อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การนมาซตะฮัจญุด หรือนมาซกิยามุลลัยล์




การนมาซตะฮัจญุด หรือนมาซกิยามุลลัยล์นั้นมีรายละเอียดดังนี้


นมาซตะฮัจญุด หรือ นมาซกิยามุลลัยล์
นมาซกิยามุลลัยล์ แปลว่า การนมาซในยามค่ำคืน ซึ่งมีชื่อเรียกอื่นด้วย เช่น นมาซตะฮัจญุด หรือถ้าอยู่ในเดือนเราะมะฎอนก็จะเรียกว่า นมาซตะรอวีหฺ หรือนมาซกิยามุลเราะมะฎอน ทำนองนี้เป็นต้น 


1. มารยาทของการนมาซกิยามุลลัยล์
มีสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่ต้องการจะนมาซกิยามุลลัยล์ดังต่อไปนี้
1.1 ตั้งใจจะนมาซกิยามุลลัยล์ก่อนจะล้มตัวนอน
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
« مَنْ أَتَى فِرَاشَهُ وَهُوَ يَنْوِى أَنْ يَقُومَ يُصَلِّى 
مِنَ اللَّيْلِ فَغَلَبَتْهُ عَيْنَاهُ حَتَّى أَصْبَحَ كُتِبَ لَهُ 
مَا نَوَى وَكَانَ نَوْمُهُ صَدَقَةً عَلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ عَزَّ 
وَجَلَّ »


“บุคคลใดที่นอนยังเตียงนอนของเขาในสภาพที่เขาตั้งเจตนาว่าจะตื่นขึ้นนมาซในยามค่ำคืน (ทว่า) เขากลับไม่ตื่นจนกระทั่งเข้าเวลานมาซศุบหฺ เช่นนี้ เขาจะถูกบันทึกตามสิ่งที่เขาตั้งเจตนาไว้ ส่วนการนอนหลับ (แล้วไม่ตื่นนมาซ) นั้นเป็นของขวัญที่พระเจ้ามอบให้แก่เขา” 


1.2 ให้เริ่มทำนมาซ 2 ร็อกอะฮฺแบบกระชับก่อน หลังจากนั้นค่อยนมาซนานๆ ตามความต้องการ
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
إِذَا قَامَ أَحَدُكُمْ مِنَ اللَّيْلِ فَلْيَفْتَتِحْ صَلاَتَهُ 
بِرَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ


“เมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดพวกท่านลุกขึ้นในยามค่ำคืน เขาจงเริ่มนมาซของเขาด้วย 2 ร็อกอะฮฺแบบกระชับ” 
1.3 ส่งเสริมให้ปลุกครอบครัวลุกขึ้นนมาซด้วย
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า 


إِذَا أَيْقَظَ الرَّجُلُ أَهْلَهُ مِنَ اللَّيْلِ فَصَلَّيَا أَوْ صَلَّى 
رَكْعَتَيْنِ جَمِيعًا كُتِبَا فِى الذَّاكِرِينَ وَالذَّاكِرَاتِ


“เมื่อบุคคลหนึ่งปลุกครอบครัวของเขาลุกขึ้นในตอนกลางคืน แล้วทั้งสองก็ยืนขึ้นนมาซ หรือนมาซ 2 ร็อกอะฮฺพร้อมกัน เช่นนั้นเขาจะถูกบันทึกไว้ในหมู่ผู้รำลึกชาย และผู้รำลึกหญิง” 
1.4 หากตื่นขึ้นในสภาพที่ง่วง เช่นนี้ให้นอนก่อนจนกว่าจะหายง่วงเสียก่อน
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
إِذَا قَامَ أَحَدُكُمْ مِنَ اللَّيْلِ فَاسْتَعْجَمَ الْقُرْآنُ عَلَى 
لِسَانِهِ فَلَمْ يَدْرِ مَا يَقُولُ فَلْيَضْطَجِعْ


“เมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหมู่พวกท่าน (นมาซ) ในยามค่ำคืน แล้วเขาก็อ่านอัลกุรฺอานแบบอ้อแอ้ โดยที่เขาไม่รู้ว่ากล่าวอะไรออกไป เช่นนั้นเขาจงนอนเสียเถิด” 
1.5 ไม่อนุญาตให้เกิดความยากลำบากแก่ตัวเอง โดยให้นมาซในยามค่ำคืนตามความสามารถของตน
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า 
يَا أَيُّهَا النَّاسُ خُذُوا مِنَ الأَعْمَالِ مَا تُطِيقُونَ فَإِنَّ 
اللَّهَ لاَ يَمَلُّ حَتَّى تَمَلُّوا ، وَإِنَّ أَحَبَّ الأَعْمَالِ إِلَى 
اللَّهِ مَا دَامَ وَإِنْ قَلَّ


