนที่ 18 มาลาอีกะจะประกาศชื่อของเขาว่า แน่แท้พระองค์อัลเลาะห์ทรงอภัยในตัวเขาและบิดามารดาของเขา
คืนที่ 19 อัลเลาะห์จะยกฐานะอันสูงส่งในชั้นฟิรเดาส์
คืนที่ 20 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ตายชาฮีด
คืนที่ 21 อัลเลาะห์จะสร้างบ้านหลังหนึ่งที่เต็มไปด้วยรัศมีให้แก่เขา
คืนที่ 22 เขาจะไปปรากฏตัวในวันกียามะโดยปราศจากความทุกข์
คืนที่ 23 อัลเลาะห์ได้เตรียมเมืองไว้สำหรับให้เขาครอบครอง
คืนที่ 24 อัลเลาะห์เปิดโอกาสรับดุอายี ่สิบสี่ประการ
คืนที่ 25 อัลเลาะห์ทรงยกโทษในกุโบร์ให้แก่เขา
คืนที่ 26 อัลเลาะห์ทรงยกผลบุญเท่ากับทำอีบาดะสี่สิบปี
คืนที่ 27 เขาจะเดินผ่านสะพานซีร็อตดุจฟ้าแลบ
คืนที่ 28 อัลเลาะห์ทรงยกฐานะให้เขาหนึ่งพันชั้น
คืนที่ 29 อัลเลาะห์ทรงประทานผลบุญให้เท่ากับประกอบพิธีฮัจย์หนึ่งพั นครั้ง
คืน ที่ 30 อัลเลาะห์ทรงกล่าวว่า \" โอ้บ่าวของฉันจงมารับประทานผลไม้ในสวรรค์และจงอาบน้ำซัลซาบีล (ซึ่งเป็นน้ำทิพย์ในสวรรค์)จงดื่มน้ำอัลเกาซัรซึ่งเราเป็นเจ้าของ เจ้าเป็นบ่าวของเรา เจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ข้อมูลจาก muslimthai.com ครับ เขาให้ความเห็นว่าเป็นหะดิษเมาฎัวะอฺ อาจารย์ช่วยบอกหน่อยว่าเป็นยังไง
เชี่อได้เหรอไม่




⌚⌚⌚⌚⌚
คำตอบ

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

หะดีษที่อ้างมาอยู่ในหนังสือดุรร่อตุนนาซิฮีน  ฟิลวะอฺซิวัล  อิรฺชาดฺ  (درة الناصحين فى الوعظ والإرشاد)  ซึ่งรวบรวมโดยอุสมาน  อิบนุ  หะซัน  อิบนิ  อะฮฺหมัด  อัชชากิร  อัลคูบาวีย์  เป็นนักวิชาการในศตวรรษที่  13  แห่งฮิจเราะฮฺศักราช  หน้า  18  และ  19  โดยระบุที่มาว่า  มะญาลิซ  (مجالس)  ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นตำราเล่มใด  เพราะในหนังสือดุรร่อตุนนาซิฮีน  ผู้รวบรวมจะคัดข้อความจากตำรับตำราต่าง ๆ แล้วระบุชื่อว่าเป็นตำราที่มีชื่อว่าอะไร  แต่ไม่ระบุชื่อผู้เขียนหรือเจ้าของตำรา  อย่างคำว่า  มะญาลิซนี้อาจจะเป็น  มะญาลิซุลอับร๊อร,  หรือ  มะญาลิซุลอันว๊าร,  หรือ  มะญาลิซ  อัรฺรูมีย์  หรือ  นุซฮะตุ้ลมะญาลิซ  ไม่ทราบว่าเป็นเล่มใดในหน้าที่  18-19  ของหนังสือดุรร่อตุนนาซิฮีน  ซึ่งอ้างว่าคัดมาจากมะญาลิซ  ระบุว่า จากท่านอะลี  อิบนุ  อบีฏอลิบ  (ร.ฏ.)  ว่า  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้ถูกถามถึงบรรดาความประเสริฐของตะรอวีฮฺในร่อมาฎอน  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  กล่าวว่า  :  ผู้ศรัทธาจะออกจากบาปของตนในค่ำคืนแรกประหนึ่งดังวันที่มารดาของเขาคลอดเขาออกมา ...  อัลหะดีษ  แล้วก็ไล่เรียงไปจนครบ  30  คืน 

