อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

เมื่อท่านนบียูซุฟ อาลัยฮิสสลาม ถูกขังอยู่ในกรง



มีผู้ชายวัยรุ่นสองคน ถูกขังอยู่ในกรงเดียวกับท่านนบีฯ รูปร่างและบุคลิกของท่านฯ งามกว่าและดีกว่าพวกเขาทั้งสอง แต่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานความอิสระให้แก่พวกเขาทั้งสอง โดยที่พวกเขาทั้งสองได้ออกไปจากกรงก่อนท่าน ท่านก็รู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ว่าท่านไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่า พวกเขาทั้งสองที่ได้ออกไปจากกรงนั้น ยถากรรมของพวกเขาจะลงเอยเช่นไร ???

คนแรก ถูกปล่อยออกจากกรง แล้วมาเป็นทาสของคน

คนที่สอง ถูกปล่อยออกจากกรง แล้วถูกฆ่าตาย
ท่านนบีฯ ก็ยังรอความหวังเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้ออกมาจากการถูกขัง รอวันแล้ววันเล่า พระองค์ก็ยังไม่ทรงประสงค์ให้ออกมา

จนกระทั่งวันหนึ่ง พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านนบีฯ ได้ออกมาเป็นอิสระ ซึ่งตัวท่านได้ออกมาจากกรงแล้ว ตัวท่านถูกแต่งตั้งให้มาเป็นมหากษัตริย์แห่งอียิปต์

ถ้าหากว่าสิ่งใด เป็นสิ่งที่เราต้องการเป็นอย่างมาก แต่แล้วอัลลอฮฺทรงไม่ประสงค์สิ่งนั้นให้แก่เรา โปรดจงน้อมรับแล้วกล่าวอัลฮัมดูลิลลาฮฺ เป็นเพราะว่าสิ่งนั้น อาจเป็นสิ่งที่ไม่คู่ควรกับเราเลยแม้แต่น้อย และจงน้อมรับกับสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดปรานให้แก่เรา เป็นเพราะว่าสิ่งนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่คู่ควรกับเรา
เราทุกคนอาจจะคาดเดาว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้ว่าสิ่งไหนที่คู่ควรหรือไม่ควรคู่

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

บทความดีๆโดย : اللهم اجعلنا من الذاكرين ولاتجعلنا من الغافلين
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

การด่าทอ และการสาปแช่ง



โดย : ผู้หวังความเมตตาจากอัลเลาะห์

มีคนบางกลุ่ม บางประเภทที่ไม่รู้จักระงับลิ้น ไม่สามารถควมคุมวาจาของตนเองได้ มีการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นโดยการใช้คำพูดที่หยาบคาย ไม่สุภาพ ด่าทอ สาปแช่ง เพียงเพราะไม่พอใจหรือขัดแย้งกับเขาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นนี้นับเป็นการทำร้ายกันและกัน เป็นการกระทำที่ขัดกับคำสอนของอิสลาม
มุสลิมจะไม่ทำร้ายผู้อื่นแม้จะด้วยวาจา มุสลิมที่ละหมาด ถือศีลอด และปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ ตามคำสั่งของอัลเลาะห์ และรอซูลของพระองค์ จะยังไม่เป็นมุสลิมที่แท้จริงตราบใดที่เขายังละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ด้วยการทำร้ายเขาด้วยมือ และวาจา
ดังฮะดีษที่ว่า :
المسلم من سلم المسلمون من لسا نه ويده
“มุสลิมที่แท้จริงคือ ผู้ที่มุสลิมทั้งหลายปลอดภัยจากลิ้นและมือของเขา”
(บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และอิมามมุสลิม)
โทษของผู้ที่ด่าทอ
อัลกุรอานและซุนนะห์ได้ระบุโทษของผู้ที่ด่าทอไว้ดังนี้ อัลเลาะห์ ตรัสว่า :

“และบรรดาผู้กล่าวร้ายแก่บรรดาผู้ศรัทธาชาย และบรรดาผู้ศรัทธาหญิงในสิ่งที่พวกเขามิได้กระทำ แน่นอน พวกเขาได้แบกการกล่าวร้ายและบาปอันชัดแจ้งไว้”
(อัลอะห์ซาบ 33 : 58)
ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ มัสอู๊ด กล่าวว่า : ท่านรอซูล กล่าวว่า :
سباب المسلم فسوق وقتاله كفر
“การด่าทอมุสลิมนับเป็นการละเมิด และการรบราฆ่าฟันกันนับเป็นการปฏิเสธศรัทธา”
(บันทึกโดยอิมาม อัลบุคอรีย์ อิมามมุสลิม อัตติรมิซีย์ และอันนะซาอีย์)
โทษของผู้ที่สาปแช่ง
การสาปแช่ง(ละอฺนัต) คือการขับไล่ให้ห่างจากความเมตตา(เราะห์มะห์) ของอัลเลาะห์ สาปแช่งเขามิให้เข้าสวรรค์
จากรายงานที่บันทึกโดยท่านอิมามอัตติรมิซีย์ ท่านรอซูล กล่าวว่า :
“ไม่ใช่ผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) ผู้ซึ่งด่าทอ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ผู้ที่สาปแช่งมาก ผู้ที่หยาบคาย ผู้ที่ลามก”
ท่านซะละมะห์ บิน อัลอักวะห์ กล่าวว่า :
“พวกเรา(บรรดาเศาะฮาบะห์) เมื่อเราเห็นผู้ใดสาปแช่งพี่น้องมุสลิมด้วยกัน เราจะเห็นว่าเขาได้ทำบาปใหญ่แล้ว”
(บันทึกโดยอัฎฎอบรอนีย์ ด้วยสายสืบที่ดี)
ท่านอบี อัดดัรดาอ์ กล่าวว่า : ท่านรอซูล กล่าวว่า :
“แท้จริงบ่าวคนหนึ่ง เมื่อใดที่เขาสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะขึ้นสู่ฟากฟ้า ประตูฟากฟ้าทั้งหลายจะถูกปิดไม่ยอมรับคำสาปนแช่งนั้นๆ แล้วคำสาปแช่งก็จะลงมายังพื้นดิน ประตูแห่งผืนแผ่นดินก็จะถูกปิดไม่ยอมรับคำสาปแช่งนั้นๆ แล้วคำสาปแช่งก็จะหันซ้ายและขวา เมื่อไม่พบหนทางไป ก็จะกลับมาหาผู้ที่ถูกสาปแช่งหากเขาผู้นั้นสมควรได้รับคำสาปแช่งนั้นๆ แต่ถ้าเขาไม่สมควรที่จะถูกสาปแช่ง คำสาปนั้นๆก็จะตีกลับไปหาผู้สาปแช่ง"
(บันทึกโดยอิมามอบูดาวูด)
จะสาปแช่งใครได้บ้าง!!
ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ได้กล่าวว่า : การสาปแช่งมุสลิมนั้นเป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม) โดยมติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอฺ และมุสลิมทั้งหลาย แต่อนุญาตให้สาปแช่งผู้ที่มีลักษณะเลวร้าย(โดยไม่เจาะจงเป็นรายบุคคล) เช่นการกล่าวว่า ขอให้อัลเลาะห์ สาปแช่งบรรดาผู้อธรรม ผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกยิว และพวกคริสต์ บรรดาผู้ละเมิด และบรรดาผู้ปั้นเจว็ด อย่างนี้เป็นต้น
ท่านอิมามอันนะวะวีย์ได้ยกฮะดีษหลายบทที่ซอฮีฮฺ ที่ยืนยันในเรื่องนี้ เช่นฮะดีษที่ว่า :
1. “อัลเลาะห์ทรงสาปแช่งหญิงที่ต่อผม และหญิงที่ขอให้ผู้อื่นต่อผมให้…”
2. “อัลเลาะห์ ทรงสาปแช่งผู้ที่กินดอกเบี้ย และผู้ที่ให้ดอกเบี้ย...”
3. “อัลเลาะห์ ทรงสาปแช่งผู้ที่ลักขโมย...”
4. “อัลเลาะห์ ทรงสาปแช่งผู้ที่เชือดสัตว์เพื่อื่นจากอัลเลาะห์...”
5. “อัลเลาะห์ ทรงสาปแช่งผู้ที่สาปแช่งบิดา มารดาของตน...”
6. “อัลเลาะห์ ทรงสาปแช่งพวกยิว และคริสต์ ที่ยึดเอาหลุมฝังศพ(กุโบ๊ร) ของบรรดานบีของพวกเขาเป็นมัสยิด”
7. “อัลเลาะห์ทรงสาปแช่งผู้ที่เลียนแบบบุรุษจากหมู่สตรี และผู้ที่เลียนแบบสตรีจากหมู่บุรุษ”
ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ กล่าวอีกว่า : ส่วนการเจาะจงสาปแช่งเป็นรายบุคคลแก่ผู้ที่ประพฤติชั่ว เช่น พวกยิว พวกคริสต์ ผู้ทำซินา หรือผู้กินดอกเบี้ย ถ้าดูจากฮะดีษต่างของท่านรอซูล แล้ว ไม่นับว่าเป็นการต้องห้าม(ฮะรอม) แต่ประการใด
ส่วนท่านอิมาม อัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังือ อัลอิฮฺยาอฺ ของท่านว่า : การเจาะจงสาปแช่งนั้นเป็นที่ต้องห้าม ยกเว้นผู้ที่เราประจักษ์ชัดเจนแล้วว่า เขาได้ตายไปในสภาพที่ปฏิเสธศรัทธา (กาเฟร) เช่น อบูละฮับ อบูญะฮฺลิ (ลุงทั้งสองท่านของท่านรอซูล ที่กลั่นแกล้ง ทำร้ายท่านรอซูล ต่างๆนานา) หรือ ฟาโรห์ ฮามาน เป็นต้น
ท่านอิมามฆ่อซาลีย์ เสริมอีกว่า : เพราะการสาปแช่งนั้นคือการขับไล่ และการให้ห่างไกลจากความเมตตา(เราะห์มะห์) ของอัลเลาะห์ สาปแช่งเขามิให้เขาสวรรค์ และเราไม่ทราบแน่ชัดว่า จุดจบของผู้ที่ละเมิด หรือผู้ปฏิเสธศรัทธาที่เราสาปแช่งไว้นั้นคืออะไร? การที่ท่านไปสาปแช่งเขาหมายความว่า ท่านขอให้เขาไม่ได้รับความโปรดปราน ความเมตตาจากอัลเลาะห์ตลอดไป และจะทำเช่นนี้ไม่ได้ นอกจากผู้ที่ตายในฐานะปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น ดังนั้นการสาปแช่งผู้ที่เราไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาตายในสภาพปฏิเสธศรัทธาหรือไม่นั้น เป็นสิ่งกระทำไม่ได้
ท่านกล่าวอีกว่า : ส่วนบรรดาผู้ที่ท่านรอซูล ได้เจาะจงสาปแช่งไว้นั้น เป็นไปได้ว่าท่านรอซูล ทราบแน่แล้วว่า พวกเขาจะตายในสภาพที่เป็นกาเฟร
ท่านอิมามอัลฆ่อซาลีย์ยืนยันว่า การเจาะจงสาปแช่งเป็นรายบุคคล เป็นสิ่งต้องห้าม
ดังฮะดีษที่บันทึกโดยท่านอิมามอัลบุคอรีย์ จากรายงานของท่านอุมัร อิบนุลค็ฎฎอบ (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ว่า :
มีชายคนหนึ่งในสมัยท่านนบี มีนามว่า อัลดุลเลาะห์ ชายผู้นี้มักจะถูกเฆี่ยนเสมอ อันเนื่องมาจากการดื่มสุรา และในวันหนึ่งเขาถูกนำมายังท่านรอซูลในสภาพที่มึนเมา ท่านรอซูลจึงสั่งให้เฆี่ยนเขา จึงมีชายคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมาในขณะนั้นว่า :
ข้าแต่อัลเลาะห์โปรดทรงสาปแช่งเขา (ให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์) กี่ครั้งแล้วที่เขาถูกนำพามาเพื่อการนี้(ลงโทษ)
ท่านนบีจึงกล่าวว่า :
“พวกท่านทั้งหลาย อย่าได้สาปแช่งเขาเลย ฉันขอสาบานต่ออัลเลาะห์ ว่า ฉันรู้ดีว่าเขารักอัลเลาะห์ และรอซูลของพระองค์มากเพียงใด”
เผยแพร่โดย : สายสัมพันธ์
แหล่งข้อมูล : www.islammore.com

หลักการศรัทธา(الإيمان)



การอีมาน คือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺ การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ การศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ และการศรัทธาต่อกฏสภาวะทั้งดีและชั่วมาจากอัลลอฮฺ
ดังนั้นการอีมานจะเกิดขึ้นด้วยการพูดและการกระทำ พูดด้วยกับหัวใจและลิ้น ส่วนการกระทำด้วยกับหัวใจ ลิ้น และร่างกาย อีมานจะเพิ่มขึ้นด้วยกับการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและจะลดลงด้วยกับการฝ่าฝืนต่อพระองค์
ประเภทต่างๆ ของการศรัทธา
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «الإيْـمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ، أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً، فَأَفْضَلُـهَا قَوْلُ لا إلَـهَ إلَّا اللهُ، وَأَدْنَاهَا إمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ، والحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإيْـمَانِ». أخرجه مسلم.
จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “การศรัทธามีมากกว่า 70 ประเภท หรือมีมากกว่า 60 ประเภท ระดับที่ประเสริฐที่สุด คือ การกล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การกราบไว้นอกจากอัลลอฮฺ ระดับที่ต่ำสุด คือ การขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากถนน และความละอายเป็นประเภทหนึ่งของการศรัทธา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 35)
ระดับชั้นของการศรัทธา
สำหรับการศรัทธามันจะมีรสชาติของการศรัทธา ความหอมหวานของการศรัทธา และแก่นแท้ของการศรัทธา
1. รสชาติของการศรัทธา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายถึงรสชาติของการศรัทธา ด้วยวจนะของท่านไว้ว่า
«ذَاقَ طَعْمَ الإيْـمَانِ مَنْ رَضِيَ بِالله رَبًّا، وَبِالإسْلامِ دِيناً، وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً». أخرجه مسلم
ความหมาย “เขาจะได้ลิ้มรสชาติของการศรัทธา ผู้ที่น้อมรับว่าอัลลอฮฺเป็นพระผู้อภิบาล อิสลามเป็นศาสนา และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 34)
2. ความหอมหวานของการศรัทธา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายถึงความหอมหวานของการศรัทธา ด้วยวจนะของท่านที่ว่า
«ثَلاثٌ مَنْ كُنَّ فِيْـهِ وَجَدَ حَلاوَةَ الإيْـمَانِ: أَنْ يَكُونَ اللهُ وَرَسُولُـهُ أَحَبَّ إلَيْـهِ مِـمَّا سِوَاهُـمَا، وَأَنْ يُـحِبَّ المَرْءَ لا يُـحِبُّـهُ إلا لله، وَأَنْ يَكْرَهَ أَنْ يَـعُودَ فِي الكُفْرِ كَمَا يَكْرَهُ أَنْ يُـقْذَفَ فِي النَّار». متفق عليه
ความหมาย “สามประการหากผู้ใดมีไว้ครอบครองเขาจะได้พบกับความหอมหวานของการศรัทธา หนึ่ง..การที่เขาทำให้อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์เป็นที่รักยิ่งแก่เขามากกว่าสิ่งอื่นใด สอง..การที่เขามอบความรักให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเขาจะไม่รักบุคคลนั้นยกเว้นรักเพื่ออัลลอฮฺ สาม..เขารังเกียจที่จะกลับไปเป็นกุฟรฺ (ปฏิเสธ) เสมือนที่เขารังเกียจจะถูกโยนลงไปในเปลวเพลิงของนรก” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 16 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 43)
3. แก่นแท้ของการศรัทธา ผู้ที่จะได้รับสิ่งนี้ต้องเป็นผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนา และดำเนินวิถีชีวิตอย่างมีความมุ่งมั่นต่อศาสนา ไม่ว่าด้านการทำอิบาดะฮฺ (เคารพภักดี) การดะวะฮฺ (เผยแผ่) การอพยพ การให้ความช่วยเหลือ ญิฮาด (การทุ่มเทเสียสละในหนทางของอัลลอฮฺ) และการใช้จ่ายไปในหนทางของอัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾﭿﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ) [الأنفال /2-4 ]
ความหมาย “แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาคือ ผู้ที่เมื่ออัลลอฮฺถูกกล่าวขึ้นแล้ว หัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นจะเพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา และต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขานั้นพวกเขามอบหมายกัน บรรดาผู้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา พวกเขาก็บริจาค พวกเขาเหล่านั้นคือ กลุ่มชนผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง โดยที่พวกเขาได้รับ (เกียรติ) หลายชั้น ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา และจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย” (อัลอัมฟาล : 2-4)
2. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ) [الأنفال /74 ]
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ศรัทธา บรรดาผู้อพยพ บรรดาผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ บรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และบรรดาผู้ที่ช่วยเหลือนั้น พวกเขาเหล่านั้นคือ กลุ่มชนผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง สำหรับพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย” (อัลอัมฟาล : 74)
3. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ) [الحجرات /15 ]
ความหมาย “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาที่แท้จริง คือ บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์แล้วพวกเขาไม่มีการสงสัยเคลือบแคลงใจ แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ด้วยทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮฺ พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่สัตย์จริง” (อัลหุญุรอต : 15)
บ่าวคนหนึ่งจะยังไม่บรรลุถึงแก่นแท้ของการศรัทธาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะรู้ว่าสิ่งที่ถูกกำหนดให้เกิดขึ้นแก่เขา มันจะไม่มีทางพลาดจากเขาไป และสิ่งที่ถูกกำหนดให้พลาดจากเขาจะไม่มีทางเกิดขึ้นแก่เขา
การศรัทธาที่สมบูรณ์
คือ การมอบความรักอย่างเต็มเปี่ยมต่ออัลลอฮฺและต่อศาสนทูตของพระองค์ จำเป็นจะต้องมีเครื่องหมายบ่งชี้และหลักฐานของความรักอันนั้น ดังนั้นเมื่อการมอบความรักเพื่ออัลลอฮฺ เกลียดชังเพื่อพระองค์ ทั้งสองประการเป็นการงานของหัวใจ ส่วนการให้เพื่ออัลลอฮฺ การปฏิเสธเพื่อพระองค์ ทั้งสองประการเป็นการงานของสรีระร่างกาย ดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ถึงการศรัทธาที่สมบูรณ์และการมอบความรักต่ออัลลอฮฺ –อัซซะวะญัลละ- อย่างเต็มเปี่ยมสมบูรณ์
عَنْ أبي أُمَامَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْـهُ عنْ رسُول الله ﷺ أنهُ قالَ: «مَنْ أحَبَّ ٬ وأبغَضَ ٬ وأعْطَى ٬ وَمَنَعَ ٬ فَقَدِ اسْتَـكْمَلَ الإيمَانَ». أخرجه أبو داود
จากอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่รักใคร่ เกลียดชัง มอบให้ และปฏิเสธ เท่ากับเขาได้แสวงหาความศรัทธาที่สมบูรณ์” (บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษหะสัน หมายเลขหะดีษ 4681 ดูเพิ่มเติมในหนังสือสิลสิละฮฺ อัศเศาะฮิฮะฮฺ หมายเลขหะดีษ 380)
والله أعلم بالصواب
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

เมื่อถามและเชื่อหมอดูหมอเดา


การที่บุคคลใดไปหาหมอดูแล้วถามหมอดูเกี่ยวกับบางสิ่ง
ถือว่าเขานั้นเป็นกุฟฺรฺหรือไม่ ?

