อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วีรบุรุษของท่าน คือใคร ?


.
มีผู้ชายคนหนึ่ง ที่ผู้เป็นพ่อของเขาได้จากเขาไปตั้งแต่เขาอยู่ในครรภ์ของมารดา
และแล้วมารดาของเขาก็ได้จากเขาไปเมื่อเขาอายุได้หกขวบ
เขาก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับคุณปู่ของเขา จนกระทั่งคุณปู่ของเขาได้จากเขาไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ
แล้วเขาก็ได้มาอาศัยอยู่กับคุณลุงของเขา และเริ่มใช้ชีวิตคู่ แต่ก็ไม่นานนัก คู่ชีวิตของเขาก็ได้จากเขาไป และคุณลุงของเขาก็ได้จากเขาไปในปีเดียวกันกับคู่ชีวิตของเขา
ลูกชายของเขาทั้งสองคนที่ได้จากเขาไปนั้น อายุของพวกเขายังไม่ถึงสองขวบเลย และลูกสาวของเขาก็ได้จากเขาทั้งหมดไป ยกเว้นฟาฏิมะฮฺ
หัมซะฮฺ คนที่เป็นคุณลุงของเขานั้นก็ถูกฆ่าตาย มิหนำซ้ำศพก็ยังถูกแทงด้วยของมีคมและถูกชำแหละ และตับก็ถูกควักออกมากิน
เขาถูกขับไล่จากเมืองฏออิฟ และถูกตามจากพวกเด็ก ๆ ที่คอยต่อว่า และขว้างปาด้วยก้อนหิน แล้วเขาก็ให้อภัยแก่ชาวเมืองฏออิฟทั้งหลาย
ในสงครามอุหุด ฟันของเขาได้หักไปหลายซี่ แล้วเลือดก็หลั่งไหลออกมาจากใบหน้าของเขา
เวลาที่เขาสุญูด มีผู้คนได้นำสิ่งสกปรกโสโครกมาวางที่หัวของเขา ทั้ง ๆ ที่เขากำลังก้มสูญูดอยู่ และเขาก็ยังคงสูญูดต่อไป โดยที่ไม่ได้ยกหัวของเขาขึ้นเลย แล้วเขาก็ยังให้อภัยกับการกระทำของพวกเขาทั้งหลาย
พวกเขาดึงพาสาระบั่นของเขา แล้วเอามาพันที่คอของเขาแล้วดึงให้แน่นจนเขาหายใจไม่ออก แล้วเขาก็ยังให้อภัยแก่พวกเขา
พวกเขาได้วางหนามและเศษขยะบนทางเดินของเขา แล้วเขาก็ยังให้อภัยแก่พวกเขาทั้งหลาย
ตัวของเขาถูกใส่ด้วยของมีคมและเป็นพิษ (ไสยศาสตร์) และยังถูกขับไล่ออกจากเมืองของเขา แล้วเขาก็ยังให้อภัยแก่พวกเขาทั้งหลาย
และหลังจากทั้งหมดที่เขาถูกกระทำมาด้วยสิ่งที่ไม่ดีนี้ เขาก็ได้ยืนละหมาดในยามค่ำคืน จนกระทั่งขาทั้งสองข้างของเขานั้นบวม แล้วเขาก็ถูกถามว่า : ท่านได้กระทำมาแบบนี้เพื่ออะไร ?
เขาก็ได้ตอบไปว่า : จะให้ฉันเป็นบ่าวที่คอยขอบคุณต่ออัลลอฮฺมิได้หรือ ?


.
บทความดี ๆ โดย : قصص وعبر
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


เจ็ดอย่างที่มีค่า ที่คนเรามักทำให้มันนั้นไร้ค่า




.
1. ความรู้ ที่คนเราไม่นำมาปฏิบัติ
2. การปฏิบัติ ที่คนเรามักไม่มีความอิคลาศ (บริสุทธิ์ใจ)
3. ทรัพย์สิน ที่คนเราใช้ไปโดยไม่เคยบริจาคทาน (เศาะดะเกาะฮ์)
4. เวลา ที่คนเราใช้มันไปอย่างไร้ค่า
5. ความคิด ที่คนเราใช้สมองอย่างไม่มีสติและปัญญา
6. เพื่อนพ้อง ที่คนเรามีแต่ไม่เคยชักจูงเราไปสู่ความชิดใกล้ต่ออัลลอฮฺเลย
7. และความหวั่นกลัวของคุณ จากคนที่ไม่นำมาซึ่งประโยชน์และโทษใด ๆ ให้แก่คุณเลย
.



