อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผู้หญิงในฐานะลูกสาว


โดย เชค ยูซุฟ อัล-เกาะเราะฏอวียฺ
หุสนา แปลและเรียบเรียง
............................................

ก่อนการมาของอิสลาม ชาวอาหรับจะรู้สึกห่อเหี่ยวและหนักใจหากมีลูกสาวเกิดมา เมื่อผู้เป็นพ่อทราบข่าวว่าภรรยาของเขาให้กำเนิดบุตรสาว เขาจะกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระผู้เป็นเจ้า เธอไม่ประเสริฐเหมือนลูกผู้ชาย การป้องกันตัวของเธอ คือการร้องให้และสิ่งที่เธอสนใจ คือการขโมย”

นี่เป็นการบ่งบอกว่าเธอไม่อาจปกป้องพ่อของเธอและครอบครัวของเธอ ยกเว้นด้วยการกรีดร้องและร้องให้ไม่ใช่ด้วยการต่อสู้หรือใช้อาวุธ เธอไม่มีความดีใดๆให้แก่พวกเขาและไม่สามารถปกป้องพวกเขา ยกเว้นเพียงแค่เอาเงินทองของสามีมาแบ่งให้ใช้บ้าง ประเพณีของพวกเขา อนุญาตให้พ่อฝังพวกเธอทั้งเป็นเพียงเพราะความยากจนหรือกลัวว่าจะจนหรือกลัวความเสื่อมเสียที่เธออาจจะนำมาเมื่อเธอโตขึ้น
ด้วยเหตุข้างต้น อัลกุรอานได้กล่าวต่อต้านและบั่นทอน พวกเขา “และเมื่อทารก หญิงที่ถูกฝังทั้งเป็นถูกถาม ด้วยความผิดอันใดเธอจึงถูกฆ่า” อัตตักวีรฺ 8-9

อัลกุรอานยังได้บรรยายสภาพของผู้เป็นพ่อเมื่อมีลูกสาวเกิดมา “และผู้ใดในหมู่พวกเขาได้รับข่าวว่าได้ลูกผู้หญิงใบหน้าของเขากลายเป็นหมองคล้ำและเศร้าสลด” อันนะหฺลฺ 58-59

กฎเกณฑ์ของบรรพบุรุษได้ให้สิทธิแก่พ่อที่จะขายลูกสาว หากเขาต้องการบางฝ่ายอนุญาตให้พ่อส่งมอบลูกสาวแก่ชายอื่นซึ่งเขาอาจฆ่าเธอ หรือครอบครองเธอ ถ้าหากพ่อของเธอได้ฆ่าลูกสาวของฝ่ายนั้น เมื่ออิสลามมาถึง อิสลามได้กำหนด ให้ลูกสาว (เช่นเดียวกับลูกชาย)เป็นของขวัญจากอัลลอฮฺ ซึ่งประทานให้แก่บ่าวของพระองค์ คนใดก็ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ “พระองค์ทรงประทานลูกหญิง แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์...,หรือพระองค์ทรงประทานรวมให้แก่พวกเขา ทั้งลูกชาย และลูกหญิง และพระองค์ทรงทำให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เป็นหมัน แท้จริงพระองค์ ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเอกานุภาพ” อัชชูรอ 49-50

อัลกุรอานได้บรรยายเป็นข้อเตือนใจถึงความน่าอัศจรรย์ของลูกสาวบางคนที่มีอิทธิพลและอยู่ในความทรงจำยิ่งกว่าลูกหลานที่เป็นผู้ชายจำนวนมากเสียอีก เรามีตัวอย่างอันล้ำเลิศปรากฏอยู่ในเรื่องราวของพระนางมัรยัม บุตรสาวของอิมรอน ที่อัลลอฮฺทรงเลือกจากผู้หญิงทั้งหลายและทรงทำให้นางเป็นหญิงบริสุทธิ์ มารดาผู้ให้ กำเนิดนางปรารถนาที่จะได้ลูกชายเพื่อจะได้รับใช้อัลลอฮฺและเป็นผู้ทรงคุณธรรม
“...โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะ ผู้เคารพ อิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้น ขอพระองค์ได้โปรดรับ จากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” อาละอิมรอน 35

จากนั้นเมื่อนางได้คลอดลูกผู้หญิง(มัรยัม) หล่อนก็กล่าวความว่า “..โอ้พระเจ้าของ ข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้คลอดบุตรหญิง และอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดียิ่งกว่าถึงบุตร ที่นางได้คลอดมา และใช่ว่าเพศชายนั้นจะเหมือนกับเพศหญิงก็หาไม่และได้ทรงตั้ง ชื่อเขาว่า “มัรยัม”และข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ให้ทรงคุ้มครองนางและลูกของนางให้ พ้นจากชัยฏอนที่ถูกขับไล่,แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดีและทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วย...” อาละอิมรอน 36-37

อัลกุรอานรณรงค์อย่างไม่ยอมอ่อนข้อต่อผู้ที่โหดร้าย ซึ่งฆ่าเด็กไม่ว่าหญิงหรือชาย อัลลอฮฺตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “แท้จริงได้ขาดทุนแล้วบรรดาผู้ที่ฆ่าลูกๆของพวกเขา เพราะความโง่เขลาโดยปราศจากความรู้...” อัล-อันอาม140

และพระองค์ตรัสอีกความว่า “และพวกเจ้าจงอย่าฆ่าลูกๆของพวกเจ้า เพราะกลัว ความยากจน เราให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาและแก่พวกเจ้าโดยเฉพาะแท้จริงการฆ่า พวกเขานั้น เป็นความผิดอันใหญ่หลวง” อัลอิสรออฺ 31

นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า สวนสวรรค์ คือสิ่งตอบแทน แก่พ่อทุกคนที่ปฏิบัติกับลูกสาวด้วยดี อดทนในการเลี้ยงดูพวกเธอ ให้การอบรม เรื่องศีลธรรมและปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเธอจนกระทั่ง พวกเธอเติบโต

ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) สัญญาสถานที่ในสวรรค์ให้กับผู้เป็นพ่อ อิหม่ามมุสลิมได้บันทึกฮะดีษที่รายงานมาจาก อนัส ซึ่งกล่าวว่า นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า “ใครก็ตามที่เลี้ยงดูและปกป้องทาสหญิงสองคน จนกระทั่งนางบรรลุวัย ในวันแห่งการตัดสินเขากับฉันจะอยู่ด้วยกัน” จากนั้นท่านนบี ได้ชูสองนิ้วติดกัน

ในบันทึกของติรมิซียฺกล่าวความว่า “ใครก็ตามที่เลี้ยงดูและปกป้องเด็กหญิงที่เป็นทาสสองคนเขาและฉันจะได้เข้าสวรรค์เหมือนเช่นนี้” จากนั้นท่านเอานิ้วชี้มาติดกัน

อิบนุ อับบาสรายงานว่า ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า “มุสลิม คนหนึ่งที่มีบุตรสาวสองคน และปฏิบัติอย่างดีเมื่อพวกเธออยู่กับเขาหรือเขาอยู่ กับพวกเธอ จะได้รับสวนสวรรค์” (บันทึกโดยบุคอรีย์)

บางสายรายงานกล่าวว่าการตอบแทนดังกล่าวคือการได้เข้าสวรรค์ ซึ่งรวมไปถึงพี่ชายหรือน้องชายที่เลี้ยงดูและปกป้องพี่สาวหรือน้องสาวของเขา(สองหรือมากกว่า)และบางสายรายงานกล่าวว่าการตอบแทนด้วยสวรรค์ดังกล่าวครอบคลุมไปยังใครก็ตามที่ปฏิบัติต่อสตรีด้วยดีแม้จะเป็นคนเดียวก็ตาม
ในรายงานของอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวความว่า
“ใครที่มีบุตรสาวสามคนและอดทนในการเลี้ยงดูและในความพอใจและความไม่พอใจ อัลลอฮฺจะให้เขาเข้าสวรรค์เนื่องจากความเมตตาที่เขามีต่อพวกเธอ”

ชายคนหนึ่งถามว่า “แล้วบุตรสาวสองคนเล่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ?”

ท่านนบีตอบว่า “และบุตรสาวสองคนก็เช่นเดียวกัน”

มีผู้ถามอีกว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ แล้วบุตรสาวคนเดียวเล่า?”

ท่าน(นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ตอบว่า บุตรสาวคนเดียวก็เช่นเดียวกัน
(บันทึกโดยอัลฮากิม)

อิบนุอับบาสเล่าว่า “ใครก็ตามที่มีลูกสาวโดยไม่ฝังเธอทั้งเป็น ไม่สบประมาท เธอ และไม่แสดงความลำเอียงรักลูกชายต่อหน้าเธอ อัลลอฮฺจะให้เขาเข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอบู ดาวุด,อัล ฮากิม)

บุคอรีย์และมุสลิมได้บันทึกรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺซึ่งเล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) “ใครก็ตามทีประสบความยุ่งยากเนื่องจากการเลี้ยงดูลูกสาวของเขา แต่เขายังปฏิบัติกับพวกเธอด้วยดี อัลลอฮฺจะปกป้องเขาให้พ้นจากไฟนรก” (อัลลุลุ วัล-มัรฺญาน 1688)

จากตัวบทที่เศาะฮีฮฺข้างต้นที่กล่าวเสริมและย้ำข่าวดีว่าการเกิดของลูกสาว มิใช่ภารกิจที่ต้องหวาดกลัวและมิใช่ลางร้ายตรงกันข้ามมันคือ ความประเสริฐ ที่เขาควรจะขอบคุณและเป็นความเมตตาที่เขาควรแสวงหาและเรียกร้องเนื่องจากมันเป็นความประเสริฐที่มาจากพระผู้ทรงเดชานุภาพและเป็นรางวัลที่ควรจะได้รับ

ด้วยวิธีการนี้เองที่อิสลามได้ลบล้างประเพณีดั้งเดิมในการฝังเด็กหญิง ซึ่งปัจจุบันพวกเธออยู่ในตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ในหัวใจของพ่อ จะเห็นได้จากคำพูดของ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่พูดถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮฺบุตรสาวของท่านว่า “ฟาฏิมะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของฉัน สิ่งที่ทำให้เธอโกรธ ทำให้ฉันโกรธด้ว” (บันทึกโดยบุคอรียฺ)

“ฟาฏิมะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของฉัน สิ่งที่ทำให้ฉันเศร้า ทำให้เธอเศร้า และสิ่งที่ทำให้ฉันพอใจ ทำให้เธอพอใจด้วย” (บันทึกโดยอะฮฺมัด)

“แท้จริงลูกสาวของฉันเป็นส่วนหนึ่งของฉัน ฉันกลัวสิ่งที่ทำให้เธอหวาดกลัวและฉันเจ็บปวดด้วยสิ่งที่ทำให้เธอเจ็บปวด” (บันทึกโดยนักบันทึกทั้งหก)

เรารู้สึกถึงผลกระทบนี้ได้ในงานเขียนของอิสลาม เช่นเดียวกับบทกวีต่อไปนี้
แต่สาวน้อยอ่อนโยนอยู่ในขนอ่อนของเจ้าเหมียว
ผู้ที่ได้เอาการพะเน้าพะนอของพวกเธอไป
บนโลกอันกว้างใหญ่ใบนี้
ฉันคงจะต้องตกอยู่ในความฉกาจ ความฉกาจแห่งความหนักใจ,
แน่แท้ เมื่อบุตรของเราอยู่รอบๆตัวเรา
พวกเขาคือ ผู้ที่เราเฝ้าทะนุถนอม ซึ่งคอยกวาดตาไปทั่วทุกที่
หากสายลมพัดใครคนใดคนหนึ่ง
ฉันคงไม่อาจหลับตาลงได้
เกี่ยวกับการอยู่ในควบคุมของพ่อมันมิได้เป็นการละเมิดขอบเขตของการอบรมศีลธรรม (เช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ)ในการที่เขาจะต้องเรียกร้องให้เธอละหมาด เมื่ออายุได้เจ็ดขวบและอนุญาตให้ตีหากมีอายุสิบขวบหากยังไม่ละหมาด รวมทั้งจะต้องแยกที่นอนออกจากพี่ชายหรือน้องชายและสั่งใช้ให้เธอปฏิบัติตามบัญญัติของอิสลามในเรื่องของการแต่งตัวการออกไปข้างนอกและการพูดคุยกับคนอื่น
ส่วนค่าใช้จ่ายดูแลจะตกอยู่เหนือผู้ชายจนกว่าเธอจะแต่งงาน พวกเขาไม่มีสิทธิในการขายหรือทำให้เธอตกเป็นสมบัติของชายอื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆก็ตาม อิสลามได้ยกเลิกการค้าคนที่เป็นอิสระไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ หากอิสระชนได้ซื้อหรือครอบครองลูกสาวซึ่งเป็นทาสของคนอื่น เธอควรจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระเมื่อได้เป็นเจ้าของเธอไม่ว่าเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม อันเป็นไปตามบัญญัติแห่งอิสลาม
หากลูกสาวมีเงินเป็นของตัวเอง ผู้เป็นพ่อควรเก็บรักษาไว้ให้เธอไม่อนุญาตให้ผู้เป็นพ่อแต่งงานเธอให้กับชายอื่นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้แต่งงานกับลูกสาวของเขา ซึ่งในนิติบัญญัติอิสลามเรียกว่า “การแต่งงานแบบอัชชิฆ็อรฺ” เพราะค่าสินสอดไม่เพียงพอ เนื่องจากการแต่งงานเป็นสิทธิของลูกสาวไม่ใช่ของผู้เป็นพ่อ
นอกจากนั้น พ่อยังไม่มีสิทธิแต่งลูกสาวของเธอกับชายที่เธอรังเกียจและไม่ยินยอม เขาจะต้องทราบความเห็นของเธอเกี่ยวกับชายที่เธอจะแต่งงานด้วยว่า เธอเห็นด้วยหรือไม่ หากเธอเคยแต่งงานมาก่อนเธอจะต้องเปล่งวาจาออกมาอย่างชัดเจน หากเธอยังไม่เคยแต่งงานและมีความเอียงอาย การนิ่งของเธอก็เป็นการเพียงพอแล้วว่าเป็นสัญญาของการตอบรับ หากเธอพูดว่า “ไม่” เขาก็ไม่มีอำนาจใดที่จะบังคับให้เธอแต่งงานกับชายที่เธอไม่ต้องการ

ด้วยเหตุนี้ผู้รู้จึงกล่าวว่า หญิงที่ยังสาวควรจะรู้ว่าการที่เธอเงียบคือ การยินยอม เล่าจากค็อนสาอฺ บินติ ค็อดดัมว่า พ่อของเธอได้จัดให้เธอแต่งงานโดยที่เธอเป็นหม้ายและเธอรังเกียจการแต่งงานครั้งนี้ เมื่อเธอมาหาเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ท่าน(เราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ได้ยกเลิกการแต่งงาน (บันทึกโดย นักรายงานฮะดีษ ยกเว้นมุสลิม)
ฮะดีษเหล่านี้เป็นการบ่งชี้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้เป็นพ่อที่จะต้องถามลูกสาวของเขา และจะต้องได้รับการยินยอมจากนาง จากบันทึกของมุสลิมและคนอื่นที่ว่า “จะต้องขอความเห็นจากหญิงสาว” อันหมายถึงเธอจะต้องให้การยินยอมและอนุญาต
จากบุคอรียฺและมุสลิมรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ
“หญิงหม้ายจะยังไม่แต่งงาน จนกว่านางจะกล่าววาจา (ออกความเห็น) และหญิงสาวจะไม่แต่งงาน จนกว่าจะขอการยินยอมจากเธอ”
พวกเขาถามว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ การยินยอมของเธอเป็นอย่างไร?”
ท่านนบีตอบว่า “คือการที่เธอนิ่งเงียบ” (อัล-ลุอ์ลุอ์ วัล มัรฺญาน 895)
และรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า“ฉันถามเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่าผู้หญิงจะถูกถามในกิจการของเธอด้วยหรือ?”
ท่านตอบว่า “ใช่”
ฉันกล่าวว่า “การเงียบของเธอคือการอนุญาต” (อัล-ลุอ์ลุอ์ วัล มัรฺญาน 895)

รายงานจากท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า หญิงสาวได้มาหาท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) และกล่าวว่าพ่อของนางได้จัดให้นางแต่งงานโดยที่นางไม่ต้องการ ท่านนบีให้นางได้เลือก (บันทึกโดย อะฮฺมัด, อบู ดาวุด)

“พ่อของฉันแต่งงานฉันกับลูกพี่ลูกน้องของเขา เพื่อยก(ฐานะของ)เขาให้ดีขึ้น โดยที่ฉันไม่ตั้งใจ”
ท่านอาอิชะฮฺกล่าวว่า “เธอจงนั่งจนกว่าเราะซูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)จะมา” จากนั้นเธอได้เล่าให้ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ท่าน(เราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าวว่า “เรื่องนี้ตกอยู่ที่นาง”
แล้วนางจึงกล่าวว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ ฉันยอมรับการกระทำของพ่อแล้ว แต่สิ่งที่ฉันต้องการจะรู้คือ สตรีทั้งหลายต้องกล่าวคำใดในกิจการนี้หรือไม่” (บันทึกโดย อัน นาสาอียฺ )

เป็นที่ชัดแจ้งว่าแบบฉบับจากท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ชี้ให้เห็นว่าการยินยอมจากหญิงสาวและหญิงหม้ายที่เคยแต่งงานมาแล้วเป็นเงื่อนไขของสัญญาการแต่งงาน หากพ่อหรือผู้ปกครองบังคับแต่งงาน โดยมิได้รับการยินยอม สัญญาการแต่งงานจะใช้ไม่ได้และถูกยกเลิก ดังเช่นเรื่องราวของค็อนสาอฺ บินติ ค็อดดัมในฐานะที่เป็นหญิงที่ยังบริสุทธิ์ เธอมีสิทธิในการเลือกหากเธอต้องการ เธอจะให้การยินยอม หากไม่เธอจะต้องปฏิเสธ อันเป็นการยกเลิกสัญญา ดังเรื่องราวก่อนหน้านี้ (ดู นัยลฺ อัล เอาฏ็อรฺ, 6/254-255-6)

นับเป็นผลดีอย่างใหญ่หลวงที่อิสลามได้ให้มารดาได้ปรึกษาบุตรสาวของนางเสียก่อน เพื่อให้การแต่งงานนั้นเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ท่านอุมัรฺกล่าวว่า ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า “จงเอาการยินยอมจากผู้หญิงเกี่ยวกับการแต่งงานของลูกสาวนาง” (บันทึกโดย อะฮฺมัด, อบูดาวุด)

