อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

กรณีอ่านดุอาอ์กุนูต




1.อ่านดุอาอ์กุนูต"นาซิละฮฺ" หรือ "นะวาซิล” (กุนูตวิกฤต) ในทุกวักตูหรือบางวักตูของละหมาด  ซึ่งเป็นกุนูตในสถานการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม

เมื่อพี่น้องมุสลิมเดือดร้อน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บัญญัติให้อิมามรณรงค์ขอดุอาอฺในการละหมาดทุกวักตู(ถ้าทำได้) หรือเลือกบางวักตูก็ได้ โดยการกุนูตก่อนหรือหลังรุกัวอฺในร็อกอะฮฺสุดท้าย ขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและลงโทษผู้อธรรม

 فدعا النبي صلى الله عليه وسلم شهرا في

รายงานจากอนัสเล่าว่า ความว่า “ท่านนบีมุหัมมัดดุอาอ์  (กุนูตเป็นระยะเวลา) หนึ่งเดือนในละหมาดศุบหฺ” (บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)


ท่านอนัส บุตรของมาลิก ได้เล่าเกี่ยวกับนักอ่านอัลกุรอานถูกฆ่าตาย เขากล่าว่า อนัสได้กล่าวแก่ฉันว่า "ฉันเห็นท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ทุกครั้งที่ละหมาดศุบฮฺ ท่านรสูล ยกมือทั้งสอง เพื่อขอดุอาอ์สาปแช่งพวกเขา หมายถึงบรรดาผู้ซึ่งสังหารนักอ่าน"
(บันทึกโดยบัยหะกีย์ หะดิษเลขที่ 3145)

รายงานจากท่านบารออ์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์ และมักริบ" 
(บันทึกโดยบุคอรี มุสลิม อบูดาวูด ติรมีซีย์)

มีผู้ถามท่านอนัสว่า "ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์บ้างหรือป่าว "? ท่านอนัสตอบว่า "ท่านรสูลเคยอ่านดุอาอ์กุนูตหลังจากรุกัวอ์เป็นเวลาไม่นานนัก"
(บันทึกโดย บุคอรี มุสลิม อบูดาวูด และนาซาอี)

ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า "สาบานต่ออัลลอฮ์ว่า แน่แท้ข้าพเจ้าจะละหมาดให้พวกท่านทั้งหลายได้ศึกษาเหมือนอย่างที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ละหมาด ประากฏว่า ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ได้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดดุฮ์รี ละหมาดอีชาครั้งสุดท้าย และละหมาดศุบฮ์ วิงวอนขอให้มวลมุสลิมและสาปแช่งพวกกาเฟร"
(บันทึกหะดิษโดย มุสลิม อบูดาวูด และนาซาอี)

2.ดุอากุนูนในละหมาดวิตรฺ ซึงเป็นละหมาดที่ส่งเสริมให้กระทำในยามค่ำคืน แต่ส่งเสริมให้ละหมาดวิตรฺเป็นะละหมาดสุดท้ายของกลางคืน รวมถึงกุนูตในละหมาดวิตรฺในสิบห้าคืนหลังของเดือนรอมฎอน

จะขอดุอาอ์กุนูตก่อนหรือหลังรุกัวอ์ ของละหมาดวิตรฺ

-หลักฐานให้อ่านดุอาอ์กุนูตก่อนรุกัวอ์


عن أبي بن كعب أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يوتر بثلاث ركعات كان يقرأ في الأولى بسبح اسم ربك الأعلى وفي الثانية بقل يا أيها الكافرون وفي الثالثة بقل هو الله أحد ويقنت قبل الركوع فإذا فرغ قال عند فراغه سبحان الملك القدوس ثلاث مرات يطيل في آخرهن
تحقيق الألباني :
صحيح ، ابن ماجة ( 1171 )

จากท่านอุบัยฺ บุตรของกะอฺบ์ ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺละหมาดวิตรฺสามร็อกอะฮฺ โดยอ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลาในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศในร็อกอะฮฺที่สาม แล้วท่านนบีก็ดุอาอ์กุนูตก่อนรุกูอฺ ครั้งเมื่อนมาซเสร็จ ท่านรสูลก็กล่าว สุบหานัลมะลิกิลกุดดูส สามครั้ง และลากเสียงยาวในครั้งสุดท้าย" (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะหี้หฺ)


وأصحاب النبي ( صلى الله عليه وسلم ) كانوا يقنتون في الوتر قبل الوكوع . وهذا سند جيد
وهو على شرط مسلم

ความว่า "ปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด พวกเขาจะขอดุอาอ์กุนูตในละหมาดซวิตรฺก่อนรุกูอฺ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนุมาญะฮ์ หะดิาเลขที่ 1238 สายรายงานเศาะหี้หฺ)

 รายงานมาจาก ท่านอัมรฺ บิน อับดุลลอฮ์ อัล-บัศรีย์,  ซึ่งรายงานมาจาก ท่านอัล-ฟัฎล์ บิน มุหัมมัด บิน อัล-มุซัยยับ ...  แล้วสืบสายรายงานไปจนถึง  ท่านหะซัน บิน อะลีย์  ร.ฎ.  ซึ่งกล่าวว่า ....

     عَلَّمَنِىْ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ أَقُوْلَ إِذَافَرَغْتُ مِنْ قِرَاءَتِىْ فِى الْوِتْرِ :  أَللَّهُمَّ اهْدِنِىْ فِيْمَنْ هَدَيْتَ ........... اَلْحَدِيْثَ ..                                                
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  ได้สอนให้ฉันกล่าว (คืออ่านดุอากุนูต) เมื่อฉันเสร็จสิ้นจากการอ่าน ในนมาซวิตรฺ ว่า ..  อัลลอฮุมะฮ์ดินีย์ ฟีมันฮะดัยต์ ............ (จนจบหะดีษ) ...
คำกล่าวของท่านหะซันที่ว่า ..  ท่านนบีย์ได้สอนให้ท่านอ่านดุอากุนูตเมื่อ ..  “เสร็จสิ้นจากการอ่านแล้ว” ..   ตามรูปการก็คือ ..  “เสร็จสิ้นจากการอ่านฟาติหะฮ์และซูเราะฮ์แล้ว” ..  ก่อนจะก้มลงรุกั๊วะอฺ นั่นเอง ...


-หลักฐานอ่านดุอาอ์กุนูตหลังรุกัวอ์ 

ท่านมุฮัมหมัดเล่าว่า "ท่านอนัสบุตรของมาลิกถุกถามเกี่ยวกับการกุนูต เขาตอบว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กุนูตหลังจากรุกัวอ์ " (บันทึกหะดิษโดย อิบนุมาญะฮ์ หะดิาเลขที่ 1184 หะดิษเศาะเฮียะฮ์ )

....................


!!!!!!****สำหรับกรณีอ่านดุอาอ์กุนูตในร็อกอะฮ์สุดท้ายหลังรุกัวอ์ในละหมาดซุบฮ์ในเวลาปกติ ซึ่งไม่ใช่กรณีเกิดวิกฤตการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม(ดุอาอ์กุนูตนาซิละฮฺ) นั้น
ท่านอิมามชาฟีอีย์ และอิมามมะลิกมีทัศนะว่า ถือเป็นสุนะฮ์ให้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำ ส่วนทัศนะอื่น่ ไม่ว่าท่านอิมามฮานาฟีย์ อิมามอะหฺมัด ไม่มีการอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำแต่อย่างใด ซึ่งท่านอิมามชาฟีอีย์ และท่านอิมามมาลิก ได้อาศัยหลักฐานหะดิษที่ให้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำดังนี้

ท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์ (สิ้นชีวิตต้นปี ฮ.ศ. 160)  ได้รายงานมาจากท่านรอเบี๊ยะอฺ บินอนัส (เป็นตาบิอีน,  สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 140)  ซึ่งได้รายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. (เป็นเศาะหาบะฮ์,  มีความขัดแย้งในปีสิ้นชีวิตว่า เป็นปี ฮ.ศ. 93 หรือปี ฮ.ศ. 102) ว่า ...

 عَنْ أَنَسٍ أَنَّ النََِّّبى صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَنَتَ شَهْرًا يَدْعُوْ عَلَيْهِمْ ثُمَّ تَرَكَهُ،  فَأَمَّا فِى الصُّبْحِ فَلَمْ يَزَلْ يَقْنُتُ حَتَّى فَارَقَ الدُّنْيَا

  ความว่า .. “จากท่านอนัส บินมาลิก กล่าวว่า  แท้จริงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านดุอากุนูตหนึ่งเดือน เพื่อสาปแช่งชนกลุ่มนั้น  หลังจากนั้น ท่านก็ละทิ้งมัน,  อนึ่ง สำหรับการกุนูตในละหมาดศุบฮ์นั้น ท่านยังคงอ่านต่อไปจนท่าน(ตาย)จากโลกนี้ไป” 
(ผู้บันทึกหะดีษนี้คือ ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ”  เล่มที่ 2  หน้า 201,  ท่านอัด-ดารุกุฎนีย์  ในหนังสือ “อัส-สุนัน”  เล่มที่ 2 หน้า  39,   ท่านอับดุรฺ ร็อซซากในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ”  เล่มที่ 3  หน้า 110 หรือหะดีษที่ 4964,   ท่านอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด”  เล่มที่ 3  หน้า 162,    ท่านอัฎ-เฎาะหาวีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุ มะอานีย์ อัล-อาษารฺ”  เล่มที่ 1  หน้า 244,   ท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ”  เล่มที่ 2 หน้า 211,   ท่านอิบนุลญูซีย์ในหนังสือ “อัล-อิลัล อัล-มุตะนาฮิยะฮ์”  เล่มที่ 1  หน้า 445,   ท่านอัล-บัฆวีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ-ซุนนะฮ์”  เล่มที่ 2  หน้า 244,   และท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-อัรฺบะอีน”)

 ข้อความข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์

!!!!!แต่ข้อความในประโยคที่สองหรือประโยคหลังที่ว่า .. “อนึ่ง สำหรับในนมาซซุบห์ ท่านนบีย์ฯ จะยังคงอ่านกุนูตต่อไปจนกระทั่งท่านสิ้นชีวิต” นักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่า เป็นข้อความที่ถูกปฏิเสธความถูกต้อง .. หรือที่เรียกตามศัพท์วิชาการหะดีษว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” .


ท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์  เป็น “เพียงผู้เดียว” ที่รายงานหะดีษด้วยข้อความข้างต้นนี้ มาจากท่านรอเบี๊ยะอฺ บินอนัส,  จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ...
       

ท่านอัล-หากิม อัน-นัยซาบูรีย์ กล่าวว่า ...
                                                       إِسْنَادُ هَذَاالْحَدِيْثِ حَسَنٌ
“สายรายงานของหะดีษนี้ สวยงาม” ...
(จากหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ-ซุนนะฮ์” ของท่านอัล-บัฆวีย์  เล่มที่ 2  หน้า 244)

ท่านอิหม่ามอัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวหลังจากนำหะดีษบทนี้ลงบันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” ของท่าน เล่มที่ 3  หน้า 504 ว่า ...

    حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ، رَوَاهُ جَمَاعَةٌ مِنَ الْحُفَّاظِ وَصَحَّحُوْهُ،  وَمِمَّنْ نَصَّ عَلَى صِحْتَهِ ِالْحَافِظُ أَبُوْ عَبْدِاللهِ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىٍّ  الْبَلْخِىُّ،  وَالْحَاكِمُ أَبُوْ عَبْدِاللهِ فِىْ مَوَاضِعَ مِنْ كُتُبِهِ،  وَالْبَيْهَقِىُّ                                                                                  
“(หะดีษนี้) เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์!  รายงานโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากบรรดานักวิชาการหะดีษระดับหาฟิศ และพวกเขาถือว่า มันเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะอ์, .. และส่วนหนึ่งจากผู้ที่ระบุชัดเจนถึงความเศาะเหี๊ยะฮ์ของหะดีษนี้  ได้แก่ ท่านหาฟิศอบูอับดิลลาฮ์ มุหัมมัด อัล-บัลคีย์,  ท่านอัล-หากิม อบูอับดิลลาฮ์ ในหลายตำแหน่งจากตำราต่างๆของท่าน,  และท่านอัล-บัยฮะกีย์”



>>>>> แต่ขณะเดียวกัน ก็มีนักวิชาการหะดีษอีกมิใช่น้อยที่มองว่า  หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษมุงกัรฺ  (حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ)  คือ หะดีษที่ถูกคัดค้านความถูกต้องซึ่งถือเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟมากประเภทหนึ่ง


  วิเคราะห์
หะดีษการอ่านกุนูตจากการรายงานของท่านอบูญะอฺฟัรฺอัร-รอซีย์ข้างต้น  จะแบ่งออกเป็น 2 ประโยคคือ ...
ประโยคแรก  กล่าวว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตเพื่อสาปแช่งชนกลุ่มนั้น เป็นเวลา 1 เดือน  หลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน ...
ประโยคที่สองกล่าวว่า  อนึ่งสำหรับการกุนูตในนมาซซุบห์นั้น  ท่านยังคงอ่านมันต่อไปจนท่านสิ้นชีวิต

สถานภาพของหะดีษบทนี้จากประโยคแรกที่กล่าวว่า .. “ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตเพื่อสาปแช่งชนกลุ่มหนึ่งเป็นเวลา 1 เดือน,  หลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน” .. ถือเป็นรายงานที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ)   ทั้งนี้ เพราะมีหลักฐานสนับสนุนมาทั้งในลักษณะ شَاهِدٌ (พยานยืนยัน, คือหะดีษซึ่งรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ท่านอื่นที่มีข้อความคล้ายคลึงกับหะดีษข้างต้น) .. และในลักษณะ مُتَابِعٌ (รายงานที่สอดคล้องกัน, คือหะดีษจากกระแสอื่นซึ่งรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ท่านเดียวกัน,  มีข้อความสอดคล้องหรือเหมือนกันกับหะดีษข้างต้น)  จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์,  ท่านมุสลิม,  และนักวิชาการท่านอื่นอีกมาก

!!!!แต่ข้อความในประโยคที่สองหรือประโยคหลังที่ว่า .. “อนึ่ง สำหรับในนมาซซุบห์ ท่านนบีย์ฯ จะยังคงอ่านกุนูตต่อไปจนกระทั่งท่านสิ้นชีวิต” .. นั้น  นักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่า เป็นข้อความที่ถูกปฏิเสธความถูกต้อง .. หรือที่เรียกตามศัพท์วิชาการหะดีษว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” .


