อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ปริศนาแห่งการละหมาดยามดึกสงัด



การละหมาดในช่วงเวลาหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของยามค่ำคืนช่างเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์:
(1)การละหมาดห้าเวลาถูกเรียกโดยมนุษย์แต่ละหมาดยามดึกถูกเรียกโดยพระผู้อภิบาลแห่งมนุษย์.
(2)การละหมาดห้าเวลาทุกคนสามารถได้ยินเสียงเรียก แต่การละหมาดยามดึกไม่มีใครรู้สึกได้นอกจากบางคนเท่านั้น.
(3)การละหมาดห้าเวลาเรียกด้วยถ้อยคำที่ว่า:"จงมาสู่การละหมาดกันเถิด จงมาสู่ชัยชนะกันเถิด"แต่การละหมาดยามดึกถูกเรียกด้วยคำว่า:"มีใครจะขออะไรบ้างข้าจะให้".
(4)การละหมาดห้าเวลามุสลิมส่วนมากทำกันอยู่แล้ว แต่ละหมาดยามดึกไม่มีใครทำนอกจากมุมินผู้ศรัทธาที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือกเท่านั้น.
(5)การละหมาดห้าเวลาบางคนอาจละหมาดเพื่อต้องการโอ้อวด แต่การละหมาดยามดึกไม่มีใครละหมาดนอกจากในสภาพที่อำพรางตนด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ.
(6)การละหมาดห้าเวลามักถูกรบกวนด้วยความวุ่นวายของดุนยาและการกระซิบกระซาบของมารร้ายชัยฏอน ในขณะที่การละหมาดยามดึกคือการตัดขาดจากดุนยาและสร้างเพื่อโลกอาคิเราะห์.
(7)การละหมาดห้าเวลาบางทีเราทำเพราะอยากพบเจอกับใครสักคนที่มัสญิดเพื่อจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ในขณะที่การละหมาดยามดึกเราทำเพื่อความสบายใจที่ได้สนทนาพูดคุยกับอัลลอฮฺ ร้องทุกข์กับพระองค์และขอความต้องการจากพระองค์.
การขอดุอาอฺในละหมาดห้าเวลาอาจถูกตอบรับ ในขณะที่การละหมาดยามดึกนั้นอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะตอบรับ《มีใครจะขออะไรบ้างข้าจะให้》.ท้ายที่สุดคือ การละหมาดยามดึกไม่มีใครได้รับการดลใจให้ลุกขึ้นมาทำได้นอกจากคนที่อัลลอฮฺทรงให้เกียรติเป็นกันเองกับเขา พูดด้วยกับเขา รับฟังความเดือดเนื้อร้อนใจของเขา ;
ดังนั้นจึงขออวยพรให้แก่ผู้ที่ได้รับบัตรเชิญจากพระผู้อภิบาลผู้ทรงเกียรติผู้ทรงสูงส่งให้ได้นั่งอยู่ต่อหน้าของพระองค์ รับฟังคำดำรัสของพระองค์และเพลิดเพลินอยู่กับการพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับพระองค์.


อย่าได้หวงห้ามตัวท่านหรือใครๆ เพราะบางทีการที่ท่านส่งเสริมคนอื่นให้ตื่นขึ้นมาละหมาดยามดึกนั้นอาจทำให้ท่านได้ผลบุญเหมือนกันกับเขาก็เป็นได้ ขอให้เราและท่านได้ประโยชน์จากบทความนี้ และขอให้เราได้เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ละหมาดตะฮัจญุดด้วยเทอญ.




วันหนึ่งจะทำได้ไหม


  
1. ตื่นแต่เนิ่นๆ เข้ามัสยิดก่อนเพื่อ รอนมาซศุบฮิ
2. นมาซแบบญะมาอะห์ต้นเวลาที่มัสยิดเสมอ
3. อ่านวิริดทุกครั้งหลังนมาซ
4. อ่านซิเกรอัซการ ยามเช้า(หลังนมาซศุบฮิ) และ ยามเย็น(หลังนมาซอัสรี)
5. อ่านอัลกุรอานแบบรู้ความหมายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 15 นาที
6. นมาซสุนัตรอว่าติบ(ก่อน-หลังนมาซฟัรดูเสมอ)ที่เป็นมุอักกัด
7. นมาซฎุฮาเสมอ
8. ซิเกร ดุอา รำลึกถึงอัลลอฮฺ ตลอดเวลา
9. ดะวะห์ด้วยการพูด การเขียนทุกวัน หรือตามความสามรถ
10. อ่าน ฟัง ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของโลกตามสื่อต่างๆ
11. อ่าน เขียน ทบทวน ศึกษาอิสลาม หะดิษ อย่างน้อยวันละ2ชม.
12. ออกกำลังกาย อยู่เสมอ แม้แต่การเดินเท้าก็ตาม
13. รักษานมาซวิเตรเสมอ
14. ตรวจสอบตัวเอง ก่อนนอนทุกคืน อาบน้ำละหมาดและเตาบัตก่อนนอน
15. นมาซตะฮัจญุดเสมอๆ เพื่อดุอา ใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ และสำนึกผิดบาปต่างๆ



ความหรูหราของสะระบั่น






ถ้าการห้ามใส่กางเกงลากยาวเกินตาตุ่ม มีเจตนารมณ์เพื่อป้องปรามมิให้โชว์ความหรูหราเพราะคิดทับถมผู้อื่นแล้วละก็

ผ้าสะระบั่นคงต้องนำมาไว้ในคดีเดียวกัน เพราะเดี๋ยวนี้เขามีชมรมกันเลยทีเดียว ผืนละห้าพัน เจ็ดพัน เป็นหมื่นก็มี  และชนิดสีทองจะแพงกว่าเพื่อน

วันนี้ถือว่าได้เปิดหูเปิดตาจริงๆครับกับเรื่องสะระบั่น


.................................
เรื่องเล่าจากวงชาลันตา









ความสุขในจิตใจไม่มีทางหาได้จากวัตถุภายนอก




สังคมในยุคนี้ ผู้หญิงถ่ายหน้าอก ผู้ชายถ่ายรถโชว์ลงเฟส ใครจะไปรู้ว่าอกนั้นปลอมหรือจริง รถนั้นเป็นของเขาหรือของใคร!
คนที่ยังไม่ได้แต่งงานอยู่กินกันเหมือนคนแต่งงาน ส่วนคนที่แต่งงานแล้วกลับแยกกันอยู่เหมือนยังไม่ได้แต่งงาน!

สัตว์เริ่มสวมใส่เสื้อผ้าเหมือนกับคน คนเริ่มอวดเนื้อหนังเหมือนกับสัตว์!
เด็กทำตัวแก่แดดเหมือนผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ทำตัวแอ๊บแบ๊วเหมือนกับเด็ก
ผู้หญิงทำตัวห้าวเป้งเหมือนผู้ชาย ผู้ชายทำตัวมุ้งมิ้งเหมือนผู้หญิง
คนจนทำรวยเป็นเศรษฐี คนรวยทำจนเหมือนยาจก
เถ้าแก่แต่งตัวเหมือนลูกจ้าง ลูกจ้างแต่งตัวเหมือนเถ้าแก่
พ่อแม่เรียกลูกว่าพี่ ลูกแทนตัวเองว่าน้อง
คนโสดทำตัวเหมือนแม่บ้าน แม่บ้านทำตัวเหมือนคนโสด
คนผอมถ่ายรูปโพสต์ว่าช่วงนี้อ้วน คนอ้วนถ่ายรูปโพสต์ว่าช่วงนี้ไดเอท
คนมีรอยสักมักถอดเสื้อแล้วบอกว่าร้อน
คนใช้แอปเปิลบอกไม่มีกระเป๋าถือ
คนใส่ฟันทองชอบยิงฟัน

คนซื้อนาฬิกาเรือนใหม่ชอบปัดแขนปัดขา
สักวันหนึ่งคุณจะเข้าใจ ใส่นาฬิกาเรือนละสามร้อยหรือสามหมื่นวันหนึ่งก็มี24ชั่วโมงเหมือนกัน

อยู่บ้านกว้าง30ตารางเมตรหรือ300ตารางวาความโดดเดี่ยวก็ไม่ต่างกัน
สูบบุหรี่มวนละสิบบาทหรือมวนละร้อยก็เป็นมะเร็งปอดเหมือนกัน
นั่งชั้นธุรกิจหรือชั้นประหยัดเครื่องบินตกก็ตายเหมือนกัน
สักวันหนึ่งคุณก็จะเข้าใจ ความสุขในจิตใจไม่มีทางหาได้จากวัตถุภายนอก
เพราะฉะนั้น จงรู้พอใจจึงได้ความสุข

ใช้ ชีวิตอยู่กับใครนั้นสำคัญมาก
ใครอยู่กับคุณตลอดไปนั้นหาได้ยากยิ่งกว่า
คนในโลกใบนี้มีตั้ง7.2 พันล้านคน ที่เราได้มารู้จักกัน มาอยู่ร่วมกัน หากไม่ถนอมรักษาก็น่าเสียดาย

อ.ฟาอีซีน อังคะรา







แบบอย่างที่ดีเริ่มต้นจากที่บ้าน






      สภาพแวดล้อมภายในบ้าน มีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวที่รอการระบายสี อยากให้ลูกเราเป็นแบบไหน สร้างสังคมแบบนั้นให้เด็กๆได้เรียนรู้ และปฏิบัติตาม

         สร้างสภาพแวดล้อมในบ้าน ให้เป็นในแบบที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติ

    ถ้า..อยากให้ลูกขยันละหมาด พ่อ-แม่ก็ต้องละหมาดเป็นแบบอย่าง

   ถ้า..อยากให้ลูกมีศาสนา พ่อ-แม่ก็ต้องพูดคุยกันเรื่องศาสนา ให้เวลาการอ่านกรุอ่าน อ่านฮาดิษ ไปพร้อมๆกับลูก

  ถ้า..อยากให้ลูกรักการอ่าน พ่อ-แม่ก็สละเวลาอ่านกับลูกด้วย

  ถ้า..อยากให้ลูกมีมารยาทที่ดี ใช้คำพูดที่ดี พ่อ-แม่ก็ต้องแสดงในทางที่ดีด้วยเช่นกัน

..เพราะเด็กๆจะเรียนรู้จากพฤติกรรม เพื่อลอกเลียนแบบ มากกว่าคำสั่งสอนที่ไม่มีแบบอย่างให้เห็น

อย่าลืมที่จะดุอาอฺให้ลูกๆนะคะ
ดุอาอฺจากพ่อแม่เป็นดุอาอฺที่ถูกตอบรับ ❤️

แม่บ้านต่างแดน 😊



ทำไม ละหมาดญะนาซะห์ต้องแจกตังค์?






นี่คือ ปัญหาหนึ่งในสังคม คือ เมื่อมีการการตาย ก็ต้องไปเชิญโต๊ะละแบ โต๊ะปะเกร์(ใช้เรียกคนเรียนปอเนาะ) มาละหมาด โดยจำกัดคนตามกำลังทรัพย์ของครอบครัวผู้ตายที่สามารถจะแจกตังค์และข้าวสารแก่ผู้มาละหมาดได้ ถ้าจนคนละหมาดน้อย ถ้ารวยคนมาละหมาดมาก เพราะมีตังค์แจกเยอะกว่า
ในสุนนะฮนบีส่งเสริมให้คนไปละหมาดเยอะๆ ไม่จำเป็นว่าเขาจะเชิญหรือไม่เชิญ เพราะการละหมาดญะนาซะฮคือ การให้การอนุเคราะห์แก่พี่น้องมุสลิมที่เสียชีวิต ไม่ใช่มาสร้างภาระให้พวกเขา
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِن مَيِّت يُصَلّي عَليه أُمَّة مِن المسلمين (أي: جماعة) يَبْلُغون مِائة كُلُّهم يَشْفعون له إِلَّا شَفَعوا فيه» [أخرجه مسلم]
“ไม่มีผู้เสียชีวิตคนใดที่มีชนมุสลิมมาละหมาดให้เขา พวกเขามีถึง 100 คน ทั้งหมดล้วนขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้แก่เขาเว้นแต่พวกเขาจะถูกให้ขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้เขาได้” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«مَنْ شَهِدَ الجَنَازَةَ حَتَّى يُصَلَّى عَلَيْهَا فَلَهُ قِيْرَاطٌ، وَمَنْ شَهِدَهَا حَتَّى تُدْفَنَ فَلَهُ قِيْرَاطَان. قِيْلَ: وَمَا القِيْراطَان؟ قَالَ: مِثْلَ الجَبَلَيْنِ العَظِيْمَيْنِ» [متفق عليه]
“ผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกละหมาดให้ เขาจะได้ 1 กีรอฏ และผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกฝัง เขาจะได้ 2 กีรอฏ มีคนกล่าวว่า “และกีรอฏคืออันใดหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “เหมือนภูเขามหึมา 2 ลูก”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

