อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี แล้วทำไมเป็นต้องอิสลามเท่านั้น



ทุกศาสนาสอนให้คนทำความดีและละทิ้งความชั่วด้วยกันทั้งสิ้น แตอิสลามไปไกลเกินกว่านั้น อิสลามนไปสู่แนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดี และทำลายความชั่วให้พ้นจากชีวิตส่วนบุคคลและชีวิตส่วนรวม อิสลามคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์และความซับซ้อนของสังคมมนุษย์ อิสลามเป็นแนวทางจากผู้สร้างเอง ดังนั้น อิสลามจึงถูกเรียกว่า "ดีนุลฟิฏเราะฮ์" (ศาสนาทางธรรมชาติของมนุษย์)
เช่น อิสลามอธิบายถึงวิธีกำจัดการปล้น ทุกศาสนาสอนว่าการขโมยเป็นการทำความชั่ว อิสลามก็สอนเช่นกัน ดังนั้น อะไรที่ทำให้อิสลามแตกต่างไปจากสาสนาอื่นๆ คำตอบ...ก็คือความจริงที่ว่า อิสลามนอกจากจะสอนว่าการปล้นเป็นความชั่วแล้ว ยังได้บอกวิธีการปฏิบัติในการสร้างโครงสร้างทางสังคมที่จะทำให้คนไม่ให้ปล้นด้วย

อิสลามกำหนดวิธีทำลายการลวนลามทางเพศและการข่มขืน ทุกศาสนาสอนว่าการลวนลามทางเพศและการข่มขืนเป็นบาปใหญ่ อิสลามก็สอนเช่นกัน ดังนั้น อะไรที่ทำให้อิสลามแตกต่างไปจากศาสนาอื่น ความแตกต่างอยู่ที่ว่าอิสลามไม่เพียงสอนให้เคารพผู้หญิงหรือรังเกียจการลวนลามทางเพศและการข่มขืนว่าเป็นบาปใหญ่เท่านั้น แต่ยังให้ทางนำแก่สังคมว่าจะกำจัดอาชญากรรมดังกล่าวอย่างไรด้วย

--->อิสลามเป็นวิถีที่ดีที่สุด เพราะคำสอนของอิสลามไม่ใช่เป้นเรื่องแค่เพียงความเชื่อ แต่เป็นการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับมนุษย์ชาติ ซึ่งได้ผลทั้งในระดับบุคคลและสังคม อิสลามเป็นวิถีชีวิตที่ดีที่สุด เพราะอิสลามเป้นศาสนาสากลที่ปฏิบัติได้และไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะคนกลุ่มใดหรือชาติใด!!!!!!
والله أعلم

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ฮิญาบเกล้าผมตระโหนกอูฐ


ตระโหนกอูฐ

ฮิญาบเกล้าผมตระโหนกอูฐธรรมดายังไม่พอ
ต้องมีตัวช่วย

สนับสนุนโดยร้านมุสลิมเรานี่แหละ!!!!

ผู้ใดเกล้าผมสูงเหมือนตระโหนกอูฐอยู่ในนรก...

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะห์ “ท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า...ความว่า
"บุคคลสองประเภทที่อยู่ในนรก ซึ่งฉันไม่เคยเห็นทั้งสองมาก่อนเลย หนึ่งในนั้นคือสตรีที่เกล้าผมไว้ด้านหลังสูงเหมือนตระโหนกอูฐ ซึ่งพวกนางเหล่านั้นจะไม่ได้เข้าสวรรค์ พวกนางจะไม่ได้พบแม้กลิ่นหอมของสวรรค์” 
(บันทึกหะดิษโดย มุสลิม)




ศาสนาอิสลามมีองค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก 3 ประการ



ศาสนาอิสลามมีองค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก 3 ประการ
กล่าวคือ
1.หลักความเชื่อ หรือที่เรียกว่า หลักอีหม่าน (รุกนอีหม่าน)
2.หลักการปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า หลักอิสลาม (รุกนอิสลาม)
3.ความบริสุทธิ์ใจ หรือที่เรียกว่า หลักคุณธรรม (อัลเอียะฮ์ซาน)

หลัก 3 ประการนี้ได้มาจากคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม จากรายงานหะดิษที่มีบันทึกอยู่ในศอเฮียะฮ์มุสลิม ดังนี้


"ขณะที่พวกเราอยู่กับท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในวันหนึ่ง ก็มีชายผู้หนึ่งปรากฏตัวต่อหน้าเรา เขาสวมเสื้อผ้าที่ขาวสะอาด, มีผมสีดำสนิท, ไม่มีร่องรอยการเดินทางปรากฏให้เห็น และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาได้เข้ามานั่งเอาเข่าเกยกับเข่าของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และเอามือทั้งสองวางบนหน้าตักของเขา แล้วกล่าวว่า


โอ้มูฮัมหมัด โปรดบอกฉันเกี่ยวกับอิสลาม ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้ตอบว่า อัลอิสลาม คือ การที่ท่านปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์อัลลอฮ์ และมูฮัมหมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ และการที่ท่านจะต้องดำรงละหมาด, จ่ายซะกาต,ถือศีลอดเดือนรอมฏอน และทำฮัจญ์ ณ.บัยตุ้ลลอฮ์ หากมีความสามารถกระทำได้ 


เขากล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว เขา (อุมัร) กล่าวว่า พวกเราแปลกใจในตัวเขาที่เขาถามและก็ยืนยันในคำตอบเสียเอง เขาถามต่อไปว่า ได้โปรดบอกฉันเกี่ยวกับ อัลอีหม่าน ท่านตอบว่า คือการที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮ์, บรรดามะลาอิกะห์ของพระองค์, บรรดาคัมภีร์ของพระองค์, บรรดาศาสนทูตของพระองค์, ศรัทธาต่อวันพิพากษา, และศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์ เขากล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว 


เขาถามต่อไปว่า โปรดบอกฉันเกี่ยวกับ อัลเอียะห์ซาน ท่านตอบว่า คือการที่ท่านต้องสักการะต่อพระองค์อัลลอฮ์ประหนึ่งว่าท่านเห็นพระองค์ หากแต่ท่านมิได้เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นท่าน เขาถามต่อไปว่า ได้โปรดบอกฉันเกี่ยวกับกาลอวสาน ท่านตอบว่า ไม่ใช่ว่าผู้ถูกถามถึงเรื่องนี้จะรู้ดีไปกว่าผู้ถาม 


เขาถามว่า โปรดบอกฉันเกี่ยวกับสัญญาณต่างๆ ของมัน ท่านตอบว่า คือการที่นางทาสจะคลอดผู้เป็นนายของนาง, และการที่ท่านจะได้เห็นผู้ที่มีแต่เท้าเปล่า,ผู้ไม่มีเสื้อผ้าจะสวมใส่, ชาวชนบทผู้ขัดสนที่ต้อนฝูงแกะ พวกเขาจะแข่งขันกันสร้างอาคารสูง เขา (อุมัร) กล่าวว่า หลังจากนั้นผู้ถามก็กลับไป โดยที่ฉันยังสงสัยอีกนาน 


แล้วท่าน (นบี) ก็กล่าวแก่ฉันว่า โอ้อุมัร เจ้ารู้ไหมว่า ผู้ถามเป็นใคร ฉัน (อุมัร) ตอบว่า พระองค์อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์รู้ดีที่สุด ท่านกล่าวว่า เขาคือญีบรีล (มะลาอิกะห์) เขามาเพื่อบอกเรื่อง (สำคัญ) ในศาสนาของพวกเจ้า" 
(บันทึกอยู่ในศอเฮียะฮ์มุสลิม กิตาบุ้ลอีหม่าน/หมวดที่1/บทที่1/ฮะดีษเลขที่0001)

^^^^หลักทั้ง 3 ประการ ดังกล่าวมาจะต้องอยู่ควบคู่กัน จะขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ เช่น คนที่ปฏิบัติศาสนาได้อย่างครบถ้วนแต่ความเชื่อของเขาไม่ถูกต้อง ฉะนั้นการการปฏิบัติของเขาก็ไร้ผล หรือคนที่เชื่อถูกต้องแต่ปฏิบัติไม่ถูก ก็ไร้ผลเช่นเดียวกัน หรือคนที่เชื่อถูก ปฏิบัติก็ถูก แต่ไม่มีความบริสุทธฺิ์ใจในความเชื่อหรือในการปฏิบัตินั้น งานของเขาก็ไร้ผล"""

กรณีความเชื่อเขาไม่ถูกต้อง
จากกล่าวหะดิษที่ยกมาข้าง
ระบุว่า"..ขอสาบานต่อผู้ซึ่งที่อับดุลลอฮ์ บุตรของอุมัร ยืนกรานสาบานต่อพระองค์ว่า หากพวกเขามีทองดั่งภูเขาอุฮุด แล้วนำมันไปบริจาค พระองค์อัลลอฮ์ก็จะมิทรงรับการบริจาคนั้น จนกว่าพวกเขาจะศรัทธาต่อเรื่องการกำหนดสภาวการณ์อย่างถูกต้องเสียก่อน..."

กรณีความเชื่อถูกต้องแต่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง งานของเขาก็ไม่ถูกตอบรับ<<
ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า ฉันเคยได้ยินท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า "การละหมาดโดยไม่มีน้ำละหมาดนั้น จะไม่ถูกตอบรับ และการบริจาคทรัพย์ที่ยักยอกมาจะไม่ถูกตอบรับเช่นเดียวกัน"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโโยมุสลิม กิตาบุตตอฮาเราะฮ์ บทที่ 2)

กรณีมีความบริสุทธฺิ์ใจในความเชื่อหรือในการปฏิบัตินั้น 

" และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงและดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม "
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัลบัยยินะฮฺ 98:5)

والله أعلم

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คาามประเสริฐของผู้ที่อ่านสองอายะฮ์สุดท้ายของซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ



หลักฐานจากหะดิษ...รายงานจากท่านอบู มัสอูดเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า...ความว่า "บุคคลใดที่อ่านสองอายะฮ์สุดท้ายของสูเราะฮ์อัล-บะเกาะเราะฮ์(คือ อายะฮที่ 285 และ อายะฮ์ที่ 286) ในคืนหนึ่ง อายะฮ์ทั้งสองจะผลักดันความชั่วร้าย และสิ่งที่น่ารังเกียจให้พ้นไปจากตัวของเขา(หมายถึงตัวผู้อ่าน)"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 3707 มุสลิม หะดิาเลขที่ 1341 อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1189 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 2806 อิบนุมาญะฮ์ หะดิษเลขที่... อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 16480 และอัดดาริมีย์ หะดิษเลขที่ 1449)

อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : สองอายะฮ์สุดท้าย หรืออายะฮ์ที่ 285 และ อายะฮ์ที่ 286

ءامَنَ الرَّسولُ بِما أُنزِلَ إِلَيهِ مِن رَبِّهِ وَالمُؤمِنونَ ۚ كُلٌّ ءامَنَ بِاللَّهِ وَمَلٰئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لا نُفَرِّقُ بَينَ أَحَدٍ مِن رُسُلِهِ ۚ وَقالوا سَمِعنا وَأَطَعنا ۖ غُفرانَكَ رَبَّنا وَإِلَيكَ المَصيرُ ﴿٢٨٥﴾

"ร่อซูลนั้น(นะบีมุฮัมมัด) ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระเจ้าของเขา และมุมินทั้งหลายก็ศรัทธาด้วยทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮ์และมลาอิกะฮ์ของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาร่อซูลของพระองค์(พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาร่อซูลของพระองค์และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และได้ปฏิบัติตามแล้วการอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา! และยังพระองค์นั้น คือ การกลับไป"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : อายะฮ์ที่ 285)
لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفسًا إِلّا وُسعَها ۚ لَها ما كَسَبَت وَعَلَيها مَا اكتَسَبَت ۗ رَبَّنا لا تُؤاخِذنا إِن نَسينا أَو أَخطَأنا ۚ رَبَّنا وَلا تَحمِل عَلَينا إِصرًا كَما حَمَلتَهُ عَلَى الَّذينَ مِن قَبلِنا ۚ رَبَّنا وَلا تُحَمِّلنا ما لا طاقَةَ لَنا بِهِ ۖ وَاعفُ عَنّا وَاغفِر لَنا وَارحَمنا ۚ أَنتَ مَولىٰنا فَانصُرنا عَلَى القَومِ الكٰفِرينَ ﴿٢٨٦﴾
"อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้นชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้ โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใด ๆแก่พวกเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมัน แก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรามาแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราแบกมันได้ และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้น คือผุ้ปกครองของพวกเราดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ไดเรับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2 : อายะฮ์ที่ 286)

!!! และยังมีหลักฐานความประเสริฐของผู้ที่อ่านซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อีกดังนี้

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ...ความว่า “พวกท่านอย่าทำให้บ้านของท่านเป็นกุบูรฺ แท้จริงชัยฏอนจะวิ่งหนีออกจากบ้านหลังที่สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺถูกอ่านในบ้านหลังนั้น”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1300 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 2802 อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 7487 และอัดดาริมีย์ หะดิษเลขที่ 3358)

والسلام

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ให้อ่านอัลกุรอาน และละหมาดในบ้าน อย่าให้บ้านเป็นกุบูรฺ




รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ...ความว่า “พวกท่านอย่าทำให้บ้านของท่านเป็นกุบูรฺ แท้จริงชัยฏอนจะวิ่งหนีออกจากบ้านหลังที่สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺถูกอ่านในบ้านหลังนั้น”
(บันทึกโยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1300 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 2802 อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 7487 และอัดดาริมีย์ หะดิษเลขที่ 3358)

หลักฐานข้างต้นชัดเจนว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กำชับมิให้บรรดามุสลิมทำให้บรรยากาศภายในบ้านเป็นเสมือนกุบูรฺ ด้วยการไม่อ่านอัลกุรฺอาน เพราะที่กุบูรฺไม่มีการอ่านอัลกุรฺอาน ดังนั้นบ้านมุสลิมหลังใด ที่ไม่มีเสียงอ่านอัลกุรอาน บ้านหลังนั้นก็ไม่แตกต่างจากกุบูรฺ อีกทั้งการอ่านอัลกุรอานในบ้านยังขับไล่ไสส่งเหล่ามารร้ายชัยฏอนมิให้อาศัยในบ้านหลังนั้นอีกด้วย

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า...ความว่า “พวกท่านจงละหมาดในบ้านของพวกท่าน และอย่าทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเสมือนกุบูรฺ”
(บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 414 มุสลิม หะดิษเลขที่ 1297 อบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1236 ติรฺมีซีย์ หะดาเลขที่ 413 และนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 1580)

