อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พ่อครับผมรักพ่อ



ในความมืดที่มีแสงไฟสลั่วๆ

ลูกนั่งคร่ำคิดถึงอดีตที่ผ่านมา

ชีวิตอันเหลวไหลของลูกชาย

ทำให้พ่อหลั่งน้ำตามามากมาย

ลูกเคยบ่นด่าพ่อต่างๆนานา

เคยทำตัวชั่วช้าให้พ่อเห็น

ไม่เคยเป็นคนดีให้พ่อชม

ทุกคำสอนที่พ่อบ่ม

ลูกไม่เคยสนที่จะฟังมัน

เห็นคำสอนของพ่อเหมือนหนามที่แหลมคม

เห็นคำชมของเพื่อนเหมือนอาหารอันโอชะ

พ่อเคยสอนว่าเจ้าอย่าเนรคุณพ่อแม่

ลูกก็ไม่แยแสที่จะฟัง

พ่อเคยสอนว่าเจ้าอย่ากล่าวคำว่าอุ๊ฟแสดงความรำคาญต่อพ่อแม่

จงนอบน้อมคอยดูแลท่านอย่างเมตตา

คอยขอดุอาอ์ให้ท่านจากผู้อภิบาล

แต่ลูกกลับรำคาญในคำสอน

พ่อบอกว่าลูกต้องทำดีต่อพ่อแม่ของเจ้า

คอยเอาใจใส่ดูแลท่านยามแก่ชรา

ในยามตกทุกข์ได้ยากท่านได้พึ่งพา

แต่ลูกก็เอื่อมระอาทุกคำสอนที่ท่านได้พร่ำเพียร

วันนี้ลูกขอสำนึก

ความรู้สึกอันเจ็บปวดที่ลูกทำ

จากวันนี้ลูกจะขอเปลียนแปลง

จะเป็นคนดีของพ่อตลอดไป

จะจดจำคำสอนที่พ่อสั่ง

จะเป็นที่พักพิงยามพ่อแก่ชรา

จะเป็นบ่าวที่ดีของพระผู้เป็นเจ้า

จะเตาบัตกลับตัวคืนสู่พระองค์

พ่อครับ พ่อคือหนึ่งในดวงใจ

พ่อครับ พ่อผู้ห่วงใยลูกเป็นที่หนึ่ง

พ่อครับ ขอบคุณพ่อที่คอยสอนสั่ง

พ่อครับ ผมรักพ่อมากที่สุด...(^_^)


.....................................................


รักพ่อบ้างไหม?




โอ้ลูกรัก พ่อนี้คิดถึงและเป็นห่วงเจ้ายิ่งนัก

อยู่ทางโน้น เจ้ามีความทุกข์ เจ็บไข้ได้ป่วยบ้างไหม?

แล้วมีใครคอยดูแลเจ้า ในยามที่เจ้าเจ็บป่วย

พ่ออยู่ทางนี้ มีแต่ใจที่มอบให้ลูกรัก

ถึงแม้จะอดมื้อกินมื้อท้องร้องไปบ้าง

แต่เมื่อพ่อคร่ำคิดถึงลูกก็เอิบอิ่มไปทั้งกาย

พ่อทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อลูกรัก

เพื่อให้เจ้าประสบกับความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้า

คอยพยุงบ่มสอนเจ้าให้อยู่ในหนทางศาสนา

ให้ลูกได้ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า

คอยเป็นตัวอย่างกระจกเงาให้เจ้าได้ก้าวตาม

ถึงแม้เจ้าจะพร่ำบ่นไปบ้างพ่อไม่ท้อ

ขอให้เจ้าได้สำเร็จเป็นคนดีพึงพอใจต่อพระองค์

ถึงวันนี้พ่อกายอ่อนล้าแต่เจ้านั้นแข็งแรง

แต่ใจพ่อนั้นยังสูบฉีดทำเพื่อลูกอยู่เสมอ

หากคราใดที่พ่อต้องกลับไปยังพระผู้เป็นเจ้า

พ่อก็เปรมสุขเมื่อเห็นเจ้าอยู่ในร่องแนวทางของพระองค์




โอ้ลูกรักพ่ออยากรู้จากใจเจ้า

ว่าลูกรักพ่อของเจ้าบ้างไหม?

มีความสุขที่มีพ่อเป็นพ่อของเจ้าบ้างไหมเล่า

ดีใจไหมที่พ่อชี้นำเจ้าให้อยู่บนหลักศรัทธา

เวลาพ่อติเตือนลูกให้พันผูกอัล-อิสลาม

ทุกชั่วยามพ่อพร่ำสอน ลูกโกรธพ่อไหม?

เมื่อวันนี้เจ้าได้ดีมีอะมัลในหัวใจ

เจ้ารู้ไหมว่าพ่อเปรมปิติเกินพรรณนา

คำสอนที่พ่อได้สอนสั่งลูก

เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรในอิสลาม

เจ้าคงจดจำมันได้ที่พ่อสอน

พ่อจะย่ำเจ้าอีกครั้งถึงคำสอนนั้น

เพื่อลูกนำไปพร่ำสอนลูกของเจ้าต่อไป


พ่อเคยสอนเจ้าว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงละหมาด

เจ้าจงกำชับการดีและจงห้ามปรามการชั่วทราม

เจ้าจงอดทนต่อภยันตรายที่ประสบแก่เจ้า

ซึ่งแท้จริงนั้นเป็นการตกในหมู่อุปสรรคที่ต้องฝั่นฝ่าเจ้าจึงจะสำเร็จ 

เจ้าจงมีมารยาทที่ดีงาม อย่าเป็นคนผยองหยิ่งยะโส

เจ้าจงอย่าตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์อัลลอฮฺ

เจ้าจงขอบคุณอัลลอฮฺและบิดามารดาของเจ้าที่ชุบเลี้ยงเจ้ามา

นี้คือส่วนหนึ่งของคำสอนที่พ่อเคยบ่มลูก

เพื่อให้ลูกรักอยู่บนแนวทางที่เทียงตรง

นำคำสอนของพ่อไปปฏิบัติ

และบ่มสอนลูกๆของเจ้าต่อไป


************************







วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การถือศีลอดและอัลกุรอาน



ผู้ที่ถือศิลอด และผู้ที่่อ่านอัลกุรอาน จะนำมาซึ่งการช่วยเหลือจากการถือศิลอดและอัลกุรอานในวันกิยามะฮฺ

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้กล่าวว่า
“การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ
 การถือศีลอดจะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’

อัลกุรอานก็จะพูดว่า ‘โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิด’

แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ”

( รายงานโดย อะหมัด )


.............................

Dunt Bung


คำสั่งเสีย 20 ประการ จาก ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา



1. จงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซบ.)ในทุกสภาวการณ์และสถานที่ พึงทราบว่าการยำเกรงอัลลอฮฺคือรากฐานแห่งความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้า ผลแห่งความยำเกรงอัลลอฮฺคือ การหมั่นกระทำอิบาดัต(ภักดี)ต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเอกาด้วยความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ)ไม่มีการตั้งภาคีร่วมกับอัลลอฮฺ ทั้งนี้เนื่องจากอิคลาศคือ กุญแจสำคัญสำหรับอัลลอฮฺที่จะทรงตอบรับการกระทำของบ่าวและเป็นวิญญาณที่สร้างชีวิตชีวาแก่ความวิริยะอุตสาหะทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยสู่ความสำเร็จของชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้า (แด่พระองค์เท่านั้นที่เราภักดี - จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบผลสำเร็จ)

2. จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในทุกกิจการของท่านไม่ว่าจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในโลกนี้หรือโลกหน้า และจงมั่นใจว่าอัลลอฮฺเท่านั้นที่มีความสามารถตอบสนองความต้องการทุกประการของเราและอัลลอฮฺทรงตอบรับการขอความช่วยเหลือจากบ่าวของพระองค์อย่างแน่นอน (เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราขอความช่วยเหลือ)

3. จงตั้งใจทำงานด้วยกุศลเจตนาและบริสุทธิ์ใจแด่อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ในทุกครั้งที่ท่านเริ่มต้นทำงาน ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามกรอบของอิสลามและยึดมั่นในซุนนะฮฺท่านนบีมุฮำหมัด(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) จงตั้งความหวังและวิสัยทัศน์ของท่านให้ไกลสุดถึงโลกหน้า และจงมุ่งกระทำกิจการของท่านให้สูงส่งทัดเทียมและเหมาะสมกับสวรรค์ฟิรดาวส์ แน่แท้ท่านจะได้รับเกียติอันสูงส่งทั้งโลกนี้และโลกหน้า – อินชาอัลลอฮฺ (ขอพระองค์ทรงให้ทางนำแก่พวกเราซึ่งแนวทางอันเที่ยงตรง ซึ่งเป็นแนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา)

4. จงห่างไกลการกระทำที่นำไปสู่การตั้งภาคี (ชิรกฺ) การงมงาย (คุรอฟาต) การอุตริในศาสนา (บิดอะฮฺ) อบายมุข (มะอฺศิยะอฺ) สิ่งลามก (ฟัหฺชาอฺ) และสิ่งอกุศล (มุนกัร) ทั้งปวง เพราะการกระทำดังกล่าว คือ กิจวัตรของเหล่ามารร้าย (ชัยฏอน) ที่พยายามผลักไสท่านเข้าสู่ขุมแห่งความพินาศ ความเสื่อมถอย และความล่มสลายทั้งโลกนี้และโลกหน้า (มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่แนวทางของพวกที่หลงผิด)

5. จงมุ่งมั่นใฝ่หาความรู้ที่ดีงามด้วยความวิริยะอุตสาหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่มีรากฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ด้วยวิธีการขอพร(ดุอา)จากอัลลอฮฺโดยอาศัยแนวทางที่สามารถเพิ่มพูนความรู้ไม่ว่าด้วยวิธีการอ่าน การจดบันทึกและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม พร้อมๆกับการใช้ประโยชน์อย่างเท่าทันกับวิทยาการสมัยใหม่ พึงทราบว่าความรู้มีหลายประเภทอาทิ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺหรือการเคารพภักดีอัลลอฮฺ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกสร้างโดยอัลลอฮฺซึ่งเกี่ยวโยงกับการสร้างความสัมพันธ์และเรียนรู้ภาษาต่างๆที่จำเป็นสำหรับการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดการ(คิลาฟะฮฺ) การพัฒนาและการบริหารโลกด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีขันติ ทั้งนี้เนื่องจากความรู้คือแสงประทีปที่ส่องแสงสติปัญญา เป็นผู้นำที่คอยกระตุ้นให้เกิดการกระทำและกิจการความดี ตลอดจนเป็นพาหนะที่นำพาผู้รู้สู่การมีเกียรติอันสูงส่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (โอ้อัลลอฮฺได้โปรดเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ฉันเถิด)

6. จงพยายามให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางภาษาต่างๆ ดังนี้

ก. ภาษาอาหรับ เพราะเป็นภาษาของอัลกรุอานและอัลหะดีษ เป็นภาษาแห่งวิทยาการอิสลามในโลกนี้ ตลอดจนเป็นภาษาของชาวสวรรค์ในโลกหน้า

ข. ภาษามาลายู เพราะเป็นภาษาน้ำนมของมุสลิมเชื้อสายมาลายูและเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในอุษาคเนย์

ค. ภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษาเทคโนโลยีและภาษานานาชาติ

ง. ภาษาไทย เพราะเป็นภาษาราชการ

จ. ภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก (ผู้ใดที่เรียนรู้ภาษาของชนใด ผู้นั้นย่อมปลอดภัยจากเล่ย์กลของชนนั้น)

7. จงพยายามสร้างบรรยากาศของผู้ใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเขียนบันทึก มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างวัฒธรรมการเรียนรู้ทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย(ความรู้และหิกมะฮฺคือสิ่งที่เคยอยู่ในครอบครองของมุอฺมีนแต่ก็ได้สูญหายไปดังนั้นใครก็ตามที่พบเจอมัน เขาผู้นั้นเป็นผู้ที่สมควรครอบครองมัน)

8. จงให้เกียรติบรรดาครูบาอาจารย์และผู้ให้การอบรมทุกท่าน สร้างบรรยากาศความเป็นภราดรภาพ(อุคุวะฮฺ)ที่มีความรักเอื้ออาทรระหว่างกัน รักเพื่ออัลลฮฺ และโกรธเพื่ออัลลอฮฺให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการสร้างสรรค์อิสลาม ห้ามปรามความชั่วร้ายและสิ่งอบายมุขทั้งปวง มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและเมตตาปรานีแก่พี่น้องด้วยการยึดมั่นหลักจริยธรรมในอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สลาม ตลอดจนการเรียกขานพี่น้องด้วยชื่ออันไพเราะ ให้เกียรติผู้อาวุโสทั้งประสบการณ์ อายุหรือตำแหน่งหน้าที่การงาน และเมตตาผู้อ่อนเยาว์กว่าทั้งประสบการณ์ อายุหรือตำแหน่งหน้าที่การงาน พยายามสร้างความปรองดองระหว่างพี่น้องที่บาดหมางกัน (แท้จริงศรัทธาชนคือพี่น้องกันดังนั้นท่านจงสร้างความปรองดองในบรรดาพี่น้องของท่านด้วยเถิด)

9. จงเป็นลูกที่กตัญญูต่อบุพการี (ลูกศอลิหฺ) ที่คอยปรนนิบัติและกระทำความดีแก่พ่อแม่ทั้งต่อหน้าท่านหรือลับหลัง มีความถ่อมตน ไม่พยายามกระทำการใดๆที่สร้างภาระและความเดือดร้อนแก่ท่านทั้งสอง รักษาชื่อเสียงของท่าน ให้บริการ ตักเตือนและช่วยเหลือท่านทั้งสองอย่างสภาพอ่อนโยนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ให้ความช่วยเหลือและสร้างความเอกภาพในหมู่พี่น้องด้วยกัน หมั่นขอดุอาให้ท่านทั้งสองได้รับการอภัยโทษและความปรานีจากอัลลอฮฺช่วงที่ท่านทั้งสองมีชีวิตโดยเฉพาะหากท่านทั้งสองเสียชีวิตแล้ว (และจงหมั่นทำความดีแก่บิดามารดาด้วยเถิด)

10. จึงยึดมั่นในกฏระเบียบ ของมหาวิทยาลัย ขอให้ฝังตัวท่านในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอบรมในอิสลาม (ตัรบียะฮฺอิสลามียะฮฺ) และกิจการในองค์กร (ญะมาอะฮฺ) ที่มีภารกิจในการฟื้นฟูประชาชาติที่มีต้นแบบการทำงานตามซุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตักเตือนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและขันติธรรมด้วยความอิคลาศและการมอบภารกิจแด่อัลลอฮฺ (ตะวักกัล) (และจงให้มีในหมู่พวกเจ้าซึ่งประชาชาติหนึ่งที่เชิญชวนสู่ความประเสริฐ สั่งเสียในเรื่องความดีและห้ามปรามจากความชั่ว – ท่านทั้งหลายจงยึดมั่นในพลพรรคมุสลิม)

11. จงยึดมั่นแต่งกายตามศาสนบัญญัติด้วยการปกปิดอวัยวะที่พึงปกปิด(เอารัต)และพยายามตักเตือนตนเองและผู้อื่นให้รักษาศาสนบัญญัติดังกล่าวตามความเหมาะสม จงห่างไกลการแต่งกายที่คล้ายคลึงหรือเทียบเคียงการแต่งกายของคนที่ไม่ใช่มุสลิม จงห่างไกลความสัมพันธ์อันไร้ขอบเขตระหว่างชายหญิงที่ขัดกับหลักการอิสลาม เช่น การอยู่อย่างสองต่อสองระหว่างชายหญิงที่อนุมัติให้แต่งงานกัน การติดต่อสัมพันธ์ที่เกินขอบเขต หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนของการกระทำที่เป็นภาคีต่ออัลลอฮฺ การกระทำที่ต้องห้ามในอิสลาม(หะรอม) หรือการกระทำอื่นใดที่ไม่เหมาะสมกับปัญญาชนอิสลาม (ใครก็ตามที่ทำตัวเหมือนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเขาก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนั้น)

