อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เรื่องของวิญญาณ


เรื่องของวิญญาณ

ไม่มีใครหยั่งรู้สภาพของวิญญาณ ว่ามีลักษณะ รูปร่าง แก่นแท้ เป็นเช่นไร นอกจากผู้สร้างวิญญาณเท่านั้นที่ทรงทราบดีที่สุด เรื่องของวิญญาณจึงจัดเป็นเรื่องเร้นลับที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งพระองค์ได้ทรงห้ามการเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องนี้ ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

"และพวกเขาจะถามเจ้า เกี่ยวกับวิญญาณจงกล่าวเถิดว่า เรื่องวิญญาณนั้นเป็นไปตามพระบัญชาของพระเจ้าของฉัน

และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น"

( อัลอิสรออ์17/ 85 )

والله اعلم بلصواب

วิญญาณของคนตายพอเขาตายไปแล้วเขาจะกลับมาเยี่ยมบ้านไหม



คำถาม : วิญญาณของคนตายพอเขาตายไปแล้วเขาจะกลับมาเยี่ยมบ้านหรือเปล่าคะ

ตอบ : ในร่างกายของคนเรามีสองส่วนส่วนหนึ่งคือส่วนที่เป็นเนื้อกระดูกและหนังที่มาจากดินหมดเลย ส่วนวิญญาณมาจากฟากฟ้า เมื่ออายุครบสี่เดือน อัลลอฮฺจะให้มลาอิกะห์มาเป่าวิญญาณให้อยู่ในท้องของคุณแม่ พอมีวิญญาณเด็กจะเริ่มดิ้น จะอยู่กับเราจนว่าเราจะเสียชีวิต ตอนจะตายอัลลอฮให้วิญญาณออกจากร่าง มลาอีกะห์มาเชิญออก บางทีกระชากออก

สำหรับคนดีๆ มลาอิกะห์มาเชิญออกจากร่าง ถ้าคนไม่ดีมลาอิกะห์มากระชากออกแรงๆ

เมื่อวิญญาณออกจากร่างไปแล้ววิญญาณ จะกลับมาเที่ยวบ้านไหมในคืนวันศุกร์คำตอบ คือไม่มา ขนาดวิญญาณขอร้องอัลลอฮ อัลลอฮยังไม่ให้มา หลังจากวิญญาณออกจากร่างไปแล้ว วิญญาณจะอยู่ในอะลัมบัรซัค(โลกคั่นกลางระหว่างดุนยากับอาคีเราะห์) ถ้าเป็นวิญญาณคนดีจะอยู่ในสวนสวรรค์ ถ้าวิญญาณคนไม่ดีจะอยู่ในนรก คนที่ตายไปแล้ว มลาอิกะห์มารับขึ้นไปบนฟากฟ้าและลงมาที่กุโบร อัลลอฮส่งให้มลาอิกะห์ถามสามข้อ ใครคือนบีของท่าน (นบีมุฮัมหมัด) อะไรเป็นศาสนาของท่าน (อิสลาม) ใครคืออิหม่ามของท่าน(อัลกุรอาน) มาลาอิกะห์จะถามต่อรู้เรื่องสามข้อนี้มาจากไหน วิญญาณจะตอบว่า อัลกุรอาน

อ.มุสตอฟา อยู่เป็นสุข

ที่มา: สวรรค์ในบ้าน

والله اعلم بلصواب


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปัจจัยหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการกุ(ปลอม)หะดิษ



จากหนังสือ “มุศฎอละฮุ้ลหะดิษ” ของอะบูฮัฟศ์ มะห์มูด บิน มะห์มูด ฏอฮ์ฮาน อันนุอัยมีย์
อ.อรุณ บุญชม แปลและเรียบเรียง


สาเหตุหนึ่ง คือ
- ต้องการเข้าใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ตาอาลา
ด้วยการอุปโลกน์หะดิษขึ้นมา เพื่อทำให้ประชาชาชนชอบทำความดี และหะดิษที่ทำให้ประชาชนกลัวการทำความชั่ว นักรายงานที่อุปโลกน์หะดิษเหล่านี้เป็นพวกสละโลกีย์ และเป็นคนดีพวกเขาเป็นนักอุปโลกน์หะดิษที่เป็นอันตรายที่สุด เพราะประชาชนจะรับเอาหะดิษที่พวกเขาอุปโลกน์ขึ้นมา เพราะมั่นใจในตัวพวกเขา
ส่วนหนึ่งจากพวกนี้ คือ มัยซะเราะห์ บิน อับดิรอบบิฮิ ท่านอิบนุฮฺบบาน ได้เล่าไว้ในหนังสือ อัดดุอาฟาอ์ จากอิบนุ มะห์ดี ว่า :
“ข้าพเจ้าได้ถาม มัยซะเราะห์ บินอับดิรอบบิฮี ว่า ท่านนำหะดิษเหล่านี้มาจากไหน ที่ว่าผู้ใดอ่านอย่างนั้น จะได้รับผลบุญอย่างนั้น เขาตอบว่า ข้าพเจ้าอุปโลกน์ขึ้นเอง เพื่อกระตุ้นประชาชนให้ทำความดี”
(หนังสือ ตัดรีบุรรอวีย์ เล่ม 1 หน้า 283)