ตอบคำถามโดย ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล มุนัจญิด
Ummah Islam แปลและเรียบเรียง
คำถาม: เราสามารถทำให้สองหะดีษนี้สอดคล้องกันได้อย่างไร?
من أتى عرافاً فسأله عن شيء فصدقه لم تقبل له صلاة أربعين يوماً
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งบางอย่างและเชื่อหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน"
من أتى كاهناً فصدقه بما يقول فقد كفر بما أنزل على محمد
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้แก่มุฮัมมัด"
ในหะดีษแรกไม่ได้บ่งชี้ลงไปว่าเป็นกุฟรฺแต่หะดีษที่สองนั้นชี้เฉพาะลงไป

คำตอบ: การสรรเสริญทั้งมวลนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองหะดีษนี้ อะไรคือความหมายจากหะดีษที่ว่า
من أتى كاهناً فصدقه بما يقول فقد كفر بما أنزل على محمد
"บุคคลใดที่ไปหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้แก่มุฮัมมัด"

คือ บุคคลใดที่ไปถามหมอดู และ “เชื่อ” ว่าคำทำนายของหมอดูนั้นเป็นเรื่องจริง เชื่อว่าหมอดูรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ ถือว่าเป็นการกระทำของกุฟรฺ เพราะเขามีความขัดแย้งกับอัลกุรอานซึ่งอัลลอฮฺตรัสว่า
قُلْ لَا يَعْلَمُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ الْغَيْبَ إِلَّا اللَّهُ
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัย นอกจากอัลลอฮฺและพวกเขาจะไม่รู้ว่า เมื่อใดพวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพ” (อัน นัมลฺ : 65)

สำหรับหะดีษที่สอง
من أتى عرافاً فسأله عن شيء لم تقبل له صلاة أربعين ليلة
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งบางอย่าง การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน" (รายงานโดย มุสลิม)

หะดีษนี้ไม่มีคำว่า "และเชื่อหมอดู"

เหตุนี้เองที่ทำให้เราเรียนรู้ว่า หากบุคคลใดไปหาหมอดูแล้วเขาถามบางสิ่งบางอย่างกับหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน และหากเขาเชื่อหมอดู เมื่อนั้นเขาได้กระทำเช่นเดียวกับการกระทำของกุฟรฺ

วะบิลลาฮิตเตาฟิก วะศ็อลลัลลอฮุอะลานะบียินามุฮัมมัด วะอาลิฮี วะ เศาะหฺบิฮี วะสัลลัม
...............................................................................
บทบรรณาธิการ : อ้างจาก คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ การฟัตวา ชัยคฺ อับดุลอะซีซ บิน บาซ, ชัยคฺ อัลดุรฺเราะซัก อะฟีย์ฟีย์, ชัยคฺ อับดุลลอฮฺ บิน ฆ็อดยาน (ฟัตวาอัล-ลัจญนะฮฺ อัด-ดานิมะฮฺ)
http://www.fityah.com/

สิ่งที่ภรรยาควรหลีกเลี่ยง


1 จงอย่าได้ชมเชยชายอื่นต่อหน้าสามี ไม่ว่าชายคนนั้นจะเป็นบ้านหรือญาติๆ ของเขาหรือญาติเธอ เพราะเป็นเรื่องจริงเหลือเกินที่สามีจะไม่พอใจที่ภรรยาของตัวเองเห็นคนอื่นดีกว่า หรือ เก่งกว่าเขา
2 หลีกเลี่ยงการใช้เสียงสูงกับสามี หรือตระโกนเวลาเรียกสามี เพราะการที่ภรรยาใช้เสียงที่สูงนั้น จะทำให้สามีไม่พอใจ ผู้ชายไม่ชอบเลยที่ได้เสียงที่น่าเกียจของภรรยา หัวเราะดัง หรือ ใช้คำพูดที่ดัง หรือ การดุด่า ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นลูก หรือใครก็ตาม

3 เวลาสามีทำผิด การที่ภรรยาคิดจะตักเตือน ก็แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อใช้ชีวิตคู่แล้วใครคนหนึ่งกระทำผิดพลาดไป แน่นอนคนที่จะเป็นเสมือนกระจก หรือคอยตัดเตือนให้เห็นสิ่งที่ดีนั้นคือคู่ชีวิตของตน จริงอยู่ที่ว่า สามีจะไม่ชอบเลยที่จะให้ภรรยาตักเตือนเมื่อเขาพลาด แต่ภรรยาเองก็ต้องมีกลยุทธ์และวิธีการที่ทำให้เขารู้สึกว่า เธอไม่ใช้ตักเตือนหรือสอนสามี ภรรยาควรมีไหวพริบที่ดีในการตักเตือน อาจจะตั้งเป็นคำถาม หรือเป็นข้อคิดให้สามีได้เห็นถึงข้อที่ผิดและข้อที่ดีกว่าที่สามีทำ

4 อย่าพูดจากประชดประชัน หรือ พูดจากระแหนะกระแหน จนทำให้สามีมีความรู้สึกไม่ดีต่อคำพูดของเธอโดยเด็ดขาด เมื่อสามีเคยทำผิดครั้งหนึ่ง ภรรยาอย่าได้เอาความผิดครั้งนั้นพูดซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้สามีรำคาญหรือทำให้สามีไม่อยากฟังในสิ่งที่ภรรยาได้พูด อย่าได้ดุหรือด่าสามี เพราะการที่ภรรยาเป็นคนขี้บ่นพูดมากจนเกินขอบเขตนั้น มันจะทำให้ชีวิตคู่ไม่มีความสุขได้

5 ในเวลาที่สามีไม่อยู่บ้าน ภรรยาอย่าได้ออกจากบ้านโดยไร้สาเหตุที่สำคัญ เช่นออกไปหาเพื่อน เพราะแค่เหงาอยู่บ้าน ออกไปซื้อเสื้อผ้าเพราะแค่เบื่อที่จะอยู่ในบ้าน ออกไปงานสังคมต่างๆที่ไม่ได้บอกกล่าวสามีล่วงหน้า

6 อย่าให้คนนอกเข้ามาในบ้านเมื่อสามีไม่อนุญาต ถึงแม้คนนั้นจะเป็นเพื่อนสาวด้วยกัน หรือญาติๆที่สามีไม่พอใจ หรือชายอื่นที่ไม่ใช่มะรอม เพราะจะทำให้เกิดฟิตนะภายหลังได้

7 ภรรยาควรเตรียมความพร้อมที่จะยอมรับผิด เมื่อได้ทำผิด อย่าได้โต้เถียงหรือตอบโต้ เมื่อสามีตักเตือนเธอ อย่าได้คิดว่าฉันถูก ฉันไม่ผิด การคิดเช่นนี้จะทำให้มีผลลบ ในการปรับปรุงตัวเอง

บางส่วนของหนังสือ Story of women
หนังสือนี้เพื่อเธอ ผู้ที่ไม่ล้าสมัย แต่ไม่ทิ้งอิสลาม
ผลงานเขียนอันดับที่ 5 ของนางฟ้า ติดดิน

หนูชื่อ เจ๊ นูรีฮัน มาเลเซีย
 

ครอบครัวมุสลิมต้องยึดมั่นสุนนะฮฺนบี



قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : { لَيْسَ مِنَّا مَنْ عَمِلَ بِسُنَّةِ غَيْرِنَا }
( صحيح الجامع 5435 )
ความว่า "ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่ใช่คนในกลุ่มของพวกเรา ผู้ที่ปฏิบัติตามสุนนะฮฺ ( แนวทาง ) คนอื่นที่ไม่ใช่สุนนะฮฺของเรา"

ข้อคิดจากหะดีษ
1. ท่านนบี เตือนผู้ที่ยึดแนวทาง หรือ เอาวิถีชีวิตที่ไม่ใช่มาจากท่าน คนเหล่านั้นถือว่าเป็นคนที่ออกจากการเป็นสมาชิกประชาชาติของท่านเพราะเขาปฎิบัติที่ไม่ถูกต้องตามที่ท่านได้ทำแบบอย่างให้

2. สุนนะฮฺของนบี เป็นหลักการสำคัญของอิสลาม

3. ครอบครัวใดที่ประสงค์อยู่ในความถูกต้องจำเป็นต้องยึดมั่นและปฎิบัติตามแนวทางของนบี

والله أعلم بالصواب

Areefeen Bin Ayyub

พ่อแม่รังแกฉัน


ณ ข้างบ้านแห่งหนึ่ง
ลูก : แม่ ๆ วันนี้ไม่ค่อยสบาย ขอหยุดเรียนหนังสือไทย ซักวันเถอะนะจ๊
แม่ : ไม่ได้ ๆ ต้องไปเรียน ไม่งั้นถูกฟาด อย่าทำตัวเหลวไหลขี้เกียจ เดี๋ยวจะเสียอนาคต(ในดุนยา).........
วันต่อมา
ลูก : แม่ ๆ วันนี้รู้สึกไม่ค่อยสบาย ขี้เกียจไปเรียนหนังสือแขก(ฟัรดูอีน) ขอหยุดเรียนซักวันเถอะนะจ๊แม่
แม่ : โอ๋ ๆ ลูก ไม่ค่อยสบายก็หยุดเรียนศาสนาผักผ่อนซักวันก่อนก็ได้น๊
เมื่อวันเวลาผ่านไป......ลูกสาวไปเมาเหล้าแล้วได้เสีย(ทำซินา)กับชาย(ก็เมา)ลูกของคนมีตังค์คนหนึ่ง ดังนั้นงานวลีมะฮฺจึงเกิดขึ้น
ก่อนวันนิกะฮฺ
คนข้างบ้าน : แหม ๆ ลูกสาวได้แต่งงาน สบายแล้วซิท่า..^_^
แม่ของลูก : แหม ๆ ๆ ฉันก็ไม่ได้หวังอะรัยหรอก ที่ยอมให้ลูกสาวแต่งงานเพราะมันท้องได้สองเดือนแล๊ว อิอิอิ..
อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮั้ลอะซีม
(เรื่องจริงผ่านเฟสฯ)
ครั้นวันกิยามะฮฺมาถึง เมื่อลูกเราฟ้องร้องกับอัลเลาะฮฺ ตะอาลา(เพราะกลัวการลงโทษ)ว่า พ่อแม่ไม่เคี่ยวเข็นให้เขาเรียนสศาสนา ไม่อบรบสั่งสอนจริยธรรมทางศาสนาแก่ลูก ๆ เลย แล้วพ่อแม่จะตอบคำถามนี้อย่างไรกัน !
สามีที่ต้องรับผิดชอบดูแลภรรยาของเขาก็เช่นกัน ดังนั้น
จะเตรียมตัวฝึกซ้อมตอบคำถามเหล่านี้ กับอัลเลาะฮฺ ตะอาลา หรือ
จะป้องกันไม่ให้มีคำถามนี้เกิดขึ้น ?
เราจะเป็นผู้ฉุดดึงพวกเขาเข้าสวรรค์ หรือ
จะให้พวกเขาฉุดลากกระชากเราเข้านรก. ก็โปรดตรึกตรองดู ..

والله اعــــلـــــم

Solomon Laksana
 

มนุษย์เกิดมาโดยเริ่มต้นจากสภาพว่างเปล่าไม่มีผู้สร้างกระนั้นหรือ?

ทุกสิ่งที่มีจุดเริ่มต้น
                                     ต้องมีผู้สร้าง

การพิสูจน์การมีอยู่จริงของผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจได้โดยง่าย
เราสามารถตั้งคำถามว่าว่า : 200 ปีที่แล้ว เราอยู่ที่ไหนกัน รวมถึงมนุษย์ทั้งโลกที่มีชีวิตในปัจจุบันด้วย

คำตอบ
มนุษย์ทั่วไป ก็คือ ไม่รู้ว่า 2 ร้อยปีที่แล้ว เราอยู่ที่ไหน นั้นก็หมายความว่า นั้นก็หมายความว่า เราขณะที่เป็นมนุษย์นั้น เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีมาก่อน

สมมุติมีห้องอยู่ห้องหนึ่ง เป็นห้องที่ไม่มีอะไรเลย เป็นไปได้ไหมว่า ห้องที่ไม่มีอะไรเลย วันดีคืนดี กลับมีคอมพิวเตอร์ มีน็อตบุคขึ้นมาในห้องนี้ มันเป็นไปไม่ได้ นั้นหมายความว่าความว่างเปล่า หรือความไม่มีอะไรเลย ไม่สามารถ หรือดลบันดาลให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นมาได้

และหากห้องเดียวกันนี้ มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ หรือส่วนประกอบของน็อตบุคอยู่บนพื้น โดยที่ยังไม่ได้ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์หรือน็อตบุค วางเรียงรายอยู่บนพื้น ... เป็นไปได้ไหม? ว่า ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หรือน็อตบุค จะรวมตัวขึ้น หรือประกอบขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์ หรือน็อตบุคขึ้นมาด้วยตัวของมันเอง

คำตอบ
คือมันเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต กฎของมันก็คือ มันไม่สามารถสร้างหรือดลบันดาลให้ตัวของมันหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาได้

เพราะฉะนั้น เมื่อเรายอมรับแล้วว่า 2 ร้อยปีที่แล้ว เราก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน แสดงว่าเราเป็นความไม่มีอะไรมาก่อนเลย

คำถามต่อมาก็คือว่า ตัวมนุษย์ทั้งหมดที่อยู่บนโลกนี้ มีมาหรือเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่? หรือมีจุดเริ่มต้นขึ้นมาเมื่อไหร่กัน

เช่น นาย ก มีจุดเริ่มต้น คือเกิดมาเมื่อ 30 ปี ที่แล้ว ฉะนั้น ก่อนหน้านั้น คือก่อนนาย ก เกิดขึ้น 30 ปีที่แล้ว นาย ก เป็นสภาพที่ไม่มีอะไรมาก่อนเลย นาย ก จึงไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาในสภาพที่ว่างเปล่าได้เลย

คำถามต่อมาก็คือว่า
แล้วเราเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน มนุษย์ทั้งหมดในโลกนี้เกิดเกิดขึ้นมาอย่างไรกัน ถ้าไปตามมนุษย์ทั่วๆไป ก็ได้คำตอบว่า เกิดจากน้ำอสุจิของพ่อของเรานี้ไง! พ่อก็เกิดจากน้ำอสุจิ นั้นสมมุติว่า กำหนดตเลขรหัสที่ 1 ถึง 100 สมมุติว่านาย ก เป็นเลขรหัสที่ 100 เกิดมาจากอสุจิของเลขรหัสที่ 99 รหัสที่ 99 เกิดมาจากอสุจิเลขรหัสที่ 98

คำถามต่อมาก็คือว่า
ถ้าไม่มีอสุจิเลขรหัสที่ 50 แล้วอสุจิเลขรหัสที่ 100 มีขึ้นมาได้อย่างไรกัน

คำตอบคือ
ไม่ได้ มันต้องเกิดจากกันและกัน อาศัยกันและกันมา

คำถาม
ในเมื่อมนุษย์เกิดขึ้นเองไม่ได้ อาศัยน้ำอสุจิของพ่อของเขา

คำถามต่อมา
แล้วมนุษย์คนแรก คู่แรก เกิดมาโดยไม่มีผู้บังเกิดกระนั้นหรือ? เกิดจากความว่างเปล่ากระนั้นหรือ?
กรณีที่ว่ามนุษย์เกิดมาจากลิง สมมุติว่าเราเห็นด้วยว่ามนุษย์เกิดมาจากลิง ตาทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการ
คำถามที่ถูกถามกลับไปว่า แล้วลิงเกิดมาจากความว่างเปล่าหรือ?

คำตอบ คือ ไม่ใช่ ลิงก็มาจากสิ่งหนึ่งๆ เหมือนกัน ซึ่งตามความเป็นจริงมนุษย์ไม่เกิดมาจากลิง
สำหรับน้ำอสุจิ ปัจจุบันนี้ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า

ถามว่า มีนักวิทยาศาสตร์สักคนหนึ่งไหม? ที่ประกาศให้ชาวโลกได้รู้ว่า สามารถ ผลิตน้ำอสุจิ ด้วยการนำมาเข้าห้องแล็บ นำเอาส่วนประกอบนั้น ประกอบนี้ มาผสมหรือปนกัน ที่ไม่ได้มาจากร่างกาย ที่มีตามท้องตลาด แล้วสามารถผลิตน้ำอสุจิ ออกมาได้ มีไหม?

