อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อนุญาตให้กินให้ดื่มและมีเพศสัมพันธ์ในค่ำคืนรอมฎอน


          พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ได้มีข้อผ่อนผันให้แก่บรรดามุสลิม และยกเลิกเรื่องที่ปรากฏในตอนเริ่มแรกของอิสลาม ปรากฏว่าเมื่อคนหนึ่งในหมู่พวกเขาได้ละศิลอดแล้ว ก็จะอนุญตให้กิน ดื่มและมีเพศสัมพันธ์ได้ไปจนถึงละหมาดอิชาอฺ  หรือนอนก่อนจากนั้น แล้วเมื่อได้นอนแล้ว หรือละหมาดอิชาอฺแล้ว ก็ห้ามอาหาร เครื่องดื่ม และมีเพศสัมพันธ์ไปจนถึงคืนต่อไป ดังนั้นพวกเขาจึงพบว่าเกิดความลำบาก

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า
"ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเจ้าในค่ำคืนของการถือศีลอด  นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง อัลลอฮ์ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้แก่พวกเจ้า และอภัยให้แก่พวกเจ้าแล้ว บัดนี้พวกเจ้าสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกเจ้าเถิด ..."
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮ  2:187)

คำว่า "อัรรอฟะซุ" (الرَّفَثُ) ณ ที่นี้คือการมีเพศสัมพันธ์

และดำรัสของพระองค์ที่ว่า
"นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง"

อิบนุ อับบาส, มุญาฮิด, สะอีด อิบนุ ญุบัยรฺ, อัลฮะซัน, กอตาดะฮฺ, อัสสุดดีย์ และมุกอติล อิบนุ ฮัยยาน ได้กล่าว่า "หมายถึงพวกนางเป็นทีพักอาศัย สำหรับพวกท่าน และพวกท่านก็เป็นที่พักอาศัยสำหรับนาง"
(อิบนุ อบีฮาติม ตรวจทานโดย อัลฆฺอมิดี 1/370)

อัรฺรอเบียะอฺ อิบนุ อนัส ได้กล่าวว่า "พวกนางนั้นเป็นผ้าห่มให้แก่พวกเจ้า และพวกเจ้าก็เป็นผ้าห่มให้แก่พวกนาง"
(อิบนุ อบีฮาติม 1/381)

รายงานจากอบีอิสฮาก ว่า ฉันได้ยินอัลบะรออฺได้เล่าว่า
"เมื่อการถือสิลอดในเดือนรอมาฎอนได้ถูกประทานลงมา ปรากฎว่าพวกเขาไม่เคยเข้าใกลสตรีในเดือนรอมาฎอน และปรากฏว่าบรรดาผู้ชายทุจริตต่อตัวเอง ดังนั้น อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตาอา) จึงประทานอายะลงมาความว่า (อัลลอฮ์ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้แก่พวกเจ้า และอภัยให้แก่พวกเจ้าแล้ว) (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)

สรุปก็คือ ผู้ชายและผู้หญิงนั้น จะอยู่โดยปะปนกันฝกล้ชิดกันเป็นที่พักพิงซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงเหมาะสมที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเขาที่จะมีเพศสัมพันธ์กันได้ ในค่ำคืนของรอมาฎอน เพื่อไม่ให้เกิดความลำบากแก่พวกเขา


والله أعلم بالصواب


(ตัฟซีรฺ อิบนิ กะษีรฺ เล่ม 1)







เมื่อใดที่สิทธิของอุละมาอ์ไม่ได้รับการเอาใจใส่



อัช-ชัยคฺ มุหัมมัด บิน อุมัร บิน สาลิม บัซมูล หะฟิเซาะฮุลลอฮ กล่าวว่า
“ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้านั้น หมายถึง อุมะรออ์(ผู้ปกครอง)และอุละมาอ์(ผู้รู้) การเชื่อฟังต่ออุละมาอ์นั้นขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังของพวกเขาต่ออัลลอฮและเราะสูลของพระองค์ และการเชื่อฟังต่ออุมะรออ์ขึ้นอยู่กับการเชื่อฟังของพวกเขาต่ออุละมาอ์ ประตูแห่งการปฏิเสธที่จะเชื่อฟังบรรดาผู้มีอำนาจและผู้ปกครองทั้งหลายขึ้นอยู่กับ(การเชื่อฟังของพวกเขาต่อ)อุละมาอ์ หากสิทธิของบรรดาอุละมาอ์ถูกละเลย แน่นอนว่า สิทธิของบรรดาผุ้นำก็จะหายสิ้นไปด้วย และเมื่อสิทธิของบรรดาอุละมาอ์และอุมะรออ์หมดไป มนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่เชื่อฟังพวกเขาอีกต่อไป ทั้งที่การมีชีวิตอยู่และความดีของอุละมาอ์นั้น คือตัวกำหนดชีวิตและความดีงามของโลกใบนี้ เมื่อใดที่สิทธิของอุละมาอ์ไม่ได้รับการเอาใจใส่ สิทธิของอุมะรออ์ก็จะจบสิ้นลง และเมื่อสิทธิของบรรดาอุละมาอ์และอุมะรออ์ดับสิ้นลง โลกนี้ก็ถึงคราวแตกสลายแล้ว!”
(มะกานะตุล อิลมฺ วัล อุละมาอ์ หน้า 16-17)

กำเนิดตำแหน่งจุฬาราชมนตรี



โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย


เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากความตึงเครียดของวิชาการมาเป็นเรื่องเบาสมอง ผมจึงขออนุญาตเขียนเป็นเรื่องของความรู้ทั่วไปบ้าง อันได้แก่เรื่อง กำเนิดตำแหน่งจุฬาราชมนตรี, สถานภาพของจุฬาราชมนตรีในปัจจุบัน และอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี .. มาให้อ่านกันตามลำดับ ...
และหลังจากจบเรื่องนี้แล้ว ผมก็จะเขียนเกี่ยวกับวิชาการเรื่อง .. การฏออัต(เชื่อฟัง) ผู้นำ..จากหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (หะดีษถูกต้อง) ต่อไปครับ อินชาอัลลอฮ์ ...
บทความที่จะถึงต่อไปนี้ อาจจะเรียกว่าเป็นความรู้ใหม่สำหรับมุสลิมในประเทศไทยจำนวนมากที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน, เป็นความรู้เพิ่มเติม ต่อจากความรู้ในแง่วิชาการศาสนาอย่างที่ผ่านมาแล้ว ท่านรู้ไว้จึงไม่เสียหลายหรอกครับ ...
อย่างที่คนโบราณท่านว่าไว้ .. ความรู้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม .. ไงล่ะครับ ...
จะอย่างไรก็ตาม หากบทความตอนนี้หรือตอนไหนของผมมีความผิดพลาด กรุณาท้วงติงด้วยนะครับ ผมจะได้แก้ไขให้มันถูกต้อง ...
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ...
หนังสือพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 หน้า 148 ได้อธิบายความหมายจุฬาราชมนตรีไว้ว่า ...
จุฬาราชมนตรี น, ตำแหน่งประธานมุสลิมที่ทางราชการแต่งตั้ง มีหน้าที่เป็นผุ้แทนระหว่างรัฐกับมุสลิมในประเทศไทย,
นี่คือ ความหมาย “จุฬาราชมนตรี” ในด้านภาษาตามพจนานุกรม ...
ส่วนในด้านที่มาหรือการกำเนิดตำแหน่งจุฬาราชมนตรีของประเทศไทยนั้น ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ดังนี้ ...
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในประเทศไทย เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2163 – 2171) ...
ผู้ที่ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทยก็คือ “เช็คอะห์มัด” (คนไทยเรียกว่า เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์ชาวเปอร์เชีย (อิหร่าน) ซึ่งเดินทางเข้ามาค้าขายในประเทศไทยพร้อมกับน้องชายชื่อเช็คสะอีด (คนไทยเรียกว่า เฉกสะอิ๊ด) และบริวาร ตั้งแต่ตอนปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133 - 2148) ...
ทั้งเช็คอะห์มัดและเช็คสะอีดได้เข้ามาตั้งรกรากทำมาค้าขายอยู่แถวท่าภาษี โดยซื้อสินค้าพื้นเมืองจากประเทศไทยไปขายต่างประเทศ แล้วซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย ณ กรุงศรีอยุธยาจนมีฐานะร่ำรวยระดับเศรษฐีของกรุงศรีอยุธยาทีเดียว ...
ท่านเช็คสะอีดมาอยู่เมืองไทยได้ไม่นาน ก็เดินทางกลับไปประเทศเปอร์เชีย และไม่หวนกลับมาอีกเลย ...
ส่วนท่านเช็คอะห์มัด ได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเอกาทศรถจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม และอันเนื่องมาจากความจัดเจนในด้านการค้าขายกับต่างประเทศของท่าน จึงทำให้ชีวิตราชการก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ...
ในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม ท่านได้รับตำแหน่งเป็น “พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี” เจ้ากรมท่าขวา แล้วต่อมาก็ได้ควบตำแหน่งเจ้ากรมท่ากลาง (เป็นตำแหน่งว่าที่เสนาบดีการต่างประเทศและการพาณิชย์ในสมัยนั้น) .. รวมทั้งได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี อันถือเป็นผู้ควบคุมดูแลชาวไทยมุสลิมอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ...
หลังจากนั้น ก็ทรงโปรดเกล้าให้เลื่อนตำแหน่งท่านเป็น “เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี” อันเป็นตำแหน่งว่าที่สมุหนายกอัครเสนาบดีฝ่ายเหนือ ...
และตำแหน่งครั้งสุดท้ายในชีวิตราชการของท่านเช็คอะห์มัด จุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทยก็คือ ได้เป็น “เจ้าพระยาบวรราชนายก” อันเป็นตำแหน่งจางวางมหาดไทย เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ...
ท่านเช็คอะห์มัด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ 88 ปี, มัยยิตของท่านถูกฝังไว้ที่สุสานแขกเจ้าเซ็น บ้านท้ายคู (ปัจจุบันอยู่ในวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา) ...
หลังจากท่านเช็คอะห์มัด อันเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ลูกหลานของท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีสืบต่อเนื่องกันมา รวมทั้งสิ้น 11 ท่านด้วยกัน ...
เป็นในสมัยกรุงศรีอยุธยารวมทั้งหมด 4 ท่านดังนี้ ...
1. จุฬาราชมนตรีเช็คอะห์มัด (เฉกอะหมัด)
2. จุฬาราชมนตรีแก้ว
3. จุฬาราชมนตรีสน
4. จุฬาราชมนตรีเชน
และเป็นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อีก 7 ท่านดือ ...
5. จุฬาราชมนตรีก้อนแก้ว (มีชื่อจริงว่า “มุฮัมมัดมะอฺซูม”)
6. จุฬาราชมนตรีเถื่อน (มีชื่อจริงว่า “อะมิรฺชา มุฮัมมัดการีม”)
7. จุฬาราชมนตรีนาม (มีชื่อจริงว่า “มิรฺซา มุฮัมมัดตะกี”)
8. จุฬาราชมนตรีสิน (มีชื่อจริงว่า “มิรฺซา คุลามฮุเซ็น”)
9. จุฬาราชมนตรีสัน อะหมัดจุฬา (มีชื่อจริงว่า “มิรฺซา อะลีระชา”)
10. จุฬาราชมนตรีเกษม อะหมัดจุฬา (มีชื่อจริงว่า “มุฮัมมัด ระชา”)
11. จุฬาราชมนตรีสอน อะหมัดจุฬา
จุฬาราชมนตรีทั้งหมดที่กล่าวนามมานั้น ล้วนถูก “แต่งตั้ง” มาจากตำแหน่งข้าราชการ, ยึดถือลัทธิชีอะฮ์, .. และสืบตระกูลมาจากท่านเช็คอะห์มัดทั้งสิ้น ...
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2475 ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีก็เปลี่ยนจากฝ่ายชีอะฮ์มาเป็นฝ่ายซุนหนี่หรืออะฮ์ลิซซุนนะฮ์จนถึงปัจจุบัน ...
และจุฬาราชมนตรีที่เป็น “ฝ่ายซุนหนี่” คนแรกของประเทศไทยก็คือ ท่านจุฬาราชมนตรีแช่ม พรหมยงค์ ...
ทั้งนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2488 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายศาสนาอิสลาม และได้กำหนดให้ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งที่ปรึกษาราชการด้านกิจการศาสนาอิสลามขององค์พระมหากษัตริย์ ...
และรัฐบาลก็ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นายแช่ม พรหมยงค์” ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สังกัดกรมโฆษณาการ ให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 12 แห่งประเทศไทย ...
นายแช่ม พรหมยงค์ ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีได้ประมาณ 2 ปี ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งและเดินทางไปพำนักอยู่ต่างประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ...
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2490 ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ก็ได้เชิญประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดมาร่วมประชุม เพื่อสรรหาตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีแทนนายแช่ม พรหมยงค์ที่ลาออกไป ...
ผลการประชุมปรากฏว่า “นายต่วน สุวรรณศาสน์” (ชื่อจริงคือ ฮัจญีอิสมาแอล ยะห์ยาวี) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศาสนาอยู่ที่โรงเรียนอันยุมันอิสลาม ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนต่อไป รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 13 แห่งประเทศไทย, เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ .. และเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 2 จากฝ่ายซุนหนี่ ...
เมื่อท่านจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสน์ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2525 ทางราชการก็ได้เชิญบรรดาประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ มาประชุมพร้อมกันที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อคัดเลือกตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีต่อจากนายต่วน สุวรรณศาสน์ ...
ผลการประชุมปรากฏว่า นายประเสริฐ มะหะหมัด ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศาสนาและเป็นกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ได้รับการคัดเลือก และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 14 แห่งประเทศไทย ...
จากข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านมาเกี่ยวกับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่ท่านแรกคือเช็คอะห์มัด จนถึงท่านที่ 14 คือนายประเสริฐ มะหะหมัด ก็พอจะสรุปได้ดังนี้ ...
1. ที่มา : จุฬาราชมนตรี 11 คนแรก เป็นข้าราชการ, เป็นผู้ที่ถือลัทธิชีอะฮ์, ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากองค์พระมหากษัตริย์ในยุคการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชทั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงแรก ...
จุฬาราชมนตรีคนที่ 12 คือนายแช่ม พรหมยงค์ เป็นข้าราชการ, เป็นมุสลิมนิกายซุนหนี่, นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำชื่อขึ้นกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยยุคแรก ...
จุฬาราชมนตรีคนที่ 13 คือนายต่วน สุวรรณศาสน์ และคนที่ 14 คือนายประเสริฐ มะหะหมัด เป็นอาจารย์สอนศาสนา, เป็นมุสลิมนิกายซุนหนี่, ได้รับเลือกตั้งจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้งประเทศก่อน แล้วนายกรัฐมนตรีก็นำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี ในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยยุคหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ...
2. สถานภาพ : จุฬาราชมนตรี 11 คนแรกมีสถานภาพตามกฎหมายเป็นประธานคอยควบคุมดูแลชาวไทยมุสลิม, และทำหน้าที่เป็นผู้แทนระหว่างรัฐกับชาวมุสลิมในประเทศไทย ...
ส่วนจุฬาราชมนตรีตั้งแต่คนที่ 12 – 14 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลามในประเทศไทย พ.ศ. 2488 ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาขององค์พระมหากษัตริย์ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามในประเทศไทย ...