จากใจความนี้ อิมาม อบู สุลัยมาน อัล ค็อฏฏอบียฺ ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จากการอธิบายฮะดีษนี้ในหนังสือของท่าน มะอาลิม อัสซุนนะฮฺ ซึ่งเรื่องนี้ควรมีอยู่ในสำนึกทางศีลธรรมและความจริงใจของพวกเขา ท่านเขียนว่า การปรึกษาหารือของแม่ในกิจการลูกสาวของนางไม่ใช่เพราะพวกเขาต้องกล่าวในสัญญาการแต่งงาน แต่เนื่องจากลูกสาวจะรู้สึกปลอดอภัยและมีความสนิทสนมกับแม่ ของนาง มันจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ยาวนานและทำให้มีประสิทธิผลมากขึ้นในการนำลูกสาวและสามีของนางได้อยู่ร่วมกัน หากหลักการพื้นฐานของการตกลงผูกมัด วางอยู่บนความพอใจและความต้องการของแม่และลูกสาว ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่อาจหลีกเลี่ยงจากผลร้ายที่อาจตามมา (เช่นลูกสาวอาจดื้อดึงต่อสามี) และสาเหตุของความยุ่งยากต่างๆ จะตกไปยังพวกเขา
ยิ่งไปกว่านั้นแม่เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกสาวมากที่สุด พวกเขาต่างรับฟังแต่ละฝ่าย มากกว่าคนอื่น ด้วยเหตุนี้ การปรึกษาหารือของพวกเขาเกี่ยวกับการแต่งงาน ของลูกสาวเป็นสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญอย่างยิ่ง วัลลอฮุอะอฺลัม

ท่านกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้นแล้วอาจจะยังมีเหตุผลอื่นๆ ผู้หญิงอาจจะรู้โดยผ่านความสัมพันธ์ที่พิเศษกับลูกสาวและการได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องของนางซึ่งอาจมีสิ่งที่ทำให้สัญญาการแต่งงานเป็นโมฆะ เป็นไปได้ที่เธออาจเจ็บป่วย ที่อาจทำให้เธอไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นภรรยาได้อย่างสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้คำกล่าวของท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) “หญิงสาว จะไม่ได้รับการแต่งงาน ยกเว้นผ่านการยินยอมจากเธอโดยการที่เธอนิ่งเงียบ” เนื่องจากเธออาจจะเอียงอายที่จะเปิดเผยการยินยอมและความปรารถนาที่จะแต่งงาน ดังนั้น การนิ่งเงียบของเธอเป็นการชี้ว่าเธอเป็นอิสระจากข้อบกพร่องที่ขัดขวางการมีเพศสัมพันธ์หรือเหตุผลอื่นที่รู้เฉพาะตัวเธอซึ่งไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานเกิดขึ้น วัลลอฮุอะอฺลัม (ดู มุคตะศ็อรฺ อันซุนนะฮฺ โดยมุนซิรีย์ เรียบเรียงใหม่โดยอิบนุก็อยยิม 3/39 และ ได้รับการตรวจสอบจาก อะฮฺมัด ชะกีรฺ และมุฮัมมัด ฮามิด อัลฟิกียฺ)

เราขอกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้ว่า ผู้เป็นแม่ควรจะรู้ความลับของลูกสาวว่าหัวใจของนางผูกอยู่กับใครบางคนอยู่หรือไม่หากชายคนนั้นเสนอการแต่งงานและเห็นว่าเหมาะสม ดังนั้นเขาควรจะเป็นผู้ที่มาก่อน ดังฮะดีษที่กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดดีสำหรับผู้ตกหลุมรักไปกว่าการแต่งงาน” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ, อัลฮากิม)
พ่อไม่มีสิทธิที่จะจัดการแต่งงานลูกสาวให้กับคนที่นางไม่ชอบ แต่พ่อมีสิทธิที่จะไม่ให้ลูกสาวแต่งงานหากไม่รับการยินยอมจากเขา ดังฮะดีษที่รายงานโดยอบูมูซา “ไม่มีการแต่ง โดยไม่มีผู้ปกครอง(วะลี)” ( บันทึกโดยอบู ดาวุด,อัลติรฺมิซียฺ, อิบนุมาญะฮฺ)

ยังมีสำนวนอื่นปรากฏอยู่ในบันทึกของมุนซิรีย์ ใน มุคตะศ็อรฺ อัซซุนนะฮฺ และ อิบนุก็อยยิม ดู ฮะดีษ (2000)] จากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ “หญิงใดก็ตาม แต่งงานโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของนางการแต่งงานของนางเป็นโมฆะ” โดยถูกกล่าวซ้ำถึงสามครั้ง (บันทึกโดย อบู ดาวูด)
อบู ฮะนีฟะฮฺและสหายของท่านเชื่อว่าผู้หญิงมีสิทธิที่จะแต่งงานโดยตัวนางเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับคำยินยอมจากพ่อหรือผู้ปกครอง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่จะมาเป็นสามีจะต้องมีความเหมาะสมกับเธอ แต่ท่านมิได้อ้างฮะดีษข้างต้นไว้ในงานเขียนของท่าน แต่พวกเขาเอาทัศนะจากสิ่งที่พบในอัลกุรอานเกี่ยวกับการแต่งงาน “จงอย่าขัดขวางพวกนางในการที่พวกนางจะแต่งงานกับคู่ครองของพวกนาง” อัลบะเกาะเราะฮฺ 232
จะเห็นว่าการแ
ต่งงานเป็นการพาดพิงสิทธิไปยังผู้หญิง อัลลอฮฺทรงห้ามการขัดขวางในการที่ผู้หญิงจะแสวงหาการแต่งงาน เนื่องจากเป็นสิทธิของนาง หากนางมีความสามารถในการจัดการและเป็นสิ่งควรจะยอมรับ อบู ฮะนีฟะฮฺ กำหนดเงื่อนไขว่าการแต่งงานนั้นจะต้องได้สามีที่คู่ควร ถ้าไม่เช่นนั้นผู้ปกครองมีสิทธิที่จะปฏิเสธ ส่วนกรณีที่ผู้หญิงแต่งงานโดยได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองโดยที่เขาไม่อยู่ ในงานแต่งเป็นที่ยอมรับของนักนิติศาสตร์บางส่วน แม้ว่าฟัตวาทั่วไป จะถือว่า การปรากฏตัวของวะลีเป็นเงื่อนไขของการแต่งงานไม่เช่นนั้นการแต่งจะไม่เป็นผล
………………………………………………………

ผู้หญิงในฐานะแม่


โดย ชัยคฺ ยูซุฟ อัล-เกาะเราะฏอวียฺ
ตัสนีม แปลและเรียบเรียง
....................................
ความสัมพันธ์แรกของผู้หญิงคือความสัมพันธ์ที่มีต่อแม่ ซึ่งได้บากบั่นใน การอุ้ม ครรภ์ การคลอด การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลายของเธอ ประวัติศาสตร์นึกไม่ออกว่าศาสนา หรือ ระบอบใดที่ให้เกียรติแก่ผู้หญิงในฐานะของมารดาและ ยกฐานะเธอเหมือนที่ อิสลาม ได้ยก อิสลามได้ให้เกียรติผู้หญิงครั้งแล้วครั้งเล่าและสิ่งนี้ปรากฏขึ้นมาทันทีภายหลังจาก คำสั่งในการสักการะบูชาและศรัทธาต่ออัลลลอฮฺเพียงองค์เดียว อัลลลอฮฺทำให้มารดา ได้รับเกีรยติ ด้วยคุณงามความดีและพระองค์ทรงวางสิทธิของมารดาให้อยู่เหนือกว่าบิดา เนื่องจากความเหนื่อยยาก ในการอุ้มครรภ์ การคลอด การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลายของเธอ

สิ่งนี้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอานหลายๆซูเราะฮฺประทับเรื่องนี้ไว้ในหัวใจของผู้เป็นลูก ดังอายะฮฺต่อไปนี้
“และเราได้สั่งการแก่มนุษย์เกี่ยวกับบิดามารดาของเขา โดยที่มารดาของเขาได้อุ้ม ครรภ์เขาอ่อนเพลียลงครั้งแล้วครั้งเล่า และการหย่านมของเขาในระยะสองปี เจ้าจง ขอบคุณข้า และบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้นคือการกลับไป”ลุกมาน 14 และอีกอายะฮฺ ที่ว่า “และเราได้สั่งเสียมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความเหนื่อยยากและได้คลอดเขาด้วยความเจ็บปวด การอุ้มครรภ์เขาและ การหย่า นมของเขาในระยะเวลาสามสิบเดือน…”อัลอะฮฺก็อฟ 15

มีชายคนมาหาท่านเราะซูลได้ถามว่า ใครที่ควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากที่สุด ท่านเราะซูลตอบว่า แม่ ชายคนนั้นถามต่ออีกว่า แล้วจากนั้นใคร ท่านเราะซูลตอบว่า แม่ ชายคนนั้นถามอีกว่า แล้วจากนั้นใคร ท่านเราะซูลตอบว่า แม่ ชายคนนั้น ก็ได้ถามเป็นครั้ง ที่สี่ว่า แล้วจากนั้นใคร ท่านเราะซูลตอบว่า พ่อ (บันทึกโดย อิมามบุคอรีและมุสลิม)

อัล บัซซารรฺเล่าว่าชายคนหนึ่งกำลังฏอว๊าฟรอบกะอฺบะฮฺที่กำลังเอาใจใส่ต่อแม่ของ เขา ท่านเราะซูลถามเขาว่า ท่านกำลังตอบแทนความดีให้หล่อนกระนั้นหรือ? ชายคนนั้น ตอบว่า ไม่ครับ แม้แต่เสียงโอดครวญของเธอยังไม่สามารถตอบแทนได้เลย (บันทึกโดย อัลบัซซารฺ)

การทำดีต่อมารดามันหมายถึงการปรนนิบัติเป็นอย่างดี การให้ความเคารพ การให้ ความพึงพอใจเมื่ออยู่ต่อหน้าเธอ การเชื่อฟังในสิ่งที่ไม่ขัดกับการเชื่อฟังอัลลอฮฺ การแสวง หาความพอใจจากเธอในทุกๆเรื่องแม้เป็นเรื่องการทำญิฮาด ถ้าเลือกได้ท่าน

จะต้องได้รับการอนุญาตจากเธอเสียก่อน เนื่องจากว่าการทำความดีต่อเธอก็เป็นญิฮาด ประการหนึ่ง (ญิฮาดคือการต่อสู้ในทางจิตวิญญาณ กายภาพ จิตวิทยา และในทางจิตใจ) เพื่อที่จะรักษาความบริสุทธิ์และการปฏิบัติในอิสลาม

มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านเราะซูลและกล่าวว่า โอ้ ท่านเราะซูลของอัลลอฮฺ ฉัน ต้องการที่จะออกไปญิฮาด(ในหนทางของอัลลอฮฺ) และฉันต้องการคำแนะนำจากท่าน ท่าน ได้ถามชายผู้นั้นว่า แล้วท่านมีแม่ไหม ชายผู้นั้นตอบว่า มีครับ ท่านเราะซูลกล่าวว่า ท่านอย่าได้ทิ้งเขาเพราะว่าสวรรค์นั้นอยู่ใต้ฝ่าเท้าของเธอ (บันทึกโดยอันนาซาอี, อิบนุ มาญะฮฺ, อัล ฮากิม)
กฏเกณฑ์บางศาสนาก่อนการ
มาของอิสลามได้ปล่อยปละละเลยในเรื่องบทบาทของ มารดา ทำให้พวกเธอไม่มีความหมาย ซึ่งการมาของอิสลามนั้นได้เชิดชูให้การเอาใจใส่ ต่อป้าน้าอาทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านเราะซูลและ กล่าวว่า ฉันได้ทำ การละเมิด ฉันจะไถ่โทษได้อย่างไร? ท่านเราะซูลถามว่า เจ้ามีแม่ไหม? ชายคนนั้น ตอบว่า ไม่มี ท่านได้ถามต่ออีกว่า แล้วท่านมีป้า น้า อาบ้างไหม? ชายคนนั้น ตอบว่า มีครับ ท่านเราะซูลบอกว่า ถ้างั้นจงทำดีต่อพวกเธอ (บันทึกโดย อัต ติรมีซียฺ)
เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ว่าอิสลามได้สั่งใช้พวกเราทำดีต่อแม่ ถึงแม้ว่าเธอเป็นผู้ปฏิเสธ ก็ตาม อัสมาอฺ บินติ อบูบักร ได้ถามท่านเราะซูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเธอ กับแม่ที่ ปฏิเสธศรัทธาที่ได้มาหาเธอ ท่านได้กล่าวว่า ใช่ เธอต้องทำความดีให้กับแม่ของเธอ (ดู อัล ลุลุ วัล มัรญาณ 587)

การชี้ให้เห็นว่าอิสลามนั้นเอาใจใส่ต่อความเป็นแม่ สิทธิของแม่และความรู้สึกของ พวกเธอนั่นคือแม่ที่ถูกหย่าร้างนั้นมีสิทธิอันยิ่งใหญ่ และเป็นผู้ที่คู่ควรแก่การเลี้ยงดูบุตร มากกว่าพ่อ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ บิน อัล อัศ ได้รายงานว่ามีหญิงคนหนึ่งได้ถามว่า โอ้ ท่าน เราะซูลของอัลลอฮฺลูกชายของฉันคนนี้มีครรภ์ของฉันเป็นภาชนะทรวงอก ฉันเป็นที่ดื่มนม ตักของฉันเป็นที่นอนแต่พ่อของเขากลับเอาเขาไปจากฉัน ท่านเราะซูลกล่าวว่า “เธอจะมี สิทธิมากกว่า ถ้าเธอไม่แต่งงาน” (บันทึกโดยอิมามอะฮฺมัด,อบูดาวูด)
อิมาม อัล ค็อตเตาะบียฺกล่าวไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า มะอาลิม อัซ ซุนัน ในคำว่า “ภาชนะ” คือชื่อของสถานที่หนึ่งที่ไว้บรรจุอะไรบางอย่าง นี่หมายความแม่นั้นเป็นผู้คู่ควร ในฐานะที่เธอและสามีของเธอร่วมกันให้กำเนิดบุตรมา จากนั้นเธอต้องอยู่ตามลำพัง ต้อง เลี้ยงดู โดยสามีของเธอไม่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเธอจะได้รับ (สิทธิ) เป็นคนแรก เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับบุตร

ในสายรายงานของอิบนุ อับบาสที่กล่าวว่า ท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏ๊อบได้หย่าภรรยา คนหนึ่งของท่านนางเป็นชาวอันศ็อรฺ ซึ่งเธอเป็นแม่ของอาศิม เขาพบเธอกำลังอุ้มลูกอยู่ใน มัชอัร (ตลาดที่หนึ่งอยู่ระหว่างกุบาอฺกับมะดีนะฮฺ)ซึ่งเด็กนั้นได้หย่านมและก็เดินได้แล้ว อุมัรได้ยื่นมือของเขาเพื่อที่จะเอาลูกจากเธอและได้เกิดการขัดแย้งกันในเรื่องนี้จนกระทั่ง ลูกได้ร้องไห้ อุมัรพูดว่า ฉันสมควรที่จะเอาลูกไปเลี้ยงมากกว่าเธอ พวกเขาได้ร้องเรียน เรื่องนี้ ต่ออบู บักรซึ่งให้คำตัดสินว่า ผู้เป็นแม่สมควรที่จะได้เลี้ยงดูลูกของเธอ เขากล่าวว่า สถานที่ของเธอ เตียงของเธอ ตักของเธอดีกว่าสิ่งที่ท่านมีอยู่ จนกว่าเขาจะเติบโตและจะ เลือกด้วยตัวเขาเอง (ดู มะอาลิม อัซ ซุนัน 2181)

ผู้เป็นแม่นั้นได้รับความอุปถัมภ์เป็นอย่างมากในอิสลามและได้ให้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นภาระที่จะต้องกระทำ เธอจะต้องเอาใจใส่ลูกๆของเธอเลี้ยงดูเขาอย่างดี ปลูกฝัง คุณธรรมและทำให้พวกเขารังเกียจความชั่ว เธอจะต้องสั่งสอนพวกเขาให้เชื่อฟังอัลลอฮฺ กระตุ้นพวกเขาให้ออกมาปกป้องในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และอย่าได้รั้งพวกเขาในการต่อสู้ เพื่ออัลลอฮฺเนื่องจากว่าความรู้สึกอ่อนไหวที่อยู่ในหัวใจของนาง แต่ความถูกต้องอยู่เหนือ ความรู้สึก

เราเห็นแม่ที่มีความศรัทธาที่ชื่อว่า อัล ค็อนซาอฺ ในสงครามกอดีซียะฮฺที่เธอได้กระตุ้นลูกชายของเธอทั้งสี่คนให้มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว พอสงครามก็ยุติลงและข่าวในเรื่องการตายของพวกเขาทั้งสี่คนก็มาถึงเธอ เธอมิได้ร้องครวญครางแต่ยังคงดำเนินชีวิตต่อไป แถมยังกล่าวด้วยความหนักแน่นและความอิ่มอกอิ่มใจว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ ที่อัลลอฮฺทรงให้เกียรติฉันด้วยการตายการชะฮีดของพวกเขาเพื่อ ความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ
……………………………………………

ฮันซอละฮฺผู้ัที่มลาอิกะฮฺอาบน้ำให้


วันที่ 7 แห่งสงครามอุฮุด ขณะที่มุสลิมีนกับมุชริกีนทั้งสองฝ่ายหยุดเผชิญหน้ากันชั่วครู ยังไม่เปิดฉาก
สู้รบกันอีกครั้ง ฮันซอละฮฺบุรุษหนุ่มนามอุโฆษขออนุญาตท่านนบี(ศอลัลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)แต่งงานและเป็นอยู่ฉันท์สามีภรรยากับญะมีละฮฺ บินติ อับดิลลาฮ

หลังจากที่ทั้งสองได้เข้าพิธเปลี่ยนคนแปลกหน้าให้เป็นคู่ครองกันแล้ว ทั่งคู่ได้ถ่ายโอนความสุขแก่กันได้ไม่ทันครบ 24 ชั่วโมง ในคืนแรกแห่งการอยู่ร่วมกันของอดีตสองคนแปลหน้านี้เอง เสียงประกาศแห่งสัจธรรมได้ดังก้องกังวลาไปทั่วอณาบริเวณที่มุสลิมตั้งหลักปักฐาน

“ฮัยยะอะลัลญิฮาด ฮัยยะอะลัลญิฮาด”

ฮันซอละฮฺคือหนึ่งในผู้ที่ตอบรับเสียงเรียกขานในบัดดล เขายอมละทิ้งความสุขทุกประการ สละจากภรรยาสุดที่รัก สละจากการนอนหลับใหล สละจากความสุขแห่งดุนยาทั้งปวง สละกระทั่งเวลาที่จะอาบน้ำญะนาบะฮฺสำหรับคืนแรกแห่งการเป็นเจ้าบ่าว

ฮันซอละฮฺเข้าเผชิญหน้ากับบรรดามุชริกแบบไม่กลัวตาย ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮย่างกล้าหาญ ฟาดฟันศัตรูอย่างห้าวหาญเยี่ยงสิงห์ แต่ท้ายที่สุดเขาได้ถูกปลดชีวิตลงด้วยปลายหอกและคมดาบในสภาพของอัชชะฮีด

สงครามสงบลง ท่านนบีได้ตรวจสอบดูความเสียหาย และการเสียชีวิตของเหล่าศอหาบะฮฺในสมรภูมิอุฮุด

