อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของการกล่าวตะลัฟฟุซ หรือกล่าวคำเหนียต(อุศ็อลลี)



คำว่าเหนียต มีพื้นฐานมามาจากภาษาอาหรับว่า "นียะห์" ที่คนบ้านเราออกเสียงเปร่งไปว่า เหนียต มีความหมายว่า การตั้งใจ หรือการตั้งเจตนา

การเอาเจตนาหรือความตั้งใจออกมากล่าวเป็นถ่อยคำนั้นไม่เรียกว่า "เหนียต" แต่จะเรียกว่า "ตะลัฟฟุซ" หรือการกล่าวคำเหนียตนั้นเอง แต่คนบ้านเรามักจะเรียกขานกันว่า การกล่าว "อุศ็อลลี" ตามคำขึ้นต้นข้อความเช่น " อู้ซ้อลลี ฟัรด็อด ซุบฮิ ร๊อกอะตัยนี่ อะดาอันลิ้ลลาฮี่ตาอ้าลา "

เนื่องจากไม่พบตัวบทหลักฐานในเรื่อง ตะลัฟฟุซ หรือกล่าว อุศ็อลลีฯ จากคำสอน หรือการกระทำของท่านรอสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยไม่มีคำรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮ์ หรือฎออิฟ ก็ตาม ตลอดจนเหล่าศอฮาบะฮ์ของท่านนบีก็ไม่มีใครรู้และปฏิบัติในเรื่องนี้  รวมถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ด้วย โดยเฉพาะท่านอิหม่ามชาฟีอี ที่คนบ้านเราประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะถือตาม ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยสั่งสอนบรรดาสิษย์ของท่านให้กล่าวอุศ็อลลีฯ แล้วเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? (ซึ่งมีการกระทำกันแต่ในมัซฮับชาฟีอี{รวมถึงลูกศิษย์อุลามะฮ์หรือผู้รู้ที่ตามทัศนะของท่านอิหม่ามชาฟีอี})

...ในหนังสือ มิรกอตุ้ลมะฟาติฮ์ และหนังสือ ซาดุ้ลมะอาด ได้ชี้แจงว่า การกล่าวคำเหนียต เกิดจากคนยุคหลังที่เข้าใจผิดในคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟีอี ดังนี้

"อันแท้จริงแล้ว บรรดาคนรุ่นหลังได้เข้าใจผิดต่อคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟีอีเกี่ยวกับเรื่องละหมาดที่ว่า .."มันไม่เหมือนกับการถือศิลอดโดยคนใดก็ตามจะยังไม่ถือว่าเข้าละหมาดนอกจากด้วยคำกล่าว" ...เขาคิดเอาเองว่า การกล่าวนี้คือ การที่ผู้ละหมาดกล่าวคำเหนียตออกมา แต่เป้าหมายของอิหม่ามชาฟีอีเกี่ยวกับการกล่าวนั้นคือ {{{{{{กล่าวตั๊กบีรอตุ้ลเอียะฮ์รอม(หมายถึงกล่าวคำว่า อัลลอฮุอั๊กบัร)}}}}}" (มิรกอตุ้ลมะฟาติฮ์ 1/102 และ ซาดุ้ลมะอาด 1/194)

ข้อความข้างต้นนี้กล่าวโดยรวมว่า ตะลัฟฟุซหรือการกล่าวเหนียต เกิดจากบรรดารุ่นหลังที่เข้าใจผิดต่อคำพูดของอิหม่ามชาฟีอี และมิได้ระบุว่า บรรดาผู้ที่เข้าใจผิดนั้นมีใครกันบ้าง แต่ในหนังสือ อัลมัจมัวอ์ ซัรอุลมุฮัสซับ ได้ระบุรายละเอียดของเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า
"คือคำพูดของ อบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ที่กล่าวว่า ..."มันใช้ไม่ได้จนกว่าจะรวมการเหนียตด้วยหัวใจ และการกล่าวด้วยลิ้นเข้าด้วยกัน เนื่องจากอิหม่ามชาฟีอี ได้กล่าวว่า "เมื่อเจตนาทำฮัจญ์หรืออุมเราะห์ก็ใช้ได้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวออกมาด้วยคำพูด ซึ่งต่างจากการกล่าวละหมาดที่ถือว่าใช้ไม่ได้นอกจะกล่าวด้วยคำพูด"...นักวิชาการของเรา (ในมัซอับชาฟีอี) กล่าวว่า เป็นความผิดพลาดของผู้ที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากการกล่าวด้วยคำพูดตามที่อ้างอิงนี้มิได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของอิหม่ามชาฟีอี แต่วัตถุประสงค์ของอิหม่ามชาฟีอีคือ การกล่าวตั๊กบีร" (จากหนังสืออัลมัจมัวอ์ซัรอุลมุฮัสซับ หมวดการละหมาด บทที่ว่าด้วยเรื่อง ลักษณะการละหมาด หัวข้อ เรื่อง การเหนียตในละหมาด)

นอกจากนี้แล้วในหนังสือ ญามิอุ้ลอุ้ลอุลูม เล่ม 3 หน้าที่ 54 และในหนังสือ อัลฮาวีย์ อัลกะบีร เล่มที่ 2 หน้าที่ 91-92 ได้แจ้งถึงที่มาของเรื่องนี้ว่าเกิดจากความเข้าใจผิดของอบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ที่มีต่อคำของอิหม่ามชาฟีอีที่กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลมะนาซิก" เช่นเดียวกัน