"เชื่อผิด คิดผิด ทำผิด" ชีวิตหลังความตาย



โดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน

ความเชื่อพื้นฐานอย่างหนึ่งของทุกศาสนาคือ ความเชื่อในเรื่องการมีอยู่ของโลกหน้า หรือโลกหลังความตาย ซึ่งถูกเรียกด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกัน เช่น นรกและสวรรค์ วันพิพากษาและวันแห่งการฟื้นคืนชีพ เป็นต้น
เหตุผลที่ความเชื่อเช่นนี้มีอยู่ในทุกศาสนา ก็เพราะศาสนาถูกส่งมาเพื่อจัดระเบียบและปฏิรูปมนุษย์ ทั้งนี้ เนื่องจากในสมัยก่อน สังคมมนุษย์ยังไม่มีรัฐบาลกลางที่คอยทำหน้าที่ออกกฎหมายจัดระเบียบควบคุมสังคมมนุษย์ กฎของศาสนาจึงต้องควบคุมมนุษย์ทางด้านวิญญาณ เพราะวิญญาณคือผู้บงการพฤติกรรมของมนุษย์ แต่เนื่องจากไม่มีอำนาจใดสามารถนำวิญญาณที่เป็นจอมบงการมนุษย์ตัวจริงไปลงโทษในโลกนี้ได้ การลงโทษวิญญาณจึงต้องเลื่อนไปยังโลกหน้า ซึ่งเป็นโลกที่ตามองไม่เห็น นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมคำสอนของทุกศาสนาจึงมีหลักความเชื่อในเรื่องนรกและสวรรค์เป็นพื้นฐาน
ถ้ามนุษย์มีความเชื่อว่า หลังความตายมีการลงโทษอย่างแสนสาหัสสำหรับคนทำบาปหรือทำชั่ว มนุษย์ก็จะคิดแล้วคิดอีกว่า ความชั่วที่ตัวเองจะทำนั้นคุ้มหรือไม่กับการถูกลงโทษ ถ้าเห็นว่าไม่คุ้ม มนุษย์ก็จะไม่ทำ ในทางตรงข้าม ถ้ามนุษย์เห็นว่าการทำความดีในโลกนี้ แม้ไม่มีใครเห็นและตอบแทน แต่โลกหน้ามีรางวัลตอบแทนให้อย่างมากมาย มนุษย์ก็จะทำความดีต่อไปโดยไม่หวังการตอบแทนจากมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งทำให้การทำความดีของมนุษย์มีความยั่งยืน
การฟื้นคืนชีพหลังความตาย วันพิพากษา นรกและสวรรค์จึงเป็นความจริงและเป็นความยุติธรรมที่ศาสนานำเสนอแก่มนุษย์ หากวิญญาณของมนุษย์ไม่มีความเชื่อในเรื่องนี้ ต่อให้มีกฎหมายนับสิบนับร้อยฉบับก็ไม่สามารถควบคุมมนุษย์ได้ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อในเรื่องโลกหน้าได้ถูกเนื้อหนัง ความสุขและความสวยงามของวัตถุรอบตัวมนุษย์บดบังไว้ มนุษย์จึงมองโลกหน้าไม่เห็น และเมื่อไม่เห็นสิ่งใด มนุษย์ก็ด่วนสรุปว่าสิ่งนั้นไม่มี เมื่อเชื่อว่าโลกหน้าไม่มี มนุษย์ก็จะมีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์ที่เกิดมาเพียงเพื่อกิน นอน ถ่าย สืบพันธุ์และตายไปเยี่ยงสัตว์ที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเองในโลกหน้า แต่เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญาและความสามารถเหนือกว่าสัตว์ เมื่อมนุษย์ทำความชั่ว มนุษย์ทำความชั่วได้มากกว่าสัตว์ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง
ชาวอาหรับสมัยก่อนหน้าอิสลามมีความเชื่อว่า การฟื้นคืนชีพหลังความตายเป็นเรื่องโกหกหรือนิยายปรัมปราที่ผู้คนเล่าสืบทอดกันมา ชาวอาหรับจึงทำความชั่วกันด้วยความโอหัง ด้วยเหตุนี้ยุคก่อนหน้าอิสลามในแผ่นดินอาหรับจึงถูกเรียกว่า “ยุคอวิชชา” (ญาฮิลียะฮ์) ที่เต็มไปด้วยความชั่วสารพัดเช่นเดียวกับโลกในยุคปัจจุบัน




ศาสนาอิสลามในประเทศเนเธอร์แลนด์





ประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามในประเทศเนเธอร์แลนด์เริ่มต้นในต้นศตวรรษที่17 เมื่อสาธารณรัฐดัตช์ได้ลงนามในสนธิสัญญาการค้าเสรีกับประเทศโมร็อกโกซึ่งเป็นสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างกลุ่มประเทศทวีปยุโรปกับประเทศที่ไม่ใช่คริสเตียน

ในศตวรรษที่ 19 มีการย้ายถิ่นฐานของชาวมุสลิมจากอาณานิคมของดัตช์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซีย) เศรษฐกิจเติบโตจากปี 1960 ถึง 1973 ทำให้รัฐบาลดัทช์มีความต้องการแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากตุรกีและโมร็อกโก และการอพยพย้ายถิ่นยังมีอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการรวมตัวใหม่(หลังจากแบ่งแยก) และการอพยพของผู้ที่มองหาที่ลี้ภัยจากประเทศมุสลิมซึ่งไม่มีความมั่นคงทางการเมือง

ข้อมูลจากปี2006แสดงให้เห็นว่ามุสลิมเนเธอร์แลนด์เองมีประมาณ 2,320,000 คนประกอบด้วยชาวโมร๊อคโก(ที่ได้รับสัญชาติิเนเธอร์แลนด์) 2,000,000 คน และเติร์ก(ได้รับสัญชาติเนเธอร์แลนด์) 3,200,008 คน ส่วนใหญ่มุสลิมอาศัยอยู่ใน 4 เมืองหลักๆ คือ อัมสเตอร์ดัม, ร็อตเตอร์ดัมส์, เดอะ เฮก, อูเทรคท์

ในทางการเมืองแล้ว 2 ใน 3 ของชาวตุรกีและโมร็อกโก จะมีบทบาทเหนือประชาชนในกลุ่มชาติพันธุ์ของตนในส่วนที่เหลือ เป็นกลุ่มที่คะแนนเสียงต่ำกว่าที่เข้าในมีส่วนร่วมทางการเมือง

1 ใน 4 ของคณะรัฐมนตรีของ Balkenende มีมุสลิมเป็นรัฐมนตรีดังนี้ neBahatalBayrak, ahmed aBoutaleBและคนอื่นๆ อีกอย่างน้อย 10 คนในรัฐสภา มีมุสลิมเกือบล้านในประเทศเนเธอร์แลนด์ นั่นชี้ให้เห็นว่า 5.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากร. มุสลิมดัตช์ หลักๆ มาจาก ตุรกี และโมร๊อคโก แต่มีชนกลุ่มน้อยอีกมากมายที่มาจาก อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน โซมาเลีย และดัตช์อาณานิคมซูรินาเม

ประเทศ จำนวน แบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรมุสลิมทั้งหมด
ตุรกี 358,000 40.5
โมร๊อคโก 315,000 35.6
ซูรินาเม 70,000 7.9
อิรัก 44,000 5.0
อัฟกานิสถาน 37,000 4.2
อิหร่าน 29,000 33
โซมาเลีย 22,000 2.5
ดัตช์ 10,000 1.1
รวมทั้งหมด 885,000 100


 รายการแสดงการจำนวนประชากรมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์

นักฟุตบอลมุสลิมเนเธอร์แลนด์ที่โด่งดังเป็นที่รู้จัก


Otman Bakal ทีม ดินาโม มอสโก ประเทศรัสเซีย


อิบรอฮีม อเฟลลาย ทีมบาเซโลน่า ประเทศสเปน ปัจจุบันสังกัดทีมชาลเก้ ประเทศเยอรมัน


โรบิน ฟาน เพอร์ซี่ สโมสรแมนยูไนเต็ด ประเทศอังกฤษ


ที่มา : หนังสือพิมพ์กัมปงไทย ฉบับที่ 34 ประจำเดือนตุลาคม 2555

การเข้ามาของอิสลามในหมู่เกาะมลายู




เขียนจาก Ensiklopedi Umum ภายใต้คำว่า Islam

ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วยตัวของท่านเองเพียงคนเดียวไปยังสังคมที่แตกแยก และยังผู้คนที่กราบไหว้สิ่งต่างฯ

ภายในเวลาประมาณ 23 ปี ท่านนบีฯได้รับความสำเร็จในการสร้างชาติ(อาหรับ)ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรัฐเดียวกัน ที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6)
ชาติใหม่กับศาสนาใหม่ดำเนินไปด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเป็นเวลา 2 ศตวรรษ
ขึ้นศตวรรษที่ 8 พวกเขาขึ้นไปอยู่บนยอดแห่งความสำเร็จอย่างงดงาม รัฐอิสลามกว้างขวาง จากอ่าวบิสกายา(สเปน)และฝรั่งเศสตอนใต้ ทางทิศตะวันตกจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย) ทางทิศตะวันออก และจากทะเลสาบอารัลและเอเชียกลาง(เขตแดนจีน) ทางทิศเหนือจนถึงต้นแม่น้ำไนล์ ทางทิศใต้ ภาษาอาหรับเป็นภาษากลางและศาสนาอิสลามถูกปลูกฝังอย่างแน่น ยุคนั้นคำว่า อาหรับกับอิสลามจะแยกกันไม่ออก ชาวอาหรับ-อิสลามมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เคาะลีฟะฮฺในวงศ์อับบาส(อับบาสิยะฮฺ)มีอำนาจเป็นเวลาอันยาวนานที่สุด คือ 5 ศตวรรษ

เมื่อบทบาทของชาวอาหรับเริ่มเสื่อมลง ชาวมุสลิมชนชาติอื่นขึ้นมาแทนที่ ตอนนั้นคำว่าอาหรับกับอิสลามจึงแยกกันได้

ถึงแม้ว่าระยะหลังรัฐมุสลิมประสบกับการแตกแยก แต่ศาสนาอิสลามไม่ได้รับความสะเทือนมากนัก อารยธรรมอิสลามยังก้าวหน้าและภาษาอาหรับกลายเป็นภาษาแห่งวิชาการ เมื่อกองทัพอนารยชนได้บุกรุกระลอกแล้วระลอกเล่า แม้บ้านเมืองบางส่วนจะพังทลายหรือเสียหายอย่างหนัก ขอบเขตหรือชายแดนจะเปลี่ยนแปลง ประชากรจะถูกฆ่าและบาดเจ็บมากมาย แต่ศาสนาอิสลามยังชูธงและก้าวหน้าต่อไป ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 13 ศาสนาอิสลามมาถึงหมู่เกาะมลายู โดยพวกพ่อค้าจากเปอร์เซียและคุชรัต(อินเดีย)ได้นำมาเผยแผ่

มาร์โค โปโล ได้เล่าว่าในการเดินทางจากประเทศจีนกลับไปยังอิตาลีนั้น เขาได้แวะที่สุมาตรา(คศ.1292) ประชากรของเมืองเปอร์ลักในสุมาตราเหนือนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก เป็นไปได้ว่า เมืองเปอร์ลักก็เช่นเดียวกับสุมาตรา ปาสัย ที่อิบนุ บัฏฏูเฏาะฮฺ ได้มาเยือนในปี 1345 และ 1346

อิบนุ บัฏฏูเฏาะฮฺ เป็นราชทูตของสุลต่านแห่งเดลฮีไปยังเมืองจีน ขากลับจากเมืองจีนเขาได้แวะที่สุมาตรา เวลานั้นผู้ปกครองเมืองมีนามว่า สุลต่านอะหมัด หรือที่รู้จักกันในนาม มะลิกุฏ ฏอฮิรฺ
สุมาตรา ปาสัย เป็นเมืองท่าที่มีพ่อค้ามากมายและมีสัมพันธ์ไมตรีกับเมืองเดลฮีและจีน
สุมาตรา ปาสัย เสื่อมหลังถูกกองทัพเรือมาญาปาฮิตโจมตีในปื1350

แม่ทัพเรือจีนที่นับถือศาสนาอิสลามชื่อ เชงโฮ เคยแวะเยือนแถบนี้ในปี 1405,1408 และ 1412 และมีบันทึกว่า แถบนี้มีอุลละมาอฺจากอาหรับและมาลาบาร์(อินเดีย) จำนวนมาก พวกเขานับถือตามแนวความคิดของอิม่ามชาฟีอี ขากลับจากการเยือนครั้งสุดท้าย เชงโฮ(เชินเฮอ)พร้อมกับสุลต่านอิสกันดัรฺ(สุลต่านสุมาตรา ปาสัย คนสุดท้าย) ที่ต้องการเข้าเฝ้าจักพรรดิแห่งจีน แต่พระองค์ถูกลอบสังหารเสียก่อน สุมาตรา ปาสัยจึงไม่สามารถโงหัวอีกเลย และมาลากาเข้ามามีบทบาทแทน

ปาราเมสวารา ตั้งเมืองมาลากาในปี 1363 ภายใต้ประมุขผู้นี้และราชวงศ์นี้ มาลากาได้กลายเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญ ซึ่งมีพลเมืองหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์

ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเมืองมาลากานั้น อาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากมาถูกปาฮิต ซึ่งในปี 1377 สามารถยึดหัวเกาะสุมาตราและแหลมมาลายู ได้ประสบความเสื่อมที่ทำให้ มาญาปาฮิตอ่อนกำลัง จนไม่สามารถจะป้องกันฐานะของตนเองที่มีชื่อโด่งดังในแหลมมาลายูได้
ปาราเมสวารา สิ้นชีวิตในปี 1414 และพระโอรสของพระองค์ขึ้นมาแทนที่ มีนามว่า มุฮัมมัด อิสกันดัรฺ ชาฮฺ ซึ่งเป้นสุลต่านมาลากาองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และต่อมา สุลต่านเมืองปาฮัง เปรัก โยโฮร์ ตรังกานู ก็รับนับถือศาสนาอิสลามตามไปด้วย ขอบเขตการปกครองของเมืองมาลากาภายใต้การปกครองของสุลต่านมุชัฟฟัรฺ ชาฮฺ (1450-1458)และสุลต่านมันศูรฺ ชาฮฺ(1450-1477)ทางทิสใต้กว้างขวางจนถึงสุมาตรากลาง,กัมปาร์,ซียัก,อันครากีรีและโรกัน

นอกจากพ่อค้าจากมาลากาแล้ว พ่อค้ามุสลิมคุชรัตและเปอร์เซีย ก็ได้นำสินค้าไปค้าขายที่เกาะชวา พวกเขาได้แวะตลอดชายฝั่ง และบางรายได้แต่งงานกับชาวท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวดังกล่าวเป็นมุสลิมไปด้วย และอิทธิพลของพ่อค้าเหล่านี้ จะมากยิ่งขึ้นไปอีกถ้าได้แต่งงานกับบุตรีเจ้าเมือง หรือบุตรีของคนชั้นนำ เหตุการณ์แรกที่เกอร์ชิก เกี่ยวกับผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลาม คือ เมาลานาอิบรอฮีม (คศ.1491) หลุมฝังศพของท่านอยู่ที่ กาปูรา เวตัน หินหลักที่ปักไว้บนที่ฝังศพของท่านเขียนด้วยภาษาอาหรับที่ประณีต นำมาจากแคมเบย์(คุชรัต)

เกอร์ชิก สูบารายา มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ที่ตั้งของเมืองเกอร์ชิก สูบารายาใกล้กับศูนย์การปกครองของรัฐฮินดู “มาณาปาฮิต” ซึ่งกำลังเสื่อมนั้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อิสลามได้รับความสะดวก
ดังนี้แหละคือ การแพร่หลายอย่างรวดเร็วของอิสลาม อันเนื่องมาจากการทำงานของผู้ปกครองและนักเผยกผ่อิสลามที่มีอิทธิพล

นอกเหนือจากเมาลานา มาลิก อิบรอฮีม แล้ว ยังมีนักเผยกผ่ที่ประชาชนกล่าวถึงกระทั่งทุกวันนี้อีกหลายท่าน เช่น สุนันทั้งเก้าคือ
1 1.     เมาลานามาลิก อิรอฮีม
22.     สุนัน อัมเปล(งัมเปล)
 33.     สุนัน โบนัง
44.     สุนัน ดราญัด
5 5.     สุนัน กีรี
66.     สุนัน กูนุงญาดี
77.     สุนัน กาลีญากา
 88.     สุนัน  มูเรีย
 99.     สุนัน กุดุส

ทั้งเก้าท่านนี้ ยังมีชื่อเสียงรวมกันในนามของ “วาลี โชโง”
ระเด่น ฟะตะหฺ(คศ.1518) เจ้าเมืองเดมักคนแรก ก็มีผลงานอย่างใหญ่หลวงในการเผยกผ่อิสลาม รวมทั้งสุลต่านต่อฯมา ที่ปาญัง และมาดารัม
ที่ชวาตะวันตก การเผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างขนานใหญ่ก็คือ ภายใต้การนำของ ฟะลาเดฮัน หรือฟะเลเดฮัน(เพี้ยนมาจาก ฟะดะหิลลาฮฺ) ซึ่งเป็นคนแรกที่ปกครองเมืองบันเดน และภายหลังได้ถอนตัวจากการปกครองมาเป็นวะลีที่จิเรบอน(คศ.1570) ถูกฝังที่เขากูนุงญาดี เป็นที่รู้จักกันในนาม สุนัน กูนุงญาดี

ฮะสะนุดดีน บุตรของฟะเลเดฮัน ซึ่งถือกันว่า เป็นสุลต่านบันเดนองค์แรก(1552-1570)ได้สืบทอดงานของบิดาต่อไป

