อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาตรฐานทางศาสนาในการรับน้อง



มาตรฐานทางศาสนาในการรับน้อง
รับน้อง
เมื่อได้อ่านบทความต่อไปนี้การรับน้องอย่างภาพคงไม่เกิดกับนักศึกษามุสลิมอีก

มาตรฐานทางศาสนาแก่บรรดานักศึกษาในการรับน้องของสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการทำกิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมดังกล่าวต้องไม่มีความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของศาสนาอื่นมาเกี่ยวข้อง

2.ไม่เป็นประเพณีที่มีพื้นฐานจากความเชื่อของศาสนาอื่น

3. ไม่มีสิ่งต้องห้ามมาปะปน

4. ไม่มีการละเล่นที่เลยเถิดผิดคำสอนของศาสนา

5. ไม่มีการปะปนมั่วสุมระหว่างชายหญิง

ทั้งห้าข้อที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมจะต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเขา ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันหรือนอกสถาบันการศึกษาก็ตาม

والله ولي التوفيق والهداية




อิสลามมีคณะเดียวคือคณะที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและรสูล

ความหมายคณะเก่า-คณะใหม่(โกมตุวอ-โกมมุดอ)
อิสลามไม่มีคณะเก่า-คณะใหม่


คณะเก่า หมายถึง (ความหมายที่หนึ่ง ตามความเข้าใจของมุสลิมในเมืองไทย) มุสลิมที่ปฏิบัติศาสนาตามบรรพบุรุษ โดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่ปฏิบัติตามบรรพบุรุษนั้นจะถูกต้องตามหลักการศาสนาหรือไม่ก็ตาม


คณะเก่า (ความหมายที่สอง) หมายถึง มุสลิมในเมืองไทยที่ปฏิบัติศาสนาตามแนวทางของมัซฮับชาฟิอีย์

คณะใหม่ หมายถึง (ความหมายที่หนึ่ง ตามความเข้าใจของมุสลิมในเมืองไทย) มุสลิมที่ปฏิบัติตามสิ่งที่อยู่อัลกุรฺอาน และหะดีษของท่านรสูลุลลอฮฺ โดยไม่พิจารณาว่าการปฏิบัติตามสิ่งทั้งสองนั้นจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติมาแล้วในอดีตก็ตาม

 คณะใหม่ (ความหมายที่สอง) หมายถึง มุสลิมในเมืองไทยที่ปฏิบัติตามศาสนาโดยไม่ติดยึดอยู่กับมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมัซฮับชาฟิอีย์หรือมัซฮับอื่นๆ ก็ตาม

ดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างระหว่างคณะเก่ากับคณะใหม่ตามความเข้าใจของมุสลิมในเมืองไทย

อิสลามมีคณะเดียว
อิสลามมีคณะเดียวที่เชื่อฟังอัลลอฮ์และรสูล


 ส่วนหลักการของศาสนาที่แท้จริงแล้ว อิสลามไม่มีคณะใหม่หรือคณะเก่า และไม่คณะไหนทั้งสิ้น 

อิสลามมีคณะเดียว คือ คณะที่เชื่อฟังปฏิบัติอัลลอฮฺและรสูลเท่านั้น

ให้เราปฏิบัติสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ และละทิ้งในสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งห้าม และให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺกำชับใช้และละทิ้งสิ่งที่ท่านรสูลได้ห้ามเอาไว้ หากปฏิบัติตามสิ่งทั้งสองข้างต้นแล้ว เราจะตรงกับใครหรือไม่ตรงกับใคร หรือจะตรงกับมัซฮับไหน หรือไม่ตรงกับมัซฮับไหนก็ไม่เป็นไร ซึ่งนั่นไม่ใช่ประเด็น

ประเด็นอยู่ตรงที่เราเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรสูลหรือเปล่าเท่านั้นเอง
 พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า

وَأَطيعُوا اللَّهَ وَالرَّسولَ لَعَلَّكُم تُرحَمونَ ﴿١٣٢

 ความว่า "สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้า (จงเชื่อฟัง) รสูล เพื่อว่าสูเจ้าจะได้รับความเมตตา" (สูเราะฮฺอาลิอิมรอน : 132)

กรณีที่มุสลิมบ้านเราแบ่งแยกคณะเก่า-คณะใหม่
อิสลามต้องเป็นหนึ่งเดียว
ตัวอย่างที่เข้าใจกันทั่วไปว่าคณะเก่า และคณะใหม่ไม่ตรงกันตัวอย่าง เช่น

-คณะเก่ากินบุญบ้านคนตาย ส่วนคณะใหม่ไม่กินบุญบ้านคนตาย

- คณะเก่าจัดงานเมาลิดนบี ส่วนคณะใหม่ไม่จัดงานเมาลิดนบี

-คณะเก่าเศาะละวาตนบีหลังละหมาดฟัรฏู ส่วนคณะใหม่ไม่เศาะละวาตนบีหลังละหมาดฟัรฺฎุ

-คณะเก่าดุอาอฺกุนูตทุกครั้งที่ละหมาดศุบหฺ ส่วนคณะใหม่ไม่ดุอาอฺกุนูตในละหมาดศุบหฺ
 ฯลฯ

สิ่งที่ทำให้คณะทั้งสองแตกต่างกัน
อิสลามจะเป็นหนึ่งเดียวหากตามอัลกุรอานและอัลหะดิษ


 แต่ที่แน่ๆ สองคณะนี้ตามบทบัญญัติและตามคำสอนของศาสนา แล้วอะไรที่ทำให้สองคณะนี้ต่างกัน

คำตอบคือ หากความหมายของคณะเก่า หมายถึง การปฏิบัติตามบรรพบุรุษในอดีต เช่นนี้มีโอกาสมากที่ไม่ตรงกับคำสอนของศาสนา

เช่น หากบรรพบุรุษในอดีตจัดงานเมาลิดในแก่ท่านนบี มุสลิมในปัจจุบันก็ยังคงจัดงานเมาลิดให้แก่ท่านนบี เช่นนี้ถือว่าเราไม่ตามบทบัญญัติคำสอนของศาสนานั่นเอง

 ส่วนที่ทำให้ทั้งสองคณะแตกต่างกันนั้น เนื่องจากฝ่ายหนึ่งไม่ยึดหลักฐานที่มาจากอัลกุรฺอานหรือหะดีษของท่านนบี แน่นอน อย่างไรก็ไม่ตรงกันอยู่ดี เราจึงไม่พิจารณาว่าคณะไหนไม่ตรงกับคณะไหน

 ขอให้เราตรงกับสิ่งที่อยู่อัลกุรฺอาน หรือตรงกับหะดีษของท่านนบี ซึ่งหากไม่พบทั้งในอัลกุรฺอาน หรือในหะดีษของท่านนบี เราก็ต้องไปพิจารณาว่า มีการกระทำของบรรดาเศาะหาบะฮฺหรือเปล่า หรือบรรดานักวิชาการเขาว่าอย่างไร? ทำนองนี้เป็นต้น

ฉะนั้น สรุปได้ว่า อิสลามไม่มีคณะไหนทั้งสิ้น แต่อิสลามมีคณะเดียวคือ คณะที่เชื่อฟังอัลลอฮฺเชื่อฟังรสูลเท่านั้น แม้ว่าคณะใหม่หรือคณะเก่า (ตามที่เราเข้าใจกันนั้น) กระทำไม่ถูกหลักการของศาสนา ก็ถือว่ากระทำผิดหลักการด้วยกันทั้งสิ้น

والله ولي التوفيق والهداية


เลิกเรียกคณะเก่า-คณะใหม่ กันเถอะพี่น้องมุสลิมที่รักทั้งหลาย

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทัศนะของท่านอาจารย์อาลี เสือสมิง เกี่ยวกับวะฮาบีย์

อาจารย์อาลี(สันติ) เสือสมิง

อาจารย์อาลี(สันติ) เสือสมิง  ท่านผู้นี้ เป็นคนบ้านป่า ซอยพัฒนาการ 20 หรือซอยสวนหลวง ท่านจบการศึกษาคณะอัลหะดิษ จากเมืองไคโร ประเทศอียิปต์ ท่านสังกัดอยู่ในมัซฮับชาฟีอีเต็มตัว ท่านสนับสนุนการจัดงานเมาลิดนบี แต่ท่านก็ไม่ได้มีอคติกับผู้ที่ถูกเรียกว่า "วะฮาบีย์" เหมือนอย่างมุสลิมบ้านเราบางคน ซึ่งท่านอาจารย์อาลี เสือสมิง ได้มีทัศนะเกี่ยวกับ "วะฮาบีย์" ที่มุสลิมบ้านเราควรศึกษาทำความเข้าใจให้ท่องแท้ ดังนี้


ที่มาและความหมาย "วะฮาบีย์"

วะฮฺฮาบียะฮฺ (وَهَّابِيَّة)  เป็นกลุ่มสำนักทางความคิดในศาสนา
อิสลามที่มีความนิยมในอุดมคติแบบชาวสะลัฟ  มีเป้าหมายในการชำระหลักศรัทธาในเรื่องเอกานุภาพและหลักชะรีอะฮฺให้บริสุทธิ์จากสิ่งเจือปนทั้งหลาย  มีมุฮำหมัด  อิบนุ  อับดิลวะฮฺฮ๊าบ  เรียกร้องไปสู่แนวทางดังกล่าว  โดยอ้างถึงหลักคำสอนของอิหม่ามอะฮฺหมัด  อิบนุ  ฮัมบัล  (ร.ฮ.)  และอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  เป็นสำคัญ  มีมุฮำหมัด  อิบนุ  สุอูด  เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแพร่หลายสำนักความคิดนี้ในคาบสมุทรอาหรับ  แต่กลุ่มนี้มักเรียกตัวเอง  อัซซะละฟียะฮฺ  (السَّلَفِيَّة)  คนทั่วไปเรียกคนที่นิยมในแนวทางนี้ว่า  วะฮฺฮาบีย์  (وَهَّابِيّ)  หรือ  (سَلَفِيّ)  สะละฟีย์


ในปัจจุบันผู้ที่นิยมในแนวทางนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลกอิสลามและมีบทบาทในการฟื้นฟูหลักคำสอนที่เน้นตัวบทเป็นสำคัญทำให้มีการตื่นตัวในแวดวงวิชาการขนานใหญ่  รวมถึงในบ้านเราเช่นกันซึ่งแนวความคิดของคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเข้ามาจากอินโดนีเซีย  และนักศึกษาจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางโดยตรงและมีการจัดตั้งกลุ่มของตนซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มมีทั้งในรูปมูลนิธิ,  สมาคม  และกลุ่มชมรม  มีนักวิชาการในสังกัดตลอดจนมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในการเผยแผ่ความคิด  และแนวทางของกลุ่มอย่างชัดเจน  อีกทั้งยังมีเครือข่ายและสายสัมพันธ์กับกลุ่มองค์กรหลักในกลุ่มประเทศอาหรับอีกด้วย

วะฮาบีย์นั้นจริง ๆ แล้วคือผู้ที่สังกัดมัซฮับฮัมบะลีย์ และอะฮฺลุลหะดีษ ถือตามแนวทางของสะลัฟในเรื่องหลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ) พวกเขาเรียกตัวเองว่า “อัสสะละฟียะฮฺ” มิใช่ วะฮาบีย์ เพราะคำว่าวะฮาบีย์เป็นการใช้คำเรียกขานในแง่ลบและเป็นการโจมตี

หลักอะกีดะฮฺตามแนวทางอะฮฺลิสซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺนั่นแหล่ะ  อาจจะมีประเด็นรายละเอียดบางเรื่องเท่านั้นที่มีทัศนะและความเห็นต่างกัน  เช่นเรื่องเกี่ยวกับซีฟาต  การตีความ  (ตะอฺวีล)  เป็นต้น  ตามความแตกต่างระหว่างสะลัฟกับค่อลัฟ  นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องข้อปลีกย่อยในการปฏิบัติศาสนกิจ  ซึ่งก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบของสำนักความคิดหรือมัซฮับทั้ง  4  นั่นแหล่ะ  ไม่ได้พิสดารหรือพิลึกพิลั่นแต่อย่างใด

ผู้ที่ถูกเรียกว่า"วะฮาบีย์" หรือคณะใหม่ หรือโกมมุดอ
วะฮาบีย์หรือคณะใหม่ที่มุสลิมบ้านเราควรทำความเข้าใจ



คำว่า อัส-สุนนะฮฺ มีความหมายตามรากศัพท์ว่าแนวทาง ส่วนความหมายตามอิศฏิลาฮียฺ หมายถึง แนวทางของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ทั้งที่เป็นคำพูด การกระทำ และการรับรองของท่าน

ส่วนคำว่า อัล-ญะมาอะฮฺ หมายถึง หมู่คณะหรือกลุ่มชน อันหมายถึงบรรดาศ่อฮาบะฮฺและชนในยุคสะลัฟที่ดำเนินตามแนวทางของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ดังมีปรากฏในอัล-ฮะดีษว่า  (مَاأَنَاعَلَيْهِ وَأَصْحَابِيْ)  “สิ่งซึ่งฉัน (นบี) และเหล่าศ่อฮาบะฮฺของฉันดำรงอยู่บนสิ่งนั้น”

คำ 2 คำนี้คือคำว่า อัส-สุนนะฮฺ กับ อัล-ญะมาอะฮฺ เวลากล่าวแยกกันโดดๆ ก็จะมีนัยและความหมายรวมถึงคำอีกคำหนึ่ง แต่ถ้านำมากล่าวรวมกันก็จะมีนัยและความหมายโดยเฉพาะ เรียกว่า เมื่อรวมกันก็จะแยก เมื่อแยกกันก็จะรวม ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของท่านนบี เรียกว่า อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ โดยเรียกสั้นๆว่า อะฮฺลุสสุนนะฮฺ ก็ได้ หรือ อะฮฺลุ้ลญะมาอะฮฺก็ได้ หรือจะเรียกยาวอย่างที่ว่ามาก็ได้ คือ กลุ่มชนเดียวกัน

ส่วนคณะใหม่กับคณะเก่านั้นไม่มีนิยามตามหลักวิชาการระบุเอาไว้และไม่มีหลักฐานให้เรายึดคณะหนึ่งคณะใดไม่ว่าจะเป็นคณะเก่าหรือคณะใหม่ เป็นเพียงชื่อเรียกที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งในทัศนะความเห็นของมุสลิมในภูมิภาคนี้ซึ่งหมายถึงชาวมลายูโดยส่วนใหญ่ เรียกกลุ่มที่ยึดแนวทางในมัสฮับ อัช-ชาฟิอีย์ว่า โกมตุวอ คือ กลุ่มหัวเก่าหรือคณะเก่า และเรียกพวกที่ไม่ยึดมัสฮับเป็นหลักว่าพวกโกมมุดอ คือ คณะใหม่

ซึ่งทั้งสองกลุ่มก็ถือเป็นอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นคำว่าคณะใหม่ คณะเก่าจึงเป็นเพียงการเรียกขานคนที่มีความเห็นและการปฏิบัติในข้อปลีกย่อยไม่เหมือนกันตามประสาคนที่ชอบแบ่งพรรคแบ่งพวกหรือตะอัศศุบนั่นเอง



การแต่งงานกับวะฮาบีย์
หากจะแต่งงานกับคนวะฮะบีย์ต้องให้เขาเข้ากะลีมะฮฺซะฮาดะฮฺใหม่ เพราะหลักอะกีดะฮฺของเขาไม่ถูกต้อง ดูจะรุนแรงเกินไป  อย่ากระนั้นเลย! คิดเอาง่ายๆ ว่า ถ้าวะฮาบีย์ผิดเพี้ยนถึงขั้นต้องเข้ากะลิมะฮฺใหม่ ก็แสดงว่าก่อนเข้ากะลีมะฮฺใหม่เข้ามิใช่มุสลิมกระนั้นหรือ?  ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง รัฐบาลและองค์กรศาสนาในประเทศซาอุดิอาระเบีย มหาวิทยาลัยมะดีนะฮฺและมหาวิทยาลัยคิงส์ อับดุลอะซีซ หรือมหาวิทยาลัยอิหม่าม ที่ริยาฎ หรือมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ ที่นครมักกะฮฺ ไม่เป็นกุฟร์กันไปหมดหรือ?