.คำว่า หะดีษมุงกัรฺ (مُنْكَرٌ) ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .. ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ --โดยทั่วๆไป -- จะมีความหมาย 2 นัย คือ ...
1.  หมายถึงหะดีษซึ่ง .. ผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือเพราะมีความผิดพลาดอย่างน่าเกลียด (فَحُشَ غَلَطُهُ),  หรือหลงลืมบ่อยๆ (كَثُرَتْ غَفْلَتُهُ),  หรือปรากฏความชั่ว(ฟาซิก)ชัดเจน (ظَهَرَفِسْقُهُ)  ได้รายงานหะดีษนั้นมาเพียงคนเดียว .. ไม่ว่าจะมีการรายงานที่ขัดแย้งมาจากผู้อื่นหรือไม่ก็ตาม ...
2.  หมายถึง “หะดีษ” ซึ่งผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือ ได้รายงานมาให้ขัดแย้งกับผู้รายงานท่านอื่นที่เชื่อถือได้,..หรือ “ข้อความ” ซึ่งผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือ ได้รายงานมาให้เป็น “ส่วนเกิน” ..  ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้น ไม่มีปรากฏในการรายงานของผู้รายงานอื่นที่เชื่อถือได้ ...


หะดีษของหะดีษข้างต้นที่ชื่ออบู ญะอฺฟัรฺ อัรรอซีย์ เป็นบุคคลที่เฎาะอีฟ (ขาดคุณสมบัติหนึ่งของผู้ที่รายงานหะดีษที่เศาะหี้หฺ) ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัดก็กล่าวไว้เช่นนั้น

อีกทั้งท่านอบู ซัรอะฮฺแสดงทัศนะว่า “ เขาเป็นบุคคลที่สับสนมากเหลือเกิน “ (ดูหนังสือ ซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 275-276)

เมื่อหะดีษข้างต้นเฎาะอีฟ นั่นหมายรวมหะดีษข้างต้นไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการอ้างอิงได้แม้แต่น้อย อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าด้วยท่านรสูลุลลอฮฺ และบรรดาเศาะหาบะฮฺในอดีตนั้นอ่านดุอาอฺกุนูตในละหมาดศุบหฺเป็นประจำ แต่พบหลักฐานว่าไม่มีการอ่านดุอาอฺกุนูต ดั่งหลักฐาน

*****จากท่านอบู มาลิก อัลอัชญะอีย์ เล่าว่า “ ท่านอุบัยย์เคยนมาซเป็นมะอฺมูมตามท่านรสูลุลลอฮฺขณะเขาอายุได้ประมาณ 16 ปี และเขายังเคยนมาซเป็นมะอฺมูมตามท่านอบูบักร์, ท่านอุมัร และท่านอุษมานอีกด้วย ฉันจึงกล่าวถามท่านอุบัยย์ว่า พวกเขาเหล่านั้นเคยอ่านดุอาอฺกุนูต (ในนมาซศุบหฺ) หรือไม่ ? เขาตอบว่า ไม่เคยเลย โอ้ลูกรัก (ดุอาอฺกุนูตในนมาซศุบหฺนั้น) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ (คืออุตริกรรมในศาสนา) 
ได้มีรายงานจากท่านอิบนุ หิบบาน อัลเคาะฏีบ และอิบนุ คุซัยมะฮฺ โดยถือว่าหะดีษข้างต้นเศาะหี้หฺ (ถูกต้อง) ซึ่งยังมีรายงานอีกว่า

ท่านอนัสกล่าวว่า “ แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺไม่เคยอ่านดุอาอฺกุนูตในเวลานมาซศุบหฺเลย นอกจากท่านรสูลได้ขอดุอาอฺที่ให้ประโยชน์แก่กลุ่มชนหนึ่ง หรือไม่ก็ขอดุอาอฺให้ลงโทษแก่กลุ่มชนหนึ่ง “ (ดูหนังสือ หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ # 1 หน้า 8)



>>>><<<<สำหรับดุอาอ์กุนูตที่อ่านในร็อกอะฮ์สุดท้ายของละหมาดศุบฮ์ ที่มุสลิมบางท่านอ่านนั้น ก็เป็นดุอาอ์กุนูตที่ท่านนบีอ่านในกุนูตละหมาดวิตรฺนั้นเอง


สรุป ดุอาอ์กุนูตนั้นมีกรณีให้กระทำ ในกรณี(1)เกิดวิกฤตการณ์เพื่อขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและลงโทษผู้อธรรม ซึ่งเรียกว่าดุอาอ์กุนูต"นาซิละฮฺ" 
(2)ในละหมาดวิตรฺ


!!!สำหรับกรณี หะดิษที่รายงานว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัม  อ่านการกุนูตในละหมาดศุบฮ์นั้น ท่านยังคงอ่านต่อไปจนท่าน(ตาย)จากโลกนี้ไป ซึ่งรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. จากการรายงานของท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์ .. ตามหลักวิชาการจึงถือว่าเป็นหะดีษมุงกัรฺ ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .. จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องให้อ่านกุนูตในนมาซซุบห์เป็นประจำทุกเช้าไม่ได้ 


 والله أعلم

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

เหนียตคืองานของหัวใจไม่ใช่ลิ้น


เหนียต หรือ นีญะฮ์

^___^เหนียตคืองานของหัวใจไม่ใช่ลิ้น^___^

ท่านบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ความยำเกลงอยู่ที่นี่ แล้วท่านก็ช้ไปที่อกของท่านสามครั้ง"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 4650)

ท่านบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ์ไม่พิจาณาเรือนร่างและรูปลักษณของพวกเจ้า ทว่าพระองค์จะพิจารณาหัวใจของพวกเจ้า และท่านได้ชี้นิ้วไปที่อกของท่าน"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 4650)

ท่านอีหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า "เหนียตคือ ความมุ่งมั่น มันคือความตั้งมั่นของหัวใจ (ฟัตฮุ้ลบารีย์ เล่ม 1 หน้าที่ 16)

เหนียต เป็นงานของหัวใจ คือภาาาใจที่อยู่ในชนทุกชาติ สิ่งนี้เป็นธรรมชาติที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงให้มีแก่มนุษย์โดยทั่วไป นอกจากคนที่ครองสติตนเองไม่ได้ คนที่อยู่ในอาการละเมอ หรือคนเพ้อ..

ในตำราทุกเล่มจะระบุตรงกันว่า "สถานที่ของเหนียตคือหัวใจ" เช่นเดียวกับการศรัทธาหรือความยำเกลงที่ก่อกำเนิดจากหัวใจมิใช่ปลายลิ้น

เมื่อคำว่าเหนียต คือสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจ จึงไม่มีผู้ใดรับรู้สิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ใดได้ นอกจากเขาพูดออกมา และปฏิบัติหรือแสดงอาการให้เห็น และการทำอิบาดะฮ์ใดๆ โดยปราศจากเหนียตหรือเจตนานั้นถือเป็นโมฆะ"""

เมื่อโกหกว่า"การไม่มีครูชัยตอนเป็นผู้นำทาง"ท่านนบีเป็นผู้พูดทั้งที่เป็นความเชื่อของซูฟีย์


ซูฟีย์


^^__^^ผมได้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์หนึ่ง ได้ยินเคาะฏีบอ่านคุฏบะฮฺว่า ...“บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีครู จงรู้ไว้เถิดผู้นำทางของเขาคือชัยฎอน” .... และอ้างว่าเป็นหะดิษจากท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และอธิบายว่าห้ามมุสลิมศึกษาเรียนรู้ศาสนาทางทีวี ทางอินเตอร์เน็ต ทางตำรา หรือทางใดก็แล้วแต่ที่ไม่มีครูคอยชี้แนะ

....ผมเคยได้ยินคำนี้มันเป็นความเชื่อของกลุ่มซูฟีย์ ...และก็ใช่ตามที่คิด ^^^กลุ่มซูฟีย์ มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของนักซูฟีย์ทั้งหลายคือต้องมีครู จนมีคำกล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีครู จงรู้ไว้เถิดผู้นำทางของเขาคือชัยฎอน” นักซูฟีย์ได้ให้ความหมายในซูเราะห์ อัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 35 “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเกรงกลัวอัลเลาะห์ และจงแสวงหาสื่อไปสู่อัลเลาะห์” คำว่า “สื่อ” ในที่นี้นั้นนักซูฟีย์หมายถึง ครู และครูในที่นี้หมายถึงครูมุรซีร หรือ โต๊ะแซะห์ ผู้ที่สามารถพาเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ ครูที่จะสามารถออกมุบายิอะฮฺได้

...การมุบายิอะฮฺนั้นเป็นการทำสัตยาบัน ระหว่างครูกับศิษย์ ว่าจะเป็นครูกับศิษย์กันไปตลอดทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ ครูจะเป็นผู้ชี้แนะในการรู้จักอัลลอฮฺ เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงไปสู่อัลลอฮฺ(วาซีตอฮฺ หรือ สื่อ) อีกทั้งจะต้องให้สัตยาบันกันว่าจะไม่ทรยศ หรือผิดสัญญากัน ต้องยะเก่นต่อครูอย่างหมดใจ ไม่มีความลับใดๆต่อครู ไม่อนุญาติให้ปฏิเสธคำพูดของครูแม้จะมีหลักฐานมายืนยัน หรือคำพูดของครูที่ไร้สาระไม่ประเทืองปัญญาก็จะต้องถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะที่เฉพาะทาง ต้องยอมรับอย่างศิโรราบ

...สิ่งที่ผู้ที่นิยมแนวซูฟีย์ถวิลหาที่เรียกว่ามุบายิอะฮฺนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งเกินกว่าทำสัญญาเป็นศิษย์เป็นครูกัน มันหมายความถึงความมี บารอกะฮฺ ที่ซ่อนมากับการมุบายิอะฮฺด้วย มันมีความลับที่ซ่อนอยู่ที่ไม่สามารถจะอธิบายเป็นถ้อยความได้ สิ่งเหล่านี้จะถ่ายทอดกันระหว่างครูกับศิษย์....



::::ผมอยากถามว่า ทำไมเคาะฏีบถึงมาหลอกพี่น้องมุสลิมด้วยกันอย่างนี้
คนไม่รู้เขาก็เชื่อ เพราะเขาคิดว่าเป็นผู้รู้ที่เชื่อถือไว้วางใจ แต่ทำไมท่านถึงกับมาโกหกพี่น้องมุสลิมด้วยกันเช่นนี้ ท่านไม่รู้หรือว่า การโกหกโดยอ้างว่ามาจากท่านนบีทั้งที่ท่านไม่ได้พูด นั้นสาหัสเพียงใด?????!!!!!!

...รายงานจากท่านมุฆีเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّدًا فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنْ النَّارِ
“บุคคลใดโกหกต่อฉันอย่างตั้งใจ ดังนั้นเขาจงเตรียมที่นั่งของเขาในไฟนรก” (บันทึกโดยมุสลิม : 34 อิบนุมาญะฮฺ : 30 อะหฺมัด : 585)




!!!!!!ผมขอยืนยัน และขอสาบานต่ออัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ว่าผมได้ยินเคาะฏีบพูดอย่างที่ผมกล่าวไปจริงๆ

และเคาะฏีบได้ยืนยันชัดเจน ว่าเป็นหะดิษ และอธิบายสำนวนดังกล่าวว่า ห้ามไม่ให้ศึกษาศาสนาทางทีวี หรือทางอื่นที่ไม่มีครูคอยชี้แนะ



...ผมคิดหนักในเรื่องนี้ มันเป็นหะดิษจากท่านนบีจริงหรือ แล้วมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮ์หรือไม่ เพราะผมเคยได้ยินสำนวนนี้ ว่าเป็นความเชื่อของกลุ่มซูฟีย์

หากมันเป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์จริง ละก็รายการศาสนาที่ถ่ายทอดทางทีวีมุสลิม หรือจากทีวีออนไลน์ อย่าง YATEEM TV TV , White Channel เป็นต้น ซึ่งรายการจากทีวีดังกล่าวก็มีวิทยากรที่มีความรู้ และเรียนจบศาสนาสูงๆทั้งนั้น อย่างเช่น อ.มุรีด จบจากอินเดีย อ.ฟารีด จบจากอิยิปต์ เชครีฎอ (ลูกครึ่งอียิปต์)จบจากอิยิปต์ อ.ชาริฟ จบจากอินเดีย เราก็คงดูไม่ได้



.....ผมครวญคิดเรื่องนี้อยู่หลายสัปดาห์ หายังไงก็ไม่เจอหะดิษในสำนวนนี้สักบทเดียวเลย จนผมไปเจอหนังสือของ ผูมีนามว่า รอบีอะห์ บาการี ซึ่งมีประมาณ 9 เล่ม มีชื่อหนังสือว่าดื่มดัมสู่อาลัมราวะฮ์ อีกเล่มหนึ่งชื่อ ประสบการแห่งอากีกัตเฉพาะกิจ เล่มที่เหลือมีชื่อทำนองนี้ รูปหน้าปก เล่มหนึ่งมีรูปผู้หญิง(คล้ายวิญญาณ)ไม่สวมเสื้อผ้า บางเล่มมีรูปผู้เขียน พ่อของ ผู้เขียน  และบางเล่มก็มีรูปปู่ของ ผู้เขียนภายในมีรูปมากมายตามความเชื่อแนวซูฟีย์ และหนังสือของเขาผู้นี้ มีหลักความเชื่ออากีดะฮ์ ตามแนวซูฟีย์ทั้งสิ้น และผมก็ได้พบคำตอบที่ผมต้องการหามานานจากหนังสือของเขาผู้นี้ ที่ว่า “บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีครู จงรู้ไว้เถิดผู้นำทางของเขาคือชัยฎอน” และนี่คือสิ่งที่ผมค้นหามานาน และในหนังสือดักล่าว มีความเชื่อแปลกๆอีกมากมาย เช่น เซูฟีเน้นการหาทาง (ฎอริเกาะฮฺ, ตะริกัต) เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และผมยังได้ค้นพบในงานเขียนของ อ.ยาซีน แกละมงคล ซึ่งท่านไม่สนับสนุนในแนวคิดเช่นนี้อีกด้วย ...