“โอ้ พี่น้องผู้คนทั้งหลาย พวกท่านจงปฏิบัติการงาน (อะมัล) ต่างๆ ตามความสามารถของพวกท่านเถิด แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺไม่ทรงเบื่อ เว้นแต่ว่าพวกท่านจะเบื่อซะเอง แท้จริงพระองค์ทรงรักการงานต่างๆ ณ ที่พระองค์อัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม” 
อีกหะดีษหนึ่ง ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า 
يَا عَبْدَ اللَّهِ ، لاَ تَكُنْ مِثْلَ فُلاَنٍ ، كَانَ يَقُومُ 
اللَّيْلَ فَتَرَكَ قِيَامَ اللَّيْلِ


“โอ้บ่าวของอัลลอฮฺ ท่านจงอย่างเป็นเฉกเช่นบุคคลผู้หนึ่งที่ปรากฏว่าเขายืนขึ้นนมาซกิยามุลลัยล์ จากนั้นเขาก็ละทิ้งการนมาซกิยามุลลัยล์” 
2. เวลาของการนมาซกิยามุลลัยล์
การนมาซในยามค่ำคืน อนุญาตให้นมาซได้ตั้งแต่ช่วงต้น, ช่วงกลาง หรือช่วงท้ายของกลางคืน สรุปง่ายๆ อนุญาตให้นมาซในยามค่ำคืนตั้งแต่หลังนมาซอิชาอ์เรื่อยไปจนกระทั่งเข้าเวลานมาซศุบหฺนั่นเอง
ท่านอนัสถูกถามเกี่ยวกับการนมาซในยามค่ำคืนของท่านนบี ซึ่งเขาตอบว่า


مَا كُنَّا نَشَاءُ أَنْ نَرَاهُ مِنَ اللَّيْلِ مُصَلِّياً إِلاَّ رَأَيْنَاهُ 
وَمَا كُنَّا نَشَاءُ أَنْ نَرَاهُ نَائِماً إِلاَّ رَأَيْنَاهُ


“ไม่ว่าเวลาใดที่เราต้องการเห็นท่านนบีนมาซในยามค่ำคืน เราก็จะเห็นท่านนบี (นมาซ) และเวลาใดก็ตามที่เราต้องการเห็นท่านนบีนอนหลับ เราก็จะเห็นท่านนบี (นอนหลับ) เช่นกัน” 
ท่านอิมามฮาฟิซกล่าวว่า “การนมาซในยามค่ำคืนของท่านบีนั้นไม่มีเวลาเจาะจงตายตัว ซึ่งท่านนบีจะลุกขึ้นนมาซแล้วแต่ท่านนบีจะสะดวก” 


3. เวลาที่ประเสริฐในการนมาซกิยามุลลัยล์
เวลาที่ประเสริฐในการนมาซกิยามุลลัยล์นั้น คือช่วงเศษหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน (ประมาณตีสาม, ตีสามครึ่ง เป็นต้นไป) 
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
يَنْزِلُ رَبُّنَا تَبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ 
الدُّنْيَا حِينَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَقُولُ مَنْ 
يَدْعُونِى فَأَسْتَجِيبَ لَهُ مَنْ يَسْأَلُنِى فَأُعْطِيَهُ مَنْ 
يَسْتَغْفِرُنِى فَأَغْفِرَ لَهُ


“พระผู้อภิบาลของพวกเราผู้ทรงจำเริญยิ่ง ผู้สูงส่งยิ่ง จะเสด็จลงมายังชั้นฟ้าของดุนยาในช่วงเศษหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า บุคคลใดที่วิงวอนต่อฉัน แน่นอนยิ่งฉันจะตอบรับการวิงวอนของเขา และบุคคลใดที่ขอต่อฉัน เช่นนั้นฉันจะประทานให้แก่เขา และบุคคลใดที่ขอลุแก่โทษต่อฉัน ฉันจะอภัยโทษให้แก่เขา” 


4. จำนวนร็อกอะฮฺของนมาซกิยามุลลัยล์
จำนวนร็อกอะฮฺของนมาซกิยามุลลัยล์นั้น ท่านรสูลุลลอฮฺจะนมาซไม่เกิน 11 ร็อกอะฮฺ ไม่ว่าจะนมาซในช่วงเดือนเรามะฎอน หรือเดือนอื่นจากเราะมะฎอนก็ตาม
ท่านหญิงอาอิชะฮฺถูกถามเกี่ยวกับการนมาซกลางคืนในเดือนเราะมะฎอนว่าเป็นอย่างไร? ท่านหญิงอาอิชะฮฺตอบว่า


مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم -يَزِيدُ 
فِى رَمَضَانَ وَلاَ فِى غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً


“ไม่ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺเพิ่มในเดือนเราะมะฎอน หรือนอกเราะมะฎอนมากไปกว่า 11 ร็อกอะฮฺ” 
ส่วนบุคคลใดที่ต้องการนมาซกิยามุลลัยล์ หรือกิยามุลเราะมะฎอน (ตะรอวีหฺ) มากกว่า 11 ร็อกอะฮฺ ถือว่าเป็นมุสตะหับ (เรื่องที่ส่งเสริม) ด้วยหลักฐานที่ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวไว้ว่า
صَلاَةُ اللَّيْلِ مَثْنَى مَثْنَى 


“การนมาซในยามค่ำคืนทีละสองร็อกอะฮฺ ทีละสองร็อกอะฮฺ” 