การละหมาดญะนาซะฮ มีผลบุญมากมาย แต่ทำไมต้องรอให้เจ้าภาพมาเชิญก่อน จะไปละหมาดให้เขา แบบนี้สุนนะฮใครหรือครอบครัวคนจน ที่มีการตาย ได้เงินมาก้อนหนึ่งจากการบริจาคช่วยเหลือของเพื่อบ้าน แต่ไม่นานเงินก็หายไปในพริบตา เพราะเอาไปแจกคนที่มาละหมาดให้ศพสามี มันช่างน่าเศร้าใจยิ่งหนัก เพราะถ้าไม่แจกตังค์ สังคมก็จะหาว่า"เป็นพวกวะฮบีย" ใครล่ะจะทนได้ พอค่ำลงต้องหาตังค์เตรียมอาหารเลี้ยงโต๊ะละแบอีก ไม่ทำก็กลัวเป็นวะฮบีย์ ไม่มีใครคบ ก็จำใจต้องทำ ฝ่ายที่ได้ประโยชน์เข้ากระเป๋า ก็อ้างว่า เจ้าภาพมีใจ จะบริจาคเศาะดะเกาะฮ ขอแย้งว่าไม่จริง แต่เป็นการจำใจต้องทำเพราะมันคือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานานใครไม่ทำก็จะถูกตำหนิทางสังคม ถ้ามีใจแล้วทำไม่บริจาคเฉพาะคนละหมาดญะนาซะฮ สรุปคือ เป็นค่าละหมาดญะนาซะฮนั้นเอง
กรณีแจกตังค์หรือสิ่งของ พร้อมกับมัยยิตที่กุโบร์นั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวไว้ ว่า
وأمَّا إخراج الصدقة مع الجنازة فبدعةٌ مكروهةٌ، وهو يُشبه الذبح عند القبر، وهذا مما نهى عنه النبيُّ صلى الله عليه وسلم، كما في السنن عنه صلى الله عليه وسلم أنه نهى عن العَقْر عند القبر، وتفسيرُ ذلك: أنَّ أهل الجاهلية كانوا إذا مات فيهم كبيرٌ عَقَروا عند قبره ناقةً أو بقرةً أو شاةً أو نحو ذلك، فنهى النبيُّ صلى الله عليه وسلم عن ذلك، حتى نصَّ بعضُ الأئمة على كراهة الأكل منها، لأنه يُشبه الذبح لغير الله، قال بعض العلماء: وفي معنى ذلك ما يفعله بعضُ الناس من إخراج الصدقات مع الجنازة من غنمٍ أو خبزٍ أو غير ذلك
และสำหรับ การจ่ายเศาะดะเกาะฮ พร้อมกับญะนาซะฮ นั้น เป็นบิดอะฮที่น่ารังเกียจ และมัน ถูกเลียนแบบ กับการเชือด ณ ที่กุโบร์ และ กรณีนี้ เป็นส่วนหนึ่งจาก สิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ได้ห้ามจากมัน เช่น สิ่ง(หะดิษ)ที่ปรากฏในอัสสุนัน จากท่านนบี ศอ็ลฯ ว่า ท่านนบีได้ห้ามจากการเชือดสัตว์ ณ ที่กุโบร์ และการอธิบายดังกล่าวนั้นคือ แท้จริง ชาวญาฮิลียะฮ เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่พวกเขาเสียชีวิต พวกเขาก็เชือด อูฐ,หรือวัว ,หรือแพะหรือ ในทำนองนั้น ณ ที่กุโบร์ของเขา แล้วท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ห้ามจากดังกล่าวนั้น จนกระทั่ง ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ ได้ระบุไว้เป็นตัวบท ถึงมักรูฮของการรับประทานจากดังกล่าว เพราะแท้จริง มันถูกให้คล้ายคลึง กับการเชือดเพื่ออื่นจากอัลลอฮ ,ส่วนหนึ่งของ บรรดานักปราชญ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ และในความหมาย ดังกล่าวนั้น คือ สิ่งที่ ส่วนหนึ่งของบรรดาผู้คนได้ปฏิบัติมัน จากการ จ่ายบรรดาเศาะดะเกาะฮ พร้อมกับมัยยิต เช่น แพะ หรือ ขนมปัง หรืออื่นจากดังกล่าวนั้น
 -ญาเมียะอัลมะสาอีล ของอิบนุตัยมียะฮ 4/151

جامع المسائل لشيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله . المجموعة الرابعة ص151 ขอให้พี่น้องผู้อ่านพิจารณาดู ผมคงบังคับใครไม่ได้ เรามาเลิกประเพณีจ่ายค่าตอบแทนการละหมาดญะนาซะฮกันดีไหม หัดเป็นผู้เสียสละบ้างจะดีไหม เพื่อให้ครอบครัวผู้ตายนำเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัวโดยเฉพาะหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า

والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม




การแจกเงินภายหลังละหมาดญานาซะฮ์ที่ทำกันปัจจุบัน ถึงแม้จะเป็นการบริจาคสะดะเกาะฮ์รูปแบบหนึ่ง แต่การแจกเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นประเพณีที่คนทั่วไปเข้าใจว่าต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเป็นเรื่องแปลก คือชาวบ้านทั่วไปเขาเข้าใจว่ามันคือบทบัญญัติศาสนา ที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัม) และบรรดาเศาะหาบะฮ์ และชาวสลัฟถัดมาได้ปฏิบัติกัน หากใครไม่ทำถูกมองว่า ยังไม่ครบสูตรของการประกอบพิธีจัดการมัยยิตตามบทบัญญัติศาสนา คือถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดศพ ชาวบ้านทั่วไปเมื่อญาติคนใดเสียชีวิตแล้วก็ต้องหาเงินมาใส่ซอง ต้องซื้อข้าวสาร ไข่ไก่ไว้แจกผู้ที่จะมาร่วมละหมาดญานาซะฮ์ให้มัยยิต โดยเฉพาะซองที่ไว้แจกผู้ที่จะมาละหมาดฮาดียะฮ์ให้แก่มัยยิต จะเป็นซองพิเศษ 

และปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่เที่ยวหากินในเรื่องนี้ ด้วยการไปตามมัสยิดที่ทราบว่ามีการละหมาดญานาซะฮ์ โดยการส่งเด็กๆมายืนรอร่วมกับญาติผู้ตายที่ยืนรอแจกซองเงินแก่ผู้มาร่วมละหมาดญานาซะฮ์ที่เดินออกจากมัสยิด และมีการเตรียมซองที่ใส่เงินปลอมไว้ แล้วแจกซองนั้นจนหมดให้ญาติผู้ตายและผู้มาร่วมละหมาดนั้นตายใจ แล้วจึงขอซองเงินจากญาติผู้ตาย ทำเป็นไปแจกซองต่อ แล้วก็เชิดซองเงินนั้นไป

ดังนั้น การแจกเงินของญาติผู้ตาย เพื่อเป็นการเศาะดะเกาะฮ์แทนผู้ตาย ก็เป็นสิทธิของญาติผู้ตายที่จะกระทำ แต่อย่าไปเข้าใจว่าการแจกเงินต้องแจกให้ผู้มาร่วมละหมาดญานาซะฮ์หลังละหมาดเสร็จ และจะต้องทำ จนสร้างความลำบากใจแก่ญาติผู้ตายที่เหมือนถูกบังคับต้องทำ ถึงแม้จะกระทำไปด้วยความเต็มใจ แต่ตนกลับอยู่อย่างยากลำบาก อดมื้อกินมื้อหรือต้องไปยืมหนี้สินเขามา ก็ไม่จำเป็นที่จะนำเงินนั้นมาแจกในช่วงเวลาดังกล่าว

วัลลออุอะอฺลัม






วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การจัดค่ายกุรอานเป็นบิดอะฮ์หรือไม่




การจัดค่ายกุรอ่านทุกๆปีและทำเป็นกิจวัตรประจำปีในหลายๆสถานที่ ไม่เป็นบิดอะห์
เพราะการจัดค่ายศาสนาหรือค่ายอัลกุรอานนั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งศาสนาสนับสนุนและอนุญาติให้กระทำได้
เพราะการเรียนรู้ศาสนาท่านนบีและซอฮาบะห์ได้กระทำไว้หลายรูปแบบ
เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้

     แต่มันก็จะเป็นบิดอะห์ได้ต่อเมื่อเราไปกำหนดวิธีการเรียนรู้ เวลา ฯลฯ โดยอ้างว่าศาสนาให้เรียนและเข้าค่ายอย่างเดียวโดยปฏิเสธรูปแบบและวิธีอื่นๆ  ซึ่งเป็นวิธีที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และซอฮาบะห์เคยกระทำไว้

ขอยกมาเปรียบเทียบกับการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดดังนี้
*** อนุญาตให้ยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดได้ เพราะมีตัวบทหลักฐานให้ยกมือขอดุอาอ์ที่เป็นบริบททั่วไป โดยไม่ต้องยึดว่าต้องทำตลอด หลังละหมาด เพราะไม่มีหลักฐานเรื่องนี้ให้กระทำเป็นการเฉพาะ
***การจัดเข้าค่ายกุรอ่าน เป็นสิ่งที่ถูกปฏิบัติขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างในยุคของท่านนบี แต่มีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับ เพราะการเรียนรู้ศาสนาท่านนบีและซอฮาบะห์ได้กระทำไว้หลายรูปแบบเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ รวมการสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในระบบปัจจุบัน หรือการสร้างโรงเรียนปอเนาะในยุคก่อนๆ ซึ่ง เป็นสถานที่เพื่อการสั่งสอนวิชาการศาสนา และปกป้องศาสนาจากการสูญหาย ซึ่งการสั่งสอนวิชาการและปกป้องศาสนาจากการสูญหายนี้ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น (วาญิบ) ของอิสลาม อันเป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ


ที่เข้าข่ายบิดอะฮ์
**การยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาด โดยกำหนดว่าต้องยกมือขอดุอาอ์ตลอด ไม่ยกไม่ได้ ถือเป็นการกำหนดการทำอิบาดะฮ์ขึ้นเฉพาะโดยไม่มีหลักฐานรองรับ
**การเข้าค่ายอัลกุรอาน รูปแบบเดียวในการศึกษาเรียนรู้ แบบอื่นไม่ได้ เป็นกำหนดวิธีการเรียนรู้ เวลา ฯลฯ โดยอ้างว่าศาสนาให้เรียนและเข้าค่ายอย่างเดียวโดยปฏิเสธรูปแบบและวิธีอื่นๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และซอฮาบะห์เคยกระทำไว้ เป็นการกำหนดรูปแบบศาสนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ


สำหรับคำถามที่ถามผู้ที่อ้างว่ามีบิดอะฮ์หะซะนะฮ์ตามบทบัญญัติและให้ทำบิดอะฮ์เหล่านั้นได้ แต่อุลามะฮ์ เขาว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นบิดอะฮ์น่ารังเกียจ หรือต้องห้าม  เช่น อีมาม อันนะวะวีย์ กล่าวว่าละหมาดร่อฆออิบ ละหมาดนิศฟูชะอบาน เป็นบิดอะฮที่น่ารังเกียจ การจัดเลี้ยงอาหารบ้านคนตายเป็นบิดอะฮฺ้ต้องห้าม เป็นต้น เมื่อการกระทำสิ่งเหล่านี้เป็นบิดอะฮ์หะซะนะฮ์ แล้ว ทำไมอุลามาอ์จึงกล่าวว่าเป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามด้วย


และเมื่อถามว่าการกระทำใดบ้างเป็นบิดอะฮ์ฎอลาละฮ์ เขาตอบว่า การตะยัมมุมที่ไม่ใช้ดิน จึงถามกลับไปว่า การตะยัมมุมที่ไม่ใช้ดิน มันเป็นบิดอะฮ์ฎอลาละฮ์ แล้วมันฎอลาลาฮ์ยังไง ทำไมถึงขั้นฎอลาละฮ์ มันต่างกันอย่างไรกับบิดอะฮ์หาซานะฮ์ที่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่ก็ไร้คำตอบที่เป็นเชิงทางวิชาการ นอกจากเป็นการใช้คำที่เสียดสี ให้ร้ายและเฉไฉเท่านั้น




วัลลอฮุอะอฺลัม



คำพูดของท่านนบีเป็นซุนนะฮฺ ไม่ใช่บิดอะฮ์






จากคำพูดของผู้นิยมชมชอบทำบิดอะฮ์ (ที่เรียกว่าบิดอะฮ์ดี)  ที่ว่า "บิดหาสานะเป็นชื่อที่คณะเก่าใช้เรียก..สิ่งที่นาบีไม่ได้กระทำแต่มีการใช้(คำพูด)จากท่านครับ"

เมื่อเป็นคำพูดของท่านนบี (ซ็อลลัลอุอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้ว จะเป็นบิดอะฮ์ได้อย่างไร


คำพูดของท่านนบี (ซ็อลลัลอุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ถือเป็นซุนนะฮฺ ต่างหาก ไม่ใช่บิดอะฮ์หะซานะฮ์ดั่งว่าหรอก


ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ "ฟัตหุ้ลบารีย์" เล่มที่ 13 หน้า 245 กิตาบอัล-เอี๊ยะอฺติศอม ที่กล่าวว่า ...
َالسُّنَّةُ مَا جَاءَ عَنِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَقْوَالِهِ، وَأَفْعَالِهِ، وَتَقْرِيْرِهِ وَمَا هَمَّ بِفِعْلِهِ
"-ซุนนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่มาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อันได้แก่ أَقْوَالِهِ (คำพูดต่างๆของท่าน), أَفْعَالِهِ (การกระทำต่างๆของท่าน), تَقْرِيْرِهِ (การยอมรับของท่าน), และ مَا هَمَّ بِفِعْلِهِ (สิ่งที่ท่านแสดงความตั้งใจว่าจะกระทำมัน)"


นอกจากนี้ซุนนะฮ์ ยังรวมถึงการละทิ้งของท่านรสูล  (ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่รียกว่า ซุนนะฮ์ตัรฺกียะฮ์ (แบบอย่างในการละทิ้งตาม) ด้วย


ท่านอิหม่ามอัช-เชาว์กานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อิรฺชาด อัล-ฟุหูล” อันเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของนิติศาสตร์อิสลาม ( اُصُوْلُ الْفِقْهِ ) หน้า 42 ว่า ....
تَرْكُهُ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِلشَّـْئِ كَفِاعلِهِ لَـهُ فِى التَّأَسِّىْ بِهِ فِيْهِ، قَالَ ابْنُ السَّمْعَانِ : إذَا تَرَكَ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ شَيْأً وَجَبَ عَلَيْنَا مُتَابَعَتُهُ فِيْهِ ......
“การละทิ้งสิ่งใดของท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็เหมือนกับการกระทำของท่านต่อสิ่งนั้น ในแง่ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม, .. ท่านอิบนุ อัซ-ซัมอาน ได้กล่าวว่า : เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละทิ้งสิ่งใด “วาญิบ” ต่อพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามท่านใน (การละทิ้ง) สิ่งนั้นด้วย .....”