การละเลยในการให้ความรู้ ที่มีประโยชน์กับลูกๆ ของเขา




ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
 “ใครที่ละเลยในการให้ความรู้ ที่มีประโยชน์กับลูกๆ ของเขา และปล่อยปละละเลยพวกเขา อย่างไร้สาระ แท้จริงเขาได้ทำร้ายพวกเขาอย่างร้ายแรง ลูกๆ ส่วนใหญ่เสียหาย เพราะสาเหตุมาจากพ่อที่ละเลย ไม่สั่งสอนสิ่งที่เป็นวาญิบและสุนัตต่างๆ ในศาสนา เขาละเลยพวกเขา ตั้งแต่เล็กๆ พวกเขาจึงไม่สามารถให้ประโยชน์แก่ตัวเอง และพ่อของพวกเขาได้ เมื่อเขาเติบโตขึ้นมา” 
(ตุหฺฟะตุลเมาดูด ฟี อะห์กาม อัล-เมาลูด หน้าที่ 80)




ดูขลังดี..!



ข้าวเหนียวเหลืองไก่ปิ้ง เห็นแล้วนึกถึงสมัยเด็กๆ
แถวบ้านผมหรือแม้แต่ที่บ้านผมก็ทำกันแบบนี้
ดูมันเป็นพิธีกรรมของอิสลามที่มันดูขลังดี
ทั้งมีการจุดเทียน บางทีก็มีจุดธูปด้วยแต่เป็นธูปอินเดียดอกเล็กๆ
หรือไม่ก็กำยานแบบอาหรับ
พิธีกรรมแบบนี้พบได้ตั้งแต่แหลมมาลายูไปยันอินโดฯ
และยันกรุงเทพ อยุธยา
มีการบอกลูกหลานว่า เชิญปู่ย่าตามยายที่ล่วงลัดไปแล้ว
ให้มาร่วมเอ็นจอยเป็นเกียรติ์ บางทีอาจรวมไปถึงเจ้าที่เจ้าทาง
ดูไม่ต่างจากศาสนาอื่นๆที่มีความเชื่อและพิธีกรรมคล้ายๆ
กันกับหลายๆศาสนาในไทย ทำแล้วก็รู้สึกสบายใจดี

แล้วก็จะมีการทำพิธี อ่าน คัมภีร์อัลกุรอาน
ตามด้วยบทกวีที่เรียกบัรรันญีที่ท่านบูซีรีนเป็นคนประพันธ์
ที่ว่าด้วยการสรรเสริญท่านศาสดา
หรือนบีมูฮัมหมัดของอิสลามอย่างไพเราะ
จบด้วยการขอพรจากพระเจ้า ให้เป็นศิริมงคล

สมัยก่อนป๋าผมเป็นคนนำในการทำพิธีเหล่านี้ด้วย
จำสูตรลำดับได้ว่าอ่านอะไรก่อนหลัง
มีชุดใหญ่ชุดเล็ก ว่ากันไปตามขนาดของงาน
สั้นๆบ้างยาวบ้างว่าไป

ตอนนั้นป๋าผมเป็นโต๊ะอีหม่ามประจำหมู่บ้าน
ใครก็นับหน้าถือตา เชิญไปทำพิธีบ่อยๆ
บางทีคนต่างศาสนาก็มาเชิญไปทำพิธี
แบบนี้ที่บ้าน เขาสั่งอาหารหรือจ้างคนอิสลาม
มาทำอาหารเลี้ยงมุสลิมเพราะเข้าใจ
ว่ามุสลิมทานอาหารฮาลาลเท่านั้น
เจ้าภาพบอกว่าเจ้าที่ๆบ้านเขาเป็นอิสลาม
เพราะเขาซื้อที่ปลูกบ้าน
จากคนอิสลามดั้งเดิมที่เป็นเจ้าของที่แต่เก่าก่อน
คนต่างศาสนามักจะมีซองให้มุสลิมที่ไปร่วมทำพิธี
ของป๋าผมนี่จะได้เยอะหน่อย ไม่ว่าจะจากเจ้าภาพ
ที่เป็นคนต่างศาสนา(พุทธ)หรือมุสลิมก็ตาม

ป๋าผมไม่เคยหยุดเรียนเลย แม้จะจบแค่ ป.4
ป๋าอ่านได้แปลได้พอประมาณทั้งภาษามาลายู และอาหรับ
และมักจะจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนภาษามาลายูเป็นการส่วนตัว
หรือไม่ก็ไปเรียนที่บ้านอาจารย์หรือสำนักที่เปิดสอนศาสนา