ข้อสังเกตจากข้อความที่ระบุในหะดีษนี้คือ

1. หะดีษนี้ไม่มีระบุหรือถูกบันทึกเอาไว้ในตำราหะดีษที่ถูกยึดถือเป็นมาตรฐาน  (كتب الأحاديث المعتمدة)  แต่ถูกระบุไว้ในตำราที่กล่าวถึงเรื่องการตักเตือนชี้แนะซึ่งมักเป็นตำราที่รวบรวมเอาทั้งหะดีษซอฮีฮฺ  หะซันฎ่ออีฟ  และเมาฎูอฺเอาไว้ตลอดจนเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ไม่มีที่มาหรือไม่มีสายรายงาน


2. หะดีษที่อ้างว่ารายงานจากท่านอะลี  (ร.ฎ.)  ไม่ปรากฏสายรายงาน  (สะนัด)  ได้แต่อ้างถึงผู้รายงานสูงสุดคือท่านอะลี  (ร.ฎ.)  การจะรับเอาหะดีษมาปฏิบัติจะต้องทราบถึงที่มาและต้นสายปลายเหตุว่ามีผู้รายงานเป็นใคร  นักวิชาการระบุว่า  การอ้างสายรายงานเป็นส่วนหนึ่งจากศาสนา  (الإِسْنَادُمِنَ الدِّيْنِ)  เพราะถ้าไม่มีสายรายงานก็ตรวจสอบสถานภาพของหะดีษไม่ได้  การอ้างว่ารายงานจากท่านอะลี  (ร.ฎ.)  เพียงอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอ  เพราะหะดีษเมาฎูอฺเป็นอันมากนั้น  ผู้แต่งหะดีษ  (กุ)  มักจะอ้างถึงบุคคลสำคัญเพื่อให้หะดีษดูน่าเชื่อถืออยู่แล้ว


3. ตัวบทของหะดีษ  (มัตฺน์)  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีฮฺ  โดยใช้สำนวนว่า \"ตะรอวีฮฺ\" ซึ่งคำ ๆ นี้ไม่มีระบุในสมัยของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  แต่ได้กลายมาเป็นคำศัพท์เฉพาะ  (มุสฏ่อละฮาตฺ)  ที่นักวิชาการกำหนดขึ้นเพื่อเรียกการละหมาดกิยามุลลัยล์ในเดือนร่อมาฎอนในภายหลังว่า  \"ละหมาดตะรอวีฮฺ\"  และเนื้อหาของตัวบทที่ไล่เรียงจนครบ  30  คืนนั้นก็น่าคิดอยู่ว่าทำไมมันจึงละเอียดได้ขนาดนั้น  เพราะโดยลักษณะของตัวบทในซุนนะฮฺทั่ว ๆ ไปเมื่อกล่าวถึงความประเสริฐของสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งใดก็จะกล่าวไอ้แบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดเช่นนี้  และรอมาฎอนในความเป็นจริงก็ไม่ได้ครบ  30  วันเสมอไป  และส่วนมากจะมี  29  วันด้วยซ้ำไป  แต่สำนวนในหะดีษระบุเอาไว้ครบจนดูเป็นเรื่องที่แน่นอนแบบจงใจ


4. นักวิชาการผู้สันทัดกรณีได้ระบุถึงประเด็นที่สังเกตได้ว่าหะดีษใดน่าจะเป็นหะดีษเมาฎูอฺเอาไว้หลายประเด็น  ส่วนหนึ่งคือ  หะดีษนั้น ๆ บอกถึงเรื่องราวที่สำคัญซึ่งย่อมเป็นปัจจัยให้มีบุคคลเป็นจำนวนมากรายงานหะดีษนั้นแต่ปรากฏว่ามีผู้รายงานเพียงคนเดียว  อันนี้ประเด็นหนึ่ง  ส่วนอีกข้อหนึ่งก็คือ  มีการสัญญาอันยิ่งใหญ่ต่อการกระทำที่เล็กน้อย  ตลอดจนไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกหะดีษนั้น ๆ ในตำรับตำราที่เชื่อถือได้  เป็นต้น  (ดิรอซาตฺ  ฟี  อุลูมิลหะดีษ  ;  ดร.มุฮัมมัด  อะลี  ฟัรฮาตฺ  หน้า  151) 


