อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อิสลามกับวันรื่นเริงของศาสนิกอื่น





ภายหลังที่อิสลามได้ถูกอุบัติขึ้น อิสลามได้ทดแทนวันที่อนุญาตให้บรรดามุสลิมสนุกสนานรื่นเริงได้เพียงแค่สองวันเท่านั้น นั่นคือ วันอีดิลฟิฏริ และวันอีดิลอัฎหา


                  หลักฐานจากท่านอนัส บุตรของมาลิกเล่าว่า " كان لأهل الجاهلية يومان في كل سنة يلعبون فيهما  فلما قدم النبي صلى الله عليه وسلم  المدينة قال كان لكم يومان يلعبون فيهما وقد أبدلكم الله فيهما خيرا منهما يوم الفطر ويوم الأضحى " ความว่า "ปรากฏว่ากลุ่มชนญาฮิลียะฮฺ (กลุ่มชนที่อิสลามยังไม่อุบัติขึ้นแก่พวกเขา) สำหรับพวกเขามีอยู่สองวันในทุกๆ ปีซึ่งเป็นวันที่พวกเขารื่นเริงสนุกสนานในสองวันดังกล่าว, ครั้นเมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ  เดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ท่านรสุล  ก็กล่าวว่า สำหรับพวกท่านมีวันรื่นเริงสนุกสนานอยู่สองวัน ทว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนให้ดีกว่าวันทั้งสองดังกล่าว นั่นคือวันอีดิลฟิฏริ และวันอีดิลอัฎหา" (บันทึกโดยนะสาอีย์ หะดีษที่ 1538) 


ครั้นเมื่อหลักการของศาสนาอนุมัติให้มุสลิมฉลอง หรือรื่นเริงได้เพียงสองวันในรอบปีเท่านั้น  บรรดามุสลิมจะแสวงหาวันรื่นเริง หรือวันฉลองอื่นจากวันอีดิลฟิฏริ (عيد الفطر) หรืออีดิลอัฎหา (อ่านว่า อัด-ฮา عيد الأضحى  ) ไม่ได้ เพราะเมื่อท่านรสูล   ยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่ามุสลิมมีวันรื่นเริงเพียง 2 วันเท่านั้น มุสลิมที่ศรัทธามั่นคงก็ต้องปฏิบัติคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ    อย่างเคร่งครัด


อีกทั้งท่านรสูลุลลอฮฺยังกำชับให้ออกห่างจากการเลียนแบบแนวคิด,วิถีชีวิต และพฤติกรรมของพวกยะฮูดีย์ และพวกนัศรอนีย์อีกด้วย ดั่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ  กล่าวไว้ว่า " و لا تشبهوا باليهود ولا بالنصارى  " ความว่า "พวกท่านอย่าเลียนแบบพวกยะฮูดีย์ (พวกยิว) และพวกนัศรอนีย์ (พวกคริสเตียน) " (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 8230)


บริเวณใด หรือสถานที่ใดที่อดีตเคยจัดงานเฉลิมฉลองของกลุ่มชนที่มีความเชื่อ หรือศาสนาอื่นจากอิสลาม ท่านรสูลุลลอฮฺ  ก็ยังสั่งห้ามมิให้มุสลิมเข้าไปร่วมกิจกรรมยังบริเวณ หรือสถานที่แห่งนั้นอีกต่างหาก 


ท่านษาบิต บุตรของเฎาะฮากเล่าว่า " ชายผู้หนึ่งบนบาน (นะซัร) ว่าจะเชือดอูฐหนึ่งตัว ณ บริเวณ (ที่เรียกว่า) บุวานะฮ, ท่านรสูลุลลอฮจึงถามเขาว่า ณ สถานที่แห่งนั้นเคยมีรูปเจว็ดหนึ่งจากบรรดารูปเจว็ดที่เคยถูกเคารพภักดีในสมัยญาฮิลียะฮ์ (หมายถึงสมัยก่อนที่ท่านรสูล  ถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี) หรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ตอบว่า ไม่เคยมีการกระเช่นนั้นครับ, ท่านรสูลถามต่ออีกว่า สถานที่แห่งนั้นเคยมีการจัดงานวันรื่นเริงของพวกเขาหรือไม่ ? บรรดาเศาะหาบะฮ์ก็ตอบว่า ไม่เคยมีการกระทำกันครับ, ท่านรสูล  จึงกล่าวขึ้นว่า เช่นนั้นท่านจงทำให้สิ่งที่ท่านบนบานให้ครบถ้วนสมบูรณ์เถิด แท้จริงไม่มีการทำบนบานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องของการฝ่าฝืนพระองค์อัลลอฮ์ " (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษ 2881)


วัลลอฮูอาลัม

ปีใหม่ มุสลิมกำลังฉลองความปราชัย



การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่สากล




         1 มกราคม การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่สากล กับเงื่อนงำที่แอบแฝงในประวัติศาสตร์ระหว่างมุสลิมกับคริสเตียน

               ในทุก ๆ ปี  พลเมืองโลกทั่วไปจะเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่  1  มกราคมกันอย่างเอิกเกริก  ในคืนสุดท้ายของปีซึ่งเรียกกันว่า  “คืนส่งท้ายปีเก่า”  จะมีการเตรียมการสำหรับนับถอยหลัง  (Countdown)  ในช่วงการเปลี่ยนวัน  ณ  เวลา  0  นาฬิกา  (เที่ยงคืน)  ซึ่งถือเป็นการขึ้นวันใหม่ตามอย่างสากล  ผู้คนที่ร่วมเฉลิมฉลองในวันขึ้นปีใหม่นั้นต่างก็รู้เพียงว่านั่นคือวันที่  1  ของปีใหม่ที่ควรจะยินดีและต้อนรับด้วยการเฉลิมฉลอง 
                ทว่าคงไม่มีผู้ใดรับรู้หรือฉุกคิดหรอกว่า  ทำไมหนอ  พวกฝรั่งตะวันตกจึงกำหนดเอาวันที่  1  มกราคมของทุกปีเป็นวันเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่  ทั้ง ๆ  ที่ผู้นั้นอาจเป็นคนไทยที่ถือเอาช่วงวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตาม ธรรมเนียมปฏิบัติ  หรือผู้นั้นอาจจะเป็นผู้มีเชื้อสายจีน  ซึ่งก็มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติจีนและมิใช่วันที่  1  มกราคมแต่อย่างใด  กระนั้นพวกเขาก็ร่วมเฉลิมฉลองในวันที่  1  มกราคม  ตามสากล  (หรือตามฝรั่งตะวันตก)  ได้อย่างสนิทใจ 
                ที่ น่าเศร้าใจก็คือมีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมิใช่น้อยที่เข้าร่วมในการเฉลิมฉลอง นั้นด้วย  ซึ่งนั่นก็ไม่น่าเศร้าใจเท่ากับการที่ชาวมุสลิมเหล่านั้นขาดภูมิความรู้ทาง ประวัติศาสตร์แห่งประชาชาติของตน  จะด้วยเพราะไม่รู้หรือมิได้ฉุกคิดก็ตามทีจึงได้เผลอไผลเห็นดีเห็นงามจนเอา เป็นเหตุแห่งการเฉลิมฉลองร่วมกับเหล่าชนอื่น  ทั้ง ๆ  ที่ชาวมุสลิมนั้นมีวันรื่นเริงตามหลักการของศาสนาเป็นของตนเองอยู่แล้ว  คือวันอีดอีดิลฟิฏริ  และช่วงวันอีดิลอัฎฮา  ตลอดจนมีปฏิทินทางจันทรคติในการกำหนดวันเดือนปีและมีศักราชเป็นของเฉพาะตนซึ่งเรียกกันว่า  ฮิจเราะฮฺศักราช




