อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แค่ช่วงเวลาแห่งความพอใจสั้นๆที่เกิดจากนัฟซู




#เรื่องเล่ากับช่วงเย็นๆ

มีเด็กหนุ่มมุสลิมีนที่เคร่งครัดศาสนาคนหนึ่งมาพบกับมุฟตี และเล่าให้ท่านฟังว่า เมื่อปีที่แล้ว เขาไปเที่ยวคลับกับเพื่อนๆ เขาได้ใช้เวลาอยู่ในนั้นประมาณ 3 ชั่วโมง มุฟตีจึงถามเขาว่า เขาได้ทำการเตาบัตต่ออัลลอฮฺหรือยัง เขาบอกว่าเขาทำการเตาบัตต่อพระองค์ทุกวัน ร้องไห้ทุกคืน หากแต่ว่าเขามีปัญหาอยู่เรื่องหนึ่ง คือ ตอนนี้สถานะของเขาได้กลายเป็นพ่อคนแล้ว…

…เพราะว่าเขาได้ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งท้อง ในค่ำคืนเดียวกันนั้น…

เขาเริ่มร้องไห้หนักขึ้น ขณะที่่เล่าให้มุฟตีฟัง มุฟตีพยายามปลอบโยนเขา ให้เขามีความหวัง แต่ดูเหมือนว่า เขาไม่สามารถสงบลงได้

จากนั้นเขาจึงเล่าต่อว่า ‘แต่ผมเป็นพ่อลูกสาม ครับ’
มุฟตีถามเขาว่า ‘มันเป็นไปได้อย่างไร?’
เขาตอบว่า ‘เธอมีลูกแฝดสามครับ’

เขาบอกต่อว่า ‘ผมไม่เคยไปคลับมาก่อนคืนนั้น หรือหลังจากคืนนั้นเลย’

ดูสิว่า..ผลที่เกิดจากช่วงเวลาแห่งความพึงพอใจสั้นๆ ที่เกิดจากนัฟซูนั้นเป็นเช่นไร?

อีกทั้งผู้หญิงที่ให้กำเนิดลูกของเขาก็ไม่ใช่มุสลิมด้วย อัลลอฮุ อักบัรฺ

เหตุการณ์เช่นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน หากเพียงแค่คุณหลงลืมอัลลอฮฺ ทำให้อัลลอฮฺทรงโกรธกริ้ว

ดังนั้นพี่น้องมุสลิมะฮฺ โปรดรักษาความบริสุทธิ์ของท่าน ปกป้องมันไว้ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่คุณครอบครอง

พี่น้องมุสลิมีน อย่าคิดว่าคุณจะรอดพ้นมันไปได้ โปรดควบคุมความใคร่ปรารถนาของท่าน อย่าปล่อยให้ตัวเองตกลงไปในความชั่วนั้น


และนี่คือเหตุผลที่ว่าเหตุใดอัลลอฮฺจึงทรงสั่งใช้เราให้ลดสายตาลงต่ำ เพื่อที่ว่าเราจะไม่ถูกชี้นำไปหนทางนั้น

อีกทั้งการแต่งกายของท่าน พี่น้องมุสลิมะฮฺ แท้จริงมันสามารถสร้างความเสียหายต่อท่านได้

ความสัมพันธ์ที่หะรอมของท่าน จงละทิ้งมันเสีย เพราะหากท่านไม่ละทิ้งมัน มันอาจกลับมาไล่ล่าท่านไปตลอดชีวิตน๊ะ


........................
#selamat petang

นางสาว ผ้าขี้ริ้ว โพส




คำทักทายแห่งสันติภาพ



สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันความมุ่งมั่นของ อิสลาม

ในการสร้างสันติภาพ คือ การกำหนดให้ “สลาม”

เป็นคำที่ใช้ในการทักทายระหว่างศรัทธาชน

ทั้งบนโลกนี้ และ โลกหน้า คำนั้น คือ ...

“อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ”

ซึ่งมีความหมายว่า

"ความสันติสุข และ ความโปรดปรานแห่ง อัลลอฮฺ

จงมีแด่ท่าน" อิสลามยังได้กำชับให้บรรดามุสลิม

กล่าวคำทักทายที่เปี่ยมความประเสริฐนี้ ทุกครั้งที่

เจอกัน หรือยามเข้าบ้าน



อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า ...

"เมื่อยามใดที่พวกเจ่าจะเข้าบ้านกจงกล่าว สลาม

ให้กับ (พี่น่องของ) พวกเจ้า เป็นคำทักทายจาก

(การชี้แนะของ) อัลลอฮฺ อันจำเริญ และ ประเสรฐยิ่ง"

[ กุรอ่าน 24 : 61 ]

ท่านศาสนทูต (ขอความจำเริญ และ ความสันติสุข

จงมีแด่ท่าน) ได้ กล่าวไว้ในวจนะของท่านบทหนึ่ง

มีความว่า ...

“พวกท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์ จนกว่าพวกท่าน

จะเป็นผู้ศรัทธา พวกท่านจะไม่เป็นผู้ศรัทธา

จนกว่า จะมีความรัก เอื้ออาทรกัน พึงรู้เถิด

ฉันจะบอกถึงการกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งหาก

พวกท่านปฏิบัติเป็นนิจแล้ว จะเกิดความรัก

เอื้ออาทรซึ่งกัน และ กัน จงโปรยสลาม

ในหมู่พวกท่าน” (1)

ท่านยังได้กล่าวไว้อีก ความว่า ...

“จงโปรยสลาม แล้วพวกท่านจะ พบกับความสันติ” (2)

และ ท่านยังได้กล่าวไว้อีก ความว่า ...

“ผู้ที่ตระหนี่ที่สุด คือ ผู้ที่ ตระหนี่ในการใหสลาม” (3)

ในวจนะของท่านอีกบทหนึ่ง มีความว่า ...

“ผู้ที่คู่ควรที่สุดสำหรับ (การใกล้ชิด) อัลลอฮฺ

คือ ผู้ที่เริ่มสลามก่อน” (3)

(1) มุสลิม (หมายเลข 54), อัล-บุคอรีย. อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด (หมายเลข 980) 5อะหมัด (4:86), อัล-บคอรีย์. อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด (หมายเลข 1266), อิบนุ หิบบาน (หมายเลข 1934), อัล-อัลบานีย์. รวมหะดีษเศาะฮีหฺ (หมายเลข 1493) เป็นหะดิษหะสัน

(2) อัต-เฏาะบะรอนีย์. อัล-มุอฺญัม อัศ-เศาะฆีรฺ (หมายเลข 335), อัล-อัลบานีย์. เศาะฮีหฺ อัล-ญา มิอฺ (หมายเลข 977) เป็นหะดิษเศาะฮีห์

(3) อบูดาวูด (หมายเลข 5175), อัต-ติรมีซีย์ (หมายเลข 2694), อัล-อัลบานีย์. เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ (หมายเลข 5997) เป็นหะดิษหะสัน


............................
อามีน อับดุลลอฮฺ



ความทุกข์ คือหนึ่งในบรรดาบททดสอบ




มันไม่จริงหรอกที่ว่า...

>--< หากเรามีความศรัทธาที่แท้จริง
เราจะไม่เศร้า ไม่เป็นทุกข์เลย
บรรดานบี และคนดีมีคุณธรรมทั้งหลายต่างประสบกับความโศกเศร้า
ความทุกข์ใจมากมาย อัลกุรอานก็เต็มไปด้วยการบอกเล่า
ถึงเรื่องราวแห่งความทุกข์ ความโศกเศร้า

ความโศกเศร้า ความทุกข์ คือ ‘ความจริงของชีวิต’
อัลกุรอานไม่ได้ถูกประทานลงมา
เพื่อลบล้างความทุกข์ไปจนหมดสิ้น

หากทว่า...
อัลกุรอานถูกประทานมา
เพื่อนำทางเราไปยังจุดหมายปลายทาง

ความทุกข์ คือหนึ่งในบรรดา บททดสอบของชีวิต
เช่นเดียวกับ ความสุข และความโกรธ ก็คือบททดสอบด้วยเช่นกัน


...............................
{นูอฺมาน อาลี คาน}
กอหญ้า ที่พริ้วไหว โพส




วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ช่างเป็นผู้ศรัทธาที่ดียิ่ง




เมื่อใดที่เขาถูกโปรดปรานด้วยนิอฺมัต เขาชุโกรฺ (ขอบคุณ)
เมื่อใดที่เขาถูกทดสอบ เขาอดทน
เมื่อใดที่เขากระทำบาป เขาขออิสติฆฟารฺ (ขออภัยโทษ)
เมื่อใดที่เขาโกรธเคือง เขาได้ทำให้ตัวเองต้องอ่อนโยน
และเมื่อใดที่เขาตัดสิน เขาได้ตัดสินด้วยความยุติธรรม

.
.......................................................................
บทความดี ๆ จากเพจ : اللهم توفني وانت راض عني
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ 

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หากคุณไม่ให้เกียรติภรรยาของคุณ



หากคุณ... ไม่ให้ "เกียรติภรรยา" ของคุณ... ต่อหน้า "คนอื่น"

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง... กับคนภายใน "ครอบครัว" ของคุณ

นั่นถือว่า.... คุณไม่ให้เกียรติ.... "ตัวคุณเอง"

เธอเปรียบเสมือน... "ครึ่งหนึ่ง" ของคุณ..

และสิ่งใดก็ตามที่แปดเปื้อน "ตัวเธอ"

มันก็ย่อมแปดเปื้อน "ตัวคุณ" เช่นกัน

(ยะหฺยา อะเดล อิบรอฮีม)

................................
อับดุลรอมาน หะระตี



คุณรู้หรือไม่?




✿ คุณรู้หรือไม่ว่า ละหมาดแรกที่ท่านนบี ศ็อลฯ ยืนละหมาดนั้น
....... คือละหมาดซุฮริ
✿ คุณรู้หรือไม่ว่า ผู้ที่ส่งเสียงอาซานแรกบนท้องฟ้า
....... คือท่านญิบรีล อาลัยฮิสสลาม

✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่กำหนดชั่วโมงเวลา
....... คือท่านนบีนูฮฺ อาลัยฮิสสลามในขณะที่ท่านอยู่บนเรือ
เพื่อหาเวลาละหมาด
✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนแรกทีได้ขี่ม้า
...... คือท่านนบีอิสมาอีล อาลัยฮิสสลาม

✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่ตั้งชื่อวันศุกร์เป็นชื่อ ญุมุอะหฺ
...... คือกะอับ บิน ลูอัย
✿ คุณรู้หรือไม่ว่า ผู้ที่กล่าวสรรเสริญ ซุบฮานาร็อบบิยัลอะอฺลา
...... คือท่านอิสรอฟีล อาลัยอิสสลาม

✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่ใช้ปากกาคนแรกเพื่อนำมาขีดเขียน
...... คือท่านนบีอิดรีส อาลัยฮิสสลาม
✿ คุณรู้หรือไม่ว่า อายะห์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมา คือ
...... "และพวกเจ้าจงยำเกรงวันหนึ่ง ซึ่งพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮ์ในวันนั้น แล้วแต่ละชีวิตจะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนตามที่ชีวิตนั้นได้แสวงหาไว้ และพวกเขาจะได้ไม่ถูกอธรรม"
(ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ : 281)

✿ คุณรู้หรือไม่ว่า อายะห์แรกที่ถูกประทานลงมาในคัมภีร์เตารอต
....... คือ บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรรอฮีม
✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนแรกที่ออกญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
....... คือท่านนบี อิดรีส อาลัยฮิสสลาม

✿คุณรู้หรือไม่ว่า อายะห์อัลกุรอ่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
....... คือ อายะห์ อัลกุรซีย์
✿คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่สรรเสริญอัลลอฮฺด้วยการกล่าว
...... ซุบฮานัลลอฮี วาบิฮัมดิฮี หนึ่งร้อยครั้ง ปวงบาปของเขาจะถูกลบล้าง ถึงแม้ว่ามันจะมากเหมือนฟองทะเลก็ตาม

✿ คุณรู้หรือไม่ว่า คนที่กล่าวคำว่า ลา อิ ลา ฮา อิล ลา อัน ตา ซุบ ฮา นา กา อิน นี กุน ตุ มิ นัซ ซอ ลิ มีน ในขณะที่เขากำลังอยู่ในความทุกข์
...... พระองค์จะทรงโปรดปรานความสุขสมให้แก่เขา เหมือนที่พระองค์ทรงประทานความสุขสมให้แก่ท่านนบี ยูนุส อาลัยฮิสสลาม ตอนที่ท่านกำลังขอดุอาอฺนี้กับอัลลอฮฺอยู่ ในขณะที่ตัวของท่านอยู่ในท้องของปลาวาฬ

.......................................................
ความรู้ดี ๆ โดย : إلهي أنت تعلم كيف حالي
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


วิธียืนหยัดเพื่อการยืนที่มั่นคง(ในดีนของอัลลอฮฺ)



หนึ่ง การเข้าหาอัลกุรอาน

สอง การยึดมั่นในบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และการปฏิบัติการงานที่ดี(อะมัลศอลิหฺ)