จากข้อมูลที่นำมาแสดงนี้ทำให้เราได้ทราบว่า ที่มาของการกล่าวตะลัฟฟุซหรือการกล่าวอุศ็อลลีนั้น เกิดจากความเข้าใจผิดของบรรดานักวิชาการยุคหลังจากอิหม่ามชาฟีอี ซึ่งต่างก็นำคำพูดของอิหม่ามชาฟีอีไปวิเคราะห์วิจารย์กันตามมุมมองของตนเอง โดยที่ตัวอิหม่ามเองก้ไม่ได้สั่งสอนและชี้แนะไว้เช่นนั้นเลย ดังความเข้าใจผิดของอบี อับดิลลาฮ์ อัสซุบัยรีย์ ต่อคำพูดของอิหม่ามชาฟีอี ซึ่งบรรดานักวิชาการในมัซฮับชาฟีอีเองก็ต่างก็ชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจวัตถุประสงค์ในคำพูดของอิหม่ามชาฟีอีไม่ถุกต้อง!!!

และหลักฐานหะดิษต่อไปนี้เป็นหลักฐานแห่งการเหนียต(การตั้งเจตนา) ซึ่งการเหนียตเป็นวาญิบของการงานทุกอย่างรวมถึงการเหนียตละหมาด แต่ไม่ใช่หลักฐานของการกล่าวตะลัฟฟุซหรือ อุศ็อลลี นั้นเป็นคนละกรณีกัน


อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
         
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هُجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيْبُهَا أَوِامْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إِلََى مَاهَاجَرَإِلَيْهِ". (البخاري ومسلم) .
   
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ดังนั้น ใครที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพรพะองค์ การอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่อโลกนี้ ที่เขาจะได้มัน หรือสตรีเพศที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามนั้น”.
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882) .

ซึ่งหะดิษดังกล่าวนี้ ผู้ที่อพยพไม่ต้องกล่าวออกมาว่า "ฉันอพยพไปเพื่ออัลลอฮ์ หรือฉันอพยพเพื่อจะแต่งงานกับสาวคนนี้แต่อย่างใด เพราะการเหนียตคืองานของหัวใจไม่ใช่ลิ้นนั้นเอง


ส่วนที่อ้างว่าท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า
لبيك بعمرة وحج
"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)
ซึ่งถ่อยคำนี้ไม่ใช่คำตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเหนียตในการทำอุมเราะห์หรือฮัจญ์ แต่ถ่อยคำนี้ถูกเรียกว่า "ตัลบียะห์" เพราะหากเป็นเหนียตต้องกล่าวว่า นาวัยตูอุมรอตัลวาฮัจญัน แปลว่า "ข้าพเจ้าตั้งใจทำอุมเราะหืและฮัจญ์" ดังนั้นตะลัฟฟุซกับตัลบียะห์นั้นต่างกัน และการนำเอาวิะีการทำฮัจญ์และวิธีละหมาดมาเปรียบเทียบโดยอาศัยการกียาส ไม่ได้ เพราะตามหลักวิชาการอธิบายอรรถคดี(อุศูลุ้ลฟิกฮ์)ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า
"ไม่ถือเป็นการเปรียบเทียบในเรื่องที่มีตัวบทอยู่แล้ว"


และการอ้างว่าการกล่าวคำเหนียตย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมซึ่งหากไม่กล่าวคำเหนียตจะไม่มีสมาธิ ดังที่หลักการหนึ่งระบุไว้ว่า
ما لا يتم المطلوب الشرعى الا به فهو مطلوب شرعا
" สิ่งหนึ่ง ที่ถูกใช้ตามหลักศาสนาจะไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ด้วยกับมันนั้น  แน่นอนว่า สิ่งนั้นย่อมถูกใช้ตามหลักศาสนาด้วยเช่นกัน"


ซึ่งคำอ้างที่ว่าหากไม่กล่าวคำเหนียตจะไม่มีสมาธิ เป็นข้ออ้างทั้งสิ้น ความจริงแล้วสมาธิเป้นสิ่งที่ต้องมีเมื่อจะเข้าละหมาดเท่านั้น หากแต่ตลอดระยะเวลาที่ทำละหมาดจะต้องมีสมาธิด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ดังนั้น หากใช้หลักเกณฑ์ทางวิชาการข้อนี้มากำกับ ก็จำเป็นต้องกล่าวถ้อยความทุกอิริยาบถของการละหมาดเพื่อให้เกิดสมาธิ อย่างนี้ตลอดเวลาเชียวหรือ?????!!!!!!



            والسلام

1 ความคิดเห็น:

  1. อัสสลามุอะลัยกุม

    เป็นความบังเอิญที่ผมได้มาเจอและอ่านเรื่องที่น่าสนใจในนี้
    แต่มีข้อสงสัยอยากจะถามนิดนึง เพราะผมเองก็งงๆอยู่กับสองทัศนะที่แตกต่างกันในเรื่องนี้
    อยากจะถามว่า
    ๑ การอ่าน อุศ็อลลี ทำให้เสียการละหมาดใช่ใหมครับ
    ๒ คนที่กล่าว อุศ็อลลี เพราะเขาคิดว่า เป็นวายิบ ใช่ใหมครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