วัลลอฮุอะอฺลัม





วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความผิดของผู้ที่เจตนาตั้งใจทำการต่อเติมอุตริบิดอะห์ในศาสนา



ความผิดของผู้ที่เจตนาตั้งใจทำการต่อเติมอุตริบิดอะห์ในศาสนาเกิดขึ้น
ความผิดต่างๆของผู้ที่ได้กระทำตามเขานั้น เขาจะได้รับความผิดนั้นด้วย เนื่องจากเขาเป็นบุคคลที่ริเริ่มกระทำสิ่งที่เป็นบิดอะห์นั้นขึ้นมา ดังคำพูดของท่านนบี ที่ว่า
((م من سن في الإسلام سنة حسنة كان له أجرها وأجر من عمل بها من بعده لا ينقص ذلك من أجوره منشيئا، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده لا ينقص ذلك أوزارهم شيئا))
"ใครที่ได้ให้เกิดขึ้นมาในอิสลาม ซึงเป็นแนวทางที่ดี สำหรับเขาแล้วจะได้รับผลตอบแทนนั้น และจะได้รับผลตอบแทนของบุคคลที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางนั้นด้วย โดยที่ผลบุญดังกล่าวนั้นจะไม่ลดจากพวกเขาแต่อย่างใด
และใครที่ได้ให้มีขึ้นในอิสลามซึงแนวทางที่ไม่ดี เขาก็จะได้รับความผิดจากการให้มีแนวทางนั้นเกิดขึ้น และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางนั้นจะตกยังเขาเช่นเดียว โดยที่ความผิดของพวกเขาไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด"
จากหะดีษนี้มันเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า ใครที่ได้ริเริ่มการงานที่ดี ที่มีบทบัญญัติรับรองในกิจการงานนั้นๆ แล้วจากการที่คนแรกได้ริเริ่มปฏิบัติการงานนั้นๆ แล้วผู้คนต่างได้ปฏิบัติตามเขา แน่นอนผลบุญของบุคคลที่ได้มาตามเขา ก็จะได้รับแก่เขาด้วยโดยที่อัลลอฮฺ ไม่ได้ลิดรอนให้ผลบุญของพวกเขาได้ลดลงแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามใครที่ได้ริเริ่มกระทำการงานที่ไม่ได้มีบทบัญญัติทางศาสนาได้รองรับไว้ โดยเขาคิดเอาเองว่า มันเป็นสิ่งที่กระทำแล้วได้รับผลบุญ การกระทำของเขาถือว่า เป็นการอุตริขึ้นมาในศาสนา และหากมีผู้คนมาทำตามเขาในสิ่งที่เขาอุตริขึ้นมา แน่นอนความผิดของคนเหล่านั้นก็จะตกอยู่ที่เขาเช่นเดียวกัน โดยที่ความผิดของพวกเขาก็ไม่ลดลงแต่อย่างใด
ดังนั้นสิ่งที่บรรดามุสลิมสมควรระวัง ก็คือการอุตริขึ้นมาในศาสนา ถึงแม้ว่าเราจะมีเจตนาดีก็ตาม แต่หากสิ่งที่เราทำไม่มีบทบัญญัติมารองรับสิ่งนั้น ถึงแม้เราจะกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ มันก็ไม่ได้ทำให้เราได้รับผลบุญ เพราะเงื่อนไขที่ทำให้การงานของเราถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮฺ จะต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไขด้วยกันคือ
๑. ต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการประกอบการงานเพื่ออัลลอฮฺ
๒. ต้องตามแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม
หากขาดเงื่อนไขหนึ่งเงือนไขใด การงานนั้นก็ไม่ถูกตอบรับ
จากหะดีษข้างต้นที่กล่าว มีคนบางคนเข้าใจได้นำหะดีษนี้มาเป็นหลักฐานว่า แท้จริงมีบิดอะห์หาสานะห์ (การอุตริที่ดี) ซึงความเข้าใจดังกล่าวมันเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทุกการอุตริขึ้นมาในศาสนานั้นถือว่าเป็นความหลงผิด แต่สำหรับการกระทำสิ่งประดิษฐใหม่ที่เกิดขึ้น เช่นในอดีตผู้คนสร้างบ้านด้วยไม้ แต่ปัจจุบันการสร้างด้วยปูซิเมนต์ หรือ มีการสร้างโรงเรียน มีการพิมพ์หนังสือแบบเรียน และอีกมากมายที่เป็นการคิดค้นประดิษฐเครื่องใช้ทำมาอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตให้แก่มวลมนุษย์สิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นบิดอะห์ที่ถูกตำหนิ หรือ เป็นบิดอะห์ที่ต้องห้าม เพราะมันเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในโลกนี้
ท่านนบี มูฮัมมหัด ได้ห้ามก็คือการอุตริกรรมของผู้คนขึ้นมาแล้วมายึดถือเป็นศาสนา ทั้งที่บทบัญญัติเหล่านั้นไม่มีมาจากอัลลอฮฺ และจากรอซูลของพระองค์ ดังนั้นการอุตริกรรมทางศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต และถือว่าเป็นบาปที่ได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา เพราะคนที่ได้อุตริกรรมขึ้นมาในศาสนานั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่มาตำหนิอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ เหมือนกับว่า ศาสนาของอัลลอฮฺยังไม่สมบูรณ์ สมควรได้รับการเพิ่มเติม และอีกประการหนึ่งเหมือนกับว่า ผู้ที่ทำการอุตริกรรมในศาสนานั้น รู้ดีกว่าอัลลอฮฺในบทบัญญัติของพระองค์ ถือว่าเป็นการกระทำที่น่าเกลียด ที่น่าตำหนิ และต้องต่อต้านการกระทำเหล่านี้
และคนที่กระทำการอุตริกรรมทางศาสนานั้นถือว่า เป็น บุคคลที่ทำลายศาสนาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อผู้คนจำนวนได้ปฏิบัติตามบิดฮะห์ในศาสนา ก็แสดงว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติศาสนาของอัลลอฮฺ เพราะมันเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้คิดขึ้นมา แล้วให้มันเป็นศาสนา แต่ศาสนาที่เราจะต้องปฏิบัตินั้น คือศาสนาที่มีบทบัญญัติมาจากอัลลอฮฺ และได้รับความพอใจจากพระองค์ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
"แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮ์นั้นคือ อัลอิสลาม และบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ มิได้ขัดแย้งกันนอกจากหลังจากที่ได้รับความรู้มายังพวกเขาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขาเอง และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดาโองการของอัลลอฮ์แล้วไซร้ แน่นอนอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระ"
(อาละอิมรอน : 19)
อิสลาม คือ ศาสนาของอัลลอฮฺที่พระองค์ได้มีบทบัญญัติมายังมวลมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ชีวิตด้วยความสงบสุข ดังนั้นหากอยากจะได้รับความพอพระทัยจากอัลลอฮฺเราจะต้องปฏิบัติในหลักการอิสลาม ไม่ใช่เราปฏิบัติตามความรู้สึกนึกคิดของเรา หรือเราปฏิบัติตามสิ่งที่เราเห็นดีว่าน่าจะนำมาปฏิบัติ โดยไม่มีที่มาทางบทบัญญัติได้ให้การยืนยันในเรื่องนั้นๆ หรือปฏิบัติตามบรรพชนรุ่นก่อนที่เขาสืบทอดมา โดยที่คิดเอาเองว่าสิ่งนั้น คือศาสนา สิ่งนั้นเมื่อปฏิบัติแล้วจะได้รับผลบุญ
การปฏิบัติศาสนานั้นเราต้องให้ความสำคัญ ในหลักฐานที่มาจากอัลกุรอาน และอัซซุนนะห์ ที่ชัดเจนไม่ใช่มาจากการอุตริกรรมที่มีใครคิดค้นขึ้นมา เพราะผลบุญที่เราปฏิบัติผู้ที่จะให้ผลบุญแก่เรา คือ อัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา เมื่อเราไม่ได้ทำตามพระองค์เราจะผลบุญจากพระองค์ได้อย่างไร หากเราไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางของอิสลามของพระองค์ พระองค์ก็ไม่ต้องการในสิ่งที่เรากระทำไป เพราะไม่ครบเงื่อนไขของการกระทำอิบาดะห์ คือ
๑. มีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺไม่มีเจตนาใดๆแอบแฝง
๒. ปฏิบัติตามแนวทางของท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮู อะลัยอิวะสัลลัม
ดังนั้นเราจะต้องต่อสู้ขจัดสิ่งที่เป็นการอุตริกรรมขึ้นมาในศาสนา เพื่อรักษาอิสลามอันบริสุทธิ์ และเพื่อเราจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ เราจะได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์
ปัจจุบันหนึ่งในสาเหตุที่ประชาชาติอิสลามต้องประสบกับความตกต่ำ ก็เนื่องจากการหันหลังหลักคำสอนของศาสนาที่ถูกต้อง แต่กลับไปยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มีที่มาทางศาสนา จึงเป็นสาเหตุให้บรรดาประชาชาติอิสลามมีความแตกแยก ทั้งที่ในอดีตมุสลิมมีความเข้มแข็งเป็นที่น่าเกรงขราม และมุสลิมมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเมืองการปกครองมุสลิมมีกองทัพที่เข้มแข็ง มุสลิมมีเศษฐกิจที่ดี ก็เพราะมุสลิมได้ปฏิบัติศาสนาตามแนวทางของท่านนบี มูฮัมหมัด อย่างเคร่งครัด และไม่มีการอุตริกรรมขึ้นมาในศาสนา
ขออัลลอฮฺได้โปรดแก้ไขปรับสภาพของบรรดามุสลิมให้กลับมาสู่หนทางที่ถูกต้องของพระองค์


อามีน




والله أعلم







วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรื่องอิบาดะห์ต้องถามว่ามีหลักฐานรองรับไหม






การอ่านอัลฟาตีหะฮ์ระหว่างยกมือขอดุอาอ์เพื่อเป็นการตะวัซซุลในการรับดุอาอฺ ก็อยู่ในบริบทเดียวกันกับยกมือขอดุอาอ์ อย่าไปกำหนดว่าต้องทำตลอด หรือต้องอ่านแต่ฟาติหะฮ์อย่างเดียว สูเราะฮ์อื่นไม่ได้ เจาะจงว่าต้องมีรูปแบบอย่างนี้เท่านั้น ก็ถือเป็นการกระทำที่ไปกำหนดรูปแบบที่ตายตัวในอิบาดะฮฺขึ้นมาใหม่นั้นเอง   เพราะอิบาดะฮฺใดที่มีรูปแบบเฉพาะตามตัวบทหลักฐาน การกระทำที่ออกนอกรูปแบบเฉพาะนั้นถือเป็นบิดอะฮฺ และอิบาดะฮฺใดที่ไม่มีรูปแบบเฉพาะตายตัวเนื่องจากตัวบทหลักฐานกล่าวไว้อย่างกว้างๆ การกระทำที่ไปกำหนดรูปแบบที่ตายตัวในอิบาดะฮฺประเภทนี้ก็ย่อมถือเป็นบิดอะฮฺ


    ส่วนที่ถามว่ามันขัดแย้งกับอัลกุรอานหรือหะดิษบทใดบ้าง มีการปฏิเสธจากท่านนบีบางไหม เท่ากับหาหลักฐานว่าห้ามไหม หากไปเฉพาะเจาะจงในเรื่องนี้ไว้สถานที่ เวลา หรือพิธีกรรมใดเป็นการเฉพาะแล้ว ก็เป็นการเข้าข่ายอุตริกรรมทางศาสนา หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติที่ท่านนบีห้ามไว้
 ส่วนการที่จะเอาหลักฐานเป็นการเฉพาะว่าห้ามทำเรื่องนี้ไหมนั้น หลักพื้นฐานของโครงสร้างที่มาของวิชาอรรถคดี (อุศูลุ้ลฟิกฮ์) ในประเด็นที่ว่า
الأصل فى العادات الإباحة
“พื้นฐานของกิจทั่วไปคือการอนุมัติ”
الأصل فى العبادات التحريم
“พื้นฐานของอิบาดะห์ทั้งหลายคือการห้าม
กล่าวคือ เรื่องอิบาดะฮ์ พื้นฐานของอิบาดะห์ทั้งหลายคือการห้าม นั้นหมายความว่า เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นการเฉพาะที่กระทำอิบาดะฮฺในเรื่องนั้น ก็เป็นที่ต้องห้ามให้กระทำ จึงต้องถามว่าเรื่องที่จะกระทำขึ้นมาเป็นการเฉพาะนี้มีหลักฐานรองรับไหม ไม่ใช่ถามว่ามีหลักฐานห้ามไหม
แต่การถามว่ามีหลักฐานห้ามไหมต้องไปอาดะฮฺหรือกิจการทางโลก เพราะพื้นฐานของกิจทั่วไปคือการอนุมัติจนกว่าจะมีหลักฐานมาห้าม เช่น ถามว่า การดื่มน้ำกระท่อมผสมสี่คูณร้อยมีหลักฐานห้ามไหม เป็นต้น


ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إنْ كانَ شَيْئًا مِنْ أمْرِ دُنْيَاكُمْ فَشَأْنُكُمْ بِهِ وَإنْ كَانَ مِنْ أُمُوْرِدِيْنِكُمْ فَإِلَيَّ
“หากว่าเรื่องใดก็ตามที่เป็นเกี่ยวกับดุนยาของพวกเจ้า มันเป็นภารกิจของพวกเจ้าในเรื่องนั้น แต่หากเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องศาสนาของพวกเจ้าก็จงกลับมาที่ฉัน” สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 2462 และมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 12086


ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 ว่า
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقْتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ، وَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“และในเรื่องของ اَلْقُرَبَاتُ (เรื่องความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์หรือเรื่องผลบุญ) จะต้องถูก “จำกัดตามตัวบท” เท่านั้น จะไปแปรเปลี่ยนมันตามการอนุมานเปรียบเทียบต่างๆหรือแนวคิดต่างๆหาได้ไม่”


ท่าน ดร.ยูซุฟ อัล-ก็อรฺฎอวีย์ ได้อธิบายในหนังสือ “อัล-หะล้าล วัลหะรอม ฟิลอิสลาม” หน้า 25 ว่า ...
كَانَ أَحْمَدُ وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيْثِ يَقُوْلُوْنَ : إِنَّ اْلأَصْلَ فِى الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيْفُ، فَلاَ يُشْرَعُ مِنْهَا إِلاَّ مَا شَرَعَهُ اللهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنىَ قَوْلِهِ تَعَالَى : أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوْا لَهُمْ مِنَ الدِّيْنِ مَالَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللهُ .. (سورة الشورى 21)
وَالْعَادَاتُ اْلأَصْلُ فِيْهَا الْعَفْوُ، فَلاَ يُحْظَرُمِنْهَا إِلاَّ مَا حَرَّمَهُ، وَإِلاَّ دَخَلْنَا فِىْ مَعْنَى قَوْلِهِ : قُلْ أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْزَلَ اللهُ لَكُمْ مِنْ رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَامًا وَحَلاَلاً .. (سورة يونس 59)
ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอื่นๆจากนักวิชาการฟิกฮ์ผู้เชี่ยวชาญหะดีษต่างกล่าวว่า : แท้จริง พื้นฐานของเรื่อง “อิบาดะฮ์” ทั้งมวลก็คือ ให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) ดังนั้นจะไม่มีอิบาดะฮ์ใดถูกกำหนดขึ้นมา (เพื่อปฏิบัติ) เว้นแต่ต้องเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงบัญญัติ (คือสั่ง) มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ)เราได้ล่วงล้ำเข้าสู่ความหมายของโองการที่ว่า .. “หรือพวกเขามีบรรดาภาคีที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ในสิ่งซึ่งอัลลอฮ์มิได้ทรงอนุญาต?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัช-ชูรออ์ อายะฮ์ที่ 21)
ส่วนในเรื่อง “อาดะฮ์” (สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์) นั้น พื้นฐานของมันก็คือ การอนุโลม (ให้ปฏิบัติได้) ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดต้องห้าม นอกจากสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา “ทรงห้าม”มันเท่านั้น, มิฉะนั้น (ก็เท่ากับ) เราได้ล่วงล้ำเข้าไปสู่ความหมายของโองการที่ว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือว่า สิ่งซึ่งอัลลอฮ์ทรงประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่านนั้น พวกท่าน (กลับ) ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วน เป็นที่อนุมัติ ?” (อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ยูนุส อายะฮ์ที่ 59 )


วัลลอฮุอะอฺลัม



วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วันนี้อัลลอฮ์ได้ทำให้ศาสนาสมบูรณ์แล้ว








ท่านอิหม่ามมาลิก บินอนัส เคยกล่าวเอาไว้ว่า ...
مَنِ ابْتَدَعَ فِى اْلإِسْلاَمِ بِدْعَةً يَرَآهَا حَسَنَةً فَقَدْ زَعَمَ أَنَّ مُحَمَّدًا خَانَ الرِّسَالَةَ ! .. فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى : اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِيْنَكُمْ .. فَمَالَمْ يَكُنْ يَوْمَئِذٍ دِيْنًا لَمْ يَكُنِ الْيَوْمَ دِيْنًا

"ผู้ใดได้อุตริสิ่งใดขึ้นมาใหม่ในอิสลามและมองว่ามัน(การอุตรินั้นของเขา)เป็นเรื่องดี แน่นอน เขาเข้าใจว่าท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทุจริต(หรือบกพร่อง) ในการทำหน้าที่รอซู้ลของท่านแล้ว เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า .. "วันนี้ เราได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว" .. เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่ในวันนั้นมิใช่ (เป็นเรื่องของ) ศาสนา ในวันนี้ มันก็มิใช่เป็น(เรื่องของ) ศาสนา"


สำหรับการอธิบายอัลกุรอาน อายะฮ์ที่ 3 ของสูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮ ในส่วนที่มีความหมายว่า "วันนี้ เราได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว" ขอยกมาพอสังเขป ดังนี้


                  อิหม่ามเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้อธิบายว่า

فإذا كان الله قد أكمل دينه قبل أن يقبض نبيه صلى الله عليه وسلم، فما هو الرأي الذي أحدثه أهله بعد أن أكمل الله دينه، إن كان من الدين في اعتقادهم فهو لم يكمُل عندهم إلا برأيهم، وهذا فيه ردٌّ للقرآن، وإن لم يكن من الدين فأي فائدة بالاشتغال بما ليس من الدين؟!