5. อนุญาตให้นมาซกิยามุลลัยล์เป็นญะมาอะฮฺ
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- صَلَّى فِى 
الْمَسْجِدِ ذَاتَ لَيْلَةٍ فَصَلَّى بِصَلاَتِهِ نَاسٌ ثُمَّ صَلَّى 
مِنَ الْقَابِلَةِ فَكَثُرَ النَّاسُ


“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺนมาซในมัสญิดในค่ำคืนหนึ่ง โดยท่านรสูลนมาซเป็นอิมามนำผู้คน จากนั้นมีผู้คนมานมาซตามท่านรสูลเป็นจำนวนมาก” 


6. นมาซกิยามุลลัยล์ชดใช้
กรณีที่บุคคลหนึ่งนมาซกิยามุลลัยล์เป็นประจำ หรืออ่านอัลกุรฺอานเป็นประจำในยามค่ำคืน ทว่าบางครั้งเขาเผลอหลับไป เช่นนี้เขาสามารถชดใช้ได้ในช่วงเวลากลางวัน
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า 
« مَنْ نَامَ عَنْ حِزْبِهِ أَوْ عَنْ شَىْءٍ مِنْهُ فَقَرَأَهُ فِيمَا 
بَيْنَ صَلاَةِ الْفَجْرِ وَصَلاَةِ الظُّهْرِ كُتِبَ لَهُ كَأَنَّمَا 
قَرَأَهُ مِنَ اللَّيْلِ »


“บุคคลใดที่นอนหลับอันเนื่องจากงานประจำของเขา (คือสิ่งที่ทำอยู่ประจำ เช่นนมาซ, การอ่านอัลกุรฺอาน) หรือส่วนหนึ่งส่วนใดจากงานประจำของเขา ดังนั้นเขาจงอ่านในช่วงเวลาระหว่างนมาซศุบหฺ กับนมาซซุฮฺริ เช่นนั้นเขาจะถูกบันทึกประหนึ่งว่าเขาอ่านในเวลากลางคืน” 


7. อนุญาตให้อ่านเสียงดังและเสียงค่อย
การนมาซกิยามุลลัยล์ ศาสนาอนุญาตให้อ่านได้ทั้งเสียงดังและเสียงค่อย
ท่านอับดุลลอฮฺเล่าว่า 






كَيْفَ كَانَ قِرَاءَةُ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - 
بِاللَّيْلِ أَكَانَ يُسِرُّ بِالْقِرَاءَةِ أَمْ يَجْهَرُ فَقَالَتْ كُلُّ 
ذَلِكَ قَدْ كَانَ يَفْعَلُ رُبَّمَا أَسَرَّ بِالْقِرَاءَةِ وَرُبَّمَا جَهَرَ


“ท่านนบีอ่านอย่างไรในเวลานมาซกลางคืน ท่านนบีอ่านเสียงค่อยหรือเสียงดัง? ท่านหญิงอาอิชะฮฺตอบว่า ทั้งหมดนั้น (หมายถึงทั้งอ่านเสียงค่อย และเสียงดัง) ท่านนบีเคยทำ บางครั้งท่านนบีก็อ่านเสียงค่อย และบางครั้งท่านนบีก็อ่านเสียงดัง”, والله أعلم 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสัมผัสเพศตรงข้ามไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดรวมทั้งสามีภริยา



การสัมผัสเพศตรงข้ามไม่ทำให้เสียน้ำนมาซในทุกๆ สภาพ ไม่ว่าภายหลังการสัมผัสนั้นจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่มีความรู้สึกทางเพศก็ตาม เพราะไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการกระทำดังกล่าวทำให้เสียน้ำนมาซนั่นเอง โปรดอย่าลืมว่าเมื่อสามีต้องอยู่ร่วมกับภรรยา หรืออิบาดะฮฺบางอย่างเช่น การเฎาะวาฟ ก็ต้องมีการสัมผัสกันจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านรสูลุลลอฮฺย่อมรู้ดีอยู่แล้ว แต่ทว่าท่านรสูลไม่ได้สั่งเสีย หรือระบุเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย 
อนึ่ง หากเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเสียน้ำนมาซ เช่นนี้ท่านรสูลุลลอฮฺต้องกล่าวถึง หรือระบุเรื่องนั้นไว้อย่างชัดเจน ทว่าท่านรสูลกลับไม่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว ใช่แต่เท่านั้นท่านรสูลยังกระทำให้เห็นอีกว่าชายหญิงกระทบกันไม่ทำให้เสียน้ำนมาซแต่อย่างใด
หะดีษที่หนึ่ง
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า


كُنْتُ أَنَامُ بَيْنَ يَدَىْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم وَرِجْلاَىَ فِى قِبْلَتِهِ ، فَإِذَا سَجَدَ غَمَزَنِى ، فَقَبَضْتُ رِجْلَىَّ ، فَإِذَا قَامَ بَسَطْتُهُمَا قَالَتْ وَالْبُيُوتُ يَوْمَئِذٍ لَيْسَ فِيهَا مَصَابِيحُ