แล้วนำเรื่องราวของฮันซอละฮฺกลับมาถามเหล่าศอหาบะฮฺอย่างฉงนสงสัย

เรื่องรางของฮันซอละฮฺเป็นอย่างไรกัน? ฉันเห็นมลาอิกะฮฺอาบน้ำศพให้แก่สหายของพวกท่านผู้นี้” บรรดาศอหาบะฮฺจึงนำเรื่องดังกล่าวไปซักถามครอบครัวของจนทราบความจากภรรยาของฮันซอละฮฺว่า
“บังได้ออกไปสงครามโดยที่ยังไม่ทันเปลื้องญะนาบะฮฺเลยค่ะ…”

ท่านนบีจึงกล่าวว่า “มิน่าล่ะ ฉันจึงเห็นมลาอิกะฮฺมาอาบน้ำให้”

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ฮันซอละฮฺจึงได้รับสมญานามว่า “ฆ่อซีลุลมลาอิกะฮฺ” ผู้ที่มลาอิกะฮฺอาบน้ำให้
เรื่องราวของฮันซอละฮฺไม่ได้จบแค่นี้หรอกครับ เพียงแต่ว่าในประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวไว้ถึงช่วงเวลาแห่งความสุขที่ฮันซอละฮฺพึงได้รับสำหรับตำแหน่งอัชชะฮีด

 ฮันซอละฮฺยังคงเสวยสุขจากผลงานที่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเรื่องนี้คงมีหลากด้าน หลายมุม ที่จะได้รับต่างกันไป แต่มุมหนึ่งที่เห็นได้ชัดและสามารถตอบคำถามข้างต้นได้ คงบอกได้เต็มปาดว่า ฮันซอละฮฺนี่แหล่ะคือ “นักเผยแผ่สัจธรรม” หรือ “นักต่อสู้เพื่อสัจธรรม” ตัวจริงคนหนึ่ง

สัจธรรมที่หมายถึง ไม่ใช่เพียงการเผชิญหน้ากับศัตรูแล้วต่อสู้ด้วยคมหอกคมดาบอย่างเดียวนะครับ การชนะอารมณ์ตนเอง การยืนหยัดบนหลักการศาสนา การลำดับความสำคัญ การเชื่อฟังท่านนบีก็นับเป็นบทเรียนที่เราควรได้นับจากวีรบุรุษผู้นี้

การที่ผมนับให้ฮันซอละฮฺเป็น “นักต่อสู้เพื่อสัจธรรม” ตัวจริงเนื่องจากท่านสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบีได้ทุกสภาวการณ์นั่นเอง

จะมีใครละครับ ในภาวพสงครามที่เขาพร้อมนำเอาซุนนะฮฺเรื่องการแต่งงานมาเจริญรอยตาม และจะมีใครอีกเล่าครับในภาวะแห่งการมีความสุขกับภรรยาคืนแรรกที่จะกล้าปฏิบัติตามคำเรียกร้องของท่านนบีให้ออกมาญิฮาด

....................
เขียนโดย อบูนัซซอเราะฮฺ


ที่มา : คอลัมบ์ คนในประวัติศาสตร์ วารสารโรตีมะตะบะ ฉบับที่ 26
http://bushrohouse.wordpress.com/

คำครู


ครูคนนี้ พูดนุ่มนวลและสุภาพยิ่งกว่าอะไรอื่น

ใครไม่เคยฟัง ลองหาบรรยายของท่านมาฟังเนาะ



คำ : “ครูที่มีคุณธรรม คือ ต้องเข้าใจนะ เวลาเราสอนไปแล้ว

คนเรียนไม่เข้าใจ ไม่ใช่ความผิดของคนเรียน เป็นความผิด

ของผู้สอนไม่มีความสามารถให้ผู้เรียนเข้าใจได้”

ครู : อ.อิสมาแอล วิสุทธิปราณี รอฮิมะฮุลลอฮฺ

ไฉนหรือหิญาบหรือเพียงผ้าคลุมผม


รูปซ้ายเขาเรียกว่าหิญาบ
รูปขวาเรียกว่าผ้าคลุมผม
ต้องสอนเด็กๆให้ดีนะครับ

คือวันนี้ไปเจอมา (จริงๆก็เจอทุกวันแหละ เยอะ)
ช่วยๆกันย้ำนะ ก่อนจะสายเกินไป…

ภาพจาก : วารสารสมิอฺนา วะอะเฏาะอฺนา ปีที่ 3 เล่ม 10 | มิถุนา-สิงหา 2554

http://smiana.wordpress.com/

สุนนะฮฺในไทยเริ่มขึ้นเมื่อใด


เราต่างรู้กันดีนะครับ ต่อข้อวิจารณ์ คำด่าทอจากพี่น้องส่วนหนึ่งที่มีต่อพวกวะฮาบีย์ (ตามที่เขาเรียกและเข้าใจกัน) อันปรากฏอยู่ในยุคปัจจุบันอย่างเกลื่อนกลาด สมัยก่อนนะครับ เขาจะเรียกพวกที่มาเรียกร้องให้กลับไปสู่อิสลามที่บริสุทธิ์จากความงมงายและประเพณีผิดๆต่างๆเหล่านี้ว่า พวกมูดอ พวกคณะใหม่ กระทั่งปัจจุบันจึงเรียกว่าพวกวะฮาบีย์ คำเหล่านี้คงจะได้ยินกันเบื่อหูแล้วใช่ไหมครับ

ความเข้าใจผิดของพวกเขาข้อหนึ่ง ในอีกหลายๆข้อคือ ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อประวัติศาสตร์ของคำ ที่มาของมัน นิยาม ความเป็นมาของคำเหล่านั้น ตลอดจนวัฒนธรรมและปัจจัยในการกำเนิดมันขึ้นมา
ในประเทศไทย เอาแค่คำว่า “คณะใหม่” หรือ “วะฮาบีย์” ก็ถูกเข้าใจมั่วไปหมดแล้ว นอกจากยังไม่รู้ที่มาที่ไปของชื่อแล้ว ความเข้าใจของพวกเขาที่ว่า “คณะใหม่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ ดร.อิสมาอีล ลุฏฟี กับ ดร.ญีฮาด มุหัมมัด กลับมาเมืองไทย!” ก็เสมือนการใส่กระดุมเม็ดแรกผิดรูเสียแล้วนั้นเอง การวิจารณ์ใส่ไคล้ชาวสุนนะฮฺหรือคณะใหม่ที่ทำๆกันอย่างเอางานเอาการด้วยมุมมองที่ผิดเพี้ยน ทำให้เกิดความบูดเบี้ยวของเนื้อหาตามไปด้วยอย่างมิต้องสงสัย ยังไม่นับถึงความอิจฉาริษยาต่อรูปแบบดะอ์วะฮฺต่างๆอันหลากหลายของชาวสุนนะฮฺ หรือพวกวะฮาบีย์ นำมาสู่การเล่นสกปรกทางภาษาและการกระทำ เช่น ไอ้พวกจานดำ พวกซาบิกุ๊ย ตลอดจนเที่ยวยัดเยียดความผิดให้แก่คำสอนของอาจารย์ต่างๆโดยอาศัยนิสัยเชื่อคนง่าย ไม่ชอบคิดและใคร่ครวญเองของคนไทยมาเป็นประโยชน์ ตัดประโยคนั้นประโยคนี้ แล้วมาขยายความไปเอง กระทั่งการกล่าวหาอาจารย์บางคนที่สอนอยู่ในทีวี ว่าสูบกัญชาในเดือนเราะมะฎอน หรือเป็นพวกพม่าช่วยยิว ก็มีมาแล้ว และอีกมากมายซึ่งน่าเกลียดเกินจะเอามาเขียน ณ ที่นี้ได้

กระทู้นี้ เราจึงอยากให้เพื่อนๆได้มาเรียนประวัติศาสตร์ในอีกมุมหนึ่ง อันปราศจากอคติ และความคับแคบทางความคิด ผ่านการเขียนเชิงวรรณกรรมเรื่องสั้นชื่อ “เสาปูนร่ำไห้” ที่เขียนโดย ครูมุรีด ทิมะเสน ว่าด้วยประวัติของ ครูอะหฺมัด วะฮาบ มินังกาเบา ผู้เอาสุนนะฮฺแบบเป็นตัวเป็นตน เข้ามาคนแรกๆในประเทศไทย ซึ่งเกิดก่อน ดร.อิสมาอีล และ ดร.ญีฮาด ตั้งหลายปีดีดัก พร้อมกันนั้น เราก็ขอแนบลิงค์ ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงเกี่ยวกับคำว่า วะฮาบีย์ หรือที่จริงคือขบวนการฟื้นฟูอิสลามที่ชื่อ “อัลมุวัฮฺฮิดูน” ของ อัลอิมาม อัลมุญัดดิด ชัยคุลอิสลาม มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบ ด้วย
มาร่วมกันทบทวนประวัติศาสตร์กันใหม่นะครับ ^^

“เสาปูนร่ำไห้” — ครูมูรีด ทิมะเสน
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=12C184BFBC5TUVX5RL1C1U3XG8XMTF
“ขบวนการวะฮาบีย์ของอิมาม มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบ” — อามีน รอนา
http://www.as-sabikoon.com/node/55
วะฮาบียะฮ์ เป็นลัทธิใหม่ในอิสลามจริงหรือ ? — อ.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
http://www.islammore.com/main/content.php?page=content&category=54&id=252

ป.ล.
1.จากรูปประกอบ ครูอะหฺมัด วะฮาบ ยืนอยู่กลางภาพ และครูอิสมาอีล อะหฺมัด ศิษย์เอก ยืนแถวหน้า ที่สามจากซ้าย ฯลฯ

2.ถ้าจะแสดงความเห็น เอาแบบมีเหตุมีผล ไม่เอาแบบเกรียนๆนะครับ เพลียจะตอบ
ด้วยรักและหวัง
http://smiana.wordpress.com/

เมื่อพวกตาต๊าร์บุกกรุงแบกแดด


               เมื่อพวกตาต๊าร์ (TARTARS) มีชัยชนะเหนือมุสลิมในกรุงแบกแดด ได้เกิดเหตุการณ์สยองขวัญขึ้นตามที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ ท่านอบิลฟิด๊าอฺ (อิบนิกะซี๊รฺ) ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ” รายงานเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ นครแบกแดด ในปี ฮ.ศ.ที่ 656 ว่า

“แล้วพวกมัน(หมายถึงพวกตาต๊าร์) ก็หลั่งไหลกันเข้ามาในเมือง ฆ่านทุกคนที่พวกมันสามารถจะฆ่าได้ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ คนหนุ่มคนสาวหรือคนชรา หลายคนต้องหลบลงคูคลอง คอกสัตว์ กองขยะ ซ่อนตัวอยู่หลายๆวัน โดยไม่ได้ออกมาสู่โลกภายนอก บางกลุ่มรวมตัวกันหลบหนีเข้าไปอยู่ในร้านค้าแล้วปิดไว้อย่างแน่นหนา พวกตาต๊าร์ตามมาทะลวงประตูหรือไม่ก็จุดไฟเผา จนกระทั้งเลือดไหลเข้าสู่รางน้ำลงมานองพื้นเบื้องล่างทั่วทุกซอกซอย การกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นทุกแห่ง ไม่ว่าในมัสยิด หรือที่ชุมนุม ใดๆ จะไม่มีใครรอดชีวิต นอกจากพวกยิวและคริสต์ที่อยู่ใต้การปกครองของมุสลิม หรือผู้ไปขอพึ่งพิงพวกเขา (พวกยิวและคริสต์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมนี้เอง เป็นไส้ศึกชักนำพวกตาต๊าร์เข้ามาโจมตีอิสลามและมุสลิมในกรุงแบกแดด โดยชี้ช่องทางจุดยุทธศาสตร์ให้ และร่วมก่อความหายนะขึ้น พวกเขาต้อนรับพวกตาต๊าร์ด้วยความยินดี เพื่อให้เข้าจัดการกับมุสลิม ทั้งที่มุสลิมเป็นผู้ปฏิบัติต่อพวกเขาตามสัญญาและให้ความคุ้มครองพวกเขาอยู่อย่างปลอดภัย)

หรือผู้ที่ขอพึ่งพิงอยู่ในบ้านของ อัลวะซี๊รฺ อิบนิ อัล ก่อมียฺ (ซึ่งเป็นพวกชีอะฮฺ รอฟิเฎาะฮฺ) มีพวกพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้ทำสัญญาขอยอมเสียสละทรัพย์จำนวนมหาศาลให้ให้แลกกับความปลอดภัยของตนเอง ภายหลังเหตุการณ์สงบลง กรุงแบกแดดกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง ทั่วบริเวณเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง เหมือนเมืองร้างไม่มีผู้คนอยู่อาศัย นอกจากเพียงไม่กี่คนที่อยู่ระหว่างหวาดหวั่นและหิวกระหาย”

“จำนวนผู้ถูกฆ่าในในกรุงแบกแดดอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บางท่านกล่าวว่าแปดแสนคน บางท่านกล่าวว่า หนึ่งล้านบางท่านกล่าวว่า สองล้านคน

พวกตาต๊าร์เข้ายึดกรุงแบกแดดในช่วงท้ายของเดือนมุอัรรอม ฆ่าฟันชาวเมืองอยู่ 40 วัน ท่านค่อลีฟะฮฺ อัลมุซตะอฺวิมบิลาฮฺ ผู้ปกครองมุสลิมถุกฆ่าตายในวันพุทธ ที่ 14 เดือนซ่อฟัร ขณะท่านมีอายุได้ 46 ปี 4 เดือน ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮฺได้ 15 ปี 8 เดือนกว่าๆ บุตรชายคนโตของท่านชื่ออบุล-อับบ๊าส อะฮฺมัด ถูกฆ่าขณะอายุ 25 ปี บุตรชายคนกลางชื่ออบุลฟัฏลฺ อับดุรเราะฮฺมาน ก็ถูกฆ่าขณะอายุ 23 ปี ส่วนบุตรชายคนเล็กชื่อ มุบร๊อก ถูกจับเป็นเชลย นอกจากนี้พี่น้องหญิงของท่านอีก 3 คน คือ ฟาฏิมะฮฺ ค่อดียะฮฺ และมัรยัมก็ถูกจับป็นเชลยเช่นกัน”

▂  ▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █
สายสัมพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทัศนะของนักปราชญ์ในแต่ละมัซฮับเกี่ยวกับหมอดู




ปราชญ์ในมัซฮับฮะนะฟียะห์ (ฮะนะฟี)

وَالْحَاصِلُ أَنَّ الْكَاهِنَ مَنْ يَدَّعِي مَعْرِفَةَ الْغَيْبِ بِأَسْبَابٍ وَهِيَ مُخْتَلِفَةٌ فَلِذَا انْقَسَمَ إلَى أَنْوَاعٍ مُتَعَدِّدَةٍ كَالْعَرَّافِ .وَالرَّمَّالِ وَالْمُنَجِّمِ : وَهُوَ الَّذِي يُخْبِرُ عَنْ الْمُسْتَقْبَلِ بِطُلُوعِ النَّجْمِ وَغُرُوبِهِ ، وَاَلَّذِي يَضْرِبُ بِالْحَصَى ، وَاَلَّذِي يَدَّعِي أَنَّ لَهُ صَاحِبًا مِنْ الْجِنِّ يُخْبِرُهُ عَمَّا سَيَكُونُ ، وَالْكُلُّ مَذْمُومٌ شَرْعًا ، مَحْكُومٌ عَلَيْهِمْ وَعَلَى مُصَدِّقِهِمْ بِالْكُفْرِ
 "สรุปคือ กาฮิน หมายถึงผู้อ้างว่ารู้เรื่องเร้นลับด้วยอ้างเหตุหลายประการ ดังนั้นหมอดูจึงมีแบ่งได้หลายประเภท เช่น ประเภทอัรร๊อฟ (ดูของหาย) รอมมาล (อาศัยการขีดเขียนพื้นทรายเพื่อทำนายทายทัก) และมุนัจญิม ซึ่งหมายถึงผู้ทำนายอนาคตโดยอาศัยการขึ้นตกของดวงดาว อาศัยการเคาะหิน  อาศัยญินนำข่าวมาบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ในทางศาสนาทั้งหมดนี้ชั่วร้ายนัก มีข้อตัดสินทั้งผู้กระทำ(ตนเป็นหมอดู) และบรรดาผู้ที่เชื่อหมอดูว่าเป็นกุฟรฺ (กุโฟร)"
[จากหนังสือ ร๊อดดุ้ลมั๊วฮฺตาร เล่ม 16 หน้า 310   เป็นหนังฟิกห์ในมัซอับฮะนะฟียฺ]


        ปราชญ์ในมัซฮับมาลิกียะห์ (มาลิก)

لاَ يَجُوزُ ِلأَحَدٍ تَصْدِيقُ الْكَاهِنِ وَهُوَ الَّذِي يُخْبِرُ بِمَا يَقَعُ فِي الْمُسْتَقْبَلِ ، وَلاَ الْعَرَّافِ وَهُوَ الَّذِي يُخْبِرُ بِمَا وَقَعَ كَإِخْرَاجِ الْمُخَبَّآتِ وَكَتَعْيِينِ السَّارِقِ ِلأَنَّ ذَلِكَ مِنْ دَعْوَى عِلْمِ الْغَيْبِ وَلاَ يَعْلَمُهُ إلاَّ اللَّهُ ، وَلِذَا قَالَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : { مَنْ صَدَّقَ كَاهِنًا أَوْ عَرَّافًا أَوْ مُنَجِّمًا فَقَدْ كَفَرَ بِمَا أُنْزِلَ عَلَى مُحَمَّدٍ }
"ไม่อนุยาทให้ใครเชื่อ "กาฮิน" (หมอดูประเภทหนึ่ง) คือผู้ที่บอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และไม่ให้เชื่อ "อัรร๊อฟ" (หมอดูอีกประเภทหนึ่ง) คือผู้ที่บอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถูกซ่อนอำพรางไว้และนำมันออกมา และเช่นการระบุว่าใครคือโขมย อย่างนี้เป็นต้น ที่ต้องห้ามก็เพราะเป็นการอ้างว่าล่วงรู้สิ่งเร้นลับ เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดรู้ได้เองยกเว้นอัลลอฮฺเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่าน (นบี)  ศ้อลลัลลอฮุอะลัลฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า " ผู้ใดเชื่อ(หมอดูไม่ว่าจะเป็นชนิด) กาฮิน อัรร๊อฟ หรือมุนัจญิม แน่แท้ผู้นั้นปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่มุฮัมัด"
 [จากหนังสือ อัลฟะวาเกี๊อฮฺ อัดดะวานี อะลา ริซาละห์ อิบนุ อะบีซัยดฺ อัลกอยร่อวานียฺ เล่ม 8 หน้า 400 เป็น หนังสือฟิกห์ในมัซอับมาลิกียะห์]


        ปราชญ์ในมัซฮับชาฟิอียะห์(ชาฟิอียฺ)