ข้อสังเกตก็คือว่าท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้ออกมาละหมาดตะรอวีฮฺ  (กิยามุลลัยล์)  ในรอมาฎอนตามที่มีรายงานอย่างถูกต้องเพียง  2  หรือ  3  คืนเท่านั้น  ถ้าหากการละหมาดตะรอวีฮฺมีผลบุญมากมายดังที่ระบุในหะดีษดังกล่าวแล้วท่านทำไมจึงละทิ้งในคืนหลัง  ในบางกระแสรายงานระบุด้วยซ้ำว่าท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ออกมาในค่ำที่  23,25  และ  27  (รายงานโดยอันนะซาอีย์,  อะฮฺหมัด  อิบนุ  อบีชัยบะฮฺ  และอิบนุคุซัยมะฮฺ)  แล้วคืนก่อนหน้านั้นเล่าทำไมท่านจึงไม่ออกมา  หรืออย่างน้อยท่านก็ต้องบอกกล่าวแก่เหล่าซอฮาบะฮฺถึงภาคผลอันมหาศาลให้ได้รับรู้  ซึ่งผลบุญที่ถูกระบุก็ดูจะเกินความเป็นจริง 


เช่น  ในคืนที่  5  อัลลอฮฺจะทรงประทานผลบุญเท่ากับผู้ที่ละหมาด  ณ  มัสญิดสำคัญ  3  แห่งในคืนที่  8  ได้ผลบุญเท่ากับสิ่งที่อัลลอฮฺประทานแก่นบีอิบรอฮีม  (อ.ล.)  ในคืนที่  9  ได้รับผลบุญเท่ากับการทำอิบาดะฮฺของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ซึ่งค้านกับตัวบทที่ถูกต้องอย่างชัดเจน  ในคืนที่  11  ก็มีข้อความคล้าย ๆ กับคืนแรก ในคืนที่  14  มาลาอิกะฮฺจะมาเป็นสักขีพยานแก่เขาว่าได้ละหมาดตะรอวีฮฺ  แล้วอัลลอฮฺจะไม่สอบสวนเขาในวันกิยามะฮฺ  ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีนักวิชาการท่านใดระบุว่า  บุคคลที่จะไม่ถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺนั้นส่วนหนึ่งคือคนที่ละหมาดตะรอวีฮฺในคืนที่  14  แต่อย่างใด  ในคืนที่  17  เขาจะได้รับผลบุญเยี่ยงบรรดานบีทั้งหลาย  ในคืนที่  24  เขาจะมีสิทธิได้รับคำขอที่ถูกตอบรับ  24  ประการ  ในคืนที่  28  อัลลอฮฺจะยกฐานะของเขาในสวนสวรรค์ถึง  1000  ขั้น  ในคืนที่  29  อัลลอฮฺจะประทานผลบุญเท่ากับฮัจญ์ที่ถูกตอบรับ  1000  ฮัจญ์  เป็นต้น 


ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าการละหมาดตะรอวีฮฺเป็นซุนนะฮฺและมีหะดีษที่ซ่อฮีฮฺรับรองอยู่แล้วว่ามีผลบุญมากมาย  แต่การระบุผลบุญในหะดีษดังกล่าวดูจะไม่สมเหตุสมผล  เพราะดูเหมือนว่าจะมีผลบุญมากกว่าการละหมาดฟัรฎูด้วยซ้ำไป 


