อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดุอาอ์ขอปกป้องจากการถูกลงโทษในขุมนรก



อ่านดุอาอฺนี้ 7 ครั้ง จะถูกปกป้องจาก
การถูกลงโทษในขุมนรกอย่างแน่นอน

 اللهم اجرنى من النار 

อ่านว่า: อัลลอฮุมม่า อ้าญิรนีมินั้ลนาร

ความว่า:" โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้โปรด
ให้ข้าพระองค์รอดพ้นจาก
ไฟนรกด้วยเถิด "
(อะบู ดาวูด)

...............................
Namah Buranapong




เยาวชนมุสลิมห่างไกลเทศกาลคริสต์มาส




นอกจากมุสลิมจะไม่ไปร่วมฉลองเฉลิมฉลองในเทศกาลคริสต์มาสแล้วนั้น ก็จะต้องไม่ไปเกี่ยวข้องกับ เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของเทศกาลคริสต์มาส เช่น จำหน่ายสินค้าเครื่องหมายต่าง ๆ ของเทศกาล คริสต์มาส เพราะเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น มีความเกี่ยวพันกับความเชื่อเช่นเดียวกัน หากว่ามุสลิม จำหน่ายสินค้าก็เท่ากับว่าเป็นการส่งเสริม เห็นชอบกับเทศกาลเหล่านี้เช่นเดียวกัน

อิบนุ หะญัร อัลหัยตะมีย์ นักปราชญ์มัซฮับชาฟิอี กล่าวว่า : ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่น่าเกลียดที่สุด คือ การที่บรรดา มุสลิม เห็นชอบกับบรรดาชาวคริสเตียนในเทศกาลรื่นเริงของพวกเขา ด้วยการเลียนแบบ การกิน การมอบของ ขวัญ และการรับของขวัญของพวกเขา ในเทศกาลนั้น และผู้คนส่วนมากที่ให้ความสนใจดังกล่าว คือ บรรดาชาว อียิปต์ ทั้งๆที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “ ผู้ใดเลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่ง จากกลุ่มชนนั้น “ (ดู ฟะตาวาอัลฟิกฮียะฮอัลกุบรอ เล่ม 4 หน้า 238)

ท่านอิบนุ ตัยมิยะฮฺได้กล่าวอีกว่า “ไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดลอกเลียนแบบผู้ไม่ใช่มุสลิมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะสำหรับวันรื่นเริงของพวกเขา แม้จะในเรื่องอาหารการกิน การอาบน้ำชำระร่างกาย การก่อไฟ การงดเว้นในสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำในชีวิตประวันหรือในเรื่องที่เกี่ยวกับอิบาดะฮฺอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสิ่งใด ก็ตาม ไม่อนุญาตให้จัดงาน เลี้ยงฉลองหรือการให้ของขวัญ การขายสิ่งของใดๆ เพื่อใช้ในวันดังกล่าว หรือการให้ เด็ก ๆ ละเล่นใด ๆ หรือประดับประดาอย่างสวยงามเพื่อวันดังกล่าว สรุปแล้ว ไม่อนุญาตให้มุสลิมมีการเน้นเป็น พิเศษในวันรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิมด้วยสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นเอกลักษณ์ของวันดังกล่าว หากแต่ว่า วันดังกล่าว เป็นเพียงวันธรรมดาทั่วไปสำหรับมุสลิม โดยไม่มีการเน้นอะไรที่แปลกออกไปจากวันอื่นๆ” (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 25 หน้า 329)


ต่อไปนี้เป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส


- ซานต้าครอส

เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตา ครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทาง ปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี

นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่ม หนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณี นี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา

ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวม เอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง



- ถุงเท้า



จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงิน ในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง



- ต้นคริสต์มาส

นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูก แอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับ ด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลัง จะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก

โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย

ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอ ในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่าง ในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวม ของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส



- ต้นฮอลลี่

ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่ มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึง หยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มี หนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะ ของพระเยซูคริสต์



- ดอกไม้คริสต์มาส หรือ Poinsettia

ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับ เจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยม ใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส

- ดอกคริสต์มาส Christmas Rose

มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาส นี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขา พบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจ จึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพู อยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง



- เพลงวันคริสต์มาส

เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของ เพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วง ทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่

เพลงคริสตมาสแบบใหม่นี้ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชม ยินดีในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาสที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night

ความเป็นมาของเพลงนี้มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้องไม่ สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปให้เพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเอง และเล่นเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบ การขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

- คำอวยพรวันคริสต์มาส

ในวันคริสต์มาสเรามักจะใช้คำอวยพรให้แก่กันและกันว่า Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ และได้จัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป


- สีประจำวันคริสต์มาส

สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย

สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็น สัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี

สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง

สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส

สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว

- การทำมิสซาเที่ยงคืน

การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสต สมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส

- เทียนและพวงมาลัย

พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้าย พวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อ เตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียว จะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้

- ระฆังวันคริสต์มาส

เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข



- ดาว

ดาว ในความหมายของชาวคริสต์เตียน หมายถึงการแสดงออกที่ดีของพระเยซูคริสต์ ที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ ไบเบิ้ลว่า "The bright and morning star" มีความหมายพิเศษเหมือนกับว่า ดวงดาวเหล่านั้นได้แบ่งที่อยู่กับ สรวงสวรรค์ ไม่ว่าจะมีกำแพงอะไรขวางกั้นระหว่างพื้นผิวโลกด้วยก็ตาม

- เครื่องประดับและแอปเปิ้ล

ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับ ตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้าย แสงเทียนและแสงไฟ


- ของขวัญวันคริสต์มาส


การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับ ประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มี กลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ

ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์

    บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายนั้นจะต้องเข้มงวด ไม่สนับสนุนให้ลูกหลานไปเกี่ยวข้อง ตักเตือนบุตร หลานให้ทราบถึงข้อเท็จจริงใน เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้  เพราะสาเหตุอีกประการหนึ่งที่เยาวชนมุสลิมนั้นเข้าไปมี ส่วนร่วมกับเทศกาลของศาสนาอื่น ๆ นั้น เป็นเพราะบรรดาผู้ปก ครองให้การสนับสนุน ตัวอย่างเช่น ซื้อหมวก ซานต้าครอสมาให้ลูกหลาน พาลูกหลานไปเที่ยวตามสถานที่ที่มีการจัดงานคริสต์มาส พาลูกหลาน ไปถ่ายรูป กับซานต้าครอส หรือต้นคริสต์มาส เป็นต้น

มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

كُلُّ مَوْلُودٍ يُولَدُ عَلَى الْفِطْرَةِ فَأَبَوَاهُ يُهَوِّدَانِهِ أَوْ يُنَصِّرَانِهِ أَوْ يُمَجِّسَانِهِ

“ทารกทุกคนถือกำเนิดมาอย่างบริสุทธิ์ พ่อและแม่ของเด็กนั่นแหละที่จะทำให้เด็กกลายเป็นยิวหรือ คริสต์หรือพวกบูชาไฟ” 
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 1385)

   อีกประการที่สำคัยก็คือ ผู้ปกครองต้องให้ความสนใจถึงบรรดาเพื่อนฝูงของลูกหลาน เพราะในสังคมปัจจุบันนั้น สภาพแวดล้อมของเยาวชนนั้น มีบทบาทในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะบรรดาเพื่อนฝูง ถ้าเยาวชนมีเพื่อนที่ดี เพื่อนที่ชักนำไปสู่สิ่งที่ดีนั้น ก็จะทำให้เยาวชนนั้นมีการดำเนินชีวิต ที่ดี แต่ถ้าเยาวชนมีเพื่อนที่ไม่ดี ชักนำไปสู่ ความชั่วต่าง ๆ เยาวชนนั้นก็จะมีการดำเนินชีวิตที่ไปในทางที่ไม่ดี

มีรายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

الْمَرْءُ عَلَى دِينِ خَلِيلِهِ فَلْيَنْظُرْ أَحَدُكُمْ مَنْ يُخَالِلْ

“คนทั่วไปมักนิยมและคล้อยตามจารีต -ความประพฤติ - ของผู้เป็นสหาย ดังนั้นพวกเจ้าจงพิจารณาให้ดี ก่อนว่ากำลังจะคบค้า กับผู้ใด เป็นสหาย”
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 8212 )

 والله أعلم بالصواب
.........................................
 โดย  วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ
http://www.warasatussunnah.net/


การให้สลามกับสตรี และสตรีตอบรับสลาม



     การให้สลามด้วยวาจา ถ้าเขาและเธอนั้น ปลอดภัยจากฟิตนะฮฺ ก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด ที่เขาจะกล่าว "อัส-สลามุอะลัยกุม"

แต่ถ้าเขาเกรงว่าการให้สลาม จะนำพาให้เกิดฟิตนะตามมา เมื่อนั้นก็ไม่สมควร

ดั่งวลีอาหรับที่ว่า "จองมอง...แล้วยิ้มตอบ...แล้วสลาม...แล้วพูดคุย...แล้วนัดหมาย...แล้วพบเจอ"

ดังนั้น ถ้าเขาไม่กลัวจะเกิดฟิตนะฮฺกับตัวเขา และเขาไม่กลัวแทนสตรี เมื่อนั้นก้ไม่เป็นที่เสียหาย ที่จะกล่าวว่า "อัส-สลามุอะลัยกุม"

ภรรยาของท่านนบี (ขอความสันติสุขและพรจงประสบแด่ท่าน) ได้เคยทักทายด้วยการให้สลาม (เพศตรงข้าม)

และอัลลอฮฺคือผู้ช่วยเหลือ

การตอบรับสลาม เป็นวาญิบสำหรับสตรีหรือไม่?

สำหรับสตรี...ใช่...นางต้องตอบรับสลาม

เช่นกัน ถ้านางกลัวฟิตนะฮฺ จะเกิดขึ้นกับตัวเอง หรือกลัวว่าตัวเองจะพาเขาไปสู่ฟิตนะฮฺ เมื่อนั้น จงตอบรับสลามในใจ

หรือขยับริมฝีปาก พร้อมกับเสียงตอบรับเบาๆ ที่เขาไม่ได้ยิน (เอาพอให้รู้ว่าตอบรับสลาม)

แต่ถ้านางไม่กลัวจะเกิดฟิตนะฮฺกับตัวนาง หรือผุ้ชายเป็นมะหฺร็อมนั้น ไม่เสียหายอันใด ที่นางจะตอบว่า
"วะอะลัยกุมุสลาม"

อย่างไรก็ตาม หากนางกลัวว่าจะเป็นเหตุแห่งฟิตนะฮฺ เมื่อนั้นไม่มีสิ่งใด จะปกป้องได้เทียบเท่ากับหัวใจ (ควบคุมตัวเอง)

...............................................................................................
(ชัยคฺ มุกบิล บิน ฮาดียฺ อัล-วาฎีอียฺ : อัล-มุฮัดดิษ แห่งเยเมน)
ถอดความโดย : As-salafiyyah As-sabiqoon



นิอฺมัตและบะลาอฺ



ท่านอิมาม อับดุลกอดิร อัลญีลานีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฟุตูหุลฆัยบ์ หน้า 169 - 172 โดยสรุปว่า แท้จริงมนุษย์นั้นมีสองประเภท คือผู้ที่ได้รับนิอฺมัตปัจจัยอำนวยสุข และผู้ที่ได้รับบะลาอฺการทดสอบ

บางคนถูกกำหนดมาให้มีความวิตกกังวลเนื่องจากมีบะลาอฺต่างๆ มาประสบ เช่น มีโรคประจำตัว มีความหิวโหย ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ทรัพย์สินและเรือกสวนไร่นาเสียหาย คู่ครองและบุตรหลานต้องจากไป จนทำให้เกิดความวิตกกังวล และรู้สึกเหมือนกับว่าเขาไม่เคยได้รับนิอฺมัต ปัจจัยอำนวยสุขเลย

