ศิลอด 6วัน เดือนเชาวาล |
การถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลเป็นศาสนกิจตามสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ประการหนึ่ง ไม่ใช่ศาสนกิจภาคบังคับ ทว่าเป็นสิ่งที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ประชาชาติของท่านปฏิบัติ และการถือศีลอดในเดือนเชาวาลยังเป็นการช่วยซ่อมแซมความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอีกด้วย (อัล-มุนัจญิด. มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ)
ซึ่งการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮฺจะทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี
عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ». (مسلم رقم 1984)
ความว่า จากท่านอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ได้ฟังท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี” (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดย มุสลิม อบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , อันนาะซะอีย์ และอิบนิมาญะฮฺ)
รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งเป็นคนรับใช้ของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดถือศิลอด 6 วันหลังจากอีดิลฟิฏริ ก็เท่ากับเขาถือศิลอดตลอดทั้งปี ผู้ใดที่กระทำความดีหนึ่ง เขาจะได้รับภาคผลเป็น 10 เท่าทวีคูณ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนิมาญะฮฺ)
รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "อัลลอฮฺ ทรงทำให้ภาคผลของการทำความดีหนึ่ง เพิ่มเป็นสิบเท่าทวีคูณ ดังนั้น(การถือศิลอด) เดือนรอมาฎอน ก็ประหนึ่ง (การถือสิลอด) สิบเดือน และการถือสิอด 6 วัน หลังจากอีดิลฟฏริ ก็ประหนึ่ง (การถือศิลอด)ครบตลอดทั้งปี" (บันทึกหะดิษโดย อันนาซาอี และจากเศาะเฮียะฮฺของอิบนิ คุซัยมะฮฺ และเศาะเฮียะฮฺของอัล-บานีย์)
หลักทั่วไปเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนต่อการกระทำที่ดี คือ หนึ่งความดี ตอบแทนด้วย10 เท่า การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน 30 วัน คูณ 10 เท่า เท่ากับ 300 วัน พร้อมกับการถือศีลอดเดือนเชาวาล 6 วัน คูณ 10 เท่า เป็น 60 วัน รวมกันเป็น 36 วัน เท่ากับ 360 วัน ก็เท่ากับว่าถือศีลอดเป็นเวลา 1 ปี พอดี
เหล่าอุละมาอ์ได้ให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการทำความดีจะถูกคูณด้วยสิบ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนหนึ่งเดือนจะเท่ากับสิบเดือน การถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาลจะเท่ากับหกสิบวันหรือสองเดือนที่เหลือ ดังนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดครบหนึ่งปีอย่างสมบูรณ์ (ดู บทอธิบายของอิมาม อัน-นะวะวีย์ ต่อเศาะฮีหฺมุสลิม 8:56)
การเริ่มถือศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล
ในทัศนะของอิหม่าม อะหมัด ได้กล่าวว่า ผู้ใดได้ถือหลังจากวันอีดติดต่อกันหรือว่าไม่ติดต่อกันทั้งสองแบบไม่ได้มีผลดีเหนือกันแต่อย่างใด ทั้่งสองแบบได้ผลตอบแทนเท่ากัน
ในทัศนะของอิหม่ามหะนะฟี และ อิหม่ามชาฟีอี ได้กล่าวว่า ที่ดีที่สุดแล้วนั้นให้ถือหลังจากวันอีดติดต่อกั
ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ได้กล่าวว่า “เหล่าสหายของเราเห็นว่า ทางที่ดีที่สุดคือให้ถือศีลอดติดต่อกันหกวันโดยเริ่มทันทีหลังวันอีด แต่หากแยกวันหรือไม่ถือศีลอดทันทีในช่วงต้นเดือนก็ยังได้ผลบุญเช่นเดียวกัน เพราะได้บรรลุตามความหมายในหะดีษที่ว่าให้ถือศีลอลหกวันในเดือนเชาวาล(หลังจากเราะมะฎอน)”
