อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อันดับหนึ่งของนักซูฟีย์คือต้องมีครู



         สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของนักซูฟีย์ทั้งหลายคือต้องมีครู ต้องมีสื่อ(ครูมุรซีรหรือแช็ค)และมุบายิอะห์

จนมีคำกล่าวและความเชื่อในพวกกลุ่มซูฟีย์ว่า

“บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีครู  จงรู้ไว้เถิดผู้นำทางของเขาคือชัยฎอน” 

          นักซูฟีย์ได้ให้ความหมายในซูเราะห์ อัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 35 “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเกรงกลัวอัลเลาะห์ และจงแสวงหาสื่อไปสู่อัลเลาะห์”    คำว่า “สื่อ” ในที่นี้นั้นนักซูฟีย์หมายถึง ครู และครูในที่นี้หมายถึงครูมุรซีร หรือ โต๊ะแซะห์ ผู้ที่สามารถพาเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ     ครูที่จะสามารถออกมุบายิอะฮฺได้  และครูมุรซีรนั้นก็มีทั้ง “นะซับ” และ “ซัลซีละฮฺ”

- ครูนะซับ หมายถึงครูที่มีเชื้อสายต้นตระกูลมาจากท่านร่อซูล ศ็อลลอลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
- ครูซัลซีละฮฺ หมายถึงครูที่ได้รับมอบหมายให้ออกมุบายิอะฮฺได้จากครูนะซับ

           ลักษณะของครูดังกล่าวเป็นดั่งสายโซ่เชื่อมโยงสืบกันไปมา และเป็นสิ่งสำคัญมากของคนซูฟีย์  ในหมู่วงการผู้ที่นิยมแนวซูฟีย์ก็มีการออกมาตักเตือน ควรระวังกันว่า ครูมุรซีรนั้น  มีทั้งครูของจริงและของปลอม  อาจมีครูปลอม  มาแอบอ้างตน ว่ามีสืบสายนะซับ หรือ ซัลซีละฮฺ เมื่อไปรับมุบายิอะฮฺแล้วก็อาจจะได้แต่ของปลอมไป ใครที่ต้องการจะมุบายิอะฮฺกับครูคนไหนก็ควรสืบให้ดีๆ  ก็ว่ากันไป

การมุบายิอะฮฺนั้นเป็นการทำสัตยาบัน ระหว่างครูกับศิษย์ ว่าจะเป็นครูกับศิษย์กันไปตลอดทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ ครูจะเป็นผู้ชี้แนะในการรู้จักอัลลอฮฺ เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงไปสู่อัลลอฮฺ(วาซีตอฮฺ หรือ สื่อ) อีกทั้งจะต้องให้สัตยาบันกันว่าจะไม่ทรยศ หรือผิดสัญญากัน ต้องยะเก่นต่อครูอย่างหมดใจ ไม่มีความลับใดๆต่อครู  ไม่อนุญาติให้ปฏิเสธคำพูดของครูแม้จะมีหลักฐานมายืนยัน หรือคำพูดของครูที่ไร้สาระไม่ประเทืองปัญญาก็จะต้องถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะที่เฉพาะทาง ต้องยอมรับอย่างศิโรราบ

           แท้จริงการให้สัตยาบันที่เจ้าของเฏาะรีเกาะฮฺสายต่างๆ จากพวกซูฟีย์ใช้ และการอนุมัติการให้สัตยาบันดังกล่าวนี้ทั้งหมดเป็นการหลงผิดที่ชัดแจ้ง ในอิสลามไม่มีการให้สัตยาบันใดๆ นอกจากการให้สัตยาบันของบรรดาเศาะหะบะฮฺต่อท่านนบี ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม และการให้สัตยาบันของบรรดามุสลิมต่อเฆาะลีฟะฮฺของเขาเท่านั้น

Sufism

เจ้าของหนังสือ อัลอิบรีซฟีมะนากิบิชชัยค์ อับดิลอะซีซ เล่าว่า ชัยค์ของเขาคืออับดุลอะซีซ ได้เล่าเรื่องให้เขารู้ว่าศิษย์จะต้องเชื่อฟังอาจารย์อย่างไร

ลูกศิษย์คนหนึ่งได้รับใช้อาจารย์ของเขาเป้นเวลานาน โดยไม่เห็นแก่เหน้ดแก่เหนื่อยหรือเบื่อหน่าย แล้วอาจาย์ก็คิดจะถ่ายทอดหน้าที่ให้ถ้าลูกศิษย์คนนี้ผ่านการทดสอบ อาจารย์ได้กล่าวแก่ลูกศิษย์ว่า

"นี่เธอ เธอรักฉันไหม"

ลูกศิษย์ตอบว่า "ครับ รักสุดๆเลยครับ"

แล้วเธอเชื่อฟังปฏิบัติตามทุกอย่างที่ฉันใช้เธอไหม?" อาจารย์ถาม

ลูกศิษย์ตอบว่า "ครับ ผมจะปฏิบัติตามทุกอย่าง"

แล้วอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าฉันสั่งให้เธอไปที่บ้านพ่อของเธอ ไปฟันคอเขาแล้วเอาศีรษะของเขามาให้ฉัน เธอจะทำได้ไหม?"

ลุกศิษย์ลุกออกไปโดยไม่ได้ปริปากพูดอะไรสักคำ เขาเดินไปถึงบ้านพ่อของเขาซึ่งกำลังนอนหลับอยู่กับแม่ของเขา เขาได้ตัดศีรษะพ่อแล้ว เอาใส่ถุงหิ้วกลับมายังอาจารย์ของเขาแล้ววางมันไว้ต่อหน้าอาจารย์โดยที่ในบ้านตอนนั้นมืดสนิท

 อาจารย์ได้ถามว่า "นี่อะไรหรือ?"

ลูกศิษย์ตอบว่า "นี่คือสิ่งที่ท่านอาจารย์ใช้ให้ผมไปทำครับ"

อาจารย์กล่าวว่า "ฉันไม่ได้ใช้เธอไปทำอะไรเลยนี่"

ลูกศิษย์กล่าวว่า “คำพูดของอาจารย์สำคัญเสมอสำหรับผมไม่ใช่เรื่องล้อเล่น”

อาจารย์ถามอีกทีว่า “ไหนบอกมาที่ว่านี่คืออะไร”

ลูกศิษย์ตอบว่า “นี่คือศีรษะของพ่อผมที่ท่านอาจารย์ใช้ให้ไปฟันคอแล้วเอาศีรษะกลับมาให้ท่านครับ”
อาจารย์จึงกล่าวว่า “เจ้าฆาตกร ! เจ้าไม่กลัวอัลลอฮิดอกหรือ? เจ้าห่าพ่อของเจ้าซึ่งเป็นการทำบาปใหญ่เช่นนี้ได้อย่างไร เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ ฉันไม่ได้สั่งให้เจ้าไปทำอะไรเลย ฉันเพียงแต่ถามเจ้าเพียงคำถามเดียวเท่านั้น”

ลูกศิษย์ตอบว่า “ผมบอกอาจารย์แล้วไงครับ ว่า ทุกสิ่งที่อาจารย์กล่าวผมถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่ล้อเล่น”
อาจารย์จึงกล่าวว่า “ลาเหาละวะลากูวะตาอิลลาบิลลาฮฺ ไหน จุดตะเกียงแล้วเอามาให้ฉันดูหน่อย” แล้วเขาก้เอาตะเกียงมาให้และนำศีรษะนั้นออกมา ปรากฏว่ามันกลายเป็นศีรษะของนัศรอนีที่เคยเป็นเพื่อนบ้านของพวกเขามาก่อนซึ่งมันเป็นชู้กับแม่ของเขา อาจารย์จึงเปิดเผยแผ่นดินของอัลลอฮฺให้เขาได้เห็นภาพว่า คนนี้จะมาทำซินากับแม่ของเขาเวลานั้นๆ อาจารย์ต้องการที่จะยิงนัดเดียวได้นกสองตัว นกตัวหนึ่งคือลูศิษย์คนนี้ว่าสมควรได้รับมอบหน้าที่หรือไม่ และนกตัวที่สองคือสังหารนัศรอนีคนนี่ที่มาล่วงละเมิดสิ่งที่ต้องห้ามของลูกศิษย์กับพ่อของเขา ดังนั้นอาจารย์จึงถ่ายทอดหน้าที่ให้แก่ศิษย์คนนี้ ทำให้ลูกศิษย์ได้มองเห็นบัลลังก์(อัรช์) และเห็นสิ่งที่อยู่ใต้แผ่นดิน

เรื่องนี้ทำให้ได้ทราบว่าระดับการฏออะฮฺที่บรรดาปรมาจารย์ตะเศาวุฟสอนสั่งลูกศิษย์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่อนุมัติแก่มุสลิมคนหนึ่งคนใดที่จะฏออะฮฺมนุษย์คนไหนให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างไร้ขอบเขตเป็นอันขาด เพราะการฏออะฮฺอย่างไร้ขอบเขตนี้จะกระทำกับใครไม่ได้ทั้งสิ้นนอกจากอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ เพราะอัลลอฮฺคือพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลโลก และรสูลของพระองค์เป็นการยืนยันหรือหุจญะตุลลอฮฺต่อโลกทั้งผอง เป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงปกป้องคุ้มครองจากสิ่งต่างๆ ที่อัลลอฮฺไม่ได้ทรงบัญชาใช้ พระองค์อัลลฮฺตรัสว่า


وَمَا يَنطِقُ عَنِ الْهَوَىٰ ( 3 ) 

"และเขามิได้พูดตามอารมณ์"

إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْيٌ يُوحَىٰ ( 4 ) 

"อัลกุรอานมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย.ที่ถูกประทานลงมา"

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นัจญ์มฺ 53:3-4)

ดังนั้นเราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากการขาดสติและการละเมิดบัญญัติศาสนา

تصوف

ในตัลบีส อิบลีส ของหาฟิซ อินุลเญาซี และผู้แต่งหนังสือ "อัชเราะฟุสสะวานิฮฺ อัลเคาะวาญะฮฺ" อะซีซ อัลฮาซัน ซึ่งเขาเคยเป็นศิษย์คนโปรดของอัตตะฮานวี เล่าว่า

"เคยมีความคิดบางอย่างผุดขึ้นในสมองของฉันหลายครั้งว่า ฉันน่าจะเป็นผู้หญิงจะได้แต่งงานกับอาจารย์"

ความรู้สึกรักใคร่นี้มันบังเกิดขึ้นกับเขา ถึงขนาดที่ว่ามันสร้างความปราบปลื้มให้แก่เขา เขาหัวเราะ และเข้ามัสยิด โดยกล่าวว่า

"นี่คือความรักของท่านซึ่งท่านจะได้รับการตอบแทน ท่านจะได้รับการตอบแทน" (อัชเราะฟุสสะวานิฮฺ" 2/12)

ลูกศิษย์คนหนึ่งของชัยค์อัชร็อฟอะลี อัตตะฮานวี ได้เขียนถึงปรมาจารย์ของเขาดังต่อไปนี้

"แท้จริงฉันเห็นตัวฉันในความฝันว่า ทุกครั้งที่พยายามจะกล่าวกะลิมะฮฺชะฮาดะฮฺให้ถูกต้องนั้น ลิ้นของฉันมันจะกล่าวหลังคำว่า "ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ" ว่า "อัชร็อฟเราะสูลุลลอฮฺเสมอ"

แล้วอัตตะฮานวีก็ตอบเรื่องนี้ว่า "แท้จริง ท่านนั้นรักฉันสุดยอดถึงระดับนี้ แล้วนี่เป็นผลของความรักอันนั้น"

ซึ่งลูกศิษย์คนนี้ก็ได้เล่าถึงการสนทนากับอัตตะฮานวี อาจารย์ของเขาว่า "แล้วฉันก็ตื่นขึ้นจากความฝัน เมื่อความผิดพลาดของกะลิมะฮฺผุดขึ้นในใจฉัน ฉันต้องการที่จะสลัดสิ่งนี้ออกจากใจฉัน ดังนั้นฉันจึงลุกขึ้นนั่งแล้วเอนไปอีกด้านหนึ่ง ฉันตั้งใจจะกล่าวว่า

"อัศเศาะลาตุ วัสสะลามุ อะลาเราะสูลิลลาฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม"

เพื่อจะได้รู้ถึงความผิดพลาดนี้ แต่ปรากฏว่าฉันกลับกล่าวว่า

"อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิ อะลา สัยยิดินา วะนะบิยินา วะเมาลานา อัชร็อฟอะลี"

ซึ่งเวลานั้นฉันตื่นอยู่ ไม่ได้อยู่ในความฝันแล้ว แต่ฉันอยู่ในภาวะที่คับขันและถูกบังคับ ไม่สามารถควบคุมลิ้นของฉันได้เลย" ("บุรฮาน ฟิบรอยิร 195 เดลฮี หน้า 7)

คำตอบของอัตตาฮาวีก็คือ "นี่เป็นการปลอบใจให้แก่ท่านว่าผู้ที่ท่านมีใจผูกพันเลื่อมใสด้วยการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และการให้ความสำเร็จของพระองค์นั้น เขาเป็นผู้ปฏิบัติตามสุนนะฮฺ" (วารสาร "อุมะรออิ นิฮามะฮฺ เดือนเชาวาล ฮ.ศ.1325)

ท่านอิมามชาฟิอี กล่าวว่า
"หากว่าใครปฏิบัติตามแนวทางซูฟีย์ตั้งแต่เวลาศุบฮฺจนถึงเวลาซุฮฺรี แน่่นอนสติปัญญาของเขาไม่เหลือแล้ว"!!!!....