แต่ต่อมาป๋าผมเลิกเรื่องแบบนี้ทั้งหมด
และปฏิเสธที่จะทำเรื่องพิธีกรรมแบบนี้
และโต้แย้งว่าการกระทำแบบนี้ขัดต่อหลักการอิสลาม
ตั้งแต่เรื่องการจุดธูปเทียนในพิธี การเชิญวิญญาณ
บรรพบุรุษ ไปจนถึงขั้นตอนพิธีการทำเหล่านี้
เพราะไม่มีแบบอย่างจากท่านศาสดาที่ทำมา
แบบอย่างก็คือ เลี้ยงอาหารเลยโดยไม่มีเงี้อนไข
หากจะทำบุญไม่มีพิธีกรรมใดๆ ส่วนคน
ที่มากินจะขอพรให้หรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อาจจะขอก่อนทานหรือหลังทานอาหารก็ได้
หรือจะไม่ขอก็ได้

การกระทำเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของอิสลาม
และมันเป็นอุตริกรรมในเรื่องศาสนา
และมันอาจถึงขั้นตกศาสนา เพราะตั้งภาคี
กับพระเจ้า ในกรณีเชื่อว่าวิญญาณ
บรรพบุรุษจะมา ราวกับจะให้ศิริมงคลหรือให้โทษได้
เพราะมุสลิมถือว่าอำนาจทั้งปวงนั้นเป็นสิทธิของพระเจ้าเท่านั้น
ไม่มีภาคีร่วมใดๆ

มีการถกเถียงกันมากมายในร้านกาแฟ
ป๋าผมเริ่มเป็นตัวประหลาดของสังคมมุสลิม
ส่วนใหญ่ในยุคนั้นแถวบ้านเริ่มไม่ค่อยยอมรับป๋าผม
และเรียกป๋าผมว่า "พวกคณะใหม่"

ทุกวันนี้เวลาที่ป๋าพูดถึงเรื่องสิ่งที่เคยทำเหล่านี้
ท่านจะรู้สึกเสียใจ และบอกว่า "ป๋าทำไปตามแบบ
ที่คนเก่าๆทำต่อกันมา และป๋าไม่รู้ว่าถูกผิด
เพียงแต่เห็นว่าดีไม่มีอะไรที่ดูแล้วเสียหาย
แต่มารู้ทีหลังว่าแบบอย่างเหล่านี้
ไม่เคยมีในอิสลามเลยในสมัยท่านนบี"
เสียงป๋าสั่นเครือน้ำตาคลอแทบทุกครั้ง
ที่ป๋านึกถึงเรื่องนี้
และ พูดว่า"อัซตัฆฟิรุลลอฮ์" ขออภัยโทษ
และสำนึกผิดต่อพระเจ้า ด้วยความหวังว่า
อัลลอฮ์จะทรงให้อภัยในสิ่งที่ท่านทำมาในอดีต

cr.posted by musachiza



การนำคำพูดอิมามอัช-ชาฟิอียฺ มาอ้างเป็นคำตัดสินพวกวะฮฺฮาบียฺว่าเป็นกาฟิรฺ


โดย อ.อาลี เสือสมิง

 อ้อ! ข้อความของผู้โพสต์ตอนนี้ก็เช่นกัน ผู้โพสต์น่าจะอ้างอิงที่มาของคำพูดที่อิมามทั้ง 3 ท่าน (เราะหิมะหุมุลลอฮฺ) ที่ผู้โพสต์หยิบยกและถ่ายทอดมาเป็นคำตัดสินพวกวะฮฺฮาบียฺว่าเป็นกาฟิรฺด้วย ระบุว่า


อิมามอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล (ร.ฮ.) ท่านกล่าวประโยคนั้นไว้ในตำราเล่าใด ใครเป็นผู้รายงาน

อิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ท่านกล่าวประโยคนั้นไว้ในตำราเล่มใด ใครเป็นผู้รายงานถ่ายทอดจากท่าน

อิมามอัฏ-เฏาะหาวียฺ (ร.ฮ.) ท่านกล่าวประโยคนั้นไว้ในตำราเล่มใด ใช่ตำราอะกีดะฮฺ เฏาะหาวียะฮฺหรือไม่? หรือเป็นตำราอรรถาธิบาย (ชัรหุล อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ) เล่มใดใครเป็นผู้อรรถาธิบาย ใช่เล่มที่พวกวะฮฺฮาบียฺชอบอ้างอิงหรือไม่?