คำตอบ
ไม่มี ทั้งๆที่นักวิทยาศาสตร์ ก็รู้ว่า อสุจิ ประกอบด้วยสิ่งนั้นสิ่งนี้ และมีน้ำอสุจิมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป และสามารถเอามันมาได้

แต่กระนั้นก็ตาม ไม่มีนักวิทยาศาสตร์หน้าไหนเลยที่อ้างว่าตนสามารถสร้างอสุจิจากห้องแล็บได้
ตรงนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ไม่สามารถทำได้

สรุป แล้วว่ามนุษย์คนแรก ต้องมีผู้สร้าง เกิดจากความว่างเปล่าไม่ได้

คำถามต่อมาว่า
รได้รับบทเรียนแล้วว่า สิ่งใดก็แล้วแต่ ที่มีจุดเริ่มต้น สิ่งนั้นไม่สามารถสร้างหรือดลบันดาลตนเอง หรือสร้างอีกสิ่งหนึ่ง ให้เกิดขึ้นมาได้

ถ้ามีจุดเริ่มต้น โดยเฉพาะถ้าสิ่งนั้น มีจุดเริ่มเริ่มต้น และมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนอยู่ในสิ่งนั้นๆ เป็นไปไม่ได้เลยว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นมาเองโดยความบังเอิญ

ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องบิน รถยนต์ ร่างกายมนุษย์ มีระบบการทำงานซับซ้อน เครื่องบิน รถยนต์ มนุษย์ ต่างมีจุดเริ่มต้น

เพราะฉะนั้นแน่นอนที่สุด เครื่องบิน รถยนต์ มนุษย์ไม่สามารถที่ก่อขึ้นมาเองโดยไม่มีผู้สร้าง
ดังนั้น กฎ ก็คือว่า สิ่งใดที่มีจุดเริ่มต้นสิ่งนั้นก็ไม่สามารถสร้าง หรือดลบัลดานให้ตัวเอง หรือสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาได้เองอย่างแน่นอน

จากบทเรียนที่เราได้รับก็คือว่า ถึงแม้ว่าเราไม่เห็นผู้สร้าง แต่เราเชื่อด้วยสามัญสำนึก เชื่อร้อยเปอร์เซ็นว่า จะต้องมีผู้สร้าง เชกเช่นเราไปยังสถานที่หรือโรงงานแห่งหนึ่ง ที่เห็นความอลังกาลของโรงงานแห่งนี้ มีระบบการทำงานที่ซับซ้อน ระเบียบและระบบอย่างดีเยี่ยม ในสามัญสำนึกฟ้องเลยว่า ว่านี้ใครสร้างกัน โรงงานนี้จะต้องมีผู้สร้าง โรงงานจะต้องมีผู้ออกแบบ ผู้จัดการ ผู้ควบคุมการทำงานของโรงงานแห่งนี้ เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คิดว่าระบบการทำงานทั้งหมด เกิดขึ้นมาเอง อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก เกิดขึ้นมาเป็นโรงงานเอง

โลกใบนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มีอายุ 4,500 ล้านปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ก่อน 4,500ล้านปีที่แล้ว โลกยังไม่มี ก็ถือว่าโลกเกิดมาโดยมีจุดเริ่มต้น เมื่อ4,500ล้านปีนี้เอง โลกจึงไม่สามารถเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองได้ จำเป็นต้องมีผู้สร้าง เราไม่จำเป็นต้องมองสิ่งที่ใหญ่โตมีระบบซับซ้อน แม้แต่ไม้จิ่มฟันอันเล็กๆ สามัญสำนึกของเราก็เชื่อได้เลยว่าต้องมีผู้สร้าง ทั้งที่ไม่เคยเห็นผู้ที่สร้างมัน

และสิ่งที่เรามองไม่เห็นนี้ ไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นจะไม่มี เช่น อะตอม ไม่มีใครหรือนักวิทยาศาสตร์คนใดบอกว่าเห็นอะตอม แต่เชื่อร้อยเปอร์เซ็นว่ามีอะตอมที่เป็นส่วนประกอบสำคัญด้วย


والله أعلم بالصواب

ถอดคำบรรยายของ อาจารย์ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

คำกล่าวที่ว่า“เมื่อไม่มีหลักฐานห้ามก็คือทำได้”



                      ได้มีผู้กล่าวว่า เรื่องอิบาดะฮฺ ที่ไม่มีหลักฐานกำหนดไว้ชัดเจน แต่ไม่มีหลักฐานห้ามไว้ ก็อนุมัติที่จะกระทำอิบาดะฮฺนั้นได้ จึงมีความขัดแย้งขึ้นว่า ตกลงเรื่องศาสนาต้องมีหลักฐานใช้ ถึงจะปฏิบัติอิบาดะฮฺนั้นได้ หรือ อิบาดะฮฺนั้นต้องมีหลักฐานห้าม จึงจะห้ามทำ ถ้าไม่มีหลักฐานห้ามก็สามารถปฏิบัติอิบาดะฮฺได้ ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานให้ทำอิบาดะฮฺนั้นไว้ก็ตาม

ทั้งอัลกุรอานและฮะดีษ ได้กล่าวถึงเรื่องคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามไว้ควบคู่กัน ดังนี้
พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
وَمَا آتَاكُمُ الرَّسُوْلُ فَخُذُوْهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا
“และสิ่งใดที่รอซูลนำมาพวกเจ้าก็จงถือปฏิบัติ และสิ่งใดที่รอซูลห้ามพวกเจ้าก็จงละเลิกจากสิ่งนั้น” ซูเราะห์อัลฮัซร์ อายะห์ที่ 7

อบูฮุรอยเราะห์รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
دَعُوْنِي مَا تَرَكْتُكُمْ اِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِسُؤالِهِمْ وَاخْتِلاَفِهِمْ عَلى أنْبِيَائِهِمْ فَاِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَئٍ فَاجْتَنِبُوْهُ وَإذَا أمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأتُوا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ
“พวกเจ้าทั้งหลายจงละฉันไว้เถิดมันพอเพียงแล้วกับสิ่งที่ฉันทิ้งไว้กับพวกเจ้าทั้งหลาย แท้จริงกลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้าได้พบกับความหายนะเนื่องจากการถามและการขัดแย้งของพวกเขาต่อบรรดานบีของพวกเขาเอง ดังนั้นเมื่อฉันห้ามพวกเจ้าในเรื่องใด พวกเจ้าก็จงออกห่างจากเรื่องนั้น และเมื่อฉันใช้พวกเจ้าในเรื่องใด พวกเจ้าก็จงปฏิบัติตามกำลังความสามารถ” ศอเฮียะห์บุคอรี ฮะดีษเลขที่ 6744

ดังนั้น ความเข้าใจในอัลกุรอานและฮะดีษ จึงขึ้นอยู่กับหลักฐานที่จะมาอธิบายความให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง และหลักฐานดังกล่าวนี้ก็คือ อัลกุรอ่าน,ฮะดีษ,และศอฮาบะห์ของท่านนบี อย่างนี้เป็นวิธีการที่บรรดานักวิชาการศาสนารู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี หรือที่เรียกกันว่า

อัลกุรอานอธิบายอัลกุรอาน

อัลกุรอานอธิบายฮะดีษ

ฮะดีษอธิบายอัลกุรอาน

ศอฮาอธิบายอัลกุรอานหรือฮะดีษ

ในเรื่องอิบาดะฮฺต้องมีหลักฐานใช้ ในเรื่องอาดะฮฺต้องมีหลักฐานห้าม

ในเรื่องอิบาดะฮ์ที่เกี่ยวกับบาป-บุญ นั้น โครงสร้างของมันคือ จะต้องยึดถือตัวบทอันได้แก่คำสั่งของอัลลอฮ์และ รูปแบบจากซุนนะฮ์เป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ไปยึดถือ “คำห้าม” ดังทัศนะผิดๆ ซึ่งแตกต่างและตรงข้ามกับเรื่อง “อาดะฮ์” ซึ่งโครงสร้างของมันจะเน้น “คำห้าม” เป็นเกณฑ์

พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

أَمْ لَهُمْ شُرَكآؤُا شَرَعُوا لَهُم مِّنَ الدِيْنِ مَالَمْ يَأْذَن بِهِ اللهُ
“หรือว่าพวกเขามีหุ้นส่วนในการกำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงอนุมัติ” ซูเราะห์อัชชูรอ อายะห์ที่ 21

ท่านหญิงอาอิชะห์ รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَليْهِ أمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ
“ผู้ใดกระทำสิ่งใดโดยสิ่งนั้นไม่ใช่งานของเรามันเป็นโมฆะ” (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 3243)

ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إنْ كانَ شَيْئًا مِنْ أمْرِ دُنْيَاكُمْ فَشَأْنُكُمْ بِهِ وَإنْ كَانَ مِنْ أُمُوْرِدِيْنِكُمْ فَإِلَيَّ
“หากว่าเรื่องใดก็ตามที่เป็นเกี่ยวกับดุนยาของพวกเจ้า มันเป็นภารกิจของพวกเจ้าในเรื่องนั้น แต่หากเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องศาสนาของพวกเจ้าก็จงกลับมาที่ฉัน” สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 2462 และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 12086

ท่านอนัส บินมาลิกรายงานว่า
أن نفرا من أصحاب النبي صلى الله عليه وسلم سألوا أزواج النبي صلى الله عليه وسلم عن عمله فى السر فقال بعضهم لا أتزوج النساء وقال بعضهم لا آكل اللحم وقال بعضهم لا أنام على فراش فحمد الله وأثنى عليه فقال مابال أقوام قالوا كذا وكذا لكني أصلي وأنام وأصوم وأفطر وأتزوج النساء فمن رغب عن سنتي فليس مني
“มีศอฮาบะห์ของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กลุ่มหนึ่งได้ถามบรรดาภรรยาของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับการกระทำของท่านนบีที่เขาไม่ทราบ (แต่หลังจากที่พวกเขาทราบ) บางคนในหมู่พวกเขาได้กล่าวว่า ฉันจะไม่แต่งงานกับสตรี,บางคนในหมู่พวกเขากล่าวว่า ฉันจะไม่กินเนื้อสัตว์, และบางคนก็กล่าวว่า ฉันจะไม่นอนบนที่นอน (หลังจากที่ข่าวนี้ถึงท่านนบี,ท่านได้เรียกประชุม) ท่านได้เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญอัลลอฮ์และสดุดีต่อพระองค์แล้วกล่าวว่า มีเหตุใดเกิดขึ้นหรือ พวกเขาตอบว่า อย่างนั้น,อย่างนี้ตามที่ตั้งใจ แต่ท่านนบีกล่าวว่า ทว่าฉันละหมาดและฉันก็นอน ฉันถือศีลอดแล้วก็ละศีลอด และฉันก็แต่งงานกับสตรี ดังนั้นผู้ใดไม่ปรารถนาแนวทางของฉัน เขาก็ไม่ใช่พวกของฉัน” (ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2487)

ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 ว่า
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقْتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ، وَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“และในเรื่องของ اَلْقُرَبَاتُ (เรื่องความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์หรือเรื่องผลบุญ) จะต้องถูก “จำกัดตามตัวบท” เท่านั้น จะไปแปรเปลี่ยนมันตามการอนุมานเปรียบเทียบต่างๆหรือแนวคิดต่างๆหาได้ไม่”

ท่าน ดร.ยูซุฟ อัล-ก็อรฺฎอวีย์ ได้อธิบายในหนังสือ “อัล-หะล้าล วัลหะรอม ฟิลอิสลาม” หน้า 25 ว่า ...
كَانَ أَحْمَدُ وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيْثِ يَقُوْلُوْنَ : إِنَّ اْلأَصْلَ فِى الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيْفُ، فَلاَ يُشْرَعُ مِنْهَا إِلاَّ مَا شَرَعَهُ اللهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنىَ قَوْلِهِ تَعَالَى : أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوْا لَهُمْ مِنَ الدِّيْنِ مَالَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللهُ .. (سورة الشورى 21)
وَالْعَادَاتُ اْلأَصْلُ فِيْهَا الْعَفْوُ، فَلاَ يُحْظَرُمِنْهَا إِلاَّ مَا حَرَّمَهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنَى قَوْلِهِ : قُلْ أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْزَلَ اللهُ لَكُمْ مِنْ رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَامًا وَحَلاَلاً .. (سورة يونس 59)
ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอื่นๆจากนักวิชาการฟิกฮ์ผู้เชี่ยวชาญหะดีษต่างกล่าวว่า : แท้จริง พื้นฐานของเรื่อง “อิบาดะฮ์” ทั้งมวลก็คือ ให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) ดังนั้นจะไม่มีอิบาดะฮ์ใดถูกกำหนดขึ้นมา (เพื่อปฏิบัติ) เว้นแต่ต้องเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงบัญญัติ (คือสั่ง) มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ)เราได้ล่วงล้ำเข้าสู่ความหมายของโองการที่ว่า .. “หรือพวกเขามีบรรดาภาคีที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ในสิ่งซึ่งอัลลอฮ์มิได้ทรงอนุญาต?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัช-ชูรออ์ อายะฮ์ที่ 21)

ส่วนในเรื่อง “อาดะฮ์” (สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์) นั้น พื้นฐานของมันก็คือ การอนุโลม (ให้ปฏิบัติได้) ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดต้องห้าม นอกจากสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา “ทรงห้าม”มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ) เราได้ล่วงล้ำเข้าไปสู่ความหมายของโองการที่ว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือว่า สิ่งซึ่งอัลลอฮ์ทรงประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่านนั้น พวกท่าน (กลับ) ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วน เป็นที่อนุมัติ ?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ยูนุส อายะฮ์ที่ 59 )

พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า
هُوَالذِى خَلَقَ لَكُمْ مَا فِى الأرْضِ جَمِيْعًا
“พระองค์คือผู้สร้างสรรพสิ่งในแผ่นดินทั้งหมดเพื่อพวกเจ้า” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 29

ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أنْتُمْ اَعْلَمُ بِامْرِ دُنْيَاكُمْ
“พวกเจ้าทั้งหลายรู้ในเรื่องดุนยาของพวกเจ้าดีกว่า” (ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 4358)

ดังนั้นเรื่องใดที่เป็นเรื่อง “อาดะฮ์” หรือภารกิจทางดุนยา ก็เป็นสิ่งที่ศาสนาเปิดกว้างให้ปฏิบัติได้หากไม่มีคำสั่งห้าม เช่น เราจะใช้ไม้ตะเกียบตักอาหาร ก็กระทำได้ เราใช้น้ำมันพืชทอดปลาก็กระทำได้ เราดื่มน้ำหวาน ก็ดื่มได้ เรารับประทานแกงเนื้อวัว ก็รับประทานได้ เราใช้น้ำมันพืชทอดปลาก็กระทำได้ เราจะสวมใส่เสื้อ ก็สวมได้ เราจะสวมแหวนทอง ก็สวมได้ เพราะมันเป็นเรื่อง “อาดะฮฺ” หรือภารกิจทางดุนยา หรือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ถึงแม้ไม่มีหลักฐานใช้ก็ตาม แต่ถ้ามีหลักฐานห้ามไว้ ขัดต่อบทบัญญัติอิสลาม ก็เป็นที่ต้องห้าม ถือเป็นสิ่งหะรอม เช่น เราใช้ไม้ตะเกียบไปทิ่มตาผู้อื่น เราใช้น้ำมันพืชที่เคยใช้ทอดหมูนำมาทอดปลา เราสวมใส่เสื้อสีแดงล้วนๆ หรือผู้ชายสวมใส่เสื้อที่ทำมาจากไหม หรือผู้ชายสวมแหวนที่ทำมาจากทอง เป็นต้น เราก็ไม่สามารถกระทำสิ่งดังกล่าวได้ เพราะเป็นเรื่อง “อาดะฮฺ” ที่ต้องห้ามตามบัญญัติอิสลาม

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ปรากฏว่าชาวญาฮิลียะฮฺ (ยุคก่อนหน้านบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จะประกาศศาสนา) พวกเขาบริโภคสิ่งต่างๆ และไม่บริโภคสิ่งต่างๆ ที่เห็นว่าสกปรก ดังนั้นพระองค์อัลลอฮฺทรงส่งนบีของพระองค์มา ประทานคัมภีร์ของพระองค์ พระองค์ทรงทำให้(สิ่งหนึ่ง)หะลาล (สิ่งหนึ่ง) หะลาล(อนุมัติ) และพระองค์ทรงทำให้ (สิ่งหนึ่ง)หะรอม (ต้องห้าม) ดังนั้นสิ่งใดอนุมัตินั้นคือสิ่งหะลาล และสิ่งใดต้องห้ามนั่นคือสิ่งหะรอม ส่วนสิ่งใดที่ไม่ระบุไว้(ว่าหะลาล หรือหะรอม) สิ่งนั้นได้รับการอภัย” (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 3802 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

จึงสรุปได้ว่า หลักพื้นฐานของโครงสร้างที่มาของวิชาอรรถคดี (อุศูลุ้ลฟิกฮ์) ในประเด็นที่ว่า
الأصل فى العادات الإباحة
“พื้นฐานของกิจทั่วไปคือการอนุมัติ”
الأصل فى العبادات التحريم
“พื้นฐานของอิบาดะห์ทั้งหลายคือการห้าม”

ผู้ที่มีทัศนะว่า“เมื่อไม่มีหลักฐานห้ามก็คือทำได้”

ผู้ที่มีทัศนะว่า เรื่องอิบาดะฮ์ใดก็ตาม แม้จะไม่มี “นัศ” หรือหลักฐานที่ชัดเจนในเรื่องนั้น แต่ก็สามารถจะปฏิบัติได้ทุกเรื่อง โดยมีเงื่อนไข 3 ประการคือ

1. มีหลักฐานกว้างๆรองรับไว้แล้ว

2. ไม่มีหลักฐานห้ามที่เจาะจงในเรื่องนั้น

3. ไม่ขัดกับหลักการศาสนา

ดังนั้น ผู้เห็นว่า แม้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในอิบาดะฮเรื่องใด ก็จงใช้ให้ใครสักคน “อะซาน” เพื่อเรียกผู้คนมาร่วมละหมาดญะมาอะฮ์วันอีด หรือละหมาดญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์ในเดือนรอมะฎอน เหมือนการอะซานก่อนละหมาดฟัรฺฎูได้เลย

เพราะ
ก. การอะซานเพื่อเรียกคนมาละหมาดญะมาอะฮ์ หรือไม่ว่าละหมาดอะไร มี “หลักฐานกว้างๆ” มารองรับ คือ โองการที่ 33 จากซูเราะฮ์ ฟุศศิลัต ที่ว่า
وَمَنْ أَحْسَنُ قَوْلاً مِمَّنْ دَعَا إِلَى اللهِ وَعَمِلَ صَالِحًا
“และใครเล่า จะดีเลิศในด้านคำพูด ยิ่งไปกว่าผู้ที่เรียกร้องเชิญชวนมาสู่อัลลอฮ์ และเขากระทำสิ่งที่ดี”
นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักฐานเสริม คือการ “กิยาส” การละหมาดญะมาอะฮ์วันอีดหรือละหมาดตะรอเวี๊ยะห์กับการอะซานละหมาดฟัรฺฎูได้ เพราะมี “จุดเหมือน” คือ เป็น “ละหมาด” เหมือนกัน, และมีการ “ญะมาอะฮ์” เหมือนกันด้วย

ข. การอะซานเพื่อเรียกร้องคนมาละหมาดวันอีดหรือละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ ไม่มีหลักฐานเจาะจงห้าม
หรือผู้นั้นเคยเจอหลักฐานเจาะจงห้ามอะซานเพื่อละหมาดอีดและละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ ???

ค. การอะซานเพื่อเรียกร้องคนมาละหมาดวันอีดหรือละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ ไม่ขัดกับหลักการศาสนาตรงไหนเลย ??

