อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข้อคววามลูกโซ่ ขัดต่อหลักอะกีดะฮ์ ห้ามส่งต่อ





ขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับ...ขอความดังกล่าวมีมาพักหนึ่งแล้วครับ...แต่พอนักวิชาการอิสลามหลายท่านได้ตรวจสอบ ปรากฏว่าเป็นข้อความเท็จที่ไม่มีที่มาที่ไปและบางตอนที่ขัดต่อหลักการอิสลามและหลักความเชื่อของมุสลิม โดยนักวิชาการได้ให้ข้อสังเกตดังนี้
1.เจ้าหน้าที่รับผิดชอบกุญแจตึกอาคารมักกะห์ไม่เคยเห็นรูปร่างหน้าตาของท่านนบีมูฮัมหมัด เป็นไปไม่ได้ว่าเขาจะฝันถึงคนที่เขาไม่เคยเห็นหน้า และชัยฏอนก็ไม่สามารถแปลงกายเป็นนบีได้เช่นกัน...
2.เผยแพร่SMSให้แก่มุสลิม20คน ภายใน10วัน...ขอความตอนนี้ถือเป็นการตะวักกัล(การมอบหมาย)ที่ไม่ถูกต้อง เพราะมุสลิมต้องมีความเชื่อว่าอัลลอฮ์เป็นผู้ประทานริสกีปัจจัยยังชีพให้แก่มนุษย์ ไม่ใช่เพราะการส่งsms เพราะถ้าไม่ได้ส่งขอความดังกล่าวจะพบเจอแต่ความยากลำบาก ซึ่งจริงๆมันไม่มีอำนาจใดๆที่จะให้คุณและโทษแก่ผู้ศรัทธาได้
3.บิสมิลลาฮ์ 7 ครั้งและส่งพระนามของอัลลอฮ์ดังกล่าวประมาณ11พระนามต่อมุสลิม20ท่าน ท่านจะพบเจอแต่ข่าวดีในวันเสาร์และใครไม่เชื่อและลบหลู่จะพบเจอโชคร้าย6ปี.....ซึ่งข้อความต้อนนี้เป็นอันตรายต่อหลักอะกีดะห์(หลักความเชื่อของมุสลิม)เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีแบบอย่างใดที่มาจากท่านนบีในการกล่าวบิสมิลลาห์7ครั้งตามด้วยพระนามของอัลลอฮ์ที่เจาะจงเฉพาะ รวมถึงเชื่อในอำนาจของการให้คุณและให้โทษ ข่าวดีเฉพาะวันเสาร์วันเดียว ความโชคร้ายระยะเวลา6ปี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน
4.หากบริสุทธิ์ใจที่จะเผยแพร่20ครั้งใน1วันเราจะได้รับริสกีมากมาย แล้วอย่าทำเล่นเพิกเฉย....ข้อความตอนนี้เป็นการมอบหมายต่อการส่งข้อความ20ครั้งแล้วจะได้รับริสกี1วัน...ทั้งๆที่อัลลอฮ์ให้ริสกีเรามากกว่านั้นโดยไม่จำเป็นต้องหลงในการส่งข้อความนี้
5.มีการวางแผนร้ายนี้โดยผ่านสื่อโซเชียลด้วยการลงท้ายข้อความให้ส่งต่อไปยังบุคคลอื่น

ส่วนเรื่องใกล้วันสิ้นโลก การละหมาด และการยึดมั่นในศาสนา มันเป็นเรื่องที่มุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นและปฏิบัติอยู่แล้วตามหลักการอิสลาม...แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อความดังกล่าว

สรุปว่าข้อความดังกล่าวไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน...และขัดต่อหลักอะกีดะห์(หลักการเชื่อมั่น)ของมุสลิมและไม่ตรงต่อหลักการของศาสนาแต่อย่างใด...
กรุณาส่งข้อความนี้เพื่อเตือนพี่น้องมุสลิมทุกคนอย่าได้หลงเชื่อต่ขอความดังกล่าว....
إن شاء الله
جزاكم الله خيرا
والله أعلم












วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มุสตอฟา เคมาล อตาร์เตอร์ค ผู้โค่นล้มอาณาจักรอิสลามอุษมานียะห์






มุสตอฟา เคมาล อตาร์เตอร์ค ได้ชื่อว่าบิดาแห่งยุคทันสมัยของตุรกี แต่จริงๆแล้วเขาคือผู้ที่โค่นล้มอาณาจักรอิสลามอุษมานียะห์ ในปีค.ศ.1924 ทำให้อาณาจักรอิสลามที่ยืนยงมาถึง 595 ปีต้องล่มสลายลง

ฉายาอตาร์เตอร์ค มีความหมายว่า บิดาของตุรกี เขาเกิดเมื่อปี ฮ.ศ.1299(ค.ศ.1880) ที่เมืองซาโลนีก้า ประเทศกรีก ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของคอลีฟะห์อุษมานียะห์ พ่อของเขาชื่อว่า อลี รีฎอ อัฟฟันดี้ ซึ่งทำงานเป็นศุลกากร ผู้ช่วยคนสนิทของมุสตอฟา เคมาล กล่าวว่า

“มุสตอฟา มาจากเชื้อสายชาวยิว ปู่ย่าตายายของเขา คือ ยิวที่อพยพมาจากสเปน มาอยู่ที่ซาโลนีก้า “ ยิวกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า ยิวเดานามะห์ ซึ่งมีอยู่ 600 ครอบครัว พวกเขารับอิสลามในปี 1683 แต่ว่าพวกเขายังคงนับถือศาสนายาฮูดีอย่างลับๆ นั่นหมายความว่า มุสตอฟา เคมาล เป็นอิสลามแต่เพียงในนาม แต่ที่จริงแล้วเขาเป็นยิว
เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนทหารตั้งแต่อายุ 12 ปี และในปี 1855 เขาได้เข้าวิทยาลัยวิชาทหารที่ โมนาซิตาร์ ปี 1905 เขาเข้าเรียนต่อทางทหารอีกที่อิสตันบูลและจบในปี 1907 หลังจากนั้นเขาได้เข้าประจำการที่ค่ายทหารบาตัลเลี่ยน ที่ซาโลนีก้า

ที่นี่เองที่เขาได้เริ่มปลุกปั่นเพื่อนทหารให้มีความคิดต่อต้านระบบคอลีฟะห์และการปกครองระบบอิสลาม

เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของตุรกี โดยความช่วยเหลือของอังกฤษ ในสมัยของเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงอิสลามในตุรกี อันเป็นประวัติศาสตร์ที่ด่างดำต่ออิสลาม สิ่งที่เขาทำคือ

-ให้ผู้หญิงคลุมฮิญาบได้ แต่มีเงื่อนไขคือต้องนุ่งกะโปรง
-ให้ผู้ชายนุ่งกางกงขายาว แต่มีเงื่อนไข คือ ต้องผูกเน็คไทค์และใส่หมวกปีก(แบบตะวันตก)
-เขากล่าวว่าประเทศชาติจะทันสมัยไม่ได้ หากคนในชาติยังแต่งกายแบบโบราณ(แบบอิสลาม)
-อนุญาติให้มีการดื่มสุราได้อย่างเปิดเผย
-ให้พิมพ์อัลกุรอานเป็นภาษาตุรกี โดยไม่มีภาษาอาหรับ
-เปลี่ยนการอาซานเป็นภาษาตุรกี
-เปลี่ยนแปลงในภาษาตุรกี โดยให้ตัดคำทับศัพท์ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เชียออกไป
-นำเอาสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาใช้แทนสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม


เขาได้พูดต่อหน้าสาธารณชนในเมืองเบอลิเกอร์ซิร ว่าจำเป็นต้องแยกศาสนาออกจากเรื่องทางโลก รวมถึงการเมือง และจำเป็นต้องลบล้างศาสนาออกไปเพื่อให้เกิดความเจริญ โดยสรุปในคำปราศรัยของเขา คือ “ไม่มีศาสนาในการเมือง และก็ไม่มีการเมืองในศาสนา” และถอดเอาศาสนาอิสลามออกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ

เขาสร้างระบบการแต่งงานแบบจดทะเบียนตามกฎหมายตะวันตก

เปลี่ยนมัศยิดอยาโซเฟีย ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ และยังเปลี่ยนมัศยิดหลายแห่งให้กลายเป็นโบสถ์

ปิดมัศยิดและห้ามทำการละหมาดรวมกันเป็นญามาอะห์

เลิกกระทรวงเอากอฟ(สวัสดิการ)และปล่อยทิ้งเด็กกำพร้าและอนาถา รวมถึงคนยากจน

เลิกการรับมรดกตามกฎหมายอิสลาม

ยกเลิกปฎิทินอิสลามและเปลี่ยนแปลงตัวเลขภาษาอาหรับเป็นตัวเลขภาษาลาติน


เขามีความคิดใฝ่สูงว่าเขามีความยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนฟิรอูน เขาเคยถามทหารใต้บังคับบัญชาว่า “พระเจ้า คือ ใคร และไหนล่ะพระเจ้า” ด้วยความหวาดกลัวทหารนั้นได้ตอบว่า “เคมาล อตาร์เตอร์ค คือ พระเจ้า” เขายิ้มด้วยความภาคภูมิใจในคำตอบนั้น
การตายของเคมาล อตาร์เตอร์ค

เขาป่วยเป็นโรคประหลาดทำให้คันไปทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทำให้ความดันโลหิตสูง และมีไข้ขึ้นตลอดเวลา เขามีความร้อนขึ้นสูงตลอด จนต้องสั่งให้ดับเพลิงมาฉีดน้ำที่บ้านเขาตลอด 24 ชั่วโมง และสั่งให้คนรับใช้นำเอาน้ำแข็งมาใส่ไว้ในผ้าห่มของเขาตลอด

มหาบริสุทธิ์พระองค์อัลเลาะฮ์ ไม่ว่าเขาจะทำอย่างไรก็ตาม ความร้อนนั้นก็ไม่ลดลงเลย จนกระทั่งเขากรีดร้องจนได้ยินไปทั่วพระราชวัง คนใช้ได้นำเขาใส่ในเรือและไปทิ้งไว้กลางทะเล โดยหวังว่าจะทำให้เขาเย็นลงบ้าง
ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1938 เขาได้สลบไปเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เนื่องจากความร้อนขึ้นสูงเกินไป หลังจากนั้นเขาฟื้นขึ้นมาอีกทีแต่ก็สูญเสียความทรงจำ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1938 เขาได้สลบไปอีกเป็นเวลา 36 ชั่วโมง จนในที่สุดเขาได้เสียชีวิตลง

ในตอนที่เขาเสียชีวิต ไม่มีสักคนที่มาอาบน้ำศพให้เขา กาฝั่น หรือมาละหมาดให้เขา

ยิ่งไปกว่านั้นอัลเลาะฮ์ได้ทำการอาซาบลงโทษ ในตอนที่มายัตของเขาจะถูกฝัง แผ่นดินไม่ยอมรับ(ไม่ทราบชัดเจนว่าเป็นแบบใด) ด้วยความที่ไม่รู้จะทำอย่างไรกับศพของเขา จึงได้ทำการแช่แข็งไว้และเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ชื่อว่า เอทนากราฟฟี่ เป็นเวลาถึง 15 ปี จนกระทั่งปี 1953 จึงได้นำศพของเขามาฝังอีกครั้งหนึ่ง แต่อัลเลาะฮ์ก็ได้แสดงพลังอำนาจอีกครั้งหนึ่งแผ่นดินไม่ยอมรับศพของเขา เมื่อหมดความสามารถจึงได้นำศพของเขาไปยังภูเขาลูกหนึ่งและก่อหินอ่อนและฝังไว้ใต้หินอ่อนนั้นที่หนักถึงถึง 44 ตัน

บรรดาอุลามะห์ในตุรกีได้กล่าวว่าอย่าว่าแต่แผ่นดินตุรกีเลย แผ่นดินทั่วทั้งโลกนี้ก็ไม่ยอมรับศพของเคมาล อตาร์เติร์ค


นั่นคือ อาซาบสำหรับคนที่ต่อต้านศาสนาของอัลเลาะฮ์ ยังไม่รวมถึงการลงโทษที่เขาจะได้รับในวันอาคิเราะห์ นั่นคือสิ่งที่สาสมสำหรับคนมุรตัดเคมาล อตาร์เติร์ค หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นอุธาหรณ์สำหรับผู้ที่คิดจะต่อต้านอิสลามได้สังวรณ์ไว้

ที่มา: ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์


ข้อคิด


1. หญิงมีผ้าคลุมไปทำงาน,ไปเรียนแต่ใส่กระโปร่งบวกเสื้อใส่ใน


2. เขียนคำอ่านกุรอานด้วยภาษาอังกฤษ,ไทย


3. การไม่ใช้ทับศัพเช่นใช้ศิริมงคลแทนบารอกะห์


4. การตั้งขื่อที่ไม่ใข่อารับเช่นดอเลาะห์,ดลเลาะ,ย่าสาด,ร่อหมานหรือชื่อไทยไปเลย


สงสัยว่า?นี่เราเข้าแผนการทำลายล้างอิสลามไม่?







คำพูดของมนุษย์ไม่ใช่เป็นหลักฐานชี้ขาดของศาสนานอกจากคำพูดของรสูล




ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวว่า ...

لاَ حُجَّةَ فِىْ قَوْلِ أَحَدٍ دُوْنَ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَإِنْ كَثُرُوْا ..........

" คำพูดของบุคคลใดก็ตาม, แม้พวกเขาจะมีปริมาณมากมายเพียงใดก็ตาม ไม่ใช่เป็นหลักฐานชี้ขาด(ของศาสนา) นอกจากคำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเท่านั้น"

(จากหนังสือ "มีซาน อัล-กุบรออ์" ของท่านอัช-ชะอ์รอนีย์ หน้า 60)

ทำไมสินสอดถึงเป็นผ้ากาฟัน




"ทำไมสินสอดถึงเป็นผ้ากาฟัน"
นี่คือคำตอบจากเจ้าสาวทำซึ้งไปทั้งงานแต่ง!!

โดย.Azman.Online".วันที่ 23 ธันวาคม.2560.เวลา.22:43.น.งานแต่งงานที่อินโดนีเซีย
 สร้างความฮือฮาอย่างมาก เพราะสินสอดคือ ผ้ากาฟัน(ผ้าห่อศพ)
เมื่อเจ้าสาวชื่อว่า Aryati ถูกถามว่า"ทำไมสินสอดถึงเป็นผ้ากาฟัน"
เจ้าสาวตอบว่า :" ที่ฉันขอสินสอดเป็นผ้ากาฟัน เพราะเมื่อวันที่ฉันตายลง ฉันก็หวังว่าสินสอดผ้ากาฟันจากสามีของฉัน ที่จะมาห่อหุ้มร่างกายของฉัน และอยู่เป็นเพื่อนกับฉันในกูโบร์ (หลุมฝังศพ) จนถึงอาคีรัต (โลกหน้า)"
เรื่องนี้มีบทเรียนที่ให้อะไรเราเยอะ.
1.สินสอด อยู่ที่ฝ่ายหญิงจะเลือก ถึงแม้จะเป็นแหวนแค่วงเดียวก็ถือว่าใช้ได้
.2.สิ่งที่สำคัญกว่าสินสอด คือ คนที่ให้สินสอด ข้อนี้สำคัญน่ะคุณผู้หญิงทั้งหลาย ถ้าคุณเลือกผู้ชายเพราะมีเงิน สักวันเงินนั้นก็จะหมดและสูญสลาย แต่จงเลือกคนที่มีความรู้ เพราะความรู้นั้นคือสมบัติที่ไม่มีวันหมดและสูญสลาย.
3.จงอย่าเลือกผู้ชาย ที่ให้ความสบายแค่ในโลกดุนยา แต่จงเลือกคนที่ทำให้เราสบายในวันอาคีรัตด้วย.
4.เงิน คือ ปัจจัย มันเป็นแค่ปัจจัย อย่าให้ เงิน เป็นหัวใจในการแต่งงานของเรา แต่จงทำให้ศาสนา เป็นหัวใจในงานแต่งงานของเรา.."


/ที่มา: Putra Karya

ทำความดีแข่งกับตัวเอง




ตอนเข้ารับอิสลามใหม่ๆก็ไม่ได้ปิดหน้านะ
เป็นคนชอบแต่งหน้า ชอบอวดโฉม รักสวยรักงามตามประสาผู้หญิง ชอบถ่ายรูปแต่งหน้าแต่งตัวสวยๆให้คนมากดไลค์มาคอมเม้นท์เหมือนกัน
จนวันนึงรู้สึกว่า"เบื่อ"
เบื่อสายตาคนมอง เบื่อที่จะต้องแต่งตัวสวยๆให้คนที่ไม่รู้จักดู รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์ 
มันมีแค่คำชื่นชมกลวงๆ
"วันนี้สวยจัง"แค่นั้นแล้วก็จบไป
มันรู้สึกว่าคนที่เข้ามาหาเราเค้าสนใจสิ่งภายนอกนี่หว่า
เค้าไม่ได้สนใจว่าในศาสนาเราเป็นยังไง?
ความคิดและทัศนคติของเราเป็นอย่างไร?
มันเกิดคำถามขึ้น.....แล้วถ้าวันนึงเราไม่สวยขึ้นมาล่ะ เราก็คงไม่มีอะไรเลยสำหรับคนเหล่านั้นใช่มั้ย??