ในขณะที่บางคนร่ำรวย มีสุขภาพดี มีทรัพย์สินเงินทอง และมีเกียรติยศในสังคม ทำให้เขาอยู่ในสภาพที่สุขสบาย จนรู้สึกเหมือนกับว่าไม่เคยมีบะลาอฺเกิดขึ้น แก่เขาเลย

ความรู้สึกทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นความโง่เขลา ไม่รู้จัก (มะริฟะฮ์) อัลเลาะฮ์ตะอาลา และไม่รู้จักถึงแก่นแท้ของดุนยาอย่างแท้จริง เพราะถ้าหากเขารู้ว่า อัลเลาะฮ์ตะอาลนั้นُ

“ทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์” [อัลบุรูจญ์: 16 ]

พระองค์จะทำการเปลี่ยนแปลงสภาวะทั้งหลาย ทรงทำให้มีความสุขหวานชื่น ทรงทำให้มีความขมขื่น เพื่อทดสอบ ทรงทำให้ร่ำรวย และทรงทำให้ยากจน ทรงยกฐานะบรรดามัคโลค และทรงทำให้พวกเขาตกต่ำ ทรงให้เกียรติพวกเขา และทำให้มีความต่ำต้อย ทรงทำให้มีชีวิต และทรงทำให้ตาย แน่นอน เขาก็จะไม่ลืมตัว และไม่มีความประมาทในความสุขที่ได้รับ และเขาก็จะไม่สิ้นหวังในการรอคอยการคลี่คลายจากอัลเลาะฮ์ เมื่ออยู่ในสภาวะได้รับบะลาอฺ



และด้วยความโง่เขลาโดยไม่รู้จักแก่นแท้ของดุนยานี้ ทำให้เขามีความสุขสงบในดุนยา และพยายามแสวงหาความสุขสบาย ที่ไร้ความวิตกกังวล แต่เขาลืมไปว่าดุนยานั้น เป็นที่พำนักแห่งการทดสอบ และแบกรับภาระในการทุ่มเท ความเหน็ดเหนื่อย และความพยายามในการปฏิบัติ ตามสิ่งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงบัญญัติใช้ ดังนั้น รากฐานเดิมของดุนยา ก็คือการทดสอบ ส่วนความสุขสบายนั้น คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงเสริมเติมแต่งในโลกดุนยาเท่านั้นเอง ดังที่พระองค์ทรงตรัสถึงแก่นแท้ของดุนยาไว้ว่าٌ

“จงกล่าวเถิด ความสุขของดุนยานั้น เล็กน้อยเท่านั้น” [อันนิซาอฺ: 77 ]

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

“ดุนยาเป็นคุกของมุอฺมินและเป็นสวรรค์ของกาเฟร” รายงานโดยมุสลิม

ดังนั้น เขาจะต้องมีความอดทนต่อการทดสอบ และทุ่มเทในการปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงสั่งใช้ เหมือนกับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งกว่าจะได้ค่าจ้างตอบแทนนั้น เขาต้องทำงาน อย่างเหน็ดเหนื่อย เหงื่ออาบสองแก้ม ร่างกายอ่อนล้า และอดทนอดกลั้นในการทำงานรับใช้มนุษย์ด้วยกันเอง ดังนั้นเมื่อเขามีความอดทนในการทำงาน ผลตอบแทนที่ตามมาก็คือ มีเงินซื้ออาหารดีๆ มารับประทาน มีน้ำแกงอร่อยๆ มีผลไม้น่ารับประทาน มีเสื้อผ้าดีๆ สวมใส่ และมีความสุขสบาย ฉันใดฉันนั้น ผู้เป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์ ก็จำเป็นต้องมีความอดทนอดกลั้น ในการปฏิบัติตามสิ่ง ที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงสั่งใช้ ละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งห้าม และยอมสิโรราบ ในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกำหนดให้เกิดขึ้นแก่เขา อัลเลาะฮ์ตะอาลา ก็จะทรงตอบแทนความสุขสบายในช่วงท้ายของชีวิต ได้รับความรัก และได้รับเกียรติจากพระองค์ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ดังนั้น บ่าวที่ได้รับนิอฺมัตปัจจัยอำนวยสุขนั้น ไม่ควรประมาทในแผนการณ์ของอัลเลาะฮ์ อย่าลืมตัวเอง อย่าลำพองตน และอย่าลืมการชุโกรนิอฺมัต ที่พระองค์ได้ทรงประทานให้ เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่าٌ

“ขอยืนยัน หากพวกเจ้าชุโกร (กตัญญูรู้คุณ) แน่นอนข้าจะเพิ่มพูนแก่พวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นรุนแรงยิ่งนัก” [อิบรอฮีม: 7 ]

ดังนั้น การชุโกรนิอฺมัตที่มาในรูปของทรัพย์สินเงินทอง ที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ ก็คือการที่จิตใจยอมรับว่า ทรัพย์สินเป็นของอัลเลาะฮ์ (อย่าหลงทึกทักว่าเป็นของตนเอง) สำนึกในจิตใจอยู่เสมอว่า ทรัพย์สินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และมองว่าทรัพย์สินนั้น เป็นความโปรดปรานจากอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ที่ได้ประทานให้ จิตใจต้องไม่หมกมุ่นอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง จนกระทั่งละเมิดขอบเขตของ อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ที่ได้ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้น เขาต้องนำทรัพย์สิน ออกซากาต เมื่อครบพิกัด และครบรอบปี นำไปศ่อดะเกาะฮ์บริจาคทาน นำไปช่วยเหลือผู้ที่ถูกอธรรม และสืบค้นหาบรรดาบุคคลที่มีความทุกข์ร้อน เพื่อจะได้นำทรัพย์สินไปช่วยเหลือ พวกเขา ยามวิกฤติ และประสบภัยบะลาอฺ



ส่วนการชุโกรนิอฺมัต ที่มาในรูปของความมีสุขภาพดี และความสุขสบายที่ อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงประทานให้นั้น คือการที่บรรดาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทุ่มเทในการปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ ทรงบัญญัติใช้ ทำอะมัลอิบาดะฮ์ ทำการซิกรุลลอฮ์ และยับยั้งจากสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติห้าม หลังจากนั้น เขาก็จะได้เข้าไปอยู่ในโปรดปรานความเมตตาของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา และ เข้าสวรรค์พร้อมกับบรรดานะบีย์ และเหล่าผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย แต่ถ้าหากเขาเนรคุณหรือกุฟุรนิอฺมัตต่างๆ ที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ได้ทรงประทานให้ แน่นอนว่าเขาจะอยู่ในความตกต่ำในโลกดุนยา และถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในวันกิยามะฮ์

สำหรับผู้ที่ได้รับบะลาอฺการทดสอบนั้นมีสามจำพวก:

จำพวกที่หนึ่ง: พวกเขาได้รับบะลาอฺ (หรือความเจ็บป่วย) เพราะอัลเลาะฮ์ ต้องการจะลงโทษ เนื่องจากเขาได้เคยกระทำบาป และฝ่าฝืนอัลเลาะฮ์ เครื่องหมายที่สังเกตได้จากจำพวกแรกนี้คือ เขาจะไม่มีความอดทนในขณะที่ได้รับบะลาอฺ มีความกลัว และพร่ำบ่นกับผู้คนทั้งหลาย

จำพวกที่สอง: พวกเขาได้รับบะลาอฺ (หรือความเจ็บป่วย) เพราะอัลเลาะฮ์ ต้องการจะลบล้างความผิดต่างๆ เครื่องหมายที่สังเกตได้จากจำพวกที่สองนี้ ก็คือ เขาจะมีความอดทนอย่างดีงามโดยไม่ปริปากบ่น ไม่แสดงความกลัวให้คนรอบข้างได้เห็น และไม่มีความเบื่อหน่าย ในการปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์ ที่อัลเลาะฮ์ทรงสั่งใช้

จำพวกที่สาม: พวกเขาได้รับบะลาอฺ เพื่ออัลเลาะฮ์จะทรงยกระดับจิตใจของพวกเขา ให้สูงส่ง เครื่องหมายที่สังเกตได้ ก็คือ จิตใจของเขาจะมีความรู้สึกริฎอ (ยินดี) และไม่คัดค้านในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกำหนดมา และจิตใจของเขาจะนิ่ง และสงบ มั่นต่ออัลเลาะฮ์ ในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทำให้เกิดขึ้น

ดังนั้น น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม มันเป็นการงานของอัลเลาะฮ์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และแสดงให้เห็นว่าแก่นแท้ของมนุษย์นั้น อ่อนแอ ฉะนั้น เมื่อพระองค์ยังไม่ให้พื้นที่ของเราน้ำท่วม พวกท่านก็จงชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ให้มากๆ ด้วยการเห็นว่านี่คือความโปรดปรานความเมตตาของอัลเลาะฮ์ หมั่นปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์ และชุโกรนิอฺมัตทรัพย์สินเงิน ด้วยการนำไปช่วยเหลือพี่น้องที่เดือดร้อน เนื่องจากประสบภัยอุทกภัย

แต่ถ้าหากน้ำท่วมเมื่อไหร่ พวกท่านก็จงอดทน ยินดี และไม่คัดค้าน ในสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงกำหนด เพื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงลบ
ล้างความผิดต่างๆ ของเรา และทรงยกระดับจิตใจของเราให้สูงส่งนั่นเอง

والله أعلم بالصواب
.............................
สุวัฒน์ อิสมาแอล

เล่ห์มาร ช่องทางของชัยฏอนในการล่อลวงคนดี



ธาตุแท้ชัยฏอน

เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักในหลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ)

ชัยฏอนคืออะไร?!
ชัยฏอนมีรูปร่างตัวตนจริงๆ หรือเป็นแค่นามธรรม?!
หรือคือความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดีและการกระซิบกระซาบของหัวใจ ดังที่บางคนเข้าใจ?!
หรือมันคือเชื้อโรคดังที่บางคนกล่าวอ้าง?!
หรือชัยฏอนคือสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย เราวาดมันเพื่อเป็นแค่สัญลักษณ์ เพื่อเราจะได้พูดถึง?!

แล้วอะไรคือหลักความเชื่อของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺเกี่ยวกับเรื่องนี้?
หลักความเชื่อของเราคือ ชัยฏอนนั้นมาจากญิน
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า:

ความว่า: “และเมื่อเราได้กล่าวแก่มลาอิกะฮฺว่า จงสุญูดคารวะต่ออาดัม พวกเขาก็แสดงคารวะเว้นแต่อิบลีส มันอยู่ในจำพวกญิน”(อัล-กะฮฺฟฺ, 18 : 50)

เราศรัทธาต่อการมีอยู่จริงของญินและมนุษย์ และชัยฏอนนั้นก็มาจากญิน และมันก็อยู่กับมนุษย์ทุกๆ คน ทุกคนจะมีชัยฏอนติดตัวอยู่ และหลักฐานเรื่องดังกล่าวนี้คือ คำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษบทหนึ่งที่บันทึกโดยมุสลิม จากท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

ความว่า: “ไม่มีใครคนใดจากหมู่พวกท่านนอกเสียจากว่าจะมีสหายติดตามตัวจากญินและจากมลาอิกะฮฺ เศาะหาบะฮฺถามว่า: แล้วท่านล่ะท่านเราะสูลุลลอฮฺ? ท่านตอบว่า: ฉันก็เช่นเดียวกัน แต่ทว่าอัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ทรงคุ้มครองฉันจากมัน ดังนั้น มันจะไม่สั่งใช้ฉันนอกจากในเรื่องที่ดีเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม, บท: สัญลักษณ์ต่างๆ ของพวกมุนาฟิก, บรรพ: การยุยงของชัยฏอน, เลขที่: 2814)

ดังนั้น ทุกๆ คนจะมีสหายติดตามตัวจากญิน แม้กระทั่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ตาม แต่ทว่าญินที่ติดตามตัวท่านนั้น อัลลอฮฺได้คุ้มครองท่านจากมัน ดังนั้น มันจะไม่สั่งใช้ท่านนอกจากแต่ความดีเท่านั้น

อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า:

ความว่า: “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระเจ้าแห่งมนุษย์ชาติ พระราชาแห่งมนุษย์ชาติ พระเจ้าแห่งมนุษย์ชาติ ให้พ้นจากความชั่วร้ายของผู้กระซิบกระซาบที่หลอกล่อ ที่กระซิบกระซาบในหัวอกของมนุษย์ จากหมู่ญินและมนุษย์” (อัน-นาส, 114 : 1-6)

และชัยฏอนก็มีลูกหลานสืบตระกูล และมีการสืบพันธุ์ เพื่อเพิ่มจำนวน

อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า:

ความว่า: “แล้วพวกเจ้าจะยึดเอามันและวงศ์วานของมันเป็นผู้คุ้มครองอื่นจากข้ากระนั้นหรือ” (อัล-กะฮฺฟฺ, 18 : 50)

ลูกหลานของชัยฏอนและบริวารของมันพยายามที่จะทำให้มนุษย์หลงทางในชีวิตบนโลกนี้

แผนปฏิบัติการของชัยฏอน

ชัยฏอนใช้วิธีการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการหลอกล่อมนุษย์ ท่านอิบนุ ก็อยยิม อัล-เญาซียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้ระบุหกลำดับวิธีการของชัยฏอนในการหลอกล่อมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

ลำดับแรก: “กุฟรฺ” หรือ “ชิรกฺ”
พยายามที่จะให้มนุษย์ปฏิเสธศรัทธา (กุฟรฺ) หรือไม่ก็ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ (ชิรกฺ) แต่ถ้าหากเป้าหมายนั้นเป็นมุสลิมอยู่แล้ว มันจะใช้กลยุทธลำดับต่อๆ ไป

ลำดับที่สอง: “บิดอะฮฺ”
คือลำดับ “อุตริกรรม” หรือ “บิดอะฮฺ” กล่าวคือชัยฏอนจะพยายามให้มุสลิมอุตริกิจการงานต่างๆ ขึ้นมาในศาสนา และให้ปฏิบัติอุตริกรรมนั้นๆ แต่ถ้าหากเป้าหมายเป็นชาวสุนนะฮฺที่ไม่ทำบิดอะฮฺ ชัยฏอนก็จะใช้แผนลำดับขั้นที่สาม

ลำดับที่สาม: “บาปใหญ่”
คือลำดับความผิดที่เป็นบาปใหญ่ แต่ถ้าหากคนนั้น อัลลอฮฺได้คุ้มครอง ให้เขารอดพ้นจากบาปใหญ่ ชัยฏอนก็ยังไม่หมดหวัง แต่มันจะเริ่มแผนการในขั้นตอนต่อไปคือ ...

ลำดับที่สี่: “บาปเล็ก”
และหากอัลลอฮฺให้คนนั้นรอดพ้นจากบาปเล็ก ชัยฏอนก็จะเริ่มใช้แผนปฏิบัติการอื่น นั่นคือ

ลำดับที่ห้า: “หมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่เป็นมุบาหฺ (หมายถึงสิ่งที่เราปฏิบัติหรือละทิ้ง ก็จะไม่ได้รับผลบุญและบาปใดๆ ทั้งสิ้น)”
คือการที่ชัยฏอนให้มุสลิมหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่เป็นมุบาหฺต่างๆ และหมดเวลาไปกับมัน ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่ใช้เวลากับสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า และสิ่งที่ศาสนาสั่งใช้ให้เราปฏิบัติ

ลำดับที่หก: “หมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่ประเสริฐน้อยกว่า”
คือ การที่ชัยฏอนจะให้มุสลิมหมกหมุ่นปฏิบัติในสิ่งที่ประเสริฐหรือดีน้อยกว่า และทิ้งการปฏิบัติสิ่งที่ดีกว่า สิ่งที่เขาได้ปฏิบัติคือการงานที่ดี แต่การงานที่เขาละทิ้งนั้นดีกว่า และประเสริฐกว่า เช่น หมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่เป็นสุนัต และละทิ้งสิ่งที่เป็นฟัรฎู เป็นต้น !? จะเห็นได้ว่า ชัยฏอนมีความอุตสาหะในการเชิญชวนและล่อลวงของมัน และปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้น โดยใช้วิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ตรัสว่า:

ความว่า: “จงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นปัจจัยยังชีพ แก่พวกเจ้าเถิด และจงอย่าตามก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริง มันคือศัตรูอันชัดแจ้งของพวกเจ้า” (อัล-อันอาม, 6 : 142)

ชัยฏอนจะพยายามล่อลวงมนุษย์ทีละนิดละหน่อย และค่อยเป็นค่อยไปจนถึงเป้าหมายของมัน และมันจะเข้าหามนุษย์ทุกประเภทด้วยวิธีเฉพาะที่เหมาะสมกับคนนั้นๆ

เข้าหาผู้ที่มีความสมถะ ด้วยรูปแบบสมถะ
เข้าหานักวิชาการผ่านประตูความรู้
และเข้าหาคนโง่อวิชาผ่านประตูความขลาดเขลา

เส้นทางชัยฏอน เส้นทางของชัยฏอนมีมากมายและหลากหลาย ซึ่งยากนักที่จะจำกัดได้ทั้งหมด และเราขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้เพียงบางส่วน ดังนี้:

1. สร้างความแตกแยกและคิดไม่ดีต่อพี่น้องมุสลิม

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ในหะดีษบทหนึ่งที่บันทึกโดยมุสลิมว่า:

ความว่า: “แท้จริงชัยฏอนได้หมดหวังที่จะให้คนที่ทำการละหมาดสักการะบูชาต่อมันในคาบสมุทรอาหรับ แต่ทว่า มันพยายามยุแหย่ (ให้เป็นศัตรูและก่อฟิตนะฮฺ) ระหว่างพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม, บท: ลักษณะต่างๆ ของพวกมุนาฟิก, บรรพ: การยุแหย่ของชัยฏอน, เลขที่: 7281. และอัต-ติรฺมีซียฺ นอกจากสำนวน “ในคาบสมุทรอาหรับ” บท: การทำดีและการเชื่อมสัมพัมธ์, บรรพ: การโกรธเคืองต่อกัน, เลขที่: 1938)

นั่นคือ พยายามให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง โกรธแค้นเคือง สร้างฟิตนะฮฺ และมุ่งโจมตีกัน การคิดร้าย หรือไม่ดีนั้น ส่วนใหญ่มาจากชัยฏอน ดังที่มีรายงานจากอุมมุลมุอ์มินีน เศาะฟิยฺยะฮฺ บินติ หุยัยฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา นางได้เล่าว่า:

ความว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อิอฺติกาฟ (ในมัสญิด) และฉันก็ได้ไปเยี่ยมท่านในเวลากลางคืน ฉันได้พูดคุยกับท่าน ต่อมา ฉันก็ได้ลุกขึ้นยืนเพื่อเดินกลับบ้าน แล้วท่านก็ลุกขึ้นด้วยเพื่อจะส่งฉัน และบ้านของนางนั้นอยู่ที่ดารฺอุสามะฮฺ อิบนุ ซัยดฺ ในขณะเดียวกัน ก็มีชายสองคนจากชาวอันศอรฺเดินผ่าน เมื่อทั้งสองเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พวกเขาก็เร่งฝีเท้าเดิน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลยทักพวกเขาไปว่า ท่านทั้งสองไม่ต้องรีบหรอก แท้จริง นางคือเศาะฟิยฺยะฮฺ บินติ หุยัยย์, ชายทั้งสองกล่าวว่า: “สุบหานัลลอฮฺ โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ” (คือเขาทั้งสองมิได้คิดว่าจะเป็นผู้หญิงอื่นที่มิใช่ภริยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม-ผู้แปล) และท่านก็กล่าวว่า “แท้จริง ชัยฏอนจะไหลเวียนอยู่ในตัวมนุษย์ผ่านเส้นเลือด และแท้จริง ฉันเกรงว่ามันจะใส่ความในหัวใจของท่านทั้งสองด้วยความชั่วร้าย” หรือท่านกล่าวว่า “บางอย่าง” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ, 4/240 บท: อัล-อิอฺติกาฟ, บรรพ: ผู้ที่อิอฺติกาฟสามารถออกจากมัสญิดเนื่องด้วยเหตุจำเป็นได้หรือไม่ และมุสลิม ในบทอัส-สลาม เลขที่ 2174 - 2175)

ชายคนหนึ่งเดินอยู่กับหญิงสาวในยามวิกาล ย่อมเป็นจุดให้เกิดความสงสัยคลางแคลงใจและคิดอคติได้ ดังนั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงต้องการที่จะตัดความคิดอคตินี้ออกไป ท่านเลยบอกกับชายสองคนนั้นว่า

“ท่านทั้งสองไม่ต้องรีบหรอก แท้จริง นางคือเศาะฟิยฺยะฮฺ”

จากจุดนี้ เราสามารถเอาสาระประโยชน์จากหะดีษบทนี้ได้ว่า เมื่อท่านยืนอยู่ภายใต้ภาวการณ์ ที่คนอื่นอาจคิดไม่ดีต่อท่าน ท่านต้องชี้แจง และอธิบายให้คนที่ได้เห็น หรือได้ฟังเข้าใจ และรับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อปิดกั้นการคิดไม่ดี การคิดไม่ดีคือ แนวทางของชัยฏอน ทุกครั้งที่ท่านได้ฟังคำพูดหนึ่ง มันจะพยายามให้ท่านตีความในแง่ที่ไม่ดีเสมอ และเช่นเดียวกัน ชัยฏอนจะสร้างความแตกแยกในหมู่มนุษย์ ดังหะดีษที่รายงานโดยสุลัยมาน อิบนุ ศุร็อด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านได้เล่าว่า:

ความว่า: ฉันได้นั่งร่วมอยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วมีชายสองคนกำลังด่าทอกันอยู่ หนึ่งในสองคนนั้นมีใบหน้าแดงกล่ำ และเส้นเลือดที่คอได้ผุดเผยออกมา แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า: “แท้จริง ฉันรู้ประโยคหนึ่ง หากใครได้กล่าวแล้ว สิ่งที่เขาประสบ (จากความโกรธเคือง) จะหายไป นั่นคือ หากเขากล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮฺมินัชชัยฏอน (แปลว่า ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอน) สิ่งที่เขาประสบจะหายไป” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ, (10/431), บท: มารยาท, บรรพ: ระวังจากความโกรธ)

2. อุตริกรรม

ชัยฏอนจะหลอกล่อด้วยกับสิ่งที่เป็นอุตริกรรมหรือ “บิดอะฮฺ” โดยกล่าวว่า “มนุษย์สมัยนี้ละเลยศาสนา และเป็นการยากยิ่งที่จะนำพวกเขา กลับมาสู่แนวทางของอิสลาม ดังนั้น เราควรทำอิบาดะฮฺบางอย่าง ตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเราก็อุตริอิบาดะฮฺบางอย่างเพิ่มเข้าไป เผื่อว่ามนุษย์จะกลับมาสู่แนวทางของศาสนา” และบางครั้ง อาจอุตริอิบาดะฮฺ ที่มีเค้ามาจากแบบอย่างสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และชัยฏอนก็กระซิบกระซาบว่า “การอุตริในเรื่องความดีย่อมถือเป็นความดี ดังนั้น ท่านจงอุตริเถิด” และสิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่นั้น ก็ออกมาในรูปเชิงของอิบาดะฮฺ หรืออาจอุตริเพิ่มอิบาดะฮฺขึ้นมาใหม่ในอิสลาม และบางทีบางคนอาจพูดว่า “ผู้คนห่างไกลจากศาสนาเหลือเกิน เรามาแต่งหะดีษ เพื่อให้พวกเขาจะได้เกรงกลัว และตักวาต่ออัลลอฮฺดีกว่า” แล้วพวกเขาก็อุปโลกน์หะดีษขึ้นมา และกล่าวเท็จต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และกล่าวว่า “พวกเราโกหก แต่เราไม่ได้โกหกใส่ร้ายท่าน แต่เราโกหกเพื่อท่าน!!” โกหกเพื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม !! แล้วอุปโลกน์หะดีษเพื่อให้ผู้คนกลัวไฟนรก!! พวกเขาสร้างจินตนาการเกี่ยวกับมนุษย์ในมุมมองที่แปลก และวาดภาพสวรรค์ในมุมมองที่ประหลาดยิ่งกว่า!! เป็นที่ทราบกันดีว่า การอิบาดะฮฺนั้นเป็บแบบ เตากีฟียฺกล่าวคือ เรายึดปฏิบัติตามหลักฐาน ที่ปรากฏในแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่อัลลอฮฺได้บัญชาให้แก่ท่านเท่านั้น และไม่ใช่เอกสิทธิ์ของใคร ที่จะอุตริเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงตามอำเภอใจ มันไม่ใช่อื่นใดเว้นแต่คือบิดอะฮฺจากการประดิษฐ์ตกแต่งของชัยฏอน
3. ให้ความสำคัญกับเรื่องหนึ่ง โดยละเลยอีกเรื่องหนึ่ง