ผู้ตอบได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้เกี่ยวกับหะดีษบทนี้  แต่ผู้ตอบก็คงไม่อาจหาญชี้ขาดว่าเป็นหะดีษเมาฎูอฺ  ถึงแม้ว่าจะมีประเด็นที่ทำให้เชื่อได้ว่า  น่าจะเป็นหะดีษเมาฎูอฺ  ผู้ตอบคงตอบได้เพียงว่าหะดีษบทนี้ไม่มีสายรายงาน  หาที่มาไม่ได้  (لاَأَصْلَ لَه)  ซึ่งนักวิชาการถือว่าเป็นหะดีษที่โมฆะ  (بَاطِلٌ)  ไม่อาจนำมาเป็นหลักฐานได้ 


อย่างไรก็ตาม  ต้องขอย้ำว่า  หะดีษที่ซ่อฮีฮฺซึ่งบ่งบอกถึงภาคผลในการละหมาดตะรอวีฮฺนั้นมีอยู่และก็เพียงพอแล้วในการนำมาเป็นหลักฐาน  โดยที่เราไม่ต้องไปอ้างหะดีษบทนี้เลยแม้แต่น้อย  เพราะถ้าเข้าข่ายว่าเป็นหะดีษเมาฎูอฺก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่  คือกล่าวตู่ว่าท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้กล่าวทั้ง ๆ ที่ท่านมิได้กล่าว  ซึ่งเป็นบาปหนัก  จึงขอเตือนพี่น้องว่า  อะไรที่ไม่ชัดเจนก็ควรหลีกห่างจากสิ่งนั้นเสีย







อายะห์และดุอาไล่ญิน


http://youtu.be/bBgcI4mOr_o

01-อัรรุกยะตุชชัรอียะฮ(อายะห์และดุอาไล่ญิน)
02-ซูเราะตุลฟาติหะฮฺ
03-ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮ
04-อายะตุลกุรซีย
05-ซูเราะฮฺยาซีน
06-ซูเราะฮฺอัศศอฟฟาต
07-ซูเราะฮฺอัลมุลกฺ(ตะบา)
08-ซูเราะตุลญิน
09-ซูเราะตุชชัรห
10-ซูเราะตุลกาฟิรูน
11-ซูเราะตุลอิคลาศ
12-ซูเราะตุลฟะลัก
13-ซูเราะตุนนาส
14-ดุอาอฺไล่ญินออกจากบ้าน

بسم الله ، أَمْسَيْنَا بِالله الَّذي لَيْسَ مِنْهُ شَئٌ مُـمْــتَنِع ، وَبِعِزَّةِ اللهِ الَّتِي لاَ تُرَامُ وِلاَ تُضَامُ ، وَبِسُلْطَانِ اللهِ الْمَنِيْعِ نَحْـتَجِبُ ، وَبِأَسْـمَائِهِ الْـحُسْنَى كُلِّهَا عَائِذًا مِنَ الأَبَالِسَة ، وَمِنْ شَرِّ شَيَاطِيْنِ الإِنْسِ وَالْـجِنِ ، وَمِنْ شَرِّ كُلِّ مُعْلِنِ أَوْ مُسِرِّ ، وَمِنْ شَرِّ مَايَـخْرُجُ بِاللَيْلِ وَيَكْمُنُ بِالنَّـهَارِ ، وَيَكْمُنُ بِالليلِ وَيَـخْرُجُ بِالنَّهَارِ ، وَمِنْ شَرِّ مَاخَلَقَ وَذَرَأَ وَبَرَأَ ، وَمِنْ شَرِّ إِبْلِيْسَ وَجُنُوْدِهِ ، وَمِنْ شَرِّ كُلِّ دَابَّةٍ أَنْتَ آخِذٌ بِنَاصِيَـتِهَا إِنَّ رَبِّـي عَلَى صِرَاطٍ مستقيم . أَعُوْذُ بِـمَا اسْتَعَاذَ بِهِ إِبْرَاهِيْم وَ مُوسَى وَعِيْسَى وَمُـحَمَّد مِنْ شَرِّ مِاخَلَقَ وَذَرَأَ وَبَرَأَ ، وَمِنْ شَرِّ إِبْلِيسَ وَجُنُوْدِهِ ، ومن شر ما يَـبْغِي .
أعوذ بالله السميع العليم من الشيطان الرجيم
بسم الله الرحمن الرحيم :
" وَالصَّافَّاتِ صَفًّا . فَالزَّاجِرَاتِ زَجْرًا . فَالتَّالِيَاتِ ذِكْرًا . إِنَّ إِلَهَكُمْ لَوَاحِدٌ . رَبُّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَمَا بَيْنَهُمَا وَرَبُّ الْمَشَارِقِ . إِنَّا زَيَّنَّا السَّمَاءَ الدُّنْيَا بِزِينَةٍ الْكَوَاكِبِ . وَحِفْظًا مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ مَارِدٍ . لَا يَسَّمَّعُونَ إِلَى الْمَلَإِ الْأَعْلَى وَيُقْذَفُونَ مِنْ كُلِّ جَانِبٍ . دُحُورًا وَلَهُمْ عَذَابٌ وَاصِبٌ . إِلَّا مَنْ خَطِفَ الْخَطْفَةَ فَأَتْبَعَهُ شِهَابٌ ثَاقِبٌ " . (الصافات : 1-