แล้วเมื่อปรากฏว่า อัลลอฮทรงได้ให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว ก่อนที่ทรงเอาชีวิตท่านศาสดาของพระองค์ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นสิ่งที่เป็นความคิดเห็น ที่นักแสดงความคิดเห็น อุตริขึ้นมา หลังจากที่อัลลอฮทรงให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว หากมันเป็นส่วนหนึ่งจากศาสนา ตามความเชื่อของพวกเขา ดังนั้นมันเท่ากับว่า ในทัศนะของพวกเขานั้น มันยังไม่สมบูรณ์ นอกจาก ด้วยความคิดเห็นของพวกเขา(มาเสริมให้สมบูรณ์) และนี้คือ การปฏิเสธอัลกุรอ่าน และถ้าหากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แล้วประโยชน์อะไร ที่จะไปสาละวน(ไปเสียเวลา)อยู่กับสิ่ง ซึ่งไม่ใช่ศาสนา ?
القول المفيد من الرسائل السلفية (ص38)


"วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าครบถ้วน"  หมายความว่า "ฉันได้จัดเตรียมสิ่งจำเป็นทั้งปวงสำหรับแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตอันถาวรไว้ให้แล้ว ซึ่งประกอบด้วยระบบความคิด การปฏิบัติและอารยธรรมที่สมบูรณ์ตลอดจนได้วางหลักการและคำสั่งรายละเอียดสำหรับการแก้ปัญหาของมนุษย์ทั้งหมด ดังนั้น สู้เจ้าจึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปแสวงหาทางนำและคำสั่งจากแหล่งใดอีก" 

และได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วน"  หมายถึง ความโปรดปรานในการประทานทางนำ" 
(ตัฟฮีมุลกุรอาน โดยเมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี)


อิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายว่า

هذه أكبر نعم الله ، عز وجل، على هذه الأمة حيث أكمل تعالى لهم دينهم ، فلا يحتاجون إلى دين غيره، ولا إلى نبي غير نبيهم، صلوات الله وسلامه عليه؛ ولهذا جعله الله خاتم الأنبياء، وبعثه إلى الإنس والجن، فلا حلال إلا ما أحله، ولا حرام إلا ما حرمه، ولا دين إلا ما شرعه، وكل شيء أخبر به فهو حق وصدق لا كذب فيه ولا خُلْف،

นี่คือ ความกรุณาอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ ต่อประชาชาตินี้ โดยที่พระองค์ผซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงให้ศาสนาของพวกเขาสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นจะต้องพึงพาศาสนาอื่นจากมันอีกแล้ว และไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพานบีใดๆออื่นจากนบีของพวกเขา(ขออัลลอฮโปรดประทานพรและความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน)อีก และเพราะเหตุนี้ อัลลอฮทรงให้ท่านเป็นศาสดาองค์สุดท้ายในบรรดานบีทั้งหลาย และทรงส่งท่านมายังมวลมนุษย์และญิน ดังนั้น ไม่มีสิ่งอนุมัติใดๆ เว้นแต่สิ่งซึ่งพระองค์ทรงอนุมัติมัน , ไม่มีสิ่งต้องห้ามใดๆ เว้นแต่ สิ่งซึ่งพระองค์ได้ทรงห้ามมันไว้ และไม่ใช่ศาสนา เว้นแต่สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติมันไว้ และทุกสิ่ง ที่ทรงบอกมันไว้ นั้น คือ ความถูกต้องและความจริง ไม่มีเท็จและการขัดแย้งในนั้น


แล้วท่านอิบนิกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายโดยกล่าวอีกว่า

قال علي بن أبي طلحة، عن ابن عباس قوله: ( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ) وهو الإسلام، أخبر الله نبيه صلى الله عليه وسلم والمؤمنين أنه أكمل لهم الإيمان، فلا يحتاجون إلى زيادة أبدا، وقد أتمه الله فلا ينقصه أبدا، وقد رضيه الله فلا يَسْخَطُه أبدا

อะลี บุตร อบีฏอ็ลหะฮ รายงานจากอิบนิอับบัส ท่านได้กล่าวไว้ว่า (วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า ) มันคือ อัลอิสลาม อัลลอฮ ได้ทรงบอกแก่นบีของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า พระองค์ทรงให้การศรัทธาสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นจะต้องไปเพิ่มเติมมันตลอดไป และแท้จริงอัลลอฮทรงให้มันครบถ้วนแล้ว แล้วพระองค์จะไม่ให้มันบกพร่องตลอดไป และแท้จริง อัลลอฮทรงยินยอมมันแล้ว ดังนั้น พระองค์จะมิทรงกริ้วมันตลอดไป
-( ดูตัฟสิรอิบนิกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 3 ซูเราะฮอัล-มาอิดะฮ)







ท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ แบ่งบิดอะฮ์ตามศาสนบัญญัติดีและเลวจริงหรือ





กรณีที่อ้างคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ เกี่ยวกับบิดอะฮฺ  ว่าท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ แบ่งบิอะฮ์ตามบทบัญญัติไว้ 2 ประเภท คือ บิดอะฮฺดี(ฮาซานะฮ์) และเลว(ฎอลาลาฮ์) และอนุญาตให้กระทำบิดอะฮ์ดีได้  ตามข้อความดังนี้ "ผมไม่เอาคับของ..ابن التيمية... เพราะเขาอ้างตัวว่าเป็นสาลัฟแต่ไม่ใช่สาลัฟ....ผมเอาของท่าน..امام الشافعي..คับซึ่งท่าน..الرابيع.. กล่าวว่า...قال الشافعي:المحدثات من الامور ضربان أحدها ما أحدث يخالف كتابا او سنة او إجماعا اوأثرا فهو البدعة الضلالة..สิ่งที่เขาอุตริขึ้นมาจากหลากหลายจิกกรรมนั่นแบ่งเป็นสองประเภท..1..อุตริกรรมที่ไม่มีหลักฐานจากกุรอ่าน/หะดีษ/อิญมะอุลามะ/ร่องรอยของซอฮาบะและสาลัฟถือว่าเป็นบิดอะฏอลาละ...٢. ماأحدث من خير لاخلاف فيه لواحد من هذا فهو محدثة غير مذمومة, ...2..สิ่งที่อุตริขึ้นจากความดีซึ่งไม่ขัดแย้งกับกุรอ่าน/หะดีษ/อิญมะอุลามะ/ร่องรอยของซอหาบะและสาลัฟถือว่าเป็นอุตริกรรมหรือกิจกรรมที่ไม่เลว...فالبدعة الحسنة متفق على جوازفعلها..
ฉนั้น..บิดอะที่ดีเป็นที่ย่อมรับว่าอนุญาตให้กระทำได้....
ดูในหนังสือ..الباعث على انكار البدع. لابى شامة.."
                                                                
จึงขอยกคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ และคำพูดของอุลามาอ์ท่านอื่นที่ได้อธิบายคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ไว้ ดังนี้


    ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 204) ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
اَلْبِدْعَـةُ بِدْعَـتَانِ : بِدْعَـةٌ مَحْمُوْدَةٌ، وَبِدْعَـةٌ مَذْمُوْمَـةٌ، فَمَاوَافَقَ السُّـنَةَ فَهُوَمَحْمُوْدٌ، وَمَاخَالَفَ السُّـنَّةَ فَهُوَ مَذْمُوْمٌ .....
“บิดอะฮ์ (สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ทั้งดีและชั่ว, หากสิ่งใด (ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่) สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ก็ถือว่า เป็นสิ่งดี, แต่ถ้าหากขัดแย้งกับซุนนะฮ์ ก็เป็นสิ่งที่ชั่ว (ถูกประนาม)” ...
(บันทึกโดย ท่านอบู นุอัยม์ ในหนังสือ “หิลยะตุ้ล เอาลิยาอ์” เล่มที่ 9 หน้า 113, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุรอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูม วัล-หิกัม” หน้า 291)


และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ...
اَلْمُحْدَثَاتُ مِنَ اْلاُمُوْرِ ضَرْبَانِ، أَحَدُهُمَا مَااُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا اَوْسُـنَّةً اَوْأَثَرًا اَوْ إجْمَاعًا فَهَذِهِ الْبِدْعَـةُ الضَّآلَّـةُ، وَالثَّانِيْ مَااُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لاَ خِلاَفَ فِيْهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَـذَا فَهِيَ مُحْدَثَـةٌُ غَيْرُمَذْمُوْمَـةٍ .........
“บรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่นั้น จะมีสองประเภท, ประเภทที่หนึ่งคือ สิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาโดยขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, กับหะดีษ, กับแบบอย่างของเศาะหาบะฮ์ และกับสิ่งที่เป็นมติเอกฉันท์ (ของบรรดาเศาะหาบะฮ์) สิ่งใหม่ที่ถูกกระทำในลักษณะนี้ ถือเป็น บิดอะฮ์ เฎาะลาละฮ์ (การอุตริที่หลงผิด)
ประเภทที่สอง คือสิ่งซึ่งถูกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งดีๆโดยมิได้ขัดแย้งกับสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นของประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ถูกตำหนิ” ...
(บันทึกโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อล อิลา อัส-สุนัน อัล-กุบรออ์” หมายเลข 253, และในหนังสือ “มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์” เล่มที่ 1 หน้า 469. ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253, และท่านอิบนุ รอญับ ในหนังสือ “ญามิอุ้ล อุลูมฯ” หน้า 291)


ซึ่งถ้าเอาตามตัวอักษรที่ระบุ ก็อาจเข้าใจว่ามีบิดอะฮ์หะซะนะฮ์ ในบิดอะฮ์ทางบทบัญญัติ ตามที่เข้าใจ แต่เมื่อได้ทำความเข้าใจและอาศัยการอธิบายของนักวิชาการแล้ว กลายเป็นการอธิบายความหมาย “บิดอะฮ์” ทั้งในแง่ภาษาและในแง่ศาสนา
คำว่า “บิดอะฮ์ดี” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ในแง่ภาษา
ส่วนคำว่า “บิดอะฮ์ชั่ว” หมายถึงความหมายบิดอะฮ์ทั้งในแง่ภาษาและศาสนา


คำพูดอิหม่ามชาฟิอีข้างต้น อิบนุ เราะญับ (ร.ฮ)อธิบายว่า
وَمُرَادُ الشَّافِعِيِّ رَحِمَهُ اللَّهُ مَا ذَكَرْنَاهُ مِنْ قَبْلُ : أَنَّ الْبِدْعَةَ الْمَذْمُومَةَ مَا لَيْسَ لَهَا أَصْلٌ مِنَ الشَّرِيعَةِ يُرْجَعُ إِلَيْهِ ، وَهِيَ الْبِدْعَةُ فِي إِطْلَاقِ الشَّرْعِ ، وَأَمَّا الْبِدْعَةُ الْمَحْمُودَةُ فَمَا وَافَقَ السُّنَّةَ ، يَعْنِي : مَا كَانَ لَهَا أَصْلٌ مِنَ السُّنَّةِ يُرْجَعُ إِلَيْهِ ، وَإِنَّمَا هِيَ بِدْعَةٌ لُغَةً لَا شَرْعًا ، لِمُوَافَقَتِهَا السُّنَّةَ
และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม 2/131


ท่านอิหม่ามชาฟิอี ได้อ้าง คำพูด ท่านอุมัร บิน อัลคอฏฏอบ ที่ว่า
قال عمر في قيام رمضان: "نعمت البدعة هذه
และแท้จริง อุมัร ได้กล่าวในเรื่องการละหมาดตะรอเวียะว่า “" นี่แหละ คือบิดอะฮฺที่ดี
  เป็นการริเริ่มในสิ่งที่ท่านนบี ศอ็ลฯ เคยปฏิบัติมาแล้ว มาดูหลักฐาน
وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْتُ أَبَا حَنِيفَةَ عَنِ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ ؟ فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ وَلَمْ يَتَخَرَّصْهُ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا ، وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إِلَّا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلَّاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ : مِنْهُمْ عُثْمَانُ وَعَلِيٌّ وَابْنُ مَسْعُودٍ وَالْعَبَّاسُ وَابْنُهُ وَطَلْحَةُ وَالزُّبَيْرُ وَمُعَاذٌ وَأُبَيٌّ وَغَيْرُهُمْ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ ، وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمُ
และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ อุษมาน, อาลี ,อิบนุมัสอูด อัลอับบาส และบุตรของเขา ,ฏอ็ลหะฮ ,อัซซุเบร ,มุอาซ ,อุบัย และคนอื่นจากพวกเขา จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
-ดู อัลอิคติยาร ลิ ตะอลิลอัลมุคตาร ของ ชัยค์ อัลมูศิลีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่ม 1 หน้า 95 และ อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 27 หน้า 138


ท่านอัชชาฏิบีย์ ได้คัดค้านผู้ที่กล่าวว่ามีบิดอะฮหะสะนะฮ โดย อ้างคำพูดของอุมัร โดยกล่าวว่า
إنما سماها بدعة باعتبار ظاهر الحال من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم ، واتفق أن لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه ، لأنها بدعة في المعنى
ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันเป็นบิดอะฮในด้านของความหมาย ( อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195 )


อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด (ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10)


อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า
إنما سمّاها بدعةً باعتبار ظاهر الحال؛ من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم واتَّفق أنْ لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه، لا أنَّها بدعةً في المعنى، فمن سمّاها بدعةً بهذا الاعتبار؛ فلا مشاحة في الأسامي، وعند ذلك لا يجوز أن يُسْتَدَلَّ بها على جواز الابتداع بالمعنى المتكلم فيه؛ لأنَّه نوع من تحريف الكلم عن مواضعه
ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันไม่ใช่เป็นบิดอะฮในด้าน ความหมาย ดังนั้น ผู้ใด เรียกมันว่า “บิดอะฮ”ด้วยการพิจารณานี้ ก็อย่าให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อ และในขณะดังกล่าว ไม่อนุญาตให้อ้างมัน เป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้อุตริบิดอะฮ ด้วยความหมายที่ถูกพูดถึงในมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบือนคำพูดออกจากที่ของมัน (อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195)







วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ไม่ได้วางแนวทางใดตามอารมณ์




  
ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ไม่ได้วางแนวทางใดตามความคิดเห็นของท่านเอง แต่ท่านได้วินิจฉัยไปตามตัวบทหลักฐาน และตามเงื่อนไขของนักวิชาการผู้ทรงภูมิปัญญา  (มุจญ์ตะฮิด) ซึ่งชัยคฺชะเราะฟุดดีน อัล-มักดิสียฺ ได้อนุญาตให้ท่านอิบนุตัยมียะฮฺทำการฟัตวาขณะที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺมีอายุได้ 19 ปี
 (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ 13/341, อัล-อุกูด หน้า 4)


ครูของท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ มีมากกว่า 200 ท่าน ในจำนวนนี้มีครูที่มีชื่อ ซึ่งท่านได้ศึกษาอยู่หลายปี นั่นคือ ท่านซัยนุดดีน อัล มุก็อดดีซียฺ าะฏีบและมุฟตียฺในมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺ ประจำนครดามัสกัส ท่านนัจญมุดดีน อะซากิร และปราชญ์ที่เป็นสตรีท่านซัยนับ บินติ มักกียฺ           ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้รับการฝึกฝนทางความรู้มากับมัซฮับ(สำนักฟิกฮฺ) ฮัมบะลียฺ แต่ความรู้ของท่านได้ก้าวข้ามมัซฮับที่ท่านสังกัดไปสู่มัซฮับอื่นๆ ท่านไม่อคติกับมัซฮับฮะนาฟี ชาฟิอี และมาลิกี การฟัตวาของท่านยังอ้างอิงถึงมัซฮับอื่นๆด้วย


ส่วนผู้ที่กล่าวหาท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดานักวิชาการกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ บรรดากอฎียฺและมุฟตียฺต่างมัซฮับ ตลอดจนบรรดาผู้ที่นิยมตามแนวทางอัฏ-เฏาะรีเกาะฮฺ อัศ-ศูฟียะฮฺ              
 ซึ่งการโจมตีกล่าวหาเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นต่อนักปราชญ์ผู้เรืองนามหลายท่าน เช่น             อิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ก็เคยถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดกับกลุ่ม อัล-อะละวียูน (ชีอะฮฺ) ในยะมัน และผู้ที่นิยมคลั่งใคล้ (ตะอัศศุบ) ในมัซฮับ-อัล-หะนะฟียฺ ก็เคยกุหะดีษโจมตีท่าน พวกนะวาศิบก็กล่าวหาว่าท่านเป็นรอฟิฎียฺ          อิมามอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล (ร.ฮ.) ก็ถูกพวกมัวะตะซิละฮฺกล่าวหาท่านจนท่านต้องถูกคุมขังและถูกเฆี่ยน


บางครั้งเกิดจากคลั่งไคล้มัซฮับ จนมีการกุหะดิษมาว่าอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างเช่น มีการกุหะดิษ จากท่านอิบนุ้ลญูซีย์ ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-เมาฎูอาต” เล่มที่ 1 หน้า 457 โดยรายงานมาจากมะอฺมูน บินอะห์มัด อัส-สะละมีย์, ซึ่งรายงานมาจากอะห์มัด บินอับดุลลอฮ์ อัล-ญุวัยบารีย์, ซึ่งรายงานมาจากอับดุลลอฮ์ บินมะอฺดาน อัล-อัซดีญ์, ซึ่งรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
يَكًوْنُ فِىْ اُمَّتِىْ رَجُلٌ يُقَالُ لَهُ مُحَمَّدُ بْنُ إِدْرِيْسَ أَضَرُّ عَلَى اُمَّتِىْ مِنْ إِبْلِيْسَ،
وَيَكُوْنُ فِىْ اُمَّتِىْ رَجُلٌ يُقَالُ لَهُ أَبُوْ خَنِيْفَةَ، هُوَ سِرَاجُ اُمَّتِىْ ...
“ในประชาชาติของฉัน จะมีชายผู้หนึ่ง ถูกเรียกว่า มุหัมมัด บิน อิดรีส (หมายถึงท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อ
ท่านด้วย) ซึ่งเขาจะเป็นภัยต่อประชาชาติของฉันยิ่งกว่าอิบลีส ...
และในประชาชาติของฉัน จะมีชายผู้หนึ่ง ถูกเรียกว่า อบูหะนีฟะฮ์ (หมายถึงท่านอิหม่ามอบูหะนีฟะฮ์หรือท่านหะนะฟีย์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อท่านด้วย) ซึ่งเขาจะเป็นดวงประทีปให้แก่ประชาชาติของฉัน”


ซึ่งในวันที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เสียชีวิต ผู้คนจำนวนมาก ทั้งผู้เห็นด้วยกับท่านและผู้ไม่เห็นด้วยกับท่าน ได้ร่วมในพิธีศพของท่านอย่างล้นหลาม         ดูวาทะ ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ   ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวกับศิษย์ของท่านคือ อิบนุก็อยยิม ว่า:

"อะไรที่ศัตรูของฉันทำกับฉัน? การที่ฉันถูกกักขังคือ การวิเวก (คุลวะฮฺ) ของฉันต่ออัลลอฮฺ การฆ่าฉันคือ การตามชะฮีดและการขับไล่ฉันคือ การไปทัศนศึกษา"

ระหว่างที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺถูกขังในเมืองกอลอะฮฺท่านได้กล่าวว่า:
"หากฉันบริจาคทองให้เต็มแผ่นดินกอลอะฮฺก็ยังไม่เทียบเท่าต่อการขอบคุณของฉันที่มีต่อความโปรดปราณในครั้งนี้ได้ ฉันจะไม่ตอบแทนพวกเขาต่อการที่พวกเขาตั้งขอหาแกฉัน จนเป็นเหตุให้ฉันถูกกักขังนอกเสียจากความดีเท่านั้น (เพราะ) ผู้ที่ถูกกักขังที่แท้จริงนั้นก็คือ ผู้ที่หัวใจของเขาถูกกักขังไว้ไม่ยอมให้เขาเข้าหาอัลลอฮฺและเฉลยที่แท้จริงได้แก่ผู้ที่ตัณหาของเขาจับเขาไว้เป็นเฉลย"


สำหรับเรื่องความขัดแย้งปัญหาทางฟิกฮ์ ของนักวิชาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ความขัดแย้ง (อิคติลาฟ) ในเรื่องวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ หรือสะละฟุศศอและห์ ในทัศนะของพวกเขาแล้ว ไม่ใช่เหตุผลแห่งความเป็นศัตรู หรือต้องหันหลังต่อกันในระหว่างพี่น้องมุสลิม แต่พวกเขายังคงรักใคร่ให้การยอมรับกัน หรือละหมาดตามหลังกันได้ต่อไป แม้นพวกเขาจะมีความเห็นไม่เหมือนกันในปัญหาปลีกย่อยเหล่านั้นก็ตาม              อิหม่ามอัซซะฮะบียได้รายงานว่า
قَالَ يُونُسُ الصَّدَفِيُّ : مَا رَأَيْتُ أَعْقَلَ مِنَ الشَّافِعِيِّ ، نَاظَرْتُهُ يَوْمًا فِي مَسْأَلَةٍ ، ثُمَّ افْتَرَقْنَا ، وَلَقِيَنِي ، فَأَخَذَ بِيَدِي ، ثُمَّ قَالَ : يَا أَبَا مُوسَى ، أَلَا يَسْتَقِيمُ أَنْ نَكُونَ إِخْوَانًا وَإِنْ لَمْ نَتَّفِقْ فِي مَسْأَلَةٍ
"ยูนุส อัศเศาะดะฟีย์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นใครที่ฉลาดยิ่งไปกว่า อัชชาฟิอี ,วันหนึ่งข้าพเจ้าได้ดีเบท กับเขาในประเด็นหนึ่ง หลังจากนั้น เราได้แยกย้ายกันไป และ (ต่อมา) เขา(ชาฟิอี)ได้พบกับข้าพเจ้า แล้วจับมือข้าพเจ้า หลังจากนั้นเขากล่าวว่า "โอ้อบูมูซา (หมายถึงท่านยูนุส) โปรดรู้ไว้เถิดว่า ความเป็นพี่น้อง นั้นยังคงดำรงอยู่ แม้เราจะไม่เห็นฟ้องกันในประเด็นใดก็ตาม"
(สิยารเอียะลามอัลนุบะลาอฺ 10/17)


ดังนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาศาสนาและมีความเห็นต่างของนักวิชการในด้านฟิกฮ์จึงเกิดมานานแล้ว แต่นักวิชาการที่เห็นต่างกันไม่เคยคิดที่จะเป็นศัตรูกันเลย แต่พวกเขายังรักใคร่ให้การยอมรับกัน กรณีที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ฟัตวาว่าการกล่าวคำหย่า3ฏอละฮ์ตก 1 ฏอละฮ์ก็เช่นเดียวกัน ก็มีความเห็นต่างกันออกเป็น 3 ฝ่าย โดยต่างมีหลักฐานรองรับ


1. ทัศนะที่ว่าการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว เป็นทัศนะของปวงปราชญ์  ส่วนหนึ่งคือ ท่านอิบ อิหม่ามทั้ง  4  และ  กลุ่มอัซซอฮิรียะฮฺ   โดยมีรายงานจากซอฮาบะฮฺส่วนใหญ่  เช่น  ค่อลีฟะฮฺทั้ง  4  (ยกเว้นท่านอบูบักร)  และบรรดาอับดุลลอฮฺทั้ง  4  ท่าน  (คืออิบนุ  อุมัร,  อิบนุ  อัมร์,  อิบนุ  อับบ๊าส  และอิบนุ  มัสอู๊ด)  และอบูฮุรอยเราะฮฺ  เป็นต้น


2. ทัศนะที่ว่าคำพูดดังกล่าวไม่ตกเฏาะล๊ากเลยเลย ได้แก่ทัศนะบางท่านในหมู่อัตตาบิอีน มีรายงานเล่ามาจาก ท่านอิบนิอะลียะฮฺ ฮิชาม อิบนิล หะกัม และท่านอบูอุบัยดะฮฺ และบางคนในหมู่อะฮฺลิซซอฮิรฺ (มัซฮับดาวู๊ด อัซซอฮีรีย์) รวมถึงฝ่ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ  ถือว่าไม่มีการหย่าเกิดขึ้น


3.ทัศนะที่ว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ถือว่าเป็นการตกเป็นการหย่า 1 ครั้ง เป็นทัศนะของของฝ่ายซัยดียะฮฺและอัซซอฮีรียะฮฺบางส่วน,อาลี อิบนีอับบาส , อับดุรเราะฮฺมาน บุตรเอาฟ์ , ซุบัยรฺ บุตร เอาวาม , อะตออฺ , ตอวูส , อินบุ ดีนาร , อิกมะฮฺ สานุศิษย์ของอิมามมาลิก ฮะนาฟี และอะหฺมัด บางท่าน   อิบนุ  อิสหาก,  อิบนุตัยมียะฮฺและอิบนุ  อัลก็อยยิม


และการหย่าที่เป็นซุนนะฮฺ  (الطلاق السنى)  คือการที่ฝ่ายชายหย่าภรรยาของตนเพียง  1  ครั้ง  (طلقة واحدة)  และถ้าหากประสงค์หย่า  3  ครั้ง  ก็ให้แยกการหย่าในช่วงที่ภรรยาไม่มีรอบเดือนแต่ละช่วง  1  ครั้ง  เพื่อออกจากความขัดแย้งของนักวิชาการ  แต่ถ้ารวมการหย่าทั้ง  3  ครั้งเอาไว้  (รวดเดียว)  ในช่วงไม่มีรอบเดือน  (เกลี้ยง)  ก็เป็นที่อนุญาตและไม่เป็นที่ต้องห้ามตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ส่วนในทัศนะของมัซฮับฮะนะฟีย์  ถือว่าการหย่ารวดเดียว  3  ครั้งนี้เป็นสิ่งที่เข้าข่ายมักรูฮฺตะฮฺรีม  และถือว่าผู้หย่าฝ่าฝืนและมีโทษ                   
 (ดูอัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์  ว่า  อะดิลละตุฮู  ;  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซซุฮัยลี่ย์  เล่มที่  7  หน้า  326,329)


จึงเห็นได้ว่าทัศนะที่ว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ถือว่าเป็นการตกเป็นการหย่า 1 ครั้ง ไม่ใช่เพียงทัศนะของท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เพียงคนเดียว แต่เป็นทัศนะของนักวิชาการท่านอื่นรวมถึงเศาะหาบะฮ์ด้วย ท่านจึงไม่ได้วินิจฉัยแวกแนว หรือวางแนวให้กับกลุ่มใดแต่อย่างใด









เขาว่าท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เป็นอุละมาอ์วะฮาบีย์


 



เมื่อท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ เสียชีวิตไปแล้วตั้งหลายร้อยปี ก่อนวาฮาบีย์ที่ถูกตั้งฉายาไปทางที่เสียหาย (ทั้งที่เป็นผู้ฟื้นฟูซุนนะฮ์ และต่อต้านบิดอะฮ์และทำลายชิริก) จะเกิดขึ้น  (ท่านสิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 728) จะเป็นอุละมาอ์ของวาฮาบีย์ได้อย่างไรกัน


ถึงแม้จะมีผู้ไม่ชอบและอคติต่อท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ แต่ก็มีอุละมาฮ์มีชื่อเสียงหลายท่านที่ชอบและยกย่องท่าน และตั้งฉายาว่า "ชัยคุลอิสลาม"                                       
  2 ท่านในนั้น คือ ชัยค์ ญะลาลุดดีน อัสสะยูฏีย์(ร.ฮ) ปราชญ์มัซฮับชาฟิอี ซึ่งมี่ชีวิตระว่างปี ฮ.ศ 849-911