"""""" สำหรับ เรื่องการโกหก การกุข่าวเท็จ ข่าวลือนั้น ผมทราบดี ว่าอิสลามห้ามไว้อย่างไร ผมจะไม่กุเรื่องนี้โดยไม่มีมูลเด็ดขาด

ท่านอุบาดะห์ บิน อัสศอมิต ...รายงานว่าแท้จริงท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว (ข้อความต่อไปนี้) ขณะที่มีศอฮาบะห์กลุ่มหนึ่งอยู่รอบตัวท่าน “เจ้าทั้งหลายจงให้สัตยาบันต่อฉันเถิด (1)ในการที่ท่านจะไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์อัลลออ์ (2) จะไม่ลักขโมย (3) ไม่ละเมิดประเวณี (4) จะไม่ฆ่าลูกๆ ของพวกเจ้า (5) ไม่กุข่าวเท็จที่พวกเจ้าอุปโลกน์มันขึ้นมาใส่ความผู้อื่น (6) ไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง...
(บันทึกหะดิษโดยบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 18)

ฮัมมาม อิบนุลฮาริส รายงานว่า...ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่ปล่อยข่าวลือจะไม่ได้เข้าสวรรค์” (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 0190)

"สูเจ้าทั้งหลายจงเกรงกลัวต่อการพูดเท็จเถิด แท้จริงการพูดเท็จนั้นอยู่พร้อมกับความเลวทราม และมันทั้งสองอยู่ในนรก"
(รายงานโดย อิบนุมาญะห์ และนะซาอี)

และท่านนบี(ซล.)ยังได้กล่าวอีกว่า "แท้จริงการพูดเท็จนั้นคือประตูหนึ่ง จากบรรดาประตูแห่งนิฟาก(กลับกลอก)"
(รายงานโดย อิบนุอาดี)

อับดุลลอฮ์ อิบนิอัมร์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “สี่ประการที่ผู้ใดมีอยู่ในตัวของเขาแล้ว, เขาก็กลายเป็นคนสับปลับอย่างแท้จริง และผู้ใดมีบางประการ ก็เท่ากับเขามีลักษณะความสับปลับอยู่ในตัว จนกว่าเขาจะละทิ้งมัน คือ เมื่อพูดก็โกหก, (โกหกเป็นนิจ) เมื่อเขาได้รับมอบหมายก็บิดพลิ้ว, เมื่อสัญญาก็ผิดสัญญา และเมื่อเขาทะเลาะกับผู้ใดก็จะหันเหออกจากความจริง”
(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 0111)

อบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “เครื่องหมายของผู้สับปลับ สามประการคือ เมื่อพูดก็โกหก, (โกหกเป็นนิจ) เมื่อสัญญาก็ผิดสัญญา, และเมื่อได้รับความไว้วางใจก็ทรยศ
(บันทึกหะดิษโดยมุสลิมฮะดีษเลขที่ 0112)

ซูฟีย์



วัลลอฮุอะลัม


วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะของการตายชะฮีด



มีรายงานจากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิซ ซอมิต ว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า "ใครคือผู้ตายชะฮีดในความคิดของพวกท่าน บรรดาซอฮาบะฮ์ตอบว่า "ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตาลา" ท่านรสูล กล่าว่า "ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ตายชะฮีดในประชาชาติของฉันก็คงน้อยนัก (หาใช่เช่นนั้น) หากแต่ผู้ที่ถูกฆ่าในสนาบรบเพื่อหนทางของอัลลอฮ์คือชะฮีด ผู้ที่ตายด้วยโรคระบาด (กาฬโรค) เป็นชาฮีด ผู้ที่ตายด้วยโรคท้องร่วงเป็นชาฮีด และสตรีที่ชีวิตขระคลอดบุตรก็เป็นชาฮีดเช่นกัน"
(บันทึกหะดิษโดยอิหม่ามอะหมัด อิบนุมาญะฮฺ และอิบนุฮิบบาน)

ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า " الشهداء خمس المطعون والمبطون والغرق وصاحب الهدم و الشهيد في سبيل الله " ความว่า "บรรดาผู้ตายชะฮีดมีประเภท (1) ตายเนื่องจากโรคระบาด (2) ตายเนื่องจากโรคในท้อง (เช่นโรคท้องร่วง,แท้งลูกตาย), (3) จมน้ำตาย (4) ถูกสิ่งหนึ่งล้มทับตาย (เช่น บ้านล้มทับตาย,ตึกถล่ม เป็นต้น), (5) ผู้ที่ตายในหนทางของอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 983)

ชะฮีด (شَهِيْدٌ) เป็นคำนามเอกพจน์ มีรูปพหูพจน์ว่า ชุฮะดาอฺ (شُهَدَاءُ) นักวิชาการมีความเห็นต่างกันถึงสาเหตุในการเรียกผู้เสียชีวิตในกรณีเฉพาะว่า “ชะฮีด” อัลอัซฮะรีย์กล่าวว่า : ที่เรียกอย่างนี้เป็นเพราะพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และร่อซู้ล (ศ้อลลอฮฺฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ยืนยันแก่ผู้นั้นด้วยสวนสวรรค์

^^^^^ลักษณะของการตายชะฮีดนั้นมีมากมาย กล่าวคือหากเขาตายในสนามรบ เขาก็อยู่ในลักษณะของผู้ที่ตายชะฮีด ไม่ต้องทำการอาบน้ำ ไม่ต้องทำการละหมาด ให้ฝังพร้อมกับเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่อยู่ได้เลย โดยนำเอาอาวุธ เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้เพื่อการสงครามออกเสียก่อน
ส่วนผู้ตายชาฮีดที่ไม่ได้ตายในสนามรบ เช่นบาดเจ็บจากสนามรบ และมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาล หรือถูกกดขี่ขมเหงจนกระทั้งเสียชีวิต หรือสาเหตุการตายอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวพันกับสนามรบ จมน้ำตาย อุบัติเหตุรถชน เครื่องบินตก ตึกถล่ม ตายเนื่องจากโรคระบาด ตายเนื่องจากโรคในท้อง หรือสตรีที่ตายขณะคลอดบุตร
บุคคลที่เสียชีวิตเหล่านี้จะต้องทำการอาบน้ำมัยยิต กะฝั่น และการทำละหมาดให้
ดังที่มีการอาบน้ำ กะฝั่น ให้แก่ท่านอุมัร ท่านอุสมาน ท่านอาลี ท่านซะอด์ บิน มุอ๊าซ รอฎียัลลอฮุอันฮุม
والله أعلم بالصواب والسلام

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

อัลลอฮฺมีอยู่จริง



ชายคนหนึ่งได้ไปยังร้านตัดผมเพื่อจะตัดผม
และตัดแต่งนวดเครา
ขณะที่ช่างตัดผมเริ่มลงมือตัดผม พวกเขาก็
ได้เริ่มบทสนทนาที่ดี
พวกเขาพูดคุยกันเกี่ยว
กับหลายเรื่องหลายประเด็น
จากนั้นช่างตัดผมก็ได้พูดขึ้นมาว่า
“พ่อหนุ่ม คุณจะดูเท่ขึ้นนะ ถ้าตัดเครานี้ออก จะ
ให้ผมตัดมันออกเลยมั้ย ? ”
เขาได้ตอบช่างตัดผมไปอย่างสุภาพว่า “
มันคือซุนนะฮฺ(แบบฉบับ) ของนบีมูฮัมหมัด (ขอ
ความสันติจงมีแด่ท่าน) ผู้เป็นที่รักของผม
และอัลลอฮฺทรงรักคนที่ทำตามแบบอย่างอันสูงส่ง
ของศาสนฑูตของพระองค์ ”
ช่างตัดผมก็พูดด้วยเสียงดังขึ้นว่า
“ ผมไม่เชื่อหรอกว่าอัลลอฮฺนะมีจริง”
“ ทำไมคุณถึงคิดอย่างนั้นละ ? ” ลูกค้า
ได้ถามกลับไป
“ดูสิ คุณก็แค่ออกไปข้างนอกถนนนั่นคุณก็จะ
เข้าใจว่าอัลลอฮฺไม่มีอยู่จริง
ไหนลองบอกฉันหน่อยสิว่าถ้าหากอัลลอฮฺมีจริง
แล้ว ทำไมต้องมีผู้คนเจ็บป่วยมากมาย ทำไม
ต้องมีเด็กที่ถูกทอดทิ้งเกลื่อนเมือง
หากอัลลอฮฺมีจริงก็คงไม่มี
ความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
ฉันจินตนาการไม่ออกเลยว่าอัลลอฮฺผู้เป็นที่รัก
จะปล่อยให้มันเกิดเรื่องแบบนี้ได้ยังไงกัน”
ลูกค้าก็ครุ่นคิดอยู่ชั่วขณะ แต่ไม่ได้ตอบเพราะว่า
เขาไม่ต้องการจะให้เกิดการโต้เถียงกัน



เมื่อช่างตัดผมตัดผมเสร็จเรียบร้อยลูกค้าก็
ได้เดินออกจากร้านไป
เมื่อเขาก้าวออกจากร้านตัดผม เขา
ได้เห็นชายคนหนึ่งบนถนน
เขามีผมที่ยาวดูรกรุงรังสกปรกแถมเครายังไม่
ได้ตัดแต่งเครา
เขามองดูความสกปรกและรกรุงรังนั้น
ลูกค้าก็ได้กลับไปยังร้านตัดผมอีกครั้งและพูด
กับช่างตัดผมว่า
“ คุณรู้อะไรมั้ย ? ช่างตัดผมไม่มีอยู่จริง”
“คุณพูดอย่างนั้นได้ยังไง ?” ช่างตัดผมถาม
“ผมอยู่ที่นี่
และผมก็เพิ่งตัดผมคุณไปเสร็จเมื่อกี้นี่ไง”
“ไม่จริง” ลูกค้าได้อธิบายต่อ
“ช่างตัดผมไม่มีอยู่จริงหรอก เพราะถ้าพวกเขามี
อยู่จริงแล้ว จะต้อง
ไม่มีคนที่มีผมยาวสกปรกรกรุงรัง
แถมหนวดเคราก็ยังไม่ได้ตัด เหมือนชายที่
อยู่ด้านนอกร้านนั่นไง”
“อ้าว ก็ช่างตัดผมนะมีอยู่จริง แต่คนเหล่านั้นไม่
เข้ามาหาเองต่างหาก”
“ถูกเผง ! นี่แหละประเด็น อัลลอฮฺก็มีอยู่จริง
นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนไม่เข้าหาพระองค์ และ
ไม่ขอความช่วยเหลือจากพระองค์ นั่นแหละทำไม
ถึงได้มีความเจ็บปวด
และทุกข์ทรมานมากมายบนโลกใบนี้”

การหลับที่ทำให้เสียน้ำละหมาด



การนอนหลับแบบไม่รู้สึกตัว นอนหลับสนิทแม้ว่าจะมีหะดัษ (เช่น ผายลม) ก็ไม่รู้สึกตัว เช่นนี้ถือว่าเสียน้ำนมาซ อาทิเช่น นอนหลับพักผ่อนในยามค่ำคืนโดยก่อนนอนมีน้ำนมาซ ครั้นพอตื่นนอนในเวลานมาซศุบหฺ เช่นนั้น หากเขาต้องการนมาซศุบหฺ วาญิบ (จำเป็น) สำหรับเขาจะต้องอาบน้ำนมาซ หรือแม้กระทั่งการนอนหลับในระยะเวลาสั้นๆ แต่เป็นการหลับสนิท เช่นนี้ก็ถือว่าเสียน้ำนมาซเช่นกัน
ท่านศ็อฟวาน บุตรของอัสสาลเล่าว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَأْمُرُنَا إِذَا كُنَّا مُسَافِرِينَ أَنْ نَمْسَحَ عَلَى خِفَافِنَا وَلاَ نَنْزِعَهَا ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ مِنْ غَائِطٍ وَبَوْلٍ وَنَوْمٍ إِلاَّ مِنْ جَنَابَةٍ

“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺสั่งใช้พวกเราขณะพวกเราอยู่ในระหว่างการเดินทางโดยสั่งให้พวกเราเช็ดบนรองเท้า (คุฟ) โดยไม่ต้องถอดรองเท้าของพวกเรา แม้ว่าพวกเราจะอุจจาระ, ปัสสาวะ หรือนอนหลับก็ตาม (เป็นระยะเวลา) 3 วัน ยกมีญะนาบะฮฺเท่านั้น” 
หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวถึงข้อบัญญัต (หุก่ม) ของอุจจาระ และปัสสาวะเท่ากับการนอนหลับ นั่นหมายรวมว่า การอุจจาระและปัสสาวะทำให้เสียน้ำนมาซฉันใด การนอนหลับ (สนิท) ก็ทำให้เสียน้ำนมาซฉันนั้น
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
« وِكَاءُ السَّهِ الْعَيْنَانِ فَمَنْ نَامَ فَلْيَتَوَضَّأْ »