หรือผู้นั้นจะบอกว่า การ “อะซาน” เพื่อเรียกร้องคนมาละหมาด ขัดกับหลักการศาสนา ?
และในปีต่อๆไป ให้ผู้ที่มีทัศนะว่าการทำอิบาดะฮฺที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนให้กระทำ แต่มีหลักฐานกว้างมารองรับ และไม่มีหลักฐานห้ามมันก็ให้กระทำได้เช่นนี้ ก็ควรจะเรียกเก็บซะกาตส้มโอ ทุเรียน, มังคุด, มะม่วง, ทุเรียน, ลองกอง เป็นต้น เสียด้วย

เพราะ
ก. การเก็บซะกาตผลไม้อันเป็นสิ่งเพาะปลูกดังกล่าวมี “หลักฐานกว้างๆ” มารองรับ นั่นคือโองการที่ 267 จากซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ที่ว่า
يَاأَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْا أَنْفِقُوْا مِنْ طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ وَمِمَّا أَخْرَجْنَا لَكُمْ مِنَ اْلأَرْضِ
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย, พวกเจ้าจงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งดีทั้งหลายที่พวกเจ้าขวนขวายได้ และจากสิ่งซึ่งเราได้ให้มันออกมาจากพื้นดิน”

คำว่า “พวกเจ้าจงบริจาค” ในโองการบทนี้ ท่านอิบนุญะรีรฺ อัฏ-ฏ็อบรีย์ ได้รายงานในหนังสือตัฟซีรฺ “ญามิอุ้ลบะยาน” เล่มที่ 3 หน้า 81 จากท่านอะลีย์ ร.ฎ. และท่านอัช-เชากานีย์ ได้รายงานมาจากชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งในหนังสือตัฟซีรฺ “ฟัตหุ้ลเกาะดีรฺ” เล่มที่ 1 หน้า 436-437 ว่า หมายถึงการบริจาคที่เป็นฟัรฺฎูหรือซะกาต

และคำว่า “สิ่งที่เราได้ให้มันออก(งอกเงย)มาจากพื้นดิน” นั้น มิได้มีความหมายเฉพาะอินทผลัม, องุ่น, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เล่ย์หรือแร่ทองคำและเงินเท่านั้น แต่มีความหมายครอบคลุมผลไม้ทุกชนิดด้วย
ข. ไม่มี “หลักฐานเจาะจง” ห้ามเก็บซะกาตจากผลไม้เหล่านี้

ค. การเก็บซะกาตจากผลไม้เหล่านี้ไม่ขัดแย้งกับหลักการศาสนา
เวลามีคนตาย ให้ผู้ที่มีทัศนะว่าการทำอิบาดะฮฺที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนให้กระทำ แต่มีหลักฐานกว้างมารองรับ และไม่มีหลักฐานห้ามมันก็ให้กระทำได้เช่นนี้ ก็ไม่ควรจะกำหนดไปทำการซิกรุ้ลลอฮ์กันที่กุบูรฺอย่างเดียว แต่ควรจัดให้มีขบวนแห่ แล้วให้อ่านซิกรุ้ลลอฮ์หรืออ่านอัล-กุรฺอ่านดังๆ นำหน้ามัยยิตไปกุบูรฺ ด้วย เพราะตรงตามเงื่อนไข 3 ประการดังกล่าวทุกอย่าง

และ.. ดูเหมือนผู้นั้นจะส่งเสริมให้มีการซิกรุ้ลลอฮ์ได้โดยไม่จำกัด “สถานที่และเวลา” เพราะฉะนั้น ให้มีขบวนแห่แล้วทำการซิกรุ้ลลอฮ์ดังๆนำหน้ามัยยิตไปกุบูรนี่แหละ

และต่อไปนี้ ให้ผู้ที่มีทัศนะว่าการทำอิบาดะฮฺที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนให้กระทำ แต่มีหลักฐานกว้างมารองรับ และไม่มีหลักฐานห้ามมันก็ให้กระทำได้เช่นนี้ ก็ไม่ควรให้บ้านผู้ตายเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารอีกต่อไป เพราะแม้จะถือว่า มีหลักฐานกว้างๆเรื่องส่งเสริมให้เลี้ยงอาหาร และไม่มีหลักฐานห้ามเจาะจงก็จริง

แต่ก็ยังขาดเงื่อนไขข้อที่ 3 ที่ขัดกับหลักการศาสนา
นั่นคือ การให้ครอบครัวผู้ตายเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารนั้น “ขัดแย้ง” กับหลักการศาสนาที่ท่านนบีย์ “สั่ง” ให้บ้านใกล้เรือนเคียง เลี้ยงอาหารแก่ครอบครัวผู้ตาย

หรือ ผู้นั้นจะถือว่า “การที่เราเลี้ยงอาหารแก่ครอบครัวผู้ตาย” ตามคำสั่งท่านนบีย์ กับ “การให้ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารเรา” ตามการส่งเสริมของผู้นั้น ไม่ขัดแย้งกัน
..........................................................................
เพิมเติม
(หนังสือปทานุกรม “อัล-มุอฺญัม อัล-วะซีฏ” เล่มที่ 2 หน้า 926 กล่าวอธิบายว่า
اَلنَّصُّ مَا لاَ يَحْتَمِلُ إِلاَّ مَعْنىً وَاحِدًا، أَوْ لاَ يَحْتَمِلُ التَّأْوِيْلَ
“นัศ ก็คือ สิ่งซึ่งไม่สามารถจะตีความ(เป็นอย่างอื่น)ได้นอกจากเพียงความหมายเดียว, หรือสิ่งซึ่งไม่สามารถจะตะอ์วีล(แปรเปลี่ยนความหมาย)) เป็นอย่างอื่นได้”
รวมความแล้ว คำว่า “นัศ” (ที่เป็นหลักฐานเรื่องผลบุญ)จึงไม่ได้หมายถึง “หลักฐานกว้างๆ” .แต่คำว่า “นัศ” จะหมายถึง “หลักฐานที่ชัดเจนที่ไม่สามารถจะตีความเป็นอย่างอื่นได้” .. อาทิเช่น “นัศ” เรื่องการอ่านอัล-กุรฺอ่านเพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย, “นัศ” เรื่องการจัดเลี้ยงอาหารเพื่อส่งบุญให้ผู้ตาย เป็นต้น )

والله أعلم بالصوا
..................
ข้อมูลจากท่านอาจารย์มะห์มูด (ปราโมทย์) ศรีอุทัย และอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ลุกมานสอนลูก



             พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ถึงประวัติของท่านลุกมาน ผู้สั่งสอนลูกที่รักของตน ไว้ดังนี้

ท่านลุกมานทรงสอนลูก ว่า

-อย่าตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺ
-การบูชาเจว็ดนั้นเป็นบาปใหญ่หนัก
-จงเชื่อฟังคำสอนของบิดามารดาของเจ้า
-ถ้าหากบิดามารดาของเจ้า บังคับให้ลูกตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ก็จงปฏิเสธไม่ต้องปฏิบัติตามท่านเด็ดขาด
-จงอยู่ร่วมกับบิดามารดา ด้วยมารยาทที่ดีงาม
-จงปฏิบัติตามผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระองค์อัลลอฮฺ
-พระองค์อัลลอฮฺจะส่งข่าวดีแก่ผู้กระทำความดีในโลกนี้
-จงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด
-ให้ใช้กันกระทำความดี และตักเตือนห้ามปรามให้ละเว้นกระทำความชั่ว
-จงอดทนต่อสิ่งที่มาประสบกับเจ้า
-จงอย่ายิ่งยะโสทะนุงตน และคุยโอ้อวด
-จงพูดจาที่นุ่มนวน

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตรัสว่า

وَإِذْ قَالَ لُقْمَانُ لِابْنِهِ وَهُوَ يَعِظُهُ يَا بُنَيَّ لَا تُشْرِكْ بِاللَّهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ ( 13 )
และจงรำลึกเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่า “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน“

وَوَصَّيْنَا الْإِنسَانَ بِوَالِدَيْهِ حَمَلَتْهُ أُمُّهُ وَهْنًا عَلَىٰ وَهْنٍ وَفِصَالُهُ فِي عَامَيْنِ أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ إِلَيَّ الْمَصِيرُ ( 14 )
และเราได้สั่งการแก่มนุษย์เกี่ยวกับบิดา มารดาของเขา โดยที่มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาอ่อนเพลียลงครั้งแล้วครั้งเล่า และการหย่านมของเขาในระยะเวลาสองปี เจ้าจงขอบคุณข้า และบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้น คือการกลับไป

وَإِن جَاهَدَاكَ عَلَىٰ أَن تُشْرِكَ بِي مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ فَلَا تُطِعْهُمَا وَصَاحِبْهُمَا فِي الدُّنْيَا مَعْرُوفًا وَاتَّبِعْ سَبِيلَ مَنْ أَنَابَ إِلَيَّ ثُمَّ إِلَيَّ مَرْجِعُكُمْ فَأُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ ( 15 )
และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขาทั้งสอง และจงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดี และจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า และยังเรานั้นถือทางกลับของพวกเจ้า ดังนั้น ข้าจะบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้

يَا بُنَيَّ إِنَّهَا إِن تَكُ مِثْقَالَ حَبَّةٍ مِّنْ خَرْدَلٍ فَتَكُن فِي صَخْرَةٍ أَوْ فِي السَّمَاوَاتِ أَوْ فِي الْأَرْضِ يَأْتِ بِهَا اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ لَطِيفٌ خَبِيرٌ ( 16 )
“โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง (หากว่าความผิดนั้น) มันจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง มันจะซ่อนอยู่ในหิน หรืออยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย หรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮฺก็จะทรงนำมันออกมา แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง”

يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلَاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنكَرِ وَاصْبِرْ عَلَىٰ مَا أَصَابَكَ إِنَّ ذَٰلِكَ مِنْ عَزْمِ الْأُمُورِ ( 17 )
“โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจงใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง”

وَلَا تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلَا تَمْشِ فِي الْأَرْضِ مَرَحًا إِنَّ اللَّهَ لَا يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ ( 18 )
“และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด”

وَاقْصِدْ فِي مَشْيِكَ وَاغْضُضْ مِن صَوْتِكَ إِنَّ أَنكَرَ الْأَصْوَاتِ لَصَوْتُ الْحَمِيرِ ( 19 )
“และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณ และจงลดเสียงของเจ้าลง แท้จริง เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง(ร้อง) ของลา”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺลุกมาน สูเราะฮฺที่ 31 อายะฮฺที่ 13-19)

والله أعلم بالصوا

อิสลามกับการถ่ายรูป



กรณีการถ่ายรูป ด้วยกล้องถ่ายรูป นั้น นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้ง แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ ดังนี้

ทัศนะแรก

การถ่ายรูปที่มีวิณญาณ กล่าวคือ มนุษย์ และสัตว์ เป็นที่ต้องห้ามหะรอม ถือหุก่มเดียวกับหุก่มการวาดรูปภาพสัตว์ และมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ส่วนหนึ่งจากโทษหนักยิ่ง ที่มนุษย์จะประสบในวันกิยามะฮฺ คือ บรรดาผู้ที่สร้าง(หรือวาด)ให้เกิดรูปภาพ” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 5963 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

ทัศนะที่สอง

การถ่ายรูปด้วยกล้องถ่ายรูป อนุญาตให้ถ่ายได้ แม้จะเป็นรูปภาพมนุษย์ หรือสัตว์ก็ตาม เพราะการถ่ายรูปนั้น ถือเป็นการขังเงาของมนุษย์เท่านั้น การเก็บภาพต่างๆนั้นเราใช้กล้องถ่ายรูป ( camera ) ใช้หลักการสะท้อนของแสง สะท้อนจากวัตถุเข้าผ่านเลนส์มากระทบบนแผ่นฟิลม์ไวแสง ปัจจุบันการบันทึกได้เข้าสู่ยุคดิจิตอล จากฟิลม์ไวแสงเปลี่ยนไปเป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ( sensor ) อยู่ภายในกล้อง ทำหน้าที่ในการแปลงแสงที่มากระทบบนเซ็นเซอร์ แล้วทำการแปลงภาพนั้นๆ ให้เป็นข้อมูลดิจิตอล ( digital )เรียกอุปกรณ์นี้ว่ากล้องดิจิตอล จากนั้นนำไปบันทึกลงหน่วยความจำแบบเดียวกับหน่วยความจำที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ เงาเป็นผลที่ตามมาของแสงที่มีวัตถุบังแสงนั้น ถึงทำให้เกิดเงาขึ้นมาได้ เงาจะเกิดตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งไม่ใช่เป็นวาด หรือสร้าง ที่เป็นการเลียนแบบการสร้างของพระองค์อัลลอฮฺแต่ประการใด

เพียงแต่เมื่อถ่ายภาพแล้วก็เก็บไว้ในอัลบั้มรูป ไม่อนุญาตให้นำไปแขวนในบ้าน

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“มลาอีกะฮฺไม่เข้าบ้านหลังหนึ่งซึ่งมีสุนัข(เลี้ยงไว้) และรูปภาพ(แขวนไว้)ในบ้านหลังนั้น" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 5636 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

والله أعلم بالصوا

การสุญูดซะฮฺวีย์อันเนื่องจากลืมนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก



การสุญูดซะฮฺวีย์ คือการสุญูดอันเนื่องจากหลงลืมสิ่งที่เป็นวาญิบในละหมาด ซึ่งการหลงลืมเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้อยู่ในการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮ์ก็ตาม

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“แท้จริงฉันเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาเยี่ยงพวกท่าน ฉันหลงลืมเสมือนที่พวกท่านหลงลืม ครั้นเมื่อฉันหลงลืม(เมื่อไหร่) พวกท่านก็จงเตือนฉันเถิด” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษที่ 401 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

สำหรับกรณีผู้ละหมาดลื่มนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก จะต้องสุญูดซะฮฺวีย์ 2 ครั้ง ก่อนที่เขาจะให้สลาม
ซึ่งหากกรณีผู้ละหมาดลืมนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก โดยเขาลุกขึ้นยืนตรงในร็อกอะฮฺถัดไปแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้เขาลงมานั่งตะชะฮฺ แม้ว่ามะมูมจะได้เตือนแล้ว แต่ให้เขาดำเนินการละหมาดจนครบร้อกอะฮฺของละหมาดนั้น จากนั้นก่อนให้สลาม ให้เขาสุญูดซะฮฺวีย์ 2 ครั้ง

แต่ถ้าเขากำลังยืนในร้อกอะฮฺถัดไป โดยเขายังยืนไม่ตรง หากเขานึกขึ้นได้ หรือมะมูมได้เตือนเขา ก็ให้เขาลงมานั่งตะชะฮฺฮุดครังแรก และไม่ต้องสุญูดซะฮฺวีย์ก่อนเลิกละหมาดอีก

ท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“เมื่อบุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่านยืนขึ้นหลังจาก(ละหมาด)2 ร็อกอะฮฺแล้ว แต่เขายืนไม่ตรง (โดยลืมนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก) เช่นนี้เขาจง(ลงมา) นั่ง (ตะชะฮฺฮุดครั้งแรก)เถิด (ส่วนกรณี)ถ้าเขายืนตรงแล้ว เช่นนั้นขาอย่าลงมานั่ง แต่เขาจงสุญูด(ซะฮฺวีย์) 2 ครั้ง” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1265 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

สำหรับสุญูดซะฮฺวีย์ ก็เหมือนกับสุญูดทั่วไป ทั้งคำอ่านและวิธีการ โดยให้สุญูด 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งให้อ่าน “ซุบอานะร็อบบิยัลอะอฺลา” จากนั้นให้สลามทันที โดยไม่ต้องอ่านตะชะฮฺอุดอีก

والله أعلم بالصوا

การสุญูดซะฮฺวีย์เนื่องจากละหมาดขาด หรือละหมาดเกินร็อกอะฮฺ


กรณีผู้ละหมาดขาด หรือละหมาดเกิน โดยเขารู้ข้อบกพร่องนั้นก่อนให้สลาม เช่นนี้ก็ให้เขาสุญูดซะฮฺวีย์ก่อนละหมาด

ท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“เมื่อบุคคลใดเกิดสงสัยในการละหมาดของเขา โดยเขาไม่ทราบว่า เขาละหมาดไปแล้ว 3 หรือ 4 ร้อกอะฮฺ (กันแน่) เช่นนี้เขาจงทิ้งสิ่งที่สงสัย แต่จงยึดสิ่งที่มั่นใจ (เท่านั้น) จากนั้นให้เขาสุญูดซะฮฺวีย์ 2 ครั้งก่อนให้สลาม” (บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1300 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

กรณีผู้ละหมาดขาด หรือละหมาดเกิน โดยที่เขารู้ข้อบกพร่องนั้นหลังจากให้สลามเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นนี้ให้เขาสุญูดซะฮฺวีย์หลังให้สลามเสร็จ

ท่านอับดุลลอฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์เล่าว่า
“ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ละหมาดซุฮฺรีเป็นอิมาม พวกเขาละหมาด 5 ร็อกอะฮฺ มีผู้กลาวถามว่า :ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เพิ่มร็อกอะฮฺในละหมาดหรือ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ถามว่า : เรื่องอะไรหรือ? พวกเขากล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ละหมาด 5 ร็อกอะฮฺ จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็สุญูด(วะฮฺวีย์) 2 ครั้ง หลังจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ให้สลามเสร็จแล้ว” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 7249 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

แต่ถ้าผู้ละหมาดไม่สามารถแยกแยะหรือสับสนว่าเหตุการณ์สุญูดซะฮฺวีย์เกิดขึ้นก่อนหรือหลังสลาม ก็อนุญาตให้เขาสุญูดซะฮฺวีย์ก่อนหรือหลังสลามก็ได้

ท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“เมื่อบุคคลใดที่(ละหมาด)เพิ่ม หรือ (ละหมาด) ขาด เช่นนั้นเขาสุญูด 2 ครังเถิด” (บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1315 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

والله أعلم بالصوا

กรณีสุญูดซะฮิวีย์เมื่อสงสัยจำนวนร็อกอะฮฺ


หากผู้ละหมาดเกิดสงสัยเรื่องจำนวนร็อกอะฮฺ ว่าละหมาดไปกี่ร็อกอะฮฺแล้ว เช่นนี้ ให้ผู้ละหมาดยึดจำนวนที่แน่ใจ หรือให้ยึดจำนวนน้อยเป็นหลัก แล้วละหมาดไปจนครบ เมื่อก่อนให้สลาม ก็ให้สุญูดซะฮฺวีย์ 2 ครั้ง เช่น เมื่อละหมาดอัศรี สงสัยว่าละหมาดไปแล้ว 3 หรือ 4 ร็อกอะฮฺ ก็ให้เขาเลือกร้อกอะฮฺ 3 ร็อกอะฮฺ จากนั้นก็ให้ทำอีก 1 ร็อกอะฮ์ เมื่อก่อนสลามออกจากละหมาด ก็ให้สุญูดซะฮิวีย์ 2 ครั้ง เป็นต้น

ท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“และเมื่อบุคคลใดในหมู่พวกท่านสงสัยในการละหมาดของเขาเช่นนั้น เขาจงเลือกจำนวน(ร็อกอะฮฺ) ที่มั่นใจ จากนั้นให้เขาละหมาดจนครบ แล้วสุญูด(ซะฮฺวีย์) 2 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 1302 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

ท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“และเมื่อสงสัยว่า(ละหมาด) 3 หรือ 4 (ร็อกอะฮฺ) เช่นนี้ ให้เขาถือ (การละหมาดนั้น) 3 ร็อกอะฮฺ จากนั้นให้การละหมาดที่เหลือสมบูรณ์เถิด” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1266 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