อาเจะห์ ภายใต้การนำของสุลต่านอิสกันดัรมูดา(คศ.1607-1636) ได้ปกครองทั่วสุมาตราเหนือและแถบชายฝั่งสุมาตราตะวันตก จนมาถึงมีนังกาเบา นอกจากนี้อาเจะห์ยังกผ่อำนาจข้ามช่องแคบมาลากามาถึงเมืองท่าปาฮัง เกดะห์ เปอร์ลัก บาดูชาวาร์ และในสมัยนี้อีกเช่นกัน อุละมาอฺคนสำคัญฯเช่น ชัมสุดดีน ปาสัย,ฮัมซะฮฺ ฟันซูรี,นูรุดดีน อัร-รอนีรี เกิดขึ้น

ที่อินโดนิเซียตะวันออก เช่น มาลูกู ก็เช่นเดียวกับสุมาตราและชวา คือบรรดาพ่อค้าเป็นผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามไปยังที่นั่น  พวกเขาไปหาเครื่องเทศและสั่งสอนศาสนาอิสลามให้แก่ชาวเกาะ และด้วยอิทธิพลของผู้นำศาสนา(วะลี)แห่งเกรชิก และรอบฯเมืองนั้น ทำให้อิสลามแผ่ขยายไปยังแถบตะวันออกของอินโดนิเซียอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ชนชาติโปรตุเกสไปถึงมาลูกู(คศ.1512) รัฐอิสลามที่เตอร์นาเต ตีโคเรและบาจัน เกิดขึ้นมาแล้ว และผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเรียกว่า “สุลต่าน”

สุลต่านเตอร์นาเตที่มีชื่อเสียงคือ สุลต่านค็อยรุน (คศ.1535-1570) เคยทำสัญญาสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส (กุมภาพันธ์ 1570) สัญญาดังกล่าวได้ยืนยันโดยฝ่ายสุลต่านยกคัมภีร์อัล-กรุอานและฝ่ายโปรตุเกสยกคัมภีร์ไบเบิลขึ้นมาเป็นสักขีพยาน แต่วันรุ่งขึ้น พวกโปรตุเกสได้ฆ่าสุลต่าน โอรสของสุลต่านที่มีนามว่า นาบุลลอฮฺ (1570-8-1583) ขึ้นครองแทน ขอบเขตการปกครองของสุลต่านองค์นี้ในประมาณปี 1580 จากมินดาเนา(ขณะนี้อยู่ในฟิลิปปินส์) ทางทิศเหนือจรดบีมา(สุมบาวา) ทางทิศใต้ อีเรียน ทางทิศตะวันออกจนถึงซูลาเวชีทางทิศตะวันตก ศุนย์กลางการปกครองของชูลาเวชี อยู่ที่ มักกาซัรฺ ซึ่งเป็นเมืองติดต่อระหว่างมาลูกู-ชวา-มาลากา-อาเจะห์

มักกาซัรฺแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กัวและตัลโล สุลต่านอะลาอุดดีน(1591-1638) เข้ารับอิสลามในปี 1603 เวลาเดียวกันกับอำนาจของสุลต่านแห่งเดมักรุ่งเรือง ซึ่งได้เผยแพร่อิสลามไปถึงกาลีมันตัน(ประมาณปี 1550) หลังจากมาญาปาฮิตสลาย เดมักมีอำนาจขึ้นมาแทนที่บันญัรมาซิน ในปี 1641 เจ้าเมืองบันญัรมาซิน ยังได้ส่งทูตไปเฝ้าสุลต่านอาฆุงแห่งมาตารัม

ที่กาลีมันตะวันตก มีรัฐอิสลามหลายรัฐที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐที่อยู่นอกเหนือจากเกาะกาลีมันตัน เช่น ซูกาดานา จ่ายเครื่องราชบรรณาการแก่โยโฮร์ ผต้นศตวรรษที่ 17) ประชากรส่วนใหญ่มาจากโยโฮร์ สุลต่านอาฆุงเคยส่งกองทัพเรือไปตีซุกาดานา ในปี 1622 ในการสงครามกับรัฐลันดัก ซูกาดานาได้ขอความช่วยเหลือจากบันเดน(1699)



ที่มา : นิตยสารอัล-ญิฮาด ปีที่ 22 อันดับที่ 199-200(1978)

ผู้ที่ถือบวชออกบวชตามการคำนวณดาราศาสตร์โดยไม่ยอมดูเดือนเสี้ยว



ผู้ที่ถือบวชออกบวชตามการคำนวณดาราศาสตร์โดยไม่ยอมดูเดือนเสี้ยว ไม่ถือว่า เป็นชาวซุนนะฮ์หรอกครับ ...
คนกลุ่มนี้ คงอาศัยความเข้าใจ (เอาเอง) จากคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ............... صُوْمُوْالِرُؤْيَتِهِ : แปลว่า พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว .........) แล้วพวกเขาก็คงอธิบายว่า ...
ภาษาอาหรับว่า رُؤْيَتِهِ แปลเป็นภาษาไทยว่า เห็นมัน(เดือนเสี้ยว), .. ซึ่งการ “เห็น” นั้น จะมี 2 ลักษณะคือ ...
1. “เห็น” ด้วยตา ...
2. “เห็น” ด้วยความรู้ (คือการคำนวณดาราศาสตร์) ...
เพราะฉะนั้น เราจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกการเห็นเดือนเสี้ยวด้วย “ตา” ก็ได้, ด้วยการ “คำนวณดาราศาสตร์” ก็ได้ ....
โดนเข้าไม้นี้ ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไรครับ ? ...
สำหรับผม ขอเรียนชี้แจงว่า ...
1. ความเข้าใจของเขาที่ว่า คำว่า رُؤْيَةٌ ในทางภาษา จะแปลว่าเห็นด้วยตา ก็ได้, เห็นด้วยใจ (คือรู้) ก็ได้ เป็นเรื่องถูกต้องครับ ...
แต่มิได้หมายความว่า คำว่า رُؤْيَةٌ คำเดียว, ในประโยคเดียวกันดังหะดีษบทนั้น จะเลือกแปลอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 2 ความหมายได้ตามใจชอบ อย่างที่พวกเขาเข้าใจ ...
เพราะในแง่ภาษาอาหรับ .. رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยตา จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง และ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยใจหรือรู้ จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกันหรอกครับ
คำว่า رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยตา จะมี “กรรม” เพียงตัวเดียวมารองรับ ...
แต่ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่ารู้ ต้องมีกรรม 2 ตัวมารองรับครับ ...
“กรรม” ตามความหมายในวิชาไวยากรณ์ หมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ อย่างเช่นคำสั่งให้เห็นเดือนเสี้ยวในหะดีษบทนี้ ...
คำว่า เดือนเสี้ยว ถือว่าเป็นกรรม .. เพราะเป็นสิ่งที่ “ถูกเห็น” ...
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือ ท่านอิบนุมาลิก ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “أَلْفِيَّةُ” ของท่านว่า ...
إِنْصِبْ بِفِعْلِ الْقَلْبِ جُزْأَيِ ابْتِدَا أَعْنِىْ رَأَى خَلاَ عَلِمْتُ وَجَدَا
ผมจะไม่แปลให้ท่านฟังนะครับ เพราะผมไม่มีเป้าหมายสอนไวยากรณ์อาหรับขณะนี้ .. เพียงแต่จะบอกให้รู้ว่า ความหมายของบทกลอนข้างต้นก็คือ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่ารู้ (ไวยากรณ์อาหรับเรียกว่า فِعْلُ الْقَلْبِ)จะต้องมีกรรม 2 ตัว .. ดังที่ผมบอกไปนั้น ...
ทีนี้เรามาดูหะดีษบทนั้น ที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
صًوْمًوْا لِرُؤْيَتِهِ .............................
ซึ่งมีความหมายว่า “พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากเห็นมัน” ...
คำว่า “เห็นมัน” แปลมาจากคำในหะดีษที่ว่า رُؤْيَتِهِ ซึ่งเป็นคำสมาส (إِضَافَةٌ) สามารถแยกแฟ็คเตอร์ออกเป็น رُؤْيَةِ แปลว่าเห็น, กับ هِ แปลว่า มัน ...
ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า “เห็น” (رُؤْيَةِ) ในประโยคนี้ มีกรรมเพียงตัวเดียวมารองรับ คือคำว่า “มัน” (هِ) ...
เพราะฉะนั้น เมื่อ رُؤْيَةِ ในประโยคนี้, ในหะดีษบทนี้มีกรรมเพียงตัวเดียว ก็จะแปลว่า “เห็นด้วยความรู้” ไม่ได้ครับ ...
แต่จะต้องแปลว่า “เห็นด้วยตา” (إِبْصَارٌ) เท่านั้น ...
2. การใช้หลักคำณวนดาราศาสตร์เพื่อถือบวชออกบวชอย่างอิสระ จะขัดแย้งกับหะดีษบทหนึ่งที่ผ่านมาแล้วข้างต้น คือหะดีษที่ว่า ...
اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ...
ท่านอิบนุล ก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวอธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน” เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...

(( قِيْلَ : فِيْهِ الرَّدُ عَلَى مَنْ يَقُوْلُ : إِنَّ مَنْ عَرَفَ طُلُوْعَ الْقَمَرِ بِتَقْدِيْرِ حِسَابِ الْمَنَازِلِ جَازَ لَهُ أَن يَّصُوْمَ وَيُفْطِرَ ........ وَقِيْلَ : إِنَّ الشَّاهِدَ الْوَاحِدَ إِذَا رَأَى الْهِلاَلَ وَلَمْ يَحْكُمِ الْقَاضِىْ بِشَهَادَتِهِ أَنَّهُ لاَ يَكُوْنُ هَذَا لَهُ صَوْمًا، كَمَالَمْ يَكُنْ لِلنَّاسِ )) ...
“กล่าวกันว่า ในหะดีษบทนี้ เป็นหลักฐาน “หักล้าง” ผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้ผู้ที่รู้เวลาการขึ้นหรือตกของดวงจันทร์โดยการคำนวณดาราศาสตร์ สามารถถือศีลอดหรือออกอีดได้โดยอิสระ ........... และยังกล่าวกันอีกว่า บุคคลเพียงคนเดียวที่เห็นเดือนเสี้ยว โดยที่ผู้นำหรือกอฎีย์ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด (ตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเขา)เช่นเดียวกัน” ...


.....................................
โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย




จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็นมะอฺศูม (ผู้ไร้บาป)


โดยอ ปราโมทย์ศรีอุทัย ...
ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า จุฬาราชมนตรีคือผู้นำของมุสลิมในประเทศไทย ...
แต่ปฏิเสธที่จะถือบวชออกบวชตามจุฬาราชมนตรี เพราะรังเกียจพฤติการณ์ของจุฬาราชมนตรีบางท่านที่มองดูแล้วเข้าข่ายชิริก หรือผิดบทบัญญัติของศาสนาอย่างร้ายแรง ...
เรียกว่าทั้งรักทั้งชัง .. ว่างั้นเถอะ ...
ผมเคยสะเออะคุยเรื่องการบ้านการเมืองกับเพื่อนคนหนึ่ง .. ผมถามเขาว่าชอบนายกรัฐมนตรีคนไหนมากที่สุด ...
เขาตอบว่าชอบนายกทักษิณมากที่สุด ...
ผมถามอีกว่า ..
เขาตอบว่าเกลียดนายกทักษิณมากที่สุด ...
เอ๊ะแปลกแฮะชอบมากก็ทักษิณเกลียดมากก็ทักษิณ ...
? ...
เขาอธิบายว่า นายกทักษิณ ...
แต่ที่เกลียดนายกทักษิณมากที่สุด .. ...
ผมจึงถึงบางอ้อและเชื่อว่า ...
มาพูดเรื่องของเราต่อกันดีกว่า ...
ด้วยเหตุผลที่ว่าจุฬาฯ บางท่านทำชิริก, และในอดีต ทั้งๆที่ในคืนนั้น ...
แต่ผมก็เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้เป็นจุฬาราชมนตรีเช่นเดียวกันว่า บางครั้งก็อาจตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า - คายไม่ออก ...
ตัวอย่างเช่น ออกประกาศในคืนที่ 29 ให้ประชาชนดูเดือนเสี้ยว ทั้งๆที่ท่านก็รู้ดีว่าตามหลักคำนวณดาราศาสตร์แล้วเดือนเสี้ยวคืนนั้นมันไม่มี ...
เมื่อออกประกาศไปแล้ว ว่า ...
พอผมดูเดือนและแจ้งข่าวเห็นเดือนคุณมึงกลับไม่ยอมรับอ้างว่าคืนนี้เดือนเสี้ยวไม่มี .. ... อะไรวะ "...
ถ้าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีเองท่านจะตอบเขาอย่างไรครับ? ...
จริงอยู่ตามปกติผู้นำทุกท่านทุกระดับควรจะมีวุฒิภาวะ, คุณธรรม, จริยธรรมเหนือกว่าชาวบ้านธรรมดา ...
แต่เราก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า แต่เป็นปุถุชนเหมือนเรา ...
เมื่อเป็นปุถุชน ...
ในอัล - กุรฺอ่านได้กล่าวถึง "ความผิด" ด้วยการไปกินผลไม้ต้องห้าม .. ในอายะฮ์ที่ 36 ซูเราะฮ์อัล - บะกอเราะฮ์ ...
และในอัล - กุรฺอ่านยังได้กล่าวถึง "ความพลาด" ของท่านนบีย์มุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม .. จนถูกพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ตำหนิในอายะฮ์ที่ 1-10 ซูเราะฮ์عبس ...
ตัวอย่างเหล่านี้จากอัล - กุรฺอ่านแสดงว่ามนุษย์ทุกคน - จะหลีกเลี่ยงจากความ "ผิด - พลาด" หาได้ไม่ ...
ผมชอบใจคำคมของ "อิงอร" นักเขียนคนหนึ่งที่เคยกล่าวไว้ในนิยายเรื่องหนึ่งว่า
"ความผิดพลาดเป็นธรรมดาของมนุษย์ ...
เห็นภาพเลยครับ ...
ดังนั้น "ผู้นำ" จะต้องเป็นมะอฺศูม ...
นอกจากใน "อะกีดะฮ์" อิหม่ามของพวกเขาล้วนเป็นมะอฺศูม .. ซึ่งพวกเรา - ขาวซุนนะฮ์ - ไม่ถือว่า ...
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าเราเป็นคนมีเหตุผล, มีความเป็นธรรมอยู่ในหัวใจ ? ...
"ฟาซิก" จนกลายเป็น "จุดอ่อน" (อะฮฺลิซซุนนะฮ์) อยู่จนถึงปัจจุบัน ...
แต่กระนั้น ...
ความจริงผมไม่อยากจะรื้อฟื้นเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาพูดเป็นการสาวไส้ให้กากิน แต่จำเป็นจะต้องนำข้อมูลเพียงบางส่วนมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบเพื่อเป็นหลักฐานว่า ต่อให้พฤติการณ์ส่วนตัวของผู้นำจะแย่ขนาดไหน ก็วายิบสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตาม หากคำสั่งของเขาเป็นคำสั่งใช้ให้กระทำสิ่งที่ "ถูกต้อง" ตามบทบัญญัติ ...

(1) ท่านอัล - วะลีดบินอุกบะฮ์บินอบีย์มุอีฏผู้ซึ่งท่านคอลีฟะฮ์อุษมานบินอัฟฟาน ร.ฎ. ฮ.ศ. 26 หลังจากที่ได้ถอดท่านสะอัดบินอบีย์วักกอฏ ร.ฎ. ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองดังกล่าว ...
มีกล่าวในหนังสือ "شرحالعقيدةالطحاوية" .. หน้า 422 ว่า ...