แต่งตัวแข่งกับคนอื่น แล้วมันได้อะไร??
ทำไมไม่แข่งทำความดีล่ะ แข่งกับตัวเองนี่แหละ!!!
(เราไม่ได้พูดว่าการปิดหน้าคือการทำดีนะ แต่เราปิดเพราะไม่อยากให้เกิดฟิตนะห์)

เราเคยกังวลเรื่องรองพื้นเป็นคราบ หน้ามันสิวขึ้นตรงนู้น แต่เรากลับไม่กังวลว่าเราอาบน้ำละหมาดสะอาดมั้ย

เราเคยกังวลว่าชุดนี้เราใส่เเล้วอ้วนมั้ย สีนี้จะเข้ากับเรามั้ย แต่เรากลับไม่กังวลเลยว่ามันจะปกปิดเอารัตเราดีแค่ไหน

เราเคยกังวลว่าอายไลเนอร์จะเลอะเป็นเเพนด้ามั้ย มาสคาร่าจะหลุดระหว่างวันมั้ย ขนตาปลอมจะหลุดออกมามั้ย แต่เรากลับไม่กังวลว่าวันนึงๆสายตาเราเผลอทอดมองสิ่งที่ไม่ดีหรือป่าว

เราเคยกังวลว่าลิปสีนี้จะสวยมั้ย ทาเเล้วเป็นยังไง สีลิปจะติดฟันมั้ย แต่เรากลับไม่กังวลว่าปากเราพูดจาไม่ดีหรือเปล่า นินทาคนอื่นบ้างมั้ย หรือเผลอกินสิ่งที่เป็นฮารอมมั้ย

ฯลฯ

ทุกวันนี้ก็ยังแต่งหน้าเหมือนเดิมนะ แต่ไม่จำเป็นต้องไปโชว์ให้ใครดู

ปิดหน้าแล้วเรารู้สึกสบายใจ ไม่ต้องห่วงสวย ไม่ต้องกังวล ปกป้องฟิตนะห์ ป้องกันแสงแดด ไม่เปลืองเครื่องสำอาง

หากเราอวดโฉม โชว์ความงาม มีคนนึงมองและนำไปคิดไม่ดี เรารู้สึกเหมือนทำบาปโดยไม่รู้ตัว
เราอยากป้องกันมากกว่าที่จะแก้ไขมันทีหลัง

ตอนเริ่มปิดหน้าหลายคนบอกว่าไม่อยากให้ปิด เสียดาย แต่เราต้องแคร์มนุษย์มั้ย
ไม่ค่ะ!!!
เราแคร์อัลลอฮ์มากกว่า ก็เลยปิดหน้าต่อไป

(ที่กังวลก็คือมีผู้ชายบางคนแซฟรูปตอนเปิดหน้าของเราจากเฟสเก่า(ที่ปิดทิ้งไปแล้ว) หวังแค่ว่าคนพวกนั้นจะลบรูปเราทิ้งหมดเเล้วนะ)

ปล.มีคนบอกว่าชอบผู้หญิงที่ปกปิดความสวยความงาม เหมือนเพรชเหมือนพลอย ที่ต้องขุดหาด้วยความยากลำบาก มีขั้นตอนหลากหลายกว่าจะมาเป็นเพรชพลอยที่สวยงามได้ มันดูน่าค้นหาและมีคุณค่า
ไม่เหมือนพลาสติกประดับเเหวนปลอมๆ ที่มีอยู่เกลื่อน ความน่าค้นหามันไม่มี

ปล.2 ทุกวันนี้ก็ยังลงรูปในเฟสอยู่ แต่เป็นรูปปิดหน้านะ😂😂





ผมเป็นมุสลิม






ชายชาวอเมริกาคนหนึ่งเห็นสิงโตกำลังจู่โจมเด็กสาว จึงลงมือฆ่าสิงโตทันควัน

หนังสือพิมพ์จึงกลับไปพาดหัวข่าวว่า : พลเมืองชาวมะกันใจกล้า เข้าช่วยเด็กสาวจากสิงโตขยี้