ตำราอะกีดะฮฺอิมามอัฏ-เฏาะหาวียฺมีปราชญ์อะชาอิเราะฮฺและมาตุรีดียะฮฺอธิบายอยู่หลายท่าน อ้างอิงมาสักหน่อยก็จะดีมาก เพราะเป็นคำตัดสินว่าด้วยการหลงผิดและถึงขั้นเป็นกาฟิรฺ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ จะได้กระทำเบาความเอาเสียง่ายๆ เพราะจะกลายเป็นว่า ผู้โพสต์รายงานถ่ายทอดเอาเองโดยไม่มีสะนัด ไม่มีการอ้างอิงที่มา

โดยเฉพาะกรณีของอิมาอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) นั้น นักวิชาการอะชาอิเราะฮฺในบ้านเราบางท่านระบุว่า “และตำราในยุคก่อนที่ได้แต่งขึ้นมาเพื่อรวบรวมอะกีดะฮฺของอิหม่ามชาฟิอียฺนั้น ไม่มีสะนัดที่ถูกต้องถึงอิหม่ามชาฟิอียฺหรือมีสะนัดที่ไม่ศอฮิหฺ ยิ่งกว่านั้นยังมีการกุเท็จเกี่ยวกับอะกีดะฮฺของอิหม่ามชาฟิอียฺตามที่อุละมาอฺได้ยืนยันเอาไว้


ดังนั้นการอ้างของผู้โพสต์ถึงคำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ในเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องของอะกีดะฮฺอย่างแน่นอนจึงต้องระวัง เพราะนักวิชาการอะชาอิเราะฮฺท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ตำราที่แต่งขึ้นมาเพื่อรวบรวมอะกีดะฮฺของอิมามอัช-ชาฟิอียฺนั้น ไม่มีสะนัดที่ถูกต้องถึงอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) หรือมีสะนัดที่ไม่เศาะฮีหฺ ยิ่งกว่านั้น ยังมีการกุเท็จเกี่ยวกับอะกีดะฮฺของอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ตามที่อุละมาอฺได้ยืนยันเอาไว้


เมื่อไม่มีสะนัดถึงอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) หรือมีสะนัดแต่ไม่เศาะฮีหฺ หรือแย่ถึงขั้นมีการกุเท็จถึงอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ด้วยซ้ำ การที่ผู้โพสต์นำคำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอียฺ มาอ้างเป็นคำตัดสินพวกวะฮฺฮาบียฺว่าเป็นกาฟิรฺ จะเป็นที่วางใจได้อย่างไร? เพราะไม่มีสะนัดที่ถูกต้อง ซ้ำร้ายอาจจะเป็นการกุเท็จอีกด้วย! แล้วจะนำมาอ้างเป็นคำตัดสินชี้ขาดได้อย่างไรกัน?



หนังสือ หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์ บิดเบือน



คนที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็นวะฮบีย์ มีอะกีดะฮเชื่อว่าอัลลอฮมีรูปร้างจริงหรือ
ในหนังสือ หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์ หน้า 96-97
อาจารย์อารีฟีน ได้ตั้งหัวเรื่องว่า "วะฮบีย์กับอะกีดะฮพระเจ้ามีรูปร่าง

โดยอ้างคำพูดชัยค์บินบาซ ว่า

واليد والقدم والأصابع والكلام والإرادة وغير ذلك. كلها يقال فيها إنها معلومة من حيث اللغة العربية

และมือ(ของอัลลอฮ) เท้า,บรรดานิ้ว,การพูด,การเจตนา ทั้งหมดนั้นจะถูกกล่าวว่า มันมีความหมายเป็นที่รู้กันตามหลักภาษาอาหรับ"

>>>>>>>>

ชี้แจงดังนี้

อาจารย์อารีฟีน กล่าวหาคนที่ตนเองอุปโลกน์ให้เป็นวะฮบีย์ และชัยคฺบินบาซ ว่า มีอะกีดะฮเชื่อว่าอัลลอฮมีรูปร้าง โดยตัดข้อความคำพูดของชัยค์บินบาซบางส่วน อย่างไร้อามานะฮทางวิชาการ
มาดูคำพูดชัยค์บินบาซ เต็มๆหลังจากที่ท่านได้อธิบายเรื่อง สิฟัตอิสติวาอฺ ท่านได้กล่าวต่อว่า

وهكذا القول في باقي الصفات من السمع والبصر والرضى والغضب واليد والقدم والأصابع والكلام والإرادة وغير ذلك. كلها يقال فيها إنها معلومة من حيث اللغة العربية، فالإيمان بها واجب والكيف مجهول لنا لا يعلمه إلا الله سبحانه، مع الإيمان أن صفاته سبحانه كلها كاملة، وأنه سبحانه لا يشبه شيئا من خلقه، فليس علمه كعلمنا، ولا يده كأيدينا، ولا أصابعه كأصابعنا، ولا رضاه كرضانا إلى غير ذلك، كما قال سبحانه: {لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