ในทัศนะของนักวิชาการอีหม่ามมาลิกี เห็นว่าการถือศีลอดหลังจากวันอีดเลยหรือว่าสิบวันหลังจากวันอีดนั้นเป็นมักโระฮฺ เนืองจากท่านนบีไม่ได้กำหนดวันใดวันหนึ่งในการถือศีลอดของเดือนเชาวาล จึงไม่จำเป็นต้องถือให้ติดต่อกัน พวกเขาจึงส่งเสริมให้ถือหลังจากนั้น
ดังนั้นการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลสามารถปฏิบัติได้อย่างเปิดกว้าง ดังนี้
-ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด โดยถือศีลอดติดต่อกัน 6 วันโดยไม่แยก
-ถือศีลอด 6 วันติดต่อกัน แต่ไม่ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด
-ถือศีลอดหกวันโดยแยกวัน อาจจะเริ่มทันทีหลังวันอีดหรือไม่ก็ได้ และไม่กำหนดวันว่าจะต้องห่างกันครั้งละกี่วัน ฯลฯ
ผู้ถือศิลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ครบ
จากลักฐานดังคำพูดของท่านนะบี ที่ว่า
" مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ . " رواه مسلم رقم 1984
“ใครได้ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน หลังจากนั้นเขาได้ติดตาม(หมายถึงถือศีลอด) ด้วยหกวันของเดือนเชาวาล เสมือนว่าเขาได้ถือศีลอดทั้งปี”
คำว่า “ ซุมมา” เป็นคำที่ที่มีความเชื่อมโยงที่กลับไปหาประโยคข้างหน้า เป็นการชี้ให้เห็นถึงการเรียงลำดับ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า จำเป็นจะต้องให้เสร็จสิ้นจากการถือศีลอดชดใช้เสียก่อน(ทั้งการถือศีลอดในรอมาฏอนและการถือศีลอดชดใช้) หลังจากนั้นให้ถือศีลอดหกวันของเดือนเชาวาล เพื่อว่าจะได้ผลตอบแทนตามที่มีปรากฏในหะดีษ
ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนยังไม่ครบและมีภาระต้องถือศีลอดชด ให้เขาถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนในเสร็จสิ้นเสียก่อน แม้นว่าเขาต้องใช้เวลาในเดือนเชาวาลทั้งเดือนก็ตาม ทั้งนี้เพราะการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นวาญิบ และหากเขาตายไป เขาก็จะถูกสอบถามในเรื่องที่เป็นวาญิบนี้ ว่าได้ชดแล้วหรือยัง (ถือว่าเป็นหนี้ต่อพระองค์อัลลอฮฺ จำเป็นต้องชดใช้หนี้จนครบ แต่ศิลอดสุนนะฮฺมิได้เป็นหนี้ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) อีกประการหนึ่งก็คือ ผลบุญของการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนครบสมบูรณ์แล้วหรือไม่ (อัล-อะมีน อัล-หาจญ์ มุหัมมัด)
การถือศิลอดชดใช้พร้อมกับถือศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล
การถือศีลอดชดใช้เราะมะฎอนพร้อมกับเหนียตถือศีลอด 6 วันของเดือนเชาวาลสำหรับผู้มีอุปสรรค เช่นมีประจำเดือน เจ็บป่วย หรือกำลังเดินทาง นั้น ไม่ปรากฏทัศนะของปราชญ์ยุคก่อน แต่พึ่งมาปรากฏจากทัศนะของนักปราชญ์ยุคหลังเท่านั้น
ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีน ได้กล่าวใน "ฟะตาวา อัศ-ศิยาม" หน้า : 438 ว่า
"ผู้ใดที่ถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หรือ วันอาชูรออ์ ทั้งๆ ที่ยังต้องถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนอยู่ การถือศีลอดนั้นย่อมใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอดในวันเหล่านี้พร้อมๆ กับการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้สองผลบุญคือ ผลบุญของวันอะเราะฟะฮฺหรือวันอาชูรออ์พร้อมกับผลบุญของการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน อันนี้สำหรับการถือศีลอดสุนัตทั่วๆ ไปที่ไม่เกี่ยวพันกับเราะมะฎอน ส่วนการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลนั้น(แตกต่างจากการถือศีลอดทั่วไป)เพราะมีความเกี่ยวพันกับเราะมะฎอน กล่าวคือจะไม่มีนอกจากต้องถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนเสียก่อน ถ้าหากถือก่อนที่จะชดของเราะมะฎอนก็จะไม่ได้รับผลบุญนั้น