“ฉันเคยนอนอยู่เบื้องหน้าของท่านรสูลุลลอฮฺซึ่งเท้าทั้งสองของฉันขวางอยู่ทางกิบละฮฺ ครั้นเมื่อท่านรสูลสุญูด ท่านรสูลจะสัมผัสฉัน, ฉันก็หดเท้าทั้งสองของฉัน เมื่อท่านรสูลลุกขึ้นยืน (ในร็อกอะฮฺถัดไป) ฉันก็ยืดเท้าทั้งสองของฉัน (เหมือนเดิม) นางเล่าต่ออีกว่า บ้านเรือนในสมัยนั้นไม่มีตะเกียงใช้ภายในบ้าน” 
หะดีษที่สอง
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า


كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَتَوَضَّأُ ثُمَّ يُقَبِّلُ وَيُصَلِّى وَلاَ يَتَوَضَّأُ


“ท่านรสูลุลลอฮฺเคยอาบน้ำนมาซ จากนั้นท่านรสูลก็จูบ (ภรรยาบางคนของท่าน) ต่อมาท่านรสูลก็นมาซโดยมิได้อาบน้ำนมาซ (ใหม่)” 
หนังสือฟัตวาของคณะทำงานเพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาศาสนาของประเทศสะอูดีย์ เล่ม 5 หน้า 266 ซึ่งหัวหน้าคณะทำงานนั้นก็คือเชคอับดุลอะซีซ บุตรของอับดุลลอฮฺ บุตรของบาซ แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า 
“เมื่อชายหญิงกระทบกันเสียน้ำนมาซหรือไม่นั้น มีการขัดแย้งกันในระหว่างนักวิชาการ แต่ที่ถูกต้องกว่าก็คือ ไม่เสียน้ำนมาซ แม้ว่าการกระทบนั้นจะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม เพราะท่านรสูลุลลอฮฺจูบภรรยาบางคนของท่านรสูลโดยท่านรสูลมิได้อาบน้ำนมาซใหม่ ส่วนอายะฮฺอัลกุรฺอานที่ปรากฏในสูเราะฮฺอันมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6 ซึ่งตรัสว่า 


أَوْ لاَمَسْتُمُ النِّسَاءَ


“หรือสูเจ้าสัมสัมผัสสตรี” 
อายะฮฺข้างต้นหมายถึง การร่วมประเวณี ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกต้องจากบรรดานักวิชาการ”, والله أعلم 

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การอ้างหะดิษที่ว่าวันจันทร์เป็นวันที่เกิด และวันที่อัลกุรอานถูกประทานลงมายังท่านรสูลเป็นหลักฐานจัดงานเมาลิดได้หรือไม่


รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า 


سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على 


"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(วันที่อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม 
……….. 


วิจารณ์ 
หะดิษนี้ จุดโพกัสไม่ได้เน้นว่า เพราะวันเกิดของท่านนบี จึงมีสุนนะฮให้ถือศีลอด โดยเฉพาะ เพราะ ข้อความต่อจากนั้น ก็กล่าวอีกว่า “(และวันที่อัลกุรอ่าน)ถูกประทานลงมายังฉัน” จุดโพกัสมันอยู่ที่วันจันทร์ ท่าน รซูล ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้ถือศีลอดตะเฏาะวุอ(ศีลอดอาสา)ในวันนั้น แต่ไม่ ได้หมายถึง สุนนะฮให้ถือศีลอดเนื่องในวันเกิด 
มาดูหะดิษที่ อบูฮุรัยเราะฮรายงานว่า 


أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "تعرض أعمال العباد كل اثنين وخميس فأحب أن يعرض عملي وأنا صائم 


แท้จริง รซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริงบรรดาการงานของบรรดาบ่าวนั้น ถูกนำเสนอในทุกๆวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้น ฉันชอบให้การงานของฉันถูกเสนอ โดยที่ฉันกำลังถือศีลอด 


- أحمد(8361)، والترمذي(747)، وابن ماجة (1740 






ท่านนบีนั้น คือ แบบอย่างที่ดี ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า 


لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيراً 


โดยแน่นอน ในร่อซู้ลของอัลลอฮ์มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง (จะพบ) อัลลอฮ์และวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมาก.- อัลอะฮซาบ/21 
มาดูคำอธิบาย 


فالأسوة نوعان أسوة حسنة، وأسوة سيئة. 
فالأسوة الحسنة، في الرسول صلى اللّه عليه وسلم، فإن المتأسِّي به، سالك الطريق الموصل إلى كرامة اللّه، وهو الصراط المستقيم. 
وأما الأسوة بغيره، إذا خالفه، فهو الأسوة السيئة، كقول الكفار حين دعتهم الرسل للتأسِّي بهم إِنَّا وَجَدْنَا آبَاءَنَا عَلَى أُمَّةٍ وَإِنَّا عَلَى آثَارِهِمْ مُهْتَدُون 


