อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ที่เป็นที่รักยิ่ง


ครั้งหนึ่งอิหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮัมบัล(อิหม่ามแห่งอลิซุนนะฮฺ) ถูกถาม “โอ้ ท่านอิหม่ามอะหมัด ผู้ใดเป็นที่รักยิ่งสำหรับท่านระหว่างผู้ที่ถือศีลอดจำนวนมาก,ละหมาดรอกาอัตแล้วรอกาอัตเล่าและปลีกตัวออกไปจากสังคมเพื่อที่จะทำอิบาดะฮฺเพียงอย่างเดียว กับ ผู้ที่พูดเตือนให้ผู้คนได้ระวังเกี่ยวกับพวกทำอุตริกรรม?(บิดอะฮฺและกลุ่มบิดเบือนศาสนาเช่น ชีอะฮฺ ,อาชาอิเราะฮฺ และอิควาน-ผู้แปล)”

อิหม่ามอะหมัดตอบว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดละหมาด ถือศีลอด, ปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อทำความดี(อิบาดะฮฺ) เหล่านี้คือสิ่งที่ทำเพื่อตัวเขาเอง หากแต่ผู้ที่พูดให้ผู้คนได้ระวังพวกทำอุตริกรรมหรือพวกบิดเบือนศาสนานั้น การกระทำของเขาทำเพื่อสังคมมุสลิมโดยรวมและเป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่า”

อิสลามกับการแปลงฟัน


     
    -  คุณค่าของการแปรงฟันมีหลายประการ  คือ

            " รักษาความสะอาดปาก ทำให้อัลลอฮฺพอพระทัย ทำให้กลิ่นปากหอม ทำให้สายตาดี" (หะดีษรายงานโดยฎ็อบรอนี, บัยฮะกี)
        -     การแปรงฟันคือยา (หะดีษรายงายโดยบัยฮะกี)
     -   การแปรงฟันทำให้สนทนาคล่องแคล่ว (หะดีษรายงานโดยอิบนุอาดี)
      -   ซุนนะฮฺให้แปรงฟันในกรณีดังนี้ อาบน้ำละหมาด, ตื่นจากนอน, ก่อนนอน, หลังรับประทานอาหาร, ก่อนออกจากบ้านและก่อนอ่านอัลกุรฺอาน (หะดีษรายงายโดยอิบนุมาญะฮฺ)
        -  ให้เริ่มแปรงฟันด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฺ (อิบนุมาญะฮฺ) 
          -  ก่อนและหลังการแปรงฟัน แปรงสีฟัน (ซีวาก) ต้องทำความสะอาดมันเสีย หากไม่เช่นนั้นชัยฏอนจะใช้มัน (หะดีษรายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ)

            -หากไม้ซีวากหรือแปรงฟันแห้งให้รดน้ำให้ชุ่มก่อน และกรณีใช้ไม้ซีวากถูฟัน ก็อย่าใช้มีนทั้งสองด้านในคราวเดียวกัน
         -ซีวากแตกต่างกับแปรงสีฟัน เพราะซีวากเป็นไม้ที่นำมาใช้ในการแปรงฟัน (ซึ่งรอซูลุลลอฮฺใช้มันเป็นประจำ :    ผู้แปล)

     -  ขนาดไม้ซีวากที่ดีที่สุดควรประมาณหนึ่งศอกและที่สั้นควรประมาณ 12 ซม. ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป 
     -   ถ้าหากไม่มีไม้ซีวากก็ให้ใช้นิ้วถูฟันได้ (หะดีษรายงานโดยอบูนาอีม)
 والله أعلم بالصواب

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=510772

ความเป็นพี่น้องทางศาสนาเข้มข้นกว่าสายเลือด




ความสัมพันธ์ทางศาสนาของพี่น้องมุสลิมย่อมอยู่เหนือความสัมพันธุ์ทางสายเลือด ซึ่งลักษณะความเป็นพี่น้องกัน อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ศรัทธา แม้บางครั้งการเป็นน้องกัน อาจมีปัญหาขัดแย้งกันบ้าง  แต่เพื่อความกรมเกลียวของพี่น้องผู้ศรัทธา ต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้พ้นจากอารมณ์และอุปนิสัยที่จะดึงให้หันเหออกไป

ความพยายามแห่งการเป็นพี่น้องร่วมศาสนา ระหว่างมุสลิมด้วยกันนั้น  กำเนิดมาจากรากฐานแห่งความอิหม่านศรัทธาต่อในพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮะนะฮูวะตาอาลา

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า
إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ فَأَصْلِحُوا بَيْنَ أَخَوَيْكُمْ وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ  تُرْحَمُونَ ( 10 )
"แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-หุญรอต 49;10)

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า

وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَتَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُم بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنتُمْ عَلَىٰ شَفَا حُفْرَةٍ مِّنَ النَّارِ فَأَنقَذَكُم مِّنْهَا كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ ( 103 )
"และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก ของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระอง๕เพื่อว่าเพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน 3:103)

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า

”وَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِهِمْ لَوْ أَنفَقْتَ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا مَّا أَلَّفْتَ بَيْنَ قُلُوبِهِمْ وَلَٰكِنَّ اللَّهَ أَلَّفَ بَيْنَهُمْ إِنَّهُ عَزِيزٌ حَكِيمٌ ( 63 ) 
และได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขา หากเจ้าได้จ่ายสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด เจ้าก็ไม่สามารถให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขาได้ แต่ทว่าอัลลอฮฺนั้นได้ทรงให้สนิท"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อันฟาน 8:63)

และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องมุสลิมผู้ศรัทธา ถือเป็นการฏออะฮฺเชื่อฟังต่อนบี และฏออะฮฺเชื่อฟังต่อนบี ก็เท่ากับเป็นการฏออะฮฺเชื่อฟังพระองค์อัลลอฮฺ

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า

النَّبِيُّ أَوْلَىٰ بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنفُسِهِمْ وَأَزْوَاجُهُ أُمَّهَاتُهُمْ وَأُولُو الْأَرْحَامِ بَعْضُهُمْ أَوْلَىٰ بِبَعْضٍ فِي كِتَابِ اللَّهِ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ وَالْمُهَاجِرِينَ إِلَّا أَن تَفْعَلُوا إِلَىٰ أَوْلِيَائِكُم مَّعْرُوفًا كَانَ ذَٰلِكَ فِي الْكِتَابِ مَسْطُورًا ( 6 ) 
"นะบีนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง และบรรดาภริยาของเขา (นะบี) คือมารดาของพวกเขาและเครือญาติร่วมสายโลหิต บางคนในหมู่พวกเขาใกล้ชิดกับอีกบางคนยิ่กว่าบรรดาผู้ศรัทธาและบรรดาผู้อพยพในบัญญติของอัลลอฮฺ เว้น แต่พวกเจ้าจะกระทำความดีแก่สหายสนิทของ พวกเจ้า นั่นได้มีบันทึกไว้แล้วในคัมภีร์"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อะห์ซาบ  33:6)

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า

لْ إِن كُنتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ 
وَاللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ( 31 ) 
"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน  3:31)

พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า


ن يُطِعِ الرَّسُولَ فَقَدْ أَطَاعَ اللَّهَ وَمَن تَوَلَّىٰ فَمَا أَرْسَلْنَاكَ عَلَيْهِمْ حَفِيظًا ( 80 ) 
"ผู้ใดเชื่อฟังร่อซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดผินหลังให้ เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะเป็นผุ้ควบคุมพวกเขาไม่"(อัลกุรอาน  สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์  4:80)


 والله أعلم بالصواب





วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จงบริจาคก่อนที่ความตายจะมาถึง





บริจาคก่อนอายุขัยจะมาถึง


เมื่อวาระสุดท้ายได้มาถึง สิ่งที่รออยู่เบื้องหน้าคือหลุมศพและการสอบสวน ไม่เหลือเวลาสำหรับความสุขใดอีก เวลาเพียงน้อยนิด จึงหาวิธีสร้างบุญให้เร็วที่สุด ในเมื่อสังขารร่างกายไม่ไหว สิ่งเดียวที่พอจะทำได้คือทรัพย์สิน การบริจาคเป็นสิ่งง่ายที่สุด เขาสั่งให้เอาเงินไปให้คนนี้เท่านั้น คนนั้นเท่านี้ ทั้งที่มันเป็นสิทธิของอีกคนหนึ่ง นั้นหมายถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَنفِقُوا مِمَّا رَزَقْنَاكُم مِّن قَبْلِ أَن يَأْتِيَ يَوْمٌ لَّا بَيْعٌ فِيهِ وَلَا خُلَّةٌ وَلَا شَفَاعَةٌ وَالْكَافِرُونَ هُمُ الظَّالِمُونَ  

"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่ง จากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าก่อนจากที่วันหนึ่งจะมา ซึ่งในวันนั้นไม่มีการซื้อขาย และไม่มีการเป็นมิตร และไม่มีชะฟาอะฮ์ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น คือ พวกที่อธรรม(แก่ตัวเอง)"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:254)
 พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า


وَأَنفِقُوا مِن مَّا رَزَقْنَاكُم مِّن قَبْلِ أَن يَأْتِيَ أَحَدَكُمُ الْمَوْتُ فَيَقُولَ رَبِّ لَوْلَا أَخَّرْتَنِي إِلَىٰ أَجَلٍ قَرِيبٍ فَأَصَّدَّقَ وَأَكُن مِّنَ الصَّالِحِينَ 


"และจงบริจาคจากสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าก่อนที่ความตายจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดในหมู่พวกเจ้า แล้วเขาก็จะกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ มาตรว่าพระองค์ท่านทรงผ่อนผันให้แก่ข้าพระองค์อีกชั่วเวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อที่ข้าพระองค์จะได้บริจาคและข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่คนดีทั้งหลาย (ผู้ทรงคุณธรรม)"  (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมุนาฟิกูน 63:10)
รายงานมาจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า
ท่านรสูลของอัลลอฮฺ การทำทานแบบใดมีผลมีผลบุญมากที่สุด” ท่านตอบว่า “การที่ท่านบริจาคทานขณะที่ท่านสุขภาพแข็งแรง มีความตระหนี่ กลัวความยากจน มุ่งหวังความร่ำรวย ท่านอย่าปล่อยเวลาผ่านไปจนเมื่อวิญาณมาอยู่ที่คอของท่าน ท่านเพิ่งกล่าวว่า ให้คนนี้เท่านั้น ให้คนนั้นเท่านี้ ทั้งที่มันเป็นสิทธิของอีกคนหนึ่ง” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า
คนที่ปล่อยทาสและทำบุญขณะที่เขาจะตาย ก็เปรียบเสมือนคนที่ให้ของคนอื่นตอนตนเองอิ่มแล้ว” (บันทึกหะดิษโดยอัตติรมิซีย์)

การที่เราได้รับประทานอาหารร้อนๆ จากเตาของบ้านข้างๆ ย่อมรู้สึกดีกับเขามากกว่าเขากินกันจนอิ่มแล้ว ถ้าเหลือเขาก็ให้เรา ถ้าไม่เหลือก็ถือว่าแล้วกันไป การบริจาคเพื่ออัลลอฮฺ ตอนใกล้ตายก็มีลักษณะคล้ายกัน แม้ตามหลักถือว่าใช้ได้ แต่กลับกระทบต่อคนใกล้ชิดเขาเอง ที่ยังต้องเพชิญชีวิตต่อไป

พวกเขาตระหนี่ตอนเงินอยู่กับตน แต่กลับสุรุ่ยสุร่ายเมื่อหลุดมือไปแล้ว
ซึ่งตอนมีชีวิตก็หวงแหนเงินทอง มีมากแต่ไม่ยอมบริจาค แต่พอเงินจะหลุดจากมือไปพร้อมกับวิญาณ กลับบริจาคอย่างไม่คิดชีวิต ทั้งที่ควรมอบให้แก่ทายาท ผู้ที่ยังต้องเพชิญหน้าชีวิต เพื่อเป็นต้นทุนต่อไป

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า
“การที่ท่านทิ้งลูกของท่านไว้อย่างร่ำรวย ย่อมดีกว่าทิ้งไว้อย่างแร้นแค้น ต้องคอยขอผู้อื่น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)

  والله أعلم بالصواب

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ยอมเป็นไม้หอมที่ยิ่งถูกเผาก็ยิ่งหอม

ยอมเป็นไม้หอม


ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า

“เมื่อคนโฉดหยาบคายต่อฉันต่างๆนานา  ฉันรังเกียจที่จะตอบโต้เขา  ยิ่งเพิ่มความโง่มากเท่าไร  ความสุขุมเยือกเย็นของฉันก็ยิ่งเพิ่มมากเท่านั้น  เหมือนไม้หอมที่ยิ่งเผาก็ยิ่งหอม”

จากคำกล่าวของท่านอิมามชาฟิอีย์ข้างต้น ได้บอกไว้ว่า หากมีใครมาทำไม่ดี หรือด่าว่าร้ายแก่เรา ให้เรานิ่งไว้ และนำคำกล่าวนั้นมาพิจารณาดู อย่ากล่าวตอบโต้ด่าว่ากลับไปอีก เพราะจะทำให้เรื่องราวไม่จบสิ้นกันสักที ยอมเป็นไม้หอมที่ยิ่งถูกเผาก็ยิ่งหอมจะดีกว่า ส่วนใครที่ทำไม่ดีกับเราก็ปล่อยเขาไป ยิ่งเรานิ่งเท่าไหร่ ตัวเขาก็จะดูไม่ดีมากขึ้นเท่านั้น โดยที่เราไม่เสียหายเลย

  والله أعلم بالصواب

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แพทย์ชายรักษาสตรีได้หรือไม?

