อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ผู้ที่เชื่อว่าฝนตกลงมาด้วยอิทธิพลของดวงดาว



ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า
“บ่าวของข้าตื่นขึ้นมาในสภาพเป็นผู้ศรัทธาต่อข้าและปฏิเสธข้า
ผู้ใดที่เชื่อว่าฝนที่ตกลงมาด้วยความโปรดปราณและความเมตตาของอัลลอฮ์ เขาคือผู้ศรัทธาต่อข้าและเป็นผู้ปฏิเสธอิทธิพลของดวงดาว
ส่วนผู้ใดที่เชื่อว่าฝนตกลงมาด้วยอิทธิพลของดาวดวงนั้นดวงนี้ เท่ากับเขาได้ปฏิเสธต่อข้าและศรัทธาต่อดวงดาว”

(บันทึกหะดิษโดยอิหม่ามมุสลิม เลขที่56 บทที่36 : ใครที่กล่าวว่า "เราได้รับฝนเพราะดวงดาว" เป็นผู้ปฏิเสธ )


หะดิษบทนี้ยืนยันผู้ที่เชื่ออิทธิพลของการโคจรของดวงดาว กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ซึ่งการเชื่อฤกษ์ยามต่างๆ ในการทำพิธีหรือกิจการต่างๆ เช่น การแต่งาน การซื้อรถ การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ก็เป็นการเชื่อว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อกิจการนั้นๆ
เพราะถือฤกษ์ยามข้างขึ้นข้างแรมนี้ว่าจะมีผลดีผลร้ายในพิธีกรรมหรือกิจการดังกล่าว จะเอาชะตาชีวิตไปฝากไว้กับข้างขึ้น โดยเชื่อว่าแต่งงานหรือทำกิจการใดๆ จะได้ขึ้น หรือเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าไปทำในข้างแรมจะทำให้ชีวิตคู่อับเฉา หรือกิจการล่มสลาย
การดูฤกษ์ยามข้างขึ้นข้างแรมมีเหตุมาจากการโคจรของดวงจันทร์ที่เป็นหนึ่งในบริวาลของดวงอาทิตย์ ซึ่งรอบการโคจรของดวงจันทร์จะกินระยะเวลาประมาณ 29 – 30 วัน โดยช่วงขาขึ้นเริ่มจากขอบฟ้าด้านตะวันตกที่เราแลเห็น จากเสี้ยวเล็กๆ ก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน ซึ่งจะถูกนับเป็นข้างขึ้น เช่น ขึ้น 2 ค่ำ 3 ค่ำ 4 ค่ำ และ ฯลฯ