หลักฐานข้างต้นระบุว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ส่งเสริมให้มุสลิมรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ ในรูปแบบของการทำอิบาดะฮฺภายในบ้าน เพราะหากภายในบ้านของมุสลิมไม่มีการละหมาด ไม่มีการอ่านอัลกุรอานก็ไม่แตกต่างจากกุบูรฺ เพราะกุบูรฺไม่ใช่สถานที่มีไว้สำหรับประกอบอิบาดะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดสุนนะฮฺ ละหมาดฟัรฎู อ่านอัลกุรอาน หรืออิบาดะฮฺในรูปแบบอื่นๆ ยกเว้นเพียงการละหมาดญานาซะฮฺเท่านั้น เพราะมีหลักฐานที่เศาะเฮียะฮฺ ยืนยันถึงการกระทำของท่านนบีมูหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม


สรุปว่า ให้ละหมาดและอ่านอัลกุรอานใน "บ้าน" เป็นประจำ
และ ไม่มีการละหมาดและอ่านอัลกุรอานใน "กุโบร"

ทั้งนี้ การละหมาดญานาซะห์ในกุโบรนั้น มีหลักฐานยืนยันชัดเจน

อีกทั้ง นักวิชาการบางท่านบอกว่า การไม่ให้ละหมาดในกุโบรนั้น
สำหรับการละหมาดที่มีการ รูกัวะห์ และ ซูญูด

และบางท่านก็บอกว่า อันที่จริงแล้ว การละหมาดญานาซะห์
คือการขอดุอาอ์ให้ผู้ตายด้วยซ้ำ


والله أعلم

ผู้ที่ยึดครองที่ดินของคนอื่นด้วยอธรรม




รายงานจากท่านสะอีด อิบนุ ซัยดฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ นุฟัยลฺ เล่าว่า..ความว่า

"ตัวเขาถูก(หญิงคนหนึ่งชื่อ)อัรวา กล่าวหาเกี่ยวกับที่ดินในบริเวณบ้านของเขา สะอีดจึงกล่าวว่า ให้เขาไปเถิด เพราะแันเคยได้ยินท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บุคคลใดยึดครองที่ดินของคนอื่นโดยไม่ชอบธรรม แม้เพียงคืนเดียวเท่านั้น ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺจะทรงคล้องคอเขาด้วยแผ่นดินเจ้ดชั้น" สะอีด จึงขอดุอาอ์ว่า "โอ้-อัลลอฮฺ หากหญิงคนนั้นเท็จ จงทำให้เธอตาบอด และจงให้บ้านของเธอเป็นสุสานสำหรับเธอเถิด" หลังจากนั้นไม่นานนัก ฉันเห้นเขาเดินเกาะเพดาน(หลังคาบ้าน) ในสภาพที่ตาบอด พลางกล่าวว่า "ฉันถูกสาปแช่งจากสะอีด อิบนุ ซัยดฺ" เธอเดินไปมาในบ้านมุ่งไปยังบ่อและตกลงในบ่อ บ่อดังกล่าวจึงเป็นสุสานสำหรับเธอ"
(บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1582)


เรามีสิทธิที่จะขอดุอาอ์สาปแช่งคนที่มาอธรรมหรือขอในสิ่งดีกว่าให้เรา
แท้จริงดุอาอ์ของคนที่ถูกอธรรม จะถูกตอบรับ
หรือหากเราจะหวังการตอบแทนในโลกหน้า ก็ย่อมได้เช่นกัน


วัลลอฮ์ฮุอะอ์ลัม

วาญิบให้ทายาทของผู้ตายจะต้องรีบชดใช้หนี้สินผู้ตายทันที



ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า...ความว่า "วิญญาณของผู้ศรัทธาจะถูกแขวนด้วยหนี้สินของเขา จนกว่าหนี้สินนั้นจะถูกชำระเสียก่อน"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยติรมีซีย์ หะดิษที่ 77)
....ภายหลังที่บุคคลหนึ่งเสียชีวิต ทายาทของผู้ตายจะต้องสำรวจว่าผู้ตายมีหนี้สินกับบุคคลใดไว้หรือไม่? หากมีวาญิบจะต้องรีบชดใช้หนี้สินนั้นทันที หรือสัญญาไว้ก่อนว่า หลังจัดพิธีเสร็จแล้ว จะรีบนำหนี้สินมาชดใช้ให้ทันที โดยต้องนำทรัพย์สินของผู้ตายมาชดใช้หนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ หรือหากผู้ตายไม่มีทรัพย์สินชดใช้ ก็ให้ลูกหลาน ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นชดใช้หนี้สินแทนผู้ตายก็ย่อมทำได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว วิญญาณของเขาจะถูกแขวนด้วยหนี้สินของเขา จนกว่าหนี้สินนั้นจะถูกชำระเสียก่อน ตามหลักฐานหะดิษข้างต้น นั้นหมายความว่า เรื่องของเขาจะถูกพักไว้ เขายังไม่ถูกตัดสินว่าปลอดภัย และไม่ตัดสินว่าหายนะ ทั้งๆที่ผู้ตายมีทรัพย์สินที่จะใช้หน้สินได้ แต่ไม่ยอมชำระ

สำหรับผู้ตายที่ตั้งใจจะชำระหนี้ แต่เขาไม่มีทรัพย์สินที่จะชดใช้หนี้สิน เช่นนี้มีหลักฐานว่าพระองค์อัลลอฮ์ทรงชดใช้หนี้แทนให้แก่เขา

ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า...ความว่า "บุคคลใดที่ยืมทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งเขามีเจตนาจะชดใช้(หนี้สิน)นั้น (หากเขาไม่มีความสามารถใช้คืน) พระองค์อัลลอฮ์จักทรงชดใช้คืนแทนให้"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 2387)

ส่วนผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้และปรารถจะชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่ทายาทของผู้ตายไม่ยอมนำทรัพย์สินของผู้ตายไปชดใช้หนี้สินแทนให้เช่นนี้ ความผิดก็อยู่กับทายาทของผ็ตายเท่านั้น

ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า...ความว่า "และบุคคลใดที่นำทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยเจตนาให้เสียหาย(หรือทำสิ่งที่ไม่ตรงกับเป้าประสงค์)เช่นนี้พระองค์อัลลอฮ์จะทรงทำให้เขาหายนะด้วยเช่นกัน"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 2387)


والله أعلم بالصواب

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ฝุ่นดินสอพอง เป็นฝุ่นดินที่สะอาดใช้ตะยัมมุมได้




จากอัลกุรอาน อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า
«وَإِنْ كُنْتُمْ مَرْضَى أَوْ عَلَى سَفَرٍ أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِنْكُمْ مِنَ الْغَائِطِ أَوْ لامَسْتُمُ النِّسَاءَ فَلَمْ تَجِدُوا مَاءً فَتَيَمَّمُوا صَعِيداً طَيِّباً فَامْسَحُوا بِوُجُوهِكُمْ وَأَيْدِيكُمْ مِنْهُ »
ความว่า “และหากพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางหรือคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้ามีการถ่ายทุกข์หรือได้สัมผัสหญิง(ร่วมเพศกับนางผู้เป็นภรรยา)มา แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งหาฝุ่นดินที่สะอาด จงลูบใบหน้าและมือทั้งสองของพวกเจ้าจากฝุ่นดินนั้น” (อัลมาอิดะฮฺ : 6)

อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่มีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่ทำการตะยัมมุมได้หากที่ไม่สามารถใช้น้ำได้ ซึ่งบางครั้งอาจหาน้ำใช้ ไม่พบหรืออาจมีหรือหาน้ำใช้พบแต่ถ้าใช้แล้วจะมีอันตรายต่อร่างกาย หรือบางครั้งอาจไม่สามารถที่จะใช้น้ำได้

>>>คุณสมบัติของดิน ที่ใช้ตะยำมุมนั้นมีเงื่อนไขว่าต้องมีฝุ่นที่เมื่อลูบฝุ่นนั้นที่อวัยวะแล้วฝุ่นดินนั้นจะติดอยู่ที่อวัยวะที่ถูกลูบ และดินที่มีฝุ่นนั้นต้องสะอาดไม่เจอปนนะยิส ซึ่งฝุ่นดินนี้หาได้ทั่วไปจากพื้นดินที่สะอาด จะเป็นการนำเอาก้อนดินที่แห้งมาทุบให้แตกละเอียดหรือบดจนกลายเป็นผงก็ได้ หรือฝุ่นดินที่เกาะอยู่ตามผนังหรือก้อนหินก็ได้
<<<สำหรับฝุ่นของดินสอพองนั้น ทำมาจากดินล้วนๆ ผสมกับน้ำเท่านั้น ถึงแม้ว่าดินสอพองจะถูกเผาก็ตาม ฉะนั้นดินสอพองจึงถือว่าเป็นดินด้วยเช่นกัน หากเราเดินทางแล้วรู้ว่าสถานที่แห่งนั้นไม่มีน้ำ เช่นนี้เราสามารถตะยัมมุมกับดินสอพองแทนน้ำได้

^^^ส่วนแป้งทาตัวที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้ในการทำตะยำมุม เนื่องจากมีส่วนผสมที่อาจจะทำให้ฝุ่นดินที่ถูกผสมไปไม่ถึงอวัยวะที่จำเป็นต้องลูบในการทำตะยำมุม (เป็นทัศนะของนักวิชาการ)

สำหรับผู้ที่ไม่มีน้ำหรือดินให้ใช้ หรือมีแต่ไม่สามารถที่จะใช้น้ำและดินได้นั้น อนุญาตให้ละหมาดในสภาพที่ไม่ต้องมีวุฎูอ์และไม่ต้องตะยัมมุม โดยไม่จำเป็นต้องละหมาดใหม่อีกครั้ง

والله اعلم بالصواب

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะการวางนิ้วชี้ของท่านรสูลในการอ่านตะชะฮฺฮุด


ลักษณะการวางนิ้วชี้ของท่านรสูลในการอ่านตะชะฮฺฮุด


หลักฐานหะดีษที่มีรายงานมาเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเศาะหาบะฮ์บางท่าน อาทิเช่นท่านอับดุลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ และท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. เป็นต้น  ได้รายงานลักษณะการวางนิ้วชี้ของท่านศาสดาในขณะอ่านตะชะฮ์ฮุดมา ซึ่งสรุปแล้วจะมีการกล่าวไว้ 3 ลักษณะด้วยกันคือ 

1. กล่าวเพียงว่า ท่าน يُشِيْرُ بِالسَّبَّابَةِ   คือ ท่านสื่อสัญญาณด้วยนิ้วชี้ (หรือยกนิ้วชี้ขึ้น)  แต่ไม่มีรายงานต่อไปว่า ท่านกระดิกหรือไม่กระดิกมัน 

2. มีการระบุชัดเจนว่า ولاَ يُحَرِّكُهاَ يُشِيْرُ بِالسَّبَّابَةِ  คือ ท่านสื่อสัญญาณด้วยนิ้วชี้(หรือยกนิ้วชี้ขึ้น) แต่ท่านไม่ได้กระดิกมัน 

3. มีการระบุชัดเจนว่า فَرَأَيْتُهُ يُحَرِّكُهَا رَفَعَ إصْبَعَهُ .. คือ ท่านยกนิ้ว(ชี้)ขึ้น แล้วฉันก็เห็นท่านกระดิกมัน

ซึ่งคำว่า  يُشِيْرُ بِالسَّبَّابَةِ ไม่จำเป็นต้องแปลว่า “ชี้ด้วยนิ้วชี้” เสมอไป คำว่า أَشَارَ، يُشِيْرُ ตามหลักภาษาจะหมายถึง “การสื่อสัญญาณ, การทำสัญญาณ (ด้วยสิ่งใดๆ)” ซึ่งเป็นความหมายกว้างๆ  ดังนั้น ในหะดีษข้างต้น  ความหมายของคำว่า  يُشِيْرُ بِالسَّبَّابَةِ ในแง่ภาษาจึงหมายถึง “การสื่อสัญญาณด้วยนิ้วชี้” หรือ “การยกนิ้วชี้ขึ้น”ซึ่งความหมายนี้จะตรงกับอีกสำนวนหนึ่งของหะดีษบทนี้ที่ว่า رَفَعَ إِصْبَعَهُ (ท่านนบีย์ได้ยกนิ้วชี้ของท่านขึ้น) อันเป็นการรายงานของท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ที่จะถึงต่อไป


>>>รายงานที่หนึ่ง เรื่องยกนิ้วชี้ขึ้น แต่ไม่ระบุเรื่องกระดิกหรือไม่กระดิก 

(1) รายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ.(สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 73)

รายงานในเรื่องนี้จากท่านอับดุลลอฮ์ มี 3 กระแสด้วยกันคือ

ก. จากท่านอุษมาน บินหะกีม, จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์, จากบิดาของท่านคือท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยร์ ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า
     كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  إِذَا قَعَدَ فِى الصَّلاَةِ جَعَلَ قَدَمَهُ الْيُسْرَى بَيْنَ فَخِذِهِ وَسَاقِهِ، وَفَرَشَ قَدَمَهُ الْيُمْنَى، وَوَضَعَ يَدَهُ الْيُسْرَى عَلَى رُكْبَتِهِ الْيُسْرَى، وَوَضَعَ يَدَهُ الْيُمْنَى عَلَى فَخِذِهِ الْيُمْنَى وَأَشَارَ بِإِصْبَعِهِ
“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะวัลลัมนั่งในนมาซนั้น ท่านจะวางฝ่าเท้าซ้ายของท่านไว้ระหว่างขาอ่อนกับแข้ง(ขวา)ของท่าน และแบฝ่าเท้าขวาของท่าน (ในลักษณะตั้งชันขึ้นอันเป็นการนั่งแบบตะวัรฺรุก)  แล้วท่านก็วางมือซ้ายของท่านลงบนเข่าซ้าย และวางมือขวาของท่านบนขาอ่อนด้านขวา  และท่านก็ทำสัญญาณด้วยนิ้ว(ชี้  คือยกนิ้วชี้ขึ้น)” 
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 112/579,  ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 988,  ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 696   และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 130)
 รายงานนี้เป็นรายงานที่ถูกต้อง และสำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านมุสลิม


ข. จากท่านมัครอมะฮ์ บินบุกัยรฺ,  จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์ จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า
   كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا جَلَسَ فِى الثِّنْتَيْنِ أَوْ فِى اْلأَرْبَعِ يَضَعُ يَدَيْهِ عَلَى رُكْبَتَيْهِ ثُمَّ أَشَارَ بِإِصْبَعِهِ