وَالْوَعِيد جَاءَ تَارَةً بِعَدَمِ قَبُولِ الصَّلاَة وَتَارَةً بِالتَّكْفِيرِ ، فَيُحْمَلُ عَلَى حَالَيْنِ مِنَ اْلآتِي
"ตัวบทคาดโทษ (เรื่องดูหมอและหมอดู) บางทีก็ระบุว่าไม่รับละหมาดบางทีก็ระบุว่าเป็นกุฟรฺ (เป็นกุโฟร) ทั้งนี้ก็ให้ขึ้นกับสภาพที่เป็นไป"
[ฟัตฮุ้ลบารี โดยฮาฟิซอิบนุ ฮะญัร เล่ม  16 หน้า  219 ]


ปราชญ์ในมัซฮับฮัมบะบียะห์(ฮัมบาลี)

 فَقَدْ قَالَ أَحْمَدُ...: وَالْعِرَافَةُ طَرَفٌ مِنْ السِّحْرِ ، وَالسَّاحِرُ أَخْبَثُ ، ِلأَنَّ السِّحْرَ شُعْبَةٌ مِنْ الْكُفْرِ .وَقَالَ : السَّاحِرُ وَالْكَاهِنُ حُكْمُهُمَا الْقَتْلُ ، أَوْ الْحَبْسُ حَتَّى يَتُوبَا ؛
"แท้จริงอะห์มัด(มิหม่ามอะห์มัด)กล่าวว่า ...อิรอฟะห์(การทำนายของหาย) เป็นเสี้ยวหนึ่งของไสยศาสตร์ แต่นักไสยศาสตร์เล้วร้ายกว่า เพราะไสยศาสตร์เป็นประเภทหนึ่งของการกุฟรฺ(กุโฟร)" ท่านกล่าวอีกว่า "ทั้งนักไสยศาสตร์ หมอดู(กาฮิน) มีโทษถึงประหารหรือขังจนกว่าจะกลับเนื้อกลับตัว(เตาบะห์)"

 [อัลมุฆนียฺ ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 20 หน้า 13]


            คงไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปถึงข้อตัดสินหมอดูและการดูหมอ ว่าเป็นสิ่งต้องห้ามชัดเจนในศาสนาอิสลาม เพียงแต่การจะตัดสินว่าจะสิ้นสภาพการเป็นมุสลิมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของคนนั้นๆ ว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด มีวิธีการอย่างไร หากเป็นการวิงวอนขอต่อญินและวิญญาณชั่วร้ายทั้งหลาย นักวิชาการไม่ลังเลที่จะตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นกุฟรฺ (กุโฟร)

والله أعلم بالصواب
 

หมอดูเป็นแขนงหนึ่งของไสยศาสตร์


พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

(وَمَا كَفَرَ سُلَيْمَانُ وَلَكِنَّ الشَّيَاطِينَ كَفَرُوا يُعَلِّمُونَ النَّاسَ السِّحْرَ)

"และสุไลมาน (นบีท่านหนึ่งของอัลลอฮฺ) มิได้ปฏิเสธ (กุโฟรต่ออัลลอฮฺ) หากแต่บรรดาชัยฏอนต่างหากที่ปฏิเสธ (กุโฟรต่ออัลลอฮฺ)  พวกมันสอนไสยศาสตร์แก่ผู้คน" [ซูเราะห์อัลบะก่อเราะห์ อายะห์ที่ 102]

            เดิมทีนั้นไสยศาสตร์เป็นบททดสอบจากอัลลอฮฺ โดยให้มลาอิกะห์สองท่านมาสอนแต่ก็กำชับว่าหากใครยินดีศึกษาจะทำให้ผู้นั้นกลายเป็นผู้ปฏิเสธ (กุโฟรต่ออัลลอฮฺ) แต่ก็มีผู้ยินยอมศึกษาคือยอมที่จะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺเล่าเรื่องเหล่านี้ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ [ซูเราะห์อัลบะก่อเราะห์ อายะห์ที่ 102]

ท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า อิรอฟะห์(การทำนายของหาย) เป็นส่วนหนึ่งของไสยศาสตร์  [อัลมุฆนียฺ ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 20 หน้า 13]

ดังที่กล่าวแล้วว่า "หมอดู" เป็นส่วนหนึ่งของไสยศาตร์  ไสยศาสตร์เป็นงานของชัยฏอน ผู้ศรัทธาย่อมไม่เดินตามรอยเท้าของชัยฏอน [อัลบะก่อเราะห์ อายะห์ 168]

والله أعلم بالصواب

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมื่อผู้รู้ทำผิดเสียเอง





ท่านยะหฺยา อิบนิ ยะมาน ได้รายงานว่า ท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ ได้กล่าวว่า

"การทำความชั่วนั้นเป็นโรค

 และผู้รู้ คือ ผู้รักษาโรค

ถ้าหากผู้รู้ทำผิดเสียเอง

 ใครเล่า จะเป็นผู้รักษาเยียวยา ? "

.................

Dunt Bung

การเดินทาง...ที่ถูกบันทึก

 
เขียนโดย : อายะฮฺ บิน อุมัรฺ
.......................................
หลายคนเมื่อมีเวลาว่างผ่านเข้ามาในชีวิตหรือหลังจากผ่านพ้นจากภารกิจอันหนักหน่วงไม่ว่าจะเป็นการสอบปลายภาคของบรรดานักศึกษา วันสุดท้ายของการศึกษาภาคสนามของนักศึกษาวิชาทหาร การเสร็จสิ้นภารกิจจากการทำธุรกิจซื้อขายของเหล่านักลงทุน
ภารกิจหลักหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจของคนเหล่านี้คือการวางแผนเดินทางไปพัีกผ่อน บางคนอาจจะเดินทางไปเยี่ยมญาติสนิทมิตรสหานที่ต่างจังหวัด บางกลุ่มอาจจะเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญที่ตนเองปรารถนาหรือที่ตนเองใใฝ่ฝัน บางคนอาจจะหางานสักชิ้นมาทำในช่วงวันหยุด หรือบางคนอาจจะใช้เวลาว่างให้หมดไปกับเรื่องไร้สาระ

การให้หัวใจได้พักผ่อนของใครอีกหลายคนอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งการใช้เวลาว่างให้หมดไปกับเรื่องราวต่าง ๆ นั้น หากสิ่งที่เราทำไม่ได้ขัดต่อหลักศาสนาก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่เมื่้อใดก็ตามที่การพักผ่อนของเรามีสิ่งอื่นมาแองแฝงปะปนโดยที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งทีขัดต่อหลักการศาสนา เมื่อนั้นการพักผ่อนของเราหาใช่เป็นการพักผ่อนไม่ แต่...ทว่า มันกลับเป็นการหาความทุกข์ให้กับตนเองต่างหาก แล้วเราจะทำอยางไรให้การพักผ่อนของเราได้ประสบกับความสุขอย่างแท้จริง

ทำอย่างไรให้การพักผ่อนของเราได้ยังผลให้แก่ตนเองและคนรอบข้างไม่ใช่เฉพาะแค่ในโลกนี้แต่การพักผ่นของเราสามารถยังผลให้แก่เราในวันข้างหน้า (วันอาคิเราะฮฺ) เราจะทำอย่างไรให้การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ของเราในวันนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งให้เราได้อยู่ในสถานที่อันสงบสุข ยังความรื่นรมย์แก่เราในโลกนี้และปรโลก

แน่แท้อย่างแรกเลยที่ลืมไม่ได้คือการตั้งเจตนา (เหนียต) ซึ่งการเดินทางไปพักผ่อนของเรานั้น หากเราต้องการเปลี่ยนให้เป็นการงานที่ีดีให้มลาอีกะฮฺบันทึกไว้ในบัญชีทางด้านขวา เราจะต้องเหนียตออกเิดินทางไปในหนทางของอัลลออฺ หัวใจของเราจะได้ใคร่ครวญพินิืจพิจารณาถึงการกระทำของบรรดาผู้ที่ล่วงลับไปก่อนหน้าเรา ว่าพวกเขาได้ทำอะไรไว้บ้าง ดังที่พรนะองค์ได้ตรัสไว้ว่า

"จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) พวกท่านจงท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าผลสุดท้ายของผู้กระทำผิดนั้นเป็นอย่างไร (สุเราะฮฺอันนัมลฺ : 69)

จะเป็นการดีแค่ไหนหากการเดินทางไปพักผ่อนของเรานอกจากเราได้พักกายพักใจแล้ว เรายังได้เข้าใกล้ความโปรดปรานและความพึงพอพระทัยของพระองค์อัลลอฮฺอีกด้วย บรรดาผู้ใช้สติปัญญาทั้งหลายจะใคร่ครวญ ภายใต้การเดินทางที่ไม่กระทำในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงสั่งห้าม เขาจะใคร่ครวญในสิ่งที่อยู่รอบกาย สิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ประสบพบเจอ ทุกสรรพสิ้งที่พระองค์ทรงสร้างนั้นย่อมเป็นสัญญา ย่อมเป็นบทเรียนให้แก่บรรดาผู้ใคร่ครวญ

แม้กระทั่งใบไม้ที่ปลิวไปตามแรงลม หากเราใช้หัวใจใคร่ครวญเราจะพบว่าทุก ๆ การแกว่งไปตามกระแสลมนั้นมีท่วงทีจังหวะของมัน หาใช้พัดโบกไปตามอำเภอใจของมันไม่ แต่....ทว่า การเคลื่อนไหวของมันนั้นเป็นไปตามการควบคุมของผู้สร้าง เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายของก้อนเมฆ หากเราแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้าเราจะพบว่า การเคลื่อนย้ายของก้อนเมฆนั้นมีระบบระเบียบแบบแผน เวลาที่มันเคลื่อนตัวมันจะเคลื่อนตัวเป็นกลุ่มก้อนและเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน หาใช่เคลื่อนตัวไปตามความต้องการของมันไม่ หาใช่เคลื่อนย้ายแบบล่องลอบไม่มีทิศทางเป้าหมายไม่

แต่....ทว่าทุก ๆ การเคลื่อนย้ายของก้อนเมฆนั้นเป็นไปภายใต้การควบคุมของผู้สร้าง และมันก็เคลื่อนย้ายไปตามพระประสงค์ของพระองค์ เหล่านี้ย่อมเป็ฯบทเรียนให้แก่บรรดาผู้ใคร่ครวญทั้งหลาย

การเดินทางหนึ่งที่เราจะไม่สูญเสียเวลาเปล่า และเราจะไม่ขาดทุนหลังจากที่ได้ผ่านพ้นการเดินทางในครั้้งนี้ไปแล้ว นั่นก็คือ การเดินทางไปเยี่ยมพี่น้องเพื่ออัลลอฮฺ ดังมีรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

"ใครก็ตามที่ไปเยี่ยมคนป่วย หรือเยี่ยมพี่น้องของเขาเพื่ออัลลอฮฺ จะมีเสียงเรียกจากฟากฟ้าว่า ท่านทำถูกต้องแล้ว ท่านทำถูกต้องแล้ว การเยี่ยมของท่านนั้นดีแล้ว และท่านจะมีที่พำนักที่ดีในสวนสวรรค์ "(บันทึกโดย อิบนุ มาญะฮฺ % 1443 และัอัตติรมีซีย์ : 2008 สำนวนของท่านอัตติรมีซี)

และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีศ็๋อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

"มีชายคนหนึ่ง เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องของเขายังอีกเมืองหนึ่ง แล้วอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ส่งมลาอิกะฮฺมาพบกับเขาระหว่างทาง เมื่อมลาอีกะฮฺมาพบกับเขาแล้วกล่าวว่า ท่านจะไปไหนหรือ? เขากล่าวว่า ฉันอยากจะไปพบ (เยี่ยม) พี่น้องของฉัน ณ เมืองนี้ (มลาอิกะฮฺ) กล่าวว่า ท่านมีธุระงานจากการไปครั้งนี้หรือ เขากล่าวว่า "ไม่มีอะไร นอกเสียจากว่า จริง ๆ แล้วฉันรักเขาเพื่ออัลลอฮฺ" (มลาอิกะฮฺ) กล่าวว่า "แท้จริงแล้วฉันเป็นฑูตของอัลลอฮฺมายังท่าน (เพื่อมาบอกท่านว่า) แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักท่าน ดังที่ท่านรักเขาในหนทางพระองค์" (บันทึกโดย มุสลิม :6714)

มาชาอัลลอฮฺ จะมีอะไรหอมหวานไปมากกวานี้อีกไหม? จะมีอะไรที่เป็นการพักผ่อนทีดีไปกว่านี้อีกไหม? จะมีการเดินทางใดจะคุ้มค่าไปกวาการเดินทางที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดกับผู้สร้าง อีกทั้งที่สุดของบรรดาผู้ศรัทธา นั่นก็คือ การได้เป็นบ่างที่อัลลอฮฺทรงรัก อัลหัมดูลิลลาฮฺ ช่างเป็นการเินทางที่สุดแสนจะคุ้มค่ากว่าการเดินทางใด ๆ นโลกนี้

ลองใคร่ครวญดูเราจะพบว่า นอกจากหัวใจของเราจะไ้ดรับความอิ่มเอิบใจ ความสำราญเบิกบานไปแล้ว หลังจากที่ภารกิจอันหนักอึ้งได้ผ่านพ้นไป เราก็ได้มาพักผ่อนให้ัหัวใจของเราได้ผ่อนคลายจากเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แน่แท้ความสบายใจความอิ่มเอิบใจก็มาประสบกับเราอย่างแน่นอน

แต่...ทว่า ไม่เพียงแค่นี้เท่านั้นที่เราได้รับ เรายังได้รับความสงบสุข ความสำราญใจในโลกหน้าอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมเป็นสิ่งที่งดงามยิ่งกว่า ดังนั้นโอ้บรรดาผู้ต้เองการความเกษมสำราญทั้งหลาย ทุก ๆ ก้าวย่างที่เราก้าวเดิน เราจะต้องมีคำตอบให้กับพระองค์ เพราะแน่แท้ในวันกิยามะฮฺการงานของเราทุกอย่างที่เราได้กระทำลงไปในโลกนี้ เราต้องถูกสอบสวนในการงานที่เราได้กระทำไปทั้งหมด ทุก ๆ ย่างก้าวที่เราก้าวเดิน เราก้าวไปเพื่อใคร? เราก้าวไปทำไม? เราก้าวไปทำอะไร? เหล่านี้เราย่อมต้องถูกชำระอย่างแน่นอน

เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วนับจากนี้ต่อไปเวลาที่เราจะลงมือกระทำอะไรสักอย่าง เวลาที่เราจะก้าวเดินไปทำอะำไร เราจะต้องมีคำตอบให้กับตนเอง เพราะคำตอบนี้เราจะนำไปตอบแก่ผู้ทรงสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดวันแกห่งการตอบแทน เพราะทุก ๆ ย่างก้าวที่เราก้าวเดิน ....ย่อมต้องถูกชำระสอบสวน อย่างครบถ้วนและครบครัน โอ้....การเดินทาง...ที่ถูกบันทึก
....................................
(จากหนัีงสือ : แด่...ทุกหัวใจ)

ยุงดารา


เขาว่าเป็นยุงดารา....

ที่สามารถปล่อยเชื้อโรคขาดอิสลามสู่คนได้อย่างสบาย

ขอให้เราทุกคน ช่วยๆกันปกป้องตัวเองและบุตรหลานให้ห่างไกล

 จากเชื้อโรคที่มาจากยุงดารานี้ด้วย...

โปรดกำจัดเชื้อเเหล่านี้ออกจากบ้าน

โดยไม่ต้องเปิดละครให้ลูกชม

และช่วยกันเปิดหูเปิดตาในหนทางของอัลลอฮให้มากที่สุด

ใครก็ตามทีั่ปล่อยให้ยุงดาราหลายตัว

วนเวียนอยู่ในตารางชีวิตของพวกเขาอยู่

แน่นอนแล้ว...เขากำลังปล่อยตัวและปล่อยใจเป็นทาสของยุงดารานี้ไปแล้ว

นาอุซุิบิลลาฮิมินซาลิก

والله أعلم بالصواب
..............................
ชะบ๊าบ ก๊อลบุนสะลีม

หัวใจกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ


ท่านอิบนิ ก็อยยิม พุดถึงการซิกรุลลอฮฺของท่านอิบนิ ตัยมียะฮฺ ว่า
“ฉันได้ยินท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ ร่อหิมะฮุลลฮฺ กล่าว่า

การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีความสำคัญต่อหัวใจ เหมือนกับน้ำที่มีความสำคัญต่อปลา ปลาจะเป็นอย่างไรถ้ามันถูกแยกออกจากน้ำ?,,”

ครั้งหนึ่งฉันเคยละหมาดฟัจญ์ร่วมกับท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ หลังจากละหมาดเสร็จแล้ว ท่านนั่งซิกรุลลอฮฺจนเกือบจะเที่ยงวันแล้วท่านก็หันมาหาฉันพลางกล่าวว่า

“นี่คือ อาหารมื้อเช้าของฉัน ถ้าฉันไม่ทานอาหารมื้อเช้านี้ ความเข้มแข็งของฉันจะลดน้อยถอยลง” (จาหหนังสือ “อัลวาบิ้ล อัสสัยยิบ มิน อัลกะรีม อัฏฏ็อยยิบ หน้าที่ 60)

ผู้ศรัทธากับการทดสอบ


ผู้ที่ประกาศตนเข้ารับอิสลาม หรือมุสลิมผู้ศรัทธาทั้งหลาย แม้พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นแล้วก็ตาม พวกเขาก็ยังถูกทดสอบจากพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ต่างๆนานา ไม่ว่าด้วยอุปสรรคต่างๆ อยู่รอบด้าน ความเจ็บป่วย ความทุกข์ทรมาน ถูกกล่าวหาใส่ร้าย กลั่นแกล้ง หรือสิ่งที่จำแนกระหว่างผู้ศรัทธากับผู้หน้าไหว้หลังหลอก เป็นต้น

ดั่งพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
أَحَسِبَ النّاسُ أَن يُترَكوا أَن يَقولوا ءامَنّا وَهُم لا يُفتَنونَ
“มนุษย์คิดว่าพวกเขาจะถูกปล่อยทิ้งไว้ เพียงแต่พวกเขากล่าวว่าเราศรัทธาแล้ว โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกทดสอบกระนั้นหรือ?” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลอัคกะบูต 29:2)

أَم حَسِبتُم أَن تُترَكوا وَلَمّا يَعلَمِ اللَّهُ الَّذينَ جٰهَدوا مِنكُم وَلَم يَتَّخِذوا مِن دونِ اللَّهِ وَلا رَسولِهِ وَلَا المُؤمِنينَ وَليجَةً ۚ وَاللَّهُ خَبيرٌ بِما تَعمَلونَ
หรือพวกเจ้าคิดว่าพวกเจ้าจะถูกปล่อยไว้ โดยที่อัลลอฮ์ยังมิได้ทรงรู้ บรรดาผู้ที่ต่อสู้ในหมู่พวกเจ้า และมิได้ยึดถือเพื่อนสนิท อื่นจากอัลลอฮ์ และร่อซู้ลของพระองค์ และอื่นจากผู้ศรัทธาทั้งหลาย และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 9:16)