แล้วแบบอย่างนั้น มีสองชนิด คือ แบบอย่างที่ดี และแบบอย่างที่เลว แบบอย่างที่ดีนั้น อยู่ในตัวของรซูล ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แท้จริง ผู้ที่ปฏิบัติตามท่านรซูลนั้น เขาดำเนินตามแนวทาง ที่นำไปสู่ ความโปรดปรานของอัลลอฮ และมันคือ หนทางที่เที่ยงตรง 
และสำหรับแบบอย่าง ด้วยผู้ที่ไม่ใช่ท่าน(รซูล)นั้น เมื่อเขาขัดแย้งกับท่านรซูล ดังนั้น เขาผู้นั้น คือ แบบอย่างที่เลว ดังเช่น คำพูดของบรรดากาเฟร(มุชริกีน) ในขณะที่บรรดารซูล เชิญชวนพวกเขา ให้ปฏิบัติตามพวกเขา ว่า “ แท้จริงเราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้นเราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขา” - ตัฟสีรอัสสะอดีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 21 ซูเราะฮอัลอะฮซาบ 






การเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนบี เป็นการแสดงออกที่เกินเลยขอบเขต เพราะบรรดาเศาะหาบะฮ ซึ่งรักท่านนบีมุหัมหมัดมากกว่าใคร แต่ พวกเขาก็ไม่ได้แสดงความรักนบีด้วยการให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านนบี ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า 


لاتطروني كما أطرت النصارى ابن مريم إنما أنا عبد فقولوا عبد الله ورسوله 


พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกคริสเตียน ยกย่องสรรเสริญ (อีซา)บุตรของมัรยัม ความจริงฉันคือ บ่าว(ของอัลลอฮ)คนหนึ่ง ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า “ (ฉันคือ)บ่าวของอัลลอฮ และรซูลของพระองค์ – บันทึกโดยอัลบุคอรี หะดิษหมายเลข 3189 และ อะหมัด หะดิษหมายเลข 149 
.......................... 


الإطراء معناه الغلو في المدح 


คำว่า “อิฏรออฺ ความหมายของมันคือ การยกย่องสรรเสริญจนเกินความพอดี 
พวกคริสเตียน เฉลิมฉลองวันเกิดของพระเยซู หรือ ท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม นอกจากการจัดงานรื่นเริงแล้ว พวกเขาส่วนหนึ่ง ก็ เข้าโบสถ์ ไปร้องเพลงสรรเสริญพระเยซู บ้างก็เป็นซานตาครอส ออกไปแจกของขวัญ ส่วนงานเมาลิดนั้น ก็มีบางส่วนไปมัสญิด ไปอ่านบทกลอนสรรเสริญท่านนบี ชาวบ้านเรียกว่า “อ่านเบอรซันญี” อยากจะถาม ท่านผู้อ่าน ว่า มันคล้ายคลึง กันไหม 


ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนเรื่องการปฏิบัติตามแบบอย่างของยะฮูดีและนะศอรอว่า 


لتتبعن سنن الذين من قبلكم. شبرا بشبر، وذراعا بذراع. حتى لو دخلوا في جحر ضب لاتبعتموهم" قلنا يا رسول الله! آليهود والنصارى قال "فمن؟ 


แน่นอน พวกท่านจะปฏิบัติตามแนวทางต่างๆของ บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้า พวกท่าน ทีละคืบ ทีละคืบ และ ทีละศอก ทีละศอก จนกระทั้งหากพวกเขาเข้ารูแย้ แน่นอนพวกท่านก็จะตามพวกเขา(เข้าไปด้วย) พวกเรากล่าวว่า “โอ้รซูลุ้ลลอฮ พวกยิวและ คริสเตียน ใช่ไหม? ท่านนบีกล่าวว่า “แล้วใครอีกล่ะ ? 
รายงานโดยบุคอรี (6775) มุสลิม( 4822) 


ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า 


لاتطروني كما أطرت النصارى ابن مريم إنما أنا عبد فقولوا عبد الله ورسوله 


พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกคริสเตียน ยกย่องสรรเสริญ (อีซา)บุตรของมัรยัม ความจริงฉันคือ บ่าว(ของอัลลอฮ)คนหนึ่ง ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า “ (ฉันคือ)บ่าวของอัลลอฮ และรซูลของพระองค์ – บันทึกโดยอัลบุคอรี หะดิษหมายเลข 3189 และ อะหมัด หะดิษหมายเลข 149 


หะดิษนี้ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต้องการจะสอนให้อุมมะฮของได้เข้าใจว่า ท่านคือ บ่าวของอัลลอฮคนหนึ่ง และ ท่านอยู่ในฐานะผู้นำสาส์นของอัลลอฮ เผยแผ่แก่มนุษย์ เท่านั้น อย่าได้ยกย่องให้เกินฐานะ ของท่าน หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ อย่ายกย่องสรรเสริญจนเกินเลยขอบเขตที่ศาสนาสอนไว้ เช่น พวกคริสเตียน ยกย่องพระเยซู (นบีอีซา) เป็นพระบุตรของพระเจ้าเป็นต้น 
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ก็ได้สอนให้ท่านนบีกล่าวว่า 


قُلْ إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ مِّثْلُكُمْ يُوحَى إِلَيَّ أَنَّمَا إِلَهُكُمْ إِلَهٌ وَاحِدٌ فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاء رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلاً صَالِحاً وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَداً 