การละหมาดตามวะฮาบีย์
อาจารย์อาลี เสือสมิง กับ อาจารย์ ดร.อับดุลลอฮฺ หนุ่มสุข


การละหมาดตามหลังวะฮาบีย์นั้นถือว่าใช้ได้ (เซาะฮฺ) ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ถ้าการละหมาดตามหลังวะฮาบีย์ใช้ไม่ได้ คนที่ละหมาด ณ มัสญิดหะรอมทั้งสองแห่งจะเป็นเช่นไร? และนักเรียนไทยที่ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยอิสลามียะฮฺ นครม่าดีนะฮฺเป็นเวลาหลายปี ละหมาดของพวกเขาจะเป็นอย่างไร? 

วะฮาบีย์นำละหมาดอยู่ทีมัสยิดหะรอม นครมักกะฮฺ และนครม่าดีนะฮฺ วะฮาบีย์ดูแลมัสยิดทั้งสองและดำเนินการในเรื่องการประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺ แถมยังพิมพ์อัลกุรอานแจกไปทั่วโลก มิหนำซ้ำนักเรียนมักกะฮฺนักเรียนมะดีนะฮฺที่จบมาเป็นนักวิชาการในบ้านเราก็มีพะเรอพะรึก อ.อรุณ บุญชม อ.ชะรีฟ ศรีเจริญ อ.ยะฮฺยา ลาตีฟี (ร.ฮ.) อ.ทวี เด็ดดวง อ.กอเซ็ม มั่นคง อ.ดร.อับดุลลอฮฺ หนุ่มสุข ฯลฯ จะมีสถานภาพเช่นไรเล่า?  เพราะท่านเหล่านี้ไปเรียนเป็นลูกศิษย์วะฮาบีย์ที่มหาวิทยาลัย อัล-อัสลามียะฮฺ นครม่าดีนะฮฺ ทั้งน้าน...  หากจะบอกว่า ท่านเหล่านี้มิใช่วะฮาบีย์ มันก็แน่อยู่แล้ว แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า ถ้าวะฮาบีย์ผิดเพี้ยนสุดกู่ถึงขั้นเป็นกุฟรฺ ต้องเข้ากะลิมะฮฺใหม่ แล้วไปเรียนกับเขาได้อย่างไร?

والله أعلم بالصواب

ตรวจสอบจากเว็บของท่านอาจารย์อาลี  เสือสมิง ได้ คลิก 1 ,  หรืิอ 3





อ.อาลี เสือสมิง วาทกรรม "วะฮาบีย์" และ"ชีอะฮ์"

อาจารย์อาลี เสือสมิง

อาจารย์อาลี(สันติ) เสือสมิง  ท่านสังกัดอยู่ในมัซฮับชาฟีอีท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับกลุ่ม"ชีอะฮ์ การเปิดเชิกรุกและภัยคุกคามของของลัทธิชีอะฮ์ในบ้านเรา และการรับมือของวะอาบีย์กับภัยคุกคามของลัทธิชีอะฮ์เหล่านั้น ดังนี้
ความหมายและประเภทของกลุ่มชีอะฮ์
กลุ่มชีอะฮ์ในประเทศไทย
อัล-ชีอะฮ์ ตามหลักภาษาหมายถึงบรรดาผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและปฏิบัติตามบุคคลนั้นๆ และทุกๆ กลุ่มคนที่รวมกันบนเรื่องราวของพวกเขาเรียกว่า “ชีอะฮฺ” (ตะฮฺซีบฺ อัล-ลุเฆาะฮฺ ; อัล-อัซฮะรียฺ 3/61)

ชีอะฮฺของท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีสุฟยาน (ร.ฎ.) ก็หมายถึงบรรดาผู้ที่เห็นชอบและเข้าร่วมเป็นฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) และให้การสนับสนุนต่อท่าน เป็นต้น


คำว่า ชีอะฮฺ ที่ปรากฏในข้อตกลงอัต-ตะหฺกีมจึงหมายถึง พรรคพวก ผู้ให้การสนับสนุนและฝ่ายที่ร่วมด้วย ซึ่งจะเห็นว่า ฝ่ายของท่านอะลี (ร.ฎ.) ก็เรียกว่า ชีอะฮฺ ฝ่ายของท่านมุอาวียะฮฺ (ร.ฎ.) ก็เรียกว่าชีอะฮฺ ไม่ได้เจาะจงว่าเฉพาะผู้ที่ให้การสนับสนุนอะลี (ร.ฎ.) เพียงแต่ฝ่ายเดียวที่ถูกเรียกว่า ชีอะฮฺ เพราะคำว่าชีอะฮฺ ตามหลักภาษาก็คือ พรรคพวกที่เข้าร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั่นเอง

เป่าหมายอายะตุลลอฮ์ โคมัยนีย์ แห่งอิหร่าน คือชาวซุนนีย์สู่แนวทางชีอะฮ์

ต้องแยกประเภทของกลุ่มชีอะฮฺ  ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม  ชีอะฮฺบางกลุ่มมีหลักการใกล้เคียงกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺ  เช่น  กลุ่มซัยดียะฮฺ  ในขณะที่บางกลุ่มเป็นภัยอย่างชัดเจน  เช่น  ชีอะฮฺบาฏินียะฮฺ  เป็นต้น  ส่วนชีอะฮฺที่แพร่หลายในบ้านเราขณะนี้  คือ  ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ  อิซฺนาอะชะรียะฮฺ  (อิหม่าม  12)  หรือ  ชีอะฮฺญะอฺฟะรียะฮฺ  ชีอะฮฺกลุ่มนี้มีหลักความเชื่ออยู่หลายประเด็นที่แตกต่างจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ

ส่วนประเด็นข้อนิติศาสตร์นั้นบางส่วนก็สอดคล้องกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺในบางมัซฮับ  ในขณะที่มีอีกหลายประเด็นที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง  อันตรายที่ดูแล้วเป็นภัยร้ายแรงสำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺของชีอะฮฺกลุ่มนี้ก็คือ  ท่าทีที่มีต่อเหล่าซอฮาบะฮฺ  ซึ่งพวกชีอะฮฺมักจะกล่าวโจมตีและใส่ไคล้  เช่น  ค่อลีฟะฮฺทั้ง  3  ท่าน,  ท่านหญิงอาอิชะฮฺ  (ร.ฎ.)  และท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ  (ร.ฎ.)  เป็นต้น  รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมาก  เอาเป็นว่า  สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็คือ  แนวทางของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺ  ถ้าเรามั่นคงในสิ่งนี้แล้วเราก็จะสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก  อะไรผิด


กลุ่มชีอะฮ์และภัยคุกคามต่อมุสลิมในบ้านเรา
นายซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ผู้นำลัทธิชีอะฮ์อิมามสิบสองประจำประเทศไทย


ชีอะฮฺในบ้านเรามีอยู่หลายกลุ่มแต่กลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอย่างชัดเจนในการเผยแพร่ทัศนะความคิดของตนก็คือ  กลุ่มที่เรียกว่า  อิมามียะฮฺ  อิซฺนา  อะชะรียะฮฺ  (อิหม่าม  12)  หรืออีกชื่อหนึ่งก็คืออัลญะอฺฟะรียะฮฺ  กลุ่มนี้สังกัดและได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทยโดยมีศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านเป็นองค์กรขับเคลื่อนในด้านการเขียน  แปลและผลิตตำราในแนวชีอะฮฺ  นิตยสาร  “นิสาวาไรตี้”  ก็มีบรรณาธิการที่เป็นคนในสังกัดชีอะฮฺกลุ่มนี้

นอกจากนี้ยังมีวารสารสาส์นอิสลาม  หรือ  นิตยสารเอกภาพ  ตลอดจนสำนักพิมพ์  14  พับลิเคชั่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการผลิตหนังสือในแนวชีอะฮฺ  ในเดือนร่อมาฎอนก็จะมีรายการของชีอะฮฺออกอากาศอีกด้วย  แต่เดิมนับแต่สมัยโบราณชีอะฮฺมามียะฮฺจะไม่มีปัญหากับชาวซุนนีย์ในประเทศไทย  ตราบเมื่อมีการปฏิวัติอิสลามโดยอายะตุลลอฮฺ  โคมัยนี่ในอิหร่าน  ท่าทีของชีอะฮฺก็เปลี่ยนไปสู่การเผยแพร่และเรียกร้องเป้าหมายซึ่งก็คือ  ชาวซุนนีย์สู่แนวทางของชีอะฮฺ  ปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างที่รับรู้กันอยู่

การรับมือของวะฮาบีต่อภัยคุกคามของลัทธิชีอะฮ์
กลุ่มที่รับรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามต่อซุนนีย์ของชีอะฮ์ คือวะฮาบีย์


ซึ่งนักวิชาการและผู้รู้ในประเทศไทยยุคก่อนมิค่อยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับชีอะฮฺมากนักและยังมองไม่เห็นภัยคุกคามในด้านหลักความเชื่อที่ฝ่ายชีอะฮฺได้กระทำต่อพี่น้องซุนนีย์  แต่กลับไปมองว่าภัยคุกคามอยู่ที่กลุ่มวะฮาบีย์ที่เผยแพร่เข้ามาและเกิดการปะทะกันทางความคิดระหว่างกลุ่มคณะใหม่-คณะเก่าและนำไปสู่ความแตกแยกในระหว่างพี่น้องมุสลิมซุนนีย์ด้วยกัน

เมื่อกาลเวลาผ่านไป  การปะทะกันทางความคิดของกลุ่มคณะทั้งสองก็ถึงจุดอิ่มตัวในระดับหนึ่ง  ถึงแม้ว่าจะมีแรงกระเพื่อมอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากและไม่รุนแรงเหมือนก่อน  เพราะไป ๆ มา ๆ พลวัตรของกลุ่มวะฮาบีย์ก็ลดลงและไหลย้อนไปเล่นงานกลุ่มของตัวเองจนแตกเป็นค่ายเป็นสถาบันต่าง ๆ อย่างที่รับรู้กัน  แต่พลวัตรของกลุ่มชีอะฮฺอิมามียะฮฺยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยแพร่ขยายเข้าสู่วงการของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและนักทำกิจกรรมที่นิยมชมชอบต่ออายะตุลลอฮฺโคมัยนี่และรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน


มุสลิมซุนนีย์หลายคนได้กลายเป็นชีอะฮฺและแข็งขันในการขับเคลื่อนแนวความคิดและความเชื่อของชีอะฮฺเป็นการเปิดเชิงรุกในอีกขั้นหนึ่ง  อย่างไรก็ตามกลุ่มที่รับรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามต่อรั้วซุนนีย์แห่งสยาม  กลุ่มแรกก็คือ  นักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่าเป็นพวกวะฮาบีย์นั่นเอง  ในขณะที่นักวิชาการซุนนีย์แบบเดิม  (คณะเก่า)  ก็ยังไม่ใส่ใจต่อภัยคุกคามนี้ต่อไป  จะมีบ้างก็ในช่วงหลัง ๆ มานี้ที่เริ่มตอบโต้และป้องปกรั้วซุนนีย์แห่งสยามนั้นแต่ก็ยังไม่เข้มข้นและจริงจังเท่ากับกลุ่มนักวิชาการที่ถูกเรียกขานว่า  วะฮาบีย์


ความจริงถ้ากลุ่มชีอะฮฺไม่ล้ำเส้นและเปิดเชิงรุกอย่างที่กระทำอยู่ในขณะนี้  มุสลิมซุนนีย์ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมโดยไม่มีความรู้อันใดเกี่ยวกับชีอะฮฺมากนัก  เรียกว่า  ต่างคนต่างอยู่  ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน  แต่บัดนี้มันเลยจุดนั้นหรือเรียกว่ามันล้ำเส้นไปแล้ว  การปะทะจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายซุนนีย์ในบ้านเราจะเป็นฝ่ายตั้งรับเสียมากกว่า  และเผลอ ๆ จะเพลี่ยงพล้ำไปเสียด้วยซ้ำ


กลุ่มที่ถูกเรียกขานว่า  วะฮาบีย์  โดยนักวิชาการแกนนำของกลุ่มคือผู้ที่รับมือกับภัยคุกคามดังกล่าวได้ดีที่สุดในขณะนี้  อย่างน้อยพวกเขาก็เป็นผู้จุดประกายและกระตุกให้ผู้คนที่ไม่ค่อยจะรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตื่นตัว  และเริ่มสนใจว่าอะไรเป็นอะไร  นี่คือคุณูปการที่ต้องยอมรับกัน  ส่วนอะไรจะเลวร้ายกว่ากันระหว่างกลุ่มทั้งสอง  ผมคงตอบไม่ได้  เพราะผมมิใช่ตุลาการที่จะชำระคดีความว่า  ใครเลว  ใครชั่ว  แต่สิ่งที่ผมรับรู้อยู่ทุกขณะจิตก็คือ  ผมรักในแนวทางแห่งอะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺ  และผมก็รับไม่ได้กับการล้ำเส้นของกลุ่มชีอะฮฺหรือกลุ่มใด ๆ ก็ตาม


เมื่อมีการล้ำเส้นก็ต้องมีการปัดป้องและรักษาพื้นที่ของเราเอาไว้ตามสิทธิอันชอบธรรม  บางทีคนที่เลวที่สุดอาจจะไม่ใช่ใครเลย  นอกจากคนที่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายสิทธิของตนโดยไม่คิดจะปกป้องและรักษามันไว้  ทั้ง ๆ ที่สามารถกระทำได้  และอีกคนหนึ่งที่ร้ายไม่แพ้กันก็คือ  คนที่ชอบล้ำเส้นและไม่รู้ตำแหน่งที่เหมาะควรของตนว่าควรอยู่  ณ  ตรงจุดไหน  สองคนนี่แหล่ะที่มักเป็นต้นสายปลายเหตุของความเลวร้ายในทุกกรณี




ตรวจสอบทางเว็บไซต์ของอาจารย์อาลี เสือสมิงได้ คลิก 1 , 2



วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วาทกรรมอดีตจุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับ"วะฮาบีย์"



นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ซึ่งเป็น อดีตจุฬาราชมนตรี  ได้กล่าวไว้อย่างไรเกี่ยวกับ “ วะฮาบีย์” : 
นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ อดีตจุฬาราชมนตรี

“ แต่เดิมในสังคมไทยนี้ เนื่องจากข้อจำกัดของนักวิชาการมุสลิมยังมีอยู่น้อยหรือ มีอยู่บ้าง ส่วนใหญ๋ก็มักจะไม่มีความถนัดในการใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ อิสลามให้สังคมได้เข้าใจ ซึ่งด้วยข้อจำกัดความเหล่านั้น” วาทกรรม” อันเกี่ยวข้องกับอิสลาม จึงถูกถ่ายทอดจากนักวิชาการชาวไทยโดยการแปลจากสื่อตะวันตก องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอิสลามที่หล่อหลอมขึ้นในสังคมไทย จึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนมีให้เห็นอยู่เสมอๆเช่นกัน

ในบรรดาวาทกรรมเกี่ยวกับอิสลามที่มีความเข้าใจผิดกันอยู่เสมอๆนั้น คำว่า “ วะฮาบีย์” ดูเหมือนจะเป็นคำหนึ่ง ซึ่งในระยะหลังนี้มีการกล่าวถึงกันบ่อยครั้ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็เข้าใจกันว่า “ วะฮาบีย์” ก็คือลัทธิความเชื่อที่เผยแพร่โดยมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบ ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ซาอุดี แต่จากข้อมูลที่นำเสนอจากนักวิชาการสองท่าน คือ ซุฟอัมอุษมาน และอุษมานอิดริส ในหนังสือเล่มนี้โดยได้นำเสนอในรูปแบบงานศึกษาค้นคว้าทางวิชาการและมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูลได้ลุ่มลึกเป็นที่น่าพอใจยิ่ง องค์ความรู้ใหม่ต่อความเข้าใจในเรื่อง “ วะฮาบีย์” นี้จะมีผลต่อความเข้าใจผิดที่มีมาช้านานและทำให้ความเข้าใจในเรื่องนี้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ในทัศนะของข้าพเจ้าจึงขอชื่นชมนักวิชาการทั้งสองนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะผลงานชิ้นนี้ไม่เพียวขยายองค์ความรู้ทางด้านอิสลามศึกษาให้กวางขวางขึ้นเท่านั้น แต่คือการให้ข้อเท็จจริง และให้ความยุติธรรมกับนักปฏิรูปศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 20 อย่างมุฮัมมัดอิบนุอับดุลวะฮาบ ท่านนี้ด้วย