ข้อความดี ๆ โดย : الصفحة الرسمية للشيخ د. محمد العريفي
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



สามอะมาล จะไม่ถูกนำมาชั่งในวันกิยามะฮฺ



3 อะมาล จะไม่ถูกนำมาชั่งในวันกิยามะฮฺ เป็นเพราะค่าของมันยิ่งใหญ่เกินกว่าจะนำมาชั่ง

1) ความอดทน
อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : แท้จริงบรรดาผู้อดทนนั้นจะได้รับการตอบแทนรางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องคำนวณ (ซูเราะฮฺ อัซ ซุมัร : 10)

2) ถือศีลอด
ในหะดีษเศาะหีหฺบุคอรียฺ ท่านนบีศ็อลฯ ได้กล่าวว่า : ทุก ๆ การงานของลูกหลานอาดัมทุกคนเจาะจงสำหรับเขาเอง ยกเว้นการถือศีลอด จะเจาะจงสำหรับข้า และข้าจะตอบแทนเอง”

3) ให้อภัยแก่ผู้คน
อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : แต่ผู้ใดอภัย และไกล่เกลี่ยคืนดีกัน รางวัลตอบแทนของเขาอยู่ที่อัลลอฮฺ (ซูเราะฮฺ อัช ชูรอ : 40)

ในวันกิยามะฮฺ จะมีผู้ที่ตะโกนเรียกว่า : ผู้คนที่อัลลอฮฺทรงตอบแทนอยู่ที่ใด ?

คนที่จะขานตอบรับในวันนั้น คือ บรรดาผู้ที่อดทน บรรดาผู้ที่ถือศีลอด และบรรดาผู้ที่ให้อภัยแก่ผู้คน

.
ข้อความดี ๆ โดย : Mohamed Alaa El Dein
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


จงมอบความสุขให้แก่คนที่มีความทุกข์



มีเศรษฐีชาวซาอุดีอาราเบียคนหนึ่ง มีนามว่า สุไลมาน อัร รอญิฮีย์ ได้เล่าว่า :
.
เมื่อก่อนผมเป็นคนหนึ่งที่ยากจนมาก ๆ ถึงขั้นไม่มีเงินไปเที่ยว (ทัศนศึกษา) ที่ทางโรงเรียนได้จัดเที่ยว การเก็บเงินไปเที่ยวในตอนนั้นเพียงแค่หนึ่งริยาลเท่านั้น แต่สถานะครอบครัวที่บ้านไม่มีเงินจำนวนนั้นให้แก่ผมได้เลย เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่อยากจะมีความสุขในการไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ แต่ก็ไม่สามารถที่จะไปเที่ยวได้ ในตอนนั้น ผมรู้สึกเสียใจที่สุด ผมได้แต่ร้องห่มร้องไห้ แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น
ในห้องเรียน มีครูชาวปาเลสไตน์คนหนึ่งได้ถามคำถามหนึ่ง ซึ่งผมเป็นคนที่ตอบคำถามนั้นได้ ครูคนนั้นก็ได้มอบของขวัญให้ เป็นเงินจำนวนหนึ่งริยาล พร้อมกับการปรบมือของเพื่อน ๆ ในห้องเรียน
หลังจากนั้นผมก็ไม่ลังเลใจในการใช้เงินที่ครูได้มอบให้ โดยการใช้จ่ายไปร่วมทัศนศึกษากับเพื่อน ๆ ได้ในที่สุด ในตอนนั้น มันทำให้ผมดีใจที่สุดในชีวิต ที่ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ผมได้แต่ร้องห่มร้องไห้ ความสุขในวันนี้ มันสามารถลบความเศร้าในอดีตของผมได้ และการไปเที่ยวในวันนั้นมันทำให้ผมมีความสุขเป็นเดือนเลยทีเดียว