อนุญาตให้แพทย์ชายรักษาผู้ป่วยหญิงได้หากจำเป็น



ศาสนาอนุญาตให้แพทย์ผู้ชายรักษาผู้ป่วยหญิง และแพทย์หญิงรักษาผู้ป่วยชายได้ เมื่อยามจำเป็น

รายงานจาก รุบัยเยียะอฺ บินติมุเอาวิษ บินอัฟราอฺ นางได้เล่าว่า
เรา(เหล่าสตรี) ได้ร่วมสมรภูมิกับท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮฺวะซัลลัม เราทำหน้าที่รินน้ำให้เหล่านักรบ บริการพวกเขา และส่งผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บไปยังเมืองมะดินะฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)

อัลฮาฟิซ กล่าวไว้ในหนังสือ "ฟัตฮุ้ลบารี" ว่า 
"อนุญาตให้ญาติซึ่งต่างเพศก็รักษาได้ เมื่อยามจำเป็น และในเรื่องเกี่ยวกับการมอง สัมผัสมือ และอื่นๆ ก็สุดแล้วแต่ความจำเป็น และสมควรของกรณี"

อิบนุมุฟเลี๊ยฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง "จรรยาบรรณทางศาสนา ว่า 
"หากจำเป็น และหาผู้รักษาไม่ได้นอกจากหมอผู้ชาย อนุญาตให้เขามองนางได้เท่าที่จำเป็น แม้กระทั้งทวานเบา หรือทวารหนัก และผู้ชายกับผู้ชายก็ในทำนองเดียวกัน 

อิบนุฮัมดาน กล่าว
"และถ้าหาผู้รักษาไม่ได้ นอกจากหมอผู้หญิง นางก็มีสิทธิ์มองเขาได้เท่าที่จำเป็น แม้กระทั้ง ทวารเบาและทวารหนัก"

อัลกอฎี กล่าวว่า 
"อนุญาตให้หมอผู้ชายมองที่อันพึงสงวนของนางได้ หากจำเป็นต้องทำเช่นนั้น และทำนองเดียวกันอนุญาตให้หมอผู้หญิงมองสิ่งอันพึงสงวนของผู้ชายได้เมื่อจำเป็นเช่นกัน"

  والله أعلم بالصواب


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อายะฮฺอัลกุรอานที่เป็นเกราะป้องกันจากชัยฏอน

อัลกุรอานเกราะป้องกันชัยฏอน


>>>การอ่านสูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงอย่าให้บ้านเรือนพวกท่านเป็นกุบูรฺ แท้จริงชัยฏอนจะหนีจากบ้านที่มีการอานสูเราะฮฺอัลบาเกาะเราะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม)

>>>การอ่านอายะฮฺอัลกุรซีย์(อัลกุรอาน อายะฮฺที่ 255 ของสูเราะฮฺอัลบะเกาะฮฺ

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ในสูเราะฮิอัลบะเกาะเราะฮฺมีอายะฮฺหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นสุดยอดของอายะฮฺทั้งหลายในอัลกุรอาน ซึ่งจะไม่ถูกอ่านในบ้านใดที่มีชัยฏอน นอกจากชัยฏอนตนนั้นจะต้องออกไป (เพราะการอ่านอายะฮฺนั้น) นั้นคือ อายะฮฺอัลกุรซีย์” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ และอัลฮากิม)

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า
“ผู้ใดอ่านอายะฮฺอัลกุรซีย์นี้ ก่อนจะเข้านอน ชัยฏอนจะไม่เข้าใกล้ที่นอนของเขากระทั่งรุ่งเช้า มาลาอิกะฮฺจะมาคอยดูแลรักษาเขาผู้นั้น” (บันทึกหะดิษโดยอัลบุคอรีย์)

>>>การอ่านสองอายะฮ์สุดท้ายของสูเราะฮฺอัลบาเกาะเราะฮฺ 

รายงานจากท่านนัวะมาน อิบนุ บะชี้ร เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงบันทึกไว้บันทึกหนึ่ง พระองค์ได้ทรงประทานจากบันทึกนั้นสองอายะฮฺตอนท้ายสูเราะฮฺอัลบาเกาะเราะฮฺสองอายะฮฺนี้ เมื่อมีการอ่านขึ้นในบ้าน 3 คืน ชัยฏอนจะไม่เข้าใกล้บ้านนั้นเลย” (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกโดยอัตติรฺมีซีย์ , อัลนะซะอีย์ , อิบนิฮิบบาน และอิบนิฮากิม)

>>>การอ่านสูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺ

ท่านอุมัร อินนิล ค๊อฏฏ็อบ เคยใช้สูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺบำบัดรักษา และป้องกันภัยจากชัยฏอน และท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เรียกสูเราะฮินี้ว่า “อัชชาฟียาตุวัรรอกียะฮฺ” สูเราะฮฺที่บำบัดรักษา


>>>การอ่านอัลมุเอาวิซะตัยนฺ คือ สูเราะฮฺอัลฟะลัก และสูเราะฮอันน๊าส

รายงานจากท่านอบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์ เล่าว่า
“ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากญิร และอัลตรายของการมองจากผู้คน จนกระทั้งอัลมุเอาวิซะตานิ(คือ สูเราะฮฺอัลฟะลัก และสูเราะฮอันน๊าส) ถูกประทานลงมาแล้ว ท่านนบีก็ยึดสูเราะฮฺทั้งสอง และทิ้งสิ่งอื่นๆไป” (บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซีย์ และอิบนิมาญะฮฺ)

>>>การอ่านสูเราะอัซซัจดะฮฺ หรืออายะฮฺที่เมื่อเราอ่านถึงเราต้องสูญูดติลาวะฮฺ


รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อลูกหลานอาดัมอ่านสูเราะฮฺ อัซซัจดะฮฺ และสูญูด ชัยฏอนก็จะปลีกตัวออกไป พลางร้องไห้ และกล่าวว่า ความพินาศจงประสบแก่ข้า ลูกหลานอาดัมถูกใช้ให้สูญูด และพวกเขาก็สูญูด พวกเขาจึงเป็นชาวสวรรค์ และฉันถูกบัญชาให้สูญูด แต่กลับฝ่าฝืน จึงให้ฉันเป็นชาวนรก” (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม อะหฺมัด และอิบนุมาญะฮฺ)

อัซซัจดะฮฺ เป็นสูเราะฮฺที่ 32 ในอัลกุรอาน ที่เรียกว่า อัซซัจดะฮฺ เพราะมีอายะฮฺที่อ่านถึงแล้วต้องสูญูด หรือเมื่อได้ยินคนอื่นอ่าน ผู้นั้นก็ต้องสูญูดเช่นกัน ในอัลกุรอานมีอายะฮฺอัซซัจดะฮฺในสูเราะฮฺอื่นๆ เช่นกัน


  والله أعلم بالصواب

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ให้กล่าวศอละวาตเมื่อมีการกล่าวชื่อท่านนบีมูหัมมัด

ศาลาวาตนบี(صَلُّوا)


การกล่าวศอลาวาตแก่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น มีหลายแบบ หลายสำนวน แม้แต่เราจะใช้สำนวนที่มีคำกล่าวน้อยก็ได้ สำหรับกรณีเมื่อได้ยินชื่อท่านรสูล หรือนบี หรือมูหัมมัด ให้ศอลาวาตด้วยสำนวนว่า “ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม”

ผลที่ได้รับเมื่อกล่าวศาลาวาตเมื่อมีการกล่าวชื่อท่านนบี

รายงานจากท่าน อนัส อิบนิ มาลิก  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า “ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดที่เมื่อชื่อของฉันถูกกล่าว ณ ที่เขา ก็จงศอลาวาตให้แก่ฉัน แท้จริงผู้ใดศอลาวาตให้ฉันครั้งหนึ่ง อัลลอฮิ อัซซะวะญัล จะศอละวาตให้ผู้นั้น 10 ครั้ง”(บันทึกหะดิษโดย อันนะซาอีย์ , อิบนุซซุนนีย์ และอัซสุยูฏีย์ บันทึกไว้ในหนังสือ “ญามิอัศ ศอฆี๊รฺ”)
ผู้ืที่ไม่ยอมกล่าวศอลาวาตเมื่อมีการกล่าวชื่อท่านนบี

รายงานจากท่านจากท่านฮุซัยนฺ บิน อาลี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า “ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดที่ชื่อของฉันถูกกล่าว ณ เขา และเขาไม่เห็นว่าการศอลาวาตให้ฉันนั้นเป็นความสำคัญ เขาผู้นั้นก้ไม่รู้จักทางที่จะนำไปสู่สวรรค์” (บันทึกหะดิษโดยท่านอิมามฎ็อบรอนีย์)
รายงานจากท่านอาลี อิบนิ อบีฏอลิบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า “ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า


‏البَخِيلُ مَنْ ذُكِرْتُ عِنْدَهُ فَلَمْ يُصَلِّ عَليَّ‏

“คนตระหนี่นั้น คือ คนที่ฉันถูกกล่าวถึง ณ ที่เขา แต่เขาก็ไม่ศอลาวาตแก่ฉัน” (บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซีย์ อะหฺมัด นะซาอีย์ อากิม และอิบนิ ฮิบบาน)

รายงานจากท่านอบี ฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า


رَغِمَ أنْفُ رَجُلٍ ذُكِرْتُ عِنْدَهُ فَلَمْ يُصَلِّ عَليَّ‏

“จมูกของบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะถูกแนบกับดิน(หมายถึงประสบกับความต่ำต้อย) เมื่อนามของฉันถูกกล่าว ณ เขาแล้ว เขาไม่กล่าวศอลาวาตแก่ฉัน” (บันทึกหะดิษโดย ติรฺมีซีย์ , นะซาอีย์ ฮากิม และอิบนิ ฮิบบาน)
รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ครั้งหนึ่ง ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขึ้นมิมบัร เมื่อขึ้นบันไดขั้นที่หนึ่ง ท่านกล่าว “อามีน” เมื่อขึ้นขั้นที่สอง กล่าวว่า “อามีน” ภายหลังท่านจากท่านขึ้นขั้นที่สามแล้ว ท่านก้กล่าวว่า “อามีน” บรรดาศอหะบะฮฺกล่าวแก่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า “โอ้ท่านรสูล เราได้ยินท่านกล่าว “อามีน” สามครั้ง”
ท่านรสูล ตอบว่า “เมื่อฉันขึ้นสู่ชั้นที่หนึ่ง ยิบรีล อะลัยอิสลาม มาหาฉัน และกล่าวว่า “ขออัลลอฮฺทรงให้ความต่ำต้อยจงประสบกับบุคคลที่เมื่อเดือนรอมฎอนเข้ามาสู่เขา แล้วรอมฎอนจากไปโดยเขานั้นไม่ได้รับการอภัยโทษ(ไม่ละหมาด ไม่ถือศิอลด)” แล้วฉันกล่าว “อามีน” เมื่อฉันนขึ้นสู่ชั้นที่สอง ท่านญิบรีลกล่าวว่า “ขอให้อัลลอฮฺทรงให้ต่ำต้อยประสบกับผู้ที่ทันชีวิตของบิดามารดาของเขา หรือคนหนึ่งคนใด แต่แล้วท่านทั้งสองไม่เป็นสาเหตุให้เขาผู้นั้นเข้าสวรรค์(เนรคุณต่อท่านทั้งสอง)” แล้วฉันก็กล่าว “อามีน” เมื่อฉันขึ้นสู่ชั้นที่สาม ท่านญิบรีลกล่าวว่า “ขออัลลอฮฺทรงให้ความต่ำต้อยประสบกับบุคคลที่เมื่อชื่อของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกกล่าว ณ เขา แล้วเขาไม่ศอลาวาตแก่ท่าน แล้วฉันก็กล่าว “อามีน”” (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม ติรฺมีซีย์ อิบนุซัยมะอฺ อิบนุฮิบบาน และอัลอากิม)


  والله أعلم بالصواب

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล

ศิลอด 6วัน เดือนเชาวาล


การถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลเป็นศาสนกิจตามสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ประการหนึ่ง ไม่ใช่ศาสนกิจภาคบังคับ ทว่าเป็นสิ่งที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ประชาชาติของท่านปฏิบัติ และการถือศีลอดในเดือนเชาวาลยังเป็นการช่วยซ่อมแซมความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอีกด้วย (อัล-มุนัจญิด. มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ)

ซึ่งการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮฺจะทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี




عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ». (مسلم رقم 1984)

ความว่า จากท่านอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ได้ฟังท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี”  (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดย มุสลิม อบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , อันนาะซะอีย์ และอิบนิมาญะฮฺ)

รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งเป็นคนรับใช้ของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า "ผู้ใดถือศิลอด 6 วันหลังจากอีดิลฟิฏริ ก็เท่ากับเขาถือศิลอดตลอดทั้งปี ผู้ใดที่กระทำความดีหนึ่ง เขาจะได้รับภาคผลเป็น 10 เท่าทวีคูณ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนิมาญะฮฺ)

รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "อัลลอฮฺ ทรงทำให้ภาคผลของการทำความดีหนึ่ง เพิ่มเป็นสิบเท่าทวีคูณ ดังนั้น(การถือศิลอด) เดือนรอมาฎอน ก็ประหนึ่ง (การถือสิลอด) สิบเดือน และการถือสิอด 6 วัน หลังจากอีดิลฟฏริ ก็ประหนึ่ง  (การถือศิลอด)ครบตลอดทั้งปี" (บันทึกหะดิษโดย อันนาซาอี และจากเศาะเฮียะฮฺของอิบนิ คุซัยมะฮฺ และเศาะเฮียะฮฺของอัล-บานีย์)

หลักทั่วไปเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนต่อการกระทำที่ดี คือ หนึ่งความดี ตอบแทนด้วย10 เท่า การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน 30 วัน คูณ 10 เท่า เท่ากับ 300 วัน พร้อมกับการถือศีลอดเดือนเชาวาล 6 วัน คูณ 10 เท่า เป็น 60 วัน รวมกันเป็น 36 วัน เท่ากับ 360 วัน ก็เท่ากับว่าถือศีลอดเป็นเวลา  1  ปี พอดี

เหล่าอุละมาอ์ได้ให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการทำความดีจะถูกคูณด้วยสิบ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนหนึ่งเดือนจะเท่ากับสิบเดือน การถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาลจะเท่ากับหกสิบวันหรือสองเดือนที่เหลือ ดังนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดครบหนึ่งปีอย่างสมบูรณ์ (ดู บทอธิบายของอิมาม อัน-นะวะวีย์ ต่อเศาะฮีหฺมุสลิม 8:56) 