وكذلكعبداللهبنمسعودرضىاللهعنهوغيرهيصلونخلفالوليدبنعقبةبنأبىمعيط, وكانيشربالخمر ....
"ในทำนองเดียวกันท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด ร.ฎ. และเศาะหาบะฮ์ท่านอื่น ๆ ก็ยังเคยนมาซตามท่านอัล - วะลีดบินอุกบะฮ์บินอบีย์มุอีฏทั้งๆที่เขาเป็นคนชอบดื่มสุรา (จนครั้งหนึ่งเคยนำนมาซซุบห์ถึง 4 ร็อกอะฮ์ก็มี) ...
(2) ท่านยะซีดบินมุอาวิยะฮ์ (เป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่ 2 แห่งวงศ์อุมัยยะฮ์ .. ร.ฎ. ผู้เป็นบิดาในปี ฮ.ศ. 61-64, รวมเวลาอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี 8 เดือน) ...
ท่านอิบนุหะญัรอัล - ฮัยตะมีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 909-974, สิ้นชีวิตที่นครมักกะฮ์, มัยยิตของท่านถูกฝังที่สุสานมะอฺลา) ได้กล่าวในหนังสือ "الصواعقالمحرقة" เล่ม 2 หน้า 630, 632 ว่า ...
واعلمأنأهلالسنةقداختلفوافىتكفيريزيدبنمعاويةوولىعهدهمنبعده, فقالتطائفة: إنهكافر, ........... وقالتطائفة: ليسبكافر ...
"พึงทราบเถิดว่า (ขอย้ำว่าที่ขัดแย้งกันคือชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์, ไม่ใช่พวกชีอะฮ์) ในการหุก่มว่าท่านยะซีดบินมุอาวิยะฮ์เป็นกาฟิรฺหรือไม่? .. ? บางพวกกล่าวว่าท่านยะซีดเป็นกาฟิรฺ ........ และบางพวกกล่าวว่าท่านไม่ใช่กาฟิรฺ "
แล้วท่านอิบนุหะญัรฺก็ได้กล่าวสรุปในหน้าที่ 632 หนังสือเล่มเดียวกันนั้นว่า ...
وعلىالقولبأنهمسلم, فهوفاسق, شرير, سكير, جائر
"และแม้จะยึดถือตามทัศนะที่ว่าท่านยะซีดยังเป็นมุสลิมอยู่ แต่เขาก็คือค​​นเลว, คนชั่ว, คนขี้เมา, คนอธรรม" ...
ถึงขนาดนี้ก็ไม่เคยปรากฏว่าจะมีมุสลิมคนใด ...
(3) ท่านอัล - หัจญาจญ์บินยูซุฟอัษ - ษะเกาะฟีย์ซึ่งเคยปกครองนครมะดีนะฮ์, ต่อมาท่านอับดุลมะลิกบินมัรฺวานคอลีฟะฮ์ท่านที่ 5 แห่งวงศ์อุ มัยยะฮ์ได้โยกท่านออกจากตำแหน่งเดิมไปเป็นผู้ครองเมืองอิรัก, บัศเราะฮ์และกูฟะฮ์ในปี ฮ.ศ. 75 .. ดังข้อมูลจากหนังสือหนังสือ "อัล - บิดายะฮ์วัน - นิฮายะฮ์" เล่มที่ 9 หน้า 11 ...
มีกล่าวในหนังสือ "شرحالعقيدةالطحاوية" หน้า 421 เกี่ยวกับท่านอัล - หัจญาจญ์ว่า ...
((وفىصحيحالبخارى)) أنعبداللهبنعمررضىاللهعنهكانيصلىخلفالحجاجبنيوسفالثقفى, وكذلكأنسبنمالك, وكانالحجاجفاسقاظالما

ท่านอับดุลลอฮ์บินอุมัรฺ ร.ฎ. และเช่นเดียวกันท่านอนัสบินมาลิก ร.ฎ. ได้เคยนมาซหลัง (คือเป็นมะอ์มูมของ) ท่านอัล - หัจญาจญ์บินยูซุฟอัษ - ษะเกาะฟีย์ คนอธรรม "

(4) ท่านอัล - วะลีดบินยะซีดบินอับดุลมะลิก (เป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่ 11 แห่งวงศ์อุมัยยะฮ์, ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ในปี ฮ.ศ. 125) ...
ท่านอิบนุกะษีรฺได้กล่าวในหนังสือ "อัล - บิดายะฮ์วัน - นิฮายะฮ์" เล่มที่ 6 หน้า 635 ว่าท่านอัล - วะลีดบินยะซีดผู้นี้เป็นคนฟาซิก (คนเลว ) ...
ท่านอัล - หะซันอัล - บัศรีย์ (เป็นตาบิอีนระดับอาวุโส, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 110) ได้ตอบคำถามของผู้ที่ถามท่านเรื่อง ว่า ..

صلخلفه! وعليهبدعته
"จงนมาซตามเขาไปเถอะ! เรื่องบิดอะฮ์ของเขาเขาจะต้องรับผิดเอาเอง "
(จาก "เศาะเหี๊ยะฮ์บุคอรีย์" บาบที่ 56 กิตาบอัล - อะซานด้วยสายรายงานมุอัล
ลัก, และท่านสะอีดบินมันศูรฺ ...
และท่านรอซู้ลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมยังได้เคยกล่าวไว้ว่า ...
((يصلونلكم! فإنأصابوافلكم, وإنأخطؤوافلكموعليهم))
"ให้พวกเขา (ผู้นำ) นำนมาซพวกท่านไปเถอะ! ถ้าหากพวกเขาถูกต้องพวกท่านก็ได้รับผลบุญ (และพวกเขาก็ได้รับผลบุญ) ถ้าหากพวกเขาทำผิดพวกท่านก็ยังได้รับผลบุญ
(บุคอรีย์, หะดีษที่ 694)
จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้นำนั้น - ก็คือปุถุชนคนหนึ่ง ...
ขนาดผู้นำบางท่านเป็นคนฟาซิก, คนเลว, คนชั่ว, คนอธรรม, คนขี้เหล้า อิบนุมัสอูด, ท่านอนัสอิบนุมาลิก, ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร.ฎ. และเศาะหาบะฮ์ท่านอื่น ๆ ก็ยังคงนมาซตามพวกเขา ...
ขนาดผู้นำทำบิดอะฮ์ท่านอัล - หะซันอัล - บัศรีย์ เพราะบิดอะฮ์ของเขาเขารับผิดชอบไม่ใช่เราต้องไปรับผิดชอบแทนเ​​ขา ...
และต่อให้ผู้นำนมาซผิด ..
แล้ว .. .. ถูกต้องตามซุนนะฮ์ทุกประการ ...
? ...
หมายเหตุ
เพื่อนฝูงบางคนกึ่งถาม - กึ่งปรึกษากับผมว่า ไม่ยอมดูเดือนเสี้ยวเลยอย่างนี้จะใช้ได้หรือไม่? ...
ขออภัยที่ผมจำเป็นต้องตอบว่า ไม่ถือว่าเป็นชาวซุนนะฮ์หรอกครับ ...
คนกลุ่มนี้คงอาศัยความเข้าใจ (เอาเอง) จากคำสั่งของท่านศาสดาศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ............... صوموالرؤيته: แปลว่า ......... ) แล้วพวกเขาก็คงอธิบายว่า ...
ภาษาอาหรับว่าرؤيتهแปลเป็​​นภาษาไทยว่าเ​​ห็นมัน (เดือนเสี้ยว) .. ซึ่งการ "เห็น" นั้นจะมี 2 ลักษณะคือ ...
1 "เห็น" ด้วยตา ...
2 "เห็น" ด้วยความรู้ (คือการคำนวณดาราศาสตร์) ...
เพราะฉะนั้น "ตา" ก็ได้, ด้วยการ "คำนวณดาราศาสตร์" ก็ได้ ....
โดนเข้าไม้นี้ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไรครับ? ...
สำหรับผมขอเรียนชี้แจงว่า ...
1. ความเข้าใจของเขาที่ว่าคำว่าرؤيةในทางภาษาจะแปลว่าเห็นด้วยตาก็ได้, เห็นด้วยใจ (คือรู้) ก็ได้เป็นเรื่องถูกต้องครับ ...
แต่มิได้หมายความว่าคำว่าرؤيةคำเดียว, ในประโยคเดียวกันดังหะดีษบทนั้นจะเลือกแปลอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 2 ความหมายได้ตามใจชอบอย่างที่พวกเขาเข้าใจ ...
เพราะในแง่ภาษาอาหรับ .. رؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยตาจะมีลักษณะอย่างหนึ่งและرؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยใจหรือรู้จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกันหรอกครับ
คำว่าرؤيةที่แปลว่าเห็นด้วยตาจะมี "กรรม" เพียงตัวเดียวมารองรับ ...
แต่رؤيةที่แปลว่ารู้ต้องมีกรรม 2 ตัวมารองรับครับ ...
"กรรม" ตามความหมายในวิชาไวยากรณ์หมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ ...
คำว่าเดือนเสี้ยวถือว่าเป็นกรรม .. เพราะเป็นสิ่งที่ "ถูกเห็น" ...
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือท่านอิบนุมาลิกได้กล่าวอธิบายในหนังสือ "ألفية" ของท่านว่า ...
إنصببفعلالقلبجزأيابتداأعنىرأىخلاعلمتوجدا
ผมจะไม่แปลให้ท่านฟังนะครับ .. เพียง แต่จะบอกให้รู้ว่าความหมายของบทกลอนข้างต้นก็คือرؤيةที่แปลว่ารู้ (ไวยากรณ์อาหรับเรียกว่าفعلالقلب) จะต้องมีกรรม 2 ตัว .. ดังที่ผมบอกไปนั้น ...
ทีนี้เรามาดูหะดีษบทนั้นที่ท่านนบีย์ ...
صوموالرؤيته .............................
ซึ่งมีความหมายว่า ...
คำว่า "เห็นมัน" แปลมาจากคำในหะดีษที่ว่าرؤيتهซึ่งเป็นคำสมาส (إضافة) สามารถแยกแฟ็คเตอร์ออกเป็นرؤيةแปลว่าเห็น, กับهแปลว่ามัน ...
ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าคำว่า "เห็น" (رؤية) ในประโยคนี้มีกรรมเพียงตัวเดียวมารองรับคือคำว่า "มัน" (ه) ...
เพราะฉะนั้นเมื่อرؤيةในประโยคนี้, ในหะดีษบทนี้มีกรรมเพียงตัวเดียวก็จะแปลว่า "เห็นด้วยความรู้" ไม่ได้ครับ ...
แต่จะต้องแปลว่า "เห็นด้วยตา" (إبصار) เท่านั้น ...
2 คือหะดีษที่ว่า ...
الصوميومتصومون, والفطريومتفطرون, والأضحىيومتضحون​​ ...
ท่านอิบนุลก็อยยิมอัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวอธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ "ตะฮ์ซีบอัส - สุนัน" เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...

((قيل: فيهالردعلىمنيقول: إنمنعرفطلوعالقمربتقديرحسابالمنازلجازلهأنيصومويفطر ........ وقيل: إنالشاهدالواحدإذارأىالهلالولميحكم​​القاضىبشهادتهأنهلايكونهذالهصوما, كمالميكنللناس)) ...
"กล่าวกันว่าในหะดีษบทนี้เป็นหลักฐาน" หักล้าง "ผู้ที่กล่าวว่า ........... และยังกล่าวกันอีกว่า เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด ...
"มะอฺศูม" (ผู้ไร้บาป) ก็คือ ...
และประเด็นเรื่องการ "วายิบ" ...
แต่อยู่ที่คำสั่งของผู้นำว่าถูกหรือผิดเท่านั้นครับ ...
อย่างผม .. สมมุตินะครับ, (แต่เรื่องจริงมันไม่มีดังที่สมมุติ แต่นั่นเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่หลักการ) ผมก็ขอเรียนท่านตรงๆ, สั้น ๆ ว่า ...
ถ้าท่านสั่งให้ผมทำสิ่งถูกผมตาม, แต่ถ้าท่านสั่งให้ผมทำสิ่งผิดผมไม่ตาม ...
ชัดเจนดีไหมครับ ...

ตักลิดคืออะไร




ตักลิดในทางภาษา
وضعالشيءفيالعنقمحيطابهكالقلادة
การวางสิ่งใด ๆ ล้อมรอบคอเช่นสร้อยคอ
ตักลิดในทางศาสนา
قبولقولالقائلوأنتلاتعلممنأينقاله (أيلاتعرفمأخذه)
คือการรับเอาคำพูดของผู้ที่พูด หมายถึงท่า​​นไม่รู้ที่มาของมัน - ดูอิรชาดุลฟุหูลของอัชเชากานีย 1/165 และอัล - บะหรุลมะฮีฏ 6/270
قبولقولالغيربلاحجة
คือรับเอาคำพูดผู้อื่นโดยไม่มีหลักฐาน - อั​​ลอะหกามของอิบนุหัซมิน 2/836
อบูอับดุลลอฮบินคุวัยซมินดาดอัลบะเศาะรีย์อัลมะลิกีย์กล่าวว่า
التقليدمعناهفيالشرعالرجوعإلىقوللاحجةلقائلهعليهوذلكممنوعمنهفيالشريعةوالاتباعماثبتعليهحجة
ตักลิดความหมายของมันในทางศาสนบัญญัติคือการกลับไปสู่​​คำพูดที่ไม่มีหลักฐานแก่ผู้ที่พูดบนมันและดังกล่าวนั้นคือสิ่งที่ถูกห้ามในทางศาสนบัญญัติและอัลอิตบาอฺคือ - ญามิอิลบะยานอัลอิลมิวัลฟัฎลี 2/177
อิหม่ามอบูหะนีฟะฮกล่าวว่า
لايحللأحدأنيأخذبقولنامالميعلممنأينأخذناه
ไม่อนุญาตให้แก่คนหนึ่งคนใดเอาคำพูดของเราสิ่งซ฿งเขาไม่รู้ว่าเราเอามันมาจากใหน - ฮาชียะฮอิบนิอาบิดีน 6/293
อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า
أجمعالمسلمونعلىأنمناستبانلهسنةعنرسولاللهصلىاللهعليهوسلملميحللهأنيدعهالقولأحد
บรรดาปราชญ์มุสลิมมีมติว่าผู้ใดก็ตามที่สุนนะฮจากรซูลุลลอฮได้ปรากฏชัดเจนแก่เขาก็ไม่อนุญาตให้เขาทิ้งมันเพื่อเอา​​คำพูดของคนหนึ่งคนใด - อั​​ลฟุลานีย์ หน้า 68
อัลลอฮ (ซ. บ) ทรงตำหนิการตักลิดว่า
وإذاقيللهماتبعوامآأنزلاللهقالوابلنتبعمآألفيناعليهآبآءنآأولوكانآباؤهملايعقلونشيئاولايهتدون
มิได้ บรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใด
(1) อัลลอฮ์ทรงถามว่า แม้ว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่รู้เรื่องอะไรและอยู่ในทางที่ผิดก็จะปฏิบัติกระนั้นหรือ?
واللهأعلمبالصواب

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรวยที่แท้จริง



عَنْ أَبِي ذَرٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ : " يَا أَبَا ذَرٍّ ، أَتَرَى كَثْرَةَ الْمَالِ هُوَ الْغِنَى ؟ " قُلْتُ : نَعَمْ . قَالَ : " وَتَرَى أَنَّ قِلَّةَ الْمَالِ هُوَ الْفَقْرُ ؟ " قُلْتُ : نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ . قَالَ : " لَيْسَ كَذَلِكَ إِنَّمَا الْغِنَى غِنَى الْقَلْبِ ، وَالْفَقْرُ فَقْرُ الْقَلْبِ
.
รายงานจากอบีซัรริน(ร.ฎ) จาก ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า “โอ้อบีซัรริน ทรัพย์สินมาก ท่านเห็นว่าร่ำรวยใช่ไหม? ข้าพเจ้ากล่าวตอบว่า “ครับ” ท่านนบีกล่าวว่า “ทรัพย์สินน้อย ท่านเห็นว่าอยากจนใช่ไหม? ข้าเจ้ากล่าวตอบว่า “ครับ โอ้ท่านรซูลุลลอฮ ,ท่านนบี กล่าวว่า “ ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก ความจริงความร่ำรวย คือ ความร่ำรวยของหัวใจ และ ความยากจน คือ ความอยากจนของหัวใจ – รายงานโดยอัลหากิม ในอัลมุสตัดรอ็ก หะดิษหมายเลข 3293
..........
ถ้าใจรู้จักพอ ถึง ทรัพย์น้อยก็เป็นสุข ถ้าใจไม่รู้จักพอ ถึงทรัพย์มาก ก็เป็นทุกข์




ละหมาดตะรอเวียะฮฺมีสุนัตให้อ่านดุอาอ์อิฟติฟตาฮฺหรือไม่


ทุกละหมาดยกเว้นละหมาดญานาซะฮฺ ภายหลังกล่าวตักบีรฺก่อนที่จะอ่านสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ มีสุนัตฮฺให้อ่านดุอาอฺอิฟติฟตาฮฺ ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎู หรือสุนัต ดังนั้นในละหมาดตะรอเวียะฮ์ก็มีสุนัตให้อ่านดุอาอ์อิฟติฟตาฮฺเช่นเดียวกัน

เมื่อท่านบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เริ่มท่านเริ่มละหมาด ท่านได้ตักบีรฺ (กล่าว "อัลลอฮุอักบัร") หลังจากนั้นท่านได้อ่าน "วัจญะฮฺตุ้......" ไปจนกระทั่งจบ (บันทึกโดยอิมามมุสลิม)

ทำไปได้




... ที่ตลาดสดแห่งหนึ่ง สตรีวัยกลางคนผู้มีอันจะกินแวะมาซื้อผักชี เธอถามแม่ค้าด้วยคำพูดห้วนๆว่า "ขายงัย?" แม่ค้าตอบว่า "สามกำสิบบาทคะ" นางจึงพูดตอบแบบเหยียดหยามแม่ค้าว่า "แพงเกินน สี่กำสิบบาทละกัน ไม่ให้ฉันไม่ซื้อนะ" แม่ค้าซึ่งได้กำไรไม่มากยอมขายให้ ทั้งที่แทบไม่มีกำไรจากตรงนั้นเลย

... คืนนั้น เธอนัดเพื่อนคนนึงไปกินกาแฟที่ร้านหรูหรา ทานเสร็จเธอเรียกพนักงานมาเก็บเงิน พนักงานแจ้งว่า "750 บาทครับ" เธอควักแบ๊งค์พันให้พร้อมบอกว่า "ไม่ต้องทอนนะ" ???