1. ระดับปัจเจกบุคคล

บางคนทำความผิดและบาปต่างๆ อย่างมากมาย แต่ว่าเขาดำรงการละหมาด และกล่าวอ้างว่า การละหมาดคือเสาหลักของศาสนา และคือการงานแรกที่จะถูกนำมาตัดสินในวันแห่งการคิดบัญชี ดังนั้น ไม่เป็นไรหรอกหากจะทำความผิดบางอย่าง!! เขาทำให้การละหมาดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นข้ออ้างในการละเลยต่ออิบาดะฮฺอื่นๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องละหมาด และละเลยเรื่องอื่นๆ !! ใช่! การละหมาดคือเสาหลักของศาสนา แต่มันไม่ใช่ศาสนาทั้งหมด แล้วชัยฏอน ก็นำมันมาเป็นข้ออ้างสำหรับการละเลยความดีอื่นๆ และบางคนกล่าวว่า “ศาสนาคือการปฏิสัมพันธ์” สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่ท่านทำดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่โกหก ไม่คดโกง ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ละหมาดก็ไม่เป็นไร เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวความว่า “ศาสนานั้นคือการปฏิสัมพันธ์” และบางคนก็กล่าวว่า: สิ่งสำคัญที่สุดคือ เจตนาที่ดี! ฉันหลับตานอนในขณะที่หัวใจของฉัน ปราศจากการอิจฉาริษยาและโกรธเคือง ในขณะเดียวกัน เขาก็ละเลยความดีอื่นๆ และพอเพียงกับเจตนาที่ดีเท่านั้น! และอีกบางคน ก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาอัลกุรอาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่านและตัจญ์วีด และให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แล้วก็ละเลยความดีอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า มันไม่ใช่เรื่องเดียวในศาสนาอิสลาม ความผิดตรงนี้ ไม่ใช่อยู่ที่การให้ความสำคัญ แต่คือการละเลยและละทิ้งเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญในศาสนาอิสลามเช่นกัน

2. ระดับกลุ่ม (ญะมาอะฮฺ) 

ประเด็นนี้ มีให้เห็นในระดับกลุ่มพวกเช่นเดียวกันด้วย จะเห็นได้ว่าบางแนวคิดกล่าวว่า: “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรู้สภาพความเป็นไปของมุสลิมในภาวะปัจจุบัน สภาพของศัตรู สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเมือง เพราะเราอยู่ในยุคสมัยใหม่ ไม่ใช่ยุคหิน” เช่นนี้แหละ เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่มีแนวคิดนี้จะเชี่ยวชาญในเรื่องคอมมิวนิสต์ เซคิวล่าร์ ฟรีเมสัน บาไฮ และก็อดยานียฺ แต่ถ้าหากท่านถามเกี่ยวกับเรื่องอิสลามแล้ว เขาไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับอิสลาม!! ในทางตรงกันข้าม บางกลุ่มให้ความสำคัญกับเรื่องอิบาดะฮฺ และกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ของท่านกับอัลลอฮฺ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การละหมาด การที่ท่านเป็นคนสมถะ มีความยำเกรง แต่เขากลับละเลยเรื่องอื่นๆ ทั้งหมด และให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องจิตวิญญาณและอีกหลายๆ คน –ซึ่งมีอยู่จริงในกลุ่มแนวคิด- กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “เอกภาพ” ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า: “และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน” (อาล อิมรอน, 3 : 103)

และพวกเขาก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มากกว่าเรื่องหลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ) ! ร่วมวงเสวนากับผู้คนหลากหลาย ถึงแม้จะมีหลักความเชื่อที่ต่างกัน โดยกล่าวอ้างว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่พวกเรารวมตัวกัน ในสมัยที่ศัตรูอิสลามรวมตัวโจมตีพวกเรา แต่ที่ถูกต้องแล้ว เรารวมตัวกันบนหลักพื้นฐาน รวมตัวกันบนหลักศาสนา ไม่ใช่รวมตัวสะเปะสะปะ และมีหลักความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องให้ความเสมอเท่าเทียมกันทั้งในเรื่องนี้ และเรื่องอื่นๆ เพราะแนวทางของชัยฏอนส่วนมากแล้ว คือ การให้ความสำคัญกับเรื่องหนึ่ง และละเลยเรื่องอื่นๆ

4. ผัดวันประกันพรุ่ง 

และอีกหนึ่งในแนวทางของชัยฏอนคือ การผัดวันประกันพรุ่งและหวังเรื่อยเปื่อยไปไกล หรือที่บางคนขนานกันว่า “ตัวอุปสรรคอันยิ่งใหญ่” บางคนได้วางเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้ข้างหน้าเสมือนเป็นอุปสรรค เขากล่าวว่า “หากฉันเรียนจบ ฉันจะกลับตัว” คือทำการเรียนให้เป็นอุปสรรคในการกลับตัวจากบาป และเมื่อเขาเรียนจบ เขาก็กล่าวว่า “เมื่อฉันได้งานแล้ว ฉันจะกลับตัว” แล้วเขาก็ได้งาน แต่ก็ยังไม่กลับตัว และก็เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ...เมื่อฉันทำหัจญ์...เมื่อฉันแต่งงาน...เมื่อ...เมื่อ...

เขามักวางอุปสรรคไว้ข้างหน้าตลอด ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และใช้ชีวิตอยู่กับการหวังลมๆ แล้งๆ และเช่นนี้แหละที่เขาใช้ชีวิตและจบชีวิตลงโดยไม่ได้เริ่มชีวิตใหม่เสียจริงๆ

เป้าหมายสูงสุดของชัยฏอนคือ เหนี่ยวรั้งท่านจากการประกอบคุณงามความดีต่างๆ หรือผัดวันประกันพรุ่ง และนี่คือ แนวทางของชัยฏอนที่น่ากลัวยิ่งสำหรับคนดีๆ ทั้งหลาย

ชัยฏอนมาหาท่านแล้วกระซิบกระซาบว่า: “ตอนนี้ท่านยังไม่พร้อมหรอก ที่จะสอนผู้คน หรือดะอฺวะฮฺพวกเขา รอก่อน จนกว่าท่านจะเรียน...” ทั้งๆ ที่เราถูกสั่งใช้ให้ทำการเผยแพร่ ถึงแม้จะมีความรู้เพียงอายะฮฺเดียวก็ตาม

ท่านอิบนุลเญาซียฺได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตัลบีส อัล-อิบลีส” ว่า: “กี่มากน้อยแล้ว ที่ผู้ที่ปฏิญานตนแน่วแน่ว่าจะทำงาน หรือจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง แล้วเขาก็ประวิงเวลาไป กล่าวคือชัยฏอนได้ล่อให้เขาประวิงเวลา โดยให้เขานึกว่า กี่มากน้อยแล้วที่ผู้ที่เพียรพยายามสู่ความดีงาม แล้วชัยฏอนก็ประวิงเวลาเขาไว้ และบางครั้ง นักฟะกีฮฺ (ปราชญ์ที่มีความรู้ด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ก็ตั้งใจว่าจะทวนการสอนอีกครั้ง แล้วชัยฏอนก็กระซิบกระซาบว่า “พักก่อนสักระยะหนึ่ง” และชัยฏอนมักให้ท่านชอบความเกียจคร้าน และผัดวันประกันพรุ่ง บางที ชัยฏอนอาจเข้ามาหาผู้ที่ปฏิบัติการละหมาด ในยามค่ำคืนและกล่าวว่า เวลากลางคืนยังอีกยาวนาน สุดท้ายก็ถึงเวลาเช้า และเขาก็ไม่ได้ละหมาด”

5. ความสมบูรณ์แบบจอมปลอม 

ชัยฏอนอาจกระซิบกระซาบ แล้วให้มนุษย์รู้สึกว่าเขาเป็นคนที่สมบูรณ์แบบแล้ว และมันจะกล่าวกับเขาว่า: ท่านดีกว่าคนอื่นๆ ท่านละหมาด แต่คนอื่นๆ อีกหลายต่อหลายคนไม่ละหมาด ท่านถือศีลอด แต่คนอื่นๆ อีกหลายคนไม่ได้ถือศีลอด กล่าวคือ ชัยฏอนจะทำให้ท่านดูคนที่ด้อยกว่าในการปฏิบัติคุณงามความดี ทั้งนี้และทั้งนั้นก็มิใช่เพราะอื่นใด แต่เพื่อประวิงเวลาในการประกอบความดีของท่าน

ชัยฏอนอาจกระซิบกระซาบว่า: “การงานของท่านจะช่วยท่าน” แล้วมันก็ให้ท่านหมกมุ่นอยู่กับการงานที่เป็นมุบาหฺ
“พักก่อน”
“ท่านยุ่ง”
“ท่านดีกว่าคนอื่นๆ”
และเช่นนี้แหละ เพื่อให้ท่านได้หยุดหย่อนและไม่มุ่งมั่นในการทำงาน

สิ่งที่พึงประสงค์ คือตรงกันข้าม กล่าวคือ ให้ท่านดูคนที่ถือศีลอดทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ในขณะที่ท่านไม่ได้ถือศีลอด ให้ดูคนที่ปฏิบัติละหมาดที่เป็นสุนัต แต่ท่านไม่เคยปฏิบัติ...นี่แหละ คือการมองที่ถูกต้องและพึงประสงค์

6. ไม่เชื่อมั่นในตัวเองและความสามารถ 

ชัยฏอนมีสองวิธีในการล่อลวงให้มนุษย์พิจารณาตัวเอง คือ

1. มองตัวเองอย่างลำพองและหลงตัวเอง คือ การที่ชัยฏอนผลักดันให้คนหนึ่ง มองตัวเองอย่างลำพอง ต่อมาเขาก็หลงตัวเองและหยิ่งผยอง แล้วชัยฏอนก็กระซิบเขาว่า “ท่านได้ทำ...ทำ... จงดูตัวท่านเถิด ท่านได้ทำอะไรมากมาย และผู้คนก็เปลี่ยนแปลงเพราะท่าน แล้วเขาก็หยิ่งผยอง หลงตัวเอง ดูแคลนคนอื่น ปฏิเสธสัจธรรม เมื่อผิดก็ไม่ยอมกลับตัว และไม่ยอมร่วมนั่งศึกษาความรู้จากบุคคลอื่น” ฉันสังเกตเห็นวงหะละเกาะฮฺ อ่านอัลกุรอาน บางคนเมื่อมีคนทักว่าอ่านผิด แทนที่เขาจะยังคงเรียนอยู่ในวงหะละเกาะฮฺเพื่อที่คนอื่นจะได้แก้ไขการอ่านให้ถูกต้อง แต่เขากลับทิ้งหะละเกาะฮฺ การเรียนอัลกุรอาน ทั้งนี้เพราะกลัวที่จะต้องถูกติท่ามกลางคนส่วนใหญ่ และแล้วเขาก็ไม่ได้เรียนตลอดทั้งชีวิต หากเขาฉุกคิดสักนิด เขาจะรู้ว่าคนที่อ่านคล่อง ก่อนหน้านี้ก็มีสภาพเหมือนกับเขา แต่คนอื่นก็ศึกษาต่อเนื่องโดยไม่ย่อท้อ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องพยายาม และฝึกปรือตัวเอง ให้หายจากข้อบกพร่องของตัวเองไม่ใช่ปกปิดมัน