สัมผัสผิวกายสามีภริยาเสียน้ำละหมาดหรือไม่

 لَامَسْتُمُ

               บรรดาอุลามาอฺมีทัศนะต่าง กรณีการสัมผัสผิวกายระหว่างสามีภริยาหรือหญิงอื่นที่แต่งงานกันได้ หรือผู้ที่ไม่ใช่มะร็อม จะทำให้เสียน้ำละหมาดหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะดังนี้

ทัศนะหนึ่ง ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่ก็ตาม หากไม่มีสิ่งขวางกั้น เป็นทัศนะของท่านอิมามชาฟีอีย์ และลูกศิษย์ของท่าน  และเป็นทัศนะของกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ  อิบนุมัสอู๊ด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ, อิบนุอุมัรร่อฎียัลลอฮุอันฮุ , ซัยดฺ อิบนุ อัสลัม ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เป็นต้น

ทัศนะที่สอง ถือว่าเสียน้ำละหมาด หากมีความรู้สึกทางเพศ แต่ถ้าสัมผัสกันแล้วไม่มีความรู้สึกทางเพศ ก็จะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด  เป็นทัศนะของอิมามมาลิก และอิมามอะหฺมัด (มัซฮับฮัมบาลีย์) อัล-หะกัม, หัมม๊าดฺ,  อัล-ลัยษฺ และอิสหาก เป็นต้น

ทัศนะที่สาม ไม่ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ถึงแม้จะมีความรู้สึกทางเพศก็ตาม เป็นทัศนะของอิมามฮานาฟีย์ และลูกศิษย์ของท่าน ชัยคุลอิสลามอิบนุ ตัยมิยะฮฺ,เชคอับดุลอะซีซ บินบาซ,เชคอัลบานีย์ และเป็นทัศนะของกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบ ,ท่านอิบนุ อับบาส  อะฏออฺ ในริวายะฮฺหนึ่ง, ฏอวูส, อัล-หะสัน อัล-บะศอรียฺ, สุฟยาน เป็นต้น อีกทั้งยังถูกรายงานมาจากท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ

ทัศนะที่ว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกทางเพศหรือไม่ก็ตาม

 หลักฐานชองฝ่ายนี้คือ อายะฮฺอัล-กุรอานที่ว่า    اَوْلاَمَسْتُمُ النِّسَاءَ   อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ทำการอธิบายโองการที่ว่า ..

لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5 : 6)

"การสัมผัส" ตรงนี้หมายถึง การสัมผัสกันระหว่างผิวหนังของคนๆ หนึ่งกับผิวหนังอีกคนที่เป็นเพศตรงข้าม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การมีเพศสัมพันธ์กันก็ตาม(ก็ทำให้เสียน้ำละหมาด)


หลักฐานอีกว่า มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร  ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ..

قبلة الرجل امرأته وجسها بيده من الملامسة، فمن قبل امرأته، أو جسها بيده، فعليه الوضوء

“การจูบภรรยาของชายคนหนึ่ง และการสัมผัสแตะต้องตัวของนางด้วยมือนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่เรียกว่า การสัมผัส(อัล-มุลามะสะฮฺ) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ได้จูบภรรยาของเขา หรือได้สัมผัสแตะต้องตัวนางด้วยมือของเขา ดังนั้นก็จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องอาบน้ำละหมาด”  (บันทึกโดย ท่านอิมามมาลิก ในตำรา อัล-มุวัฏเฏาะอฺ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮี๊ยะหฺ)

ด้านภาษาอาหรับ คำว่า “لامس” หมายถึง “การสัมผัส”  เหมือนกับที่เราอ่านในโองการอื่นที่ว่า ..

فَلَمَسُوهُ بِأَيْدِيهِمْ

“แล้วพวกเขาก็ได้สัมผัสคัมภีร์นั้นด้วยมือของพวกเขาเอง” (ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม : 7)

ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์ ได้กล่าว่า ..

اعلم أن اللمس ناقض بشروط خمسة: أحدها: أن يكون بين مختلفين ذكورة وأنوثة. ثانيها: أن يكون بالبشرة دون الشعر والسن والظفر. ثالثها: أن يكون بدون حائل. رابعها: أن يبلغ كل منهما حدا يشتهى فيه. خامسها: عدم المحرمية

 “พึงทราบไว้เถิดว่า การสัมผัสที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดได้นั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 5 ประการด้วยกัน คือ ..

1.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง

2.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างผิวหนังด้วยกัน ไม่ใช่ไปสัมผัสกับเส้นผม ,เส้นขน ,ฟัน หรือเล็บ

3.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยปราศจากสิ่งปิดกั้น

4.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยที่ทั้งสองคนต่างก็มีอารมณ์ใคร่ด้วยกันทั้งคู่

5.   ต้องเป็นการสัมผัสกับผู้ที่ไม่ใช่มะห์รอม (เพศตรงข้ามที่แต่งงานกันไม่ได้)

ดู ตำรา  หาชียะฮฺ อัล-บุญัยริมีย์  โดย ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 211

โดยอาศัยการบ่งชี้ที่ชัดเจนจากอัล-กุรอาน ส่วนหะดีษของพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮอุอันฮา นั้น แท้จริงท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ ได้ให้ทัศนะว่า ..

حملوا الحديث على أنه غمزها فوق حائل، وهذا هو الظاهر من حال النائم، فلا دلالة فيه على عدم النقض

“หะดีษนี้ถูกยึดอยู่บนความเข้าใจที่ว่า แท้จริงท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สัมผัสพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา  โดยมีสิ่งปิดกั้นอยู่ และนี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ภายนอกจากสภาพของผู้ที่นอน ดังนั้น ไม่มีหลักฐานใดเลยที่มาบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า การสัมผัสสตรีหรือภรรยานั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด !!”

ดู ตำรา  ชัรหุ มัสลิม  โดย ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์  เล่มที่ 4  หน้าที่ 230



ทัศนะ ที่ถือว่าเสียน้ำละหมาด หากมีความรู้สึกทางเพศ แต่ถ้าสัมผัสกันแล้วไม่มีความรู้สึกทางเพศ ก็จะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด

ทัศนะนี้มีความเห็นว่า การกระทบหรือสัมผัสที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ การกระทบหรือสัมผัสกันระหว่างผิวหนังกับผิวหนังโดยมีอารมณ์ใคร่  นี่คือเป้าหมายของโองการจากอัล-กุรอาน แต่หากว่าเป็นการกระทบหรือสัมผัสกันโดยปราศจากอารมณ์ใคร่ ดังที่มีหะดีษรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ก็ถือว่า ไม่เสียน้ำละหมาดแต่ประการใด

มัซฮับอัลมาลิกียะฮฺ ได้กล่าวว่าจะเสียน้ำละหมาดด้วยการที่ผู้มีน้ำละหมาดที่บรรลุศาสนภาวะสัมผัสกับคนหนึ่งโดยมีความรู้สึกทางเพศ ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง และถึงแม้ว่าผู้ถูกสัมผัสนั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม และไม่ว่าจะสัมผัสกับภรรยาของตัวเอง หรือหญิงอื่น หรือผู้ที่หะรอมการแต่งงานกับเขา และไม่ว่าการสัมผัสนั้นจะสัมผัสกับเล็มหรือผม หรือบนที่ที่ขวางกั้น เช่น ผ้า และไม่ว่าสิ่งที่ขวางกั้นนั้นจะเป็นผ้าบางๆ ซึ่งผู้รับสัมผัสมีความรู้สึกว่าเป็นเป็นผิวหนังหรือเป็นสิ่งที่หนาๆ ก็ตาม และไม่ว่าการสัมผัสนั้นระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย หรือผู้หญิงกับผู้หญิงก็ตาม

การสัมผัสที่มีความรู้สึกทางเพศทำให้เสียน้ำละหมาด และการจูบปากก็จะทำให้เสียน้ำละหมาด ถึงแม้จะไม่มีความรู้สึกทางเพศก็ตาม เพราะการจูบอย่างนั้นมันเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ ส่วนการจูบที่ไม่ใช้ปากก็จะทำให้เสียน้ำละหมาดของผู้จูบและผู้ถูกจูบ ถ้าทั้งสองคนบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือคนหนึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ถ้าเขาจูบกับผู้ที่มีความรู้สึกทางเพศและพบกับความรู้สึก ความอร่อย ถึงแม้ว่าการจูบนั้นจะด้วยการถูกบังคับหรือลืมก็ตาม


ทัศนะที่สาม ไม่ถือว่าเสียน้ำละหมาดทุกสภาพ ถึงแม้จะมีความรู้สึกทางเพศ

 ทัศนะของอุลามาอฺ ที่ว่าเมื่อชายหญิงสัมผัสกันไม่เสียน้ำละหมาดในทุกๆ สภาพไม่ว่าภายหลังการสัมผัสนั้นจะมีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึกทางเพศก็ตาม
(ดูหนังสือ "มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา" โดยเชคอับดุลอะซีซ บินบาซ เล่ม 10 หน้า 135)

หลักฐานที่อ้างอิงว่าการสัมผัสผิวกายระหว่างชายหญิงไม่เสียน้ำละหมาด มีดังนี้

ท่านนบีศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมไม่ได้อาบน้ำละหมาดใหม่ เมื่อได้สัมผัสกับพระนางอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ..

كُنْتُ أَنَامُ بَيْنَ يَدَيْ رَسُولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم وَرِجْلاَيَ فِي قِبْلَتِهِ، فَإِذَا سَجَدَ غَمَزَنِي

“ฉันเคยนอนอยู่ต่อหน้าท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในขณะที่เท้า ทั้งสองของฉันพาดไปทางทิศกิบลัตของท่าน ดังนั้นเมื่อท่านสุญูดลงท่านก็จะเอามือมาสัมผัสฉัน” (บันทึกโดย บุคอรีย์-มุสลิม)

ในหะดิษบทนี้เป็นหลักฐานชี้ให้เห้นว่า การกระทบสตรีนั้นไม่เสียน้ำละหมาด และที่ปรากฏชัดก็คือการท่านรสูลกระทบกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ โดยเท้าของท่านนั้นไม่มีอะไรขวางกั้น  ส่วนที่มัซอับชาฟีอีย์ตีความว่า การสัมผัสนั้นอาจมีผ้าขวางกั้นอยู่ หรือมันเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับท่านนบีเท่านนั้น การตีความอย่างงนี้นั้นเป็นการตีความเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ตรงกับความเป็นจริง

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ยังได้กล่าวอีกว่า ..

فَقَدْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيْلَةً مِنَ الْفِرَاشِ فَالْتَمَسْتُهُ فَوَقَعَتْ يَدِي عَلَى بَطْنِ قَدَمَيْهِ

“ในคืนหนึ่งฉันได้คลำหาท่านรสูลศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ตรงที่นอน แล้วฉันก็ได้สัมผัสกับท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม  แล้วมือของฉันก็ได้วางอยู่บนฝ่าเท้าทั้งสองของท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 486)

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า

" كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يتوضأ ثم يقبل ويصلي و لا يتوضأ "

 ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺอาบน้ำละหมาด จากนั้นท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็จูบ (ภรรยาบางคนของท่าน) ต่อมาท่านรสูลก็ละหมาดโดยมิได้อาบน้ำละหมาด (ใหม่)" หะดีษเศาะหี้หฺ และสายงานถือว่าหะสัน (ดูหนังสือ มุสนัดอิมามอะหฺมัด ตรวจสอบหะดีษโดยเชคชุอัยบ์ อัลอัรฺนะอูนฎ์ เล่ม 40 หน้า 385)

จากท่านวะกีอฺ ฟังจากท่านอัลอะอฺมัช จากท่านหะบีบ บุตรของอบู ษาบิต จากท่านอุรฺวะฮฺ บุตรของซุบัยร์ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลฮุอันฮา เล่าว่า
"แท้จริงท่านรสูลศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบภริยาบางคนของท่าน จากนั้นท่านก้ไปละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด(ใหม่) (ท่านอุรฺวะฮฺเล่าว่า) นอกจากเธอเท่านั้น? (ท่านอุรฺวะฮฺเล่าวว่า) แล้วท่านหยิงอาอิชะฮฺก็หัวเราะ" ( บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 24584 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 170 , อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 153 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 79 ...สายรายงานหะดิษข้างต้นถือว่าเศาะเฮียะฮฺ บรรดานักรายงานหะดิษถือว่ามีความจำดีเยี่ยม  ) 
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้จูบนางขณะที่ท่านถือศิลอดอยู่ และท่านกล่าวว่า
"การจูบนั้นจะไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด และไม่ทำให้เสียศิลอด" (บันทึกหะดิษโดย อิสหาก อิบนุรอหะวัย ในทำนองเดียวกันได้บันทึกโดยอัลบัซซารด้วยสายรายงานที่ดี)
ท่านอับดุลฮักได้กล่าวว่า ฉันไม่ทราบเลยว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่จำเป็นจะต้องละทิ้งหะดิษนี้

ซึ่งมีผู้กล่าววิภาษว่า หะดิษที่ว่าด้วยท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบภรรยา จากนั้นท่านก็ละหมาดโดยไม่อาบน้ำละหมาดใหม่นั้น ถือเป้นหะดิษอิฟ และหะดิษที่มีสายรายงานขาดตอน

เล่าจากท่านวะกีอฺ ฟังจากท่านสุฟยาน จากท่านอบูเราก์ อัลฮัมดานีย์ จากท่านอิบรอฮีม อัตตัยมีย์ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ว่า
"แท้จริงท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จูบ(ภรรยาบางคนของท่าน) จากนั้นท่านก็ละหมาดโดยท่านรสูลไม่อาบน้ำละหมาด(ใหม่)" (บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 25767)
หะดิษข้างต้นสายรายงานเฎาะอิฟ เนื่องจากนักรายงานหะดิษขาดหายไปคนหนึ่ง โดยท่านอิบรอฮีม อัตตัยมีย์ บุตรยะซีด ไม่ได้ยินหะดิษดังกล่่าวจากหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา (หนังสือมุสนัดอิมามอะหิมัด ตรวจสอบโดยเชคชุอัยบ์ อัลอัรฺนะอูนฎ์ เล่ม 42 หน้าที่ 500)

แต่สายรายงานอื่นซึ่งเนื้อความคล้ายกับหะดิษข้างต้นพบว่าเศาะเฮียะฮ์ทั้งตัวบท และสายรายงานของหะดิษ ดังหะดิษสองบทที่ยกก่อนหะดิษข้างต้นแล้วนั้น


ท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  กล่าวว่า ..
لا يجب الوضوء من القبلة ومس المرأة، بشهوة أو غير شهوة

“ไม่จำเป็นจะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ สำหรับผู้ที่จูบหรือสัมผัสสตรี ไม่ว่าจะสัมผัสด้วยอารมณ์ใคร่หรือไม่มีอารมณ์ใคร่ก็ตาม”
ดู ตำรา อัล-มับสูฏ โดยท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 121

และเนื่องจากไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ชัดว่า เมื่อกระทำสิ่งดังกล่าวแล้วเสียน้ำละหมาด ซึ่งสามีจะต้องอยู่ร่วมกับภรรยาอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นกันเป็นปกติวิสัย แม้กระทั่งท่านรสูลุลลอฮฺก็ต้องอยู่ร่วมกับบรรดาภรรยาของท่านเองเช่นกัน แต่ทำไมท่านรสูลจึงไม่บ่งบอกเรื่องดังกล่าวไว้โดยละเอียด ซึ่งนั่นก็หมายความว่า หากสามีภรรยากระทบกันทำให้เสียน้ำละหมาดแล้ว ท่านรสูลจะต้องชี้แจงไว้อย่างชัดเจน แต่ท่านรสูลกลับไปกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว ใช่แต่เท่านั้นท่านรสูลยังกระทำให้เห็นอีกว่าชายหญิงกระทบกันไม่เสียน้ำละหมาด

หนังสือฟัตวาของคณะทำงานเพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดิอาระเบีย ในเล่ม 5 หน้า 266 ซึ่งหัวหน้าคณะทำงานนั้นก็คือ เชคอับดุลอะซีซ บุตรของอับดุลลอฮฺ บุตรของบาซ แสดงทัศนะว่า "เมื่อชายหญิงกระทบกันเสียน้ำละหมาดหรือไม่นั้น มีการขัดแย้งกันในระหว่างนักวิชาการ แต่ที่ถูกต้องกว่าคือ ไม่เสียน้ำละหมาด แม้ว่าการกระทบนั้นจะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม เพราะท่านรสูลุลลอฮฺจูบภรรยาบางคนของท่านโดยท่านรสูลมิได้อาบน้ำละหมาดใหม่

*** ส่วนอายะฮฺอัลกุรฺอานที่ปรากฏในสูเราะฮฺอันนิสาอฺ และสูเราะฮฺอันมาอิดะฮฺที่ว่า


لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ 

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5: 6)

บรรดาอุลามาอฺมีความเข้าใจต่างกันในคำว่า لَامَسْتُمُ 

กลุ่มหนึ่งเข้าใจว่าหมายถึงการสัมผัส ซึ่งเป็นความหมายตามตัว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่ามันหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นทัศนะของท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม ด้วย


“การสัมผัส” ตรงนี้หมายถึง “การมีเพศสัมพันธ์”  ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ได้กล่าวถึงเรื่องของ

พระนางมัรยัม ว่า ..

لَمْ يَمْسَسْنِي بَشَرٌ

“ทั้ง ๆ ที่มิได้มีบุรุษใดแตะต้องข้าพระองค์” (ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน : 47)

ท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม ได้อธิบายอัลกุรอาน ได้อธิบายเอาไว้ว่า
"จุดมุ่งหมายของการสัมผัสก็คือการมีเพศสัมพันธ์"
และท่านอิบนุ สะกี๊ต ได้กล่าวว่า
"คือการสัมผัสนั้นเมื่อใช้กับผู้หญิงแล้ว หมายความว่า การร่วมประเวณี หรือการร่วมเพศ ชาวอาหรับกล่าวว่า "ลามัสตุลมัรอาตา" ฉันได้มีเพศสัมพันธืกับนาง ดังนั้นอายะฮฺพูดในทางเป็นนัย คือการสัมผัส นั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะมีสิ่งบ่งบอกระบุเอาไว้ นั้นก็คือ หะดิษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา (อัลฟิกฮุลอิสลามี เล่ม 1)
และหากสังเกตจะพบว่าที่ถูกต้องนั้นมันหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะในอายะฮฺก่อนหน้านี้ อัลลอฮฺกล่าวถึงการอาบน้ำวุฎูอฺและการอาบน้ำฆุสล์

พระองค์อัลลอฮ์ อัซวะวะญัล ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلَاةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ

"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นจะไปละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า และล้างเท้าของพวกเจ้าถึงตาตุ่มทั้งสอง..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

และกล่าวต่อมาว่า
 وَإِن كُنتُمْ جُنُبًا فَاطَّهَّرُوا

"...และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

ซึ่งหมายถึงการตะยัมมุมในการทำความสะอาดเนื่องจากญะนาบะฮฺ

 أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِّنكُم مِّنَ الْغَائِطِ أَوْ لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ


 "...หรือคนใดในหมู่พวกท่านมาจากการถ่ายทุกข์ หรือได้สัมผัสหญิงมา..." (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5:6)

ดังนั้นคำๆนี้ย่อมหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะมันถูกอธิบายไว้ในถ้อยคำก่อนหน้า

สำหรับผู้ที่เข้าใจคำนี้ว่าหมายถึง การสัมผัสนั้น ได้อธิบายมันหมายถึงการสัมผัสหญิงพร้อมกับการมีอารมณ์ทางเพศด้วย กล่าวคือหากสัมผัสผู้หญิงโดยไม่มีอารมณ์ทางเพศนั้นย่อมไม่เสียน้ำละหมาด


สรุปได้ว่า เรื่องการกระทบกันระหว่างชายหญิงที่แต่งงานกันได้ ซึ่งรวมถึงกรณีของสามีภรรยาเป็นเรื่องที่มีทัศนะต่างกันและหลากหลาย แสดงว่ามิใช่เรื่องที่เด็ดขาดด้วยตัวบท ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะเลือกเอาว่าจะตามทัศนะที่ว่าเสียหรือไม่เสีย ซึ่งเห็นว่ามีน้ำหนักมากที่สุด


 والله أعلم بالصوا

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿






วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ช่วยกันเผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮฺ



อิมานคือศาสนา คือทางนำ ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ศาสนา เรียนรู้กรุอานและสุนนะฮฺ และเผยแพร่มันออกไป เพื่อการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น เพื่อหลีกห่างจากชิริกและสาขาต่างๆของมัน

ท่านรสูลุลลอฮิ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ใดก็ตามที่เชิญชวนไปสู่ความดี สำหรับเขาแล้วก็ได้รับรางวัลประหนึ่งผู้ทำความดี"

อีกรายงานหนึ่ง


ท่านรสูลุลลอฮิ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ใดก็ตามที่เชิญชวนไปสู่ความดี สำหรับเขาแล้วก็ได้รับความดีเช่นกัน โดยมันจะไม่ลดลงแต่อย่างใด และผู้ใดก็ตามที่เชิญชวนไปสู่ความหลงผิด สำหรับเขาแล้วก็จะมีความผิดบาปอย่างผู้ที่ตามเขา"
(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม)


พระองค์อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تُحِلُّوا شَعَائِرَ اللَّهِ وَلَا الشَّهْرَ الْحَرَامَ وَلَا الْهَدْيَ وَلَا الْقَلَائِدَ وَلَا آمِّينَ الْبَيْتَ الْحَرَامَ يَبْتَغُونَ فَضْلًا مِّن رَّبِّهِمْ وَرِضْوَانًا وَإِذَا حَلَلْتُمْ فَاصْطَادُوا وَلَا يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ أَن صَدُّوكُمْ عَنِ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ أَن تَعْتَدُوا وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَىٰ وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ ( 2 )
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่าให้เป็นที่อนุมัติ ซึ่งบรรดาเครื่องหมายแห่งศาสนาของอัลลอฮ์ และเดือนที่ต้องห้าม และสัตว์พลี และสัตว์ที่ถูกสามเครื่องหมายไว้ที่คอเพื่อเป็นสัตว์พลี และบรรดาผุ้ที่มุ่งสู่บ้านอันเป็นที่ต้องห้าม โดยแสวงหาความโปรดปราน และความพอพระทัยจากพระเจ้าของพวกเขา แต่เมื่อพวกเจ้าเปลื้องอิห์รอมแล้ว ก็จงล่าสัตว์ได้ และจงอย่าให้การเกลียดชังแก่พวกหนึ่งพวกใด ที่ขัดขวางพวกเจ้ามิให้เข้ามัศยิดฮะรอม ทำให้พวกเจ้ากระทำการละเมิด และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกันและพึงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ 5:2)



إِلَّا الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ ( 3 )
"นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อัศร์ 103:3)



وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ أُولَٰئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ ( 71 )
“และบรรดามุมิน ชาย และบรรดามุมินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮ์จะทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ 9:71)



 والله أعلم بالصوا

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿





ว่าด้วยการเสียน้ำละหมาดเนื่องจากรับประทานเนื้ออูฐ



ปวงปราชญ์ (ญุมฮู๊ร) และอิหม่ามทั้งสามท่าน (ฮะนะฟีย์, มาลิกีย์, และอัชชาฟิอีย์) กล่าวว่า : การรับประทานเนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดนั้นไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด ส่วนฝ่ายฮะนาบิละฮฺกล่าวว่า : การรับประทานเนื้อสัตว์ที่ถูกเชือด (الجَزُوْرُ) ทำให้เสียน้ำละหมาดโดยอ้างหลักฐานดังนี้


1. จาก ญาบิร อิบนุ สะมุเราะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) มีชายคนหนึ่งถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า : เราต้องอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (กิน) เนื้อแพะ, แกะหรือไม่? ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ตอบว่า : หากท่านประสงค์ ท่านก็อาบน้ำละหมาด และถ้าหากท่านประสงค์ท่านก็ไม่ต้องอาบน้ำละหมาด ชายผู้นั้นกล่าวว่า : เราจะต้องอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (กิน) เนื้ออูฐหรือไม่? ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : ใช่แล้ว ท่านจงอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (กิน) เนื้ออูฐ อัลหะดีษ (รายงานโดยอะหฺหมัดและมุสลิม)


2. จากอัลบะรออฺ อิบนุ อาซิบ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า : ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ถูกถามถึงการอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (การกิน) เนื้ออูฐ? ท่านกล่าวว่า : พวกท่านจงอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (การกิน) มัน (เนื้ออูฐ) อัลหะดีษ (รายงานโดยอะฮฺหมัดและอบูดาวูด)


3. จาก ซิลฺฆุรฺเราะฮฺ กล่าวว่า : อะอฺรอบีย์คนหนึ่งได้ขวางท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ขณะที่ร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กำลังเดินอยู่และเขากล่าวว่า : โอ้ ท่านร่อซู้ลของอัลลอฮฺ การละหมาดได้ทันพวกเรา (เข้าเวลาละหมาด) ในขณะที่พวกเราอยู่ในคอกของอูฐ เราจะละหมาดในคอกอูฐนั้นได้หรือไม่? ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : ไม่! ชายผู้นั้นกล่าวว่า : เราจะต้องอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (กิน) เนื้ออูฐหรือไม่? ท่านกล่าวว่า : ใช่แล้ว! อัลหะดีษ (อับดุลลอฮฺ อิบนุ อะหฺหมัด รายงานเอาไว้ในมุสนัดบิดาของเขาและรายงานโดยอัฏฏ่อบะรอนีย์เช่นกัน) บรรดาหะดีษเหล่านี้บ่งชี้ว่าจำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด และการเสียน้ำละหมาดจำกัดอยู่เฉพาะกรณีการกินเนื้ออูฐเท่านั้น ไม่รวมถึงน้ำนม, ตับ และไขมันของมันแต่อย่างใด


ส่วนปวงปราชญ์ ได้อ้างหลักฐานถึงการกินเนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดว่าไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดด้วย สิ่งที่รายงานจากท่านญาบิร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า : แท้จริงสิ่งสุดท้ายในสองเรื่องที่มีรายงานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นคือ ไม่มีการอาบน้ำละหมาดเนื่องจาก (การรับประทาน) สิ่งที่สัมผัสกับไฟ (ผ่านการปรุงหรือขึ้นไฟ) ดังนั้นการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่มายกเลิก (นาซิคฺ) หะดีษที่ว่าด้วยการเสียน้ำละหมาด เนื่องจากกินเนื้ออูฐ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่สัมผัสกับไฟ


แต่อิหม่ามอันนะวาวีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า : หะดีษที่ว่าไม่เสียน้ำละหมาดเนื่องจากรับประทานสิ่งที่ไฟสัมผัสนั้นเป็นหะดี ษที่มีนัยกว้าง (อามฺ) และหะดีษที่ว่าต้องอาบน้ำละหมาด เนื่องจากการรับประทานเนื้ออูฐนั้นเป็นหะดีษที่มีนัยยะจำกัดความ (ค๊อซฺ) และสิ่งที่มีนัยยะจำกัดความย่อมถูกนำมาก่อนสิ่งที่มีนัยกว้าง (الخاصُّ مُقَدَّمٌ على العَامِّ) และการกล่าวอ้างว่ามีการยกเลิก (นัซฺค์) นั้นไม่มั่นคงแน่นอน ทั้งนี้เพราะจำกัดความ (ตัคฺซีซฺ) ย่อมดีกว่าเนื่องจากมีหะดีษถึง 3 บทในเรื่องนี้ และมัซฮับที่กล่าวว่าเสียน้ำละหมาดเนื่องจากรับประทานเนื้ออูฐ คือมัซฮับฮะนาบิละฮฺนั้นมีความแข็งแรงกว่าทางด้านหลักฐาน ถึงแม้ว่าปวงปราชญ์จะมีความเห็นต่างจากสิ่งนั้นก็ตาม (เก็บความจากอะฮฺกาม อัฏฏ่อฮาเราะฮฺ อะลัล มะซาฮิบ อัลอัรบะอะฮฺ ; ดร.อบูซะรีอฺ มุฮำหมัด อับดุลฮาดีย์ หน้าที่ 154-155)


والله أعلم بالصواب

อาจารย์อาลี เสือสมิง

สิ่งใหม่ในละหมาดฟัรดูห้าเวลา



สิ่งอุตริในด้านอีบาดะฮฺที่เกี่ยวกับการละหมาดฟัรดู 5 เวลา

1. การกล่าวคำนิยัต (อย่างตั้งใจ) ตอนที่จะอาบน้ำนมาซ และตอนที่จะนมาซ การกล่าวคำนิยัตนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนอาบน้ำนมาซหรือก่อนที่จะละหมาดนั้นล้วนเป็นบิดอะฮฺทั้งสิ้น

                2. การกล่าวตักบีรโดยการลากเสียงยาวจนถึง 12 หะรอกัต โดยในระหว่างนั้นให้นึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการละหมาด รวมทั้งการการเกาะศอด ตะอัรรุฎ ตะอ์ยิน และอื่นๆ อีกให้พร้อมสรรพ การกระทำอย่างนี้ไม่มีปรากฎในซุนนะฮฺเลย แม้ว่าจะมีหนังสือหลายเล่มที่แต่งขึ้นในสมัยหลังๆนี้ เขียนว่าการกระทำอย่างนั้นเป็นการดีเยี่ยม

3. การที่มะมูมกล่าวตักบีรรอตุลอิห์รอมดังกว่าอีม่ามก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน

                4. การอ่านกุลอะอูซูบิรอบบินนาส ก่อนกล่าวตักบีรและการกล่าวรอบบิจญ์ อัลนีมุกีมัศเศาะลาตฺ วามินซุรรียะตีจนจบอายะฮฺ

                5. การไม่กล่าวดุอาฮฺอิฟติตาห์ หลังจากตักบีรรอตุลอิห์รอม ซึ่งบรรดาผู้ที่ตามมัซฮับมาลีกีย์นิยมทำกัน
                6. การไม่กอดอกในขณะยืนนมาซ โดยปล่อยมือลงดังที่พวกที่ถือมัซฮับมาลีกีย์ทำกัน ซึ่งเกียวกับเรื่องนี้มีฮะดีษเศาะหิห์หลายบทที่กล่าวกถึงท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) ว่าท่านได้กอดอกในขณะนมาซ แม้แต่ในหนังสือ มุวัฏฏออ์ ของท่านอีม่ามมาลิกก็กล่าวถึงฮะดีษที่แสดงถึงการกอดอกในขณะยืนนมาซ

                7. การทาบมือที่หน้าท้องด้านซ้าย  เพราะตามซุนนะฮิของท่นนบีให้ทาบที่หน้าอก

                8. การกล่าว อัลลอฮุมมัฆฟิรลีย์ วาลีวาลีดัยยา วาลิลมุสลีมีน หลังจากที่อ่านฟาตีฮะห์จบแล้ว ก่อนที่จะกล่าว อามีน เพาะตามซุนนะฮฺของท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล)ให้มะมูมนั้นกล่าวคำว่า อามีน พร้อมๆกันอีม่าม โดยก่อหน้านั้นไม่ต้องกล่าวคำอะไรเลย

                9. การอ่านอายะฮฺส่วนใดส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานหลังจากอ่านอัลฟาตีฮะห์จบแล้ว เพราะตามซุนนะฮฺให้อ่านซูเราะฮฺใดซูเราะฮฺหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ หรือจนถึงกึ่งหนึ่งของซูเราะฮฺ ใม่ใช่หยิบเอามาอ่านอายะฮฺใดอายะฮฺอายะฮิหนึ่งของซูเราะฮฺ

                ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) เคยอ่านอายฮฺเดียวหลังจากอ่นอัลฟาตีฮะห์ ในนมาซซุนนะฮฺซบฮีเท่านั้นส่วนที่ว่าผู้ใดอ่าน ซูเราะฮฺอาลัมนัสเราะฮฺ และ อาลัมตารอกัย ในนมาซซุบฮีและมัฆริบ แล้วโรคภัยไข้เจ็บจะไม่เข้าไกล้นั้นเป็นฮาด๊ษที่ไม่ถูกต้อง ตามซุนนะฮฺท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ กูลูอามันนาบิลลาฮี วามา อุนซิลาอีลัยนา  จนจบอายะฮฺ ในรอกะอัตแรก ในนมาซซุนนะซุบฮี และอายะฮฺ กุลยาอะฮฺลัลกีตาบิ ตะอาเลา อิลา กาลีมาตินสาวาอิน จนจบอายะฮฺ หรือท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ อัล-กาฟิรูน ในรอกะอัตแรกในนมาซดังกล่าว และอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส ในเราะกะอัตที่สอง

                10 การอ่านกุนุต ในนมาซซุบฮี โดยสม่ำเสมอตลอดไป เพราะฮะดีษที่กล่าวถึงการอ่านกุนุตโดยตลอดไปนั้นเป็นฮาดีษที่มีหลักฐานอ่อนที่สุด ไม่มีฮะดีษเศาะหีห์บทใดที่กล่าวถึงท่านนบี (ศ็อล) ว่าท่านได้กระทำกุนุตมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้บรรดาสาวกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า การทำกุนุตโดยสม่ำเสมอตลอดไปนั้นเป็นบิดอะฮฺ และการคว่ำฝามือขณะที่อ่นถึงตอน ลายาซิลลุมันวาลัยต์ นั้นเป็นบิดอะฮฺอย่างยิ่ง
                11. การตักบีรด้วยการลากเสียงยาวตอนที่จะลงสุญูด และตอนที่จะขึ้นจากสูญุดสู่อิริยาบทยืน เพราะว่าตามซุนนะฮฺเสียงตักบีรตอนที่จะลงจากอิริยาบทยืนสู่อิริยาบทสูญูดนั้น ให้จบลงในระหว่างกึ่งกลาง และจากอิริยาบทสูญุดสู่อิริยาบทยืนนั้นก็ให้จบในระหว่างกึ่งกลางเช่นกัน

                12. การกล่าว วาบีฮัมดิฮฺ ในตัสบีห์รูกูห์ และในตัสบีห์สูญุด เพราะในฮะดีษเศาะหิห์และในฮาดีษฮาซันไม่ได้ระบุถึงการกล่าวถึงคำ วาบีฮัมดิฮิ แต่อย่างใด

                13. การเพิ่มคำว่า ซัยยีดีนา ในเศาะลาวาต หลังจากที่ได้กล่าวตะชะฮฮุดจบแล้ว ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษจากท่านนบี ศ็อลฯ เลย คือแทนที่จะกล่าว อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลามุฮำมัด กลับเพิ่มคำว่า อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลา ซัยยีดีนา มุฮำมัด เป็นต้น

                14. การอ่านอัสอะลุกัล-เฟาซะ บิลญันนะฮฺ หลังจากให้สลามข้างขวา หรือ การกล่าวคำว่า อะอูซูบีกามีนันนาร หลังจากให้สลามหันไปข้างซ้าย

                15. การลูบหน้าหลังจากนมาซเสร็จ ก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน

                16. การกล่าวอิสติฆฟารพร้อมๆกัน ด้วยเสียงดังๆ เพราะตามซุนนะฮฺนั้นให้ต่างคนต่างอ่านอย่างเบาๆ
                17. การอ่านซุบฮานะมันลาญานาวาลายัสฮู ในสูญุดสะห์วี คือการสูญุดเนื่องจากลืมอย่างใดอย่างหนึ่งในนมาซ เพราะเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษของท่นนบีมูฮำมัด (ศ็อล) นอกจากพบในฝันของซูฟีคนหนึ่งเท่านั้น

                18. นมาซซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์ มีหลักฐานอย่างมากมายที่แสดงถึงความเป็นบิดอะฮิของการนมาซซุฮฺรี หลังจากนมาซวันศุกร์ แต่ก็มีผู้คนบางพวกที่ยังทำกันอยู่ โดยพวกเขาถือว่า การละหมาดซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นเป็นนมาซ อิอาดะฮฺ

                19. การอ่นซุเราะฮฺ อัล- อิคลาส  ซูเราะฮฺ อัล-ฟาลัค  และซูเราะฮฺ อัน-นาส  อย่างละ 7 ครั้งหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นก็เป็นบิดอะฮฺ ฮะดีษที่กล่าวถึงให้กระทำ อะมัล เช่นนี้เป็นฮาดีษที่อ่อนหลักฐาน  และการอ่านดูอาร์ต่อไปนี้หลังจากนมาซวันศุกร์อย่างสม่ำเสมอก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน คือ อัลลอฮฺ ฮุมมายา ฆอนีนียุยาหะมีด ยามุบดิอุ ยามุอีด  อัฆนะบี บิหะลาลีกะฮฺ วะบิฟัฎลีกะฮฺ อัมมัน สิวากะ  อุลามาอฺบางท่านมีความเห็นว่า ผู้ใดอ่นดุอ่ร์ดังกล่าว 70 ครั้ง หลังจากนมาซวันศุกร์แล้ว อัลลอฮฺจะทรงให้เขาร่ำรวย  และจะทรงให้ปลดเปลื้องหนี้สินของเขา  ความเห็นแบบนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องขอหลักฐานจากเขาที่แสดงว่า ความเห็นของเขานั้นเป็นความจริง

                การอ่านกุล ฮุวัลลอฮิ  1.000 คั้งในวันศุกร์ไม่มีฮะดีษใดที่พอจะยึดถือเป็นหลักฐานได้ หะดีษที่ว่าผู้ใดอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส กุลฮุวัลลอฮฺ 1.000 คร้ง อัลลอฮิจะทรงให้เขาปลอดภัยจากไฟนรกนั้นเป็นเป็นฮะดีษปลอมที่เล่าโดยผู้พูดเท็จ ผู้ที่เชื่อถือไม่ได้  การถือหะดีษโดยรู้ว่าผู้เล่าเป็นผู้เชื่อถือไม่ได้นั้น ถือเป็นหะรอม ที่ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) ให้เราอ่านในคืนวันศุกร์ ก็คือสูเราะฮฺ อัล-อิมรอน อัล-กะฮฺฟี และศอลาวาตแด่ท่านนบี (ศ็อลฯ)ให้มาก  ตลอดจนให้อาบน้ำแต่งตัวให้สะอาด ส่งเสริมให้ใช้ของหอม แล้วให้รีบไปมัสยิด  เป็นต้น

20. การกำหนดว่าการนมาซวันศุกร์นั้นต้องนมาซในมัสยิดเท่านั้น และการกำหนดว่าถ้าผู้มานมาซไม่ครบ 40 คนจะทำนมาซวันศุกร์ (ญุมอะฮฺ) ไม่ได้-ไม่เศาะฮฺ  ทีจริงไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างนมาซวันศุกร์กับนมาซอื่นๆ เว้นแต่ ในนมาซวันศุกร์นั้นต้องมีคุตบะฮฺเท่านั้น

21. การอ่านกุลฮุวัลลอฮิ 3 ครั้ง  ในขณะนั่ง ระหว่าง 2 คุฏบะฮฺ  ตามฮะด๊ษที่เศาะหีห์ กล่าวว่าท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) หยุดนั่งเพียงครู่เดียวเท่านั้นในระหว่าง 2 คุฎบะฮฺ  การกล่าวคุฎบะฮฺที่ 2  ด้วยการศอลาวาตและดุอาร์ต่อผู้นำ โดยไม่ได้บรรจุคำสอนและตักเตือน ก็เป็นบิดอะฮฺ คุฎบะฮฺของท่านนบีไม่ได้ทำในรูปแบบนี้

22. การจบคุฎบะฮฺด้วยคำว่า อุซกุรุลลอฮฺ ฮะ อัซกุรกุม หรือคำว่าเอ็นนัลลอฮิ ยะมีรุ บิลอดลีย์วัลอิฮิสาน โดยตลอดก็เป็นบิดอะฮฺ  เพราะในศตวรรษแรก ๆ เคาะฎีบจะจบคุตบะฮฺด้วยคำว่า อะกูลูเกาลีฮาซา  วัซตัฆฟิรุลลอฮฺลีวาลากุม

22. ไม่เห็นถึงความสำคัญในการละหมาดย่อ (นมาซกอซัร) ในระหว่างเดินทาง ซุนนะฮฺอันนี้ผู้คนไม่ค่อยเอาใจใส่มากนัก แม้แต่อุลามาอฺก็ไม่ค่อยบอกกล่าวให้นมาซย่อ ทั้งๆ ที่ในฮาดีษที่บันทึกโดยอีหม่าม อะฮฺมัด  อิบนุ อุมัร  ได้รายงานว่า  ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงชอบให้เรากระทำการงานที่พระองค์ทรงลดหย่อนให้ง่ายลง และตามบันทึกของอันนะสาอีย์ ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อัลลอฮิทรงใช้ให้เรานมาซ 2 รอกะอัตเท่านั้นในระหว่างเดินทาง หมาถึง นมาซที่มี 4 รอกะอัต คือ ซุฮรี อัสรี และอีซา ให้ละหมาดอย่างละ 2 รอกะอัตเท่านั้น ส่วนนมาซ ศุบฮีและมัฆริบจะละหมาดย่อไม่ได้ ใหละหมาดตามปกติ ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวอีกว่า การนมาซย่อนั้นเป็นของที่ประทาน (ศอดาเกาะฮฺ)  จากอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้แก่เราซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องรับ

23. การเช็ดศรีษะ  ให้ถูกส้นผมไม่กี่เส้นที่ทำวูฎุอ์  (อาบน้ำนมาซ)  เพราะว่าตามซุนนะฮิของท่านนบี (ศ็อลฯ) คือให้ลูบทั่วศรีษะ หรือลูบส่วนหนึ่งของศรีษะ หรือลูบไปบนผ้าโผกศรีษะ (ถ้าโผกผ้าสัรบันอยู่)

24. ลูบศรีษะ 3 ครั้ง เพราะว่าตามซุนนะฮฺแล้วท่านนบี  (ศ็อลฯ)  ลูบเพียงครั้งเดียวพร้อมเช็ดทั้งใบหูด้วย  โดยไม่ต้องจุมมือในน้ำอีก

25. ทำตะยัมมุมตอนลูบมือ  ลูบจนถึงข้อศอก และมือตบดิน 2  ครั้ง  ตามหะดีษเศาะเหี๊ยะฮฺ  การเอามือตบที่พื้นดิน เพื่อทำตะยัมมุมนั้นให้ตบเพียงครั้งเดียว ให้ลูบหน้าและมือจนถึงข้อศอก

26. ไม่ตอบรับอาซาน  เมื่อมุอัซซินได้ทำการอาซานดังที่ท่านนบี  (ศ็อลฯ)  ได้สั่งไว้

27. การกล่าวอาซานด้วยลีลา และทำนองสูงๆ  ต่ำๆ หรืออาซานด้วยการลากเสียงยาวๆ

28. ละทิ้งอาซานครั้งแรกในนมาซศุบหฺ  เพราะตามซุนในการนมาซซุบหฺอะซาน 2 ครั้ง อาซานครั้งแรกก่อนเข้าเวลานมาซศุบหฺเล็กน้อยอะซานครั้งนี้ให้เติมคำว่า “อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินันเนาวม์”  อะซานครั้งที่ 2  เมื่อเข้าเวลานมาซแล้ว อะซานครั้งนี้ไม่ต้องกล่าวคำว่า  “อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินัน เนาวม์

29. อะซานในมัสยิดวันศุกร์ต่อหน้าคอฎีบ  หรือไกล้ ๆ มิมบัรและอ่านตัรกียะฮฺ  คือ ซิกรฺ  ชฺญคอฎีบไปบนมิมบัรและกล่าวคำว่า  “อินนัลลอฮฺ ฮะวามาลาอีกาตูฮูยุศอลลูนะอาลันนบี”  จนจบ  แล้วต่อด้วยฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดพูดจากันในขณะคอฎีบกล่าวคฎบะฮฺการนมาซของเขาสูญเปล่าไม่ได้ผลบุญอะไรเลย  ตามซนนะฮิให้อาซานที่ประตูมัสยิด หลังจากที่คอฎีบได้ให้สลามและนั่งลงบนมิมบัรแล้ว

30. การกล่าว “อามีน” ด้วยเสียงดังตอนที่คอฎีบขอดุอาอฺในคุฎบะฮฺ

31. นมาซซุนนะฮฺ “กอบลียะญุมอัต”  คือการละหมาด 2  รอกอะฮฺ  หลังจากอาซานครั้งแรก



 والله أعلم بالصوا

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


ดุอาอ์ก่อนและหลังอาบน้ำละหมาด




ดุอาอฺก่อนอาบน้ำละหมาด


بِسْمِ اللَّهِ

“ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ”

(บันทึกโดยอบูดาวุด อิบนุมาญะฮฺ อะหมัด ดูในอิรวาอุลเฆาะลีล : 122/1)



 ดุอาอฺหลังอาบน้ำละหมาด
ให้อ่านดุอาอ์หลังอาบน้ำละหมาด บทใดบทหนึ่งดังนี้

أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ..

“ ข้าพระองค์ขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด ที่เป็นที่เคารพสักการะนอกอัลลอฮฺ และข้าพระองค์ขอ ปฏิญาณตนว่ามุฮัมมัด คือบ่าว และร่อซูลของพระองค์ ” 
(บันทึกโดยมุสลิม : 209/1)


اللَّهُمَّ اجْعَلنِي مِنَ التَّوَّابِينَ وَاجْعَلْنِي مِنَ الْمُتَطَهِّرِينَ

“โอ้ อัลลอฮฺ   ขอพระองค์ได้โปรดให้ข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ที่สำนึกผิดต่อพระองค์ และขอได้ โปรดให้ข้าพระองค์เป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่รักษาความสะอาดด้วยเถิด” 
( บันทึกโดยติรมีซียฺ : 78/1 ดูเศาะเหี๊ยะหฺอัตติรมีซียฺ : 18/1)


سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ، أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ

“โอ้อัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์และมวลการสรรเสริญมีต่อพระองค์ท่าน ข้าพระองค์ ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้า อื่นใด ที่จะต้องเคารพบูชานอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ข้าพระองค์ขออภัยโทษและสารภาพผิดต่อ พระองค์ "
(บันทึกโดยอันนะซาอียฺ ในอะมะลิลเยามิวัลลัยละติ หน้า 173 ดูในอิรวาอุลเฆาะลีล : 135/1, 94/2)



 والله أعلم بالصوا

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



ความเชื่อเดือนเศาะฟัร




ดือนเศาะฟัรเป็นเดือนลำดับที่ 2 ของปฏิทินอิสลาม ในเดือนนี้ก็ไม่มีภาระกิจที่เป็นฟัรดูหรือซุนนะฮฺเฉพาะแต่ อย่างใด เว้นเสียแต่ภารกิจ ที่เป็น ซุนนะฮฺ ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำทุกเดือนตลอดปี เช่น การถือศีลอดในวันจันทร์ กับวันพฤหัสบดีในรอบสัปดาห์ หรือถือศีลอดวันที่ 13, 14, 15 ของทุกเดือนเป็นต้น

ความเชื่อผิดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเดือนเศาะฟัร

ความเชื่อของชาวอาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะนำอิสลามมาประกาศนั้น ก็มีความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องกับ เดือนเศาะฟัรว่า จะมีโชคร้าย ทุกข์ภัย บะลาอฺ และความอัปมงคลต่าง ๆ ซึ่งชาวอา หรับสมัยก่อนเชื่อว่าโรคระบาด ที่เกิดขึ้นกับ ผู้ป่วย แล้วแพร่ต่อ ผู้อื่นนั้น เป็นการระบาดด้วยตัวของมันเอง หรือการ ปล่อยนก และ ความเชื่ออื่น ๆ

   ชาวอาหรับยุคก่อนได้นำเดือนเศาะฟัรไปเกี่ยวโยงกับลางร้าย โชคร้าย ทุกข์ภัย โรคระบาด และความอัปมงคล ต่าง ๆ ชาวอาหรับสมัยก่อนเวลา จะออกทำสงคราม หรือจะทำการค้าขาย ก็จะทำนายโดยการปล่อยนก ซึ่งถ้าหาก ว่านกบินไปทางขวาก็ถือว่าลางดี แต่ถ้าหากว่านกบินไปทางซ้าย ก็ถือว่าลางร้าย ก็เลยไม่ออกไปค้าขายหรือ ทำธุระต่าง ๆ เพราะถือว่าจะเกิดความเลวร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น

   ส่วนเดือนเศาะฟัร เป็นเดือนที่ชาวอาหรับยุคก่อนยังถือว่า เป็นเดือนลางร้าย จะมีภัยบะลาอฺจากอัลลอฮฺลงมายัง โลกนี้ ปีละ 320,000 (สามแสน สองหมื่น ) บะลา ซึ้งทั้งหมดนี้ประทานลงมาในวันพุธสุดท้าย ของเดือนเศาะฟัร และในวันดังกล่าว จะปรากฏว่า เป็นวันที่มีปัญหามาก ที่สุดใน รอบปี จึงมีการทำน้ำดุอาอฺ เพื่อใช้อาบหรือดื่มขจัด ลางร้าย ซึ่งเรียกน้ำนี้ว่า "น้ำเศาะฟัร"

   อิบนุร่อญับ กล่าวว่า ดูเหมือนว่าทรรศนะเช่นนี้คล้ายกับทรรศนะอื่นๆ ลางร้ายเกี่ยวกับเดือนเศาะฟัรเป็นแบบเดียว กับลางร้ายของนก และเช่น เดียวกันลางร้ายของวัน เช่นกับวันพุธ และชาวอาหรับสมัยญาฮิลียะฮฺ  เชื่อว่าเดือน เชาวาลเป็นลางร้าย เฉพาะอย่างยิ่งการแต่งงานในเดือนนี้ ด้วยความเชื่อว่าเดือนเศาะฟัรเป็นเดือนแห่งลางร้าย จึงมีการทำน้ำดุอาอฺ นำไปอาบหรือดื่มเพื่อขจัดลางร้าย และเคราะห์กรรมที่จะเกิดขึ้นซึ่งเรียก ว่า "น้ำเศาะฟัร" (จากหนังสือ "วันและเดือนที่สำคัญในอิสลาม" หน้าที่ 17 โดย อ.มุนีร มูหะหมัด)

วิธีทำน้ำเศาะฟัร


   เพื่อประโยชน์อันสูงสุด อุลามะอฺ(ผู้รู้) ได้กล่าวไว้ว่า มีกล่าวในหนัง สือ " อัลญะวาอิรุ้ล-คอมีส " ว่า " บะลา (การทดสอบ) จากอัลลอฮฺจะ ประทานลงมาทุกปี ปีละ 320,000 ( สามแสนสองหมื่น ) บะลา ซึ้งทั้ง หมดนี้ประทานลงมาในวันพุธสุดท้าย ของเดือน ซอฟัร (เดือนที่สอง ของศักราชอิสลาม ) และในวันดังกล่าว จะปรากฏว่าเป็นวันที่มีปัญ หามากที่สุดในรอบปี

   ดังนั้น ใครก็ตามเขียนแผนภูมิ (ตารางสีเหลี่ยมเก้าช่อง) ไว้ในจาน หรือ ถ้วยสีขาว และเขียนรอบๆแผนภูมิดังกล่าว ด้วยดุอาอฺ (การขอพร) และบรรดาโองการ ต่าง ๆ จากอัล กุรอ่าน ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า "สลาม" ซึ่งแปลว่า "สันติสุข" หรือ "ความปลอดภัย" หลังจากนั้น นำไปล้างน้ำ แล้วนำ น้ำนั้นมาดื่ม เขาจะได้รับความ คุ้มครองจากอัลลอฮฺให้ ปลอดภัย มีความสุข พ้นบะลา ตลอดวันนั้น อีกทั้งจะไม่มี บาลาใดๆ มากร่ำกราย ตลอดทั้งปี

ให้เขียนตามลำดับจาก 1-9 ที่ได้กำกับไว้ ในวงกลม

  ใครเขียนดังกล่าวนี้ แล้วดื่มน้ำที่ล้างข้อเขียนนั้น ในวันพุธสุดท้ายของเดือนซอฟัร ด้วยการอมะฮฺ และความมี อยู่จริงของอัลลอฮฺ เขาจะเป็น ส่วนหนึ่งจาก"ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้รับการรักษา ด้วยบารมีของนาย แห่งบรรดาศาสนฑูต วงศาคณาญาติ มิตรสหายทั้งหมด ตลอดจน บรรดาคู่ครอง ผู้สืบสกุลที่สะอาด บริสุทธิ์ ขออัลลอฮฺทรงโปรด และขอสรรเสริญอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งโลกานุโลก "

หมายเหตุ ในการเขียนนั้น ให้ใช้ สีผสมอาหาร น้ำหวาน หรือ สิ่งที่รับทานได้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขียนลงบนภาชนะกว้าง แล้วจึงละลายน้ำ

(จากบทความเรื่อง "การทำน้ำซอฟัร" จากเว็บไซต์ http://www.rabity.ac.th/index.php?mo=3&art=240415)

 ไม่มีลางร้ายในเดือนเศาะฟัร

มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวไว้ว่า

لاَ عَدْوَى وَلا طِيَرَة ولا هَامَّة ولا صَفَرَ

"ไม่มีโรคติดต่อ และไม่มีลาง (ร้าย) และไม่มีนกเค้าแมว และไม่มี (เคราะห์ร้าย) เดือนเศาะฟัร"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 5757 มุสลิม : 2220 อบูดาวุด : 3911)

     อิบนุ ร่อญับ ได้กล่าวว่า : และเคราะห์ร้ายในเดือนเศาะฟัรนั้น มันคือชนิดหนึ่งจากความเชื่อเรื่องโชคลางร้าย ที่ถูกห้ามไม่ให้เชื่อ ดังเช่นเคราะห์ร้ายในบรรดาวันต่าง ๆ เช่นวันพุธ (พุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร-ผู้เขียน) และที่ชาวญาฮิลิยะฮฺ เชื่อว่าเป็นเคราะห์ร้ายในเดือนเชาวาลในการแต่งงานในเดือนนี้ (อิบนิ ฮาซัน อาลเชค , ฟัตหุลมะญีด ชัรหุ กิตาบุตเตาฮีด หน้า 331)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทรงบอกกับเราในเรื่องของโชคลางต่างๆ ท่านนบีได้ปฏิเสธสิ่งที่มัน บ่งบอกถึงโชคลาง ไม่ว่าจะ เป็นการติดต่อของโรคระบาดต่างๆ ซึ่งมันไม่ได้มีอำนาจในตัวของมันเอง เว้นเสียแต่ อัลลอฮฺจะประสงค์ให้โรคเกิดกับผู้ใด ท่านนบีได้ปฏิเสธ  เรื่องของโชคลาง ลางร้ายต่าง ๆ เรื่องของเคราะห์ร้าย จากนกเค้าแมว และเคราะห์ร้ายในเดือนเศาะฟัร และการเชื่อเรื่องโชคลาง เคราะห์ร้ายต่าง ๆ นั้น เป็นสาเหตุที่นำ ไปสู่การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฺฮูวะตะอาลา ดังเช่นที่

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ เล่าว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ رَدَّتْهُ الطِّيَرَةُ عن حاجَتِهِ فَقَدْ أَشْرَكْ قالوا : فما كَفَّارَةُ ذلك ؟ قال : أن يَقُوْلَ اَللهُمَّ لا خَيْرَ إِلاَّ خَيْرُكَ ، ولا طَيْرَ إِلاَّ طَيْرُكَ ولا إِلَهَ غَيْرُكَ

"ผู้ใดที่ลางได้ทำให้เขาต้องล้มเลิก ไม่ทำธุระของเขาให้เสร็จแล้ว ก็เท่ากับว่าเขาได้ตั้งภาคี บรรดาซอ ฮาบะฮฺได้กล่าวว่า แล้วสิ่งลบ ล้างของในเรื่องดังกล่าวคืออะไร? ท่านนบีได้ตอบว่า คือ ให้ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺไม่มีความดีอันใดนอกจากความดีของพระองค์ เท่านั้น และไม่มี การเป็นลางอันใดนอกจาก การเป็นลางของพระองค์เท่านั้น และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น"
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 6869 อัลญามิอุศเศาะฆีรซุญูตียฺ : 8701 เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺอัลบานียฺ : 6264)

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ มัซอู๊ด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า จากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

الطِّيَرَةُ شِرْكٌ الطِّيَرَةُ شِرْكٌ وَلَكِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُذْهِبُهُ بِالتَّوَكُّلِ

“ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี แต่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้มันหายไปด้วยกับ การมอบหมาย”
(บันทึกโดยอะหฺมัด : 4183 อบูดาวุด : 3910 ติรมีซียฺ : 1614 เศาะเหี๊ยะหฺอัตตัรฆีบอัลบานียฺ : 3098 เศาะเหี๊ยะหฺ อบูดาวุดอัลบานียฺ : 3910 เศาะเหี๊ยะหฺติรมีซียฺอัลบานียฺ : 1614)