อนึ่งในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ มีเหตุการณ์หลายอย่างที่สื่อไปในทางของการแสดงความรุนแรง ทั้งนี้สำแดงออกมาในนามของอิสลามและนามของขบวนการต่างๆเหล่านี้ ก็มักผูกโยงกับคำหรือวาทกรรมในทางศาสนา เช่น ญิฮาด ,เตาฮีด , ฮิซบุลลอฮฺ ,ยามาอะห์อิสลามียะห์ เป็นต้น ซึ่งขบวนการเหล่านี้มักสำแดงไปในทางของการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข่าวสารในเรื่องนี้ได้รับการประโคมโดยสื่อตะวันตก ก็ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลามถูกวาดให้เป็นศาสนา แห่งความรุนแรงและไร้เหตุผล ซึ่งถิอเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าเห็นว่าสถานการณ์อันวิกฤตต่ออิสลามในเวลานี้ จำจะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากหลายฝ่ายช่วยกันชี้แจงทำความเข้าใจ อย่างน้อยในชั้นต้นนี้ต่อมุสลิมเองจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ประทานให้มนุษยชาติเพื่อสร้างสันติภาพและความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในโลก เป็นศาสนาที่เพียบพร้อมด้วยเหตุผล ฉะนั้นพฤติกรรมใดๆก็ตามที่สื่อแสดงไปในทางความรุนแรง นั้นมุสลิมจะต้องช่วยกันหยุดยั้งและยับยั้ง

ในอีกทางหนึ่งจะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่บุคคลทั่วไปให้เห็นถึงเจตนารมณ์และอุดมการณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แก้ไขการบิดบือน ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในหมู่ชนเหล่านี้ให้เข้าใจถูกต้องซึ่งในบรรดาหนังสือต่างๆที่พิมพ์เผยแพร่อยู่ในเวลานี้ หนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” เล่มนี้ได้ทำหน้าที่ได้อย่างดียิ่งอย่างน้อยที่สุดผู้อ่านจะเข้าใจคำว่า “ วะฮาบีย์” ชัดเจนยิ่งขึ้น


สุดท้ายนี้ขอส่งความปรารถนาดีและขอให้กำลังใจนักวิชาการทุกท่านที่ทำงานอุทิศเวลา กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา ทำงานรับใช้อิสลามทุกคน “

( นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์)
จุฬาราชมนตรี

( จากหนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” )
ภาพหนังสือขบวนการวะฮาบีย์ฯ

“ หนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” ซึ่ง เรียบเรียงโดย ซุฟอัม อุษมาน, อุษมาน อิดรีส โดยมีนักวิชาการด้านศาสนาอิสลามคือ ผศ.ดร. อิสมาแอล อาลี, ผศ.ดร. อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข และ ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เป็นบรรณาธิการที่ปรึกษา นับเป็นงานที่มีความสำคัญร่วมสมัยและเป็นงานในรูปหนังสือเล่มแรกที่มีความหมายจะอธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่าขบวนการวะฮาบีย์ ซึ่งในประวัติศาสตร์ระยะใกล้โดยเฉพาะ หลังเหตุการณ์ณ์ 9/11 ถูกนำเอามาเชื่อมโยงกับเรื่องของความสุดโต่ง รุนแรง และถูกอ้างว่าอยู่เบื้องหลังแนวความคิดดังกล่าว ความคิดนี้ถูกจุดประกายและขยายตัวออกไปทั่วโลกท่ามกลางความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ศาสนา และการแย่งชิงทรัพย์ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง โลกมุสลิมต้องตกอยู่ภายใต้การตั้งรับ การเอารัดเอาเปรียบการล่าอาณานิคมยุคใหม่ การอ้างความชอบธรรม ในการรุกรานด้วยคำว่า ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรี


หนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” ถูกนำเสนอด้วยการจักลำดับขั้นตอน ตั้งแต่ที่มา คำสอน การบิดเบือน และกระแสวะฮาบีย์ในปัจจุบัน รวมทั้งการนำเอาคำสอนที่แท้จริงของอิสลามที่ต่อต้านการใช้ความรุนแรง การคร่าชีวิตมนุษย์มากล่าวถึงได้อย่างครอบคลุมเป็นวิทยาศาสตร์


หัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้นอกจากจะอยู่ที่การเปิดเผยคำสอนที่แท้จริงของ มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบแล้ว ยังอยู่ที่การอธิบายถึงแนวทางของ มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบ กับมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่คนร่วมสังคมและต่อความคิดของผู้คนที่มีต่อสถานการณ์ความรุนแรงในที่ต่างๆของโลกรวมทั้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยว่ามิได้มาจากกระแสที่ถูกเรียกว่า วะฮาบีย์แต่อย่างใด


หนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จำนำเอาความสันติสุขและการอยู่ร่วมกันโดยสันติมาสู่สังคมไทย หลังจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยรวมอยู่ในหนทางแห่งความร่มเย็นเป็นสุข และมีเอกภาพท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมต่อไปชั่วนิรันดร์สมัย “

ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่น

ดร.จรัญ มะลูลีม

ในนาม สนพ.อิสลามิคอะเคเดมี

( จากหนังสือ “ ขบวนการวะฮาบีย์ นิยามและความหมาย” )

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เราได้ตระเตรียมสิ่งใดไว้บ้างสำหรับพรุ่งนี้


เตรียมพร้อมเพื่อพรุ่งนี้


จากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัลหัซรฺ (Al-Hashr)59:18-20 พระองค์อัลลอฮ์กล่าวว่า
18. โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่าอะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮฺ) และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ

19. และพวกเจ้าอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮมิฉะนั้นอัลลอฮจะทรงทำให้พวกเขาลืมตัวของพวกเขาเองชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน

20. บรรดาชาวนรกกับบรรดาชาวสวนสวรรค์นั้นไม่เหมือนกันดอก บรรดาชาวสวนสวรรค์พวกเขาเป็นผู้ได้รับความสำเร็จ

นั้น คือชาวนรกอยู่ในนรกขั้นต่ำสุด ส่วนชาวสวรรค์อยู่ในสวรรค์ชั้นสูงสุด จะเท่าเทียมกันได้อย่างไร ชาวสวรรค์เป็นผู้ประสบชัยชนะ ส่วนชาวนรกนั้นเป็นผู้ขาดทุน

ในอิสลาม...ภูติผีปิศาล...คืออะไร?




..อิสลามเชื่อในเรื่องของ ญิน และ ชัยฏอน ส่วนมุสลิมจะไม่เรียกญินหรือชัยฏอนว่าเป็นพวกภูตผีปีศาจ....
ผีในอิสลาม

ตามหลักการอิสลามนั้นไม่มีเรื่องของภูตผีหรือวิญญาณ
เมื่อตายแล้ว วิญญาณออกจากร่าง จะถูกเก็บเอาไว้ที่ โลกอะลัมบัรฺซัค คือโลกที่อยู่ระหว่างโลกดุนยา(โลก ปัจจุบัน) กับโลกอาคิเราะฮฺ (โลกแห่งการพิพากษา)
ซึ่งเป็นโลกที่เก็บวิญญาณของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วนั่นเอง

ส่วนโลกอะลัมบัรฺซัคนั้นไม่ถูกระบุว่ามีลักษณะอย่างไร? อยู่ที่ไหน?
สภาพภายในโลกอะลัมบัรฺซัคเป็นเช่นไร? นั้นไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะไม่มีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน
หรือหะดีษที่กล่าวถึงสิ่งข้างต้น อัลลอฮุอะลัม (พระเจ้าผู้ทรงรู้ทุกอย่างยิ่ง)

กล่าวคือเป็นเรื่องสิ่งพ้นญาณวิสัยที่มนุษย์จะจิตนาการขึ้นเองได้
เราจะรู้ได้ต่อเมื่อ อัล-กุรฺอานระบุไว้
หรือท่านรอซูล กล่าวเอาไว้เท่านั้นนั่นเอง

แต่ที่เห็นเล่านั้น คือมารร้าย ชื่อว่า ญิน และ ชัยฏอน
เป็นผู้ที่ไม่เคารพเชื่อฝั่งคำสั่งของพระเจ้า และต้องการล่อลวง
บรรดาลูกหลานอาดัมให้หลุดจากแนวทางของศาสนา

ไม่ว่าจะเรื่อง ยุยงเรื่องความโกรธ ขาดความอดทน เมื่อโกรธเขาจะมายุให้เราเอาคืนแล้วทะเลาะกัน
กระซิบกระซาบในหัวใจให้ออกห่าง ล่อลวงบรรดาผู้คนที่ศรัทธาอ่อนแอ
แต่สิ่งที่เหล่านี้กลัว คือบรรดามุมินฮฺ (บรรดาผู้ศรัทธาและปฎิบัติตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง)

ญินและชัยฏอนเขามีการคงอยู่ แค่วันสิ้นโลกเท่านั้น
ดังนั้นญินและชัยฏอนจะพยายามทุกวิถีทางให้มนุษย์หลงตามมัน
โดย 1 ในวิธีการนั้น คือ ออกมากลั่นแกล้งแปลงร่าง ต่างๆให้คนหวาดกลัว จนความศรัทธาสั่นคลอน
แล้วหันไปพึ่งพิงของศักดิ์สิทธิ ที่ไม่มีอยู่ในหลักการอิสลาม
เพื่อที่คนเหล่านั้นจะได้ไปพึ่งสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า

ทั้ง ญิน และ ชัยฎอนนี้ ไม่สามารถมีฤทธิ์และอำนาจ ฆ่ามนุษย์ได้
มีที่อยู่อาศัยบริเวณที่รกร้าง ซากปรักหักพัง สถานที่สกปรกต่างๆ บริเวณที่โล่ ตามป่าเขา
รวมถึงห้องน้ำ และสถานที่ ที่มีรูปปั้นทั้งหลาย

ดังนั้น มุสลิมจะมีวิธีป้องกันเหล่ามารร้ายอยู่แล้วด้วยการขอความคุ้มครองต่อพระเจ้า
ให้พ้นจากชัยฏอนมารร้าย ก่อนทุกครั้งไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ

ไม่ว่าจะก่อนนอน ก่อนทานข้าว หรือเข้าไปในสถานที่ต่างๆ
ก่อนเข้าบ้าน /ปิดบ้าน ฯลฯ
والله أعلم

การขอดุอาอ์ให้คนต่างศาสนิก(กาเฟร)ที่มีชีวิตอยู่ เสียชีวิตและการละหมาดให้



การขอดุอาอ์ให้คนต่างศาสนิกนั้นมีหุก่มดั่งต่อไปนี้
หุก่มการขอดุอาอ์ให้คนกาเฟร


กรณีที่หนึ่ง คนต่างศาสนิกขณะยังมีชีวิตอยู่
มุสลิมสามารถขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกได้ เช่น ขอดุอาอ์ให้เขาเข้ารับอิสลาม, ขอให้เขามีความสุข, ขอให้เขามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หรือแม้กระทั่งขออภัยโทษให้แก่คนต่างศาสนิก ดั่งที่ท่านนบีเคยขอดุอาอ์ให้แก่บุคคลที่ทำร้ายนบีจนเลือดออกที่ศีรษะขณะเดินทางไปเผยแผ่อิสลามที่เมืองฏออิฟว่า

اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِقَوْمِي فَإِنَّهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ


"โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่กลุ่มชนของฉันด้วยเถิด อันที่จริงพวกเขาเป็นผู้ไม่รู้" 
(หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

อนึ่ง กรณีข้างต้นเป็นการขอแบบส่วนตัว ไม่ใช่ขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกกันเป็นญะมาอะฮฺ (อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน) หรือขอในหลังละหมาดฟัรฺฎุ หรือหลังละหมาดสุนนะฮฺต่างๆ หรือขอในพิธีกรรมต่างๆ เช่นนี้ไม่อนุญาต เพราะไม่มีแบบอย่างจากสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัดนั่นเอง

อิสลามไม่มีการละหมาดให้คนกาเฟร

กรณีที่สอง  การขอดุอาอ์ให้แก่คนต่างศาสนิกในสภาพที่พวกเขาเสียชีวิตไปแล้วนั้น
 ประเด็นนี้ไม่อนุญาตให้ขอดุอาอ์ให้แก่พวกเขาโดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นมติเอกฉันท์โดยไม่มีข้อขัดแย้งแต่ประการใดทั้งสิ้น

ดั่งหลักฐานที่ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จะขอดุอาให้มารดาของท่านเมื่อท่านได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพมารดาของท่านซึ่งเสียชีวิตก่อนที่ท่านจะถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี และกรณีที่ท่านนบีขอดุอาอ์อภัยโทษแก่ท่านอบูตอลิบ ผู้เป็นลุงของท่าน

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ได้รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إستأذنت ربي أن أستغفر لأمي فلم يأذن لي وإستأذنته أن أزور قبرها فأذن لي

“ฉันขออนุมัติต่อองค์อภิบาลของฉันที่จะขออภัยโทษให้กับแม่ของฉัน แต่พระองค์ไม่ทรงอนุมัติ แต่เมื่อฉันขออนุมัติต่อพระองค์ที่จะเยี่ยมหลุมศพของแม่ พระองค์ก็ทรงอนุมัติแก่ฉัน”
( ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1621)

ท่านมุซัยยับ อิบนุ ฮัซนิน ได้รายงานว่า

لما حضرت أبا طالب الوفاة جاءه رسول الله صلى الله عليه وسلم فوجد عنده أبا جهل بن هشام وعبد الله بن أبي أمية بن المغيرة قال رسول الله صلى الله عليه وسلم لإبي طالب : يا عم قل لا إله الا الله كلمة أشهد لك بها عند الله فقال أبو جهل وعبد الله بن أبي أمية يا أبا طالب أترغب عن ملة عبد المطلب ؟ فلم يزل رسول الله صلى الله عليه وسلم يعرضها عليه ، ويعودان بتلك المقالة حتى قال أبو طالب ، آخرما كلمهم ، هو على ملة عبد المطلب ، وأبى أن يقول لا اله الا الله فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : أما والله لأستغفرن لك مالم أنه عنك فأنزل الله تعالى فيه – ماكان للنبي والذين آمنوا- الآية


เมื่อครั้งที่อบูตอลิบ เจ็บหนัก ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่า ณ.ที่นั้นมี อบูญะฮล์ บินฮิชาม และ อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีอุมัยยะห์ อิบนิมุฆีเราะห์ ร่วมอยู่ด้วย ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกับอบีตอลิบว่า โอ้ลุงเอ๋ย จงกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ ฉันจะได้นำคำนี้ไปยืนยันให้แก่ท่าน ณ.ที่อัลลอฮ์ แต่อบูญะฮล์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิอบีอุมัยยะห์ ได้ทักท้วงว่า โอ้อบูตอลิบเอ๋ย ท่านจะผินหลังให้กับศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบกระนั้นหรือ ? แต่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังคงเสนอให้อบูตอลิบกล่าวคำปฏิญาณโดยที่ทั้งสองนั้นก็คอยทักท้วงอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคำสุดท้ายของอบูตลิบได้กล่าวเหมือนดั่งที่พวกเขากล่าวกัน นั่นคืออยู่บนศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบ และปฏิเสธที่จะกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ ดังนั้นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ฉันจะขออภัยโทษให้แก่ท่านอย่างแน่นอนตราบใดที่ฉันไม่ถูกห้าม ดังนั้นพระองค์อัลลอฮ์ จึงได้ประทานอายะห์นี้มาว่า “ไม่ใช่หน้าที่ของนบีและบรรดาผู้ศรัทธาในการขออภัยโทษให้แก่บรรดาผุ้ตั้งภาคี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม” 
(มุตตะฟะกุนอลัยฮิ ตัวบทจากศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1272 ส่วนข้อความของอัลกุรอานนั้น จากซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 113)