การเริ่มถือศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล 


ในทัศนะของอิหม่าม อะหมัด ได้กล่าวว่า ผู้ใดได้ถือหลังจากวันอีดติดต่อกันหรือว่าไม่ติดต่อกันทั้งสองแบบไม่ได้มีผลดีเหนือกันแต่อย่างใด ทั้่งสองแบบได้ผลตอบแทนเท่ากัน

ในทัศนะของอิหม่ามหะนะฟี และ อิหม่ามชาฟีอี ได้กล่าวว่า ที่ดีที่สุดแล้วนั้นให้ถือหลังจากวันอีดติดต่อกั

ท่านอิมาม  อัน-นะวะวีย์ได้กล่าวว่า “เหล่าสหายของเราเห็นว่า ทางที่ดีที่สุดคือให้ถือศีลอดติดต่อกันหกวันโดยเริ่มทันทีหลังวันอีด แต่หากแยกวันหรือไม่ถือศีลอดทันทีในช่วงต้นเดือนก็ยังได้ผลบุญเช่นเดียวกัน เพราะได้บรรลุตามความหมายในหะดีษที่ว่าให้ถือศีลอลหกวันในเดือนเชาวาล(หลังจากเราะมะฎอน)” 

 ในทัศนะของนักวิชาการอีหม่ามมาลิกี เห็นว่าการถือศีลอดหลังจากวันอีดเลยหรือว่าสิบวันหลังจากวันอีดนั้นเป็นมักโระฮฺ เนืองจากท่านนบีไม่ได้กำหนดวันใดวันหนึ่งในการถือศีลอดของเดือนเชาวาล จึงไม่จำเป็นต้องถือให้ติดต่อกัน พวกเขาจึงส่งเสริมให้ถือหลังจากนั้น



ดังนั้นการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลสามารถปฏิบัติได้อย่างเปิดกว้าง ดังนี้

-ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด โดยถือศีลอดติดต่อกัน 6 วันโดยไม่แยก

-ถือศีลอด 6 วันติดต่อกัน แต่ไม่ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด

-ถือศีลอดหกวันโดยแยกวัน อาจจะเริ่มทันทีหลังวันอีดหรือไม่ก็ได้ และไม่กำหนดวันว่าจะต้องห่างกันครั้งละกี่วัน ฯลฯ


ผู้ถือศิลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ครบ


จากลักฐานดังคำพูดของท่านนะบี  ที่ว่า

" مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ . " رواه مسلم رقم 1984
“ใครได้ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน หลังจากนั้นเขาได้ติดตาม(หมายถึงถือศีลอด) ด้วยหกวันของเดือนเชาวาล เสมือนว่าเขาได้ถือศีลอดทั้งปี”

         คำว่า  “ ซุมมา” เป็นคำที่ที่มีความเชื่อมโยงที่กลับไปหาประโยคข้างหน้า เป็นการชี้ให้เห็นถึงการเรียงลำดับ  ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า จำเป็นจะต้องให้เสร็จสิ้นจากการถือศีลอดชดใช้เสียก่อน(ทั้งการถือศีลอดในรอมาฏอนและการถือศีลอดชดใช้) หลังจากนั้นให้ถือศีลอดหกวันของเดือนเชาวาล เพื่อว่าจะได้ผลตอบแทนตามที่มีปรากฏในหะดีษ


ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ครบและมีภาระต้องถือศีลอดชด ให้เขาถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนในเสร็จสิ้นเสียก่อน แม้นว่าเขาต้องใช้เวลาในเดือนเชาวาลทั้งเดือนก็ตาม ทั้งนี้เพราะการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นวาญิบ และหากเขาตายไป เขาก็จะถูกสอบถามในเรื่องที่เป็นวาญิบนี้ ว่าได้ชดแล้วหรือยัง  (ถือว่าเป็นหนี้ต่อพระองค์อัลลอฮฺ จำเป็นต้องชดใช้หนี้จนครบ แต่ศิลอดสุนนะฮฺมิได้เป็นหนี้ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) อีกประการหนึ่งก็คือ ผลบุญของการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนครบสมบูรณ์แล้วหรือไม่ (อัล-อะมีน อัล-หาจญ์ มุหัมมัด) 

การถือศิลอดชดใช้พร้อมกับถือศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล

การถือศีลอดชดใช้เราะมะฎอนพร้อมกับเหนียตถือศีลอด 6 วันของเดือนเชาวาลสำหรับผู้มีอุปสรรค เช่นมีประจำเดือน เจ็บป่วย หรือกำลังเดินทาง นั้น ไม่ปรากฏทัศนะของปราชญ์ยุคก่อน แต่พึ่งมาปรากฏจากทัศนะของนักปราชญ์ยุคหลังเท่านั้น


ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีน ได้กล่าวใน "ฟะตาวา อัศ-ศิยาม" หน้า : 438 ว่า 

           "ผู้ใดที่ถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หรือ วันอาชูรออ์ ทั้งๆ ที่ยังต้องถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนอยู่ การถือศีลอดนั้นย่อมใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอดในวันเหล่านี้พร้อมๆ กับการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้สองผลบุญคือ ผลบุญของวันอะเราะฟะฮฺหรือวันอาชูรออ์พร้อมกับผลบุญของการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน อันนี้สำหรับการถือศีลอดสุนัตทั่วๆ ไปที่ไม่เกี่ยวพันกับเราะมะฎอน ส่วนการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลนั้น(แตกต่างจากการถือศีลอดทั่วไป)เพราะมีความเกี่ยวพันกับเราะมะฎอน กล่าวคือจะไม่มีนอกจากต้องถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนเสียก่อน ถ้าหากถือก่อนที่จะชดของเราะมะฎอนก็จะไม่ได้รับผลบุญนั้น

ดังพูดของท่านรอซูล(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)ที่ว่า:

( من صام رمضان ثم أتبعه ستا من شوال )

"ใครที่ถือศีลอดรอมาฏอน หลังจากนั้นเขาได้ติดตามด้วยหกวันของเดือนเชาวาล"

 คำว่า  “ ซุมมา” เป็นคำที่ที่มีความเชื่อมโยงที่กลับไปหาประโยคข้างหน้า เป็นการชี้ให้เห็นถึงการเรียงลำดับ และไม่มีเหตุผลใดที่จะนำอิบาดะฮฺ 2 อิบาดะฮฺมาเหนียตพร้อมกันได้ ทั้งศิลอดเดือนรอมฎอนนั้นเป็นวาญิบ ส่วนศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาลนั้นเป็นเพียงสุนนะฮฺ และไม่มีหลักฐานจากท่านนบี หรือร่องรอยจากบรรดาศอหะบะฮฺที่ให้กระทำรวมกันเช่นนี้ได้ ซึ่งหากอนุญาตให้กระทำการเหนียตศิลอดชดใช้ซึ่งเป็นวาญิบรวมพร้อมกันกับศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นสุนนะฮฺ เป็น 2 ใน 1 หรือทูอินวันได้นั้น ก็ไม่ต่างอะไร กับที่เรานำเอาละหมาดศุบฮ์ซึ่งเป็นฟัรดูมารวมกับละหมาดสุนนะฮฺก่อนละหมาดศุบฮฺนั้นเอง ซึ่งไม่มีรูปแบบเช่นนี้จากท่านนบีหรือร่องรอยบรรดาสอหะบะฮฺแต่อย่างใด แตกต่างกับการอาบน้ำยกหะดัษ ซึ่งเมื่ออาบละหมาด ก็ทำการอาบน้ำยกหะดัษ และเมื่ออาบน้ำยกหะดัษเสร็จ ก็ไม่ต้องอาบน้ำละหมาดอีก เหตุผล เพราะท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างเอาไว้นั้นเอง

วันอีดหลังศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล

ไม่ปรากฏหลักฐานจากการกระทำ คำพูด หรือ การยอมรับใดๆจากท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หรือจากฆอลีฟะฮฺทั้งสี่ หรือจากบรรดาศาหะบะฮฺท่านอื่น ว่าให้มีวันอีด หลังถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏจากทัศนะของบรรดาอิมามทั้งสี่เลยแม้แต่น้อย ทั้งปัจจุบันได้ปฏิบัติกันเพียงแถบมลายู(ที่เรียกรอยอแน หรือรายอหก ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษามลายู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อีดอับร็อร ) ไม่ปรากฏในแถบเมืองมุสลิมอื่นๆ ไม่ว่า ประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย หรือประเทศมุสลิมอื่นๆก็ตาม ซึ่งมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โตกว่าวันอีดิลฟิฏรฺ 

ทั้งท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ระบุไว้ใช้ชัดเจนแล้วว่า วันอีดของอิสลาม มีเพียง 2 วัน คือ อีดิลฟิฏริ และอัฎฮา เท่านั้น

عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)

ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้ง 2 วันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

การที่มีวันอีดนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ถือว่าเป็นการผิดต่อสุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺ   กลายเป็นอิบาดะฮฺที่สร้างขึ้นมาใหม่ในศาสนา ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการจัดวันรายอแน นั้นเป็นเรื่องศาสนา เป็นเรื่องการทำอิบาดะฮฺ การปฏิบัติอะมัล เพราะได้แทรกความเชื่อและหลักปฏิบัติศาสนาเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะเจาะจงวันเวลา สถานที่ เกี่ยวกับการละหมาดซึ่งเป็นละหมาดเฉพาะวันอีดทั้งสอง การไปเยี่ยมเยียนกุบูรฺ การอ่านยาซีนให้แก่ผู้ตายที่กุบูรฺ เป็นต้น  ซึ่งหากจะต้องการเป็นเพียงประเพณีท้องถิ่น ก็ไม่ต้องมีความเชื่ออากีดะฮฺ และการปฏิบัติของศาสนาเข้ามา ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นเรื่องศาสนาทันที่ และเมื่อเป็นเรื่องศาสนา หากไม่มีในคำสอนศาสนา ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยใช้ให้ปฏิบัติ หรือไม่มีร่องรอยของบรรดาศอหะบะฮฺเลย ก็จะเป็นการปฏิบัติอะมัลที่ถูกปฏิเสธ ผลของมันจะเป็นโมฆะ ไม่เกิดผลอะไรเลย ดังหลักฐานหะดิษต่อไปนี้

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
 "บุคคลใดปฏิบัติ(อะมัล ไม่รวมถึงเรื่องดุนยา) ในสิ่งที่เราไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัตินั้นดังกล่าวถูกปฏิเสธสิ้น"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม เศาะเฮียะฮ์มุสลิม หะดิษเลขที่ 1701)
 ท่านอับดุลลอฮิบนุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า
“พวกท่านพึงระวังการบิดอะห์(อุตริ) ในศาสนาเถิด เพราะการบิดอะห์ในศาสนาทุกประเภทเป็นความหลงผิด แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะเห็นดีก็ตาม”
รายงานจากท่านอิบนุ มาญิชูน ว่า ท่านอิมามมาลิก บิน อนัส (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.179) ท่านกล่าวว่า
"ผู้ใดอุตริกรรมสิ่งใดขึ้นมาในอิสลาม โดยมองว่ามันเป็นเรื่องดี แน่นอนเขาผู้นั้นกล่าวหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าทุจริต(หรือบกพร่อง) ในการปฏิบัติหน้าที่รสูล เพราะพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานาฮูวาตาอาลา ทรงกล่าวเอาไว้แล้วว่า วันนี้ ข้าฯ ได้ให้ศาสนาของพวกเจ้า สมบูรณ์แล้ว...ดังนั้น สิ่งใดก็ตามถ้าหากในวันนั้นมิใช่ (เป็นเรื่องของ)ศาสนา มาในวันนี้ มันก็มิใช่เรื่องศาสนา"(หนังสือ "อัล-เอี๊ยะอฺติศอม" ของท่านอัช-ชาฏิบียฺ เล่ม 1 หน้า 49)

ทัศนะของอุละมาอฺที่น่าเชื่อถือบางท่าน โดยเฉพาะอุละมาอฺในสังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ เกี่ยวกับวันอีดอับร้อรฺ(รายอแน) มานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านนำไปทบทวนถึงข้อเท็จจริงของวันอีดอับร้อรฺ(รายอแน)นี้และตัดสินด้วยตนเองว่าสมควรจะเรียกว่าเป็นวันอีดในอิสลามอีกวันหนึ่งหรือไม่

อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ กล่าวว่า
“เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า "ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปดของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่างๆของวันอีด เช่นการสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา”"
(อัล-ฟะตาวี อัล-ฟิกฮียะฮฺ อัล-กุบรอ 1/272)


 والله أعلم بالصواب


วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมวันอีด อีดิลฟิฏริ

วันอีด

วันอีด เป็นวันที่สำคัญทางศาสนาอิสลามซึ่งได้ถูกตราบัญญัติขึ้นในปีแรกแห่งฮิจญเราะฮฺศักราช  ซึ่งวันอีดในอิสลามมีเพียง 2 วัน คือ วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮา วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮามีเกียรติยิ่งกว่าวันอีดใดๆ ของมวลมนุษยชาติในโลกนี้ และการส่งเสริมวันอีดอันนอกเหนือจากวันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮาถือว่าเป็นการผิดต่อซุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺ


عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)

ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้งสองวันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)


-กล่าวตักบีรฺ

วันอีดิลฟิฏริ ให้กล่าวตั้งแต่เมื่อเห็นหรือทราบข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว ไปจนกระทั่งยืนเพื่อละหมาดอีดิลฟิฏริ เมื่อให้สลามในละหมาดอีดอิดิลฟิฏริแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวตักบีรฺอีก(เฉพาะอิดิลฟิฏริ)

โดยการกล่าว
الله أكبر الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ولله الحمد

อ่านว่า : อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ วะลิลลาฮิลหัมด์"

ความหมาย : อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น"

 -จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺในวันอีดิ้ลฟิฏริ


ก่อนที่จะละหมาดอีดิ้ลฟิตริ วาญิบมุสลิมทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏริด้วยกับการแจกอาหารท้องถิ่น ให้กับผู้ยากจน
   ดังที่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنْ الصَّدَقَاتِ

“ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดวาญิบซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อชำระความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด จากคำพูด ที่ไม่ดี และหยาบคาย และเป็นอาหารสำหรับบรรดาคนยากจน บุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺก่อนละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือซะกาต ที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺหลังจากละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือเศาะดาเกาะฮฺหนึ่งจากเศาะดาเกาะฮฺต่าง ๆ” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 1609 อิบนิมาญะฮฺ : 1827 เศาะเหี๊ยะหฺอบูดาวุดอัลบานียฺ : 1609 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนิมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1492)


สุนนะฮฺให้ละหมาดวันอีดที่มุศ็อลลา (สนามละหมาด)


عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ وَالأَضْحَى إِلَى الْمُصَلَّى، فَأَوَّلُ شَيْءٍ يَبْدَأُ بِهِ الصَّلاَةُ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ فَيَقُومُ مُقَابِلَ النَّاسِ وَالنَّاسُ جُلُوسٌ عَلَى صُفُوفِهِمْ فَيَعِظُهُمْ وَيُوصِيهِمْ وَيَأْمُرُهُمْ، فَإِنْ كَانَ يُرِيدُ أَنْ يَقْطَعَ بَعْثًا قَطَعَهُ، أَوْ يَأْمُرَ بِشَيْءٍ أَمَرَ بِهِ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ.  (البخاري رقم 903)

ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้วท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่านต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)

-การอาบน้ำชำระร่างกาย ใส่น้ำหอมและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดี 


، فَقَالَ :يَا رَسُولَ اللهِ، ابْتَعْ هَذِهِ تَجَمَّلْ بِهَا لِلْعِيدِ وَالْوُفُودِ، فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّمَا هَذِهِ لِبَاسُ مَنْ لاَ خَلَاقَ لَهُ». (البخاري رقم 896، مسلم 3853)
ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้นำเสื้อคลุมที่ทำด้วยผ้าไหมผืนหนึ่งมาจากตลาด และได้นำไปยังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูล ท่านน่าจะซื้อผ้านี้เอาไว้สวมและแต่งกายสำหรับวันอีดและเมื่อต้อนรับคณะผู้มาเยือน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า “แท้จริงแล้ว นี่เป็นเสื้อผ้าของพวกที่ขาดทุน(ในวันอาคิเราะฮฺ)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข896 และมุสลิม หมายเลข 3853)


รายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
“ว่าท่านมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดในวันอีด” (สุนัน อัล-บัยฮะกียฺ 3/281)

อิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวว่า
 “ในวันอีด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะสวมเสื้อผ้าที่งามที่สุดของท่าน ท่านจะมีชุดเฉพาะที่ใช้สวมใส่ในวันอีดและวันศุกร์” (ดู ซาด อัล-มะอาด 1/441)

รายงานจากท่านนาฟิอฺ ผู้รับใช้ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
“ท่านอิบนุอุมัรฺ จะอาบน้ำชำระร่างกายในวัน อีดิลฟิฏรฺก่อนที่ท่าน จะเดินทางสู่สนามละหมาด” (บันทึกโดยอิมาม มาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/177)

   ท่านอิบนุ รุชดฺ ได้กล่าวว่า
“บรรดานักวิชาการมีมติเอกฉันท์เห็นดีเห็นงามให้มีการอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อละหมาดในวันอีด ทั้งสอง” (บิดายะฮฺ อัล-มุจญ์ตะฮิด 1/216)

   ท่านอิมามมาลิก ได้กล่าวว่า
ฉันได้ยินว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายนั้น ต่างก็ส่งเสริมให้พรมน้ำหอมและแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ สวยงาม และดูดีที่ สุดในทุกวันอีด โดยเฉพาะคนที่เป็นอิมาม เพราะผู้คนทั้งหลายนั้นจะให้ความสนใจไปยังเขา” (อัล-มุฆนีย์ 5/258)
สำหรับเครื่องแต่งตัวในวันอีดนั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการอิสลาม ห้ามผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นไหม

-รับประทานอินทผลัมก่อนไปละหมาดสำหรับอีดิ้ลฟิฏริ


รายงานจากท่านอนัส อิบนิ มาลิก กล่าวว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَا يَغْدُو يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَأْكُلَ تَمَرَاتٍ وَيَأْكُلُهُنَّ وِتْرًا

"ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะไม่ออกไปในวันอีดิ้ลฟิตริ จนกว่าท่านจะรับประทานอินทผลัมหลาย ๆ ผลโดยจะรับ ประทานเป็นจำนวนคี่" (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 910)

-การทำเศาะดะเกาะฮฺ

  ความประเสริฐของการบริจาคทาน ซึ่งเป็นอะมัลเฉพาะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งไว้ เพื่อให้สตรีปฏิบัติในวันอีด การบริจาคเศาะดะเกาะฮฺเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลดปล่อยบ่าวให้รอดพ้นจากการลงโทษในนรก   บรรดาเศาะฮาบะฮฺสตรีได้ทำตัวอย่างในการบริจาคทานด้วยการมอบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ


عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ شَهِدْتُ مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الصَّلَاةَ يَوْمَ الْعِيدِ، فَبَدَأَ بِالصَّلاَةِ قَبْلَ الْخُطْبَةِ بِغَيْرِ أَذَانٍ وَلاَ إِقَامَةٍ، ثُمَّ قَامَ مُتَوَكِّئًا عَلَى بِلاَلٍ فَأَمَرَ بِتَقْوَى اللهِ، وَحَثَّ عَلَى طَاعَتِهِ، وَوَعَظَ النَّاسَ وَذَكَّرَهُمْ، ثُمَّ مَضَى حَتَّى أَتَى النِّسَاءَ فَوَعَظَهُنَّ وَذَكَّرَهُنَّ، فَقَالَ : «تَصَدَّقْنَ، فَإِنَّ أَكْثَرَكُنَّ حَطَبُ جَهَنَّمَ»، فَقَامَتِ امْرَأَةٌ مِنْ سِطَةِ النِّسَاءِ سَفْعَاءُ الْخَدَّيْنِ، فَقَالَتْ :لِمَ يَا رَسُولَ اللهِ؟، قَالَ : «لِأَنَّكُنَّ تُكْثِرْنَ الشَّكَاةَ، وَتَكْفُرْنَ الْعَشِيرَ»، قَالَ : فَجَعَلْنَ يَتَصَدَّقْنَ مِنْ حُلِيِّهِنَّ يُلْقِينَ فِي ثَوْبِ بِلاَلٍ مِنْ أَقْرِطَتِهِنَّ وَخَوَاتِمِهِنَّ. (مسلم رقم 1467)
ความว่า จากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า “ฉันได้ออกไปละหมาดอีดพร้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้ละหมาดก่อนการให้คุฏบะฮฺ(เทศนา) โดยไม่มีการอะซานหรืออิกอมะฮฺ จากนั้นท่านได้ลุกขึ้นและยืนค้ำกับท่านบิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ และได้(ให้เทศนาโดย)สั่งให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเน้นย้ำให้เชื่อฟังพระองค์ ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนผู้ร่วมละหมาด แล้วท่านก็เดินจนกระทั่งได้ยืนอยู่หน้าเหล่าสตรี(ที่มาร่วมละหมาด) ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนพวกนาง ท่านได้กล่าวว่า “พวกนางทั้งหลาย จงให้ทานเศาะดะเกาะฮฺเถิด เพราะส่วนมากของพวกเธอนั้นคือเชื้อไฟของนรกญะฮันนัม” เมื่อนั้นได้มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ดูเลิศที่สุดจากพวกนางลุกขึ้นถามด้วยอาการตระหนกที่เห็นได้ชัดจากแก้มของนางว่า “เหตุใดที่เป็นเช่นนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นศาสนทูตแห่ง อัลลอฮฺ?” ท่านได้ตอบว่า “เหตุเพราะที่พวกนางชอบฟ้องร้องและไม่สำนึกคุณของสามี” ดังนั้น บรรดาพวกนางจึงได้ถอดต่างหูและแหวนของพวกนางเพื่อทำเศาะดะเกาะฮฺ โดยได้โยนใส่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในเสื้อของท่าน  บิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 1467)


-เดินทางไปยังที่ละหมาดด้วยเส้นทางที่แตกต่างกัน

เพื่อจะได้พบปะให้สลามแก่พี่น้องของเขาเป็นจำนวนมาก

รายงานจากท่านญาบิร อิบนิ อับดิลลาฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮมาุ กล่าวว่า

كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا كَانَ يَوْمُ عِيدٍ خَالَفَ الطَّرِيقَ

"ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น เมื่อเป็นวันอีดท่านใช้เส้นทางที่แตกต่างกัน (ไปและกลับจากที่ละหมาด) "(บันทึกโดย บุคอรียฺ : 943)

รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا خَرَجَ إِلَى الْعِيدِ رَجَعَ فِي غَيْرِ الطَّرِيقِ الَّذِي أَخَذَ فِيهِ

“อันที่จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺออกไปละหมาดอีด และกลับอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ทางที่ท่านออกไป” (บันทึกโดยอิบนิมาญะฮฺ : 1301 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนุมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1083)

  อิหม่าม อันนะวาวีย์ กล่าวว่า
 "แม้เราจะไม่ทราบเหตุผล แต่การปฏิบัติตาม (ซุนนะฮฺของท่านนบี) เป็นที่ส่งเสริมอย่างแน่นอน" (เราเฎาะฮฺ อัฏ-ฏอลิบีน 2/77)
ขอพรและให้อภัย

-ส่งเสริมให้มีการขอพรซึ่งกันและกัน


ญุบัยรฺ อิบนุ นุฟัยรฺ กล่าวว่า ทุกครั้งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาเจอกันในวันอีด พวกเขาจะกล่าว ให้แก่กันว่า

تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَ مِنْكَ

"ขออัลลอฮฺทรงรับ (การงาน) ทั้งจากเราและจากท่าน" (ฟัตหุลบารีย์ 2/157)


-เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ครูอาจารย์

ให้เยี่ยมเยียนขออภัยซึ่งกันและกันในวันอีด  ให้ไปหาญาติพี่น้องที่ห่างไกล ตึดต่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดี กับเครือญาติ ตลอดครูบาอาจารย์ เพราะ วันอีดคือวันแห่งการเฉลิมฉลอง รื่นเริง จึงเหมาะสมที่สุดที่เราจะไปเยี่ยมญาติพี่น้อง ขออภัยซึ่งกันและกัน

-ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน

ให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน หรือแจกจ่ายไปยังเพื่อนบ้าน ตามสภาพของผู้นั้น

-การไปพักผ่อนหย่อนใจ

การไปพักผ่อน ยังสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อชมความงามและการสร้างของพระองค์อัลลอฮฺ และรำลึกถึงกรุณาธิคุณของพระองค์

- ให้สตรีและเด็กๆ ออกไปรวมกัน ณ.สถานที่ละหมาด 


รายงานจากอุมมุ อะฏียะฮฺ กล่าวว่า

أُمِرْنَا أَنْ نَخْرُجَ فَنُخْرِجَ الْحُيَّضَ وَالْعَوَاتِقَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَشْهَدْنَ جَمَاعَةَ الْمُسْلِمِينَ وَدَعْوَتَهُمْ وَيَعْتَزِلْنَ مُصَلَّاهُمْ

พวกเราได้ถูกใช้ให้นำ (ไปยังสถานที่ละหมาดอีด) สตรีที่มีประจำเดือน เด็ก ๆและหญิงสาว ส่วนหญิงที่มีประจำเดือนนั้น นางจะได้ร่วม รับความดี และการขอพรของบรรดามุสลิมด้วย โดยให้หญิงที่มีประจำเดือนอยู่นอกสถานที่ละหมาด” (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 938)

أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نُخْرِجَهُنَّ فِي الْفِطْرِ وَالْأَضْحَى الْعَوَاتِقَ وَالْحُيَّضَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَعْتَزِلْنَ الصَّلَاةَ وَيَشْهَدْنَ الْخَيْرَ وَدَعْوَةَ الْمُسْلِمِينَ

"ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งให้พวกเรานำบรรดาสตรีออกสู่สถานที่ละหมาดในวันอีดิ้ลฟิตรฺและอี ดิ้ลอัฎฮา พวกนาง คือเด็ก ๆ  สตรีที่มีประจำ เดือน และหญิงสาว ส่วนสตรีที่มีประจำเดือนพวกนางจะไม่ร่วมทำการละหมาด แต่จะร่วมกันเชยชมความดี งามและรับพรจากบรรดามุสลิม ในวันนั้น..." (บันทึกโดยมุสลิม : 890,1475 อะหฺมัด : 20275)

 ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้สตรีทุกคนออกมาเพื่อร่วมในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ซึ่งจะรวมถึงบรรดาหญิงสาวที่มีประจำเดือนด้วย  วัตถุประสงค์ที่ให้บรรดาหญิงสาวออกมาก็เพื่อให้เขาสามารถร่วมในกิจกรรมการทำความดีและร่วมในการขอดุอาอ์

-ไม่มีละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาดวันอีด

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ออกไปละหมาดอีดสองร็อกอะฮฺโดยท่านมิได้ละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาด(อีด)"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1587 และอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1291)


-ไม่มีสุนนะฮฺให้อาซาน หรอิกอมะฮฺก่อนละหมาดอีด

ท่านสะอด์ บุตรของอบูวักกอศ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดพร้อมกับพวกเราก่อนคุฏบะฮฺ โดยไม่มีอะซาน และอิกอมะฮฺ"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1562 และอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3042)

-ฟังคุฏบะฮฺ

  มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُصَلِّي فِي الْأَضْحَى وَالْفِطْرِ ثُمَّ يَخْطُبُ بَعْدَ الصَّلَاةِ

"อันที่จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดิ้ลอัฎฮา และอีดิ้ลฟิตริ หลังจากนั้นท่านจะกล่าวคุฏบะฮฺหลังละหมาด"(บันทึกโดยบุคอรีย : 914 อะหฺมัด : 5630)

