อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อซากาตฟิตเราะฮฺเป็นวาญิบสำหรับมุสลิม

ซากาตฟิตเราะฮฺ

ซะกาตฟิตเราะฮฺ คือ ซากาตที่วาญิบจะต้องจ่ายอันเนื่องจากหมดภาระถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งวายิบสำหรับทุกคนที่เป็นมุสลิม ไม่ว่าเด็ก ผูใหญ่ หรือแม้กระทั่งทาส

การจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ถูกบัญญัติขึ้น (ฟัรฎู) ในปีที่ 2 หลังจากฮิจญ์เราะฮ์ไปยังนครมะดีนะฮ์

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : فَرَضَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ، عَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ، وَالذَّكَرِ وَالأُنْثٰى، وَالصَّغِيرِ وَالْكَبِيرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلاَةِ. (البخاري رقم 1407)

ความว่า จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" ได้กำหนดให้บรรดามุสลิมต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยอินทผลัมแห้งหรือข้าวสาลีจำนวนหนึ่งศออฺ(2.8ก.ก.) ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นเสรีชนหรือเป็นทาส ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เด็กและคนแก่ ในหมู่คนที่เป็นมุสลิม(ทุกคนต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺทั้งสิ้น) ท่านได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้าวันอีด  ( หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 1503)

สำหรับบุคคลหนึ่งปกครอง หรือรับผิดชอบจะต้องเลี้ยงดู เช่นนี้จำเป็นสำหรับผู้นั้นที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่ตนเอง และบุคคลทีอยู่ในความรับผิดชอบที่ต้องเลี้ยงดูด้วย เช่น ภรรยา ลูกๆ

อัล-อิ มาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่าหากมีเหลือจากค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและครอบครัวในเช้า ตรู่ของวันอีดและกลางคืนของวันอีด จึงเป็นวาญิบสำหรับเขาในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ (ชัรหุ อัส-สุนนะห์ ลิล-บะเฆาะวีย์ 6/71)

ชนิดและปริมาณของซะกาตฟิฏเราะฮฺ
ปริมาณข้าสาร 1 มุดดฺ และ 1 ศอออฺ

ชนิดของอาหารที่ศานากำหนดให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺ ที่เป็นอาหารของแต่ละท้องถิ่น เช่นประเทศไทย ผู้นคนส่วนใหญ่รับประทานข้าวสาร มุสลิมในประเทศไทยก้จ่ายซะกาตเป็นข้าวสาร หรือจะจ่ายเป็น อินทผลัม ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ลูกเกด องุ่นแห้ง เป็นต้น

สำหรับปริมาณของซะกาต วายิบต้องจ่ายจำนวน 1 ศออ์ จากอาหารหลัก

อาหารหลักจำนวน 1 มุดดฺ = 7 ขีด
4 มุดดฺ = 1 ศออฺ
1 ศออฺ = 7x4= 2.8 กิโลกรัม (โดยปริมาณ)

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยเงิน

ศาสนาไม่อนุญาตให้จ่ายซากาตฟิฏเราะฮฺอื่นจากอาหารหลักโดยเด็ดขาด เพราะหลักฐานทั้งหมดท่านนบีเกี่ยวกับการจ่ายซากาตฟิฏเราะฮฺ กล่าวเฉพาะอาหารหลักเท่านั้น
ซึ่งสมัยนบีก็มีการการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งการจ่ายซะกาตเป็นเงินธนาบัตรง่ายต่อการปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ท่านนบีก็บัญญัติให้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮิเฉพาะอาหารหลักเท่านั้น


สำหรับทัศนะที่ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน เป็นความเห็นของอิมามมัซฮับทั้งสาม คือ อิมาม มาลิก, อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ และอิมาม อะห์มัด และเป็นความเห็นของมัซฮับซอฮิรีย์อีกด้วยเช่นกัน ทัศนะนี้ยึดหลักฐานที่เป็นหะดีษจากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ที่มีปรากฏในบันทึกของอัล-บุคอรีย์และมุสลิมว่า 
فَرَضَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ زَكَاةَ الفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ أَو صَاعًا مِنْ بُرٍّ أَو صَاعًا مِنْ شَعِيْرٍ (وفي رواية : أَوْ صَاعاً مِنْ أَقِطٍ) عَلَى الصَّغِيْرِ وَالكَبِيْرِ مِنَ المُسْلِمِيْنَ. 

ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดบัญญัติให้ออกซะกาตฟิฏเราะฮฺหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยลูกอินทผลัม หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยแป้งสาลีละเอียด หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยแป้งสาลีหยาบ (ในรายงานหนึ่งระบุว่า หรือหนึ่งศออฺ(กันตัง)ด้วยนมแข็ง) เหนือมุสลิมทั้งคนแก่และเด็ก” 


สำหรับทัศนะที่อนุญาตให้จ่ายค่าเงิน (อาจจะเป็นตัวเงินจริง หรือสิ่งอื่นที่มีค่าเป็นเงิน) เป็นซะกาตฟิฏรฺได้ เป็นทัศนะของอิมาม อบู หะนีฟะฮฺ และพรรคพวกของท่าน และยังเป็นทัศนะของอุละมาอ์ตาบิอีนเช่น สุฟยาน อัษ-เษารีย์, อัล-หะสัน อัล-บัศรีย์, เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บิน อับดุลอะซีซ

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺแก่บุคคลใด

การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺศาสนาได้บัญญัติเฉพาะเจาะจงบุคคลประเภทเดียวเท่านั้น คือ คนยากยากจนอนาถา ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺให้แก่บุคคลประเภทอื่นโดยเด็ดขาด นอกจากคนยากจนอนาถาเท่านั้น ซึ่งต่างกับกับซะกาตประเภทอื่นอย่างสินเชิง

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กำหนดวะกาตฟิตเราะฮฺเป็นข้อบังคับ เพื่อขัดเกล้าผู้ถือศิลอดให้บริสุทธิ์ผุดผ่องจากคำพูดที่ไร้สาระ การพูดหยาบคาย อีกทั้งยังเป็นอาหารก่คนยากจนอีกด้วย" (หะดิษหะสัน..บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 1161)
ข้าวสารซากาตฟิตเราะฮฺ

เวลาจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ

บรรดานักวิชาการลงมติ การจ่ายซากาตฟิตเราะฮฺ จำเป็นจะต้องจ่ายในช่วงท้ายเดือนรอมฎอน ส่วนเวลาที่ประเสริฐที่สุด คือ ช่วงเช้าของวันอีดก่อนออกไปละหมาดอีด

 وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلاَةِ. (البخاري رقم 1407)
.... ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัมได้สั่งให้จ่ายมันก่อนออกไปละหมาดในเช้าวันอีด  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1407)

รายงานจากท่านนาฟิอฺเล่าว่า
"ปรากฏว่าท่านอิบนุ อุมัรฺจะจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺก่อนวันอีดวันหนึ่ง หรือสองวัน"(หนังสือฟิกฮุสสุนนะฮฺ หน้า 373)

สำหรับเวลาที่หมดจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺนั้น เมื่ออิมามตักบิเราะตุลอิฮฺรอมละหมาดอีดิลฟิฏริ หากจ่ายหลังจากนั้นเป็นเพียงการจ่ายเศาะดะเกาะฮฺธรรมดา เท่านั้น


รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنْ الصَّدَقَاتِ

“ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดวาญิบซะกาตฟิฏเราะฮฺ เพื่อชำระความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด จากคำพูด ที่ไม่ดี และหยาบคาย และเป็นอาหารสำหรับบรรดาคนยากจน บุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺก่อนละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือซะกาต ที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺหลังจากละหมาด (อีด) ดังนั้นมันคือเศาะดาเกาะฮฺหนึ่งจากเศาะดาเกาะฮฺต่าง ๆ” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 1609 อิบนิมาญะฮฺ : 1827 เศาะเหี๊ยะหฺอบูดาวุดอัลบานียฺ : 1609 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนิมาญะฮฺอัลบานียฺ : 1492)


การมีเจตนาเนียตจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺ

 การจ่ายซะกาต จำเป็นจะต้องมีเนียต หมายถึงเจตนาจ่ายซะกาต เช่น หากเราจ่ายซะกาตของเราเอง เราก็นึกในใจว่า “ซะกาตฟิตเราะฮของเรา” หากเราจ่ายซะกาตฟิตเราะฮของภรรยา เราก็เจตนาว่า “นี้คือฟิตเราะฮของภรรยาของเรา


อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
     
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى 
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ..."
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)

อนึง เราไม่ต้องอ่านออกมาเป็นคำพูดและไม่ต้องบอกผู้รับก็ได้ว่า แทนตัวเราหรือภรรยา อยากจะเรียนว่า “การเจตนา”หรือการเนียตนั้น มันจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เมื่อเราทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น เราจะกินข้าว เจตนามันต้องมาก่อนอยู่แล้ว ความจริง หะดิษที่กล่าวถึงการเนียต เขาหมายถึง การเจตนาบริสุทธิใจเพื่ออัลลอฮ นั้นเอง 

และอีกประการหนึ่งคือ ไม่จำเป็นต้องเอามือวางบนซะกาต ขณะจ่ายซะกาต ให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ตามที่มักจะพบบ่อยในหมู่พี่น้องมุสลิม ซึ่งกลายเป็นประเพณีไปแล้ว

มาดูส่วนหนึ่งที่เป็นคำตอบในประเด็นนี้ 

فمن أراد إخراج زكاة ماله نوى بقلبه ؛ بأن هذا المال زكاة ماله ، ولا يشرع له أن يتلفظ بالنية بلسانه . 

ผู้ใดประสงค์จะจ่ายซะกาต ทรัพย์สินของเขา ก็ให้เขาเจตนาด้วยหัวใจของเขา ว่านี้คือ ทรัพย์สิน เป็นซะกาตทรัพย์สินของเขา และไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียตด้วยวาจาของเขาแต่ประการใด

การมอบซะกาตฟิตเราะฮฺ

ทัศนะหนึ่ง เห็นว่า การนำซะกาตฟิฏเราะฮฺไปให้ด้วยตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ส่วนถ้ามัสญิดแต่งตั้งตัวแทนเก็บซะกาตฟิฏเราะฮฺ แล้วเขานำไปจ่ายก่อนละหมาดอีดให้ถึงมือแก่คนยากจนขัดสน เช่นนี้ ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้

ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวบ่งชี้ระบุเอาไว้  และแท้จริงหากเขาได้มอบซะกาตไปยังอิมามหรือเจ้าหน้าที่เก็บซะกาตหรือผู้ที่ซะกาตฟิตเราะฮ์ของผู้คนทั้งหลายได้เก็บรวบรวมไว้  ณ ที่เขา  และเจ้าของซะกาตได้อนุญาตให้เขาทำการออกซะกาตฟิตเราะฮ์  ก็ถือว่าใช้ได้แก่เขาแล้ว  แต่ทว่าการที่เขาได้แจกจ่ายซะกาตด้วยตัวเองย่อมดีกว่าจากทั้งหมดนี้"  หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ  6/138

อีกทัศนะหนึ่ง จะต้องมามอบตัวแทนที่ถูกแต่งเก็บซะกาตฟิตเราะฮฺ แล้วนำมาจ่ายคนยากจนเท่านั้น
โดยอ้างหลักฐานต่อไปนี้


รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ว่า
         وَكَّلَنِىْ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِحِفْظِ زَكَاةِ رَمَضَانَ ..
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันคอยดูแลรักษาซะกาตแห่งเดือนรอมะฎอน  ..” (บันทึกโดยท่านบุคอรีย์, หะดีษที่ 2311 .. และท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ หะดีษที่ 2424)
   إِنَّ ابْنَ عُمَرَ كَانَ يَبْعَثُ بِزَكَاةِ الْفِطْرِ إِلَى الَّذِىْ تُجْمَعُ عِنْدَهُ قَبْلَ الْفِطْرِ بِيَوْمَيْنِ أَوْ ثَلاَثَةٍ
“แท้จริงท่านอิบนุอุมัรฺ  จะนำซะกาตฟิฎเราะฮ์ไปมอบให้แก่ผู้ซึ่งซะกาตฟิฎเราะฮ์ถูกรวบรวม ณ ที่เขา ก่อนวันอีดิ้ลฟิฏรี่ 2-3 วัน”(สายรายงานของหะดีษบทนี้ เศาะเฮียะฮ์(ถูกต้อง)
ท่านอัซ-ซุรฺกอนีย์ ได้อธิบายข้อความที่ว่า “ผู้ซึ่งซะกาตฟิฎเราะฮ์ถูกรวบรวม ณ เขา” ดังนี้
                               وَهُوَ مَنْ نَصَبَهُ اْلإِمَامُ لِقَبْضِهَا
“นั่นคือ ผู้ซึ่งอิหม่าม (ผู้นำ- คอลีฟะฮ์) ได้แต่งตั้งเขาเพื่อคอยรับซะกาต”
(จาก “ชัรฺหุ อัซ-ซุรฺกอนีย์”  เล่มที่ 2  หน้า 201)

รายงานจากท่านนาฟิอฺ โดยท่านอัยยูบได้ถามท่านนาฟิอฺ ดังมีข้อความว่า

   قُلْتُ : مَتىَ كَانَ ابْنُ عُمَرَ يُعْطِى الصَّاعَ ؟  قَالَ : إِذَا قَعَدَ الْعَامِلُ، قُلْتُ : مَتىَ كَانَ الْعَامِلُ يَقْعُدُ ؟ ..  قَالَ : قَبْلَ الْفِطْرِ بِيَوْمٍ أَوْ يَوْمَيْنِ
ฉัน (อัยยูบ) กล่าวว่า “ท่านอิบนุอุมัรฺ ได้จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ 1 ศออฺเมื่อไร ?” ท่านนาฟิอฺตอบว่า “เมื่อ عَامِلٌ ได้นั่งลง (คือ เริ่มปฏิบัติหน้าที่)”  ท่านอัยยูบถามต่อไปว่า “แล้วเมื่อไรที่ عَامِلٌ เริ่มปฏิบัติหน้าที่ ?”  ท่านนาฟิอฺตอบว่า “ก่อนวันอีดิ้ลฟิฏรี่ 1 หรือ 2 วัน” (บันทึกโดยท่านอิบนุคุซัยมะฮ์  หะดีษที่ 2397  ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) 

والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น