การดมยาดมและการใส่น้ำหอมขณะถือศิลอด




ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

📒📒

.  ..
อาจารย์ครับ การดมยาดมและการใส่น้ำหอมในขณะถือศีลอด ฮุกมว่าอย่างไรบ้าง ยาซากัลลอฮ์

....

📢📢📢📢📢

คำตอบ

...

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

การดมยาดมไม่ทำให้เสียการถือศีลอด แต่เป็นเรื่องที่สมควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจเข้าข่ายเป็นสิ่งที่มักรูฮฺ ยกเว้นในกรณีมีความจำเป็น เช่น วิงเวียนศีรศะ หน้ามืดจะเป็นลม เป็นต้น ก็ไม่ถือว่ามักรูฮฺแต่อย่างใด

ส่วนการใส่น้ำหอมนั้น ก็ไม่ทำให้เสียการถือศีลอดเช่นกัน





والله أعلم بالصواب



ก้างปลาติดคอขณะทานข้าวซาโฮร์

ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

🌀🌀🌀


คำถาม

อัสสาลามูอาลัยกุม
ครับ อาจารย์
ถ้าหาก ก้างปลาเกิดติดคอ หลังจากที่เรารับประทานข้าวซาโฮร์ เสร็จแล้วเกิดก้างปลาติดคอพยายามยังไงก็ไม่ออก
จนเข้าเวลาที่จะต้องถือศีลอดครับแล้วครับ
แล้วการถือศีลอดของเราเสียไหมครับ
วัสสลาม

...
🐓🐓🐓

คำตอบ

وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

กรณีที่ถามมาถือเป็นอุปสรรค (อุซรฺ)  เมื่อพยายามเอาก้างปลาออกจากลำคอแล้ว  แต่ก้างปลาน้นยังคงติดอยู่ก็ให้ละหมาดในสภาพเช่นนั้นและกลืนน้ำลายลงคอได้  โดยไม่เสียการละหมาด  ในกรณีการถือศีลอดก็เช่นกัน  ถือว่าไม่เสียศีลอด  ต่อเมื่อว่าก้างปลาหลุดออกมาในขณะละหมาดอยู่  ก็ต้องบ้วนก้างปลานั้นออกไป  หากก้างปลาเล็กมากและบ้วนไม่ออกและกลืนลงคอไปโดยที่เราไม่ตั้งใจและไม่ได้กระทำบกพร่องก็ถือว่าไม่เสียการละหมาดและการถือศีลอดแต่อย่างใด  ส่วนถ้าเจตนากลืนลงไปทั้ง ๆ ที่สามารถหยิบมันออกจากปากหรือบ้วนทิ้งได้แต่ไม่ทำก็ถือว่าบกพร่องและทำให้เสียารละหมาดและการถือศีลอด  (ดูรายละเอียดในกิตาบอัล-มัจญมูอฺ  ชัรหุลมุฮัซซับ  เล่มที่  4  หน้า  22-23)