หลักฐานข้างต้นนี้เป็นข้อชี้ขาดว่า ไม่อนุญาตในการขออภัยโทษให้แก่คนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เสียชีวิตไปแล้ว และเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ปากของเขายืนยันในการเป็นมุสลิม แต่พฤติกรรมของเขาเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธาก็เป็นที่ต้องห้ามด้วย พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَلاَ تُصَلِّ عَلَى أَحَدٍ مِنْهُمْ مَاتَ أَبَداً وَلاَ تَقُمْ عَلَى قَبْرِهِ إنَّهُمْ كَفَرُوا بِاللهِ وَرَسُوْلِهِ وَمَاتُوا وَهُمْ فَاسِقُوْنَ

และเจ้า (มูฮัมหมัด) อย่าได้ละหมาด (ญะนาซะห์) ให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายเป็นอันขาด และอย่าได้ยืนบนหลุมศพของพวกเขา (เพื่อขอดุอาอ์) แท้จริงพวกเขาปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ และพวกเขาตายไปในขณะที่พวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน”
 (ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 84)

การละหมาดให้คนกาเฟร(ผู้ปฏิเสธ , คนต่างศาสนิก)
ไม่อนุญาตให้ละหมาดให้คนกาเฟร


สำหรับการละหมาดให้คนต่างศาสนิกนั้นไม่อนุญาตให้กระทำโดยเด็ดขาด เพราะการนละหมาดนั้นเพื่ออัลลอฮฺ และก่อนละหมาดจะต้องมีเนียตว่าจะละหมาดอะไร? ส่วนที่ละหมาดแล้วเนียตเพื่อถวายพระพรนั้น หากถามตามหลักการของอิสลาม ตอบได้เลยว่าไม่มีในอิสลามนั่นเอง
والله أعلم 

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้ประพฤติชั่ว แม้ในวันสอบสวนยังจะเอาตัวรอดด้วยผู้อื่นเพื่อที่ให้รอดพ้นจากการลงโทษ



แม้ในวันตัดสินคนชั่วยังจะเอาตัดรอด


ผู้ปฏิเสธศรัทธา ผู้ประพฤติชั่ว และผู้ฝ่าฝืนมีความปรารถนาว่า หากมีการไถ่ตัวให้พ้นจากกการลงโทษของอัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยสิ่งที่มีค่าและสิ่งที่ตนหวงแหนที่สุด ที่มีอยู่ในโลกนี้ เช่นลูกหลาน ตลอดจนญาติพี่น้องและรวมถึงมนุษย์ที่มีอยู่ในแผ่นดินทั้งหมด เขาก็ยอมที่จะเสียสละให้ ขอแต่เพียงให้รอดพ้นจากการลงโทษเท่านั้น

จากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมาอาริจญ์ (Al-Maarig)70 อายะฮ์ที่ 11-14 พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า

يُبَصَّرونَهُم ۚ يَوَدُّ المُجرِمُ لَو يَفتَدى مِن عَذابِ يَومِئِذٍ بِبَنيهِ ﴿١١﴾

11. "ถึงแม้ว่าพวกเขาจะประสานสายตาซึ่งกันและกันก็ตาม ผู้ประพฤติชั่วก็ใคร่จะไถ่ตน ให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺในวันนั้นด้วยบุตรหลานของเขา"

 وَصٰحِبَتِهِ وَأَخيهِ ﴿١٢﴾
12. "และด้วยภริยาของเขา และด้วยพี่น้องของเขา"

وَفَصيلَتِهِ الَّتى تُـٔويهِ ﴿١٣﴾
13. "และด้วยญาติพี่น้องของเขา ซึ่งได้ให้ที่พักอาศัยแก่เขา"


 وَمَن فِى الأَرضِ جَميعًا ثُمَّ يُنجيهِ ﴿١٤﴾

14. "และด้วยผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวล เพื่อที่จะให้เขารอดพ้นจากการลงโทษ"

ผู้อุปการะเด็กกำพร้า


ผู้อุปการะเด็กกำพร้าจะอยู่ใกล้ชิดนบีเช่นนิ้วชี้กับนิ้วกลาง


รายงานจาก อบีฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :
ผู้อุปการะเด็กกำพร้า ไม่ว่าจะเป็นญาติใกล้ชิด (เช่น แม่ ปู่ หรือพี่น้อง) หรือเป็นคนอื่นๆที่ไม่ใช่ญาติสนิทก็ตาม ฉันกับเขาจะอยู่ใกล้ชิดกันในสวรรค์ เช่นเดียวกับสองนิ้วนี้
แล้วผู้รายงานหะดีษ คือ มาลิก อิบนิอะนัส ก็ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้น
(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2983)

รายงานจาก ซะฮฺลฺ อิบนิซะอฺดฺ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :
“ฉันและผู้อุปการะเด็กกำพร้า จะได้อยู่ในสวรรค์เช่นนี้”
และท่านรอซูลได้ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นแล้วแยกออกจากกัน
(บันทึกโดยบุคอรีย์ เล่ม 10 หน้า 365)

....เด็กกำพร้าคือ^^^เด็กที่บิดาเสียชีวิต^^^ และยังไม่บรรลุนิติภาวะ เขายังต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่ได้รับสั่งเสียว่า จะคอยดูแลให้ อาจจะด้วยทรัพย์ของเขาที่ผู้เป็นบิดาทิ้งไว้ให้ หรือเขายากจนไม่มีทรัพย์สิน เขาก็ยังต้องการผู้อุปการะเช่นกัน

ผู้ให้การอุปการะเด็กกำพร้านั้น จะได้รับผลตอบแทนเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะเป็นญาติใกล้ชิด หรือ เป็นคนอื่น เพราะมุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน ไม่มีความแตกต่างระหว่างความเป็นญาติในฐานะมุสลิมด้วยกัน หรือเป็นญาติในฐานะสืบตระกูล ทุกฝ่ายจะต้องเสียสละ หันมาสนใจสังคมมุสลิม และพยายามให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มาก""""":::::;;;;;++++!!!!^_____^
والله أعلم

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงกลอน ลำนำเพลงที่ไม่มีเสียงดนตรีในอิสลาม

บทกลอนและบทเพลงที่อนุมัติในอิสลาม

ทัศนะที่ว่าโครงกลอนในต้นตอของมันนั้นไม่สมควร  เป็นมักรูฮ์ไม่สมควรที่จะเอามาใช้ เพราะเป็นการแสดงโอ้อวดที่หลงผิด บางที่อาจนำไปสู่การด่าทอบุคคลที่ศาสนาไม่อนุญาตให้ด่าทอ และสรรเสริญบุคคลที่ไม่ควรสรรเสริญ ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการบางส่วน

นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ต้นตอของโครงกลอนเป็นสิ่งอนุมัติ เพราะเป็นคำพูดที่ดีและเลว ที่ดีต้องนับว่าดี และที่เลวก็ถือว่าเลว

รายงานจากอิบนิอุมัร จากท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า "การที่ท้องของใครจากพวกท่านจะเต็มด้วยน้ำหนอง ก็ยังดีสำหรับเขากว่าท้องของเขาเต็มด้วยโครงกลอน(หมายถึงโครงกลอนที่ถูกตำหนิ)"
(บันทึกหะดิษโดยบุคอรี มุสลิม อบูดาวูด)

ส่วนหนึ่งของคำโครงเป็นปรัชญา ได้แก่หลักวิชาการต่างๆที่ประพันธ์ขึ้นในรูปร้อยกรอง หรือคำสั่งสอน

รายงานจากท่านอุบัยย์ บุตรอะอับ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ส่วนหนึ่งของคำกวีนั้นเป็นปรัชญา"
(บันทึกหะดิษโดยบุคอรี อะบูดาวูด และติรฺมีซี)

การว่ากาพย์กลอนต่อท่านรสูลุลลอฮ์ 
รายงานจากยาบิร บุตร ซะมุเราะฮ์ ได้กล่าวว่า "ฉันได้นั่งร่วมกับท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม มากกว่าร้อยครั้ง โดยบรรดาอัครสาวกของท่านกล่าวคำกลอน(คือคำกลอนที่เป็นเรื่องจริง เช่น การกล่าวโจมตีพวกผู้ตั้งภาคี) และทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เป็นเรื่องในสมัยญาฮิลีญะฮ์ โดยท่านนบีนิ่งเฉย และบางครั้งท่านก็ยิ้มพร้อมกับพวกเขา(โดยเห็นด้วยและคล้อยตามไปกับพวกเขา"
(บันทึกหะดิษโดยติรฺมีซี)

โดยสรุปได้ว่าพื้นฐานของโครงกลอน และบทเพลง หรืออนาซีดที่ไม่ประกอบด้วยเสียงดนตรี ในที่ของมัน และตามสภาพของมันนั้น เป็นที่อนุมัติ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ที่อนุญาตก็เป็นที่อนุญาต การฟังบทโครงกลอน หรือบทเพลงที่ไม่ประกอบเสียงดนตรีเหล่านั้น ก็เป็นที่อนุญาต

ตัวอย่าง การกล่าวบทกลอนหรือร้องเพลงที่อนุมัติ(ฮาลาล)
-ผู้หญิงกล่าวบทกลอนหรือร้องเพลงให้ลูกของนางฟัง หรือกล่อมหรือกล่อมลูกน้อยของนางให้นอน
-กล่าวบทกลอนหรือร้องเพลงปลุกใจเพื่อการต่อสู้
-กล่าวบทกลอนหรือร้องเพลงในวันตรุษ หรือวันสำคัญๆ เพื่อแสดงความดีใจ

และการกล่าวบทกลอนหรือร้องเพลงนั้น ให้ใช้คำสุภาพ สวยงาม ดี ไม่หยาบคาย และน่าเกลียด
แต่ถ้าบทกลอนหรือเพลงที่กล่าวหรือร้องออกไปเกินจากขอบเขตที่หะลาล เช่นทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ เรียกร้องไปสู่ความชั่ว ความเบื่อหน่าย การตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮ์ หรือทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อการภัคดีต่อพระองค์อัลลอฮ์ บทกลอนหรือบทเพลงดังกล่าว จึงไม่เป็นที่อนุมัติ

บทกลอนหรือบทเพลง(อนาซีด)ที่ประกอบเสียงดนตรี
แต่เมื่อใดบทกลอน บทเพลง(อนาชีด) มีเสียงดนตรีประกอบ แม้ว่าบทกลอนหรือบทเพลงนั้น จะใช้คำสุภาพ สวยงาม ไม่มีบทความที่ต้องห้ามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ตาม ก็ไม่เป็นที่อนุมัติ มุสลิมไม่สามารถกล่าวหรือร้องได้ รวมถึงการห้ามฟังบทกลอน หรือบทเพลงเหล่านั้นด้วย

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "จะมีกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉันพยายามทำให้เรื่องซินา เรื่องผ้าไหม เรื่องสุรา และเครื่องดนตรี เป็นที่ฮาลาล..."
(บันทึกโดยท่านอีหม่ามบุคอรี ฮะดิษเลขที่ 5590)

. والله أعلم










กรณีเริ่มชี้นิ้วขึ้นเมื่ออ่านตะชะฮ์ฮุด



เริ่มชี้นิ้วเมื่ออ่านตะชะฮ์ฮุด

รายงานจากท่านมุหัมมัด บินอัจญลาน, จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์ จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า
“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งตะชะฮ์ฮุด ท่านจะวางฝ่ามือซ้ายบนขาอ่อนข้างซ้าย, และท่านจะทำสัญญาณด้วยนิ้วชี้ โดยที่สายตาของท่านจะมองไปยังการชี้นั้น”
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 1274)

รายงานจากท่านอุษมาน บินหะกีม, จากท่านอามิรฺ บินอับดุลลอฮ์, จากบิดาของท่านคือท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อัซ-ซุบัยร์ ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า “เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะวัลลัมนั่งในนมาซนั้น ............. แล้วท่านก็วางมือซ้ายของท่านลงบนเข่าซ้าย และวางมือขวาของท่านบนขาอ่อนด้านขวา และท่านก็ทำสัญญาณด้วยนิ้ว(ชี้ .. คือยกนิ้วชี้ขึ้น)” บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 112/579

จากหะดิษข้างต้น ...ท่านนบีวางมือขวาของท่านบนขาอ่อนด้านขวา และท่านก็ทำสัญญาณด้วยนิ้ว คำว่า "และ" ในที่นี้ หมายถึง กับ , ด้วยกัน คือ เมื่อท่านนบีวางมือขวาของท่านบนขาอ่อนด้านขวา ท่านก็ยกนิ้วชี้พร้อมๆกันทันที

ทุกรายงานและทุกกระแส จะระบุ ว่า และ หรือพร้อมกับ หรือจากนั้นท่านจะทำสัญญาณด้วยนิ้วชี้
แสดงว่า ตามรูปการณ์แล้ว ให้ชี้นิ้วชี้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นอ่านตะชะฮ์ฮุดเป็นต้นไปจนจบหรือสิ้นสุดการอ่านตะชะฮ์ฮุดนั้นเอง

>>>สำหรับกรณีที่มีกำหนดในบางมัษฮับว่า ให้ยกนิ้วชี้ขึ้นเมื่ออ่านถึงคำชะฮาดะฮ์ .. อย่างเช่นมัษฮับชาฟิอีย์ ก็มีทัศนะว่า ให้ยกนิ้วชี้ขึ้นเมื่อกล่าวคำว่า อิลลัลลอฮ์, หรือมัษฮับหะนะฟีย์มีทัศนะว่า ให้ยกนิ้วชี้ขึ้นเมื่อกล่าวคำว่า ลาอิลาฮะ และลดนิ้วชี้ลงเมื่อกล่าวคำว่า อิลลัลลอฮ์ นั้น ...
แนวทัศนะต่างๆเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานยืนยันแม้แต่ประการใด ...

ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ตุห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 2 หน้า 185 ว่า ...
ظَاهِرُ اْلأَحَادِيْثِ يَدُلُّ عَلَى اْلإِشَارَةِ مِنِ ابْتِدَاءِ الْجُلُوْسِ، وَلَمْ أَرَ حَدِيْثًا صَحِيْحًا يَدُلُّ عَلَى مَا قَالَ الشَّافِعِيَّةُ وَالْحَنَفِيَّةُ
“ตามรูปการณ์ของบรรดาหะดีษเหล่านี้ (ที่กล่าวถึงการยกนิ้วชี้ในการอ่านตะชะฮ์ฮุด) แสดงว่า การยกนิ้วชี้ดังกล่าวให้กระทำตั้งแต่เริ่มนั่งตะชะฮ์ฮุดแล้ว, และฉันก็ไม่เคยเจอหะดีษที่ถูกต้องบทใดจะเป็นหลักฐานยืนยันแนวทัศนะชาฟิอีย์และหะนะฟีย์(ในเรื่องนี้)เลย” ...


ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้กล่าวไว้คล้ายๆกันนี้ในหนังสือ “ศิฟะตุศ่อลาติ้นนบีย์ฯ” ของท่าน หน้า 159
والله أعلم

มนุษย์ผู้เป็นลูกหลานอาดัมล้วนมีความผิด


ลบล้างความชั่วด้วยความดี


มนุษย์ทุกคนเกิดมาหลีกเลี่ยงจากการทำบาปไม่พ้นยกเว้นบรรดาศาสนทูตเท่านั้น

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีใจความว่า “มนุษย์ผู้เป็นลูกหลานอาดัมล้วนมีความผิด และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขาคือผู้ที่ขออภัยโทษเพื่อชำระความผิดของเขา”
(รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ)

เมื่อหลีกเลี่ยงจากการทำบาปไม่พ้น มนุษย์จึงต้องให้ความสำคัญกับการลบล้างบาป ด้วยการขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ การหมั่นทำความดีเพื่อลบล้างบาป
เพราะอัลกุรอานได้บอกไว้ว่า

إِنَّ الْحَسَنَاتِ يُذْهِبْنَ السَّـيِّئَاتِ (سورة هود :114)

“แท้จริงความดีทั้งหลายนั้นสามารถลบล้างความชั่วร้ายได้”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ ฮูด: 114)

และถ้าหากบาปที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับผู้อื่นก็ต้องคืนสิทธิอันชอบธรรมของคนผู้นั้นให้เขา นอกจากนี้ต้องมีความคิดแน่วแน่ที่จะเลิกทำบาป และหากพลั้งเผลอทำบาปอีกก็ต้องเริ่มต้นในการขออภัยโทษอีก
แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงโปรดผู้ที่ขออภัยจากพระองค์
 เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

إِنَّ اللّهَ يُحِبُّ التَّوَّابِينَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِينَ (سورة البقرة :222)

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่มากด้วยการขออภัยและผู้ที่สะอาด” 
(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 222)

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เองก็ได้ทำตัวอย่างด้วยการกล่าวอภัยโทษวันละ 100 ครั้ง
ดังที่ท่านได้กล่าวไว้มีความว่า “แท้จริงฉันกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺวันละหนึ่งร้อยครั้ง” (รายงานโดย มุสลิม)
 والله أعلم

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์มีแต่ไม่เหมือนสิ่งที่พระองค์สร้าง


คุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ “มีแต่ไม่เหมือน”  


อัลกุรอานบางอายะห์ที่กล่าวถึงคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์  เช่น

 พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

إنَّ الَّذِيْنَ يُبَايِعُوْنَكَ إنَّمَا يُبَايِعُوْنَ اللهَ يَدُ اللهِ فَوْقَ أيْدِيْهِمْ

“แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันต่อเจ้านั้น อันที่จริงแล้วพวกเขาได้ให้สัตยาบันต่ออัลลอฮ์ มือของอัลลอฮ์อยู่เหนือมือพวกเขาเหล่านั้น”
(อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลฟัตฮ์ อายะห์ที่ 10)


พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

قَالَ يَا إبْلِيْسُ مَا مَنَعَكَ أنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ

“พระองค์กล่าวว่า โอ้อิบลีสเอ๋ย อะไรที่ห้ามเจ้าไม่ให้สุญูดต่อสิ่งที่ข้าสร้างด้วยมือทั้งสองของข้า”
 (อัลกุรอาน ซูเราะห์ ศอด อายะห์ที่ 75)

คำว่า يد มีความหมายในภาษาไทยว่า “มือ” 

คำว่า มือ ทั้งในภาษาอาหรับและภาษาไทยนั้น เป็นคำที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความ เนื่องจาก “มือ” เป็นอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ซึ่งทราบถึงรูปลักษณ์กันเป็นอย่างดี ว่ามือคน ก็คือมือคน เข้าใจได้โดยไม่ต้องจินตนาการหรือตีความใดๆทั้งสิ้น



สำหรับมือของสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างเหมือนมนุษย์บางชนิด ซึ่งไม่เคยพบเจอด้วยตัวเอง ยังมีมุมมองที่ต่างกัน แล้วสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น และไม่เคยมีประสบการณ์เล่า จะเอาปัญญาที่ไหนไปอธิบาย

พระองค์อัลลอฮ์กล่าวว่า يد الله แปลว่า “มือของอัลลอฮ์” มนุษย์ทั้งโลกไม่สามารถเอาปัญญาของตนเองมาอธิบายความได้เลยว่าเป็นเช่นใด เนื่องจากมนุษย์ไม่มีประสบการณ์ ทั้งไม่เคยเห็นและก็ไม่สามารถสร้างมโนภาพหรือจินตนาการได้เลย


เมื่อพระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวถึง มือของพระองค์ ตามปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน มากมายหลายอายะห์ แล้วมนุษย์กลับไม่เชื่อตามที่ถูกกล่าวไว้ แต่กลับใช้ปัญญาเบี่ยงเบนความหมายให้เป็นอื่น  ด้วยการปฏิเสธคำและความหมาย หรือยอมรับคำแต่ปฏิเสธความหมาย โดยเอาความหมายอื่นมาแทนที่


ทั้งที่หลักฐานอัลกุรอาน พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะพระองค์ไว้ แต่ไม่เหมือนสิ่งถูกสร้างใดๆ

พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْئٌ

“ไม่มีสิ่งใดเสมือนพระองค์” 
(อัลกุรอานซูเราะห์ อัชชูรอ อายะห์ที่ 11)

وَلَمْ يَكُن لَّهُ كُفُواً أَحَدُ

“และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์” 
(อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลอิคลาศ อายะห์ที่ 4)

พระองค์อัลลอฮ์ทรงยืนยันว่า ไม่มีผู้ใด หรือสิ่งใด เหมือนกับพระองค์ ไม่ว่าตัวตนหรือคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างทั้งหมด ดังนั้นคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ “มีแต่ไม่เหมือน” คือมีตามถ้อยคำที่พระองค์ทรงกล่าวแต่ไม่เหมือนสิ่งถูกสร้างใดๆ ซึ่งคำว่าไม่เหมือนกับสิ่งถูกสร้างนี้ เราไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่าเป็นเช่นใด คือเป็นสิ่งที่เกินกว่าประสบการณ์และปัญญาของมนุษย์จะหยั่งรู้ ดังนั้นเราจึงไม่ใช้ปัญญาของเราจาบจ้วงในเรื่องนี้

แต่บรรดานักวิภาษนิยมทั้งหลายต่างก็ใช้ปัญญาของตนเองไปอธิบายความเบี่ยงเบนให้เป็นอื่น หรือเปลี่ยนความหมายของคำที่ถูกระบุไว้ ให้เป็นอย่างอื่นเสีย เช่น
เปลี่ยนความหมายของคำว่า يد ที่แปลว่า “มือ” เป็น “อำนาจ” และบางท่านก็ให้ความหมายว่า “ความเมตตา” หรือ “ความช่วยเหลือ” อย่างนี้เป็นต้น โดยพวกเขากล่าวว่า พวกเขายืนยันในถ้อยคำแต่พวกเขาไม่ยอมรับในความหมายตามคำเดิมของมัน 



เมื่อหลักฐานจากอัลกุรอานได้ยืนยันว่า อัลลอฮ์นั้นไม่เหมือนกับสิ่งใด และไม่มีสิ่งใสเสมอเหมือนอัลลอฮ์ ดังที่ปรากฏในซูเราะห์ อัชชูรอ อายะห์ที่ 11 และใน ซูเราะห์ อัลอิคลาศ อายะห์ที่ 4

ก็ในเมื่อมีหลักฐานอธิบายเช่นนี้แล้ว เพราะเหตุใดจึงไม่หยุดอยู่ที่หลักฐานแล้วเชื่อตามหลักฐาน เพราะเหตุใดจึงต้องใช้ปัญญาของตนเอง เปลี่ยนความหมายให้เป็นอย่างอื่นอีกเล่า หรือไม่เชื่อหลักฐานที่ยืนยันว่าอัลลอฮ์นั้นไม่เหมือนกับสิ่งถูกสร้าง

ซึ่งมูลเหตุที่พวกเขาเปลี่ยนความหมายเพราะกลัวว่า มือในที่นี้จะเหมือนมือมนุษย์ ตามความคิดและจินตนาการของพวกเขาเอง ดังนั้นเหตุผลหลายร้อยเล่มเกวียนจึงถูกนำมาแสดงและระบาดไปทั่ว ปรากฏเป็นแนวคิดของกลุ่มต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็หาวิธีที่จะทำให้อัลลอฮ์แตกต่างจากสิ่งถูกสร้างทั้งสิ้น ทั้งๆที่อัลลอฮ์ยืนยันถึงความต่างอยู่แล้ว เหล่านี้ทั้งหมดคือกระบวนการใช้ปัญญาแซงหน้าหลักฐาน

ขอยืนยันว่า แนวทางที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุดคือ แนวทางที่เหล่าศอฮาบะห์ของท่านนบีได้ยึดถือ เพราะพวกเขาอยู่ในยุคที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา และบางท่านก็อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่อายะห์อัลกุรอานกำลังประทานลงมา พวกเขาได้รับการถ่ายทอดความรู้จากท่านนบีโดยตรง หรือบางท่านเป็นศอฮาบะห์รุ่นเยาว์ที่มิได้รับรู้ในเหตุการณ์ หรือบางท่านที่อยู่ไกลออกไป ก็ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องเหล่านี้จากเหล่าศอฮาบะห์ที่ได้เรียนรู้จากท่านนบีอีกทอดหนึ่ง เหล่าศอฮาบะห์ของท่านนบี คือกลุ่มชนที่ท่านนบีให้การรับรอง


والله أعلم بالصواب



ขณะละหมาดอนุญาตให้กระทำการใดเนื่องจากเกิดความจำเป็น

กรณีจำเป็นขระละหมาด

รายงานจากอบีกอตาดะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าเห็นท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ทำหน้าที่เป็นผู้นำประชาชนในการละหมาด และอุมามะฮ์บุตรสาวของอบี-อัลอาส เป็นบุตรสาวของไซหนับ ซึ่งเป็นบุตรสาวของท่านรสูล (หมายความว่า อุมามะฮ์ เป็นหลานสาวของท่านรสูล) ขี่อยู่บนคอของท่าน เมื่อท่านก้มลงรู่กัะอ์ ได้วางอุมามะฮ์ไว้ และเมื่อเงยจากสุญูดได้จับอุมามะฮ์มาไว้บนคออีก"
 (บันทึกหะดิษโดยบุอคอรี มุสลิม และอบูดาวูด)

รายงานจากอบีอุรอยเราะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮุ จากท่านท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงฆ่าตัวดำๆ ทั้งสองชนิดในขณะละหมาด คือ งูกับแมลงป่อง"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดย อบูดาวูด ,ติรฺมีซี ,นาซาอี และฮากิม)

รายงานจากท่านหญิงอาอิซะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้มาในขณะท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังละหมาดในบ้าน ประตูถูกใส่กลอนไว้ ท่านรสูลได้เดินไปเปิดประตูให้ข้าพเจ้าแล้วกลับไปละหมาดที่เดิม ท่านหญิงอาอิชะฮ์บรรยายว่า ประตูอยู่ทางทิศกิบลัต"
(บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด ล ติรฺมีซี และนาซาอี)

รายงานจากท่านหญิงอาอิซะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮา เล่าว่า "ข้าพเจ้ายืนเท้าไปทางกิบลัตของท่านท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในขณะที่ท่านรสูลกำลังละหมาด เมื่อจะสุญูด ท่านได้เขย่าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้หดเท้าทั้งสองข้าง เมื่อท่านรสูลลุกขึ้นยืน ข้าพเจ้ายืดเท้าอีก"
(บันทึกหะดิษโดยบุคอรี มุสลิม อบูดาวูด และนาซาอี)


ที่มาของวันฉลองวันเกิดนบีหรือวันเมาลิด


งานเมาลิดนบี


ก่อนอื่นก็ต้องอ่านหะดิษนี้ก่อน
ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ.  เศาะหาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดท่านศาสดาที่สุดท่านหนึ่งกล่าวว่า

      مَا كَانَ فِى الدُّنْيَا شَخْصٌّ أَحَبَّ إِلَيْهِمْ رُؤْيَةً مِنْ رَسُوْلِ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ،  وَكَانُوْا إِذَا رَأَوْهُ لَمْ يَقُوْمُوْا لَهُ لِمَا كَانُوْا يَعْلَمُوْنَ مِنْ كَرَاهِيَتِهِ لِذَلِكَ ..

“ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้  บุคคลที่พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,   แต่เมื่อพวกเขาเจอท่าน  พวกเขาไม่เคยยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่านเลย   เนื่องจากพวกเขารู้ว่า ท่านรังเกียจพฤติการณ์อย่างนี้” ..”
            (บันทึกโดย  ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ  “อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด”   หะดีษที่  946,   ท่านอัต-ติรฺมีซีย์  หะดีษที่  2754,    ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ  “มุชกิล อัล-อาษารฺ”  หะดีษที่  1276,    ท่านอะห์มัด  เล่มที่  3  หน้า  132)

แค่การยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติ  ท่านนบีย์ก็ยัง  “รังเกียจ”  จนบรรดาเศาะหาบะฮ์ไม่กล้าปฏิบัติ,   แล้วการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่าน ซึ่งมัน  “เว่อร์” และเอิกเกริกกว่าการยืนให้เกียรติหลายร้อยเท่า   คิดหรือว่า หากเศาะหาบะฮ์ท่านใดคิดจัดมันขึ้นมาในขณะนั้น  ท่านนบีย์จะปลื้มใจและภูมิใจสุดๆกับความรักความภักดีที่มีผู้หยิบยื่นให้ท่านในลักษณะนั้น ? ...
            สิ่งใดที่ท่านศาสดารังเกียจ (ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็ตาม)  สมควรแล้วหรือที่มุสลิมที่อ้างว่า  “รักและให้เกียรติ”  ท่าน  จะดึงดันกระทำสิ่งนั้น  เพียงเพราะยึดมั่นอยู่กับความคิดของตนเองฝ่ายเดียวว่ามัน  “เป็นเรื่องดี”..   โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของตัวท่านนบีย์เอง ?

            การเฉลิมฉลองวันเกิดท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิด  ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ดี, ..  เหมือนๆกับการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่านศาสดา  ไม่มีเศาะหาบะฮ์ท่านใดมองว่า เป็นเรื่องไม่ดี

แต่ปัญหามิได้อยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี !   ทว่า,  เมื่อมันเป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจ  พวกเขาจึงงดเว้นที่จะยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่าน ..  ทั้งๆที่ตามเนื้อหาของหะดีษแล้ว  บ่งบอกความรู้สึกว่า พวกเขาต้องการยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน

 การจัดงานเมาลิด ไม่ปรากฎในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด ไม่ปรากฎใน สมัยคอลีฟะฮฺ อบูบักร คอลีฟะฮฺอุมัร คอลีฟะฮฺอุสมาน คอลีฟะฮฺอาลี บรรดาซ่อฮาบะฮฺทุกระดับไม่เคยจัดงานเมาลิด และไม่เคยเห็นว่ามีการจัดงานเมาลิด บรรดาตาบิอีนทุกระดับไม่เคยคิดค้นให้จัดงานเมาลิด และไม่เคยเห็นว่ามีการจัดงานเมาลิด บรรดาอิมามชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺ คนสำคัญคือ อิมามอบูหะนีฟะฮฺ อิมามมาลิก อิมามชาฟีอียฺ อิมามอะหมัด อิบนิฮัมบัล ไม่เคยจัดงานเมาลิด และไม่เคยเสนอหรือส่งเสริมในการจัดงานเมาลิด

การจัดงานเมาลิดนบี เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกที่ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ฮ.ศ. 362 ซึ่งขณะนั้นวงศ์ฟาตีมียฺชีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ (คนละนิกายกับชีอะฮฺ อิสไนอะชะรียะฮฺ 12 อิมาม) เป็นผู้ปกครองอียิปต์ และได้สถาปนาอาณาจักรฟาตีมียฺขึ้น ผู้ปกครองขณะนั้นได้แก่ คอลีฟะฮฺ อัลมุอิซลิดีนิลลาฮฺ อัลฟาตีมียฺ พวกฟาตีมียฺ ได้จัดงานเมาลิดขึ้น 6 งานคือ
1. เมาลิดนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
2. เมาลิดอีมามอาลี อิบนิอบีฎอลิบ
3. เมาลิดท่านหญิงฟาติมะฮฺ อัซซัฮฺรออฺ บุตรีของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเป็นภรรยาของท่าน อิมามอาลี
4. เมาลิดท่านหะซัน อิบนิอาลี อิบนิอบีฎอลิบ
5. เมาลิดท่านฮุเซน อิบนิอาลี อิบนิอบีฎอลิบ
6. เมาลิดท่านคอลีฟะฮฺ ผู้ปกครอง

เมาลิด2
เมาลิดไม่ใช่รูปแบบจากท่านนบี

การเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนบี เป็นการแสดงออกที่เกินเลยขอบเขต เพราะบรรดาเศาะหาบะฮ ซึ่งรักท่านนบีมุหัมหมัดมากกว่าใคร แต่ พวกเขาก็ไม่ได้แสดงความรักนบีด้วยการให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่านนบี ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