                ต่อคำถามที่ว่า  ทำไมหนอ  พวกฝรั่งมังค่าจึงกำหนดเอาวันที่  1  มกราคม  ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่  อาจกล่าวได้ว่า  เรื่องนี้น่าจะมีเงื่อนงำที่แอบแฝง  กล่าวคือ  หากย้อนเวลากลับไปในอดีต  เมื่อปี  คศ.1492  ณ  ดินแดนอัลอันดะลุส  (Andalucia)  ในสเปน  ได้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิม  คือ  เหตุการณ์สูญเสียที่มั่นสุดท้ายของชาวมุสลิมในอาณาจักรฆอรนาเฏาะฮฺ  (Granada)  แก่อาณาจักรคริสเตียนสเปนซึ่งถูกรวบรวมให้เป็นหนึ่งภายหลังการอภิเษกสมรสของ เฟอร์ดินานด์  หรือ  เฟอร์นานโดที่  5  แห่งแคว้นอรากอน  (Aragon)  กับพระนางอิซาเบลล่า  แห่งแคว้นกิชตาละฮฺ  (Castile) 
                ในช่วงเวลานั้น  อาณาจักรฆอรนาเฏาะฮฺ  (Granada)  มีกษัตริย์นามว่า  อบูอับดิลลาฮฺ  มุฮำหมัด  อัซซ่อฆีร  หรือที่ฝรั่งเรียกว่า  อบูอับดิล  (Abuabdi,  Bodillah)  เป็นผู้ปกครอง  พวกคริสเตียนสเปนได้ยกทัพเข้าปิดล้อมนครฆอรนาเฏาะฮฺตั้งแต่ปี  คศ.1491  การปิดล้อมเป็นไปอย่างหนักและต่อเนื่อง  จนกระทั่ง  อบูอับดิลลาฮฺ  ยอมจำนนต่อฝ่าย คริสเตียนสเปนด้วยการยอมทำข้อตกลงกับฝ่ายคริสเตียนในการส่งมอบเมืองเป็น จำนวนถึง  67  ข้อซึ่งนับเป็นสนธิสัญญาที่ยืดยาวที่สุดฉบับหนึ่งในช่วงสิ้นสุดยุคกลางของ ยุโรป 
                การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างสองฝ่ายเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการในวันที่  2  ร่อบีอุลเอาวัล  ฮ.ศ.897  ตรงกับวันที่  2  มกราคม  คศ.1492  ซึ่งในวันเดียวกันนั้น  กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่  5  กับพระราชินี  อิซาเบลล่าก็ได้เสด็จเข้าสู่พระราชวัง  อัลฮัมรออฺ  (Alhambra)  อันเป็นที่ประทับของกษัตริย์  อบูอับดิลลาฮฺ  และมีการนำไม้กางเขนเงินขึ้นสู่ยอดโดมของมัสญิดในพระราชวัง  กษัตริย์อบูอับดิลลาฮฺได้จุมพิตพระหัตถ์ของกษัตริย์คริสเตียนแห่งสเปนและ ดำเนินออกจากพระราชวัง 
                กษัตริย์อบูอับดิลลาฮฺได้หยุดทอดพระเนตรนครฆอรนาเฏาะฮฺเป็นครั้งสุดท้าย  ณ  เนินแห่งหนึ่งที่เรียกกันว่า  เนินอัลบันดูล  และร่ำไห้พร้อมสะอึกสะอื้น  พระนางอาอิชะฮฺผู้เป็นพระมารดาจึงตะโกนบอกกับอบูอับดิลลาฮฺว่า  “เจ้าจงร่ำไห้เยี่ยงอิสตรีต่ออำนาจที่สูญสิ้น  เจ้าหาได้รักษามันไว้ได้ไม่เยี่ยงเหล่าบุรุษ”  ชาวสเปนเรียกขานเนินแห่งนี้ว่า  “การสะอื้นร่ำไห้ครั้งสุดท้ายของชาวอาหรับ”  (el ultimo  suspiro  del  Moro) 
                อาณาจักรฆอรนาเฏาะฮฺ  หรือ  แกรนาดา  ที่มั่นสุดท้ายของชาวมุสลิมในอัลอันดะลุส  (สเปน)  ปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของฝ่ายคริสเตียนที่ขับเคี่ยวต่อสู้กับชาวมุสลิมหรือ พวกมัวร์มาตลอดระยะเวลาร่วม  800  ปี  ความจริงชาวมุสลิมได้สูญเสียฆอรนาเฏาะฮฺมาตั้งแต่วันที่  1  มกราคมของปีนั้น  (1492)  แล้ว เพียงแต่การสูญเสียอย่างเป็นทางการนั้นเกิดขึ้นในวันถัดมา  คือ  วันที่  2  มกราคม  1492 
                และการสูญเสียนครฆอรนาเฏาะฮฺในปีดังกล่าวก็หาใช่เป็นโศกนาฏกรรมที่แท้จริง ไม่ หากแต่ว่าโศกนาฏกรรมที่แท้จริงได้เริ่มขึ้นหลังจากนั้น  เพราะเพียง  7  ปีให้หลัง  (คศ.1499)  เงื่อนไขอันเป็นข้อตกลงในสนธิสัญญาส่งมอบเมืองนั้นก็ถูกละเมิดอย่างไม่แยแส จากฝ่าย คริสเตียน  บรรดามัสญิดถูกสั่งปิด  การประกอบพิธีกรรมถูกสั่งห้าม  การตั้งศาลพิเศษเพื่อตรวจสอบชาวมุสลิมที่ตกค้างอยู่ในฆอรนาเฏาะฮฺโดยฝ่าย ศาสนจักรก็มีขึ้น 
                มุสลิม ถูกบังคับให้เข้ารีตในคริสต์ศาสนา  ตำรับตำราทางวิชาการถูกเผาทำลายไม่เว้นแม้แต่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน  มีการสั่งห้ามชาวมุสลิมพูดภาษาอาหรับและห้ามอาบน้ำ  ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนอิสลามกลับกลายมาเป็นดินแดนแห่งการปฏิเสธ โดยสิ้นเชิงบรรดามัสญิดที่สง่างามด้วยสถาปัตยกรรมอิสลามถูกแปรเปลี่ยนเป็น โบสถ์วิหารในคริสตศาสนาจนหมดสิ้น  มุสลิมจำนวนหลายล้านคนจึงจำต้องอพยพละทิ้งถิ่นฐานของตนซึ่งเคยอาศัยและ รังสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองเอาไว้ตลอดระยะเวลาร่วม  8  ศตวรรษ 
                สงครามครูเสดในดินแดนตะวันออก  (เยรูซาเล็ม  ปาเลสไตน์)  พวก คริสเตียนอาจจะพ่ายแพ้ต่อชาวมุสลิมนับแต่ชัยชนะของสุลตอน  ซ่อลาฮุดดีน  อัลอัยยูบีย์หรือสลาดินในการปลดปล่อยแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์  แต่สงครามครูเสดในดินแดนอัลอันดะลุส  มุสลิมเป็นฝ่ายปราชัย 
                อีกทั้งในปีเดียวกันนั้น  (1492)  คริสโตเฟอร์  โคลัมบัส  ผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชินีอิซาเบลล่าของสเปนก็สามารถค้นพบโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกาได้สำเร็จ  ศักราชแห่งการล่าอาณานิคมและความยิ่งใหญ่ของกองเรือ  อมาด้าของสเปน  และการผงาดขึ้นของมหาอำนาจทางทะเลอย่างโปรตุเกสก็เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการ ล่มสลายของการผูกขาดทางการค้าและการควบคุมเส้นทางการค้าทั้งทางบกและทางทะเล ของประชาคมมุสลิม 
                นี่กระมังเป็นสาเหตุที่พวกฝรั่งตะวันตกได้ถือเอาวันที่  1  มกราคมเป็นวันเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามครูเสดที่มีต่อพวกนอกศาสนาอันหมายถึง ชาวมุสลิมโดยรวม  ซึ่งช่างเหมาะเจาะกับช่วงเวลาก่อนหน้านั้นราว  1  สัปดาห์  ที่พวกเขาเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสในวันที่  25  ธันวาคมต่อเนื่องจนถึงวันที่  1  มกราคม 
                การเฉลิมฉลองของชาวคริสเตียนในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะในปี  คศ.1492  จึงเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะที่มีต่อชาวมุสลิมอย่างมิต้องสงสัย  ถึงแม้ว่าเมื่อกาลเวลาผ่านล่วงเลยไปผู้คนในสมัยหลังจะหลงลืมไปแล้วว่า  เพราะอะไรพวกฝรั่งชาวคริสต์จึงถือเอาวันที่  1  มกราคมเป็นวันสำคัญของพวกเขาก็ตาม  ในช่วงคริสต์มาสอีฟ  ทำไมฝรั่งจึงมีธรรมเนียมกินไก่งวง  ในทุกปีทำเนียบขาวจะจัดประเพณีการกินไก่งวงเพื่อขอบคุณพระเจ้า  มีการปล่อยไก่งวงผู้โชคดีให้เป็นข่าวเกรียวกราวไปทั่วโลก 