ละหมาดอีด

วิธีละหมาดอีด

ร็อกอะฮฺแรก
1)ตั้งเจตนาเนียต
2)ตักบีรฺเพื่อเข้าเวลาละหมาด มะมูมไม่ต้องกล่าวตักบีรฺเสียงดัง
3)ให้กล่าวตักบีรฺอีก 7 ครั้ง โดยแต่ละครั้งไม่ต้องยกมือ ควรเว้นระยะสักนิดหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านอะไร แต่ถ้าจะอ่านก้ย่อมกระทำได้
เพราะมีแบบอย่างจากท่านอิบนุ มัสอูด (เป็นศอหะบะฮฺ) ได้กระทำไว้ โดยกล่าวว่า
สุบฮานัลลอฮ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ"
4)อ่านดุอาอ์อิฟติตาหฺ
5)อ่านสูเราะฮฺฟาติหะฮฺ
6)อ่านสูเราะฮฺบทหนึ่งบทใด
7)ตักบีรฺเพื่อรุกั่วอฺแล้วกระทำตามขั้นตอนไปจนการสุญูด

ร็อกอะฮฺที่ 2
1)กล่าวตักบีรฺ ไม่ต้องยกมือ ขึ้นมากอดอก
2) ตักบีรฺอีก 5 ครั้ง
3)กระทำขั้นตอนเหมือนร็อกอะฮฺแรก ไปจนกระทั่งนั่งตะชะฮฺฮุดแล้วสลาม

!!!!  สำหรับการประดับประดามัสยิดในวันอีด ไม่มีแบบอยางจากท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาสละฟุศศอลิหฺในอดีตเลยแม้แต่น้อย

!!!!!  และสำหรับการเจาะจงไปเยี่ยมกุบูรฺในวันอีด ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ คำพูด หรือการยอมรับของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือแม้แต่การกระทำของบรรดาเศาะหะบะฮฺกระทำแม้แต่คนเดียว

والله أعلم بالصواب







วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุนนะฮฺให้ละหมาดอีดที่มุศ็อลลา

ละหมาดอีดที่มุศ็อลลา

วันอีด เป็นวันที่สำคัญทางศาสนาอิสลามซึ่งได้ถูกตราบัญญัติขึ้นในปีแรกแห่งฮิจญเราะฮฺศักราช  ซึ่งปรากฏว่าขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีชีวิตอยู่นั้นท่านไม่เคยละหมาดวันอีดทั้งสองที่มัสยิดเลย แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามกว้าง)


จากหลักฐานหะดิษ ซึงรายงานจากท่าน อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  ดังนี้

عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ وَالأَضْحَى إِلَى الْمُصَلَّى، فَأَوَّلُ شَيْءٍ يَبْدَأُ بِهِ الصَّلاَةُ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ فَيَقُومُ مُقَابِلَ النَّاسِ وَالنَّاسُ جُلُوسٌ عَلَى صُفُوفِهِمْ فَيَعِظُهُمْ وَيُوصِيهِمْ وَيَأْمُرُهُمْ، فَإِنْ كَانَ يُرِيدُ أَنْ يَقْطَعَ بَعْثًا قَطَعَهُ، أَوْ يَأْمُرَ بِشَيْءٍ أَمَرَ بِهِ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ.  (البخاري رقم 903)

ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้วท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่านต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)

จากหลักฐานหะดีษนี้ ถือว่าสุนนะฮฺให้ออกไปสู่สนามมุศ็อลลาเพื่อทำการละหมาดอีด แท้จริงแล้วสิ่งนั้นมีความประเสริฐกว่าการทำละหมาดอีดในมัสยิด เนื่องจากท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้คงไว้ซึ่งการกระทำดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนความหมายของ “المصلى” มุศ็อลลา หรือ สนามละหมาดในหะดีษนี้เป็นสนามแห่งหนึ่งหรือเป็นพื้นที่กว้างที่ห่างออกไปจากมัสยิดอันนะบะวีย์  ประมาณ 1,000 ศอก

อัล-อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า เราได้รับ(รายงานมาว่า) แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ออกไปในทั้งสองวันอีดไปยังมุศ็อลลาในบริเวณนครมะดีนะฮฺ เฉกเช่นเดียวกับ (การกระทำ)ของบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮฺหลังจากสมัยของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยกเว้นเมื่อมีเหตุขัดข้องบางประการ เช่น ฝนตก เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ยกเว้นชาวมักกะฮฺเท่านั้น ไม่มีคำยืนยันว่าชาวสะลัฟสมัยก่อนมีทำการละหมาดอีดพร้อมๆ กันกับคนจำนวนมาก(ในมัสยิดใดๆ)ยกเว้นในมัสยิดอัลหะรอม และหากว่ามัสยิด(ในประเทศหรือหมู่บ้านมีความคับแคบ) ไม่สามารถที่จะบรรจุผู้คน(เมื่อทำการละหมาดอีด)  แต่อิหม่าม(ในสถานที่นั่น)ยังให้มีการทำละหมาดในสถานที่ดังกล่าว  ดังนั้น ข้าพเจ้า(มีความเห็นว่า)การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มักรูฮฺสำหรับพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องละหมาดซ้ำก็ตาม (อัล-อุมม์ ของ อัช-ชาฟิอีย์ 1/234)

***สำหรับหะดิษต่อไปนี้ ซึ่งรายงานว่าในวันอีด เกิดฝนตก ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้นำผู้คนละหมาดอีดในมัสยิด

รายงานจากท่านอบีหุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า
"พวกเขาประสบกับฝนตกในวันอีด ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้นำพวกเขาละหมาดอีดในมัสยิด" (บันทึกโดยอบูดาวุด อิบนุมาญะฮฺ และฮากิม) 

!!! แต่ในสายรายงานของหะดิษนี้มีคนที่ไม่เป็นที่รู้จักอยู่ด้วย
อัลฮาฟิซ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัตตัลคีส" ว่า สายรายหะดิษนี้อ่อนแอ
อัษาะหะบี ได้กล่าว หะดิษนี้ เป็นหะดิษมุงกัร



ไปละหมาดอีดที่มุศ็อลลา

ดังนั้น การละหมาดวันอีด ณ มุศ็อลลา (ในสนามหรือที่ลานกว้าง)  เป็นสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็ได้ดำเนินรอยตามท่าน
และการร่วมกันออกไปยังท้องสนามหรือที่ลานกว้างนั้น นับเป็นสัญญลักษณ์ของอิสลาม และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และพลังของประชาชาติอิสลาม


والله أعلم بالصواب


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อซากาตฟิตเราะฮฺเป็นวาญิบสำหรับมุสลิม

ซากาตฟิตเราะฮฺ

ซะกาตฟิตเราะฮฺ คือ ซากาตที่วาญิบจะต้องจ่ายอันเนื่องจากหมดภาระถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งวายิบสำหรับทุกคนที่เป็นมุสลิม ไม่ว่าเด็ก ผูใหญ่ หรือแม้กระทั่งทาส

การจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ถูกบัญญัติขึ้น (ฟัรฎู) ในปีที่ 2 หลังจากฮิจญ์เราะฮ์ไปยังนครมะดีนะฮ์

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : فَرَضَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ، عَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ، وَالذَّكَرِ وَالأُنْثٰى، وَالصَّغِيرِ وَالْكَبِيرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلاَةِ. (البخاري رقم 1407)

ความว่า จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" ได้กำหนดให้บรรดามุสลิมต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยอินทผลัมแห้งหรือข้าวสาลีจำนวนหนึ่งศออฺ(2.8ก.ก.) ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นเสรีชนหรือเป็นทาส ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เด็กและคนแก่ ในหมู่คนที่เป็นมุสลิม(ทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺทั้งสิ้น) ท่านได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้าวันอีด  ( หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 1503)

สำหรับบุคคลหนึ่งปกครอง หรือรับผิดชอบจะต้องเลี้ยงดู เช่นนี้จำเป็นสำหรับผู้นั้นที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่ตนเอง และบุคคลทีอยู่ในความรับผิดชอบที่ต้องเลี้ยงดูด้วย เช่น ภรรยา ลูกๆ

อัล-อิ มาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่าหากมีเหลือจากค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและครอบครัวในเช้า ตรู่ของวันอีดและกลางคืนของวันอีด จึงเป็นวาญิบสำหรับเขาในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ (ชัรหุ อัส-สุนนะห์ ลิล-บะเฆาะวีย์ 6/71)

ชนิดและปริมาณของซะกาตฟิฏเราะฮฺ
ปริมาณข้าสาร 1 มุดดฺ และ 1 ศอออฺ

ชนิดของอาหารที่ศานากำหนดให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺ ที่เป็นอาหารของแต่ละท้องถิ่น เช่นประเทศไทย ผู้นคนส่วนใหญ่รับประทานข้าวสาร มุสลิมในประเทศไทยก้จ่ายซะกาตเป็นข้าวสาร หรือจะจ่ายเป็น อินทผลัม ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ลูกเกด องุ่นแห้ง เป็นต้น

สำหรับปริมาณของซะกาต วายิบต้องจ่ายจำนวน 1 ศออ์ จากอาหารหลัก

อาหารหลักจำนวน 1 มุดดฺ = 7 ขีด
4 มุดดฺ = 1 ศออฺ
1 ศออฺ = 7x4= 2.8 กิโลกรัม (โดยปริมาณ)

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยเงิน

ศาสนาไม่อนุญาตให้จ่ายซากาตฟิฏเราะฮฺอื่นจากอาหารหลักโดยเด็ดขาด เพราะหลักฐานทั้งหมดท่านนบีเกี่ยวกับการจ่ายซากาตฟิฏเราะฮฺ กล่าวเฉพาะอาหารหลักเท่านั้น
ซึ่งสมัยนบีก็มีการการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งการจ่ายซะกาตเป็นเงินธนาบัตรง่ายต่อการปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ท่านนบีก็บัญญัติให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮิเฉพาะอาหารหลักเท่านั้น


สำหรับทัศนะที่ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน เป็นความเห็นของอิมามมัซฮับทั้งสาม คือ อิมาม มาลิก, อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ และอิมาม อะห์มัด และเป็นความเห็นของมัซฮับซอฮิรีย์อีกด้วยเช่นกัน ทัศนะนี้ยึดหลักฐานที่เป็นหะดีษจากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ที่มีปรากฏในบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิมว่า 
فَرَضَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ زَكَاةَ الفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ أَو صَاعًا مِنْ بُرٍّ أَو صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ (وفي رواية : أَوْ صَاعاً مِنْ أَقِطٍ) عَلَى الصَّغِيْرِ وَالكَبِيْرِ مِنَ المُسْلِمِيْنَ. 

ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดบัญญัติให้ออกซะกาตฟิฏเราะฮฺหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยลูกอินทผลัม หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยแป้งสาลีละเอียด หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยแป้งสาลีหยาบ (ในรายงานหนึ่งระบุว่า หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยนมแข็ง) เหนือมุสลิมทั้งคนแก่และเด็ก” 


สำหรับทัศนะที่อนุญาตให้จ่ายค่าเงิน (อาจจะเป็นตัวเงินจริง หรือสิ่งอื่นที่มีค่าเป็นเงิน) เป็นซะกาตฟิฏรฺได้ เป็นทัศนะของอิมาม อบู หะนีฟะฮฺ และพรรคพวกของท่าน และยังเป็นทัศนะของอุละมาอ์ตาบิอีนเช่น สุฟยาน อัษ-เษารีย์, อัล-หะสัน อัล-บัศรีย์, เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บิน อับดุลอะซีซ

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺแก่บุคคลใด

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺศาสนาได้บัญญัติเฉพาะเจาะจงบุคคลประเภทเดียวเท่านั้น คือ คนยากยากจนอนาถา ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺให้แก่บุคคลประเภทอื่นโดยเด็ดขาด นอกจากคนยากจนอนาถาเท่านั้น ซึ่งต่างกับกับซะกาตประเภทอื่นอย่างสินเชิง

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กำหนดวะกาตฟิตเราะฮฺเป็นข้อบังคับ เพื่อขัดเกล้าผู้ถือศิลอดให้บริสุทธิ์ผุดผ่องจากคำพูดที่ไร้สาระ การพูดหยาบคาย อีกทั้งยังเป็นอาหารก่คนยากจนอีกด้วย" (หะดิษหะสัน..บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1161)
ข้าวสารซากาตฟิตเราะฮฺ

เวลาจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ

บรรดานักวิชาการลงมติ การจ่ายซากาตฟิตเราะฮฺ จำเป็นจะต้องจ่ายในช่วงท้ายเดือนรอมฎอน ส่วนเวลาที่ประเสริฐที่สุด คือ ช่วงเช้าของวันอีดก่อนออกไปละหมาดอีด

 وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلاَةِ. (البخاري رقم 1407)
.... ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัมได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้าวันอีด  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1407)

รายงานจากท่านนาฟิอฺเล่าว่า
"ปรากฏว่าท่านอิบนุ อุมัรฺจะจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺก่อนวันอีดวันหนึ่ง หรือสองวัน"(หนังสือฟิกฮุสสุนนะฮฺ หน้า 373)

สำหรับเวลาที่หมดจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺนั้น เมื่ออิมามตักบิเราะตุลอิฮฺรอมละหมาดอีดิลฟิฏริ หากจ่ายหลังจากนั้นเป็นเพียงการจ่ายเศาะดะเกาะฮฺธรรมดา เท่านั้น


รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنْ الصَّدَقَاتِ

“ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดวาญิบซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อชำระความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด จากคำพูด ที่ไม่ดี และหยาบคาย และเป็นอาหารสำหรับบรรดาคนยากจน บุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺก่อนละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือซะกาต ที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺหลังจากละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือเศาะดาเกาะฮฺหนึ่งจากเศาะดาเกาะฮฺต่าง ๆ” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 1609 อิบนิมาญะฮฺ : 1827 เศาะเหี๊ยะหฺอบูดาวุดอัลบานียฺ : 1609 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนิมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1492)


การมีเจตนาเนียตจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺ

 การจ่ายซะกาต จำเป็นจะต้องมีเนียต หมายถึงเจตนาจ่ายซะกาต เช่น หากเราจ่ายซะกาตของเราเอง เราก็นึกในใจว่า “ซะกาตฟิตเราะฮของเรา” หากเราจ่ายซะกาตฟิตเราะฮของภรรยา เราก็เจตนาว่า “นี้คือฟิตเราะฮของภรรยาของเรา


อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
     
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى 
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ..."
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)

อนึง เราไม่ต้องอ่านออกมาเป็นคำพูดและไม่ต้องบอกผู้รับก็ได้ว่า แทนตัวเราหรือภรรยา อยากจะเรียนว่า “การเจตนา”หรือการเนียตนั้น มันจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เมื่อเราทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น เราจะกินข้าว เจตนามันต้องมาก่อนอยู่แล้ว ความจริง หะดิษที่กล่าวถึงการเนียต เขาหมายถึง การเจตนาบริสุทธิใจเพื่ออัลลอฮ นั้นเอง 

และอีกประการหนึ่งคือ ไม่จำเป็นต้องเอามือวางบนซะกาต ขณะจ่ายซะกาต ให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ตามที่มักจะพบบ่อยในหมู่พี่น้องมุสลิม ซึ่งกลายเป็นประเพณีไปแล้ว

มาดูส่วนหนึ่งที่เป็นคำตอบในประเด็นนี้ 

فمن أراد إخراج زكاة ماله نوى بقلبه ؛ بأن هذا المال زكاة ماله ، ولا يشرع له أن يتلفظ بالنية بلسانه . 