2. มองตัวเองอย่างถูกดูและดูแคลน ชัยฏอนจะกระซิบกระซาบท่านว่า “ท่านต้องถ่อมตัว ใครก็ตามที่ถ่อมตัวเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะยกระดับเขา ... งานนี้ไม่เหมาะกับท่านหรอก! มันเหมาะกับคนที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเท่านั้น” จุดมุ่งหมายตรงนี้คือ ชัยฏอนประสงค์ให้ท่านห่างออกจากสาสน์ของท่าน ด้วยวิธีการถ่อมตัว กล่าวคือ ให้ท่านดูถูกความสามารถของตัวเอง จนไม่สามารถนำความสามารถที่มีท่านมีอยู่ มาใช้เป็นประโยชน์ได้ พวกเราจะถูกสอบสวน ในความสามารถที่เรามีอยู่ ที่เราจำเป็นต้องนำเสนอ และในเมื่อเราไม่นำมาเสนอเราก็จะถูกสอบสวน ดังกล่าวนี้ ไม่ใช่การถ่อมตัวแต่ประการใด แต่คือการเลี่ยงหน้าที่ความรับผิดชอบ ชัยฏอนจะคอยกระซิบกระซาบเขาว่า “ปล่อยโอกาสให้คนที่ดีกว่าท่านดีกว่า การดะอฺวะฮฺคือการงานที่ประเสริฐ คืองานของชายชาตรีที่โดดเด่น” และบางทีชัยฏอนอาจมาในรูปแบบของการช่วยเหลือ และบางทีอาจจะเกิดข้อผิดพลาดบางประการ ในการทำงานของเขา แต่เขาก็พาลคิดว่าผิดเสียทั้งหมด การเหมารวมว่าผิดนั้นคือแนวทางหนึ่งของชัยฏอน และ บางที ชัยฏอนอาจหลอกล่อมนุษย์โดยการให้ดูแคลนตัวเอง แล้วเขาก็ไม่เคยที่จะใช้สติปัญญาในการคิด โดยชัยฏอนจะตั้งคำถามว่า:
“ฉันอยู่ในระดับไหนจากเชคคนนนั้น?”
“ฉันอยู่ในระดับไหนจากผู้รู้คนนั้น”

ยกเลิกการใช้สติปัญญา และไม่คิดนอกจากตามความคิดอาจารย์ของเขา ไม่ปฏิบัตินอกจากคำแนะนำอาจารย์ของเขา อาจารย์ของเขาเท่านั้นที่ถูก นอกเหนือจากนั้นผิด และนี่คือจุดเริ่มต้นของ “การเทิดทูนมนุษย์” หลักการของเราคือ การกลับไปหาบทบัญญัติศาสนา มนุษย์คนนี้ที่อยู่ต่อหน้าเรา เป็นไปได้ที่อาจจะผิด ให้เอาคำพูดของมนุษย์ทั้งมวล มาเทียบเคียงกับคำตรัสของอัลลอฮฺและคำพูดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หากเห็นพ้องสอดคล้องตรงกัน เราก็รับ แต่หากค้านกัน เราก็ละทิ้งคำพูดของมนุษย์คนนั้น

7. สร้างความสงสัย 

การสร้างความสงสัยคือ หนึ่งในแนวทางของชัยฏอนที่อันตรายนัก...แต่ทว่า มันเกิดชึ้นได้อย่างไร? เช่น บางทีชัยฏอนอาจเข้ากระซิบกระซาบผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนผู้คน ปฏิบัติตนอยู่ในครรลองของอิสลาม และห่างไกลจากข้อห้ามต่างๆ มันเข้ามาสร้างความสงสัยในแนวทางที่ตนเองดำเนินอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขาได้คลุกคลีกับผู้คนที่ไม่ดี ประพฤติตัวนอกลู่อิสลาม ชัยฏอนเข้ามา แล้วกระซิบว่า “ทุกคนเหล่านั้นอยู่ในไฟนรก แล้วท่านเพียงผู้เดียวอยู่ในสวรรค์กระนั้นหรือ?!”

ที่ถูกต้องแล้ว ท่านอย่าเอาจำนวนคนมากหรือน้อย มาเป็นมาตรวัด เพราะสัจธรรมคือ สิ่งที่สอดคล้องกับพระดำรัสของอัลลอฮฺและคำพูดของเราะสูลของพระองค์. ดังนั้น มาตรวัดของญะมาอะฮฺไม่ใช่คนส่วนมาก แต่ญะมาอะฮฺคือ สิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม ถึงแม้ท่านจะอยู่เพียงคนเดียว อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า: “และส่วนใหญ่ของมนุษย์จะไม่ศรัทธาต่อเจ้า ถึงแม้เจ้าปรารถนาอย่างยิ่งก็ตาม” (ยูสุฟ : 12 : 103)

นุอัยมฺ อิบนุ หัมมาด ผู้ซึ่งเป็นตาบิอียฺได้กล่าวว่า: “แท้จริงญะมาอะฮฺนั้นคือ สิ่งที่สอดคล้องกับการการภักดีต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา และเมื่อญะมาอะฮฺเสื่อมเสีย ท่านก็จงยืนหยัดอยู่บนญะมาอะฮฺก่อนที่

............................
สุวัฒน์ อิสมาแอล

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหตุที่รัก




ณ ประเทศอิยิปต์มีชายคนหนึ่งที่ไปมัสญิดอยู่เป็นประจำเพื่อทำการอะซานและละหมาด
รัศมีของการทำอิบาดัตและการฏออัตได้ปรากฏอยู่ที่ตัวเขา

วันหนึ่ง เขาได้ขึ้นไปยังหออะซานเพื่อทำการอะซาน ใต้หออะซานมีบ้านของชาวคริสต์คนหนึ่ง
แล้วสายตาของเขาก็เหลือบไปมองลูกสาวของบ้านนั้น แล้วเกิดหลงรักในความสวยของนาง

เขาได้ทิ้งการอะซานแล้วมุ่งไปยังบ้านหลังดังกล่าว

ลูกสาวชาวคริสต์: ท่านต้องการอะไร?
ชายผู้นั้น: เธอได้เอาหัวใจของฉันไปหมดแล้ว ฉันต้องการแต่งงานกับเธอ
ลูกสาวชาวคริสต์: ท่านเป็นมุสลิมแต่ฉันเป็นคริสต์ พ่อฉันคงไม่ยอมแต่งให้หรอก
ชายผู้นั้น: ฉันจะเข้าคริสต์
ลูกสาวชาวคริสต์: หากท่านทำเช่นนั้น ฉันก็จะแต่งกับท่าน
แล้วชายผู้นั้นก็เข้าศาสนาคริสต์เพื่อแต่งงานกับนาง

เขาได้พักอยู่กับนางที่บ้านหลังนั้น และวันนั้นเองเขาก็ได้ขึ้นไปยังดาดฟ้าของบ้าน แต่เกิดพลาดตกลงมาเสียชีวิต..

สุดท้ายแล้วเขาได้สูญเสียอิสลาม และก็ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับนาง..


ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเธอไม่อาจเดินทางร่วมกันได้เนื่องเพราะด้วยศาสนา
แต่ใจก็ยังรักเธอ

ถ้าเช่นนั้น...คงต้องถามใจตัวเองเสียใหม่ว่า รักเธอเพราะเหตุใด ?
ถ้ามิใช่เพราะศาสนา ก็จงรอความวิบัติเถิด...

...................................................
[อ้างจาก: "อัต-ตัซกิเราะฮฺ ฟี อะหฺวาล อัล-เมาตา วะ อุมูรฺ อัล-อาคิเราะฮฺ" โดยอัล-กุรฺฏุบีย์

ประชาชาติ อิสลาม

ข้อเท็จจริงของชีวิต




อัลลอฮฺได้สร้างโลกนี้ประกอบด้วยมนุษย์ สัตว์และสรรพสิ่งต่างๆ เป็นคู่ๆ มีโลกนี้และโลกหน้า มีเพศชายและเพศหญิง มีวัยรุ่นและวัยชรา มีความดีและความชั่ว มีความเป็นและความตาย มีความสุขและความทุกข์ มีสวรรค์และนรก ข้อเท็จจริงนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

“และจากทุกๆ สิ่งนั้น เราได้สร้างมันขึ้นเป็นคู่ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใคร่ครวญ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัซ-ซาริยาต:49)

จุดจบของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตคือความตาย โลกนี้ก็เช่นเดียวกัน จะมีจุดจบและจุดสิ้นสุด อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

“แต่ละชีวิตนั้น จะได้ลิ้มรสแห่งความตาย และแท้จริง พวกเจ้าจะได้รับผลตอบแทนของพวกเจ้า ในวันปรโลก” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน: 185)

โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีสภาพชั่วคราว ไม่นิรันดร์ ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นโลกที่ถาวร เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

“และโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและเป็นการสนุกสนานรื่นเริง และแท้จริงโลกหน้านั้น คือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขารู้” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อันกะบูต: 64)

วันสิ้นสุดของโลก เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว อัลลอฮฺได้ตรัสอธิบายสภาพดังกล่าว ในดำรัสของพระองค์ซึ่งมีว่า

“มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงต่อพระเจ้าเถิด เพราะแท้จริง ความอลหม่านของวันสิ้นโลกนั้น หนักหน่วงยิ่ง วันที่พวกเจ้าจะได้เห็นมัน (น่าพรั่นพรึงจนแม้กระทั่ง) แม่ที่กำลังให้นมลูกจะทิ้งลูกของนาง หญิงตั้งครรภ์ทุกคน จะคลอดลูกในท้อง (โดยไม่รู้ตัว) และเจ้าจะเห็นผู้คนทั้งหลาย อยู่ในสภาพมึนเมาทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้เมา แต่ทว่าเป็นเพราะการลงโทษนั้นรุนแรงยิ่งนัก” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-หัจญ์: 1-2)

ในเมื่อโลกนี้เป็นเพียงโลกชั่วคราวไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลก อย่างพอเพียง ไม่โลภ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่หลอกลวง ไม่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำจนเลยขอบเขต ไม่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนพวกเราถึงวิธีการใช้ชีวิตบนโลกนี้ว่า ควรจะอยู่เยี่ยงคนแปลกหน้าหรือผู้เดินทางที่หยุดพักกลางทางเพื่อรอจะเดินทาง ต่อบนเส้นทางอีกยาวไกลข้างหน้า ท่านได้กล่าวไว้มีความว่า

“ท่านจงอาศัยอยู่บนโลกนี้ เสมือนกับว่าท่านเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นผู้ผ่านทาง” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

โลกนี้เป็นสถานที่ สำหรับประกอบคุณงามความดีต่ออัลลอฮฺ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น รางวัลที่จะได้รับนั้นคือในโลกหน้า ดังนั้นโลกนี้จึงเต็มไปด้วยการทดสอบ เพื่อทดสอบว่าใครศรัทธาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างโลกนี้และใครเป็นผู้ปฏิเสธ ศรัทธา ใครปฏิบัติความดีต่อตนเองและผู้อื่น ใครทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น ใครที่สามารถยับยั้งชั่งใจ และใครที่สามารถควบคุมตนเองได้ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

“มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกปล่อยให้กล่าวว่า ‘เราได้ศรัทธาแล้ว’ โดยที่ไม่มีการทดสอบใดๆ แท้จริงแล้วเราได้ทดสอบบรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเจ้า ดังนั้นแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงจำแนกให้รู้ว่า ผู้ใดเป็นผู้สัจจริง และผู้ใดที่โกหกมดเท็จ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล- อันกะบูต: 2-3)