[18.110] จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริง ฉันเป็นเพียงสามัญชนคนหนึ่งเยี่ยงพวกท่าน มีวะฮีย์แก่ฉันว่าแท้จริง พระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย 
- อัลกะฮฟิ/110 


قُلْ إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ مِّثْلُكُمْ يُوحَى إِلَيَّ أَنَّمَا إِلَهُكُمْ إِلَهٌ وَاحِدٌ فَاسْتَقِيمُوا إِلَيْهِ وَاسْتَغْفِرُوهُ وَوَيْلٌ لِّلْمُشْرِكِينَ 


[41.6] จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันก็คือสามัญชนเยี่ยงพวกท่าน แต่ได้มีวะฮีย์ยฺแก่ฉันว่า พระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นจงมุ่งตรงสู่พระองค์เถิด และจงขออภัยต่อพระองค์และความวิบัติจงมีแต่บรรดาผู้ตั้งภาคี 
................. 


สองโองการข้างต้น สอนให้รู้ว่า มุหัมหมัด คือ มนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง เหมือนกับ คนอื่นๆ แต่ ท่านได้รับโองการจากพระเจ้า เพื่อให้สอนแก่มนุษย์ การปฏิบัติตามท่านนบี เป็นการปฏิบัติตามในฐานะที่ท่านเป็นรอซูลของอัลลอฮ และอัลลอฮ ก็ทรงให้ท่านเป็นแบบอย่างแก่อุมมะฮ ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องตามแบบอย่างนบีมุหัมหมัดในเรื่องศาสนา 
ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า 




لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيراً 


โดยแน่นอน ในร่อซู้ลของอัลลอฮ์มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง (จะพบ) อัลลอฮ์และวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมาก.- อัลอะฮซาบ/21 
.............................. 


เพราะฉะนั้น การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน เป็นการกระทำที่เกินขอบเขตของคำสอนอัลลอฮ ที่ประทานแก่รอซูล เพราะทุกสิ่งที่เป็นศาสนา ที่ผ่านวาจาของนบีมุหัมหมัดนั้น จะต้องเป็นวะหยูจากอัลลอฮ ดังที่ที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า 


وَمَا يَنطِقُ عَنِ الْهَوَى 


[53.3] และเขามิได้พูดตามอารมณ์ 
إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْيٌ يُوحَى 


[53.4] มันมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา 
عَلَّمَهُ شَدِيدُ الْقُوَى 


[53.5] ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย (ญิบรีล) ได้สอนเขา 




การเฉลิมฉลองวันเกิดของรซูล หากเป็นศาสนา ก็จะต้องมาจาก คำพูด หรือ การกระทำของท่านรซูล ศอ็ลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพราะคำสอนศาสนา ต้องผ่านวะหยูจากพระเจ้า 


قال الإمام مالك – رحمه الله " من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم ان محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة لأن الله يقول ( اليوم اكملت لكم دينكم واتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الاسلام دينا) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا 


อิหม่ามมาลิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า “ ผู้ใดอุตริบิดอะฮขึ้นในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี แน่นอน เขาเข้าใจผิดว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งอัลลอฮ เพราะแท้จริงอัลลอฮ ได้ตรัสว่า (“วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว”) 
ดังนั้น สิ่งใดก็ตาม ไม่ได้เป็นศาสนาในวันนั้น มันก็ไม่เป็นศาสนาในวันนี้ – อัลเอียะติศอม 1/49 


قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) رواه البخاري و مسلم ، 


ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมา ในกิจการ(ศาสนา)ของเรา นี้ สิ่งซึ่งไม่มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ – รายงานโดย บุคอรีและมุสสลิม 


وفي رواية لمسلم ( من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد 


และในรายงานของมุสลิม (ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่ กิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ. 




แสดงว่าเ มื่อท่านนบีไม่ได้สอนเอาไว้ มันก็ไม่ใช่ ศาสนา การเอาสิ่งที่ไม่ใช่ศาสนาที่อัลลอฮ และท่านนบีไม่ได้สอนไว้ ทำไปมันก็ไร้ผล และมันเป็นบิดอะฮ ที่เพิ่มเข้ามาในศาสนา ซึ่ง มันเป็นสิ่งต้องห้าม มิใช่หรือ 


وقال حذيفة بن اليمان ـ رضي الله عنه كل عبادة لم يتعبد بها أصحاب رسـول الله صلى الله عليه وسلم فلا تتــعـبـدوا بـها؛ 


และท่านหุซัยฟะฮ บุตร อัลยะมาน (ร.ฎ)กล่าวว่า “ทุกอิบาดะฮ ซึ่ง บรรดาเศาะหาบะฮของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำอิบาดะฮด้วยมัน ดังนั้น พวกท่านอย่าทำบาดะฮด้วยมัน – อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 386 




แล้วเรื่องทำเมาลิด เศาะหาบะฮไม่ได้ทำมิใช่หรือ เหล่าเศาะหาบะฮ ไม่รักท่านนบีหรือ ? 



หะดิษข้างต้น ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนนะฮในวันจันทร์ ไม่ใช่ให้จัดงานวันเกิดท่านนบี   การจัดงานวันเกิด มีการเลี้ยงอาหารกันอย่างอิ่มหนำสำราญ แต่หะดิษ ข้างต้น ส่งเสริมให้อดอาหารเพื่ออัลลอฮ มันคนละเรื่องกันเลย 


อิหม่ามมุหัมหมัด อิบนุอับดุลฮาดีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ 774 )กล่าวว่า 


ولا يجوز إحداث تأويل في آية أو في سنة لم يكن على عهد السلف ولا عرفوه، ولا بيَّنوه للأمة 


ไม่อนุญาตให้ประดิษฐ์การตีความในอายะฮหนึ่งอายะฮใดและในสุนนะฮหนึ่งสุนนะฮใดขึ้นมาใหม่ โดยที่ไม่ปรากฏในยุคสะลัฟและพวกเขาไม่เคยรู้จักมันและพวกเขาไม่เคยอธิบายมันแก่อุมมะฮนี้ – อัศศอริมุลมันกีย์ หน้า 427 
....... 
การนำหะดิษที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนนะฮ ในวันจันทร์ มาสนับสนุนการเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนบี  เป็นการใช้ยาที่ไม่ตรงกับโรค



والله أعلم بالصواب

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เราสามารถฟังการบายาน ของกลุ่มญะมาอะฮฺตับลีฆได้หรือไม่?




เราไม่สามารถร่วมรับฟังการบายาน(หรือการบรรยาย)ของกลุ่มญะมาอะฮฺตับลีฆได้ ทั้งนี้เพราะเนื้อหาการบายานของพวกเขาไม่สามารถพิสูจน์ หรืออ้างอิงได้ว่ามาจากคำสอนของอิสลามที่แท้จริง เพราะพวกเขามักจะอ้างผู้อาวุโส หรือไม่ก็อ้างเมาลานาเท่านั้น (โดยไม่ได้อ้างอัลกุรฺอานและหะดีษ) ซึ่งไม่รู้ว่าการอ้างเช่นนั้นมีพื้นฐานมาจากความจริงมากน้อยเพียงใด เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องหลีกห่างการฟังบายานของพวกเขา เพราะเราไม่สามารถแยกแยะได้ว่านั่นเรื่องจริง หรือเรื่องนิยายที่แต่งขึ้นมาเอง




สำหรับกิจกรรมของพวกเขา เราไม่สามารถร่วมกิจกรรมของพวกเขาได้เช่นกัน เพราะกิจกรรมบางอย่างไม่มีในแบบฉบับของท่านนบีมุหัมมัด หรือบางอย่างก็เป็นการอุตริขึ้นมาเอง ดั่งเช่น การเดินฆัสในตอนเย็นนั้น ไม่ใช่เป็นการเดินเชิญชวนธรรมดาเท่านั้น แต่ยังมีพิธีกรรมที่ไม่ใช่คำสอนของท่านนบีมุหัมมัด แฝงเข้าไปด้วย 




ส่วนการเรียนกับโต๊ะครูที่ออกตับลีฆหยุดเรียนกับโต๊ะครูที่เขาออกตับลีฆแล้วสอนในสิ่งที่ผิดหลักการอย่างชัดเจน อาทิเช่นสอนว่า "ในการนมาซเวลาอ่านฟาติหะฮฺเมื่ออ่านถึงอายะฮฺสุดท้ายแล้วก่อนที่จะว่า "อามีน" เค้าบอกว่าให้ว่า "ซุบฮานัลลอฮุ" แล้วก็ว่าอามีน อัลลอฮุจะอภัยโทษให้" คำสอนข้างต้นเป็นคำสอนที่สวนทางกับคำสอนของท่านนบีมุหัมมัด ถ้าบุคคลใดกระทำเช่นนั้นถือว่าเขาได้กระทำสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺแล้ว