“เชือกผูกทวารหนัก คือดวงตาทั้งสอง ดังนั้นบุคคลนอนหลับ เขาจงอาบน้ำนมาซเถิด” 

ฉะนั้นประเด็นการเสียน้ำนมาซขณะนอนหลับมิใช่มีสาเหตุมาจากการนอนหลับ แต่เป็นสาเหตุที่ผู้นอนหลับไม่สามารถรับรู้สิ่งใดออกมาจากทวารหนัก หรือทวารเบาของเขาต่างหาก เพราะท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า ดวงตาทั้งสองประหนึ่งเชือกผูกทวารหนัก นั่นหมายถึงหากไม่หลับก็ไม่มีเชือกผูกทวาร เพราะเขาสามารถรู้สึกตัวว่าตนเองมีสิ่งใดบ้างออกจากทวารทั้งสองของเขา

อนึ่ง การนอนแบบเผลอหลับ, สะลึมสะลือ หรือสัปหงก ซึ่งผู้นอนหลับนั้นครึ่งหลับครึ่งตื่น โดยไม่พิจารณาว่าการนอนเช่นนั้นจะนอนในสภาพที่ก้นแนบกับพื้นหรือไม่แนบกับพื้น หรือนอนในสภาพตะแคงก็ตาม ล้วนแล้วไม่ทำให้เสียน้ำนมาซทั้งสิ้น เพราะการนอนในสภาพเช่นนั้นยังรู้สึกตัว ไม่ถึงกับหลับสนิท
 ดังหะดีษระบุว่า
ท่านเกาะตาดะฮฺเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอนัสพูดว่า

كَانَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَنَامُونَ ثُمَّ يُصَلُّونَ وَلاَ يَتَوَضَّئُونَ قَالَ قُلْتُ سَمِعْتَهُ مِنْ أَنَسٍ قَالَ إِى وَاللَّهِ

“ปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺเคยนอนหลับ จากนั้นพวกเขาก็นมาซ โดยที่พวกเขามิได้อาบน้ำนมาซใหม่ (แต่อย่างใด) เขาเล่าว่า ฉันถามว่า ท่านได้ยิน (สิ่งข้างต้น) จากท่านอนัส (จริง) หรือ? เขาตอบว่า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ (ฉันได้ยินเช่นนั้นจริง)” 

ท่านอนัสเล่าว่า
أُقِيمَتِ الصَّلاَةُ وَرَجُلٌ يُنَاجِى رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَمَا زَالَ يُنَاجِيهِ حَتَّى نَامَ أَصْحَابُهُ ، ثُمَّ قَامَ فَصَلَّى

“ครั้งหนึ่งเมื่อได้เวลานมาซ ท่านรสูลุลลอฮฺคุยอยู่กับชายผู้หนึ่ง (เวลาผ่านไป) ท่านรสูลก็ยังคุยกับชายผู้นั้น จนกระทั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺเผลอหลับไป จากนั้นท่านรสูลก็มาเป็นอิมามนำนมาซพวกเขา” 

ส่วนกรณีที่เห็นคนข้างๆ นั่งหลับขณะที่กำลังคุฏบะฮฺอยู่นั้น ไม่อนุญาตโดยเด็ดขาดที่เราจะไปปลุกเขา หรือทำให้เรียกให้เขาตื่น เพราะท่านรสูลุลอฮฺห้ามไปยับยั้ง, เตือนคนข้างๆ ขณะที่กำลังคุฏบะฮฺ เพราะถ้าหากทำเช่นนั้น ผลบุญในการนมาซวันศุกร์ถือว่าโมฆะ

. والله أعلم

การยกมือขอดุอาอ์




ท่านอิบนุ อับบัสกล่าวว่า
แท้จริงท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า


- "แบบนี้คือการให้ความบริสุทธิ์แดพระองค์อัลลอฮ์
ท่านรสูล ชีนิ้วที่อยู่ถัดจากนิ้วโป้ง (หมายถึงนิ้วชี้)


- และแบบนี้คือการขอดุอาอ์
ดังนั้นท่านรสูลยกมือทั้งสองสูงประมาณบ่าไหล่


- และแบบนี้คือการขอวิงวอน (สิ่งที่ร้ายแรงหรือมีความสำคัญ)
ท่านรสูลยกมือทั้งสองขึ้นสูง"

(บันทึกโดยบัยฮะกีย์ หะดิษที่ 2858)

การยกมือขอดุอาอ์แบ่งเป็นสามประเภท

1. การยกมือทั้งสองอยู่ในระดับเดียวกับบ่าไหล่ในสภาพที่มือทั้งสองชิดกัน
เป็นขอดุอาอ์ทั่วๆไป เช่น การขอดุอาอ์กุนูตในละหมาดวิตรฺ
หรือดุอาอฺในการประกอบพอธีฮัจญ์ทั้ง 6 สถานที่ (มีหะดิษยืนยัน)

2. การขออภัยโทษโดยยกนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว
เป็นการขออภัยโทษหรือการให้เอกภาพต่อพะองค์อัลลอฮ์
เป็นลักษณะเฉพาะขณะขอดุอาอ์ขณะอยู่บนมิมบัรฺ
หรือขณะกล่าวสรรเสริญและให้ความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์อัลลอฮ์

ท่านอุมาเราะฮฺ บุตรของรุอัยบะฮฺ บอกว่า
"ฉันเห็นท่านรสูลมิได้เพิ่มการคุฏบะฮ์ด้วยมือของท่าน(นอกจาก)
นอกจากอย่างนี้ แล้วเขาก็ชี้นิ้วชี้ของเขา"

(บันทักโดยมุสลิม หะดิษที่ 1443)

3. การยกมือขึ้นสูงจนกระทั้งเห็นรักแร้เพื่อขอดุอาอ์
เป็นเรื่องเจาะจงในเรื่งอที่มีความรุนแรงหรือในสภาพที่น่าสพรึงกลัว
เช่นความแห้งแล้งอย่างหนัก ประสพเคราะห์กรรมจากการรุกรานของศัตรู

ท่านอนัส บุตรของมาลิกเล่าว่า "แท้จริงท่านรสูลดุอาอ์ขอฝนโดยฝ่ามือแบ่สู้ฟ้า"
บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 1492

สำหรับการขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูนั้น มีรายงานหะดิษเป็นจำนวนมากที่กล่าวถึงความประเสริฐ แต่ไม่พบหลักฐานแม้แต่บทเดียวที่อ้างว่าท่านนบียกมือขอดุอาอ์หรือสั่งให้ยกมือขอดุอาอ์หรือยอมรับการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูของบุคคลอื่น แม้แต่หลักฐานจากบรรดาศอฮาบะฮ์ มีเพียงหะดิษที่รายว่าท่านนบีหันหน้ามาทางมะมูมเมื่อท่านสลามเท่านั้น ท่านยะซีด บุตรของอัลอัสวัด อัลอามิรีย์ เล่าว่า "ฉันละหมาดศุบฮีร่วมกับท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านให้สลาม ท่านก็หันหน้ามา(ยังพวกเรา)"บันทึกโดยอะหฺมัด อบูดาวูด ติริมีซีย์ นะสาอีย์ และอิบนุ อบีย์ ชัยบะฮ์

ท่านรสูลละหมาดฟัรฎูร่วมกับบรรดาเศาะฮาบะฮ์ทุกวัน วันละ 5 เวลา แต่ไม่พบว่าบรรดาเศาะฮะบะฮ์รายงานหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์ว่าด้วยการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู เพราะการการรายงานเพียงแค่ว่าท่านรสูลยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูไม่น่าเกิดความลำบาก หากท่านรสูลกระทำเช่นนั้นจริงๆ ทั้งที่บรรดาเศาะฮะบะฮ์เก็บรายละเอียดและจดจำสำนวนของการขอดุอาอ์หลังละหมาดไว้อย่างมากมายหลายบท

การยกมือขอดุอาอ์ของท่านรสูลกระทำในวาระอื่นๆ เช่น การยกมือขอดุอาอ์ภายหลังการขว้างหินต้นแรก ต้นที่สอง การยกมือขอดุอาอ์กุนูต..

والله أعلم

بِدْعَةٍ นั้น ضَلاَ لَة ทุกบิดอะฮ์ นั้น ฎอลาละฮ์(หลงผิด)




ท่านรอซุลุลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
" كل بدعة ضلالة وكل ضلالة في النار " 



กุลละบิดอะห์ติน ฎอลาละห์
วะกุลละฎอลาละห์ติน ฟินนาร


“พวกท่านพึงระวังสิ่งที่เป็นถูกอุปโลกน์ทั้งหลายในศาสนาเถิด ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งที่ถูกอุปโลกน์ในศาสนาเป็นอุตริกรรมทั้งสิ้น และทุกอุตริกรรมในศาสนาล้วนเป็นหลงผิด ( ضَلاَ لَة) และทุกหลงผิด (นอกรีต) ย่อมต้องอยู่ในนรกอย่างแน่นอน” บันทึกโดยอะหมัดและอัตติรมิซีย์ 
!!!!!!!!ทุก ทุก ทุก ทุก!!!!!!!!! بِدْعَةٍ = ضَلاَ لَة!!!!!!!!!!
!!!!!!!!ทุก ทุก ทุก ทุก!!!!!!!!! บิดอะฮ์ = ฎอลาละฮ์!!!!!!
!!!!!!!!ทุก ทุก ทุก ทุก!!!!!!!!! อุตริกรรมในศาสนา(มิใช่เรื่องดุนยา) = หลงผิด!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
!!!!!!!!ทุก ทุก ทุก ทุก!!!!!!!!!بِدْعَةٍ : บิดอะฮ์ : อุตริกรรมใหม่ในศาสนา = ضَلاَ لَة: ฎอลาละฮ์ : หลงผิด


^^^หลักฐานจากหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์จากคำพูดของท่านรอสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ชัดเจน ไม่ต้องตีความ ว่าทุกบิดอะฮ์ คือ ฎอลาละฮ์
ไม่มีสักสำนวณหรือประโยคเดียวที่ว่าบิดอะฮ์ฮาซานะฮ์ หรืออุตริกรรมที่ดี แม้เราจะมองว่าสิ่งที่อุตริกรรมขึ้นใหม่เป็นสิ่งที่ดีก้ตาม ท่านรสูลยืนยันชัดเจน ว่ามันเป็นฎอลาละฮ์


สำหรับคอลีฟะฮฺทั้งสี่(รวมถึงศอฮะบะฮฺทั้งหมด) นั้น ท่านรสูลได้รับรองไว้แล้ว อย่ากล่าวหาท่านเลยว่าท่านกระทำบิดอะฮ์ฮาซานะฮ์ 


ท่านนบีมุฮัหมัด(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า "ฉะนั้นผูใดก็ตามที่มีชีวิตอยู่หลังจากฉัน เขาก็จะได้เห็นการขัดแย้งอย่างมากมาย ดังนั้นจำเป็นต่อพวกท่านทั้งหลายจะต้องยึดซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของ^^^^บรรดาคอลีฟะฮฺ^^^ที่ปราดเปรื่องอยู่ในทางนำ พวกเจ้าทั้งหลายจงยึดมันไว้ด้วยฟันกราม"บันทึกฮาดิษโดยอบูดาวูด ฮะดิษที่ ๓๙๙๑)


สุดท้าย
อย่าไปกำหนดเวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำความดีใดๆเอาเองโดยพลการ หากศาสนามิได้กำหนดสิ่งดังกล่าวเอาไว้ในการทำความดีนั้นๆ
. والسلام 

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของการกล่าวตะลัฟฟุซ หรือกล่าวคำเหนียต(อุศ็อลลี)



คำว่าเหนียต มีพื้นฐานมามาจากภาษาอาหรับว่า "นียะห์" ที่คนบ้านเราออกเสียงเปร่งไปว่า เหนียต มีความหมายว่า การตั้งใจ หรือการตั้งเจตนา

การเอาเจตนาหรือความตั้งใจออกมากล่าวเป็นถ่อยคำนั้นไม่เรียกว่า "เหนียต" แต่จะเรียกว่า "ตะลัฟฟุซ" หรือการกล่าวคำเหนียตนั้นเอง แต่คนบ้านเรามักจะเรียกขานกันว่า การกล่าว "อุศ็อลลี" ตามคำขึ้นต้นข้อความเช่น " อู้ซ้อลลี ฟัรด็อด ซุบฮิ ร๊อกอะตัยนี่ อะดาอันลิ้ลลาฮี่ตาอ้าลา "

เนื่องจากไม่พบตัวบทหลักฐานในเรื่อง ตะลัฟฟุซ หรือกล่าว อุศ็อลลีฯ จากคำสอน หรือการกระทำของท่านรอสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยไม่มีคำรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮ์ หรือฎออิฟ ก็ตาม ตลอดจนเหล่าศอฮาบะฮ์ของท่านนบีก็ไม่มีใครรู้และปฏิบัติในเรื่องนี้  รวมถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ด้วย โดยเฉพาะท่านอิหม่ามชาฟีอี ที่คนบ้านเราประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะถือตาม ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยสั่งสอนบรรดาสิษย์ของท่านให้กล่าวอุศ็อลลีฯ แล้วเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? (ซึ่งมีการกระทำกันแต่ในมัซฮับชาฟีอี{รวมถึงลูกศิษย์อุลามะฮ์หรือผู้รู้ที่ตามทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟีอี})

...ในหนังสือ มิรกอตุ้ลมะฟาติฮ์ และหนังสือ ซาดุ้ลมะอาด ได้ชี้แจงว่า การกล่าวคำเหนียต เกิดจากคนยุคหลังที่เข้าใจผิดในคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟีอี ดังนี้