“พระองค์ผู้ทรงกำหนดชีวิต และความตาย เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดที่ปฏิบัติตนได้ดีที่สุด และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนา จและให้อภัยเสมอ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ: 2)

ดังนั้น เมื่อชีวิตอยู่บนโลกนี้มนุษย์จึงมีหน้าที่ ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่พระองค์สั่งให้ศรัทธา ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุด เพื่อขอบคุณพระองค์ และหวังในความโปรดปรานของพระองค์ ในโลกหน้า ด้วยการปฏิบัติกิจต่างๆ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การบริจาค ซะกาต เป็นต้น ต้องปฏิบัติต่อตนเองให้ดีที่สุดด้วยการบริโภคสิ่งที่ อัลลอฮฺ อนุมัติ หลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์ห้าม ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นให้ดีที่สุด ทั้งต่อภรรยา ลูกๆ เพื่อนบ้าน เช่นการให้เกียรติผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการกระทำหรือคำพูด การมีมารยาท และต้องปฏิบัติต่อสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกให้ดีที่สุด เช่นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรต่างๆ เท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เช่นที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยห้ามไม่ให้ปัสสาวะในบึงที่น้ำนิ่งไม่ไหล และห้าม มิให้ถ่ายอุจจาระใต้ต้นไม้ซึ่งเป็นที่หยุดพักของผู้คน ฯลฯ

1. โลกนี้เป็นสถานที่ชั่วคราว ไม่ถาวร ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นชีวิตนิรันดร์

2. มนุษย์ต้องพบกับความตาย จึงต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมด้วยการปฏิบัติความดีต่างๆ และละเว้นจากความชั่วทั้งหลาย

3. ชีวิตบนโลกเป็นการทดสอบว่าใครปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุด มนุษย์จึงต้องเข้มแข็งในการเผชิญกับบททดสอบในชีวิต

4. มุสลิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนต่ออัลลอฮฺ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นให้ถูกต้องตามที่อิสลามได้สอนไว้

1. ท่านคิดว่าโลกนี้และโลกหน้ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์หรือไม่ อย่างไร?

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าชีวิตนี้คือการทดสอบ?

3. ท่านคิดว่ามนุษย์มีชีวิตเพื่ออะไร ถ้าหากไม่มีโลกหน้า?

4. ท่านคิดว่าต้องทำอย่างไร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่บนโลก

.............................
สุวัฒน์ อิสมาแอล

การปฏิบัติตามสัญญา


                อิสลามให้มุสลิมปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ต่อคู่สัญญาอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าด้วยการชดใช้หนี้สินต่างๆ การคืนของที่ยืมมา การมาตามที่นัดพบ การปฏิบัติตามเงื่อนไขพันธสัญญา หรือการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ในกรณีอื่นๆ รวมทั้งทั้งการปฏิบัติตามสัญญานั้นต้องตรงต่อเวลาที่นัดไว้ ไม่ผิดนัด ผันผ่อนจนล่วงเลยเวลา ซึ่งบางสัญญาหากไม่มีการปฏิบัติกันตามวันที่ระบุไว้ อาจทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย หรืออาจทำให้กิจการนั้นไร่ผลได้

พระองคือัลลอฮฺ ศุบอานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

"وَأَوْفُوا بِالْعَهْدِ إِنَّ الْعَهْدَ كَانَ مَسْئُولا"

“จงรักษาสัญญาให้ครบถ้วน เพราะสัญญานั้น ถูกสอบสวน”
 (อัลกุรอ่าน สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์ 17:34)

"พวกเจ้าจงปฏิบัติให้ครบตามสัญญาพันธสัญญาของอัลลอฮฺ เมื่อพวกเจ้่าได้ให้สัญญาไว้ และพวกเจ้าอย่าได้ทำลายคำสาบานหลังจากได้ยืนยันแล้ว"

والله أعلم بالصواب



10 ข้อคิดเพื่อชีวิตคู่ในอิสลาม




1. ด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาล ฉันบรรจงสาส์นนี้ ด้วย บิสมิลละฮฺ คือจุดเริ่มต้นของชีวิต หน้าที่ และ ภารกิจทั้งมวล เพราะมันคือพันธสัญญาของบ่าว ผู้มีสถานภาพเพียงฝุ่น ที่ปฏิญาณอยู่เบื้องหน้าผู้อภิบาล ที่ไม่มีใครเข้าใจขอบเขตอำนาจของพระองค์ ว่าข้าพระองค์ จะถอดถอนเจตนาที่ไร้สาระทั้งหมด จะเพาะปลูกเจตนาที่บริสุทธิ์ เพื่อเป็นกำแพงกั้นไฟนรก และจุดเทียนแท่งน้อยตีแผ่สัจธรรม ที่ถูกละเลย ข้าพระองค์ จะเป็นเช่นทหารของพระองค์ ที่พร้อมจะอยู่ในกรอบแห่งชะรีอัต ด้วยนัฟซูที่หลงไหลวิถีชีวิต แบบอัล-อิสลาม ที่วางกรอบวินัยไว้อย่างเข้มแข็ง ข้าพระองค์จะรอคอยคำสั่ง เพื่อสนองตอบ อย่างสยบราบคาบ

2. เมื่อมุมินตั้งแถวละหมาดอย่างจดจ่อ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ปลดเปลื้องความโสโครกในหัวใจของเขา และห่อหุ้มเขาให้พ้นจากความชั่วด้วยเกราะที่แน่นหนา เมื่อมุมินถือศีลอด อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้มอบให้แก่เขา ซึ่งโล่แห่งความยำเกรง ที่สามารถปกป้องเขา จากลูกธนูแห่งการหลงโลก และความเลยเถิด เมื่อมุมินจ่ายซะกาต เลือกบริโภคแต่สิ่งที่หะลาล แสวงหาปัจจัยยังชีพ ด้วยวิธีการที่หะลาล อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทำให้ร่างกายของเขาไร้คุณค่าแก่ไฟนรก เมื่อมุมินอดทน ต่อบททดสอบ และผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายไปได้ ด้วยน้ำตาและอีหม่าน ชัยฏอนจะท้อแท้ เปลี่ยนทิศทางการโจมตี ด้วยความโกรธแค้น เมื่อมุมินขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ด้วยความจริงใจในความผิดที่เขาเคยทำ และตั้งใจที่จะไม่หวนกลับไปทำอีก ชัยฏอนได้หันหลังให้เขา อย่างเศร้าสลด และเมื่อมุมินและมุมินะฮฺ เข้าสู่การนิกะฮฺ เพื่อปกป้องตัวเขาเอง จากนัฟซูแห่งกามารมณ์ ประตูแห่งฟิตนะฮฺของซินา ได้ถูกปิดลง ชัยฏอนต้องรับสภาพความหมดหวัง

3. โรคหลงโลกระบาดในยุคสุดท้าย มุสลิมไม่น้อยที่มีเปลือกสวยงาม แต่เนื้อในอ่อนแอ ปล่อยลูกหลานวัยสาว เดินบนหน้าแผ่นดิน โดยไร้ฮิญาบป้องกัน อารมณ์ และเหตุผล อยู่เหนือหลักการแห่งอัลอิสลาม อาชีพการงานสำคัญกว่าชะรีอัต ความอยู่รอดเชิงวัตถุ สำคัญกว่าความอยู่รอดของอีหม่าน ค่านิยมสำคัญกว่าซุนนะฮฺ ความอยู่รอดส่วนตัว สำคัญกว่าความอยู่รอดของอุมมะฮฺ ไขว่คว้าหาความเข้มแข็งจากอีหม่านที่อ่อนแอ สร้างตึกร้อยชั้น โดยปราศจากเสาเข็มแห่งอะกีดะฮฺที่ถูกต้อง อิสลามที่ยืมรากวัตถุนิยม ลำต้นแห่งปรัชญาเหตุผล ตะวันออก และตะวันตก แล้วเสียบยอดด้วยอิสลามที่แคระแกร่น แต่กลับฝันหวานถึงความรุ่งโรจน์ ของมุสลิมเหมือนอดีต ทั้งวิธีคิด และวินัยของคนยุคนั้น แตกต่างจากเขาโดยสิ้นเชิง

4. ด้วยวิสัยทัศน์ที่ไปไม่ถึงอาคีเราะฮฺ พ่อแม่ญาติพี่น้องของเด็กหนุ่ม แสวงหาเจ้าสาวที่ออกทำงาน มาตรแม้นว่าเธอจะรู้จักฮิญาบหรือไม่ก็ตาม มาตรแม้นว่าเธอจะทำหน้าที่ภรรยาและแม่ได้หรือไม่ก็ตาม บางทีเธอไม่รู้จักการตออัตต่อสามี ชอบโต้แย้งในสิทธิของเขา เรียกร้องความเท่าเทียมกันของผู้หญิง ผู้ชายที่มีภาระและบทบาทต่างกัน หญิงที่เตรียมตัวเป็นภรรยาและแม่ เพาะบ่มอีหม่าน อามัล และความเข้าใจศาสนา แต่ไม่แสวงหาอาชีพ ได้ถูกมองข้ามครั้งแล้วครั้งเล่า จนเธอต้องออกไปทำงาน นอกบ้าน เผื่อว่าจะมีชายหนุ่มที่หลงโลก มาขอเธอแต่งงาน ไม่ใช่ว่าการออกไปหาเลี้ยงชีพ ของมุสลิมะฮฺในภาวะจำเป็นนั้น เป็นสิ่งผิดพลาด เพราะไม่มีใครมีสิทธิกำหนดว่า สิ่งหะลาลของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นสิ่งต้องห้าม และไม่มีข้อสรุปใด ๆ ว่าหญิงที่หาเลี้ยงชีพ จะมีอีหม่านและอามัล ด้อยกว่าผู้หญิงที่หมกตัวอยู่ในบ้านเรือน แต่...ความบิดเบี้ยวที่มองเห็นว่า ค่าของผู้หญิงนั้น ต้องดูที่การงานเป็นหลักนั้น เป็นวิธีคิดที่สั้น และน่าสงสาร

5. มุสลิมในปัจจุบัน กำลังถูกหลอกให้สวมแว่นวัตถุนิยม ด่วนสรุปว่าการแต่งงานในวัยที่อายุน้อย เป็นความผิดพลาดที่น่าอับอาย ทั้ง ๆ ที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ด.) แต่งงานกับท่านศาสนทูต (ศ็อล ฯ) เมื่อเธออายุเพียง 9 ขวบ และการแต่งงานในวัยหนุ่มน้อยปรากฏทั่วไป บนหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม เมื่อสวมแว่นวัตถุนิยม มุสลิมจะมองว่าหญิงหรือชาย ควรแต่งงานเมื่อเรียนจบ และมีงานทำ ถึงแม้ว่าเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จะยังไม่รู้จักญุนุบก็ตาม แต่ถ้าเขาสวมแว่นอิสลาม เขาจะมองเห็นว่า หญิงหรือชายควรแต่งงานเมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะ เข้าใจและสามารถอยู่ในกรอบของชะรีอัต ครอบครัวใหม่มีปัจจัยยังชีพเพียงพอ และคู่บ่าวสาวสามารถ สร้างครอบครัวแบบอิสลาม และเมื่อเขาเห็นว่า การแต่งงาน จะปิดประตูซินา ถึงแม้ว่าคู่บ่าวสาวจะมีอายุแค่ 15 ปีก็ตาม ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะเรียนนจบ มีงานที่มีเกียรติหรือไม่ก็ตาม การแต่งงานในอิสลาม มีไว้เพื่อปกป้องฟิตนะฮฺ ของการซินา และสร้างครอบครัวอิสลาม ไม่ใช่เพื่อปกป้องเกียรติยศ หน้าตา หรือแสวงหาผลประโยชน์เชิงวัตถุ ตามแนวทางที่ค่านิยมร่วมสมัยของสังคมยุคนี้ต้องการ