....." อิสลามสอนเราว่า กับคนยากคนจนเราต้องอ่อนโยนและคิดช่วยเหลือเสมอ และกับสังคมฟุ่มเฟือยเราต้องออกห่างให้มากที่สุด ".....





วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับตามแหล่งออกเสียง





ศึกษาตัจวิด กฎกติกาการการอ่านอัลกุรอานวันละนิด

กีรออาตี : ออกเสียงตามมัครอจ

ฝึกออกเสียงพยัญชนะตามแหล่งออกเสียง

(1)  พยัญชนะ ذ (ซาล, dhāl), ز (ซาย, zayn / zāy /Zaa)และ ظ (ซออ์, ẓā’ / Zaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ز ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านไรฟัน เสียงมันจะสั่น อย่าออกเสียงเหมือนตัว س (ซีน) หรือ ตัว ซ.โซ้ ز ไม่มีเสียงพยัญชนะเทียบในภาษาไทย ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษ ก็คือตัว Z

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ذ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงปลายลิ้นอยู่นอก เอาปลายลิ้นไปแตะปลายฟันหน้า

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ظ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา





(2)  พยัญชนะ ث (ษาอ์, thā’ /thaa), س (ซีน,sīn / seen)และ ص (ศอด, ṣād / saad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ س ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านลิ้น เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ซ.โซ้ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ซา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ث อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงปลายลิ้นอยู่นอก (ปลายลิ้นแตะกับฟันหน้า) และพ่นลมออกมาผ่านลิ้น

และการอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ص อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา (การทำให้เสียงหน้านั้นคือการพอกปากให้เยอะๆ)







(3)   พยัญชนะ د (ดาล, dāl / daal), และ ض (ฎอด, ḍād / daad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ د ปลายลิ้นอยู่ที่เพดาน และพยัญชนะใดเจอ د ตาย จะต้องมีเสียงสะท้อนตัว د ด้วย เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ด.เด็ก ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ดา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ض อ่านออกเสียงเหมือนตัว د เพียงแต่ต้องพองปาก ริมฝีปากไม่ปิด และและพยัญชนะใดเจอ ض ตาย จะไม่มีเสียงสะท้อน

(4)  พยัญชนะ ت (ตาอ์, tā’/ taa), และ ط (ฏออ์, ṭā’ / taa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ت ปลายลิ้นแตะโคนฟัน และพ่นลม เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ต.เต่า ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ตา และพยัญชนะใดเจอ ت ตาย จะมีลักษณะพ่นลม

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ط อ่านออกเสียงเหมือนตัว ت เพียงแต่ต้องพองปาก ให้มีเสียงหนา และและพยัญชนะ ط เจอสระตาย หรือสูกูน จะมีเสียงสะท้อนของตัว ط ด้วย







(5)  พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ ืnoon), ل (ลาม, tā’/ laam) และ ر (รออ์, rā’ / raa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ن ลมออกที่ปลายลิ้น และหางลมอยู่ที่จมูก เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร น.หนู ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า นา และพยัญชนะ ن เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับโคนฟันหน้า อย่าไปจดกับปลายฟัน จะไปสลับกับตัว ل

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ل อ่านออกเสียงเหมือนตัว ن เพียงแต่หางลมอยู่ที่ลิ้น ไม่ใช่ที่จมูก และพยัญชนะ ل เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับปลายฟัน

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ر ปลายลิ้นจะรัว (ไม่ต้องรัวมาก เพียงครั้งเดียว) และพองปากเมื่อมีฟัตหะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ (เพื่อจะให้เสียงหนา) เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ร.เรือ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า รอ

(6) พยัญชนะ ك (กัฟ, kāf) และ ق (กอฟ, qāf)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ك ลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม เทียบพยัญชะภาษาไทย คือเสียง ก.ไก่ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า "กา" เมื่อเจอกับ ك ตาย ต้องอ่านพ่นลมออกมาด้วย

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ق จะยึดเสียงตัว ك เป็นหลัก คืออ่านลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม แต่ต้องพองปาก เพราะมีลักษณะเสียงหนา เมื่อเจอกับ ق ตาย จะต้องอ่านออกเสียงสะท้อน และเสียงหนาด้วย





(7) พยัญชนะ ش (ชีน, shīn)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ش ลมจะออกมากลางลิ้น ลมออกก่อนเสียง และพ่นลมด้วย เสียงตัว ش ไม่มีในภาษาไทย และไม่มีในภาษาอักกฤษด้วย ต้องออกเสียงให้ถูก ไม่ใช่เสียง ช.ช้าง ถ้าออกเสียง ช.ช้าง จะถือว่าผิด

(8)  พยัญชนะ ي(ยะ, ยา,yā’) ج(ญีม ,jīm)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ي (ย.ยักษ์) ลมจากกลางลิ้น ไม่กดลิ้น ปากฉีก (ปากเยื่องมาด้านข้าง) ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ยา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ج เหมือน ي แต่ต้องกดลิ้น มีเสียงสะท้อน เมื่อ ج ตาย เสียงตัว ج ไม่มีในภาษาไทย






(9) พยัญชนะ غ (ฆอยนฺ ไม่ใช่เฆน, ghayn / ghayn), และ خ (คออ์, khā’ / khaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ غ มีลักษณะน้ำเดือด พองปาก ไม่มีตัวเทียบในภาษาไทย เมื่อเจอ غ ตายจะไม่พ่นลมออกมา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ خ อ่านออกเสียงเหมือนตัว غ คือ น้ำเดือด พองปาก แต่ให้พ่นลมด้วย คล้าย ค.ควย ในภาษาไทย เสียง خ เกิดจากบริเวณลำคอ แต่อย่าลึกเกินไป เมื่อเจอ خ ตายจะต้องพ่นลมออกมาด้วย

(10) พยัญชนะ ع (อัยนฺ , ‘ayn / ayn), และ ﺀ (ฮัมซะฮฺ, hamza)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ع ตำแหน่งออกเสียงตัว ع จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ เสียงมันจะนุ่ม เทียบกับภาษาไทย คือ อ.อ่าง ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า อา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ﺀ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ع แต่เสียงแข็ง ต้องอ้าปากกว้างไว้ ไม่สามารถเทียบได้กับเสียงในภาษาไทย เสียง ﺀ เกิดจากบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(11) พยัญชนะ ح (หาออ์ (เล็ก), ḥā’ / haa), และ ه (ฮาอ์ (ใหญ่), hā’ / ha)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ح ตำแหน่งออกเสียงตัว ح จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ มีลักษณะการพ่นลม เสียงจะบางกว่าเสียงตัว ه

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ه อ่านออกเสียงเหมือนตัว ح คือมีลักษณะพ่นลม แต่ต้องอ่าปากกว้างๆ ตำแหน่งออกเสียงตัว ه จะอยู่ในตำแหน่งบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(12) พยัญชนะที่มาจากริบฝีปาก(ชาฟาวี) ได้แก่ พยัญชนะ ب (บาอ์, bā’/ baa), و (วาว , wāw / wow), م (มีม, mīm / meem), และ ف (ฟาอ์ , fā’ / faa)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ب มีลักษณะปิดและเปิดปาก มีเสียงสะท้อน (เมื่อ ب ตาย)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ و มีลักษณริมฝีปากแหลมเสมอ

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ م มีลักษณะเปิดและปิดปาก (ตรงข้ามกับตัว ب) มีเสี่ยงหน่วง (เสียงตัวมีมมีลักษณะขึ้นไปยังจมูก)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ف มีลักษณะฟันบนแตะริมฝีปากล่าง และพ่นลม

(13) พยัญชนะที่มาจากโพรงจมูก(ค็อยชูมียฺ) คือมีเสียงหน่วงได้แก่ พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ noon) และ م (มีม, mīm / meem)

การหน่วงเสียง ก็คือ มันจะมีลมขึ้นไปที่โพรงจมูก

(14)  เสียงสระที่ออกมาจากโพรงปาก(เญาฟียฺ) ได้แก่ พยัญชนะ ا (อลิฟ,’alif/ ืalif), و (วาว , wāw / wow) , และ ي(ยะ, ยา,yā’)

ในกรณีตัว ا, و , ي กลายเป็นเสียงสระ กรณีที่อยู่ท้ายพยัญชนะตัวอื่น คือ จะออกเสียง อา, อี, อู มีแหลงกำเนิดมาจากโพรงปาก










จุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามในประเทศไทยหรือ ?


โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถ้าท่านจะให้ผมตอบคำถามนี้ในลักษณะแบบกำปั้นทุบดิน ผมก็ต้องตอบว่า ...
1. ถ้าไม่ให้ท่านจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำทางศาสนาแล้ว จะให้ท่านเป็นผู้นำทางไหนล่ะครับ ? ...
2. การที่่บุคคลใดไม่ยอมรับจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำมุสลิมในประเทศไทย ก็เป็นเรื่องของ่เขา ...

แต่ผมมั่นใจว่า มุสลิมในประเทศไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ยอมรับท่านจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำครับ ! ...
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเคยกล่าวว่า ...
عَلَيْكُمْ بِالْجَمَاعَةِ، وَإِيَّاكُمْ وَالْفِرْقَةَ، فَإِنَّ الشَّيْطَانَ مَعَ الْوَاحِدِ .........
“จำเป็นสำหรับพวกท่านจะต้องยึดถือ(ประชาชน)ส่วนใหญ่ไว้ และพวกท่านพึงระวังการปลีกตัว(ออกจากส่วนใหญ่) เพราะแท้จริง ชัยฏอนนั้นมันจะอยู่กับผู้ที่โดดเดี่ยว .............”
(บันทึกโดย ท่านอะห์มัด เล่มที่ 1 หน้า 26, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2268, และท่านอื่นๆด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนของท่านอัต-ติรฺมีซีย์)

แต่ถ้าจะให้ผมตอบปัญหานี้ตามหลักฐาน, หลักการและเหตุผล ผมก็ขอย้อนถามท่านก่อนว่า ...
ทำไมท่านจึงคิดว่า จุฬาราชมนตรีไม่ใช่ผู้นำมุสลิมในประเทศไทย ?? ...
ผมเชื่อว่า คำตอบของท่านคงจะอยู่ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งของ 4 ประเด็นต่อไปนี้ คือ ...
1. เพราะที่มาของตำแหน่งจุฬาฯ ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ, แต่ถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺเท่านั้น (ขออภัยที่ใช้คำว่า “กฎหมายกาเฟรฺ” แทนคำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เพื่อให้ตรงต่อความเป็นจริงตามคำพูดของผู้กล่าวหา)
2. เพราะที่มาของตำแหน่งจุฬาฯ ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ, และไม่ถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺ ...
3. เพราะที่มาของตำแหน่งจุฬาฯ ถูกต้องตามบทบัญญัติ, แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺ ...
4. เพราะที่มาของตำแหน่งจุฬาฯ ถูกต้องตามบทบัญญัติด้วย, และถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺด้วย ...
ผมมั่นใจว่า คำตอบของท่าน คงเป็นข้อที่ 1 .. นั่นคือ เพราะที่มาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ, แต่ถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺเท่านั้น จึงยอมรับไม่ได้ ...
หากคำตอบของท่านเป็นอย่างนี้ ผมก็อยากจะให้ท่านช่วยอธิบายว่า ข้ออ้างของท่านที่ว่า “ที่มาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ” นั้น ไม่ถูกต้องตรงไหน ? อย่างไร ? ...
ในทัศนะผม เห็นว่า ที่มาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรีนั้น ถูกต้องทั้งบทบัญญัติ, และถูกต้องตามกฎหมายกาเฟรฺด้วย ...
เหตุผลของผมเป็นอย่างนี้ครับ ...
ก่อนอื่น ท่านต้องไม่ปฏิเสธความจริงว่า พื้นฐานเรื่องของผู้นำไม่ใช่เป็นเรื่องอิบาดะฮ์ซึ่งมีหลักการตายตัว แต่เป็นเรื่องของการปกครองซึ่งยืดหยุ่นได้, เปลี่ยนแปลงได้
เพราะฉะนั้นวิธีการได้มาซึ่งผู้นำก็ดี, ปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้นำก็ดี จึงย่อมมีการยืดหยุ่นหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคตามสมัยและการปกครองของแต่ละประเทศ ไม่มีวันคงที่ตลอดกาลเหมือนอิบาดะฮ์ ...
แต่จุดสำคัญก็คือ .. ผู้นำของมุสลิม จะต้องมาจากการคัดเลือกและการยอมรับของมุสลิมส่วนใหญ่ (หรือทั้งหมด) ...
ในระบอบอิสลามของเราเอง วิธีการได้มาซึ่งผู้นำก็ใช่ว่าจะคงที่หรือมีแค่วิธีการเดียวเมื่อไร ...
เพราะหลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม การเป็นผู้นำ (คอลีฟะฮ์)ของท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. เกิดจากการนำร่องให้สัตยาบันของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. ก่อนเป็นคนแรก ต่อจากนั้น ประชาชนทั้งหมดก็ให้สัตยาบันถัดมาตามลำดับ ซึ่งวิธีการนี้ ได้มีการปฏิบัติสืบต่อมาในการเป็นผู้นำของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. เช่นเดียวกัน ...
ตอนที่ท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. จะสิ้นชีวิต วิธีการได้มาของตำแหน่งผู้นำก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยท่านอุมัรฺได้แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้น 6 ท่าน (เรียกว่า อะฮ์ลุชชูรออ์) เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ผู้นำหลังจากท่าน ...
อะฮ์ลุชชูรออฺประกอบขึ้นจากท่านอุษมาน, ท่านอะลีย์, ท่านฏอลหะฮ์, ท่านอัซ-ซุบัยร์, ท่านอับดุรฺเราะห์มาน, และท่านซะอัด ...
ผลการคัดเลือก ผู้นำตกเป็นของท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ร.ฎ. ต่อมาประชาชนจึงมีการให้สัตยาบันกันภายหลัง ...
หลังจากนั้น ตำแหน่งผู้นำในหลายประเทศของอิสลามก็มีการเปลี่ยนมาเป็นระบบกษัตริย์ โดยมีการสืบทอดตำแหน่งต่อๆกันมา และบางประเทศของอิสลามก็เปลี่ยนผู้นำเป็นระบอบประธานาธิบดี อันมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ...
สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า วิธีการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้นำของอิสลาม มีการเปลี่ยนแปลงได้ “หลายรูปแบบ” ตามยุคสมัย ..
แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม - อื่นจากระบอบกษัตริย์ที่มีการสืบทอดตำแหน่งแล้ว ...
สุดท้าย ก็ “ผ่านการคัดเลือกมาจากประชาชน” ทั้งสิ้น ...
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในยุคปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน .. คือ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัด, กรรมการอิสลามประจำจังหวัดก็มาจากการคัดเลือกของกรรมการอิสลามประจำมัสยิด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิดก็มาจากการคัดเลือกของสัปปุรุษในแต่ละท้องที่ ตามลำดับ ...
ทุกขั้นตอน เป็นสิทธิ์ของมุสลิมเราที่จะจัดการกันเอง ...
การคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด รัฐบาลก็ไม่เข้ามาก้าวก่ายหรือชี้นำ แต่จะปล่อยให้มีการคัดเลือกกันอย่างอิสระตามดุลยพินิจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดเหล่านั้น ...
ต่อเมื่อการคัดเลือกของพวกเรา - คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดที่เป็นมุสลิมล้วนๆ - เสร็จเรียบร้อยแล้ว การทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงเกิดขึ้นภายหลัง ...
สรุปแล้ว คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ทำหน้าที่คัดเลือกผู้ใดเข้ามารับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ก็คล้ายๆกับอะฮ์ลุชชูรออฺในสมัยของท่านอุมุรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. นั่นเอง ...
ไม่ใช่กาเฟรฺคนใดทั้งสิ้น ...
เพราะฉะนั้น ผมขอถามว่า .. ตรงไหนหรือครับที่จะกล่าวได้ว่า ที่มาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ ? ...
การมอง “ด้านเดียว” เพียงว่า ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เกิดจากการ “แต่งตั้ง” ตามกฎหมายกาเฟรฺ โดยไม่พิจารณาดูที่มาก่อนถึงการลงพระปรมาภิไธย ผมจึงเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและเป็นความอคติกันมากกว่า ...
ในความเห็นส่วนตัวของผม (ไม่ใช่จะมองท่านในแง่ร้าย หากไม่พอใจก็ขออภัย) .. ผู้ที่ไม่ยอมรับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีโดยอ้างเหตุผลว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาจากกฎหมายกาเฟรฺ ...
ข้อเท็จจริงก็คือ ...
กฎหมายกาเฟรฺนั้น ท่านจะยอมรับมันถ้าท่าน “ได้”
แต่ท่านจะไม่ยอมรับมันถ้าท่าน “เสีย” ...
ถ้าท่านปฏิเสธคำกล่าวนี้ของผม และยังยืนยันทัศนะเดิมของท่านว่า “ทุกอย่างต้องถูกตามหลักการอิสลามเท่านั้นถึงจะยอมรับ” ...
ผมก็จะขอเรียนถามท่าน - ด้วยความเคารพ - ว่า
1. ขอโทษนะครับที่ต้องสมมุติว่า ถ้าจุฬาราชมนตรีท่านก่อนๆมีทัศนะคติในการถือบวชออกบวชตามซาอุฯ หรือตามประเทศใดก็ได้ในโลกเหมือนทัศนะของท่าน ...
คำพูดที่ว่า “จุฬาราชมนตรีไม่ใช่ผู้นำทางศาสนาของประเทศไทย” จะหลุดออกมาจากปากของท่านไหมครับ ??? ...
ขอให้ท่านตอบคำถามข้อนี้ออกมาจากใจจริง ตามประสาลูกผู้ชายชาติซุนนะฮ์นะครับ ...
2. สมมุติอีกนะครับว่า ถ้าท่านโจรกรรมรถยนตร์ของผู้อื่นแล้วถูกจับได้ แน่ใจไหมครับว่า ท่านจะยืนกรานไม่ยอมรับโทษ “จำคุก” ของกฎหมายกาเฟรฺ แต่จะเรียกร้องให้นำบทบัญญัติศาสนาเรื่องการลักขโมย – คือตัดมือ – มาใช้กับท่าน ?? ....
3. สมมุติอีกทีนะครับ .. สมมุติว่า ถ้าลูกชายหรือลูกสาวของท่านไปซินากับผู้อื่นที่มิใช่ผู้เยาว์ ด้วยการสมยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง ...
แน่ใจไหมครับว่าท่านจะยังปากแข็ง .. ไม่ยอมรับกฎหมายกาเฟรฺในประเทศนี้ที่ไม่เอาเรื่องเอาราวกับฝ่ายใดเลย ...
แต่ท่านจะเรียกร้องให้นำกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้ให้ลงโทษบุตรของท่านตามบทบัญญัติการลงโทษผู้ทำซินา คือ โบย 100 ครั้ง หรือขว้างจนตาย ?? ...
4. ท่านจะยอมรับไหมครับว่า ในการเลือกตั้งจุฬาราชมนตรีครั้งที่ผ่านมา มีบุคคล 2 คนที่มีทัศนะตรงกันกับท่านในเรื่องการถือบวชออกบวชตามการเห็นเดือนต่างประเทศสมัครรับเลือกตั้งด้วย แล้วมีนักวิชาการบางคนเชียร์และสนับสนุนสุดลิ่มทิ่มประตู ...
ขอถามว่า ท่านจะเชียร์เขาไปทำไมครับในเมื่อการเลือกตั้งตำแหน่งจุฬาราชมนตรี มาจากกฎหมายกาเฟรฺ ? .. และสมมุติถ้าทั้ง 2 ท่านนั้นรับเลือกตั้งมาได้แล้วก็ปราศจากอำนาจและความหมายใดๆ ในเมื่อจุฬาราชมนตรีไม่ใช่เป็นผู้นำมุสลิมอย่างที่พวกท่านกล่าว ??? ...
5. ท่านจะยอมรับไหมครับว่า คณะกรรมการอิสลามทุกตำแหน่งและทุกระดับชั้นในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นอิหม่าม, คอเต็บ, บิลาล, กรรมการมัสยิด, กรรมการจังหวัด รวมทั้งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยด้วย ..
ทุกตำแหน่งที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ถูกแต่งตั้งมาตามกฎหมายอิสลามตามที่ท่านต้องการ! .. แต่ล้วนถูกแต่งตั้งมาจาก “กฎหมายกาเฟรฺ” ทั้งสิ้น ...
แล้วทำไมท่านจึงยอมรับตำแหน่งพวกเขาเหล่านี้ได้ทุกตำแหน่ง ? .. ยกเว้นเฉพาะตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตำแหน่งเดียวที่ท่านไม่ยอมรับ ?? ...
เผลอๆ ตัวท่านเอง – ขณะนี้ – อาจเป็นอิหม่าม, อาจเป็นกรรมการอิสลามตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตาม “กฎหมายกาเฟรฺ” อยู่ก็ได้ ...
เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยึดมั่นแน่นแฟ้นในหลักการข้างต้นจริง ท่านก็ต้องปฏิเสธ อย่ายอมรับตำแหน่งเหล่านี้ของท่านด้วยสิครับ ...
ฯลฯ.
ขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องของผู้นำเป็นเรื่องการปกครองที่มีการยืดหยุ่นได้ มิใช่เรื่องอิบาดะฮ์ที่จะยืดหยุ่นมิได้นอกจากจำเป็นจริงๆ ..
ผมจึงอยากจะขอแนะนำพวกเรา - มุสลิมทุกคน - ว่า อย่าสุดโต่งเกินไปนัก แต่ให้ทำใจยอมรับสภาพความจริงที่ว่า ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้ใดที่มุสลิม “ส่วนใหญ่” คัดเลือกเขามาเป็นผู้นำ – แม้จะไม่ถูกวิธีการร้อยเปอร์เซ็นต์ – เราก็ต้องยอมรับ ...
ตัวอย่างชี้ชัดในเรื่องนี้ก็คือ เรื่องการเลือกผู้ทำหน้าที่อิหม่ามนำนมาซ ...
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งให้พิจารณาผู้ที่เชี่ยวชาญอัล-กุรฺอานมากที่สุดเป็นอันดับแรก เพื่อทำหน้าที่อิหม่าม ...
หากผู้ที่เชี่ยวชาญอัล-กุรฺอานมีเสมอกัน ก็ให้เลือกผู้ที่เชี่ยวชาญซุนนะฮ์กว่าเป็นอิหม่าม ตามลำดับ ...
นี่คือ วิธีเลือกอิหม่ามตามคำสั่งท่านศาสดา, ซึ่งถือว่า เป็นวิธีเลือกอิหม่ามตามระบอบอิสลามมิใช่หรือครับ ...
แต่ .. โทษที สมมุติถ้าเราจะเอาตามวิธีการนี้จริงๆมาใช้ในการเลือกอิหม่าม ขอถามว่า จะเหลืออิหม่ามที่ถูกต้องตามคำสั่งและเงื่อนไขข้อนี้ของท่านนบีย์กี่คนในประเทศไทย ?? ..
ทว่า ความจริงอันเป็นที่ยอมรับกันก็คือ .. เมื่อประชาชนส่วนใหญ่(หรือทั้งหมด)ของมุเก่มยอมรับเขาเป็นอิหม่าม เราก็ต้องอนุโลมให้เขาเป็นอิหม่าม แม้ที่มาของเขาจะไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขของท่านนบีย์จริงๆก็ตาม ...
ท่านจะยอมรับความจริงเรื่องนี้ไหมครับ ?? ....

เพราะฉะนั้น หากท่าน “ปฏิเสธ” ที่จะปฏิบัติตามผู้นำที่ท่านไม่ถูกใจ ก็จงปฏิเสธคำสั่งที่ท่านเห็นว่า “ขัดต่อบทบัญญัติ” สำหรับท่านเถิดครับ ...
อาทิเช่น ท่านจุฬาราชมนตรีสั่งให้ท่านไปร่วมในงานเมาลิดกลางที่ท่านจัดขึ้น, สั่งให้ท่านยกเสาเอกในการสร้างบ้านหรือสร้างมัสยิด, ท่านสั่งให้ท่านร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ทหารที่เสียชีวิต ฯลฯ ...
อย่างนี้ ท่านปฏิเสธไปก็ได้ครับ และผมก็ไม่คัดค้านท่านด้วย ...
แต่จงอย่าปฏิเสธ .. หรืออีกนัยหนึ่งให้ปฏิบัติตามในคำสั่งที่ “ถูกต้อง” ของผู้นำ อาทิเช่น ท่านสั่งให้ดูเดือนเสี้ยวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดและออกอีดในประเทศของเราเอง เป็นต้น เพราะมันเป็นคำสั่งที่ถูกต้องตาม “ซุนนะฮ์” ที่ท่านใฝ่หามิใช่หรือครับ ...
บางคนกล่าวว่า ในตอนคัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่จุฬาราชมนตรี ทำกันไม่
โปร่งใส เพราะมีการจ่ายเงินกันบ้าง, มีการล็อบบี้กันบ้าง จึงยอมรับไม่ได้ ...
ผมก็ขอบอกว่า ถ้าท่านจะเอาสิ่งนี้มาเป็นบรรทัดฐานในการยอมรับ “ผู้นำ” ของท่าน ท่านก็ไม่มีวันยอมรับผู้นำคนไหนในโลกนี้ได้เลย แม้กระทั่งในรัฐอิสลามเอง ...
แน่ใจหรือครับว่า ทุกๆประธานาธิบดีในรัฐอิสลาม - ทุกคน - ได้ตำแหน่งมาอย่างโปร่งใส ไม่มีการล็อบบี้, ไม่มีการจ่ายเงิน ??? ...
แม้กระทั่งในการเลือกผู้นำที่อะฮ์ลิชชูรออฺปฏิบัติกันในสมัยท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็อฏฏอบ ร.ฎ. เองก็เถอะ ...
แน่ใจไหมครับว่าไม่มีการกระทำสิ่งที่เรียกกันว่า ล็อบบี้ ?? ...
ความจริง มุสลิมเราในประเทศไทยทุกคน คงไม่มีใครปฏิเสธว่า กฎหมายประเทศไทยให้เสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อของทุกๆศาสนายิ่งกว่าประเทศอื่นใดในโลก ไม่เชื่อท่านลองไปเป็นโรฮิงญาดูแล้วจะรู้ ...
เพราะฉะนั้น ขอเถอะครับ อย่าทำตนเป็นคนประเภทได้คืบแล้วจะเอาศอก เพราะข้ออ้างที่ว่า “ทุกอย่างต้องถูกตามหลักการอิสลามเท่านั้นถึงจะยอมรับ” ก็เหมือนท่านต้องการจะปกครองแบบ “รัฐอิสระ” ในประเทศที่ท่านอาศัยอยู่ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าท่านจะอยู่ในประเทศนี้หรือประเทศไหนในโลก แม้กระทั่งในรัฐของอิสลามเอง ...
สำหรับข้ออ้างที่ว่า สาเหตุที่ไม่ยอมรับและไม่ปฏิบัติตามจุฬาราชมนตรี ก็เพราะผู้เป็นจุฬาราชมนตรีทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีการกระทำบางอย่างเป็นชิริก หรือทำผิดหลักการศาสนา เช่นมีรถประจำตำแหน่งที่ซื้อมาด้วยเงินจากกองสลากกินแบ่ง เป็นต้น จึงรับไม่ได้ ...
ผมไม่ทราบว่า ข้อหาเหล่านั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ? ..
แต่ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริง ท่านจะกล้าปฏิเสธคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหรือครับ ? ...
คำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ...

((وَإِذَارَأَيْتُمْ مِنْ وُلاَتِكُمْ شَيْأً تَكْرَهُوْنَهُ فَاكْرَهُوْا عَمَلَهُ! وَلاَ تَنْزِعُوْا يَدًا مِنْ طَاعَةٍ))
“เมื่อพวกท่านเห็นสิ่งใดที่พวกท่านรังเกียจจากบรรดาผู้นำของพวกท่าน ก็จงรังเกียจเฉพาะพฤติการณ์ของเขา แต่อย่าแยกตัวออกจากการปฏิบัติตาม (ในสิ่งถูกต้อง) เป็นอันขาด” ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 65/1588 โดยรายงานมาจากท่านเอาฟ์ บินมาลิก ร.ฎ.) ...
ท่านจะเอาหะดีษบทนี้ไปวางไว้ตรงไหนครับ ? ....
รายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องผู้นำเลว, ผู้นำชั่ว ให้ท่านติดตามอ่านจากตอนต่อไปเรื่อง “จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็น “มะอฺศูม” (ผู้ไร้บาป) ?” อินชาอัลลอฮ์ครับ ...
หมายเหตุ
คุณ Talubanee ได้กรุณาส่งข้อมูลมาให้ผมรับทราบว่า พี่น้องที่ยึดทัศนะที่ว่าเอาเดือนทั่วโลกให้ข้อมูลมาว่า ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสลัฟ จะมีการตั้งป้อมปราการบนภูเขาสูงในแต่ละเมือง และรอรับฟังข่าวสารจากการดูเดือนของเมืองต่างๆ หากเมืองไหนเห็นเดือน ก็จะจุดไฟบนป้อมปราการภูเขาสูง เพื่อส่งสัญญาณบอกต่อๆกันในเมืองต่างถิ่น ...
ผมขอเรียนชี้แจงว่า หากข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริงก็มีที่น่าสังเกตอย่างนี้ ...
1. คำว่า “มีการตั้งป้อมปราการบนภูเขาสูงในแต่ละเมือง” ตามรูปการณ์ก็น่าจะเป็นการส่งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวของทางในเมืองสู่ประชาชนชาวเมืองเดียวกันที่อาศัยอยู่รอบนอกมากกว่า ไม่ใช่เป็นการส่งข่าวไปยังต่างเมือง ...
เพราะตามข้อเท็จจริง แต่ละเมืองย่อมมีระยะทางห่างไกลกันมาก อาจมีภูเขา, มีต้นไม้สูงกั้นอยู่ระหว่างแต่ละเมือง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นแสงไฟเพียงริบหรี่จากการส่งข่าวด้วยวิธีนี้ในยุคโบราณซึ่งปราศจากไฟสปอร์ตไลท์แรงสูงเช่นปัจจุบัน ...
2. การส่งข่าวการเห็นเดือนระหว่างเมืองต่อเมืองด้วยการใช้สัญญาณไฟ ขัดแย้งกับเงื่อนไขที่นักวิชาการญุมฮูรฺ(นักวิชาการส่วนใหญ่ของ 4 มัษฮับ) กำหนดว่า ข่าวการเห็นเดือนที่เชื่อถือได้ จะต้องกระทำโดยบุคคลที่มีคุณธรรมจากเมืองที่เห็นเดือน ไปแจ้งข่าวการเห็นเดือนนั้นต่อผู้นำของเมืองที่ไม่เห็นเดือนเท่านั้น ...
ท่านเช็คมะห์มูด มุหัมมัดค็อฏฏอบ อัซ-ซุบกีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-มันฮัลฯ” อันเป็นหนังสืออธิบายหะดีษของท่านอบูดาวูด เล่มที่ 10 หน้า 51 ว่า ..
وَقَالَ أَهْلُ هَذَااْلَمَذْهَبِ : إِنَّمَا يَلْزَمُ الصِّيَامُ مَنْ لَمْ يَرَوْا بِرُؤْيَةِ غَيْرِهِمْ إِذَاثَبَتَ عِنْدَهُمْ رُؤْيَةُ أُؤلَئِكَ بِطَرِيْقٍ شَرْعِىٍّ مُوْجِبٍ بِشَهَادَتِهِمْ، كَأَن يَّشْهَدَ اثْنَانِ فَأَكْثَرَ أَنَّ قَاضِىَ بَلَدِكَذَا شَهِدَ عِنْدَهُ اِثْنَانِ بِرُؤْيَةِ اْلِهلاَلِ فِىْ لَيْلَةِكَذَا وَقَضَى بِشَهَادَتِهِمَا فَلِهَذَاالْقَاضِىْ أَن يَّحْكُمَ بِشَهَادَتِهِمَا
“ผู้ที่ยึดถือตามทัศนะนี้ (คือ ทัศนะที่ว่าเมื่อมีการเห็นเดือนที่เมืองหรือประเทศใด ก็จำเป็นสำหรับเมืองหรือประเทศอื่นจะต้องปฏิบัติตามการเห็นเดือนนั้น) กล่าวว่า การจำเป็นต้องถือศีลอดสำหรับผู้ที่ไม่เห็นเดือน ด้วยการปฏิบัติตามการเห็นเดือนของผู้อื่น จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเห็น (เดือนเสี้ยวของเมืองอื่น)นั้น เป็นที่แน่ชัดสำหรับพวกเขาตามแนวทางของบทบัญญัติ ด้วยการเป็นพยานของพวกเขาเองเท่านั้น, อย่างเช่น มีบุคคล 2 คนหรือมากกว่าสองคน ไปเป็นพยานยืนยัน (ต่อผู้นำของประเทศที่ไม่มีการเห็นเดือน) ว่า แท้จริง มีบุคคล 2 คน ได้ไปเป็นพยานยืนยันต่อผู้นำของประเทศนั้นๆว่า เขาทั้งสองได้เห็นเดือนเสี้ยวในคืนนั้นๆ ..และผู้นำของประเทศนั้นก็ยอมรับการเป็นพยานของบุคคลทั้งสองนั้นแล้ว ในกรณีนี้ ก็อนุญาตให้ผู้นำของเมืองนี้ ตัดสินยอมรับการเป็นพยานของเขาทั้งสอง” .. (ด้วยการประกาศให้ชาวเมืองของตนถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนในประเทศอื่นดังกล่าวได้) ...
เงื่อนไขและคำกล่าวของท่านเช็คมะห์มูด มุหัมมัด ซุบกีย์ ข้างต้นนี้ สอดคล้องตรงกันกับคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ในหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 4 หน้า 123 โดยอ้างมาจากคำพูดของท่านอัล-กุรฺฏุบีย์ ...
ก็คงเข้าใจนะครับ ...

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แค่ก๋วยเตี๋ยวชามเดียวจากคนแปลกหน้า




ค่ำวันนั้น "สุ" ทะเลาะกับแม่
เธอได้หนีออกจากบ้าน ขณะที่เดินอยู่บนถนน
อย่างไร้จุดหมาย สุก็เพิ่งรู้ว่าเธอไม่มีเงินติดตัวมาเลย
ขณะที่ยืนเหม่อลอยอยู่นั้น สุก็มองเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวเล็ก ๆ ร้านหนึ่ง
เธอจึงเดินเข้าไปใกล้ร้านนั้น
กลิ่นน้ำก๋วยเตี๋ยวที่หอมโชยขึ้นมา
ทำให้เธอรู้สึกอยากกิน แต่เธอไม่มีเงิน
สักครู่หนึ่ง หญิงเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว
ซึ่งมองเห็นสุยืนอยู่หน้าร้านนาน
แล้วก็ถามเธอว่า “หนู จะกินก๋วยเตี๋ยวหรือ?”
“ค่ะ แต่หนูไม่ได้เอาเงินมา...” เธอตอบอย่างอาย ๆ
“ไม่เป็นไร ป้าจะให้หนูกิน" เจ้าของร้านกล่าวด้วยความอ่อนโยน
“เข้ามานั่งในร้านก่อน เดี๋ยวป้าจะทำให้กิน”
สักพักหนึ่ง หญิงเจ้าของร้านก็ยกก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่งมาให้
สุกินก๋วยเตี๋ยวเข้าไปได้สองสามคำ เธอก็น้ำตาไหล
“เป็นอะไรล่ะหนู?” หญิงเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวถาม
“ไม่มีอะไรหรอกค่ะ หนูรู้สึกซึ้งน้ำใจป้าเท่านั้นค่ะ”
สุตอบขณะที่เช็ดน้ำตา แต่เธอก็ไม่สามารถเก็บความรู้สึกภายในใจได้
“แม้แต่คนแปลกหน้าบนถนนยังใจดีกับหนูเลยแต่แม่แท้ ๆ ของหนูเอง แค่ทะเลาะกันหน่อยก็ไล่หนูออกจากบ้านและไม่ยอมให้หนูเข้าบ้านอีกป้าเป็นคนแปลกหน้ายังเป็นห่วงหนู แต่แม่ของหนูสิ ร้ายกับหนูเหลือเกิน”
เธอระบายความในใจกับป้า
หญิงเจ้าของร้านก็ถอนหายใจและกล่าวว่า
“หนูคิดอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ?
คิดให้ดีสิ ป้าแค่ทำก๋วยเตี๋ยวให้หนูกินเพียงชามเดียว หนูก็ซึ้งใจแล้วแต่แม่หนูน่ะหาข้าวหาน้ำให้หนูกินตั้งแต่หนูยังเล็กจนกระทั่งถึงทุกวันนี้นะ หนูจะไม่ขอบคุณแม่บ้างเลยหรือ? หนูทะเลาะกับแม่ได้ลงคอหรือ?”
คำพูดของหญิงขายก๋วยเตี๋ยวทำให้สุนิ่งอึ้งและฉุกคิด
เธอรำพึงในใจว่า
“ทำไมเราไม่คิดเช่นนั้นบ้างนะ?
แค่ก๋วยเตี๋ยวชามเดียวจากคนแปลกหน้า
เรายังรู้สึกว่าเป็นบุญคุณ
แต่กับแม่ที่หาข้าวหาน้ำให้เรากินมาตั้งแต่เกิด
ทำไมเราถึงไม่คิดบ้าง และที่เราทะเลาะกับแม่
ก็เป็นเรื่องเล็กๆน้อย ๆ เท่านั้น”
หลังจากกินก๋วยเตี๋ยวหมดถ้วยแล้ว
สุก็ขอบคุณหญิงขายก๋วยเตี๋ยว
และรีบกลับบ้านทันที
ขณะที่เธอเดินกลับบ้าน
เธอคิดถึงสิ่งที่เธอจะบอกแม่อยู่ในใจตลอดทางว่า...
“แม่ หนูเสียใจค่ะ หนูรู้ว่าหนูผิด ยกโทษให้หนูด้วยนะคะ”
เมื่อเธอมาถึงประตูบ้าน เธอก็เห็นแม่ของเธอกำลังกระวนกระวายใจ
มองหาเธอไปทั่ว เมื่อแม่เห็นเธอ เธอก็ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นจากแม่
“สุ เข้ามาในบ้านเร็ว แม่ทำอาหารไว้ให้แล้ว
ถ้าหนูไม่มากินตอนนี้เดี๋ยวจะเย็นหมด”
ทันทีที่สิ้นเสียง สุก็รีบวิ่งเข้าไปในบ้านทันที
เธอไม่สามารถกลั้นน้ำตาไว้ได้เมื่ออยู่ต่อหน้าแม่ของเธอ
เธอเพิ่งรู้ว่าถึงแม้แม่จะดุเธอด้วยอารมณ์
แต่แม่ก็ยังคงรักและให้อภัยเธอ โชคดีที่เธอกลับมาบ้าน
สุเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของเด็กวัยรุ่นในครอบครัวและสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องแปลกที่บ่อยครั้งเราจะขอบคุณคนที่อยู่รอบข้าง
เพียงเพราะคนเหล่านั้นทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้
แต่กับคนที่ใกล้ชิดเราและดีต่อเรามากที่สุด โดยเฉพาะพ่อแม่ของเราเรากลับลืมที่จะขอบคุณและกตัญญูรู้คุณ
ลองนั่งทบทวนดูก็ได้ว่า
ตั้งแต่เกิดมาเรากล่าวคำว่าขอบคุณกับพ่อแม่ของเรากี่ครั้ง
ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้เราทุกอย่าง

(รักพ่อรักแม่ ช่วยกันแบ่งปันสิ่งดีๆ เหล่านี้ ให้ลูก ๆ ทุกคนได้รับรู้)


..........................................
เรื่องจาก อาจารย์บรรจง บินกาซัน
อับดุลรอมาน หะระตี โพสต์






ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป




ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าเพื่อนของคุณเป็นพียงแค่คนหนึ่งที่แสดงเก่งที่สุดเท่าที่พบเห็นมา
ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าคนรักของคุณเป็นเพียงแค่ศัตรูที่เข้ามาทำลายชีวิตของคุณ
ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าชีวิตของคุณเป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับใครหลาย ๆ คน
ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าเบอร์โทรที่ได้ติดต่อกับคุณมันเป็นเพียงแค่ประโยชน์ส่วนตัวสำหรับเขา
ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าคุณได้แหวกว่ายข้ามทะเลแห่งความหลอกลวง
ด้วยกาลเวลาที่พัดผ่านไป คุณก็จะได้รู้ว่าคุณได้ตื่นนอนในเวลาที่สายเกินไป โดยที่ไม่ทันได้ก้าวขึ้นขบวนรถไฟแห่งความจริง
แต่ก็อย่าลืมไปว่า ด้วยกาลเวลาดังกล่าวนั้น ทุก ๆ อุปสรรคที่ไม่ได้ทำให้คุณต้องเจ็บปวดในอดีตกาล จะไม่ได้ทำให้คุณได้ยืนอย่างมั่นคงและสง่างามได้ในปัจจุบัน
.


................................................
ข้อความดี ๆ โดย : اقوال اعجبتني••مما قرأت
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ




หนีไม่พ้นความอดทน



ในชีวิตของเราหนีไม่พ้นความอดทน
ซึ่งเราต้องอดทนบนพื้นฐาน 3 อย่าง คือ

1. "สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติ"
ส่วนใหญ่คือสิ่งที่นัฟซูไม่ชอบเราจึงต้องอดทนในการปฏิบัติ

2. "สิ่งที่จำเป็นต้องละทิ้ง"
ส่วนใหญ่นัฟซูเราโปรดปราน เราจึงต้องอดทนที่จะละทิ้ง

3. "บททดสอบที่ลำบากยากเข็ญซึ่งเราต้องประสบ"
เราจึงต้องอดทนในการเผชิญหน้ากับมัน
"อัลลอฮฺจึงให้มนุษย์ขอดุอาร์ให้มีความอดทน"

....................................................
-จากการสอนกีตาบตัฟซีรนูรุลเอียะห์ซาน
โดยบาบออิสมาเเอลสปันญัง-



เมื่อคุณถูกทดสอบด้วย 4 อย่างนี้ ยังไงก็อย่าลืม 4 อย่างนี้



.
1. เมื่อคุณได้ประสบกับความทุกข์ระทม
พึงให้นึกบทดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย (ซูเราะฮฺ อัล อัมบิยาอฺ : 87)
และอย่าลืมสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้นั่นก็คือ ดังนั้น เราได้ตอบรับการร้องเรียนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทมและเช่นเดียวกันนี้ เราช่วยบรรดาผู้ศรัทธา (ซูเราะฮฺ อัล อัมบิยาอฺ : 88)
2. เมื่อคุณได้ประสบกับความยากลำบาก
พึงให้นึกบทดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : แท้จริงข้าพระองค์นั้น ความทุกข์ยากได้ประสบแก่ข้าพระองค์และพระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงเมตตายิ่ง ในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย (ซูเราะฮฺ อัล อัมบิยาอฺ : 83)
และอย่าลืมสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้นั่นก็คือ ดังนั้น เราได้ตอบรับการร้องเรียนของเขา แล้วเราได้ปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นความทุกข์ยากแก่เขา (ซูเราะฮฺ อัล อัมบิยาอฺ : 84)
3. เมื่อคุณได้ประสบกับความหวาดกลัว
พึงให้นึกบทดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ที่พอเพียงแก่เราแล้ว และเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม (ซูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 173)
และอย่าลืมสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้นั่นก็คือ แล้วพวกเขาได้กลับมา พร้อมด้วยความกรุณาจากอัลลอฮ์ และความโปรดปราน (จากพระองค์) โดยมิได้มีอันตรายใด ๆ ประสบแก่พวกเขา (ซูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน : 174)
4. เมื่อคุณถูกหลอกลวง
พึงให้นึกบทดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวไว้ว่า : และฉันขอมอบภารกิจของฉันแต่อัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นผู้เฝ้าดูปวงบ่าว (ซูเราะฮฺ ฆอฟิร : 44)
และอย่าลืมสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้นั่นก็คือ อัลลอฮฺได้ทรงคุ้มครองเขาให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายที่พวกเขาวางแผนไว้ (ซูเราะฮฺ ฆอฟิร : 45)
.

.................................................
ข้อความดี ๆ โดย : Mohamed Alaa El Dein
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ




อย่าได้เสียใจ


.
เมื่อมีมะอฺศิยะฮฺ ก็ต้องมีเตาบะฮฺ
เมื่อมีความโศกเศร้า ก็ต้องมีความสุขสม
เมื่อมีความทุกข์ระทม ก็ต้องมีความปลอดโปร่ง
เมื่อมีความคับแคบ ก็ต้องมีความคลี่คลาย
และทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องมีทางออก
ขอเพียงแค่ยึดมั่นและศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และจงอดทนให้มาก แล้วเราจะเห็นทุกอย่างที่เราอยากเห็น
.

..........................
ข้อความดี ๆ โดย : مقتطفات لـ أحمد الشقيري ヅ
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



เมื่อโลกดุนยาทั้งหมดอยู่ในหัวใจเรา



โดยปกติแล้ว
เราจะเห็นเรืออยู่ในน้ำ
แต่มันจะผิดปกติ เมื่อน้ำอยู่ในเรือ
มันก็เหมือนกับตัวเรา
ที่กำลังอยู่ในดวงหัวใจของโลกดุนยา
และมันจะผิดอย่างมหันต์
เมื่อโลกดุนยาทั้งหมดอยู่ในหัวใจเรา
.

..........................
ข้อความดี ๆ โดย : ثقف نفسك
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



เราจงเป็นมนุษย์ส่วนน้อย



ถ้าหากว่าเราค้นหาคำในอัลกุรอานด้วยคำว่า มนุษย์ส่วนมาก หรือ มนุษย์ส่วนใหญ่ เราจะเห็นได้ว่า คำที่มาหลังจากนั้นเป็น
- คนที่ไม่รู้
- คนที่ไม่ขอบคุณ
- คนที่ไม่ศรัทธา
และถ้าหากว่าเราค้นหาคำว่า และส่วนมากของพวกเขา หรือ ส่วนใหญ่จากพวกเขา เราจะพบเห็นคำที่มาหลังจากนั้นเป็น
- ผู้ที่ละเมิด
- ผู้ที่อวิชชา
- ผู้ที่ผินหลัง
- ผู้ที่ไม่ใช้สติปัญญา
- ผู้ที่ไม่ได้ยิน
ฉะนั้น เราก็จงเป็นมนุษย์ส่วนน้อย ที่อัลลอฮฺทรงได้กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาไว้ว่า
- และส่วนน้อยแห่งปวงบ่าวของเราที่เป็นผู้ขอบคุณ (ซูเราะฮฺ ซะบะ : 13)
- แต่ไม่มีผู้ศรัทธาร่วมกับเขานอกจากจำนวนเล็กน้อย (ซูเราะฮฺ ฮูด : 40)
- เป็นกลุ่มชนจำนวนมาก จากชนรุ่นก่อน ๆ และเป็นกลุ่มชนจำนวนน้อย จากชนรุ่นหลัง ๆ (ซูเราะฮฺ อัล วากิอะฮฺ : 13-14)


..................................
ข้อความดี ๆ โดย : ثقف نفسك
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ





ดุอาอ์หลังละหมาดวิตรฺ ที่มาจากนบี กลับไม่เอา?!