والله أعلم بالصواب

อิสลามปฏิเสธความเชื่อโชคลาง


อิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องโชคร้าย ลางร้าย เคราะห์ร้าย อาเพศต่าง ๆ ทั้งสิ้น การเชื่อโชคลางเป็นการทำชิริกต่ออัลลอฮ์ เพราะเป็นการเอาหัวใจไปผูกพันต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ และการเชื่อมั่นว่าที่ประสบกับอันตรายก็เพราะสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ เป็นเหตุทั้งที่มันให้คุณและให้โทษไม่ได้ และเป็นการตัดขาดการมอบหมายต่ออัลลอฮ์

รายงาน อบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَا عَدْوَى وَلَا طِيَرَةَ وَلَا هَامَةَ وَلَا صَفَرَ
“ไม่มีโรคติดต่อ และไม่มีลาง (ร้าย) และไม่มีนกเค้าแมว และไม่มี (เคราะห์ร้าย) เดือนเศาะฟัร”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 5757 มุสลิม : 2220 อบูดาวุด : 3911)

มีรายงานจากอนัส อิบนิ มาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَا عَدْوَى وَلَا طِيَرَةَ وَيُعْجِبُنِي الْفَأْلُ قَالُوا وَمَا الْفَأْلُ قَالَ كَلِمَةٌ طَيِّبَةٌ
“ไม่มีความเชื่อเรื่องโรคติดต่อ ไม่มีลางร้าย และสิ่งที่ฉันชอบใจก็คือ อัลฟะอลฺ บรรดาเศาะฮาบะฮฺถามว่า และอะไรคือ อัลฟะอลฺ ? ท่านนบีตอบว่า คือ คำพูดที่ดี”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 5776 มุสลิม : 2224)

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ มัซอู๊ด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า จากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
الطِّيَرَةُ شِرْكٌ الطِّيَرَةُ شِرْكٌ وَلَكِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُذْهِبُهُ بِالتَّوَكُّلِ
“ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี แต่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้มันหายไปด้วย กับการมอบหมาย”
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 4183 อบูดาวุด : 3910 ติรมีซียฺ : 1614 เศาะเหี๊ยะหฺอัตตัรฆีบอัลบานียฺ : 3098 เศาะเหี๊ยะหฺ อบูดาวุดอัลบานียฺ : 3910 เศาะเหี๊ยะหฺติรมีซียฺอัลบานียฺ : 1614)

ซึ่งความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ นั้น เกิดขึ้นในสมัยญาฮิลิยะฮฺ แต่อิสลามได้มาล้มเลิกความเชื่อต่าง ๆ และการที่เรามีความเชื่อว่าจะเกิดอาเพศ ขึ้นนั้น ยังเป็นสิ่งที่ต้องลบล้างความคิดนี้ให้ได้ มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ เล่าว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ رَدَّتْهُ الطِّيَرَةُ مِنْ حَاجَةٍ فَقَدْ أَشْرَكَ قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا كَفَّارَةُ ذَلِكَ ؟ قَالَ أَنْ يَقُولَ أَحَدُهُمْ اللَّهُمَّ لَا خَيْرَ إِلَّا خَيْرُكَ وَلَا طَيْرَ إِلَّا طَيْرُكَ وَلَا إِلَهَ غَيْرُكَ
"ผู้ใดที่ลางได้ทำให้เขาต้องล้มเลิก ไม่ทำธุระของเขาให้เสร็จแล้ว ก็เท่ากับว่าเขาได้ตั้งภาคี บรรดาซอฮาบะฮฺได้กล่าวว่า โอ้ท่านร่อ ซูลลุลลอฮฺ แล้วสิ่งลบล้างของในเรื่องดังกล่าวคืออะไร? ท่านนบีได้ตอบว่า คือ ให้ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺไม่มีความดีอันใดนอกจาก ความดีของพระองค์เท่านั้น และไม่มีการเป็นลางอันใดนอกจากการเป็นลางของพระองค์เท่านั้น และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก พระองค์เท่านั้น"
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 6869 อัลญามิอุศเศาะฆีรซุญูตียฺ : 8701 เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺอัลบานียฺ : 6264)

ท่านเราะซูล ได้ปฏิเสธ 4 ประการ ที่ไม่มีอำนาจ หรืออิทธิฤทธิ์ใดๆ ในการทำลายล้าง กล่าวคือ

- โรคระบาดไม่มีอำนาจทำร้ายผู้ใด

- ลางร้ายต่างๆไม่มีอำนาจสร้างความหายนะให้เกิดขึ้นได้

- นกกลางคืน เช่น นกฮูก นกเค้าแมว และนกแสด ไม่ได้เป็นลางร้าย และมันไม่มีอำนาจให้เกิดความหายนะ

- ไม่มีเดือนอัปมงคล หรือเดือนแห่งบาลออ์(ภัยพิบัติ) หากแต่เป็นเดือนปกติ ที่เหมือนกับเดือนอื่นๆ

والله أعلم بالصواب

การลูบเช็ดหรือจูบสุสาน(กุบูรฺ)


การลูบ การถูเช็ด หรือจูบสุสาน เพื่อความศิริมลคลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม

ท่านอิมามนะวะวีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
“ผู้ใดที่เกิดรู้สึกในใจว่า การลูบด้วยมือหรือที่คล้ายคลึงกันนี้ มีความบะรอกะฮฺกว่า (ความเชื่อ) ดังกล่าวนั้นมาจากความโง่เขล่าและการละเลยของเขา เพราะความบะรอกะฮฺนั้น จักได้รับมาก็ด้วยการปฏิบัติตามชะรีอะฮฺ แล้วจะหาความประเสร็จจากการสวนทางความถูกต้องได้อย่างไร?!” (หนังสือ “อัล-มัจญ์มูอ์ ชัรหฺ อัล-มุหัซซับ หน้า 27-31)

ท่านอบูหะมีด อัล-เฆาะซาลีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
“แท้จริง การเช็ด การจูบสุสานนั้น คือธรรมเนียมของพวกยิวและคริสต์” (หนังสือ “อิหฺยาอ์ อุลูมุด ดีน 1/254)

والله أعلم بالصواب

ดุอาอ์เมื่อเยี่ยมกุบูร


แท้จริงท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ให้นางกล่าวเมื่อนางไปเยี่ยมหลุมศพที่บะกีอฺ

ว่า" อัสลามุ อะลา อะฮฺลิดดิยาริ มินัล มุอฺมินีนะ วัล มุสลิมีน วะยัรหะมุลอฮุล มุสตักดิมีนะมินนา วัลมุสตะอฺคิรีน วะอินนาอินชาอัลลอฮุบิกุม ละลาฮิกูน"

"( السلام على أهل الديار من المؤمنين والمسلمين ويرحم الله المستقدمين منا والمستأخرين وإنا إن شاء الله بكم للاحقون )
(ศอเฮียะฮฺมุสลิม(เลขที่ ๙๗๔) และมุสนัดอะฮฺหมัด(๖/๒๒๑)


والله أعلم بالصواب

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เผ่าเร่ร่อนที่ถูกพระเจ้าสาปแช่ง



เจ้ามิได้มองดูบรรดาผู้ที่ได้รับส่วนหนึ่งจากคัมภีร์ดอกหรือ โดยที่พวกเขาศรัทธาต่ออัลญิบติ(เวทย์มนต์สิ่งเร้นลับ) และอัฏ-ฏอฆูต(สิ่งที่นำไปสู่การละเมิดขอบเขตศาสนาของอัลลอฮฺ)  และกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ว่า พวกเขาเหล่านี้แหละเป็นผู้อยู่ในทางที่เที่ยงตรงกว่าบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ชนเหล่านี้คือผู้ที่อัลลอฮ์ได้ทรงละอนัต(สาปแช่ง) แก่พวกเขา และผู้ใดที่อัลลอฮ์ทรงละอนัต(สาปแช่ง) แก่พวกเขาแล้ว เจ้าจะไม่พบว่ามีผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับเขาเลย  [อันนิซาอฺ :51-52]

ยิว (Jewish) ชาวยูดาห์ Yəhuda        

ประวัติของชาวยิวเกี่ยวข้องกับอาณาจักรของเผ่ายูดาห์ Yəhuda นามบุตรชายหนึ่งใน12คนของนบียะกูบ Jacobพวกเขาใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า   ชาวอิสราเอลที่อาศัยอยุ่ในส่วนอื่นๆไม่มีสิทธิเรียกตัวเองว่าชาวยิว พวกเขาใช้คัมภีร์พันธสัญญาเก่า ฮิบรูไบเบิล เป็นกฏหมายปกครอง มิใช่เฉพาะลูกหลานของยูดาห์เท่านั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของยิวที่ฝ่าฝืน แต่ทว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยึดกุมอำนาจ และสร้างความเสียหายไว้มากที่สุด ในหมู่ลูกหลานของอิสราเอล (นบียะกูบ)

ประมาณ900ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรยูดาห์รุ่งเรืองขึ้น หลังการแตกแยกกันของชาวอิสราเอลในสมัยของนบีสุลัยมาน อาณาจักรอิสราเอลกลายเป็นอาณาจักรเหนือและใต้ อาณาจักรเหนือเรียกตัวเองว่าอาณาจักรอิสราเอล ส่วนอาณาจักรใต้ถูกปกครองโดยเผ่ายูดาห์  ยิวทั้งหมดคืออิสราเอล แต่ไม่ใช่อิสราเอลทั้งหมดที่เป็นยิว

ประมาณ700ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรเหนือของอิสราเอลถูกตีแตกโดยชาวอัสซีเรียนอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (อิรักปัจจุบัน) ชาวอาณาจักรเหนือ แตกออกเป็นเผ่าย่อยๆของอิสราเอลสิบเผ่าที่ระเหเร่ร่อนไปทั่วโลก

ประมาณ600ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรใต้ของชาวยูดาห์ที่รอดพ้นการรุกรานของชาวอัสซีเรียน  ถูกทำลายล้างราบคาบโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ Nebukadnezer ชาวเมืองถูกกวาดต้อนไปยังบาบิโลเนีย

ประมาณ 400ปีก่อนคริสตกาล ชาวยิวที่อยู่ในทางนำได้กลับสู่อิสราเอลอีกครั้งด้วยการปลดปล่อย ของกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย(ซุลกอรนัยน์) ส่วนยิวหัวกบฏในบาบิโลนกลายเป็นพวกบูชาชัยตอน อ้างว่าเชื้อสายของนบีอุไซร Ezra เป็นบุตรของพระเจ้า ใช้คัมภีร์ตัลมูดไสยศาสตร์แห่งบาบิโลน และปฏิเสธคัมภีร์เตารอต

ประมาณ 300ปีก่อนคริสตกาล ยิวเผยแพร่ความเชื่อเรื่องพระบุตรของพระเจ้า เข้าสู่อาณาจักรกรีกในยุคสมัยของ อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย ผู้เดินทางพิชิตดินแดนตะวันออก (เปอร์เซีย) กษัตริย์ชาวกรีกจึงอ้างตัวเป็นพระบุตรของ  ซีอุส Zeus

ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล ชาวยิวรบกับโรมันถูกกวาดต้อนเป็นเชลย และตั้งรกรากในอาณาจักรโรมัน เยรูซาเล็มล่มสลาย หลังการล่มสลายชาวยิวก็ไม่สามารถกู้และผนึกรวมอาณาจักรของนบีสุไลมานนี้กลับมาได้อีกเลย ในอีก300 ปีต่อมาต่อมาชาวยิวจึงยุยงให้พวกวิสิโกธและฮัน ชาวยุโรปตะวันออก เข้ารุกรานโรมันตะวันตก เมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายลง ชาวคริสเตียนโรมันจึงเข้าสู่กลียุค ที่เรียกว่ายุคกลาง Medieval



ตราราชสีห์ประจำเผ่าเยฮูดาYəhuda บนตราประจำเมืองเยรูซาเล็ม
ปัจจุบันเรามักพบเห็นตราราชสีห์นี้ในองค์กรต่างๆของชาวคริสเตียน


รูปปั้น Lion of judah สัญลักษณ์แห่งผู้ปกป้องของชาวยิว



คับบาลา(Cabalists) คำสั่งสอนแห่งอำนาจลี้ลับ

  ชาวยิวในอาณาจักรเหนือซึ่งถูกยึดครองโดยชาวอัสซีเรียน ได้ศึกษาศาสตร์ลี้ลับของชาวตะวันออก พวกเขาผูกโยงเรื่องราวของพระเจ้าของพวกเขาเข้ากับเทพเจ้าและอำนาจลึกลับของจักรวาล นักบวชของพวกเขาได้แก้ไขและเขียนคัมภีร์โดยอ้างว่าพวกเขาเข้าถึงอำนาจลี้ลับที่ทำให้เข้าถึงสถานะของพระเจ้า เมื่อถูกจับเป็นเชลยในบาบิโลน พวกเขาได้ต่อยอดการศึกษาศาสตร์ลี้ลับจากชาวบาบิโลเนีย หลังอาณาจักรถูกตีแตก ชาวยิวทั้งหมดถูกจับไปเป็นเชลย พวกเขาได้พบเห็นความร่ำรวย ความหรูหราจากการค้าขายเทวรูป และธุรกิจบนความงมงายของผู้คนทั่วทุกสารทิศซึ่งมาค้าขายที่บาบิโลน ด้วยความเฉลียวฉลาดของพวกเขาทำให้เหล่านักบวชยิวได้รับตำแหน่งในราชสำนักและเป็นโหราจารย์ซึ่งทำหน้าที่ทำนายทายทักให้แก่กษัตริย์ของบาบิโลน

พวกเขาศึกษาศาสตร์ลี้ลับ เพื่อการค้นหาและอธิบายความสัมพันธ์ของความเป็นนิรันดร์ กับ การสร้างสรรค์จักรวาลบนธรรมชาติที่มีจุดสิ้นสุด เพื่อไขปัญหานี้ พวกเขาจึงค้นคว้าเพื่อการกำหนดธรรมชาติของเอกภพการดำรงอยู่ของมนุษย์ และวัตถุประสงค์แห่งการดำรงอยู่ บนคำว่าวิวัฒนาการ  Evolutionคำสอนนี้ยังดำรงอยู่อย่างเด่นชัดในปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน 

                 
 
ฟาริซีย์ (The Pharisees) สมาคมยิวกบฏ

กลุ่มยิวชาตินิยมนักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่งในช่วงยุคสุดท้ายของอาณาจักรยูดา ซึ่งเชื่อว่าเมไซอาห์จะมาในเชื้อสายของพวกตน หลังการมาของผู้ปลดปล่อยยิวออกจากบาบิโลเนีย ผู้สร้างลัทธิคับบาลา สมาคมลับชาวยิวเพื่อนำชาวยิวกลับสู่อิสราเอล คำสอนของพวกเขาถูกถ่ายทอดในรูปแบบคัมภีร์ที่ชื่อ(Talmud )ตัลมูด และถูกปรับแก้ไขจนกลายเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่ชื่อ Sepher ha Zohar (เซเฟอร์ ฮา โซฮาร์) พวกเขารวมกลุ่มกันด้วยภราดรภาพความเป็นพี่น้องทางสายเลือด กำหนดกฏเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน และสร้างพิธีกรรมทางไสยศาสตร์จากลัทธินอกรีต เพื่อใช้กันในกลุ่มโดยสั่งการและชี้นำโดยนักบวชซึ่งมีอำนาจในอาณาจักร นักบวชเหล่านี้ยังตำหนิพระเจ้าและคำสอนในคัมภีร์เดิมซึ่งทำให้อาณาจักรของพวกเขาล่มสลายลงอีกด้วย ฟาริซีย์ยังมีความเชื่อมโยงกับ(Judeo-Freemasons) ยูดีโอฟรีเมสันและ (modern Zionists)ไซออนิสต์สากลในหลายๆด้าน พวกเขาตีความอำนาจเหนือจักรวาลของพระเจ้าในคำสอนของโมเสสให้กลายเป็นอำนาจที่จับต้องและวัดตวงได้ทางวัตถุ อันทำให้ชาวยิวได้ปกครองโลก ความเป็นสมาชิกของพวกเขาถูกเก็บงำไว้เป็นความลับสุดยอด เพื่อนำพวกเขาไปสู่อำนาจทางการเมืองการปกครอง โดยครอบงำผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เพื่อตั้งสภาของชาวยิว และสร้างลำดับขั้นของชนชั้นทางสังคมตามรูปแบบคำสอนลับของพวกเขาเพื่อให้ลูกหลานของตัวเองขึ้นปกครองชนชาติอื่น


พระเยซูถูกส่งตัวให้แก่กษัตริย์โรมัน โดยกลุ่มนักบวชยิวฟาริซีย์
เพราะไม่ชอบใจที่นบีอีซากล่าวตำหนิพวกเขา ในการบิดเบือนและฝ่าฝืนคัมภีร์เตารอต

ชุมนุมนักบวชแห่งขุนเขา (The Essense) ผู้บรรลุแก่นแท้ของสรรพสิ่ง

ชุมชนนักบวชผู้อาศัยในทะเลทรายโกโมรา(Gomorrah) ใกล้กับทะเลตาย พวกเขาสืบทอดพิธีกรรมลึกลับของชาวตะวันออก เชี่ยวชาญเรื่องเทววิทยา และฝึกฝนการใช้ไสยศาสตร์ การปลุกเสก มนต์คาถา ทั้งสายขาวและสายดำ ซึ่งหยิบยืมเรียนรู้มาจาก บาบิโลเนีย อียิปต์ เปอร์เซีย แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปแบบของชาวยิว ด้วยอักขระตัวอักษรฮิบรู และพระนามพระเจ้าของชาวยิว พวกเขาเป็นผู้อารักขาคัมภีร์คับบาลา นักบวชเอสเซนส์ยังรับปรัชญาและพิธีกรรมทางพุทธของชมพูทวีปมาใช้ ดังปรากฏศิลปะตะวันออกอย่างเด่นชัดในรูปแบบเทวรูปพระเม่ของชาวกรีก (Diana of Ephesus) ไดอานาแห่ง อีฟิซุส เมืองอีฟิซุสยังเป็นวิทยาลัยของเหล่าเอสเซนส์ พวกเขาเป็นนักบวชที่เคร่งครัดและเป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวยิว พวกเขารวมกลุ่มกันเผยแพร่ลัทธิบูชาสติปัญญาและความรู้ (Gnostic) นักบวชกลุ่มนี้ยังรวมกลุ่มกันอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรียของอียิปต์และตั้งกลุ่มที่ชื่อ(The Alexandrian Gnostics) พวกเมสันในปัจจุบันยังแอบอ้างสถานะเอสเซนส์ให้แก่นบีอีซาและนบียะห์ยา และสถาปนาเมืองโกมาราให้กลายเป็นโบสถ์แห่งเยรูซาเล็ม(Jerusalem Church)  ทั้งหมดนี้คือลัทธิความเชื่อเรื่องเร้นลับของชาวยิวก่อนที่จะแทรกซึมแพร่เข้าไปสู่อาณาจักรคริสเตียนแห่งโรมัน โดยนักบุญวาเลนตินุส(Valentinus) ในสมัยของโปป ปิอุส(Pius)