ชายคนนั้นพูดว่า : ผมไม่ใช่คนอเมริกาน่ะคับ

หนังสือพิมพ์จึงพาดหัวข่าวใหม่ว่า : ชาวต่างชาติใจกล้า เข้าช่วยเด็กสาวจากสิงโตขยี้

ชายคนนั้นพูดต่อว่า : ผมเป็นมุสลิม ผมไม่ได้เป็นชาวต่างชาติสักหน่อย

หนังสือพิมพ์จึงพาดหัวข่าวใหม่ว่า : ก่อการร้ายโหด ฆ่าสิงโตบริสุทธิ์ที่กำลังเล่นกับเด็กสาว

Cr: Sharain Munsen

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วันคริสตมาสกับการกำเนิดของนบีอีซา (อ.ล.) หรือพระเยซู





ในบรรดานบีหรือศาสนทูตทั้งหลายของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา นบีที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอานมากที่สุดคือนบีอีซา อะลัยฮิสลาม หรือเยซู โดยกล่าวถึง 187 ครั้ง ทั้งยังอุทิศบทหนึ่งคือบทที่ 16 กล่าวถึงพระนางมัรยัมมารดาของนบีอีซา (อ.ล.) เป็นการเฉพาะ โดยเนื้อหาในบทนี้ภายหลังกลายเป็นแหล่งอ้างอิงเดียวที่กล่าวถึงช่วงเวลาถือกำเนิดของนบีอีซา (อ.ล.) ในขณะที่คัมภีร์เก่าหรือคัมภีร์ใหม่ในศาสนาคริสต์มิได้กล่าวไว้

“และจงเขย่าต้นอินทผลัมให้มันเอนมาทางตัวเธอ มันจะหล่นลงมาที่ตัวเธอเป็นอินทผลัมที่สุกน่ากิน” มัรยัม 16: 25

อัลกุรอานวรรคนี้กล่าวถึงนางมัรยัมในช่วงเวลาคลอดนบีอีซาโดยนางแม้หลบออกจากชุมชนไปอาศัยในโรงนานอกเมืองนาซาเรธ ดินแดนปาเลสไตน์ นางยังต้องหลบออกจากโรงนาเพื่อให้การคลอดบุตรพ้นจากสายตาผู้คน สถานที่นางเลือกคือใต้ต้นอินทผลัมนอกโรงนานั้นเองซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อินทผาลัมให้ผลกำลังสุกชวนกินซึ่งหมายถึงฤดูร้อนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน

เทศกาลคริสตมาสซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองวันประสูตรของพระเยซูที่นิยมทำกันคือวันที่ 25 ธันวาคม ทั้งสถานที่กำเนิดคือในโรงนาเป็นข้อมูลที่แตกต่างจากอัลกุรอาน พิจารณาจากหลักฐานต่างๆที่ปรากฏ นักประวัติศาสตร์ตะวันตกยอมรับว่าวันเวลาถือกำเนิดของพระเยซูไม่มีปรากฏในที่ใดเว้นแต่ที่กล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอานของอิสลามเท่านั้น ในบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงปราชญ์สามคนติดตามดาวดวงหนึ่งมากระทั่งถึงนอกเมืองนาซาเรธ สอบถามคนเลี้ยงปศุสัตว์ที่พักค้างแรมกลางแจ้งกับฝูงแกะ สุดท้ายจึงได้พบพระกุมารเยซูถือกำเนิดในโรงนา การพักค้างแรมกลางแจ้งของคนเลี้ยงปศุสัตว์ที่อ้างถึงแสดงว่าช่วงเวลานั้นไม่ใช่เดือนธันวาคมซึ่งหนาวเหน็บ การปรากฏของดวงดาวซึ่งเคลื่อนที่ไม่หยุดนิ่งแสดงว่าดาวดวงนั้นคือดาวเคราะห์มิใช่ดาวฤกษ์ เป็นไปได้ว่านั่นคือการปรากฏตัวของดาวพฤหัสในช่วงกลางฤดูร้อนซึ่งเป็นเดือนสิงหาคมของปี