ชัยค์ ญะลาลุดดีน อัสสะยูฏีย์ ได้ชมเชยท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) ไว้ดังนี้
ابن تيمية ، الشيخ ، الإمام ، العلامة ، الحافظ ، الناقد ، الفقيه ، المجتهد ، المفسر البارع ، شيخ الإسلام ، علَم الزهاد ، نادرة العصر ، تقي الدين أبو العباس أحمد المفتي شهاب الدين عبد الحليم بن الإمام المجتهد شيخ الإسلام مجد الدين عبد السلام بن عبد الله بن أبي القاسم الحراني .
อิบนุตัยมียะฮ อัช-ชัยค์ , อัล-อิหม่าม , ,อัลอัลลามะฮ ,อัลหาฟิซ ,อันนากิด(นักวิจารณ์),อัล-มุฟัสสิีรอัลบาเรียะ(นักอรรถาธิบายอัลกุรอ่านที่ยอดเยี่ยม) ,ชัยคุลอิสลาม ,ผู้ทรงความรู้ที่สมถะ ,เป็นผู้ที่หาหายากในยุคสมัย ,ตะกียุดดีน,อะบุลอับบาส อะหมัด อัลมุฟตี ชิฮาบุดดีน อับดุลหะลีม บิน อิหม่ามอัลมุจญตะฮีด ชัยคุลอิสลาม ,มัจญุดดีน อับดุสสลาม บิน อับดิลละฮ บิน อะบิลกอซิม อัลหะรอนีย์     ( ดู เฏาะบะกอ็ตอัลหุฟฟาต ของชัยค์อัสสะยูฏีย์ หน้า 520-521)


อิบนุเราะญับ (ร.ฮ)  เขายกย่องอิบนุตัยมียะฮว่า
أَحْمَد بْن عَبْد الحليم بْن عَبْد السَّلام بْن عَبْد اللَّهِ بْن أَبِي القاسم بْن الخضر بن محمد ابن تيمية الحراني، ثُمَّ الدمشقي، الإِمَام الفقيه، المجتهد المحدِّث، الحافظ المفسر، الأصولي الزاهد، تقي الدين أَبُو الْعَبَّاس، شيخُ الإِسْلام،
อะหมัด บิน อับดิลหะลีม บิน อับดิสสลาม บิน อับดิลละฮ บิน อะบีลกอสิม บิน อัลเคาะฎีร บิน มุหัมหมัด บิน ตัยมียะฮ อัลหะรอรีย์ ต่อมา อัดดะมัชกีย์ อิหม่ามอัลฟะกีฮ อัลมุจญตะฮิด อัลมุหัษดิษ อัลหาฟิซ อัลมุฟัสสิร อัลอุศูลีย์ อัซซาฮิด ตะกียุดดีนอัลอับบาส "ชัยคุลอิสลาม"


ศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ มีมากมาย หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุ กะษีร  ท่านสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺ(โดยไม่อคติกับมัซฮับอื่นเช่นครูของท่าน)   และ ท่านอิบนุ กอยยิม อัล เญาซียะฮ แต่เหตุอันใดผู้ที่ไม่ชื่นชอบท่านอิบนุตัยมียะฮ แต่ท่านกลับอ้างอิงคำพูดของานอิบนุ กอยยิมลูกศิษย์ของท่านอยู่บ่อยครั้ง


อิบนุกะษีร (ร.ฮ)ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของอิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวถึงชีวประวัติของอิบนุกอ็ยยิม(ร.ฮ)ซึ่งเป็นศิษย์อิบนุตัยมียะฮเช่นกัน ไว้ในอัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ ตอนหนึ่งว่า
وُلِدَ فِي سِنَةِ إِحْدَى وَتِسْعِينَ وَسِتِّمِائَةٍ ، وَسَمِعَ الْحَدِيثَ ، وَاشْتَغَلَ بِالْعِلْمِ ، فَبَرَعَ فِي عُلُومٍ مُتَعَدِّدَةٍ ، لَا سِيَّمَا عِلْمُ التَّفْسِيرِ ، وَالْحَدِيثِ وَالْأَصْلَيْنِ ، وَلَمَّا عَادَ الشَّيْخُ تَقِيُّ الدِّينِ ابْنُ تَيْمِيَّةَ مِنَ الدِّيَارِ الْمِصْرِيَّةِ فِي سَنَةِ اثْنَتَيْ عَشْرَةَ وَسَبْعِمِائَةٍ لَازَمَهُ إِلَى أَنْ مَاتَ الشَّيْخُ ، فَأَخَذَ عَنْهُ عِلْمًا جَمًّا مَعَ مَا سَلَفَ لَهُ مِنَ الِاشْتِغَالِ ، فَصَارَ فَرِيدًا فِي بَابِهِ فِي فُنُونٍ كَثِيرَةٍ ، مَعَ كَثْرَةِ الطَّلَبِ لَيْلًا وَنَهَارًا ،
เขา(อิบนุกอ็ยยิม)ได้ถูกกำเนิดในปี ฮ.ศ 691 เขาได้ฟังหะดิษและสาละวนอยู่กับวิชาความรู้ แล้วเขามีความเชียวชาญในบรรดาวิชาต่างๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิงวิชาตัฟสีร,หะดิษ และวิชาอุศูล(หะดิษและตัฟสีร) และเมื่อชัยค์ตะกียุดดีน อิบนุตัยมียะฮ กลับจากเมืองอียิปต์ ในปี ฮ.ศ 712 เขาได้อุทิศตนอยู่กับเขา(อยู่กับอิบนุตัยมียะฮเพื่อศึกษา) จนกระทั่ง ชัยค์(อิบนุตัยมียะฮ)เสียชีวิต เขาได้เอาความรู้จากอิบนุตัยมียะฮ มากมาย พร้อมกับการสะละวน(การฝักใฝ่เรียนรู้) อยู่กับเขา ที่ผ่านมา จนเขากลายเป็นผู้ที่มีความยอดเยี่ยมในด้านวิชาการในศาสตร์ต่างๆมากมายพร้อมกับศึกษาหาความรู้ทั้งกลางวันและกลางคืน (อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ เล่ม 14 หน้า 237 เหตุการณ์ ปี ฮ.ศ 751)







บิดอะฮ์ ในความหมายตามนัยของบทบัญญัติ เป็นสิ่งที่ถูกประณาม






       ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์(นักวิชาการสายชาฟีอีย์) ได้กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 เอาไว้ว่า
فَالْبِدْعَـةُ فِيْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ، بِخِلاَفِ اللُّـغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ اُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَـةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا اَوْمَذْمُوْمًا ..

“ดังนั้น คำว่าบิดอะฮ์ ในความหมายตามนัยของบทบัญญัติ(ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ซึ่งแตกต่างกับ(ความหมายของมัน)ในด้านภาษา เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกสร้างให้มีขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน เรียกว่าบิดอะฮ์(ตามหลักภาษา)ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว"


ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ได้เขียนไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่านว่า ...
فَإنَّ الْبِدْعَـةَ الشَّرْعِـيَّةَ ضَلاَلَـةٌ كَمَا قَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إلَى حَسَنٍ وَغَيْرِ حَسَنٍ فَإنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَـةَ اللُّغَوِيَّـةَ، وَمَنْ قَالَ كُلُّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَـةُ الشَّرْعِيَّةُ
“แน่นอน (ทุกๆ)บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ (บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ) นั้น เป็นความหลงผิด! .. ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. และนักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์ไม่ดี ก็มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการแบ่งมันตามนัยของภาษาเท่านั้น, และผู้ใดที่กล่าวว่า "ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด" .. ความหมายของมันก็คือ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ(بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ) ”


ท่านอิบนุ อะษีรฺได้กล่าวยืนยันไว้ว่า ..
والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذاالتأويل يحمل الحديث .. كل محدثة بدعة .. على ما خالف اصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ในความเป็นจริงแล้วคือซุนนะฮ์ และบนการอธิบายตามนัยนี้ ก็ถูกตีความหะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์" นั้น บนสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์" ดูหนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ "อัลบะยาน" หน้า 206 ฟัตวาที่ 50


ท่านอิบนุ้ลอะษีรฺ ..
وَهِىَ عَلَى الْحَقِيْقَةِ سُنَّةٌ ! لِقَوْلِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِىْ وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ مِنْz بَعْدِىْ، .. وَقَوْلِهِ : إِقْتَدُوْا بِاللَّذَيْنِ مِنْ بَعْدِىْ، أَبِىْ بَكْرٍ وَعُمَرَ.. وَعَلَى هَذَاالتَّأْوِيْلِ يُحْمَلُ الْحَدِيْثُ اْلآخَرُ : كُلُّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَةٌ .. إِنَّمَا يُرِيْدُ مَاخَالَفَ اُصُوْلَ الشَّرِيْعَةِ وَلَمْ يُوَافِقِ السُّنَّةَ .....

"และมัน (คือ ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ในลักษณะญะมาอะฮ์) ที่จริงแล้วคือซุนนะฮ !(หมายถึงซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์) .. ทั้งนี้ เนื่องจากคำกล่าวของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า .. "จำเป็นสำหรับพวกท่านจะต้องตามซุนนะฮ์ของฉัน และ "ซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์" ผู้ปราดเปรื่องหลังจากฉัน" .. และคำกล่าวของท่านที่ว่า .. "พวกท่านจงปฏิบัติตาม 2 ท่านหลังจากฉัน คือ "อบูบักรฺ และอุมัรฺ" ... ซึ่ง(คำว่าบิดอะฮ์จาก)หะดีษอีกบทหนึ่งที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาใหม่ เป็นบิดอะฮ์" .. ก็ให้ถือตามความหมายจากตามคำอธิบายนี้ .. (นั่นคือ) ท่านศาสดามิได้ประสงค์อื่นใด(จากคำว่าบิดอะฮ์ในหะดีษบทนี้) นอกจาก (หมายถึง) .. "สิ่งที่ขัดแย้งกับพื้นฐานของบทบัญญัติ และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์


ท่านอิหม่ามมาลิก บินอนัส เคยกล่าวเอาไว้ว่า ...
مَنِ ابْتَدَعَ فِى اْلإِسْلاَمِ بِدْعَةً يَرَآهَا حَسَنَةً فَقَدْ زَعَمَ أَنَّ مُحَمَّدًا خَانَ الرِّسَالَةَ ! .. فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى : اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِيْنَكُمْ .. فَمَالَمْ يَكُنْ يَوْمَئِذٍ دِيْنًا لَمْ يَكُنِ الْيَوْمَ دِيْنًا

"ผู้ใดได้อุตริสิ่งใดขึ้นมาใหม่ในอิสลามและมองว่ามัน(การอุตรินั้นของเขา)เป็นเรื่องดี แน่นอน เขาเข้าใจว่าท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทุจริต(หรือบกพร่อง) ในการทำหน้าที่รอซู้ลของท่านแล้ว เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงดำรัสว่า .. "วันนี้ เราได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว" .. เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่ในวันนั้นมิใช่ (เป็นเรื่องของ) ศาสนา ในวันนี้ มันก็มิใช่เป็น(เรื่องของ) ศาสนา"



วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์












บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (بِدْعَةٌ حَسَنَةٌ) หรือบิดอะฮ์ดี มีแต่บิดอะฮ์ตามหลักภาษา หรือบิดอะในเรื่องทางโลกเท่านั้น
ซึ่งบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หรือบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์, เรื่องบาปเรื่องบุญ
ในส่วนนี้จะไม่มีคำว่าบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ทว่า  สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ทั้งหมดในเรื่องอิบาดะฮ์และเรื่องบาปเรื่องบุญ ล้วนเป็นบิดอะฮ์ที่หลงผิดทั้งสิ้น ตามคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะอละยฮิวะซัลลัม


เมื่อบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดีไม่มีตามบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์แล้ว ก็ไม่สามารถนำมาเทียบกับมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَلَةُ) ได้ แต่ให้เทียบบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ หรือบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ อันเป็นบิดอะฮ์ ซัยยิอะฮ์ (بِدْعَةٌ سَيِّئَةٌ) หรือบิดอะฮ์เลว


สำหรับบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ หรือบิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ ( بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ) นักวิชาการอุศู้ลฯ ได้ให้คำนิยามที่ว่า
اَلْبِدْعَةُ هِىَ فِعْلُ مَا تَرَكَهُ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسّلَّمَ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِىْ وَانْتِفَاءِ الْمَانِعِ

"บิดอะฮ์ (ชัรฺอียะฮ์) ก็คือ การกระทำใดสิ่งที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมละทิ้ง (คือไม่ทำ) มัน ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม (หมายถึงเป็นสิ่งดีตามมุมมองผู้ที่ทำ) .. และไม่มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวางท่าน(จากการกระทำสิ่งนั้น)"


ความหมายบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ ตามคำนิยามข้างต้นก็คือ  "การทำสิ่งใดที่ประเด็นส่งเสริมให้ทำสิ่งนั้น(หมายถึง เป็นสิ่งดีในมุมมองของผู้ทำ) เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ท่านไม่กระทำสิ่งนั้น ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวาง"


สำหรับ "มะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَلَةُ)" หมายว่า  "สิ่งดีๆที่ถูกละไว้, สิ่งดีๆที่ถูกปล่อยวางไว้"         
 หมายความว่า สาเหตุของสิ่งนั้นเคยมีมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่มีการปล่อยวาง  คือไม่มีกระทำสิ่งนั้นเลยในสมัยของท่านศาสดา,  หรืออาจเคยมีการกระทำอยู่ระยะหนึ่งแล้วถูกปล่อยวาง คือถูกระงับหรือยุติจากการกระทำในตอนหลัง ผู้ที่ปล่อยวางสิ่งนั้นได้แก่ ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เนื่องจากท่านมีอุปสรรคจนไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้


เมื่อเทียบยบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์(ไม่เทียบกับบิดอะฮ์ หะสะนะฮ เพราะไม่มีในเรื่องอิบาดะฮฺ) กับมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ ทั้งสองอย่างคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน
คือ เป็นสิ่งดีเหมือนกัน, ประเด็นส่งเสริมให้ทำสิ่งดีนั้นเคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเหมือนกัน, และท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ "ไม่ทำ" สิ่งดีทั้งสองอย่างนั้นเหมือนกัน นี่คือ "จุดเหมือน" ส่วนจุดต่างของมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ กับบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ ก็คือ
สิ่งที่เป็นมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ ..ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "เพราะมีอุปสรรค"
ส่วนสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ .. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรค"


"มะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَلَةُ)" จึงไม่ใช่บิดอะฮฺ หะสะนะฮตามบทบัญญัติ หรือบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮที่บางคนเข้าใจ และการกระทำของเหล่าเศาะหาะบะฮ์ หรือคอลีฟะฮ์ ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำบิดอะฮฺหะสะนะฮ์ ที่จะนำมาเป็นหลักฐานในการทำบิดอะฮ์แต่อย่างใด แต่มันเป็นซุนนะฮ์ของบรรดาคอลิฟะฮต่างหาก













จุดต่างของมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ กับบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ (บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ)





จุดต่างของมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ กับบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ ก็คือ