วันเวลาก็ได้ผ่านพ้นไป ผมมีงานทำ และผมก็เลือกงานที่สามารถนำพาประโยชน์ให้แก่ผู้คนและช่วยเหลือสังคม จู่ ๆ ผมก็คิดถึงครูของผมที่เคยให้เงินรางวัลแก่ผม มันทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า การให้ของครูในวันนั้น มันเป็นเศาะดะเกาะฮฺ หรือว่า เป็นของขวัญ (การตอบแทน) ? ผมก็ไม่รู้ถึงเจตนารมณ์ของครูในวันนั้น มันก็เลยทำให้ผมอยากที่จะไปหาครูของผม เพื่อที่อยากจะรู้ถึงตัวเขาและการเป็นอยู่ของเขา
ผมก็เริ่มไปหาเขา สุดท้ายก็เจอกับเขาจริง ๆ แต่อยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ไม่มีงานทำ และแก่ชราอีกด้วย ผมก็ทำความรู้จักตัวผมให้เขาได้ทราบ
ผมพูดว่า : ครูครับ ผมยังติดหนี้กับครูเป็นจำนวนที่มหาศาลมาก เมื่อนานมากแล้วครับ
ครูก็พูดว่า : มีคนติดหนี้กับผมด้วยรึ ?
ผมก็พูดว่า : ครูจำนักเรียนคนหนึ่งที่ครูให้เงินเขาไปหนึ่งริยาลได้ไหม ? ที่เขาได้ตอบปัญหาของครูในวันนั้น
หลังจากนั้นครูก็หัวเราะออกมา แล้วพูดว่า : ใช่ ๆ ผมยังจำได้อยู่ หรือว่าที่คุณมาหาผมในวันนี้ จะมาใช้เงินหนึ่งริยาลให้ผมใช่ไหม ?
ผมก็ตอบไปว่า : ใช่
ผมก็เลยชวนเขาขึ้นรถไปสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่สวยมาก มีบ้านหลังใหญ่มาก แล้วเราก็เดินเข้าไปข้างใน
แล้วผมก็พูดว่า : ครูครับ นี่คือทั้งหมดที่ผมจะใช้หนี้ให้แก่ครูในวันนี้ เป็นบ้านนี้หนึ่งหลัง รถยนต์หนึ่งคัน และเงินเดือนที่ครูจะต้องใช้ในแต่ละเดือนจนถึงชีวิตของครูสิ้นลมหายใจครับ
ครูก็ตกใจ แล้วพูดว่า : แต่สิ่งที่คุณให้มานี่เยอะมาก ๆ เลยนะ
ผมก็พูดว่า : เชื่อผมเถอะครับครู แท้จริงแล้ว ความสุขของผมเพียงแค่หนึ่งริยาลที่ผมได้ในวันนั้น มันมีมากกว่าความสุขของครูที่ได้ในวันนี้ และผมก็ไม่มีวันลืมกับความสุขนั้นจนถึงทุกวันนี้
แล้วท่านก็ได้ทิ้งท้ายด้วยคำว่า : จงมอบความสุขให้แก่คนที่มีความทุกข์ แล้วก็จงรอผลตอบแทนจากเอกองค์อัลลอฮฺ ซุบหานะฮุวะตะอาลา
.

บทความดี ๆ โดย : قصص وعبر
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การค้นพบที่อัศจรรย์ใจที่สุดของนักสำรวจบ่อน้ำซัมซัม


“บ่อน้ำซัมซัมในนครมักกะฮ์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอาคารกะอ์บะฮ์ 20 เมตร มีความลึก 30 เมตร และมีตาน้ำที่มีน้ำไหลออกมาปริมาณ 18 ลิตร/วินาที”

Young Journalist Club (yjc) รายงาน โดยอ้างจาก “รัสเซียทูเดย์” ว่า : บ่อน้ำซัมซัมในนครมักกะฮ์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอาคารกะอ์บะฮ์ 20 เมตร มีความลึก 30 เมตร และมีน้ำไหลออกมาจากตาน้ำในบ่อปริมาณ 18 ลิตรต่อวินาที

ตามรายงานนี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ลงไปสำรวจในบ่อน้ำนี้ เพื่อที่จะรับรู้ถึงแหล่งที่มาของบ่อน้ำซัมซัม แต่เข็มทิศที่พวกเขาได้นำลงไปติดตัวนั้นเสียและไม่ทำงาน และเข็มทิศอื่น ๆ ที่พวกเขานำติดตัวลงไปในบ่อน้ำนั้นก็ไม่ทำงานเช่นกัน ท้ายที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถระบุทิศทางของแหล่งที่มาของน้ำจากบ่อน้ำซัมซัมได้