“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่ง(อ่านตะชะฮ์ฮุด)ในร็อกอะฮ์ที่สองหรือร็อกอะฮ์ที่สี่  ท่านจะวางมือทั้งสองของท่านลงบนเข่าทั้งสองของท่าน  จากนั้นท่านก็ทำสัญญาณด้วยนิ้ว(ชี้)ของท่าน”
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1160  และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 132) ...
สายรายงานนี้ ถูกต้องหรืออย่างน้อยก็หะซัน (สวยงาม)


ค. จากท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน,  จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์ จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า
   إِنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا قَعَدَ فِى التَّشَهُّدِ وَضَعَ كَفَّهُ الْيُسْرَى عَلَى فَخِذِهِ الْيُسْرَى، وَأَشَارَ بِالسَّبَّابَةِ لاَ يُجَاوِزُبَصَرُهُ إِشَارَتَهُ
“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งตะชะฮ์ฮุด  ท่านจะวางฝ่ามือซ้ายบนขาอ่อนข้างซ้าย,  และท่านจะทำสัญญาณด้วยนิ้วชี้ โดยที่สายตาของท่านจะมองไปยังการชี้นั้น”
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1274,  ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 132 และท่านผู้บันทึกท่านอื่นๆ)
สายรายงานนี้หะซัน (สวยงาม) เพราะท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน มีความบกพร่องด้านความจำเล็กน้อย 




(2) รายงานจากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. (สิ้นชีวิตในสมัยท่านมุอาวิยะฮ์เป็นคอลีฟะฮ์)
หะดีษนี้จากการรายงานของท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. มีรวม 7 กระแสด้วยกัน แต่ขอยก 1 กระแส และจะนำเสนอข้อความที่ตรงประเด็นเรื่องลักษณะนิ้วชี้โดยเฉพาะเท่านั้น

 จากท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์,  จากท่านอาศิม บินกุลัยบ์,  จากบิดาของท่าน, จากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. กล่าวว่า 
                   "...... وَأَشَارَ بِالسَّبَّابَةِ، يَدْعُوْ بِهَا"
“....... แล้วท่านก็ทำสัญญาณด้วยนิ้วชี้ (โดย)วิงวอน (คืออ่านตะชะฮ์ฮุด)ด้วยมัน (นิ้วชี้)”
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1263,  และท่านอะห์มัด เล่มที่ 4 หน้า 318)

!!!   นอกจากนี้ ก็ยังมีหะดีษในลักษณะเดียวกันนี้ที่รายงานมาจากเศาะหาบะฮ์อีกท่านหนึ่ง คือท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.  จากการบันทึกของท่านมุสลิม หะดีษที่ 115/580,  ท่านอิหม่ามมาลิกในหนังสือ “อัล-มุวัฏเฏาะอ์” หะดีษที่ 195,  ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 294,  ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 65  และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 130 เป็นต้น

::: เมื่อพิจารณาดูเนื้อหาและสำนวนของหะดีษนี้ที่รายงานมาโดยเศาะหาบะฮ์ 3 ท่าน คือท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอัซ-ซุบัยรฺ,  ท่านวาอิล บินหุจญริน และท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. ก็จะเห็นได้ว่า แม้สำนวนในการรายงานจะแตกต่างกัน  แต่ในด้านเนื้อหาแล้วจะตรงกัน คือ ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะทำสัญญาณด้วยนิ้วชี้ (คือยกนิ้วชี้ขึ้น)ในการอ่านตะชะฮ์ฮุด 
ข้อความของหะดีษนี้ทั้งหมดทุกกระแสข้างต้นมีกล่าวไว้เพียงแค่นี้  ไม่มีกระแสใดรายงานเพิ่มเติมเลยว่า ท่านกระดิกนิ้วชี้หรือไม่กระดิก 


>-----------------------<

>>>รายงานที่สอง เรื่องยกนิ้วชี้ขึ้น แล้วมีระบุชัดเจนว่า ไม่กระดิกนิ้ว 

ลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีรายงานมาดังนี้ 

ท่านซิยาด บินสะอฺด์ บินอับดุรฺเราะห์มาน ได้รายงานจากท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน,  จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์,  จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า 

         إِنَّ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُشِيْرُ بِإِصْبَعِهِ إِذَا دَعَا،  وَلاَ يُحَرِّكُهَا
“แท้จริง ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ทำสัญญาณด้วยนิ้วของท่าน (คือยกนิ้วชี้ขึ้น) ขณะกล่าววิงวอน (คืออ่านตะชะฮ์ฮุด)และท่านไม่ได้กระดิกมัน ” 
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 989,  ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1269,  ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 132  และท่านอัล-บัฆวีย์ในหนังสือ “ชัรหุ อัซ-ซุนนะฮ์” หะดีษที่ 677) 

สถานภาพของหะดีษบทนี้
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” เล่มที่ 3 หน้า 454 ว่า สายรายงานของหะดีษนี้ ถูกต้อง .

...แต่ตามความเป็นจริงแล้ว นักวิชาการหะดีษหลายท่านได้กล่าววิจารณ์หะดีษนี้ว่ามีความบกพร่องทั้งในด้านสายรายงานและในด้านตัวบท 
กล่าวคือ
ข้อบกพร่องในด้านสายรายงานก็คือ  ท่านมุหัมมัด บินอัจญลานซึ่งเป็นผู้รายงานท่านหนึ่งของหะดีษนี้ (เป็นตาบิอีน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 148) แม้ตามปกติเป็นผู้ที่พอจะเชื่อถือได้(صَدُوْقٌ) และได้รับความเชื่อถือจากนักวิชาการบางท่าน  แต่ขณะเดียวกันก็ถูกนักวิชาการจำนวนมากกล่าวว่า  سَيِّئُ الْحِفْظِ .. คือ เป็นผู้ที่ความจำแย่ 
(จากหนังสือ “อัล-กาชิฟ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์  เล่มที่ 3 หน้า 69) 

หะดีษซึ่งผู้รายงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้รายงานมาจะถือว่า เป็น “สายรายงานที่ถูกต้อง” ดังคำกล่าวของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ย่อมไม่ได้  แต่ตามหลักการแล้วต้องถือว่า เป็นหะดีษที่สายรายงานค่อนข้างอ่อน, หรืออย่างดีที่สุดก็อาจกล่าวได้เพียงว่า สายรายงานของมัน หะซัน (สวยงาม) เท่านั้น 
(โปรดดูหนังสือ “ศิฟะตุ ศ่อลาติ้นนบีย์ฯ”  หน้า 159  และหนังสือ “ตะมามุ้ลมินนะฮ์” หน้า 217) 

...ส่วนข้อบกพร่องในด้านเนื้อหาก็คือ ข้อความของหะดีษนี้ที่ว่า “และท่าน(นบีย์)ไม่ได้กระดิกมัน(นิ้วชี้)” ถือเป็นข้อความที่ผิดเพี้ยน(شَاذٌّ) ดังคำกล่าวของนักวิชาการหลายท่านอาทิเช่นท่านอิบนุ้ลก็อยยิม, ท่านอัล-อัลบานีย์,  ท่านเช็คอบูอุบัยดะฮ์ มัชฮูรฺ บินหะซัน เป็นต้น 
(โปรดดูหนังสือ “ซาดุ้ลมะอาด” เล่มที่ 1 หน้า 81,  หนังสือ“เฎาะอีฟสุนันนะซาอีย์”  หน้า 44,  และหนังสือ “อัล-เกาลุ้ลมุบีน ฟี อัขฏออิ้ล มุศ็อลลีน”  หน้า 163) ...
วิเคราะห์
สาเหตุที่นักวิชาการกล่าวว่า ข้อความดังกล่าวของหะดีษนี้ผิดเพี้ยน ก็เพราะข้อความนี้มีรายงานมาเพียงกระแสเดียว คือ จากท่านซิยาด บินซะอฺด์,  จากท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน,  จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์,

>-----------------------<

>>>รายงานที่สาม กรณียกนิ้วชี้ขึ้นแล้วมีระบุชัดเจนว่า มีการกระดิกนิ้วชี้ด้วย

ท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. กล่าวว่า ...
   لَأَنْظُرَنَّ إِلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَيْفَ يُصَلِّىْ  فَنَظَرْتُ إِلَيْهِ فَقَامَ فَكَبَّرَ وَرَفَعَ يَدَيْهِ حَتىَّ حَاذَتَا بِأُذُنَيْهِ،   ثُمَّ وَضَعَ يَدَهُ الْيُمْنَى عَلَى كَفِّهِ الْيُسْرَى وَالرُّسْغِ وَالسَّاعِدِ،  فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَرْكَعَ رَفَعَ يَدَيْهِ مِثْلَهَا،  قَالَ : وَوَضَعَ يَدَيْهِ عَلَى رُكْبَتِيْهِ ثُمَّ لَمَّا رَفَعَ رَأْسَهُ رَفَعَ يَدَيْهِ مِثْلَهَا،  ثُمَّ سَجَدَ فَجَعَلَ كَفَّيْهِ بِحِذَاءِ أُذُنَيْهِ،   ثُمَّ قَعَدَ وَافْتَرَشَ رِجْلَهُ الْيُسْرَى وَوَضَعَ كَفَّهُ الْيُسْرَى عَلَى فَخِذِهِ وَرُكْبَتِهِ الْيُسْرَى،   وَجَعَلَ حَدَّ مِرْفَقِهِ اْلأَيْمَنِ عَلَى فَخِذِهِ الْيُمْنَى،   ثُمَّ قَبَضَ اثْنَتَيْنِ مِنْ أَصَابِعِهِ،  وَحَلَّقَ حَلْقَةً،  ثُمَّ رَفَعَ إِصْبَعَهُ،  فَرَأَيْتُهُ يُحَرِّكُهَا يَدْعُوْ بِهَا  
“ขอยืนยันว่าฉันได้พิจารณาดูท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่าท่านจะนมาซอย่างไร  ฉันเห็นท่านยืนขึ้นแล้วกล่าวตักบีรฺ โดยท่านจะยกมือทั้งสองขึ้นจนเสมอกับหูทั้งสองของท่าน  หลังจากนั้นท่านก็วางมือขวาทับบนมือซ้าย ข้อมือ และท่อนแขนซ้ายของท่าน เมื่อท่านต้องการจะรุกั๊วะอฺ ท่านก็ยกมือทั้งสองขึ้นในลักษณะเดิม (ท่านวาอิลกล่าวต่อไปว่า) และวางมือทั้งสองของท่านบนเข่าทั้งสองของท่าน  ต่อมาเมื่อเงยศีรษะขึ้น (มายืนเอี๊ยะอฺติดาล) ท่านก็ยกมือทั้งสองขึ้นในลักษณะเดิมอีก  แล้วท่านก็สุญูด ซึ่งท่านจะวางฝ่ามือทั้งสองของท่านให้เสมอกับหูทั้งสองของท่าน  ต่อมา ท่านก็(ลุกขึ้นมา)นั่ง โดยจะแบเท้าซ้ายออก (รองก้น คือนั่งอิฟติรอช)  และท่านจะวางฝ่ามือซ้ายลงบนขาและเข่าข้างซ้ายของท่าน และวางข้อศอกขวาลงบนขาข้างขวาของท่าน  แล้วท่านก็กำนิ้วของท่านสองนิ้ว (คือนิ้วนางกับนิ้วก้อย)  และทำให้นิ้ว (หัวแม่มือกับนิ้วกลาง)จรดกันเป็นวง  ต่อมาท่านก็ยกนิ้ว(ชี้)ของท่านขึ้น แล้วฉันเห็นท่านกระดิกมันพร้อมกล่าววิงวอน (คือ อ่านตะชะฮ์ฮุด)"

{สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์}

สายรายงานของหะดีษบทนี้ มีดังต่อไปนี้ 
1.  ท่านมุอาวิยะฮ์ บินอัมรฺ  รายงานจากท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์,  จากท่านอาศิม บินกุลัยบ์,  จากบิดาของท่านคือท่านกุลัยบ์ บินชิฮาบ,  จากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ.
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดาริมีย์  หะดีษที่ 1357,  ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 2 หน้า 132,  ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 714  และท่านอิบนุหิบบาน  หะดีษที่ 1860) 

2.  ท่านอับดุลลอฮ์ บินมุบาร็อก  รายงานจากท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์,  จากท่านอาศิม บินกุลัยบ์,  จากบิดาของท่าน,  จากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ.
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์  หะดีษที่ 888 และ 1267) 

3.  ท่านอับดุศเศาะมัด บินอับดุลวาริษ ได้รายงานจากท่านซาอิดะฮ์บินกุดามะฮ์, จากท่านอาศิม บินกุลัยบ์,  จากบิดาของท่าน,  จากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. 
(บันทึกโดย ท่านอิหม่ามอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด”  เล่มที่ 4 หน้า 318) 


...เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นได้ว่า ท่านมุอาวิยะฮ์ บินอัมรฺ,  ท่านอับดุลลอฮ์ บินมุบาร็อก และท่านอับดุศเศาะมัด บินอับดุลวาริษ ต่างก็รายงานหะดีษนี้มาจากแหล่งเดียวกันคือ จากท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์  แล้วสืบสายรายงานต่อไปจนถึงท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ.

---สายรายงานทั้งหมด เป็นสายรายงานที่ถูกต้องโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ  และไม่ปรากฏมีนักวิชาการท่านใดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าท่านอิหม่ามนะวะวีย์,  ท่านอัล-บัยฮะกีย์,  ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เป็นต้น จะปฏิเสธความถูกต้องของ “สายรายงาน” หะดีษบทนี้แม้แต่ท่านเดียว ไม่ว่าเขาจะยอมปฏิบัติตาม “เนื้อหา” ของหะดีษนี้ คือการกระดิกนิ้วชี้ขณะอ่านตะชะฮ์ฮุดหรือไม่ก็ตาม

,,,  แต่ประเด็นที่จะต้องพิจารณาก็คือ ข้อความที่ว่า  เห็นท่านนบีย์กระดิกนิ้วชี้ขณะอ่านตะชะฮ์ฮุด เป็นรายงานของท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ (สิ้นชีวิตในปีฮ.ศ. 160)   เพียงผู้เดียว โดยอ้างรายงานมาจากท่านอาศิม บินกุลัยบ์ แล้วสืบสายรายงานต่อไปจนถึงท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ.