วิหารแห่งเมืองอีฟิซุส เมืองที่รุ่งเรืองในยุคอาณาจักรกรีก และ อาณาจักรไบเซนไทน์ของโรมันตะวันออก

Jewish community in rome (ชุมชนชาวยิวในโรม)

ชาวยิวกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ากลุ่มแมคคาบี (Maccabees ) เคยได้รับความช่วยเหลือให้อพยพมาตั้งรกรากในอาณาจักรโรมันอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเจ็ดสิบปีหลังคริสตกาล อาณาจักรยิวก็ถูกอาณาจักรโรมันตีแตกชาวยิวมากมายถูกจับเป็นเชลย พวกเขาจึงมาตั้งรกรากอยู่โดยรอบวาติกัน (Vatican) ชื่อเมืองนี้มีความหมายในภาษาละตินว่าVatis=Diviner(ศักดิ์สิทธ์) และCan=Serpent(งู)   งูศักดิ์สิทธ์ (divining serpent ) เมืองนี้ตั้งอยู่บนเมืองโบราณที่เรียกว่า CITTÁ DEL VATICANO แปลว่าเมืองแห่งคำพยากรณ์ จักรพรรดิแห่งโรมันจูเลียส ซีซาร์ยังได้ฉายาว่าเป็นพันธมิตรแห่งชาวยิว แม้แต่ จักรพรรดิ์ออกุสตุสและอากริปปาทาสที่ขึ้นครองบัลลังค์ ก็ต่างได้รับความช่วยเหลือจากชาวยิว จักรพรรดิ์ทั้งสองสร้างโบสถ์เป็นการตอบแทนให้แก่ชาวยิวเหล่านั้น ชาวยิวจึงใช้โรมันเป็นแหล่งซ่องสุมอำนาจการปกครองและอำนาจทางการเงินในภูมิภาคยุโรป  และใช้อำนาจนี้บงการกษัตริย์ต่างๆของยุโรป ข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่โดยนักบวชยิวซึ่งเข้ารีตคาธอลิก พวกเขาขึ้นสู่จุดสูงสุดในยุคสมัยของจักรพรรดิ์เนโร เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินซึ่งถือนิกาย กรีกออโธดอกซ์ เริ่มบีบบังคับชาวยิวในเรื่องศาสนา พวกเขาก็ยุแยงให้จูเลียนผู้เป็นหลานชายล้มบัลลังค์ จักรพรรดิจูเลียนคนนี้เองเป็นผู้ดำริเริ่มโครงการบูรณฟื้นฟูวิหารของโซโลมอนเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนให้แก่ชาวยิว ในขณะที่ชาวคริสต์ในนิกายโรมันคอธอลิกใช้กฏหมายของคัมภีร์ใหม่ แต่กลับยอมรับความเชื่อและปฏิบัติตามพิธีกรรมของชาวยิวดั้งเดิม เราจึงไม่พบความแตกต่างและกลับพบสิ่งที่เป็นคู่ขนานของคริสต์ในนิกายโรมันคาธอลิกกับศาสนายูดาห์ นั่นหมายความว่า ความเชื่อและพิธีกรรมของยูดาห์ถูกแฝงเข้ากับโบสถ์แห่งโรม (วาติกัน) เรียบร้อยแล้ว 
 

คงไม่มีคำตอบที่ดีสำหรับเสาโอเบลิสก์ต้นนี้ Obeliskหากไม่มียิวแทรกซึมอยู่ในวาติกัน

Crypto-jewry (ยิวซ่อนเร้น) 

ในเมื่อศาสนายูดายคือพื้นฐานและจุดริเริ่มของโรมันคาทอลิก จึงสรุปได้ว่า โรมันคาทอลิก คือโครงการที่ถูกวางแผนไว้โดยชาวยิวตั้งแต่แรกเริ่ม พวกเขาวางรูปแบบและดำเนินการอยู่ เบื้องหลังโบสถ์โรมันคาทอลิกอย่างแนบเนียน พวกเขาวางแผนให้อาณาจักรโรมันยุโรปก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอำนาจ  เพื่อเปลี่ยนแปลงอาณาจักรคริสเตียนให้กลายเป็นอาณาจักรของแมสไซอาห์แอนตี้คริสต์ พวกเขาพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเยรูซาเล็มให้กลายเป็นดินแดนของชาวยิว Christian Zionist ผู้ก่อตั้ง UN ยีน เคิร์กปาทริก Jeane Kirkpatrick ประธานาธิบดีอิสราเอล เบญจามินเนทันยาฮู Benjamin Netanyahu เจพีมอร์แกน J. P. Morgan เจ้าของบริษัทสินเชื่อและการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทั้งหมดล้วนบริจากเงินทุนสนับสนุน Rothschild-funded กองทุนเพื่อสนับสนุนกิจการศาสนาของชาวคริสเตียนในนิกายเยโฮวาวิทเนส Jehovah’s Witnesse เป็นที่เข้าใจได้ว่ายิวคับบาลาได้แอบแฝงความศรัทธาในศาสนายูดาไว้ในลมหายใจของพวกเขา และใช้ความตลบแตลงสร้างความเสียหายได้อย่างใหญ่หลวง ชาวยิวผู้บูชาเจว็ดได้บ่อนทำลาย ศาสนาที่ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว อย่างยูดาห์ คริสเตียน และอิสลาม ยิวคับบาลาได้รับการชี้นำจากชัยตอน ซึ่งได้มอบอำนาจเหนือธรรมชาติให้แก่พวกเขา ด้วยการศึกษาคัมภีร์เวทย์มนต์ไสยศาสตร์ วิทยาการเกี่ยวกับตัวเลขและดวงดาว พวกเขาแทรกซึมสู่สถาบันต่างๆทางสังคม อันเป็นกลไกสำหรับควบคุมชนชาติต่างๆ  ในระหว่างยุคกลางการแทรกซึมของชุมชนชาวยิวได้เกิดขึ้นในสองรูปแบบ ในปี 1478 ชาวยิวถูกบีบบังคับให้เข้ารีตคริสเตียน แต่พวกเขายังคงแอบแฝงความเชื่อไว้ภายใน และยังคงพิธีกรรมต่างๆของตนไว้ในบ้านของตัวเอง พวกเขาเรียกตัวเองว่าConversos และMarranos  ในขณะที่พวก Conversos เป็นชาวเมืองธรรมดาที่แอบแฝงความเป็นยิวเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของพวกเขาไว้ พวก  Marranos นักบวชยิวที่แฝงตัวเป็นบาทหลวงก็บ่อนทำลายศาสนจักรจากภายใน สร้างความเสียหายให้แก่สถาบันพระศาสนาของชาวคริสเตียน ดังปรากฏเด่นชัดจากบทบาทของวาติกัน ในการยุแยงให้ชาวคริสเตียนยุโรปรบพุ่งกันจากความขัดแย้งกันระหว่างนิกายต่างๆในศาสนาของตัวเอง เพื่อรีดเก็บเงินภาษีจากแม่หม้ายและเด็กกำพร้า เพื่อนำมาตอบสนองตัณหาราคะของเหล่านักบวช และชีวิตอันสุขสบายหรูหรา ของโปปและคณะบาทหลวงในวาติกัน ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการบิดเบือนคัมภีร์ของศาสดาอีซา 

ชาวยิวได้นำความรู้ที่สั่งสมมาในลัทธิคับบาลามาใช้ประโยชน์ตลอดมา พวกเขาได้รับอำนาจและอิทธิพลในระดับสูงเหนือประชาชาติต่างๆ ผ่านผู้นำกษัตริย์และโปป ทั้งหมดต่างเคยได้รับการชี้แนะและทำนายทายทักจากโหราจารย์ชาวยิว อำนาจทางการเมืองจึงตกสู่ชาวยิว ในอีกด้านหนึ่งด้วยอำนาจทางการเงิน เมื่อนายธนาคารชาวยิวต่างเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนและขึ้นภาษีของรัฐบาล ชัยชนะครั้งสุดท้ายของชาวยิว ฟรีเมสัน และยิวคอมมิวนิสต์ นับแต่สิ้นสุดศตวรรษที่ 18 จวบจนยุคของเรา เกิดจากชาวคริสเตียนที่พยายามต่อต้านพวกเขาจนทำให้ชาวยิวJewish Fifth Column เหล่านั้นแทรกซึมลึกเข้าสู่ภายในสถาบันซึ่งเป็นหัวใจหลักของพวกเขาเอง ในช่วงยุคกลางโปปได้กำจัดเหล่าชาวยิวหัวกบฏจอมกลับกลอกเหล่านี้จนทำให้พวกเขาต้องรวมกลุ่มกันอย่างลับๆ เช่นกลุ่ม Catarensers, Patarines, Albignensians, Hussites, Illuminati และกลุ่มอื่นๆ พวกเขาแทรกซึมอำพรางตัวจนเข้าถึงตำแหน่งในระดับสูงของโบสถ์คาทอลิกโดยไม่มีใครจับตัวได้ และดำเนินการก่อตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นในยุโรปตะวันตก ด้วยวิธีการกลับกลอก ปิดบังอำพรางตัวเอง ทำให้สายตระกูลของพวกเขามีชื่อสกุลอยุ่ในเหล่า ราชวงศ์ของยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศษ อิตาลี อังกฤษ เสปน โปรตุเกส เยอรมัน โปแลนด์ และในดินแดนต่างๆของคริสเตียนแห่งยุโรป พวกเขาให้การศึกษาทางศาสนาแก่ลูกหลาน ที่เป็นกษัตริย์ และนักบวช ทำให้ได้รับเกียรติและชื่อเสียง และเป็นผู้ชี้นำสังคม 


The Merovingians (เมโรวิงเจียน)

เพื่อยืนยันการแทรกซึมของยิวเข้าสู่ โบสถ์แห่งโรมัน นักประวัติศาสตร์ยิวผู้เชี่ยวชาญ เซซิล โรทCecil Roth (1925-70) ได้กล่าวเจอะจงเกี่ยวกับเรื่องราวการแอบแฝงแทรกซึมของชาวยิว ในยุคกลางของยุโรป History of the Marranos  ซึ่งกล่าวไว้อย่างละเอียดถึงการถ่ายทอดความเชื่อของพวกเขาสู่ลูกหลานอย่างลับๆ ในขณะที่ต้องดำรงอยู่ในหมู่พลเมืองชาวคริสเตียน ช่วงปลายศตวรรษที่13 Anjou ผู้ปกครองเนเปิลแห่งอิตาลีประตูการค้าสู่ยุโรป ก็คือยิวที่แฝงตัวเข้ารีตคริสเตียน สภาพการณ์เช่นนี้ของชาวยิวไม่ได้เกิดในยุโรปดินแดนของชาวคริสต์แต่เพียงอย่างเดียว ชาวยิวที่อำพรางตนเหล่านี้ยังอาศัยอยู่ในดินแดนอิสลามอีกด้วย พวกเขาทำทีเข้ารับอิสลามแต่ลับหลังแอบแฝงความเชื่อดั้งเดิมของตัวเองไว้ (มุนาฟิก) และเผยแพร่ความเสื่อมเสียต่างๆเข้าสู่ อาณาจักรอิสลาม เช่นการยุแยงจนเกิดกลุ่มลัทธิชีอะจากปมความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ และการบิดเบือนแนวทางซูฟีจนหลงไป พวกดอนเมห์แห่งซาโลนิกาของอาณาจักรไบเซนไทน์ก็คือยิว Sabbateansที่แอบแฝงตัวในสภาพมุสลิมและดำเนินการบ่อนทำลายระบอบคอลีฟะฮฺแห่งอิสลามของตุรกีเป็นผลสำเร็จในปัจจุบัน  สิ่งที่เซซิล โรทไม่กล่าวถึงเลยคือ ความเป็นยิวของกษัตริย์ดาโกเบิรท์ Dagobert  เมโรวิงเจียนยิว ซึ่งสั่งให้ยิวทั้งหมดเข้ารับเบปติสท์ เพราะ ดอกเตอร์ โรท รู้ดีถึงข้อเท็จจริงของราชวงศ์เมโรวิงเจียนผู้ปกครองอาณาจักรฝรั่งเศษ ซึ่งมีอิทธิพลเหนือยุโรปทั้งหมดในเวลานั้น เพราะทั้งตระกูลยิวพ่อค้าในอิตาลี และยิวกษัตริย์ของฝรั่งเศษล้วนเป็นหัวเรือใหญ่ในการริเริ่มสงครามครูเสด และการริเริ่มของยุคเรอเนสซองRenaissance “The Dark Ages. Jews in Christian Europe 711–1096, which is Vol.11 of The World History of the Jewish People:” 

สาเหตุใดที่ทำให้ ดอกเตอร์โรทต้องปกปิดประวัติศาสตร์ในช่วงยุคศตวรรษที่ 5-8 ของยุโรป เขารู้อยู่แก่ใจดีว่าใครกันแน่ที่ปกครองยุโรปในช่วงเวลานั้น กษัตริย์คลอวิซClovis  กษัตริย์คริสเตียนคนแรกในราชวงศ์เมโรวิงเจียน ประกาศตนเป็นผู้สืบเชื้อสายของกษัตริย์เดวิด โซโลมอน และพระเยซู ผ่านเชื้อสาย นางแมรี่ แมกดัลเลน พร้อมกองทหารชาวยิวกว่า 3000 คน และเชื้อสายยิวในราชวงศ์เมโรวิงเจียนก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป และครองสถานภาพทางสังคมในหมู่กษัตริย์คริสเตียนของหัวเมืองต่างๆทั่วยุโรป หลังศตวรรษที่ 8 กษัตริย์ชาร์ลมานแฟรงค์ Charlemagne ได้ปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์เมโรวิงเจียนลง แต่เขาก็แต่งงานกับสตรีเชื้อสายเมโรวิงเจียน เพื่อสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ์แห่งโฮลีโรมัน และครองเชื้อสายแห่งกษัตริย์ของพระเยซูเอาไว้เช่นเดิม ในอดีตยุโรปทั้งหมดคือเมืองขึ้นของอาณาจักรแฟรงค์ (ฝรั่งเศส) อาณาจักรเดียวหาใช่ ประเทศต่างๆที่ตั้งขึ้นใหม่ ในปัจจุบันการดำเนินการทั้งหมดผ่านคำสั่งการจากวาติกัน คำสั่งของโปปแห่งวาติกันในปัจจุบัน ก็คือคำสั่งเหนือ ชาวโฮลีโรมัน ที่อาศัยอยู่ทั่วโลกนั่นเอง มีมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจและไม่ทราบว่า อาณาจักรโฮลีโรมัน ยังดำรงอยู่และขยายตัวไปทั่วทุกดินแดนที่ชาวตะวันตกผิวขาวเข้าไปครอบครอง สงครามครูเสดและคำสั่งการต่างๆจะยังมีอยู่ต่อไป ตราบที่มุสลิมยังคงปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านรอซูลลุลลอฮฺอยู่ต่อไป   อาณาจักรแฟรงค์ ของชาวโฮลีโรมัน ในปัจจุบันก็คือยุโรปและดินแดนที่ยอมรับกฏหมายตะวันตก อันมีวาติกันเป็นเมืองหลวงนั่นเอง
 
⊙△⊙ ⊙△⊙ ⊙△⊙ ⊙△⊙ ⊙△⊙ ⊙△⊙ 


โดย ชุกรี การิมี กลุ่มอัซซาบิกูน

อิสลามเกิดขึ้นเมื่อใด?




อัล-อิสลาม มิได้พึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก หรือขณะที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้อพยพจากนครมักกะฮ์สู่นครมะดีนะฮฺ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนับฮิจเราะฮ์ศักราชแต่อย่างใด

แต่อัล-อิสลามได้เกิดขึ้นบนโลกนี้ตั้งแต่มนุษย์คนแรกของโลก นั้นคือ ท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม ซึ่งในแต่ละยุคแต่ละสมัย พระองค์อัลลอฮฺได้ส่งศาสทูตของพระองค์มาเพื่อเผยแพร่เชิญชวนมนุษยชาติสู่อัล-อิสลาม ไม่ว่า จะป็นท่านนบีนัวอ์(โนอาอ์) นบีอิบรอหีม(อับราฮัม) นบีมูซา(โมเสส) หรือนบีอีซา(เยซู)  อาลัยฮิสสลาม เป็นต้น จนกระทั่งอัล-อิสลามในยุคสุดท้ายที่พระองค์อัลลอฮฺได้แต่งตั้งศาสนทูตคนสุดท้าย คือ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาเชิญชวนมนุษยชาติสู่อัล-อิสลาม การเชื่อมั่น และสักการะต่อพระองค์อัลลอฮฺแต่เพียงองค์เดียว

ดังพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า


وَلَقَد بَعَثنا فى كُلِّ أُمَّةٍ رَسولًا أَنِ اعبُدُوا اللَّهَ وَاجتَنِبُوا الطّٰغوتَ ۖ فَ


“และเราได้แต่งตั้งศาสนทูตแก่ทุกประชาชาติโดยกำชับว่าพวกท่านจงสักการะต่ออัลลอฮฺ และจงออกห่างจากเจว็ดทั้งหลาย” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลนะฮล์ 16 อายะที่ 36)

และท่านนบีนัวอ์ นบีอิบรอหีม นบีมูซา หรือนบีอีซา อาลัยฮิสสลาม ไม่ได้เรียกร้องไปสู่ศาสนาใด ไม่ว่าศาสนาคริสต์ ยูดาย แต่ท่านต่างได้เรียกเชิญชวนผู้คนไปสู่การสักการะต่อพระองค์อัลลอฮฺองค์เดียว หรืออัล-อิสลาม และท่านนบีเหล่านั้น ไม่ได้เป็นคริสต์ ไม่ได้เป็นยิว แต่ท่านเป็นมุสลิม

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า

ما كانَ إِبرٰهيمُ يَهودِيًّا وَلا نَصرانِيًّا وَلٰكِن كانَ حَنيفًا مُسلِمًا 

“อิบรอหีมมิได้เป็นยิวและมิได้เป็นคริสต์ แต่เขาเป็นผู้รับสัจธรรมผู้ยอมจำนน”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอาละอิมรอน 3 อายะที่ 67)


لِكُلٍّ جَعَلنا مِنكُم شِرعَةً وَمِنهاجًا ۚ 
 "สำหรับแต่ละประชาชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทางไว้แล้ว"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะที่ 48)

والله أعلم بالصواب

กาแฟทำเผื่อ




มีคนอาหรับคนหนึ่ง เขาได้เล่าว่า :

ฉันไปเที่ยวประเทศอิตาลีกับเพื่อนฉัน แล้วเราก็ได้เข้าไปในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง แล้วก็สั่งกาแฟมาสองแก้ว แล้วก็นั่งในร้าน ในขณะที่เรากำลังนั่งอยู่ มีลูกค้าสองคนเดินเข้ามาในร้าน แล้วสั่งกาแฟมาห้าแก้ว อีกสามแก้วนั้นให้ทำเผื่อ แล้วตั้งไว้ที่ร้าน

ฉันก็เลยถามเพื่อนฉันว่า : สามแก้วที่เขาจะทำเผื่อไว้ หมายความว่ายังไงหรอ ?
เพื่อนฉันก็ตอบว่า : งั้นเราคอยสังเกตุดูก่อน ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้

หลังจากนั้น ลูกค้าใหม่สี่คนทยอยเดินเข้ามาในร้าน แล้วสั่งกาแฟเจ็ดแก้ว ส่วนอีกสามแก้วนั้น ให้ทำเผื่อ แล้วตั้งไว้ที่ร้าน

ด้วยคำพูดของลูกค้านั้น ได้ทำให้พวกเราต้องประหลาดใจ แต่พวกเราก็ไม่สนอะไรมาก พวกเราจึงพูดคุยเรื่องอื่นๆ พร้อมจิบกาแฟไปพลางๆ

หลังจากนั้นไม่นานนัก มีคนยากจนคนหนึ่ง เดินเข้ามาในร้าน แล้วมุ่งไปที่เจ้าของร้าน แล้วถามว่า : ที่นี่มีกาแฟเผื่อให้สำหรับคนยากจนไหม ?