"อันแท้จริงแล้ว บรรดาคนรุ่นหลังได้เข้าใจผิดต่อคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟีอีเกี่ยวกับเรื่องละหมาดที่ว่า .."มันไม่เหมือนกับการถือศิลอดโดยคนใดก็ตามจะยังไม่ถือว่าเข้าละหมาดนอกจากด้วยคำกล่าว" ...เขาคิดเอาเองว่า การกล่าวนี้คือ การที่ผู้ละหมาดกล่าวคำเหนียตออกมา แต่เป้าหมายของอิหม่ามชาฟีอีเกี่ยวกับการกล่าวนั้นคือ {{{{{{กล่าวตั๊กบีรอตุ้ลเอียะฮ์รอม(หมายถึงกล่าวคำว่า อัลลอฮุอั๊กบัร)}}}}}" (มิรกอตุ้ลมะฟาติฮ์ 1/102 และ ซาดุ้ลมะอาด 1/194)

ข้อความข้างต้นนี้กล่าวโดยรวมว่า ตะลัฟฟุซหรือการกล่าวเหนียต เกิดจากบรรดารุ่นหลังที่เข้าใจผิดต่อคำพูดของอิหม่ามชาฟีอี และมิได้ระบุว่า บรรดาผู้ที่เข้าใจผิดนั้นมีใครกันบ้าง แต่ในหนังสือ อัลมัจมัวอ์ ซัรอุลมุฮัสซับ ได้ระบุรายละเอียดของเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า
"คือคำพูดของ อบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ที่กล่าวว่า ..."มันใช้ไม่ได้จนกว่าจะรวมการเหนียตด้วยหัวใจ และการกล่าวด้วยลิ้นเข้าด้วยกัน เนื่องจากอิหม่ามชาฟีอี ได้กล่าวว่า "เมื่อเจตนาทำฮัจญ์หรืออุมเราะห์ก็ใช้ได้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวออกมาด้วยคำพูด ซึ่งต่างจากการกล่าวละหมาดที่ถือว่าใช้ไม่ได้นอกจะกล่าวด้วยคำพูด"...นักวิชาการของเรา (ในมัซอับชาฟีอี) กล่าวว่า เป็นความผิดพลาดของผู้ที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากการกล่าวด้วยคำพูดตามที่อ้างอิงนี้มิได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของอิหม่ามชาฟีอี แต่วัตถุประสงค์ของอิหม่ามชาฟีอีคือ การกล่าวตั๊กบีร" (จากหนังสืออัลมัจมัวอ์ซัรอุลมุฮัสซับ หมวดการละหมาด บทที่ว่าด้วยเรื่อง ลักษณะการละหมาด หัวข้อ เรื่อง การเหนียตในละหมาด)

นอกจากนี้แล้วในหนังสือ ญามิอุ้ลอุ้ลอุลูม เล่ม 3 หน้าที่ 54 และในหนังสือ อัลฮาวีย์ อัลกะบีร เล่มที่ 2 หน้าที่ 91-92 ได้แจ้งถึงที่มาของเรื่องนี้ว่าเกิดจากความเข้าใจผิดของอบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ที่มีต่อคำของอิหม่ามชาฟีอีที่กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลมะนาซิก" เช่นเดียวกัน

จากข้อมูลที่นำมาแสดงนี้ทำให้เราได้ทราบว่า ที่มาของการกล่าวตะลัฟฟุซหรือการกล่าวอุศ็อลลีนั้น เกิดจากความเข้าใจผิดของบรรดานักวิชาการยุคหลังจากอิหม่ามชาฟีอี ซึ่งต่างก็นำคำพูดของอิหม่ามชาฟีอีไปวิเคราะห์วิจารย์กันตามมุมมองของตนเอง โดยที่ตัวอิหม่ามเองก้ไม่ได้สั่งสอนและชี้แนะไว้เช่นนั้นเลย ดังความเข้าใจผิดของอบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ต่อคำพูดของอิหม่ามชาฟีอี ซึ่งบรรดานักวิชาการในมัซฮับชาฟีอีเองก็ต่างก็ชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจวัตถุประสงค์ในคำพูดของอิหม่ามชาฟีอีไม่ถุกต้อง!!!

และหลักฐานหะดิษต่อไปนี้เป็นหลักฐานแห่งการเหนียต(การตั้งเจตนา) ซึ่งการเหนียตเป็นวาญิบของการงานทุกอย่างรวมถึงการเหนียตละหมาด แต่ไม่ใช่หลักฐานของการกล่าวตะลัฟฟุซหรือ อุศ็อลลี นั้นเป็นคนละกรณีกัน


อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
         
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هُجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيْبُهَا أَوِامْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إِلََى مَاهَاجَرَإِلَيْهِ". (البخاري ومسلم) .
   
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ดังนั้น ใครที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพรพะองค์ การอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่อโลกนี้ ที่เขาจะได้มัน หรือสตรีเพศที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามนั้น”.
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882) .

ซึ่งหะดิษดังกล่าวนี้ ผู้ที่อพยพไม่ต้องกล่าวออกมาว่า "ฉันอพยพไปเพื่ออัลลอฮ์ หรือฉันอพยพเพื่อจะแต่งงานกับสาวคนนี้แต่อย่างใด เพราะการเหนียตคืองานของหัวใจไม่ใช่ลิ้นนั้นเอง


ส่วนที่อ้างว่าท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า
لبيك بعمرة وحج
"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)
ซึ่งถ่อยคำนี้ไม่ใช่คำตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเหนียตในการทำอุมเราะห์หรือฮัจญ์ แต่ถ่อยคำนี้ถูกเรียกว่า "ตัลบียะห์" เพราะหากเป็นเหนียตต้องกล่าวว่า นาวัยตูอุมรอตัลวาฮัจญัน แปลว่า "ข้าพเจ้าตั้งใจทำอุมเราะหืและฮัจญ์" ดังนั้นตะลัฟฟุซกับตัลบียะห์นั้นต่างกัน และการนำเอาวิะีการทำฮัจญ์และวิธีละหมาดมาเปรียบเทียบโดยอาศัยการกียาส ไม่ได้ เพราะตามหลักวิชาการอธิบายอรรถคดี(อุศูลุ้ลฟิกฮ์)ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า
"ไม่ถือเป็นการเปรียบเทียบในเรื่องที่มีตัวบทอยู่แล้ว"


และการอ้างว่าการกล่าวคำเหนียตย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมซึ่งหากไม่กล่าวคำเหนียตจะไม่มีสมาธิ ดังที่หลักการหนึ่งระบุไว้ว่า
ما لا يتم المطلوب الشرعى الا به فهو مطلوب شرعا
" สิ่งหนึ่ง ที่ถูกใช้ตามหลักศาสนาจะไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ด้วยกับมันนั้น  แน่นอนว่า สิ่งนั้นย่อมถูกใช้ตามหลักศาสนาด้วยเช่นกัน"


ซึ่งคำอ้างที่ว่าหากไม่กล่าวคำเหนียตจะไม่มีสมาธิ เป็นข้ออ้างทั้งสิ้น ความจริงแล้วสมาธิเป้นสิ่งที่ต้องมีเมื่อจะเข้าละหมาดเท่านั้น หากแต่ตลอดระยะเวลาที่ทำละหมาดจะต้องมีสมาธิด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ดังนั้น หากใช้หลักเกณฑ์ทางวิชาการข้อนี้มากำกับ ก็จำเป็นต้องกล่าวถ้อยความทุกอิริยาบถของการละหมาดเพื่อให้เกิดสมาธิ อย่างนี้ตลอดเวลาเชียวหรือ?????!!!!!!



            والسلام

หลักฐานการมีอยู่ของพระเจ้า


วิดีโอบรรยายแนะนำอิสลาม อธิบายมุมมองอิสลามว่าด้วยความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า พร้อมการพิสูจน์หลักฐานว่าพระเจ้ามีจริง รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย อ.ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม  








พระเจ้ามีหรือไม่ มิใช่เรื่องความเชื่อ แต่เป็นเรื่องของหลักฐานที่พิสูจน์ได้

จะทราบได้อย่างไร..ว่าอิสลาม คือคำสั่งใช้ของพระเจ้าจริง 
พระเจ้ามีจริงหรือ? 
การจะพิสูจน์ว่าอิสลาม คือคำสั่งสอนและคำสั่งใช้ที่ มิได้มาจากการปั้นแต่งผูกเรื่องเรื่องราวขึ้นเองตามความคิดของมนุษย์? (ศาสดาหรือผู้รู้ศาสนา แต่งคำสั่งสอนขึ้นมาเอง) 
เราสามารถพิสูจน์ความเป็น “สัจธรรม” หรือความเป็น “ของจริง” ในบทบัญญัติอิสลามทั้งที่มาในรูปของพระคัมภีร์และจริยวัตรของศาสนทูต 
การพิสูจน์สามารถทำได้ทุกรูปแบบไม่จำกัดเพื่อให้ตระหนักว่าคำสั่งนั้นเป็นของจริงหรือไม่ เพื่อให้มนุษย์ได้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งใช้นั้นด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริงไม่มีข้อตะขิดตะขวงใจ เนื่องจากการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้าอาจหมายถึงการที่มนุษย์ต้อง “เปลี่ยนแปลง” พฤติกรรมจากสิ่งที่ เคยชิน ชื่นชอบ ถูกจริต สะดวกสบาย ดังนั้นการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยในอิสลาม การยืนยันถึงความถูกต้องในวิถีปฏิบัติ และการมุ่งหวังต่อผลลัพธ์ที่ดีงามถาวรจากการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของพระผู้เป็นเจ้า จึงเป็นสิ่งที่พระองค์ส่งเสริมให้ปฏิบัติ และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีการพิสูจน์มาแล้วอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัยทุกวงการ ทั้งจากผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าและจากผู้ปฏิบัติศรัทธา ด้วยภูมิปัญญาที่หลากหลายวงการ ด้วยบุคลากรระดับมันสมองมากมาย ด้วยเงินทองและทรัพยากรเกินกว่าจะคาดคำนวน! 
การพิสูจน์ความจริงแท้ของอิสลาม เริ่มกันตั้งแต่คำถามหลัก ๆ ว่า พระเจ้า(พระนามของพระองค์คือ “อัลเลาะห์”) มีจริงหรือ? 
ผู้ถามต้องการให้ผู้ศรัทธาพิสูจน์ให้เห็นกับตาว่าพระเจ้าที่อิสลามเรียกว่า อัลเลาะห์ มีอยู่จริงแม้จะไม่ได้บอกว่า “ช่วยพาฉันไปเจอหน่อย” แต่ความหมายก็คล้าย ๆ กัน คือคำถามนี้ต้องการบอกว่า ถ้ามีต้องเห็น หรือ ได้ยินเสียง หรือ สัมผัสได้ด้วยอะไรซักอย่างซิน่า... จะมีอยู่โดยไม่สามารถรับรู้ได้จะเป็นไปได้อย่างไร? 
คำถามของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้านั้น“เป็นเหตุเป็นผลอย่างยิ่ง” เพราะ หากมีต้องเห็น ได้ยิน จับต้องได้ พูดง่าย ๆ ว่าสัมผัสของเราทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กายต้องสัมผัสได้ หรือ..... อย่างน้อยสัมผัสที่ 6 คือ “ใจ” ต้องสัมผัสได้ หากพระเจ้ามีต้องสัมผัสได้ด้วยอะไรซักอย่าง หากสัมผัสไม่ได้ด้วยอะไรทั้งสิ้นย่อมไม่มี!
ถ้าเช่นนั้น.... คำตอบในเรื่องนี้มีทางเลือกไม่มากคือ “มีพระเจ้า” กับ “ไม่มีพระเจ้า” และการตอบว่า “ไม่มี” ง่ายกว่า เพราะเมื่อตอบแล้วก็ไม่ต้องหาเหตุผลอธิบายอีก เคลมได้เลยว่าสัมผัสกับพระเจ้าไม่ได้ แต่หากจะตอบว่า “มีพระเจ้า” ก็ต้องหาทางอธิบายว่าเหตุใดจึงเชื่อว่ามีพระเจ้า หลักฐานคืออะไร อยู่ที่ไหน สัมผัสได้อย่างไรจะเข้าไปดูให้เห็น ฟังให้ได้ยิน สัมผัสให้รู้สึกถึงการมีอยู่ของพระเจ้าได้อย่างไร? 




ดังนั้นคำตอบว่า “มีพระเจ้า” จึงผูกพันกับการตอบเรื่อง “หลักฐานของการมีพระเจ้า” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คราวนี้เรามาดูหลักฐาน.... 








หลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีพระเจ้าอยู่จริงอาจพออธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้ 




หลักฐานที่ตั้งอยู่บนเหตุผล 




หลักฐานประเภทนี้จะก่อให้เกิดความเชื่อ(ศรัทธา) ซึ่งมนุษย์จะเกิดความเชื่อหรือศรัทธาต่อสิ่งใด ผู้ใด เรื่องใด มนุษย์ต้องได้สัมผัสกับสิ่งนั้นผ่านระบบสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) มาเสียก่อน ความเชื่อหรือศรัทธาจึงเกิดขึ้นมาได้ 




ตัวอย่างเช่น : คนที่เคยไปดูภูเขาน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือย่อมเชื่อถือ 100 % ว่ามีภูเขาน้ำแข็ง (แบบนี้สัมผัสด้วยตา) 




อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่เคยไปดูมากับตา แต่ได้ฟังคำบอกเล่าจากคนที่ตนเชื่อถือ ได้อ่านจากหนังสือ ได้ดูจากTV, Internet หรือสื่ออื่น ๆ ที่ตนเองเชื่อถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ไว้วางใจได้ ปัจจัยเหล่านี้ก็ทำให้คนที่ไม่เคยไปดูภูเขาน้ำแข็ง เกิดความเชื่อมั่น 100 %ว่ามีภูเขาน้ำแข็งได้เช่นกัน 




ความเชื่อว่ามีภูเขาน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือก็เกิดขึ้นได้ เพราะอะไร? 