เพราะฉะนั้น ข้อความที่ว่า " ฉันเห็นท่านนบีย์กระดิกนิ้วชี้ " จึงเป็นข้อความที่ท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์เพียงผู้เดียว ได้รายงานมาจากท่านอาศิม บินกุลัยบ์ ให้เพิ่มเติมหรือเป็น “ส่วนเกิน” มาจากการรายงานของผู้รายงานอื่นทั้ง 7 ท่านเหล่านั้น 
กรณีนี้จึงคล้ายๆกับข้อความที่ว่า “ท่านนบีย์ไม่ได้กระดิกนิ้วชี้”อันเป็นส่วนเกินจากการรายงานของท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน แทบจะไม่ผิดเพี้ยนกันเลย 
แต่ จุดแตกต่างระหว่าง “ส่วนเกิน” ของท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ กับ “ส่วนเกิน” ของท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน อยู่ที่ความ “น่าเชื่อถือ” ที่แตกต่างกันของทั้งสองท่านนี้ในทัศนะของนักวิชาการหะดีษ 

...ซึ่งท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ ผู้รายงานหะดิษข้างต้น ไม่มีนักวิชาการท่านใดกล่าวตำหนิหรือระบุความบกพร่องของท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์แม้แต่คนเดียว 
 ท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ เป็นผู้รายงานหะดีษจำนวนน้อย ที่นักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ความเชื่อถือท่าน ทั้งเป็นความเชื่อถือในระดับสูงมาก 

A ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ตักรีบุตตะฮ์ซีบ”  เล่มที่ 1 หน้า 256 ว่า 
        زَائِدَةُ بْنُ قَدَامَةَ الثَّقَفِىُّ، أَبُوالصَّلْتِ،  الْكُوْفِىُّ،  ثِقَةٌ ثَبْتٌ، صَاحِبُ سُنَّةٍ
“ซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ อัษ-ษะกอฟีย์,  อบุศศ้อลต์,  เป็นชาวเมืองกูฟะฮ์,  เชื่อถือได้, มีความมั่นคงแน่นอนมาก(ในการรายงานหะดีษ)  เป็นชาวซุนนะฮ์” 

B  ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-กาชิฟ”  เล่มที่ 1 หน้า 246 ว่า 
         زَائِدَةُ بْنُ قُدَامَةَ، أَبُوالصَّلْتِ، اَلثَّقَفِىُّ، اَلْكُوْفِىُّ، اَلْحَافِظُ، ... ثِقَةٌ حُجَّةٌ
“ซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์,  อบุศศ็อลต์,  อัษ-ษะกอฟีย์,  เป็นชาวเมืองกูฟะฮ์,  เป็นผู้ที่มีความจำดีเยี่ยม,  เชื่อถือได้,  เป็นหลักประกันได้เรื่องหะดีษ” 

C  ท่านอิบนุหิบบาน ได้กล่าวในหนังสือ “อัษ-ษิกอต”  เล่มที่ 6 หน้า 340 ว่า 
   كَانَ مِنَ الْحُفَّاظِ الْمُتْقِنِيْنَ،  وَكَانَ لاَ يَعُدُّ السَّمَاعَ حَتىَّ يَسْمَعَهُ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ،  وَكَانَ لاَ يُحَدِّثُ أَحَدًا حَتىَّ يَشْهَدَ عَنْهُ عَدْلٌ أَنَّهُ مِنْ أَهْلِ السُّنَّةِ 
“ท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ เป็นหนึ่งจากผู้ที่มีความจำดีเยี่ยมและละเอียดประณีต (ในเรื่องหะดีษ) มาก,  ท่านจะไม่ถือว่าได้ยิน(หะดีษจากผู้ใด) จนกว่าท่านจะได้ฟังมันถึงสามครั้ง,  และท่านจะไม่ยอมพูดเรื่องหะดีษกับผู้ใดจนกว่าจะมีผู้มีคุณธรรมมายืนยันกับท่านว่า บุคคลผู้นั้นเป็นชาวซุนนะฮ์” 

D ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ได้กล่าว ดังบันทึกในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” .. เล่มที่ 3 หน้า 265 ว่า 
                                       مِنَ اْلأَثْبَاتِ اْلأَئِمَّةِ
“เขาเป็นหนึ่งจากผู้ที่แน่นมากในเรื่องหะดีษ, เป็นผู้นำ(ในเรื่องหะดีษ)”
    -ฯลฯ-

...สำหรับรายงานของท่านซาอิดะฮฺ บินกุดามะฮ์ที่ว่า “ท่านนบีย์กระดิกนิ้วชี้” นั้น  ไม่ “ขัดแย้ง” กับรายงานของผู้รายงานท่านอื่น  แต่ถือเป็นการรายงาน “เพิ่มเติม” (زِيَادَةٌ) บางข้อความที่ผู้รายงานท่านอื่นมิได้รายงานไว้ด้วย 

ซึงในกรณีของการรายงานเพิ่มเติมนี้ ตามหลักวิชาการหะดีษจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 

ก. ถ้าผู้ที่ขาดความเชื่อถือ(ضَعِيْفٌ)อย่างมาก ได้รายงานข้อความใดให้เกินเลยจากรายงานของผู้อื่นที่เชื่อถือได้ รายงานส่วนเกินดังกล่าวถูกเรียกว่า زِيَادَةٌ مُنْكَرَةٌ  (ส่วนเกินที่ถูกปฏิเสธ)  ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ 

ข. ถ้าผู้ที่ขาดความเชื่อถือเพียงเล็กน้อยหรือพอจะเชื่อถือได้(صَدُوْقٌ, .. อย่างเช่นท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน เป็นต้น) ได้รายงานข้อความใดให้เกินเลยจากการรายงานของผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า ( ثِقَةٌหรือ ثَبْتٌ หรือ  حُجَّةٌ) รายงานส่วนเกินดังกล่าวจะถูกเรียกว่า زِيَادَةٌ شَاذَّةٌ  (ส่วนเกินที่ผิดเพี้ยน) ซึ่งจะนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้เช่นเดียวกัน 

ค. ถ้าผู้ที่ได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูง (ثِقَةٌ) คนใดได้รายงานข้อความใดให้เกินเลยจากการรายงานของผู้ที่เชื่อถือได้ในระดับเดียวกันท่านอื่น, ไม่ว่าผู้รายงานท่านอื่นนั้นจะมีท่านเดียวหรือหลายท่าน  การรายงานเพิ่มเติมของเขาก็จะถูกเรียกว่า زِيَادَةٌ مَقْبُوْلَةٌ  (การเพิ่มเติมที่ต้องยอมรับ) 

ดังนั้น รายงานเพิ่มเติมของท่านซาอิดะฮ์บินกุดามะฮ์ที่ว่า  "แล้วฉันก็เห็นท่านกระดิกนิ้วชี้้"  จึงจัดอยู่ในลักษณะที่ 3 นี้  คือเป็น “รายงานเพิ่มเติมที่ต้องยอมรับ” ตามหลักวิชาการ  มิใช่รายงานเพิ่มเติมที่ชาสหรือผิดเพี้ยน 

สรุปว่า หะดีษเรื่องการกระดิกนิ้วชี้ในขณะอ่านตะชะฮ์ฮุดของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ท่านซาอิดะฮ์ บินกุดามะฮ์ ได้รายงานต่อมาจากท่านวาอิล บินหุจญริน ร.ฎ. จึงเป็นหะดีษที่ถูกต้อง(صَحِيْحٌ) ทั้งสายรายงานและตัวบท 

الله أعلم بالنوايا

หรือจะดาวน์โหลด Pdf ไว้อ่าน หรือถ่ายเก็บไว้อ่าน
>>>>   http://www.upload-thai.com/download.php?id=32686fe78a460b453c914466e84d0b68






ฉันเป็นคนฝรั่งเศษ นี่คืออิสลามของฉัน


เหตุการณ์เกิดขึ้นจริงในประเทศฝรั่งเศษ


มีหญิงมุสลิมะห์คนหนึ่ง นางสวมเสื้อผ้าปกปิดเรือนร่างมิดชิดและสวมนิกอบ (ปิดหน้า) เดินเลือกซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งในฝรั่งเศษ

หลังจากที่นางได้หยิบสิ่งของที่นางต้องการ นางก็เดินไปยังคาวน์เตอร์ เพื่อที่จะทำการจ่ายเงิน

ซึ่งคาวน์เตอร์ถัดไปนั้น มีหญิงชาวอาหรับคนหนึ่ง แต่งตัวฟิตแบบทันสมัยเหมือนชาวยุโรปที่นิยมแต่งตัวกัน

หญิงอาหรับที่แต่งตัวฟิตแบบทันสมัยนั้น หันไปมองหญิงมุสลิมะห์ที่แต่งตัวปกปิดมิดชิดสวมนิกอบ ด้วยสายตาคมที่เต็มไปด้วยความหยาม แล้วหยิบสิ่งของในตะกร้าแล้วมาวางบนโต๊ะคาวน์เตอร์

แต่มุสลิมะห์ท่านนั้นก็นิ่งเงียบ ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ยิ่งทำให้หญิงอาหรับแต่งตัวแฟชั่นนั้นเพิ่มความโกรธแค้น
สุดท้าย เขาก็หมดความอดทน

จึงตะโกนด่าว่า : นิกอบของคุณนั้น ได้สร้างปัญหาต่างๆนาๆไว้ให้กับพวกเราชาวอาหรับ พวกเรามาที่นี่ มาเพื่อทำการธุรกิจ ไม่ใช่เพื่อที่จะโชว์ศาสนาซะหน่อย หากว่าคุณต้องการทำตามศาสนาโดยการสวมใส่นิกอบ คุณก็กลับไปประเทศคุณเลยไป จะสวมใส่ยังไงก็แล้วแต่คุณ

มุสลิมะห์ผู้สวมใส่นิกอบนั้น วางสิ่งของที่นางได้หยิบมา แล้วก็วางในตะกร้า แล้วก็มองไปยังหญิงอาหรับคนนั้น แล้วก็เปิดนิกอบให้เห็นใบหน้านาง ด้วยใบหน้าที่งามสไตล์ยุโรป และสีฟ้าที่สง่างามในสองดวงตา

พร้อมกล่าวว่า  :ฉันเป็นคนฝรั่งเศษ นี่คืออิสลามของฉัน และที่นี่ก็เป็นประเทศฉัน คุณได้ขายศาสนาของคุณไปแล้ว และพวกเราที่นี่ ก็ได้รับซื้อมันจากพวกคุณ:



✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿



บทความดีๆโดย : Women of Paradise| نســاءُ الجــنّــة
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

แน่ใจหรือ ว่าตัวคุณคือมุสลิม




มีชายมุสลิมคนหนึ่ง เขาต้องการที่จะแต่งงานกับผู้หญิงที่ไม่ใช่มุสลิมะห์ เขาจึงขออนุญาติกับผู้เป็นพ่อ
พ่อเขาโกรธ และไม่รับกับคำขอของลูกชาย
พ่อเขาพูดให้ลูกชายเขาฟังว่า : ถ้าหากคุณแต่งงานกับผู้หญิงที่ไม่ใช่มุสลิมะห์ ถือว่าลูกกับพ่อตัดขาดกัน

ลูกชายก็เลยคิดมาก จึงคิดหาทุกหนทางเพื่อให้ได้แต่งงานกับผู้หญิงที่เขารัก
ผู้เป็นพ่อก็เลยเสนอความคิดให้ลูกเขาฟัง ด้วยการทำวิธีใดก็แล้วแต่ ที่ต้องทำให้ผู้หญิงที่ลูกชายเขารักนั้นรับอิสลาม
ลูกเขาก็ดีใจ ก็เลยหาหนังสือศาสนาอิสลามทั้งหมด 10 เล่มเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
ผู้หญิงก็เลยรับหนังสือทุกเล่ม และขอเวลาในการอ่านและศึกษาอิสลามเป็นเวลา 4 เดือนเต็ม เพื่อให้ได้อ่านและทำความเข้าใจกับหนังสืออิสลาม

หลังจาก 4 เดือนผ่านพ้นไป ถึงเวลาที่ได้กำหนด ผู้หญิงก็เดินไปหาผู้ชาย แล้วบอกให้เขารับรู้ว่า ตัวเขารับอิสลามแล้ว และตอนนี้ก็เป็นมุสลิมะห์อย่างเต็มตัวแล้ว
ผู้ชายก็ดีอกดีใจ กับการที่นางได้รับอิสลาม

แต่...

นางกล่าวว่า : ใช่ ตัวฉันนี้รับอิสลามอย่างเต็มตัวเต็มใจแล้ว แต่ฉันจะไม่รับคุณมาเป็นสามีฉัน ก็เพราะว่าหนังสืออิสลามที่คุณมอบให้ฉันได้อ่านนั้น ฉันไม่พบเห็นในตัวคุณนั้นเป็นมุสลิมเลยแม้แต่น้อย

บทความดีๆโดย : كلّ يـوم قِصّة وعِـبرة، فهل مِن مُعتـبِر ؟
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จงทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดแล้วจึงมอบหมายต่อพระองค์อัลลอฮ์(ตะวักกัล อลัลลอฮ์



ความว่า “และสูเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงชีวินผู้ทรงไม่ตาย และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์ และพอเพียงแล้วด้วยพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในความผิดทั้งหลายของปวงบ่าวของพระองค์”
(อัล-ฟุรกอน 58)
ส่วนหนึ่งของอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่นั้นคือการมอบหมายต่ออัลลอฮฺผู้สูงส่งในทุกการงาน จะทำสิ่งใด ก็ต้องกล่าวนามของอัลลอฮ์ แล้วจึงมอบหมายตัวต่อพระองค์อัลลอฮ์ อย่างเมื่อออกจากบ้าน ก็ให้กล่าวดุอาอ์ดังนี้
"บิสมิ้ลละฮิ ต้าวักกัลตุ อ้าลัลลอฮิ ว่าลาเฮาเฮาล่า ว่าลา กูว่าต้า อิลลา บิ้ลลาฮฺ"
ความว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉับมอบหมายตัวยังพระองค์อัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพลัง และอำนาจใด เว้นแต่(ที่มาจาก) พระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น"

มิใช่ออกจากบ้านแล้ว ได้ยินจิ้งจกร้อง ก็มีความเชื่อว่ามีลางร้าย หรือต้องก้าวออกจากบ้านเวลา 09.09 นาฬิกา โดยเชื่อว่าเป็นช่วงเวลาดี อันเป็นการทำชีริกต่อพระองค์อัลลอฮ์ เพราะมีความเชื่อว่าเวลา หรือการทักของจิ้งจกมีผลดีผลร้ายต่อตน มาเทียบเคียงต่อพระองค์อัลลอฮฺ