และในทำนองเดียวกันนี้ คือ คำพูดเกียวกับบรรดาสิฟาตที่เหลือ เช่น การได้ยิน,การเห็น,การพอพระทัย,มือ ,เท้า,บรรดานิ้ว,การพูด,การเจตนา ทั้งหมดนั้นจะถูกกล่าวว่า มันมีความหมายเป็นที่รู้กันตามหลักภาษาอาหรับ ดังนั้น การศรัทธาต่อมันนั้น เป็นวาญิบ และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน สำหรับเรา ไม่มีผู้ใดรู้มันนอกจากอัลลอฮ (ซ.บ) พร้อมกับให้ศรัทธาว่า แท้จริงบรรดาคุณลักษณะของพระองค์ (ซ.บ)ทั้งหมดของมัน สมบูรณ์ และแท้จริงพระองค์ ซ.บ ไม่มีสิ่งใดจากมัคลูคของพระองค์ คล้ายคลึงพระองค์ ,ความรู้ของพระองค์ ไม่เหมือนความรู้ของเรา,มือของพระองค์ ไม่เหมือนมือของเรา ,บรรดานิ้วของพระองค์ ไม่เหมือนบรรดานิ้วของเรา,การพอพระทัยของพระองค์ ไม่เหมือนการพอใจของเรา ฯลฯ ดังที่พระองค์ ซ.บ ตรัสว่า (ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น) -ฟัตวาเช็ตบินบาซ เล่ม 2 หน้า 96-97 เรือง
بيان مذهب أهل السنة في الاستواء
...........
การกล่าวหาชัยคฺบิน บาซ และกลุ่มพี่น้องมุสลิมที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็นลัทธิวะฮบียะฮ ว่า มีอะกีดะฮว่าอัลลอฮมีรูปร่างนั้น เป็นการบิดเบือน ปรักปรำ ใส่ร้ายพี่น้องมุสลิม อย่างน่าละอายที่สุด วัลอิยาซุบิลละฮ
เพราะสะลัฟนั้น พวกเขาไม่ถื่อว่า การยืนยันความหมายตามที่มีมาในตัวบทคือการเปรียบอัลลอฮกับมัคลูคและเป็นการเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง เพราะมันคือสิฟาต ไม่ใช่อวัยวะ

وَقَالَ نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ : مَنْ شَبَّهَ اللَّهَ بِشَيْءٍ مِنْ خَلْقِهِ فَقَدْ كَفَرَ ، وَمَنْ أَنْكَرَ مَا وَصَفَ اللَّهُ بِهِ نَفْسَهُ فَقَدْ كَفَرَ ، وَلَيْسَ فِيمَا وَصَفَ اللَّهُ بِهِ نَفْسَهُ وَلَا رَسُولُهُ تَشْبِيهٌ

และ นุอัยมฺ บิน หัมมาด กล่าวว่า “ ผู้ใดเปลียบเทียบอัลลอฮ ว่าคล้ายคลึงด้วยสิ่งใดๆจากมัคลูคของพระองค์ แน่นอน เขาเป็นกุฟุร และผู้ใด ปฏิเสธ สิ่งที่อัลลอฮทรงพรรณนาคุณลักษณะแก่ตัวของพระองค์เองด้วยมัน แน่นอนเขาเป็นกุฟุร และ สิ่งที่อัลลอฮ ทรงพรรณนาคุณลักษณะแก่ตัวของพระองค์เองด้วยมันและสิ่งที่รอซูลของพระองค์ (พรรณนาคุณลักษณะแก่พระองค์ด้วยมัน)นั้น ไม่ใช่เป็นการตัชบีฮ(หมายถึงไม่ใช่เป็นเปรียบเทียบว่าอัลลอฮคล้ายคลึงกับมัคลูค) – ดู ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฎาะหาวียะฮ เล่ม หน้า 85 และ ดู ชัรหุอุศูลเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ เล่ม 2 หน้า 532 หะดิษหมายเลข 936
การรับรองหรือยืนยัน คุณลักษณะที่อัลลฮ และรอซูลอธิบายไว้ ไม่ถือว่าเป็นการเปรียบอัลลอฮ ตาอาลา กับ มัคลูค แล้ว จะเข้าข่ายการให้รูปร่างอัลลอฮได้อย่างไร

ท่านอิมามอัตติรมิซีย์ รอฮิมาฮุลลอฮฺ หนึ่งในนักปราชญ์ยุคสลัฟได้

وقال إسحق بن إبراهيم إنما يكون التشبيه إذا قال يد كيد أو مثل يد أو سمع كسمع أو مثل سمع فإذا قال سمع كسمع أو مثل سمع فهذا التشبيه وأما إذا قال كما قال الله تعالى يد وسمع وبصر ولا يقول كيف ولا يقول مثل سمع ولا كسمع فهذا لا يكون تشبيها وهو كما قال الله تعالى في كتابه ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