. والله أعلم 

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานะผู้รายงานหะดิษ





ตรวจสอบสถานะผู้รายงาน
fareedfendy.com
เรียงลำดับตามอักษรภาษาไทย








ลำดับ



ชื่อ



ชื่อรอง



สถานะ





0000
คอลิด บิน มัคลัด




อัลก่อตอวานีย์





ดู





0000
ซิยาด อิบนุล มุนซิร




อบีลญารูด





ดู





0000
ซุฟยาน บินวะเกียะอ์




-





ฏออีฟ





0000
เซาวาร บินมุศอับ




อัลฮัมดานีย์





ดู





0000
ญะรีร บิน อับดิลฮะมีด




อัดดุ๊บบีย์





ดู





0000
ญะอ์ฟัร บิน สุไลมาน อัดดุบอี




อบู สุไลมาน





ดู





0000
ดาวูด บิน อบีเอาวฟ์




อบีญะฮ์ฮาฟ





ดู





0000
ฟาอิด อัลกูฟีย์




อบู้ลวัรกออ์





ดู





0000
ฟิฏร์ บิน คอลีฟะห์




อบูบักร์อัลกูฟีย์





ดู





0000
ฟุฏอยล์ บิน มัรซูก




อบูอับดิรเราะห์มาน





ดู





0000
มาลิก บิน อิสมาอีล อัลนะฮ์ดี




อบูฆ็อสซาน





ดู





0000
มีนาอ์ อิบนุ อบีมีนาอ์




อิบนุอบีมีนาอ์





ดู





0000
มุฟัฏฏอล บิน ซอและห์




-





ดู





0000
มุอาซ บิน ซุฮ์เราะห์




-





ฏออีฟ





0000
มูฮัมหมัด บิน ฟุฏอยล์




อัดดุ๊บบีย์





ดู





0000
มูฮัมหมัด บินมุสลิม บินตัดรุส




อบู อัสซุบัยร์





ดู





0000
มูฮัมหมัด อิบนุ อุบัยดิลลาฮ์




อิบนุอบีรอเฟียะอ์





ดู





0000
ยะซีด อิบนุ อบีซิยาด




-





ฏออีฟ





0000
ยะห์ยา บิน อัมร์




อัลนุ๊กรีย์





ฏออีฟ





0000
ศอบีฆ อิบนุ อิชล์




อัลกูฟีย์





ดู





0000
สัลมุ บินมัยมูน




อัลเคาวาซ





ดู





0000
สะอี๊ด บิน ฟัยรูส




อบู อัลบัคตะรีย์





ดู





0000
สะอี๊ด บิน อัชวะอ์




อัลฮัมดานีย์





ดู





0000
สุไลมาน บิน อะห์หมัด




อัลมุลฏีย์





ดู





0000
สุไลมาน บิน อิบรอฮีม




อัลก็อนดูซีย์





ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





0000










ดู





ลำดับ





ชื่อ





ชื่อรอง





สถานะ





0000
อบี อัลฮัสนาอ์




อัลฮะซัน





ดู





0000
อับดุลมาลิก บิน อะอ์ยัน




อัลกูฟีย์





ดู





0000
อับดุลรอซาก บิน ฮัมมาม




อบูบักร์ อัลฮุมัยรีย์





ดู





0000
อับดุลเราะห์มาน บินกอยซ์ อัลซะอ์ฟะรอนีย์




อบูมุอาวียะห์





ดู





0000
อับดุรเราะห์มาน อิบนุ ซาบิต




อิบนุ ซาบิต





ดู





0000
อับดุลลอฮ์ บิน ดาฮิร




-





ดู





0000
อับดุลลอฮ์ อิบนุ ละฮีอะห์




อัลฆอฟีกีย์





ดู





0000
อับดุลเละห์ บิน อีซา




อบูมูฮัมหมัด





ดู





0000
อับบาด บิน ยะอ์กู๊บ




อัลละซะดีย์





ดู





0000
อับบาด อิบนิ อับดิลลาฮ์




อัลอะซะะดีย์





ดู





0000
อัลญารูด บิน ยะซีด




อัลอามิรีย์





ดู





0000
อัลวะลีด อิบนุ มูฮัมหมัด




อัลมุวักก่อรีย์





ฏออีฟ





0000
อัลฮาริษ อัลฮัมดานีย์




อัลกูฟีย์





ฏออีฟ





0000
อัลฮะซัน บิน อบีญะอ์ฟัร




อัลญุฟรีย์





ดู





0000
อัลฮะซัน บินอุมาเราะห์




อัลบะญะลีย์/อัลกูฟี





ฏออีฟ





0000
อะดีย์ บิน ษาบิต




อัลอันศอรีย์





ดู





0000
อะบาน บิน ตัฆลิบ




อัรร๊อบอีย์





ดู





0000
อาลี บิน กอรีน




-





ดู





0000
อาลี บินเซด




อิบนุ ญุดอาน





ดู





0000
อาลี บิน ฮาชิม บิน บะรีด




อัลบะรีดีย์





ดู





0000
อิบนุ อบี ดาริม




อบูบักร์ อัลกูฟีย์





ดู





0000
อิบนุ อับดิรเราะห์มาน




อัลมุอัลลา





ฏออีฟ





0000
อิบรอฮีม บินญะอ์ฟัร




-





ดู





0000
อิบรอฮีม บินอะนัส อัลอันศอรี




-





ดู





0000
อิสมาอีล บิน ซะกะรียา




อัลคุลกอนีย์





ดู





0000
อิสมาอีล บินรอเฟียะอ์




อบี รอเฟียะอ์





ดู





0000
อิสมาอีล บิน อะบาน อัลอัซดี




อบูอิสฮาก





ดู





0000
อิศมะห์ บิน มูฮัมหมัด




-





ดู





0000
อีซา บิน ฟัรกอ็ด




-





ดู





0000
อีซา บิน มาฮาน




อบูยะอ์ฟัร อัรรอซีย์





ฏออีฟ





0000
อีซา อิบนุมิฮ์รอน




-





ดู





0000
อุบัยดิลลาฮ์ บินมูซา อัลอับซี




อบู มูฮัมหมัด





ดู





0000
อุมาเราะห์ อิบนุ ญุวัยน์




อบีฮารูณ อัลอับดี





ดู





0000
อุลวาน บิน ดาวู๊ด




อัลบะญะลีย์





ดู



























จากhttp://fareedfendy.com/ruwat/rawee.php