สาม การใคร่ครวญและศึกษาเรื่องราวของบรรดานบี เพื่อเป็นแบบอย่างและนำไปปฏิบัติตาม

สี่ การวิงวอนขอดุอาอ์

ห้า การรำลึกถึงอัลลอฮฺ

หก การกระตุ้นให้มุสลิมดำเนินอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง

เจ็ด การตัรฺบิยะฮฺ

แปด มีความเชื่อมั่นในแนวทางที่ตนกำลังก้าวเดินอยู่

เก้า ดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้อื่นสู่แนวทางของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา

สิบ พยายามใกล้ชิดกับบุคคลที่จะนำมาซึ่งสภาพของการยืนหยัดเพื่อการยืนที่มั่นคงให้แก่ท่าน

สิบเอ็ด เชื่อมั่นในความช่วยเหลือของอัลลอฮฺและในอนาคตของอิสลาม

สิบสอง ให้รู้จักแก่นแท้ของความจอมปลอมและไม่หวั่นเกรงมัน

สิบสาม ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ส่งผลต่อการยืนหยัดเพื่อการยืนที่มั่นคง(ในดีนของอัลลอฮฺ)

สิบสี่ คำสั่งเสียจากผู้มีคุณธรรม

สิบห้า พิเคราะห์ถึงความสุขในสวนสวรรค์และบทลงโทษในนรก และรำลึกถึงความตาย

****สนามแห่งการยืนหยัด****

หนึ่ง การยืนหยัดในบททดสอบต่าง ๆ
ประเภทของบททดสอบต่าง ๆ
• บททดสอบในทรัพย์สินเงินทอง
• บททดสอบในตำแหน่งเกียรติยศ
• บททดสอบในตัวภรรยา
• บททดสอบในตัวลูก ๆ
• บททดสอบจากผู้กดขี่ ผู้ปกครองที่เผด็จการและผู้อธรรมทั้งหลาย
• บททดสอบจากดัจญาล

สอง การยืนหยัดในสนามแห่งการต่อสู้(ญิฮาด)

สาม การยืนหยัดในวิถีทาง(มันฮัจญ์)ที่ตนเองก้าวเดินอยู่

สี่ การยืนหยัดในขณะที่จะเสียชีวิต
....................................
(จากหนังสือ : วิธียืนหยัดให้มั่นคงในศาสนาของอัลลอฮฺ)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส

ให้รีบอาบน้ำยกหะดัษเมื่อมีญุนุบ

เมื่อสามีภรรยามีเพศสัมพันธ์กัน หรือหญิงมีรอบเดือน ฯลฯ ก็ต้องรีบให้ยกหะดิษ อย่าปล่อยเวลายืดนานจนเข้าเวลาละหมาดฟัรฎู อย่าเพิกเฉย หรือเจตนาที่จะให้มีหะดัษเหล่านั้นคงอยู่กับตัวของเขา เพราะการปล่อยให้มีหะดัษเช่นนั้น จะทำให้มะลาอีกะฮฺไม่เข้าใกล้เขา แต่หากเขามีความจำเป็น หรือจะด้วยเหตุใดที่ไม่สามารถอาบน้ำยกหะดัษได้ อย่างกรณีสามีภรรยามีเพศสัมพันธ์กันในช่วงดึกๆของกลางคืน ก็ให้เขาผู้นั้นอาบน้ำละหมาดไว้เสียก่อน จากนั้นค่อยอาบน้ำยกหะดัษทีหลัง

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"สามประการที่มะลาอิกะฮฺไม่เข้าใกล้พวกเขา (1) ศพของกาเฟรฺ (2) บุคคลที่ใส่น้ำหอม(ของหอม)ของสตรี(เพราะเลียนแบบผู้หญิง เช่น หญ้าฝรั่น) และ(3) คนมีญุนุบ ยกเว้นเขาอาบน้ำละหมาดไว้เสียก่อน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 4182 เป็นหะดิษที่หะซัน)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"สามประการที่มะลาอีกะฮฺไม่เข้าใกล้พวกเขา (1) คนมีญุนุบ (2) คนเมา และ(3) บุคคลที่ใส่นำหอม(ของหอมสตรี" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัซารฺ เลขที่ 8198) 



والله أعلم بالصواب



รู้ได้ไงว่า "มุสลิมทานได้"


มีร้านค้าคนต่างศาสนิกหลายร้านที่สังเกตเห็น โดยมีข้อความติดหน้าร้าน ตู้กับข้าว ก๋วยเตี๋ยว หรือรถขายสินค้า ว่า "อิสลามทานได้" หรือมุสลิมทานได้"  เป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้มุสลิมหลงเชื่อว่า สินค้าที่ขาย ไม่เป็นที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติอิสลาม แล้วเขารู้ได้ไงว่าสินค้าเหล่านั้นถูกต้องตามบทบัญญัติอิสลาม เขาจะรู้ดีกว่ามุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลามได้อย่างไร ถึงมายืนยันว่ามุสลิมทานได้ มีหลักฐานใดๆบ้างไหมว่า สิ้นค้าที่นำเสนอขายถูกเชื้อดหรือมีกรรมวิธีที่ถูกต้องตามบทบัญญัติอิสลาม มีอะไรมายืนยันว่าสิ้นค้าที่ว่ามุสลิมทานได้ เป็นสิ้นค้าที่หะลาลตามบทบัญญัติศาสนา ไม่เลย นอกจากการยืนยันของพวกเขาเองต่างหาก เพียงเพื่อหาทางในการทำมาหากิน เขาไม่สนใจว่าจะถูกต้องตามหลักการหรือไม่ เพียงให้ได้กำไรก็พอ พวกเขาเพียงแค่รู้ว่ามุสลิมไม่กินหมูเท่านั้นเอง  ซึ่งมุสลิมบางคนเมื่อเห็นข้อความทีว่า ก็มีการตอบรับ ยอมซื้อสินค้าที่เขาได้นำเสนอ สงผลให้เขาได้มีลูกค้าและได้กำไรอันงดงาม 

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

خَالِدِينَ فِيهَا لَا يُخَفَّفُ عَنْهُمُ الْعَذَابُ وَلَا هُمْ يُنظَرُونَ

"มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล - บะเกาะเราะฮ - 2: 168)


มุสลิมนั้นต้องเลือกซื้อบริโภคอาหารที่หะลาล  สิ้นค้าที่คนต่างศาสนิกได้เสนอขาย ไม่ว่าสินค้านั้นจะติดป้ายว่ามุสลิมทานได้ หรือไม่มีหะลาลเลย สินค้าเหล่านี้อยู่ในสิ่งสงสัยคลุมเครือ อย่างเช่น เคเอฟซี ไก่ย่างห้าดาว หรือฟาร์มเฮาส์ไม่รู้ว่าเขามีการเชือดหรือไม่ ใช้น้ำมันหมูหรือไม่ และถึงแม้คนต่างศาสนิกจะเป็นผู้เชือดเองและกล่าวนามของอัลลอฮฺก็ตามทีก็ห้ามรับประทาน

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

وَلَا تَأْكُلُوا مِمَّا لَمْ يُذْكَرِ اسْمُ اللَّهِ عَلَيْهِ وَإِنَّهُ لَفِسْقٌ 121 )

และพวกเจ้าจงอย่าบริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์มิได้ถูกกล่าวบน มัน และแท้จริงมัน เป็นการละเมิดแน่ๆ"  (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม - :121)

ท่านนบีมุหัมมัด (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ท่านจงละทิ้งสิ่งที่สงสัยไปสู่สิ่งที่ท่านไม่สงสัย" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรมีซี)




والله أعلم بالصواب



วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ที่พักในสวรรค์ดีกว่าโลกนี้


ที่พักของบรรดาผู้ศรัทธาในสวนสวรรค์นั้น จะดีกว่าที่พักของเขาในโลกนี้ และหนึ่งในสวนของสวรรค์อยู่บนโลกนี้ คือมัสยิดของท่านนบีในมะดีนะฮฺ

รายงานจากท่านอบูสะอี๊ด อัลคุดรี (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"บรรดาผู้ศรัทธาจะถูกหยุดไว้ที่สะพานแห่งหนึ่ง ระหว่างสวรรค์และนรก หลังจากได้รับความช่วยเหลือให้ออกจากมาจากไฟแล้ว หลังจากนั้น การแก้แค้นตอบแทนกันก็จะเกิดขึ้นมนหมู่พวกเขา เกี่ยวกับเรื่องความไม่ชอบธรรม ที่พวกเขาได้กระทำต่อกันไว้ในขณะที่อยู่ในโลก หลังจากพวกเขาได้รับการชำระและขัดเกล้าแล้ว พวกเขาจะถูกรับเข้าสวรรค์ ขอสาบานด้วยพระองค์ผู้ทรงกำหนดชีวิตของมุหัมมัดไว้ในพระหัตถ์ พวกเขาทุกคนจะรู้ว่าที่พักของเขาในสวรรค์ดีกว่าที่พักของเขาในโลกนี้" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 8.542)

รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินเซด อัลอันซอรี (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าว่า
"สิ่งที่อยู่ระหว่างแท่นเทศนาของฉันและบ้านของฉัน(กล่าวในมัสยิดของท่านนบีในมะดีนะฮฺ) คือสวนแห่งหนึ่งจากสวนสวรรค์" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 7.3205)



والله أعلم بالصواب





สังคมต้องแก้ด้วยอิสลาม




ยิ่ง มุสลิม 3 จังหวัดเข้าใกล้อัลลอฮ ยืนหยัดคำสอนของรอซูลมากเท่าไหร่

สถานการณ์ความไม่สงบ ก็ยิ่งจะทุเลาลงไปเมื่อนั้น

แต่ยิ่ง ห่างไกลจากอัลลอฮและรอซูล มากเท่าไหร่

ถึงจะเทงบมา ล้าน ล้านบาท ก็ไม่มีวันสงบครับ

อินชาอัลลอฮ

เพราะฉะนั้น...สังคมต้องแก้ด้วยอิสลาม

ไม่ใช่ด้วยใครสักคนที่นำแนวทางอื่น ที่ไม่ใช่แนวทางอิสลาม มาแก้...

ดังนั้น มุสลิมจึงต้องหันมาทบทวนว่า เรากำลังคล้อยตามแนวทางใดอยู่

วัลลอฮฮุอะลัม


..................................
ชะบ๊าบ ก๊อลบุนสะลีม




ความสัมพันธ์ที่หะรอมยังคงดำเนิน



ขนาดตัวผมเองยังลืมวันเกิดตัวเองเลย เพราะผู้ชายส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยสนใจในเรื่องนี้ ซึ่งต่างกันกับผู้หญิง ที่มักจะเอาใจใส่ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย โดยเฉพาะวันเกิด

แล้วคนที่เป็นแฟนกัน (ก่อนแต่งงาน) พวกเขามักจะใส่ใจในเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้หญิง แล้วคนที่ลืมในเรื่องวันเกิด มักจะเป็นผู้ชาย ขนาดวันเกิดตัวเอง เขายังลืมเลย แล้วจะให้จำวันเกิดของแฟนได้อย่างไร

แต่ว่าความสัมพันธ์ที่หะรอมนี้ ก็ยังดำเนินไปเรื่อย ๆ ด้วยการจดจำหรือบันทึกไว้ในหัวใจ เพราะไม่ยอมให้ความสัมพันธ์นี้จืดจางลงหรือต้องพลัดพรากไป มีความพยายามเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่หะรอมนี้

นะอูซู บิลลาฮิ มินซาลิก

อายุของคนเรา จะค่อย ๆ หมดลงไปเรื่อย ๆ จะเปรียบได้ดั่งนาฬิกาทราย ที่จำนวนทรายนั้น มันค่อย ๆ ร่วงลงมาอย่างเรื่อย ๆ นั่นก็หมายความว่า คนเรากำลังเดินไปสู่ความตาย แต่น้อยคนนัก ที่มักจะใสใจ่ในเรื่องนี้

.......................
อูลุล อัลบ๊าบ


ทำไมอัลลอฮฺทรงยึดริสกีไปจากเรา ??


เราทุกคน ต่างก็รู้ดีว่า ประเทศไทยได้ใช้ระบบรัฐประหารมาใช้ ก็เพราะว่า การเมืองและการปกครองในประเทศ ได้เผชิญกับวิกฤตและปัญหา ที่ต่างฝ่ายก็ต่างหาทางออกไม่ได้ จึงได้ทำการรัฐประหารในที่สุด

อันที่จริงแล้ว บ่าวของอัลลอฮฺทุกคน ย่อมถูกรัฐประหารจากพระองค์แล้ว
ยังไงหรือ ??

ก็เพราะว่า พระองค์ทรงมอบริสกีให้แก่เรา ด้วยริสกีที่มากมายและล้นหลาม หากแต่ว่าเราได้ใช้มันไปในทางที่ผิด เราหลงลืมผู้ที่มอบให้แก่เรา และเราได้อธรรมต่อตัวเราเองและผู้อื่น ดังนั้น พระองค์ทรงยึดริสกีของพระองค์กลับคืนมา ยึดทรัพย์สินเงินทอง ยึดอำนาจการปกครองตัวเอง ปกครองครอบครัว ไปจนถึงระดับสูงสุดของการปกครอง

ทำไมอัลลอฮฺทรงยึดริสกีไปจากเรา ??
ก็เพื่อให้พวกเราได้นึกถึงพระองค์ ได้ใคร่ครวญในสิ่งที่พระองค์ทรงได้มอบให้ ได้ใคร่ครวญในพลังอำนาจที่พระองค์ทรงได้มอบให้ ได้ใคร่ครวญในสิ่งที่เราได้มา โดยที่คนอื่นไม่ได้รับ และเพื่อเป็นการวัดใจว่า เราจะขอบคุณหรือเนรคุณต่อพระองค์


.....................
อลุล อัลบ๊าบ




คุณค่าของอัลกุรอาน (คุณค่าของอายะฮฺ อัล-กุรสีย์)


****คุณค่าของอายะฮฺ อัล-กุรสีย์ ****...

จากท่านอบูอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดอ่านอายะฮฺอัล-กุรสีย์ (นั่นคือ)

اللّهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لاَ تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلاَ نَوْمٌ لَّهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الأَرْضِ مَن ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلاَّ بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلاَ يُحِيطُونَ بِشَيْءٍ مِّنْ عِلْمِهِ إِلاَّ بِمَا شَاء وَسِعَ كُرْسِيُّه السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ وَلاَ يَؤُودُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ

(อัลลอฮฺนั้นคือไม่มีผู้ที่ถูกเคารพสักการะใด ๆ ที่เที่ยงแท้ นอกจากพระองค์เท่านั้นผู้ทรงชีวิต (1) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย (2) โดยที่การง่วงนอน และการนอนหลับใด ๆ จะไม่เอาพระองค์ (3) สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใึีครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น (4) พระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขาและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา (5) และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใด (6) จากความรู้่ของพระองค์ไว้ได้นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์เท่านั้น (7) เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้าและแผ่นดิน (8) และการรักาามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระแก่พระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่) (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ : 255)

ทุก ๆ หลังละหมาดฟัรฎู จะไม่มีสิ่งใดขัดขวางเขาไม่ให้เข้าสวนสวรรค์นอกจากความตายเท่านั้น (9)" (บันทึุกโดย อัน-นะสาอีย์ ใน "สุนัน อัล-กุบรอ หมายเลข 9848 และชัยคฺอัล อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ ใน "เศาะฮีหฺ อัล-ญามิิฺอฺ" หมายเลข 6464)

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎียัลลอฮุฮันฮุ เล่าว่า

"ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันเฝ้าซะกาตของเดือนเราะมะฏอน และแล้วก็มีสิ่งหนึ่ง (10) มาหาฉัน มันได้ขุดคุ้ยหาอาหาร (11) ฉันจึงจับมันไว้และกล่้าวว่า "ขอสาบานว่าฉันจะนำเจ้าไปให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม"(12) มันได้กล่าวว่า "เมื่อท่านเอนกายลงบนที่นอนก็จงอ่านอายะฮฺอัล-กุรซีย์ แล้วอัลลอฮฺจะให้มีผู้พิทักษ์คอยดูแลท่าน และชัยฏอนตัวไหนก็มิอาจะจเข้าใกล้ท่านได้จนกระทั่งรุ่งเช้า" แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ก็กล่าวว่า "(ชัยฏอนตัวนั้น) มันพูดสัจจริงกับเจ้า ทั้ง ๆ ที่มันเป็นจอมโกหก" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5010)

********************
(1) ทรงมีชีวิตอยู่ตลอดกาลโดยไม่มีกาลอวสาน
(2) ทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน
(3) พระองค์ไม่ทรงง่วงนอนและนอนหลับนั่นเอง แต่ที่พระองค์ทรงใช้สำนวนว่า "การง่วงนอนและการนอนหลับจะไม่เอาพระองค์" นั้นเป็นการเปรียบเทียบว่าการง่วงนอนก็ดีและการนอนหลับก็ดี ประหนึ่งสิ่งที่มีชีวิตและมีอิทธิพลสามารถทำให้ผู้คนง่วงนอนและนอนหลับได้ กระนั้นก็ดีมันจะไม่แตะต้องพระองค์
(4) นอกจากผู้ที่ได้รับอนุมัติจากพระองค์เท่านั้น
(5) ทรงรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
(6) หมายถึงไม่สามารถล่วงรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากความรอบรุ้ของพระองค์ได้
(7) จะรู้ได้ก็เฉพาะสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้รู้เท่านั้น
(8) หมายถึงว่าอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกหนทุกแห่งทั้งในฟากฟ้าและพิภพ เพราะเมื่อเก้าอี้ของพระงอค์กว้างใหญ่ทั่วชั้นฟ้าและแผ่นดินแล้ว สิ่งใดที่เกิดขึ้นในชั้นฟ้าและแผ่นดินจะเป็ฯที่ใดก็ตาม ก็ย่อมอยู่ในความรู้ของพระองค์ทังสิ้น
(9) กล่าวคือ เมื่อเขาตายก็จะได้เข้าสวรรค์อย่างแน่นอน
(10) คือ ญิืนตนหนึ่ง
(11) ซึ่งเป็นเช่นนี้คืนแล้วคืนเล่า มเื่อมาถึงคืนที่สาม
(12) มันจึงกล่าวว่า "ปล่อยฉันเถิด แล้วฉันจะสอนบางถ้อยคำแก่ท่าน ซึ่งอัลลอฮฺได้ให้มันมีประโยชน์แก่ท่าน"



.........................................................
อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะคุลฮัก : เรียบเรียง
(จากหนังสือ : เศาะฮีหฺ คุณค่าของอามั๊ล)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส





เศาะฮีหฺ คุณค่าของอัลกุรอาน



****คุณค่าของสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺและสูเราะฮฺอา่ลิ-อิมรอน ****..

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิัยัลลอฮุอัีนฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"พวกท่านจงอย่าทำให้บ้านของพวกท่านเป็น (เสมือน) สุสาน แท้จริงชัยฏอนจะหนีไปจากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 780)

ท่านอบูอุมามะฮฺ อัล-บาฮิลีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"พวกท่านจงอ่านอัลกุรอานเถิด เพราะแท้จริงมันจะมาในวันกิยามะฮฺเพื่อขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อ่านมัน พวกท่านจงอ่านชะฮฺรอวาน (1) คือ อัล-บะเกาะเราะฮฺ และอาลิ-อิมรอน เพราะมันจะมาในวันกิยามะฮฺ เสมือนกับว่าเป็นเมฆฝนขนาดมหึมา 2 ก้อน หรือเสมือนกับฝูงนกกระพือปีกสองฝูงใหญ่มาแก้ต่างให้กับเจ้าของมัน พวกท่านจงอ่านสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺเถิด เพราะการอ่านมันนั้นเปฯความบะเราะกะฮฺ (2) และการละเลยต่อสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ (3) ถือว่าขาดทุน และผู้ที่ปลุกเสกคุณไสยไม่อาจชนะสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺได้" (บันทึุกโดยมุสลิม หมายเลข 804)

จากท่านอัน-เนาวาฟ บินสัมอาน อัล-กิลาบีย์ เราะฎิยัลลัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ในวันกิยามะฮฺอัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมสมาชิกที่ได้ปฏิบัติตามอัลกุรอาน นำโดยสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ และ อาลิ-อิมรอน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เปรียบสูเราะทั้งสองเสมือนสามสิ่งด้วยกัน ซึ่งฉันไม่เคยลืมมันเลย (ท่านอัน-เนาวาฟ) ได้กล่าวว่า เสมือนกับว่าเป็นเมฆฝนขนาดมหึมา 2 ก้อนหรือเมฆสองก้อนที่ก่อตัวมืดทะมีนโดยมีแสงรัศมีเจิดจรัสอยู่ตรงกลาง หรือเสมือนกับฝูงนกกระพือปีกสองฝูงใหญ่มาแก้ต่างให้กับเจ้าของมัน" (บันทึุกโดยมุสลิม หมายเลข 805)

ท่านอบูมัสอูด เราะฎิยััลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผุ้ใดอ่านสองอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ (นั่นคือ)

آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنزِلَ إِلَيْهِ مِن رَّبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِّن رُّسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ ( 285 )

لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِن نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا رَبَّنَا وَلَا تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِنَا رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلْنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِ وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنتَ مَوْلَانَا فَانصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ ( 286 )

(ศาสนทูตนั้น ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขาจากพระเจ้าของเขา และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย ทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมะลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาศาสนาทูตของพระองค์ (4) และพวกเขากล่าวว่า เราได้ยินแล้วและได้ปกิบัติตามแล้ว การอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา และยังพระองค์นั่นคือการกลับไป, อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิืตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งที่ชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้ โอ้พระเจ้าของพวกเรา โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลิืมหรือผิดพลาดไป โอ้พระเจ้าของพวกเรา โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใด ๆ แก่พวกเรา (5) เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมันแก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเราแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกเรา โปรดอย่าให้พวกเราแบกสิ่งที่ไม่มีกำลังใด ๆ แก่พวกเราที่จะแบกมันได้ (6) และโปรดให้อภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้นคือ ผู้ปกครองของพวกเรา ดังนั้นโปรดทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้ัรับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด) (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ : 285-286)

ในเวลากลางคืนมันจะเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเขา (7)" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5009)

จากท่านอัน-นุอมาน บินบะซีร เราะฎิยัลลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"แท้จริงอัลลอฮฺได้บันทึกกฎสภาวะต่าง ๆ ก่อนการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินถึงสองพันปี และพระองค์ได้ประทานสองอายะฮฺที่เป็นการปิดท้ารยสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่งไม่มีผู้ใดที่อ่านสองอายะฮฺนี้ในบ้าน (เว้นแต่) ชัยฏอนจะไม่เข้าบ้านนั้นสามวัน)" (บันทึดโดยอัต-ติรมีซีย์ หมายเลข 2882 และชัยคฺ อัล-อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ ใน "เศาะฮีหฺ วะเฏาะอีฟ สุนัน อัต-ติรมีซีย์" หมายเลข 2882)

******************
(1) สิ่งที่มีสีขาวสว่าง
(2) ความจำเริญ
(3) คือไม่อ่านสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ
(4) ไม่แยกศรัทธาเฉพาะบางท่าน และปฏิเสธอีกบางท่าน เช่นคริสเตียนปฏิเสธศรัทธาต่อท่านนบีมูซา และท่านนบีมุหัมมัด ส่วนยิวปฏิเสธศรัทธาต่อท่านนบีอีซาและท่านนบีมุหัมมัด เป็นต้น
(5) หมายถึงบัญญัติอันเป็นภาระหนักในการปฏิบัติ
(6) หมายถึงบัญญัติที่ไม่มีกำลังความสามารถที่จะปฏิบัติได้
(7) เพียงพอแล้วสำหรับเขาที่จะได้รับการคุ้มครองจากภยันตรายต่าง ๆ ในค่ำคืนนั้น หรือเพียงพอแล้วที่จะอ่านสองอายะฮฺนี้เพื่อเป็นการกิยามุลลัยในค่ำคืนนั้น


.......................................................
อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะคุลฮัก : เรียบเรียง
(จากหนังสือ : เศาะฮีหฺ คุณค่าของอามั๊ล)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส


แม่.. ผู้ไม่เคยแยแสต่อ ความเหน็ดเหนื่อยแห่งดุนยา





แม่จ๋า..
ในบรรยากาศที่แสนเหน็บหนาว
ทุกคนนอนขดตัวอยู่
ใต้ผ้าห่มอันหนานุ่ม แต่แม่กลับ
ต้องฝืนลืมตายันกายขึ้นมาเพื่อต้อนรับ
เช้าวันใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ลูกรู้ว่าแม่ก็ยังอยากพักผ่อนอีกสักนิด
ใช่มั้ย แต่เพื่อความ
อยู่รอดของครอบครัวแม่จึง
ต้องฝืนรีบแต่งตัว จัดเตรียมข้าวของ
แล้วเดินทางไป
ยังสถานที่ชุมนุมที่มีชื่อเรียกว่า ‘ตลาด
’ อย่างสั่นระทมเพราะ
ความหนาวเย็นของยามวิกาล

แม่จ๋า.. ในตลาดที่มีแต่เสียง
ผู้คนดังจอแจ
ลูกๆของแม่กำลังนอนหลับอย่างสบาย
อยู่ที่บ้าน แต่แม่กำลังพัดไฟ
ในเตาถ่านอย่างรีบเร่ง
ลูกค้ากำลังรอขนมของแม่อยู่
เช้านี้ถ่านที่แม่นำมา
จากบ้านมันเปียกชื้น ไฟจึงติดยากนัก
..

แต่เสียงอาซานดังแว่วมาแล้ว แม่
จึงวิ่งออกไปยังมัสยิดก่อน
ปล่อยทิ้งเตาถ่านและให้ลูกค้ายืนรอ

แม่จะรู้มั้ย..ที่บ้านยังคงมืดสนิท
ไร้แสงสว่างของดวงไฟ ลูกๆของแม่
ยังคงนอนอยู่ที่เดิม

แม่จ๋า..
ในตอนเที่ยงๆที่มีแสงแดดร้อนจ้า
แม่เดินกลับมาจากตลาดแล้ว ใยแม่
ไม่พักผ่อนบ้างล่ะ

แม่ยังก่อไฟ
ในเตาถ่านอีกครั้ง
ท่ามกลางบรรยากาศที่ร้อนจัด
มันแผดเผาร่างกายของแม่จนดำเกรียม
แม่
ต้องเตรียมขนมอีกหลายชนิดเพื่อนำไป
ขายในวันพรุ่งนี้

ตอนนี้ลูกๆของแม่กำลังนั่งกินอาหารเที่
ยงอยู่ที่โรงเรียน แต่แม่..ยัง
ไม่มีแม้อาหารสักชิ้นตกถึงท้องเลย
มีเพียงน้ำเปล่าจากบ่อหลังบ้านที่ไว้
ใช้ดื่มเพื่อดับกระหายเท่านั้น

แม่จ๋า.. เย็นแล้ว ขนมของแม่ยัง
ไม่เสร็จเลย
แม่แหงนมองดวงอาทิตย์ที่กำลัง
จะตกดิน แม่รีบเร่งทำขนม เพราะยังมี
กับข้าวมื้อค่ำที่แม่ยังต้องทำ
ลูกๆของแม่กลับมาจากโรงเรียนนาน
แล้ว

บางคนกำลังนอนหลับเพราะ
ความเหน็ดเหนื่อยจากการเรียน

บางคนกำลังทำการบ้านที่ครูสั่ง

ใกล้ค่ำแล้วแม่คงต้องอาบน้ำ
และละหมาดก่อน กับข้าวคง
ต้องทำหัวค่ำ
ลูกๆทนหิวไปก่อนสักนิดนะ

แม่จ๋า.. ดึกแล้วนะ แต่ผ้ากองโต
ยังรอแม่อยู่ จานอาหารยังตั้ง
อยู่เกลื่อนกลาดบนพื้นหลังบ้าน
แต่ลูกๆของแม่หลับไปนานแล้ว
แม่รีบเร่งทำงานบ้านจนเสร็จ
นาฬิกาบนฝาผนังบ่งบอกเวลาว่าดึกมา
กแล้ว
แม่หันมามองหน้าลูกตัวเองที่หลับอยู่
ค่ำนี้อากาศร้อนอบอ้าว แม่
จึงหยิบกระดาษ
เล็กๆโบกพัดไปมาบนใบหน้าของลูกๆที่
เต็มไปด้วยหยาดเหงื่อ
ไม่นานนักแม่ก็เอนกายลงข้างๆลูก
แม่หลับตาลงอย่างช้าๆ
แล้วชีวิตของแม่ในวันนี้ก็ผ่านไปอีกวัน
..

แม่จ๋า.. แม่เหนื่อยมากใช่มั้ย
กับภาระหน้าที่ที่แม่ได้รับมอบหมาย
และบททดสอบที่ได้รับบนโลกใบนี้
ตั้งแต่วันที่พ่อถูกรถชน ความ
เป็นหัวหน้าครอบครัวจึงตกไป
เป็นของแม่อย่างเสียมิได้ แม่
ต้องเลี้ยงดูลูกๆถึงเจ็ดคน
ด้วยตัวของแม่คนเดียว ณ ตอนนี้..
แม่แก่ตัวลงมากแล้ว แต่แม่ก็
ยังคงดำเนินภารกิจเดิมๆของแม่ต่อไป
แม่ไม่เคยหยุดพัก แม่ไม่เคยหยุดนิ่ง
แม้แม่จะเหนื่อยแค่ไหน แต่แม่
ไม่เคยบ่น แม่ไม่เคยย่อท้อ แม่
ยังคงสู้ต่อไปบนวิถีทางการดำเนินชีวิต
ของแม่….

..

“ข้าแด่องค์อภิบาล
ได้โปรดอภัยโทษแก่ข้าพเจ้า
แก่บิดามารดาของข้าพเจ้า
และได้โปรดประทาน
ความเมตตาแก่บุคคล
ทั้งสองเหมือนดั่งที่ท่านทั้งสอง
ได้เลี้ยงดูข้าพเจ้าในยามเยาว์วัย ”


............................................
เขียนโดย … บินตีอิสมาแอล
Fatimah Sa'diyamu โพส





วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พิธีกรรมที่ถูกอุตริในเดือนเราะญับ




พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า


سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلاً مِّنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الأَقْصَى الَّذِي بَارَكْنَا حَوْلَهُ لِنُرِيَهُ مِنْ آيَاتِنَا إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ 

"พระองค์ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่งนัก  พระองค์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์(มุฮัมมัด) ให้เดินทางในยามค่ำคืนจากมัสยิดอัลฮะรอมสู่มัสยิดอัลอักซอ  ซึ่งเราได้ให้ความสิริมงคลแก่รอบ ๆ ของมัน  ทั้งนี้เพื่อเราจะให้เขามองเห็นบางส่วนแห่งสัญลักษณ์ของเรา  แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยินยิ่ง  อีกทั้งทรงมองเห็นยิ่ง" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัลอัสรออฺ :1)

อุลามาอฺอิสลามจำนวนมากมีทัศนะว่าเหตุการณ์อิสรออฺและมิอฺรอจญ์เกิดขึ้นก่อนการอพยพ 1 ปี นั่นคือ ปีที่ 12 แห่งความเป็นศาสนทูตของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

ส่วนเดือนที่มีการอิสรออฺและมิอฺรอจญ์นั้น รายงานที่ดีที่สุดระบุว่าเหตุการณ์อิสรออฺและมิอฺรอจญ์เกิดขึ้นในเดือนเราะบีอุลเอาวัล โดยที่ อิบนิอับบาส และญาบิร (รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา) กล่าวว่า

(وُلِدَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَامَ الْفِيْلِ يَوْمَ الاِثْنَيْنِ الثَّانِي عَشَرَ مِنْ رَبِيْعِ الأَوَّلِ، وَفِيْهِ بُعِثَ، وَفِيْهِ عُرِجَ بِهِ إِلَى السَّمَاءِ، وَفِيْهِ هَاجَرَ، وَفِيْهِ مَاتَ)

“รสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกให้กำเนิดในปีช้าง วันจันทร์ที่ 12 เดือนเราะบีอุลเอาวัล ในเดือนนี้ท่านถูกแต่งตั้งเป็นรสูล และในเดือนนี้ท่านถูกพาขึ้นสู่ฟากฟ้า (มิอฺรอจญ์) และในเดือนนี้ท่านเดินทางฮิจญ์เราะฮฺ (สู่มหานครมะดีนะฮฺ) และในเดือนนี้ (อีกเช่นกัน) ท่านได้เสียชีวิตลง” (บันทึกโดยอิบนุ อบีชัยบะฮฺ ในอัลมุศ็อนนัฟ และอัลญูซกอนีย์ ในอัลอะบาฏิล เล่ม 1 หน้า 126 ด้วยสายรายงานที่เศาะหีหฺตามเงื่อนไขของอัลบุคอรีย์ (ดูหนังสือ ตารีฆเมาลิด อันนะบี ของฏ็อรฮุนีย์))

นี่คือทัศนะของอุลามาอฺผู้สอบสวนพิสูจน์ส่วนใหญ่ เช่น อัซซุฮฺรีย์ และอุรวะฮ์ และนี่แหละคือทัศนะที่ถูกต้อง วัลลอฮุอะลัม

ยังมีอีกทัศนะหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของผู้คนส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าสายรายงานของมันจะไม่เศาะหีหฺก็ตาม หนำซ้ำอุลามาอฺหะดีษบางท่านยังถือว่าเป็นรายงานปลอมอีกด้วย นั่นคือทัศนะที่ว่า เหตุการณ์อิสรออฺและมิอฺรอจญ์เกิดขึ้นในค่ำคืนที่ 27 ของเดือนเราะญับ (ดู อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ, เล่ม 3 หน้า 109, ฟัตหุลบารีย์, เล่ม 7 หน้า 204)

ละหมาดรอฆออิบ

หลักฐานเก๊ที่เป็นหะดีษปลอม อ้างว่า นบีกล่าวว่า
" ระญับเดือนของอัลลอฮฺ ชะอฺบานเดือนของฉัน รอมฎอนคือเดือนของประชาชาติของฉัน ไม่มีผู้ใดที่ถือศีลอดในวันพฤหัสแรกของเดื­อนระญับและละหมาดช่วงมัฆริบและอิซา(คืนศุก­ร์) จำนวน 12 ร็อกอัต ทุกร็อกอัตอ่านฟาติหะฮฺ 1 ครั้ง และ انا انزلناه في ليلة القدر จำนวน 3 ครั้ง และ قل هو الله احد จำนวน12 ครั้ง ทุกๆ 2 ร็อกอัต มี 1 สลาม หลังละหมาดเสร็จเขากล่าวเศาะละวาตจำนวน 70 ครั้ง และเขาดุอาตามตามที่เขาต้องการ ยกเว้นดุอาเขาจะถูกตอบรับ"

อิบนุกะษีร (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 774) กล่าวว่า
ส่วนบางคนเข้าใจว่าเหตุการณ์อิสรออฺเกิดขึ้นในช่วงต้นของคืนวันศุกร์ ในเดือนเราะญับ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของคืน (อัรเราะฆออิบ) ซึ่งแปลว่า “ของขวัญอันมีค่า” ซึ่งได้มีการประดิษฐ์ละหมาดเราะฆออิบที่เป็นที่รู้จักกันในค่ำคืนนั้น โดยที่ทัศนะดังกล่าวไม่มีต้นตอ หรือที่มาและหลักฐานใดๆสนับสนุนเลย” (ดู อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ, เล่ม 3 หน้า 109, ละหมาดเราะฆออิบนี้เป็นละหมาดที่อุตริที่น่ารังเกียจยิ่ง และได้รับการปฏิเสธจากบรรดาอุละมาอฺอิสลาม เช่นอันนะวะวีย์ และอัสสะยูฏีย์ เป็นต้น (ดู ชัรห์เศาะหีหฺมุสลิม, เล่ม 8 หน้า 20, อัลอัมรุ บิลอิตติบาอฺ วันนะฮฺยุ อัน อัลอิบติดาอฺ, หน้า 167))

อบูชามะฮฺ (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 665) (ดู อัลบาอิษ อะลาอินการ อัลบิดะอฺ, หน้า 71 )  และอิบนุหะญัร อัล อัสเกาะลานีย์ (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.852) (ดู ตับยีน อัลอุญับ บิมา วะเราะดะ ฟีชะฮฺริ เราะญับ, หน้า 11) กล่าวว่า “มีนักประวัติศาสตร์บางคนระบุว่า (เหตุการณ์อิสรออ์เกิดขึ้นในเดือนเราะญับ) ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่โกหกอย่างชัดแจ้ง”

อิมามอิบนุตัยมียะฮฺ ว่า
 " นบีไม่เคยละหมาดประเภทนี้ เศาะฮาบะฮฺ ตาบิอีน อิมามมุสลิมีนไม่เคยละหมาดชนิดนี้ ไม่เคยสอนให้ละหมาดนี้แม้แต่คนเดียว ไม่เคยพูดถึงประเสริฐของคืนดังกล่า นี้คือหะดีษโกหก โดยมติของอุละมาอฺส่วนใหญ่ (อัลฟะตาวา 2/261)


والله أعلم بالصواب



การสั่งเสียเมื่อแต่งงาน



ศาสนาส่งเสริมให้ผู้เป็นพ่อ ผู้เป็นแม่ สั่งเสียบุตรของเขา หรือผู้เป็นสามีสั่งเสียแก่ภรรยาของเขาเมื่อขณะแต่งงาน

รายงานจากท่านอนัส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) กล่าว่า
"ปรากฎว่าบรรดาสาวกของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  นั้น เมื่พวกเขาได้แต่งงานหญิงให้แก่สามีของนาง พวกเขาจะสั่งเสียนางให้รับใช้สามี ดูแลรักษาสิทธิของสามี"


ท่านอบับดุลลอฮฺ บุตรของญะอฺฟัร บุตรของอบีฏอลิบ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้สั่งเสียลูกสาวของเขา โดยกล่าวว่า
"จงระมัดระวังเรื่องความเกลียด เพราะความเกลียดนั้นมันเป็นกุญแจไขไปสู่การหย่าร้าง" 

"จงระมัดระวังเรื่องการตำหนิติเตียน เพราะจะเป็นผลทำให้เกิดความโกรธ"

"จำเป็นแก่เธอที่จะต้องทายาตา เพราะมันจะทำให้เกิความสวยงาม และกลิ่นที่ดีที่สุด คือ น้ำ"


ท่นอัมนุ หุจริน เจ้าเมืองกินดะฮฺ ได้หมั้นกับอุมมุ อิยาส บุตรีของโอฟ อิบนิ มุฮัลลิม อัชชัยบานี เมื่อถึงวันที่นางแต่งงาน มารดาของนาง คือ อุมมามะฮฺ บินตุลฮาริษ ได้มาอยู่สองต่อสองกับนาง แล้วได้สั่งเสียตักเตือนนาง โดยได้อธิบายถึงพื้นฐานการดำเนินชีวิตคู่ที่มีความสุข และสิ่งจำเป็นที่นางจะต้องปฏิบัติต่อสามี

ท่านอบุดัรดาอฺ ได้กล่าวแก่ภรรยาของเขา ว่า
"เมื่อเธอเห็นฉันโกรธ ก้จงยอมฉัน และเมื่อแันเห็นเธอโกรธ ฉันก็จะยอมเธอ ถ้ามิเช่นนั้น เราก็จะร่วมไปด้วยกันไม่ได้"



والله أعلم بالصواب



เรียนมาเพื่อจะสอน



"เราต้องเข้าใจว่า หากอัลลอฮฺทรงประทานแสงสว่างแก่เราแล้ว เราจะต้องยืนหยัด แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า การยืนยัด การแสดงออก และการเผยแพร่นั้น จะต้องควบคู่กับจิตวิทยาด้วย"

"ผมย้ำกับลุกชายผม (อาจราย์ฮะบีบุลลอฮฺ) เสมอว่า : เราเรียนมาเพื่อจะสอน แต่อย่าเรียนมาเพื่อจะด่าใคร..."

(อาจารย์ปราโมทย์ ศรีอุทัย)






วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เศาะฮีหฺ คุณค่าของการละหมาด


...................................................

****คุณค่าของการอาบน้ำ (สุนนะฮฺ) วันศุกร์ การฟังคุฏบะฮฺ และการละหมาดวันศุกร์****

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดที่ได้อาบน้ำ (สุนนะฮฺ) แล้วไปร่วมละหมาดวันศุกร์ จากนั้นเขาได้ละหมาด (สุนนะฮฺ) มากเท่าที่สามารถ เสร็จแล้วเขาก็สงบนิ่งฟังคุฏบะฮฺจนกระทั่งจบคุฏบะฮฺ แล้วเขาได้ละหมาด (วันศุกร์) พร้อมกับอิมาม เช่นนี้บาปของเขาผู้นั้นที่ได้กระทำระหว่างวันศุกร์นั้นกับอีกวันศุกร์หนึ่ง และเกิดไปอีกสามวันจะได้รับการอภัยโทษ" (บันทึุกโดยมุสลิม หมายเลข 857)

****คุณค่าของการละหมาดสุนนะฮฺก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู****

จากท่านหญิงอุมมุหะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

"ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่ทำการละหมาดสุนนะฮฺทุก ๆ วัน ๆ ละ สิบสองร็อกกะอะฮฺที่นอกจากนอกเหนือจากละหมาดฟัรฎู นอกจากอัลลอฮิจะทรงสร้างบ้านสำหรับเขาในสวนสวรรค์ หรือนอกจากเขาจะถูกสร้างวิมานให้ในสวนสวรรค์" อุมมุหะบีบะฮฺได้กล่าวว่า ซึ่งฉันก็ไม่ละเลยที่จะละหมาดสุนนะฮฺนี้นับจากวันนั้นเป็นต้นมา" (บันทึุกมุสลิม หมายเลข 728)

****คุณค่าของการละหมาดฎูฮาและความประเสริฐของช่วงเวลาดังกล่าว****

จากท่านอบูซัร เราะฎิยัลลัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"เมื่อยามเช้ามาถึง กระดูกทุก ๆ ส่วนของมนุษย์ล้วนมีหน้าที่ต้องทำเศาะดะเกาะฮฺ (บริจาคทาน) ทุกการกล่าวตัสบีหฺฺ (1) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกล่าวตะหฺมีด (2) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกลาวตะฮฺลีล (3) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกล่าวตักบีรฺ (4) ก็เป็นการบริจาคทาน การสั่งใช้ในสิ่งที่ดีก็เป็นการบริจาคทาน และการห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดีก็ฌป็นการบริจาคทาน และถือเป็นการเพียงพอแล้วในสิ่งดังกล่้าวด้วยการละหมาดสุนนะฮฺฎูฮาสองร็อกกะอะฮฺ (5)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 720)

จากท่านชัยดฺ บินอิัรฺก็อม เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"การละหมาดของอัล-เอาวาบีน (6) คือช่วงที่ลูกอูฐรู้สึกร้อนเท้า (7)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 748)

จากท่านอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดละหมาดฎุฮา 4 ร็อกกะอะฮฺ และละหมาดก่อนซุฮริ อีก 4 ร็อกกะอะฮฺ จะมีบ้านที่ถูกสร้างให้แก่เขาในสวนสวรรค์" (บันทึกโดยอัฎ-เฎาะบะรอนีย์ ใน "อัล-มุอฺฌัม อัล-เอาสัฎ" หมายเลข 4753 และชัยค์อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษที่หะสัน ใน "สิลลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ" หมายเลข 2349)

****คุณค่าของการสุญูดที่ยาวนานและบ่อย****

จากท่านเราะบีอะฮฺ บินกะอฺบ์ อัล-อัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮุอัันฮุ เล่าว่า

"ครั้งหนึ่งฉันได้นอนพักแรมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ฉันได้เตรียมน้ำเพื่อให้ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ได้อาบน้ำละหมาดและถ่ายทุกข์ ท่านเราะสุลุุลลอฮฺ ได้กล่าวแก่ฉันว่า จงขอมาซิ ฉันก็ได้กล่าวว่า ฉันขอได้อยู่เคียงข้างท่านในสวนสวรรค์ ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า นอกจากนั้นท่านต้องการอะไรอีก ? ฉันตอบว่า มีเพียงแค่นี้ ท่านเราะสุลลุลลอฮิจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงช่วยฉันทำให้ท่านสุญูดต่ออัลลอฮฺอย่างมากมายเถิด (8)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 489)

จากท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสุลุลลอฮิ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ท่านจงสุญูดให้มาก ๆ แท้จริงแล้ว ท่านจะไม่สุญูดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งครั้งเว้นแต่พระองค์จะทรงยกระดับของท่านด้วยการสุญูดดังกล่าวให้สูงขึ้นหนึ่งระดับ และพระองค์จะทรงอภัยความผิดด้วยการสุญูดดังกล่าวหนึ่งความผิด" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 488)

**************
(1) ตัสบีหฺ คือ การกล่าว "สุบหานัลลอฮฺ" มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ
(2) ตะหฺมีด คือ การกล่าว "อัลฮัมดุลิลลาอฺ" การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
(3) ตะฮฺลีล คือ การกล่าว "ลาอีลาฮะอิลลัลลอฮฺ" ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
(4) ตักบีรฺ คือ การกล่าว "อัลลอฮุอักบัรฺ" อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด
(5) ถือเป็นการเพียงพอแล้วที่การละหมาดฎุฮา เป็นสิ่งที่ทำให้กระดูกทุก ๆ ส่วนของมนุษย์ได้ทำหน้าที่บริจาคทานของวันนั้น
(6) อัล-เอาวาบิน หมายถึง ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว ซึ่งสาเหตุที่การละหมาดฎุฮา ถูกเรียกว่าการละหมาดของผู้กลับเนื้อกลับตัว ก็เนื่องจากว่า ไม่มีผู้ใดที่จะรักษาละหมาดนี้ได้ นอกจากผู้ที่พยายามกลับเนื้อกลับตัวไปหาอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ
(7) ช่วงสาย ๆ
(8) กล่าวคือ การที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัียฮิวะซัลลัม ในสวนสวรรค์นั้นก็ด้วยกับการที่เป็นผู้ที่มีความใกลิชิดกับอัลลอฮฺให้ได้มากที่สุด ยิ่้งใกล้ชิดกับอัลลอฮฺมาก ก็ยิ่งไ้ด้ใกลิชิดกับท่านนบีมาก ดังนั้นท่านนบีจึงให้เศาะหาบะฮฺท่านนั้นเปิดโอกาสให้แก่ท่านนบีในการอบรมสั่งสอนและปรีบปรุงตัวของเขาให้เป็นผู้ที่ทำการสุญูดต่ออัลลอฮฺให้ได้มากที่สุด


.........................................................
อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะคุลฮัก : เรียบเรียง
(จากหนังสือ : เศาะฮีหฺ คุณค่าของอามั๊ล)
อกทน เพื่อชัยชนะ โพส

บิดอะฮฺในเดือนเราะญับ







คำถาม :

มีผู้คนได้เจาะจงปฏิบัติอิบาดะฮฺบางชนิดในเดือนเราะญับ อาทิเช่น การละหมาดเราะฆออิบ และการเฉลิมฉลองใน ค่ำคืนวันที่ 27 ของเดือน อยากเรียนถามว่า การปฏิบัติสิ่งดังกล่าวมีรากฐานที่มาทางบทบัญญัติหรือไม่ ? ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนท่านด้วย

คำตอบ :

การเจาะจงในเดือนเราะญับด้วยการละหมาดเราะฆออิบหรือการการเฉลิมฉลองในค่ำคืนวันที่ 27 ของเดือน ซึ่งพวกเขาทั้งหลายต่างกล่าวอ้างว่ามัน (ค่ำคืนของวันที่ 27) เป็นคืนอิสรออฺและมิอฺรอจนั้น การกระทำดังกล่าว เป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรมทางศาสนา) ทั้งสิ้น ซึ่งไม่อนุญาตให้ปฏิบัติ และไม่มีรากฐานทางบทบัญญัติมายืนยัน

แน่นอนว่าบรรดาผู้ตรวจสอบจากบรรดาปวงปราชญ์ได้เตือนในสิ่งดังกล่าวนี้ และเราได้เขียนคำชี้แจงในเรื่องดัง กล่าวนี้หลายครั้งด้วยกัน และเราได้ให้ความชัดเจนแก่ผู้คนว่า ความจริงแล้วการละหมาดเราะฆออิบนั้น เป็นบิดอะฮฺ มันเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะปฏิบัติมันในค่ำคืนวันศุกร์ (มืดลงของวันพฤหัสบดี-ผู้แปล) สัปดาห์แรกของเดือนเราะญับ

และเช่นเดียวกัน การเฉลิมฉลองในค่ำคืนของวันที่ 27 โดยมีความเชื่อว่ามันเป็นคืนที่เกิดเหตุการณ์อิสรออฺ และมิอฺรอจ ทั้งหมดนั้นเป็นบิดอะฮฺและไม่มีรากฐานทางบทบัญญัติมายืนยัน ส่วนคืนอัลอิสรออฺและมิอฺรอจนั้น ไม่สามารถรู้อย่างแน่ชัดว่ามันคือคืนวันไหน และถึงแม้ว่าจะรู้โดยเจาะจง ก็ไม่อนุญาตให้ฉลองในค่ำคืนนั้น เพราะเป็นสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยปฏิบัติ แม้กระทั่งบรรดาคุละฟาอฺผู้เที่ยงธรรม ตลอดจนบรรดาเศาะฮาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็ไม่เคยปฏิบัติเช่นเดียวกัน หากแม้นว่าสิ่งดังกล่าว เป็นซุนนะฮฺที่ต้องปฏิบัติแล้วไซ้ร แน่นอนพวกเขาต้องรุดหน้าปฏิบัติก่อนพวกเราอย่างแน่นอน

ความดีงามทั้งหมดคือการปฏิบัติตามแนวทางคนเหล่านั้น ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสไว้ว่า :

وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُم بِإِحْسَانٍ رَّضِيَ اللَّـهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ۚ ذَٰلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

“บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮฺทรงพอพระทัยใน พวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวน สวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง”

(อัตเตาบะฮฺ : 100)

และมีหะดีษเศาะเฮี๊ยะฮฺจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า :

مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

"ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) นี้ เป็นสิ่งที่ไม่มี (หลักฐาน) จากมัน ดังนั้นมันจะถูกตีกลับ (ปฎิเสธ)"

(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2697  มุสลิม : 1718)

และหะดีษที่รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา อีกสายรายงานหนึ่งของอิหม่ามมุสลิมว่า :

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

"และผู้ใดปฏิบัติงานหนึ่งงานใด ที่ไม่มีอยู่ในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) กิจการงานนั้นคือ สิ่งที่ถูกตีกลับ (ปฏิเสธ)"

และความหมายของคำว่า “ดังนั้นมันจะถูกตีกลับ (ปฎิเสธ)”มันจะถูกปฏิเสธต่อผู้ที่ปฏิบัติมัน และปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวในบทคุฏบะฮฺว่า :

أَمَّا بَعْدُ فَإِنَّ خَيْرَ الْحَدِيثِ كِتَابُ اللَّهِ ، وَخَيْرُ الْهُدَى هُدَى مُحَمَّدٍ ، وَشَرُّ الْأُمُورِ مُحْدَثَاتُهَا ، وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ

"ถ้อยคำอันประเสริฐคือคัมภีร์ของพระองค์อัลลอฮฺ และทางนำอันประเสริฐคือทางนำของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกิจกรรมอันชั่วร้ายคือกิจกรรมที่เป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรมทางศาสนา) และบิดอะฮฺทุกชนิดเป็นฏอลาละฮฺ (การหลงผิด)"
(บันทึกโดยมุสลิม : 867)

เพราะฉะนั้น ความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบรรดามุสลิมีนทั้งปวง ที่ต้องปฏิบัติตามซุนนะฮฺ และยืนหยัดในแนวทาง ซุนนะฮฺ และตักเตือนซึ่งกันและกันในการปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านนบี พร้อมกับให้มีความระมัดระวังจาก บิดอะฮฺต่างๆ โดยปฏิบัติตามคำกล่าวของพระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสไว้ว่า :

وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَى

“และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรง ”
(อัลมาอิดะฮฺ : 2)

และดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า :

وَالْعَصْرِ   إِنَّ الْإِنْسَانَ لَفِي خُسْرٍ إِلَّا الَّذِينَ آَمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ

“ขอสาบานด้วยกาลเวลา (1) ความจริงแล้วมนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุน (2) นอกจากบรรดาผู้ที่ศรัทธา และประกอบคุณงามความดีทั้งหลาย และสั่งใช้กันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และสั่งใช้กันและกัน ให้มีความอดทน (3) ”

(อัลอัศรฺ : 1-3)

และตามคำกล่าวที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า :
اَلدِّينُ الْنَصِيْحَةُ (ثلاثا) قُلنا لِمَنْ يا رسول الله ؟ قال لِله (عزوجل) وَلْكِتابِهِ ولِرَسُولِهِ ولأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ وعامَتِهِمْ

"ศาสนาคือการตักเตือนกัน (สามครั้ง) พวกเรากล่าวว่า : (การตักเตือน) ต่อผู้ใดกันโอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ? ท่านร่อซูลได้ตอบว่าต่อพระองค์ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ต่อคัมภีร์ (อัลกรุอ่าน) ของพระองค์ ต่อร่อซูล (นบีมุฮัมมัด) ของพระองค์ ต่อบรรดาผู้นำมุสลิม และต่อบรรดามุสลิมทั่วไป "
(บันทึกโดยมุสลิม : 55)



สำหรับการปฏิบัติอุมเราะฮฺในเดือนเราะญับนั้น ไม่ใช่ปัญหาต่อย่างใด  ดังที่มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยปฏิบัติอุมเราะฮฺในเดือนเราะญับ และบรรดาชาวซะลัฟพวกเขาก็ปฏิบัติอุมเราะฮฺในเดือนเราะญับ และดังเช่นที่ท่านอิมามฮาฟิซอิบนุ เราะญับ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ ได้ระบุในหนังสือ “อัลละฏออิฟ” ว่า มีรายงานจากท่านอุมัรและบุตรของท่าน และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้ประกอบอุมเราะฮฺในเดือนรอญับ และในหนังสือดังกล่าวมีระบุว่า ท่านมุฮัมมัด อิบนุซีรีน รายงานว่า บรรดาชาวซะลัฟนั้น พวกเขาก็กระทำเช่นนั้น วัลลอฮุวะลียุตเตาฟีก

(ฟัตวานี้ตีพิมพ์ใน “วารสารอัดดะอฺวะฮฺ” ฉบับ 1566 เดือนญุมาดาอัลอุครอ ฮ.ศ.1417 , และใน “มัญฺมัวอฺฟะตะวา ส่วนที่ 11”)


.................................................................
ที่มา : (http://www.binbaz.org.sa/mat/1105)
ตอบคำถามโดย ชัยคฺ อับดุลอะซีซ อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ บาซ
แปลโดย วะร่อษะตุซซุนนะฮฺ




คุณค่าของการละหมาด





****คุณค่าของการละหมาดสุนนะฮฺที่บ้าน****

จากท่านชัยดฺ บินษาบิด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"พวกท่านทั้งหลายจงละหมาดสุนนะฮฺในบ้านของพวกท่าน เพราะการละหมาดที่ดีที่สุดของคนคนหนึ่งคือการละหมาดในบ้านของเขา นอกจากละหมาดฟัรฎู (1)" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 731 และมุสลิม หมายเลข 781)

****คุณค่าของการละหมาดฟัรฎูและการละหมาดสุนนะฮฺ****

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"แท้จริงแล้วอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า ผู้ใดที่เป็นศัตรูกับวะลีัย์ (2) ของข้า แน่นอนข้าได้ประกาศสงครามกับเขาผู้ันั้นแล้ว และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของข้าได้ (ปฏิบัติตน) เข้าใกล้กับข้าด้วยการงานหนึ่งที่ข้าโปรดปรานยิ่งกว่าการปฏิบัติในสิ่งที่ข้ากำหนดเป็นฟัรฎู และบ่าวของข้าก็ยังคงปฏิบัติตนเข้าใกล้ชิดข้าตลอดเวลาด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺต่าง ๆ จนกระทั่งข้ารักเขา ครั้งเมื่อข้ารักเขาแล้ว ข้าก็จะเป็นดั่งผู้ระวังรักษาหูของเขาที่เขาใช้ฟัง เป็นผู้รักษาตาของเขาที่เขาใช้มอง เป็นผู้รักษามือของเขาที่ใช้ฟาดฟัน และเป็นผู้รักษาเท้าของเขาที่เขาใช้เดิน แน่นอนหากเขาขอสิ่งใดจากข้าข้าย่อมให้เขา และหากเขาได้ขอความคุ้มครองจากข้า ข้าก็ให้ความคุ้มครองเขาอย่างแน่นอน และไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ข้าลังเลมากกว่าการเอาชีวิตของผู้ศรัทธา พวกเขากลัวการตายและข้าก็ไม่อยากให้เขาได้รับทุกข์เช่นกัน" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6502)

**** คุณค่าของการอ่านวิริด (บทขอพร) หลังจากการให้สลามหลังละหมาดฟัรฎู****

จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสุลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดก็ตามที่ได้กล่าวตัสบีหฺต่ออัลลอฮฺ (3) ทุกครั้งหลังละหมาดสามสิบสามครั้ง กล่าวตะหฺมีดต่ออัลลอฮฺ (4) สามสิบสามครั้ง และกล่าวตักบีรฺต่ออัลลอฮฺ (5) สามสิบสามครั้ง ทั้งหมดเป็นจำนวนเก้าสิบเก้าครั้ง และกล่าวเพิ่มอีกให้ครบหนึ่งร้อยครั้งด้วยคำกล่าวที่ว่า "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะละฮฺ ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมดุ วะฮุวะอาลา กุลลิชัยอิน เกาะดิรฺ" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีภาคีใดสำหรับพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง) ความผิดของเขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยแม้่จะมากเช่นฟองน้ำในทะเลก็ตาม (6)" (บันทึกโดยมุสลิม 597)

**** ึคุณค่าของการละหมาดแก่ผู้ตายและการติดตามศพ****

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดที่ติดตามญะนาซะฮฺ (7) ของมุสลิมด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ โดยที่เขาร่วมอยู่กับญะนาซะฮฺนั้น จนกระทั้่งได้ละหมาดให้เขาแล้ว แล้วอยู่จนกระทั่งฝังศพของเขาเสร็จ แท้จริงแล้วเขาผู้นี้จะกลับพร้อมผลบุญสองกีรอฎ ทุก ๆ หนึ่งก็รอฏดุจดั่งภูเขาอุหุด ส่วนผู้ที่ละหมาดญะนาซะฮฺและกลับมาก่อนที่จะมีการฝังศพผู้ตาย แท้จริงแล้วเขาผู้นี้ได้กลับพร้อมกับผลบุญหนึ่งกีรอฏ (เท่านั้น)" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 47)

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดอยุ่้ร่วมติดตามญะนาซะฮฺ จนเขาถูกละหมาดให้ เขาจะได้หนึ่งกีร็อฏ และผู้ใดอยู่ร่วมกับญะนาซะฮฺจนเขาถูกฝัง เขาจะได้สองกีรอฏ เศาะหะบะฮฺบางท่านได้กล่าวว่า "กีรอฏคืออะไรหรือ ?" ท่านนบีกล่าวตอบว่า "เหมือนภูเขามหึมาสองลูก" (บันทึุกโดยมุสลิม หมายเลข 945"

******************
(1) นอกจากการละหมาดฟัรฎูที่ต้องละหมาดเป็นญะมาอะฮฺที่มัสญิด
(2) ผู้ที่รักของอัลลอฮฺ
(3) ตัสบีหฺ คือ การกล่าว "สุบหานัลลอฮฺ" มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ
(4) ตะหฺมีด คือ การกล่าว "อัลฮัมดุลิลลาอฺ" การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
(5) ตักบีรฺ คือ การกล่าว "อัลลอฮุอักบัรฺ" อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด
(6) เฉพาะบาปเล็กเท่านั้นที่จะถูกลบล้าง และไม่ใช่ความผิดที่เกี่ยวข้องกับลูกหลานอาดัม ที่ต้องให้เขายกโทษให้เสียก่อน ส่วนบาปใหญ่นั้นมีเงื่อนไขสำคัญคือ การเตาบัตตัว
(7) ศพผู้ตาย
.........................................................
อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะคุลฮัก : เรียบเรียง
(จากหนังสือ : เศาะฮีหฺ คุณค่าของอามั๊ล)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพส




ความสำคัญของการ "ละหมาดตรงต่อเวลา" สมัยซอฮาบะห์




ความสำคัญของการ "ละหมาดตรงต่อเวลา" สมัยซอฮาบะห์

ได้ยินเสียงอาซาน ทำให้นึกถึงเรื่องราวหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยซอฮาบะห์

โดยในขณะนั้นบรรดาซอฮาบะห์กำลังทำงานก่อสร้างและเหลือการต่อเติมอิฐอีกก้อนเดียว... แต่เมื่อเสียงอาซานได้ดังขึ้น เขาก็หยุดการทำงานทันที

ซอฮาบะห์ท่านหนึ่งได้ถามซอฮาบะห์ท่านนั้นว่า

“ทำไมท่านไม่ทำก่ออิฐให้เสร็จอีกก้อนนึง หรือท่านกลัวไม่ทันละหมาด
ญามาอะห์หรือ?”

ซอฮาบะห์ท่านั้นก็ได้ยิ้มและกล่าวว่า

“ฉันเกรงว่า หากฉันก่ออิฐก้อนนั้นอีกก้อนเดียว จะเท่ากับว่าฉันให้ความสำคัญต่ออิฐก้อนนั้นมากกว่าพระเจ้าของฉัน”

......หากเราเสียสละเวลาเพื่อละหมาดให้ตรงเวลาไม่ได้
แล้วเราจะเสียสละอย่างอื่นเพื่ออิสลามได้อย่างไร......


معروف حاج قاسم

อับดุลรอมาน หะระตี โพส



ริสกีของคนจนนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกหักห้ามจากฟากฟ้า



มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง มีชื่อว่า ฟิโอเรลโล่ ลาการ์เดีย

.

เป็นผู้พิพากษาในรัฐนิวยอร์ก ท่านเป็นคนที่มีชื่อเสียงในการตัดสินคดีที่เป็นธรรมและมีความเป็นมนุษยธรรมมากที่สุด

อยู่มาวันหนึ่ง มีคดีของคนชราได้ขโมยขนมปังที่ร้านแห่งหนึ่ง ชายชราคนนั้นก็ได้สารภาพว่าเขาได้ขโมยจริง พร้อมด้วยเหตุผลว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขโมย เพราะต้องประทังชีวิตไว้จากความหิวโหย และตัวเขาก็ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะจ่ายให้แก่เจ้าของร้านได้เลย

ผู้พิพากษาก็พูดว่า : งั้นก็แสดงว่า คุณได้ขโมยขนมปังจริง ๆ ฉันจะตัดสินคุณด้วยค่าปรับ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ

คำตัดสินดังกล่าว ได้ทำให้ผู้ฟังต้องตกใจและงวนงงในคำตัดสินนั้น และที่ต้องตกใจไปมากกว่านั้น ท่านผู้พิพากษาได้ควักเงิน 10 ดอลลาร์ในกระเป๋าตัวเอง แล้วหยอดลงในกล่องสี่เหลี่ยม

แล้วท่านก็พูดออกมาว่า : จำนวนเงิน 10 ดอลลาร์นี้ มันไม่เพียงพอสำหรับชายชราคนนี้ พวกคุณทั้งหลายต้องจ่ายคนละ 10 ดอลลาร์ ก็เพราะว่าพวกคุณเป็นคนในพื้นที่ ที่ได้ทำให้ชายชราคนนี้ต้องยากจนและขัดสน และเป็นเหตุที่เขาจำเป็นต้องขโมยขนมปังเพื่อประทังชีวิต

แล้วท่านก็ถอดหมวกของท่าน แล้วให้เจ้าหน้าที่ (ตำรวจ) ถือหมวกของท่าน แล้วเดินขอเงินคนละ 10 ดอลลาร์ และเงินจำนวนนี้ถือว่าเป็นการปรับ จำนวนเงินทั้งหมดที่ได้มา ท่านผู้พิพากษายื่นให้แก่ชายชราผู้ยากจนคนนั้น พร้อมด้วยคำขอโทษ ที่ได้ปล่อยให้เกิดการขโมยขึ้นมา

ผู้ประพันธ์บทกลอนอาหรับได้กล่าวว่า : ริสกีของคนจนนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกหักห้ามจากฟากฟ้า หากแต่ว่าในโลกดุนยา ล้วนมาจากความอธรรมของผู้คนทั้งหลาย

และเชคอัชชะอฺรอวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : เมื่อคุณได้พบเห็นคนจน อยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบบอิสลาม พึงให้รู้ไว้เถิดว่า ที่นั่น มีคนรวยได้ขโมยทรัพย์สินของพวกเขาไป

.
.....................................................
บทความดี ๆ จากเพจ : قصص وعبر
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กฎเกณฑ์สูตรปฏิบัติของผู้ที่นิยมกล่าวคำเหนียต



ผู้ที่นิยมกล่าวคำเหนียต หรืออุศ็อลลี ต่างได้วางระเบียบ และกฎเกณฑ์ของการกระทำ จนกระทั่งจัดทำเป็นสูตรปฏิบัติ ซึ่งได้ระบุถไว้ในหนังสือ "มัจมูอุ้ลอะอ์มาล" ว่า

"การละหมาด ถ้าละหมาดคนเดียว ใส่อ้าดาอัน หลักร่อก้าอาติน ถ้าเป็นอิมามหรือมะมูม ก็ใส่อิมามัน หรือมะมูมัน หลังร่อก้าอาติน  ถ้าเป็นละหมาด ก็ฎอ (ชดใช้) ก็ใส่ก็ฎออัน หลังร่อก้าอ้าติน"

การวางระเบียบปฏิบัติเช่นนี้กลายเป็นบัญญัติเสริมในการละหมาดที่ไม่อาจปฏิเสธได้

และผู้นิยมกล่าวคำเหนียต ยังได้วางกฎเกณฑ์ของเหนียตไว้ว่า ต้องมี กอศ็อด, และตะอ์ยีน แล้วนำมากล่าวเป็นถ่อยคำ ซึ่งมันก็คือตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเหนียต ที่ถูกเรียก "อุศ็อลี" โดยมีองค์ประกอบดังนี้

กอศ็อด คือการมุ่งหรือตั้งเจตนา เป็นที่มาของคำกล่าวว่า "อุศ็อลลี"

ตะอ์ร๊อต หรือ ตะอัดรุ๊ด คือการระบถว่าละหมาดที่ทำเป็นฟัรฎูหรือสุนนะฮฺ

ตะอ์ยีน คือการเจาะจงว่าเป็นละหมาดอะไร เวลาไหน

กฎเกณฑ์ดังกล่าว เป็นที่มาของการเรียบเรียงถ้อยคำเหนียต

กฎเหณฑ์เหล่านี้ เป็นเงื่อนไขที่ไม่มีที่มาหรือวางไว้จากอัลกุรอาน และคำสอนของรสูล หรือบรรดาชนสลัฟ เว้นแต่หลักฐานการเหนียต ที่ว่า "ทุกการงานขึ้นอยู่กับการเหนียตหรือเจตนา"

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ทำไมหรือบรรดาผู้คนถึงได้วางเงื่อนไขหลากหลาย ที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ  ผู้ใดที่วางเงื่อนไขใดๆ ทีไม่มีในคัมภีร์ของอัลลออ์ มันโมฆะ ถึงแม้ว่าจะวางไว้สักร้อยเงื่อนไขก็ตาม เงื่อนไขของอัลลอ์สมควรกว่าและมั่นคงกว่า" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 2010 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ทุกเงื่อนไขทีไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง มันไม่ถุกตอบรับ ถึงแม้พวกเขาจะวางเงื่อนไขสักร้อยครั้งก็ตาม" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด เลขทีี่ 24339)


والله أعلم بالصواب



ลักษณะของชาวสวรรค์



ตามหลักฐาน ชาวสวรรค์ จะมีลักษณะรูปร่างสูง โดยจะมีรูปร่างและรูปแบบที่สมบูรณ์สวยงามอย่างนบีอาดัม คือสูง 60 ศอก หรือประมาณ  30 เมตร อายุราว 30 ปี ทุกคนจะดูเหมือนกัน จะเป็นหนุ่มสาวตลอดไป ไม่มีผม ไม่มีเครา พวกเขาจะมีแสงสว่างสดใส ไม่ต้องตอบสนองความต้องการของธรรมชาติแต่อย่างใด

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"อัลลอฮฺได้ทรงสร้างอาดัมในรูปร่าง และรูปแบบที่สมบูรณ์ สูง 60 ศอก (ประมาณ 30 เมตร) ใครก็ตามที่เข้าสวรรค์จะมีรูปร่างและรูปแบบอาดัม ต่อจากนั้นมา การสร้างลูกหลานของอาดัมจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 8.346)

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ  (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"กลุ่มแรกของมนุษย์ที่จะได้เข้าสวรรค์ จะสว่างสดใสเหมือนกับดวงจันเพ็ญ และกลุ่มที่ตามมาก็จะใสสว่างเหมือนกับดวงดาวที่ใสสว่างที่สุดในท้องฟ้า พวกเขาไม่ต้องตอบสนองความต้องการของธรรมชาติ ไม่ต้องถุยน้ำลาย หรือมีน้ำมูกไหลใดๆ ทั้งสิ้น หวีของพวกเขาจะเป็นทองคำ และเหงื่อของพวกเขาจะมีกลิ่นหอมของชะมดเชียง ไม้กฤษจะถูกในตรงกลางของพวกเขา ภรรยาของพวกเขาคือสาวสวรรค์ พวกเขาทั้งหมดจะดูเหหมือนกัน และจะสูง 60 ศอกเหมือนกับอาดัมผู้เป็นบิดาของพวกเขา" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 4.544)

รายงานจากท่านมุอาซ บินญะบัล  (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ชาวสวรรค์จะได้เข้าสวรรค์โดยไม่มีผม ไม่มีเครา (กล่าวคือไม่มีความจำเป็นต้องโกน) ขอบตาของพวกเขาจะถุกทาด้วยสารทาตาสีดำ อายุของพวกเขาประมาณ 30 หรือ 33 ปี" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรมีซีย์)

รายงานจากท่านอบูสะอีีด  (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"คนที่จะได้เข้าสวรรค์ ไม่ว่าจะเสียชีวิตในวัยหนุ่มหรือแก่ ก็จะมายังสวรรค์ในอายุราว 30 ปี และจะไม่แก่ เช่นเดียวกับผู้ที่จะเข้านรก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรมีซีย์)



والله أعلم بالصواب









มหัสจรรย์ตัวเลขในอัลกุรอาน



นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอัลกุรอานและได้ค้นพบข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ อันน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ใจอย่างมากมายและจากการค้นพบอีกอย่างหนึ่งจากโองการต่างๆ

ในคัมภีร์อัล-กุรอานนั้นพบ
ว่ามีการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นคู่กัน หรือตรงข้ามกัน ในจำนวนที่เท่ากัน เช่น กล่าวถึงคำว่า ผู้ชาย เท่ากับการกล่าว
ถึงคำว่าผู้หญิง

จากการวิเคราะห์โองการต่างๆ ของอัล-กุรอาน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าลักษณะเช่นนี้มีอยู่ตลอดทั้งเล่มของอัล-กุรอาน ต่อไปนี้คือจำนวนครั้งอันน่าทึ่งในการกล่าวถึงคำหนึ่งๆที่คู่หรือตรงข้ามกันในคัมภีร์อัล-กุรอาน

ดุนยา (โลกแห่งการมีชีวิตนี้) 115 ครั้ง ......... อาคีเราะฮ์ (ปรโลก) 115 ครั้ง

มะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) 88 ครั้ง = ชัยฏอน (มารร้าย) 88 ครั้ง

ชีวิต 145 ครั้ง =
ความตาย 145 ครั้ง

ผลประโยชน์ 50 ครั้ง = ความเสียหาย 50 ครั้ง

ประชาชาติ 50 ครั้ง =ศาสนทูต 50 ครั้ง

อิบลีส (หัวหน้ามารร้าย) 11 ครั้ง = ขอความคุ้มครองให้พ้นจากอิบลีส 11 ครั้ง

มุซีบะฮ์(ภัยพิบัติ) 75 ครั้ง = ขอบคุณ 75 ครั้ง

การให้ทาน 73 ครั้ง = ความอิ่มเอิบใจ 73 ครั้ง

ผู้หลงผิด 17 ครั้ง = คนตาย 17 ครั้ง

มุสลิมีน 41 ครั้ง = การญิฮาด(ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) 41 ครั้ง

ทอง 8 ครั้ง = ชีวิตที่ง่ายดาย 8 ครั้ง

ซะกาต (ภาษีที่มุสลิมจ่ายให้คนยากจน) 32 ครั้ง = บะรอกัต(สิริมงคล)32ครั้ง

จิตใจ 49 ครั้ง = รัศมี 49 ครั้ง

ลิ้น 25 ครั้ง = การเทศนาธรรม 25 ครั้ง

ความปรารถนา 8 ครั้ง = ความกลัว 8 ครั้ง

พูดต่อสาธารณะ 18 ครั้ง = การเผยแพร่ 18 ครั้ง

ความยากลำบาก 114 ครั้ง =
ความอดทน 114 ครั้ง

มุฮัมมัด 4 ครั้ง =ชะรีอะฮ์ (คำสอนของมุฮัมมัด) 4 ครั้ง

ผู้ชาย 24 ครั้ง = ผู้หญิง 24 ครั้ง

เพียงความมหัศจรรย์ทางตัวเลขด้านไวยากรณ์ก็น่าทึ่งเพียงพออยู่แล้ว ลองมาดูความมหัศจรรย์ของตัวเลขในอัลกุรอานทางด้านวิทยาศาสตร์ดูบ้าง

เดือน 12 ครั้ง, วัน 365 ครั้ง,
ซอลาต (การนมาซ) 5 ครั้ง

ทะเล 32, แผ่นดิน 13
ทะเล + แผ่นดิน = 32+13= 45
ทะเล = 32 ÷ 45x100=71.11111111% แผ่นดิน = 13 ÷ 45x100 = 28.88888889%

ทะเล + แผ่นดิน =100.00%

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพิ่งจะค้นพบความจริงแล้วว่า พื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ 71.111% ในขณะที่ปกคลุมด้วยแผ่นดิน 28.889%

ข้อเท็จจริงนี้เป็นเรื่องบังเอิญกระนั้นหรือ?

ใครสอนเรื่องเหล่านี้ให้แก่ศาสดามุฮัมมัด(ศ.)?

คำตอบจะเกิดขึ้นในใจทันที อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้นที่สอนท่านดังที่อัลกุรอานได้บอกกับเราด้วยว่า

"...ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย" (อัล-กุรอาน 21 : 87)

........................................................................................
credit : การศึกษาหาความรู้ เป็นฟัรฎูสำหรับมุสลิมทุกคน
แวนิต้า โรส โพส


นิกะฮ์ เป้าหมายของการแต่งงานในอิสลาม





ในอิสลาม การแต่งงานนั้นไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นการระบายอารมณ์ใคร่และตัณหาของแต่ละคน อิสลามได้วางเป้าหมายการแต่งงานไว้อย่างชัดเจน เพื่อความผาสุกของชีวิตคู่สามีภรรยาและชีวิตครอบครัว ตลอดจนสังคมรอบข้าง ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นั่นคือ

1. เพื่อน้อมรับคำสั่งของอัลลอฮฺที่ได้สั่งให้บ่าวของพระองค์ทำการแต่งงาน

2. เพื่อปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม และแบบอย่างของบรรดานบีก่อนหน้าท่าน

อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

ความว่า “แท้จริง ในตัวของท่านรสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม นั้น มีแบบอย่างที่ดีงามสำหรับสูเจ้า” (สูเราะฮฺ อัลอะหฺซาบ 33 : 21)

ในหะดีษบทหนึ่งมีว่า ความว่า “...แต่ (สุนนะฮฺหรือแนวทางของฉันคือเช่นที่) ฉันถือศีลอดและฉันละมัน ฉันลุกขึ้นละหมาด (ยามค่ำคืน) และฉันนอน ฉันกินเนื้อสัตว์และฉันแต่งงานกับสตรี

ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ชอบหรือต่อต้านสุนนะฮฺของฉัน แสดงว่าเขาไม่ได้อยู่ในหมู่ประชาชาติของฉัน”

(มุตตะฟักอะลัยฮฺ อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5063 มุสลิม หมายเลข 1401 )

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

ความว่า “และแท้จริงเราได้ส่งบรรดารสูลมาก่อนหน้าเจ้า และเราได้ให้พวกเขามีภรรยาและลูกหลาน” (สูเราะฮฺ อัรฺเราะอฺดุ 13 : 38 )

3. เพื่อแสวงหาความสงบสุขและรักใคร่ซึ่งกันและกัน

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

ความว่า “และหนึ่งในสัญญาณ (ที่แสดงถึงเดชานุภาพ และความเมตตา) ของอัลลอฮฺ คือ พระองค์ทรงสร้างคู่ครอง (ภรรยา) สำหรับพวกเจ้าจากตัวของเจ้าเอง

เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และพระองค์ทรงทำให้มีความรักใคร่และเมตตาระหว่างพวกเจ้า (สามีภรรยา)

แท้จริงในการนี้ย่อมเป็นสัญญาณต่าง ๆ (ที่ทำให้เกิดความสำนึก) แก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” (สูเราะฮฺ อัรฺรูม 30 : 21)

4. เพื่อปกป้องตนเองจากการทำบาป

ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้เป็นหนุ่มทั้งหลาย ! ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ามีความสามารถที่จะเลี้ยงดู (ภรรยา) ก็จงแต่งงานเสีย

เพราะแท้จริง (การแต่งงานนั้น) จะยิ่งทำให้สายตาของพวกเจ้าลดต่ำลง และทำให้พวกเจ้าสามารถสงวนอวัยวะเพศ

และผู้ใดที่ไม่มีความสามารถก็จงถือศีลอดเสีย เพราะแท้จริงการถือศีลอดนั้นจะทำให้ลดอารมณ์และตัณหาลงได้”

(มุตตะฟัก อลัยฮฺ อัลบุคอรีย์ หมายเลข 5065 มุสลิม หมายเลข 1400)

5. เพื่อให้กำเนิดผู้สืบทอดวงศ์ตระกูล

ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

ความว่า “จงแต่งงานกับสตรีที่พึงพอใจเจ้า และสตรีที่สามารถมีบุตรมาก เพราะแท้จริงฉันจะภาคภูมิใจกับ (จำนวนอันมากมายของ) พวกเจ้าต่อหน้าประชาชาติอื่นในวันปรโลกข้างหน้า”

( สุนัน อบีดาวูด หมายเลข 3050 สุนัน อันนะสาอีย์ หมายเลข 3227 )

6. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหนทางของอัลลอฮฺ

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

ความว่า “และบรรดาผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขา ต่างเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางส่วน” (สุเราะฮฺ อัตเตาบะฮฺ 9 : 71 )

เหล่านี้คือเป้าหมายหลักของการแต่งงานในอิสลาม


...........................................................
ขอบคุณข้อมูลจาก : islammore.com

บ่าวคนเล็กของอัลลอฮฺ โพส

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โต๊ะกีแซะฮฺวลีย์แห่งชัยฏอน



อัล-กะรอมะฮฺ หมายถึงสิ่งหนึ่งที่อาจมีอยู่เหนือกฏธรรมชาติ แต่มิได้มีขึ้นเพื่อการท้าทาย หรืออวดอ้างตนเป็นผู้วิเศษเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงให้มีขึ้นกับเฉพาะบ่าวของพระองค์ที่ศอและห์และเคร่งครัดในหลักการศาสนา ทั้งนี้เพื่อการให้เกียรติต่อเขา อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับบุคคลที่ดีมากมายครั้งในอดีต ดั่งที่ถูกระบุในสูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟี หรือบุคคลในยุคเศาะหาบะฮฺ และตาบิอีน อย่างที่เกิดกับท่านอุมัร บินอัล-ค็อฏฏ็อบ(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา) ซึ่งสามารถมองเห็นกองทัพศัตรูในต่างเมืองขณะที่คุฏบะฮฺอยู่บนมิมบัร, เหตุการณ์ที่บรรดามะลาอีกะฮฺนั้นมาให้สลามแก่อิบรอน อิบนุ หุศอยน์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ท่่านซัลมานอัลฟาริซีย์ และอะบุ๊ดดัรดาอ์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา) กำลังกินอาหารในจาน จานหรืออาหารที่อยู่ในจานนั้นก็ได้ทำการตัสบี้ห์สดุดีพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา เป็นต้น

ดังดั้น "กะรอมาต" เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงให้แก่บรรดาบ่าวที่ศอและห์ บรรดาวะลี หรือเอาลิยาอฺของอัลลอฮฺ ซึ่งยึดยึดมั่นอยู่ในอัล-กิตาบุลลอฮฺและอัส-สุนนะฮฺ


พระองคือัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

أَلَا إِنَّ أَوْلِيَاءَ اللَّهِ لَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ ( 62 )

"พึงทราบเถิด ! แท้จริง บรรดาคนที่อัลลอฮ์รักนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขาและพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจ"

الَّذِينَ آمَنُوا وَكَانُوا يَتَّقُونَ ( 63 )

"คือบรรดาผู้ศรัทธา และพวกเขามีความยำเกรง"

لَهُمُ الْبُشْرَىٰ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الْآخِرَةِ لَا تَبْدِيلَ لِكَلِمَاتِ اللَّهِ ذَٰلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ ( 64 )

"สำหรับพวกเขาจะได้รับข่าวดี ในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลิขิตของอัลลอฮ์ นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺยูนุส 10:62)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"สัญญาณแห่งการเป็นนบีไม่คงเหลืออยู่อีกแล้ว เว้นแต่การแจ้งข่าวดี เหล่าเศาะฮาบะฮฺถามว่า : การแจ้งข่าวดีหมายถึงอะไรเล่า? ท่านตอบว่า : คือความฝันที่ดี" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์


อิสลามมีหลักทางศาสนาที่ชัดเจนเกี่ยวกับเชื่อถือต่อ "กะรอมัต" อยู่ กล่าวคือ มิได้หมายความว่าสิ่งที่คิดว่ามหัศจรรย์ หรือแปลกเหนือธรรมดาทุกอย่างนั้นคือ "กะรอมาต" เสมอไป ซึ่งการเชื่อเช่นนั้นบางที่อาจเป็นการนำพาสู่การเกินเลย หรือเปิดทางให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในศาสนา ไม่ว่าเวทมนต์ของมารร้าย ชัย และพวกดัจญาล ปะปนจนกลายเป็นเรื่องเดียวกันได้
ระหว่าง "กะรอมาต" กับเวทมนต์ นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

กะรอมาต คือสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฏออะฮิต่ออัลลอฮฺ และเป็นคุณลักษณะเฉพาะบรรดาผู้ที่เคร่งครัดอยู่ในหลักการเท่านั้น

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

 وَمَا كَانُوا أَوْلِيَاءَهُ إِنْ أَوْلِيَاؤُهُ إِلَّا الْمُتَّقُونَ( 34 )

 "และพวกเขาก็มิใช่บรรดาบุคคลที่รักพระองค์(วะลียุลลอฮฺ)ไม่ แท้จริงบุคคลที่รัก(วะลี)ของพระองค์มิใช่อื่นใด นอกจากบรรดาผู้ยำเกรง(มุตตากีน)เท่านั้น..." (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัล-อันฟาล  8: 34)


ส่วนเวทมนมนต์ คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากงานที่เป็นการปฏิเสธ และสิ่งชั่วช้าหรือการฝ่าฝืน(มุอฺศียะฮฺ)

อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ยอมรับว่ามีสิ่งที่เป็นเวทมนต์ และนักมายากลอยู่ในโลก แต่ทั้งนี้พวกเขาถือว่าสิ่งนั้นไม่อาจทำอันตรายแก่บุคคลใดได้ นอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

 وَإِنَّ الشَّيَاطِينَ لَيُوحُونَ إِلَىٰ أَوْلِيَائِهِمْ لِيُجَادِلُوكُمْ وَإِنْ أَطَعْتُمُوهُمْ إِنَّكُمْ لَمُشْرِكُونَ ( 121 )

"และแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหาย ของมัน เพื่อพวกเขา จะได้โต้เถียงกับพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังพวกเขา แน่นอนพวกเจ้าก็เป็นผู้ให้มีภาคีขึ้น" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม  6:121)


 وَلَٰكِنَّ الشَّيَاطِينَ كَفَرُوا يُعَلِّمُونَ النَّاسَ السِّحْرَ

 "แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธา โดยสอนประชาชนซึ่งวิชาไสยศาสตร์"

 وَمَا هُم بِضَارِّينَ بِهِ مِنْ أَحَدٍ إِلَّا بِإِذْنِ اللَّهِ وَيَتَعَلَّمُونَ مَا يَضُرُّهُمْ وَلَا يَنفَعُهُمْ ( 102 )
 และพวกเขาไม่อาจทำให้สิ่งนั้นเป็นอันตรายแก่ผู้ใดได้ นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น และพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นโทษแก่พวกเขา และมิใช่เป็นคุณแก่พวกเขา  (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮ 2:102)


และแน่นอน โตีะกีแซะ ที่มุสลิมบางคน หรือบางกลุ่มนับถือกราบไหว้บูชา มันคือวลีย์(ผู้เป็นที่รัก)ของชัยฏอน  ที่ทำให้พวกเขาหลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ปรุ่งแต่งความชั่วให้เป็นความชอบธรรมแก่พวกเขา นำเอาสิ่งที่เป็นเท็จมาบอกพวกเขา แล้วทำให้พวกเขาหูหนวก ไม่มีโอกาสได้รับฟังความจริง ทำให้ตาของพวกเขาบอด ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ พวกเขานัเนจึงเป็นผู้รับใช้แก่มัน เชื่อฟังคำสั่งต่างๆของมัน  และนำความชั่วช้ามาหลอกหลวงพวกเขา และชักจูงพวกเขาไปสู่ความเสื่อมเสีย จนมันได้นำความชั่วช้ามาปรุ้งแต่งให้เกิดความสวยงามแก่พวกเขา แล้วพวกเขาเห็นดีเห็นงามไปด้วย และได้นำเอาความดีมาทำให้เป็นสิ่งที่ชั่วช้าน่าเกลียด แล้วพวกเขาก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่ชั่วช้าน่าเกลียดไปด้วย

 สิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาที่พวกเขาได้วอนขอกับมัน หรือมันทำให้เกิดสิ่งที่มหัศจรรย์เหนือธรรมชาติใที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ให้พวกเขาได้เห็น นั้นไม่ใช่ "กะรอมาต" ที่อัลลอฮฺทรงให้มีขึ้นกับเฉพาะบ่าวของพระองค์ที่ศอและห์และเคร่งครัดในหลักการศาสนาแต่อย่างใด แต่มันเป็นการหลอกหลวง เป็นเวทมนต์ หรือมายากลที่เป็นผลงานของมารร้ายชัยฏอน มันไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากการปล่อยให้มีการหลงจากอัลลอฮฺแก่ผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระองค์ หรือการช่วยเหลือจากชัยฏอน แก่ผู้เป็นวลีย์ของมัน

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า


 وَالَّذِينَ كَفَرُوا أَوْلِيَاؤُهُمُ الطَّاغُوتُ يُخْرِجُونَهُم مِّنَ النُّورِ إِلَى الظُّلُمَاتِ أُولَٰئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ ( 257 )

 "และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น บรรดาผู้ช่วยเหลือของพวกเขาก็คือ อัฎ-ฎอฆูต(พวกหัวหน้ามารร้าย) โดยที่พวกมันจะนำพวกเขาออกจากแสงสว่างไปสู่ความมืด ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรก โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮ  2:257)


 وَإِنَّ الشَّيَاطِينَ لَيُوحُونَ إِلَىٰ أَوْلِيَائِهِمْ لِيُجَادِلُوكُمْ وَإِنْ أَطَعْتُمُوهُمْ إِنَّكُمْ لَمُشْرِكُونَ ( 121 )

"และแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหาย ของมัน เพื่อพวกเขา จะได้โต้เถียงกับพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังพวกเขา แน่นอนพวกเจ้าก็เป็นผู้ให้มีภาคีขึ้น" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม  6:121)

และผู้ใดวอนขอ ขอความอนุเคราะห์ บนบานจากโต๊ะกีแซะฮฺ หรือได้ผินเอาโต๊ะกีแซะฮฺที่เคารพบูชา ถือเป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺแล้ว ถึงแม้เขาจะอ้างว่าเป็นเพียงตะวัสสุ้ล การนำโต๊ะกีแซะเป็นสื่อกลางเพื่อเข้าใกล้ชิดกับอัลลอฮฺตะอาลาก็ตาม

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

وَلاَ تَدْعُ مِن دُونِ اللّهِ مَا لاَ يَنفَعُكَ وَلاَ يَضُرُّكَ فَإِن فَعَلْتَ فَإِنَّكَ إِذًا مِّنَ الظَّالِمِينَ

"และเจ้าอย่าวิงวอนสิ่งใดอื่นจากอัลลอฮ์ที่ไม่อำนวยประโยชน์แก่เจ้า และไม่ให้โทษแก่เจ้า หากเจ้ากระทำเช่นนั้น แท้จริงเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้อธรรม" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺยูนุส :106)


إِنَّ الْإِنسَانَ لِرَبِّهِ لَكَنُودٌ

"แท้จริงงมนุษย์เป็นผู้เนรคุณต่อพระเจ้าของเขา" (อัลกุรอาน สุเราะฮอัล-อาดิยาต : 6)

และผู้ใดยังวอนขอจากโต๊ะกีแซะ และไม่เตาบัตกลับเนื้อกลับใจยังพระองค์อัลลอฮฺ ก็จงระวังโทษอันใหญ่หลวงจากพระองค์

ท่านรสูุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ผู้ใดตายไปในขณะที่เขาอ้อนวอนแด่อัลลอฮฺ ซึ่งเทียบเคียงคนหนึ่งคนใด เขาจะได้เข้านรก" ผบันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)


والله أعلم بالصواب



 










พวกเขาเชื่อว่า  ใครได้ไปช่วยหามหรือได้แตะสัมผัส #ไม้โบราณหรือไม้แห่งชีริก# จะได้รับริสกีบารากัตจากโต๊ะกีแซะ