                ชะรอยไก่งวงที่ว่านี้ก็มีสัญลักษณ์แอบแฝงอยู่   พวกฝรั่งเรียกไก่งวงว่า  เทอคิ  (Turkey)  ซึ่งหมายถึง  ไก่แขกตุรกีและตุรกีในชั้นหลังก็หมายถึง  พวกมุสลิมที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกับพวกฝรั่งชาวคริสเตียนในการทำสงครามศาสนา  (ครูเสด)  การฆ่าไก่งวงเพื่อรับประทาน เป็นอาหารในช่วงคริสต์มาสอีฟก็คือสัญลักษณ์ในการพิฆาตพวกเติร์กหรือพวกคน ต่างศาสนาที่หมายถึง "มุสลิม " นั่นเอง

                ย้อนกลับไปยังอัลอันดะลุส  (Andalucia)  อีกครั้ง  ในยุคที่ชาวมุสลิมหรือพวกมัวร์  (Moor)  ปกครองสเปนและมีการสู้รบกับพวกคริสเตียนทางตอนเหนือนั้น  มีการประกาศจากพระสันตะประปาแห่งกรุงโรมให้ชาวคริสเตียนทำสงครามครูเสดกับ ชาวมุสลิมในสเปนมาโดยตลอด  นับตั้งแต่ครั้งกษัตริย์ชารล์  มาร์แตง  ของพวกแฟรงก์  (ฝรั่งเศส)  ทำศึกกับกองทัพของชาวมุสลิมที่ข้ามเทือกเขาพิเรนีสไปยังตอนใต้ของฝรั่งเศสใน สมรภูมิตูร  บูวาติเยร์  (Tour-Poitiers)  เมื่อปี  ฮ.ศ.114  ตรงกับปี  คศ.732  เป็นต้นมา 
                ดังนั้นการสู้รบของพวกคริสเตียนทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย  (สเปน)  กับชาวมุสลิมในอัลอันดะลุส  จึงเป็นการทำสงครามครูเสดอย่างไม่ต้องสัย  บ่อยครั้งที่พวกคริสเตียนในสเปนได้รับการสนับสนุนจากกองเรือรบของพวกครูเสด ซึ่งมีทั้งฝรั่งเศส,อังกฤษ,เยอรมันและอิตาลี  (เวนิส-เจนัวร์)  ในการศึกเพื่อเข้ายึดครองหัวเมืองชายทะเลในอัลอันดะลุส   พวกคริสเตียนในยุโรปมิเคยละความพยายามในการร่วมมือกันทำการศึกกับชาวมุสลิมเลยนับแต่ยุคกลางจวบจนทุกวันนี้ 
                ฉะนั้นชัยชนะของคริสเตียนในสเปนที่สามารถขับไล่ชาวมุสลิมออกจากอัลอันดะลุ สได้สำเร็จ  จึงเป็นชัยชนะร่วมกันของคริสเตียนทั่วยุโรป  เหตุนี้จึงไม่แปลกอันใดในการที่พวกเขาจะเฉลิมฉลองกันอย่างเอิกเกริกในวัน ที่  1  มกราคมของทุกปี  แต่สำหรับประชาคมมุสลิมแล้ววันที่  1  มกราคมของทุกปีหาใช่เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองไม่แต่เป็นวันแห่งโศกนาฏกรรมและ ความสูญเสียที่ไม่มีวันคืนกลับ 
         เราอาจจะสูญเสียอัลอันดะลุสไปแล้ว  แต่ที่สำคัญขออย่าให้มุสลิมได้สูญเสียจิตวิญญาณและความเป็นอัตลักษณ์ของตน  เพราะนั่นย่อมหมายถึงความอัปยศและความปราชัยอย่างที่สุดซึ่งจะไปโทษใครมิได้เลยนอกจากตัวเอง


(لاحول ولاقوة إلابا لله )
อะลี  อะฮฺหมัด  อบูบักร  มุฮำหมัด  อะมีน  อัลอัซฮะรีย์
10  มกราคม  2551 / 1  มุฮัรรอม  1429





วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การซิกรุ้ลลอฮ์รวมกลุ่มที่ถูกต้องตามบทบัญญัติอิสลาม




การซิกรุ้ลลอฮ์รวมกลุ่มที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ จะต้อง 

1.  ไม่ใช่การซิกรุ้ลลอฮ์ด้วย  “วิธีการ”  แปลกๆที่ถูกกำหนดกันขึ้นมาเอง

2.  เป็นการซิกรุ้ลลอฮ์ – ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำอย่างไร – ในลักษณะสงบเงียบ,  เบา,  และสำรวม

3.  ให้ทำในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการกล่าวถึงพระนามอันยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.  เช่น  มัสญิด,  โรงเรียน,   บาแล  เป็นต้น

4.  เป็นการซิกรุ้ลลอฮ์ที่มีเป้าหมายเพื่อ  “ขอบคุณพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.”  และ“ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ)”เท่านั้น
“แล้วท่านร่อซูลุลลอฮ์กล่าวว่า  อะไรที่ทำให้พวกท่านนั่งอยู่หรือ ?   บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า  เราได้นั่งเพื่อกล่าวซิกรุลลอฮ์  และทำการสรรเสริญอัลลอฮ์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงชี้นำกับเราไปยังอิสลาม  และสิ่งที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่เรา  ท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ซ.ล.) กล่าวว่า  อัลลอฮ์ !ไม่มีอะไรทำให้พวกท่านนั่ง  นอกจากดังกล่าวนั้นดอกหรือ ?  พวกเขากล่าวว่า  อัลลอฮ์ ! ไม่มีอะไรที่ทำให้เรานั่งอยู่เว้นแต่สิ่งดังกล่าวนั้น  .......” 

วัลลอฮูอาลัม


ฮะดีษมัรฟัวอ์ ฮะดีษเมากูฟ และ ฮะดีษมั๊กตัวอ์





ฮะดีษมัรฟัวอ์ مَرْفُوْعٌ


ฮะดีษมัรฟัวอ์คือ ฮะดีษที่อ้างถึงท่านนบีมูฮัมหมัด ไม่ว่าจะเป็นคำพูด,การกระทำ,การยอมรับ, จริยธรรม และคุณลักษณะ ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม




ฮะดีษเมากูฟ



ฮะดีษเมากูฟยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  أَثَرٌ  “อะษัร”  มีความหมายว่า ร่องรอย โดยบรรดานักวิชาการด้านฮะดีษและฟิกฮ์ มักจะเรียกฮะดีษที่สืบถึงท่านนบีว่า “มัรฟัวอ์” หรือ “ค่อบัร”   และเรียกฮะดีษที่สืบถึงศอฮาบะห์ว่า “เมากูฟ”   หรือ “อะษัร”  ตัวอย่างตำราฮะดีษที่นักวิชาการได้รวบรวมไว้โดยจำแนกประเภทฮะดีษระหว่าง ฮะดีษมัรฟัวอ์ (ค่อบัร) กับฮะดีษเมากูฟ (อะษัร) เช่นหนังสือชื่อ  معرفة السنن والآثار   ของท่านอิหม่ามบัยฮาบีย์ เป็นต้น 



ตัวอย่างฮะดีษเมากูฟ



عَنْ جَرِيْرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ البَجَلِيِّ قَالَ كُنَّا نَرَى الاجْتِمَاعَ اِلَى أهْلِ المَيِّتِ وَصَنْعَةَ الطَعَامِ مِنَ النِيَاحَةِ


“ท่านญะรีร บินอับดิลลาฮ์ อัลบะญะลีย์ รายงานว่า พวกเราเห็นว่าการรวมตัวกันที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและการทำอาหาร (ที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต) เป็นส่วนหนึ่งจากนิยาหะฮ์” สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 1601


             หมายเหตุ  นิยาหะฮ์ คือพิธีกรรมไว้ทุกข์แบบญาฮิลียะฮ์


 ฮะดีษมั๊กตัวอ์



ฮะดีษมั๊กตัวอ์ مَقْطُوْعٌ     ซึ่งหมายถึงฮะดีษที่สืบถึงแค่คนในระดับตาบีอีน คือคนที่ทันยุคศอฮาบะห์ แต่ไม่ทันได้พบหรือเห็นท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เช่นท่านมุญาฮิด ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของศอฮาบะห์ที่ชื่อ อิบนิอับบาส หรือเช่นนักวิชาการในยุคตาบีอีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ ท่านฮะซัน อัลบัศรีย์ เป็นต้น


               นอกจากนี้แล้ว ฮะดีษมั๊กตัวอ์ยังรวมถึงคำพูดและการกระทำของคนระดับถัดมาจากยุคของตาบีอีนอีกด้วย เช่นคำพูดหรือการกระทำของคนระดับ ตาบีอีตตาบีอีน หมายถึงคนที่ทันยุคตาบีอีน แต่ไม่ทันได้พบกับศอฮาบะห์






               ฮะดีษมั๊กตัวอ์จำแนกได้เป็นสองประเภทด้วยกันคือในด้านคำพูดและในด้านการกระทำ โดยให้พิจารณาว่า ฮะดีษบทใดสืบถึงคำพูดของตาบีอีนหรือตาบีอิตตาบีอีน จะถูกเรียกว่า ฮะดีษมั๊กตัวอ์เกาลีย์  แต่ถ้าหากสืบไปถึงการกระทำของตาบีอีนหรือตาบีอิตตาบีอีน จะถูกเรียกว่า ฮะดีษมั๊กตัวอ์เฟียะอ์ลีย์ ตัวอย่างเช่นการที่ตาบีอีน กล่าวว่า    كنا نفعل แปลว่า พวกเราได้กระทำ  อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการอ้างถึงคำพูดและการกระทำของตาบีอีนหรือตาบีอิตตาบีอีนเท่านั้น

ฮะดีษมั๊กถึงแม้ว่าจะตรวจสอบสถานะของฮะดีษมักตัวอ์แล้วพบว่าอยู่ในสถานะ ศอศอเฮียะห์ ก็มิอาจนำมาอ้างเป็นหลักฐานทางศาสนาได้ เพราะถือเป็นคำพูดและการกระทำของคน คนหนึ่งเท่านั้น

วัลลอฮูอาลัม







หะดิษเกี่ยวกับการศึกษาความรู้เป็นฮาดิษนบีหรือไม่?



หะดีษได้ยินบ่อยมากๆ คือ หะดีษที่
طلب العلم فريضة على كل مسلم
(رواه ابن ماجه بسند صحيح)
ซึ่งมีความหมายว่า “การศึกษาหาความรู้นั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน” บันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง
แต่ในบางครั้งบางคนเขาจะอ่านว่า طلب العلم فريضة على كل مسلم ومسلمة  (การศึกษาหาความรู้นั้นเป็ฯหน้าที่ของมุสลิมทั้งชายและหญิซ) มีคำว่า مسلمة (สตรีที่นับถือศาสนาอิสลาม) เพิ่มต่อท้าย อันนี้บรรดาผู้รู้หลายท่านเขาบอกว่า คำท้ายคำเดียวคำนี้เป็นคำที่เพิ่มใหม่ บ้างว่าเป็น เฏาะอีฟ ضعيف (ความน่าเชื่อถือมีน้อย) เฉพาะคำๆนี้ เลยทำให้ส่วนที่อยู่ข้างหน้านั้นลดความน่าเชื่อถือไปด้วย เฉพาะส่วนหน้าอย่างเดียวตามที่ได้กล่าวมาข้างบนนั้น มีหลายคนได้รายงานและได้บันทึกไว้ อย่างที่ยกมานี้เป็น อิบนุมาญะฮฺ ที่บันทึกโดยเอาจากสายรายงานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นหะดีษนี้มีความน่าเชื่อถือว่าเป็นคำพูดของนบี(ศ็อลฯ)จริงค่อนข้างสูง อย่างที่เราเรียกตามภาษาหะดีษว่า เศาะฮีฮฺ
นอกจากหะดีษที่ได้ยกมาข้างบนนี้แล้วที่เราได้ยินบ่อย มีอีกสองสามหะดีษที่อาจได้ยินที่เขายกมาอ้างสม่ำเสมอ หะดีษที่ว่า
اطلبوا العلم من ا لمهد إلى اللحد
ความว่า “พวกเจ้าจงศึกษาหาความรู้จากเปลจนถึงหลุ่มฝั่งศพ”
โดยความหมายบรรดาอุลามาอฺว่าถูกต้อง แต่ตัวบทหะดีษนี้สายรายงานไม่ถูกต้อง อับดุลฟาตาฮฺ อะบูฆุดดะฮฺ ได้กล่าวว่า ประโยคนี้มีคนพูดถึงมาก จริงแล้วไม่ใช่หะดีษ ไม่ควรจะไปอ้างว่าคำนี้หรือประโยคนี้เป็นหะดีษหรือคำพูดของนบี(ศ็อลฯ)(قيمة الزمن عند العلماء، هامش ص 29) ไม่ใช่หะดีษที่ท่านอะบูฆุดดะฮฺว่านี้ ในภาษาหะดีษเขาเรียกว่า เมาฏูอฺ موضوع
และมีอีกประโยคหนึ่งที่เขาว่าเป็นหะดีษ คือ
اطلبوا العلم ولو بالصين
ความว่า “พวกเจ้าจงศึกษาหาความรู้แม้จะไกลถึงประเทศจีน”
ประโยคนี้หลายคนได้บันทึกว่าเป็นหะดีษ และบอกว่ามาจากสายรายงานที่ชื่อว่า อะบู อาติกะฮฺ 
อัลบัซซารฺ กล่าวในมัสนัดของเขา (1/175) ว่า อะบู อาติกะฮฺ เป็นใคร มาจากไหนไม่มีใครู้จัก ดังนั้นหะดีษนี้จึงเป็นหะดีษที่ไม่มีที่มาหรือไม่มีความจริง لا أصل له
นักการหะดีษสมัยใหม่ท่านหนึ่งที่เรารู้จักในความเด็ดขาดในการตัดสินว่าหะดีษหรือไม่อย่างไรนั้น คือ ท่าน อัลบานี ท่านได้กล่าวว่า หะดีษนี้ باطل บาฏิล แปลเป็นไทยตรงคือ โมฆะ
สรุปคือ ไม่ใช่หะดีษ แต่ไม่ได้หมายความว่า โดยความหมายให้ศึกษาหาความรู้แม้จะอยู่ไกลก็ตามนั้นไม่ถูกต้องด้วย เพราะอิสลามส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ทุกเมื่อและแม้จะต้องไปหาไกลๆ
วัลลอฮุอะอฺลัม
จาก http://ccyiu.net

การญีฮาดที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม



ทัศนะเรื่องการต่อสู้ในหนทางของศาสนา (ญีฮาด) ในอิสลาม 
            แนวคิดเรื่อง ญีฮาด และชะฮีด เป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับเอกสารดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องอธิบายแนวคิดที่ถูกต้อง 
            ญีฮาด ในอิสลาม หมายถึงการทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหลาย  เพื่อเทิดทูนคำสั่งของอัลลอฮ์ ให้อิสลามคงอยู่ในโลกอย่างมั่นคง ซึ่งจำต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งการญีฮาด ออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ท่านอิมนุลกัยยิมแบ่งการญีฮาดออกเป็น 
                การญีฮาดกับอารมณ์ของตนเอง  ถือเป็นพื้นฐานของการญีฮาดอื่น ๆ ทั้งหมด แบ่งออกเป็นสี่ระดับคือ 
                    ๑. ญีฮาดเพื่อเรียนรู้ทางนำและสัจธรรม อันจะทำให้ชีวิตประสบความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า 
                    ๒. ญีฮาดเพื่อปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว 
                    ๓. ญีฮาดเพื่อเผยแพร่สัจธรรมที่เรียนรู้ให้คนอื่นเข้าใจ 
                    ๔. ญีฮาดเพื่อให้อดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ 
                การญีฮาดกับซาตานร้าย  โดยการพยายามขจัดข้อเคลือบแคลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอัลลอฮ์ออกไป จนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาอันแท้จริง อดกลั้นต่อแรงยั่วยุของซาตาน 
                การญีฮาดกับผู้ปฏิเสธ  โดยการนำเสนอเหตุผล หลักฐานและข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับอิสลามให้เป็นที่เข้าใจ หรือหมายถึงการทำสงครามต่อสู้กับการถูกข่มเหง ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกบังคับ 
                การญีฮาดกับมุนาฟิก  ซึ่งต้องใช้เหตุผลโน้มน้าวใจเป็นส่วนใหญ่ 
                การญีฮาดกับมุสลิมผู้ประพฤติตนผิดหลักศาสนา  ซึ่งอาจต้องใช้กำลัง เหตผลหักล้างหรือการปฏิเสธด้วยใจ 
                ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจการญีฮาดว่าหมายถึงการทำสงครามเท่านั้น อันนำไปสู่ความรุนแรงในหลายส่วนของโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย 
           ญีฮาดกับสงคราม  การญีฮาดไม่จำเป็นต้องเป็นการสู้รบเสมอไป และแม้เมื่อเกิดการสู้รบแล้ว ก็มิได้หมายความว่าเป็นการญีฮาดทุกกรณี เช่น การต่อสู้กับผู้บุกรุก เพื่อทำลายชีวิต หรือแย่งชิงทรัพย์สิน เป็นการต่อสู้ที่ชอบธรรม แต่มิใช่การญีฮาด 
                จุดประสงค์ของสงครามในอิสลาม  อิสลามไม่สนับสนุนการทำสงครามและไม่อนุญาตให้มีการประกาศสงคราม เว้นแต่ด้วยความจำเป็น และมีจุดประสงค์ที่เป็นหนทาง เพื่ออัลลอฮ์  ไม่มีผู้ใดสามารถประกาศสงครามเว้นแต่ผู้นำสูงสุดของมุสลิม ต้องผ่านกระบวนการเรียกร้องสู่สันติภาพ หรือการตอบรับอิสลามอย่างถูกต้องชอบธรรมก่อน  ต้องไม่กระทำการโจมตีบุคคลใด หรือฝ่ายใด นอกจากเขาต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำนั้น ทั้งในด้านศาสนบัญญัติ และกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
                    - ตอบโต้ความอยุติธรรมและการรุกราน ปกป้องและพิทักษ์ชีวิตครอบครัว ทรัพย์สิน ศาสนาและมาตุภูมิ 
                    - ปกป้องเสรีภาพในด้านการศรัทธา และปฏิบัติตามหลักศาสนาที่บรรดาผู้รุกรานพยายามใส่ร้าย หรือกีดขวางมิให้มีเสรีภาพด้านความคิด และการนับถือศาสนา 
                    - พิทักษ์การเผยแพร่อิสลามที่ค้ำชูความเมตตา ความสงบสันติแก่มนุษยชาติ ให้แพร่กระจายอย่างทั่วถึงแก่มวลมนุษย์ 
                    - ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญาหรือศรัทธา หรือผู้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคำสั่งของอัลลอฮ์ และปฏิเสธความยุติธรรม การประนีประนอม 
                    - ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกดขี่ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ แห่งหนใด ปลดปล่อย และปกป้องเขาจากการรุกรานของเหล่าผู้กดขี่ 
                   
 ดังนั้นจึงเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างการก่อการร้ายซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม และนำไปสู่ความหายนะ และความพินาศ กับการญีฮาดที่ถูกต้องตามหลักศาสนา 


วัลลอฮูอลัม 

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลของมัยยิตทุกคนที่ตอบคำถามของมลาอิกะฮฺได้ในกุบูรฺ




ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ إذا أقبر الميت أتاه ملكان أسودان أزرقان يقال لأحدهما المنكر وللأخر النكير  “ ความว่า “เมื่อมัยยิตถูกฝังที่กุบูรฺ มลาอิกะฮฺสองท่านสีดำและสีน้ำเงินมายังมัยยิตผู้นั้น มลาอิกะฮฺท่านหนึ่งจากทั้งสองชื่อว่า มุกกัรฺ และอีกท่านหนึ่งชื่อว่านะกีรฺ”  (หากหะดีษนั้นได้รับการตรวจสอบว่าถูกต้อง)