เจ้าของร้านก็รีบเสริฟกาแฟให้แก่คนยากจนที่มาถามหาอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีคนใจบุญได้จ่ายค่ากาแฟให้ล่วงหน้าไว้แล้ว (หมายความว่า คนใจบุญที่ซื้อกาแฟเพื่อรับประทานเอง และซื้อกาแฟหรือจ่ายค่ากาแฟเผื่อให้แก่คนยากจนที่ไม่มีเงินทองจะหากินด้วยตัวเองได้)

การกระทำที่ดีแบบนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่มีมายาวนานตั้งแต่อดีตมาแล้ว ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟอย่างเดียว แต่เป็นร้านค้าทั่วๆไปในประเทศอิตาลีและประเทศเพื่อนบ้านในทวีปยุโรป

มาชาอัลลอฮฺ ในประเทศบ้านเรา จะมีคนใจบุญแบบนี้บ้างไหม ? โดยเฉพาะบรรดามุสลิมีน ที่มุ่งหวังทำบุญทำทานศอดาเกาะห์ให้แก่บรรดาคนยากจน



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



บทความดีๆโดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول ( ص )
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

จงปล่อยตัวฉันเพื่ออัลลอฮฺ




ฉันไม่อยากจะเปล่งเสียงอาซานอีกต่อไป ก็เพราะว่า...


ท่านบิลาล รอฎียัลลอฮูอันฮู เป็นคนแรกที่ท่านนบีศ็อลฯให้เปล่งเสียงอาซาน และทำการอาซานละหมาดในทุกๆเวลา ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปี แต่เมื่อท่านนบีศ็อลฯได้เสียชีวิตแล้ว ท่านก็ไปพบเจอกับท่านอบูบักร รอฎียัลลอฮูอันฮู แล้วพูดว่า : โอ้ท่านคอลีฟะห์ แท้จริงแล้ว ฉันได้ยินท่านรอซู้ลศ็อลฯได้กล่าวว่า : งานการที่ดีที่สุดสำหรับคนมุอ์มิน นั่นคือ การญิฮาดไปในหนทางของอัลลอฮฺ

ท่านอบูบักรก็พูดว่า : แล้วคุณจะทำยังไงล่ะ บิลาล ?
ท่านบิลาลก็ตอบว่า : ฉันอยากออกญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ จนกระทั่งตัวฉันจะสิ้นชีวิตลง
ท่านอบูบักรก็ถามว่า : หลังจากนี้ไป แล้วใครจะอาซานแทนล่ะ ?
น้ำตาของท่านบิลาลร่วงลงมา แล้วก็ตอบว่า : ฉันจะไม่อาซานอีกต่อไปแล้ว หลังจากที่ท่านนบีฯได้เสียชีวิตไปแล้ว
ท่านอบูบักรก็พูดว่า : ท่านจงอยู่กับเราที่นี่ และเปล่งเสียงอาซานให้กับพวกเราเถอะนะ
ท่านบิลาลก็พูดว่า : ถ้าหากว่าท่านได้ปล่อยตัวฉันจากการเป็นทาสเมื่อครั้งก่อนนั้น ฉันก็จะอยู่กับท่าน แต่ถ้าหากว่าท่าน ได้ปล่อยตัวฉันเพื่ออัลลอฮฺ ท่านจงปล่อยตัวฉันไปเถอะนะ
ท่านอบูบักรก็พูดว่า : ฉันได้ปล่อยตัวท่านเพื่ออัลลอฮฺนะ บิลาล

ท่านบิลาลก็เริ่มเดินทางไปยังเมืองชาม ทั้งๆที่ในใจของเขาอยากอยู่ในมาดีนะห์ เขาจึงต้องทำใจ แล้วพูดกับตัวเองว่า : ฉันจะไม่อาศัยอยู่ในมาดีนะห์อีกต่อไป หลังจากที่ท่านนบีฯได้เสียชีวิตแล้ว ก็เพราะว่า การอาซานนั้น ได้ทำให้เขาต้องสะอื้นร้องไห้ออกมาทุกครั้ง โดยเฉพาะประโยค "أشهد أن محمدًا رسول الله" ประโยคนี้ได้ทำให้เขาต้องร้องไห้ออกมาทุกครั้ง เขาจึงตัดสินใจเดินทางร่วมกับมูญาฮีดีนไปยังเมืองชาม

เมื่อบิลาลเดินทางมาถึงเมืองชามแล้ว ท่านอูมัรรอฎียัลลอฮูอันฮูได้สั่งให้ผู้คนนำตัวบิลาลเพื่อทำการอาซาน และขอร้องบิลาลมาทำการอาซานเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น (ก็เพราะว่าท่านบิลาลได้สัญญาแล้วว่าจะไม่อาซาน หลังจากที่ท่านนบีฯได้เสียชีวิตแล้ว) เมื่อเวลาละหมาดได้มาถึง ท่านอูมัรจีงเรียกบิลาลให้ทำการอาซาน เมื่อบิลาลเริ่มอาซาน ผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้นต่างก็ร้องไห้ออกมา อย่างที่ไม่เคยมีใครร้องไห้แบบนี้มาก่อน และคนที่ร้องไห้มากที่สุดในตอนนั้น คือ ท่านอูมัร รอฎียัลลอฮูอันฮู

เมื่อความตายได้ขยับเข้ามาใกล้ตัวของท่านบิลาลแล้ว ภรรยาของท่านร้องห่มร้องไห้อยู่เคียงข้างตัวท่าน แล้วท่านก็ปลอบใจนางว่า : อย่าได้ร้องไห้เลยนะ พรุ่งนี้ เราก็จะได้พบเจอกับคนที่เรารัก อย่างท่านนบีศ็อลฯ รวมถึงบรรดาศอฮาบัตของท่านทั้งหลายแล้ว



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



บทความดีๆโดย : اجعل صفحة النبي رقم 1 على الفيس بوك.. انشرها بقدر حبك للنبي
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เธอผู้ค้นพบอิสลาม




หญิงสาวคนหนึ่ง ที่พ่อแม่ของเธอไม่เคยสนใจเรื่องศาสนาเลย

แต่ตัวเธอได้เก็บหนังสือศาสนาเท่าที่มีอยู่มาอ่าน เพราะความสนใจทางด้านศาสนา เธอจึงเริ่มค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ

และเธอก็ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม

เธอเล่าว่า...
เธออาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลมาก เป็นเมืองที่ยังไม่เจริญ เธอต้องอาศัยเพื่อนไปตลาด เพื่อออกไปค้นหากุรอาน และทำความเข้าใจ

เธอบอกว่า ยังไม่ทันที่จะผ่านอายะฮฺที่2 จากซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ
ความว่า :

“คัมภีร์กุรอานนี้ มาจากอัลลอฮฺอย่างแท้จริง ไม่ต้องสงสัย 
เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรงอัลลอฮฺ” 
(อัลบะกอเราะฮฺ 2:2)

เธอวางกุรอาน และกล่าวปฏิญาณตนทันที ว่า…
“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไหว้อย่างเที่ยงแท้ นอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริง มุฮัมมัด คือร่อซูลของอัลลอฮฺ”

หลังจากนั้น เธอก็ออกไปถามหาพี่น้องมุสลิม และได้เดินทางไปยังนครวอชิงตัน เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย “จอร์จ วอชิงตัน” และแต่งกายด้วยชุดคลุมฮิญาบอย่างสมบูรณ์แบบ

อัลลอฮุอักบัร ยังมีหัวใจบริสุทธิ์อีกมากมาย ที่แสวงหาสัจธรรม
และความเมตตา ขอพระองค์ทรงนำทางอันเที่ยงตรงแก่พวกเขาด้วยเถิด
......................................................

ที่มา วารสารสายสัมพันธ์
เรื่องจาก ดร.ยะอฺฟัร เชค อิดรีส
แปลและเรียบเรียงโดย อ.ยะหฺยา หมัดละ

ต้นไม้ยังแบ่งปัน





" ต้นไม้ " แม้ไม่มีหัวใจและสติปัญญาแต่มันก็ยังช่วยเหลือและยินยอมให้พืชชนิดอื่นแม้จะต่างสายพันธุ์เจริญเติบโตบนตัวของมันเอง

...และเราซึ่งเป็น" มนุษย์ " มีทั้งหัวใจและสติปัญญาเราเคยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือมีความนึกคิดที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์รึไม่...

* ท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ รอฮิมาฮุ้ลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
"ลูกหลานของอาดัมไม่สามารถอยู่ในโลกนี้ได้ นอกจากพวกเขาจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งคำพูดและการกระทำ" (อัตติสอีนียะฮฺ 1/125)

والله أعلم بالصواب

โดย Dunt Bung

อดีตที่เย็นชาปัจจุบันเขาคือผู้ศรัทธาที่แท้จริง




ชายหนุ่มชาวไทยวัยประมาณ 40 ปี ผู้มีความเพียบพร้อมในชีวิต
มีการศึกษาสูงจากต่างประเทศ มีหน้าที่การงานดี
และมีคู่ครองที่เพียบพร้อม
ทุกอย่างดูดี สำหรับค่านิยมในสังคมปัจจุบัน

เขาได้ชื่อว่าเป็นมุสลิม แต่ไม่ได้รู้สึกถึงการมีอยู่ของพระเจ้า
เป็นมุสลิม...ที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางแห่งอิสลาม

ในวัยเด็ก เขาได้เรียนศาสนาบ้าง ในระยะเวลาสั้นๆ ช่วงฤดูร้อน
เขาละหมาด เมื่อได้อยู่ในสังคมมุสลิม
แต่เมื่อกลับไปในสังคมที่รายล้อมด้วยผู้คนต่างศาสนิก
เขาก็กลับไปทำตัวตามสบายเช่นเดิม
และเขาไม่เคยศึกษาความหมายของอัลกุรอานเลย
........................................................

เขามีความกังวลใจ เมื่อต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมภรรยา
เขารู้สึกไม่อยากเปลี่ยนแปลงหลังจากกลับจากฮัจญ์
และกลัวว่าภรรยาจะเปลี่ยนไปหลังจากฮัจญ์ด้วยเช่นกัน

อัลฮัมดุลิลละฮ์ เมื่อได้ไปทำฮัจญ์ อัลลอฮฺทรงเปิดใจแก่เขาและภรรยา
การเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็มาพร้อมกับบททดสอบเช่นกัน

เขาเริ่มไว้เคราไปทำงาน เจ้านายได้ต่อว่า
ว่าอยากเป็นผู้ก่อการร้ายหรืออย่างไร และสั่งให้เขาโกนออก
ไม่เช่นนั้น จะมีผลกระทบกับงานที่ทำ
ในใจของเขายังไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับแรงกดดัน
ตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจ ว่าจะกลัวไปทำไม
(แปลกที่คนเรามักกลัวมนุษย์ มากกว่ากลัวพระเจ้าผู้ทรงสร้าง)

++++++++++++++++++++++++

หลังจากนั้นเขาจึงคิด และตัดสินใจว่า หากเขายังอยู่ในสังคมแบบนี้
เขาไม่มีทางที่จะขัดเกลาตัวเองด้วยอิสลามได้แน่
สุดท้ายเขาจึงลาออกจากงาน เมื่อมีโอกาสก็หันมาทำงานด้านศาสนา
อยู่กับเพื่อนที่ดีมีอีมาน อยู่ในสังคมมุสลิม เพื่อขัดเกลาตนเอง

เขาเห็นมุสลิมที่อ่านกุรอานแล้วร้องให้ ก็ต้องการสัมผัสความรู้สึกเช่นนั้น
เขาจึงศึกษาความหมายของอัลกุรอาน แต่เขากลับไม่เข้าใจความหมาย
ไม่ลึกซึ้งกับความหมายที่ได้อ่านเหมือนอย่างเพื่อนของเขา เพราะอะไร?

ตัวเขาเองตอบว่า เพราะ"หัวใจด้าน"

นั่นคือเหตุผล ทุกอย่างมีที่มาที่ไป เมื่อมองย้อนไปในอดีตที่ผ่านมา
หัวใจของเขาด้านชาจากความศรัทธา(อีมาน)มาเนิ่นนาน
เวลา 40 ปี ที่เขาห่างไกลจากอิสลาม เป็นมุสลิมที่ไม่ใช่มุสลิม
ช่วงเวลาเหล่านั้นไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆให้กับเขาเลย

เขาพยายามที่จะศึกษา และขัดเกลาตัวเองต่อไป จนกว่าจะรู้สึกได้ว่า

"เมื่อพระนามของอัลลอฮฺได้ถูกเอ่ยขึ้น หัวใจของผู้ศรัทธาจะสั่นไหว"

อินชาอัลลอฮฺ
......................................................

อัลฮัมดุลิลละฮฺ อัลลอฮุอักบัร!
ช่วยกันดุอาอฺ เป็นกำลังใจให้แก่พี่น้องร่วมศรัทธา
ขอให้เขาและเธอ มั่นคง เข้มแข็งในศาสนาต่อไปด้วยเถิด

ขอบคุณเรื่องราว จากพี่ชายและพี่สาวเจ้าของเรื่องไว้ ณ ที่นี้
ญะซากัลลอฮุคอยรอน
เรียบเรียงโดย Sama Y. New muslim | มุสลิมใหม่

ทำไมต้องอิสติฆฟาร ?




ตามเดิมคำว่า อิสติฆฟาร ในภาษาอาหรับหมายถึง การขอให้อัลลอฮฺปกปิดและอภัยโทษให้กับบาปและความผิดที่บ่าวได้กระทำลงไป อุละมาอ์บางท่านเช่น อิบนุ ก็อยยิม อธิบายว่า

อิสติฆฟารคือการกลับตัวหรือการเตาบะฮฺ นั่นคือการขอให้อัลลอฮฺอภัยโทษ ลบล้างบาป ขจัดพิษภัยและร่องรอยของมันให้หมด พร้อมกับขอให้พระองค์ปกปิดมันไว้ (ดู มะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน 1:307)

ความสำคัญของอิสติฆฟารเห็นชัดเจนยิ่ง จากการที่พระองค์อัลลอฮฺได้ระบุถึงไว้อย่างมากมายและด้วยสำนวนที่หลากหลายในพระดำรัสของพระองค์ บางครั้งด้วยสำนวนสั่งใช้ เช่นในสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล อายะฮฺที่ 20, สูเราะฮฺ ฮูด อายะฮฺที่ 3 บางครั้งด้วยการชื่นชมผู้อิสติฆฟาร เช่นในสูเราะฮฺ อาล อิมรอน อายะฮฺที่ 17 และ 135 และบางครั้งด้วยการบอกเล่าว่าทรงอภัยโทษให้กับผู้ที่กล่าวอิสติฆฟาร เช่นในสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ อายะฮฺที่ 110 (ดู ญามิอฺ อัล-อุลูม วัล-หิกัม ของ อิบนุ เราะญับ 2:407) ในขณะที่หะดีษซึ่งเกี่ยวข้องกับอิสติฆฟารนั้นมีมากมายจนนับแทบไม่ถ้วน (ดู อัล-อัซการ ของ อัน-นะวะวีย์ หน้า 504)

โดยหลักๆ แล้วคุณค่าและความสำคัญของอิสติฆฟารพอสรุปได้ดังนี้

(1) อิสติฆฟารเป็นเครื่องหมายของตักวา มีบางอายะฮฺในอัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคุณลักษณะต่างๆ ของมุตตะกีน หรือบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระองค์ โดยระบุอิสติฆฟารเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ชัดเจนของพวกเขา (ดู อาล อิมรอน : 15-17, อัซ-ซาริยาต : 15-18)

(2) อิสติฆฟารเป็นเครื่องป้องกันจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ในอัลกุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَمَا كَانَ اللّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَأَنتَ فِيهِمْ وَمَا كَانَ اللّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ» (الأنفال : 33 )

ความว่า และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาในขณะที่มีเจ้า(มุหัมมัด)อยู่ระหว่างพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาทั้งๆ ที่พวกเขานั้นได้อิสติฆฟาร

โองการนี้ได้พูดถึงบรรดาพวกมุชริกีนมักกะฮฺที่ปฏิเสธการเชิญชวนของท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเยาะเย้ยท่านด้วยการเรียกร้องให้ท่านนำการลงโทษของอัลลอฮฺมาให้พวกเขาเห็น แต่อัลลอฮฺก็มิได้ทรงลงโทษพวกเขาในทันทีทันใดทั้งนี้เพราะเหตุที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อยู่พร้อมกับพวกเขา และตัวพวกเขาเองนั้นถึงแม้จะเหยียดหยามท่านนบีอย่างไร ก็ล้วนรู้อยู่แก่ใจว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และกลัวอยู่ลึกๆ ว่าอัลลอฮฺจะลงโทษพวกเขาจริง จึงได้กล่าวอิสติฆฟารต่ออัลลอฮฺ นี่คือความหมายของประโยคที่ว่า "และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาทั้งๆ ที่พวกเขานั้นได้อิสติฆฟาร" การอิสติฆฟารของพวกเขาเป็นเหตุป้องกันไม่ให้อัลลอฮฺส่งการลงโทษของพระองค์ลงมา (ดู ตัฟซีร อัส-สะอฺดีย์ หน้า 297)

มีรายงานจากเศาะหาบะฮฺบางท่านกล่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายมีมูลเหตุแห่งความปลอดภัยจากการลงโทษอยู่สองประการ นั่นคือ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และการอิสติฆฟาร ท่านนบีนั้นได้จากไปแล้ว ในขณะที่อิสติฆฟารจะยังคงอยู่จนถึงวันกิยามะฮฺ (ดู ตัฟซีร อัต-เฏาะบะรีย์ 2:381)

(3) อิสติฆฟารเป็นสาเหตุของการบรรเทาความลำบากและเพิ่มปัจจัยยังชีพ

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَأَنِ اسْتَغْفِرُواْ رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُواْ إِلَيْهِ يُمَتِّعْكُم مَّتَاعاً حَسَناً إِلَى أَجَلٍ مُّسَمًّى وَيُؤْتِ كُلَّ ذِي فَضْلٍ فَضْلَهُ» (هود : 3 )