والله أعلم بالصواب

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สิ่งที่ทำให้เสียศิลอด




ตอบโดย. อ.อาลี เสือสมิง



สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดคือ  กิน,  ดื่ม  และมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ศาสนากำหนดให้ถือศีลอดโดยเจตนา  ส่วนการเจาะเลือดหรือการบริจาคเลือดขณะถือศีลอดนั้นทัศนะที่มีน้ำหนักถือว่าไม่ทำให้เสียศีลอด  แต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะจะทำให้ผู้ถือศีลอดอ่อนเพลีย  ส่วนการให้น้ำเกลือนั้นมีทั้งที่ว่าเสียและไม่เสีย  เอาเป็นว่า  ถ้าแย่ขนาดต้องให้น้ำเกลือก็ให้ละศีลอดเสียแล้วให้น้ำเกลือเพราะถือว่ามีอุปสรรคที่ศาสนาผ่อนปรนเอาไว้แล้ว  พ้นรอมาฎอนไปแล้วก็ให้ถือศีลอดชดใช้  (กอฎอ

น้ำลายบูดของผู้ถือศิลอด

ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

🐼

ตอบ


الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

น้ำที่ไหลออกมาจากปากของคนที่นอนหลับในเวลานอนนั้น  ถือเป็นสิ่งที่สะอาดตามที่นักวิชาการฝ่ายอัชชาฟิอียะฮฺ  และอัลฮะนาบิละฮฺระบุเอาไว้อย่างชัดเจน  (มุฆนีย์  อัลมุฮฺต๊าจญ์  1/79,  กัชชาฟุ้ลกินาอฺ  ;  1/220)  นอกเสียจากว่า  ฝ่ายอัชชาฟิอียะฮฺและฝ่ายอัลมาลิกียะฮฺ  กล่าวว่า :  ถ้าหากน้ำที่ไหลจากปากคนนอนหลับนั้นออกมาจากกระเพาะอาหารโดยออกมามีกลิ่นเหม็นและสีขุ่นเหลือง  ก็ถือเป็นสิ่งสกปรก  (นะยิส)  แต่ถ้าน้ำนั้นออกมาจากที่อื่นที่มิใช่กระเพาะหรือสงสัยว่ามาจากกระเพาะหรือไม่ก็ถือว่าสะอาด  (อัลฟิกฮุ้ล-อิสลามี่ย์  1/166)

ดังนั้นน้ำลายบูดที่ไหลจากปากของคนนอนหลับและออกมาจากกระเพาะก็ถือว่าเป็นนะยิสโดยให้พิจารณาลักษณะของมัน  คือ  มีสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็นทั้งนี้ในกรณีที่น้ำลายบูดนั้นได้ไหลออกมาจากปากของคนที่นอนหลับ  (หรือตื่นแต่ยังไม่ได้ล้างน้ำลายบูด)  แต่ถ้ายังอยู่ในปากแล้วกลืนลงคอไปก็ไม่เป็นไรเพราะมันยังอยู่ในที่ของมัน  ส่วนกรณีที่เผลอกลืนหรือไม่มีเจตนากลืนทั้งน้ำลายบูดและไม่บูดนั้นถือว่าไม่เสียศีลอดครับ  !

การหยอดน้ำตาเทียม เสียศิลอดหรือไม่






ในหนังสืออัลฟิกฮุลมันฮะญีย์  อะลา  มัซฮับอัลอิหม่ามอัชชาฟิอีย์  เล่มที่  2  หน้า  84  ระบุว่า 
“และหนึ่งหยดในลูกตานั้นไม่ทำให้เสียศีลอด  เพราะลูกตาเป็นทวารที่ไม่ได้ถูกเปิด”  ถ้าถือตามข้อความนี้  การหยอดน้ำตาเทียมในตอนกลางวันขณะถือศีลอดไม่ทำให้เสียการถือศีลอดแต่อย่างใด!