ท่านอิสหาก อิบนุอิบรอฮีม บินรอฮาวัยฮฺ ได้กล่าวอธิบายว่า การตัชบีฮฺ(เปรียบกับมัคลูก)นั้นคือการที่เรากล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺก็เหมือนกับมือของฉันหรือใกล้เคียงกับมือของฉัน หรือการที่เขากล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับที่ฉันได้ยินหรือคล้ายกับที่ฉันได้ยิน แบบนี้แหละที่เขาเรียกว่าตัชบีฮฺ แต่หากเป็นการกล่าวในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้แล้ว เช่น พระหัตถ์, ทรงสดับฟัง, ทรงทอดพระเนตร พร้อมกับไม่ถามว่ามันเป็นอย่างไรแบบไหน ตลอดจนไม่กล่าวว่าอัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับฉันได้ยิน ดังนั้นแบบนี้ไม่เป็นการตัชบีฮฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา พระองค์กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนหรือคล้ายคลึงกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น”
(หนังสือ สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้าที่ 50-51
.........................
การอิษบาตรคำว่า “มือ(ยัด) ตามที่อัลลอฮบอก ไม่ใช่การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบ(ตัชบีฮ) เมื่อไม่ใช่การตัชบีฮ แล้วจะเป็นมุญัสสิม(ผู้ให้รูปร่างแก่อัลลอฮ)ได้อย่างไร
พวกที่เข้าใจว่า ถ้ายืนยันสิฟาตตามตัวบท คือ การตัชบีฮ (การเปรียบอัลลอฮกับมัคลูค คือ พวกญะฮมียะฮ
อัลมุบาเราะกาฟูรีย์(ร.ฮ)กล่าวว่า

وَقَالُوا : إِنَّمَا مَعْنَى الْيَدِ الْقُوَّةُ ) فَغَرَضُهُمْ مِنْ هَذَا التَّأْوِيلِ هُوَ نَفْيُ الْيَدِ لِلَّهِ تَعَالَى ظَنًّا مِنْهُمْ أَنَّهُ لَوْ كَانَ لَهُ تَعَالَى يَدٌ لَكَانَ تَشْبِيهًا ، وَلَمْ يَفْهَمُوا أَنَّ مُجَرَّدَ ثُبُوتِ الْيَدِ لَهُ تَعَالَى لَيْسَ بِتَشْبِيهٍ

พวกเขา(ญะฮมียะฮ)กล่าวว่า ความจริง ความหมายคำว่ามือ คือ พลังอำนาจ ) เพราะจุดประสงค์ของพวกเขาจากการตีความนี้ คือ ปฏิเสธ คำว่ามือ(ยัด)แก่อัลลอฮ ตาอาลา โดยพวกเขาเข้าใจว่า ถ้า คำว่ามือ (ยัด) เป็นของอัลลอฮตาอาลา แน่นอนเป็นการตัชบีฮ และพวกเขา(ญะฮมียะฮ)ไม่เข้าใจว่า เพียงแค่ยืนยัน/รับรองคำว่า ยัด(มือ) แก่อัลลอฮตาอาลานั้น ไม่ใช่เป็นการตัชบีฮ (ไม่ใช่เป็นการเปรียบอัลลอฮว่าคล้ายคลึงกับมัคลูค) - ดู ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ ชัรหสุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้า 332

والله اعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม

7/2/60

ปล.บทความอาจจะยาวไป แต่ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบข้อเท็จจริงว่า เป็นการบิดเบือนให้ร้ายพี่น้องมุสลิม ที่ถูกเรียกว่าวะฮบีย์ และขอถามผู้เขียนตำราเล่มนี้ว่า คุณกำลังตัดสินว่า คนที่คุณเรียกว่าวะฮบีย์เป็นกาเฟรใช่หรือไม่







วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เมื่อเขาโกหกว่านบีสอนฟาติมะฮให้อ่านอุศอ็ลลี



Thongchai Binmariam หนังสือ " อีกอซุ้ลม่านาม อิลาต้อรีกิซัยยิดิ้ลอะนาม " ของท่านเชคมุฮำหมัดยาซีน บิน อับดุลฆอนีย์ อุลามาอ์มาลายูที่เลื่องลือ ในหน้าที่ 93 ท่านผู้แต่งบันทึกไว้ว่า..
" ได้รายงานมาจากท่านอิหม่ามบุคคอรีย์และท่านอิหม่ามมุสลิมใน " ตัครีจ " ของท่านอิหม่ามทั้งสองว่า..
........................................................................................
จากท่านอิบนุอุมัร(รฏ)เล่าว่า..
ระหว่างที่ท่านนบีซ.ล)ฯ ได้นั่งสนทนาอยู่กับบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน ในมัสยิด ก็บังเอิญ ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ ฟาตีมะฮ์ บินอัสเราะฮ์ ก็ได้เข้ามาหาท่านนบี(ซล)นางฟาตีมะฮ์ ก็ได้ถามท่านนะบีย์กี่ยวกับเรื่องนามาชอัสรี ว่า นางจะกล่าวนำละหมาดนี้อย่างไร ก่อนที่นางจะตักบีร่อตุ้ลเอี๊ยะห์รอม ท่านนบี(ซล)ตอบท่านหญิงว่า..
เธอจงกล่าวก่อนตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอมว่า อู้ศ็อลลี ฟัรฎ็อด อัศรี อัรบะอะร่อกะอาติน อะดาอันลิ้ลลาฮี่ตาอ้าลา