หะดีษข้างต้นของท่านรสูลุลลอฮฺยังมีต่ออีกว่า ภายหลังที่มัยยิตตอบคำถามของมลาอิกะฮฺได้แล้ว มลาอิกะฮฺทั้งสองก็กล่าวแก่มัยยิตว่า “ كنا نعلم أنك تقول هذا ثم يفسح له في قبره سبعون ذراعا في سبعين ثم ينور له فيه ثم يقال له نم فيقول أرجع إلى أهلي فأخبرهم فيقولان نم كنومة العروس    “ ความว่า “ปรากฏว่าพวกเรารู้แล้วว่าท่านจะต้องกล่าวเช่นนั้น  จากนั้นกุบูรฺของเขาก็ถูกทำให้กว้าง 70 ศอก ยาว 70 ศอก พร้อมทั้งมีรัศมีให้กุบูรฺของเขาด้วย แล้วถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงนอนหลับเถิด, มัยยิตกล่าวขึ้นว่า ฉันจะกลับบ้านไปหาครอบครัวของฉัน เพื่อที่ฉันจะไปแจ้งข่าว (ดี) ให้แก่พวกเขา (ว่าตนเองอยู่ในกุบูรฺอย่างสุขสบาย) มลาอิกะฮฺกล่าวตอบว่า ท่านจงนอนหลับ เสมือนคืนแต่งงานในวันแรกเถิด” (บันทึกโดยติรฺมิซีย์, สถานะหะดีษหะสัน)

บรรยากาศภายในกุบูรฺ หรือ อะลัมบัรฺซักฺแล้วว่า มีบรรยากาศเช่นไร มัยยิตทุกคนที่ตอบคำถามของมลาอิกะฮฺได้นั้นจะได้อยู่ในกุบูรฺอย่างสุขสบายกว้างและยาวถึง 70 ศอก พร้อมมีรัศมีในกุบูรฺนั้น ใช่แต่เท่านั้นมัยยิตต้องการจะกลับมายังบ้านของตนเพื่อบอกให้คนในครอบครัวทราบว่าตนเองมีชีวิตหลังความตายที่สุขสบายไม่ทุกข์ทรมานแม้แต่น้อย ทว่ามลาอิกะฮฺไม่อนุมัติให้กระทำเช่นนั้น แต่กำชับให้เขานอนหลับอย่างบรมสุขในสถานที่แห่งนั้น


วัลลอฮุอะอฺลัม


“จงเตือนเมาตา(ผู้ที่ใกล้จะตาย)ของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์”



อบีสอี๊ดอัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
" พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม

หะดีษบทนี้ ถ้ามองกันโดยผิวเผินโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายแล้ว ท่านอาจเข้าใจว่า ท่านรอซูลให้เตือนคนที่ตาย เพราะตามรากศัพท์เดิม "เมาตา"มีความหมายว่า บรรดาผู้ที่ตายแล้ว แต่ความจริงนั้นท่านรอซูลให้เตือนผู้ที่ใกล้จะตายต่างหาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า หลังจากนี้ไม่ช้าเขาต้องเป็นมัยยิดแน่นอน และจากการรายงานของ มุอาช บินญะบัล ว่า
مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" บันทึกโดยอบูดาวูด

จากจุดนี้เราพบว่า หะดีษที่รายงานโดย มุอาซบินญะบัล มาแจ้งถึงเป้าหมายของคำว่า "เมาตา" ให้เราเข้าใจว่า มิใช่คนตายแล้ว แต่หมายถึงคนที่กำลังจะตาย นอกเหนือจากนั้น บรรดาศอฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิดตาบิอีน ต่างก็เข้าใจ เช่นนี้ ดังเช่นอิบนุอะบีฮาติม ได้รายงานเกี่ยวกับการบันทึกประวัติของอะบีซัรอะฮฺ ว่า
اِنَّهُ لَمَّا احْتَضَرَ أَرَادُوا تَلْقِيْنَهُ فَتَذَاكَرُوا حَدِيْثَ مُعَاذ

“ขณะที่อะบีซัรอะฮฺป่วยหนัก บุคคลทั้งหลายต้องการที่จะเตือนเขา ฉะนั้นพวกเขาจึงต่างกล่าวถึงหะดีษที่มุอาซรายงาน” (ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์) ฟัตฮุลบาลี เล่มที่3 หน้า109


เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีนักวิชาการคนใดที่ให้ความหมาย "เมาตา" ว่าผู้ที่ตายแล้วนอกจาก ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เท่านั้น

ทัศนะของปวงปราญช์เกี่ยวกับเป้าหมายของหะดีษ

1 . อิหม่ามติรมิซีย์ ได้กล่าวในการอธิบายหะดีษบทนี้ว่า
وَقَدْ كَانَ يُسْتَحَبُّ أَنْ يُلَقِّنَ الْمَرِيْضَ عِنْدَ المَوْتِ قَوْلَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَقَالَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ اِذَا قَالَ ذَلِكَ مَرَّةً فَمَا يَتَكَلَّمُ بَعْدَ ذَلِكَ فَلاَ يَنْبَغِى أَنْ يُلَقِّنَ وَلاَ يَكْثُرَ عَلَيْهِ فِى هَذَا

"สมควรที่จะเตือนผู้ป่วยใกล้จะตาย ด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ และนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าถ้าแม้นผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้งหนึ่งและไม่ได้กล่าวสิ่งใดอีกหลังจากนั้น ก็ไม่เป็นการบังควรที่จะเตือนผู้ป่วยอีกครั้ง และอย่าได้เตือนซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องนี้" สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม3 หน้า297

2 . อิหม่ามนะวะวีได้แจ้งถึงคำว่า เมาตา ในการอธิบายหะดีษบทนี้ในซอฮียฺมุสลิมว่า
مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ وَالمُرَادُ ذَكِّرُوْهُ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِتَكُوْنَ آخِرَ كَلاَمِه كَمَا فِى الْحَدِيْثِ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

"ความหมายของมัน( เมาตา) คือผู้ที่ใกล้จะตาย และเป้าหมายของหะดีษก็คือให้ผู้ใกล้จะตาย ได้กล่าวคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เพื่อที่จะให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขาดังที่ระบุในหะดีษ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" ศอเฮียะห์ มุสลิม เล่ม6 หน้า5ถึง6

3 . อิหมามซะยูตี ได้อ้างคำพูดของท่านกุรตุบีย์ ในการอธิบายหะดีษนี้ว่า
اىْ قٌوْلُوا ذَلِكَ وَذَكِّرُوْهُمْ بِهِ عِنْدَ الْمَوْتِ قَالَ وَسَمَّاهُمْ مَوْتَى لأِنَّ المَوْتَ قَدْ حَضَرَهُم

"พวกท่านทั้งหลาย จงกล่าวเช่นนั้น และนำมันไปกล่าวเตือนพวกเขาในขณะที่พวกเขาใกล้จะตาย ท่านกุรตุบีย์กล่าวอีกว่า และการที่เรียกพวกเขาเหล่านั้น(ผู้ป่วย) ว่าเมาตาก็เพราะความตาย ได้มาเยือนพวกเขาในอีกไม่ช้า”

นอกเหนือจากนั้นท่านกุรตุบีย์ ยังได้อ้างคำพูดของท่านอิหม่ามนะวาวีย์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

4 . อิหม่ามอัซซินดีย์ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายเพิ่มเติมจากอิหม่ามซะยูตีย์ในสุนันนะซาอีย์ ว่า
اَلْمُرَادُ مَنْ حَضَرَهُ المَوْتُ لاَ مَنْ مَاتَ وَالتَلْقِيْنُ أَنْ يُذَكِّرَ عِنْدَهُ لاَ أَنْ يَأْمُرَهُ بِهِ وَالتَلْقِيْن بَعْدَ الْمَوْتِ قَدْ جَزَمَ كَثِيْرٌ أَنَّهُ حَادِثٌ وَالْمَقْصُوْدُ مِنْ هَذاَ التَلْقِيْنِ اَنْ يَكُوْنَ آخِرُكَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَلِذَلِكَ اِذَا قَالَ مَرَّةً فَلاَ يُعَادُ عَلَيْهِ اِلاَّ أَنْ تَكَلَّمَ آخَر