...^^^และก่อนมอบหมายต่ออัลลอฮ์นั้น เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดก่อน จึงตะวักกัลต่อพระองค์อัลลอฮ์ มิใช่มอบหมายต่ออัลลอฮ์โดยที่ไม่กระทำหน้าที่นั้นเสียก่อนเลย

จากหะดิษ

วันหนึ่งท่านรอซูล มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม
สังเกตเห็นว่าชาวเบดูอินท่านหนึ่งได้ปล่อยอูฐของเขาไว้
โดยไม่ผูกมันเอาไว้ ท่านจึงถามชาวเบดูอินท่านนั้นว่า
“เหตุใดท่านจึงไม่ผูกอูฐของท่านไว้เล่า” ชาวเบดูอินตอบว่า
“กระผมมอบหมายต่ออัลลอฮฺไว้แล้วขอรับ” 
ท่านรอซูลจึงกล่าวว่า
“จงผูกอูฐของท่านไว้ก่อน แล้วจึงมอบหมายต่ออัลลอฮฺ” 

(ติรมิซียฺ(ติรมิซียฺ)

จึงเห็นได้ว่าก่อนมอบหมายต่ออัลลอฮ์นั้น เราต้องทำหน้าที่ของเราเสียก่อน จะให้สัตว์เลี้ยงของเราอิ่ม เราก็ต้องปล่อยให้กินหญ้า หรือเอาหญ้ามาให้มันกิน เราป่วย เราต้องหายามารักษา เราได้ริสกีมาเลี้ยงครอบครัว เราก็ต้องทำงาน แล้วเมื่อเราทำสุดความสามารถแล้ว จะบรรลุผลประการใดนั้น เราก็ต้องมอบหมายต่อพระองค์อัลลอฮ์ ไม่ใช่อยู่ๆก็เดียวอัลลอฮ์ให้สัตว์อิ่มเอง อัลลอฮ์ให้หายเอง หรือเดียวอัลลอฮ์เลี้ยงเอง อย่างนี้เป็นต้น
والسلام )

แม้จะเป็นชายมุสลิมตาบอด หากได้ยินเสียงอะซาน ก็จำเป็นต้องไปมัสยิด



รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮ์ ได้กล่าวว่า “ได้มีชายตาบอดคนหนึ่ง(คือท่านอิบนุอุมมิมักตูม) มาหาท่านรสูลุลลอฮ์ แล้วกล่าวว่า “โอ้ ท่านรสูล ความจริงข้าพเจ้าไม่มีคนจูงไปมัสยิด ข้าพเจ้าจะละหมาดที่บ้านได้หรือไม่” ท่านรสูลยอมผ่อนผันให้ให้แก่เขา แต่เมื่อเขาหันกลับไป ท่านได้เรียกเขาไว้แล้วถามว่า “ท่านได้ยินเสียงอาซานไหม?” ชายตาบอดตอบว่า “ได้ยินครับ” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจำเป็นต้องไปมัสยิด”
(บันทึกหะดิษโดย มุสลิม และ นาซาอี)
รายงานจากอบีอัด-ดัรดาอ์ จากท่านรสูลุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า “มีคนสามคนอยู่ในหมู่บ้าน หรือทะเลทราย โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำละหมาดร่วมกัน นอกจากชัยฏอนมารร้ายจะเข้าครอบงำพวกเขา ดังนั้นท่านจะต้องอยู่รวมกันเป็นญามาอะฮ์ เพราะแท้จริงหมาป่ามันจะกินแกะที่แตกฝูง”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด นาซาอี อะหฺมัด และฮากิม)

>>>การที่รสูลใช้ให้คนตาบอดให้ไปละหมาดญามาอะฮ์ที่มัสยิด ทั้งๆที่เขามีความยากลำบาก ย่อมแสดงว่าการละหมาดญามาอะฮ์ นั้นเป็นฟัรฎูอีน {ข้อบังคับทางศาสนาสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติ หากใครละทิ้ง (โดยไม่มีข้อยกเว้นทางศาสนา) ถือว่ามีความผิด} ตามทัศนะของอัครสาวกบางท่านและอะหฺมัด แต่การร่วมกันไม่ใช่เป็นเงื่อนไขในความ(ใช้ได้)ของละหมาด

ในทัศนะของอิมามมาลิก และอบูฮะนิฟะฮ์ และบางส่วนของนักวิชาการอิมามชาฟีอีถือว่าเป็นสุนัตมุอักกัต {ซุนนะฮ์มุอั๊กกัต คือ ซุนนะฮ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ปฎิบัติเป็นประจำไม่เคยละทิ้ง
นอกจากหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง}โดยอาศัยหลักฐานจากหะดิษ(การละหมาดรวมดีกว่าละหมาดคนเดียว) หลักฐานในทำนองนี้ถือว่าเป็นคำสั่งจริงจัง(ไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาด) เท่านั้น

ตามตัวบทที่ชัดเจนของอิมามชาฟีอีกล่าวว่าเป็นฟัรฎูกิฟายะฮ์{ข้อบังคับทางศาสนาสำหรับมุสลิมจะต้องปฏิบัติ แต่ทว่า หากมีมุสลิมคนใดทำแทน หรือมุสลิมบางกลุ่มทำแทนแล้ว มุสลิมคนอื่นๆ ถือว่าพ้นผิดไปด้วย} และเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่อีกด้วยจากเหล่าอัครสาวก"""
والسلام

กรณีที่เราไปไม่ทัน อิมามกำลังรุกูอฺ



กรณีที่เราไปไม่ทัน อิมามกำลังรุกูอฺ (ในนมาซเสียงค่อย) อยู่พอดี แต่เรายังไม่ได้อ่านฟาติหะฮฺ เช่นนี้ก็ให้เรารุกูอฺตามอิมาม เพราะอิมามถูกแต่งตั้งมาให้มะมูมตาม ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

إِنَّمَا جُعِلَ الإِمَامُ لِيُؤْتَمَّ بِهِ ، فَإِذَا كَبَّرَ فَكَبِّرُوا ، وَإِذَا رَكَعَ فَارْكَعُوا

"อิมามถูกแต่งตั้งมาเพื่อถูกให้ตาม ดังนั้นเมื่ออิมามตักบีรฺ พวกท่านจงตักบีรฺ และเมื่ออิมามรุกูอฺ พวกท่านก็จงรุกูอฺ" (บันทึกโดยบุคอรีย์)

ส่วนกรณีที่อิมามรุกูอฺอยู่ แต่เรายังอ่านฟาติหะฮฺใกล้จบก็ให้เราอ่านให้จบ แต่ถ้าอ่านฟาติหะฮฺให้จบแต่ไม่ทันอิมามรุกูอฺแน่ๆ หมายถึงอิมามต้องเงยขึ้นมาก่อน เช่นนี้ อ่านฟาติหะฮฺแค่ไหนก็เอาแค่นั้น แล้วให้ตักบีรฺลงรุกูอฺตามอิมามนั่นเองครับ. والله أعلم

ไม่ถือว่าเป็นการละหมาดที่สมบูรณ์หากไม่มีการอ่านฟาติหะฮฺ เว้นแต่จะยืนหลังอิมามและอ่านเสียงดัง



รายงานจากท่านอบูซุบัยร์ จากท่านญาบิรฺเล่าว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า "บุคคลใดที่มีอิมาม(นำละหมาด)เช่นนั้น การอ่านของอิมาม คือการอ่านของมะมูมด้วย"
(หะดิษหะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 840)

ท่านอุบาดะฮฺ บุตรของศอมิต เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า "ไม่ถือว่าเป็นการละหมาด(ที่สมบูรณ์) สำหรับบุคคลที่ไม่อ่านฟาติหะฮ์
(บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 717 , มุสลิม หะดิษเลขที่ 595)

รายงานจากท่านญาบิรฺ บุตรของอับดุลลอฮฺ กล่าวว่า "บุคคลใดที่ละหมาดหนึ่งร็อกอะฮ์โโยไม่อ่านฟาติหะฮ์ในร็อกอะฮฺนั้น เช่นนั้นถือว่าเขายังไม่ได้ละหมาด เว้นแต่เขาจะยืน(เป็นมะมูม)หลังอิมาม"
(บันทึกโดยมาลิก หะดิษเลขที่ 173)

>>>จากหะดิษบุคคลใดยืนละหมาดเพียงคนเดียว หรือยืนละหมาดหลังอิมามในเวลาที่อ่านเสียงค่อย (เช่นละหมาดอัศริ หรือในร็อกที่สาม ที่สี่) หรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นอิมาม บุคคลดังกล่าวถือว่าเป็นวาญิบ(จำเป็น) จะต้องอ่านฟาติหะฮฺ

สำหรับบุคคลยืนละหมาดหลังอิมามในเวลาที่อ่านเสียงดัง เมื่ออิมามอ่านฟาติหะฮฺมาถึงประโยคที่ว่า "ฆ็อยริลมัฆฎูบิ อะลัยฮิม วะลัฎฏ็อลลีน" ท่านรสูลสั่งใช้ให้มะมูมกล่าวอามีน โดยมะมูมไม่ต้องอ่านฟาติหะฮฺอีก และจงนิ่งฟังอิมามการอ่านอัลกุรอานของอิมาม
พระองค์อัลลอฮ์กล่าวว่า
“และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น ก็จงสดับฟังอัล-กุรอานนั้นเถิด และจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดูเมตตา”
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ 7:204)
والسلام

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นบีของเราเป็นมุสลิม ผมเป็นมุสลิม มุสลิมต้องเป็นหนึ่งเดียว




พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ... พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นมุสลิม(ผู้น้อมตาม)"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:64)
ท่านนบีมุฮัมหมัด ศ็อลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลฺลัม ได้เขียนจดหมายไปถึงกษัตริย์ และผู้ปกครองที่มิใช่มุสลิมเพื่อเชิญชวนคนเหล่านั้นให้เข้ารับอิสลาม ในจดหมายของท่าน ท่านได้เอ่ยข้อความจากอายะฮฺอัลกุรอานข้างต้น

:พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
" และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ และเขาปฏิบัติงานที่ดี และกล่าวว่า แท้จริงฉันคือมุสลิม(เป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้นอบน้อม)
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ ฟุศศิลัต 41:33)

:พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
"ครั้นเมื่ออีซารู้สึกว่ามีการปฏิเสธศรัทธาเกิดขึ้นในหมู่พวกเขา จึงได้กล่าวว่า ใครบ้างจะเป็นผู้ช่วยเหลือฉันไปสู่อัลลอฮ์บรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์ใจกล่าวว่า พวกเราคือผู้ช่วยเหลืออัลลอฮ์ พวกเราศรัทธาต่ออัลลอฮ์แล้ว และท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเรานั้น คือมุสลิม(ผู้น้อมตาม)"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:52)

:พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
"อิบรอฮีมไม่เคยเป็นยิวและไม่เคยเป็นคริสต์ แต่ทว่าเขาเป็นผู้หันออกจากความเท็จสู่ความจริง เป็นมุสลิม(ผู้น้อมตาม) และเขาก็ไม่เคยอยู่ในหมู่ผู้ให้มีภาคีขึ้น (แก่อัลลอฮ์)"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:67)

จากอายะฮ์อัลกุรอานข้างต้น
เมื่อใครถามมุสลิมว่า "คุรเป็นใคร? คำตอบที่ได้ก็คือ "ผมเป็นซุนนี" บางคนเรียกตัวเองว่า "พวกฮานาฟี" "ชาฟีอี" "มาลิกี" หรือ "ฮัมบะลี" บางคนคนเรียกตัวเองว่าผมเป็น "คณะเก่า" และเรียกอีกกลุ่มหนึ่งที่มีทัศนะเปรียกย่อยไม่เหมือนกับตนว่า "พวกคณะใหม่"
เราลองถามมุสลิมที่เรียกตัวเองเช่นนั้นก็ได้ว่า "ใครเป็นนบีของเรา? ท่านเป็นฮานาฟี" "ชาฟีอี" "มาลิกี" "ฮัมบะลี" "คณะเก่า" "คณะใหม่" ไม่เลย ท่านเป็นมุสลิมเหมือนท่านนบีและรสูลทั้งหมดก่อนหน้าท่าน
อัลกุรอานข้างต้นได้กล่าวว่า จงเรียกตัวเองว่ามุสลิม
ถ้ามุสลิมถามมุสลิมด้วยกันว่าคุณเป็นใคร เขาต้องตอบว่า "ผมเป็นมุสลิม"

;เราต้องเคารพนักวิชาการอิสลามผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนทั้งอิมามทั้งสี่ คือ อิมามอบูฮะนีฟะฮฺ อิมามชาฟีอี อิมามมาลิก และอิมามฮัมบัล นักวิชาการเหล่านี้เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ เราไม่คัดค้านใดถาใครบางคนเห็นด้วยกับทัศนะและการศึกษาของอิมามทั้งสี่ หากไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน และอัลหะดิษ แต่ถ้าทัศนะของนักวิชาการคนใดขัดแย้งกับวจนะของอัลลอฮฺหรือแบบอย่างคำสอนของท่านนบีมุหัมมัด ทัศนะเหล่านั้นก็ไม่มีน้ำหนักที่เราจะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่คำนึงว่านักวิชาการคนนั้นจะทรงความรู้มากมายเพียงใดก็ตาม

แต่เมื่อถูกถามว่าคุณเป็นใคร คำตอบต้องมีอย่างเดียวคือ "ผมเป็นมุสลิม"!!!!!!
والله أعلم

กรณีทีถือว่าบุคคลใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใดเขาก็เยี่ยงชนกลุ่มนั้น



รายงานจากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า “ผู้ใดที่เลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา” (บันทึกโดย อบู ดาวูด 3512, อัล-อัลบานีย์ให้หุก่มว่า หะสัน เศาะฮีหฺ ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3401)
จากหะดิษ
หมายความว่า มุสลิมไปเลียนแบบวัฒนธรรม, ประเพณีของประชาชาติอื่นในเรื่องของความเชื่อ และเลียนแบบประชาชาติอื่นในเรื่องค่านิยมที่สวนทางกับหลักการของอิสลาม
ตัวอย่างเช่น
-วัฒนธรรมไทยเชื่อว่า ก่อนออกจากบ้านมีจิ้กจงมาร้องทัก เช่นนี้ไม่ต้องออกจากบ้าน เพราะจะมีลางไม่ดี นี้เป็นวัฒนธรรม หรือค่านิยมที่สวนทางกับหลักการของอิสลาม ไม่อนุญาตให้เลียนแบบตามความเชื่อของประชาชาตินั้น
-ผู้หญิงไทยนิยมการตัดผมสั้นเหมือนทรงผมของผู้ชาย เช่นนี้ก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมะฮฺตัดผมสั้นเหมือนผู้ชายตามค่านิยมดังกล่าว เพราะถือว่าขัดกับหลักการของอิสลาม
-การจัดวันเกิด เป็นการกระทำของพวกยะฮูดี (ยิว) และนัศรอนี (คริสเตียน) เค้า ฉะนั้นมุสลิมจะไปนำแนวคิด หรือพฤติกรรมของพวกเขามาปฏิบัติไม่ได้
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