ดังพูดของท่านรอซูล(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)ที่ว่า:
( من صام رمضان ثم أتبعه ستا من شوال )
"ใครที่ถือศีลอดรอมาฏอน หลังจากนั้นเขาได้ติดตามด้วยหกวันของเดือนเชาวาล"
คำว่า “ ซุมมา” เป็นคำที่ที่มีความเชื่อมโยงที่กลับไปหาประโยคข้างหน้า เป็นการชี้ให้เห็นถึงการเรียงลำดับ และไม่มีเหตุผลใดที่จะนำอิบาดะฮฺ 2 อิบาดะฮฺมาเหนียตพร้อมกันได้ ทั้งศิลอดเดือนรอมฎอนนั้นเป็นวาญิบ ส่วนศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาลนั้นเป็นเพียงสุนนะฮฺ และไม่มีหลักฐานจากท่านนบี หรือร่องรอยจากบรรดาศอหะบะฮฺที่ให้กระทำรวมกันเช่นนี้ได้ ซึ่งหากอนุญาตให้กระทำการเหนียตศิลอดชดใช้ซึ่งเป็นวาญิบรวมพร้อมกันกับศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นสุนนะฮฺ เป็น 2 ใน 1 หรือทูอินวันได้นั้น ก็ไม่ต่างอะไร กับที่เรานำเอาละหมาดศุบฮ์ซึ่งเป็นฟัรดูมารวมกับละหมาดสุนนะฮฺก่อนละหมาดศุบฮฺนั้นเอง ซึ่งไม่มีรูปแบบเช่นนี้จากท่านนบีหรือร่องรอยบรรดาสอหะบะฮฺแต่อย่างใด แตกต่างกับการอาบน้ำยกหะดัษ ซึ่งเมื่ออาบละหมาด ก็ทำการอาบน้ำยกหะดัษ และเมื่ออาบน้ำยกหะดัษเสร็จ ก็ไม่ต้องอาบน้ำละหมาดอีก เหตุผล เพราะท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างเอาไว้นั้นเอง
วันอีดหลังศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล
ไม่ปรากฏหลักฐานจากการกระทำ คำพูด หรือ การยอมรับใดๆจากท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หรือจากฆอลีฟะฮฺทั้งสี่ หรือจากบรรดาศาหะบะฮฺท่านอื่น ว่าให้มีวันอีด หลังถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏจากทัศนะของบรรดาอิมามทั้งสี่เลยแม้แต่น้อย ทั้งปัจจุบันได้ปฏิบัติกันเพียงแถบมลายู(ที่เรียกรอยอแน หรือรายอหก ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษามลายู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อีดอับร็อร ) ไม่ปรากฏในแถบเมืองมุสลิมอื่นๆ ไม่ว่า ประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย หรือประเทศมุสลิมอื่นๆก็ตาม ซึ่งมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โตกว่าวันอีดิลฟิฏรฺ
ทั้งท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ระบุไว้ใช้ชัดเจนแล้วว่า วันอีดของอิสลาม มีเพียง 2 วัน คือ อีดิลฟิฏริ และอัฎฮา เท่านั้น
عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)
ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้ง 2 วันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา” (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
การที่มีวันอีดนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ถือว่าเป็นการผิดต่อสุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺ กลายเป็นอิบาดะฮฺที่สร้างขึ้นมาใหม่ในศาสนา ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการจัดวันรายอแน นั้นเป็นเรื่องศาสนา เป็นเรื่องการทำอิบาดะฮฺ การปฏิบัติอะมัล เพราะได้แทรกความเชื่อและหลักปฏิบัติศาสนาเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะเจาะจงวันเวลา สถานที่ เกี่ยวกับการละหมาดซึ่งเป็นละหมาดเฉพาะวันอีดทั้งสอง การไปเยี่ยมเยียนกุบูรฺ การอ่านยาซีนให้แก่ผู้ตายที่กุบูรฺ เป็นต้น ซึ่งหากจะต้องการเป็นเพียงประเพณีท้องถิ่น ก็ไม่ต้องมีความเชื่ออากีดะฮฺ และการปฏิบัติของศาสนาเข้ามา ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นเรื่องศาสนาทันที่ และเมื่อเป็นเรื่องศาสนา หากไม่มีในคำสอนศาสนา ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยใช้ให้ปฏิบัติ หรือไม่มีร่องรอยของบรรดาศอหะบะฮฺเลย ก็จะเป็นการปฏิบัติอะมัลที่ถูกปฏิเสธ ผลของมันจะเป็นโมฆะ ไม่เกิดผลอะไรเลย ดังหลักฐานหะดิษต่อไปนี้