ข้อสังเกต
-ถ้าอิมามสุญูดซะฮฺวีย์ มะมูมก็ต้องสุญูดซะฮฺวีย์ด้วย

-ถ้าอิมามไม่สุญูดซะฮฺวีย์ มะมูมต้องสุญูดซะฮฺวีย์ ถ้าอิมามลืม ก็ให้เตือนอิมาม ให้สุญูดซะฮฺวีย์

-หากตั้งเจตนาว่าไม่สุญูดซะฮฺวีย์ ต้องละหมาดใหม่ เพราะการละหมาดใช้ไม่ได้

والله أعلم بالصواب

การกล่าวแต่คุณงามความดีของผู้ตาย


                 เมือมีมุสลิมคนใดเสียชีวิต ให้เรากล่าว หรือชมเชยผู้ตายแต่สิ่งดีงามของเขา เพราะการที่ผู้คนต่างพูดถึงเขาแต่ในเรื่องดีงาม ย่อมเป็นข่าวดีว่าผู้เสียชีวิตนั้นจะได้เข้าสวรรค์ ไม่กล่าวหรือกระทำการใดอันเป็นที่เสียหายแก่เขา เพราะการที่ผู้คนต่างพูดต่างพูดถึงผู้ตายแต่สิ่งไม่ดี ย่อมเป็นข่าวร้ายที่ผู้เสียชีวิตจะได้เข้านรก

รายงานจากท่านอนัส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
พวกเรา(ศอหาบะฮฺ) ได้ผ่านญะนาซะฮฺคนหนึ่ง พวกเขาก็ได้ชมเชยญะนาซะฮฺนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ยินจึงกล่าว่า สมควรแล้ว แล้วพวกเขาก็ได้ผ่านอีกญะนาซะฮฺหนึ่ง แล้วพวกเขาก็ได้ตำหนิญะนาซะฮฺนั้น ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็กล่าวว่า “สมควรแล้ว ท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ จึงถามท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า สมควรอะไรกันหรือท่านรสูล? ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ตอบว่า
: คนที่พวกท่านชมเชย สวรรค์ก็เป็นที่สมควรแก่เขาแล้ว และคนที่ท่านกล่าวตำหนิ นรกย่อมเป็นที่สมควรแก่เขาเช่นกันพวกท่านนั้นคือปวงพยานของอัลลอฮฺ ณ พื้นแผ่นดินนี้”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

สำหรับที่มุสลิมในบางพื้นที่ มีเจตนาถามเพื่อชักนำให้ผู้คนกล่าวชมเชยผู้ตาย
จะมีอิมามนำละหมาดญะนาซะฮฺหันมาถามมะอฺมูมหลังให้สลาม
 “คนๆนี้ได้เสียชีวิตลงแล้ว พวกท่านจะเป็นพยานให้แก่เขาว่าอย่างไร?”
 ก็จะมีคนตอบว่า “เขาเป็นคนดี” (ถึงแม้ว่าเขาเป็นคนชั่วช้าก็ตาม)

 ไม่มีเหตุสมควรใดเลยที่จะถามเช่นนี้ เพราะเป็นการบีบบังคับผู้อื่นเป็นพยาน และหากว่ามีใครสักคนเป็นพยานว่าผู้ตายคนนี้ไม่ดี แน่นอนย่อมจะเกิดฟิตนะฮฺจากการกระทำเช่นนี้อย่างแน่นอน ซึ่งจริงๆแล้ว ตามหะดิษข้างต้น ให้กล่าวชมเชย หรือเรื่องดีๆ ที่ผู้ตายได้กระทำไว้ในโลกนี้ตามความเป็นจริง ไม่ต้องพูดเรื่องที่ไม่ดีของญานะซะฮฺนั้น แต่ถ้าหากว่าผู้ตายนั้นเป็นคนกระทำชั่วมาตลอด จนไม่มีความดีใดๆแก่เขาเลย ก็ไม่ต้องพูดถึงสิ่งไม่ดี หรือด่า ว่าร้ายเแก่ผู้ตาย

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“พวกท่านทั้งหลาย อย่าได้ด่าว่าบรรดาผู้เสียชีวิตไปแล้ว เพราะแท้จริง พวกเขาได้เพชิญกับสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไปแล้ว” (บันทึกหะดิษโดยอัลบุคอรีย์)

والله أعلم بالصواب

เวลาที่เหลืออยู่

กาลเวลานั้นสำคัญไฉน

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานกี่ยวกับกาลเวลา หลายโองการด้วยกันได้แก่

وَالْعَصْرِ ( 1 )
ขอสาบานด้วยกาลเวลา
إِنَّ الْإِنسَانَ لَفِي خُسْرٍ ( 2 )
แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลอัศรฺ : 1-2)
وَاللَّيْلِ إِذَا يَغْشَىٰ ( 1 )

ขอสาบานด้วยเวลากลางคืน เมื่อมันปกคลุม
وَالنَّهَارِ إِذَا تَجَلَّىٰ ( 2 )
และด้วยเวลากลางวันเมื่อมันประกายแสง
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ลัยลฺ: 1-2)

وَالْفَجْرِ ( 1 )
ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ
وَلَيَالٍ عَشْرٍ ( 2 )
และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลฟัญรฺ : 1-2)

وَالضُّحَىٰ ( 1 )
ขอสาบานด้วยเวลาสาย
وَاللَّيْلِ إِذَا سَجَىٰ ( 2 )
และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันมืด และสงัดเงียบ
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัฎฎุหา : 1-2)

พระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงสาบานด้วยกาลเวลา เพื่อบ่งบอกถึงความมหัศจรรย์ของกาลเวลาที่พระองค์ทรงบันดาลขึ้น เวลานั้นนั้นคือความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮฺที่มีต่อทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง การขอบคุณในความโปรดปรานของเวลากระทำได้ด้วยการใช้มันในหนทางที่เกิดการภัคดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ และใช้ประโยชน์จากมันด้วยการทำอามัลที่ดี

เวลานั้นหากเปรียบกับทรัพย์สินแล้ว เวลานั้นย่อมมีค่ากว่าทรัพย์สิน ดังนั้นให้เราตระหนักและรีบเร่งในการฉวยโอกาสเพื่อประกอบสิ่งที่ดีงามต่างๆ โดยไม่ปล่อยให้มันจากไปโดยไร้ประโยชน์ หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยจากเขาไป เขาก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ แตกต่างกับทรัพย์ที่เป็นเป็นของนอกกาย ซึ่งเป็นของที่ไร้ค้านักที่ชนแห่งอาคิเราะฮฺมองเท่านั้น ซึ่งจะเรียกกลับคืนมาเมื่อไหร่ก็ได้

ดังนั้นให้เราขบคิดและหาทางเพื่อเวลาทั้งหมดที่เกือบหมดไปทุกที ละทิ้งสิ่งไร้สาระ และใช้มันไปเรื่องที่ดีงาม เพื่อให้ผู้ศรัทธาได้รับความสำเร็จจากพระองค์อัลลอฮฺทั้งดุนยาและอาคีเราะฮฺ

والله أعلم بالصواب

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

มติเอกฉันท์ของนักวิชาการ


คำว่า إِجْمَاعٌ (มติเอกฉันท์) หมายถึง สิ่งซึ่งนักวิชาการมีความเห็นตรงกันและไม่ขัดแย้งกันเลย
ข้ออ้าง “อิจญมาอฺ” หรือมติเอกฉันท์ดังกล่าว ด้วยคำพูดของท่านอิหม่ามอะห์มัดซึ่งถูกบันทึกในหนังสือ “มะซาอิล อิหม่ามอะห์มัด” ของท่านอับดุลลอฮ์บุตรชายของท่านอิหม่ามอะห์มัดเอง หน้า 439 ที่ว่า

مَنِ ادَّعَى اْلإِجْمَاعَ فَهُوَ كَذَبَ! لَعَلَّ النَّاسَ إِخْتَلَفُوْا
“ผู้ใดอ้างว่า มีอิจญมาอฺ (มติเอกฉันท์) ผู้นั้นก็กล่าวเท็จแล้ว! เพราะบางที ประชาชนอาจขัดแย้งกันได้”

والله أعلم بالصواب

ทุกการงานอัลลอฮฺจะตอบแทนตามเจตนาที่ตั้งไว้


ทุกๆการงานที่มุสลิมปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นกิจการทางดุนยา หรือกิจการศาสนา อันได้แก่ การทำอบิดะฮฺต่างๆ เช่น การละหมาด ถือศิลอด ประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นต้น ไม่ใช่ว่าจะได้รับผลตอบแทนจากพระองค์อัลลอฮฺ ตามที่เรากระทำ หรือกล่าวออกมาจากภายนอก หรือที่ผู้อื่นเห็นเรากล่าว หรือกระทำเช่นนั้นเสมอไป แต่มันขึ้นอยู่ว่าการงานนั้นเราเนียต หรือตั้งเจตนาไว้อย่างไร

عَنْ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ أَبِي حَفْصٍ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رضي الله عنه قَالَ: سَمِعْت رَسُولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ: " إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ فَهِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوْ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إلَى مَا هَاجَرَ إلَيْهِ" .
รายงานจากอะมีรุลมุอฺมินีน อบูหัฟศฺ อุมัร บิน อัลค็อตฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอะนฮุ ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริงทุกๆการงานจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และแท้จริงทุกๆคนจะได้รับ (การตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (แสวงหาความโปรดปรานจาก) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ การอพยพของเขาก็จะกลับไปสู่ (ความโปรดปรานของ) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (ผลประโยชน์) ทางโลกที่เขาจะได้รับ หรือเพื่อหญิงนางหนึ่งที่เขาหวังจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะกลับคืนสู่สิ่งที่เขาได้อพยพไป (จะถูกพิจารณาตามที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้)”
[ บันทึกโดย อัลบุคอรีย์, เลขที่ 1, มุสลิม, เลขที่ 1907 ]

ท่านอลฏอบรอนียฺ ได้กล่าวถึงเบื้องหลังของหะดิษนี้ โดยกล่าวถึงรายงานจากอิบนิมัสอูด กล่าว่าว่ามีชายคนหนึ่งได้หมั้นหญิงคนหนึ่งคนชื่อว่า อุมมุกอยซฺ และนางได้ปฏิเสฑที่จะแต่งงานกับเขา จนกว่าจะได้อพยพออกจากมักกะฮฺไปมะดีนะฮฺก่อน ต่อมาชายผู้นี้ก้ได้อพยพตามนางไป และได้แต่งงานกับนาง”
จากหะดิษนี้ จะเห็นได้ว่าถึงแม้แต่ละคนกระทำสิ่งเดียวกัน แต่ผลที่ได้รับตอบแทนจากพระองค์อัลลอฮฺแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจตนา หรือการเนียตที่อยู่เบื้องลึกของจิตใจของเขานั้นเอง

เช่น หากมีการละหมาดญะมาอะฮฺ กันในมัสยิดหนึ่ง คนหนึ่งเขามีการเนียต หรือเจตนารมณ์มุ่งมั่นต่อการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลฮฺ ถึงแม้เขาจะไม่กล่าวอะไรออกมาก่อนจะเข้าเวลาละหมาดก็ตาม แต่การกระทำของเขา คือ ละหมาด ตรงกับเจตนารมณ์เบื้องลึกของเขา เขาผู้นั้นจะได้รับการตอบแทนผลบุญของการละหมาดนั้น แต่มุสลิมอีกคนหนึ่ง ก่อนละหมาดเขากล่าวออกมาอย่างอย่างชัดถ่อยชัดคำ ว่า อุศ็อลลี หรือ กูสะมายัง และการกระทำละหมาดของเขาภายนอกแบบประณีตถูกต้องตามแบบฉบับท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่เจตนาเนียตของเขาจริงๆ ก็เพื่อให้ใครคนหนึ่งยืนยอ หรือชมเชย ว่าเขาเป็นผู้ที่เคร่งคลัดศาสนา เขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากพระองค์อัลลอฮฺในการละหมาดครั้งนั้น แต่เขาจะได้รับการยกย่องเชิดชูจากคนผู้อื่นว่าเขาเป็นคนเคร่งคลัดศาสนา แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

ดังนั้น การกระทำบางอย่างด้วยปฏิกิริยาอาการ หรือ หรือกระทำด้วยปาก หรือด้วยลิ้นออกมาเป็นคำพูด เป็นเพียงการกระทำที่สื่อไปยังเจตนาภายในใจของเขา แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำจากภายนอกทุกกรณีจะตัดสินได้ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำจากใจจริงของเขาเสมอไป แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าว่าการกระทำภายนอกของเขาสอดคล้องกับเจตนาวัตถุประสงค์ของเขาภายในจิตใจหรือไม่ ถึงแม้บุคคลอื่นที่เห็น หรือได้รับฟังคำพูด ของเขา จะไม่ทราบความเป็นจริงภายในเบื้องลึกของจิตใจเขาก็ตาม แต่เจตนาซ้อนเร้นหรือเจตนาอำพลางของเขานั้น ไม่อาจปิดบังความจริงกับพระองค์อัลลอฮฺได้

والله أعلم بالصواب

เรื่องหลับนอนระหว่างสามีภรรยาคือความลับ


ในยุคปัจจุบัน มุสลิมบางคนที่อ่อนแอ ได้นำเรื่องเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของพวกเขามาเปิดเผยและแต่มเติม เสริมแต่งเพื่อโอ้อวดประกวดประชันกันต่อหน้าบรรดาเพื่อนพ้องอย่างไร้ยางอาย สิ่งเหล่านี้อิสลามไม่อนุมัติให้สามีหรือภรรยาอันเรื่องส่วนตัวระหว่างสามีมาพูด หรือเผยแพร่ต่อผู้อื่นโดยเด็ดขาด

รายงานจากท่านอบูสอี๊ด อัลคุดรี่ย์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริงมนุษย์ที่มีฐานะชั่วช้าที่สุดในวันกิยามะฮฺ คือ ชายที่ร่วมหลับนอนกับภรรยาแล้วนางก็ร่วมหลับนอนกับเขา แล้วต่อมาเขาก็นำความลับนั้นมาเผยแพร่” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

หะดิษนี้ในบันทึกของอิมามอะหฺมัดยังมีเพิ่มเติมว่า
“ทั้งสองคนนั้นเปรียบเสทอนชัยฏอนตัวผู้ตัวมีย เมื่อมันพบปะคู่ของมันกลางถนนหนทาง มันก้สมสู่กัน ขณะที่ผู้คนกำลังมองมันอยู่”

และอิสลามยังไม่อนุญาตให้ภรรยาบอกลักษณะหรือเปิดเยความงามที่ซ่อนเร้นของหญิงอื่นแก่สามีของตน เพราะอาจทำให้จิตใจของเขาหวั่นไหวและผูกพันกับหญิงนั้น

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“สตรีนั้นอย่าได้เปิดเผยเรื่องของสตรีอื่น โดยบอกลักษณะของหญิงอื่นแก่สามีตน จนเสมือนกับว่าเขากำลังมองนางอยู่ (บันทึกหะดิษโดยืมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามีภรรยาต้องปกปิด มีความละอายต่อพระองค์อัลลอฮฺ ละลายต่อเพื่อนด้วยกัน จึงเป็นเรื่องความลับสำหรับเขาทั้งสอง...

والله أعلم بالصواب

กรณีที่ว่าผู้ใดมาไม่ทันคุฏบะฮฺการละหมาดวันศุกร์ใช้ไม่ได้


จากรายงานหะดิษต่อไปนี้

รายงานท่านอิบนุ อุมัรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดที่มาทันหนึ่งร็อกอะฮฺของละหมาดวันศุกร์ หรือละหมาดอื่นจากวันศุกร์ เช่นนั้นถือว่าเขาทันละหมาดนั้นแล้ว”(หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1113 และอบูดาวูด หะดษที่ 946)

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดที่ทันหนึ่งร็อกอะฮฺจากการละหมาด แน่นอนยิ่งเขาได้ทันในการละหมาดนั้น” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 546 และมุสลิม หะดีษที่ 954)

จากหะดิษข้างต้น ถือว่าบุคคลใดที่มาทันละหมาดวันศุกร์เพียงหนึ่งร็อกอะฮฺ ถือว่าเขาทันละหมาดวันศุกร์ เมื่ออิมามให้สลามก็ให้เขายืนขึ้นละหมาดร็อกอะฮฺต่อไปจนครบ แต่ถ้าไปทัน อิมามกำลังสุญูดในร็อกอะฮฺที่สอง หรืออิมามกำลังนั่งตะชะฮฺฮุดขณะละหมาดวันศุกร์ เช่นนี้ถือว่าเขาผู้นั้นไม่ทันละหมาดวันศุกร์ เช่นนี้ก็ให้เขาละหมาดซุฮฺริ หรือละหมาดสี่ร็อกะฮฺโดยไม่ต้องละหมาดวันศุกร์

ดังนั้นคำพูด หรือทัศนะที่ว่า คุฏบะฮฺนั้นเสมือนกับ 2 ร็อกอะฮฺของละหมาด ถ้าผู้ใดมาไม่ทันที่อิมามคุฏบะฮฺ การละหมาดวันศุกร์ของเขาก็ใช้ไม่ได้นั้น เป็นทัศนะที่ค้านกับหลักฐานข้างต้นว่าผู้ใดมาทันละหมาดวันศุกร์เพียง 1 ร็อกอะฮฺถือว่าเขาทันละหมาดวันศุกร์ ถือว่าแนวความคิดข้างต้นขัดแย้งกับหลักฐานและตัวบทที่ยึดถือได้อย่างชัดเจน

والله أعلم بالصواب

สถานที่ละหมาดวันศุกร์

สถานที่ละหมาดวันศุกร์
ละหมาดวันศุกร์นั้น ละหมาดใช้ได้ ทั้งในเมือง ในตำบล ในอาคาร กลางทุ่งของเมืองนั้น เช่นเดียวกันที่จะใช้ได้ในหลายสถานที่
แท้จริงท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้เขียนสารส่งไปยังชาวบาฮฺเรน ว่า
“ให้พวกท่านละหมาดร่วมกันในที่ใดก็ตามที่พวกท่านอาศัยอยู่” (บันทึกหะดิษโดย อิบนุอบีชัยบะฮฺ)

ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าว่า
“สายรายงานหะดิษนี้ดี อันนี้คลุมไปถึงเมืองและตำบลต่างๆด้วย

ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
“แท้จริงละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกที่ได้ทำขึ้นในศาสนาอิสลาม หลังจากละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำในมัสยิดรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่เมืองมะดีนะฮฺ แล้วก็คือ ละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำขึ้นที่(ญะวาอี) หมู่บ้านหนึ่ง จากบรรดาหมู่บ้านในในบาฮฺเรน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และอบูดาวูด)

รายงานจากลัยษ์ อบบนิสะอัด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“แท้จริงชาวอียิปต์ และชาวชายฝั่งทะเล พวกเขาได้ละหมาดวันศุกร์กันในสมัยอุมัร และอุษมาน โดยคำสั่งของทั้งสอง ซึ่งในการละหมาดนั้นมีสาวกร่วมอยู่ด้วยหลายคน”