6. คนที่มีสติปัญญาที่ถูกความคิดร่วมสมัยครอบงำได้กล่าวว่า "หนุ่มสาวควรแต่งงานเมื่อบรรลุวุฒิภาวะ และมีอาชีพการงาน" และเมื่อถูกถามต่อว่า "อะไรคือวุฒิภาวะ" เขาจะตอบว่า "หนุ่มสาวที่จะแต่งงาน ต้องมีอายุครบ 25 ปี" และเขาตำหนิมุสลิมในรุ่นพ่อแม่ และปู่ ย่า ตา ยาย ที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย เขาไม่สำนึกหรือว่า คนในยุคนี้ แม้แต่งงานช้า แต่กลับมีการหย่าร้าง สูงกว่าคนแต่งงานเร็วในยุคก่อน ยิ่งในสังคมที่ศิวิไลซ์ เขาจับหางของผู้ที่เป็นทาส แนวคิดตะวันตก ไว้แน่น เดินตามกันเหมือนไร้มันสมอง ความจริงแล้ว อิสลามถือว่า เงื่อนไขของผู้บรรลุวุฒิภาวะ คือจะต้องบรรลุศาสนภาวะ พร้อมจะอยู่ในกรอบของชะรีอัต ถึงแม้เขาจะอายุน้อยก็ตาม และเหตุผลหลักของการหย่าร้าง ที่สูงขึ้นของคนในยุคนี้ ถึงแม้ว่าสามีภรรยาจะมีอายุมากกว่า 25 ปี ก็ตาม ก็คือเขาเหล่านั้น กลับยังไม่บรรลุศาสนภาวะ เขาไม่เคยคิดที่จะเอาชะรีอัต มาใช้ในการแก้ปัญหาครอบครัว แต่กลับแก้ปัญหาด้วยอารมณ์ และเหตุผลที่หาข้อยุติไม่ได้ มีคนโต้แย้งว่า ก็เพราะอย่างนี้นะซิ ในยุคนี้จึงควรแต่งงานช้า คงไม่ผิดเสียทีเดียว... แต่ทั้งหมดนั้น เป็นเพียงดัชนีชี้ ให้เห็นถึงความล้มเหลว ในการตัรบียะฮฺอุมมะฮฺของเราในยุคนี้ !

7. บางคนกล่าวว่า "ฉันยังไม่พร้อมที่จะแต่งงานเพราะไม่มีเงินค่าสินสอด" ! ... โอ้ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้โปรดให้อภัยแก่บ่าวผู้โง่เขลาของพระองค์ ที่ทำให้สิ่งหะลาลของพระองค์คับแคบ พึงจดจำ ! ถ้าหะลาลถูกทำให้คับแคบ ทางสู่หะรอมจะเปิดกว้าง กระแสนัฟซูของมนุษย์ เสมือนกับกระแสน้ำ ที่ถูกรวบรวมจากฟากฟ้าอย่างต่อเนื่อง หากร่องแม่น้ำแห่งหะลาลถูกปิดกั้น นัฟซูจะเอ่อล้นตลิ่ง ที่เป็นกรอบของอัลอิสลาม ฟิตนะฮฺก็จะบ่าล้นไปทั่วทั้งแผ่นดิน! ไม่มีใครสามารถยับยั้งสตรี ในสิทธิที่จะเรียกมะฮัร ด้วยทองกองพะเนิน เพราะมันคือสิ่งที่อนุมัติ และแท้จริงสิ่งที่หะลาล โดยตัวของมันเอง ไม่ใช่รากเหง้าของปัญหา ดังนั้น มะฮัรที่สูงลิ่ว จึงเป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ และเป็นเพียงดัชนีบอกระดับของการละเลยซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต (ศ็อล ฯ) มูลเหตุที่แท้จริง ของปัญหาการตั้งมะฮัรสูง คือ ความหลงโลก ละเลยซุนนะฮฺ โรคร้ายของมนุษย์ยุคสุดท้าย แสดงอาการออกมาหลายรูปแบบ และรูปแบบหนึ่ง คือ การโอ้อวดกันด้วยมะฮัร ! โอ้คนหนุ่มของเรา...อย่าเพิ่งสิ้นหวัง เมื่อมุสลิมะฮฺที่ท่านทั้งหลายหมายปอง ได้สร้างความลำบาก ให้แก่ท่าน ก็ยังมีมุสลิมะฮฺอีกจำนวนไม่น้อย ที่เรียกมะฮัรต่ำ เธอเหล่านั้นส่วนหนึ่งคือผู้อีหม่าน และเข้าใจซุนนะฮฺ เธอคือสตรีกลุ่มแรกที่ควรแก่การเลือกสรร พวกเธอยังไม่สูญพันธุ์ แต่มีอยู่เฉพาะในเขตสงวน ที่พวกท่านต้องไปค้นหาเอง !

8. เรามักจะได้ยินคนพูดกันว่า "มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กำหนดคู่ครองไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่ใช่คู่กัน จะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จ" คำพูดนี้ถูกต้อง แต่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะตีความผิดพลาด เพราะบางคนเข้าใจว่า "ริสกีอย่างอื่นจะได้มาก็ต้องด้วยการขวนขวาย แต่เป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ ที่จะขวนขวายหาคู่ครอง เพราะเป็นเรื่องที่ได้ถูกลิขิตไว้แล้ว ดิ้นรนไปก็แค่นั้น" ความจริงแล้ว ริสกีทุกอย่างของมนุษย์คนหนึ่งนั้น อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กำหนดไว้แล้ว และการกำหนดของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องคู่ครองก็ไม่มีอะไรพิเศษไปจากริสกีอื่น ๆ เพราะการลิขิตของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้น มีเพื่อความง่ายดายแก่ผู้อุตสาหะ และลิขิตของพระองค์ ไม่ใช่ข้ออ้างแก่ผู้ที่ถลำเข้าสู่ความชั่ว เพราะการเลือกคู่ครองที่ผิดพลาด
9. โอ้...สตรี ผู้เป็นเช่นมารดาของประชาชาติทั้งหลาย การดูแลเอาใจใส่สามี และการเลี้ยงดูลูกหลาน อบรมเยาวชนเบ้าหลอมแห่งอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ คือ ภาระกิจหลักที่ยิ่งใหญ่และหนักอึ้ง สวรรค์ของเธออยู่ที่ความพึงพอใจของสามี และความสมบูรณ์ของภารกิจในบ้านเรือน มันคือวาญิบเหนือพวกเธอ ส่วนการแสวงหาปัจจัยยังชีพ สำหรับเธอ เป็นเพียงสิ่งที่อนุมัติ หรือบางที่อาจจะเป็นสุนัต และเธอคงทราบดีว่า สิ่งที่เป็นสุนัตจะเบา เหมือนฝุ่น ถ้าสิ่งวาญิบถูกละเลย ฉันเตือนพวกเธอ เพราะเกรงว่าพวกเธอจะหลงทาง สายตาของเธออาจจะมองไปแค่ระยะสั้น ๆ เห็นเพียงความอยู่รอดในดุนยานี้ และลืมภาระกิจอันยิ่งใหญ่

สตรี...สำหรับเธอ สามี ลูกและบ้าน คือสะพานสู่สวรรค์ จงให้เกียรติ และเชื่อฟังสามี อย่างบ่าวสยบต่อราชา ตราบเท่าที่เขาปฏิบัติตัว อยู่ในกรอบของชะรีอัต เพราะเขาคือผู้ปกครองสูงสุดของเธอ เขาจะต้องได้รับการเชื่อฟังยิ่งกว่าพ่อและแม่แท้ ๆ

เธอจะต้อง...ดูแลทรัพย์สินของสามี ไม่ให้ผู้ที่เขารังเกียจเข้าบ้าน

เธอจะต้อง...ยอมรับในสิทธิของสามี และยอมรับการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของเขาที่ไม่ขัดกับชะรีอัต

เธอจะต้อง...ไม่โต้เถียง ไม่ขึ้นเสียง กับสามี เมื่อมีความเห็นที่ขัดแย้ง แต่ควรแสดงความคิดเห็น อย่างนิ่มนวล

เธอจะต้อง...ไม่กดดันสามีด้วยภาระที่เกินความสามารถของเขา

เธอจะต้อง...รักษาความงามเพื่อเขา

เธอจะต้อง...ให้เกียรติญาติพี่น้องของเขา

เธอจะต้อง...ไม่ออกจากบ้าน นอกจากได้รับอนุญาตเสียก่อน

สตรี...ฉันอยากเตือนเธอว่า ชาวนรกส่วนนรกส่วนใหญ่ เป็นผู้หญิง เพราะเธอเหล่านั้น ไม่เคารพสิทธิของสามี และลุ่มหลงอยู่กับอาภรณ์เครื่องประดับ

โอ้! สตรี...ฉันจะประกาศข่างดีแก่เธอทั้งหลายว่า การภักดีต่อสามี และการยอมรับในสิทธิของสามีนั้น มีผลบุญเทียบเท่ากับการญิฮาดของบุรุษ ความจริงพวกเธอโชคดีกว่าบุรุษหลายเท่า ถ้าเธออดทน!

10. โอ้ ! บุรุษ...ผู้เป็นสามี ท่านคือผู้ปกครองแห่งสตรี สิทธิของท่านเหนือภรรยานั้น มาพร้อมโซ่ตรวน แห่งภาระ อย่ามักง่ายต่อมัคลูก ที่เต็มไปด้วยความละเอียดอ่อน เพราะเธอถูกสร้าง มาจากกระดูกซี่โครงที่คด หากจะดัดให้มันตรงมันจะแตก และหากท่านปล่อยไว้ มันจะคดอย่างถาวร

โอ้...ผู้ปกครองของสตรี จงรักษาสิทธิของภรรยาของท่านอย่างเคร่งครัด

จง...ให้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและอาหารอย่างดีแก่พวกนาง

จง...อยู่ร่วมกับพวกนางด้วยคุณธรรมและยุติธรรม

จง...อดทนต่อมารยาทที่ไม่งามของพวกนาง ตอบโต้นางอย่างนิ่มนวล

จง...ยอมผ่อนปรน และให้อภัยเมื่อพวกนางได้ละเมิดสิทธิของท่าน

แต่จง...อย่าผ่อนปรนถ้าพวกนางละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

จง...เจียรไนพวกนางให้รักษาเอาเราะฮฺอย่างเคร่งครัด

จง...อย่าปล่อยให้พวกนางใช้ชีวิตอย่างไร้สาระด้วยเสียงดนตรี ภาพยนต์ และหนังสือนวนิยาย

จง...เคารพ ให้เกียรติ ชื่นชมพวกนาง

จง...อย่ากำหนดภาระแก่นางในสิ่งซึ่งควรจะเป็นภาระของตัวท่านเอง

จง...อนุญาตให้นางไปเยี่ยมพ่อแม่ ญาตพี่น้องและเพื่อนบ้าน

จงห้ามปราม...ไม่ให้ไปสมาคมกับหญิงผู้ฝ่าฝืน

จงอย่า...กลับบ้านดึก ทิ้งพวกนางไว้ให้รอคอยท่ามกลางความไม่แน่นอน

ท่านไม่ควรที่จะ...ใช้ทรัพย์สมบัติของพวกนางโดยที่พวกนางไม่เต็มใจ

จง...ตั้งใจฟังพวกนาง เมื่อพวกนางพูดจาหรือให้คำแนะนำ และจงมีมารยาทอ่อนโยนเสมอ

จงรู้เถิดว่า...ท่านไม่ได้โชคดีกว่าพวกนาง ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กำหนดให้ท่านมีอำนาจเหนือพวกนาง เพราะเพียงพวกนางปฏิบัติฟัรฎู เชื่อฟังท่าน และเคารพสิทธิของสามี พวกนางก็สามารถเข้าประตูสวรรค์ ได้ตามประสงค์ พวกนางไม่ต้องรับผิดชอบในบาปของท่าน !