@@@@

ชี้แจง

นอูซุบิลละฮ ข้างต้น นาย Thongchai Binmariam ไปเอาข้อมูล สร้างหลักฐานเท็จระดับเทพมาอ้าง
จึงเรียกร้องนาย Thongchai Binmariam ให้นำเสนอตัวบท คำแปลและแหล่งอ้างอิง ว่า หะดิษที่ท่านนบี ศอ็ลฯ สอนท่านหญิง ฟาติมะฮ ให้กล่าว "อุศอ็ลลี" ก่อนการตักบีเราะตุลเอียะรอม อยู่ในบทใหน หะดิษหมายเลขที่เท่าไหร่ ของหนังสือเศาะเฮียะบุคอรีและมุสลิม

อิบนุกอ็ยยิม (ร.ฮ) กล่าวว่า

كان صلى الله عليه وسلم إذا قام إلى الصلاة قال : الله أكبر ، ولم يقل شيئاً قبلها ، ولا تلفظ بالنية البتة ، ولا قال : أصلي لله كذا ، مستقبل القبلة ، أربع ركعات ، إمـاماً ، أو مأموماً ، ولا قال : أداءً ، ولا قضاءً ، ولا فرض الوقت ، وهذه عشرُ بدعٍ لم يَنْقُلْ عنه أحدٌ قط بإسنادٍ صحيحٍ ولا ضعيفٍ ولا مُسْنَدٍ ولا مُرْسَلٍ لفظةً واحدةً منها البتة ، بل ولا عن أحد من أصحابِه، ولا استحسنه أحدٌ من التابعين ، ولا الأئمةُ الأربعة اهـ

ปรากฏว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านจะละหมาด ท่านกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร" โดยไม่ได้กล่าวสิ่งใดก่อนหน้านั้น และไม่ได้กล่าวคำเนียตแต่อย่างใด ไม่ได้กล่าวคำว่า"อุศอ็ลลีลิลละอ อย่างนั้น อย่างนี้ มุสตักบิลัลกิบลัต อัรบะอะเราะกะอาต อิมามัน หรือ มะมูมัน และท่านไม่ได้กล่าวคำว่า "อะดาอัน" ไม่ได้กล่าวคำว่า"เกาะฏออ" และไม่ได้กล่าวคำว่า"ฟัรดุลวักติ" และนี้คือ บิดอะฮสิบประการ ที่ไม่มีคนใดรายงานจากท่านบี เลย จะด้วยสายสืบที่เศาะเฮียะก็ไม่มี หะดิษเฏาะอีฟก็ไม่มี หะดิษมุสนัดก็ไม่มี หะดิษมุรสัลก็ไม่มี แม้สักประโยคเดียวก็ไม่มี ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีรายงานจากคนหนึ่งคนใดจากเหล่าเศาะหาบะฮ ไม่คนใดจากบรรดาตาบิอีน เห็นดีและ ไม่มีอิหม่ามคนใดจากอิหม่ามทั้งสี่ (เห็นว่าดี) - ซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 201

อิหม่ามสะยูฏีย์ (ร.ฮ) ปราชญมัซฮับชาฟิอีเอง กล่าวว่า

ومن البدع أيضاً : الوسوسة في نية الصلاة ، ولم يكن ذلك من فعل النبي صلى الله عليه وسلم ولا أصحابه ، كانوا لا ينطقون بشيء من نية الصلاة ، بسوى التكبير . وقد قال تعالى :{ لقد كان لكم في رسول الله أسوة حسنة } [سورة الأحزاب : 21 ].

และส่วนหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮ อีกเช่นกัน คือ การมีใจรวนเรในการเนียตละหมาด และดังกล่าวนั้น ไม่ปรากฏจาก การกระทำของนบี ศอ็ลฯ และเหล่าเศาะหาบะฮของท่าน ,ปรากฏว่า พวกเขาไม่ได้ พูด(เปล่งเสียง)ด้วยสิ่งใดๆจากการเนียตละหมาด อื่นจากการตักบีร และแท้จริง อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า (แท้จริง ในรซูลุลลอฮนั้น คือแบบอย่างที่ดีแก่พวกเจ้า)- ซูเราะฮอัลอะหซาบ /21  - ดู อัลอัมรุบิลอิตบาอฺ ฯ วัลนะฮยุ อะนิลอิบติดาอฺ หน้า 28

............
อิหม่ามอัสสะยูฏีย์ ระบุว่า ไม่ปรากฏว่าท่านนบี และเหล่าเศาะหาบะฮ กล่าวเปล่งเสียงการเนียต อื่นจากการตักบีร และท่านได้อ้างอายะฮอัลกุรอ่านข้างต้นเพื่อบอกว่า รซูลุลลอฮ เป็นแบบอย่างที่ดี