ต่อจากนั้นบรรดานักวิทยาศาสตร์ได้นำเอากล้องถ่ายรูปต่าง ๆ ลงไปในบ่อน้ำ เพื่อที่จะรับรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เข็มทิศหยุดการทำงาน แต่ทันใดนั้นพวกเขาก็พบว่ามีบางสิ่งอยู่ภายในบ่อน้ำนั้น ดังนั้นนักประดาน้ำหลายคนได้ลงไปในบ่อน้ำพร้อมกับติดถังออกซิเจนลงไปเพื่อที่จะนำเอาสิ่งนั้นขึ้นมา

นักประดาน้ำได้พบภาชนะโบราณและเหรียญโลหะต่าง ๆ และบางส่วนของมันก็ไม่มีตราสัญลักษณ์ใด ๆ และพบหินอ่อนหลายชิ้นซึ่งมีการเขียนชื่อต่าง ๆ ไว้

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตรวจสอบน้ำจากบ่อน้ำซัมซัมผู้หนึ่งได้ประกาศว่า : บ่อน้ำซัมซัมมีลักษณะเป็นแนวตั้ง และในส่วนปลายของแนวตั้งนั้นโน้มเอียงไปยังทิศทางของอาคารกะอ์บะฮ์ ในส่วนที่โน้มเอียงไปนี้มีรูหนึ่งจากก้อนหิน ซึ่งน้ำซัมซัมจะออกมาจากรูของก้อนหินนี้

ประเด็นที่น่าประหลาดก็คือว่า เมื่อนักประดาน้ำได้นำตัวอย่างของน้ำจากบ่อน้ำซัมซัมขึ้นมาทำการตรวจสอบ ก็พบว่าน้ำจากบ่อน้ำนี้ไม่มีจุลินทรีย์ใด ๆ ที่ถูกพบในน้ำปกติทั่วไปเลย



ที่มา : Young Journalist Club (yjc)

ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮ์



การละหมาดตะรอเวียะห์ของมุสลิมที่กระทำกัน 11 ร็อกอะฮ์ ปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันตามใจอารมณ์ หรือตามนึกคิดของตน แต่มันมีหลักฐานรองรับในการกระทำของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ แต่สาเหตุที่ไม่พบเจอให้ปฏิบัติกัน เนื่องจากมีการปฏิบัติ 20 ร็อกอะฮ์ตลอดมา จนเข้าใจว่าท่านนบี หรือเศาะหาบะฮฺทำการละหมาดตะรอเวียะห์ 20 ร็อกอะฮ์นั้น
หลักฐาน "คำสั่ง" ท่านอุมัรฺให้ประชาชนนมาซตะรอเวี๊ยะห์ 11 ร็อกอะฮ์
ท่านอิหม่ามมาลิก ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มุวัฎเฎาะอ์” เล่มที่ 1 หน้า 105 หรือหะดีษที่ 249, โดยรายงานมาจากท่านมุหัมมัด บินยูซุฟ ซึ่งรายงานมาจากน้าชายของท่านคือท่านอัซ-ซาอิบ บินยะซีด ร.ฎ.ว่า ...

أَمَرَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ أُبَّىَ بْنَ كَعْبٍ وَتَمِيمًا الدَّارِىَّ أَنْ يَقُوْمَا لِلنَّاسِ بِإِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً

“ท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบได้ใช้ท่านอุบัยย์ บินกะอฺบ์ และท่านตะมีม อัด-ดารีย์ให้ทั้งสองนำนมาซ (ตะรอเวี๊ยะห์)แก่ประชาชน 11 ร็อกอะฮ์”
สายรายงานของหะดีษบทนี้ ถูกต้อง

2 ท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ได้บันทึกหะดีษ โดยสืบสายรายงานไปถึงท่านยะห์ยา บินสะอีด อัล-ก็อฏฏอน, จากท่านมุหัมมัด บินยูซุฟ, จากท่านอัซ-ซาอิบ บินยะซีดซึ่งกล่าวว่า ...

إِنَّ عُمَرَ جَمَعَ النَّاسَ عَلَى اُبَىٍّ وَتَمِيْمٍ فَكَانَا يُصَلِّيَانِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً .........