ท่านจะต้อง...ดิ้นรนหาปัจจัยยังชีพ ให้แก่พวกนาง และทายาทของนาง นั่นคือ ท่านคือผู้ที่ต้องออก สู่สมรภูมิ ทั้งในยามสงครามและยามสงบ

พวกท่านคือกำแพงที่มีชีวิตปกป้องพวกนางและผู้อ่อนแอทั้งหมด

พวกท่านจะต้องเข้มแข็ง และอดทน ทั้งภายนอกและภายใน

พวกท่านทั้งหลาย จะต้องเตรียมพร้อม ที่จะนำทัพครอบครัว จากดุนยานี้ ไปสู่อะคีเราะฮฺ โดยปลอดภัย

จงอย่า...คล้อยตามนัฟซูของพวกนาง และนัฟซูของตัวท่านเอง เพราะท่านคือแม่ทัพ หรือทหารของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ฟังเพียงบัญชาการของพระองค์เท่านั้น และพวกเราทั้งหลาย จะประกาศว่า

“โอ้...ผู้อภิบาลของเรา พวกเราจะไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคี
แก่พระองค์”.....อามีีน

............................
สุวัฒน์ อิสมาแอล

หลงรัก



เรื่องราวของการหลงรัก, ถ้าหากผู้หญิงคนหนึ่งรัก
ผู้ชายคนหนึ่งอย่างห่างๆเธอจะบาปไหม

คำตอบ อัลฮัมดุลิลอฮฺ

อิสลามได้ปิดประตูในการนำไปสู่ความชั่ว
และสกัดกั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะนำไปสู่ความชั่ว ความรักและ
ความหลงไหลในตัณหาคือ หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุด
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/129

“ความรัก คือ โรคทางด้านจิตใจชนิดหนึ่ง
ถ้าหากมันเติบโตขึ้นก็จะส่งผลกระทบและกลาย
เป็นโรคทางด้านร่างกายในที่สุด ทั้งการเจ็บไข้ได้ป่วยและ
ความคิดที่ผิดๆ โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุมาจาก วัสวาสะ(
การกระซิบกระซากของซัยตอน) ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และ
ซูบผอม”

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/132
“ความรักที่มีต่อหญิงที่ไม่ไช่มัฮรอมนั้น
จะนำไปสู่ผลเสียอย่างมากมายเพราะขอบเขตของความรัก
ทั้งหมดเพียงเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น ฉะนั้นมันจะส่งผลกระทบต่อ
ความรับผิดชอบในการรับใช้ศาสนา หลังจากนั้นอาจ
จะส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายของเขา
แค่หนึ่งผลกระทบของการรักเพศตรงข้ามก็เพียงพอแล้วที่แสดง
ให้เห็นว่าเรากำลังเป็นบ่าวของจิตใจ ไม่สามารถห่างเหิน
จากคนที่เรารักได้ ดังนั้น ความรักคือประตูไปสู่การลดเกียร
และการยอมรับใช้”
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/185

“หากชายคนหนึ่งหลงรักผู้หญิงคนหนึ่งและถึงแม้ว่านาง
จะตกลงปลงใจ แต่หัวใจของหัวเขาก็ยังคงตกเป็นบ่าวของนาง
อยู่ดี นางสามารถสั่งให้เขาทำอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ ทั่งๆที่
เขาดูเหมือนว่าจะเป็นนายของนาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว
เขาก็คือผู้ต้องขังหรือบ่าวที่จงรักภักดีนั้นเองดีนั้นเอง
โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตระหนักถึงความรักความต้องการของ
เขาที่มีต่อนาง นางสามารถบังคับเขาเสมือนผู้
เป็นนายบังคับบ่าวผู้ซึ่งไม่สามารถหนีจากผู้เป็นนายได้ มิหนำ
ซ้ำอาจมากกว่านั้นก็เป็นได้ เพราะการ
เป็นบ่าวของหัวใจมันเลวร้ายมากกว่าเป็นบ่าวของร่างกาย”
ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่มีต่อเพศตรงข้ามจะไม่เกิดขึ้น
ในหัวใจที่เต็มไปด้วยความรักที่มีต่ออัลลอฮ นอกเสีย
จากหัวใจที่อ่อนแอและว่างเปล่า
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/135

“ถ้าหากหัวใจมีแต่อัลลอฮเพียงองค์เดียวและให้
ความสำคัญต่อพระองค์ เราก็ไม่คิดที่จะรักใครเป็นอับดับแรก
และก็จะไม่ไปตกหลุมรักใคร เมือ
ใดที่หัวใจไปตกหลุมรักใครก็แสดงว่า
ความรักของเราที่มีต่ออัลลอฮยังน้อยอยู่ ดังเช่น
ท่านนบียูโซฟรักอัลลอฮและทำตามอัลลอฮทุกอย่างท่านจึง
ไม่ตกหลุมรักใคร
บทลงโทษของความรัก อัลลอฮได้กล่าวว่า(ซูเราะฮฺยูซุฟ
12:24)
{ ﻛَﺬَﻟِﻚَ ﻟِﻨَﺼْﺮِﻑَ ﻋَﻨْﻪُ ﺍﻟﺴُّﻮﺀَ ﻭَﺍﻟْﻔَﺤْﺸَﺎﺀ ﺇِﻧَّﻪُ ﻣِﻦْ ﻋِﺒَﺎﺩِﻧَﺎ
ﺍﻟْﻤُﺨْﻠَﺼِﻴﻦَ}
เช่นนั้นแหละเพื่อเราจะให้ความชั่วและการลามห่างไกลจากเขา
แท้จริงเขาคือคนหนึ่งในปวงบ่าวของเราที่สุจริต
มุสลิมต้องรักษาและป้องกันตัวของเขาจากบรรดาสิ่งที่
จะสิ่งผลกระทบในทางที่ไม่ดี ไม่นำตัวเองไปสู่สิ่งนั้น
และอย่าล้มเหลวในการต่อต้านมัน ถ้าหากเขาล้มเหลว
ในการต่อต้านอารมณ์ความรักที่ผิดๆ

สิ่งที่ตามก็คือการทำสิ่งที่ฮารอมฟังของที่ฮารอมและ
ไม่สนใจว่าขอบเขตของการพูดคุยกับเพศตรงข้ามมีว่าอย่างไร
ทั้งหมดนั้นเป็นผลกระทบของความรักที่เขาต้องเจอ สุดท้าย
เขาก็จะถูกลงโทษจากการกระทำของเขา
หลายต่อหลายคนละเลยในจุดเริ่มต้นของปัญหาแล้วก็คิดว่า
พวกเขาสามารถที่จะแก้ไขมันได้เมื่อใดก็ตามที่พวกเขา
ต้องการ หรือ พวกเขาสามารถที่จะหยุดมันให้อยู่ในขอบเขต
ไม่ให้มันลุกลาม จนกระทั่งโรคร้ายรุนแรงขึ้นและไม่
สามารถรักษาได้

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
เราดะฮฺ อัลมูฮีบบีน/ 147
“ถ้าหากผลของการกระทำเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เขาเลือก
ไม่มีเหตุผลที่เขาจะอ้างว่ามันอยู่นอกเหนือการควบคุมของเขา
ถ้าเหตุผลนั้นมันฮารอม เช่นเดียวกับ คนที่ดืมเหล้าก็
ไม่มีเหตุผลที่จะอ้างว่าเขาสามารถดื่มเหล้าได้
ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการมองคนๆหนึ่งแล้วเราก็ยังคิดเกี่ยว
กับเรื่องราวคนๆนั้นเปรียบเสมือน เหตุผลของคนที่ดื่มเหล้า
เราก็จะเป็นสาเหตุในเรื่องดังกล่าว”

ถ้าหากเราหลีกหนีจากสิ่งที่จะนำไปสู่โรคร้าย
โดยการลดละสายตาไม่มองไม่ฟังในสิ่งที่ฮารอมและป้องกันไม่
ให้ความคิดของไซตอนผ่านเข้ามาในจิตใจสิ่งทีไม่ดีก็จะ
ไม่เกิดขึ้น การชำเหลือบมองถือว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่ยอมรับได้และ
ถ้าหากจิตใจของเขายังคงผูกมัดกับผู้หญิงคนนั้น เขาก็จะไม่มี
ความผิดอินซาอัลลอฮ เพราะอัลลอฮได้กล่าวไว้
{ ﻻَ ﻳُﻜَﻠِّﻒُ ﺍﻟﻠّﻪُ ﻧَﻔْﺴﺎً ﺇِﻻَّ ﻭُﺳْﻌَﻬَﺎ }

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/10
“ถ้าหากผลของการกระทำไม่ได้มาจากสาเหตุของการละเลย
สำหรับเขาแล้วก็จะไม่มีมีความผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเขา”
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
เราดะฮฺ อัลมูฮีบบีน 147
ถ้าหากความรักเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความชอบธรรมไม่
เป็นสิ่งฮารอม เชกเช่น คนหนึ่งรักภรรยาหรือทาสหญิงหลังจาก
นั้นเธอก็ได้จากไป แต่ความรักที่มีต่อนางยังคงมีอยู่เขาจะไม่มี
ความผิดจากเรื่องนั้น คล้ายคลึงกับเหตุการณ์การชำเลืองมอง
โดยไม่ได้ตั้งใจจากนั้นเขาก็เบนสายตาหนีแต่เขาก็
ได้ตกหลุมรักจนหมดใจ อย่างไรก็ตามเขาต้องขจัดความรู้สึก
นั้นออกไป

และเขาต้องรักษาหัวใจของเขาโดยการหยุด
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นและการรักอัลลอฮฺให้มากขึ้นขอดุอาร์ใน
ความช่วยเหลือจากพระองค์ อย่าอายที่จะปรึกษาผู้รู้และคนที่
ไว้วางใจในการรับข้อชี้แนะ หรือ ปรึกษาแพทย์และนักจิตวิทยา
เพราะเขาอาจจะได้รับการเยียวยาที่ดี เขาต้องอดทน ทำอามาล
ให้มาก ไม่เข้าไกล้การซีนา สงบเสงี่ยม อัลลอฮฺก็จะทวีผลบุญ
ให้แก่เขา อินชาอัลลอฮฺ

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า
ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/133:
“ถ้าเขาถูกทดสอบด้วยความรักแต่เขารักษาความบริสุทธิ
และอดทน เขาจะได้รับผลบุญจากการเกรงกลัวอัลลอฮฺ
จากหลักฐาน ชารอี ที่ว่า ถ้าคนหนึ่งรักษาความบริสุทธิของเขา
และหลีกเลี่ยงในการทำสิ่งที่ฮารอมจากการมอง การพูด
และการกระทำ เขาเงียบและไม่คุยในสิ่งเหล่านั้น มัน
เป็นสิ่งที่ฮารอมทีจะพูด

ในเรื่องดังกล่าวแม้กระทั่งการกล่าวหาคนอื่น หรือ
การไล่ตามคนที่ตนหลงรักในทุกวิธีทาง เขาอดทน
ในการเชื่อฟังอัลลอฮฺและหลีกเลี่ยงในการกระทำบาป
ถึงอย่างไรก็ตามความเจ็บปวดที่ได้มาจากความรักมัน
เป็นเพียงหนึ่งสิ่งที่ทำให้รู้สึกทรมาน แต่เขาก็จะเป็นคนใน
ผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺและผู้เป็นบ่าวที่มีความอดทน

{ ﺇِﻧَّﻪُ ﻣَﻦ ﻳَﺘَّﻖِ ﻭَﻳِﺼْﺒِﺮْ ﻓَﺈِﻥَّ ﺍﻟﻠّﻪَ ﻻَ ﻳُﻀِﻴﻊُ ﺃَﺟْﺮَ ﺍﻟْﻤُﺤْﺴِﻨِﻴﻦَ }

วัลลอฮฺ อะลัม

.............................................................................
แปลและเรีบยเรียงโดย Anas Dawor (Ibnu sha-ti-E)

สายลมแห่งความ ห่วงใย มูฮัมหมัดดาวูด