« لَيْسَ مِنَّا مَنْ تَشَبَّهَ بِغَيْرِنَا لاَ تَشَبَّهُوا بِالْيَهُودِ وَلاَ بِالنَّصَارَى

"ไม่ใช่พวกของเราบุคคลที่เลียนแบบอื่นจากพวกเรา ฉะนั้นพวกท่านจงอย่าเลียนแบบพวกยะฮูดี และนัศรอนีย์" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์)

--------->>>แต่ในกรณีไม่เกี่ยวกับความเชื่อที่ และเลียนแบบประชาชาติอื่นในเรื่องค่านิยมที่สวนทางกับหลักการของอิสลาม ก็ไม่ต้องห้าม
ตัวอย่างเช่น
-คนไทยนิยมรับประทานด้วยช้อนส้อม เพราะรับประทานได้หมดจาน เช่นนี้มุสลิมสามารถรับประทานอาหารด้วยช้อนส้อมได้เช่นกัน เพราะไม่ขัดกับหลักการของศาสนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น
-ผู้ชายมาเลเซียชอบใส่เสื้อประจำชาติของมาเลเซีย มุสลิมชายในมาเลเซียก็สวมใส่ชุดดังกล่าวได้เช่นกัน เพราะเสื้อผ้าดังกล่าวปกปิดเอาเราะฮฺ และไม่มีลวดลายที่ขัดกับหลักการของอิสลาม
-การสวมหมวกแก๊ป ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป เพื่อป้องกันแสงแดด ก็อนุญาตให้มุสลิมสวมใส่ด้วยเช่นกัน เพราะเพื่อป้องกันแสงแดดนั่นเอง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ไม่พื้นฐานจากความเชื่อ หรือไม่ใช่วัฒนธรรมที่ขัดกับหลักการของศาสนา เช่นนี้จึงไม่ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขของการเลียนแบบประชาชาติอื่น.......<<<
والله أعلم

นิสัยของเจ้าหมู




อัลกุรอานได้ระบุห้ามบริโภคเนื้อหมู ไว้ 4 แห่ง ด้วยกัน คือ 2:173 , 5:3 , 6:145 และ 16:115
"ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่ง-สัตว์ที่ตายเอง และ-เลือดและ-..เนื้อสุกร..และ-สัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ ที่มัน (ขณะเชือด) และ-สัตว์ที่ถูกรัดคอตายและสัตว์ที่ถูกตีตาย และ-สัตว์ที่ตกเหวตายและ-สัตว์ที่ถูกขวิดตายและ-สัตว์ที่สัตว์ร้ายกัดกิน นอกจากที่พวกเจ้าเชือดกันและ-สัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นหินบูชา...."(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 5:3)

<^^>"""...หมูเป็นหนึ่งในบรรดาสัตว์ที่สกปรกที่สุดบนโลก มันอาศัยอยู่ในสิ่งสกปรก และแม้กระทั้งในกองอุจจาระ มันเป็นตัวกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ดีที่สุดที่พระเจ้าทรงสร้างมา ในหมู่บ้านที่ไม่มีห้องส้วมสมัยใหม่ และชาวบ้านถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง ตัวกำจัด อุจจาระคือเจ้าหมูนี่เอง
บางคนอาจโต้แย้งว่าในประเทศที่ก้าวหน้าอย่างเช่น ออสเตรเลีย หมูได้รับการเลี้ยงดูสภาพที่สะอาด และถูกสุขอนามัย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หมูกูถูกเลี้ยงไว้ในคอกรวมกัน ไม่ว่าคุณพยายามจะเลี้ยงมันในสภาพที่สะอาดอย่างไร มันก็เป็นสัตว์สกปรกโโยธรรมชาติ มันกินแม้กระทั่งอุจจาระของมันเองและของตัวอื่น!!!(เรื่องนี้เคยได้ยินข่าวแว่วๆ วมีการฟัตวาว่า "หมูปัจจุบันเลี้ยงไว้ที่สะอาด รับประทานได้ แถวๆอินโดนะ แต่ถึงสะอาดอย่างไร ก็ไม่พ้นนิสัยของมันที่กินอุจจาระนั้นแหละ)

นอกจากนี้หมูเป็นสัตว์ที่ไร้ยางอายที่สุด มันเป็นสัตว์ประเภทเดียวที่เชิญชวนพวกมันให้มาร่วมเพศสัมพันธ์กับคู่ของมัน ในสหรัฐอเมริกา คนส่วนใหญ่กินเนื้อหมู หลายๆครั้งจากงานเลี้ยงเต้นรำ ผู้ร่วมงานเลี้ยงจะแลกเปลี่ยนภรรยากัน จะต่างอะไรกับเจ้าหมูครับเนี่ย!!!

และการกินเนื้อหมูก่อให้เกิดโรคหลายอย่าง การกินเนื้อหมูทำให้เกิดโรคไม่น้อยกว่า 70 โรค โดยเฉพาะพยาธิชนิดต่างๆ

ไม่อนุญาตให้ละหมาดรวมก่อนการเดินทาง




กรณีผู้ที่ตั้งใจจะเดินทาง(คือยังอยู่ในบ้านแต่ยังไม่ออกเดินทาง) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงเวลาซุฮริ ซึ่งถ้าหากถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ก็จะเข้าเวลามัฆริบและจะไม่ทันละหมาดอัศริ กรณีดังกล่าว อิสลามไม่อนุญาตให้ผู้ที่ตั้งเจตนาจะเดินทางละหมาดรวมไม่ว่าจะเป็นอัศริกับซุฮริ หรืออิชาอฺกับมัฆริบ ตราบใดที่เขายังอยู่ในบ้าน และยังมิได้ออกเดินทาง เพราะการทำละหมาด ขณะอยู่บ้านโดยมิได้ออกเดินทางอไม่ได้อยู่ในข่ายที่ผ่อนผันให้ละหมาดรวมได้ ก็ต่อเมื่อเขาห่างไกลจากที่พำนักตามระยะทางที่อิสลามได้กำหนดไว้แล้วเท่านั้น

ตามหลักฐานหะดิษต่อไปนี้ ท่านรสูลได้รวมละหมาดขณะพำนักในระหว่างเดินทาง
รายงานจากท่านมุอาซเล่าว่า “ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺออกสงครามตะบูก ครั้นเมื่อดวงอาทิตย์คล้อย ก่อนที่ท่านรสูลจะออกเดินทาง ท่านจะละหมาดซุฮฺริและอัศริรวมกัน และเมื่อท่านรสูลออกเดินทาง(ออกจากที่พักในระหว่างเดินทาง)ก่อนดวงอาทิตย์คล้อย ท่านรสูลจะละหมาดซุฮริล่าออกไปจนกระทั้งเข้าเวลาละหมาดอัศริ”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1022)
والله أعلم

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญเจ็ดวัน


การอ้างหลักฐานหนึ่งเพื่อบ่งชี้ให้ทำบุญแก่ผู้ตายในช่วง 7 วัน (แต่ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ให้ทำบุญแก่ผู้ตายในช่วง 40 วัน หรือ 100 วัน) โดยอ้างว่าท่านสุฟยาน(เป็นชาวกูฟะฮฺ เกิด ปี ฮ.ศ.97) เล่าว่า ท่านฏอวุส(เป็นชาวเยเมน เสียชีวิต ปี ฮ.ศ.106) กล่าวว่า

: إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام  " แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกลงโทษในกุบูรของพวกเขา ในช่วง 7 วัน และปรากฏว่าบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะให้แจกจ่ายอาหาร(ทำเศาะดาเกาะฮฺ)แทนบรรดาผู้ตายในช่วงเจ็ดวันดังกล่าว"
(จากหนังสือ “ปัญหาขัดแย้งทางสาสนา เล่ม 1 หน้า 26)

ขอชี้แจงตามประเด็นดังนี้

.-ท่านฏอวุส บุตรของกัยสาน อัลยะมานีย์ อบู อับดุรฺเราะหฺมาน อัลหุมัยรีย์ เขาอยู่ในฐานะตาบีอีน(หมายถึงบุคคลที่พบเศาะหาบะฮฺในสภาพที่เป็นมุสลิม และตายในสภาพของผู้นับถือศาสนาอิสลาม)
เป็นบุคคลที่เชื่อถือได้และเข้าใจสาสนาเป็นอย่างดี ทันพบปะกับเศาะหาบะฮ์จำนวนมากร่วม  50  ท่าน เขาทำอัจญ์ประมาณ 40 ครั้ง สิ้นชีวิต ในปี ฮ.ศ.106 ณ เมืองมักกะฮฺ, 
(แต่ปีที่ท่านสิ้นชีวิตยังมีความขัดแย้งกัน ดังนี้
ท่านอิบนุ สะอฺด์ (สะอัด) กล่าวว่า ..  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตเมื่อปี ฮ.ศ. 90 กว่าๆ …
ท่านอิบนุหิบบานกล่าวว่า ..  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  101
ท่านอิบนุเชาศับ (إبن شوذب) กล่าวว่า .ฉันไปร่วมในพิธีศพของท่านฏอวูสที่มักกะฮ์เมื่อปี ฮ.ศ.  100
ท่านอัมรฺ บิน อะลีย์ และบางคนกล่าวว่า  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.  106
ท่านอัล-ฮัยษัม บิน อะดีย์กล่าวว่า  ท่านฏอวูสสิ้นชีวิตเมื่อเกือบๆ ฮ.ศ. 110
(โปรดดูหนังสือ  “อัล-หาวีย์ ลิล ฟะตาวีย์”  ของท่านอัซ-สะยูฏีย์  เล่มที่ 2  หน้า  317,   และหนังสือ  “ตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ”  ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์  เล่มที่  5  หน้า  9))
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.-หะดิษข้างต้นเป็นหะดิษมักฏูอฺ หะดิษมักฏูอฺหมายถึง “หะดิษที่อ้างถึงตาบิอีย์ หรือตาบิอิตตาบิอีย์(บุคคลที่ท่านตาบิอีย์ แต่ไม่ทันเศาะหาบะฮฺ) และบุคคลอื่นจากเขา (คืออื่นจากตาบิอิตตาบิอีย์) ระบุเป็นคำพูดหรือการกระทำ”(หนังสือ “ตัยสีรฺ มุศเฏาะละหิล หะดิษ” หน้า 133)

ส่วนหุกุมของหะดิษมักฏูฮฺ คือ หะดิษมักฏูอฺไม่อนุญาตให้นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติทางศาสนา ถึงแม้ว่าการกล่าวอ้างหะดิษถึงผู้พูดจะถูกต้องก็ตาม เพราะถือว่าเป็นคำพูด หรือการกระทำของมุสลิมคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น (หนังสือ “ตัยสีรฺ มุศเฏาะละหิล หะดิษ” หน้า 134)

ท่านอิหม่ามนะวะวีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “อัล-มัจญมั๊วะอฺ”  เล่มที่  1  หน้า  60   และในหนังสือ  “ชัรฺหุ มุสลิม”  เล่มที่  1  หน้า  31  ว่า …
قَالَ الْغَزَالِىُّ  :  وَأَمَّا قَوْلُ التَّابِعِىِّ  :  كَانُوْا يَفْعَلُوْنَ ..  فَلاَ يَدُلُّ عَلَى فِعْلِ جَمِيْعِ اْلاُمَّةِ،  بَلْعَلَى الْبَعْضِ  فَلاَ حُجَّةَ فِيْهِ ….
“ท่านอัล-ฆอซาลีย์กล่าวว่า   อนึ่ง คำพูดของตาบิอีนที่ว่า   “พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) กระทำกัน (อย่างนั้นๆ)” ..   คำพูดนี้ไม่ได้แสดงว่า เป็นการกระทำของเศาะหาบะฮ์ทั้งหมด  ทว่า,  มันเป็นเพียงการกระทำของเศาะหาบะฮ์บางท่านเท่านั้น  ดังนั้น ในคำพูดดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นหลักฐานใดๆทั้งสิ้น ……..” 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

-หะดิษของท่านฏอวุสยังมีการโต้แย้งอยู่ว่ามีสายสืบที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะท่านสุฟยาน เป็นชาวกุฟะฮฺ เกิดในปี ฮ.ศ.97 ส่วนท่านฏอวุสผู้รายงาน เป็นชาวเยเมน เสียชีวิต ปี ฮ.ศ.106 ตามทัศนะที่มีน้ำหนักและถูกต้องดังคำยืนยันของอัซซะฮะบีและอัลหาฟิซอิบนุหะญัร โอกาสที่สุฟยานจะพบเจอกับฏอวูสนั้นอยู่ในช่วงอายุเพียง 9  ปีเป็นอย่างมากเท่านั้น และท่านฏอวูสผู้รายงานเป็นชาวเยเมน ในขณะที่สุฟยานผู้รับรายงานเป็นชาวกูฟะฮฺ (เมืองหนึ่งในประเทศอีรัก) ซึ่งท่านอบูนุอิม และท่านอื่น ๆ ต่างระบุว่าสุฟยานเริ่มเดินทางออกจากเมืองกูฟะฮฺเมื่อปี ฮ.ศ.150 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ฏอวูสได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 40 กว่าปี สายรายงานของท่านซุฟยานนี้  ก็ไม่มีสายรายงานมาสนับสนุนในการยืนยันว่า  ถ้อยคำที่ชี้ถึงการได้ยินหะดิษนี้ของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูส ซึ่งคำอ้างของอิมามสะยูฏีเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น
 ท่านอัซ-สะยูฏีย์  จึงกล่าวยอมรับในหนังสือ  “อัล-หาวีย์ ลิล ฟะตาวีย์”  เล่มที่  2  หน้า  317  ว่า …
أَنَّ أَكْثَرَرِوَايَتِهِ عَنْهُ  بِوَاسِطَةٍ
“ที่จริง  รายงานของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์จากท่านฏอวูส  ที่มากที่สุดก็คือ จะต้องผ่าน “สื่อกลาง” จากผู้อื่นอีกทีหนึ่ง
จากการบันทึกประวัติท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์ ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 4 หน้า 99,.. และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในหนังสือ  “ซิยัรฺ อะอฺลามินนุบะลาอ์”  เล่มที่  7  หน้า  175-177  ซึ่งได้ตีแผ่รายนาม “شُيُوْخٌ” คือ  “ครู”  หรือผู้ที่ถ่ายทอดหะดีษให้แก่ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์เป็นจำนวนหลายร้อยคนนั้น   ไม่ปรากฏมีชื่อของท่านฏอวูส บินกัยซานว่าเป็น “ครู” ของท่านซุฟยานรวมอยู่ด้วยเลย
ในทำนองเดียวกัน  ในการบันทึกประวัติของท่านฏอวูส บิน กัยซาน ในหนังสือ  “อัต-ตะฮ์ซีบ”  เล่มที่  5  หน้า  9 . ท่านอิบนุหะญัรฺได้ระบุรายนาม  “تَلاَ مِيْذُ”  หรือศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดหะดีษจากท่านฏอวูส เป็นจำนวนมากมายหลายสิบคน   แต่ในจำนวนบุคคลดังกล่าวนี้  ก็ไม่ปรากฏมีชื่อของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์ ว่า  เป็นศิษย์ที่ได้รายงานหะดีษมาจากท่านฏอวูสเลยเช่นเดียวกัน
นี่จึงเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งว่า  ท่านซูฟยาน อัษ-เษารีย์  ไม่เคยได้รับฟังหะดีษบทใดมาจากท่านฏอวูส บิน กัยซานโดยตรง