"แท้จริง ท่านอุมัรฺ ได้รวมประชาชนให้นมาซตามท่านอุบัยย์ บิน กะอฺบ์และท่านตะมีม แล้วทั้งสองท่านนั้นก็ละหมาด 11 ร็อกอะฮ์ ........................."
สายรายงานนี้ ถูกต้องเช่นเดียวกัน ...
(จากหนังสือ "อัล-มุศ็อนนัฟ" ของท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 248)

3. ท่านอัส-สะยูฎีย์ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มะศอเบี๊ยะห์ ฟี ศ่อลาติตตะรอเวี๊ยะฮ์” (เล่มที่ 1 หน้า 542 จากหนังสือ “อัล- หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์”) ว่า ...

وَقَالَ الْجُوْرِىُّ _ مِنْ أَصْحَابِنَا _ عَنْ مَالِكٍ أَنَّهُ قَالَ : اَلَّذِىْ جَمَعَ عَلَيْهِ النَّاسَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ أَحَبُّ إِلَىَّ، وَهِىَ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً! وَهِىَ صَلاَةُ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، قِيْلَ لَهُ : إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً مَعَ الْوِتْرِ؟ قَالَ : نَعَمْ، وَثَلاَثَ عَشْرَةَ قَرِيْبٌ، قَالَ : وَلاَ أَدْرِىْ مِنْ أَيْنَ أُحْدِثَ هَذَاالرُّكُوْعُ الْكَثِيْرُ؟ ...

ท่านอัล-ญูรีย์ซึ่งเป็นนักวิชาการมัษฮับของเราท่านหนึ่งกล่าวรายงานมาจากท่านอิหม่ามมาลิกว่า .. “สิ่งซึ่งท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ.ได้ให้ประชาชนกระทำร่วมกันเป็นสิ่งที่ฉันชอบที่สุด นั่นคือ 11 ร็อกอะฮ์! และนั่นก็เป็นนมาซของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีบางคนกล่าวถามท่านว่า .. 11 ร็อกอะฮ์พร้อมกับวิตรี่ด้วยใช่ไหม? .. ท่านตอบว่า ใช่, และ 13 ร็อกอะฮ์ก็ใกล้เคียงกัน, (ท่านอิหม่ามมาลิกกล่าวต่อไปว่า) .. “ฉันไม่รู้เลยว่า จำนวนร็อกอะฮ์อันมากมายเหล่านี้ มันมาจากไหน ?” ...

4. ท่านสะอีด บินมันศูรฺ ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” โดยรายงานจากท่านมุหัมมัด บินยูซุฟ, จากท่านอัซ-ซาอิบ บินยะซีด ร.ฎ. ว่า ...
كُنَّا نَقُوْمُ فِىْ زَمَنِ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ بِإِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً
“พวกเราทำนมาซ(ตะรอเวี๊ยะห์) กันในสมัยของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. 11 ร็อกอะฮ์” ...
(จากหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 530)

จากหลังฐานข้างต้น พอเป็นที่ยืนยันได้ว่าผู้ปฏิบัติละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 11 ร็อกอะฮ์ นั้น เป็นการฟื้นฟู ปฏิบัติตามแบบอย่างตามที่ท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างเอาไว้นั้นเอง
สำหรับการละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 20 ร็อกอะฮ์ นั้นได้มีการปฏิบัติขึ้นภายหลัง ที่ยังอยู่ในยุคของบรรดาเศาะหาบะฮ์ แต่อาจเกิดขึ้นหลังท่านท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังคำกล่าวของท่านอิหม่ามมาลิก บินอนัส (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 93-179)ที่ว่า “ฉันไม่รู้เลยว่า จำนวนร็อกอะฮ์อันมากมายเหล่านี้ (20 ร็อกะฮ์ และ39 ร็อกอะฮ์) มันมาจากไหน ?” นั้นหมายความว่า จำนวนร็อกของละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 20 ร็อกอะฮ์นั้นได้ปฏิบัติกันมาก่อนที่ท่านอิหม่ามมาลิกเกิด แต่ก่อนที่มีการปฏิบัติ 20 ร็อกอะฮ์ ได้มีการปฏิบัติ 11 ร็อกอะฮ์มาก่อน ตามแบบอย่างของท่านนบี และจากคำพูดพูดของอุลามาอ์ท่านอื่นๆ ที่ยืนยันว่าการละหมาดตะรอเวียะฮ์ 20 ร็อก ได้เกิดขึ้นหลังที่มีการปฏิบัติ 11 ร็อกอ์ กล่าวคือ

ท่านอัซ-ซุบกีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ชัรฺหุ มินฮาจญ์” ว่า ...

وَرَأَيْتُ فِىْ كِتَابِ سَعِيْدِ بْنِ مَنْصُوْرٍ آثَارًا فِىْ صَلاَةِ عِشْرِيْنَ رَكْعَةً، وَسِتٍّ وَثَلاَثِيْنَ رَكْعَةً، لَكِنَّهَا بَعْدَ زَمَانِ عُمَرَ بْنِ الخْطَاَّب ِ...

“ฉันได้เห็นร่องรอย(คือรายงาน)ต่างๆมากมาย ในตำราของท่านสะอีด บินมันศูรฺ เรื่อง(การนมาซตะรอเวี๊ยะห์) 20 ร็อกอะฮ์ และ 36 ร็อกอะฮ์, แต่ทว่า ร่องรอยเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้น "หลัง" จากยุคของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ.แล้ว” ...
(จากหนังสือ “อัล-มะศอเบี๊ยะห์ ฟีศ่อลาติตตะรอเวี๊ยะห์” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ เล่มที่ 1 หน้า 543) ..

ท่านอิบนุอบีย์อัด-ดุนยา ได้บันทึกไว้เช่นกันในหนังสือ “ฟะฎออิลุ รอมะฎอน” จากท่านฮุชัยม์ บินบะชีรฺ .. โดยสืบสายรายงานถึงท่านอะฏออ์ บินอบีย์รอบาห์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 114), .. และท่านยูนุส บินอุบัยด์ บินดีนารฺ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 139) ว่า ท่านทั้งสองเคยเห็นเศาะหาบะฮ์ (และตาบิอีน) นมาซ(ตะรอเวี๊ยะห์) กันในเดือนรอมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์ อาจเป็นเพราะต้องการแก้ไขปัญหา "ยืนนาน - อ่านยาว" ของอิหม่ามสมัยนั้นที่สร้างความเหนื่อยล้าให้กับมะอฺมูม ...
(ดูข้อมูลจากหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 4 หน้า 253, หนังสือ "มัจญมุอฺ ฟะตาวีย์" ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่มที่ 23 หน้า 113, หนังสือ "อัลหาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์" ของท่านอัส-สะยูฏีย์ เล่มที่ 1 หน้า 543 เป็นต้น)

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า ...
وَأُبَىُّ بْنُ كَعْبٍ لَمَّا أَقَامَ بِهِمْ وَهُمْ جَمَاعَةٌ وَاحِدَةٌ لَمْ يُمْكِنْ أَنْ يُطِيْلَ بِهِمُ الْقِيَامَ، فَكَثَّرُوْاالرَّكَعَاتِ لِيَكُوْنَ ذَلِكَ عِوَضًا عَنْ طُوْلِ الْقِيَامِ، .................فَإِنَّهُ كَانَ يَقُوْمُ بِاللَّيْلِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً أَوْ ثَلاَثَ عَشْرَةَ رَكْعَةً، ثُمَّ بَعْدَ ذَلِكَ كَانَ النَّاسُ بِالْمَدِيْنَةِ ضَعُفُوْا عَنْ طُوْلِ الْقِيَامِ، فَكَثَّرُوْاالرَّكَعَاتِ، حَتىَّ بَلَغَتْ تِسْعًا وَثَلاَثِيْنَ ...
“และท่านอุบัยย์ บินกะอฺบ์นั้น เมื่อท่านนำพวกเขานมาซ(ตะรอเวี๊ยะห์)เป็นญะมาอะฮ์เดียว ท่านก็ไม่อาจนำพวกเขายืนนมาซนานๆได้ พวกเขาจึงเพิ่มจำนวนร็อกอะฮ์ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนจากการยืนนานๆ, .................. เนื่องจากท่านอุบัยย์เคยยืนนมาซยามค่ำคืนเพียง 11 ร็อกอะฮ์หรือ 13 ร็อกอะฮ์ หลังจากนั้น(คือหลังจากเคยเพิ่มจาก 11 ร็อกอะฮ์เป็น 23 ร็อกอะฮ์แล้ว) ชาวเมืองมะดีนะฮ์ยังรู้สึกอ่อนล้าจากการยืนนมาซนานๆ พวกเขาจึงเพิ่มร็อกอะฮ์ให้มากขึ้นอีกจนถึง 39 ร็อกอะฮ์” ...
(จากหนังสือ “มัจญมูอุ้ลฟะตาวีย์” ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่มที่ 23 หน้า 113)