อย่างไรที่ถือว่ามีการเหนียตศิลอดแล้ว


ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง

🐠

ตอบ

อัรรอฟีอีย์กล่าวว่า  :  และสิ่งนี้คือสิ่งที่ถูกต้อง  หากการถือศีลอดผุดขึ้นในใจเขาตามลักษณะต่างๆ  ที่ถูกพิจารณา  ทั้งนี้เป็นเพราะว่า  เมื่อเขาทานอาหารสุโฮร์เพื่อที่จะทำการถือศีลอดอย่างนั้นอย่างนี้  แน่แท้เขามีเจตนามุ่งหมายแล้ว  (กิตาบ  อัลมัจญ์มูอฺ  เล่มที่  6/314) 

ดังนั้นถ้าผู้ทานอาหารสุโฮร์รู้ตัวและมีสติว่าตนทานอาหารสุโฮร์เพื่อจะถือศีลอดฟัรฎูในเดือนรอมาฎอนโดยคอยระวังแสงอรุณจะปรากฏก็ย่อมถือว่า  เขามีเจตนา  (เหนียต)  ครบถ้วนแล้วตามเงื่อนไขนักวิชาการระบุเอาไว้คือ  มีเจตนาที่หัวใจและมีการระบุเจาะจงคือ  การถือศีลอดนั้นเป็นฟัรฎูในเดือนรอมาฎอนและการตั้งเจตนา  (เหนียต)  นั้นเกิดขึ้นในเวลากลางคืน

เวลาเหนียตศิลอดเดือนร่อมาฎอน


🌻สงสัยอยู่ตั้งนาน ทำไมต้องเนียตว่าศิลอดในวันพรุ่งนี้ ทั้งที่เมื่อเข้าเวลามัฆริบก็เป็นวันนี้แล้ว🌻

🐝ตอบโดยอ.อาลี เสือสมิง

ตอบ


บวชนะซัร  บวชกอฎอร่อม่าฎอนหรือบวชในเดือนร่อมาฎอน  กรณีนี้จำเป็นต้องเหนียตในเวลากลางคืนเท่านั้น ซึ่งเวลากลางคืนที่ว่านี้ก็คือ  นับตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเรื่อยไปจนถึงก่อนแสงอรุณจริงขึ้น  ดังนั้นถ้าผู้ที่จะบวชเหนียตถือบวชนับตั้งแต่เวลาหลังมัฆริบก็ถือว่า  มีเหนียตในเวลากลางคืนแล้ว  ถ้าเหนียตตอนตี  4  ซึ่งเป็นเวลาก่อนแสงอรุณขึ้นยังเป็นเวลากลางคืนอยู่  ก็ถือว่ามีเหนียตในเวลากลางคืนเช่นกัน


ประเด็นที่ถามถึงจึงน่าจะเป็นศัพท์แสงที่ใช้คือคำว่า  “พรุ่งนี้” ถ้าเหนียตตอนหลังอิชาอฺก็น่าจะใช่  เพราะว่ายังไม่เข้าวันใหม่คือยังคงเป็นวันนี้อยู่  แต่ถ้าเหนียตตอนตี  4  ซึ่งเป็นเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้วจะเหนียตว่า  พรุ่งนี้ได้อย่างไร  เพราะจริงๆมันเป็นวันนี้แล้ว  นี่เป็นสิ่งที่ชวนให้น่าคิด  แต่ถ้าคิดดีๆ  การเหนียตในเวลาหลังอิชาอฺก็ต้องถือว่าเป็นการเหนียตถือบวชในวันนี้เช่นกันเพราะตามคติการนับวันตามแบบอิสลาม  ถือว่าเมื่อดวงตะวันลับขอบฟ้าแล้วก็เข้าวันใหม่แล้ว  เพราะกลางคืนมาก่อนกลางวัน  เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนช่างคิด  ชอบตั้งแง่เพราะถ้าเถรตรงช่วงที่ว่าก็คงต้องเหนียตตั้งแต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ตกดิน  เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินวันพรุ่งนี้หรือวันใหม่ก็มาถึงแล้ว  ตกลงจะเอาอย่างไรดี  ทั้ง ๆ ที่หลักการบอกว่าต้องเหนียตในเวลากลางคืน  มิใช่เหนียตในเวลากลางวัน