ไม่ว่าจะเป็นเดือนสิงหาคม หรือธันวาคมย่อมไม่สำคัญไปกว่าการมาของนบีอีซา (อ.ล.) ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์โลก ท่านนบีมูฮำมัด ซอลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวถึงนบีอีซา อะลัยฮิสลามด้วยความรักอย่างยิ่งทุกครั้ง มุสลิมที่รักและเคารพในท่านนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) จึงรักและรำลึกถึงนบีอีซา (อ.ล.) เฉกเช่นเดียวกัน



หลักฐานหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือห้ามไม่ให้ทำจนกว่ามีหลักฐาน










จากหนังสือ "40หะดิษ อิมามนาวาวี" หะดิษที่ 5 (ห้ามอุตริในศาสนา)
☝☝☝☝☝

...ส่วนการบันทึกโดยมุสลิมนั้นมีสำนวนว่า...(ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้  ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ)

ความเข้าใจตามหะดิษนี้ก็คือ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่อัลลอฮ์และรสูลของพระองค์สั่งใช้มันก็จะถูกปฏิเสธ ซึ่งนี้คือเรื่องที่เกี่ยวกับอิบาดะฮฺโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพราะหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือการห้ามไม่ให้ทำ
จนกว่าจะมีหลักฐานว่าชารีอะฮ์    (หลักการศาสนา)ได้กำหนดให้ทำ

ดังนั้น ในกรณีที่มีคนๆหนึ่งทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ อัซซะวะญัลละ   ในรูปแบบหนึ่ง แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงถามว่า "มีหลักฐานอะไรที่บอกว่ามันเป็นสิ่งหะรอม ?" ถือเป็นการตั้งคำถามที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ให้ตอบไปว่า
"หลักฐานคือหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือ
ห้ามไม่ให้ทำจนกว่าจะมีหลักฐานว่ามีชารีอะฮฺกำหนดห้าม้ทำ"

แต่ในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องอิบาดะฮฺ หลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วๆไป หรือในการงานต่างๆ (ที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์) ก็ถือว่าหลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้

ตัวอย่างในเรื่องทั่วไป การที่คนๆหนึ่งดักนกเพื่อกิน แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงกล่าวว่า "มีหลักฐานอะไรที่บอกว่ามันเป็นสิ่งที่หะรอม ?"  ซึ่งถือเป็นการตั้งคำถามที่ถูกต้อง เพราะหลักเดิมของมันอนุญาตให้ทำได้...
ดั่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ดำรัสว่า..


هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا
"พระองค์ คือผู้ทรงสร้างทุกสิ่งที่อยู่บนโลกเพื่อสูเจ้า"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮ์ที่ 29) ...


ตัวอย่างในการงานต่างๆ ที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์ หลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้ เช่น การที่คนหนึ่งๆ ในบ้านของเขา หรือในรถของเขา หรือกับเสื้อผ้าของเขา หรือสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับทางโลก แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงถามว่า “มีหลักฐานห้ามในเรื่องนี้หรือไม่ ?”  ซึ่งถือเป็นการตั้งคำถามที่มีความชอบธรรม เพราะหลักเดิมของมันนั้นอนุญาตให้ทำได้

ซึ่งนี่คือหลักเกณฑ์ (กออิดะฮ์) ที่มีความสำคัญและประโยชน์อย่างมาก  และด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นนี้เองจึงสามารถแบ่งอิบาดะฮ์ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.  สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮฺ (หลักการศาสนา) ได้กำหนดว่าเป็นอิบาดะฮ์ ก็ถือว่าเป็นชารีอะฮ์ที่สามารถทำได้
2.  สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮ์ได้ห้ามทำอิบาดะฮ์ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ชารีอะฮ์ได้ห้ามไว้
3.  สิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นอิบาดะฮ์หรือไม่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ชารีอะฮ์ได้ห้ามไว้

สำหรับเรื่องมุอามะลาต (การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน) และเรื่องทั่วๆไปนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทเช่นเดียวกัน
1. สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮ์ได้อนุญาตให้ทำได้ ก็ถือเป็นสิ่งที่สามารถทำได้  เช่น การที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กินลาบ้าน (ดูในมุสลิม  หมายเลข 1941)
2. สิ่งที่เรารู้ว่าชารีอะฮ์ห้ามมัน  เช่น ห้ามกินสัตว์ดุร้ายที่มีเขี้ยว ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
3. สิ่งที่เราไม่รู้ว่าชารีอะฮ์กล่าวถึงอย่างไร ก็ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ เพราะหลักเดิมของสิ่งที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์นั้นสามารถที่จะทำได้