และเรื่องของลางร้ายต่างๆ ก็เช่นกัน ในขณะที่เราต้องการออกจากบ้านไปทำธุระ หรือค้าขายก็ให้เรามอบหมาย กับอัลลอฮฺไม่ว่าจะ เกิดอะไรขึ้น ก็ตาม ดังเช่นดุอาอฺที่ท่านนบีสอนให้กล่าวว่า

بِسْمِ اللهِ تَوَكَّلْتُ عَلَى اللهِ لا حولَ ولا قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ

"ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันมอบหมายต่ออัลลอฮฺ ไม่มีอำนาจและพลังใดนอกจากด้วยพลังอำนาจ ของอัลลอฮฺ"

   ส่วนเรื่องเดือนเศาะฟัรนั้น ท่านนบีก็ได้มาล้มเลิกความคิดงมงายของชาวอาหรับยุคก่อน เกี่ยวกับเดือนแห่ง ความโชตร้าย หรือภัยบะลออฺต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร รวมถึงความเชื่อทุกอย่างเกี่ยว กับโชคลาง เคราะห์ร้ายต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นให้มอบหมายต่อ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทั้งสิ้น เพราะพระ องค์รอบรู้ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น และทุกสิ่ง ทุกอย่างก็เป็นไปตามที่พระองค์กำหนดทั้งสิ้น ดังที่พระองค์ตรัส ไว้ว่า

وَإِنْ يَمْسَسْكَ اللَّهُ بِضُرٍّ فَلَا كَاشِفَ لَهُ إِلَّا هُوَ وَإِنْ يُرِدْكَ بِخَيْرٍ فَلَا رَادَّ لِفَضْلِهِ يُصِيبُ بِهِ مَنْ يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ وَهُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ
"และหากอัลลอฮฺจะทรง ให้ทุกข์ภัย ประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดปลดเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนา ความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์จะทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จาก ปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์จะเป็นผู้ ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ"
(ยูนุส : 107)

ความเชื่อเรื่องโชคลาง ลางร้าย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในเดือนเศาะฟัรนั้น ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา อิสลามแต่อย่างใด และสิ่งที่ไม่มี รากฐานมาจากศาสนานั้นถือเป็นการกระทำที่เป็นโมฆะทั้งสิ้น

มีรายงานจาก ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

"ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) นี้ เป็นสิ่งที่ไม่มี (หลักฐาน) จากมัน ดังนั้นมันจะถูกตีกลับ (ปฎิเสธ)"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2697  มุสลิม : 1718)

และอีกสายรายงานของมุสลิมว่า

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

"และผู้ใดปฏิบัติงานหนึ่งงานใด ที่ไม่มีอยู่ในกิจการของเรา (บทบัญญัติของเรา) กิจการงานนั้นคือสิ่งที่ถูก ตีกลับ (ปฏิเสธ)” (บันทึกโดย มุสลิม : 1718)

ฉะนั้นมุสลิมจะต้องออกห่างจากความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ เพราะสิ่งใดก็ตามที่มาประสบกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่ดี หรือ ไม่ดีนั้น ล้วนแล้วแต่มาจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ทั้งสิ้น


والله أعلم بالصواب

โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ


http://www.warasatussunnah.net
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ซื้อสิทธิ์ขายเสียงต้องห้ามในอิสลาม



           การซื้อสิทธิ์ขายเสียง หมายถึง พฤติกรรมการทุจริตในการเลือกตั้ง โดยใช้เงินหรือผลประโยชน์อื่น ๆ จากผู้ที่ลง สมัครการเลือกตั้งซื้อสิทธิ์มอบ ให้กับผู้ที่เลือกตั้งขายเสียงโดยแลกกับคะแนนเสียงที่จะถูกเลือก เพื่อให้ได้ชนะ ในการเลือกตั้ง ซึ่งการซื้อเสียงนั้น เกิดขึ้นได้ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อเสียงคนที่มีตำแหน่งต่าง ๆ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต อบจ โดยให้ผู้ที่มีตำแหน่งเหล่านี้นั้นไปซื้อเสียงจากประชาชนให้เลือกตั้งผู้สมัครคนนั้น คนนี้ หรือ พรรคนั้น พรรคนี้ เป็นต้น

การเลือกตั้งปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็แล้วแต่ สิ่งที่ปฏิเสธมิได้ก็คือ เมื่อมีการเลือกตั้ง ต้องมีการซื้อเสียง ขายเสียงอย่างแน่นอน บรรดาผู้ สมัครการเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการชัยชนะด้วยกัน ทั้งนั้น ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีใดก็ตาม และดูเหมือนว่าการซื้อเสียง ขายเสียงนั้นก็จะเป็นวิธีการที่ได้ผลเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งสำคัญก็คือประชาชนส่วนมากในสังคมนั้นเป็นทาสของเงิน ฝ่ายไหนให้มากก็ได้เปรียบ ฝ่ายไหน ให้น้อยก็เสียเปรียบ ดังนั้นการเลือกตั้งในยุคปัจจุบันจึงอาจพูดได้ว่า พรรคไหนให้เงินมากก็มีสิทธิ์ชนะ พรรคไหน ให้เงินน้อยก็มีสิทธิ์แพ้ เป็นต้น

 เมื่อการซื้อเสียงขายเสียงเป็นการทุตริต การคดโกง ฉะนั้นผู้ที่เป็นมุสลิมจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการที่จะ ออกห่างจากการซื้อเสียงขายเสียง อย่าได้นำทรัพย์ทุจริตอันเล็กน้อยเหล่านี้มาปะปนกับริซกีที่เราแสวงหามา อย่างสุจริต เพราะเงินที่ได้มาจากหนทางที่ไม่ถูกต้องนั้นมันจะนำพา ความหายนะมาสู่ตัวของเรา
 พระองค์อัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ทรงกล่าวไว้ว่า

وَلَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ

“และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์สมบัติของพวกเจ้าระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ...”
(อัลบะกอเราะฮฺ : 188)

มุสลิมจะต้องปฏิเสธในการที่จะรับสินบนจากบรรดานักการเมือง หรือพรรคการเมืองทั้งหลาย ซึ่งผลประโยชน์ เพียงแค่เล็กน้อยนี้นั้นอาจจะต้อง แลกมากับความกริ้วโกรธของพระองค์อัลลอฮฺ และท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ เล่าว่า
لَعْنَةُ اللَّهِ عَلَى الرَّاشِي وَالْمُرْتَشِي

“การสาปแช่งของอัลลอฮฺนั้นจะประสบกับผู้ที่ให้สินบน และผู้ที่รับสินบน”
(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ : 2313  เศาะเหี๊ยะหฺอิบนิมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1885)

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ เล่าว่า

لَعَنَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الرَّاشِيَ وَالْمُرْتَشِيَ
“ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่งผู้ที่ให้สินบน และผู้ที่รับสินบน”
(บันทึกโดยติรมีซียฺ : 1337  อบูดาวุด : 3580 อะหมัด : 6496  เศาะเหี๊ยะหฺติรมีซีย์อัลบานียฺ : 1337)

   มนุษย์ทุกคนนั้น คงไม่มีผู้ใดที่อยากจะถูกสาปแช่งจากใครก็ตาม หรือถ้ารู้ว่าใครที่สาปแช่งเราอยู่ เราก็คงมิชอบ คนนั้นอย่างแน่นอน หรือถ้าเรา ถูกพ่อ แม่ สาปแช่ง เราก็คงจะเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ในกรณีของผู้ที่ชอบให้สิน บน หรือรับสินบนนั้น เป็นอีกกลู่มคนหนึ่งที่ถูกสาปแช่งจาก อัลลอฮฺและร่อซูล ซึ่งถือเป็นความเลวร้ายอย่างมหันต์ ในการที่ถูกสาปแช่งจากอัลลอฮฺและร่อซูล เพราะหน้าที่ของมุสลิมนั้นจะต้องปฏิบัติตนให้ พระองค์อัลลอฮฺนั้นรัก ปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนำมาบอกกล่าว และการทุจริต คดโกง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องใดก็แล้วแต่นั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังได้เตือนว่าจะเป็นบุคคลที่ไม่ใช่พวก ของเราอีกด้วย

มีรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

وَمَنْ غَشَّنَا فَلَيْسَ مِنَّا

“...และบุคคลใดโกงเรา เขาไม่ใช่พวกเรา”
(บันทึกโดยมุสลิม : 101)

มุสลิมจะต้องมีจุดยืนในการที่จะไม่หวังผลประโยชน์ หรือชื่อเสียงเพียงเล็กน้อยจากมนุษย์คนไหนทั้งสิ้น ถ้ามุสลิม คนใดก็แล้วแต่หวังผลประโยชน์ หวังชื่อเสียงจากนักการเมือง โดยไปเป็นหัวคะแนนในการเลือกตั้ง ไปช่วยหา เสียงให้กับนักการเมืองที่ฉ้อฉล คดโกง นั้น อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขานั้น ไม่ได้รับความดีงามแต่อย่างใด

มีรายงาน จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنِ الْتَمَسَ رِضَى اللَّهِ بِسَخَطِ النَّاسِ رَضِيَ الِلَّهِ عَنْهُ ، وَأَرْضَى النَّاسَ عَنْهُ ، وَمَنِ الْتَمَسَ رِضَا النَّاسِ بِسَخَطِ اللَّهِ سَخَطَ الِلَّهِ عَلَيْهِ ، وَأَسْخَطَ عَلَيْهِ النَّاسَ

“บุคคลใดแสวงหาความพอใจของอัลลอฮฺด้วยความโกรธของมนุษย์ทั้งหลาย อัลลอฮฺได้ทรงพอใจต่อ เขา และได้ทรงทำให้มนุษย์ทั้ง หลายพอใจต่อเขาด้วย และบุคคลใดแสวงหาความพอใจของมนุษย์ ทั้งหลายด้วยความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธ เขา และทรงทำให้มนุษย์ทั้งหลาย โกรธเขา”
(บันทึกโดยอิบนุหิบบาน : 278 เศาะเหี๊ยะหฺตัรฆีบอัลบานียฺ : 2250)

   ดังนั้นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องคำนึงอยู่เสมอว่าการที่เราเลือกผู้ใดก็ตามไปทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองในระดับต่าง ๆ นั้น มิได้ยุติลงในการเลือกตั้ง เสร็จสิ้น แต่เราต้องมีส่วนรับผิดชอบในตัวบุคคลที่เราเลือก ถ้าบุคคลที่เราเลือกไป ทำหน้าที่ทางสังคมอย่างดี อย่างยุติธรรม ก็เท่ากับว่าเรามีส่วน ร่วมในความดีนั้นด้วย แต่ถ้าเรารับเงินทุจริตจาก นักการเมือง แล้วนักการเมืองเหล่านั้นเข้าไปโกงกินบ้านเมือง ทุจริตคอรัปชั่น ก็เท่ากับเราก็มีส่วน ร่วมเป็นพยาน ว่าเขาเป็นคนดี แต่เขากับเป็นคนเลว เท่ากับว่าเราเป็นพยานเท็จให้กับนักการเมืองนั้น




 والله أعلم بالصواب


 โดย  วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ



http://www.warasatussunnah.net
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿




วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบิดเบือนหะดิษละหมาดตะรอเวียะฮฺ20คืนเป็น20ร็อกอะฮฺ



        นักหะดิษ ชื่อ ชัยค์สุลฏอน มะหฺหมูด ญะลาล บูรบีร วาลามัลนาน ชาวปากีสถาน กล่าวว่า
"ฉันได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงการโกหกของผู้ปฏิเสธการตักฺลีด ซึ่งมีอยู่  5 หน้ากระดาษ
สรุปได้ความว่าละหมาดตะรอเวียะฮฺมี 20 ร้อกอะฮฺ ไม่ใช่ 8 ร็อกอะฮฺ โดยอ้างหะดิษของท่านอบูดาวูดไว้ในหน้าที่ 5 ของจดหมายว่า

อัลหะสัน เล่าว่า
ท่านอุมัร อิบนุลค็อฏฏอบ ได้รวบรวมผู้คนมาแล้วให้ท่านอุบัยย์ บินกะอฺบ์นำละหมาดพวกเขา 20 ร็อกอะฮฺ (บันทึกหะดิษโดยอบุดาวูด)

แต่สำหรับตัวบทจริงๆ จากอบูดาวูด ซึ่งมีความว่า

อัลหะสัน เล่าว่า
ท่านอุมัร  อิบนุลค็อฏฏอบ ได้รวบรวมผู้คนให้มาแล้วกับท่านอุบัยย์ บินกะอฺบ์ เขาได้ละหมาดนำพวกเขาอยู่ 20 คืน โดยไม่ได้อ่านกุนูต นอกจากในช่วงครึ่งหลังที่เหลือ (ของรอมาฏอน หมายถึงหลังจากวันที่ 15) ครั้นเมื่อมันเหลืออีก 10 คืนสุดท้ายเขาก็ละหมาดอยู่ที่บ้านของเขาเอง พวกเขากล่าวกันว่า "อุบัยย์หนีไปแล้ว" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด)

การนำคำว่า "ร็อกอะฮฺ" มาเปลี่ยนแทนคำว่า "ลัยละฮฺ" (คืน) แล้วเอาตรงนี้มาอ้างอิงเพื่อยืนยันว่าการละหมาดตะรอเวียะฮฺนั้นมี 20 ร็อกอะฮฺ นับเป็นการบิดเบือนครั้งใหญ่ทีเดียวในหนังศาสนาและเป็นสิ่งน่าละอายที่สุด (นะอุยุซซุฮูด อะลาตะหฺริฟ ฟี อบีดาวูด หน้า 33 ชัยค์สุลฏอน มะหฺมูด ยะลาล บีรวาลามัลนาน ปากีสถาน)