สิ่งที่ท่านนบี ซ.ล. เตรียมตัวปฎิบัติในช่วง 10 คืนสุดท้ายของรอมฎอน

สิ่งที่ท่านนบี ซ.ล. เตรียมตัวปฎิบัติในช่วง 10 คืนสุดท้ายของรอมฎอน

ท่านหญิงอาอิซะห์ได้เล่าให้ฟังถึงการจัดเตรียม การเตรียมตัวเป็นพิเศษ เพื่อต้อนรับ 10 คืนสุดท้าย เมื่อเวลาใกล้เข้ามาว่า
قالت عائشة : كان رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إذا دخل العشر ، شد مئزره ، وأحيا ليله ، وأيقظ أهله . [ متفق عليه]
“ เมื่อ 10 คืนสุดท้ายได้มาถึง ท่านร่อซูล ซ.ล. จะทำร่างกายให้กระฉับกระเฉง ทำให้กลางคืนมีชีวิตชีวา และจะปลุกคนในครอบครัวให้ลุกขึ้นมา ” บันทึกโดยบุคคอรีและมุสลิม

อีกรายงานหนึ่งซึ่งมีความหมายเดียวกันกล่าวว่า
أحيا الليل ، وأيقظ أهله ، وجدَّ ، وشدَّ المئزر .
“ ท่านทำให้กลางคืนมีชีวิตชีวา ปลุกคนในครอบครัว ขยันขันแข็ง และทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง “
และมีอีกรายงานหนึ่งบันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ว่า
كان النبي يجتهد في العشر الأواخر ما لا يجتهد في غيره .
“ ปรากฏว่าท่านนบี ซ.ล.จะขยันขันแข็งเป็นพิเศษในช่วง 10 คืนสุดท้าย ซึ่งไม่เห็นท่านขยันอย่างนี้ในคืนก่อนๆ “

รายงานโดยท่านหญิงอาอิซะห์ กล่าวว่า
كان النبي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بخلط العشرين بصلاة ونوم ، فإذا كان العشر – يعني الأخير – شمَّر وشد المئزر . [ أحمد ]
“ ปรากฏว่าในช่วง 20 คืนแรกของเดือนรอมฏอน ท่านนบี ซ.ล. จะละหมาดด้วย และพักผ่อนนอนหลับด้วย แต่เมื่อถึง 10 คืนหลัง คือช่วงสุดท้าย ท่านจะมีความกระฉับกระเฉง กระชับเสื้อผ้า เพื่อให้คล่องตัวในการทำอิบาดะฮมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “ บันทึกโดยอิหม่ามอะห์หมัด

#เตรียมพร้อมกันหรือยัง

ช่างน่าอัปยศสิ้นดีต่อคนหนึ่งที่รอมฏอนมายังเขา

♥ โอ้ บ่าวของอัลลอฮ์  เมื่อจิตใจและหัวใจทั้งหลายไม่เกิดความหวั่นไหวที่จะกลับเนื้อกลับตัวและเสียใจในความผิดต่างๆในเดือนนี้ แล้วเมื่อไหร่ที่หัวใจจะสำนึกผิด?  และด้วยเหตุนี้แหละท่านนบี   จึงกล่าวว่า

((رَغِمَ أَنْفُ رَجُلٍ دَخَلَ عَلَيْهِ رَمَضَانُ ثُمَّ انْسَلَخَ قَبْلَ أَنْ يُغْفَرَ لَهُ)) رواه الترمذي وأحمد

"ช่างน่าอัปยศสิ้นดีต่อคนหนึ่งที่รอมฏอนมายังเขา แต่เขากลับไม่ได้รับการอภัยโทษ"

       เพราะนี่คือ ฤดูกาลที่ยิ่งใหญ่แห่งการกลับเนื้อกลับตัว หัวใจที่หวั่นไหวนั้นต้องกลับสู่อัลลอฮ์  ด้วยกับการเชื่อฟังต่อพระองค์อย่างแท้จริง