สิ่งที่เป็นมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์  ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "เพราะมีอุปสรรค"

ส่วนสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ .. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรค"
ดังนั้น ทั้งสองจึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ผู้ที่อะธิบายว่าตามบัญญัติศาสนามีแต่บิดอะฮ์เลว ก็อุลามาอ์สายชาฟีอีย์ อย่างท่านอิบนุหะญัร อัล-ฮัยตะมีย์ ที่ท่านอธิบายคำพูดของอีหม่ามชาฟีอีย์ ไม่ใช่วาฮาบีที่ไหน


ส่วนการกระทำของเหล่าเศาะหะบะฮ์ ก็ไม่ใช่การทำบิดอะฮ์ (ซึ่งถือเป็นกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก) แต่การปฏิบัติเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน คือการปฏิบัติตามแบบอย่างนบี ศอ็ลฯ เป็นซุนะฮ์ ไม่ใช่บิดอะฮ์


ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
فعليكم بسنتى وسنة الخلفاءالراشدين
"จำเป็นบนพวกท่าน ด้วยซุนนะฮ์ของฉันและซุนนะฮ์ของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"
และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า
إقتدوابالذين من بعدى أبى بكر وعمر
" และพวกเจ้าจงดำเนินตามด้วยกับทั้งสองหลังจากฉัน(เสียชีวิตแล้ว) คือ อบูบักรและอุมัร"

อัศอ็นอานีย์กล่าวว่า
فَإِنَّهُ لَيْسَ الْمُرَادُ بِسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ إِلَّا طَرِيقَتَهُمُ الْمُوَافِقَةَ لِطَرِيقَتِهِ -صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ- مِنْ جِهَادِ الْأَعْدَاءِ وَتَقْوِيَةِ شَعَائِرِ الدِّينِ وَنَحْوِهَا ، فَإِنَّ الْحَدِيثَ عَامٌّ لِكُلِّ خَلِيفَةٍ رَاشِدٍ لَا يَخُصُّ الشَّيْخَيْنِ .
แท้จริง ไม่ใช่จุดประสงค์ด้วยคำว่า"สุนนะฮเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน" นอกจาก แนวทางของพวกเขา สอดคล้องกับแนวทางของท่านนบี ศอ็ลฯ จากการต่อสู้บรรดาศัตรู และการสร้างความเข้มแข็งแก่สัญลักษณ์แห่งศาสนา และในทำนองนั้น เพราะแท้จริงหะดิษ นั้น มีความหมายครอบคลุม ทุกๆเคาะลิฟะฮรอชิด ไม่ได้เจาะจงแก่ผู้อวุโสสองท่าน(หมายถึงไม่ได้เจาะจงเฉพาะอบูบักร์และอุมัร) -สุบุลุสสลาม เล่ม 1 หน้า 493 และตุหฟะตุลอะหวะซีย์ 3/50


และอัศศอนอานีย์ กล่าวอีกว่า
ومعلوم من قواعد الشريعة أنه ليس لخليفة راشد أن يُشَرِّع طريقة غير ما كان عليها النبي صلى الله عليه وسلم...".
และเป็นที่รู้กันจากบรรดาหลักการแห่งชะรีอัต คือ ไม่มีสิทธิ์ สำหรับเคาะลิฟะฮรอชิด การที่เขาจะบัญญัติแนวทางของเขาเอง อื่นจากสิ่ง(แนวทาง)ที่ท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ดำเนินอยู่บนมัน -


อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า

فَإِذَا عَرَفْتَ أَنَّهُ لَيْسَ الْمُرَادُ بِسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ إِلَّا طَرِيقَتَهُمُ الْمُوَافَقَةَ لِطَرِيقَتِهِ -صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
เมื่อท่านได้รู้แล้ว ว่าแท้จริง ไม่ใช่จุดประสงค์ด้วยคำว่า สุนนะฮเคาะลิฟะฮรอชิดีน นอกจาก แนวทางของพวกเขา สอดคล้องกับแนวทางของท่านนบี ศอ็ลฯ - ดูตุหหฟะตุลอะฮวะซีย์ เล่ม 3 หน้า 51



การที่กล่าวว่าคำพูดนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ถือให้ทำบิดอะฮ์หะซะนะฮ์นั้น
เมื่อเป็นคำพูดของนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้ว.จะเป็นบิดอะฮ์ได้อย่างไร?







บิดอะฮ์ตามหลักภาษา ทำแล้วได้บุญไหม





ก็ต้องพิจารณาดูก่อนว่า  บิดอะฮ์หรือ "สิ่งประดิษฐ์ใหม่" ตามหลักภาษาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมานั้น ดีหรือเลว  ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ดีมีประโยชน์แก่มนุษย์และไม่ขัดหลักการศาสนา เช่นประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์,  ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์,  ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข ฯลฯ เหล่านี้ก็น่าจะได้รับผลบุญ  แต่ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เลวหรือเป็นพิษภัยแก่มนุษย์และขัดหลักการศาสนา เช่น ผลิตยาบ้า, ผลิตอุปกรณ์การพนันในรูปแบบต่างๆ,  ริเริ่มตั้งบ่อนกาสิโน ฯลฯ ผมว่าเป็นบาปแน่  วัลลอฮุ อะอฺลัม

เนื่องจากบิดอะฮ์ตามหลักภาษา ตามมุมมองในแง่ภาษา, ไม่ว่าสิ่งใด คือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา(อิบาดะฮ์) หรือเรื่องทางโลก (อาดะฮ์)ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเป็นเรื่องเลว เมื่อมันไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อน แล้วมีผู้มากระทำทีหลัง ก็สามารถใช้คำว่า “บิดอะฮ์” กับสิ่งนั้น. ตามหลักภาษา ได้ทั้งสิ้น

ขณะที่ในมุมมองของบทบัญญัติ  บางครั้ง อาจไม่ถือว่าสิ่งนั้น เป็นบิดอะฮ์ ก็ได้

เช่น กรณีที่ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้ท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร.ฎ.ทำการบันทึกและเก็บรวมรวมอัล-กุรฺอ่านเข้าเป็นเล่ม หลังจากก่อนหน้านั้น  คือในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม อัล-กุรฺอ่านเคยแต่เพียงถูกท่องจำหรือถูกบันทึกกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ
การรวมรวมอัล-กุรฺอ่านเป็นเล่มของท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร.ฎ. ตามหลักภาษาเรียกว่า “เป็นบิดอะฮ์”ที่ถูกพ่วงท้ายด้วยคำว่า “หะสะนะฮ์” หมายถึงบิดอะฮ์ที่ดี
ที่เรียกว่า “เป็นบิดอะฮ์” เพราะเป็นการกระทำในสิ่งที่ไม่มีใคร แม้กระทั่งท่านนบีย์ จะเคยกระทำมาก่อน
ที่เรียกว่า “หะสะนะฮ์” หรือดี ก็เพราะเป็นการป้องกันอัล-กุรฺอ่านจากการสูญหายอันเนื่องมาจากผู้ท่องจำอัล-กุรฺอ่าน ถูกสังหารในสงครามเป็นจำนวนมาก
แต่ขณะเดียวกัน การรวบรวมอัลกุรฺอ่านดังกล่าวนั้น ในแง่ของบทบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์

และในบางกรณี, ในแง่ของภาษาอาจจะมองการกระทำบางอย่างว่าเป็น “บิดอะฮ์ดี” แต่ตามนัยของบทบัญญัติ กลับเป็นตรงกันข้าม, คือมองสิ่งนั้นว่า “เป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ”

และในบางกรณี, การกระทำ “สิ่งใหม่” บางอย่าง มีความสอดคล้องกันทั้งมุมมองในแง่ภาษาและมุมมองในแง่ศาสนาว่า เป็นบิดอะฮ์ที่ต้องห้าม อย่างเช่นการประดิษฐ์วิธีการเรื่องการพนันแบบใหม่ๆ เช่น ลอตเตอรี่ ขึ้นมา เป็นต้น

ถ้าสิ่งที่ถูกปฏิบัติขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างในยุคของท่านศาสดา แต่มีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนารองรับ ก็จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่า เป็นบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) ....
ตัวอย่างเช่น การสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในระบบปัจจุบัน หรือการสร้างโรงเรียนปอเนาะในยุคก่อนๆ ... สิ่งเหล่านี้ แม้จะไม่เคยปรากฏในยุคของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่การปรากฏมีสิ่งเหล่านี้ในยุคปัจจุบัน ไม่เรียกว่า บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ เพราะมีหลักการขั้นพื้นฐานของศาสนามารองรับ, ... นั่นคือ เป็นสถานที่เพื่อการสั่งสอนวิชาการศาสนา และปกป้องศาสนาจากการสูญหาย ซึ่งการสั่งสอนวิชาการและปกป้องศาสนาจากการสูญหายนี้ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น (วาญิบ) ของอิสลาม อันเป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ

ส่วนการที่เคาะลีฟะฮ์หลายท่านของท่านศาสดา ได้กระทำในสิ่งที่ท่านศาสดาเองมิได้กระทำมาก่อน อันเป็นเรื่องของศาสนา . อย่างเช่น การที่ท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้สั่งให้มีการรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ดี, การที่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้สั่งให้ประชาชน นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกัน (ญะมาอะฮ์) ก็ดี,  หรือการที่ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน ร.ฎได้เพิ่มการอะซานครั้งแรกในการนมาซวันศุกร์ก็ดี
นักวิชาการจะเรียกการกระทำในลักษณะดังกล่าวของบรรดาเคาะลีฟะฮ์เหล่านั้นว่า “มะศอลิห์ มุรฺซะละฮ์” ( اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَـلَةُ )
มะศอลิห์มุรฺซะละฮ์หมายถึง “สิ่งดีๆที่ (ท่านศาสดา) ได้ละไว้ หรือปล่อยวางไว้”

ด้วยมีสาเหตุหลักมาจากข้อใดข้อหนึ่ง จาก 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ
1. เพราะท่านมี “อุปสรรค” จนไม่สามารถปฏิบัติสิ่งดีๆเหล่านั้นได้  หรือ
2. ไม่มีประเด็นส่งเสริม (ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่) ให้ต้องกระทำสิ่งดีนั้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น แม้มองในทางภาษาจะเป็นบิดอะฮ์ (หะซานะฮ์)  แต่ทางบทบัญญัติ ไม่เป็นบิดอะฮ์

หากเรื่องใดเป็นบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนาแล้ว ก็เป็นบิดอะฮ์ฎอลาละฮ์
ส่วนเรื่องใดเป็นเรื่องทางโลก(อาดะฮ์) กระทำได้จนกว่ามีหลักฐานห้าม เช่น การแข่งขันนกเขาในสมัยใหม่ หากไม่เข้าข่ายการพนันขันต่อ หรือข้อห้ามอื่นๆ ก็กระทำได้ เรื่องอาดะฮ์จึงมีทั้งบิดอะฮ์ดีและเลว

ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้สรุปคำพูดของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ที่เขียนไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” มาระบุไว้ในหนังสือ “อัล-อิบดาอฺฯ” หน้า 39 เอาไว้ว่า
فَإنَّ الْبِدْعَـةَ الشَّرْعِـيَّةَ ضَلاَلَـةٌ كَمَا قَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَمَنْ قَسَّمَهَامِنَ الْعُلَمَاءِ إلَى حَسَنٍ وَغَيْرِحَسَنٍ فَإنَّمَاقَسَّمَ الْبِدْعَـةَ اللُّغَوِيَّـةَ، وَمَنْ قَالَ كُلُّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَـةُ الشَّرْعِيَّةُ .....
“แน่นอน สิ่งบิดอะฮ์ (ทุกอย่าง) ตามนัยของบทบัญญัตินั้น เป็นความหลงผิด .. ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ..และนักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์ไม่ดี ก็มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการแบ่งมันตามนัยของภาษาเท่านั้น, และผู้ใดที่กล่าวว่า ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด ความหมายของมันก็คือ สิ่งบิดอะฮ์ตามนัยของบทบัญญัติ”

วัลลอฮุ อะอฺลัม



อุตริ คืออะไร






ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ร.ฎ. เคยกล่าวไว้ว่า

( إتَّبِعُوْا وَلاَ تَبْتَدِعُوْا ! فَقَدْ كُفِيْتُمْ )

“พวกท่านจงปฏิบัติตาม, และพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด! แน่นอน พวกท่านถูก ( กำหนดซุนนะฮ์ ) ให้, ( เพื่อการปฏิบัติ ) จนเพียงพอแล้ว”
( บันทึกโดย ท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” เล่มที่ 2 หน้า 590 (หมายเลข 315), ท่านอะห์มัด ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” หน้า 162, ท่านอัด-ดาริมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 80, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “อัส-ซุนนะฮ์” หน้า 23, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อลฯ” หมายเลข 204 )


อุตริ ตามพจนานุกรมไทย แปลว่านอกคอก นอกทาง นอกรีต

อุตริ ตรงกับภาษาอาหรับ คือ บิดอะฮ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับซุนนะฮ์

ตามความเข้าใจทั่วๆไป หมายถึงการกระทำสิ่งใดก็ตามในเรื่องศาสนา ที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยกระทำแบบอย่างเอาไว้

บิดอะฮ์ ตามความเข้าใจกันทั่วไป เป็น“บิดอะฮ์ตามหลักภาษา” (بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ) หมายถึง การริเริ่มกระทำสิ่งที่ไม่เคยมีแบบอย่างมา การกระทำในสิ่งซึ่งท่านนบีย์ละทิ้ง ทั้งๆก่อนทุกอย่าง,ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือศาสนา ที่มีประเด็นส่งเสริมให้ท่านทำ และไม่มี-ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว

เช่น การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็นสิ่งดี เช่น ผลิตรรถไว้ขับขี่ สิ่งไม่ดี เช่น ผลิตยาเสพติด เป็นต้น

ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา
ได้แก่การรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าเป็นเล่มเดียวกันในสมัยของท่านอบู บักรฺ, หรือการจำแนกวิชาการทางศาสนาออกเป็นหมวดหมู่ เช่น เป็นวิชาตัฟซีรฺ, วิชาฟิกฮ์, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาไวยาการณ์อฺรับ ฯลฯ

บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ ) หมายถึง การกระทำสิ่งซึ่งท่านศาสดาละทิ้ง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ, และไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น

“บิดอะฮ์” ที่ท่านนบีกล่าว  หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนา, มิใช่บิดอะฮ์ตามหลักภาษา

วัลลอฮูอะอฺลัม



วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ธุรกิจ หรือ ศรัทธา "ธุรกิจศรัทธา"



    ธุรกิจ หรือ ศรัทธา "ธุรกิจศรัทธา" น่ากลัวเพราะจะมอมเมามุสลิม ให้หลงทาง
    เมื่อมีองค์กรต่างๆ อ้างวัตถุของท่านนบีฯ และก็มีองค์กรมารับรอง
    และวัตถุเหล่านี้ ก็จัดคิวตระเวนแสดงทั่วไปในมาเลเซีย และหลายประเทศในเอเชีย (เก็บค่าชม จนร่ำรวย)
    ขณะที่ประเทศซาอุฯ การเคารพสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องต้องห้าม คือเป็น อุตริกรรม
   มัสยิดกลางน้ำที่เจดดะห์ ถูปปิด(ห้ามเข้าชม) เพราะเหตุว่ามีมุสลิมไปให้ความสำคัญกับเรื่องแบบนี้
   ผ้าคลุมกะบะห์ ถูกยกให้สูงขึ้น เนื่องจากมีบางคนแอบขโมยตัดเพื่อนำไปแอบอ้าง-บูชา
   คำเตือน!
   โปรดใช้ความคิดและศรัทธา ในการประกอบอีบาดะห์ อย่านำสิ่งเหล่านี้มาอุตริกรรม และ"อย่าหลงเชื่อกลยุทธ์การศรัทธาการตลาด"


เชคซอและฮ์ซูฮียมีย์ อาจารย์ที่มหาลัยมาดีนะฮ และมัสยิดนาบาวีย์ เคยพูดว่าวัตถุต่างๆที่อ้างถึงนี้เป็นอุตริกรรมของกลุ่มซูฟีย์ และเป็นธุรกิจของบางองค์กรที่ใช้เป็นเครื่องมือหากิน แต่เราไม่ปฎิเสธอาจมีบางอย่างที่เป็นของนาบีจริง แต่ต้องมีการพิสูจน์หลักฐานได้ แต่สรุปง่ายๆว่าสำหรับเรืองนี้ถ้าเราไม่เชื่อก็ไม่ถึงขั้นเป็นกาฟิรหรอก เหมือนที่บางคนแอบอ้าง


มรดกของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) คือกีตาบุลลอฮ์ และซุนนะฮ์ของท่าน

***เราไม่ฮู่ก่มใคร แต่เราแค่ชี้แจง***


















วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นี่หรือการละหมาดขั้นสูงของพวกซูฟีย์






การละหมาด ของผู้ที่อ้างว่าอยู่ในระดับ "อีหม่านฮากีกัต" หรือ "แก่นแท้ของอีหม่าน" ของพวกซูฟีย์ ช่างแปลกพิลึก ไม่ต้องเคลื่อนไหว ไม่ต้องรู่กัวะอ์ ไม่ต้องซูยูดใดๆทั้งสิ้น แต่พวกพวกเขาเพียงอยู่นิ่งเฉยๆ เพียงการนึกคิดว่าไปสู่การละหมาด ด้วยการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยไม่มีเรื่องราวอันใดในโลกดุนยาคงเหลืออยู่ในจิตใจ นั้นคือการทำใจให้ว่าง สำนึกว่ามีอัลลอฮ์องค์เดียว ที่เขาเรียกว่าเข้าสู่ม่ากอมฟ่านาอ์ นีคือการละหมาดของพวกเขา นี้มันเป็นแบบอย่างของใคร นบีสั่งให้ละหมาดแบบนี้หรือ ไม่เลยนบีได้ทำแบบอย่างไว้ครบถ้วนแล้ว พวกเขาจะเก่งกว่านบีคิดสูตรเอาเองได้หรือ พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาโปรดคิดพิจารณาเอาเองเถิด


มาดูการละหมาดของพวกซูฟีย์ระดับขั้น"อีหม่านฮากีกัต" ที่เรียกว่า "การละหมาด จากอัลเลาะห์ ด้วยอัลเลาะห์ เพื่ออัลเลาะห์" ( الصلاة من الله بالله لله)


แล้วเราจะทำละหมาดด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะห์ได้อย่างไร วิธีการก็คือ เราต้องเริ่มการละหมาดด้วยการสำนึกจากจิตใจของเราว่า ที่เราทำละหมาดนั้น...ทำจากพลังความสามารถที่อัลเลาะห์ประทานให้เรา นั่นคือ "มินั้ลลอฮ์" แปลว่า "จากอัลเลาะห์" เราไม่ได้เคลื่อนไหว รู่กัวะอ์ ซูยูด ด้วยตัวของเราเอง แต่เราเริ่มละหมาด รู่กัวะอ์และซูยูดด้วยการที่อัลเลาะห์ให้เราเริ่ม จากพลังที่อัลเลาะห์ได้มอบให้แก่เรา นี่แหละ คือ ความบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นซึ่ง.....มาจากอัลเลาะห์


ตัวต่อมาก็คือ "บิ้ลลาฮ์" แปลว่า "ด้วยกับอัลเลาะห์" นั่นก็คือ การสำนึกจากจิตใจอีกเช่นเดียวกันว่า "ทำด้วยกับอัลเลาะห์" ด้วยพลังที่อัลเลาะห์ให้เราทำ ที่เรารู่กัวะอ์ได้ก็ด้วยพลังของอัลเลาะห์ที่มอบให้เรา ที่เราซูยูด ก็ด้วยกับความสามารถที่พระองค์ทรงประทานให้....นี่แหละคือความหมายของคำว่า บิ้ลลาอ์.....ทำด้วยกับอัลเลาะห์


และตัวสุดท้าย ก็คือ "ลิ้ลลาฮ์" แปลว่า "เพื่ออัลเลาะห์" นั่นก็คือ การสำนึกด้วยจิตใจเช่นกันว่า ที่เราทำละหมาดนั้นก็เพื่อพระองค์อัลเลาะห์ ซึ่งไม่มีอยู่ในจิตใจของเราเลย ความต้องการซึ่งผลบุญ หรือ ความกลัวว่าถ้าไม่ทำละหมาดแล้วจะต้องโดนลงโทษ แต่การทำเพื่ออัลเลาะห์นั้น คือ การทำด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยแท้จริง ไม่โลภอยากได้ผลบุญ หรือ ทำเพราะกลัวอัลเลาะห์จะลงโทษ เพราะการคิดแบบนั้น ถือว่าไม่ใช่ความบริสุทธิ์ มันคือ การทำเพราะต้องการอยากได้ แต่การทำที่บริสุทธิ์ใจอย่างจริงๆ ก็คือ ทำโดยไม่สนใจในสิ่งใด ไม่อยากและไม่กลัว ทำเพียงเพื่อ ตะก๊อรรุบ (แสวงหาความความใกล้ชิด) กับอัลเลาะห์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น การทำเพื่อตะก๊อรรุบแบบนี้แหละที่เรียกว่า....ทำเพื่ออัลเลาะห์


คัดมาจาก http://islambyheart.blogspot.com/2014/12/blog-post_82.html









วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ดะวะฮ์ตับลิฆ ภรรยาจะได้เข้าสวรรค์ก่อนสามี 500 ปี แล้วสามีไปอยู่ไหน?




อาม้าล 8 ประการ ที่กลุ่มดะวะฮ์ตับลิฆกำหนดขึ้น คือ
1- สร้างสิ่งแวดล้อม ศาสนาให้เกิดขึ้นในบ้านจนในบ้านมีอาม้าลศาสนา เช่น ละหมาด ; อ่านอัลกุรอาน ; ซิเกร ; ตออัตต่อสามี และอื่นๆ ซุนนะหท่านนาบี(ซ.ล.) ต่างประเทศ
2- พยายามให้ตะเล็มเกิดขึ้นในบ้าน
1) ตะเล็มกีตาบี
2) ฮัลเกาะอัลกุรอาน
3) อาดับต่างๆ
4) หกซีฟัต
5) มาซาเอล
6) อูโสล 12 ข้อ
7) ตัรฆีบลูกๆ สามีตัรฆีบภรรยา
3- อัตตะซีม ซุนนะให้ความสำคัญ ซุนนะท่านนาบี (ซ.ล.) เช่นทำอะไรให้ความสำคัญซุนนะหท่านนาบี(ซ.ล.) ทุกๆซุนนะถึงเราจะยากจน แต่มีซุนนะหอยู่ในบ้าน เราก็มีความสุข ถึงเราจะร่ำรวยแต่ไม่มีซุนนะอยู่ในบ้านเราก้อไม่มีความสุข ไม่มีบารอกัตในการเป็นอยู่ วุ่นวายใจ อาม้าลซุนนะหท่านรอซูล1ซุนนะ อัลลอฮให้ 100 ชาฮีด
4- อย่าพูดไร้สาระ ให้พูดเรื่องความตายให้มาก เรื่องกูโบร์ มะชัร มีซาน สะพานซีรอด นรก สวรรค์
5- อย่าฟีกิร อาหารการกิน ให้ฟีเกรอีบาดัตให้มากๆ ละหมาดให้ได้วันละ4ชั่วโนง ริสกีมีอยู่10ช่องทาง ในงานที่เราทำมีอยู่1ช่อง ในอีบาดัตอัลลอฮให้9ช่องด้วยกัน
6- ตัรบียะ อบรมสั่งสอนลูกให้อยู่ในอาม้าลศาสนา
7- มีความพร้อมที่จะให้สามีออกในหนทางของอัลลอฮ ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย ป่วยหรือลำบาก
8- เมื่อสามีรับตากาซา ภรรยาต้องให้กำลังใจและสนับสนุน จัดกระเป๋าให้สามีออดในหนทางของอัลลอฺ จะได้เข้าสวนสวรรค์ก่อนสามี500ปี




 ข้อ 8 นี้ หากภรรยาจัดสัมภาระให้สามีออก ภรรยาจะได้เข้าสวนสวรรค์ก่อนสามี500ปี แล้วก่อน500 ปีที่ภรรยาได้เข้าสวรรค์ สามีไปอยู่ไหน? แล้ว 500ปีไม่ใช่น้อยๆ เพราะ 1 วัน ในอาคีเราะฮ์ เท่ากับ 1,000ปีในโลกนี้ สามีไปอยู่ไหน???



"ตะเล็มมัสตูรอ" กุว่านบีสั่งให้ฝังภรรยาของตนได้






!!!อันตราย!!! "ตะเล็มมัสตูรอ" กุว่านบีสั่งให้ฝังภรรยาของตนได้ หากภรรยาออกจากบ้านโดยไม่รีบอนุญาตจากสามีก่อน หรือทำหน้างอนบึงตึงต่อสามี...

...ตะเล็มมัสตูรอ...หน้า 43 ..

.นบีออกคำสั่งให้ฝัง 7 อย่าง
1 ฝังผม
2 ฝังเล็บ
3 ฝังเลือด
4 ทารกที่แท้งออกมาในสถาพที่เป็นก้อนเนื้อ
5 ถุ้งห่อหุ่นทารก
6 ภรรยาที่ออกจากบ้านที่ไม่ได้รีบอนุญาตจากสามีก่อน
7 คนที่ทำหน้างอนบึงตึงต่อสามี
คิตมัต
พยายามรักษาตัวให้ดีงามอยู่เสมอ
ปรนนิบัติสามี เมื่อสามีกลับบ้าน
ตัดเล็บให้สามี เท่ากับทำอุมเราะห์และฮัจย์
ตออัต
ทำตามที่สามีสั่ง
ให้เข้านอนก่อนสามี









รุก่นอิสลาม และรุก่นอิหม่านไม่พออีกหรือ






ซีฟัต(คุณลักษณะ) ที่กลุ่มดะวะฮ์ตับลิฆคิดขึ้น มีอยู่ 6 ประการ


1) ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มูฮัมมาดูรรอซูลลุลลอฮ์ (ข้อนี้ตรงกับรุก่นอิสลามข้อแรก ซึ่งมี 5 ประการ)


2) ละหมาด (ข้อนี้ตรงกับรุก่นอิสลามข้อ 2)
3)อิลมู (การศึกหาความรู้) และซิเกรฺ (การรำลึกถึงอัลลอฮ์)
4) อิกรอมมุสลิมีน (อิกรอมให้เกียรติทุกคน
5) อิคลาส
6) มูญาฮาดะฮ์ (การสละชีวิต ทรัพย์สิน ไปในหนทางของอัลลอฮฺ ด้วยการฮิจเราะฮ์และนุสเราะฮ์)




ซีฟัตเหล่านี้หากพิจารณาตามลักษณะคำศัพท์ ก็จะอยู่ในคำสอนอิสลาม แต่ซีฟัตเหล่านี้ไม่เคยปรากฏที่กำหนดขึ้นโดยท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม) หรือโดยบรรดาเศาะหาบะฮ์ หรือบรรดานักวิชาการยุคต้น เมื่อมันเป็นเรื่องศาสนาก็จะกำหนดเองเออเองไม่ได้ มันเพียงพอแล้วสำหรับรุก่นอิสลาม 5 ประการ และรุก่นอีหม่าน 6 ประการ สำหรับประชาชาติอิสลามที่ต้องศรัทธาและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


วัลลอฮุอะอฺลัม


หมายเหตุ รายละเอียดอื่นๆของซีฟัตดังกล่าวที่มีการกล่าวถึงโดยไม่มีหลักฐานรองรับ เช่น  


กรณีซีฟัตข้อ 3 อิลมู ระบุว่า ผู้ที่ออกไปในตอนเช้าเพื่อศึกษาในหนึ่งอายะฮ์ดีกว่าเขาละหมาดสุนัตถึง 100 รอกาอัต ผู้ที่ออกไปในตอนเช้าเพื่อศึกษาหาความรู้ 1 บท เขาจะปฏิบัติแล้วหรือยังไม่ปฏิบัติก็ดีกว่าเขาละหมาดสุนัตถึง 1,000 รอกาอัต  สิ่งถูกสร้างทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดินทั้งหมด


กรณีซีฟัตข้อ 4 อิกรอมมุสลิมีน ระบุว่า ผู้ใดก็ตามที่ออกไปในหนทางเพื่อจัดการกิจกรรมอันจำเป็นในนามของพี่น้องของเขาดีกว่าการเอี๊ยะติกาฟถึง 10 ปี ผู้ใดเอี๊ยะติกาฟ 1 วันเพื่อความโปรดปรานของอ.ล.(ซ.บ.)เขาจะห่างจากไฟนรก 3 สนามเพลาะ (สนามเพลาะหนึ่งกว้างระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน )


ซีฟัตข้อ 6 มูญาฮาดะฮ์ ระบุ ทุกๆทรัพย์สินที่ใช้จ่ายไป ทุกๆซิเกร การตัสเบี๊ยะ ทุกๆอาม้าลในวิถีทางของ อ.ล. (ซ.บ.) จะได้รับผลบุญตดบแทน 700,000 เท่า การดุอาของผู้พยายามในหนทางของ อ.ล.(ซ.บ.) จะถูกตอบรับเหมือนกับดุอาของบรรดานบี (อ.ล.) แห่งบนีอิสรออีล


แล้วด้วยเหตุผลอันใดเล่า หากคิดจะเชิญชวนพี่น้องเข้าร่วมอุดมการณ์ ร่วมทำความดี แต่กลับต้องกุ หรืออ้างผลตอบแทนเหล่านั้นโดยไม่มีที่มา หรือหลักฐานรองรับอีกเล่า???