قَالَ الْمُحَقِّقُ الْإِمَامُ ابْنُ الْهُمَامِ : قَالَ بَعْضُ الْحُفَّاظِ : لَمْ يَثْبُتْ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِطْرِيقٍ صَحِيحٍ ، وَلَا ضَعِيفٍ أَنَّهُ كَانَ - عَلَيْهِ الصَّلَاةُ وَالسَّلَامُ - يَقُولُ عِنْدَ الِافْتِتَاحِ : أُصَلِّي كَذَا ، وَلَا عَنْ أَحَدٍ مِنَ الصَّحَابَةِ ، وَالتَّابِعِينَ ، بَلِ الْمَنْقُولُ أَنَّهُ كَانَ - عَلَيْهِ الصَّلَاةُ وَالسَّلَامُ - إِذَا قَامَ إِلَى الصَّلَاةِ كَبَّرَ ، وَهَذِهِ بِدْعَةٌ

อัลมุหักกิกอัลอิหม่าม อิบนุลฮุมาม กล่าวว่า " ส่วนหนึ่งของบรรดานักท่องจำหะดิษ ได้กล่าวว่า "ไม่มีรายงานยืนยันจากนบีศอ็ลฯ ด้วยสายรายงานเศาะเฮียะ และไม่มีรายงานเฎาะอีฟ ว่า ท่านนบี ศอ็ลฯ กล่าวขณะเริ่มละหมาดว่า "อุศอ็ลลี เป็นต้น และไม่ปรากฏจากจากคนใดจากเศาะหาบะฮและตาบิอีน ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ถูกรายงานจากท่านนบี ศอ็ลฯคือ เมื่อ ท่านนบียืนขึ้นละหมาด ท่านก็กล่าวตักบีร และ การกระทำนี้ (หมายถึง กล่าวอุศอ็ลลี) คือ บิดอะฮ - ดู มิรกอตุล มะฟาเตียะ ชัรหมิชกาตอัลมะศอเบียะ 1/94

................

ไม่ปรากฏหะดิษ ไม่ว่าจะเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเฎาะอีฟ ว่า ท่านนบี ศอ็ลฯ เหลาะเศาะหาบะฮและตาบิอีนว่า "พวกเขาเริ่มละหมาดด้วยการ กล่าวอุศอ็ลลี" และการกล่าวอุศอ็ลลี คือบิดอะฮ
....................
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) กล่าวว่า

الْجَهْرُ بِالنِّيَّةِ لَا يَجِبُ وَلَا يُسْتَحَبُّ بِاتِّفَاقِ الْمُسْلِمِينَ ; بَلْ الْجَاهِرُ بِالنِّيَّةِ مُبْتَدِعٌ مُخَالِفٌ لِلشَّرِيعَةِ إذَا فَعَلَ ذَلِكَ مُعْتَقِدًا أَنَّهُ مِنْ الشَّرْعِ : فَهُوَ جَاهِلٌ ضَالٌّ يَسْتَحِقُّ التَّعْزِيرَ وَإِلَّا الْعُقُوبَةَ عَلَى ذَلِكَ إذَا أَصَرَّ عَلَى ذَلِكَ بَعْدَ تَعْرِيفِهِ وَالْبَيَانِ لَهُ لَا سِيَّمَا إذَا آذَى مَنْ إلَى جَانِبِهِ بِرَفْعِ صَوْتِهِ

การกล่าวการเนียตเสียงดัง ไม่วาญิบ และไม่ส่งเสริมให้กระทำ ด้วยมติเห็นฟ้องของ บรรดามุสลิม ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่กล่าวการเนียตดังๆ นั้น คือ ผู้ที่อุตริบิดอะฮ ขัดแย้งกับชะรีอัต เมื่อเขาปฏิบัติดังกล่าวนั้น โดยเชื่อว่า มันคือส่วนหนึ่งจากศาสนบัญญัติ เขาคือ คนที่โง่เขลา อีกทั้งลุ่มหลง สมควรจะพิจารณาลงโทษตามกฏหมาย หรือไม่ก็ลงโทษบนดังกล่าวนั้น เมื่อเขายังคงอยู่บนดังกล่าว (คือยังคงปฏิบัติอยู่) หลังจากที่ บอกให้เขารู้แล้วและอธิบาย แก่เขาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่อยู่ข้างๆเขา ด้วยการขึ้นเสียงดัง-ดูมัจญมัวะฟะตาวา 22/219
..................
บรรดานักวิชาการที่มีชื่อเสียง ต่างยืนยันว่า นบี ศอ็ลฯ ไม่ได้กล่าวคำเนียตหรือ อุศอ็ลลี ก่อนตักบีร แต่คุณ Thongchai Binmariam เอาหลักฐานเท็จว่า นบีศอ็ลฯ สอน ท่านฟาฏิมะฮ ให้กล่าวอุศอ็ลลี -นะอูซุบิลละฮ โปรนำหลักฐานมา หากท่านอยู่บนความจริง

والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม

1/2/59