لاتطروني كما أطرت النصارى ابن مريم إنما أنا عبد فقولوا عبد الله ورسوله

พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกคริสเตียน ยกย่องสรรเสริญ (อีซา)บุตรของมัรยัม ความจริงฉันคือ บ่าว(ของอัลลอฮ)คนหนึ่ง ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า “ (ฉันคือ)บ่าวของอัลลอฮ และรซูลของพระองค์ – บันทึกโดยอัลบุคอรี หะดิษหมายเลข 3189 และ อะหมัด หะดิษหมายเลข 149

หะดิษที่ผู้ที่สนับสนุนใหทำเมาลิด
รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(วันที่อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

หะดิษข้างต้น ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนนะฮในวันจันทร์ ไม่ใช่ให้จัดงานวันเกิดท่านนบี   การจัดงานวันเกิด มีการเลี้ยงอาหารกันอย่างอิ่มหนำสำราญ

การนำหะดิษที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนนะฮ ในวันจันทร์ มาสนับสนุนการเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนบี  เป็นการใช้ยาที่ไม่ตรงกับโรค

มาดูหะดิษที่ อบูฮุรัยเราะฮรายงานว่า

أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "تعرض أعمال العباد كل اثنين وخميس فأحب أن يعرض عملي وأنا صائم

แท้จริง รซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริงบรรดาการงานของบรรดาบ่าวนั้น ถูกนำเสนอในทุกๆวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้น ฉันชอบให้การงานของฉันถูกเสนอ โดยที่ฉันกำลังถือศีลอด


والله أعلم بالصواب

เมื่อหลักฐานละหมาดฮาญะฮฺเป็นหะดิษเฎาะอิฟและเมาฎูอฺ


ละหมาดฮาญะฮ์


ละหมาดฮาญะฮฺที่มุสลิมในประเทศไทยมักปฏิบัติกันนั้น ต้องยอมรับว่าละหมดดังกล่าวเป็นที่แผ่หลายมาก และมีผู้คนส่วนใหญ่ปฏิบัติกันมาก แต่ทว่า พี่น้องมุสลิมเหล่านั้นไม่ทราบถึงที่มาของการละหมาดดังกล่าวเลย อันที่จริงแล้วหลักฐานการละหมาดดังกล่าวนั้นมีตัวบทจริง ทว่าหลักฐานเกี่ยวกับละหมาดฮาญะฮฺทั้งหมดล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และหะดีษเมาฎูอฺ (หะดีษเก๊) ทั้งสิ้น


หลักฐานการละหมาดฮาญะฮฺ (หรือฮายัต) ทั้งหมดมี 4 หะดีษ สองหะดีษแรกเป็นหะดีษเมาฎูอฺ (หะดีษเก๊) อีกหะดีษหนึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน (อ่อนมากๆ) และหะดีษสุดท้ายเป็นหะดีษเฎาะอีฟ (อ่อน)

หะดีษเฎาะอีฟ (หะดีษอ่อน) ที่ระบุถึงละหมาดซฮาญะฮฺ ท่านอบูอัรฺดาอ์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

« مَنْ تَوَضَّأَ فَأَسْبَغَ الْوُضُوءَ ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ يُتِمُّهُمَا أَعْطَاهُ اللَّهُ مَا سَأَلَ مُعَجِّلاً أَوْ مُؤَخِّراً »

“บุคคลใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาด โดยเป็นการอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ จากนั้นเขาก็ละหมาด (สุนนะฮฺฮาญะฮฺ) สองร็อกอะฮฺซึ่งเป็นการละหมาดอย่างสมบูรณ์เช่นกัน เช่นนี้พระองค์อัลลอฮฺจะทรงประทานในสิ่งที่เขาวิงวอนในสภาพที่รวดเร็ว หรือ ในสภาพที่ล่าช้า” 
หะดีษข้างต้นบันทึกโดยอะหฺมัด ลำดับหะดีษที่ 28260

สถานะหะดีษ ถือว่าเฎาะอีฟ (หะดีษอ่อน) เนื่องจากมีนักรายงานท่านหนึ่งในสายงานของหะดีษข้างต้นไม่เป็นที่รู้จัก (มัจญ์ฮูล) ท่านนั้นก็คือ มัยมูน อบู มุหัมมัด อัลมะรออีย์ อัลมีมีย์
ซึ่งท่านอิบนุมะอีนระบุว่า “ฉันไม่รู้จักเขา” ส่วนท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า “เขาเป็นบุคคลที่ไม่ถูกรู้จัก” และท่านซะฮะบีย์ก็กล่าวว่า “เขาไม่เป็นที่รู้จักเลย”

عَلَيْنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ مَنْ كَانَتْ لَهُ حَاجَةٌ إِلَى اللَّهِ أَوْ إِلَى أَحَدٍ مِنْ خَلْقِهِ فَلْيَتَوَضَّأْ وَلْيُصَلِّ رَكْعَتَيْنِ ثُمَّ لِيَقُلْ لا إِلَهَ إِلا اللَّهُ الْحَلِيمُ الْكَرِيمُ سُبْحَانَ اللَّهِ رَبِّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ مُوجِبَاتِ رَحْمَتِكَ وَعَزَائِمَ مَغْفِرَتِكَ وَالْغَنِيمَةَ مِنْ كُلِّ بِرٍّ وَالسَّلامَةَ مِنْ كُلِّ إِثْمٍ أَسْأَلُكَ أَلا تَدَعَ لِي ذَنْبًا إِلا غَفَرْتَهُ وَلا هَمًّا إِلا فَرَّجْتَهُ وَلا حَاجَةً هِيَ لَكَ رِضًا إِلا قَضَيْتَهَا لِي ثُمَّ يَسْأَلُ اللَّهَ مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ مَا شَاءَ فَإِنَّهُ يُقَدَّرُ " رواه ابن ماجة ( إقامة الصلاة والسنة/1374)

รายงานจาก อับดุลลอฮบุตรอบีเอาฟา อัลอัสละมีว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ออกมาหาเรา แล้วกล่าวว่า  ผู้ใดมีความประสงค์สิ่งใดต่ออัลลอฮฺหรือต่อมนุษย์ก็จงอาบน้ำละหมาดอย่างดีและจงละหมาด สองร่อกาอัต หลังจากนั้นให้กล่าวว่า  คำอ่าน “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ้ล ฮะลีย์มุ้ลกะลีม ซุบฮานัลลอฮิ ร๊อบบิ้ลอัรชิลอะซีม วัลฮัมดุลิลลาฮิ ร๊อบบิลอาละมีน อัชอะลุกะ มูยิบาติ รอหฺมะติกะ วะอะซาอิมะ มัฆฟิร่อติกะ วัลฆ่อนีมะตะ มิงกุ้ลลิบิรเร็น วัสสลามะตะ มิงกุ้ลลิอิสเม็น ลาตะดะหฺนี นัมยัน อิลลาฆ่อฟัรตะฮู วะลาฮัมมัน อิลลาฟัรร็อดตะฮู วะลาฮายะตัน ฮิยะละกะ ริดอ อิลลาก่อดอยตะฮา ยาอัรฮะมัร รอฮิมีน"

ความว่า “ไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสุขุมผู้ทรงเกียรติยิ่ง มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ ผู้อภิบาลสากลโลก ข้าฯขอต่อพระองค์ได้ทรงโปรดประทานปัจจัยเกื้อหนุน อันจะนำไปสู่ความเมตตาและการอภัยโทษของพระองค์ และขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานโชคลาภ อันเนื่องจากความดีทั้งปวง และขอให้ปลอดภัยจากบาปทั้งมวล ขอวิงวอนต่อพระองค์ อย่าปล่อยให้ข้าฯมีโทษใดๆ เว้นเสียแต่พระองค์จะทรงโปรดอภัยโทษนั้นๆแก่ข้าฯ และไม่มีทุกข์หม่นหมองใดๆ เว้นแต่พระองค์จะทรงขจัดมันให้พ้นไปจากข้าฯ และไม่มีกิจการงานใดๆที่พระองค์ทรงพอพระทัยเว้นแต่พระองค์จะทรงจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นให้เขาขอต่ออัลลอฮ เกี่ยวกับกิจการดุนยา และ อาคิเราะฮ สิ่งซึ่งเขาประสงค์ แน่นอน พระองค์จะทรงกำหนดให้แก่เขา  - รายงานโดย อิบนิมาญะฮ (ดู อิกอมะตุศเศาะละฮ วัสสุนนะฮ หะดิษหมายเลข 1374)

  قال الترمذي هذا حديث غريب وفي إسناده مقال : فائد بن عبد الرحمن يُضعَّف في الحديث . وقال الألباني : بل هو ضعيف جداً . قال الحاكم : روى عن أبي أوفى أحاديث موضوعة .  مشكاة المصابيح ج1 ص 417

อัตติรมิซีย์ กล่าวว่า นี้คือ หะดิษเฆาะรีบ (หมายถึงบทของมันแปลก)และในสายสืบของมัน ถูกวิจารณ์ คือ ฟาอิด บุตร อับดุรเราะหมาน ถูกกล่าวหาว่า หลักฐานอ่อนในหะดิษ และ อัลบานีย์กล่าวว่า " แต่ทว่า เขา เฏาะอีฟ(หลักฐานอ่อน)เป็นอย่างมาก และอัลหากิมกล่าวว่า "ได้มีบรรดาหะดิษปลอมถูกรายงานจาก อบีเอาฟา - ดู มิชกาตอัลมะศอเบียะ เล่ม 1 หน้า 417

สำหรับเชคสัยยิด สาบิตเป็นผู้ที่เขียนหนังสือ "ฟิกฮุสสุนนะฮฺ" (แปลเป็นไทยโดย สมาคมนักเก่าอาหรับ) ซึ่งท่านไม่ใช่นักหะดีษ ฉะนั้นสิ่งที่ท่านอ้างอิงในหนังสือของท่านย่อมก็มีผิดพลาดเป็นธรรมดา ซึ่งหนังสือฟิกฮุสสุนนะฮฺของท่านนั้น เชคอัลบานีย์ (ซึ่งเป็นนักหะดีษ) ระบุว่ามีหะดีษเฏาะอีฟอยู่ประมาณ 100 กว่าหะดีษ หนึ่งในนั้นก็มีหะดีษละหมาดฮาญะฮฺนั่นเอง

ส่วนเมื่อละหมาดไม่มีหลักฐานจากศาสนา บุคคลใดที่มีตำแหน่งจะปฏิบัติสิ่งที่ไม่มีหลักฐาน ก็ไม่ได้หมายรวมว่า สิ่งนั้นจะถูกต้อง หรือได้รับการยอมรับแต่ประการใด ใครทำอะไรที่สวนทางกับหลักการศาสนา เขาผู้นั้นก็ย่อมรับผิดการกระทำนั้นไป ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์เหนือหลักการศาสนาได้

والله أعلم

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อิสลามห้ามกล่าวสรรเสริญแก่กัน


ห้ามกล่าวสรรเสริญทุกสภาพ


จากอับดุรเราะมาน อิบนุ อบี บักเราะฮฺ จากบิดาของเขา เล่าว่า ชายคนหนึ่งสรรเสริญชายอีกคนหนึ่งต่อหน้าท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เขาเล่าว่า ท่านรสูลได้กล่าวว่า (กับบุคคลผู้นั้น) ว่า "ท่านพินาศแล้ว ท่านได้ฟันคอเพื่อนของท่านแล้ว" ท่านรสูลกล่าวซ้ำ เมื่อคนหนึ่งเป็นผู้สรรเสริญเพื่อนของท่านทุกสภาพแล้ว ให้เขาจงกล่าวว่า "แันคิดว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรู้ดีเกี่ยวกับตัวเขา และฉันเองก็ยังไม่มีหน้าที่ให้เกิดความบริสุทธิ์กับบุคคลใดๆ ที่ฉันคิดเกี่ยวกับบุคคลนั้นเอาเอง แม้จะรู้อย่างนั้น อย่างนั้นก็ตาม"
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์มุสลิม หะดิษเลขที่ 2526)

จากฮัมมาน อิบนุ อัลหาริษเล่าว่า มีชายคนหนึ่งได้กล่าวสรรเสริญอุษมาน อัลมิกดาด จึงได้คุกเข่าทั้งสองของเขา เขาเป็นบุคคลที่ใหญ่ เขาจึงเอาดินขว้างใส่หน้าบุคคลผู้นั้น อุสมานได้กล่าวกับเขาว่า "ท่านต้องการอะไร" พลางกล่าวว่า "แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า "เมื่อใดที่พวกท่านเห็นผู้ที่กล่าวสรรเสริญทั้งหลาย ก็จงเอาดินขว้างไปที่ใบหน้าของพวกเขา"
(หะดิษมุสลิม เลขที่ 2517)

หัวใจคือส่วนที่สำคัญที่สุด


หัวใจนั้นสำคัญ


หากหัวใจของเรามั่นคงยืนหยัดอยู่กับการภักดี ร่างกายของเราก็จะปฎิบัติในสิ่งที่ดีงาม
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า...
“...แท้จริงในร่างกายนี้มีก้อนเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง หากก้อนเนื้อนั้นเถิดก้อนเนื้อนั้นก็คือหัวใจ”
 (บันทึกโดย บุคอรีย์ ลำดับหะดิษที่ 50)

พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
“เว้นแต่ผู้ที่มาหาอัลลอฮฺด้วยกับหัวใจที่บริสุทธ์ผ่องใส” 
(อัชชุอะรออฺ : 89)

พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
“และหัวใจของพวกเขาสงสัย แล้วในการสงสัยของพวกเขานั้นพวกเขาจึงลังเลใจ”
 (อัตเตาบะฮ์ : 45)

พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
 “และพวกเขากล่าวว่า หัวใจของพวกเรามีเปลือกหุ้มอยู่ มิใช่เช่นนั้นดอก อัลลอฮฺทรงขับไล่พวกเขาออกจากความเมตตาของพระองค์ต่างหาก เนื่องจากการปฎิเสธศรัทธาของพวกเขา ช่างน้อยเหลือเกินที่พวกเขาศรัทธากัน” 
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 88)

พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
 “วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย” 
(อัชชุอะรออฺ: 88)

ความประเสร็จของการละหมาดญามะอะฮ์ที่มัสยิด


ละหมาดร่วมกัน
ผู้ชายละหมาดญามะอะฮ์ที่มัสยิดมีผลบุญ 25 หรือ 27 เท่า


จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمِيعِ تَزِيدُ عَلَى صَلاتِـهِ فِي بَيْتِـهِ وَصَلاتِـهِ فِي سُوقِهِ خَـمْساً وَعِشْرِينَ دَرَجَةً، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ وَأَتَى المَسْجِدَ لا يُرِيدُ إلَّا الصَّلاةَ لَـمْ يَـخْطُ خُطْوَةً إلَّا رَفَعَهُ الله بِـهَا دَرَجَةً، وَحَطَّ عَنْـهُ خَطِيئَةً حَتَّى يَدْخُلَ المَسْجِدَ، وَإذَا دَخَلَ المَسْجِدَ كَانَ فِي صَلاةٍ مَا كَانَتْ تَـحْبِسُهُ، وَتُصَلِّي عَلَيْـهِ الملائِكَةُ مَا دَامَ فِي مَـجْلِسِهِ الَّذِي يُصَلِّي فِيْـهِ: اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».

ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺมีผลบุญเพิ่มทวีคูณเป็นยี่สิบห้าเท่าจากการละหมาดคนเดียวที่บ้านหรือที่ร้าน เมื่อผู้ใดอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ที่สุดและได้เดินไปยังมัสญิด ซึ่งเขาผู้นั้นไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากเพื่อการละหมาด เขาจะไม่ย่างก้าวไปหนึ่งก้าวนอกจากอัลลอฮฺจะยกระดับให้เขาหนึ่งระดับชั้น และจะลบบาปของเขาหนึ่งบาปจนกว่าเขาจะเข้ามัสยิด และเมื่อได้เข้าอยู่มัสยิดเขาจะได้รับความดีเสมือนว่าเขาอยู่ในการละหมาดจนกว่าเขาจะออกจากมัสยิด และมลาอิกะฮฺจะขอพรแก่เขาตราบเท่าที่เขานั่งอยู่ ณ สถานที่ที่เขาทำการละหมาดด้วยการกล่าว
«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้การอภัยโทษแก่เขาผู้นี้ด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ความเมตตาแก่เขาด้วยเถิด ตราบที่เขาไม่มีหะดัษ (เสียน้ำละหมาด) ณ สถานที่ดังกล่าว”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 477 และมุสลิม หะดีษที่ 649)

จากอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمَاعَةِ تَفْضُلُ صَلاةَ الفَذِّ بِسَبْعٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً».

ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺ(ร่วมกัน)ประเสริฐกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27เท่า”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 645 และมุสลิม หะดีษที่ 650)

ากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ได้กล่าวว่า
«مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ وَرَاحَ أَعَدَّ الله لَـهُ نُزُلَـهُ مِنَ الجَنَّةِ كُلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ».

ความว่า “ผู้ใดที่ไปมัสยิดและกลับ อัลลอฮฺจะทรงตระเตรียมที่อยู่ในสวนสวรรค์ไว้สำหรับเขา ทุกครั้งที่เขาเดินทางไปกลับจากมัสยิด” 
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 662 และมุสลิม หะดีษที่ 669 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)

จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

«إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ فَلا تَأْتُوهَا وَأَنْتُـمْ تَسْعَونَ، وَأْتُوهَا وَعَلَيْكُمُ السَّكِيْنَةَ، فَمَا أَدْرَكْتُـمْ فَصَلُّوا، وَمَا فَاتَـكُمْ فَأَتِـمُّوا، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا كَانَ يَـعْمِدُ إلَى الصَّلاةِ فَهُوَ فِي صَلاةٍ».

ความว่า “เมื่อใดมีการเชิญชวนไปสู่การละหมาด(กล่าวอิกอมะฮฺ) พวกท่านอย่าได้ไปสู่การละหมาดด้วยความเร่งรีบ แต่พวกท่านจงเดินไปด้วยความสงบไม่รีบร้อน หากว่าพวกท่านทันการละหมาด(พร้อมกับอิหม่าม)พวกท่านก็จงละหมาด และสำหรับสิ่งที่ท่านพลาดไป (คือร็อกอะฮฺของการละหมาดยังไม่สมบูรณ์ในขณะที่อิมามละหมาดเสร็จแล้ว) ท่านก็จงเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ แท้ที่จริงแล้ว ผู้ใดมีความตั้งใจที่จะทำการละหมาด(ญะมาอะฮฺ) เขาผู้นั้นเสมือนอยู่ได้ในการทำละหมาด(ญะมาอะฮฺ)แล้ว”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 636 และมุสลิม หะดีษที่ 602)

>>>การละหมาดญะมาอะฮฺของสามีภรรยาที่บ้านนั้นได้ผลบุญในการละหมาดญะมาอะฮฺ แต่ไม่ได้ผลบุญ 27 หรือ 25 เท่า ส่วนที่จะได้ผลบุญ 25 หรือ 27 เท่านั้น คือการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิดพร้อมกับอิมามประจำมัสญิดสำหรับผู้ชาย

ส่วนผู้หญิงการละหมาดฟัรฺฎูที่บ้านของนางประเสริฐกว่าที่มัสญิด

สำหรับการละหมาดญะมาอะฮฺที่อื่นจากมัสญิด ได้ผลบุญการละหมาดญะมาอะฮฺเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น บาลายไม่ใช่มัสญิด แต่เป็นมุศ็อลลา หรือสถานที่เตรียมไว้ละหมาดเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ถูกเนียตให้เป็นมัสญิด เช่นนี้ก็ไม่ได้ผลบุญ 25 หรือ 27 เท่าเหมือนละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด
 والله أعلم

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดอกเบี้ยแขนงต่ำสุดร้ายแรงดั่งร่วมเพศกับมารดาของตน


ความร้ายแรงของดอกเบี้ย



รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบนุ ฮันซ่อละฮฺ ว่า แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า ....ความว่า "เหรียญเงินหนึ่งเหรียญที่เป็นดดอเบี้ยร้ายแรงสำหรับอัลลอฮ์ตะอาลา มากกว่าหญิงชั่ว 36 คน"
(บันทึกหะดิษโดยอัดดารุกุฏนี)


ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า ....ความว่า "ดอกเบี้ยนั้นแบ่งออกเป็น 99 แขนง อย่างต่ำสุดของมันมีโทษร้ายแรง ดังเช่นคนๆหนึ่ง !!!!ร่วมเพศกับแม่ของเขา!!!!"
(บันทึกหะดิษโดยอัดดารุกุฏนี)

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัล-อะชาอิเราะฮฺ สำนักคิดใช้เหตุผลทางปัญญาก่อนหลักฐาน




วิภาษนิยม
สำนักอัล-อะชาอิเราะฮฺ


อัล-อะชาอิเราะฮฺ (اَلأَشَاعِرَةُ) (Ash'aris) คืออะไร มีประวัติความเป็นมาและมีแนวคิดอย่างไร และมีบทบาทอย่างไรกับมุสลิมบ้านเรา มุสลิมบางท่านอาจคงไม่ทราบเลยว่า อัล-อะชาอิเราะฮฺ คืออะไร? มาเกี่ยวข้องกับมุสลิมบ้านเราได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ ที่มุสลิมหลายท่านได้สัมผัสมาแล้ว นั้นก็คือ ซิฟาต(คือคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮ์ตามที่พระองค์ได้ทรงแจ้งไว้)ของอัลลอฮ์ หรือที่มุสลิมบ้านเราเรียกกันว่า ซิฟัตวาญิบ 20 (คุณลักษณะจำเป็นที่อัลลอฮ์ต้องมี) , ซิฟัตญาอิช(คุณลักษณะเป็นไปได้ที่อัลลอฮ์จะมี) และ ซิฟัตมุสตะฮีล(คุณลักษณะเป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์จะมี) ซึ่งได้ศึกษามาจากโรงเรียนตาดีกา(Tadika, เป็นคำย่อจากภาษามาเลย์ tama didikkan kanak kanak)หรือฟัรดูอีน หรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ(PONDOK) นั้นเอง แต่มุสลิมบางท่านอาจคงไม่รู้ ว่าซิฟัตเล่านี้  เกี่ยวข้องกันประการใดกับ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...!!!

ฟัรดูอีน
เด็กนักเรียนตาดิกา


และเมื่อมุสลิมบ้านเรา สังกัดมัซฮับชาฟีอีเป็นส่วนใหญ่ แล้วทำไมมุสลิมบ้านเราจึงมาเกี่ยวข้องกับ อัล-อะชาอิเราะฮฺ ด้วย ขอกล่าวในที่นี้ว่า กลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ นี้จัดอยู่ในกลุ่มอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺและสังกัดอยู่ในมัซฮับทั้ง 4 ทางด้านนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ) แต่สำหรับอากีดะฮ์( عقيدة ){ความเชื่อการศรัทธา} ของกลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ นั้น สังกัดตามมัซฮับของอิหม่ามอบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์  สำหรับท่านอิหม่ามชาฟีอีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอากีดะฮ์ ของกลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ แต่ประการใด อันเนื่องจากก่อนที่จะเกิดแนวคิด อากีดะฮ์ อย่าง อัล-อะชาอิเราะฮฺ ท่านอิหม่ามชาฟีอีได้กลับไปสู่ความเมตตาต่อพระองค์อัลลอฮ์หลายทศวรรษแล้ว ท่านอิหม่ามชาฟีอีท่านเป็นชาวสลัฟ[กลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วง 300 ปี หลังจากที่ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้ว] ท่านเกิดปีที่ 160 ฮิจเราะฮ์ศักราช และท่านเสียชีวิตในปี 204 ฮิจเราะฮ์ศักราช  อะกีดะฮฺของ อิหม่ามอัซ-ซาฟิอียฺ เป็นอะกีดะฮฺตามแนวทางอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺของผู้คนในยุคสลัฟศอลิหฺ รุ่นตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน   สำหรับ ท่านอิหม่ามอบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ผู้ก่อตั้งสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ ท่านเป็นชาวเคาะลัฟ(กลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วงหลัง 300 ปี ) ท่านเกิดปีที่ 260 ฮิจเราะฮ์ศักราช และท่านเสียชีวิตในปี  324  ฮิจเราะฮ์ศักราช  กลุ่มอัล-อะชาอิเราะฮฺ มีอากีดะฮ์บางเรื่องไม่เหมือนแนวทางอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺของผู้คนในยุคสลัฟศอลิหฺ รุ่นตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน ซึ่งท่านอิหม่ามชาฟีอียึดถืออยู่ อันได้แก่ เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐานอัลกุรอาน และหะดิษ , ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ , ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล (ตีความ) หรือตัฟวีฎ (มอบหมายในความหมายว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้) , จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” (การศรัทธา) ว่าหมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น เป็นต้น

นิยาม และผู้ก่อตั้งสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ 

อัล-อะชาอิเราะฮฺ คือมุสลิมคณะหนึ่งที่พาดพิงไปยังอิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ซึ่งจะใช้วิธีการยืนยันเรื่องหลักศรัทธาและโต้ตอบฝ่ายที่มีทัศนะขัดแย้งกับตนตามแนวทางของอะฮฺลุลกะลาม (นักวิภาษวิทยา)

ผู้ก่อตั้ง คือ อิหม่ามอบู อัล-หะสัน อะลีย์ บิน อิสมาอีล อัล-อัชอะรีย์ เกิดที่เมืองบัศเราะฮฺ เมื่อปี  ฮ.ศ. 260 ท่านพำนักที่เมืองบัฆดาด (แบกแดด) ประเทศอิรักและเสียชีวิตที่นั่น เมื่อปี ฮ.ศ. 324 ท่านเติบโตอยู่กับพ่อเลี้ยงที่ชื่อว่า อบู อะลีย์ อัล-ญุบบาอีย์ ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิด “อัล-มุอฺตะซิละฮฺ” ท่านได้รับแนวคิดของมุอฺตะซิละฮฺจากเขาผู้นี้ จนกระทั่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญและเป็นหนึ่งในแกนนำแนวคิดมุอฺตะซิละฮฺ
และท่านได้ผันตัวเองออกจากแนวคิดมุอฺตะซิละฮฺในเวลาต่อมา อันเนื่องด้วยท่านเริ่มมีความเคลือบแคลงใจในบางปัญหาและมีทัศนะของตนเองในปัญหานั้นๆ  และท่านได้ฝันเห็นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านนบีได้กล่าวกับท่านว่า"จงยึดแบบอย่าง (ซุนนะฮฺ) ของท่านนบี"  


اَلأَشَاعِرَةُ

นักวิจัยค้นคว้ามีทัศนะแต่งต่างกันถึงสำนักคิดของท่านอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ บางคนกล่าวว่าท่านผันแปรไปสู่สำนักคิดอัล-กุลลาบิยะฮฺ และต่อมาผันแปรสู่แนวทางสะลัฟ ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนหนึ่ง บางคนกล่าวว่าท่านได้ผันแปรสู่สำนักคิดอัล-กุลลาบิยะฮฺและยึดมั่นกับแนวคิดนี้อย่างถาวร และท่านมีทัศนะของตนเองโดยเฉพาะโดยมีแนวคิดก้ำกึ่งระหว่างมุอฺตะซิละฮฺกับแนวคิดของอัล-มุษบิตะฮฺ(กลุ่มแนวคิดที่ยืนยันในคุณลักษณะของอัลลอฮฺ) ซึ่งต่อมากลายเป็นแนวคิดอัล-อัชอะรีย์ นี่เป็นทัศนะของพวกอัล-อะชาอิเราะฮฺเอง
               ส่วนทัศนะที่กล่าวว่าท่านได้ผันแปรสู่แนวทางอัล-กุลลาบิยะฮฺ และต่อมาผันแปรสู่แนวทางของชาวสะลัฟ เป็นการยืนยันของอิหม่ามอบู อัล-หะสันเองในหนังสือ อัล-อิบานะฮฺ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่ท่านแต่งขึ้น โดยในหนังสือดังกล่าวได้ระบุอย่างชัดเจนว่าท่านยึดมั่นตามสำนักคิดของอิหม่ามอะหฺมัด บิน หันบัล

ความแตกต่างระหว่างอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง

ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของอิหม่ามอัล-อัชอะรีย์ จะพบข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างทัศนะอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง
ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังมิได้เจริญรอยตามแนวทางของอบู อัล-หะสันอย่างแท้จริง หากแต่พวกเขามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในประเด็นปัญหาที่สำคัญ จนมีบางคนกล่าวว่า "หากอบู อัล-หะสันทราบว่าสิ่งที่อัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังอ้างว่าทำตามแนวคิดของท่านนั้น แน่นอนท่านอิหม่ามจะต้องกล่าวตอบว่า “พวกท่านจงบอกแก่พวกเขาด้วยว่าฉันไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับพวกท่าน”



>ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาข้อแตกต่างของทัศนะอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นแรกกับอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลัง ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างแรก ทัศนะเกี่ยวกับศิฟัต เคาะบะริยะฮฺ คือคุณลักษณะของอัลลอฮฺที่ไม่สามารถรู้ได้เองด้วยสติปัญญา แต่สามารถรู้ได้ด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ  เช่น พระพักต์ พระหัตถ์ทั้งสอง หรือ พระเนตร
 อิหม่ามอบู อัล-หะสัน มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นนี้เหมือนกับแนวคิดของอัล-กุลลาบิยะฮฺ คือ ยืนยันว่าคุณลักษณะเหล่านี้เป็นของอัลลอฮฺ อบู อัล-หะสันได้กล่าวยืนยันในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ หน้าที่ 22 และหนังสือ ริสาละฮฺ อิลา อะฮฺลิ อัษ-ษัฆฺริ หน้าที่ 225-226

 ในขณะที่อัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังจะทำการ ตะอ์วีล (ตีความ) คุณลักษณะดังกล่าวเป็นอย่างอื่น ดังที่อัล-อีย์ญีย์ได้กล่าวว่า ข้อที่ 5 คุณลักษณะพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ พระองค์ได้ตรัสว่า

ﭽ... ﭗ  ﭘ  ﭙ  ﭚﭛ   ... ﭼ الفتح: ١٠
ความว่า “พระหัตถ์ของอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือมือของพวกเขา” (ซูเราะฮฺ อัลฟัตหฺ อายะฮฺที่ 10)

ﭽ ...ﯞ  ﯟ  ﯠ  ﯡ  ﯢ  ﯣ  ﯤﯥ  ... ﭼ ص: ٧٥
ความว่า “สิ่งใดหรือที่มายับยั้งไม่ให้เจ้าสุญูดแก่สิ่งที่ข้าสร้างมาด้วยสองพระหัตถ์ของข้า” (ซูเราะฮฺ ศอด อายะฮฺที่ 75)

อิหม่ามอบู อัล-หะสันได้ยืนยันในคุณลักษณะทั้งสองนี้ ซึ่งเป็นทัศนะของชาวสะลัฟ ในหนังสือบางเล่มของอัล-กอฎีย์ยังยืนยันถึงคุณลักษณะนี้ด้วย

แต่อัล-อะชาอิเราะฮฺส่วนใหญ่เห็นว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นมะญาซ (คำอุปมา) ที่หมายถึง อานุภาพของพระองค์ โองการที่พระองค์บอกว่าได้สร้างด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์ หมายถึง สร้างด้วยอานุภาพที่สมบูรณ์ของพระองค์ (หนังสืออัลมะวากิฟ หน้าที่ 298)

ตัวอย่างที่ 2 คุณลักษณะอัล-อุลูว์ (การอยู่เบื้องสูง) และ อัล-อิสติวาอ์ (การอยู่เหนือพ้นบัลลังก์) 

อิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอารีย์ ได้ยืนยัน  คุณลักษณะอัล-อุลูว์ และ อัล-อิสติวาอ์ของพระองค์เหนือพ้นบัลลังก์ ตามที่ปรากฏในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ (หน้าที่ 105) ว่า หากมีคนถามว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการอิสติวาอ์ของอัลลอฮฺ ก็จงตอบไปว่า พระองค์ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์ตามสภาพที่เหมาะสมกับพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌ    ﭼ طه: ٥                                                                
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์(ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

และในหนังสือมะกอลาต อัล-อิสลามียีน (หน้าที่ 260) ว่า โดยทั่วไปแล้วทัศนะของอะฮฺลุลหะดีษและสุนนะฮฺ คือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ บรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ คัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาเราะสูลของพระองค์ ...