รายงานจากท่านอิบนิอุมัร เล่าว่า
“เขาเคยเห็นเจ้าของบ่อน้ำที่อาศัยอยู่ระหว่างเมืองมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ ร่วมละหมาดวันศุกร์กัน โดยไม่มีใครวิจารณ์พวกเขาแต่ประการใด” (บันทึกหะดิษโดยอัรร็อซซาก ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)

ละหมาดวันศุกร์ เป็นการละหมาดรวมกัน เป็นขอบเขตที่มีระบุไว้ในสุนนะฮฺ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้ ส่วนที่นักนิติศาสตร์อิสลามบางท่านได้วางเงื่อนไขว่า สถานที่ละหมาดวันศุกร์ ต้องมีมัสยิดกลางอยู่ในเมือง หรือมัสยิดจะต้องเป็นมัสยิดรวมและต้องมีห้องน้ำ เงื่อนไขดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาระบุไว้ ทัศนะดังกล่าวไม่มีพื้นฐานความรู้ และไม่พบในคัมภีร์กุรอานของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่อย่างใด

والله أعلم بالصواب

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

อิสลามกับเสื้อสีแดง


อิสลามห้ามสวมใส่เสื้อสีแดงล้วนๆ

รายงานจากท่านอิบนุ อาซิบ ร่อฎียัลลอฮุิันฮุ เล่าว่า
"ท่านบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ห้ามพวกเราใช้ที่นอนนุ่มสีแดง และเสื้อผ้าที่ถูกทอด้วยเส้นไหม" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 5838)

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ฉันถูกห้าม(สวมใส่) เสื้อผ้าสีแดง และ (สวม) แหวนทองคำ และอ่านอัลกุรอานในขณะที่ฉันรุกัวะอฺ"
(บันทึกหะดิษโดยนะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 5283)

รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของอัมร์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"บุรุษผู้หนึ่งสวมใส่เสื้อเสื้อสีแดงสองชิ้นเดินผ่านท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม พร้อมให้สลามแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่ทว่าท่านนบีไม่ตอบรับสลามเขาผู้นั้น"
(บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 3037)

แต่อนุญาตให้สวมใส่เสื้อผ้าสีแดงปนกับสีอื่นได้

รายงานจากท่านอัรรออ์ เล่าว่า

"ฉันไม่เคยเห็นบุคคลใดที่(สวมใส่)หุลลฮฺ(เสื้อหรือผ้าคลุมสีแดงจะงดงามไปกว่าท่านรสุล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม" (
บันทึกหะดิโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 5901)

คำว่า “หุลละฮฺ” สีแดง หมายถึง เสื้อผ้า 2 ชิ้นของเยเมน ซึ่งทอเป็นลายทางสีแดงสลับดำ หรือสีแดงสลับสีเขียว ที่ถูกเรียกว่าสีแดง เพราะมีสีแดงปะปนอยู่ด้วย

والله أعلم بالصوا

Van Doorn ผู้เคยผลิตหนังหมิ่นท่านร่อซูลเข้ารับอิสลาม


Van Doorn หนึ่งในผู้ผลิตหนังหมิ่นท่านร่อซูล (มุฮัมมัด) ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้ารับอิสลามแล้ว อดีตสมาชิกพรรคเสรีภาพฝ่ายขวาของดัตช์ เสียใจกับความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของเขา
ปฏิกิริยาของมุสลิมที่ต่อต้านหนังหมิ่น ได้ชักนำให้เขาแสวงหาความจริงในอิสลาม เขากล่าวทั้งน้ำตา ด้วยความสำนึกผิด
++++++++++++++++++++

หลังการเข้ารับอิสลาม เขาได้เดินทางไปยังประเทศซาอุดิอารเบีย
ได้เยี่ยมเยียนมัสยิดของท่านนบี ที่นครมะดีนะห์
ตามที่หนังสือพิมพ์ซาอุดิ้ 'Oukad' ได้รายงาน
เมื่อเขาได้เข้าไปในเขตเราเดาะอฺ น้ำตาก็ไหลริน
เขาร้องให้อย่างรุนแรง เมื่อได้ยืนอยู่ต่อหน้าหลุมฝังศพของท่านนบี
เนื่องจากสำนึกในความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่ได้กระทำ

เขากล่าวว่า "ผมเคยเป็นบุคคลที่แสดงความเห็นที่เป็นศัตรูกับอิสลามและศาสดามุฮัมมัดอย่างแข็งกร้าว"
เขาได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากพรรค ที่เคยรุกรานต่อกฎหมายอิสลามและท่านร่อซูล เขาตัดสินใจตัดขาดจากการกระทำชั่วร้ายที่ผ่านมา เพื่อเข้ารับอิสลามและปกป้องพีน้องมุสลิม
การอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวของอิสลาม ได้ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเกลียดชังที่มีต่อศาสนาอิสลามก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง มาสู่ศาสนาที่สงบสันตินี้

ในระหว่างการเยือนนครมักกะฮฺ เขาได้พูดคุยกับเชคหลายท่าน
เชคฮุซัยฟี่ และเชคศอลาฮฺ บะดีร เชคได้นะซีฮะเขาเกี่ยวกับชีวิตต่อจากนี้ไป
ตอนนี้ เขาใช้เวลากับการเยี่ยมเยือนสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์อิสลาม
และพบปะกับพี่น้องมุสลิมจากมุมที่แตกต่างของโลก
และจะเดินทางไปทำอุมเราะห์ ณ นครมักกะฮ์ เร็วๆนี้

++++++++++++++++++
ตักบีร! อัลลอฮุอักบัร ทางนำจากอัลลอฮฺนั้นสวยงามเหลือเกิน
ขอให้ผู้คนที่แสวงหาสัจธรรมทั้งหลาย ได้ค้นพบกับอิสลามด้วยเถิด
แปลและเรียบเรียงโดย Sama Y. New muslim | มุสลิมใหม่
ที่มา : http://www.moroccoworldnews.com/
http://www.fj-p.com/

อิสลามกับของเล่นเด็กๆ

                     สำหรับของเล่นของเด็กๆ เช่น ตุ๊กตาๆ ไม่ว่าตุ๊กตานั้นจะเป็นรูปมนุษย์ รูปสัตว์ต่างๆ ก็ตาม ศาสนาอนุญาตให้เด็กๆเล่นได้ภายในบ้าน ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องเป็นตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่นเท่านั้น

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ปรากฏว่าฉันเล่นตุ๊กตาเด็กผู้หญิงอยู่ บางครั้งท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็เข้ามาหาฉัน ซึ่งแนอยู่กับเด็กรับใช้ผู้หญิง ครั้นท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เข้ามา (หาฉัน) พวกนางก็เดอนออกไป แต่เมื่อท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เดินออกไป พวกนางก็เข้ามาหาฉัน(ดังเดิม)”
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 4933 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ในระหว่างนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เห็นม้ามี 2 ปีก ซึ่งทำจากเศษผ้า แล้วท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็ถามว่า :ฉันเห็นตรงกลางเนี่ย...คืออะไร? นางตอบว่า :นั้นคือม้า , ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ถามต่อว่า : แล้วอะไรอยู่บนหลังของมัน? นางตอบว่า : ปีกทั้งสองของมัน ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ถามอีก : แล้วมันมีปีกทั้งสองหรือ? นางตอบว่า : ท่านไม่เคยได้ยินรึว่าม่าของท่านนบีสุลัยมาน มีปีกด้วย นางเล่าต่อว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม หัวเราะจนกระทั่งฉันเห็นฟันกรามของท่าน”
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 4934 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

والله أعلم بالصواب

การเอี๊ยฮฺซานต่อพระองค์อัลลอฮฺ


คำกล่าวท่านญิบรีลที่กล่าวกับท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่ว่า


“เช่นนั้นโปรดบอกเล่าให้ฉันฟังเกี่ยวกับเอี๊ยฮฺซานเถิด”


ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ตอบว่า
คือการที่ท่านสักการะอัลลอฮฺเสมือนท่านมองเห็นพระองค์ แต่แม้ว่าท่านไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์เห็นท่าน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)
 
คำว่าเอี๊ยะฮิซาน เป็นคำนาม หมายถึงการทำดี

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสชมเชยการทำดีไว้ว่า

لِّلَّذِينَ أَحْسَنُوا الْحُسْنَىٰ وَزِيَادَةٌ ( 26 )
“สำหรับบรรดาผู้กระทำความดี จะได้รับความดี และได้เพิ่มขึ้นอีก”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺยูนุส 10:26)


إِنَّ رَحْمَتَ اللَّهِ قَرِيبٌ مِّنَ الْمُحْسِنِينَ ( 56 )
“แท้จริงความเอ็นดูเมตตาของอัลลอฮ์นั้นใกล้แก่ผู้กระทำดีทั้งหลาย”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลอะอฺร็อฟ 7:56)

هَلْ جَزَاءُ الْإِحْسَانِ إِلَّا الْإِحْسَانُ ( 60 )
“จะมีการตอบแทนความดีอันใดเล่านอกจากความดี”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัรเราะฮฺมาน 55:60)

ท่านอิบนุ ดะกี๊ก กล่าวว่า
“โดยสรุปก็คือให้อิบาดะฮฺอย่างพิถีพิถัน ให้ใจสิทธิของอัลลอฮฺ พยายามรำลึกถึงความยิ่งใหญ่และสูงส่งพิถีพิถัน ให้สนใจสิทธิของอัลลอฮฺ พยายามรำลึกรำลึกถึงความยิ่งใหญ่และสูงส่งของพระองค์ขระทำอิบาดะฮฺ (หนังสือ “ชัรฮฺ อิบนิ ดะกี๊ก 16)

ระดับทำอิบาดะฮฺที่ดี 2 ระดับ คือ

ระดับที่สูงที่สุด
คือ ระดับประจักษ์ ที่ท่านใช้คำว่า “เสมือนท่านมองเห็นพระองค์” คือมีความนอบน้อม มีสมาธิ มีความจริงใจในทุกกริยา วาจา และใจ ประหนึ่งพระองค์เห็น ในความเป็นจริงไม่มีผู้ใดเห็นพระองค์อัลลอฮฺ แต่การกระทำต่างของเขา บ่งบอกประหนึ่งว่าเขาเห็นพระองค์อยู่ตลอดเวลา

ระดับที่ด้อยกว่าระดับแรก
 คือ คนที่ไม่สามรถไปถึงระดับแรก แต่เขาสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าอัลลอฮฺทรงมองเขาอยู่ ซึ่งท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ชึคำว่า “แต่แม้ว่าท่านไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นท่าน” แม้จะไม่อยู่ในขั้นประจักษ์ถึงพระองค์ แต่เขารู้ดีว่าไม่ว่าบ่าวอยู่ในสภาพใด จะประจักษ์หรือหลงลืมพระองค์ พระองค์ก็สอดส่องเขาอยู่ตลอดเวลา

การเอี๊ยะฮฺซาน จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อรู้จักอัลลอฮฺอย่างแท้จริง มีความเกลงกลัวพระองค์ และต้องขัดเกล้าจิตใจของเราเข้าหาอัลลอฮฺอย่างจริงจัง
والله أعلم بالصواب

การเบี่ยงเบนคำพูดอิหม่ามชาฟิอีย์การอ่านกุรอานผลบุญไม่ถึงผู้ตาย

นักวิชาการที่พยายามตะอ์วีล (เบี่ยงเบน) คำพูดท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ที่ว่า ผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านไม่ถึงผู้ตาย ว่า

“ที่ว่าผลบุญไม่ถึง หมายถึงถ้าไม่เหนียตฮะดียะฮ์ให้หรือไม่อ่านดุอาส่งบุญให้”

“แต่ถ้ามีการเหนียตฮะดียะฮ์หรืออ่านดุอาส่งให้ผลบุญก็จะถึง”

การตะอ์วีลดังกล่าวนอกจากเป็นเพียง “ความเห็นล้วนๆ” (ภาษาอาหรับเรียกว่า اَلرَّأْىُ مَحْضًا ) เพื่อลากเข้าหาเป้าหมายตัวเองแล้ว ยังขัดแย้งกับข้อเท็จจริงและคำกล่าวของนักวิชาการตัฟซีรฺผู้โด่งดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์บางท่านอีกด้วย

ความจริงก็คือ ที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า ผลบุญอัล-กุรฺอ่านไม่ถึงผู้ตาย ท่านมิได้หมายความว่า เพียงเราอ่านอัล-กุรฺอ่านเฉยๆแล้วผลบุญจะไม่ถึงผู้ตาย

เพราะลำพังการอ่านอัล-กุรฺอ่านเฉยๆโดยไม่มีการเนียต นักวิชาการทุกท่าน – ทั้งที่ว่าถึงหรือไม่ถึง – ก็มีทัศนะอย่างเดียวกันและตรงกันว่า >>> “ไม่ถึง”

แต่จุดขัดแย้งระหว่างท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กับนักวิชาการอื่นๆ จะอยู่ที่ “การอุทิศผลบุญอัล-กุรฺอ่าน” ให้ผู้ตาย --ไม่ว่าจะอุทิศด้วยวิธีใด -- ซึ่งท่านอิหม่ามชาฟิอีย์อ้างอัล-กุรฺอ่านเป็นหลักฐานว่า อุทิศให้ไม่ถึง ขณะที่นักวิชาการท่านอื่นกล่าวว่า อุทิศให้ถึง

ท่านอิบนุกะษีรฺ ซึ่งเป็นนักวิชาการตัฟซีรฺแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า276 ว่า ...
وَمِنْ هَذِهِ اْلآيَةِ الْكَرِيْمَةِ إِسْتَنْبَطَ الشَّافِعِىُّ رَحِمَهُ اللهُ وَمَنِ اتَّبَعَهُ أَنَّ الْقِرَاءَةَ لاَ يَصِلُ إِهْدَاءُ ثَوَابِهَا إِلَى الْمَوْتَى .........
“และจากโองการอันทรงเกียรติบทนี้ ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์และสานุศิษย์ของท่านจึงได้วิเคราะห์ออกมาว่า ผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านนั้น ฮะดียะฮ์(อุทิศ)ไม่ถึงผู้ตาย ........”

والله أعلم بالصواب

รายงานที่ว่าชาวอันศ็อรสลับกันไปอ่านอัลกุรอานที่กุบูรฺ

รายงานอีกบทหนึ่ง จากท่าน มุญาลิด บินสะอีด, จากท่านอัช-ชะอฺบีย์ซึ่งกล่าวว่า


كَانَتِ اْلأَنْصَارُ إِذَا مَاتَ لَهُمُ الْمَيِّتُ إِخْتَلَفُوْا إِلَى قَبْرِهِ يَقْرَؤُوْنَ لَهُ الْقُرْآنَ


“ชาวอันศ็อรฺ (ชาวเมืองมะดีนะฮ์) นั้น เมื่อพวกเขาคนใดตายลง พวกเขาก็จะสับเปลี่ยนกันไปกุบูรฺ และอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่เขา” .

(บันทึกโดยท่านอัล-ค็อลลาล, จากหนังสือ “ชัรฺหุ อัศ-ศุดูรฺ” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ หน้า 311)

รายงานบทนี้ เป็นรายงานที่เฎาะอีฟ

เนื่องจาก
ท่านยะห์ยา บินมะอีน, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์, ท่านยะห์ยา บินสะอีด กล่าวตรงกันว่า ท่าน “มุญาลิด บินสะอีด” ผู้อ้างรายงานข้อความนี้มาจากท่านอัช-ชะอฺบีย์ เป็นผู้รายงานที่เฎาะอีฟ คือขาดความน่าเชื่อถือ เป็นเพราะความจำของท่านเปลี่ยนแปลงไปเมื่อล่วงเข้าสู่วัยชรา จนรายงานหลายเรื่องของท่านมีความสับสน

(จากหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” ของท่านอัส-สะฮะบีย์ เล่มที่ 3 หน้า 438, และหนังสือ “อัต-ตักรีบ” ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 2 หน้า 229)
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้นำรายงานดังกล่าวนี้ลงระบุในหนังสือ “อัล-อัสการฺ” ของท่าน หน้า 132  แล้วท่านก็กล่าวปิดท้ายว่า “مُجَالِدٌ ضَعِيْفٌ”

والله أعلم بالصواب

รักกันเกลียดกันเพื่ออัลลอฮฺ

                      การรักกันเพื่ออัลลอฮฺ คือการรักใคร่พี่น้องของเราอันเนื่องปฏิบัติตามแนวทางของอัลลอฮฺ รักกันในสิ่งที่พระองค์ทรงพอพระทัย ซึ่งความรักนั้น จะต้องนำมาซึ่งสิ่งที่ดีงามและความผาสุกทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ทุกๆครั้งที่พี่น้องของเราได้เข้าใกล้อัลลอฮฺมากขึ้นการเพิ่มความรักของเราที่มีต่อเขาก้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับการโกรธกันเพื่ออัลลอฮฺ คือ การที่เรามีความโกรธต่อผู้ที่ออกห่างจากแนวทางของพระองค์ ทุกๆครั้งที่พี่น้องของเราออกห่างจากอัลลอฮฺ ดัชนีความรักของเราที่มีต่อเขาลดน้อยลงตามไปด้วย

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าอารมณ์ของเขาจะคล้อยตามในสิ่งที่ฉันนำมา”
(บันทึกหะดิษโดยอัลบุคอรีย์)

รายงานจากท่านอนัส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยผู้ซึ่งชีวิตฉันอยู่ในอุ้งมือของพระองค์ คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าเขาจะชอบให้พี่น้องของเขาได้รับสิ่งที่ตัวเขาเองอยากจะได้รับ”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

รายงานจากท่านอบูซัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

“การงานที่ประเสริฐที่สุด คือ การรักใคร่กันเพื่ออัลลอฮฺ และโกรธกันเพื่ออัลลอฮฺ”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)

ท่านสอหาบะฮฺท่านหนึ่งถามท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กว่า

“อะไรคือการศรัทธา” ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า “ผู้ที่รักเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเพื่ออัลลอฮฺ ให้เพื่ออัลลอฮฺ และไม่ให้เพื่ออัลลอฮฺ แน่นอน เขาได้ทำให้ศรัทธานั้นสมบูรณ์แล้ว”
(บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด และอัลบัยฮะกีย์)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ในวันกียามะฮฺ อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา จะตรัสว่า : บรรดาผู้ที่รักกันเพื่อเรานั้น อยู่ที่ไหน? ในวันนี้เราจะให้ร่มเงาแก่พวกเขา ในวันที่ไม่มีร่มเงาใด นอกจากร่มเงาของเราเท่านั้น”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

ดังนั้นความรักในที่นี้ ไม่ได้ผูกพันหรืออยู่กับความรู้สึกส่วนตัว หรือผูกพันกับวัตถุ แต่ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิด หรือความห่างไกลของเขากับพระองค์อัลลอฮฺ

والله أعلم بالصواب

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลมีหรือในอิสลาม


โดย อ.มุรีด ทิมะเสน

ทำบุญอุทิศส่วนกุศล

ศาสนาพุทธ
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น จะต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ทานนั้นจะต้องถวายแก่สงฆ์
2. หลังจากถวายทานแล้ว ผู้ถวายต้องตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
3. ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะต้องอยู่ในภพภูมิที่สามารถรับรู้และร่วมอนุโมทนาได้
ตามหลักฐาน
มีเปรตจำพวก “ปรทัตตุปชีวิกเปรต” เท่านั้นที่อยู่ในวิสัยที่จะมารับรู้และร่วมอนุโมทนาได้
ถ้าผู้ที่ล่วงลับไม่รู้หรือรู้แต่ไม่ได้อนุโมทนา ก็ไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรแผ่ไปให้ ฉะนั้น เมื่อทำบุญกุศลทุกครั้ง ควรอุทิศส่วนกุศลให้ญาติทั้งหลายของเราทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เพราะในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมานี้ อาจมีญาติของเรายังคอยการอุทิศส่วนกุศลจากเราอยู่ แม้หากไม่ถึงหรือไม่สำเร็จ บุญนั้นก็ไม่ได้สูญหายไปไหน คงเป็นบุญที่ติดตัวแก่ผู้อุทิศให้นั้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ทำบุญได้รับความสุขความเจริญในชาติต่อๆไป
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามไม่มีบทบัญญัติให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลในรูปแบบพิธีกรรมให้แก่ผู้ที่ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับเหมือนอย่างศาสนาพุทธ เพราะอิสลามสอนว่า เมื่อมุสลิมคนหนึ่งสิ้นชีวิต การงานของเขาถูกตัดขาดลง ซึ่งเขาจะได้รับการตอบแทนในสิ่งที่เขาได้ขวนขวายขณะมีชีวิตอยู่บนโลกดุนยาเท่านั้น
ทว่า สำหรับผู้ตายจะได้รับผลบุญจากคนที่มีชีวิตอยู่นั้น ย่อมกระทำได้ตราบเท่าที่มีหลักฐานมารอบรับไว้เท่านั้น อาทิเช่น บุคคลหนึ่งบริจาคทรัพย์ให้เป็นของส่วนรวม หรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น บริจาคให้แก่มัสญิด จากนั้นเขาก็ตั้งใจว่าสิ่งที่เขาบริจาคไปนั้นมอบความดีให้แก่ผู้ตายคนนั้นคนนี้ (คือบุคคลที่เขาจะตั้งใจมอบให้) ทำนองนี้เป็นต้น
ส่วนจะให้มุสลิมทำในรูปแบบพิธีกรรม โดยเรียกมุสลิมบางส่วน หรือบางกลุ่มรวมตัวกันนั่งอ่านอัลกุรฺอาน,อ่านดุอาอ์ (วิงวอน) ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายคล้ายๆ รูปแบบที่เชิญพระมาทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเฉกเช่นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ หรือศาสนาอื่นนั้น ไม่อนุญาตให้มุสลิมกระทำโดยเด็ดขาด ขอย้ำว่าไม่อนุญาตโดยเด็ดขาด เพราะรูปแบบดังกล่าว ไม่พบว่าถูกระบุไว้ในอัลกุรฺอานและหะดีษของท่านนบีมุหัมมัดแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้นมุสลิมคนใด หรือมุสลิมกลุ่มใดที่กระทำรูปแบบหนึ่งขึ้นมา แล้วอ้างว่านี่คือ พิธีกรรมทางศาสนาอิสลามว่าด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ไม่ว่าผู้ตายคนนั้นจะเป็นมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิมก็ตาม ถือว่าผู้กระทำนั้นได้ฝ่าฝืนหลักการของศาสนาอิสลาม ว่าด้วยการอุตริกรรมสิ่งใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) แล้วนั่นเอง
ประเพณีนิยม
ผู้อ่านจะพบเห็นมุสลิมบางกลุ่ม บางพวกที่ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไม่ว่าจะเป็นมุสลิม หรือคนต่างศาสนิกก็ตาม แล้วอ้างว่านั่นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเช่น มุสลิมทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายอันเนื่องจากคลื่นสึนามิ, ให้แก่ผู้ตายอันเนื่องจากเครื่องบินตก, ให้แก่ผู้ที่ถูกไฟไหม้ตาย หรือกรณีอื่นๆ
โดยมุสลิมกลุ่มที่อ้างถึงพิธีกรรมดังกล่าวนั้น ได้อ่านทั้งอัลกุรฺอาน ทั้งดุอาอ์ อย่างมากมาย บางครั้งก็พิมพ์เป็นเล่มเพื่อการเผยแพร่ และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการขอดุอาอ์ในการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ดุอา ต้นที่ 2 เป็นดุอาส่งท้าย สำหรับส่งถึงบรรดาดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
" اللهم رب هذه الأرواح الفانية والأجساد البالية "
“อัลลอฮ์เจ้า ผู้อภิบาลรักษาบรรดาวิญญาณซึ่งคับขันเหล่านี้ บรรดาสังขาร (ร่างกาย) ซึ่งเน่าเปื่อยเหล่านี้”
" والعظام النخرة التى خرجت من الدنيا
وهى بك مؤمنة ادخل عليها روحا منك
وسلاما مني "
“และบรรดากระดูกซึ่งผุพัง ซึ่งเขาต้องออกจากโลกดุนยานี้ไป สภาพที่เขาได้เป็นผู้เชื่อมั่นศรัทธาต่อพระองค์ ท่านโปรดจงเอาดวงวิญญาณจากกรรมสิทธิ์ของพระองค์ท่านใส่เข้าไปบนเขาด้วย และโปรดรับสลามจากฉัน”
" اللهم بحق محمد وال محمد أن لا تعذب هذا الميت
( هذه الميتة ) "
“อัลลอฮ์เจ้า ด้วยความเที่ยงธรรมเที่ยงแท้ของน่าบีมุฮัมมัด และวงตระกูลของน่าบีมุฮัมมัด พระองค์ท่านโปรดอย่าทำโทษทรมานแก่คนตายผู้นี้เลย”
"صاحب القبور يارب العالمين دعواهم فيها
سبحانك اللهم وتحيتهم فيها سلام وآخر
دعواهم أن الحمد لله رب العالمين "
“ผู้ถูกฝังในสุสานอิสลามทั้งหมด โอ พระเจ้าผู้อภิบาลสากลโลก คำขอดุอา (วิงวอน) ของเขาทั้งหลายในสุสาน หรือสวรรค์นั้น มหาสะอาดบริสุทธิ์อัลลอฮ์เจ้า และการคำนับของเขาเหล่านั้น ภายในสวรรค์นั้นคือสลาม และสุดท้ายคำขอดุอาของพวกเรานั่นคือความจริง การสรรเสริญทั้งมวลนั้น ขอถวายแด่อัลลอฮ์เจ้า ผู้อภิบาลคุ้มครองทั่วสากลโลก”
ดุอาอ์ที่กล่าวมาข้างต้น (อันที่จริงมีมากกว่านี้ แต่ขอหยิบยกเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เป็นดุอาอ์ที่ถูกแต่งขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายไปแล้วเท่านั้น แต่ทั้งพิธีกรรมและดุอาอ์ข้างต้นไม่มีแบบอย่างใดๆ จากท่านนบีมุหัมมัด หรือจากบรรดาสละฟุศศอลิหฺ (บรรพชนรุ่นแรก) เลยแม้แต่น้อย เมื่อไม่มีแบบฉบับใดๆ จากท่านนบีมุหัมมัด แต่มุสลิมบางกลุ่มอ้างว่านั่นเป็นเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ก็แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่กล่าวอ้างเช่นนั้นได้อุตริกรรมสิ่งใหม่ในศาสนา (บิดอะฮฺ) แล้วนั่นเอง ดั่งที่ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “บุคคลใดที่อุตริสิ่งใหม่ในกิจการงานของเรา โดยสิ่งนั้นไม่มีในกิจการงานของเรา ถือว่า (สิ่งนั้น) เป็นโมฆะ”
เมื่อความจริงปรากฏเด่นชัดเช่นนี้แล้ว โอกาสข้างหน้า คงไม่มีมุสลิมคนใดเข้าร่วมพิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับที่เป็นมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิม อีกแล้วนะครับ

والله أعلم بالصواب

จากหนังสือ “รวมบรรดาดุอา ความหมายภาษาไทย” ฉบับปรับปรุงใหม่ โดย มุร๊อต มุคตารี หน้า 25-27
หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยมุสลิม ลำดับหะดีษที่ 3242

ความหมายน่ารังเกียจคือเป็นเรื่องต้องห้าม


“ความหมายของคำว่า مَكْرُوْهَةٌ (น่ารังเกียจ) หมายถึง كَرَاهَةٌ تَحْرِيْمِيَّةٌ .. คือเป็นเรื่องต้องห้ามหรือหะรอม อันเป็นสำนวนของนักวิชาการในยุคแรก”
เป็นคำอธิบายและความเข้าใจของนักวิชาการหลายท่าน ซึ่งนอกจากท่านอัล-มุนาวีย์และท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ดังข้างต้นแล้ว ท่านอัลลามะฮ์ อัล-บัรฺกูวีย์ ก็ได้กล่าวในหนังสือ “جلاء القلوب” อันเป็นการอธิบายความหมายจากคำพูดของนักวิชาการ (ทั้ง 4 มัษฮับ) ที่กล่าวพ้องกันว่า การที่บ้านผู้ตายจัดเลี้ยงอาหารนั้น เป็น “บิดอะฮ์ที่มักรูฮ์” .. ซึ่งท่านอัลลามะฮ์ อัล-บัรฺกูวีย์อธิบายว่า ...
ثُمَّ إِنَّ الظَّاهِرَ أَنَّ الْكَرَاهَةَ تَحْرِيْمِيَّةٌ! إِذِ اْلأَصْلُ فِىْ هَذَاالْبَابِ خَبَرُجَرِيْرٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ، وَالنِّيَاحَةُ حَرَامٌ، وَالْمَعْدُوْدُ مِنَ الْحَرَامِ حَرَامٌ، وَأَيْضًا إِذَا أُطْلِقَ الْكَرَاهَةُ يُرَادُ مِنْهَا التَّحْرِيْمِيَّةُ
“ประการต่อมา โดยรูปการณ์แล้ว คำว่า مَكْرُوْهَةٌ (น่ารังเกียจ) จากคำกล่าวของนักวิชาการข้างต้นนั้น หมายถึง “เป็นเรื่องหะรอม” (ต้องห้าม) .. ทั้งนี้เพราะพื้นฐานของเรื่องนี้ (การไปชุมนุมกินกันที่บ้านผู้ตายเป็น مَكْرُوْهَةٌ) ได้แก่หะดีษของท่านญะรีรฺ ร.ฎ.(ที่ว่า .. “พวกเรา(เศาะหาบะฮ์) นับว่า การไปชุมนุมกันที่บ้านผู้ตายและมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์”) .. และการนิยาหะฮ์นั้นเป็นเรื่องหะรอม, ดังนั้นสิ่งที่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์ ก็ต้องหะรอมเช่นเดียวกัน .. และอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่า مَكْرُوْهَةٌ นี้เมื่อถูกกล่าวโดยปราศจากข้อแม้ใดๆแล้ว ความหมายของมันก็คือ หะรอม” ...
(จากหนังสือ “กัชฟุช ชุบฮาต” ของท่านมะห์มูด หะซันรอเบียะอฺหน้า 193) ...
ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม อัล-ญูซียะฮ์ ได้อธิบายคำกล่าวของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จากหนังสือ “อัล-อุมม์” ที่ว่า .. เป็นเรื่องมักรูฮ์ที่บิดาจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. โดยท่านอิบนุ้ลก้อยยิมอธิบายว่า ...
" نَصَّ الشَّافِعِىُّ عَلَىكَرَاهَةِ تَزَوُّجِ الرَّجُلِ بِنْتَهُ مِنْ مَاءِ الزِّنَى، وَلَمْ يَقُلْ قَطُّ إنَّهُ مُبَاحٌ وَلاَ جَائِزٌ، وَالَّذِىْ يَلِيْقُ بِجَلاَلَتِهِ وَإِمَامَتِهِ وَمَنْصَبِهِ الَّذِىْ أَحَلَّ اللهُ بِهِ مِنَ الدِّيْنِ أَنَّ هَذِهِ الْكَرَاهَةَ مِنْهُ عَلَى وَجْهِ التَّحْرِيْمِ! وَأَطْلَقَ لَفْظَ الْكَرَاهَةِ ِلأَنَّ الْحَرَامَ يَكْرَهُهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ... فَالسَّلَفُ كَانُوْا يَسْتَعْمِلُوْنَ الْكَرَاهَةَ فِىْ مَعْنَاهَا الَّتىِ أسْتُعْمِلَتْ فِيْهِ فِىْ كَلاَمِ اللهِ وَرَسُوْلِهِ، وَلَكِنَّ الْمُتَأَخِّرِيْنَ إصْطَلَحُوْا عَلَى تَخْصِيْصِ الْكَرَاهَةِ بِمَا لَيْسَ بِمُحَرَّمٍ وَتَرْكُهُ أَرْجَحُ مِنْ فِعْلِهِ"
“ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า มักรูฮ์ที่ผู้ชายจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. ท่านไม่ได้กล่าวเลยว่า มัน(การนิกาห์ระหว่างพ่อลูกคู่นั้น) เป็นสิ่งถูกผ่อนผันให้และเป็นที่อนุญาต, .. ซึ่งสิ่งที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความเป็นอิหม่ามของท่าน และตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์มอบให้แก่ท่านในเรื่องศาสนาก็คือ ความน่ารังเกียจ (มักรูฮ์ .. จากคำกล่าวของท่าน)นี้ หมายถึงหะรอม, และท่านได้ใช้คำว่า “มักรูฮ์”(น่ารังเกียจ) โดยไม่มีเงื่อนไข ก็เพราะสิ่งที่หะรอมก็คือสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์รังเกียจ .......... บรรดาชาวสะลัฟนั้น พวกเขาจะใช้คำว่ามักรูฮ์ (น่ารังเกียจ) กับความหมายซึ่งมีใช้ในคำพูดของอัลลอฮ์(ในอัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (ในหะดีษ ซึ่งมีความหมายว่าหะรอม) .. แต่บรรดานักวิชาการยุคหลังได้กำหนดศัพท์เทคนิคเป็นการเฉพาะขึ้นมาใหม่ว่า คำว่ามักรูฮ์ หมายถึงสิ่งที่มิใช่ของหะรอม, และการละทิ้ง (คือไม่ทำ)มันจะดีกว่าการทำมัน” .. (ดังที่ผมแปลว่า “เป็นสิ่งน่ารังเกียจ” .. และ อ.อัชอะรีย์แปลว่า “สิ่งที่ห้ามไม่ขาด” นั่นเอง ...
(จากหนังสือ “إعلام الموقعين” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เล่มที่ 1 หน้า 47-48) ...
นี่คือคำอธิบายของท่านอิบนุ้ลก็อยยิมต่อคำว่า “มักรูฮ์” ที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ใช้ว่า หมายถึง مَكْرُوْهَةٌ تَحْرِيْمِيَّةٌ (เป็นเรื่องหะรอม)
หลักการที่ว่า “พื้นฐานของการห้ามคือ หะรอม” นี้ ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ก็ได้กล่าวไว้เช่นกันในหนังสือ “อัรฺ-ริซาละฮ์” หน้า 343 ว่า (หมายเลข 929) ว่า ...
فَإِذَا نَهَى رَسُوْلُ اللهِ عَنِ الشَّىْءِ مِنْ هَذَا فَالنَّهْىُ مُحَرَّمٌ! لاَ وَجْهَ لَهُ غَيْرُ التَّحْرِيْمِ، إِلاَّ أَنْ يَكُوْنَ عَلَى مَعْنًى كَمَا وَصَفْتُ ...
“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ “ห้าม” สิ่งใดจากสิ่งนี้ การห้ามนั้นก็คือ “หะรอม” .. ไม่มีแนวทางสำหรับมัน(การห้าม)ที่จะอื่นจากหะรอมอีก, นอกจากมันจะอยู่บนความหมาย ดังที่ฉันได้แจ้งลักษณะไว้แล้ว”
คำว่า “นอกจากมันจะอยู่บนความหมายที่ฉันได้แจ้งลักษณะไว้” หมายถึงการมีหลักฐานอื่นมาแปรเปลี่ยนความหมายการห้ามจาก “หะรอม” ไปเป็น “มักรูฮ์”
والله أعلم بالصواب
อาจารย์ปราโมทย์ (มะหมุด)ศรีอุทัย

ทัศนะนักวิชาการที่ว่า การละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม


ก. ท่านมุบาร็อกปูรีย์ กล่าวว่า
وَأَمَّاالْمَقْبُرَةُ فَذَهَبَ أَحْمَدُ إِلَى تَحْرِيْمِ الصَّلاَةِ فِى الْمَقْبُرَةِ ............. وَإِلَى ذَلِكَ ذَهَبَتِ الظَّاهِرِيَّةُ وَلمَ ْيُفَرِّقُوْابَيْنَ مَقَابِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْكُفَّارِ
“อนึ่งเรื่องของสุสาน(กุบูรฺ) นั้น ท่านอิหม่ามอะห์มัดถือว่า การละหมาดในสุสานเป็นเรื่องหะรอม และบรรดาอะฮ์ลุศซอฮิรฺ(นักวิชาการที่ยึดถือตามข้อความตรงของตัวบท) ก็มีทัศนะอย่างเดียวกันนี้ (คือหะรอมละหมาดในกุบูรฺ) โดยพวกเขาไม่แบ่งแยกในระหว่างสุสานของมุสลิมหรือกาฟิรฺ ...
(จากหนังสือ “ตั๊วะห์ฟะต้ลอะห์วะซีย์” เล่มที่ 2 หน้า 259-26)
ซึ่งในหนังสือ “อัล-มันฮัลฯ” เล่มที่ 4 หน้า 114 ก็มีข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยอ้างว่าเป็นทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดและสานุศิษย์ของท่าน
และหลังจากได้ตีแผ่ “ความขัดแย้ง” ของนักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ท่านมุบาร็อกปูรีย์ก็กล่าวสรุปว่า ...
وَالظَّاهِرُ مَا ذَهَبَ إِلَيْهِ أَهْلُ الظَاهِرِيَّةِ وَاللهُ تَعَالَى أَعْلَمُ
“ตามรูปการณ์(ของหะดีษบทข้างต้น)นั้น .. (ทัศนะที่ถูกต้อง)ก็คือ ทัศนะของอะฮ์ลุศซอฮิรฺ วัลลอฮุอะอฺลัม”
นั่นคือ การละหมาดในกุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม (ห้ามขาด) ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิหม่ามอะห์มัดยังได้กล่าวอีกว่า ...
مَنْ صَلَّى فِىْ مَقْبُرَةٍ أَوْ إِلَى قَبْرٍ أَعَادَ أَبَدًا
“ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดในสุสาน หรือ(ละหมาดโดย)หันไปยังหลุมศพ เขาจะต้องละหมาดใหม่ตลอดไป”
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุหัสม์ เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 32) ...
หมายความว่า การละหมาดในลักษณะดังกล่าวนั้น ใช้ไม่ได้(ไม่เศาะฮ์)
หมายเหตุ
ท่านอาบาดีย์ได้กล่าวในหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 2 หน้า 158 ว่า ...
وَكَانَ أَحْمَدُ وَإِسْحَاقُ يَكْرَهَانِ ذَلِكَ، وَرُوِيَتِ الْكَرَاهَةُ عَنْ جَمَاعَةٍ مِنَ السَّلَفِ
“ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอิสหากต่างก็รังเกียจ (كَرَاهَةٌ) ในเรื่องนี้ (การละหมาดในสุสาน) .. และมีรายงานเรื่องความรังเกียจ (كَرَاهَةٌ) นี้มาจากชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งด้วย ...
ข้อมูลจากคำพูดของท่านอิหม่ามอะห์มัดจากหนังสือตั๊วะห์ฟะตุ้ลอะห์วะซีย์และหนังสืออัล-มันฮัลฯ ข้างต้นจึงเป็นเครื่องยืนยันว่า คำว่าكَرَاهَةٌ (น่ารังเกียจ) ตามทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดและชาวสะลัฟตามคำกล่าวของท่านอาบาดีย์นั้น มิได้หมายถึงมักรูฮ์ตันซิฮ์ (สิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติ) .. แต่มีความหมายว่า “หะรอม” (คือห้ามปฏิบัติ)
ข. ท่านซูฟยาน อัษ-เษารีย์ ได้รายงานจากท่านหะบีบ อิบนุอบีย์ษาบิต, จากท่านอบูศ็อบยาน, จากท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า ...
لاَ تُصَّلِيَّنَ إِلَى حَشٍّ، وَلاَ فِىْ حَمَّامٍ، وَلاَ فِىْ مَقْبُرَةٍ!
“ท่านอย่าละหมาดโดยหันไปทางห้องส้วม, ในห้องน้ำ และในสุสานเป็นอันขาด”
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 30)
พื้นฐานของการห้ามสิ่งใด ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ถือว่าสิ่งนั้นคือของหะรอม ยิ่งเมื่อท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ได้กล่าวห้ามอย่างเน้นๆว่า لاَ تُصَلِّيَنَّ (ท่านอย่าละหมาด .. เป็นอันขาด) จึงย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ทัศนะของท่านก็คือ ห้าม(หะรอม)ละหมาดในสุสาน
ค. ท่านอะลีย์ อิบนุอบีย์ฏอลิบกล่าวว่า ...
مِنْ شِرَارِالنَّاسِ مَنْ يَتَّخِذُ الْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ
“หนึ่งจากมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่งก็คือ ผู้ซึ่งยึดเอากุบูรฺเป็นมัสญิด (คือเป็นที่ละหมาด)
(จากหนังสือเล่มและหน้าเดียวกัน)
นอกจากท่านอิบนุอับบาสและท่านอะลีย์แล้ว ท่านอิบนุหัสม์ยังได้รายงานจากเศาะหาบะฮ์อื่นอีก 3 ท่าน คือท่านอุมัรฺ, ท่านอบูฮุร็ฮยเราะฮ์ และท่านอนัส, .. และจากตาบิอีน กลุ่มหนึ่ง คือท่านอิบรอฮีม อัน-นะคออีย์, ท่านนาฟิอฺ บินญุบัยร์, ท่านฏอวูซ, ท่านอัมร์ บินดีนารฺ, ท่านค็อยษะมะฮ์ ที่กล่าวสอดคล้องตรงกันว่า การละหมาดในสุสานหรือกุบูรฺเป็นที่ต้องห้าม
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุหัสม์ เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 30-32)
สำหรับนักวิชาการยุคต่อมา นอกจากท่านอิบนุหัสม์ที่กล่าวว่าการละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องต้องห้าม (จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มดังกล่าว หน้า 27) แล้ว ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีทัศนะอย่างเดียวกัน
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวในหนังสือ “อิกติฎออุศ-ศิรอฏิ้ลมุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 194-195
وَقَدِاخْتَلَفَ الْعُلَمَاءُ فِى الصَّلاَةِ فِى الْمَقْبُرَةِ : هَلْ هِىَ مُحَرَّمَةٌ أَوْ مَكْرُوْهَةٌ ؟ .. وَإِذَا قِيْلَ : هِىَ مُحَرَّمَةٌ، فَهَلْ تَصِحُّ مَعَ التَّحْرِيْمِ أَمْ لاَ ؟ .. وَالْمَشْهُوْرُ عِنْدَنَا أَنَّهَا مُحَرَّمَةٌ لاَ تَصِحُّ، وَمَنْ تَأَمَّلَ النُّصُوْصَ الْمُتَقَدِّمَةَ تَبَيَّنَ لَهُ أَنَّهَا مُحَرَّمَةٌ بِلاَ شَكٍّ،
“นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันเกี่ยวกับการละหมาดในสุสาน(กุบูรฺ)ว่า จะเป็นเรื่องต้องห้าม(หะรอม) หรือน่ารังเกียจ(มักรูฮ์) .. หากกล่าวว่า เป็นเรื่องหะรอม (ปัญหาต่อมาก็คือ)ละหมาดนั้นจะใช้ได้ทั้งๆที่หะรอม หรือใช้ไม่ได้ ? .. ซึ่งสิ่งที่รู้กันแพร่หลายสำหรับพวกเรา (นักวิชาการมัษฮับหัมบะลีย์)ก็คือ มันเป็นเรื่องหะรอมและละหมาดนั้นใช้ไม่ได้(ไม่เศ๊าะฮ์) ซึ่งผู้ใดก็ตามที่พิจารณาหลักฐานอันชัดเจนที่ผ่านมาแล้ว ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เขาว่า การละหมาดในสุสานนั้น เป็นเรื่องหะรอมโดยปราศจากข้อสงสัย”
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์กล่าวว่า การถือเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด และการละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ เป็นบาปใหญ่
(ดูหนังสือ “อัซ-ซะวาญิรฺฯ” ของอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 244 )
สรุปแล้ว การละหมาดที่กุบูรฺตามทัศนะนักวิชาการสะลัฟส่วนใหญ่ ถือเป็นเรื่องห้ามขาด (หะรอม) .. นอกจากนักวิชาการส่วนน้อยที่มองว่า ข้อห้ามดังกล่าวไม่ใช่เป็นการห้ามขาด (คือเป็นมักรูฮ์) เท่านั้น
ในทัศนะที่มีความเห็นสอดดคล้องกับทัศนะของท่านอิบนุอับบาสร.ฎ., ท่านอะลีย์ ร.ฎ., ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอิบนุหัสม์, ท่านอิบนุตัยมียะฮ์และนักวิชาการส่วนใหญ่ที่กล่าวว่า การละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม(ห้ามขาด) เพราะมีหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้องหลายบทยืนยันไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลฺ? ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
الأَرْضُ كُلُّهَا مَسْجِدٌ إِلاَّ الْحَمَّامَ وَالْمَقْبُرَةَ
“พื้นดินทั้งหมด เป็นที่ละหมาดได้ ยกเว้นห้องน้ำและสุสาน” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 492, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 317 และผู้บันทึกท่านอื่นๆ)
2. ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้อ้างรายงานจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่กล่าวว่า
إِنَّ مِنْ شِرَارِالنَّاسِ مَنْ تُدْرِكُهُ السَّاعَةُ وَهُمْ أَحْيَاءٌ، وَمَنْ يَتَّخِذُ الْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ
“แท้จริง ส่วนหนึ่งจากประชาชนที่ชั่วช้าอย่างยิ่งก็คือ ผู้ซึ่งวันกิยามะฮ์มาถึงขณะพวกเขายังมีชีวิตอยู่ และผู้ซึ่งยึดเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด”
(บันทึกโดย ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 6-7 ด้วยสายรายงานที่หะซัน)
3. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
أَلاَ وَإِنَّ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ كَانُوْا يَتَّخِذُوْنَ قُبُوْرَ أَنْبِيَائِهِمْ وَصَالِحِيْهِمْ مَسَاجِدَ، أَلاَ فَلاَ تَتَّخِذُوْاالْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ، إِنِّىْ أَنْهَاكُمْ عَنْ ذَلِكَ
“พึงระวัง! แท้จริงประชาชาติก่อนพวกท่านได้ยึดเอากุบูรฺนบีย์ของพวกเขาและคนดีของพวกเขาเป็นที่ละหมาด, พึงระวัง! ดังนั้นพวกท่านอย่ายึดเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด, แท้จริงฉันขอห้ามพวกท่านจากเรื่องนี้”
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 23/532 และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 2 หน้า 269 โดยรายงานจากท่านญุนดุบ บินอับดุลลอฮ์ อัล-บัจญลีย์ ร.ฎ.) ...
4. ท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَّلَم نَهَى أَنْ يُبْنَى عَلَى الْقُبُوْرِ، أَوْ يُقْعَدَ عَلَى الْقُبُوْرِ، أَوْ يُصَلَّى عَلَى الْقُبُوْرِ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามจากการก่อสร้างสิ่งใดบนกุบูรฺ, จากการนั่งบนกุบูรฺ, และจากการละหมาดบนกุบูรฺ” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูยะอฺลา ใน “อัส-มุสนัด” ของท่าน ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
5. ท่านอบูมัรฺษัด อัล-ฆอนะวีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมว่า ...
لاَ تُصَلُّوْا إِلَى الْقُبُوْرِ، وَلاَ تَجْلِسُوْا عَلَيْهَا
“พวกท่านอย่าละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ (หลุมศพ) และพวกท่านอย่านั่งบนกุบูรฺ”
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 98/972)
บรรดาหะดีษข้างต้นนี้คือหลักฐาน “ห้าม” จากการละหมาดในกุบูรฺ, บนกุบูรฺ หรือหันไปทางกุบูรฺ ซึ่งตามหลักการแล้วถือว่า ข้อห้ามดังกล่าวหมายถึง “หะรอม”
ท่านอัศ-ศ็อนอานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 1 หน้า 136 อันเป็นการอธิบายหะดีษที่ 5
“ในหะดีษนี้เป็นหลักฐานเรื่องห้ามละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ เหมือนการห้ามละหมาดบนกุบูรฺ, และพื้นฐาน(ของการห้าม) ก็คือ หะรอม”
ส่วนคำกล่าวนักวิชาการบางท่านที่ว่า เหตุผลที่ห้ามละหมาดในกุบูรฺ ก็เฉพาะกุบูรฺที่ถูกขุดรื้อขึ้นมา เพราะเกรงว่าพื้นดินจะเป็นนะญิสจากน้ำเหลืองของมัยยิตก็ดี, หรือการห้ามละหมาดในสุสานในหะดีษดังกล่าว หมายถึงสุสานของกาฟิรฺ แต่ไม่ห้ามละหมาดในสุสานของมุสลิมก็ดี
เหล่านี้ล้วนเป็นเพียง “เหตุผล” ตามมุมมองของนักวิชาการเท่านั้น แต่ไม่ใช่ “หลักฐาน” ที่จะมาจำกัดข้อห้ามที่กล่าวไว้กว้างๆในหะดีษข้างต้นแต่ประการใด
والله أعلم بالصواب
.........................
อาจารย์ปราโมทย์(มะหมูด)ศรีอุทัย

ฝันร้ายคือการล่อเล่นของชัยฏอน


เมื่อมุสลิมคนใดได้ฝันร้าย หรือฝันเห็นสิ่งที่น่าเกลียด เช่นฝันว่า หัวตัวเองถูกตัดขาด เป็นต้น การฝันเช่นนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่ามันเป็นการล่อเล่นของเหล่าชัยฏอนขณะผู้นั้นกำลังนอนหลับ ท่านจึงให้ผู้ฝันถ่มน้ำลายไปทางด้านซ้ายของเขา 3 ครั้ง(ไม่จำต้องถ่มน้ำลายจริงๆ) แล้วขอความคุ้มครองจากพระองค์อัลลอฮฺ พร้อมกับเปลี่ยนข้างนอนมาอีกข้างหนึ่ง และอย่าได้เล่าฝันนั้นให้ผู้ใดฟัง

รายงานจสกท่านญาบิรฺ ร่อฎียัลลลอฮูอันฮ์ เล่าว่า อาหรับชนบทคนหนึ่งได้มาหาท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม พร้อมกล่าวว่า

“โอท่านรสูลของอัลลอฮฺ ฉันฝันว่าหัวของฉันถูกตัด แล้วกลิ้งออกไป และฉันก็เดือดร้อนลำบากในการตามหามัน ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จึงกล่าวกับอาหรับชนบทคนนี้ว่า ท่านอย่าได้ไปเล่าให้ผู้อื่นฟังถึงการล่อเล่นของชัยฏอนที่มีต่อท่าน ในเวลานอนของท่าน..”
(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2113)

รายงานจากท่านญาบิรฺ ร่อฎียัลลลอฮูอันฮ์ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า

“เมื่อคนหนึ่งในหมู่พวกท่านฝันเห็นสิ่งที่น่าเกลียดก็ให้เขาถ่มน้ำลายไปทางซ้าย 3 ครั้ง อีกทั้งขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (อะอูซุบิลลาฮฺ) 3 ครั้ง แล้วจึงเปลี่ยนข้างนอนมาอีกข้าง”
(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2110)

والله أعلم بالصواب

บทบัญญัติอิสลามนั้นสะดวกง่ายดาย


อิสลามนั้นสะดวกง่ายดายในการปฏิบัติศาสนา มีการอะลุ่มอล่วย ผ่อนปรน ไม่ทำให้ยากลำบาก และตามความสามารถแต่ละคน

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้เฝ้าดูแลสภาพผู้เป็นบ่าวแห่งศาสนาอันยิ่งใหญ่ ด้วยความเอ็นดูเมตตา และผ่อนปลน จึงได้บัญญัติในทุกสภาพการณ์ที่เหมาะสม พระองค์ทรงผ่อนปรนต่อผู้เดินทาง ให้มีการย่อในละหมาด จากสีร็อกอะฮฺเป็นสองร็อกอะฮฺ ทรงอนุญาตให้รวมละหมาดสองเวลามาไว้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องถือศิดอดในเดือนรอมาฎอนขณะเดินทาง แต่ให้ชดใช้ในภายหลัง พระองค์ทรงกำหนดให้ผู้ที่อยู่ในภาวะหวาดกลัวให้ทำละหมาดได้ตามสภาพของเขา ทรงบัญญัติให้ผู้ป่วยละหมาดเท่าที่เขาจะสามารถ ทั้งในขณะยืน นั่ง หรือนอนตะแคง พระองค์ไม่ทรงถือโทษที่กระทำผิดพลาดไปด้วยการหลงลืม หรือถูกบังคับ ทรงผ่อนผันให้ผู้ตกอยู่ในภาวะคับขัน จำเป็นสามารถกระทำการบางอย่างได้ ซึ่งภาวะปกติแล้ว ถือเป็นที่ต้องห้าม เช่น กินซากสัตว์ เพื่อประทังชีวิต ฯลฯ

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلَا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ ( 185 )
อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:185)


وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِّينِ مِنْ حَرَجٍ ُ ( 78 )
“และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลฮัจญ์22:78)


لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا َ ( 286 )
“อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:286)


فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ ( 16 )
“ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถ “
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัตตะฆอบุน 64:16)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อฉันให้พวกท่านให้กระทำสิ่งใด พวกท่านก็จงกระทำเท่าที่พวกท่านจะสามารถ”(บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ มุสลิม)

“ฉันถูกส่งมาพร้อมสาสนา(แนวทาง) ที่มีความอลุ่มอล่วย ผ่อนปรน ไม่ยากลำบาก”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด)

แต่สำหรับคำว่าสะดวกง่ายดายของศาสนา ไม่ใช่หมายถึงการผ่อนปรน อะลุ่มอล่วยให้ไม่ต้องทำสิ่งที่เป็นวาญิบ ซึ่งเป็นหน้าที่จำเป็น แล้วหันไปกระทำสิ่งที่ต้องห้าม แต่หากหมายถึงการที่ผู้เป็นบ่าวเปลี่ยนจากการทำอิบาดะฮฺที่ยากลำบากลำเค็ญไปสู่การทำอิบาดะฮฺที่สะดวกง่ายดายต่างหาก...

والله أعلم بالصواب

การเชื่อฟังของบุตรต่อบิดามารดา


การเชื่อฟังของบุตรจากผู้เป็นบิดามารดา นั้นเป็นมารยาทที่พึงปฏิบัติต่อท่านทั้งสอง เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความรักที่มีต่อท่านทั้งสอง ซึ่งสิ่งที่ทำร้ายจิตใจของท่านทั้งสองที่รุนแรงนั้นคือการที่ปฏิเสธการแนะนำ หรือคำขอ ความต้องการของท่าน อันเป็นการเนรคุณต่อท่านทั้งสอง

รายงานจากท่านอัมรฺ อิบนุลอ๊าศ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บาปใหญ่คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การเนรคุณต่อบิดามารดา การสังหารชีวิตผู้อื่นโดยมิชอบธรรม และการสาบานเท็จ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)
แต่การเชื่อฟังนั้น จะต้องไม่เป็นเรื่องที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่ว่าการสั่งใช้ให้กระทำชีริก หรือบิดอะฮฺ เช่น ท่านให้วอนวอต่อผู้ที่ตายไปแล้ว ให้ละหมาดที่หลุมศพ ให้สวมเครื่องรางของขลัง เป็นต้น

พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَإِن جَاهَدَاكَ عَلَىٰ أَن تُشْرِكَ بِي مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ فَلَا تُطِعْهُمَا وَصَاحِبْهُمَا فِي الدُّنْيَا مَعْرُوفًا وَاتَّبِعْ سَبِيلَ مَنْ أَنَابَ إِلَيَّ ثُمَّ إِلَيَّ مَرْجِعُكُمْ فَأُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ ( 15 )
และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขาทั้งสอง และจงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดี และจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า และยังเรานั้นถือทางกลับของพวกเจ้า ดังนั้น ข้าจะบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺลุกมาน 31:15)

และเราไม่ต้องเชื่อฟังบิดามารดา หากว่าท่านสั่งใช้ให้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ควร เช่นสั่งใช้ให้แต่งงานกับบุคคลที่ไม่ดี แต่มีฐานะรำรวย หรือให้หย่ากับภรรยาโดยไม่มีเหตุผลอันควร การก้าวก่ายในครอบครัวของลูกๆที่ได้แต่งงานแล้วทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องใด จนลูกไม่อาจตัดสินใจสิ่งใดด้วยตนเองได้ เป็นต้น

والله أعلم بالصواب