ในส่วนของท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์  แม้ว่า ท่านจะได้รับความเชื่อถืออย่างสูงส่งขนาดไหนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ  มี  “บ่อยครั้ง”  ที่ท่านรายงานหะดีษในลักษณะ “มั่วนิ่ม” หรือตัดลีซ, และ  “บางครั้ง”   การ  “ตัดลีซ” ของท่าน ก็ยังเป็นการ  “อำพราง”  นามผู้รายงานหะดีษให้แก่ท่าน ที่เป็นคนที่ขาดความเชื่อถือ โดยการระบุนามผู้ที่เชื่อถือได้แทน    ดังคำกล่าวของท่าน มิซฟิรฺ บิน ฆ็อรฺมิลลาฮ์ ในหนังสือ  “อัต-ตัดลีซ ฟิล หะดีษ”  หน้า  266
“ซึ่งหะดีษเรื่องการที่เศาะหาบะฮ์บริจาคอาหารแทนผู้ตายในเจ็ดวันข้างต้น  ผมมั่นใจว่า  น่าจะจัดอยู่ในกรณีนี้”  คือ ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์อาจได้รับฟังหะดีษนี้จากผู้รายงานคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งไม่รู้ว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่)  แต่ท่านก็มิได้ระบุนามของบุคคลผู้นั้นในสายรายงาน ทว่า ท่านกลับกล่าวว่า .. قَالَ طَاوُوْسٌ .. คือ “ท่านฏอวูสกล่าวว่า …..”  อันเป็นคำพูดที่คลุมเครือ  เพราะไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า ท่านฏอวูสกล่าวกับท่านเองหรือกล่าวกับใคร? … ซึ่งการรายงานในลักษณะนี้ ถือว่า เป็นการรายงานในลักษณะตัดลิซหรือแสร้งมั่วนิ่ม  ตามหลักวิชาการ  หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเฎาะอีฟเพราะสายรายงานขาดตอน ระหว่างท่านฎอวูสกับท่านซุฟยาน  จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้


 !!แต่ฝ่ายที่สนับสนุนให้กินบุญบ้านคนตาย อ้าว่า การเสียชีวิตของท่านฏอวูส  บางรายงานว่าปีเสียชีวิต เป็นปี ฮ.ศ. 106  บ้างก็รายงานว่าเสียชีวิต ปี ฮ.ศ.113  ขึ้นไปจนถึงปีฮ.ศ. 120 ฝ่ายนี้จึงยึดทัศนะปีเสียชีวิต 113 - 120 ของ ฮ.ศ.  เพื่อให้ท่านซุฟยาน อายุ 16 - 23  และถึงแม้ท่านฏอวุสเสียชีวิต ปี ฮ.ศ.97 ซึ่งขณะนั้นท่านสุฟยาน อายุเพียง 9 ขวบก็ตาม เด็ก 9 ขวบ ก็รับหะดิษได้แล้ว แม้เด็กอายุ 5 ขวบก็สามารถได้ยินหะดิษได้  เพราะอายุ 5 ขวบนั้น ถือว่ารู้เดียงสาแล้ว และยืนยันว่า ในการที่จะมีโอกาสพบท่านฏอวูส ท่านซุฟยานกับท่านฏอวูส  มีสิทธิ์ที่จะได้เจอกัน   เพราะไม่มีหลักฐานใดมายืนยันว่าทั้งสองเป็นไปไม่ได้ที่จะได้เจอ  ทั้งสองก็อยู่ในสมัยเดียวกัน แม้เมืองกูฟะฮ์จะห่างกับเมืองเยเมนมากก็ตาม 


>>>แต่ถึงแม้ว่าฝ่ายที่ว่าหะดิษของท่านฏอวุสมรสายสืบที่ถูกต้อง แต่เนื้อหาของหะดิษนั้นขัดกับหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ ดังนี้

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อผู้ตาย(มัยยิต) ถูกฝัง มะลักสองท่านมายังเขา ทั้งสองผิวดำ ดวงตาของเขาทั้งสองสีน้ำเงิน ชื่อบุคคลหนึ่งจากทั้งสองคือ มุงกัรฺ อีกท่านหนึ่งชื่อนะกีรฺ ทั้งสองกล่าวแก่ผู้ตายว่า “ท่านจะกล่าวอย่างไรกับชายคนหนึ่ง(ที่ชื่อมุหัมมัด) ผู้ตายกล่าวตอบว่า “เขาคือบ่าวของพระองค์อัลลอฮ์ และเป็นศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภัคดี นอกจากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น และขอปฏิญาณตนว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ มะลักทั้งสองกล่าวว่า ฉันรู้แล้วว่าท่านจะต้องกล่าวเช่นนี้ จากนั้นหลุมศพของเขาก็ขยายกว้างถึงเจ็ดสิบศอก และยาวเจ็ดสิบศอก และยังมีรัศมีอยู่ในหลุมศพของเขา แล้วมีเสียงกล่าวแก่ผู้ตายว่า ท่านจงนอนเถิด ผู้ตายตอบว่า ฉันต้องการกลับไปยังครอบครัวของฉันเพื่อที่จะบอกข่าวดีให้แก่พวกท่าน (ว่าอยู่ในกุบูรฺมีความสุขสบาย ไม่ถูกลงโทษ) มะลักทั้งสองกล่าวว่า  ท่านจงนอนหลับเฉกเช่นการนอนหลับ(ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว) ในคืนแรกเถิด ซึ่งจะไม่มีผู้ใดปลุกเขา นอกจากบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งสำหรับครอบครัวของเขา (เป็นการเปรียบเทียบถึงความสุขที่เกิดขึ้นในคืนแรก) จนกระทั้งพระองค์อัลลอฮฺให้เขาฟื้นขึ้นจากที่นอนของเขา(หมายถึงวันกิยามะฮฺ) ส่วนผู้ตายเป็นมุนาฟิก เขาจะกล่าวว่า ฉันได้ยินผู้ศรัทธากล่าวอย่างนั้น แนก็กล่าวเช่นนั้นด้วย (ได้ยินผู้ศรัทธากล่าวว่า มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ฉันก็กล่าวเช่นนั้นด้วย) ที่จริงแนไม่รู้ มะลักทั้งสองกล่าวว่า ฉันนึกแล้วว่าท่านต้องกล่าวเช่นนี้ จากนั้นจึงมีเสียงกล่าวแก่แผ่นดินว่า เจาจงบีบรัดเขาเถิด และแผ่นดินก็รัดเขาจนกระทั้งซี่โครงประสานกัน และเขายังคงถูกลงโทษเช่นนั้นในกุบูรฺจนกระทั้ง พระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้เขาฟื้นขึ้นจากที่นอนของเขา (หมายถึงวันกิยามะฮฺ)”
(บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดิษเลขที่ 1081) และอิบนุ หิบบาน หะดิษเลขที่ 117)

หะดิษข้างต้นท่านรสูล กล่าวว่า ภายหลังการสอบสวนเสร็จแล้ว หากตอบคำถามของมลาอิกะฮฺได้ กุบูรฺของเขาจะกว้างและยาว 70 ศอก อีกทั้งยังมีรัสมีในกุบูรฺของเขา และคงสภาพนั้นจนกระทั้งวันกิยามะฮฺ และหากผู้ตายไม่สามารถตอบคำถามได้ในกุบูรฺได้ แผ่นดินจะบีบรัดจนซี่โครงประสานกัน และคงสภาพนั้นตราบจนวันกิยามะฮฺ ส่วนท่านฏอวุสกล่าวว่า ผู้ตายจะถูกลงโทษในช่วง 7 วันเท่านั้น ไม่ใช่ถูกลงโทษจนกระทั้งวันกิยามะฮฺ ซึ่งไม่ตรงกับหะดิษที่ท่านรสูลกล่าวเอาไว้

และจากหะดิษข้างต้น ยังกล่าวถึงหลักความเชื่อของมุสลิมที่ว่า วิญญาณของผู้ตายจะไม่สามารถกลับมายังบ้านของเขาโดยเด็ดขาด ดั่งสำนวนหะดิษที่ว่า “แล้วมีเสียงกล่าวแก่ผู้ตายว่า ท่านจงนอนเถิด ผู้ตายตอบว่า ฉันต้องการกลับไปยังครอบครัวของฉันเพื่อที่จะบอกข่าวดีให้แก่พวกท่าน (ว่าอยู่ในกุบูรฺมีความสุขสบาย ไม่ถูกลงโทษ) มะลักทั้งสองกล่าวว่า  ท่านจงนอนหลับเฉกเช่นการนอนหลับ(ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว) ในคืนแรกเถิด”
ส่วนกรณีที่มีมีกล่าวว่าอ้างว่า “ดวงวิญาณของผู้ตาย จะมาเยือนบ้านของเขาในคืนวันศุกร์ มาดูครอบครัวของเขา หากว่าคนในครอบครัวของเขาทำความดี ดวงวิญาญาณก็จะขอดุอาอ์และดีใจ แต่หากครอบครัวของเขาทำชั้ว เขาก็ขอดุอาอ์ให้ร้าย และจะมีความเศร้าโศกเสียใจ เพราะฉะนั้นที่ดีแล้วควรให้อาหารแทนผู้ล่วงลับ(ทำบุญ) หรือทำเศาะดะเกาะฮฺให้ในคืนวันศุกร์ที่บ้านผู้ตาย”
(หนังสือ “ปัยหาขัดแย้งทางศาสนา เล่ม 1 หน้า 24)
จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับหะดิษของท่านรสูลอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งไม่มีข้อมูลแห่งความเป็นจริงเลยแม้แต่น้อย
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-ท่านรสูล กล่าวว่า ส่งเสริมให้เพื่อนบ้านหรือญาติใกล้ชิดปรุงอาหารไปให้ครอบครัวของผู้ตาย เพราะพวกเขากำลังเศร้าโศกเสียใจ
จากท่านญะอฺฟัรฺ บุตรของคอลิด จากพ่อของเขา จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของยะอฺฟัรฺ(เกิดที่ดินแดนหะบะชะฮฺ สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. ที่ 80) เล่าว่า เมื่อข่าวการสิ้นชีวิตของท่านญะอฺฟัรฺรู้ถึงท่านรสูลุลลอฮ์ ท่านรสูล กล่าวว่า “พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอฺฟัรเถิด เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก (หมายถึงความเศร้าโศกเสียใจ) มาประสบกับพวกเขา”
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3130 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 998 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , อิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1610 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย , หากิม หะดิษเลขที่ 1377 บทว่าด้วยญะนาวะฮฺ , อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 1754 อบูยะอฺลา หะดิษเลขที่ 6801 อับดุรฺเราะซาก หะดิษเลขที่ 6670 บทว่าด้วยการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย บัยหะกีย์ หะดิษเลขที่ 7197 บทว่าด้วยการจัดเตรียมอาหารอาหารให้แก่ครอบครัวของผู้ตาย และดารุ กุฏนีย์ หะดิษเลขที่ 11 บทว่าด้วยญะนาวะฮฺ)

ส่วนท่านฏอวุสกล่าวว่า พวกเขาชอบที่จะให้แจกจ่ายอาหารภายในเจ็ดวัน ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับสุนนะฮฺของท่านรสูลโดยสิ้นเชิง เพราะท่านรสูลมิได้สั่งใช้ให้แจกจ่ายอาหารแก่ผู้คนทั่วไป แต่ให้ทำอาหารไปให้ เฉพาะครอบครัวของผู้ตายเท่านั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-หะดิษของท่านฏอวุสในประโยคที่ว่า “ปรากฏว่าพวกเขาชอบที่จะให้พวกเขาแจกจ่ายอาหารในช่วงเจ็ดวันดังกล่าว” โดยอธิบายคำว่า “พวกเขา” หมายถึง เศาะหะบะฮฺ

ส่วนหะดิษของท่านญะรีรฺ บุตรของอับดุลลอฮฺ อัลบะญะลีย์ กล่าวว่า

كُنَّا نَعُدُّ اْلإِجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ  وَصُنْعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنَ النِّيَاحَةِ

 “พวกเราถือว่าการรวมตัวกันยังบ้านผู้ตายและทำอาหาร(ที่บ้านของผู้ตายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮฺ”(นิยาหะฮฺ หมายถึงการแสดงอาการเศร้าโศกเสียใจ เช่นการตีอกชกหัว ฉีกเสื้อผ้า ตีโพยตีพาย ครวญคราง ขีดขวนใบหน้าเสมือนคนขาดสติ ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในอิสลาม){บันทึกหะดิษโดยอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1612 บทว่าด้วย ห้ามการร่วมชุมนุมกันที่บ้านของผู้ตาย และทำอาหาร(ที่บ้านผู้ตาย) และท่านอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 6866)