12. สร้างบรรยากาศการเผยแผ่อิสลามแก่ผู้คนทั่วไปทั้งที่เป็นมุสลิมด้วยการสร้างความเข้าใจอิสลามอันถ่องแท้และถูกต้อง หรือที่ไม่ใช่มุสลิมด้วยการเชิญชวนสู่อิสลามด้วยวิธีการที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาและการให้บทเรียนที่ดี สานเสวนาธรรมที่เต็มไปด้วยบรรยากาศของความบริสุทธิ์ใจและความอดทน (ท่านทั้งหลายจงเผยแผ่สู่เส้นทางของพระเจ้าด้วยวิธีการที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาและการให้บทเรียนที่ดี และจงสานเสวนาพวกเขาด้วยวิธีการที่ดีกว่า)

13. บริจาคทานส่วนหนึ่งของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ ผู้ขัดสน เด็กกำพร้า และกิจการอิสลามอื่นๆ บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือและกิจกรรมพัฒนาอื่นๆ (มนุษย์ที่ประเสริฐสุด คือ มนุษย์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นมากที่สุด)

14. พยายามใช้โอกาสที่มีอยู่เยี่ยมเยียนพ่อแม่และญาติสนิท (Ziarah Ihsaniah) เยี่ยมครูบาอาจารย์ และญาติที่ห่างไกล (Ziarah Takrim) เยี่ยมบรรดามิตรสหาย (Ziarah Ukhawiyyah) เยียมพี่น้องต่างศาสนิก (Ziarah Da'wiyyah) และเยียมกุโบร์ (Ziarah Doa) (จงกระทำความดีเถิด แท้จริงอัลลอฮฺรักผู้กระทำความดี)

15. พึงระวังแผนการณ์ของกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่พยายามเติมเชื้อเพลิงสร้างความแตกแยกในกลุ่มประชาชาติมุสลิมด้วยกันหรือประชาสังคมทั่วไป ยุยงให้กิดความบาดหมางในสังคมอย่างไม่รู้จบสิ้น ทั้งที่อิสลามสอนให้มุสลิมกำชับให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสังคมมนุษย์ด้วยกัน (โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเข้าอยู่ในความสันติโดยทั่วทั้งหมด และจงอย่าตามย่างก้าวของชัยฏอน)

16. พึงทราบว่าอิสลามที่นำเสนอโดยอัลกุรอานและซุนนะฮฺเป็นศาสนาที่ถูกประทานลงมาบนโลกนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความโปรดปรานแก่มนุษย์และสิ่งอื่นๆบนโลกนี้ ทั้งกลุ่มผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺหรือไม่ก็ตาม จุดยืนของมุสลิมก็คือจะไม่เป็นผู้สร้างความเดือดร้อนและความปั่นป่วนให้แก่ผู้อื่น แต่มุสลิมเป็นผู้ถือธงแห่งความโปรดปรานและสันติภาพแก่มวลมนุษยชาติ ยกเว้นในภาวะฉุกเฉินที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่จะตอบโต้ความอยุติธรรมเว้นแต่ด้วยการใช้กำลังหรืออำนาจตามความสามารถที่มีอยู่ตราบใด พึงทราบว่าส่วนหนึ่งของการยึดมั่นในซุนนะฮฺคือการมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจและศาสนบัญญัติเท่าที่ตนเองมีความสามารถพร้อมกับพยายามยับยั้งความชั่วร้ายตามศักยภาพที่มีอยู่เช่นเดียวกัน และพึงระวังกับการห้ามปรามความชั่วร้ายที่อาจเป็นสาเหตุของการปะทุความชั่วร้ายที่รุนแรงกว่า พึงทราบว่าความชั่วร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺและการอุตริ(บิดอะฮฺ) ในศาสนา เพราะทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเหตุให้ฐานแห่งการกล่าวคำปฏิญาณตน (ชะฮาดะฮฺ) เป็นโมฆะและไร้ซึ่งความหมาย

- ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่เคารพบูชาเว้นแต่อัลลอฮฺ

- และฉันขอปฏิญาณตนว่ามุหัมมัดคือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

คำกล่าวปฏิญาณท่อนแรกมีนัยของความบริสุทธิ์ใจ ความตั้งใจอันสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากการตั้งภาคีใดๆ ส่วนคำกล่าวปฏิญาณท่อนที่สองมีนัยของการปฏิบัติตามนบีมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) โดยไม่มีการอุตริในศาสนาใดๆ พึงทราบว่าความวุ่นวายปั่นป่วนที่เป็นภัยพิบัติอันใหญ่หลวงของประชาชาติมุสลิมในขณะนี้คือ การมลายหายไปซึ่งความเป็นภราดรภาพ ความเป็นปึกแผ่นได้ขาดสะบั้นลง ด้วยสาเหตุของการมีอีมานที่อ่อนแอ เป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกที่บางครั้งอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามระหว่างพี่น้องด้วยกันเอง เป็นเหตุให้พลานุภาพของประชาชาติมุสลิมหมดไปและประชาชาติต้องประสบกับความขมขื่นไร้เกียรติทั้งโลกนี้และโลกหน้า – ขออัลลอฮฺทรงช่วยเหลือด้วยเทอญ (และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก)

17. ละหมาด 5 เวลาประจำวันโดยญะมาอะฮฺที่มัสยิดทุกครั้งสำหรับนักศึกษาชาย ส่วนนักศึกษาหญิงขอให้ละหมาด 5 เวลา ณ มุศ็อลลาในช่วงต้นเวลาด้วยอิริยาบถที่สำรวม (คุชูอฺ) และจงรักษาละหมาดก่อนหลัง (เราะวาติบ) พร้อมกับปิดท้ายด้วยละหมาดวิตรฺในทุกๆคืน หมั่นละหมาดฎูฮาและเอาวาบีนในทุกๆเช้า หมั่นอ่านเอาร็อดและดุอาหลังละหมาดทุกครั้ง (การละหมาดถือเป็นภาระที่หนักมาก เว้นแต่สำหรับผู้ที่สำรวม)

18. อ่านอัลกุรอานอย่างน้อยวันละ 1 ญุซ โดยการไตร่ตรองความหมาย อ่าน Azkar Nabawiyyah ทั้งเช้าเย็น ตลอดจนอ่านดุอา ณ สถานที่และเวลาที่ได้กำหนดไว้ เช่น ดุอาก่อนหลังรับประทานอาหาร ก่อนนอน ตื่นนอน เข้าออกมัสยิด เข้าออกจากบ้าน เข้าออกห้องน้ำ สวมถอดเสื้อผ้า เป็นต้น (เจ้าทั้งหลายจงรำลึกถึงฉัน (อัลลอฮฺ) เถิด แน่นอนฉันจะรำลึกถึงเจ้า)

19. ถือศีลอดสุนัต 3 วันต่อเดือน เช่น ถือศีลอดสุนัตในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เป็นต้น (ไม่มี่ผู้ใดที่ถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺเพียง 1 วัน เว้นแต่อัลลอฮฺทำให้เขาห่างไกลจากนรกเป็นระยะเวลา 70 ปี)

20. จงสร้างชีวิตบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นที่มั่นคง การทำอิบาดะฮ.ที่ถูกต้อง กริยามารยาทที่สวยงามและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นที่ควรแก่การยกย่อง (เจ้าจงยืนหยัดในความเที่ยงธรรม เช่น ที่เจ้าถูกบัญชา)

นี่คือคำสั่งเสีย 20 ประการที่หวังว่าบรรดาลูกหลานนิสิตนักศึกษาทั้งชายและหญิงทุกท่านได้ยึดมั่นเป็นวิถีชีวิต และหวังว่าบรรดาพี่น้องทั้งหลายทั้งคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ให้การอบรม บุคลากรและแกนนำนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน อำนวยความสะดวกและสร้างบรรยากาศที่สามารถเอื้อให้การปฏิบัติตามคำสั่งเสียดังกล่าวเป็นไปอย่างระเบียบเรียบร้อยสู่การสร้างอนุชนที่เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (อิบาดุรรอฮฺมาน) ผู้มีสติปัญญา (อุลุลอัลบ็าบ) และผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺ (เอาลิยาอุลลอฮฺ) ที่คงไว้ซึ่งหน้าที่ของประชาชาติที่ดีเลิศที่ยืนหยัดในหลักการสายกลางที่สร้างความโปรดปรานและสันติภาพสู่สากลจักรวาล – ขออัลลอฮฺทรงประทานเตาฟิกและฮิดายะฮฺสู่แนวทางอันเที่ยงตรงด้วยเทอญ

***********************
ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

เหนียตศิลอดสุนัตพร้อมกับชดศิลอดฟัรฎู



 ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
ความว่า "บุคคลใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน (ครบถ้วน) จากนั้นเขาติดตามด้วยการถือศีลอด (สุนนะฮฺ) 6 วันในเดือนเชาวาล เช่นนั้นประหนึ่ง (เขา) ถือศีลอดครบหนึ่งปี" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1984 และท่านอื่นๆ)

 หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม หมายถึง บุคคลใดที่ยังถือศีลอดไม่ครบในเดือนเราะมะฎอนเขาไม่สามารถถือศีลอดสุนนะฮฺหกวันในเดือนเชาวาลได้

 เพราะท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวต่อในประโยคสุดท้ายว่า (การกระทำ) เช่นนั้นประหนึ่ง (เขา) ถือศีลอดครบหนึ่งปี ทำไมต้องประหนึ่งถือศีลอดครบหนึ่งปี

เพราะท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เคยพูดว่า
"ท่านจงถือศีลอด 3 วันในหนึ่งเดือน แท้จริงหนึ่งความดีเท่ากับสิบผลเช่นนั้นเท่ากับว่า (เขา) ถือศีลอดครบหนึ่งปี" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 1706)

 ฉะนั้นจึงได้ความว่า การถือศีลอด 1 วันเท่ากับถือศีลอด 10 วัน

 เมื่อเป็นเช่นนั้น หากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนมี 30 วันก็เท่ากับว่า เขาถือศีลอด 300 วัน (หรือประมาณ 10 เดือน) จากนั้นเขาถือศีลอดติดต่ออีก 6 วันในเดือนเชาวาล ก็เท่ากับว่าเขาถือศีลอด 60 วัน (หรือประมาณ 2 เดือน) ผลสรุปเท่ากับ 1 ปีพอดี (กล่าวคือ 300+60= 360 วัน = 1 ปี)

อนึ่ง บุคคลใดที่ถือศีลอดฟัรฺฎูในเดือนเราะมะฎอนไม่ครบ จำเป็นสำหรับเขาต้องชดใช้ให้ครบเสียก่อน

จากนั้นค่อยถือศีลอดสุนนะฮฺหกวันในเดือนเชาวาล

เพราะท่านรสูลใช้คำพูดที่ว่า "ติดตามด้วย" ซึ่งหมายถึง หากศีลอดฟัรฺฎูยังถือไม่ครบก็ไม่อนุญาตให้ถือศีลอดสุนนะฮฺนั่นเอง

 ประเด็นที่ว่าเหนียตถือศีลอดกอฏอ (ชดใช้ของวันที่มีรอบเดือน) พร้อมกับถือศีลอดหกวัน (ในเดือนเชาวาล)  จึงไม่อนุญาตให้กระทำ

 เพราะถ้ากระทำเช่นนั้นก็เท่ากับว่าเราถือศีลอดไม่ครบหนึ่งปีนั่นเอง

อย่าว่าแต่เนียตถือศีลอดฟัรฺฎูรวมกับศีลอดสุนนะฮฺเลย ศาสนายังระบุให้ผู้ที่ถือศีลอดฟัรฺฎูยังไม่ครบนั้น ต้องชดใช้ศีลอดที่เป็นฟัรฺฎุก่อนเป็นอันดับแรก

จากนั้นจึงอนุญาตให้ถือศีลอดสุนนะฮฺ 6 วัน แต่ถ้าหากเรายังถือศีลอดฟัรฺฎูไม่ครบก็ยังไม่อนุญาตให้ถือศีลอดสุนนะฮฺ 6 วันในเดือนเชาวาล


 والله أعلم بالصواب

*************


เพราะฉันมั่นใจ




เพราะฉันมั่นใจเชื่อมั่นในอัลลอฮ พระองค์ทรงรู้ดีว่า สิ่งนั้นดีที่สุดสำหรับฉัน

เป็นเพราะฉันมั่นใจและเชื่อมั่น และมอบหมายทุกอย่างไว้ ณ อัลลอฮเพียงองค์เดียวเท่านั้น

ฉันมั่นใจและเชื่อมั่นอย่างมั่นคง อัลลอฮคือผู้ช่วยเหลือในทุกๆสิ่ง


เรื่องที่ยากสำหรับเรา หากอัลลอฮช่วยเหลือ ทุกอย่างจะง่ายดาย

เพราะฉันเชื่อมั่นในอัลลอฮ ฉันถึงไม่เจ็บปวด

ฉันมอบหมายต่ออัลลอฮ ในทุกอย่างที่ฉันต้องการ

ฉันมั่นใจเดินร้อย อัลลอฮคือยิ่งใหญ่ที่สุด

เพราะฉันเชื่อในอัลลอฮ การมีชีวิตของฉัน การตายของฉัน อิบาดะของฉัน การละหมาดของฉัน ฉันมอบให้พระองค์ ทำทุกอย่างเพื่อพระองค์เท่านั้น

****************************************
แปลจาก https://www.facebook.com/Imints.Fasta
แปลโดย เจ๊ นูรีฮัน มาเลเซีย

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การยืนและนั่งระหว่างสองคุฏบะฮฺวันศุกร์



                         ในระหว่างกล่าวคุฏบะฮฺวันศุกร์นั้น นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าจำเป็นต้องยืน และจำเป็นต้องนั่งระหว่าง 2 คุฏบะฮฺ ทั้งนี้เป็นการปฏิบัติตามการกระทำของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม และบรรดาศอหาบะฮฺของท่าน แต่การกระทำอย่างเดียวนั้นไม่ให้ประโยชน์ในทางวาญิบ(จำเป็น)


รายงานจากท่านอิบนุอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม นั้นยืนคุฏบะฮฺในวันศุกร์ หลังจากนั้นท่านจะนั่ง แล้วหลังจากนั้นท่านก็ยืนดังที่พวกเขาปฏิบัติกันในทุกวันนี้” (บันทึกหะดิษโดบอิมามมุสลิม อิมามบุคอรีย์ อิมามอบูดาวูด และอิมามอัตติรมีซีย์)

ตัวบทของอิมาอบูดาวูด กล่าวว่า
“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เคยนั่งเมื่อขึ้นไปอยู่บนมิมบัร จนกระทั่งมุอัซซินเสร็จ(การอาซาน) หลังจากนั้นท่านได้ลุกขึ้น และแสดงคุฏบะฮฺ จากนั้นท่านก็นั่งและจะไม่พูด หลังจากนั้นท่านได้ยืนขึ้นและแสดงคุฏบะฮฺ”

รายงานจากท่านญาบิร อิบนุ สะมุเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม นั้นยืนกล่าวคุฏบะฮฺหลังจากนั้นท่านจะนั่ง เสร็จแล้วท่านจะยืนคุฏบะฮฺ ผู้ใดบอกว่าท่านนั่งกล่าวคุฏบะฮฺเขาผู้นั้นโกหก ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ความจริงฉันได้ละหมาดร่วมกับท่านเกินกว่าสองพันครั้ง(ละหมาดห้าเวลา)” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด อิมามมุสลิม และอิมามอบูดาวูด)

ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮฺ ได้รายงานจากท่านฏอวูส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ยืนกล่าวคุฏบะฮฺ รวมทั้งอบูบัก , อุมัร และอุสมานด้วย และคนแรกที่นั่งกล่าวคุฏบะฮฺบนมิมบัรก็คือ มุอาวียะฮฺ”

ท่านอิบนุอะบีชัยบะฮฺ ได้รายงานอีกเช่นเดียวกันจากท่านอัชชะอฺบี ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“แท้จริงมุอาวียะฮฺ ได้นั่งกล่าวคุฏบะฮฺ อันเนื่องจากเขาเป็นคนอ้วนมีไขมันมาก”



 والله أعلم بالصواب

*************



คุณเคยรักใครแบบที่แม่รักคุณบ้างไหม??




ด้วยพระนามของอัลลอฮ ผู้ทรงกรุณาปรานีผู้ทรงเมตตาเสมอ...

คนคนหนึ่งที่มีความรักต่อคุณ
โดยที่เขาไม่สามารถให้เหตุผลได้ว่ารักคุณทำไม?
ทำไมเขาถึงได้รักคุณขนาดนี้?
เขา...คนที่รักคุณ แค่รู้ว่า
ในสายตาเขานั้นมีแค่คุณคนเดียวเท่านั้น...

คนคนหนึ่งที่มีความรักต่อคุณ
แท้จริงนั้นเขาอาจจะทำให้คุณรู้สึกโกรธ
เครียด และเป็นบ้าเพราะเขา
แต่เขาก็ไม่เคยรู้ว่าเขาทำอะไรให้คุณรู้สึกโกรธ
เขาเพียงแค่คิดอยากให้คุณรู้สึกดีและหวังดีกับคุณเสมอมา


คนคนหนึ่งที่มีความรักต่อคุณ
น้อยครั้งที่จะพูดชมเชยคุณต่อหน้า
แต่ในหัวใจเขานั้น
คุณคือคนที่ดีและเก่งที่สุดสำหรับเขา



คนคนหนึ่งที่มีความรักต่อคุณ
เขาจะรู้สึกไม่พอใจ และน้อยใจ
เมื่อคุณไม่ตอบกลับข้อความหรือไม่ตอบรับโทรศัพท์เขา
เพราะจริงๆแล้วเขาอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณบ้างเท่านั้นเอง
เขาเป็นห่วงคุณไงล่ะ




คุณรู้จักคนนี้ไหม คนที่คุณเรียกว่าแม่ คือคนที่รักคุณมากที่สุดเลย
คุณละ ยอมทำอะไรบางอย่าให้เขาไหม เมื่อเขาเกิดความลำบาก
คุณจะ ยอมทำอะไรบางอย่างให้เขาไหม เมื่อเขาต้องการคุณ

เขาเสียสละให้คุณทั้งชีวิต แต่คุณจะยอมเสียสละในชีวิตที่เหลือให้เขาไหม??????...!!!!!


****************
หนูชื่อ เจ๊ นูรีฮัน มาเลเซีย

อัลลอฮฺ คือผู้ทรงทำให้ฝนตกเพียงผู้เดียว





มีรายงานจากซัยดฺ อิบนิ คอลิด อัลญุฮะนียฺ เล่าว่า

“ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำละหมาดซุบฮฺที่หุไดยบียะฮฺ โดยท้องฟ้ามีร่องรอยของ ฝนตกเมื่อคืน เมื่อท่านได้ละหมาดเสร็จ ก็หันมาทางผู้คนและท่านได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายทราบหรือ ไม่ว่าพระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสอะไร ? บรรดาซอฮาบะฮฺ กล่าวว่า อัลลอฮฺและร่อซูลรู้ดีที่สุด ท่านร่อซูล ตอบว่า พระองค์ได้ตรัสว่า ตื่นขึ้นมาในตอนเช้ามีบ่าวของฉัน เป็นผู้ที่ศรัทธาต่อฉัน และเป็นผู้ที่ปฏิเสธ ฉัน ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่า เราได้รับน้ำฝนด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺและความเมตตาของพระองค์ เขาผู้นั้นก็เป็นผู้ที่ศรัทธาต่อฉัน และปฏิเสธต่อดวงดาว และผู้ที่กล่าวว่า เราได้รับน้ำฝนด้วยสาเหตุของ ดวงดาวนั้น ดวงดาวนี้ เขาผู้นั้นก็เป็นผู้ที่ปฏิเสธต่อฉัน และศรัทธาต่อดวงดาว” (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 810,991  มุสลิม : 71 อบูดาวุด : 3906)

แง่คิดจากเรื่องนี้

ครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ละหมาดซุบฮฺที่ฮุไดยบียะฮฺ  ซึ่งเมื่อละหมาดเสร็จสื้น ท่านก็ ได้แจ้งเตือนที่เรื่องที่สำคัญ ที่ท่านได้รับทราบจากพระองค์อัลลอฮฺว่า จากการที่ฝนตกลงมานั้น มีผู้คนที่มีความ เชื่อผิดเกี่ยวกับเรื่องของฝนตก ว่าฝนตกเพราะดวงดาวต่าง ๆ ซึ่งความเชื่อแบบนี้นั้นเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา  พร้อมกันนั้นท่านนบีก้ได้บอกถึงความเชื่อที่ถูกต้องด้วยว่า อัลลอฮฺ คือผู้ทรงทำให้ฝนตกเพียงผู้เดียว

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

1. ห้ามเชื่อว่าดวงดาวต่าง ๆ นั้นสามารถทำให้ฝนตก

2. มุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺคือผู้ทรงประทานน้ำฝนลงมาเพียงผู้เดียว

3. รีบตักเตือนกันทันที ถ้ารู้ว่ามีมุสลิมทำผิดร้ายแรงที่อาจจะนำไปสู่การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ

4. การนะศีหะฮฺ (ตักเตือนกัน) หลังละหมาดนั้น เป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ เพราะทุกคนอยู่กันโดยพร้อมเพรียง และมีสมาธิในการรับฟังเรื่องราวศาสนา

5. มีดุอาอฺหลังฝนตก ก็คือ

مُطِرْنَا بِفَضْلِ اللَّهِ وَرَحْمَتِهِ

เราได้รับน้ำฝนด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺและความเมตตาของพระองค์


 والله أعلم بالصواب

"""""""""""""""

โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ

ต้องอ่านอายะฮฺกุรซียฺในยามเช้าและยามเย็น







จากอุบัยยฺ อิบนุ กะอฺบ ร่อฎิยัลลอฮฺอันฮุ ว่า เขานั้นรู้สึกเสียใจที่ผลอินทผลัมมันได้ลดลงไป ดังนั้นเขาเลย เฝ้าไว้ในคืนหนึ่ง ปรากฏว่ามีสิ่งมีชีวิตรูปร่างคล้ายเด็กหนุ่มมา และให้สลามกับเขา อุบัยยฺก็ตอบ รับสลาม และถามเด็กหนุ่มคนนั้นว่า : ท่านเป็นใคร ? ญินหรือมนุษย์ ? เด็กหนุ่มตอบว่า : ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นญิน –ในรายงานระบุว่า- ดังนั้นอุบัยยฺก็กล่าวว่า : สิ่งใดที่ทำให้เรารอดพ้นจากพวกท่าน ญินตนนั้นก็บอกว่า : อ่านอายะฮฺนี้ที่อยู่ในซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺซิ : “อัลลอฮฺนั้นคือ ไม่มีพระเจ้า ที่ควรเคารพสักการะใดนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงเป็น (ตลอดกาล) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย...ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 255”

บุคคลใดที่อ่านอายะฮฺนี้ในยามเย็นนั้น จะได้รับความปลอดภัย (จากการรบกวน) จากพวกเราจนถึง ตอนเช้า และบุคคลใดที่อ่านในยามเช้า จะได้รับความปลอดภัย (จากการรบกวน) จากพวกเราจน ถึงตอนเย็น

และเมื่อเช้าวันต่อมาอุบัยยฺได้มาหาท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และได้บอกถึงเรื่อง ดังกล่าว (ที่สนทนากับญิน) ท่านร่อซูล ได้กล่าวว่า : เจ้าตัวร้ายได้พูดความจริง “

(บันทึกโดยอัลหากิม : 2064 ฏ็อบรอนียฺ,อัลกะบีร 201/1 อัลบานียฺ,เศาะเหี๊ยะหฺตัรฆีบ : 273/1) 1

แง่คิดจากเรื่องนี้

ท่านอุบัยยฺ อิบนุ กะอบฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ต้องการที่จะทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ผลอินทผลัมนั้นลดลง จึงตั้งใจ ที่จะเฝ้าดูในตอนกลางคืน ซึ่งปรากฏว่าในคืนนั้นก็มีญินตนหนึ่งมาหาโดยมาในรูปของเด็กหนุ่ม เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านอุบัยยฺจึงทราบถึงสาเหตุที่อินผลัมลดลง จึงกล่าวถามถึง สิ่งที่จะทำให้ญินไม่มารบกวนอีก

ญินตนนั้นจึงบอกให้ท่านอุบัยยฺอ่านอายะฮฺกุรซียฺทั้งในยามเช้าและยามเย็น เพราะอายะฮฺนี้มันจะป้องกัน การรบกวนของพวกญิน

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

1.ญินนั้นมีการรับประทานอาหารเหมือนมนุษย์ ส่วนวิธีการรับประทานแบบไหนนั้น อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงทราบ เรามิอาจทราบได้เพราะเป็นสิ่งที่เร้นลับ สิ่งที่เราพอจะทราบได้คือสิ่งที่มีตัวบทหลักฐานระบุชัดเจน

2.ญินแปลงกายเป็นมนุษย์ และสนทนาในภาษาของมนุษย์ได้

3.บรรดาญินรับทราบถึงคัมภีร์อัลกุรอ่านเช่นกัน จากการที่ญินตนนี้นั้นได้สนทนากับอุบัยยฺ และบอกถึงการ อ่านอายะฮฺกุรซียฺ ซึ่งเป็นอายะฮฺพวกญินกลัว

4.อัลกุรอ่านเป็นทางนำสำหรับมนุษย์และญิน

5.การอ่านอายะฮฺกุรซียฺทุกวัน ในยามเช้าและยามเย็นนั้น สามารถป้องกันการรบกวนของบรรดาญินได้

(1) (คัดจาก : มุคตะซ็อร อัลฟิกฮุลอิสลามียฺ ฟีเดาอิลกุรอ่านวัซซุนนะฮฺ โดย มุฮัมหมัด อิบนุ อิบรอฮีม อิบนุ อับดุลลอฮฺ อัตตุวัยญีรียฺ บทที่ว่าด้วยเรื่องอัซการยามเช้า ยามเย็น หน้า : 355)


 والله أعلم بالصواب

*************

โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ

จงเป็นสาวกของโลกอาคีเราะฮฺ



ทุกคนมีลมหายใจ อย่าลืมเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา รำลึกถึงความตายบ่อยๆ สำนึกถึงความเป็นบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺให้มากๆ

หากมนุษย์รู้ว่าภายหลังการตายต้องประสบพบเจออะไรบ้าง เชื่อเหลือเกินทุกคนย่อมตระหนักและเข้มงวดในเรื่องอะมัลของตน พร้อมกับเร่งรัดทำความดีสะสมไว้อย่างมากมาย เพื่อเตรียมชีวิตหลังความตาย และหลังฟื้นคืนชีพ คือ อาคิเราะฮฺ หากชีวิตไม่สนใจต่อการสะสมความดี ชีวิตเต็มไปด้วยความสนุก สะสมแต่สิ่งไร้สาระ ชีวิตมีแต่เสียงหัวเราะ ลืมตัวเอง จบชีวิตบนโลกดุนยา แน่นอนเหลือเกิน เขาก็จต้องประสบกับสิ่งที่เขาไม่เคยคาดคิดว่าตนเองจะได้พบเจอ เมื่อเวลานั้นก็สายไปเสียแล้ว

หากมนุษย์ยังเป็นสาวก หรือสมุนบริวาณแห่งโลกมายานี้ แน่นอนเขาก็จะประสบกับความล้มเลว และเขาจะไม่พบกับความผาสุกในโลกอาคิเราะฮฺ

วันนี้เรายังมีลมหายใจ เรายังมีเวลาทบทวนตัวเอง ขอให้ตระหนักถึงเรื่องอะมัล และเร่งสะสมความดี ละเว้นสิ่งที่ต้องห้าม อย่ารอจนถึงวันพรุ่งนี้ วันที่มนุษย์ไม่อาจแก้ตัว หรือเตาบัตคืนสู่เส้นทางของพระผู้เป็นเจ้าได้ เพราะวันนั้น มนุษย์ไม่มีการปฏิบัติอะมัล และสะสมความดีใดๆอีก นอกจากรับการสอบสวนในผลที่เขาได้กระทำสะสมไว้ในวันนี้จากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น

ท่านอาลีย์ บุตรของอบูฏอลิบ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
“(โลก) ดุนยากำลังผินหลังจากไป ส่วน(โลก)อาคีเราะฮฺกำลังมุ่งหน้ามา ซึ่งแต่ละโลกจะมีสาวกของมัน เช่นนั้นพวกท่านจงเป็นสาวกของ(โลก)อาคิเราะฮฺเถิด แต่จงอย่าเป็นสาวกของ(โลก)ดุนยา อันที่จริงวันนี้ (ดุนยา) คือการปฏิบัติ(อะมัล) มิใช่การสอบสวน แต่วันพรุ่งนี้(อาคิเราะฮ) คือการสอบสวน โดยไม่ปฏิบัติ(อะมัล)” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 4 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)


 والله أعلم بالصواب

*************

วิธีขั้นตอนและเวลาละหมาดฟัรฎู5เวลา




การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่างๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวมยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วยการทำละหมาด เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ

1. รอบวัน ผู้เป็นมุสลิมจะต้องทำละหมาดวันละ 5 เวลา คือ

1.1 เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาด ซุบหฺ ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์

1.2 เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาด ดุฮฺริอฺ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์

1.3 เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาด อะซัร ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์

1.4 เวลาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาด มัฆริบ ปฏิบัติ 3 ร็อกอะฮ

1.5 เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาด อิชาอ์ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์

2. รอบสัปดาห์ ให้รวมทำกันในวันศุกร์ ณ มัสยิดสถาน จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

3. รอบปี ในรอบปีหนึ่งให้ทุกคนมาปฏิบัติการละหมาด ณ มัสยิดหรือสถานชุมนุมซึ่งมี 2 ครั้ง คือ

3.1 ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดุลพิฏร์) ซึ่งเรียกว่า "วันออกบวช" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

3.2 ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทาน เนื่องในเทศกาลฮัจญ์ (อีดุลอัฏฮา) ซึ่งเรียกว่า "วันออกฮัจญ์"จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

4. ตามเหตุการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ละหมาดด้วย เช่น

4.1 ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า "ละหมาดญะนาซะฮ์"
4.2 ทำละหมาดขอฝน ในยามแห้งแล้ง เรียกว่า "ละหมาดอิสติสกออ์"

4.3 ทำละหมาดในกลางคืนของเดือนถือศีลอดจำนวน 20 ร็อกอะฮ์ เรียกว่า "ละหมาดตะรอวีห์"

4.4 ทำละหมาดระลึกถึงพระเจ้า เมื่อเกิดผิดปกติทางธรรมชาติ คือ

4.4.1 เมื่อเกิดจันทรุปราคา เรียกว่า "คูซูฟุลกอมัน" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

4.4.2 เมื่อเกิดสุริยุปราคา เรียกว่า "กุซูฟุซซัมซิ" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

4.5 ทำละหมาดขอต่อพระเจ้า ให้ชี้ทางเลือกในการประกอบการงานที่ตัวเอง ตัดสินใจไม่ได้ เรียกว่า ละหมาด "อิสติคงเราะย์" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

นอกจากที่กล่าวไว้นี้แล้ว ยังมีละหมาดอื่นๆ อีก ซึ่งปรากฏในตำราศาสนาโดยตรงและการละหมาดยังส่งเสริมให้กระทำโดยไม่ต้องรอวาระและเหตุการณ์ต่างๆ ดังกล่าวที่เป็นการกระทำโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข ทำเมื่อระลึกถึงพระเจ้า จำนวนกระทำครั้งละ 2 ร็อกอะฮ์ และทำได้เรื่อยไป เรียกว่า ละหมาด "สนัตมุตลัก"

วิธีทำละหมาด ให้เริ่มด้วยการชำระร่างกายให้สะอาด และอาบน้ำละหมาดตามแบบดังนี้

1. ตั้งเจตนาว่าจะอาบน้ำละหมาด

2. ล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อมือ

3. บ้วนปากและล้างรูจมูก 3 ครั้งให้สะอาด

4. ล้างหน้า 3 ครั้ง ให้ทั่วบริเวณหน้าให้สะอาด

5. ล้างแขนทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายนิ้วมือถึงข้อศอกโดยล้างข้างขวาก่อนข้างซ้าย

6. เอามือขวาชุบน้ำลูบศรีษะ 3 ครั้ง ตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง

7. เอามือทั้งสองชุบน้ำเช็ดใบหูทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ให้เปียกทั่วทั้งภายนอกและภายในโดยเช็ดพร้อมกันทั้งสองข้าง

8. ล้างเท้าทั้ง 2 ข้าง 3 ครั้ง ให้ทั่วจากปลายเท้าถึงเลยตาตุ่ม โดยล้างเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย

เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำละหมาดก็ให้สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และปิดอวัยวะสงวนโดย

- ผู้ชายต้องปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า

- ผู้หญิงปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ

แล้วหันหน้าไปทาง "กิบละฮ์" (กะอ์บะฮ์ บัยตุบเบาะห์) ด้วยจิตใจอันสงบ มีสมาธิและมุ่งต่อพระเจ้า แล้วปฏิบัติ ดังนี้

1. ตั้งเจตนาแน่วแน่ในการปฏิบัติ

2. ยกมือจดระดับบ่า พร้อมทั้งกล่าวตักบีร กล่าวอัลลอฮูกักบัร ซึ่งแปลว่า อัลลอฮ์ ทรงยิ่งใหญ่ แล้วยกมือลงมากอดอก

3. ยืนตรงในท่าเดิม พร้อมกับอ่าน "บางบทจากคัมภีร์อัลกุรอาน" หรือบทฟาตีฮะห์ หรือบทอื่นๆ ตามต้องการ

4. ก้มลง ใช้มือทั้งสองจับเข่าไว้ ศีรษะทำแนวตรงกับสันหลังไม่ห้อยลงและไม่เงยขึ้นพร้อมทั้งอ่านว่า "ซุบฮานะริบบิยันอะซีวะบิฮัมดิฮฺ" 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย

5. เงยขึ้นมาสู่ที่ยืนตรง พร้อมทั้งกล่าวว่า "สมิอัลลฮุลิมันฮะมิดะฮ์ รอบบะนาละกัลฮั้มดุ"

6. ก้มลงกราบโดยให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางแนบพื้นในระดับเข่า หัวเข่าทั้งสองวางบนพื้นและปลายนิ้วสัมผัสพื้นพร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะรอบบิยัลอะฮฺลาวะบิฮัมดิฮี" 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย

7. ลุกขึ้นมานั่งพักพร้อมกับอ่านบทขอพร

8. ก้มลงกราบครั้งที่สองแบบเดียวกับครั้งแรก การกระทำตามลำดับดังกล่าวนั้นถือว่า "หนึ่งร็อกอะฮ์"

9. จากนั้นขึ้นมายืนตรง แล้วย้อนกลับไปเริ่มต้นปฏิบัติตามลำดับ ตามที่กล่าวไว้แล้ว และในร็อกอะฮ์ที่สองให้ทำอย่างนี้

10. เมื่อขึ้นจากการกราบครั้งที่สอง พร้อมกับอ่านตะฮียะฮ์ คือ "อัตตะฮียาตุลมูบารอกาตุสซอลาตุตตอยยิปิตุลิลลาฮ์ อัสลามุอาลัยกะอัยยุฮันนะปิยุวะ เราหมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮอัสสะลามุอาลัยนาวะอะลาอิบาติซซอลิฮีนอัซฮะดุอัลา
ฮะอิลลัลดอฮุวะอัซฮะดุอันนะมุฮัมมะดัรรอซูลุลลอฮิ อัลลอฮ์ฮุมมะซอลลิอะลามุฮำมัดอะลาอะลีมุฮัมมัด"

หากละหมาดนั้นมีเพียงสองร็อกอะฮ์ ก็ไม่ต้องขึ้นให้กระทำร็อกอะฮ์ต่อไป แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มีร็อกอะฮ์ที่มี 3-4 ก็ให้ขึ้นกระทำตามลำดับดังกล่าวจนครบจำนวนโดย

- ถ้าเป็นละหมาด 3 ร็อกอะฮ์ ถึงการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ที่ 3 ลุกมาอ่านตะฮียะฮ์

- ถ้าเป็นละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ ก็ลุกจากการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ ขึ้นมายืนตรงทำต่อในร็อกอะฮ์ที่ 4 ตามลำดับจนถึงการนั่งอ่านตะฮียะฮ์สุดท้าย

11. ให้สลาม คือ อ่านว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์" ทำพร้อมกับเหลียวไปทางขวาและว่าอีกครั้งพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย จากนั้นก็ยกมือขึ้นลูบหน้า เป็นอันเสร็จพิธี อนึ่งก่อนพิธีละหมาดจะเริ่มขึ้นจะมีผู้บอกโดยใช้วิธีตะโกนจากหอสูง เมื่อทุกคนมาประชุมพร้อมกันแล้วหัวหน้าในพิธีการนั้นก็จะเป็นผู้นำ วันสวดมนต์ใหญ่ คือ วันศุกร์

การสวดมนต์หรือนมัสการมีอยู่ 3 ตอน คือ

- ตอนแรก เรียกว่า อาซาน คือ ตอนที่มุอาซินขึ้นไปตะโกนเรียกอยู่บนหอสูง มีเนื้อความ ว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่ดีกว่าพระอัลลอฮ์ พระมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์จงมานมัสการกันเถิด มาทำความดีกันเถิด ดีกว่าการนอน

- ตอนสอง เรียกว่า ร็อกอะฮ์ เป็นการเริ่มสำรวม กาย วาจา และใจ คือ การกล่าวคำสวดที่ถูกต้อง ใช้อิริยาบถถูกต้องและตั้งจิตตรงต่อพระเจ้าองค์เดียวอย่างถูกต้อง

- ตอนสาม คือ ตอนกล่าวคำนมัสการโดยอิมาม หรือหัวหน้าในพิธีเป็นผู้นำกล่าวนำและกระทำนำพร้อมกัน เป็นการขอพรและสรรเสริญพระคุณของพระเจ้า อนึ่ง มุสลิมถือว่าในเทศกาลสำคัญอย่างการฉลองวันสิ้นสุดแห่งการถือศีลอด และวันฉลองการเสียสละครั้งใหญ่ (อีดุลอัฏฮา) คือ วันตรุษ จะต้องทำพิธีร่วมกันทุกคนขาดไม่ได้

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างพระศาสดาพระมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้

1. เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา

2. เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง

3. เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ

4. เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี

5. เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม

6. เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี

7. เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

**********************
Credit : muslimthaipost.com

Islam is my Life

อิสลามกับยาเสพติด




ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย เรื่องยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในสังคมทั่ว ๆ ไป กำลังคุกคามสังคมมุสลิมเราอย่างหนักและเป็นเรื่องด่วนที่ควรหาทางแก้ไขให้เด็ดขาดก่อนที่จะสายเกินไป เพราะเหยื่อของผลร้ายจากยาเสพติดนี้ก็คือ เยาวชนที่เป็นพลังสำคัญของสังคมเรานั่นเอง ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเภทออกฤทธิ์กดประสาท กระตุ้นประสาทหรือหลอนประสาท ล้วนแล้วแต่ให้โทษใหญ่หลวงกับผู้เสพ อาจเป็นอาชญากรโดยไม่รู้ตัว เมื่อติดก็จะหยุดเสพไม่ได้แต่จะต้องเพิ่มปริมาณของการเสพขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งร่างกายทรุดโทรมและสุดท้ายก็ตกอยู่ในสภาพตายผ่อนส่ง

ผู้ศรัทธาที่รัก เยาวชนมุสลิมที่ดีจะเป็นกำลังที่สำคัญในการที่จะพัฒนาสังคมมุสลิมให้มีเสถียรภาพและความมั่งคงโดดเด่นในสังคมโลก แต่เยาวชนที่ติดยาเสพติดอาจเป็นผู้ทำลายเกียรติของอิสลามเสียเองเพราะยาเสพติดเป็นตัวการบ่อนทำลายสิ่งสำคัญ 3 ประการด้วยกัน ซึ่งได้แก่ สติสัมปชัญญะ ชีวิต และทรัพย์สิน เยาวชนที่ติดยาเสพติดอาจไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษา อนาคตมือมนหากตกเป็นทาสยาเสพติดก็จะทำให้กลายเป็นคนเห็นผิดเป็นชอบ ประกอบอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาซื้อยาเสพ เมื่อถูกจับกุมแผนการชีวิตก็ล้มเหลว ในกลุ่มนักเรียนนั้นบุหรี่หาง่ายโดยทั่วๆ ไป จะเป็นตัวการหนึ่งที่สำคัญที่จะพาพวกเขาไปสู่การเสพยาเสพติดประเภทร้ายแรงอื่นๆ เช่น ดมกาว กัญชา ยาบ้า และผงขาว เมื่อได้รับการชักชวนและสภาพทางจิตใจทีขาดความอบอุ่นทางครอบครัว ลูกหลานจำนวนไม่น้อยของเราจึงเกิดความรู้สึกอยากทดลองและตกเป็นทาสของยาเสพติดในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามความหวังที่จะพึ่งศาสนาในการแก้ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่แต่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังดังต่อไปนี้

1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับมัสยิดอันเป็นศูนย์กลางการปกครองหมู่บ้านมุสลิม จะต้องใช้หลักการศาสนาโดยตรงที่สั่งห้ามเรื่องยาเสพติดออกประกาศแก่สัปปุรุษทุกคน

2. รัฐจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามและแพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลร้ายและวิธีการป้องกัน รวมถึงการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดของคดียาเสพติดอย่างจริงจังและจริงใจ

3. ครูสอนศาสนาจะต้องปลูกฝังอีหม่ามที่เข้มแข็งให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ให้มีสภาพจิตใจที่พร้อมสำหรับการต่อสู้กับวิถีชีวิตและค่านิยมที่หลั่งไหลมาจากตะวันตก

4. ครูสามัญรวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นตัวอย่างในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดที่แพร่ระบาดในสังคมเรา

5. สถาบันครอบครัวจะต้องมีบทบาทในการสังเกตและสามารถกวดขันพฤติกรรมเด็กและให้ความสำคัญในการดูแลอบรมลูกหลานตัวเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นบิดามารดา เมื่อไม่สนใจต่อปัญหาของพวกเขาไม่ปลูกฝังศีลธรรมและจรรยาก็จะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับความอบอุ่นทางครอบครัว ในที่สุดเยาวชนที่ควรจะเป็นคนดีของสังคมหันไปพึ่งยาเสพติดและสร้างจุดบอดขึ้นในสังคมมุสลิม

พี่น้องที่รัก อิสลามห้ามการดื่มเหล้าและยาเสพติดต่างๆ ก็เพราะมันเป็นสิ่งโสมม เผาผลาญประโยชน์และคุณค่าอันมากมายที่ชีวิตควรได้รับเพราะการเสพย์สิ่งเสพติดเป็นการทำลายสุขภาพ ทำลายสังคม ทำลายเศรษฐกิจ ซ้ำยังเป็นผลร้ายในการปฏิบัติศาสนกิจอีกด้วย เพราะเป็นที่แน่นอนชัดเจนว่าการประกอบศาสนกิจที่ถูกต้องทางศาสนาล้วนมีแรงผลักดันจากสติปัญญาที่รอบคอบและร่างกายที่แข็งแรง ด้วยเหตุนี้ท่านรอซู้ลลุลลอฮฺจึงแจ้งว่า “มุมินที่แข็งแรงนั้นเป็นที่รักของอัลลอฮฺยิ่งกว่ามุมินที่อ่อนแอ”

อิสลามมิเพียงแต่จะประกาศอุดมการณ์สิทธิแห่งของการดำรงชีวิตนี้เท่านั้น หากแต่ยังประกาศพร้อมกันนั้นว่า จำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่กับสุขภาพพลานามัย ขจัดปัดเป่าโรคภัยและโรคระบาดทั้งหลาย ให้พ้นจากคนในสังคม ดังเหตุการณ์ของเรื่องการระบาดของโรคอหิวาในสมัยของท่านคอลีฟะห์อุมัร ท่านได้ห้ามกองทัพมิให้ไปยังดินแดนที่มีโรคระบาดทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามพระวจนะของท่านรอซู้ลที่ว่า “หากเกิดโรคอหิวาระบาด ณ ดินแดนใดและท่านไม่ได้อยู่ในดินแดนนั้น ท่านก็จงอย่าเข้าไป แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นในดินแดนของท่าน ท่านก็จงอย่าออกไป” จากวจนะดังกล่าวศอฮาบะห์ได้ชี้ให้เห็นว่ามุสลิมจะต้องมีการปกป้องสังคมให้พ้นไปจากความเสียหายที่จะเข้ามาบ่อนทำลายสังคม เช่นเดียวกันกับพิษร้ายของยาเสพติดต่าง ๆ ที่กำลังคุกคามสังคมของเรา ซึ่งเราควรจะร่วมมือกันต่อต้านเพื่อมิให้ลูกหลานของเราต้องถูกยาเสพติดครอบงำ แต่จะต้องพัฒนาบุคลิกภาพอันดีงามให้กับพวกเขาเพื่อจะใช้สร้างเกียรติภูมิและเป็นกำลังเสริมที่สำคัญของอิสลามและสังคมมุสลิมในปัจจุบันให้มีความมั่นคงเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ตราบนานเท่านาน

<<<>>>
โดย : อาจารย์ปริญญา ประหยัดทรัพย์

Islam is my Life

การอ่านบิสมิลลาเสียงดัง






เรื่องการอ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ เสียงดังในละหมาดที่ให้อ่านเสียงดัง เป็นปัญหาที่นักวิชาการขัดแย้งกันในเรื่องนี้ ทัศนะของยุมฮูร บอกว่าไม่ต้องอ่านเสียงดังโดยใช้หลักฐานหะดีษอนัสบินมาลิก ว่า

" แท้จริงท่านนบี อบูบักรและอุมัร พวกท่านทั้งหลายนี้ได้เริ่มการอ่านในละหมาดด้วย ( الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ) "
(รายงานโดยบุคอรีหะดีษที่ 743)

อีกรายงานหนึ่งว่า ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านอบูบักร อุมัร และท่านอุสมานฉันไม่ได้ยินใครอ่านบิสมิลลาเลย

และในรายงานของมุสลิมว่าฉันเคยละหมาดตามท่านนบี และเคยละหมาดตามท่านอบูบักรอุมัร อุสมาน พวกท่านทั้งหลายนี้ได้เริ่มอ่านด้วย ( الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ) ไม่มีใครอ่านบิสมิลลาในตอนแรกและตอนท้ายเลย


ส่วนมัสฮับชาฟีอี และผู้ที่เห็นตรงกับมัสฮับนี้ ได้เห็นว่าต้องอ่านบิสมิลลาเสียงดัง หลักฐานของพวกเขาก็คือ

หะดีษอบูฮุรอยเราะห์ เล่าว่า ท่านนบี เคยอ่านขณะที่ท่านเป็นอีหม่ามโดยที่ท่านเริ่มด้วยบิสมิลลา (بسم الله الرحمن الرحيم )

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ได้กล่าวว่า มันเป็นอายะห์หนึ่งจากอัลกุรอาน ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านฟาติฮะห์เถิดหากว่าพวกเจ้าต้องการ

พวกที่เห็นด้วยในทัศนะนี้ยังกล่าวอีกว่า บิสมิลลานั้นเป็นอายะห์หนึ่งจากซูเราะห์ฟาติฮะห์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอ่านเสียงดัง เพราะว่าท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้รายงานทางสายรายงานของท่านกอตาดะห์ไว้ว่า

ท่านอนัสได้ถูกถามว่า การอ่านของท่านนบี เป็นอย่างไร?