เพราะเราเชื่อคนที่เล่าให้ฟัง เชื่อหนังสือ เชื่อทีวี เชื่ออินเตอร์เน็ท 




แล้วใครบอกเราว่า “มีพระเจ้า” มนุษย์เป็นผู้บอกเรางั้นหรือ? 




กรณีนี้คำบอกเล่าของมนุษย์ไม่น่าเชื่อถือเท่าไร เพราะมนุษย์ที่มาเล่าให้เราฟังไม่เคยไปพบพระเจ้ามาก่อน หนังสือที่เขียนผู้เขียนก็ไม่เคยเห็น ทีวีก็ไม่เคยจับภาพไว้ เว็นไซส์ต่าง ๆ ก็เช่นกัน 




ถ้าเช่นนั้นใครคือผู้บอกเล่าที่น่าเชื่อถือที่สุด? 




ตอบ ... “ธรรมชาติ” 




ธรรมชาติ มาบอกเราตั้งแต่เมื่อไร ธรรมชาติบอกเราว่ามีพระเจ้านานแล้ววันนี้ก็บอกและวันหน้าก็ยังจะบอกต่อไป “ธรรมชาติ” ธรรมชาติมิได้บอกเราด้วยคำพูดที่เปล่งออกมาเป็นเสียงของมนุษย์ หรือภาพ หรือวีดีโอ แต่ธรรมชาติทำยิ่งกว่านั้นอีกคือนำหลักฐานการมีอยู่ของพระเจ้ามาปรากฎกายให้เราเห็น ให้เราดม ชิม สัมผัสจับต้องได้ ด้วยตัวของเราเอง 




ใช่ครับ.... ดอกไม้ที่ธรรมชาติหยิบยื่นให้คุณนั่นแหละคือหลักฐานที่ธรรมชาตินำมาแสดงว่า “พระเจ้ามีอยู่จริง” ทำไมถึงคิดว่าธรรมชาติสื่อถึงเราอย่างนั้น? 




ก็เพราะว่ามันไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นเลย หากธรรมชาติมิได้บอกต่อเราว่า “นี่ดอกไม้นี่คือหลักฐานว่ามีพระเจ้า(คือมีผู้สร้างมันขึ้นมา)” ธรรมชาติก็จะต้องบอกกับเราอีกอย่างหนึ่งว่า.... 




“นี่...ดอกไม้นี่มันเกิดขึ้นเอง” ธรรมชาติอาจพูดต่อไปว่า “ฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเกิดดอกแรกขึ้นตอนไหน(ว่ะ)” 




ผมกำลังบอกว่า...เราพบเห็นบ้านในสวนแห่งหนึ่งเราเชื่อทันทีว่า “ต้องมีผู้สร้าง” สัมผัสทั้ง 5 ของเราส่งข้อมูลปัจจุบันไปตรงกับข้อมูลเดิมที่เคยรู้มาแต่เด็กว่ามีบ้านต้องมีผู้สร้าง “เราเชื่อทันทีว่าต้องมีผู้สร้าง 




แต่เราพบดอกไม้ล้าน ๆ ดอก(ซึ่งมนุษย์ยังสร้างไม่ได้เลยซักดอก) ในสวนนับล้าน ล้าน ตร.กิโลเมตร เรากลับไม่เชื่อทันทีว่า “ต้องมีผู้สร้าง” 




ทำไมล่ะ? ก็เพราะข้อมูลเดิมของเราผิดพลาด 




เพราะเมื่อสัมผัสทั้ง 5 ของเราส่งข้อมูลไปว่า พบดอกไม้ล้านดอกเอ๊ะ...ใครสร้างดอกไม้นี้หนอ ข้อมูลเดิม(ผิด ๆ )ของเราก็ตะคอกกลับมาว่า “ธรรมชาติสร้าง! โง่จริงสอนเท่าไรไม่จำ” สัมผัสทั้ง 5 ของเราก็จ๋อยไปทันที 




ใครบอกคุณว่าธรรมชาติสร้าง? ธรรมชาติเคยบอกคุณหรือ? หรือเป็นเพียง 




“มนุษย์ที่ไม่รู้ความจริง หลาย ๆ คน สอนคุณผิดๆ จนคุณเกิดความเชื่อเช่นนั้น?” 




จนถึงวันนนี้ ธรรมชาติ ก็ไม่เคยพูดซักคำว่า “อั๊วสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมา” 








แต่ที่ธรรมชาติ พูด บอก สื่อสารกับเราก็คือ “เราคือกฎ... กฎของการเกิดสิ่งต่าง ๆ” 




“การที่น้ำไหลออกจากแก้วที่คว่ำหน้า ปรากฎการนี้เกิดขึ้นเพราะกฎแรงดึงดูด” 




“เมื่อถึงเวลานอนมนุษย์ง่วง ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะกฎของร่างกาย” 




“น้ำเดือดเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 100 องศา ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะกฎจุดเดือดของน้ำ” 




“และกฎที่มนุษย์ควรรู้ไว้อีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นมาย่อมต้องมีผู้สร้าง สิ่งนี้เรียกว่า กฎของการเกิด” 




กฎของการเกิด ก็คือ “ธรรมชาติ ธรรมะ + ชาติ” ธรรมชาติ คนที่เธอเคยเข้าใจผิดว่าเป็น “ผู้สร้าง” ฉันเป็นเพียงสิ่งถูกสร้างอีกชนิดหนึ่งที่เธอจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เหมือนที่เธอมองไม่เห็นกฎแรงโน้มถ่วง กฎการระเหย และกฎอีกมากมาย “กฎ” อย่างพวกเราถูกสร้างขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป... ขอย้ำนะ... “ธรรมชาติ หรือ กฎของการเกิด ก็ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนกับพวกมนุษย์นั่นแหละ....หยุดเข้าใจว่าเรา(ธรรมชาติ)คือ “ผู้สร้าง” เสียทีมันเป็นการเข้าใจผิด” 








เอาล่ะครับท่านผู้อ่าน ผมได้บอกให้ฟังแล้วว่า ธรรมชาติ นำหลักฐานนานาชนิดมาปรากฎต่อหน้าเรา เพื่อให้เราได้รู้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า หรือ พระผู้สร้าง และก็ทำให้เราก็ทราบว่า “ธรรมชาติ” หรือ “กฎของการเกิด” ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาบนโลกนี้เช่นกัน 




ดังนั้นทั้งสิ่งถูกสร้างที่เรามองเห็นได้ สัมผัสได้ หรือสิ่งถูกสร้างที่เรามองไม่เห็น เช่น กฎสภาวะต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างมาทั้งสิ้น หากไม่แน่ใจก็ให้ลองถามตัวเองอีกครั้ง.... 




ถามตัวเองดูซิว่า อยู่ดี ๆ สิ่งต่าง ๆ ในโลก ในสุริยจักรวาล และมหาจักรวาลอันไกลโพ้นสุดคำนวนนับ มันเกิดแว๊บ! .... แล้วก็ปรากฎขึ้นมาแทนที่ความว่างเปล่า(ที่มีอยู่เดิม) 




ปรากฎขึ้นทั้งประเภทจับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ แล้วก็ร่วมกันวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างเกิดจากความว่างเปล่าไม่มีอะไรมาก่อน แล้วอยู่ดี ๆ ก็มี? ไม่มีใครไปทำอะไรทั้งนั้น... 


Φเราจะศรัทธา(เชื่อ)แบบนั้นหรือ? นั่นเป็นคำตอบของผู้มีปัญญาหรือ ?



ความมีตัวตนของพระเจ้าในมุมมองนักคณิตศาสตร์ และ Decision Theory


ตอนเรื่องของเลขศูนย์นั้น บอกว่าเลขศูนย์นั้นเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะว่าถ้าบอกว่าเลขศูนย์นั้นมี ก็เท่ากับว่าบอกว่าเรายอมรับถึงอินฟินิตี้ แล้วก็เลยไปท้าทายกับความคิดของอริสโตเติลที่บอกว่า พระเจ้าเป็นคนหมุนโลก และด้วยความคิดนี้แหละครับ ที่ทำให้เลขศูนย์นั้นไม่แพร่หลาย 
แต่แล้วอยู่ดีๆครับ ก็มีนักคณิตศาสตร์คนหนึ่งคิดพิเรนทร์ขึ้นมา ใช้คณิตศาสตร์มาบอกว่า ถึงจะมีเลขศูนย์ ถึงจะมีอินฟินิตี้ก็ไม่เป็นไร ยังไงๆ เราก็ต้องเชื่อว่าในโลกนี้มีพระเจ้าอยู่ดี เขาคนนั้นเป็นนักคณิตศาสตร์ชื่อดังที่เรารู้จักกันดีครับ ชื่อว่า ปาสคาล


แล้วทำไมปาสคาลถึงบอกแบบนั้น ??? 
ปาสคาลให้ concept ของ expected value ครับ คำว่า expected value คืออะไร 


expected value ถ้าเทียบกับฟิสิกส์ก็คือจุดซีจี (center of gravity) หรือ จุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ ถ้าเทียบในทางความน่าจะเป็น ก็คือค่าเฉลี่ยเมื่อทำการทดลอง เช่น
โยนเหรียญ ทอดลูกเต๋า 
แล้ววิธีการหา expected value เป็นยังไง วิธีคิดก็คือการหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนัก (weighted average) นั่นแหละครับ 


คือ E(X)=Σxp(x) เมื่อ E(X) คือ expected value 
หรือ expectation ของ X, x คือค่าตัวเลขใน sample space ของเรา 
และ p(x) คือ ความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่ x จะเกิดขึ้น (อันนี้ใช้กับเฉพาะ x ที่เป็น discrete คือ x เป็นตัวๆ นะครับ)
ยกต้วอย่างเช่น 
ทอยลูกเต๋า มี 6 หน้าใช่ไหมครับ ดังนั้นเราสามารถหา ค่า expected value ได้ 
E(X)=1*(1/6)+2*(1/6)+...+6*(1/6)= 3.5 
หรือยกตัวอย่างใหม่ 
โยนเหรียญหัวก้อย ถ้าออกหัวให้แทนด้วย 1 ก้อย ให้แทนด้วย 0 แต่สมมติต่อไปว่า หัวมีโอกาสออกได้มากกว่าก้อย สามเท่า 
E(X)=1*(3/4)+0*(1/4)=0.75 
ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ 


เอาล่ะ คราวนี้เรามาดูกันว่าแล้วคุณปาสคาล เขาคิดยังไง 
พระเจ้ากับ Expectated Value
►เขาบอกว่า เอาล่ะในโลกนี้มีสองกรณี 


กรณีแรก พระเจ้ามีจริง 


กรณีที่สอง พระเจ้าไม่มีจริง 




แล้วในแต่ละกรณีก็มีสองความเชื่อ ซึ่งก็คือ เราเชื่อในพระเจ้า กับเราไม่เชื่อ


۩คราวนี้เรามาสมมติกันในกรณีแรกก่อนคือเราเชื่อในพระเจ้า 
กรณีแรกพระเจ้ามีจริง ผลลัพธ์ ตายไปเราขึ้นสวรรค์ ให้ค่าความสุข เป็น อินฟินิตี้ ∞ 


۩กรณีที่สอง ถ้าพระเจ้าไม่มีจริง ตายไปไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่มีสวรรค์ไม่มีนรก ให้ค่าความสุขได้ 0
แต่ถ้าจะหาค่า expected value ได้ เราต้องให้ค่าความน่าจะเป็นด้วย อ่ะให้โอกาสที่พระเจ้ามีจริงนั้น แค่ 1%
E(X)=0.01*∞+0.99*0=∞ 


Θสรุป
แล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขอแค่มีโอกาสความน่าจะเป็นว่าพระเจ้ามีจริง ยังไงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ค่า Expected value ก็ ∞ ถูกไหมครับ 


☻เอาล่ะมาดูในกรณีที่เราไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริงบ้าง
แต่พระเจ้ามีจริง ผลลัพธ์ ตายไปก็ตกนรกสิครับ ให้ค่าความสุข เป็น -อินฟินิตี้ (-∞)
กรณีที่สอง พระเจ้าไม่มีจริง ตายไปไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่มีสวรรค์ไม่มีนรก ให้ค่าความสุขได้ 0
ดังนั้น เราก็จะสามารถหา Expected value ได้ ว่า -∞
เอาล่ะแล้วมาดูกันครับ ในทาง Decision Theory 
ตอนแรกเราก็มาสร้างตารางกันก่อน วิธีการสร้างตารางก็ง่ายๆครับไม่ยุ่งยาก 


หลักให้เป็น state of the world หรือเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ (ในกรณีนี้ก็คือ พระเจ้ามีจริงหรือเปล่า)
แถวให้เป็น ตัวเลือกที่เราตัดสินใจ (เลือกจะเชื่อหรือเปล่า) 
อย่างที่เห็นในตารางด้านล่างครับ 
เชื่อ/พระเจ้า มีจริงๆไม่ได้โม้ โม้แหกตา
เชื่อ ∞ ** 0
ไม่เชื่อ -∞ 0


วิธีการตัดสินใจนั้นก็มีหลายแบบครับ 
เอาแบบง่ายที่สุดก่อน เรียกว่า Maximum Payoff หรือก็คือเลือกการตัดสินใจที่มีประโยชน์มากที่สุด ดูจากตารางนะครับ แล้วก็เลือกเอาอันที่มากที่สุด (ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า ช่องที่มี ∞ นั้น ให้ค่ามากสุด) เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเลือกที่จะเชื่อว่าพระเจ้ามีจริง


เอาล่ะมาอีกกรณีเรียกว่า Maximax อันนี้ ก็คล้ายๆกับ Maximum Payoff ครับ แต่วิธีนี้นั้นจะเลือกเอา ค่าสูงสุดของบรรดาค่าสูงสุดทั้งหมด ดังนั้นวิธีนี้ ขั้นตอนการหาประกอบด้วย สองวิธีครับ 


ขั้นแรกคือการหาประโยชน์สูงสุด แล้วขั้นก็สองก็คือเลือกเอาอันที่มากที่สุด (จริงๆแล้ว ค่าที่ได้ก็จะได้เหมือน Maximum Payoff ครับ)
เชื่อ/พระเจ้า มีจริงๆไม่ได้โม้ โม้แหกตา ค่าผลประโยชน์สูงสุด 
เชื่อ ∞ 0 ∞ **
ไม่เชื่อ -∞ 0 0


ดังนั้นวิธีนี้เราก็จะเลือกเชื่อพระเจ้าอีกเหมือนกัน 
อีกวิธีหนึ่งครับ เรียกว่า Maximin อันนี้ จะเลือกเป็นการหาโดยการเลือกเอาค่าที่มากที่สดของบรรดาค่าที่น้อยที่สุด วิธีการคล้ายๆกับ Maximax ครับ คือแต่แทนที่จะหา ค่าผลประโยชน์มากสุด ในแต่ละการตัดสินใจมา อันนี้เอาค่าประโยชน์น้อยสุดมา แล้วก็เลือกเอาค่าผลประโยชน์ที่มากสุดครับ 
ดูตามตารางข้างล่างนะครับ 
เชื่อ/พระเจ้า มีจริงๆไม่ได้โม้ โม้แหกตา ค่าผลประโยชน์น้อยสุด
เชื่อ ∞ 0 0 **
ไม่เชื่อ -∞ 0 -∞


เราก็จะเลือกได้อีกเหมือนกันว่า ต้องเชื่อว่าพระเจ้ามีจริง
เอาละ ในนี้จะมีอีกสองวิธีครับ คือ Minimin ซึ่งก็เลือกเอาค่าที่น้อยที่สุดของค่าที่น้อยที่สุด และอันสุดท้ายคือ Minimax ซึ่งก็เลือกเอาค่าที่น้อยที่สุดของผลประโยชน์มากสุด แต่สองกรณีนั้นเหมาะกับการใช้การตัดสินใจกับค่าเสียประโยชน์ เช่น ค่าใช้จ่ายมากกว่าครับ 
วิธีสุดท้ายครับ เรียกว่า Minimax Regret 
Regret แปลว่าเสียใจครับ แต่ถ้าจะให้แปลแบบลูกทุ่งก็คือ เลือกเอาอันที่เราเสียใจน้อยสุดนั่นแหละครับ วิธีการคือเราต้องการ Regret ก่อนครับ Regret นั้นหาได้จากว่า เอาค่าที่มากที่สุดลบกับค่าผลประโยชน์ที่ได้ในในแต่ละ state of the world ครับ
เชื่อ/พระเจ้า มีจริงๆไม่ได้โม้ โม้แหกตา Max Regret
เชื่อ ∞-(∞)=0 0-0=0 0 **
ไม่เชื่อ ∞-(-∞)=2∞ 0-0=0 2∞


แล้ววิธีการหา Minimax ก็คือการเอาค่าน้อยที่สุดของค่ามากที่สุดครับ
ซึ่งก็เหมือนเดิมเลยคือการเลือกที่จะตัดสินใจว่า เชื่อว่าพระเจ้ามีจริงนั้นจะได้ผลดีที่สุด 
เอาล่ะครับ ทั้งหมดก็คือมุมมองของพระเจ้าในแง่มุมของคณิตศาสตร์และทฤษฏีการตัดสินใจครับว่าทำไม บางคนถึงเชื่อว่าพระเจ้ามีจริง 


ที่มา Seife, C. Zero The biography of a dangerous idea, Penguin Book, NY 2000 ISBN0-14-029647-6
Bernstein, P. L. Agaist the Gods: The remarkable history of risk. John Wiley & Sons Inc. NY 1996 ISBN 978-0471121046 
หนังสือเกี่ยวกับ Decision Theory นั้นหาได้ทั่วไปครับ หรือไม่ก็อาจจะหาอ่านจากหนังสือพวก Operation Research ก็ได้ครับ




อ้างอิงจากเวบ
gotoknow.org/blog/mathbeauty/91696 

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์









ฮัจย์
1. เป็นรูกนที่ 5 ของรูกนอิสลาม ซึ่งกำหนดเป็น ฟัรดู ( ศาสนกิจระดับบังคับ ) สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ ( มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบพิธีฮัจย์ – เงิน อาหาร ) ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮ . ในเดือน ซูลฮิจยะฮ . จำนวน ๑ ครั้งในชั่วชีวิต ( ส่วนจำนวนที่ประกอบฮัจย์มากกว่า ๑ ครั้ง จะไม่ถือเป็น วายิบ แต่ส่งเสริมให้กระทำ )
Fardu Haji : Rukun Islam yg kelima yg memerlukan seseorang muslim yg cukup syaratnya pergi ke Mekah dan melakukan beberapa ibadat yg berkaitan dengan fardu itu. di sana . – Kamus Dewan
2 เป็นศาสนพิธีในอิสลามที่กำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถจะต้องประกอบ พิธีฮัจย์ หนึ่งครั้งในชั่วชีวิตของมุสลิมแต่ละคน
ฮัจย์สำคัญอย่างไร
ท่านศาสดามูฮัมหมัด ( ซ . ล .) ได้กล่าวแก่ชาวมุสลิมเกี่ยวกับฮัจย์ สรุปความได้ว่า
“ โอ้ประชาติทั้งหลาย อัลลอฮ . ได้กำหนดฮัจย์เป็นหน้าที่ของพวกท่าน ( มุสลิม ) ดังนั้นท่าน ( มุสลิม ) ทั้งหลายจงทำฮัจย์ ”
จากฮะดิษข้างต้น จะเห็นว่า รูกนฮัจย์ เป็นรูกนที่อัลลอฮ . ทรงกำหนดให้มุสลิมทุกคนจะต้อง (วายิบ) ประกอบ โดยมีคำอธิบายขยายเพิ่มเติมว่า บังคับเหนือมุสลิมทุกคน ยกเว้นผู้ที่ไม่มีความสามารถกระทำได้ อธิเช่น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความบกพร่องทางสมอง เช่น บ้า สติไม่สมประกอบ หรือ พิการทางร่างกายที่ไม่สามารถเดินทางและประกอบพิธีฮัจย์ได้
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความเจ็บป่วย หรือเป็นโรค เช่น เจ็บป่วยหนักอย่างต่อเนื่อง เจ็บป่วยเป็นโรคติต่อร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นรอบข้าง เป็นต้น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความยกจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงดูครอบครัวระหว่างการประกอบฮัจย์ ไม่มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นระหว่างเดินทางและประกอบพิธีฮัจย์ หรือเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นคนล้มละลาย เป็นต้น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากเหตุผลสุดวิสัยอื่น เช่น อยู่ในภาวะสงคราม โรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ เป็นต้น
อุมเราะฮ . : เป็นอีบาดัตซุนนะฮ . ประการหนึ่ง ที่สามารถกระทำได้ ณ นครมักกะฮ. ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมอิฮรอม ตอวาฟ แซแอร์ และตะฮาลลูล โดยจะไม่ประกอบกิจกรรมวายิบของฮัจย์ บางครั้งเรียมอุมเราะห์ว่า ฮัจย์เล็ก
  UMRAH : Umrah ialah Ibadat yg mengadungi beberapa perbuatan seperti ihram, tawaf, sai, dan tahalul. Tanpa wukuf wajib-wajib haji. - ada di panggel : selalu dipanggil Haji kecil

การประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ มี ๓ วิธี
๑ . อิฟรอด คือ การทำฮัจย์ก่อนการทำอุมเราะฮ . ฮุจญาดผู้ประกอบพิธีฮัจย์แบบฮัจญ์อิฟรอด จะประกอบพิธีฮัจญ์ก่อนทำอุมเราะฮ . หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์แล้วเขาจะเดินทางออกจากแผ่นดินฮะรอม แล้วเนียตเอียะฮ . รอมอุมเราะฮ . แล้วเดินทางเข้ามักกะฮ . เพื่อประกอบพิธีอุมระฮ . โดยต้องทำต้องทำภายในปีเดียวกันกับปีที่ประกอบพิธีฮัจญ์ วิธีอิฟรอด เป็นวิธีประกอบฮัจญ์ที่ดีกว่า การประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ . และวิธีกิรอน โดยไม่ต้องเสียดัม ( ตามมัซฮับซาฟีอี )
๒ . ตะมัตตุอ . คือ การทำอุมเราะฮ . ในช่วงเวลาฮัจญ์ เมื่อเสร็จการทำอุมเราะฮ . แล้วฮุจญาดจะทำพิธีฮัจญ์ในปีเดียวกัน การประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ . จะดีกว่าการประกอบพิธีฮัจญ์วิธีกิรอน แต่ต้องเสียดัม ( ค่าปรับต่อการกระทำผิดพลาด หรืออาจจะบกพร่องกรณีใดกรณีหนึ่งตามรูกนฮัจญ์ )
๓ . กิรอน คือ การทำฮัจญ์และอุมเราะฮ . พร้อมกันในช่วงเวลาฮัจญ์ หรือการเนียตทำอุมเราะฮ . แล้วนำเอาพิธีฮัจญ์เข้ามาก่อนลงมือทำอุมเราะฮ . แล้วก็ทำพิธีฮัจญ์จนแล้วเสร็จ ทั้ง ๒ รูปแบบนี้ผู้ปฏิบัติจะได้ทั้งฮัจญ์ และอุมเราะฮ . ในคราวเดียวกัน เพราะพิธีฮัจญ์ได้ครอบคลุมถึงพิธี อุมเราะฮ . อยู่แล้ว แต่ต้องเสียดัม
รูกนของฮัจย์ มี ๖ ประการ ดังนี้
๑ . เอียะฮ . รอม คือ การตั้งเจตนา ( เนียต ) ทำพิธีฮัจย์ ฮุจญาดหรือผู้ที่จะประกอบพิธีฮัจย์ทุกคนจะต้องเริ่มต้นด้วยรูกนนี้ มิฉะนั้นการกระทำหลังจากนี้ทั้งหมดจะถือว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีฮัจย์ การตั้งเจตตนาหรือเนียต สามารถกล่าวด้วยข้อความต่อไปนี้
“ ข้าพเจ้าตั้งเจตนาทำฮัจญ์ และครองตนไม่ละเมิดสิ่งต้องห้ามด้วยการทำฮัจย์ เพื่ออัลลอฮ . ซุบฮานาฮูวาตะอาลา ”
๒ . วุกูฟ คือ การเดินทางไปปรากฏตัว ณ ทุ่งอะรอฟะฮ . ในช่วงเวลาตั้งแต่ตะวันคล้อยของวันที่ ๙ ของเดือนซุลฮิจญะฮ . และพักแรมคืน ณ ทุ่งมุซดะลีฟะฮ. ถึงเริ่มแสงอรุณ (หรือ พักแรมอย่างน้อยถึงหลังเที่ยงคืน) ของวันที่ ๑๐ เดือนซุลฮิจญะฮ . หรือ ที่เรียกว่า วันกุรบาน ซึ่งจะเป็น วันอิดิลฮัฎฮา (Idil Adha) หรือ วันรายอฮัจญี ของที่อื่นๆที่ไม่ใช่ทุ่งอะรอฟะฮ .( ทุกชุมชนมุสลิมที่นอกเหนือจากกลุ่มฮุจญาจที่อยู่ระหว่างประกอบฮัจย์ (วูกูฟ) ณ ทุ่ง อะรอฟะฮ . จะเป็นวันอิดิลอัฏฮา จะทำการละหมาดอิดิลอัฎฮา และทำการกุรบาน)
๓ . ตอวาฟ คือ การเดินเวียนรอบกะบะฮ . หรือ ไบตุลเลาะฮ . ( ฮุจยาดปกติจะเดินเท้า ส่วนฮุจยาดที่ชรา หรือ พิการ หรือ ไม่สบาย สามารถจ้างลูกหาบช่วยหาบ (ใช้เปลคล้ายเปลคนไข้) หรือ ใช้รถเข็น รอบกะบะฮ . แทนการเดินเท้า เป็นต้น การตอวาฟรอบกะบะฮ . จะเวียนซ้าย ( ทวนเข็มนาฬิกา ) จำนวน ๗ รอบ เริ่มจากแนวเส้นเริ่มต้น ซึ่งจะทำเป็นเครื่องหมายให้สามารถสังเกตได้ทั้งบนพื้น และที่อาคารมัสยิด เวลาตอวาฟเริ่มตั้งแต่เวลาพ้นเวลาเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ เดือน ซุ้ลฮิจยะฮ . แนวเส้นทางการตอวาฟดังแผนภูมิต่อไปนี้
เงื่อนไขในการตอวาฟ
เงื่อนไขของการตอวาฟมี 6 ประการ คือ
1. ร่างกายต้องสะอาดจากอะดัสใหญ่และเล็ก และสะอาดจากนะยิสต่างๆ
2  ต้องปกปิดอวัยวะที่พึงสงวน
3  ต้องตั้งเจตนา (เนี๊ยต) ทำการตอวาฟ สำหรับตอวาฟทั่วไป สำหรับตอวาฟที่เกี่ยวกับพิธีฮัจย์ และอุมเราะฮ. ก็ไม่ต้องเนี๊ยต เพราะการเนี๊ยตเอียะฮ.รอม นั้นได้ครอบคลุมถึงพิธีการทั้งหมดแล้ว
4  ต้องเริ่มการตอวาฟที่แนวมุมหินดำ (มีเส้นแนวกำหนด สามารถสังเกตุเส้นแนวที่กำหนดเป็นเส้นเริ่มต้นได้ที่พื้นลานรอบไบตุลลอฮ. และอาคารมัสยิดฮะรอมรอบใน)
5  ต้องรักษาแนวการเดิน หรือวิ่งเยาะๆตอวาฟให้ไบตุลลอฮ.อยู่ด้ายซ้ายของผู้ตอวาฟเสมอตลอการตอวาฟ และต้องตอวาฟในมัสยิดฮะรอมเท่านั้น
6 ต้องตอวาฟ.ห้ครบ 7 รอบ โดยมั่นใจ
๔ . สะอีย์ ( สะแอ ) คือ การเดินระหว่างเนินเขาซอฟา กับ เนินเขามัรวะห์ ๗ เที่ยว โดยให้เริ่มจากเนินเขาซอฟา ไปถึงเชิงเนินเชา มัรวะห์นับเป็น ๑ เที่ยว แล้วเริ่มนับเที่ยวที่ ๒ เดินจากเนินเขามัรวะห์ ถึง เนินเขาซอฟา นับต่อๆไปจนครบ ๗ เที่ยวจบ การสะอีย์ที่ เนินเขามัรวะห์
๕ การโกน หรือ ตัดเส้นผม หลังการซะอีย์ครบ ๗ เที่ยว ที่เนินเขามัรวะห์ แล้วจะต้องทำการโกนผม หรือ ตัดเส้นผม สำหรับฮุจญาจชายจะดีที่สุดคือการโกนศีรษะ สำหรับฮุจญาจสตรีนั้นส่งเสริมให้ตัดเส้นผมดีกว่าการโกนทั้งศีรษะ
๖ การปฎิบัติเรียงลำดับของรูกน ( ตารติบ ) หมายถึง การปฏิบัติรูกนฮัจย์ที่กล่าวมาเรียงลำดับขั้นตอนไม่สับสน และขาดขั้นตอน ซึ่งจะเริ่มจากการเอียะห์รอม แล้ววูกูฟ ตอวาฟ สะอีร์ แล้วตัดหรือโกนผม การทิ้งรูกนฮัจย์รูกนหนึ่งรูกนใดจะทำให้พิธีฮัจย์ใช้ไม่ได้
วายิบฮัจย์มี 4 ประการ
๑ . เอียะห์รอมจากสถานที่ และในเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่อาศัยในนครมักกะฮ . สถานที่ที่กำหนดสำหรับเอียะห์รอม คือ ขอบเขตนครมักกะฮ .
•  สำหรับผู้ที่อาศัยในนครมะดีนะฮ . สถานที่ที่กำหนด คือ “ ซุลฮุไลฟะฮ .” หรือ ที่เรียกในปัจจุบันว่า “ อาบารอะลี ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าจากมักกะฮ . ทางประเทศ ชาม ( ซีเรีย ) อียิปต์ และมอร๊อคโค สถานที่ที่กำหนดเป็น “ ยุฮ . ฟะฮ .”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามักกะฮ . จากประเทศ เยเมน สถานที่ที่กำหนดคือ “ ยะลำลำ ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเมือง ฮิยาซ กำหนดให้เอียะห์รอมที่ “ กอรนุ้ลมะนาซิ้ล ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามักกะฮ . จากเส้นทางตะวันออก ให้เอียะห์รอมที่ “ ซาตุอิรก์ ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเส้นทางอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้ถือเอาเส้นทางผ่านซึ่งตรงกันกับสถานที่ที่ได้กำหนดไว้แล้วนั้น
•  ส่วนเวลาที่กำหนดสำหรับเอียะห์รอมคือ สามารถกระทำได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนเซาวาล เดือนซุ้ลเกียะห์ดะห์ และอีก ๑๐ วันแรกของเดือนซุ้ลฮิจยะห์ ( รวมช่วงเวลาที่สามารถทำเอียะห์รอมได้ คือ ๗๐ วัน )
๒ . การพักแรมที่ มุซดาลิฟะฮ . หลังวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะฮ .
กำหนดให้ฮุจยาดเดินทางออกจากทุ่งอารอฟะฮ . หลังฮัสรีไปยังที่ทุ่งมุซดาลีฟะห์พักแรมที่ทุ่งมุซดาลีฟะห์จนถึงหลังซุบฮิ หรืออย่างน้อยหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ ซุลฮิจยะฮ . ซึ่งเป็นวันเชือดสัตว์ทำ กุรบาน ( วันอิดิลอัฏฮา ของชุมชนทั่วไป )
๓ . การพักแรมที่มินา หลังเดินทางออกจากทุ่งมุซดาลีฟะฮ . ฮุจยาดจะต้องเดินทางกลับที่ทุ่งมินา และพักแรมที่มินา ๓ คืน คือ วันที่ ๑๑ , ๑๒ และ ๑๓ ซุลฮิจยะฮ . หรือที่เรียกว่า “ วันตัซรีก ”
๔ . การขว้างเสาหิน มีกำหนด ๓ ต้น ในกำหนดเวลาดังนี้
•  วันแรกขว้างเสาต้นที่ ๑ เรียกว่า “ ยัมรอตุลอะกอบะฮ .” สามารถเริ่มขว้างตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืนของวันที ๑๐ เดือนซุลฮิจยะฮ . ด้วยก้อนกรวดที่เก็บจากลานทุ่งมุซดาลีฟะฮ . จำนวน ๗ ก้อน
•  วันที่ ๑๑ ๑๒ และ ๑๓ เดือนซุลฮิจยะฮ . ฮุจญาจจะเดินออกจากเต็นที่พัก ณ ทุ่งมีนา ไปขว้างเสาหินทั้ง ๓ ต้นๆ ละ ๗ ก้อน ตามลำดับ โดยกำหนดให้เริ่มจากเสา ยัมรอตุ้ลอูลา แล้วขว้าง เสายัมรอตุล วุสตอ และเสายัมรอตุลอะกอบะฮ . ตามลำดับ
หมายเหตุ หากมีการละเว้นการปฏิบัติวายิบฮัจย์ประการใดประการหนึ่งไม่ทำให้เสียพิธีฮัจญ์ แต่ฮุจญาดผู้นั้นต้องเสียดัม ( ค่าปรับ )
สิ่งที่ควรปฏิบัติ ( สุนัต ) ในพิธีฮัจย์
สิ่งที่ควรปฏิบัติ หรือ สุนัต ที่ส่งเสริมในระหว่างการทำฮัจย์มีดังต่อไปนี้
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเพื่อการเอียะฮ . รอม เพื่อเดินทางเช้ามักกะฮ . และอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อเอียะฮ . รอมเพื่อวูกูฟ
•  ใส่เครื่องหอมที่ร่างกาย และเสื้อผ้าก่อนการเอียะฮ.รอม (ส่วนการใส่เครื่องหอมหลัง เอียะฮ.รอมแล้วถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม)
•  กล่าว “ ตัลบียะฮ. ”
ควรกล่าว ตัลบียะฮ.ด้วยเสียงค่อนข้างดัง กล่าวต่อเนื่อง หรือกล่าวให้มากที่สุดที่ทำได้ หลังเริ่มเอียะฮ.รอม ก่อนเข้านครมักกะฮ. เริ่มเดินทางไปทุ่งมีนา จนถึงการขว้างเสาหินที่ ยำรอตุลอะกอบะฮ.
•  พักแรมคืนที่ ทุ่งมีนา ในคืนวันที่ 9 ซุลฮิจยะฮ.
•  พักแรมจนถึงรุ่งอรุณที่ ทุ่ง มุซดาลีฟะฮ.
•  หยุดพักที่ มัชอะริ้ลฮะรอม
•  ขอดุอาฮ. เตาบัต อ่านกุรอาน และซิเกร์ให้มากๆ
•  บริจาคทานให้มาก
•  ละหมาดที่มัสยิดหะรอม
•  ปฏิบัติสุนัตอื่นๆให้มากระหว่างประกอบฮัจญ์

ตั้งเจตนาเอียะฮฺรอม(รูกน) จากสถานที่ที่(วายิบ) 
ภายหลังตะวันคล้อย ของวันที่ 9 (รูกน) 
ภายหลังเที่ยงคืนของวันที่ 10 (วายิบ )  
เสา “ ยำรอตุ้ลอะกอบะฮ. ” หลังเที่ยงคืนวันที่ 10 ถึง วัน ที่ 13 (วายิบ)
โกนศีรษะ หรือ ตัดผมบางส่วน ( รูกน)
 เดินทางกลับมักกะฮ. เพื่อตอวาฟ ( รูกน)
 ทำสะอีร์ หลังตอวาฟ (รูกน)
 พักแรมคืนที่มีนา 3 คืน (วายิบ)
 ขว้างเสาหินวันที่ 11 12 และ 13 ต้นละ 7 ก้อน รวม 21 ก้อน (วายิบ)

ค่าดัมในการละทิ้งวายิบฮัจย์
•  ในกรณีมีการละทิ้งไม่การทำ วายิบฮัจญ์ ประการใดประการหนึ่ง เช่น
•  ละเว้นหรือลืมกรทำเอียะห์รอม ณ สถานที่ที่กำหนด หรือ
•  ละเว้นการพักแรมคืน ณ “ มุซดาลีฟะห์ ” หรือ
•  ละเว้นการพักแรมคืนที่ “ มีนา ” หรือ
•  ละเว้นการขว้างเสาหิน หรือ
•  ละเว้นการตอวาฟอำลา
•  กำหนดต้องเสียค่าดัม ( ค่าปรับ ) ดังนี้คือ
1. ให้เชือดแพะ หรือ แกะ 1 ตัว แล้วให้แจกจ่ายเนื้อแก่คนยากจน ถ้าไม่สามารถกระทำได้ ( ไม่สามารถหา หรือ ซื้อ แพะ หรือ แกะ เชือดเสียดัมได้ ) กำหนดให้ ถือศิลอด ( ปัวซอ ) เป็นเวลา 10 วัน โดยถือ ศิลอด 3 วัน ภายหลังเอียะห์รอม ( ควรถือศิลอด ในวันที่ 6, 7 และ 8 ของเดือน ซุลฮิจยะห์ ส่วนอีก 7 วันที่เหลือ นั้นให้ถือเมื่อเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ถึงภูมิลำเนาเดิมแล้ว ( กลับถึงบ้านของฮุจญาดแต่ละคน )
2 .กรณีละเว้นการพักแรมคืน ณ ทุ่งมีนา 1 คืน ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 1 มุด ( ลิตร ) 2 คืน ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 2 มุด ( ลิตร ) 3 คืน ต้องเสียค่าปรับเต็มอัตรา คือ เชือดแพะ หรือ แกะ 1 ตัว หรือ ถือศิลอด 10 วัน แล้วแต่กรณี
3. กรณีละเว้น การขว้างเสาหิน ( ใช้ก้อนหิน 7 ก้อน ) ถ้าขาด 1 ก้อนต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 1 มุด ( ลิตร ) ถ้าขาด 2 ก้อน ต้องเสียค่าปรับ เป็นอาหาร 2 มุด ถ้าขาด 3 ก้อนหรือมากกว่า ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร ต้องเสียค่าปรับเต็มอัตราดังได้กล่าวไว้ข้างต้น
ข้อห้ามขณะอยู่ในเฮียะห์รอม

ข้อห้ามขณะอยู่ในเอียะห์รอมมี ๗ ประการ

•  เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม

สำหรับฮุจญาจชาย

•  ห้ามปิดศีรษะ ทั้งหมดหรือบางส่วนของศีรษะ

•  ห้ามสวมใส่ด้วยเครื่องนุ่งห่มที่เย็บติดกัน หรือทอต่อกัน เช่นกาง เกง เสื้อ เป็นต้น

•  ห้ามสวมรองเท้า แบบหุ้มส้นเท้า และปลายนิ้วเท้า

•  ห้ามสวมใส่ เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับที่เป็นวงกลม หรือ เย็บต่อกันเป็นวง

สำหรับฮุจญาจหญิง

•  ห้ามสวมเครื่องแต่งกายแบบปิดใบหน้า

•  ห้ามปิดฝ่ามือ ด้วยการสวมใส่ถุงมือ

•  ไม่ห้ามเสื้อผ้าที่ตัดเย็บ หรือทอติดกัน เช่นเดียวกันกับฮุจญาจชาย

•  เครื่องหอม เครื่องประทินผิว

ทั้งฮุจญาจชาย และหญิง ห้ามใส่ หรือพรมน้ำหอม หรือ เครื่องสำอางที่ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม หรือที่นอน

•  การใส่ครีมแต่งผม ทาเครา และทาร่างกาย

ครีมหรือน้ำมันประเภทนี้มักผลิตเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดมีกลิ่นหอม และไม่มีกลิ่นหอม สำหรับครีมหรือน้ำมันประเภทมีกลิ่นหอม ห้ามใช้ทั้งเป็นครีมแต่งผม หรือใส่ที่เครา หรือร่างกาย เช่นเดียวกันกับเครื่องหอม และเครื่องประทินผิว

ส่วนประเภทที่ไม่มีกลิ่นหอม สามารถทางตามผิวกายได้ แต่ห้ามทาหรือใส่ผม หรือเครา

•  เกี่ยวกับการโกนผม ขนและ การตัดเล็บ

ในระหว่างครองเอียะฮ์รอม ห้ามทำลายขนในร่างกาย เช่น ผม ขนรักแร้ ขนอวัยวะเพศ ขนจมูก เป็นต้น ด้วยวิธีการใดๆโดยเด็ดขาด เช่น การถอน การโกน การใส่ยาให้ขนร่วง หรือวิธีการอื่น

ข้อมูลจาก

www.fathoni.com