สำนวนที่ว่า “พวกเรา” คือการลงความเห็นของบรรดาเศาะหะบะฮฺ

>>>นี้คือสิ่งที่ขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัดระหว่างหะดิษของท่านฏอวุส ซึ่งอยู่ในฐานะตาบิอีน ซึ่งมีการอธิบายว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺชอบให้ทำบุญเลี้ยงเลี้ยงเจ็ดวัน กับหะดิษของท่านญาบิรฺ ซึ่งอยู่ในฐานะเศาะหะบะฮฺกล่าวว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺห้ามรับประทานอาหารบ้านผู้ตาย เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮฺ หรือห้ามกระทำนั้นเอง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ยังสนับสนุนให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือญาติใกล้ชิดของผู้ตายทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย
อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า “ฉันชอบให้เพื่อนบ้านของผู้เสียชีวิตหรือผู้เป็นเครือญาติของผู้เสียชีวิตทำอาหารที่ให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้อิ่มในวันและค่ำคืนที่เขาเสียชีวิตลง เพราะแท้จริงสิ่งดังกล่าวเป็นซุนนะฮฺและเป็นการรำลึกที่ประเสริฐ และเป็นการปฏิบัติของเหล่าชนแห่งความดีทั้งก่อนและหลังพวกเรา ทั้งนี้เพราะเมื่อมีข่าวการเสียชีวิตของท่านญะอฺฟัร  มาถึงท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็กล่าวว่า : "พวกท่านทั้งหลายจงทำอาหารแก่ครอบครัวของญะอฺฟัรเถิด เพราะแท้จริงได้มีเรื่องราวที่ทำให้พวกเขาต้องยุ่ง (สาละวน) มายังพวกเขา"
(บันทึกโดยอบูดาวูด ในบทอัลญะนาอิซฺ (3132), อัตติรมิซียฺ ใน "อัลญะนาอิซฺ" (998) และอิบนุมาญะฮฺ ใน "อัลญะนาอิซฺ" (1610) (จากตำราเมาซูอะฮฺ อัลอิหม่าม อัชชาฟิอีย์ ; อัลกิตาบอัลอุมฺม์ ; ด๊ารฺกุตัยบะฮฺ เล่มที่ 3 หน้า 416-417 หนังสือตุหฺฟะตุล อะหฺวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 38 และหนังสือ มิรฺกอตุลมะฟาตีหฺ เล่ม 4 หน้า 223)
!!!สิ่งที่ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) ระบุว่าเป็นสิ่งที่ท่านชอบให้กระทำเพราะเป็นซุนนะฮฺอันประเสริฐเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าและส่วนใหญ่ในบ้านเราตามทัศนะท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จำต้องช่วยกันรณรงค์ฟื้นฟูซุนนะฮฺข้อนี้ซึ่งจวนเจียนจะจางหายไปจากสังคมบ้านเราอยู่รอมร่อ

และท่านอิหม่ามชาฟีอีและท่านอิหม่ามมาลิก ท่านทั้งสองก็มีทรรศนะ ที่ว่า อิบะดะฮ์เกี่ยวกับร่างกายอย่างเดียว เช่น ละหมาด การถือสิลอด และการอ่านอัลกุรฺอาน ผลบุญของอิบาดะฮ์นี้ไม่ถึงผู้ตาย ต่างกับอิบาดะฮ์อื่นๆ เช่นอิบาดะฮ์ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างเดียว เช่นซะกาตและการทำวอดาเกาะฮ์ หรืออิบาดะฮ์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายกับทรัพย์สิน เช่น ฮัจญ์ ผลบุญของอิบาดะฮ์ประเภทนีจะถึงผู้ตาย(ซึ่งมีหลักฐานหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์ยืนยันชัดเจน)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

.-คำว่า  “นำอาหารไปบริจาค”  กับคำว่า  “เลี้ยงอาหารที่บ้าน”  มี  “วิธีการ และหุก่ม”  ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย  แตกต่างกัน,  ซึ่งหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือมองข้ามไปก็ได้

กล่าวคือ วิธีแรก    หมายถึง   “การนำอาหารไปบริจาคให้แก่ผู้รับอันเป็นคนยากจน”   วิธีการอย่างนี้ ไม่มีข้อขัดแย้งกันแต่ประการใดว่า  ทายาทของผู้ตาย  สามารถปฏิบัติแทนผู้ตายได้ เพราะมันคือการเศาะดะเกาะฮ์หรือการบริจาค,    จะเศาะดะเกาะฮ์ด้วยเงิน,  สิ่งของ,  อาหาร หรืออะไรก็ได้ . แทนให้แก่ผู้ตาย,    ทั้งนี้ เพราะมีหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้องซึ่งบันทึกโดยท่านบุคอรีย์   หะดีษที่  1388  และท่านมุสลิม  หะดีษที่  51/1004  มายืนยันไว้

ส่วนวิธีที่สอง คือ  “การเลี้ยงอาหารที่บ้านผู้ตาย”  ประเด็นนี้แหละคือ ปัญหาที่นักวิชาการทั้ง 4 มัษฮับเห็นพ้องกันว่า  เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ  แต่ขณะเดียวกัน กลับมีผู้รู้บางท่านกำลังพยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านประเภท  “อะวาม”  คือชาวบ้านทั่วๆไป ปฏิบัติกัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สรุป
>>>การทำบุญ 7 วัน 40 วัน และ  100 วัน ให้แก่ผู้ตายนั้นไม่มีรูปแบบฉบับและไม่พบหลักฐานที่เศาะเอียะฮฺ จากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ว่าจากคำสอน การกระทำ หรือการยอมรับในเรื่องดังกล่าว
 >>>ไม่พบแบบฉบับของท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ ท่านอุสมาน , ท่านอาลี และบรรดาเศาะหะบะฮฺท่านอื่นๆ
 >>>ไม่พบคำสอนหรือทัศนะบรรดาอิหม่ามในมัซฮับต่างๆ และบรรดานักวิชาการท่านอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้กระทำเช่นนั้น ยกเว้นท่านอิบนุ กุดามะฮฺ ที่มีทัศนะว่า “ถ้ามีความจำเป็นในเรื่องดังกล่าวก้อนุญาต เพราะบางทีผู้มาร่วมงานศพ มาจากต่างหมู่บ้านหรือสถานที่ไกลๆ และค้างคืน ณ ที่พวกเขา พวกเขาไม่มีทางเลี่ยงนอกจากต้องรับรองเขาในบานะแขก”(หนังสือฟิกฮุสสุนะฮฺ เล่ม 1 หน้า 508)
แม้ว่าท่านท่านอิบนุกุดามะฮฺ จะมีทัศนะดังกล่าว แต่ก็มีเงื่อนไขที่จำเป็นและหลีกหลี่ยงไม่ได้จริงๆ  และขณะจะรับประทานอาหารที่บ้านผู้ตาย ต้องไม่มีพิธีกรรมอันประกอบไปด้วยการอ่านและขอดุอาอ์ อย่างที่พบเห็นกันในปัจจุบันแต่อย่างใด

والله أعلم

ไม่ใช่ของคนหนึ่งหรือกลุ่มใดแม้แต่ท่านนบีมูฮัมหมัด



อัลลอิสลามมิได้เป็นศาสนาของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ มิได้เป็นศาสนาที่ใครจะแอบอ้างหรือทึกทักเอามาเป็นของตัวเอง หรือจะอ้างสิทธิในการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติม เพราะอัลอิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงกล่าวว่า
"แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮ์นั้นคือ อัลอิสลาม...."(อัลกุรอานซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 3:19)

ฉะนั้นคนที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่า "มุสลิม" จึงมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามคำสอน โดยไม่มีหน้าที่ไปคิดค้น แก้ไข เปลี่ยนแปลงในเรื่องศาสนา แม้กระทั้งท่านนบีมูฮัมหมัดเองก็ตาม ถึงท่านจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต แต่ท่านก็มีหน้าที่ในการประกาศและปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ถูกบัญชามายังท่านเท่านั้น

พระองค์อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า
"จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้เป็นคนแรกในบรรดาร่อซูล และฉันไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่ฉันและแก่พวกท่าน ฉันมิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ถูกวะฮียฺให้แก่ฉัน และฉันมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นผู้ตักเตือนอันชัดแจ้ง"(อัลกุรอานซูเราะฮฺ อัลอะฮฺก็อฟ 46:9)

จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ที่บางคนเรียกขานศาสนาอิสลามว่า "ศาสนมะหะหมัด" หรือ"ศาสนาพระมะหะหมัด" เพราะท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม เป็นผู้ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งให้ประกาศศาสนาเท่านั้น ท่านมิได้ตรัสรู้เรื่องของศาสนาอิสลาม เพราะการตรัสรู้นั้นก็คือ การรู้ด้วยปัญญา แต่อิสลามมาด้วย "วะฮีย์" والسلام

ชีวิตรันทดของนกนางแอ่นกับการเห็นแก่ได้ของมนุษย์


ชีวิตรันทดของนกนางแอ่นกับการเห็นแก่ได้ของมนุษย์

ก่อนอื่นของยกหลักฐานกรณีที่อิสลามห้ามการทรมานสัตว์

ท่านรสูลกล่าวว่า“หญิงนางหนึ่งต้องเข้านรกเพราะทรมานแมวตัวหนึ่งด้วยการจับขังและไม่ให้อาหารมัน จนกระทั่งแมวตัวนั้นตายเพราะความหิว”
( รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

ท่านรสูลกล่าวว่า“ใครก็ตามที่ฆ่านกตัวหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์ นกตัวนั้นจะร้องตะโกนประท้วงในวันกิยามะฮ์ พร้อมกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ชายคนนั้นได้ฆ่าฉันโดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด เขาฆ่าฉันโดยมิได้หวังประโยชน์อันใดจากฉันเลย”
(โดยอันนะสาอีย์และอิบนุหิบบาน)

>>>>>อ่านจบแล้ว ยังอยากจะกินรังนกกันอีกหรือไม่ แล้วแต่ใจของคุณ นึกไปถึงหูฉลามอีกอย่างนึง กว่าจะได้มาก็ทารุณไม่แพ้กันเลย.....


หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของอาหารเชิงยาที่เรียกว่ารังนกนางแอ่น เป็นที่รู้กันดีว่านกนางแอ่นนั้น เป็นนกเล็กตัวเท่านกกระจอก มีความน่ารักตรงที่เมื่อจะวางไข่จะจับคู่สร้างรัง และมีความน่าอัศจรรย์คือ
จะสร้างรัง โดยการถุยน้ำลาย หรือขากเสลดออกมา ลองนึกภาพว่าถ้าเราต้องถุยน้ำลายและขากเสลดจนเป็นห้องให้เราเข้าไปพักได้มัน เหงือกแห้งและเจ็บคอแค่ไหน แต่แล้วมนุษย์ตัวใหญ่สมองดี ก็ได้ไปแคะทำลายรังมันออกมาเอามาต้มกิน กล่าวคือกินคราบน้ำลายเสลดแห้งๆของนกเพื่อสุขภาพดี สวยและไม่แก่(ดังโคตรสะนาที่เราเห็นกัน)


แต่จะมีกี่คนที่ทราบว่า รังที่ดี(เพื่อการกิน)คือรังที่ทำเสร็จใหม่ๆ เพราะนกยังไม่เข้าไปออกไข่และกกไข่ ดังนั้นจะสะอาด ไม่มีเศษขนเศษมูล และจะมีซักกี่คนที่จะรู้ว่าในหมู่ผู้นิยมกินรังนก นั่นยังไม่ใช่รังนกที่ดีที่สุด รังนกที่ดีที่สุดคือรังนกเกรดเลือด รังนกเกรดเลือดจะมีราคาแพงมาก เพราะรังนกนั้นจะเจือสีแดงของเลือดนก ถามว่าทำไมและคืออะไร


เรื่องโหดได้เริ่มที่ เมื่อนกพ่อแม่ รู้ว่าตัวแม่กำลังจะวางไข่นกจะขากถุยออกมาทำรังจนได้รังมาเรียกว่าเมื่อเมียท้องก็รีบสร้างบ้านเพื่อครอบครัว แต่แล้วก็มีคนมาขโมยรังมันไปหน้าด้านๆ นกเหล่านี้ไม่อาจจะไปเรียกร้องตำรวจมาจับขโมยได้ แต่ก้มหน้าขากถุยใหม่ทำรังต่อไป


แต่แล้วชีวิตเศร้ายิ่งกว่าละครหลังข่าวก็เริ่มขึ้น เมื่อโดนคนมาขโมยบ้านไปอีก ทีนี้ตัวเมียจะเข้าใกล้กำหนดคลอดขึ้นทุกที สิ่งเดียวที่พวกนกทำคือ เริ่มต้นถุยน้ำลายสร้างรังใหม่ และมันก็ถูกขโมยรังเมื่อทำเสร็จ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนแม่นกต้องออกไข่ เวลานี้ครอบครัวนกต้องเร่งคายเสลดออกมาเพื่อทำรัง ลองนึกแทนว่าถ้าเราต้องขากถุยทั้งวันตลอดสัปดาห์อะไรจะเกิดขึ้น นั่นคือเหตุที่ทำให้เลือดปนออกมากับน้ำลายจนรังกลายเป็นสีแดง


ครอบครัวนกหวังเพียงว่าจะมีรังให้ไข่ที่กำลังจะเกิดอยู่รอมร่อได้ฟักเป็นตัว โดยไม่รู้เลยว่านี่คือรังที่ราคาแพงที่สุดที่ต้องโดนเก็บเป็นแน่ เมื่อเสร็จสิ้นทั้งพ่อนกแม่นกจะเสียเลือดมาก และเมื่อรังที่แลกด้วยเลือดนี้โดนเก็บ สิ่งที่ตามมาเสมอคือ การที่พ่อแม่นก และไข่ในท้องแม่นก นอนตายอยู่ที่พื้นถ้ำ ละครหลังข่าวเรื่องนี้จบอย่างแฮปปี้เอนดิ้งโดยมนุษย์ที่เป็นตัวเอกหน้าอ่อนกว่าวัย ส่วนตัวประกอบตายตอนจบ


ลองนึกภาพพ่อแม่ของเราสร้างบ้านให้ครอบครัวขณะที่แม่กำลังท้องแก่จะคลอดเรา และมีคนมายึดบ้านเรา พ่อแม่เราต้องไปสร้างบ้านใหม่ แล้วโดนยึดอีก ต้องสร้างใหม่อีก ครั้งแล้วครั้งเล่า จนพ่อกับแม่ที่ท้องแก่กระอักเลือด แล้วสุดท้ายโดนยึดบ้านอีกจนสุดท้ายตายทั้งครอบครัว ยังหาละครหลังข่าวเรื่องไหนจะโหดร้ายเท่านี้ไม่ได้เลย !!