และแท้จริงอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า
ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌ    ﭼ طه: ٥
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์(ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

นอกจากนั้นท่านยังได้โต้ตอบผู้ที่ตีความ อิสติวาอ์ ด้วยคำว่า อำนาจ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสืออัล-อิบานะฮฺ (หน้าที่ 108) ว่า พวกมุอฺตะซิละฮฺ พวกญะฮฺมิยะฮฺ และพวกหะรูริยะฮฺ กล่าวว่าแท้จริงความหมายของโองการ
ﭽ ﮉ ﮊ  ﮋ  ﮌ  ﭼ
(อัลลอฮฺ)ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงยึดครองเหนือบัลลังก์”

คำว่า “อิสตะวา” หมายถึง “อิสเตาลา” (การยึดครอง), “มิลกฺ” (การครอบครอง) และ ก็อฮรฺ (เอาชนะ) และอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ทุกหนแห่ง พวกเขาปฏิเสธการอยู่สูง(อิสติวาอ์) เหนือพ้นบัลลังก์ของอัลลอฮฺ ดังที่บรรดาผู้สัจจริงได้กล่าวไว้ และพวกเขายึดมั่นว่า อิสติวาอ์นั้นคือกุดเราะฮฺ (มีอำนาจเหนือ) ถ้าเป็นอย่างที่พวกเขากล่าวไว้ ก็จะไม่แตกต่างกันเลยระหว่างอะรัช (บัลลังก์) กับพื้นดินทั้งเจ็ดชั้น เพราะอัลลอฮฺทรงมีอำนาจเหนือทุกๆ สิ่ง

               นี่คือทัศนะของอิหม่ามอบู อัล-หะสัน อัล-อัชอะรีย์ ส่วนอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังมีแนวคิดตรงข้าม ดังที่ อัล-อีย์ญีย์กล่าวในหนังสือ อัล-มะวากิฟ หน้าที่ 297-298

ว่า “คุณลักษณะที่สาม อัล-อิสติวาอ์ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ ตะอาลาได้บอกถึงคุณลักษณะของอัล-อิสติวาอ์ ดังคำตรัสของพระองค์

ﭽ ﮉ  ﮊ  ﮋ  ﮌﭼ
ความว่า “ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์” (ซูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 5)

นักวิชาการอัล-อะชาอิเราะฮฺมีความเห็นในเรื่องนี้ต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า อิสติวาอ์ หมายถึง อิสตีลาอ์ (การครอบครอง) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของอัล-กุดเราะฮฺ (อานุภาพ) ดังคำกล่าวของนักกวี
قد استوى عمرو على العراق       من غير سيف ودم مهراق
ความว่า “แท้จริงอัมรฺได้ครอบครองแผ่นดินอิรัก โดยปราศจากการสู้รบและการนองเลือด” 


บางคนก็ตีความว่า อิสติวาอ์ในที่นี้หมายถึง อัล-ก็อศดฺ (มุ่งสู่) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะอัล-อิรอดะฮฺ (ความประสงค์) ดังคำตรัสของพระองค์
ﭽ ...ﯴ  ﯵ  ﯶ  ﯷ...ﭼ
ความว่า “แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 5)
ซึ่งเป็นการตีความที่ห่างไกลมาก”


***จากทั้งสองตัวอย่างทำให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดของอิหม่ามอบู อัล-หะสันเอง กับแนวคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺรุ่นหลังที่อ้างตนว่าเจริญรอยตามอิหม่าม อัลอัชอะรีย์
สำนักคิดใช้ปัญญานำหลักฐาน

แนวคิดและหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺ และการอภิปราย หลักคำสอน อัล-อะชาอิเราะฮของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง



ส่วนหนึ่งของหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง ที่ยึดถือเป็นหลักการของสำนักคิดมีดังต่อไปนี้
เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน

เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน (จากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ) คือ เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างหลักฐานและเหตุผลทางปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันหนึ่งอันใดมาก่อน อัล-อะชาอิเราะฮฺได้นำกฎเกณฑ์คลุมเครือเหล่านี้มาเป็นหลักเกณฑ์ จึงต้องนำเหตุผลทางปัญญานำหน้าหลักฐาน และนำสิ่งเหล่านั้นมาตัวกำหนดแทนที่หลักฐาน ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัญญานั้นเป็นสิ่งที่ไปใคร่ครวญหลักฐานว่าสมควรเชื่อหรือไม่ หากไปนำหลักฐานมาก่อนแสดงว่าเราไปทำลายการใคร่ครวญของสติปัญญา ซึ่งจะทำให้บทบัญญัติทั่วไปเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้

อภิปลายประเด็น การใช้เหตุผลทางปัญญาก่อนหลักฐาน ตามกฎที่แนวคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ

ข้อโต้ตอบ : อะฮลุสสุนนะฮฺ กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างปัญญาที่สมบูรณ์ชัดเจน กับหลักฐานที่ถูกต้อง ในความเป็นจริงประเด็นดังกล่าวไม่เคยปรากฏขึ้นเลย
สติปัญญาได้เป็นสักขีพยานต่อความเป็นเราะสูลหรือนบีอย่างแท้จริง ดังนั้น อาศัยหลักดังกล่าวจึงจำเป็นต้องยึดความเป็นสักขีพยานของปัญญาในเรื่องนี้ ด้วยการเชื่อในสิ่งที่ท่านเราะสูลนำมาบอกทุกประการ และเชื่อฟังในสิ่งที่ท่านเราะสูลสั่งใช้ให้กระทำ เมื่อท่านเราะสูลบอกว่า อัลลอฮฺทรงดำรงอยู่เหนือพ้นฟากฟ้า ปัญญาก็จำเป็นต้องเชื่อในสิ่งที่ท่านบอกด้วย หากเมื่อใดที่เหตุผลทางปัญญามานำหน้าหลักฐาน ก็เท่ากับว่าเป็นการกล่าวหาต่อการเป็นสักขีพยานของสติปัญญา ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายการเป็นสักขีพยานของสติปัญญาต่อความสัจจริงของท่านเราะสูล และเป็นการทำลายศาสนา


 ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ

 ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ (สิทธิในการเลือกจะกระทำ) ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺยืนยันด้วยอาตมันพระองค์เอง เช่น คุณลักษณะอิสติวาอ์ (การอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์) อัน-นุซูล (การเสด็จลงมายังฟากฟ้า) อัล-มะญีอ์ (การเสด็จมายังทุ่งมะหฺชัรฺ) อัล-กะลาม (การพูด) อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) และอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) พวกเขาปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านี้ในฐานะเป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺ โดยอ้างว่าการพาดพิงคุณลักษณะดังกล่าวต่ออัลลอฮฺ เท่ากับเป็นการกล่าวว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนสถานะกับอัลลอฮฺ ซึ่งคุณลักษณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้าง (ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปพาดพิงต่ออัลลอฮฺ)

อภิปลายประเด็น การปฏิเสธว่าอัลลอฮฺทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ประสงค์

ข้อโต้ตอบ : ประเด็นนี้เป็นหลักการเดิมของอัล-อะชาอิเราะฮฺที่ปฏิเสธว่าอัลลอฮฺทรงมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่โมฆะ แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงมีอำนาจที่สมบูรณ์ พระองค์ทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ทุกกาลเวลา ดังที่มีหลักฐานยืนยันจากอัลกุรอาน อัซ-ซุนนะฮฺ และมติเห็นพ้องของเศาะหาบะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
ﭽ ﮐ  ﮑ  ﮒ  ﮓ  ﮔﮕ  ﮖ ﮗ  ﮘ  ﮙ  ﮚﭼ الرحمن: ٢٩
ความว่า “ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินจะวอนขอต่อพระองค์ ทุกๆ ขณะพระองค์ทรงมีภารกิจ”  (ซูเราะฮฺ อัร-เราะหฺมาน อายะฮฺที่ 29)

ﭽ ...ﭹ   ﭺ  ﭻ  ﭼ  ﭽ  ﭾﭼ الطلاق: ١
ความว่า “บางทีอัลลอฮฺจะทรงปรับปรุงกิจการ (ของเขา) หลังจากนั้น” (ซูเราะฮฺ อัฏ-เฏาะลาก อายะฮฺที่ 1)


ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล หรือตัฟวีฎ 


ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล (ตีความ) หรือตัฟวีฎ (มอบหมายในความหมายว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้) คุณลักษณะที่พวกเขายอมรับคือ อัล-อิลมฺ (ความรอบรู้) อัล-กุดเราะฮฺ (อานุภาพ) อัล-อิรอดะฮฺ (ความประสงค์) อัส-สัมอฺ (การได้ยิน) อัล-บะศ็อรฺ (การมองเห็น) อัล-กะลาม อัน-นัฟสีย์ (คำพูดที่ดำรงอยู่ด้วยอาตมันของอัลลอฮ) ส่วนคุณลักษณะอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้พวกเขาจะตีความ เช่น การตีความคุณลักษณะอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะลงโทษ   อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะให้ผลตอบแทน   อิสติวาอ์ของอัลลอฮฺเหนืออะรัช (บัลลังก์) ด้วยความหมายว่า การมีอำนาจและการครอบครอง และยังมีการตีความคุณลักษณะของอัลลอฮฺอื่นๆ อีกมากมาย


อภิปลายประเด็น การจำกัดจำนวนคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียง 7 ประการ
นั้นคือ อัล-หะยาฮฺ (ทรงมีชีวิต) อัล-อิลมฺ (ทรงมีความรู้) อัล-กุดเราะฮฺ (ทรงอานุภาพ) อัล-อิรอดะฮฺ (ทรงพระประสงค์) อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) อัล-บะศ็อรฺ (ทรงมองเห็น) และ อัล-กะลาม อัน-นัฟสีย์ (คำพูดที่ดำรงอยู่ด้วยอาตมัน ของอัลลอฮ) ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ นั้นพวกเขาจะตีความเป็นอย่างอื่น

ข้อโต้ตอบ : แนวคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าแปลกและขัดแย้งกันอย่างยิ่ง หากไม่แล้ว ทำไมพวกอัล-อะชาอิเราะฮฺจึงตีความคุณลักษณะ อัร-เราะหฺมะฮฺ (ความเมตตา) แต่ไม่ได้ตีความคุณลักษณะ อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) หากพวกเขากล่าวว่า คุณลักษณะ อัร-เราะหฺมะฮฺ (ความเมตตา) นั้น บ่งชี้ถึงความอ่อนโยนของจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ เพราะจะไปคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมา ถ้าเช่นนั้นคุณลักษณะ อัส-สัมอฺ (ทรงได้ยิน) ก็ไม่สมควรใช้กับอัลลอฮฺเช่นกัน เพราะการยอมรับในคุณลักษณะของอัส-สัมอฺจะไปคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมา หากพวกเขากล่าวว่า พวกเรายืนยันคุณลักษณะ อัส-สัมอฺที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ เราก็ขอตอบว่า ดังนั้น พวกท่านก็จงยืนยันคุณลักษณะอัร-เราะหฺมะฮฺที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺดังที่พวกท่านได้ยืนยันคุณลักษณะของอัส-สัมอฺที่เหมาะสมกับพระองค์


จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” หมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น 


จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” (การศรัทธา) ว่าหมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น ดังนั้น ตามทัศนะของพวกเขา เมื่อมนุษย์เกิดศรัทธาและเชื่อมั่นด้วยใจ ถึงแม้ว่ามิได้กล่าวคำปฏิญาณตนด้วยกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺตลอดชีวิต และมิได้ปฏิบัติกรรมดีด้วยอวัยวะก็ถือว่าเป็นมุอ์มินผู้ศรัทธาที่รอดพ้นจากการลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ  อัล-อีย์ญีย์ ได้กล่าวถึงนิยามอัล-อีหม่านในหนังสืออัล-มะวากิฟว่า นิยามของอัล-อีหม่าน ด้านวิชาการ ตามทัศนะของสำนักคิดพวกเรา(อัล-อะชาอิเราะฮฺ) และเป็นทัศนะของปราชญ์ (อิหม่าม) ส่วนใหญ่ เช่น ท่านอัล-กอฎีย์และอัล-อุสตาซ นั่นก็คือ อัล-อีหม่าน หมายถึง
التصديق للرسول فيما علم مجيئه به ضرورة،  فتفصيلا فيما علم تفصيلا، وإجمالا فيما علم إجمالا
“การศรัทธาต่อเราะสูลในสิ่งที่ท่านนำมาบอกเล่าในเรื่องที่จำเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในรายละเอียดที่สามารถรู้ถึงรายละเอียด และศรัทธาแบบโดยรวมในคำสอนที่รู้แบบรวมๆ” (อัล-มะวากิฟ หน้า 384)

อภิปลายประเด็น การให้คำนิยาม อัล-อีหม่าน (ความศรัทธา) หมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น


ข้อโต้ตอบ : เป็นทัศนะที่ขัดแย้งกับอิจญ์มาอ์(มติเห็นพ้อง) และหลักฐานจากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ ส่วนอิจญ์มาอ์นั้น อิหม่ามอัช-ชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า เป็นอิจญ์มาอ์ของเศาะหาบะฮฺ อัต-ตาบิอีน และผู้คนหลังจากยุคนั้นที่ข้าพเจ้ามีชีวิตทันกับยุคของพวกเขาว่า “อัล-อีหม่าน คือ คำพูด การกระทำ และการตั้งใจ และอัล-อีหม่านจะไม่สมบูรณ์หากขาดไปอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 3 ประการดังกล่าว” ดังนั้น ความเชื่อ การทำอะมัลที่ดี และการกล่าวคำปฏิญาณ (ชะฮาดะฮฺ) เป็นหลักการของอีหม่าน และถือว่าอีหม่านไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องหากปราศจากสิ่งเหล่านั้น หลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่ยืนยันสนับสนุนการอิจญมาอ์ในเรื่องนี้มีมากมายเกินกว่าจะนับให้ครบถ้วนทีเดียว

การตีความในศิฟัตของอัลลอฮฺสำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ เป็นแนวทางที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ไม่เคยปรากฏในยุคชาวสะลัฟ

นับเป็นเรื่องที่น่าฉงนสนเท่ห์ที่สำนักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺเองยอมรับว่าการตีความในศิฟัต (คุณลักษณะ) ของอัลลอฮฺนั้น เป็นแนวทางที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่เคยปรากฏในยุคชาวสะลัฟ (กัลยาณชนรุ่นแรก) ไม่ว่าจะเป็นยุคของเศาะหาบะฮฺ หรือยุคของอัต-ตาบิอีน โดยพวกเขาได้สร้างวาทกรรมที่โดดเด่นว่า “แนวทางของชาวสะลัฟ (กัลยาณชนรุ่นแรก) เป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า และแนวทางของชาวเคาะลัฟ (ชนรุ่นหลัง) เป็นแนวทางที่รอบรู้และฉลาดกว่า” กล่าวคือแนวคิดของการตีความในหมู่ชนรุ่นหลังย่อมรู้ดีและฉลาดกว่าแนวคิดของชนชาวสะลัฟที่มอบหมายข้อเท็จจริง  ซึ่งวาทกรรมนี้ส่อให้เห็นเจตนาดูแคลนแนวทางของชาวสะลัฟในความรู้และความเข้าใจของพวกเขาต่อเรื่องคุณลักษณะของอัลลอฮฺ การดูถูกดูแคลนเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นนอกจากด้วยปากของผู้ที่ไม่รู้ฐานะและสถานภาพชาวสะลัฟในความรู้ความเข้าใจในศาสนาอย่างแท้จริง

การอภิปรายคำพูดและหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาริเราะฮฺในประเด็นที่ขัดแย้งกับแนวคิดของชาวสะลัฟ ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ ถึงความปลอดภัยของแนวคิดของชาวสะลัฟจากความขัดแย้งและความสับสน ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ วิทยปัญญาและความปลอดภัย

والله أعلم بالصواب



ส่วนหนึ่่งได้อ้างอิงมาจาก
 http://www.islamweb.net/media/index.php?page=article&lang=A&id=65287
แปลโดย : อันวา สะอุ

กดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี้