อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมวันอีด อีดิลฟิฏริ

วันอีด

วันอีด เป็นวันที่สำคัญทางศาสนาอิสลามซึ่งได้ถูกตราบัญญัติขึ้นในปีแรกแห่งฮิจญเราะฮฺศักราช  ซึ่งวันอีดในอิสลามมีเพียง 2 วัน คือ วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮา วันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮามีเกียรติยิ่งกว่าวันอีดใดๆ ของมวลมนุษยชาติในโลกนี้ และการส่งเสริมวันอีดอันนอกเหนือจากวันอีดิลฟิฏรฺและวันอีดิลอัฎฮาถือว่าเป็นการผิดต่อซุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺ


عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)

ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้งสองวันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)


-กล่าวตักบีรฺ

วันอีดิลฟิฏริ ให้กล่าวตั้งแต่เมื่อเห็นหรือทราบข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว ไปจนกระทั่งยืนเพื่อละหมาดอีดิลฟิฏริ เมื่อให้สลามในละหมาดอีดอิดิลฟิฏริแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวตักบีรฺอีก(เฉพาะอิดิลฟิฏริ)

โดยการกล่าว
الله أكبر الله أكبر ، لا إله إلا الله ، الله أكبر ، الله أكبر ولله الحمد

อ่านว่า : อัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ วะลิลลาฮิลหัมด์"

ความหมาย : อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น"

 -จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺในวันอีดิ้ลฟิฏริ


ก่อนที่จะละหมาดอีดิ้ลฟิตริ วาญิบมุสลิมทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏริด้วยกับการแจกอาหารท้องถิ่น ให้กับผู้ยากจน
   ดังที่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنْ الصَّدَقَاتِ

“ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดวาญิบซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อชำระความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด จากคำพูด ที่ไม่ดี และหยาบคาย และเป็นอาหารสำหรับบรรดาคนยากจน บุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺก่อนละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือซะกาต ที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺหลังจากละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือเศาะดาเกาะฮฺหนึ่งจากเศาะดาเกาะฮฺต่าง ๆ” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 1609 อิบนิมาญะฮฺ : 1827 เศาะเหี๊ยะหฺอบูดาวุดอัลบานียฺ : 1609 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนิมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1492)


สุนนะฮฺให้ละหมาดวันอีดที่มุศ็อลลา (สนามละหมาด)


عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَخْرُجُ يَوْمَ الْفِطْرِ وَالأَضْحَى إِلَى الْمُصَلَّى، فَأَوَّلُ شَيْءٍ يَبْدَأُ بِهِ الصَّلاَةُ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ فَيَقُومُ مُقَابِلَ النَّاسِ وَالنَّاسُ جُلُوسٌ عَلَى صُفُوفِهِمْ فَيَعِظُهُمْ وَيُوصِيهِمْ وَيَأْمُرُهُمْ، فَإِنْ كَانَ يُرِيدُ أَنْ يَقْطَعَ بَعْثًا قَطَعَهُ، أَوْ يَأْمُرَ بِشَيْءٍ أَمَرَ بِهِ، ثُمَّ يَنْصَرِفُ.  (البخاري رقم 903)

ความว่า จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอีดิลฟิฏรฺและอีดิล อัฎฮาที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) สิ่งแรกที่ท่านทำคือการละหมาด หลังจากนั้นท่านก็จะผละจากที่นั่ง และลุกขึ้นหันไปยังผู้คนที่กำลังนั่งอยู่ในแถวของพวกเขา แล้วท่านก็จะกล่าวคำตักเตือนพวกเขา สั่งเสียพวกเขา กำชับพวกเขา ถ้าหากท่านต้องการส่งกองทัพไปยังที่ใดที่หนึ่งท่านก็จะสั่งตรงนั้นหรือถ้าหากต้องการสั่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดท่านก็จะทำตรงนั้น หลังจากนั้นท่านก็จะกลับ(หมายถึงเสร็จพิธี)  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 903)

-การอาบน้ำชำระร่างกาย ใส่น้ำหอมและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดี 


، فَقَالَ :يَا رَسُولَ اللهِ، ابْتَعْ هَذِهِ تَجَمَّلْ بِهَا لِلْعِيدِ وَالْوُفُودِ، فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّمَا هَذِهِ لِبَاسُ مَنْ لاَ خَلَاقَ لَهُ». (البخاري رقم 896، مسلم 3853)
ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้นำเสื้อคลุมที่ทำด้วยผ้าไหมผืนหนึ่งมาจากตลาด และได้นำไปยังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูล ท่านน่าจะซื้อผ้านี้เอาไว้สวมและแต่งกายสำหรับวันอีดและเมื่อต้อนรับคณะผู้มาเยือน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า “แท้จริงแล้ว นี่เป็นเสื้อผ้าของพวกที่ขาดทุน(ในวันอาคิเราะฮฺ)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข896 และมุสลิม หมายเลข 3853)


รายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา
“ว่าท่านมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดในวันอีด” (สุนัน อัล-บัยฮะกียฺ 3/281)

อิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวว่า
 “ในวันอีด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะสวมเสื้อผ้าที่งามที่สุดของท่าน ท่านจะมีชุดเฉพาะที่ใช้สวมใส่ในวันอีดและวันศุกร์” (ดู ซาด อัล-มะอาด 1/441)

รายงานจากท่านนาฟิอฺ ผู้รับใช้ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
“ท่านอิบนุอุมัรฺ จะอาบน้ำชำระร่างกายในวัน อีดิลฟิฏรฺก่อนที่ท่าน จะเดินทางสู่สนามละหมาด” (บันทึกโดยอิมาม มาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/177)

   ท่านอิบนุ รุชดฺ ได้กล่าวว่า
“บรรดานักวิชาการมีมติเอกฉันท์เห็นดีเห็นงามให้มีการอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อละหมาดในวันอีด ทั้งสอง” (บิดายะฮฺ อัล-มุจญ์ตะฮิด 1/216)

   ท่านอิมามมาลิก ได้กล่าวว่า
ฉันได้ยินว่า บรรดานักวิชาการทั้งหลายนั้น ต่างก็ส่งเสริมให้พรมน้ำหอมและแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ สวยงาม และดูดีที่ สุดในทุกวันอีด โดยเฉพาะคนที่เป็นอิมาม เพราะผู้คนทั้งหลายนั้นจะให้ความสนใจไปยังเขา” (อัล-มุฆนีย์ 5/258)
สำหรับเครื่องแต่งตัวในวันอีดนั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการอิสลาม ห้ามผู้ชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นไหม

-รับประทานอินทผลัมก่อนไปละหมาดสำหรับอีดิ้ลฟิฏริ


รายงานจากท่านอนัส อิบนิ มาลิก กล่าวว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَا يَغْدُو يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَأْكُلَ تَمَرَاتٍ وَيَأْكُلُهُنَّ وِتْرًا

"ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะไม่ออกไปในวันอีดิ้ลฟิตริ จนกว่าท่านจะรับประทานอินทผลัมหลาย ๆ ผลโดยจะรับ ประทานเป็นจำนวนคี่" (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 910)

-การทำเศาะดะเกาะฮฺ

  ความประเสริฐของการบริจาคทาน ซึ่งเป็นอะมัลเฉพาะที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งไว้ เพื่อให้สตรีปฏิบัติในวันอีด การบริจาคเศาะดะเกาะฮฺเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลดปล่อยบ่าวให้รอดพ้นจากการลงโทษในนรก   บรรดาเศาะฮาบะฮฺสตรีได้ทำตัวอย่างในการบริจาคทานด้วยการมอบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ


عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ شَهِدْتُ مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الصَّلَاةَ يَوْمَ الْعِيدِ، فَبَدَأَ بِالصَّلاَةِ قَبْلَ الْخُطْبَةِ بِغَيْرِ أَذَانٍ وَلاَ إِقَامَةٍ، ثُمَّ قَامَ مُتَوَكِّئًا عَلَى بِلاَلٍ فَأَمَرَ بِتَقْوَى اللهِ، وَحَثَّ عَلَى طَاعَتِهِ، وَوَعَظَ النَّاسَ وَذَكَّرَهُمْ، ثُمَّ مَضَى حَتَّى أَتَى النِّسَاءَ فَوَعَظَهُنَّ وَذَكَّرَهُنَّ، فَقَالَ : «تَصَدَّقْنَ، فَإِنَّ أَكْثَرَكُنَّ حَطَبُ جَهَنَّمَ»، فَقَامَتِ امْرَأَةٌ مِنْ سِطَةِ النِّسَاءِ سَفْعَاءُ الْخَدَّيْنِ، فَقَالَتْ :لِمَ يَا رَسُولَ اللهِ؟، قَالَ : «لِأَنَّكُنَّ تُكْثِرْنَ الشَّكَاةَ، وَتَكْفُرْنَ الْعَشِيرَ»، قَالَ : فَجَعَلْنَ يَتَصَدَّقْنَ مِنْ حُلِيِّهِنَّ يُلْقِينَ فِي ثَوْبِ بِلاَلٍ مِنْ أَقْرِطَتِهِنَّ وَخَوَاتِمِهِنَّ. (مسلم رقم 1467)
ความว่า จากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า “ฉันได้ออกไปละหมาดอีดพร้อมท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้ละหมาดก่อนการให้คุฏบะฮฺ(เทศนา) โดยไม่มีการอะซานหรืออิกอมะฮฺ จากนั้นท่านได้ลุกขึ้นและยืนค้ำกับท่านบิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ และได้(ให้เทศนาโดย)สั่งให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเน้นย้ำให้เชื่อฟังพระองค์ ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนผู้ร่วมละหมาด แล้วท่านก็เดินจนกระทั่งได้ยืนอยู่หน้าเหล่าสตรี(ที่มาร่วมละหมาด) ท่านได้กล่าวสั่งสอนและตักเตือนพวกนาง ท่านได้กล่าวว่า “พวกนางทั้งหลาย จงให้ทานเศาะดะเกาะฮฺเถิด เพราะส่วนมากของพวกเธอนั้นคือเชื้อไฟของนรกญะฮันนัม” เมื่อนั้นได้มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ดูเลิศที่สุดจากพวกนางลุกขึ้นถามด้วยอาการตระหนกที่เห็นได้ชัดจากแก้มของนางว่า “เหตุใดที่เป็นเช่นนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นศาสนทูตแห่ง อัลลอฮฺ?” ท่านได้ตอบว่า “เหตุเพราะที่พวกนางชอบฟ้องร้องและไม่สำนึกคุณของสามี” ดังนั้น บรรดาพวกนางจึงได้ถอดต่างหูและแหวนของพวกนางเพื่อทำเศาะดะเกาะฮฺ โดยได้โยนใส่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในเสื้อของท่าน  บิลาล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 1467)


-เดินทางไปยังที่ละหมาดด้วยเส้นทางที่แตกต่างกัน

เพื่อจะได้พบปะให้สลามแก่พี่น้องของเขาเป็นจำนวนมาก

รายงานจากท่านญาบิร อิบนิ อับดิลลาฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮมาุ กล่าวว่า

كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا كَانَ يَوْمُ عِيدٍ خَالَفَ الطَّرِيقَ

"ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น เมื่อเป็นวันอีดท่านใช้เส้นทางที่แตกต่างกัน (ไปและกลับจากที่ละหมาด) "(บันทึกโดย บุคอรียฺ : 943)

รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا خَرَجَ إِلَى الْعِيدِ رَجَعَ فِي غَيْرِ الطَّرِيقِ الَّذِي أَخَذَ فِيهِ

“อันที่จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺออกไปละหมาดอีด และกลับอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ทางที่ท่านออกไป” (บันทึกโดยอิบนิมาญะฮฺ : 1301 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนุมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1083)

  อิหม่าม อันนะวาวีย์ กล่าวว่า
 "แม้เราจะไม่ทราบเหตุผล แต่การปฏิบัติตาม (ซุนนะฮฺของท่านนบี) เป็นที่ส่งเสริมอย่างแน่นอน" (เราเฎาะฮฺ อัฏ-ฏอลิบีน 2/77)
ขอพรและให้อภัย

-ส่งเสริมให้มีการขอพรซึ่งกันและกัน


ญุบัยรฺ อิบนุ นุฟัยรฺ กล่าวว่า ทุกครั้งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาเจอกันในวันอีด พวกเขาจะกล่าว ให้แก่กันว่า

تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَ مِنْكَ

"ขออัลลอฮฺทรงรับ (การงาน) ทั้งจากเราและจากท่าน" (ฟัตหุลบารีย์ 2/157)


-เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ครูอาจารย์

ให้เยี่ยมเยียนขออภัยซึ่งกันและกันในวันอีด  ให้ไปหาญาติพี่น้องที่ห่างไกล ตึดต่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดี กับเครือญาติ ตลอดครูบาอาจารย์ เพราะ วันอีดคือวันแห่งการเฉลิมฉลอง รื่นเริง จึงเหมาะสมที่สุดที่เราจะไปเยี่ยมญาติพี่น้อง ขออภัยซึ่งกันและกัน

-ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน

ให้มีการเลี้ยงอาหารที่บ้าน หรือแจกจ่ายไปยังเพื่อนบ้าน ตามสภาพของผู้นั้น

-การไปพักผ่อนหย่อนใจ

การไปพักผ่อน ยังสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อชมความงามและการสร้างของพระองค์อัลลอฮฺ และรำลึกถึงกรุณาธิคุณของพระองค์

- ให้สตรีและเด็กๆ ออกไปรวมกัน ณ.สถานที่ละหมาด 


รายงานจากอุมมุ อะฏียะฮฺ กล่าวว่า

أُمِرْنَا أَنْ نَخْرُجَ فَنُخْرِجَ الْحُيَّضَ وَالْعَوَاتِقَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَشْهَدْنَ جَمَاعَةَ الْمُسْلِمِينَ وَدَعْوَتَهُمْ وَيَعْتَزِلْنَ مُصَلَّاهُمْ

พวกเราได้ถูกใช้ให้นำ (ไปยังสถานที่ละหมาดอีด) สตรีที่มีประจำเดือน เด็ก ๆและหญิงสาว ส่วนหญิงที่มีประจำเดือนนั้น นางจะได้ร่วม รับความดี และการขอพรของบรรดามุสลิมด้วย โดยให้หญิงที่มีประจำเดือนอยู่นอกสถานที่ละหมาด” (บันทึกโดยบุคอรียฺ : 938)

أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نُخْرِجَهُنَّ فِي الْفِطْرِ وَالْأَضْحَى الْعَوَاتِقَ وَالْحُيَّضَ وَذَوَاتِ الْخُدُورِ فَأَمَّا الْحُيَّضُ فَيَعْتَزِلْنَ الصَّلَاةَ وَيَشْهَدْنَ الْخَيْرَ وَدَعْوَةَ الْمُسْلِمِينَ

"ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งให้พวกเรานำบรรดาสตรีออกสู่สถานที่ละหมาดในวันอีดิ้ลฟิตรฺและอี ดิ้ลอัฎฮา พวกนาง คือเด็ก ๆ  สตรีที่มีประจำ เดือน และหญิงสาว ส่วนสตรีที่มีประจำเดือนพวกนางจะไม่ร่วมทำการละหมาด แต่จะร่วมกันเชยชมความดี งามและรับพรจากบรรดามุสลิม ในวันนั้น..." (บันทึกโดยมุสลิม : 890,1475 อะหฺมัด : 20275)

 ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้สตรีทุกคนออกมาเพื่อร่วมในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ซึ่งจะรวมถึงบรรดาหญิงสาวที่มีประจำเดือนด้วย  วัตถุประสงค์ที่ให้บรรดาหญิงสาวออกมาก็เพื่อให้เขาสามารถร่วมในกิจกรรมการทำความดีและร่วมในการขอดุอาอ์

-ไม่มีละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาดวันอีด

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ออกไปละหมาดอีดสองร็อกอะฮฺโดยท่านมิได้ละหมาดใดๆ ก่อนหรือหลังละหมาด(อีด)"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1587 และอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1291)


-ไม่มีสุนนะฮฺให้อาซาน หรอิกอมะฮฺก่อนละหมาดอีด

ท่านสะอด์ บุตรของอบูวักกอศ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดพร้อมกับพวกเราก่อนคุฏบะฮฺ โดยไม่มีอะซาน และอิกอมะฮฺ"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1562 และอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3042)

-ฟังคุฏบะฮฺ

  มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُصَلِّي فِي الْأَضْحَى وَالْفِطْرِ ثُمَّ يَخْطُبُ بَعْدَ الصَّلَاةِ

"อันที่จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอีดิ้ลอัฎฮา และอีดิ้ลฟิตริ หลังจากนั้นท่านจะกล่าวคุฏบะฮฺหลังละหมาด"(บันทึกโดยบุคอรีย : 914 อะหฺมัด : 5630)

ละหมาดอีด

วิธีละหมาดอีด

ร็อกอะฮฺแรก
1)ตั้งเจตนาเนียต
2)ตักบีรฺเพื่อเข้าเวลาละหมาด มะมูมไม่ต้องกล่าวตักบีรฺเสียงดัง
3)ให้กล่าวตักบีรฺอีก 7 ครั้ง โดยแต่ละครั้งไม่ต้องยกมือ ควรเว้นระยะสักนิดหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านอะไร แต่ถ้าจะอ่านก้ย่อมกระทำได้
เพราะมีแบบอย่างจากท่านอิบนุ มัสอูด (เป็นศอหะบะฮฺ) ได้กระทำไว้ โดยกล่าวว่า
สุบฮานัลลอฮ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ"
4)อ่านดุอาอ์อิฟติตาหฺ
5)อ่านสูเราะฮฺฟาติหะฮฺ
6)อ่านสูเราะฮฺบทหนึ่งบทใด
7)ตักบีรฺเพื่อรุกั่วอฺแล้วกระทำตามขั้นตอนไปจนการสุญูด

ร็อกอะฮฺที่ 2
1)กล่าวตักบีรฺ ไม่ต้องยกมือ ขึ้นมากอดอก
2) ตักบีรฺอีก 5 ครั้ง
3)กระทำขั้นตอนเหมือนร็อกอะฮฺแรก ไปจนกระทั่งนั่งตะชะฮฺฮุดแล้วสลาม

!!!!  สำหรับการประดับประดามัสยิดในวันอีด ไม่มีแบบอยางจากท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาสละฟุศศอลิหฺในอดีตเลยแม้แต่น้อย

!!!!!  และสำหรับการเจาะจงไปเยี่ยมกุบูรฺในวันอีด ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ คำพูด หรือการยอมรับของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือแม้แต่การกระทำของบรรดาเศาะหะบะฮฺกระทำแม้แต่คนเดียว

والله أعلم بالصواب







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น