" เป้าหมายก็คือผู้ที่ใกล้จะตาย มิใช่ผู้ตายแล้ว และการเตือนก็คือการกล่าวต่อหน้าผู้ป่วย มิใช่ไปสั่งใช้ให้ผู้ป่วยกล่าวมัน ส่วนการเตือน(ตัลกีน)หลังจากตายแล้วนั้น นักวิชาการส่วนมาก ได้ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งอุตริ และจุดมุ่งหมายจากการเตือนนี้ ก็เพื่อให้คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ และจากดังกล่าวนี้ถ้าผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้แล้วครั้งหนึ่ง ก็จงอย่าเตือน ซ้ำซากกับผู้ป่วยอีก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กล่าวคำอื่นใดเป็นคำสุดท้าย" สุนันนะซะอีย์เล่ม4 หน้า5ถึง6

5 . อิหม่ามอัซเซากานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือนัยลุ้ลเอาต็อร โดยอ้างคำพูดของอิหม่ามนะวะวี ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม ดังที่ท่านได้ผ่านมาในข้างต้น คือหมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายนั่นเอง

6 . อิหม่ามมุฮัมมัด บินอิสมาเอล อัสศอนอานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือซุบุลุสสลามว่า
المراد تذكير الذى فى سياق الموت هذا اللفظ الجليل وذلك ليقولها فتكون آخر كلامه فيدخل الجنة فالأمر فى الحديث بالتلقين عام لكل مسلم يحضر من هوفى سياق الموت وهو أمر ندب

"เป้าหมายก็คือเตือนผู้ที่ใกล้จะตาย นี่คือคำพูดที่สูงค่า และจากดังกล่าวนี้เพื่อผู้ป่วยจะได้ กล่าวมัน เพื่อให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขา เพื่อเขาจะได้เข้าสวรรค์ ฉะนั้นคำสั่งใช้ในหะดีษบทนี้ ด้วยการเตือนนั้น เป็นคำสั่งที่คุมกว้างแก่มุสลิมทุกคนที่อยู่กับผู้ป่วย ซึ่งเขาใกล้จะถึงซึ่ง ความตาย และคำสั่งใช้นี้อยู่ในข่ายของการสนับสนุนให้กระทำ(ซุนนะฮฺ)” นัยลุลเอาต๊อร เล่ม5 หน้า10

7 – ซัยยิต ซาบิกได้พูดถึงเรื่องการเตือนผู้ที่ใกล้จะตายไว้ในหนังสือฟิดฮุสซุนนะห์ว่า
تَلْقِيْنُ المُحْتَضَرِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِمَا رَوَاهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْدَاوُد وَالتِرْمِذِى عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَرُوِىَ أَبُوْدَاوُد وَصَحَّحَهُ الحَاكِمُ عَنْ مُعَاذَ بْنِ جَبَل رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الجَنَّة

“การเตือนผู้ที่ใกล้จะตายด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ดังที่มุสลิม, อบูดาวูด, อัตติรมีซีย์ ได้รายงานเรื่องนี้ไว้จาก อบีสะอี๊ดอัลคุดรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนผู้ที่ใกล้จะตายของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลออ์ และอบูดาวู๊ด ได้รายงานไว้โดยที่ท่านฮากิม ได้ยืนยันว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ จากมุอาซบินญะบัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลลุลลอฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่คำสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์”

“จงเตือนเมาตา(ผู้ที่ใกล้จะตาย)ของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์”



عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلهَ اِلاَّ الله

อบีสอี๊ดอัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
" พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม

หะดีษบทนี้ ถ้ามองกันโดยผิวเผินโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายแล้ว ท่านอาจเข้าใจว่า ท่านรอซูลให้เตือนคนที่ตาย เพราะตามรากศัพท์เดิม "เมาตา"มีความหมายว่า บรรดาผู้ที่ตายแล้ว แต่ความจริงนั้นท่านรอซูลให้เตือนผู้ที่ใกล้จะตายต่างหาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า หลังจากนี้ไม่ช้าเขาต้องเป็นมัยยิดแน่นอน และจากการรายงานของ มุอาช บินญะบัล ว่า
مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" บันทึกโดยอบูดาวูด

จากจุดนี้เราพบว่า หะดีษที่รายงานโดย มุอาซบินญะบัล มาแจ้งถึงเป้าหมายของคำว่า "เมาตา" ให้เราเข้าใจว่า มิใช่คนตายแล้ว แต่หมายถึงคนที่กำลังจะตาย นอกเหนือจากนั้น บรรดาศอฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิดตาบิอีน ต่างก็เข้าใจ เช่นนี้ ดังเช่นอิบนุอะบีฮาติม ได้รายงานเกี่ยวกับการบันทึกประวัติของอะบีซัรอะฮฺ ว่า
اِنَّهُ لَمَّا احْتَضَرَ أَرَادُوا تَلْقِيْنَهُ فَتَذَاكَرُوا حَدِيْثَ مُعَاذ

“ขณะที่อะบีซัรอะฮฺป่วยหนัก บุคคลทั้งหลายต้องการที่จะเตือนเขา ฉะนั้นพวกเขาจึงต่างกล่าวถึงหะดีษที่มุอาซรายงาน” (ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์) ฟัตฮุลบาลี เล่มที่3 หน้า109


เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีนักวิชาการคนใดที่ให้ความหมาย "เมาตา" ว่าผู้ที่ตายแล้วนอกจาก ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เท่านั้น

ทัศนะของปวงปราญช์เกี่ยวกับเป้าหมายของหะดีษ

1 . อิหม่ามติรมิซีย์ ได้กล่าวในการอธิบายหะดีษบทนี้ว่า
وَقَدْ كَانَ يُسْتَحَبُّ أَنْ يُلَقِّنَ الْمَرِيْضَ عِنْدَ المَوْتِ قَوْلَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَقَالَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ اِذَا قَالَ ذَلِكَ مَرَّةً فَمَا يَتَكَلَّمُ بَعْدَ ذَلِكَ فَلاَ يَنْبَغِى أَنْ يُلَقِّنَ وَلاَ يَكْثُرَ عَلَيْهِ فِى هَذَا

"สมควรที่จะเตือนผู้ป่วยใกล้จะตาย ด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ และนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าถ้าแม้นผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้งหนึ่งและไม่ได้กล่าวสิ่งใดอีกหลังจากนั้น ก็ไม่เป็นการบังควรที่จะเตือนผู้ป่วยอีกครั้ง และอย่าได้เตือนซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องนี้" สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม3 หน้า297

2 . อิหม่ามนะวะวีได้แจ้งถึงคำว่า เมาตา ในการอธิบายหะดีษบทนี้ในซอฮียฺมุสลิมว่า
مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ وَالمُرَادُ ذَكِّرُوْهُ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِتَكُوْنَ آخِرَ كَلاَمِه كَمَا فِى الْحَدِيْثِ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

"ความหมายของมัน( เมาตา) คือผู้ที่ใกล้จะตาย และเป้าหมายของหะดีษก็คือให้ผู้ใกล้จะตาย ได้กล่าวคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เพื่อที่จะให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขาดังที่ระบุในหะดีษ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" ศอเฮียะห์ มุสลิม เล่ม6 หน้า5ถึง6

3 . อิหมามซะยูตี ได้อ้างคำพูดของท่านกุรตุบีย์ ในการอธิบายหะดีษนี้ว่า
اىْ قٌوْلُوا ذَلِكَ وَذَكِّرُوْهُمْ بِهِ عِنْدَ الْمَوْتِ قَالَ وَسَمَّاهُمْ مَوْتَى لأِنَّ المَوْتَ قَدْ حَضَرَهُم

"พวกท่านทั้งหลาย จงกล่าวเช่นนั้น และนำมันไปกล่าวเตือนพวกเขาในขณะที่พวกเขาใกล้จะตาย ท่านกุรตุบีย์กล่าวอีกว่า และการที่เรียกพวกเขาเหล่านั้น(ผู้ป่วย) ว่าเมาตาก็เพราะความตาย ได้มาเยือนพวกเขาในอีกไม่ช้า”

นอกเหนือจากนั้นท่านกุรตุบีย์ ยังได้อ้างคำพูดของท่านอิหม่ามนะวาวีย์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

4 . อิหม่ามอัซซินดีย์ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายเพิ่มเติมจากอิหม่ามซะยูตีย์ในสุนันนะซาอีย์ ว่า
اَلْمُرَادُ مَنْ حَضَرَهُ المَوْتُ لاَ مَنْ مَاتَ وَالتَلْقِيْنُ أَنْ يُذَكِّرَ عِنْدَهُ لاَ أَنْ يَأْمُرَهُ بِهِ وَالتَلْقِيْن بَعْدَ الْمَوْتِ قَدْ جَزَمَ كَثِيْرٌ أَنَّهُ حَادِثٌ وَالْمَقْصُوْدُ مِنْ هَذاَ التَلْقِيْنِ اَنْ يَكُوْنَ آخِرُكَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَلِذَلِكَ اِذَا قَالَ مَرَّةً فَلاَ يُعَادُ عَلَيْهِ اِلاَّ أَنْ تَكَلَّمَ آخَر

" เป้าหมายก็คือผู้ที่ใกล้จะตาย มิใช่ผู้ตายแล้ว และการเตือนก็คือการกล่าวต่อหน้าผู้ป่วย มิใช่ไปสั่งใช้ให้ผู้ป่วยกล่าวมัน ส่วนการเตือน(ตัลกีน)หลังจากตายแล้วนั้น นักวิชาการส่วนมาก ได้ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งอุตริ และจุดมุ่งหมายจากการเตือนนี้ ก็เพื่อให้คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ และจากดังกล่าวนี้ถ้าผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้แล้วครั้งหนึ่ง ก็จงอย่าเตือน ซ้ำซากกับผู้ป่วยอีก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กล่าวคำอื่นใดเป็นคำสุดท้าย" สุนันนะซะอีย์เล่ม4 หน้า5ถึง6

5 . อิหม่ามอัซเซากานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือนัยลุ้ลเอาต็อร โดยอ้างคำพูดของอิหม่ามนะวะวี ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม ดังที่ท่านได้ผ่านมาในข้างต้น คือหมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายนั่นเอง

6 . อิหม่ามมุฮัมมัด บินอิสมาเอล อัสศอนอานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือซุบุลุสสลามว่า
المراد تذكير الذى فى سياق الموت هذا اللفظ الجليل وذلك ليقولها فتكون آخر كلامه فيدخل الجنة فالأمر فى الحديث بالتلقين عام لكل مسلم يحضر من هوفى سياق الموت وهو أمر ندب

"เป้าหมายก็คือเตือนผู้ที่ใกล้จะตาย นี่คือคำพูดที่สูงค่า และจากดังกล่าวนี้เพื่อผู้ป่วยจะได้ กล่าวมัน เพื่อให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขา เพื่อเขาจะได้เข้าสวรรค์ ฉะนั้นคำสั่งใช้ในหะดีษบทนี้ ด้วยการเตือนนั้น เป็นคำสั่งที่คุมกว้างแก่มุสลิมทุกคนที่อยู่กับผู้ป่วย ซึ่งเขาใกล้จะถึงซึ่ง ความตาย และคำสั่งใช้นี้อยู่ในข่ายของการสนับสนุนให้กระทำ(ซุนนะฮฺ)” นัยลุลเอาต๊อร เล่ม5 หน้า10

7 – ซัยยิต ซาบิกได้พูดถึงเรื่องการเตือนผู้ที่ใกล้จะตายไว้ในหนังสือฟิดฮุสซุนนะห์ว่า
تَلْقِيْنُ المُحْتَضَرِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِمَا رَوَاهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْدَاوُد وَالتِرْمِذِى عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَرُوِىَ أَبُوْدَاوُد وَصَحَّحَهُ الحَاكِمُ عَنْ مُعَاذَ بْنِ جَبَل رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الجَنَّة

“การเตือนผู้ที่ใกล้จะตายด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ดังที่มุสลิม, อบูดาวูด, อัตติรมีซีย์ ได้รายงานเรื่องนี้ไว้จาก อบีสะอี๊ดอัลคุดรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนผู้ที่ใกล้จะตายของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลออ์ และอบูดาวู๊ด ได้รายงานไว้โดยที่ท่านฮากิม ได้ยืนยันว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ จากมุอาซบินญะบัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลลุลลอฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่คำสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์”

  والله أعلم

ไม่ใช่หน้าที่ของนบีและบรรดาผู้ศรัทธาในการขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคี




بِسْمِ الله الرحمن الرحِيْمِ


ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 113 
“ไม่ใช่หน้าที่ของนบีและบรรดาผู้ศรัทธาในการขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม หลังจากเป็นที่ชัดเจนแก่พวกเขาแล้วว่า พวกเขาคือชาวนรก”


อัลกุรอานอายะห์นี้ถูกประทานลงมาในเหตุการณ์ขณะที่อบูตอเล็บ ลุงของท่านนบีเจ็บหนักใกล้จะสิ้นชีวิต และมีฮะดีษศอเฮียะห์ที่บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้คือ

ขณะที่อะบูตอเล็บ เจ็บหนักใกล้ตาย ท่านนบีได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่า ณ.ที่นั่นมีอะบูญะฮ์ อิบนิ ฮิชาม กับ อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีอุมัยยะห์ อิบนิ มุฆีเราะห์ ร่วมอยู่ด้วย, ท่านนบีได้กล่าวแก่อบูตอเล็บว่า

"โอ้ลุงเอ๋ย โปรดกล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เป็นคำที่ฉันจะได้ยืนยันให้แก่ท่าน ณ.ที่อัลลอฮ์ ทว่าอบูญะฮ์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิอะบีอุมัยยะห์ กล่าวแย้งว่า นี่อะบูตอเล็บ เจ้าจะทิ้งศาสนาของอับดุลมุตตอเล็บกระนั้นหรือ แต่ท่านนบีก็ยังคงเสนอถ้อยคำนี้ให้แก่อะบูตอเล็บโดยที่ทั้งสองก็คอยแย้งตลอดเวลา จนกระทั่งอบูตอเล็บยืนยันที่จะกล่าวตามพวกเขา คือยอมอยู่ในศาสนาของอับดุลมุตตอเล็บ และปฏิเสธที่จะกล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ท่านรอซูลจึงได้กล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่าฉันจะขอภัยโทษให้แก่ท่านอย่างแน่นอนตราบใดที่ฉันยังไม่ถูกห้าม"


ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮ์จึงได้ประทานอัลกุรอานอายะห์นี้มาครับ...;;;



 والله أعلم