จากการที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ออกมานำเศาะหาบะฮ์ของท่านนมาซตะรอเวี๊ยะห์ 3 คืนนั้น มีรายงานที่ถูกต้องว่า ..
ในคืนแรก ท่านจะนำนมาซเสร็จประมาณ 1 ใน 3 ของกลางคืน คือเสร็จประมาณ 4 ทุ่ม
คืนที่สอง ท่านจะนำพวกเขานมาซจนถึงครึ่งคืนหรือเที่ยงคืน ...
คืนที่สาม ท่านจะนำนมาซจนเกือบถึงเวลานมาซซุบฮี่ ...
รายงานดังกล่าวนี้แสดงว่า ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ผ่อนผันให้อุมมะฮ์ของท่านเลือกทำนมาซตะรอเวี๊ยะห์ได้ตามความเหมาะสมและความสามารถของพวกเขา คือใช้เวลาน้อย, ใช้เวลาปานกลาง และใช้เวลานานมาก ...
แต่ไม่ว่าใครจะเลือกเอาเวลาน้อย, เวลาปานกลาง หรือเวลานานมาก ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ทั้งสิ้น ...

ดังนั้น ผู้ที่กลับไปละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ 11 ร็อกอะฮ์นั้น ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติตาม "ซุนนะฮ์” ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และปฏิบัติตาม "คำสั่ง" ของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. นั้นเอง มิได้เป็นการทำบิดอะฮ์ หรือคิดขึ้นมาตามใจอารมณ์แต่อย่างใด

ดังคำพูดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"และทางนำที่ "ดีเลิศ" ที่สุด ก็คือทางนำของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม"
ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงกลับไปละหมาดตะรอเว๊ยะห์ 11 ร็อกอะฮ์ อันเป็นทางนำที่ "ดีเลิศ" ที่สุด ก็คือทางนำของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่พวกเขาไม่ได้บอกว่า 20 ร็อกอะฮ์ทำไม่ได้ แต่ที่ประเสริฐสำหรับพวกเขานั้นคือ 11 ร็อกอะฮ์ ตามแบบอย่างของท่านนบี และบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้นเอง

วัลลอฮุอะลัม

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กะห์บะห์จุดกำเนิดความเป็นอันนึงอันเดียวกันของมุสลิมทั่วโลก



เรื่องเล่ามักกะห์ดินแดนศักดิสิทธ์

พ่อผมเคยสอนว่า ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนทำงานที่ไหนทำอะไร ต้องห้ามขาดละหมาด และการละหมาดต้องหันหน้าไปทางกิบลัต คือหันไปทางกะห์บะห์(หินดำ) บ้านของอัลลอห์ ทิศตะวันตก
ในขณะที่ผมนั่งอยู่ตรงนี้ ผมก็สงสัย

ทุกๆคนจะอยู่มุมโลกในก็แล้วแต่หันมาทางจุดนี้ แล้วสมมิตว่าผมอยู่ข้างในนั้นผมจะหันหน้าไปทางไหน
ทั้งที่ข้างในนั้นไม่ได้มีอะไรมีแค่เสา3เสา และตะเกียงโบราณและของใช้สมัยก่อน.
นี่คือบ้านของอัลลอห์ไม่ได้แปลว่าอัลลอห์อยู่ในนี้ หินดำไม่ได้ไห้คุณไห้โทษอะไร ที่เรามาเพราะเป็นคำสั่งของอัลลอห์และผลบุญทำดี1ครั้งเท่ากับ1แสนความดี

กะห์บะห์นี้เหมือนจุดกำเนิดความเป็นอันนึงอันเดียวกันของมุสลิมทั่วโลก
และกะห์บะห์นี้ก็เป็นจุดตรงกลางของโลกนี้เช่นกัน หินดำเคยมีนักวิทยาศาสตร์คนนึง ได้มาตรวจ
พบว่าเป็นหินที่ไม่มีในโลกนี้เป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นอุกกาบาต แต่สำหรับอิสลามเชื่อว่า เป็นหินที่มาลาอีกะหฺญิบริล( หรือกาเบียล) นำลงมา
สิ่งนี้ไม่ใช่เจว็ต เพราะการขอพรจะขอผ่านหินดำไม่ได้ หรือเอาผ้าไปถุแล้วเชื่อว่าผ้านั้นเป็นของขลังไม่ได้เด็ดขาด .จะขอพรก็ขอต่ออัลลอห์องค์เดียวท่านั้น.

.....................
fb ซายูตี สาดและ fb ละหมาดต่างถิ่น



ถือศิลอดกับถังน้ำรั้ว



ผลบุญถือศิลอด ผลบุญมันเต็มถังอยู่แล้ว ถังมันจะไม่เป็นรูหากเราไม่ไปเจาะมัน .
ถือศิลอด แต่นินทาคนอื่น น้ำในถังก็เริ่มลดลง
ถือศิลอด พูดแต่คำหยาบ พูดไร้สาระ ผลบุญก็หายไป.

ถือศิลอดแต่ไม่คลุมฮิญาบ ผลบุญก็เริ่มไหลออก.

ถือศิลอดแต่ไม่ละหมาด ไม่ใช่แค่เพิ่มรู เปรียบเสมือนเราเดินไปเตะถังน้ำ การถือศิลอดนั้นไม่ได้อะไรเลยนอกจากความหิว เหมือนน้ำที่ไม่มีในถัง ถึงเติมน้ำลงไป ก็ไม่มีวันเต็ม.

“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความอีหม่านและหวังในผลตอบแทน เขาจะได้รับการอภัยจากบาปของเขาในอดีตที่ผ่านมา"
(รายงานโดย บุคอรี และมุสลิม)

“ผี” ที่กล่าวขาน มันคือญินและชัยฏอน ไม่ใช่วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว



"ผี" ตามหลักภาษานั้น หมายถึง "ศพ" หรือร่างที่ไร้วิณญาณ สำหรับผีที่นำมาใช้เรียกตามความเข้าใจทั่วไป หมายถึงวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่าผีเหล่านี้จะวนเวียนอยู่กับคน ให้คุณให้โทษกับมนุษย์ หรือรอญาติอุทิศผลบุญไปให้ ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่อง "วิญญาณเวียนว่ายตายเกิด" ซึ่งตามหลักอิสลามแล้วถือว่าเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง แต่อิสลามได้สอนไว้ว่า เมื่อวิญญาณได้ออกจากร่างแล้วก็จะไปอยู่อีกโลกหนึ่งที่เรียกว่า “บัรซัค” หรือ “โลกบัรซัค” หมายถึง โลกที่ถูกปิดกั้นไว้ โดยที่คนตายไม่สามารถย้อนกลับมายังโลกใบนี้ได้ ดังพระองค์อัลลอฮ์ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน สูเราะฮ์อัลมุอ์มินูน อายะฮ์ที่ 100 มีความหมายว่า

“และเบื้องหน้าของพวกเขามีบัรซัคจนกว่าจะถึงวันที่พวกเขาถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา”


แต่ที่ปรากฏให้มนุษย์เห็น มีการหลอกหลอนให้หวาดกลัว พยายามให้ผู้ศรัทธาหันห่างจากการเคารพสักการะต่อพระเจ้าองค์เดียวนั้น คือ "ญินและชัยฏอน" อันเป็นมัคลูคที่ถูกสร้างดั่งเช่นมนุษย์ ต่างที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพวกมันตามปกติได้ แต่พวกมันกลับเห็นมนุษย์ และหากใครผู้ใดสวามิภักดิ์ต่อญินและชัยฏอนหล่านี้ มันก็จะแสดงอำนาจเหนือผู้นั้นทันที โดยบางครั้งมันจะพูดหรือกระทำแทนผู้ที่ถูกเข้าสิง หรือที่เรียกว่า “ผีเข้า” หรือ “ผีสิง” และหากยอมอยู่ใต้อำนาจของมัน มันก็จะแสดงฤทธิ์ เฮี้ยนและขลัง หรือศักดิ์สิทธิ์ หรือทรงอิทธิฤทธิ์ตามที่กล่าวขานกัน

ดั่งพระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน สูเราะฮ์อัลญิน อายะฮฺที่ 6 มีความหมายว่า

“และแท้จริง มนุษย์บางคนเคยขอความคุ้มครองจากญินบางตัว มันจึงยิ่งเพิ่มความจองหองให้กับญินเหล่านั้น”


ซึ่งคนที่มีหัวใจที่เชื่อมั่นศรัทธาต่ออัลลอฮฺองค์เดียวแล้ว บรรดาญินและชัยฏอนเหล่านั้นก็ไม่มีอำนาจใดๆเหนือเขาได้

วัลลอฮุอะลัม