ความว่า และจงอิสติฆฟารต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านและจงเตาบะฮฺต่อพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงประทานความสุขสบายที่งดงามจนถึงวาระที่กำหนด และจะทรงประทานความประเสริฐให้กับผู้ที่สมควรได้รับตามนั้น

นี่เป็นคำสั่งให้อิสติฆฟารจากบาปทั้งหลายที่ผ่านมา พร้อมกลับตัวกลับตนสู่อัลลอฮฺในอนาคตและยืนหยัดเช่นนี้ตลอดไป ซึ่งผลบุญของการกระทำดังกล่าวคือการที่อัลลอฮฺจะทรงประทานการยังชีพที่ดีในโลกนี้จนสิ้นอายุขัย และจะทรงประทานความประเสริฐตามที่สมควรได้รับในโลกหน้า (ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร 2:537)

คำสั่งในทำนองเดียวกันนี้ท่านนบีนูหฺ และ นบีฮูด อะลัยฮิมัสสลาม ได้เคยเชิญชวนประชาชาติของท่านมาแล้ว โดยได้บอกให้พวกเขาทราบว่าการอิสติฆฟารจะเป็นเหตุให้อัลลอฮฺประทานความกว้างขวางของริสกีและปัจจัยยังชีพจากพระองค์แก่พวกเขา อัลกุรอานกล่าวถึงการเชิญชวนของนบีสองท่านนี้ว่า

«فَقُلْتُ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ إِنَّهُ كَانَ غَفَّاراً، يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَاراً، وَيُمْدِدْكُمْ بِأَمْوَالٍ وَبَنِينَ وَيَجْعَل لَّكُمْ جَنَّاتٍ وَيَجْعَل لَّكُمْ أَنْهَاراً» (نوح : 10-12 )

ความว่า แล้วฉัน(นบีนูหฺ)ก็กล่าวแก่พวกเขาว่า จงอิสติฆฟารต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ที่อภัยยิ่ง แล้วพระองค์จะประทานให้มีฝนชุกมาจากฟ้า จะทรงประทานทรัพย์สมบัติและลูกหลาน จะทรงทำให้มีสวนไม้และสายน้ำมากมายแก่พวกท่าน

«وَيَا قَوْمِ اسْتَغْفِرُواْ رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُواْ إِلَيْهِ يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَاراً وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً إِلَى قُوَّتِكُمْ وَلاَ تَتَوَلَّوْاْ مُجْرِمِينَ» (هود : 52 )

ความว่า (นบีฮูดได้กล่าวว่า) โอ้ เผ่าของฉัน จงอิสติฆฟารต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน แล้วจงเตาบะฮฺต่อพระองค์เถิด แล้วพระองค์จะประทานให้มีฝนชุกแก่พวกท่าน และจะทำให้ความแข็งแกร่งของพวกท่านเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก และอย่าได้เมินหลังให้พระองค์เช่นเหล่าอาชญากร

(4) อิสติฆฟารเป็นตัวกระตุ้นให้ลดและขจัดปัจจัยของการทำบาป การทำบาปอย่างเป็นประจำแม้จะเป็นบาปเล็กๆ ถือว่ามีอันตรายใหญ่หลวงยิ่ง พฤติกรรมเช่นนี้ถูกเรียกว่า "อิศรอร" ซึ่งหมายถึงการนิ่งเงียบ (ไม่ยอมละ) จากบาปและละทิ้งการอิสติฆฟาร (ดู ตัฟซีร อัต-เฏาะบะรีย์ 4:97)

การอิสติฆฟารเป็นประจำจะทำให้พฤติกรรมที่ถูกเรียกว่า อิศรอร นั้นหมดความหมาย เช่นที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนว่า

"ไม่มีการ อิศรอร พร้อมๆ กับการอิสติฆฟาร แม้ว่าเขาจะทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าถึงวันละเจ็ดสิบครั้งก็ตาม" (บันทึกโดย อบู ดาวูด หมายเลข 1514, อิบนุ กะษีร กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ดู ตัฟซีรของท่าน 1:499)

และนี่ก็คือคุณลักษณะแห่งผู้ตักวาอีกประการหนึ่งที่อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานว่า

«وَالَّذِينَ إِذَا فَعَلُواْ فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُواْ أَنْفُسَهُمْ ذَكَرُواْ اللّهَ فَاسْتَغْفَرُواْ لِذُنُوبِهِمْ وَمَن يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلاَّ اللّهُ وَلَمْ يُصِرُّواْ عَلَى مَا فَعَلُواْ وَهُمْ يَعْلَمُونَ» (آل عمران : 135 )

ความว่า และบรรดาผู้คนที่เมื่อกระทำสิ่งเลวทรามหรือก่อความอธรรมแก่ตัวพวกเขาเองแล้ว พวกเขาจะรำลึกถึงอัลลอฮฺและอิสติฆฟารต่อบาปต่างๆ ของพวกเขา และมีผู้ใดอีกเล่าที่จะอภัยโทษนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ พวกเขาจะไม่ดำเนินอยู่บนบาปที่พวกเขากระทำทั้งๆ ที่พวกเขารู้

ความหมายของโองการนี้คือ พวกเขาจะขออภัยโทษจากบาปและกลับตัวสู่อัลลอฮฺทันที และจะไม่ดำเนินอยู่บนบาปนั้นหรือนิ่งเงียบไม่ยอมปลดตัวเองออกจากมัน และหากความผิดบาปได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกพวกเขาก็จะขออภัยโทษอีก (ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร เล่มเดิม)

(5) อิสติฆฟารเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่อัลลอฮฺจะประทานอภัย ในหะดีษกุดสีย์บทหนึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

"โอ้ มนุษย์ผู้เป็นลูกแห่งอาดัม แท้จริงเจ้าจะไม่วอนขอและไม่หวังต่อข้า เว้นแต่ข้าจะอภัยโทษให้เจ้าต่อบาปที่อยู่กับตัวเจ้าโดยข้าจะไม่สนใจเลย(ว่ามันจะมากมายแค่ไหนก็ตาม) โอ้ มนุษย์ผู้เป็นลูกแห่งอาดัม หากบาปของเจ้ามากมายก่ายกองจนเกือบล้นฟ้า แล้วเจ้าก็วอนขออภัยต่อข้า ข้าก็จะอภัยให้โดยไม่สนใจเลย(ว่ามันจะมากมายแค่ไหน) โอ้ มนุษย์ผู้เป็นลูกแห่งอาดัม หากเจ้ามาหาข้าด้วยบาปที่เต็มเกือบเท่าพื้นปฐพี แล้วเจ้าเข้าพบข้าโดยที่ไม่มีการตั้งภาคีใดๆ กับข้า ข้าก็จะเข้าหาเจ้าด้วยการอภัยโทษที่เต็มเท่าพื้นแผ่นดินนี้เช่นเดียวกัน"

(อัต-ติรมิซีย์ : 3540, อิบนุ เราะญับกล่าวว่า หะดีษนี้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสายรายงาน กล่าวคือเป็นหะดีษที่ใช้ได้ ดู ญามิอฺ อัล-อุลูม วัล-หิกัม 2:400)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ในพระหัตถ์แห่งพระองค์ หากพวกเจ้าไม่มีการพลาดพลั้งทำบาปเลย แน่แท้อัลลอฮฺจะทรงให้พวกเจ้าสูญสิ้นไป และพระองค์ก็จะทรงนำชนกลุ่มอื่นที่ทำบาปให้มาสืบทอดแทนพวกเจ้า พวกเขาจะกล่าวอภัยโทษต่ออัลลอฮฺและพระองค์ก็จะทรงอภัยให้เขา" (มุสลิม : 2749)

เพราะอิสติฆฟารมีความสำคัญเยี่ยงนี้ อัลลอฮฺจึงสอนให้บรรดานบีรู้จักการอิสติฆฟาร นับตั้งแต่นบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม จนถึงท่านนบี มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ทั้งหมดล้วนได้ทำแบบอย่างที่ดียิ่งในการอิสติฆฟารขออภัยโทษจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา


ดัชนีต่อไปนี้แสดงให้เห็นตัวอย่างเกี่ยวกับการอิสติฆฟารของนบีบางท่าน ที่มีระบุใน อัลกุรอาน :

- อิสติฆฟารของนบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม (อัล-บะเราะเราะฮฺ : 37, อัล-อะอฺรอฟ : 23)

- นบีนูหฺ อะลัยฮิสสลาม (ฮูด : 47)

- นบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 128, อิบรอฮีม : 41)

- นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม (อัล-อะอฺรอฟ : 151, 155, อัล-เกาะศ็อศ : 16)

- นบีดาวูด อะลัยฮิสสลาม (ศอด : 24)

- นบีสุลัยมาน อะลัยฮิสสลาม (ศอด : 35)

- นบียูนุส อะลัยฮิสสลาม (อัล-อันบิยาอ์ : 87)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เองได้ทำแบบอย่างที่สมบูรณ์เกี่ยวกับอิสติฆฟาร ท่านจะกล่าวอิสติฆฟารมากที่สุดกว่าคนอื่นๆ (อัน-นะสาอีย์ ใน อะมัล เยาม์ วัล ลัยละฮฺ : 10215) โดยจะกล่าวอิสติฆฟารไม่น้อยกว่า 70-100 ครั้งในแต่ละวัน (อัล-บุคอรีย์ : 6307, อัน-นะสาอีย์ ใน อะมัล เยาม์ วัล ลัยละฮฺ : 10205)

บางทีเศาะหาบะฮฺได้นับจำนวนการกล่าวอิสติฆฟารในวงสนทนาแต่ละครั้งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ถึงหนึ่งร้อยครั้ง (อบู ดาวูด : 1516, อัต-ติรมิซีย์ : 3434, อิบนุ มาญะฮฺ : 3814, เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ : 3486)

ข้อเท็จจริงทางหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอิสติฆฟาร และไม่ควรอย่างยิ่งที่ผู้เป็นมุสลิมจะเฉยเมยและไม่มีอาการตอบสนองต่อความสำคัญของมัน ด้วยการนิ่งดูดายไม่สนต่อความผิดบาปที่ก่อตัวและพอกพูนขึ้นทุกวันๆ โดยมิพักจะนึกถึงอัลลอฮฺและกล่าวขออภัยโทษต่อพระองค์ ทั้งๆ ที่การอิสติฆฟารนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญแต่อย่างใดเลย

อย่างน้อยสำนวนอิสติฆฟารเช่น أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ "อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮิ"

(หมายความว่า ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺและฉันขอกลับตัวสู่พระองค์) ควรจะเป็นสิ่งที่ติดปากของพวกเราทุกคนทุกที่ทุกเวลา และหากเป็นไปได้ควรศึกษาและท่องจำสำนวนอิสติฆฟารที่มีระบุในหะดีษต่างๆ ซึ่งท่านนบีได้สอนให้เรากล่าวตามวาระต่างๆ เช่น

(1) สำนวนที่ใช้กล่าวก่อนให้สลามในละหมาด (อัล-บุคอรีย์ : 799)

«اللّٰهُمَّ إِنِّي ظَلَمْتُ نَفْسِي ظُلْمًا كَثِيرًا، وَلَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ، وَارْحَمْنِي إِنَّك أَنْتَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ»

(2) สำนวนที่ใช้กล่าวทุกเช้า-เย็น ที่เรียกว่า สัยยิดุล อิสติฆฟาร หรือ แม่บทแห่งการกล่าวอิสติฆฟารนั่นเอง (อัล-บุคอรีย์ : 6306)

«اللّٰهُمَّ أَنْتَ رَبِّي لَا إِلٰهَ إِلَّا أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ، أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوءُ لَكَ بِذَنْبِي، فَاغْفِرْ لِي فَإِنَّهُ لَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ»

(3) สำนวนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มักจะกล่าวบ่อยในวงสนทนาของท่าน (อบู ดาวูด : 1516, อัต-ติรมิซีย์ : 3434, อิบนุ มาญะฮฺ : 3814, เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ : 3486)

«رَبِّ اغْفِرْ لِي وَتُبْ عَلَيَّ، إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الْغَفُورُ»

(4) สำนวนที่ใช้กล่าวเมื่อเสร็จจากการพูดคุยหรือที่เรียกว่า กัฟฟาเราะตุล มัจญ์ลิส (อัต-ติรมิซีย์ : 4333, เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ : 6192)

«سُبْحَانَكَ اللّٰهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلٰهَ إِلَّا أَنْتَ، أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ»

ในคัมภีร์อัลกุรอานเองก็มีสำนวนต่างๆ ของอิสติฆฟารให้เราได้เลือกปฏิบัติหรือสับเปลี่ยนสำนวนได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นไม่ให้เบื่อหน่ายกับสำนวนที่ใช้กล่าวเพียงอันเดียว (ดู สูเราะฮฺ อาละอิมรอน : 16, 147, 193, อัล-อะอฺรอฟ : 23, อิบรอฮีม : 41, อัล-อันบิยาอ์ : 87, อัล-มุมินูน : 109, 118, อัล-เกาะศ็อศ : 16, อัล-หัชร์ : 10)

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกล่าวอิสติฆฟารให้ติดปากเสมอ ไม่ว่าจะด้วยสำนวนใดก็ตาม หากไม่สามารถที่จะท่องจำสำนวนที่ยาวๆ ก็เป็นการเพียงพอด้วยการกล่าวสั้นว่าๆ

أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَتُوْبُ إِلَيْهِ "อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮิ"


นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ง่ายมากๆ อีกประการหนึ่ง แต่น้อยคนที่สามารถปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอได้ จึงควรอย่างยิ่งที่เราต้องมุ่งมั่นฝึกฝนและเอาจริงเอาจังเพื่อแบบฉบับแห่งคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าอันงดงามนี้ได้กลายเป็นเสมือนเครื่องประดับติดกายเราอยู่ตลอดเวลา เพื่อการยกย่องจากอัลลอฮฺและการอภัยโทษต่อความผิดบาปที่เกิดขึ้นกับเราทุกคนโดยยากที่จะหลีกเลี่ยงได้พ้นแม้จะพยายามสุดความสามารถแค่ไหนก็ตาม

ท่ามกลางโลกอันวุ่นวายและเต็มไปด้วยสิ่งยั่วยวนให้หลงผิดและกระทำบาปต่อพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ยังมีอิสติฆฟารเป็นของขวัญจากอัลลอฮฺ ที่จะใช้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้บาปมาปกคลุมหัวใจจนมิด ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยับยั้งการลงโทษจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรตามที่ได้ทรงสัญญาไว้กับเรา

ขออัลลอฮฺประทานความช่วยเหลือ อามีน

อ.ซุฟอัม อุษมาน

Islam House

จงแข่งขันในเรื่องเกี่ยวกับอิสลาม



ท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ ร่อหิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

“ใครก็ตามที่แข่งขันกับพวกท่านในเรื่องเกี่ยวกับอิสลาม 

จงแข่งขันกับเขาเถิด

แต่ถ้าใครก็ตามแข่งขันกับพวกท่านในเรื่องเกี่ยวกับดุนยา

ก็จงปล่อยให้เขาชนะเถิด”

░ ▒  ░ ▒  ░ ▒  ░ ▒ 

ความรู้ที่ประเสริฐที่สุด





ท่านอิบนิ หัซมฺ อัลอันดะลูสีย์ ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

“ความรูที่ประเสร็จที่สุด

 คือความรู้ที่ที่นำพาพวกท่านใกล้ชิดผู้ทรงสร้าง

 และช่วยให้ท่านได้รับความโปรดปรารจากพระองค์”
 (หนังสือ”อัลอัคลากวัสสิยัรฺ)

⊙ ◎ ☺ ☻► ◄ ▧ ▨ 

เบื้องหลังของความสำเร็จด้านวิทยาศาสต์ของยุโรป




บริฟฟอลห์ เขาได้เขียนเบื้องหลังผู้ริเริ่มการใช้วิธีการทดลองและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ในยุโรป ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “การพัฒนามนุษยชาติ จากหน้า 190 ไว้ว่า

“โรเย่อร์ เบคอนได้ศึกษาภาษาอาหรับและวิทยาศาสตร์อาหรับจากศิษย์ของมุสลิมที่สอนในอ็อกซ์ฟอร์ด โรเย่อร์ เบคอนไม่มีสิทธิได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ใช้วิธีการทดลองเป็นคนแรก เขาเป็นศิษย์นักวิทยาศาสตร์มุสลิมผู้หนึ่ง ที่ถูกส่งกลับไปยังดินแดนครสต์เตียนยุโรปเท่านั้น และเขาจะกล่าวอย่างไม่เบื่อ ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ภาษาอาหรับและวิทยาศาสตร์อาหรับเท่านั้นที่เป็นหนทางไปสู่ความรู้ สำหรับเพื่อนร่วมศาสนาของเขา การเหมาเอาวิธีการทดลองให้เป็นผลงานอารยธรรมยุโรป นับว่าเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างถนัดใจ

 ในสมัยของเบคอน วิธีการทดลองของอาหรับได้แพร่หลายและได้รับการส่งเสริมทั่วไปในยุโรป วิทยาศาสตร์เป็นของขวัญที่มีค่ายิ่งที่ชาวอาหรับฝากไว้แก่โลก  แต่ผลของมันใช้เวลานานจึจะมองเห็น

และเมื่อชนชาติมูร (มุสลิมสเปน) ได้ตกต่ำสู่ความมืดลง ยุโรปซึ่งรับเชื้อไปก็กลายเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวิทยาการ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ทำให้ยุโรปมีชีวิตเต็มภาคภูมิขึ้น ยังมีอิทธิพลอีกหลายๆอย่างที่อารยธรรมอิสลามได้ถ่ายทอดให้แก่ยุโรป

ไม่มีความเจริญใดๆของยุโรปที่ปราศจากเค้ารอยของอารยธรรมอิสลาม ที่สำคัญที่สุดก็คือวิทยาศาสตร์ และจิตวิญญาณของการขวนขวายหาความรู้ การวิทยาศาสตร์ของเราเป็นหนี้บุญคุณของอาหรับเป็นอย่างมาก

แต่ก่อนนี้โลกอยู่ในยุคอวิชา ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ของกรีกเองก็รับมาจากที่อื่น ชาวกรีกทำหน้าที่เพียงจัดหมวดวิชาเป็นประเภทๆ และตั้งทษฎีขึ้นจากที่เรียนมา แต่การเสาะแสวงหาความจริงด้วยความเพียร การสะสมข้อเท็จจริง วิธีละเอียดอ่อนในการสังเกตและทดลองเป็นเวลานานเหล่านี้ชาวกรีกยังไม่รู้จัก กระทั้งเมื่ออิทธพลเฮเลนิคได้แผ่ถึงอาเล็กซานเดรีย จึงเริ่มใช้วิธีทดลองขึ้นบ้าง

จิตวิญญาณแห่งการค้นคว้าและทดลองที่เกิดขึ้นในยุโรปนั้น นำมาจากชาวอาหรับ”

⊙ ◎ ☺ ☻► ◄ ▧ ▨ ⊙ ◎ ☺ ☻► ◄ ▧ ▨