การที่มีวันอีดนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ถือว่าเป็นการผิดต่อสุนนะฮฺและหลักคำสอนของอัลลอฮฺ กลายเป็นอิบาดะฮฺที่สร้างขึ้นมาใหม่ในศาสนา ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการจัดวันรายอแน นั้นเป็นเรื่องศาสนา เป็นเรื่องการทำอิบาดะฮฺ การปฏิบัติอะมัล เพราะได้แทรกความเชื่อและหลักปฏิบัติศาสนาเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะเจาะจงวันเวลา สถานที่ เกี่ยวกับการละหมาดซึ่งเป็นละหมาดเฉพาะวันอีดทั้งสอง การไปเยี่ยมเยียนกุบูรฺ การอ่านยาซีนให้แก่ผู้ตายที่กุบูรฺ เป็นต้น ซึ่งหากจะต้องการเป็นเพียงประเพณีท้องถิ่น ก็ไม่ต้องมีความเชื่ออากีดะฮฺ และการปฏิบัติของศาสนาเข้ามา ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นเรื่องศาสนาทันที่ และเมื่อเป็นเรื่องศาสนา หากไม่มีในคำสอนศาสนา ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยใช้ให้ปฏิบัติ หรือไม่มีร่องรอยของบรรดาศอหะบะฮฺเลย ก็จะเป็นการปฏิบัติอะมัลที่ถูกปฏิเสธ ผลของมันจะเป็นโมฆะ ไม่เกิดผลอะไรเลย ดังหลักฐานหะดิษต่อไปนี้
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดปฏิบัติ(อะมัล ไม่รวมถึงเรื่องดุนยา) ในสิ่งที่เราไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัตินั้นดังกล่าวถูกปฏิเสธสิ้น"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม เศาะเฮียะฮ์มุสลิม หะดิษเลขที่ 1701)ท่านอับดุลลอฮิบนุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า
“พวกท่านพึงระวังการบิดอะห์(อุตริ) ในศาสนาเถิด เพราะการบิดอะห์ในศาสนาทุกประเภทเป็นความหลงผิด แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะเห็นดีก็ตาม”รายงานจากท่านอิบนุ มาญิชูน ว่า ท่านอิมามมาลิก บิน อนัส (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.179) ท่านกล่าวว่า
"ผู้ใดอุตริกรรมสิ่งใดขึ้นมาในอิสลาม โดยมองว่ามันเป็นเรื่องดี แน่นอนเขาผู้นั้นกล่าวหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าทุจริต(หรือบกพร่อง) ในการปฏิบัติหน้าที่รสูล เพราะพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานาฮูวาตาอาลา ทรงกล่าวเอาไว้แล้วว่า วันนี้ ข้าฯ ได้ให้ศาสนาของพวกเจ้า สมบูรณ์แล้ว...ดังนั้น สิ่งใดก็ตามถ้าหากในวันนั้นมิใช่ (เป็นเรื่องของ)ศาสนา มาในวันนี้ มันก็มิใช่เรื่องศาสนา"(หนังสือ "อัล-เอี๊ยะอฺติศอม" ของท่านอัช-ชาฏิบียฺ เล่ม 1 หน้า 49)
ทัศนะของอุละมาอฺที่น่าเชื่อถือบางท่าน โดยเฉพาะอุละมาอฺในสังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ เกี่ยวกับวันอีดอับร้อรฺ(รายอแน) มานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านนำไปทบทวนถึงข้อเท็จจริงของวันอีดอับร้อรฺ(รายอแน)นี้และตัดสินด้วยตนเองว่าสมควรจะเรียกว่าเป็นวันอีดในอิสลามอีกวันหนึ่งหรือไม่
อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ กล่าวว่า
เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า "ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปดของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่างๆของวันอีด เช่นการสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา"
(อัล-ฟะตาวี อัล-ฟิกฮียะฮฺ อัล-กุบรอ 1/272)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น