ท่านจึงกล่าวว่า อ่านยาว

ต่อมาท่านอนัสก็อ่าน (بسم الله الرحمن الرحيم ) โดยลากเสียงด้วย (بسم الله) และลากเสียงด้วย (الرحمن) และก็ลากเสียงด้วย (الرحيم )

ท่านดารุกุตนี และ ท่านบัยหะกี ได้รายงานจากหะดีษอบูฮุรอยเราะห์ถึงท่านนบี ว่า

"เมื่อพวกเจ้าอ่านอัลฮัมดุลิ้ลละห์ก็จงอ่านบิสมิลลาด้วย เพราะว่ามันเป็นอุมมุลกุรอาน(แม่ของกุรอาน) อุมมุลกิตาบ(แม่ของหนังสือ)

และเป็นเจ็ดอายะห์ที่ทรงเกียรติ และบิสมิลลาก็เป็นหนึ่งในซูเราะห์นี้”

(อัลบานีบอกว่าเป็นหะดีษที่เชื่อถือได้)

ดังหลักฐานและทรรศนะที่กล่าวมานี้มีสิ่งสำคัญที่เราจะต้องพิจารณาคือ

หนึ่ง ทรรศนะที่ถูกต้องในเรื่องนี้ก็คือ ไม่ต้องอ่านบิสมิลลาเสียงดัง เพราะว่าหลักฐานแข็งกว่าน่าเชื่อถือกว่า

สอง ทั้งๆที่ซุนนะห์ที่ถูกต้องนั้นคือการไม่อ่านบิสมิลลาเสียงดัง แต่การบิสมิลลาในละหมาดเสียงดังนั้นก็เป็นที่อนุญาต และไม่ใช่บิดอะห์ และไม่หะรอม เพราะว่ามีการรายงานว่าท่านนบีนั้นได้อ่านเสียงดังบางครั้ง

สาม การอ่านบิสมิลลาเสียงดังถือว่าไม่เป็นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไปเป็นอิหม่ามให้กับกลุ่มคนที่ยึดถือมัสฮับชาฟีอีดังทีเป็นกันอยู่ในบ้านเราเมืองไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวมพี่น้องให้เป็นหนึ่ง

อิบนุตัยมียะห์กล่าวว่า ทั้งนี้และทั้งนั้น ที่ถูกต้องคือ สิ่งที่ไม่ต้องอ่านเสียงดังบางทีก็ต้องอ่านเสียงดังบ้างเพื่อประโยชน์แก่ปวงชน และถือว่าเป้นหน้าที่ของอีหม่ามในบางครั้งเพื่อสอนมะมูม และเป็นที่อนุญาตให้ผู้ละหมาดออกเสียงบ้างเล็กๆน้อยๆ และเป็นที่อนุญาติที่เราจะทิ้งสิ่งที่ประเสริฐกว่าเพื่อเป็นการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อป้องกันการปฏิเสธความถูกต้อง

ดังเช่นที่ท่านนบี ได้ทิ้งการสร้างกะบะห์ตามรูปแบบของอิบรอฮีมเพราะว่าพวกกุเรชเป็นพวกที่พึ่งรับอิสลามใหม่ และเพื่อป้องกันการผินหลังจากพวกเขา และท่านได้เห็นว่าการรวมตัวและการเข้าใจนั้นต้องมาก่อนการที่จะสร้างตามแบบของนบีอิบรอฮีม

ท่านอิบนุมัสอู๊ดได้กล่าวในขณะที่เขาละหมาดเต็มตามหลังอุสมานว่าทั้งๆที่เขาไม่ต้องการสิ่งนั้น พอมีคนถามเค้าว่าทำไมทำอย่างนั้น ท่านก็กล่าวว่า การขัดแย้งกันนั้นมันเป็นสิ่งไม่ดี

เพราะเหตุนี้บรรดาอีหม่ามทั้งหลายเช่นอีหม่ามอะห์หมัดและท่านอื่นๆได้บอกเรื่องการบิสมิลลา และเรื่องการละหมาดวิเตรแบบสามรวด และเรื่องอื่นๆอีกที่เป็นการทิ้งสิ่งที่ดีกว่าไปยังการอนุญาตสิ่งที่ดีน้อยกว่า เพื่อเป็นการเอาใจใส่ผู้คน หรือเพื่อการทำให้เค้ารู้จักซุนนะห์ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย (จบ) จากหนังสือ มัจมั๊วะฟาตาวา 22/ 436และ437

ท่านได้กล่าวไว้อีกว่า การละทิ้งสิ่งที่ดีกว่านั้นเพื่อให้คนทั้งหลายไม่หนีออกห่าง เช่นกันการที่คนๆหนึ่งที่เห็นว่าการอ่านบิสมิลลาถูก และได้ไปเป็นอีหม่ามให้กับกลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้หรือว่าตรงกันข้ามก็ให้ทำตามเขาถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่า (จบ) มัจมั๊วะฟาตาวา 22/268 และ 269


สี่ ด้วยเหตุที่ว่าการอ่านบิสมิลลานี้เป็นปัญหาที่ขัดแย้งกัน ก็ไม่สมควรที่จะต่อต้านคนที่อ่านดังหรืออ่านค่อย


ทั้งสองนั้นมีหลักฐานจากกุรอานและหะดีษ ด้วยเหตุนี้ผมขอเตือนพี่น้องว่า อย่าให้ปัญหาปีกย่อยพวกนี้เป็นเหตุสร้างความแตกแยก และเป็นประตูแห่งความวุ่นวายการแบ่งกลุ่ม แต่จำเป็นที่เราจะต้องอธิบายถึงปัญหานี้สำหรับคนที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับทัศนะที่ถูกต้องด้วยกับฮิกมะห์(วิธีการที่ดี) และการตักเตือนกันด้วยดี และด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยน จะได้รับผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจ


**********************
เขียนโดย ดร.อาลี มาหามะ
แปลโดย ....ชุโก๊ร ดาณีสมัน

Credit : islammore.com

Islam is my Life

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อินนาลิลลาฮิ




عَنْ أَبِيْ مُوْسَى الْأَشْعَرِيْ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ (قَالَ اللهُ تَعَالَى يَا مَلَكَ الْمَوْت قَبَضْتَ وَلَدَ عَبْدِيْ قَبَضْتَ قُرَّةَ عَيْنِهِ وَثَمَرَةَ فُؤَادِهِ قاَلَ نَعَمْ قَالَ فَمَا قَالَ قَالَ حَمِدَكَ وَاسْتَرْجَع قَالَ ابنُوْا لَهُ بَيْتًا فِي الْجَنَّة وَسَمُّوْهُ بَيْتَ الْحَمْد) رواه أحمد

อัลลอฮฺ ได้บอกกับมะละกิลเมาตฺว่า “โอ้มะละกิลเมาตฺท่านได้ยึดวิญญาณลูกชายของบ่าวของฉัน ท่านได้ยึดวิญญาณที่รักของเขา ท่านได้ยึดวิญญาณดวงใจของเขา” มะละกิลเมาตฺตอบว่า “ใช่” “แล้วเขาได้พูดอย่างไร” “เขากล่าวสรรเสริญพระองค์ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ(มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์) และกล่าว อินนาลิลลาฮิ วะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน “อัลลอฮฺจะบอกกับมลาอิกะฮฺ “จงสร้างบ้านให้เขาในสวนสวรรค์ และจงเรียกบ้านนี้ว่า บ้านแห่งการสรรเสริญ” (อัลหะดีษ)



لَهُ مُعَقِّبَاتٌ مِّن بَيْنِ يَدَيْهِ وَمِنْ خَلْفِهِ يَحْفَظُونَهُ مِنْ أَمْرِ اللَّـهِ ۗ إِنَّ اللَّـهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ ۗ وَإِذَا أَرَادَ اللَّـهُ بِقَوْمٍ سُوءًا فَلَا مَرَدَّ لَهُ ۚ وَمَا لَهُم مِّن دُونِهِ مِن وَالٍ ﴿١١﴾
สำหรับเขามีมะลาอิกะฮฺผู้เฝ้าติดตามทั้งข้างหน้าและข้างหลังเขา(*1*) รักษาเขาตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง(*2*) และเมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดก็จะไม่มีผู้ตอบโต้ พระองค์(*3*) และสำหรับพวกเขาไม่มีผู้ช่วยเหลือนอกจากพระองค์ (อัรเราะดฺ : 11.)

************************************
(1) สำหรับ มนุษย์ นั้นมีมะลาอิกะฮฺที่ได้รับมอบหมายคอยเฝ้าติดตาม โดยเปลี่ยนเวรกันเหมือนยามเฝ้าสถานที่ราชการ

(2) อัลลอฮฺจะมิทรงให้ความโปรดปรานของพระองค์สูญสิ้นไปจากกลุ่มชนใด เว้นแต่กลุ่มชนนั้นจะทรยศต่อความโปรดปรานของพระองค์ ด้วยการเอาของแปลกปลอมของเลวเข้ามาแทนที่

(3) คือถ้าพระองค์จะนำความหายนะหรือการลงโทษของพระองค์มาสู่กลุ่มชนใด ก็ไม่มีผู้ใดสามารถจะตอบโต้หรือป้องกันพระประสงค์ของพระองค์ได้



والله أعلم بالصواب
..............................

MadamSalamah Barbero


ค้าขายอย่าโกงกันนะ


                       เมื่อวานผมได้ไปจับจ่ายซื้อกับข้าวในตลาดหมู่บ้าน เมื่อไปในตลาดจำได้ว่าหอมแดง และกระเทียม ในครัวที่บ้่านหมดแล้ว จึงเข้าไปในร้านหนึ่ง ซึ่งขายจำพวกหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง ฯลฯ มีแม่ค้ามุสลิมะฮฺที่คลุมฮิญาบเรียบร้อย จึงได้บอกแม่ค้าว่า

 :ซือกระเทียมกับหอมแดง ผสมกัน 40 บาท"

 แม่ค้าก็ได้ได้พยักหน้าพร้อมนำหัวหอมแดงและกระเทียมใส่ถุงแล้วชั่งตามที่ตกลงซื้อขาย พร้อมกล่าวกับผมว่า
"ช่วงนี้หอมแดง แพงหน่อยนะ"

ผมก็เลยถามด้วยความสงสัยว่า "แล้วหอมแดงราคาเท่าไหร่ ต่างกับกระเทียมมากไหม?"

แม่ค้าตอบว่า : หอมแดงกิโลละ 90  ส่วนกระเทียม กิโล 50"

ผมก็พูดอุทานออกมาว่า : โอ้ ! ต่างกันมากเลย แล้วหอมแดงมาเลย์ล่ะต่างกับหอมแดงไทยเท่าไหร่"

ผมพูดพร้อมกับจ่องตาไปที่หอมแดงมาเลย์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างกับหัวหอมแดงไทยกับกระเทียมไปจวนมุมร้าน
 แม่ค้าเลยตอบว่า

"กิโลละ 25"

"อุ ! ถูกมากเลยนะ หอมแดงมาเลย์ ดูผลมันก็ใหญ่กว่า ดูน่ารับประทานกว่าเสียอีก" ผมพูดอย่างแปลกใจ

แม่ค้าเลยตอบว่า
"แต่หอมแดงไทยดีกว่าเยอะ"

แม่ค้าพูดพร้อมกับเอื้อมมือไปยิบหอมแดงที่อยู่ในภาชนะหอมแดงไทย แล้วนำหอมแดงนั้นใส่ไปในภาชนะที่บรรจุหอมแดงมาเลย์ พร้อมพูดว่า
  "มีคนนำเอาหอมแดงมาเลย์มาใส่ปะปนกับหอมแดงไทย"

ผมก็เลยถามอย่างสงสัยว่า : "หรือครับ?"

พร้อมกับมองไปที่ภาชนะหอมแดงไทยและหอมแดงมาเลย์ ซึ่งเมื่อสังเกตให้ดีๆ ก็ปรากฏว่า หอมแดงที่อยู่ในภาชนะหอมแดงไทย กับหอมมาเลย์ ไม่แตกต่างกันเลย มีลักษณะเป็นหอมแดงผลใหญ่ๆ อย่างหอมแดงมาเลย์

หลังจากนั้นผมก็หันหลังออกจากร้านค้านั้น แล้วนำหอมแดงที่อยู่ในถุงที่ซื้อมาตรวจดู ก็ปรากฏว่า มีหอมแดงไทยกับหอมแดงมาเลย์ผสมกัน แต่เป็นหอมแดงมาเลย์มากกว่า

ผมได้คร่ำคิดตลอดขณะขับรถกลับบ้านว่า ทำไมหนอ แม่ค้าถึงทำเช่นนี้ ผ้าที่คลุมผมของเขา ไม่ทำให้เขาย่ำเกลงพระองค์อัลลอฮฺบ้างหรือ? ... เขาเอาหอมแดงมาเลย์ ราคากิโลกรัมละ 25 บาท มาปะปนกับหอมแดงไทย ที่มีราคากิโลกรัมละ 90 บาท เพื่อขายในราคา 90 บาท เมื่อบวกลบกันแล้ว เขาได้ส่วนที่ไม่ควรได้ กิโลกรัมละ 65 บาท มันเป็นการฉ้อโกง และเอารัดเอาเปรียบลูกค้าอย่างหน้าด้านๆที่สุด

ซึ่งศาสนาได้ห้ามไว้อย่างชัดเจนไม่ให้มีการหลอกลวงราคาสินค้า ไม่ให้เอากรวดทรายหรืออื่นใดทำนองนี้มาปะปนกับสิ้นค้า หรือการอื่่นที่แฝงด้วยกลลวง อย่างการเอาสิ้นค้าที่ราคาถูกกว่ามาปะปนกับสิ้นค้าที่ราคาที่ราคาแพงกว่า

รายงานจากอิบนิอุมัร ร่อฎียัลลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  ได้ห้ามการขึ้นราคาค้าเพื่อหลอกลวง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ มุสลิม)

รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  ห้ามการซื้อขายที่ผสมกรวดทรายลงไปในสิ้นค้าและวิธีการอื่นใดที่แฝงไว้ด้วยกลลวง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1456)

แน่นอนว่าการนำหอมแดงมาเลย์ ที่มีราคาถูกกว่าหอมแดงไทย 65 บาท มาปะปนกัน เพื่อให้ลูกค้าเชื่อว่าเป็นหอมแดงไทย และคิดในราคาหอมแดงไทย ซึ่งมีราคาแพงกว่าเยอะ มันเป็นการหลอกลวงในการซื้อขาย ที่เป็นต้องห้ามในอิสลาม

เราลูกค้าจึงจำเป็นต้องติเตือนพ่อค้า หรือแม่ค้า ไม่ให้ทำการหลอกลวงเช่นนี้

รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
“มีชายคนหนึ่งร้องเรียนท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า : เขาถูกหลอกลวงในการซื้อขาย ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  จึงกล่าวว่า : บอกคนขายว่าจงอย่าหลอกลวง ตั้งแต่นั้นมาเมื่อเขาจะซื้อขาย เขาก็ย้ำเสมอว่า จงอย่าหลอกลวง” (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1480)

ซึ่งหากผู้ขาย กับผู้ซื้อ ได้ทำการซื้อขายกันอย่างยุติธรรมไม่คดโกงกัน แน่นอนพระองค์อัลลอฮฺก็จะให้พวกเขามีความจำเริญจากการซื้อขายนั้น

แต่หากผู้ขาย หรือผู้ซื้อ กระทำการที่เป็นการอยุติธรรม มีการคดโกง ปกปิดซ่อนเร้น อำพรางแล้วไซร้ เขาผู้นั้นก็จะถูกปกปิด พระองค์อัลลอฮฺจะไม่ให้ความจำเริญในการซื้อขายนั้นๆ

รายงานจากหะกีม อิบนุ ฮิชาม เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  กล่าวว่า
“บุคคลสองคนที่ซื้อขายกัน ทั้งสองฝ่ายทรงสิทธิที่จะเลือก (ว่าจะซื้อขายต่อไป หรือยกเลิกการซื้อขาย) ตราบเท่าที่ทั้งสองยังไม่แยกกัน หากทั้งสองซื้อขายอย่างยุติธรรมและตรงไปตรงมา ดังนี้พวกเขาจะมีความจำเริญจากการซื้อขายครั้งนั้น หากพวกเขาทั้งสองพูดเท็จและปกปิด(ความบกพร่อง)ความจำเริญจะไม่มีในการซื้อขายครั้งนั้น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 1479)

รายงานจากท่านอัลมิลคาม อิบนุ มะอฺดิยะกะริบ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าวว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“พวกท่านจงตวงอาหารของพวกท่าน(ให้ครบ) แล้วพวกท่านจะได้รับการเพิ่มพูน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 338)

รายงานจากท่านสาลิมซึ่งบิดาของเขาเล่าว่า
“ฉันเคยเห็นผู้ซื้ออาหารโดยไม่มีการชั่งตวงให้ชัดเจนถูกทำโทษในสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  หากได้ขายมันออกไปก่อนที่จะนำกลับไปถึงบ้าน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 341)

ดังนั้นการค้าขายที่ไม่เป็นธรรม มีการคดโกงหลอกลวงกัน ถือเป็นสิ่งต้องห้าม และพระองค์อัลลอฮ์จะไม่ให้ความจำเริญแก่เขาในการค้าขายนั้นเลย

ที่สำคัญ หากผู้ใดได้กระทำการคดโกง หรือฉ้อฉลในการซื้อขายสิ้นค้าแล้ว ก็ให้เขารีบเตาบะฮฺกลับตัว ด้วยการคืนสิ่งของที่เขาฉ้อโกง หรืออธรรมให้แก่เจ้าของเสีย หรือขอฮะลาลจากเขาเสียก่อน

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใด ณ ที่เขามีการอธรรมแก่พี่น้องของเขา ก็จงขอฮะลาลเขาเสีย ตั้งแต่บัดนี้ ก่อนจะถึงวันที่ไม่พบเหรียญทอง หรือเหรียญเงิน (วันนั้น) หากเขามีการปฏิบัติ จะเอาความดีของเขามาชดใช้สิ่งที่เขาอธรรม หากเขาไม่มีความดี ก็จะเอาความชั่วของเพื่อนที่ถูกอธรรมมาให้เขาแบก” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์)

 والله أعلم بالصواب

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น






มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดียกย่องและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น  ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามูฮำหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

มีรายงานหะดีษซึ่งบันทึกโดยท่านอิมามอัล-บุคอรียฺและมุสลิม จากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ » [البخاري برقم 13، ومسلم برقم 45]
ความว่า “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่มีศรัทธาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะปรารถนาให้พี่น้องของเขาได้รับในสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 13 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 45)

  หะดีษอันทรงเกียรติบทนี้ เป็นหนึ่งในหะดีษที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นหัวใจหลักของศาสนา หากว่าเราได้ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมสามารถขจัดความชั่วร้าต่างๆ และยุติข้อพิพาทระหว่างผู้คนได้ สังคมส่วนรวมก็จะถูกปกคลุมด้วยความปลอดภัย ความดีงาม และสันติสุข ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหัวใจปราศจากการฉ้อฉล คดโกง และอิจฉาริษยา

ทั้งนี้ เพราะการอิจฉาริษยาส่งผลให้ผู้อิจฉาเกลียดชิงชังผู้คนที่ทำดีเหนือกว่าหรือเทียบเท่ากับเขา โดยเขาปรารถนาที่จะให้ตนเองโดดเด่นแต่เพียงผู้เดียวเหนือผู้อื่นด้วยคุณงามความดีของเขา แต่การศรัทธานั้นจะส่งผลตรงกันข้าม กล่าวคือผู้ที่มีความศรัทธาจะหวังให้ผู้ศรัทธาทั้งมวลมีส่วนร่วมได้รับสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้ โดยที่ไม่มีสิ่งใดขาดหายไปเลยแม้แต่น้อย (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 147)
ท่านมุอาซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงการศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด ซึ่งท่านตอบว่า:
« أَفْضَلُ الإِيْمَانِ: أَنْ تُحِبَّ للهِ وَتُبْغِضَ فِي اللهِ ، وَتُعْمِلَ لِسَانَكَ فِي ذِكْرِ الله قَالَ: وماذا يا رسول الله ؟ قال: وَأَنْ تُحِبَّ لِلنَّاسِ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ ، وَ تَكْرَهَ لَهُمْ مَا تَكْرَهُ لِنَفْسِكَ ، وَأَنْ تَقُوْلُ خَيْرًا أَوْ تَصْمُتَ » أحمد برقم 22130]
ความว่า “การศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด คือ การที่ท่านรักเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเพื่ออัลลอฮฺ และการที่ท่านใช้ลิ้นของท่านไปกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ" ท่านมุอาซได้ถามต่อว่า: แล้วมีอะไรอีกไหมครับท่านเราะสูลุลอฮฺ? ท่านตอบว่า: "การที่ท่านปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ และรังเกียจที่จะให้ผู้คนได้รับในสิ่งที่ท่านรังเกียจที่จะให้ตนเองได้รับ และการพูดในสิ่งที่ดีหรือไม่ก็เงียบเสีย” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22130)

และนี่คือแขนงหนึ่งของการศรัทธาที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้ระบุว่าการปฏิบัติสิ่งนี้จะเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ดังปรากฏจากหะดีษของท่านยะซีด บิน อะสัด อัล-ก็อสรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า:
« أَتُحِبُّ الْجَنَّةَ ؟ » قُلْتُ : نَعَمْ ، قَالَ :« فَأَحِبَّ لِأَخِيْكَ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ » [رواه أحمد برقم 16655]
ความว่า “ท่านปรารถนาที่จะเข้าสวรรค์หรือไม่?” ฉันตอบว่า “ครับ” ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ดังนั้น จงปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับเหมือนกับที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 16655)


  มีหะดีษบันทึกจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
« فَمَنْ أَحَبَّ أَنْ يُزَحْزَحَ عَنِ النَّارِ وَ يُدْخَلَ الْجَنَّةَ ، فَلْتَأْتِهِ مَنِيَّتُهُ وَ هُوَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَ الْيَوْمِ الْآخِرِ ، وَلْيَأْتِ إِلَى النَّاسِ الَّذِيْ يُحِبُّ أَنْ يُؤْتَى إِلَيْهِ » [رواه مسلم برقم 1844]
ความว่า “ผู้ใดปรารถนาที่จะได้รับการปลดปล่อยให้รอดพ้นจากไฟนรก และได้เข้าสรวงสวรรค์ ก็จงให้ความตายมาเยือนเขาขณะที่เขาดำรงสภาพเป็นผู้ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก และจงปฏิบัติต่อผู้คนในสิ่งที่เขาปรารถนาให้ผู้คนปฏิบัติต่อตัวเขาเอง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1844)


  จากท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
« يَا أَباَ  ذَرٍّ  إِنِّيْ أَرَاكَ ضَعِيْفًا ، وَإِنِّيْ أُحِبُّ لَكَ مَا أُحِبُّ لِنَفْسِيْ ، لَا تَأَمَّرَنَّ عَلَى اثْنَيْنِ ، وَلَا تَوَلَّيَنَّ مَالَ يَتِيْمٍ » [رواه مسلم برقم 1826]
ความว่า “โอ้อบูซัรฺเอ๋ย ฉันเห็นว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่อ่อนแอ และฉันก็ปรารถนาที่จะให้ท่านได้รับในสิ่งที่ฉันปรารถนาให้ตนเองได้รับ ดังนั้น ท่านจงอย่าได้เป็นผู้นำ และจงอย่าได้เป็นผู้พิทักษ์คุ้มครองทรัพย์สินของเด็กกำพร้าเลย” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1826)


การที่ท่านนบีได้ห้ามอบูซัรฺในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากท่านนบีเห็นความอ่อนแอในตัวเขา และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ต้องการห้ามผู้อ่อนแอทั้งหมดเช่นเดียวกัน อนึ่ง การที่ท่านนบีเป็นผู้ปกครองดูแลประชาชน ก็เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงมอบความเข้มแข็งให้แก่ท่าน และยังได้ทรงสั่งใช้ให้ท่านทำการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนทั้งมวลไปสู่การเชื่อฟังพระองค์ โดยท่านนบียังเป็นผู้บริหารกิจการทางด้านศาสนาและทางโลกของเหล่าประชาชนอีกด้วย


ท่านมุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้เคยขายลาตัวหนึ่ง แล้วก็มีชายคนหนึ่งกล่าวกับเขาว่า “ท่านพอใจที่จะให้ลาตัวนั้นแก่ฉันไหม?" เขาตอบว่า "หากฉันพอใจที่จะให้ท่าน ฉันคงไม่ขายมันไปหรอก" นี่เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเขาจะไม่พึงใจให้พี่น้องของเขาได้รับสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาพึงใจเช่นกัน และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดเตือนใจแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งก็คือภาพรวมของศาสนา


ท่านอบูอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
إِنَّ فَتًى شَابًّا أَتَى النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : يَا رَسُوْلُ اللهِ ائْذَنْ لِيْ بِالزِّنَا! فَأَقْبَلَ الْقَوْمُ عَلَيْهِ فَزَجَرُوْهُ وَقَالُوْا : مَهْ ، مَهْ ، فَقَالَ : « ادْنُهْ » ، فَدَنَا مِنْهُ قَرِيْبًا ، قَالَ : فَجَلَسَ ، قَالَ صلى الله عليه وسلم « أَتُحِبُّهُ لِأُمِّكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ :« وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأُمَّهَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِابْنَتِكَ؟ » قَالَ : لاَ وَاللهِ يَا رَسُوْلُ اللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِبَنَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم:         « أَفَتُحِبُّهُ لِأُخْتِكَ؟ »  قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأَخَوَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم: « أَ فَتُحِبُّهُ لِعَمَّتِكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ: « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِعَمَّاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِخَالَتِكَ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ :      « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِخَالَاتِهِمْ » قَالَ: فَوَضَعَ يَدَهُ عَلَيْهِ ، وَقَالَ : « اللَّهُمَّ اغْفِرْ ذَنْبَهُ ، وَطَهِّرْ قَلْبَهُ ، وَحَصِّنْ فَرْجَهُ » ، قَالَ: فَلَمْ يَكُنْ بَعدَ ذَلِكَ الفَتَى يَلْتَفِتُ إِلَى شَيْءٍ .  [رواه أحمد 22211]
ความว่า: เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ โปรดอนุญาตให้ผมทำซินาด้วยเถิด” ผู้คนจึงต่างหันมาตำหนิดุว่าเขาและบอกให้เขาหยุดพูดเช่นนั้น ท่านนบีได้กล่าวกับเด็กหนุ่มคนนั้นว่า ”ไหนเข้ามาใกล้ๆสิ” เขาจึงขยับเข้าไปใกล้ท่านแล้วนั่งลง จากนั้นท่านก็กล่าวถามเขาว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับมารดาของท่านหรือ?” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน (เป็นสำนวนสาบาน)” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับมารดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของบิดาท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวบิดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “ผู้คนก็ไปพึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของพวกเขาเช่นกัน” แล้วท่านนบีก็ได้วางมือบนตัวชายหนุ่มคนนั้น และกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยในความผิดบาปของเขา โปรดชำระจิตใจของเขาให้สะอาด และโปรดรักษาอวัยวะเพศของเขาด้วยเถิด” จากนั้นชายหนุ่มคนนั้นก็ไม่มีท่าทีสนใจอะไรเช่นนั้นอีก (บันทึกโดย อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22211)


ท่านอิบนุ เราะญับ กล่าวว่า: "สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาจะแสดงความเสียใจที่เขาได้พลาดโอกาสทำคุณความดีในเรื่องศาสนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ศรัทธาจึงถูกสั่งใช้ให้มองผู้ที่เหนือกว่าเขาในเรื่องศาสนา และแข่งขันกันในการแสวงหาความดีทางศาสนาด้วยความอุตสาหะและพยายาม ดังที่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า:
﴿ وَفِي ذَٰلِكَ فَلۡيَتَنَافَسِ ٱلۡمُتَنَٰفِسُونَ ٢٦ ﴾ [المطففين: ٢٦]
ความว่า “และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน จงแข่งขันกันเถิด” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน: 26)


และเขาต้องไม่ชิงชังหากจะมีผู้อื่นมาเข้าร่วมแข่งขันกับเขาในการทำความดี แต่ต้องพึงใจให้ผู้คนทั้งหมดเข้าร่วมการแข่งขันนี้ และส่งเสริมพวกเขา นี่เป็นข้อเตือนใจที่เต็มเปี่ยมยิ่งสำหรับพี่น้องมิตรสหาย โดยที่เมื่อใดผู้หนึ่งก้าวขึ้นไปอยู่เหนือเขาในเรื่องการทำความดีทางศาสนา เขาก็ต้องพยายามเร่งตามให้ทัน และเสียใจในความบกพร่องของตนเองที่ยังเดินตามหลังพวกแนวหน้า มิใช่อิจฉาพวกเขาในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานให้ แต่ให้กวดขันและแสดงความยินดีกับพวกเขาพร้อมเสียใจต่อข้อบกพร่องของตนที่ยังล้าหลังจากกลุ่มแนวหน้า และสมควรที่ผู้ศรัทธาจะต้องมองตัวเองว่าบกพร่องอยู่เสมอ ยังไปไม่ถึงจุดสูงสุด เพื่อยังประโยชน์แก่เขาสองประการที่สำคัญ คือ หนึ่ง ความมุมานะในการแสวงหาคุณงามความดี และเพิ่มพูนอยู่เสมอ และสอง คือการที่ได้มองตนเองว่ายังไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลตามมาคือ เขาจะปรารถนาให้ผู้ศรัทธาคนอื่นเป็นคนดีมากกว่าเขา เพราะเขาไม่อยากให้ผู้อื่นมีสภาพเหมือนเขา ดั่งที่เขาไม่อยากให้ตัวเองมีสภาพเช่นนี้ ซึ่งเขาก็มุมานะที่จะปรับปรุงตัวเสมอ มุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้กล่าวแก่ลูกชายของท่านว่า: 'สำหรับบิดาของเจ้านั้น ขออัลลอฮฺทรงอย่าให้มีคนแบบเขามากมายในหมู่มุสลิมเลย'


ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่พอใจในสภาพของตนเอง แล้วเขาจะอยากให้มุสลิมคนอื่นเป็นเหมือนเขาได้อย่างไร! ตรงกันข้าม เขาต้องอยากให้มุสลิมคนอื่นมีสภาพที่ดีกว่าเขา และอยากให้ตนเองมีสภาพที่ดีกว่าเดิม” (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 148-149)


ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ฉันได้ผ่านอายะฮฺหนึ่งจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และฉันปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คนทุกคนรับรู้สิ่งที่อายะฮฺนั้นกล่าวถึงเสมือนกับที่ฉันได้รู้มา
ท่านอิหม่ามชาฟิอียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ฉันปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้คนเรียนรู้ศาสตร์นี้ โดยที่พวกเขามิได้อ้างอิงใดๆ ถึงฉันเลย”
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.

.................................


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ



อิสติฆฟารฺการอภัยโทษต่ออัลลอฮ์

                  อิสติฆฟารฺ คือ การขออภัยโทษต่อพระองค์อัลลอฮฺ ให้กับบาปและความผิดที่บ่าวได้กระทำลงไป มนุษย์นั้นไม่มีใครคนใดที่ไม่มีบาป และไม่มีผู้ใดที่สามารถอภัยโทษต่อความผิดบาปของเขาได้ นอกจากพระองค์อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น มนุษย์ที่มีบาปและยังไม่ได้รับารอภัยโทษจากอัลลอฮฺจะไม่ได้เข้าสวรค์ เพราะสวรรค์ของอัลลอฮฺจะรับเฉพาะผู้ที่ปลอดจากความผิดบาป หรือผู้ที่ได้รับกาอภัยโทษสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

อัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยโทษต่อความผิดบาปทั้งหมดของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทีกล่าวคำอิสติฆฟารฺ ยกเว้นความผิดบาปจากการตั้งภาคี(ชีริก) ต่อพระองค์ และผู้เสียชีวิตได้เสียชีวิตลงในสภาพดังกล่าว หากเราพลั้งไปทำชีริกกับอัลลอฮฺ ก็ให้เรารีบสำนึกผิดและขอลุแก่โทษต่อพระองค์อัลลอฮฺโดยทันที

ส่วนการเตาบัต คือการหวนคืนสู่เส้นทางอันเที่ยงตรงของอัลลอฮฺ


ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อหิมาฮุลลลอฮฺ อธิบายว่า

         "อิสติฆฟารคือการกลับตัวหรือการเตาบะฮฺ นั่นคือการขอให้อัลลอฮฺอภัยโทษ ลบล้างบาป ขจัดพิษภัยและร่องรอยของมันให้หมด พร้อมกับขอให้พระองค์ปกปิดมันไว้" (ดู มะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน 1:307)


พระงค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


وَأَنِ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُوا إِلَيْهِ يُمَتِّعْكُم مَّتَاعًا حَسَنًا إِلَىٰ أَجَلٍ مُّسَمًّى وَيُؤْتِ كُلَّ ذِي فَضْلٍ فَضْلَهُ وَإِن تَوَلَّوْا فَإِنِّي أَخَافُ عَلَيْكُمْ عَذَابَ يَوْمٍ كَبِيرٍ ( 3 )

"และพวกท่านจงขอนิรโทษจากพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะทรงหใปัจจัยแก่พวกท่านซึ่งปัจจัยที่ไปจนถึงวาระหนึ่งที่กำหนดไว้ และพระองค์จะทรงประทานแก่ทุก ๆ ผู้ทำความดีซึ่งความดีของเขาและหากพวกท่านผินหลังให้ แท้จริงฉันกลัวแทน พวกท่านซึ่งการลงโทษในวันอันยิ่งใหญ่"

(อัลกุรอานสูเราะฮฺฮูด 11:3)



الصَّابِرِينَ وَالصَّادِقِينَ وَالْقَانِتِينَ وَالْمُنفِقِينَ وَالْمُسْتَغْفِرِينَ بِالْأَسْحَارِ ( 17 )

"บรรดาผู้ที่อดทน และบรรดาผู้ที่พูดจริง และบรรดาผู้ที่ภักดี และบรรดาผู้ที่บริจาคและบรรดาผู้ที่ขออภัยโทษในยามใกล้รุ่ง"
(อัลกุรอานสูเราะฮฺอาลอิมรอน 3:17)


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนว่า
"ไม่มีการ อิศรอร(การนิ่งเงียบ) พร้อมๆ กับการอิสติฆฟาร แม้ว่าเขาจะทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าถึงวันละเจ็ดสิบครั้งก็ตาม" (บันทึกโดย อบู ดาวูด หมายเลข 1514, อิบนุ กะษีร กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ดู ตัฟซีรของท่าน 1:499)


สำนวนอิสติฆฟารฺและเตาบัต ได้แก่


 أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ 

อ่านว่า"อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮิ"

ความว่า "ฉันขออภัยโทษในความผิดของฉันและกลับคืนสู่พระองค์"
(ให้กล่าววันละ 100  ครั้งขึ้นไป)
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 4380)


" أستغفرالله العظيم الذي لا إله إلا هو 
الحي القيوم وأتوب إليه "

 อ่านว่า "อัสตัฆฟิรุลลอฮัลอะซีม อัลละซี ลาอิลาฮะอิลลาฮุวัลหัยยุลก็อยยูม วะอะตูบุอิลัยฮิ" 

ความว่า "ฉันขออภัยโทษจากพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าที่สมควรกราบไหว้เว้นแต่พระองค์ ผู้ทรงชีวิน และทรงควบคุมบาปและความผิดของฉัน และฉันขอเตาบัตกลับกลับตัวสู่หนทางของพระองค์อัลลอฮฺอันเที่ยงตรง"
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1517)


ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า บุคคลใดที่กล่าว

 " أستغفرالله العظيم الذي لا إله إلا هو 
الحي القيوم وأتوب إليه "

 อ่านว่า "อัสตัฆฟิรุลลอฮัลอะซีม อัลละซี ลาอิลาฮะอิลลาฮุวัลหัยยุลก็อยยูม วะอะตูบุอิลัยฮิ" พระองค์อัลลอฮฺจะอภัยโทษให้แก่เขา (บันทึกโดยอบูดาวูด ลำดับหะดีษที่ 1296)


والله أعلم بالصواب


....................

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำเพราะมีหลักฐานหรือทำไปก่อนค่อยหาหลักฐานรองรับ




คำพูดของ มุสลิมะฮฺ ท่านหนึ่ง ก่อนที่จะเข้ารับอิสลาม (ปัจจุบันรับอิสลาม 10 ปีกว่าปีแล้ว)

"ต้องเรียนรู้ก่อน(เรื่องศาสนา) รับไปแล้วปฏิบัติไม่ได้ เราก็กลัว"

ฟังแล้วก็ได้ข้อคิดกับตัวเองว่า มุสลิมที่ตัวผมเองเคยสัมผัสมักจะปฏิบัติก่อน(ตามๆกันมา)แล้วค่อยหาหลักฐานมารองรับ ทั้งๆที่สิ่งที่มีหลักฐานชัดเจนมีให้ปฏิบัติอยู่มากมาย

"ทำไปเพราะมีหลักฐานอันชัดเจน 
หรือ 
ทำไปก่อนแล้วค่อยหาหลักฐานมารองรับ"


.....หากเรานั้น ใคร่ครวญ....

......................................
Dunt Bung

วะศิยะฮฺ การเขียนคำสั่งเสีย




كتابة الوصية



การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...

  สิ่งหนึ่งที่ชาวมุสลิมจะต้องให้ความสนใจก็คือการเขียนคำสั่งเสีย เพราะสิ่งนี้มีผลดีเชิงดุนยาและอาคิเราะฮฺและเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มองข้าม ซึ่งหากถามใครสักคนว่าท่านเขียนคำสั่งเสียของท่านหรือยัง? แน่นอน เขาย่อมหันมาจ้องท่านอย่างแปลกอกแปลกใจ เอ๊ะ เขากำลังจะตายหรือเปล่าถึงกับต้องเขียนคำสั่งเสียไว้

เขาไม่เคยเฉลียวใจนึกถึงคนที่ตายอย่างกะทันหันที่เกิดขึ้นเป็นประจำและได้ยินข่าวทุกวัน ทั้งๆ ที่พระองค์อัลลอฮฺได้บอกแล้วว่าหนึ่งในรูปแบบการลงโทษของพระองค์อัลลอฮฺก็คือการปลิดชีวิตอย่างฉับพลัน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้วท่านไม่อาจจะสั่งเสียสิ่งที่ต้องการได้อีกต่อไป พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า :
﴿ وَيَقُولُونَ مَتَىٰ هَٰذَا ٱلۡوَعۡدُ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ ٤٨ مَا يَنظُرُونَ إِلَّا صَيۡحَةٗ وَٰحِدَةٗ تَأۡخُذُهُمۡ وَهُمۡ يَخِصِّمُونَ ٤٩ فَلَا يَسۡتَطِيعُونَ تَوۡصِيَةٗ وَلَآ إِلَىٰٓ أَهۡلِهِمۡ يَرۡجِعُونَ ٥٠ ﴾ [يس: ٤٨-٥٠]
ความว่า : “และพวกเขากล่าวว่า เมื่อไรล่ะการนัดหมายนี้จะเกิดขึ้นเป็นจริงหากพวกท่านเป็นผู้ซื่อตรง พวกเขากำลังคอยเพียงเสียงกัมปนาทครั้งเดียวที่จะคร่าชีวิตพวกเขาในขณะที่กำลังโต้เถียงกัน แล้วพวกเขาก็จะไม่สามารถสั่งเสียสิ่งใดและไม่ทันจะกลับไปหาครอบครัวได้อีกต่อไป” (ยาซีน : 48-50)

และมีกี่ศพแล้วที่ต้องโดนจำนองจองจำเพราะหนี้สินของตัวเองที่ยังไม่ได้รับการจัดการจนเสร็จ มีคนรวยกี่รายแล้วที่ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สมบัติหลังจากตายไปแล้ว และมีสิทธิและอะมานะฮฺมากแค่ไหนแล้วที่ต้องถูกลอยแพและไม่ได้รับการสนองตอบแก่เจ้าของ ทั้งหมดนั้น ต้นเหตุก็คือการไม่เอาใจใส่ต่อการเขียนคำสั่งเสีย
มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ -เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮฺ-ว่าท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«نَفْسُ الْمُؤْمِنِ مُعَلَّقَةً بِدَيْنِهِ حَتَّى يُقْضَى عَنْهُ» [الترمذي 3/390ن وحسنه الألباني في صحيح الجامع برقم 6779]
ความว่า : ชีวิตของคนมุมินจะถูกแขวนค้างเพราะหนี้ของเขาจนกว่าจะได้รับการชำระแทน (สุนัน อัต-ติรฺมิซียฺ เล่มที่ 3 หน้า 390 และระบุว่าหะดีษนี่เป็นหะดีษหะสัน อัล-อัลบานียฺได้ระบุในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีรฺ หมายเลข 6779 ว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

การฝากคำสั่งเสียถือเป็นสุนนะฮฺของท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-และเหล่านบีก่อนหน้า ชาวมุสลิมทุกคนจึงควรปฏิบัติตามด้วยการสั่งเสียลูกๆ และเครือญาติที่จะมาภายหลังให้ยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺและยึดมั่นในศาสนาของพระองค์  และต้องสั่งเสียพวกเขาในสิ่งที่ท่าน นบีอิบรอฮีมและท่านนบี ยะอฺกูบได้สั่งเสียลูกๆ ของท่าน พระองค์อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :
﴿ وَمَن يَرۡغَبُ عَن مِّلَّةِ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ إِلَّا مَن سَفِهَ نَفۡسَهُۥۚ وَلَقَدِ ٱصۡطَفَيۡنَٰهُ فِي ٱلدُّنۡيَاۖ وَإِنَّهُۥ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ لَمِنَ ٱلصَّٰلِحِينَ ١٣٠ إِذۡ قَالَ لَهُۥ رَبُّهُۥٓ أَسۡلِمۡۖ قَالَ أَسۡلَمۡتُ لِرَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ١٣١ وَوَصَّىٰ بِهَآ إِبۡرَٰهِ‍ۧمُ بَنِيهِ وَيَعۡقُوبُ يَٰبَنِيَّ إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰ لَكُمُ ٱلدِّينَ فَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسۡلِمُونَ ١٣٢ ﴾ [البقرة: ١٣٠-١٣٢]
ความว่า : “และมีก็เพียงคนโง่เง่าเท่านั้นที่ไม่นิยมชมชอบศาสนาอิบรอฮีม  บนโลกนี้เราได้เลือกเขา อีกทั้งในอาคิเราะฮฺเขายังจะเป็นหนึ่งในจำนวนคนดีๆ อย่างแน่นอน จงนึกซิ ตอนที่พระเจ้าของเขาได้กล่าวสั่งเขาว่า เจ้าจงสวามิภักดิ์เถิด เขาตอบว่า ข้าพระองค์ขอสวามิภักดิ์แด่พระเจ้าแห่งสากลโลก และสิ่งนี้แหล่ะที่อิบรอฮีมและยะอฺกูบใช้สั่งเสียลูกๆ ว่าโอ้ ลูกหลานเอ๋ย แท้จริง พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงเลือกศาสนานี้ให้แก่พวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่าตายจนกว่าจะอยู่ในสภาพเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 130-132)

การให้คำวะศิยะฮฺนั้นมีหลายหุกุ่มแตกต่างกัน กล่าวคือ วาญิบ สุนัต และหะรอม
โดยถือเป็นการวาญิบสำหรับชาวมุสลิมที่มีพันธะผูกพันกับพระองค์อัลลอฮฺ เช่น มีสิ่งนะซัรฺ (บนบานกับพระองค์อัลลอฮฺ) ซะกาต หัจญ์ เป็นต้น หรือมีหนี้กับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินตราหรือสิ่งอื่น หรือคนอื่นเป็นหนี้เขาซึ่งเขาไม่ยกเว้นให้
มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอุมัรฺ -เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุมา – ว่าท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَا حَقُّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ لَهُ شَىْءٌ يريد أن يُوصِى فِيهِ يَبِيتُ ليلتين إِلاَّ وَوَصِيَّتُهُ مَكْتُوبَةٌ عِنْدَهُ ». قَالَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عُمَرَ : مَا مَرَّتْ عَلَىَّ لَيْلَةٌ مُنْذُ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ ذَلِكَ إِلاَّ وَعِنْدِى وَصِيَّتِى. [صحيح البخاري برقم 2738]
ความว่า : “มุสลิมคนใดที่มีสิ่งจะวะศิยะฮฺจะต้องเขียนวะศิยะฮฺอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแนบไว้กับตัวภายในสองวัน” อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ ได้กล่าวว่า : หลังจากที่ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- พูดอย่างนี้แล้ว ฉันก็แนบวะศิยะฮฺติดกับตัวมาตลอด. (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 2 หน้า 286 หมายเลข 2738)

เป็นการสุนัตสำหรับผู้มั่งมีที่จะต้องวะศิยะฮฺให้เศาะดะเกาะฮฺทรัพย์สินบางส่วนเพื่อการกุศล เพื่อเป็นการเศาะดะเกาะฮฺญาริยะฮฺแก่ตัวเองหลังจากสิ้นชีวิตไป ซึ่งการวะศิยะฮฺนี้มีเงื่อนไขสองอย่างด้วยกัน คือ
หนึ่ง จะต้องไม่เกินหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินเพราะท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้บอกกับสะอัดตอนจะเขียนวะศิยะฮฺว่า
«الثُّلُثُ ، وَالثُّلُثُ كَثِيرٌ» [البخاري برقم 287، ومسلم برقم 1627]
ความว่า “หนึ่งในสามก็พอน่ะ หนึ่งในสามก็มากโขแล้ว” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ เล่มที่ 2 หน้า 287 และ เศาะฮีหฺ มุสลิม เล่มที่ 3 หน้า 1250 หมายเลข 1627)

สอง จะต้องให้กับคนนอกที่ไม่ใช่ทายาท ซึ่งมีรายงานจากอบู อุมามะฮฺ -เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮฺ- ว่าท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَعْطَى كُلَّ ذِى حَقٍّ حَقَّهُ فَلاَ وَصِيَّةَ لِوَارِثٍ ». [الترمذي برقم 2121، وقال : حديث حسن صحيح]
ความว่า : แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺได้กำหนดให้ทุกคนที่มีสิทธิซึ่งสิทธิของเขาแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีการวะศิยะฮฺใดๆ แก่บรรดาทายาทอีกต่อไป” (สุนัน อัต-ติรฺมิซียฺ หะดีษนี้เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษหมายเลข 2121 เล่มที่ 4 หน้า 434 และท่านให้ความเห็นว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)

ห้ามการวะศิยะฮฺที่ค้านกับหลักอิสลาม เช่น การวะศิยะฮฺให้ลูกหลานร้องห่มร้องไห้เมื่อเขาสิ้นชีวิต หรือ ให้ตัดญาติ หรือ รังแกเพื่อนมุสลิม หรือ ล้างแค้นกับคนนั้นคนนี้ หรือ รังแกหมู่ทายาทด้วยกันเอง หรืออื่นๆ ซึ่งผู้ใดกระทำเช่นนี้ก็ถือว่าไม่เป็นวะศิยะฮฺและทายาทไม่จำเป็นจะต้องสนองปฏิบัติ พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿ فَمَنۡ خَافَ مِن مُّوصٖ جَنَفًا أَوۡ إِثۡمٗا فَأَصۡلَحَ بَيۡنَهُمۡ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ١٨٢ ﴾ [البقرة: ١٨٢]
ความว่า : “แล้วผู้ใดเกรงว่าเจ้าของพินัยกรรมจะพลาดพลั้ง หรือกระทำผิด แล้วเขาได้ประนีประนอมในระหว่างพวกเขา ก็ไม่มีความผิดใดๆ กับเขา แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺนั้น เป็นผู้อภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 182)
อิบนุ กะษีรฺ -เราะหิมะฮุลลอฮฺ- ได้อ้างจากอิบนุ อับบาสและอุละมาอ์คนอื่นๆ ว่า คำว่า ญะนัฟ ในอายะฮฺข้างต้น คือ ความผิดพลาด จากนั้น ท่านได้อธิบายว่า “หมายถึง ครอบคลุมความผิดพลาดทุกอย่าง เช่น สั่งให้เพิ่มมรดกแก่ทายาทคนหนึ่งโดยผ่านคนกลางหรือผู้ช่วย เช่นเดียวกับการวะศิยะฮฺให้ขายทรัพย์สินแก่คนหนึ่งคนใดอย่างเลือกปฏิบัติ หรือ วะศิยะฮฺให้เพิ่มมรดกแก่บุตรชายของลูกหญิง เป็นต้น หรือ ด้วยวิธีการอื่นๆ
ทั้งนี้ การวะศิยะฮฺยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกคือ
1. เป็นผลบุญอันใหญ่หลวงสำหรับตัวผู้ทำวะศิยะฮฺเองอันเป็นผลตอบแทนจากทำการภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺและเชื่อฟังเราะสูลของพระองค์ พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า :
﴿وَمَن يُطِعِ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ فَقَدۡ فَازَ فَوۡزًا عَظِيمًا ٧١ ﴾ [الأحزاب: ٧١]
ความว่า : “และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แน่นอนเขาได้รับความสำเร็จใหญ่หลวงแล้ว”(อัล-อะหฺซาบ : 71)

2. เขาจะได้ผลบุญอันมหาศาลในวะศิยะฮฺที่เป็นคำแนะนำตักเตือนอันเนื่องจากผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
3. เป็นการทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากการปฏิบัติผิดกฎระเบียบศาสนาและละเมิดสิทธิทางการเงินและอื่นๆ
4. เป็นการขจัดความขัดแย้งและยับยั้งการพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในหมู่ทายาทหลังจากที่เขาสิ้นชีวิตลง
และต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของคำวะศิยะฮฺ
ให้เขียนหลังจากที่กล่าวขอบคุณและสรรเสริญพระองค์อัลลอฮฺและเศาะละวาตต่อท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ว่า

นี่คือคำวะศิยะฮฺ ของ .... บุตรของ.......ซึ่งได้ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่สมควรกราบไหว้เว้นแต่ พระองค์อัลลอฮฺเพียงหนึ่งเดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ นบีมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและเราะสูลของ พระองค์  และนบีอีซานั้นคือบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่กำเนิดจากคำปรารภของพระองค์ นรกมีจริง สวรรค์มีจริง การเกิดวันกิยามะฮฺเป็นสิ่งแน่นอนไม่มีการเคลือบแคลงใดๆเลย และพระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงฟื้นชีพคนตายในหลุมฝังศพ ฉันขอวะศิยะฮฺลูกๆ บรรดาภรรยาและญาติๆและชาวมุสลิมทั้งมวลให้ยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺและขอวะศิยะฮฺในสิ่งที่ท่านนบีอิบรอฮีมและนบียะอฺกูบได้วะศิยะฮฺแก่ลูกๆ ของท่านว่า :
﴿ وَوَصَّىٰ بِهَآ إِبۡرَٰهِ‍ۧمُ بَنِيهِ وَيَعۡقُوبُ يَٰبَنِيَّ إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰ لَكُمُ ٱلدِّينَ فَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسۡلِمُونَ ١٣٢ ﴾ [البقرة: ١٣٢]
ความว่า : “และสิ่งนี้แหล่ะที่อิบรอฮีมและยะอฺกูบใช้สั่งเสียลูกๆว่าโอ้ ลูกหลานเอ๋ย แท้จริง พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงเลือกศาสนานี้ให้แก่พวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่าตายจนกว่าจะอยู่ในสภาพเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 132)

... ฉันขอวะศิยะฮฺให้ชำระหนี้ (หากเขามีหนี้) หรือเป็นการดีหากจะเขียนว่า และจงนำหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สมบัติฉันให้กับคนนั้นคนนี้หรือทำเป็นเศาะดะเกาะฮฺญาริยะฮฺ ส่วนลูกๆ ของฉันที่ยังเด็กนั้นขอแต่งตั้งคนนั้นคนนี้เป็นผู้รับผิดชอบ ให้ทำการรักษามรดกจนกว่าพวกเขาจะเติบใหญ่บรรลุศาสนภาวะ จากนั้นให้วะศิยะฮฺในสิ่งที่เป็นเรื่องศาสนา สังคม ตามที่ต้องการ และขอให้จัดการอาบน้ำและจัดการศพตามสุนนะฮฺของท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- จากนั้นให้ลงท้ายด้วยการกล่าวดุอาอ์ให้ตัวเองได้รับอภัยโทษ ได้รับความเมตตาปรานีและได้เข้าสรวงสวรรค์อันสถาพร
ทั้งนี้ เขาจะต้องให้ผู้ชายที่ซื่อสัตย์สองคนมาร่วมเป็นพยานในการเขียนคำวะศิยะฮฺนี้ด้วย

والحمد لله رب العالمين
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .



"""""""""""""""""""""""""""


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

แปลโดย : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
อัล-มุลกอฮฺ


เริ่มต้นด้วยการขออภัยโทษต่อพระองค์อัลลอฮ์




ท่านนบีซูลัยมาน อาลัยฮิสสลาม ได้ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺว่า :


قالَ رَبِّ اغْفِرْ لِي وَهَبْ لِي مُلْكًا لَّا يَنبَغِي لِأَحَدٍ مِّن بَعْدِي ۖ إِنَّكَ أَنتَ الْوَهَّابُ

เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ขอพระองค์ทรงประทานอำนาจอันกว้างขวางให้แก่ข้าพระองค์ ซึ่งไม่คู่ควรแก่ผู้ใดนอกจากข้าพระองค์ แท้จริงแล้ว พระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย. ซูเราะห์ ศอด : 35

ในอายะฮฺนี้ เราจะเห็นได้ว่า ท่านนบีซูลัยมาน อาลัยฮิสสลามเริ่มต้นที่จะขอต่ออัลลอฮฺ ด้วยการขออภัยโทษต่อพระองค์ก่อน แล้วตามด้วยการขออำนาจที่ยิ่งใหญ่ ก็เพราะว่าความบาปที่ถูกอภัยให้แล้ว จะนำมาซึ่งความง่ายดายให้กับทุกสิ่งที่เราอยากได้

ความบาปที่อยู่ในหัวใจของคนเรา จะเป็นตัวสกัดกั้นกับทุกสิ่งที่เราต้องการ ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรขอต่ออัลออฮฺซึงอภัยโทษจากความบาปเสียก่อน ก่อนที่จะถามหาในทุกสิ่งที่เราต้องการ
(กล่าวโดย : ชัยคฺอิบนุ อูซัยมีน รอฮีมาฮุลลอฮฺ)



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



บทความดีๆ โดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول ( ص )
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อิสลามห้ามใช้เครื่องรางของขลังรักษาอาการป่วย



                อิสลามนั้นห้ามผู้ป่วยกระทำการรักษาอาการป่วยด้วยสิ่งของประเภทตะกรุด เครื่องรางของขลัง และอะซีมัตที่ผูกตามคอ ข้อมือ หรือเอว เพราะสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นการทำชีริก และเป็นบาปในทัศนะของอิสลาม

รายงานจากท่านอุกบะฮฺ บินอามิร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยอฺ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดแขวนเครื่องราง ขออัลลอฮฺจงอย่าให้เขาแคล้วคลาด และใครแขวนเปลือกหอย (เป็นเครื่องราง) ขออัลลอฮฺจงอย่าให้เขาสงบสุข” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด และอัลฮากิม โดยกล่าวว่า สายสืบศอเฮียะฮฺ)

ตะมีมะฮฺ (เครื่องราง) หมายถึง ลูกประคำที่ชาวอาหรับแขวนให้กับเด็กๆเพื่อป้องกันอันตรายจากดวงวิญญาณปีศาจ ตามความเชื่อของพวกเขา ต่อมาอิสลามได้ทำลาย และห้ามใช้มัน ท่านรสูลได้สาปแช่งผู้แขวนเครื่องรางไม่ให้เขาแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆตามที่เขาตั้งใจ

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยอฺ วะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ใดแขวนเครื่องรางของขลัง/อะซีมัต(ตามร่างกายของตัวเอง ลูกๆ หรือในบ้าน) แท้จริงเขาได้ทำชิริกกับอัลลอฮฺแล้ว" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 17422)

รายงานจากอิมรอน บิน ฮุศ็อย ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
" ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยอฺ วะซัลลัม ได้เห็นห่วงวงกลม โผล่ออกมาที่กล้ามแขนของชายคนหนึ่ง เขาบอกว่าทำมาจากทองคำท่านรสูลกล่าวว่า 
“โออนิจจา อะไรกันนี่?!!!  
เขาตอบว่า “เพราะโรคเพลีย” 
ท่านจึงตอบกลับไปว่า “พึงทราบเถิดนะว่า มันไม่มีอะไรดีขึ้น นอกจากการเพลียอยู่เช่นนั้น โยนมันทิ้งไปเสีย เพราะหากเจ้าตายในสภาพนี้ เจ้าจะไม่ได้รับความสำเร็จตลอดกาล” (บนันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)

โรคเพลีย เป็นอาการที่เกิดจากเส้นเลือดที่มีปฏิกิริยาที่ไหล่ แขน 

รายงานจากท่านอีซา บิน ฮัมซะฮฺ เล่าว่า
“ข้าพเจ้าได้เขามาที่อับดุลลอฮฺ บินฮะกีม ซึ่งเป็นโรคลามทุ่ง ข้าพเจ้าถามว่า “ทำไมไม่แขวนเครื่องราง”เขาตอบว่า “ด้วยอัลลอฮฺ เราขอป้องกันจากมัน” เพราะท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยอฺ วะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า“ใครแขวนสิ่งใด เขาย่อมถูกมอบหมายไว้กับสิ่งนั้น” (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด)

รายงานจากท่านอิบนุ มัสอูด เล่าว่า "
ขาเข้ามาหาภรรยาของเขา และคอของนางมีตะกรุดแขวนอยู่  เขาจึงกระชากมันจนมันขาด และอุทานออกมาว่า 
“แท้จริงวงวานศ์ของอับดุลลอฮฺนั้น ไม่ต้องการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกับสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานมา”และเขากล่าวอีกว่า 
“ฉันเคยได้ยิน  ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า: อันเวทมนต์คาถา เครื่องรางของขลัง และติวะละฮฺเป็นชีริก”พวกเขา(เหล่าสาวก) ถามว่า 
“โอ้ท่านอบูอับดุลลอฮฺ (นามแฝงของอิบนุ มัสอูด) เครื่องรางและคาถานั้นพวกเรารู้แล้ว แต่ติวะละฮฺนั้นละคืออะไร?” 
ท่านตอบว่า“เสน่ห์(ยาแฝด) สิ่งที่พวกผู้หญิงทำขึ้นเพื่อให้สามีหลงรัก” (บันทึกหะดิษโดยอัลฮากิม และอิบนิฮิบบาน โดยทั้งสองว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)


ส่วนการแขวนอายะฮฺอัลกุรอาน นั้นส่วนมากของฝ่ายชาฟีอีย์ และบันทึกหนึ่งจากอะหฺมัดก็ให้แขวนได้ ส่วนอิบนิอับบาส อิบนิมัสอูด หุซัยฟะฮฺ และสายชาฟีอีส่วนหนึ่ง รวมถึงบันทึกหนึ่งจากอะหฺมัด ถือว่าไม่อนุญาตแขวนอันใดจากที่กล่าวมา เพราะในหะดิษที่กล่าวมานั้น ได้แสดงการห้ามทั่วไปทั้งหมดไม่มีข้อยกเว้นไว้แต่อย่างใด


และเราต้องแยกมันให้ออก ระหว่างสิ่งที่อัลลอฮฺได้ให้สรรพคุณที่เป็นยาในตัวของมันเอง สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ กับสิ่งที่เกิดจากความเชื่อ โดยไม่สามารถพิสูจน์มันได้ทางวิทยาศาตร์

เช่น ยาพารา มนุษย์ได้ผสมส่วนประกอบของสารต่างๆที่อัลลอฮ์ได้ให้สรรพคุณของมันมา และสามารถรักษาอาการป่วยไข้ได้ หรือต้นตะไคร้ ที่อัลลอฮฺให้สรรพคุณมันสามารถไล่ยุงได้ เป็นต้น เราเชื่อว่ามันสามารถช่วยรักษาอาการป่วย และมันก็เป็นเช่นนั้น เพราะอัลลอฮฺได้ให้สรรพคุณมันแล้ว แต่หากพระองค์อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้หายแม้ยาจะตรงกับอาการป่วยก็ตาม นั้นก็เป็นสิทธิของพระองค์

 สำหรับสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ได้ให้มันมีสรรพคุณเป็นยาโดยธรรมชาติ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ได้ อย่างนี้โปรดระวัง เพราะมันจะนำไปสู่การทำชีริก บางสิ่งอัลลอฮ์ได้ให้มันปรากฏขึ้นเพื่อเป็นการทดสอบความอิมานของเรา ว่าเราหลงคล้อยตามสิ่งนั้นหรือไม่

เช่น เราเห็นท่อนไม้ท่อนหนึ่งมีลักษณะกำลังก้มสุญูด เราก็นำมันมาลูบ เพื่อเอาความศิริมงคลหรือความบารอกัตกับไม้ท่อนนี้ โดยนึกคิดไปเองว่ามันจะทำให้เราหายป่วย และอ้างว่าถ้าเราลูบมันอัลลอฮฺจะทำให้หายป่วย

หรือนำเอาสูเราะฮฺยาซีนไว้ในกระเป๋าเสื้อ เมื่อขับรถเกิดไปอุบัติเหตุ แต่เขากลับไม่เป็นอะไร แล้วเชื่อว่าที่เป็นอย่างนี้เพราะเขามีสูเราะฮฺยาซีนติดตัว อัลลอฮฺจึงช่วยเขาไว้

 หรือมีเหล็กไหลติดตัว ไม่สามารถยิงเข้าไปในตัวเขาได้ แล้วเชื่อว่าเพราะอัลลอฮฺทำให้เหล็กไหลนี้ยิงไม่เข้า

หรือหมอไม้เท้าบอกว่า ไม้เท้านี้ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย โดยอัลลอฮฺให้มันรักษาคนได้

 หรือแขวนองค์จตุคาม แล้วเชื่ออัลลอฮฺทำให้มันป้องกันผี ช่วยรักษาอาการป่วยได้

อย่างนี่แหละ ที่นำไปสู่การทำชีริก อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงแม้บางครั้ง มันอาจมีสรรพคุณ หรือเป็นไปตามที่เขาเชื่อก็ตาม มันเป็นการยัดเยียดให้อัลลอฮฺ เพื่อให้ตรงกับความเชื่อของตัวเอง ทั้งที่ไม่มีหลักฐาน หรือพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้เลย

เว้นแต่สิ่งนั้นได้มีหลักฐานอันชัดแจ้ง เช่น น้ำซัมซัม

ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
"แท้จริงน้ำซัมซัมเป็นน้ำที่บารอกะฮฺ เป็นอาหารที่อิม" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม)

والله أعلم بالصواب