ผู้ใดประสงค์จะจ่ายซะกาต ทรัพย์สินของเขา ก็ให้เขาเจตนาด้วยหัวใจของเขา ว่านี้คือ ทรัพย์สิน เป็นซะกาตทรัพย์สินของเขา และไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียตด้วยวาจาของเขาแต่ประการใด

การมอบซะกาตฟิตเราะฮฺ

ทัศนะหนึ่ง เห็นว่า การนำซะกาตฟิฏเราะฮฺไปให้ด้วยตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ส่วนถ้ามัสญิดแต่งตั้งตัวแทนเก็บซะกาตฟิฏเราะฮฺ แล้วเขานำไปจ่ายก่อนละหมาดอีดให้ถึงมือแก่คนยากจนขัดสน เช่นนี้ ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้

ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวบ่งชี้ระบุเอาไว้  และแท้จริงหากเขาได้มอบซะกาตไปยังอิมามหรือเจ้าหน้าที่เก็บซะกาตหรือผู้ที่ซะกาตฟิตเราะฮ์ของผู้คนทั้งหลายได้เก็บรวบรวมไว้  ณ ที่เขา  และเจ้าของซะกาตได้อนุญาตให้เขาทำการออกซะกาตฟิตเราะฮ์  ก็ถือว่าใช้ได้แก่เขาแล้ว  แต่ทว่าการที่เขาได้แจกจ่ายซะกาตด้วยตัวเองย่อมดีกว่าจากทั้งหมดนี้"  หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ  6/138

อีกทัศนะหนึ่ง จะต้องมามอบตัวแทนที่ถูกแต่งเก็บซะกาตฟิตเราะฮฺ แล้วนำมาจ่ายคนยากจนเท่านั้น
โดยอ้างหลักฐานต่อไปนี้


รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ว่า
         وَكَّلَنِىْ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِحِفْظِ زَكَاةِ رَمَضَانَ ..
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันคอยดูแลรักษาซะกาตแห่งเดือนรอมะฎอน  ..” (บันทึกโดยท่านบุคอรีย์, หะดีษที่ 2311 .. และท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 2424)
   إِنَّ ابْنَ عُمَرَ كَانَ يَبْعَثُ بِزَكَاةِ الْفِطْرِ إِلَى الَّذِىْ تُجْمَعُ عِنْدَهُ قَبْلَ الْفِطْرِ بِيَوْمَيْنِ أَوْ ثَلاَثَةٍ
“แท้จริงท่านอิบนุอุมัรฺ  จะนำซะกาตฟิฎเราะฮ์ไปมอบให้แก่ผู้ซึ่งซะกาตฟิฎเราะฮ์ถูกรวบรวม ณ ที่เขา ก่อนวันอีดิ้ลฟิฏรี่ 2-3 วัน”(สายรายงานของหะดีษบทนี้ เศาะเฮียะฮ์(ถูกต้อง)
ท่านอัซ-ซุรฺกอนีย์ ได้อธิบายข้อความที่ว่า “ผู้ซึ่งซะกาตฟิฎเราะฮ์ถูกรวบรวม ณ เขา” ดังนี้
                               وَهُوَ مَنْ نَصَبَهُ اْلإِمَامُ لِقَبْضِهَا
“นั่นคือ ผู้ซึ่งอิหม่าม (ผู้นำ- คอลีฟะฮ์) ได้แต่งตั้งเขาเพื่อคอยรับซะกาต”
(จาก “ชัรฺหุ อัซ-ซุรฺกอนีย์”  เล่มที่ 2  หน้า 201)

รายงานจากท่านนาฟิอฺ โดยท่านอัยยูบได้ถามท่านนาฟิอฺ ดังมีข้อความว่า

   قُلْتُ : مَتىَ كَانَ ابْنُ عُمَرَ يُعْطِى الصَّاعَ ؟  قَالَ : إِذَا قَعَدَ الْعَامِلُ، قُلْتُ : مَتىَ كَانَ الْعَامِلُ يَقْعُدُ ؟ ..  قَالَ : قَبْلَ الْفِطْرِ بِيَوْمٍ أَوْ يَوْمَيْنِ
ฉัน (อัยยูบ) กล่าวว่า “ท่านอิบนุอุมัรฺ ได้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ 1 ศออฺเมื่อไร ?” ท่านนาฟิอฺตอบว่า “เมื่อ عَامِلٌ ได้นั่งลง (คือ เริ่มปฏิบัติหน้าที่)”  ท่านอัยยูบถามต่อไปว่า “แล้วเมื่อไรที่ عَامِلٌ เริ่มปฏิบัติหน้าที่ ?”  ท่านนาฟิอฺตอบว่า “ก่อนวันอีดิ้ลฟิฏรี่ 1 หรือ 2 วัน” (บันทึกโดยท่านอิบนุคุซัยมะฮ์  หะดีษที่ 2397  ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) 

والله أعلم بالصواب



วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การอิอฺติกาฟพำนักที่มัสยิด

พำนัก
อิอฺติกาฟ

อิอฺติกาฟ หมายถึง การที่บุคคลพยายามพำนักหรือเก็บตัวอยู่ในมัสยิดอย่างสงบตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้ ด้วยมุ่งมั่นในการทำอิบาดะฮฺ โดยเจตนาใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮฺ





อิมามอิบนุลก็อยยิม กล่าวไว้มีความว่า “ในเมื่อความดีเลิศอย่างต่อเนื่องของจิตใจในการมุ่งมั่นอยู่ในแนวทางของอัลลอฮฺนั้น ขึ้นอยู่กับการผินหน้าเข้าหาพระองค์องค์เดียว ทั้งนี้เพราะการสับสนของจิตใจจะรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียวไม่ได้นอกจากการหันหน้าเข้าหาอัลลอฮฺเท่านั้น"


หลักบทบัญญัติในการอิอฺติกาฟ

การอิอฺติกาฟมีสุนนะฮฺให้กระทำในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน หรือ 20 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน


รายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า

( كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعْتَكِفُ في كُلِّ رَمَضَانَ عَشَرَةَ أَيَّامٍ
فَلَمَّا كَانَ العَامُ الَّذِيْ قُبِضَ فِيْهِ اعْتَكَفَ عِشْرِيْنَ يَوْمَاً )
رواه البخاري ومسلم

ความว่า  “ท่านรสูลุลลอฮฺ ได้ทำอิอฺติกาฟในทุกเดือนรอมฎอนเป็นเวลาสิบวัน ต่อมาในปีที่ท่านเสียชีวิตท่านได้ทำเอี๊ยะอฺติก๊าฟเป็นเวลา 20 วัน”   (บันทึกโดย “ อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)


การอิอฺติกาฟเป็นสุนนะฮฺ แต่เป็นวาญิบสำหรับผู้บนบาน


ท่านอิบนุมุนซิรฺ ได้กล่าวในหนังสือ(อัลอิจญฺมาอฺ)ของท่าน(หน้า 53)ว่า

"وأجمعوا على أن الاعتكاف سنة لا يجب على الناس فرضا إلا أن يوجبه المرء على نفسه نذرا فيجب عليه" اهـ

ความว่า “และบรรดาอุละมาอฺได้มีมติเอกฉันท์ว่าการอิอฺติกาฟนั้นเป็นสุนนะฮฺไม่ใช่เป็นสิ่งที่วาญิบแก่มุสลิม นอกจากว่าเขาจะจงใจทำให้มันเป็นสิ่งวาญิบสำหรับเขาด้วยการนะซัรฺ(บนบาน) เช่นนั้นแล้วจึงถือเป็นสิ่งวาญิบแก่เขา”


รายงานจากท่านอุมัรฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)เคยกล่าวกับท่านนบีว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ ، إِنِّي نَذَرْتُ فِي الْجَاهِلِيَّةِ أَنْ أَعْتَكِفَ لَيْلَةً فِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ . قَالَ : « أَوْفِ بِنَذْرِكَ »

ความว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงฉันเคยบนบานไว้ก่อนที่ฉันจะเข้ารับอิสลามว่าฉันจะทำการอิอฺติกาฟในมัสญิดอัลหะรอมหนึ่งคืน  ท่านนบีตอบว่า “ท่านจงปฏิบัติตามคำบนบานของท่านเถิด” [รายงานโดยอัลบุคอรี (6697)]


และอิอฺติกาฟถูกบัญญัติขึ้นเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เพื่อแสวงหาคืนลัยละตุลก็อดรฺ ทั้งท่านนบีไม่เคยอิอฺติกาฟอื่นจากเดือนรอมฎอนเลย แต่สำหรับผู้ที่บนบานว่าจะอิอฺติกาฟในเดือนอื่นจากเดือนรอมฎอน เช่นนี้ก็อนุญาตให้เขาทำอิติกาฟที่มัสยิด แม้ว่าจะไม่อยู่ในเดือนรอมฎอนก็ตาม


ข้อกำหนดในการอิอฺติกาฟ

1) ต้องการเนียตตั้งเจตนาอิอฺติกาฟเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ

อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
       
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى 
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ..."
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)

2) ต้องอิอฺติกาฟที่เป็นมัสยิดเท่านั้น


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ»

ความว่า “และท่านทั้งหลายอย่าร่วมประเวณีกับภรรยาของพวกท่าน ขณะที่พวกท่านอยู่ในมัสยิด (โดยตั้งเจตนาอิอฺติกาฟ)” [อัลบะเกาะเราะฮฺ: 167]

อายะฮ์ข้างต้นระบุถึงมัสยิดทั่วๆไป เพราะสำนวนของอายะฮฺใช้คำว่า "บรรดามัสยิดต่างๆ"

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَعَهِدْنَا إِلَى إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ أَنْ طَهِّرَا بَيْتِيَ لِلطَّائِفِينَ وَالْعَاكِفِينَ وَالرُّكَّعِ السُّجُودِ»

ความว่า “และเราได้บัญชาให้อิบรอฮีมและอิสมาอีลทำความสะอาดบ้านของเรา เพื่อพวกที่เฏาะวาฟ พวกที่พำนักอยู่ (อิอฺติกาฟ) และพวกที่รุกูอฺสุญูด” [อัลบะเกาะเราะฮฺ: 125]



3) ผู้ที่อิอฺติกาฟ ต้องเป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ ปราศจากญุนุบ เลือดประจำเดือน และเลือดหลังคลอดบุตร

การเริ่มต้นอิอฺติกาฟ

นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ให้เริ่มต้นอิอฺติกาฟในคืนที่ 21 เดือนรอมฎอน โดยไม่ใช่เข้าอิอฺติกาฟหลังละหมาดศุบฮฺในวันที่ 21 เดือนรอมฎอน
แต่มีนักวิชาการบาวส่วนมีทัศนะว่า "ให้เริ่มต้นอิอฺติกาฟหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺแล้ว

โดยอ้างหลักฐาน รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า
"เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการอิอฺติกาฟ ท่านรสูลละหมาดศุบฮฺ จากนั้นท่านรสูลก็เข้าอิอฺติกาฟ"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2842 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

ซึ่งหะดิษข้างต้น ทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่า "ท่านรสูล ปลีกตัวจากผู้คนภายนอกหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ แต่ท่านนบีจะเนียตอิอฺติกาฟในช่วงกลางคืน เพราะการเริ่มต้นนับวันใหม่ของสิบคืนสุดท้าย ต้องภายหลังดวงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าของวันที่ 20 เท่านั้น" (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา ชัย อิบนุษัยมีน" เล่ม 20 หน้า 170)

สิ่งทีอนุญาตให้ผูทำอิอฺติกาฟกระทำ

ศาสนาอนุญาตให้ผู้ที่อิอฺติกาฟออกจากมัสญิดที่พำนักอยู่เพื่อถ่ายทุกข์ อาบน้ำละหมาด ละหมาดวันศุกร์ กิน ดื่ม และอื่นๆ เช่น เยี่ยมคนป่วย หรือเดินตามญะนาซะฮฺ (ศพ) ของผู้ที่มีพระคุณหรือมีสิทธิต่อเขา เช่นพ่อแม่ ญาติใกล้ชิด เป็นต้น

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า
"ปรากกว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยื่นศีราะมายังฉัน(ห้องติดกับมัสยิด) ในขระที่ท่านรสูล(อิอฺติกาฟ) ในมัสยิด เช่นนั้นฉันก็สระผมให้แก่ท่านรสูล ซึ่งปรากฏว่าท่านรสูลจะไม่เข้าบ้าน นอกจากความจำเป็น ขณะที่ท่านรสูลอิอฺติกาฟ" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 2029)

สิ่งที่ทำให้เสียอิอฺติกาฟ

1) การออกจากมัสยิดโดยเจตนา ซึ่งไม่มีธุระใด ที่ศาสนาอนุโลมให้ออกนอกมัสยิด เพราะการพำนักอยู่ในมัสยิดเป็นรุก่นของการอิอฺติกาฟ

2)การร่วมเพศขณะอิอฺติกาฟที่มัสยิด


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ»

ความว่า “และท่านทั้งหลายอย่าร่วมประเวณีกับภรรยาของพวกท่าน ขณะที่พวกท่านอยู่ในมัสยิด (โดยตั้งเจตนาอิอฺติกาฟ)” [อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ: 167]


3) ผู้อิอฺติกาฟตกศานา(มุรฺตัด)

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَلَقَد أوحِىَ إِلَيكَ وَإِلَى الَّذينَ مِن قَبلِكَ لَئِن أَشرَكتَ لَيَحبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكونَنَّ مِنَ الخٰسِرينَ 

"และโดยแน่นอน ได้มีวะฮียฺมายังเจ้า (มุฮัมมัด) และมายังบรรดานะบีก่อนหน้าเจ้าหากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัซซุมัรฺ 39:65)


อนุญาตให้มุสลิมะฮฺอิอฺติกาฟที่มัสยิด


รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮา)กล่าวว่า

«كَانَ يَعْتَكِفُ الْعَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللَّهُ ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ»

ความว่า“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน  ต่อมาบรรดาภรรยาของท่านได้ทำการอิอฺติกาฟ  ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไป”  [บันทึกโดยอัลบุคอรี (2026) และมุสลิม (1172)]


เงื่อนไขที่ศาสนาอนุญาตให้มุสลีมะฮฺอิอฺติกาฟที่มัสยิด
1)ต้องได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน
2)ต้องไม่มีฟิตนะฮฺใดๆขณะอิอฺติกาฟที่มัสยิด เช่น ต้องสำรวมต่อเพศตรงข้าม ต้องระวังเรื่องเอาเราะฮฺของนาง



والله أعلم بالصواب









วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จะตามนบีหรือบรรพบุรุษ

อย่าให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นในมุสลิมบ้านเราเช่นนี้อีก

เหตุมีการละหมาด 2 ญามะอะฮฺ ในมัสยิดเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้น
ณ มัสยิดกิ่งเพชร ซอย 7  ถนนเพชรบุรี  มัสยิด ดารุลอะมาน พยาไท และมัสยิดอื่นๆ เช่น ที่มัสยิดอัลฮูดา คลองสามประเวศ

สำหรับมัสยิดกิ่งเพชร คณะกรรมการปะปนกันระหว่างฝ่ายสุนนะฮ์ที่เรียกตนเองว่าคณะเก่าและกับสุนนะฮฺที่คณะเก่าเรียกว่าคณะใหม่

ปัญหาเวลาเข้าเวลาละหมาด ผู้ทำหน้าที่ตำแหน่งเป็นอิมาม

ผู้ที่สร้างปัญหา คือเมื่อมีการอิกอมะฮฺแล้ว หากอิมามประจำไม่อยู่ ฝ่ายสุนนะฮที่ถูกเรียกว่าคระใหม่ก็ขึ้นไปเป็นอิมามแทน

ฝ่ายสุนนะฮ์ที่เรียกตนเองว่าคณะเก่าได้มาหลังจากนั้น ก็ไม่ยอมละหมาดตาม แต่กลับไปตั้งญามะอะฮฺซ้อนในขณะเดียวกัน แล้วแข่งกันอ่านซ้อนกันวุ่นวาย

หากฝ่ายสุนนะฮฺที่เรียงตัวเองว่าสายเก่ามาก่อนจะไม่มีปัญหา ฝ่ายสุนนะฮฺที่ถูกเรียกว่าสายใหม่ ก็จะตามพวกเขาได้ แต่เวลาที่สุนนะฮฺถูกเรียกว่าสายใหม่มาก่อน พวกเขาจะไม่ตาม

ก็ได้มีตัวแทนของชาวสุนนะฮฺที่ถูกเรียกว่าสายใหม่ได้เข้าไปสอบถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ที่ทำให้มัสยิดแตกแยกกันอย่างนี้ ก็ได้คำตอบว่า ทางฝ่ายสุนนะฮฺที่ถูกเรียกว่าสายใหม่ละหมาด อ่านไม่เหมือนบรรพบุรุษ ที่พวกเขาทำสืบกันมา

การตามอะฮฺลิสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮฺ กรณีไม่ให้ละหมาดตามคนคนหนึ่งได้นั้น ก็คือ ผู้นั้นเป็นผู้ทำบิดอะฮฺ เป็นผู้ต่อต้านอะฮฺลิสสุนนะฮฺแล้ว อย่างเช่นอิมามอะหมัดไม่ให้ละหมาดตามหลังยามียะฮฺ พวกที่ร้ายแรงมาก  คำถามว่าการละหมาดฝ่ายสุนนะฮฺถูกเรียกว่าสายใหม่ร้ายแรงจนถึงขั้นพวกเขาละหมาดตามไม่ได้เลยกระนั้นหรือ?

การที่พวกเขาทำตามปู่ย้าตายาย หากปู่ย่าตายายตามสุนนะฮฺมาแล้ว ก็ไม่มีปัญหา แต่ก็ทราบกันดีว่าตามสุนนะฮฺหรือไม่ ซึ่งร้อยประเทศ ร้อยปู่ย่าตายาย แต่นบีมีคนเดียว เพราะฉะนั้นอย่าไปหวังปู่ย่าตายาย

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน เมื่อทางนำมายังพวกเขา พวกเขาจะตามปู่ย่าตายายกระนั้นหรือ     ?
พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

وَإِذا قيلَ لَهُمُ اتَّبِعوا ما أَنزَلَ اللَّهُ قالوا بَل نَتَّبِعُ ما أَلفَينا عَلَيهِ ءاباءَنا ۗ أَوَلَو كانَ ءاباؤُهُونَ  

"และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่าจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาเถิดพวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ เราจะปฏิบัติสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้นและแม้ได้ปรากฏว่า บรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใด และทั้งไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องก็ตามกระนั้นหรือ?"(อัลกุรอาน สูเราะฮิอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:170)


بَل قالوا إِنّا وَجَدنا ءاباءَنا عَلىٰ أُمَّةٍ وَإِنّا عَلىٰ ءاثٰرِهِم مُهتَدونَ

 "เปล่าเลย พวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้นเราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขา" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัซซุครุฟ 43:22)


พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

وَإِذَا فَعَلُوا فَاحِشَةً قَالُوا وَجَدْنَا عَلَيْهَا آبَاءَنَا وَاللَّهُ أَمَرَنَا بِهَا قُلْ إِنَّ اللَّهَ لَا يَأْمُرُ بِالْفَحْشَاءِ أَتَقُولُونَ عَلَى اللَّهِ مَا لَا تَعْلَمُونَ ( 28 ) 

"และเมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจ พวกเขาก็กล่าวว่า พวกเราได้พบเห็นบรรดาบรรพบุรุษของพวกเราเคยกระทำมา และอัลลอฮฺก็ทรงใช้พวกเราให้กระทำมันด้วย จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงใช้ให้กระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจดอก พวกท่านจะกล่าวให้ร้ายแก่อัลลอฮฺในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้กระนั้นหรือ?" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ 7:28)


 อิสลามไม่ใช่อยู่ที่ปู่ย่าตายาย แต่อยู่ที่นบี หากปู่ย่าตายายไม่เหมือนนบีก็เปลียนแปลง อย่ามองว่าปู่ย่าตายายเป็นะมะอฺซูมไม่มีความผิด อัลลอฮฺทรงประนามผู้ที่ตามปู่ย่าตายายโดยไม่ลืมหูลืมตา ตามอย่างเดียว เหมือนศาสนาไม่ได้มาจากท่านนบีเสียแล้ว

สำหรับบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายายของเรา พวกเขาก็ได้ปฏิบัติตามที่พวกเขาได้รับมา สิ่งที่เขาทำมาอัลลอฮจะสอบสวนเท่าที่เขาเหล่านั้นรับข้อมูลมา รับแหล่งเรียนรู้มาเท่าที่พวกเขามีความสามารถ เท่าที่พวกเขาแสวงหา  อัลลอฮทรงยุติธรรมกับปวงบ่าวเสมอ แต่สำหรับเรา เมื่อทราบแล้วว่าสิงที่เราปฎิบัติกันอยู่บางอย่างไม่มีหลักฐานรองรับ แล้วเรายังจะฝืนปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานรองรับอีกกระนั้นหรือ?

จึงขอให้ชาวสุนนะฮฺที่เรียกตัวเองว่าคณะเก่าในมัสยิดดังกล่าว ยุติและเลิกทำสิ่งเหล่านี้ หากจะให้ตามพวกเขาก็ให้มามัสยิดเร็วๆ ให้มาก่อนอาซาน แล้วชาวสุนนะฮฺที่ถูกเรียกว่าสายใหม่จะละหมาดตามพวกเขา

อย่าสร้างปัญหาเหมือนพวกมุนาฟิกสมัยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ใช้มัสยิด สร้างความแตกแยก

พระองค์อัลลอฮิทรงตรัสว่า

وَالَّذينَ اتَّخَذوا مَسجِدًا ضِرارًا وَكُفرًا وَتَفريقًا بَينَ المُؤمِنينَ وَإِرصادًا لِمَن حارَبَ اللَّهَ وَرَسولَهُ مِن قَبلُ ۚ وَلَيَحلِفُنَّ إِن أَرَدنا إِلَّا الحُسنىٰ ۖ وَاللَّهُ يَشهَدُ إِنَّهُم لَكٰذِبونَ 
"และบรรดาผู้ที่ยึดเอามัสยิดหลังหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเดือดร้อนและปฉิเสธศรัทธาและก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างบรรดามุอ์มินด้วยกัน และเป็นแหล่งส้องสุมสำหรับผู้ที่ทำสงครามต่อต้านอัลลอฮ์และร่อซุลของพระองค์มาก่อนและแน่นอนพวกเขาจะสาบานว่า เราไม่มีเจตนาอื่นใดนอกจากที่ดี และอัลลอฮ์นั้นทรงเป็นพยานยืนยันว่า แท้จริงพวกเขานั้นเป็นพวกกล่าวเท็จอย่างแน่นอน" (อัตเตาบะฮฺ 9 อายะฮฺที่107 )



ความเป็นอันหนึ่งของคนรุ่นก่อน

สำหรับความแตกต่างทางด้านร่องรอย ซึ่๋งบรรดาศ่อหะบะฮฺ และนักวิชาการหลังจากนั้น ทั้งๆที่มีความขัดแย้งกันของพวกเขาที่เป็นที่รู้จักกัน ในสาขาต่าง ๆแพวกเขาก็มีความรักษาในโฉมหน้าของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ห่างไกลอย่างที่สุดจากสิ่งที่ทำให้เกิดการแตกแยกและก่อให้เกิดความร้าวฉานในหมู่คณะ อาทิเช่น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่เห็นว่า มีการบัญญัติให้อ่านบิสมิลลาฮฺดัง และมีผู้เห็นว่าไม่มีบัญญํติให้อ่านบิสมิลละฮฺดัง และในหมู่พวกเขามีผู้ที่เห็นว่า มีการชอบให้ยกสองมือขึ้น และมีผู้ที่ไม่เห็นว่า มีการชอบให้ยกมือทั้งสองขึ้น และในหมู่พวกเขามีผู้เห็นว่า น้ำละหมาดจะเสียด้วยกระทบหญิง และมีผู้ที่ไม่เห็นว่าน้ำละหมาด จะเสียด้วยการกระทบผู้หญิง พร้อมกันนั้น พวกเขาทั้งหมดก็ละหมาดตามหลังอิมามคนเดียวกัน  ไม่มีคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขาหยุดยั้งจากการละหมาดหลังอิมาม เนื่องจากความแตกต่างในแนวความคิด

ส่วนผู้ลอกเลียนแบบนั้น การขัดแย้งของพวกเขา ก็ตรงกันข้ามกัน ที่กล่าวมาทุกประการ และสิ่งที่เกิดร่องรอยของมัน คือ บรรดามุสลิมจะแตกแยกกันในหลักใหญ่ที่สุด หลังจากการกล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วอันนั้นคือ การละหมาด พวกเขาปฏิเสธที่จะละหมาดพร้อมกันหลังอิมามคนเดียวกัน ด้วยข้ออ้างว่า การละหมาดของอิมามใช้ไม่ได้ หรืออย่างน้อยเป็นสิ่งน่าเกลียด ด้วยการอ้างถึงผู้ที่เขาขัดแย้งด้วย ในแนวคิดของเขา และผลที่เกิดขึ้นจากการนั้น ก็คือ จะพบว่ามีสี่เมี๊ยะหฺรอบ ในมัสยิดกลาง โดยที่จะมีอิมามสี่คนละหมาดในนั้น โดยต่อกัน และจะพบผู้คนจำนวนมากคอยอิมามของพวกเขา ในขณะผู้อื่นกำลังยืนละหมาดอยู่

นอกจากนั้นการขัดแย้งได้ไปถึงขั้นร้ายแรงไปกว่านั้นในพวกเขา  ตัวอย่าง เช่น การห้ามแต่งงานระหว่างผู้ยึดถือแนวความคิดของอิมามหะนาะฟีย์ กับผู้ที่ยึดถือแนวความคิดของอิมามชาฟิอีย์ หลังจากนั้นได้มีการชีขาดปัญหาศาสนาออกมาจากผู้มีชื่อเสียงของพวกเขาบางคนผู้ยึดแนวความคิดของอิมามอบูหะนีฟะฮฺ ได้อนุญาตให้ชายที่ยึดถือแนวความคิด(มัซฮับ) ของอิมามอบูหะนีฟะฮฺแต่งงานกับหญิงผู้ยึดแนวความคิดของอิมามชาฟิอีย์ และได้ให้เหตุผล ในเรื่องดังกล่าวด้วยถ้อยคำกล่าวของเขาว่า เป้นการลดเธอลงมาอยู่ในตำแหน่งของพวกผู้ได้รับคัมภีร์เหมือนกัน (ยะฮูดีย์ นัศรอนีย์) และไม่อนุญาตทำกลับกัน กล่าวคือ ไม่อนุญาตชายที่ยึดถือมัซฮับชาฟิอีย์แต่งงานกับหญิงที่ยึดถือมัซฮับของอิมามหะนาฟีย์ เหมือนกับที่ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ได้รับคัมภีร์เหมือนกัน(ยิว , คริสต์)แต่งงานกับหญิงมุสลิมมะฮฺ