หนังสืออบูดาวูดทุกเล่มที่ตีพิมพ์มาจนถึงปี ฮ.ศ.1318 จะพิมพ์โดยใช้คำว่า "ยี่สิบคืน" ซึ่งไม่มีอะไรบ่งชึ้ถึงจุดด่างพร้อยของหลายๆเล่มนั้น แต่เมื่อสุนันอบูดาวูดพร้อมคำอรรถาธิบายของชัยค์มะหฺมูด หะสัน ถูกเผยแพร่ออกไป บรรดาผู้เผยแพร่จะคิดทำเอาเอง หรือจะมีการปรึกษาหารือผู้หนึ่งผู้ใดจากมวลชนก็ตามที ที่ทำเครื่องหมายเป็นฟุตโนตไว้ที่คำว่า "คืน" ในตัวบทแล้ว แล้วเขียนคำอธิบายว่า "ร็อกอะฮฺ" และเมื่อหนังสือถูกตีพิมพ์ออกไปพร้อมคำธิบายของชัยค์มะหฺมูด หะสัน ก้ได้เอาคำ "ร็อกอะฮฺ"ไปใส่ในตัวบทและเขียนไว้ที่คำอธิบายว่า "คืน" แทน นี่เพื่อให้เห็นผลกระทบว่าหนังสือแต่ละเล่มแตกต่างกันอย่างไร ผลคือหนังสืออบูดาวูดบางเล่มอาจจะมีคำว่า 20 ร็อกอะฮฺ อยู่เพื่อจะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่าละหมาดตะรอเวียะฮฺมี 20 ร็อกอะฮฺ" (นะอฺยุซซุฮูด อะลาตะหฺริฟ ฟี อบีดาวูด)



 والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

การล้างเท้าทั้งสองในขณะอาบน้ำละหมาด



การล้างเท้าทั้งสองในขณะอาบน้ำละหมาด จำต้องล้างให้ทั่วไม่ว่าเป็นส้นเท้า จนถึงข้อเท้า


عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو، قَالَ تَخَلَّفَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم عَنَّا فِي سَفْرَةٍ سَافَرْنَاهَا، فَأَدْرَكَنَا وَقَدْ أَرْهَقْنَا الْعَصْرَ، فَجَعَلْنَا نَتَوَضَّأُ وَنَمْسَحُ عَلَى أَرْجُلِنَا، فَنَادَى بِأَعْلَى صَوْتِهِ ‏"‏ وَيْلٌ لِلأَعْقَابِ مِنَ النَّارِ ‏"‏‏.‏ مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاَثًا‏  

                อับดุลลอฮ์ อิบนิอุมัร รายงานว่า ในการเดินทางครั้งหนึ่ง ท่านนบี (ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) เดินทางตามหลังพวกเรามา และได้มาสมทบในช่วงเวลาละหมาดอัศริพอดี ขณะนั้นพวกเราอาบน้ำละหมาดโดยเช็ดเท้าของพวกเรา ท่านนบีได้พูดเสียงดังว่า “ความวิบัติจงประสบแด่บรรดาส้นเท้าทั้งหลาย (ที่ไม่โดนน้ำละหมาด) จากไฟนรก” ท่านกล่าวเช่นนี้สองหรือสามครั้ง
(บันทึกหะดิษโดยบุคคอรี/หมวดที่4/บทที่27/ฮะดีษเลขที่ 163)



 والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


การละหมาดและสถานที่ละหมาด



باللغة التايلاندية



ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ


มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

แท้จริงอิสลามได้ให้ความสำคัญกับการละหมาดเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับให้มีการประกาศและยกฐานะอันสูงส่งให้กับการละหมาด ละหมาดถือเป็นรุก่นหรือองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของอิสลามถัดจากการกล่าวกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺ(กล่าวปฏิญาณตน) มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَالْحَجِّ وَصَوْمِ رَمَضَانَ» [البخاري برقم 8، ومسلم برقم 16]

ความว่า “อิสลามถูกก่อตั้งอยู่บนห้าสิ่ง คือ การปฏิญาณตนว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และท่านศาสนทูตมุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ  การทำการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน“  (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/20 หมายเลข 8, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/45 หมายเลข 16)

ละหมาดจะเป็นสิ่งแรกที่บ่าวจะถูกถามในวันกิยามะฮฺ รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน ก็อรฏ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ الصَّلَاةُ ، فَإِنْ صَلَحَتْ صَلَحَ لَهُ سَائِرُ عَمَلِهِ ، وَإِنْ فَسَدَتْ فَسَدَ سَائِرُ عَمَلِهِ» [الطبراني في الأسط برقم 1859، وصححه الألباني في الصحيحة برقم 1358]

ความว่า “สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺนั้นคือละหมาด หากละหมาดของเขาดีการงานอื่นทั้งหมดก็จะดีด้วย และหากละหมาดของเขาไม่ดีการงานอื่นทั้งหมดก็จะไม่ดีด้วย“ (อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ในหนังสือ อัล-เอาสัฏ 1/240  หมายเลข 1859  และเชค อัล-อัลบานีย์กล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ใน อัศ-เศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 1358)

การละหมาดเป็นข้อแตกต่างระหว่างคนมุสลิมและกาฟิรฺ 

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

ความว่า “แล้วหากพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตแล้วไซร้ พวกเขาก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา และเราจะแจกแจงบรรดาโองการไว้แก่กลุ่มชนที่รู้ “ (อัต-เตาบะฮฺ 11)

รายงานจากท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« بَيْنَ الرَّجُلِ وَبَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفْرِ تَرْكُ الصَّلاَةِ » [مسلم برقم 82]
ความว่า “(ข้อแบ่งแยก) ระหว่างชายคนหนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธศรัทธานั้นคือการละหมาด”  (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/88  หมายเลข  82)

การละหมาดเป็นสิ่งขวางกั้นระหว่างบ่าว(มนุษย์)กับสิ่งที่เป็นบาปกรรมต่างๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้น จะยับยั้งการทำลามกและความชั่ว“ (อัล-อังกะบูต 45)

และสิ่งสุดท้ายที่ท่านนบีสั่งเสียในขณะที่ท่านใกล้สิ้นลมนั้นก็คือ

«الصَّلَاةَ الصَّلَاةَ وَمَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ» [ابن ماجه برقم 2697]

ความว่า “(จงดูแล)การละหมาด  (จงดูแล)การละหมาด และ(จงดูแล)คนที่อยู่ในการครอบครองของพวกท่าน(ทาส)” (สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ  2/900  หมายเลข  2697)

การละหมาดนั้นมีประโยชน์ใหญ่หลวงนัก ส่วนหนึ่งก็คือ

สิ่งแรก ช่วยไถ่บาปและความผิดต่างๆ

 อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ความว่า “และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ในปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน และยามต้นจากกลางคืน แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลาย นั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก” (ฮูด 114)

รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« أَرَأَيْتُمْ لَوْ أَنَّ نَهْرًا بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَغْتَسِلُ مِنْهُ كُلَّ يَوْمٍ خَمْسَ مَرَّاتٍ هَلْ يَبْقَى مِنْ دَرَنِهِ شَىْءٌ ». قَالُوا لاَ يَبْقَى مِنْ دَرَنِهِ شَىْءٌ. قَالَ « فَذَلِكَ مَثَلُ الصَّلَوَاتِ الْخَمْسِ يَمْحُو اللَّهُ بِهِنَّ الْخَطَايَا» [البخاري برقم 528، ومسلم برقم 667]

ความว่า “พวกท่านลองนึกซิว่า หากหน้าประตูบ้านของคนๆหนึ่งในหมู่พวกท่านมีแม่น้ำไหลผ่าน เขาได้อาบน้ำในแม่น้ำนั้นวันละห้าครั้ง จะเหลือสิ่งสกปรกใดๆอีกใหม?” พวกเขากล่าวว่า  ไม่เหลือสิ่งสกปรกใดๆ อีก  ท่านนบีก็กล่าวว่า “เช่นนั้นแหละคือการเปรียบเทียบการละหมาดห้าเวลา อัลลอฮฺให้มันทำการลบล้างบาปต่างๆ”  (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/184  หมายเลข  528, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/463  หมายเลข  667)

สิ่งที่สอง  การละหมาดเป็นรัศมีสำหรับผู้ปฏิบัติ รายงานจากท่านอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«الطُّهُورُ شَطْرُ الإِيمَانِ، وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلأُ الْمِيزَانَ. وَسُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلآنِ - أَوْ تَمْلأُ - مَا بَيْنَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ، وَالصَّلاَةُ نُورٌ، وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ، وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ، وَالْقُرْآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيْكَ، كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو فَبَائِعٌ نَفْسَهُ فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوبِقُهَا» [مسلم برقم 223]

ความว่า “ความสะอาดเป็นกึ่งหนึ่งของการศรัทธา  และการกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ มีผลบุญเต็มตาชั่ง(ตาชั่งความดีในวันกิยามะฮฺ) การกล่าวสุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ ทั้งสองประโยคนี้ หรือ คำกล่าวนี้ทำให้ได้ผลบุญเต็มระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน การละหมาดเป็นรัศมี การบริจาคทานเป็นหลักฐาน การอดทนเป็นแสงสว่างจ้า และอัลกุรอ่านเป็นข้อโต้แย้งสำหรับท่าน(ช่วยเหลือท่านหากท่านปฏิบัติตาม) หรือเป็นข้อโต้แย้งเหนือตัวท่าน(เป็นสิ่งปรักปรำท่านหากท่านไม่ปฏิบัติตาม) มนุษย์ทุกคนย่อมขวนขวาย (ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเพื่อตัวเอง) บางคนเป็นผู้ที่ขายหรือเสียสละตัวเอง (เพื่ออัลลอฮฺ) ดังนั้นเขาก็คือผู้ปลดปล่อยตัวเขาเอง (จากการถูกลงโทษในไฟนรก) และบางคนก็เป็นผู้ขายตัวเองให้กับชัยฏอนและตัณหาของเขา ดังนั้นเขาคือผู้ทำลายตัวเขาเองให้พินาศ” (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/203 หมายเลข 223)

สิ่งที่สาม มุสลิมคนหนึ่งจะสามารถบรรลุระดับ ศิดดีกีน(ผู้สัจจริง)และผู้เป็นชะฮีด(ตายในหนทางของอัลลอฮฺ) ได้ด้วยการละหมาด จ่ายซะกาตและถือศีลอด    รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ได้มีชายสองคนจากบะลีย์ จากเผ่ากุฎออะฮฺ ทั้งสองได้รับอิสลามกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  แล้วคนหนึ่งได้ตายชะฮีดในหนทางของอัลลอฮฺ   และอีกคนอยู่ต่อไปได้อีกหนึ่งปี ฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ ได้กล่าวว่า ฉันได้ฝันเห็นสวรรค์ และฉันพบว่าในนั้นคนที่เสียชีวิตในภายหลัง(จากสองคนที่กล่าวไปแล้ว)ได้เข้าสวรรค์ก่อนคนที่ตายชะฮีด ฉันประหลาดใจมาก รุ่งเช้าฉันจึงไปถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือได้มีการไปเล่าให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รู้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَلَيْسَ قَدْ صَامَ بَعْدَهُ رَمَضَانَ، وَصَلَّى سِتَّةَ آلَافِ رَكْعَةٍ أَوْ كَذَا وَكَذَا رَكْعَةً صَلَاةَ السَّنَةِ» [مسند الإمام أحمد 2/333]

ความว่า “ชายคนที่ตายภายหลังนั้นได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนหลังจากนั้นมิใช่หรือ และได้ละหมาดหกพันร็อกอะฮฺ หรือเท่านั้นเท่านี้ ในเวลาหนึ่งปี  ไม่ใช่หรือ?” (มุสนัด อิมามอะหฺมัด 2/333)
.
ละหมาดต้องทำในเวลาที่ศาสนากำหนด

 อัลลอฮฺตะอาลา กล่าวว่า

ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นวาญิบ(จำเป็นต้องปฏิบัติ)เหนือบรรดาผู้ศรัทธาในเวลาที่ถูกกำหนด” (อัน-นิสาอ์ 103)

ท่านอิมามอัล-บุคอรีย์ได้อธิบายว่า ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนให้แก่พวกเขา  และการทำละหมาดในเวลาของมันนั้นเป็นการงานที่อัลลอฮฺรักที่สุด

عن عبدالله بن مسعود قَالَ : سَأَلْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيُّ الْعَمَلِ أَحَبُّ إِلَى اللَّهِ؟ قَالَ : «الصَّلَاةُ عَلَى وَقْتِهَا» قَالَ ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ : «ثُمَّ بِرُّ الْوَالِدَيْنِ» قَالَ ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ :  «الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ». [البخاري برقم 527، ومسلم برقم 85]

ความว่า รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า  ท่านได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า การงานใดที่อัลลอฮฺรักมากที่สุด?  ท่านนบีได้ตอบว่า “การละหมาดในเวลาของมัน” ฉันถามต่อว่า แล้วอะไรอีก?  ท่านนบีตอบว่า “ทำดีต่อบิดามารดา“ ฉันถามต่อว่า แล้วอะไรอีก?  ท่านนบีตอบว่า “การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ“ (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/184  หมายเลข  527, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/89  หมายเลข  85)

ส่วนหนึ่งจากบรรดาหลักฐานที่เตือนภัยในเรื่องการละเลยการละหมาดจนเลยเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็คือ หะดีษบทยาวที่เล่าถึงการฝันเห็นของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษ ท่านนบีกล่าวว่า

«أَتَانِي اللَّيْلَةَ آتِيَانِ وَإِنَّهُمَا ابْتَعَثَانِي وَإِنَّهُمَا قَالَا لِي : انْطَلِقْ، وَإِنِّي انْطَلَقْتُ مَعَهُمَا، وَإِنَّا أَتَيْنَا عَلَى رَجُلٍ مُضْطَجِعٍ، وَإِذَا آخَرُ قَائِمٌ عَلَيْهِ بِصَخْرَةٍ وَإِذَا هُوَ يَهْوِي عَلَيْهِ بِالصَّخْرَةِ لِرَأْسِهِ، فَيَثْلَغُ بِهَا رَأْسَهُ فَيَتَدَهْدَهُ الْحَجَرُ هَاهُنَا، فَيَتْبَعُ الْحَجَرَ يَأْخُذُهُ، فَلَا يَرْجِعُ إِلَيْهِ حَتَّى يَصِحَّ رَأْسُهُ كَمَا كَانَ، ثُمَّ يَعُودُ عَلَيْهِ فَيَفْعَلُ بِهِ مِثْلَ مَا فَعَلَ الْمَرَّةَ الْأُولَى، ثم قالا له : أَمَّا الرَّجُلُ الْأَوَّلُ الَّذِي أَتَيْتَ عَلَيْهِ يُثْلَغُ رَأْسُهُ بِالْحَجَرِ فَإِنَّهُ الرَّجُلُ يَأْخُذُ الْقُرْآنَ فَيَرْفُضُهُ وَيَنَامُ عَنْ الصَّلَوَاتِ الْمَكْتُوبَةِ» [البخاري برقم 7047]

ความว่า “ได้มีคนสองคนมาหาฉันเมื่อคืนนี้  ทั้งสองได้ชวนฉัน และกล่าวว่า ออกไปกันเถอะ และฉันก็ได้ออกไปกับทั้งสองคน แล้วเรา(ทั้งสาม)ได้มาถึงยังชายคนหนึ่งที่นอนพิงอยู่  แล้วมีชายอีกคนหนึ่งถือก้อนหินเหนือเขา และชายคนนั้นก็เอาหินทุบก้อนหินลงบนศรีษะของคนที่นอนพิงอยู่นั้น ศีรษะของเขาก็แตกกระจาย หินก็กลิ้งไป ชายคนนั้นตามไปแล้วเก็บหินนั้นแล้วกลับมา ขณะที่ศีรษะของชายที่นอนอยู่นั้นได้กลับมาเหมือนดังเดิม ชายคนนั้นก็กลับทำเหมือนที่ได้ทำไปครั้งแรก (เป็นเช่นนี้เรื่อยไป) แล้วชายทั้งสองที่พาท่านนบีมาได้กล่าวกับท่านนบีว่า ชายคนแรกที่ท่านพบเขา ถูกทุบหัวด้วยหินนั้น คือคนที่รับ(ท่อง)อัลกุรอานแต่ปฏิเสธ(การปฏิบัติตาม)มัน และนอนโดยละทิ้งละหมาดที่วาญิบ“ (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/311  หมายเลข  7047)
   
การละหมาดนี้จะต้องทำที่มัสยิดบ้านของอัลลอฮฺ 

 อัลลอฮฺกล่าวว่า
ความว่า  “และเมื่อเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา แล้วเจ้าได้ให้มีการปฏิบัติละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเจาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และก็จงเอาอาวุธของพวกเขาถือไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาสุญูดแล้ว พวกเขาก็จงอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดก็จงมา และจงละหมาดร่วมกับเจ้า และจงยึดถือไว้ซึ่งการระมัดระวังของพวกเขา และอาวุธของพวกเขา บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น หากว่าพวกเจ้าละเลยอาวุธของพวกเจ้า และสัมภาระของพวกเจ้าแล้ว พวกเขาก็จะจู่โจมพวกเจ้าอย่างรวดเร็ว และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้าหากว่าพวกเจ้ามีความเดือดร้อน เนื่องจากฝนตกหรือพวกเจ้าป่วย ในการที่พวกเจ้าจะวางอาวุธของพวกเจ้า และพวกเจ้าจงยึดถือไว้ ซึ่งการระมัดระวังของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย“ (อัน-นิสาอ์ 102)

อายะฮฺนี้ได้ชี้แจงว่าการละหมาดญะมาอะฮฺ(ละหมาดเป็นกลุ่ม)เป็นสิ่งวาญิบแม้กระทั่งในภาวะสงคราม ดังนั้นในภาวะสงบก็ย่อมจำเป็นมากกว่า รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إِنَّ أَثْقَلَ صَلاَةٍ عَلَى الْمُنَافِقِينَ صَلاَةُ الْعِشَاءِ وَصَلاَةُ الْفَجْرِ وَلَوْ يَعْلَمُونَ مَا فِيهِمَا لأَتَوْهُمَا وَلَوْ حَبْوًا وَلَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِالصَّلاَةِ فَتُقَامَ ثُمَّ آمُرَ رَجُلاً فَيُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثُمَّ أَنْطَلِقَ مَعِى بِرِجَالٍ مَعَهُمْ حُزَمٌ مِنْ حَطَبٍ إِلَى قَوْمٍ لاَ يَشْهَدُونَ الصَّلاَةَ فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ بِالنَّارِ» [البخاري برقم 657، ومسلم برقم 653]

ความว่า “ละหมาดที่หนัก(ลำบาก)ที่สุดสำหรับบรรดาคนมุนาฟิกนั้นคือละหมาดอิชาอ์และละหมาดศุบหฺหากพวกเขารู้คุณค่าที่มีอยู่ใน(ละหมาด)ทั้งสอง พวกเขาจะมาละหมาดแม้จะต้องคลานมาก็ตาม แท้จริงฉันมีความตั้งใจที่จะเรียกให้มีการทำละหมาดขึ้นแล้ว ฉันจะมอบหน้าที่ให้คนคนหนึ่งนำละหมาดให้แก่ผู้คนแทนฉัน แล้วฉันจะออกไปพร้อมกับชายกลุ่มหนึ่งพร้อมกับไม้ฟืน ไปยังกลุ่มที่ไม่มาละหมาดแล้วฉันก็จะเผาบ้านของพวกเขาด้วยไฟเสีย” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 1/218  หมายเลข  657, เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/452  หมายเลข  653)

นักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่า  ท่านนบีจะไม่ตั้งใจเช่นนั้นเช่นยกเว้นด้วยสาเหตุที่ว่าผู้ที่ไม่มาละหมาดนั้นเป็นผู้ที่ได้ทำบาปที่ใหญ่ยิ่ง

ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มคนเจ็ดประเภทที่จะได้อยู่ใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺในวันที่ไม่มีร่มเงาใดๆ นอกจากร่มเงาของพระองค์ (วันกิยามะฮฺ) หนึ่งใน(เจ็ด)นั้นคือ ชายที่จิตใจของเขาผูกพันอยู่กับมัสยิด(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 660 และมุสลิม หมายเลข 1031)

มัสยิดเป็นบ้านของอัลลอฮฺใครที่ไปเขาได้เป็นแขกของอัลลอฮฺ คงไม่มีหัวใจและชีวิตใดที่โชคดีและเป็นสุขมากกว่าผู้ที่ได้เป็นแขกของอัลลอฮฺในบ้านของพระองค์ ภายใต้การดูแลของพระองค์  รายงานจากท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«الْمَسْجِدُ بَيْتُ كُلِّ تَقِيٍّ، وَقَدْ ضَمِنَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ لِمَنْ كَانَ الْمَسَاجِدُ بُيُوتَهُ الرَّوْحَ، وَالرَّحْمَةَ، وَالْجَوَازَ عَلَى الصِّرَاطِ» [الطبراني في الكبير برقم 6143، وحسنه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب برقم 330]

ความว่า “มัสยิดเป็นบ้านสำหรับผู้ยำเกรงทุกคน อัลลอฮฺได้ค้ำประกันแก่ผู้ที่มัสยิดเป็นเสมือนบ้านของเขา ด้วยกับความผ่อนคลายและความเมตตา และข้ามผ่านสะพานศิรอฏ ไปสู่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ไปสู่สรวงสวรรค์” (รายงานโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-กะบีรฺ 6/254  ท่านอัล-มุนซิรีย์ กล่าวในหนังสือ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ 1/298 ว่า รายงานโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-กะบีรฺ และ อัล-เอาสัฏ และรายงานโดย อัล-บัซซารฺ และท่านกล่าวว่า สายรายงานของมันดี และมันก็เป็นจริงอย่างที่ท่านกล่าว ท่านอัล-อัลบานีย์ ตัดสินว่าเป็นหะดีษที่หะซัน ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ 1/253 หมายเลข 330)
และการเป็นแขกของอัลลอฮฺนั้น ในดุนยาก็ได้รับความสงบ ความสุขและผ่อนคลาย ส่วนในอาคิเราะฮฺก็ด้วยการเตรียมความมีเกียรติและนิอฺมัตต่างๆ สำหรับพวกเขาอย่างมากมาย

والحمد لله رب العالمين
وصلّى الله وسلم على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.


โดยดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อิสมาน จารง
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิสลามกับการยืนปัสสาวะ



การที่มุสลิมชายยืนปัสสาวะ อิสลามอนุญาตให้มุสลิมยืนปัสสาวะได้ เพราะครั้งหนึ่งท่านนบีเคยยืนปัสสาวะเช่นกัน

عَنْ حُذَيْفَةَ، قَالَ أَتَى النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم سُبَاطَةَ قَوْمٍ فَبَالَ قَائِمًا، ثُمَّ دَعَا بِمَاءٍ، فَجِئْتُهُ بِمَاءٍ فَتَوَضَّأَ 

                 ฮุซัยฟะห์ (อิบนุ้ลญะมาน) รายงานว่า
" ครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ผ่านไปที่ทิ้งขยะของชุมชน ท่านได้ยืนปัสสาวะที่นั่น หลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว ท่านก็ถามหาน้ำ ฉันจึงนำน้ำไปให้ แล้วท่านก็อาบน้ำละหมาด"
(บันทึกหะดิษโดยบุคคอรี/หมวดที่4/บทที่61/ฮะดีษเลขที่ 224)




عَنْ حُذَيْفَةَ، قَالَ رَأَيْتُنِي أَنَا وَالنَّبِيُّ، صلى الله عليه وسلم نَتَمَاشَى، فَأَتَى سُبَاطَةَ قَوْمٍ خَلْفَ حَائِطٍ، فَقَامَ كَمَا يَقُومُ أَحَدُكُمْ فَبَالَ، فَانْتَبَذْتُ مِنْهُ، فَأَشَارَ إِلَىَّ فَجِئْتُهُ، فَقُمْتُ عِنْدَ عَقِبِهِ حَتَّى فَرَغَ‏.  


                ฮุซัยฟะห์ รายงานว่า
"ฉันและท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เดินไปด้วยกันเรื่อยๆ จนกระทั่งพบว่าตัวฉันกับท่านนบีนั้นมาถึงที่ทิ้งขยะของชุมชนแห่งหนึ่งด้านหลังกำแพง  ท่านได้ยืนปัสสาวะ เหมือนอย่างที่พวกท่านยืนนั่นแหละ  ฉันจึงขยับออกมาให้ห่างท่าน แต่ท่านก็เรียกฉันไว้ ฉันจึงเข้าไปยืนกำบังให้ท่าน โดยยืนอยู่ด้านหลังจนกระทั่งท่านเสร็จธุระ"
(บุคคอรี/หมวดที่4/บทที่62/ฮะดีษเลขที่ 225)



ส่วนการยืนอุจจาระนั้น ศาสนาไม่อนุญาต เพราะนัยความเป็นจริงมนุษย์เราคงยืนอุจจาระไม่ได้ ยกเว้นกรณีเฉพาะบุคคลที่มีเหตุจำเป็น อาทิเช่น เป็นโรค หรือประสบอุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถนั่งอุจจาระได้ ก็อนุญาตให้อุจจาระในสภาพที่เขามีความสามารถ เช่น นอน หรือยืนอุจจาระ เป็นต้น



 والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿






อาบน้ำละหมาดก่อนนอน



เมื่อมุสลิมจะนอน มีสุนนะฮฺให้อาบน้ำละหมาด และให้เริ่มนอนด้วยการตะแคงตัวไปด้านขวา

عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ، قَالَ قَالَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ إِذَا أَتَيْتَ مَضْجَعَكَ فَتَوَضَّأْ وُضُوءَكَ لِلصَّلاَةِ، ثُمَّ اضْطَجِعْ عَلَى شِقِّكَ الأَيْمَنِ، ثُمَّ قُلِ اللَّهُمَّ أَسْلَمْتُ وَجْهِي إِلَيْكَ، وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إِلَيْكَ، وَأَلْجَأْتُ ظَهْرِي إِلَيْكَ، رَغْبَةً وَرَهْبَةً إِلَيْكَ، لاَ مَلْجَأَ وَلاَ مَنْجَا مِنْكَ إِلاَّ إِلَيْكَ، اللَّهُمَّ آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ، وَبِنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ‏.‏ فَإِنْ مُتَّ مِنْ لَيْلَتِكَ فَأَنْتَ عَلَى الْفِطْرَةِ، وَاجْعَلْهُنَّ آخِرَ مَا تَتَكَلَّمُ بِهِ ‏"‏‏.‏ قَالَ فَرَدَّدْتُهَا عَلَى النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فَلَمَّا بَلَغْتُ ‏"‏ اللَّهُمَّ آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ ‏"‏‏.‏ قُلْتُ وَرَسُولِكَ‏.‏ قَالَ ‏"‏ لاَ، وَنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ ‏"‏‏

                อัลบัรรออ์ บินอาซิบ รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าจะไปยังที่นอนของเจ้า ก็จงอาบน้ำละหมาดเหมือนกับอาบน้ำละหมาดเพื่อจะละหมาด, และจงเริ่มนอนด้วยการตะแคงด้านขวา หลังจากนั้นก็กล่าว (ดุอาอ์) ต่อไปนี้


اللَّهُمَّ أَسْلَمْتُ وَجْهِي إِلَيْكَ، وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إِلَيْكَ، وَأَلْجَأْتُ ظَهْرِي إِلَيْكَ، رَغْبَةً وَرَهْبَةً إِلَيْكَ، لاَ مَلْجَأَ وَلاَ مَنْجَا مِنْكَ إِلاَّ إِلَيْكَ، اللَّهُمَّ آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ، وَبِنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ‏.‏ فَإِنْ مُتَّ مِنْ لَيْلَتِكَ فَأَنْتَ عَلَى الْفِطْرَةِ، وَاجْعَلْهُنَّ آخِرَ مَا تَتَكَلَّمُ بِهِ 

                เขากล่าวว่า ฉันได้ทวนข้อความนี้กับท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และเมื่อฉันอ่านมาถึงประโยคที่ว่า    اللَّهُمَّ آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ  ฉันกล่าวต่อด้วยคำว่า    وَرَسُولِكَ   ท่านนบีกล่าวว่า ไม่ใช่  ที่ถูกต้องคือคำนี้     وَنَبِيِّكَ الَّذِي أَرْسَلْتَ

(บันทึกหะดิษโดยบุคคอรี/หมวดที่4/บทที่75/ฮะดีษเลขที่ 246)


 والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