นี้คือตัวอย่างที่เป็นผลการขัดแย้งของพวกผู้คนรุ่นหลัง ซึ่งตรงกันข้ามกับการขัดแย้งของบรรดาคนรุ่นก่อน

จึงขอร้องขอความร่วมมืออย่าให้เกิดเรื่องเช่นนี้ในมัสยิดบ้านเราอีกเลย โปรดมองกลับไปยังคนรุ่นก่อนที่เขามีความขัดแย้งในแนวความคิดข้อบัญญัติศาสนาบางประการ แต่พวกเขาก็ยังละหมาดตามอิมามคนเดียวกันได้เลย และโปรดนำการตัดสิ้นความขัดแย้งนั้นกลับไปยังพระองค์อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์เถิด
พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

فَلا وَرَبِّكَ لا يُؤمِنونَ حَتّىٰ يُحَكِّموكَ فيما شَجَرَ بَينَهُم ثُمَّ لا يَجِدوا فى أَنفُسِهِم حَرَجًا مِمّا قَضَيتَ وَيُسَلِّموا تَسليمًا 
"มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความ คับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนิสาอฺ 4:65)

والله أعلم بالصواب

คลิปละหมาดตะรอเวียะฮ์ 2 ญามะอะฮฺในมัสยิดเดียวกัน
เป็นคลิปที่มัสยิดอัลฮูดา คลองสามประเวศ กรุงเทพ กดเข้าไปดู


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อทำตามสุนนะฮฺกลายเป็นสิ่งแปลก

เมื่อตามสุนนะฮฺเป็นของแปลกไปเสียแล้ว


ในสังคมมุสลิมของเรา เรามักจะเจอปัญหาต่อไปนี้บ่อยคือ ใครปฏิบัติตามสุนนะฮ มักจะถูกมองว่า แปลกแยก ,และเป็นผู้ที่แปลก ไม่เหมือนคนอื่น ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่ได้รับความรู้และข้อเท็จจริงในสิ่งดังกล่าว






ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
‏ بَدَأَ الإِسْلامُ غَرِيبًا ، وَسَيَعُودُ كَمَا بَدَأَ غَرِيبًا ، فَطُوبَى لِلْغُرَبَاءِ
"อิสลามนั้นเริ่มมาในสภาพที่แปลก และมันจะกลับมาใหม่ในสภาพที่แปลก(เหมือนเมื่อตอนแรกเริ่ม) ดังนั้น ขอความจำเริญจงมีแด่ อัลฆุเราะบาอ์ ...( ผู้ที่ถูกหาว่าแปลกทั้งหลาย") ( รายงานโดยมุสลิม)

روى عبد الله بن المبارك في كتابه "الزهد" عن عبد الله بن عمرو بن العاص قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم طوبى للغرباء قيل ومن الغرباء يا رسول الله؟ قال ناس صالحون قليل في ناس سوء كثير، ومن يعصيهم أكثر ممن يطيعهم
อับดุ้ลลอฮ บุตร อัลมุบารอ็ก ได้รายงานไว้ในหนังสือของท่าน "อัซซุฮ"ว่า รายงานจากอับดุ้ลลอฮ บุตร อัมริน บุตร อัลอาศ กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า " ขอความจำเริญจงมีแด่ อัลฆุเราะบาอ์ " มีผู้กล่าวว่า "และอัลฆุเราะบาอฺ คือ ผู้ใด โอ้ทานรซูลลุ้ลลอฮ? ท่านกล่าวตอบว่า " บรรดาคนดีที่มีจำนวนน้อย ที่อยู่ในท่ามกลางคนชั่วที่เป็นคนหมู่มาก และ ผู้ที่ฝ่าฝืน พวกเขา มากกว่า ผู้ที่เชื่อฟังพวกเขา " (ซิลซิละฮ อัลอะหาดิษุษเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 1619)
มีคำอธิบายว่า

فهو غريب في دينه لفساد أديانهم، غريب في تمسكه بالسنة لتمسكهم بالبدع، غريب في اعتقاده لفساد عقائدهم، غريب في صلاته لسوء صلاتهم، غريب في طريقه لضلال وفساد طرقهم"
แล้วเขาคือ คนแปลกหน้าในศาสนาของเขา เพราะศาสนาของพวกเขาเหล่านั้นผิดพลาด ,เขาเป็นคนแปลกหน้าในการที่เขายึดถืออัสสุนนะฮ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ยึดถือ บิดอะฮ, เขาเป็นคนแปลกหน้าในหลักความเชื่อของเขา เพราะหลักความเชื่อของพวกเขาเหล่านั้นผิดพลาด .เขาเป็นคนแปลกหน้าในละหมาดของเขา เพราะการละหมาดของพวกเขาเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ,เขาเป็นคนแปลกหน้า ในแนวทางของเขา เพราะแนวทางของพวกเขาเหล่านั้น หลงผิดและผิดพลาด - มัดรอญุสสาลิกีน เล่ม 3 หน้า 194

คำอธิบายข้างต้นสรุปได้ว่า 

1. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ยึดถือศาสนาแบบผิดๆ คนที่ปฏิบัติถูกต้อง ก็จะกลายเป็นคนแปลก 
2. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ทำบิดอะฮ คนที่ดำเนินตามสุนนะฮ ก็จะกลายเป็นคนแปลก 
3. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่มีหลักความเชื่อผิดพลาด คนที่มีความความเชื่อ(อะกีดะฮ)ที่ถูกต้องก็จะกลายเป็นคนแปลก 
4. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ปฏิบัติละหมาดไม่ถูกต้อง คนที่ละหมาดถูกต้อง ก็จะกลายเป็นคนแปลก 

ตัวอย่าง สิ่งที่สังคมมักมองว่าแปลก 

1. การอาบน้ำละหมาดในระหว่างอาบน้ำญะนาบะฮ เพราะคนในสังคมส่วนใหญ่อาบน้ำละหมาดหลังจากเสร็จจากอาบน้ำญะนาบะฮ ทั้งๆที่มี

รายงานจากอะอีฉะฮ เราะดิยัลลอฮุอันฮูว่า

أن النبيَّ صلى الله عليه وسلم كان إذا اغتسل من الجنابة، يبدأ فيغسل يديه، ثم يفرغ بيمينه على شماله، فيغسل فرجه، ثم يتوضأ وضوءه للصلاة، ثم يأخذُ الماء، فيدخل أصابعه في أصول الشّعرِ، حتى إذا رأى أنْ قد استبرأ ، حفن على رأسه ثلاث حَفنات، ثم أفاض على سائر جسده. رواه البخاري، ومسلم
แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อท่านอาบน้ำญะนาบะฮ ท่านจะเริ่มล้างมือของท่านทั้งสองก่อน หลังจากนั้น ท่านจะวักน้ำด้วยมือขวา ใส่ลงในมือซ้าย แล้วท่านล้างอวัยวะเพศของท่าน หลังจากนั้นท่านอาบน้ำละหมาด เหมือนการอาบน้ำละหมาด เพื่อละหมาด หลังจากนั้น เสร็จจากนั้นท่านได้วักน้ำแล้วเอาบรรดานิ้วมือของท่านเสยเข้าไปใต้รากผม จนกระทั้งเมื่อเห็นว่าน้ำทั่วศีรษะแล้ว ท่านก็รดน้ำลงบนศีรษะ 3 ครั้ง หลังจากนั้นท่านก็รดน้ำลงบนร่างกายของท่านจนทั่ว  (บันทึกโดย บุคอรีและมุสลิม)

2. ผู้หญิงละหมาดญะนาซะฮ ถูกมองว่า เป็นเรื่องแปลก และ เป็นการละหมาดของพวกวะฮบีย์
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
إذا حضرت النساء مع الرجال لصلاة الجنازة ، صّلَّين مقتديات بالإمام ، وكان صفهن خلف صف الرجال ، كما في صلاتهن مع الرجال في الصلاة المكتوبة ، هكذا قال الشافعية.( المجموع شرح المهذب للنووي : 4/170
เมื่อบรรดาผู้หญิงมาละหมาดญะนาซะฮ พร้อมกับผู้ชาย ก็ให้พวกนาง เป็นผู้ตามอิหม่าม และให้แถวของพวกนางอยู่หลังแถวของบรรดาผู้ชาย เหมือนในละหมาดของพวกนางพร้อมกับบรรดาผู้ชายในละหมาดฟัรดู นักวิชาการแนวชะฟิอียะฮได้กล่าวไว้เช่นนี้ – ดู อัลมัจญมัวะ ชัรหุลมุหัซซับ ของอิหม่ามนะวาวีย เล่ม 4 หน้า 170

ท่านสัยยิดสาบิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
يجوز للمرأة، أن تصلي على الجنازة مثل الرجل؛ سواء صلت منفردة، أو صلت مع الجماعة، فقد انتظر عمر أم عبد الله، حتى صلت عَلى عتبة. وأمرت عائشة، أن يؤتى بسعد بن أبي وقاص؛ لتصلي عليه(1
อนุญาตให้ผู้หญิงละหมาดญะนาซะฮได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ไม่ว่านางจะละหมาดคนเดียวหรือละหมาดพร้อมกับหมู่คณะ ก็ตาม แท้จริง ท่านอุมัร เคยรอให้อุมมิอับดิลละฮ จนนางละหมาดให้แก่อุตบะฮเสร็จ และท่านหญิงอาอีฉะฮ เคยใช้ให้นำศพสะอัด บิน อบี วักกอศมา เพื่อที่นางจะละหมาดญะนาซะฮ ให้แก่เขาด้วย (1)

وقال النووي: وينبغي أن تسن لهن الجماعة، كما في غيرها. وبه قال الحسن بن صالح، وسفيان الثوري، وأحمد، والأحناف. وقال مالك: يصلين فرادى
และอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า “ ซุนนะฮให้พวกนางละหมาดญะนาซะฮร่วมกัน เหมือนในละหมาดอื่น ,อัลหะซัน บิน ศอลิห์,อัษเษารีย์,อะหมัดและกลุ่มหะนะฟีย์ ก็ได้ถือตามนี้ และ มาลิก กล่าวว่า พวกนางต้องต่างคนต่างทำ” ดู หนังสือ ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 451

3. ลูบศีรษะครั้งเดียวและลูบทั่วศีรษะในการอาบน้ำละหมาด กลายเป็นสิ่งแปลก

มาดูฟัตวาอัลลุจญนะฮอัดดาอิมะฮฯ เล่ม 5 หน้า 277 กล่าวว่า
الواجب مسح جميع الرأس في الوضوء ؛ لقوله تعالى : ( وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ ) ولما أخرجه البخاري ومسلم عن عبد الله بن زيد بن عاصم رضي الله عنهما في صفة الوضوء قال : ( ومَسَحَ رسول الله صلى الله عليه وسلم بِرَأْسِهِ فَأَقْبَلَ بِيَدَيْهِ وَأَدْبَرَ ) , وفي لفظ لهما : ( بدأ بمقدم رأسه حتى ذهب بهما إلى قفاه , ثم ردهما إلى المكان الذي بدأ منه ) " انتهى
วาญิบต้องลูบทั้งหมดของศีรษะ ในการอาบน้ำละหมาด เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
(และพวกเจ้าจงลูบศีรษะของพวกเจ้า “) และสิ่งที่บุคอรีและมุสลิม ได้บันทึกจากอับดุลลอฮ บิน เซด บิน อาศิม เราะดิยัลลอฮุอันฮู ใน ลักษณะการอาบน้ำละหมาด โดยกล่าวว่า
ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลูบศีรษะของท่าน โดยลูบไปข้างหน้าและกลับมาทางด้านหลัง) และในสำนวนของทั้งสอง(บุคอรีและมุสลิม) ระบุว่า(โดยเริ่มลูบจากด้านหน้าของศีรษะของท่าน พาไปทางท้ายทอยทั้งสองของท่านแล้วลูบกลับมาที่เดิม “


4. ผู้หญิงละหมาดวันศุกร์ กลายเป็นเรื่องแปลก และ กลายเป็นพวกวะฮบีย์โดยไม่รู้ตัว
ما حكم أداء المرأة لصلاة الجمعة ، وهل تكون قبل أو بعد صلاة الرجال أو معهم ؟
لا تجب الجمعة على المرأة لكن إذا صلت المرأة مع الإمام صلاة الجمعة فصلاتها صحيحة ، وإذا صلت في بيتها فإنها تصلي ظهراً أربعاً ، ويكون بعد دخول الوقت ، أي بعد زوال الشمس ، ولا يجوز أن تصلي الجمعة لما تقدم

ผู้หญิงละหมาดญุมอัต มีหุกุมว่าอย่างไร? พวกนางจะละหมาดก่อนหรือ หลังจากผู้ชาย หรือว่า ละหมาดพร้อมกัน?
ตอบ
การละหมาดญุมอัตไม่วาญิบแก่ผู้หญิง แต่ว่า เมื่อผู้หญิงละหมาดญุมอัตพร้อมกับอิหม่าม การละหมาดของนางก็ใช้ได้ และเมื่อนางละหมาดที่บ้านของนาง ก็ให้นางละหมาดซุฮรีสี่รอกาอัต และให้ละหมาดหลังจากเข้าเวลาแล้ว หมายถึง หลังจากตะวันคล้อย และไม่อนุญาตให้นางละหมาดญุมอัต เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว – ดู ฟะตาวา อัลลุจญนะฮอัดดาอิมะฮฯ เล่ม 8 หน้า 212 ฟัตวาหมายเลข 4147

_والله أعلم بالصواب
_
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม

คัดลอกจาก http://www.moradokislam.org/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=15375#15375