แปลกนะ! สุนนะฮฺมีอยู่แล้วไม่เอามาปฏิบัติ แต่กลับชอบแสวงหาเอาสิ่งที่ไม่ปรากฏในสุนนะฮ์มาใช้ประกอบการทำอิบาดะฮ์

ก็ดุอาอ์ภายหลังจากละหมาดวิตรฺ (วิเตรฺ) มันมีรูปแบบและสำนวนดุอาอ์ที่มาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ชัดเจนอยู่แล้ว คือสำนวนที่ว่า

سُبْحَانَ الْمَلِكِ الْقُدُّوْس

"สุบหานัลมะลิกิลกุดดูส "

“มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้ทรงอำนาจผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง”

โดยให้กล่าวซ้ำ 3 ครั้ง และลากเสียงยาวในครั้งสุดท้าย

ดังหะดิษที่รายงานจากท่านอุบัยฺ บุตรของกะอฺบ์ ว่า

"ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺละหมาดวิตรฺสามร็อกอะฮฺ โดยอ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลาในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศในร็อกอะฮฺที่สาม แล้วท่านนบีก็ดุอาอ์กุนูตก่อนรุกูอฺ ครั้งเมื่อละหมาดเสร็จ ท่านรสูลก็กล่าว "สุบหานัลมะลิกิลกุดดูส สามครั้ง และลากเสียงยาวในครั้งสุดท้าย" (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะหี้หฺ)

แต่มุสลิมบ้านเรา บ้างพื้นที่ เมื่อละหมาดตะเวียะฮ์ และละหมาดวิตรฺในช่วงเดือนรอมาฎอนเสร็จแล้ว  จากที่จะอ่านดุอาอ์ข้างต้นที่มาจากท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กลับอ่านสำนวนต่อไปนี้ โดยไม่มีที่มาที่ไป

"ยาล่าตีฟู่ยากาฟีย์ ย่าฮ่าฟีย์ซู่ยาชาฟีย์" (ซ้ำ 2 ครั้ง)

"ยาล่าตีฟู่ยาวาฟีย์ ยาการีมู่อันตั้ลลอฮ์" (1 ครั้ง)

ฟังแล้วมันก็ไพเราะ และรู้สึกคล้อยตาม

แต่มันไม่ใช่สูตรของท่านนบีนี่ซิ ไม่รู้มันสูตรของใคร???

เอาเป็นว่าสูตรนบีนั้นดีที่สุด

ท่านนบีได้อ่านและปฏิบัติมันเป็นตัวอย่าง

เพียงพอแล้ว สำหรับผู้ศรัทธาและมีความยำเกรง....



والله أعلم بالصواب




วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ถือบวช-ออกบวชตามซาอุฯ เป็นเรื่องต้องห้ามหรือ ?? (ตอนที่ 3)


โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย

หะดีษบทที่ 3 ............ الصوم يوم تصومون

พี่น้องที่เคารพครับ ...
ผมได้นำเสนอหะดีษเกี่ยวกับเรื่องการถือบวชออกบวชมา 2 บทแล้ว ...
บทที่หนึ่ง คือหะดีษที่ว่า ............... صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهَ
หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า มุสลิม ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ แห่งใด, ประเทศใดในโลก วายิบจะต้องอาศัย “วิธีการ” เดียวกันในการถือบวชออกบวช คือดูเดือนเสี้ยวจากเมืองหรือประเทศของตนเอง ...
ไม่มีหลักฐานว่า เมื่อเมืองหรือประเทศตนเองไม่เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว วายิบให้ติดตามสอบถามการเห็นเดือนเสี้ยวจากเมืองอื่นหรือประเทศอื่นต่อไปอีก ...
หะดีษบทที่สอง คือหะดีษกุร็อยบ์ หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า การถือบวชออกบวช ไม่วายิบให้ตามการเห็นเดือนของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่นประเทศไทยกับประเทศซาอุดีอารเบีย เป็นต้น แต่อนุญาตให้ทุกประเทศดูเดือนเสี้ยวของตนเองได้ .. ยกเว้นในกรณีผู้นำประเทศใด ยอมรับการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่นและประกาศให้ประชาชนในประเทศของตนปฏิบัติตาม ก็วายิบให้ประชาชนในประเทศนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ ...
และหะดีษบทที่สามที่จะถึงต่อไป คือหลักฐานว่า การถือบวชและออกอีด จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังรายละเอียดที่จะถึงต่อไป ...
มีคำถามจากพรรคพวกบางคนว่า .. การบ่งชี้ของคำว่า هَكَذَا ในหะดีษกุร็อยบ์ .. ระหว่างการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคใกล้” คือ (نََكْتَفِىْ بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ لاَ ) لاَ .. กับการบ่งชี้ไปยัง “ประโยคไกล” คือ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أَوْ نَرَآهُ، .. มีผลต่างกันอย่างไร ? ...
ผมขอเรียนว่า ถ้าในแง่ “ผลลัพธ์” แล้ว จะไม่แตกต่างกัน คือไม่ว่าจะบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้หรือไกล ก็ล้วนเป็นหลักฐานว่า แต่ละเมืองแต่ละประเทศ มีสิทธิ์ในการดูเดือนเสี้ยวของประเทศตนเอง, ไม่วายิบตามการเห็นเดือนเสี้ยวของประเทศอื่น ...
แต่ในด้านอื่นๆ อาจมีผลต่างกัน 2 ประการดังนี้ ...
1. ผลต่างในแง่ภาษา การบ่งชี้ของ هَكَذَا ไปยังประโยคใกล้ จะถูกต้องกว่าการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
2. ในแง่การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ที่เมืองชาม มีปัญหาว่า ที่ท่านไม่ตามเพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือเกิดจาก “ความเข้าใจ” ของท่านเองจากหะดีษบางบท ...
อธิบาย
รายละเอียดมีดังต่อไปนี้ ...
ก. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคใกล้ ก็แสดงว่า การที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ก็เพราะท่านปฏิบัติ “ตามคำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่เคยสั่งท่านไว้ในลักษณะว่าให้ยึดถือการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองตนเอง, ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
ข. ถ้าตามการบ่งชี้ไปยังประโยคไกล ก็แสดงว่า ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ไม่ใช่เพราะท่านนบีย์เคยสั่งไว้ลักษณะนั้น แต่เพราะท่าน “เข้าใจเอาเอง” จากหะดีษบทหนึ่งที่ท่านเองรายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า .. “พวกท่านอย่าถือศีลอด จนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว และพวกท่านอย่าออกอีดจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว ............”
ในหะดีษบทนี้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพียงแต่สั่งว่า มุสลิมทั่วโลกอย่าถือบวชอย่าออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยว หากไม่เห็นเดือนเสี้ยวก็ให้นับเดือนให้ครบ 30 วัน ...
ท่านนบีย์มิได้สั่งเลยว่า ถ้าในเมืองเองไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเมืองอื่น ...
แต่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. “เข้าใจ” ว่า คำสั่งห้ามถือบวชออกบวชจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยวของหะดีษบทนี้ เป็นการห้ามจากการถือบวชออกบวชตามเมืองอื่นด้วย ท่านจึงปฏิเสธที่จะตามการเห็นเดือนของเมืองชาม ดังหะดีษกุร็อยบ์ที่ผ่านมาแล้ว ...
การปฏิเสธของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ที่จะตามเห็นเดือนของชาวเมืองชามดังการบ่งชี้ที่สอง จึงเป็น “ความเข้าใจ” ของท่านจากหะดีษ, มิใช่เป็นการปฏิบัติตาม “คำสั่ง” โดยตรงของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังการบ่งชี้ที่หนึ่ง ...
เพราะฉะนั้นการที่นักวิชาการบางท่านยึดถือและอธิบายหะดีษกุร็อยบ์ตามการบ่งชี้ที่สอง จึงเท่ากับไป “หักล้าง” คำพูดของตนเองที่พูดอยู่เสมอว่า เหตุที่ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ปฏิเสธตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ เพราะท่านปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ใช่ปฏิบัติตาม “ความเข้าใจ” ของตัวท่านเองในเรื่องนี้ ...
????????????? ........
ต่อไปก็เป็นตัวบทหะดีษบทที่ 3 และคำอธิบายของนักวิชาการต่อหะดีษบทนี้ ...
หะดีษบทที่ 3
หะดีษบทที่สามที่กำลังจะถึงต่อไปนี้ นักวิชาการจำนวนมากอธิบายว่า เป็นหลักฐานเรื่องการถือบวชออกบวช จะต้องพร้อมกับผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเท่านั้น ผู้ใดจะปฏิบัติเป็นอิสระส่วนตัวไม่ได้ ...
อย่าว่าแต่การรับฟังเดือนเสี้ยวจากประเทศอื่นเลย แม้กระทั่งผู้ที่ “เห็นเดือนเสี้ยวด้วยตาตัวเอง” .. นักวิชาการหลายท่านอธิบายว่า หากผู้นำไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา หรือยังไม่ออกประกาศ ก็ไม่อนุญาตให้เขาถือบวชออกบวชตามการเห็นเดือนของตนเองได้ ..
การกระทำของท่านอุมัรฺ อิบนุ้ลค็ฏฏอบ ร.ฎ. ดังหะดีษสุดท้ายในตอนนี้ คือหลักฐานยืนยันน้ำหนักของทัศนะนี้ ...
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.ได้รายงานมาจากท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่กล่าวว่า ...
اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ...
“วันถือศีลอด คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด, วันอีดิ้ลฟิฏริ คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ คือวันที่พวกท่านส่วนใหญ่ออกอีดอัฎหาอ์กัน”
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 697, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 2324, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1660, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 252, และท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 224, 225 ... โดยรายงานมาจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.)
สถานภาพของหะดีษบทนี้
สำนวนข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัต-ติรฺมีซีย์ ด้วยสายรายงานที่สวยงาม (หะซัน) ดังคำรับรองของท่านอัต-ติรฺมีซีย์เอง และท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 13, ส่วนในกระแสรายงานของผู้บันทึกท่านอื่นๆตามที่ระบุมานั้น ล้วนมีข้อบกพร่อง ซึ่งผมจะไม่อธิบายรายละเอียด ณ ที่นี้ แต่โดยภาพรวมแล้ว ถือว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ดังการสรุปของท่านอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” เล่มที่ 4 หน้า 14 ...
อธิบาย
นักวิชาการมีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ความหมาย” ของหะดีษบทนี้ เป็น 5 ทัศนะด้วยกัน ดังคำกล่าวของท่านอัล-มุนซิรีย์ในหนังสือ “มุขตะศ็อรฺ อัส-สุนัน” ซึ่งเราสามารถจะหาดูรายละเอียดทัศนะดังกล่าวนี้ได้จากหนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏ็อรฺ” เล่มที่ 3 หน้า 383, หนังสือ “ตุห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 383 หรือหนังสือ “มะอาลิม อัส-สุนัน” ของท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ เล่มที่ 2 หน้า 82 ...
แต่ทัศนะที่ได้รับการยอมรับว่า ใกล้เคียงความถูกต้องมากที่สุดก็คือ เจตนารมณ์ของหะดีษบทนี้ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิด “ความพร้อมเพรียง” และเกิด “เอกภาพ” ในการเริ่มถือศีลอดและการออกอีด, ..
“เอกภาพ” คือหลักการที่สำคัญยิ่งของอิสลามในอิบาดะฮ์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการนมาซญะมาอะฮ์ 5 เวลา, การนมาซวันศุกร์, การทำหัจญ์ เป็นต้น ...
จึงเป็นไปไม่ได้ที่อิสลามจะละเลยและมองข้ามความเป็นเอกภาพในเรื่องของการถือศีลอดและการออกอีด อันเป็นสัญลักษณ์ที่เปิดเผยและเด่นชัดอย่างยิ่งของอิสลาม ...
ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ .. หลังจากได้บันทึกหะดีษบทนี้ลงในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน ใน “กิตาบ อัศ-เศาม์” บาบว่าด้วยเรื่อง اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ อันเป็นบาบที่ 11 แล้ว ท่านก็มิได้นำเสนอทัศนะอื่นใดเกี่ยวกับความหมายของหะดีษนี้ นอกจากการกล่าวว่า ...
وَفَسَّرَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ هَذَاالْحَدِيْثَ، فَقَالَ : إِنَّمَامَعْنَى هَذَا أَنَّّ الصَّوْمَ وَالْفِطْرَ مَعَ الْجَمَاعَةِ وَعِظَمِ النَّاسِ ...
“นักวิชาการบางท่านได้อธิบายหะดีษบทนี้ โดยกล่าวว่า .. ความหมายของหะดีษนี้มิใช่อื่นใด นอกจากให้มีการถือศีลอดและการออกอีด ให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่”
ท่านอิบนุล ก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน” เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...
(( قِيْلَ : فِيْهِ الرَّدُ عَلَى مَنْ يَقُوْلُ : إِنَّ مَنْ عَرَفَ طُلُوْعَ الْقَمَرِ بِتَقْدِيْرِ حِسَابِ الْمَنَازِلِ جَازَ لَهُ أَن يَّصُوْمَ وَيُفْطِرَ ........ وَقِيْلَ : إِنَّ الشَّاهِدَ الْوَاحِدَ إِذَا رَأَى الْهِلاَلَ وَلَمْ يَحْكُمِ الْقَاضِىْ بِشَهَادَتِهِ أَنَّهُ لاَ يَكُوْنُ هَذَا لَهُ صَوْمًا، كَمَالَمْ يَكُنْ لِلنَّاسِ )) ...
“กล่าวกันว่า ในหะดีษบทนี้ เป็นหลักฐาน “หักล้าง” ผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้ผู้ที่รู้เวลาการขึ้นหรือตกของดวงจันทร์โดยการคำนวณดาราศาสตร์ สามารถถือศีลอดหรือออกอีดได้โดยอิสระ ........... และยังกล่าวกันอีกว่า บุคคลเพียงคนเดียวที่เห็นเดือนเสี้ยว โดยที่ผู้นำหรือกอฎีย์ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด (ตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเขา)เช่นเดียวกัน” ...
ท่านอัศ-ศ็อนอานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1182) ได้กล่าวอธิบายความหมายหะดีษนี้ไว้ในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 2 หน้า 63 มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...
(( فِيْهِ دَلِيْلٌ عَلَى أَنَّهُ يُعْتَبَرُ فِىْ ثُبُوْتِ الْعِيْدِ الْمُوَافَقَةُ لِلنَّاسِ، وَأَنَّ الْمُنْفَرِدَ بِمَعْرِفَةِ يَوْمِ الْعِيْدِ بِالرُّؤْيَةِ يَجِبُ عَلَيْهِ مُوَافَقَةُ غَيْرِهِ، وَيَلْزَمُهُ حُكْمُهُمْ فِى الصَّلاَةِ وَاْلإِفْطَارِوَاْلأُضْحِيَةِ ))
“หะดีษบทนี้เป็นหลักฐานว่า การกำหนดวันอีดที่ชัดเจนแน่นอนนั้น จะต้องถือหลักพิจารณาให้สอดคล้องกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ด้วย, และบุคคลใดที่รู้วันอีดด้วยการเห็นเดือนเอง ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับผู้อื่น (คือ ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นเดือนและไม่ออกอีดกัน เขาก็จะออกอีดตามลำพังไม่ได้ แม้จะเห็นเดือนจริงๆก็ตาม) และให้เขายึดหลักการปฏิบัติพร้อมกับประชาชนทั่วไปในการนมาซ, การออกอีด และการเชือดกุรฺบ่าน” ...
ท่านอบุล หะซัน อัซ-ซินดี้ย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1138) ได้ทำฟุตโน้ต (คำอธิบายประกอบ) ไว้ด้านล่างหนังสือ “สุนัน อิบนุมาญะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 531 มีข้อความว่า
(( اَلْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ )) : اَلظَّاهِرُ أَنَّ مَعْنَاهُ أَنَّ هَذِهِ اْلأُمُوْرَ لَيْسَ لِْلآحَادِ فِيْهَا دَخْلٌ، وَلَيْسَ لَهُمُ التَّفَرُّدُ فِيْهَا، بَلِ اْلأَمْرُ فِيْهَا إِلَى اْلإِمَامِ وَالْجَمَاعَةِ، وَيَجِبُ عَلَى اْلآحَادِ اِتِّبَاعُهُمْ لِْلإِمَامِ وَالْجَمَاعَةِ ...
“หะดีษที่ว่า .. (วันอีดิลฟิฏริ คือวันที่พวกท่านออกอีดฟิฏริกัน) .. ตามรูปการณ์แล้ว ความหมายของมันก็คือ สิ่งเหล่านี้ (การกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) มิใช่เป็นหน้าที่ของปัจเจกบุคคล (หรือบุคคลกลุ่มใด), และพวกเขาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติมันโดยอิสระ .. ทว่า, ภารกิจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะต้องมอบต่อผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่, และสิ่งที่จำเป็น (วาญิบ) สำหรับปัจเจกบุคคล (หรือกลุ่มบุคคล) ก็คือ พวกเขาต้องปฏิบัติตามผู้นำและประชาชนส่วนใหญ่” ...
ท่านเช็คบินบาส ได้ตอบคำถามของชาวปากีสถานคนหนึ่ง ซึ่งแจ้งให้ท่านทราบว่า บางครั้ง ประเทศปากีสถานจะถือศีลอดหลังจากประเทศสอุดีอารเบียถึง 3 วัน ดังนั้น บางคนจึงหันไปถือศีลอดตามประเทศซาอุฯ และบางคนก็ถือศีลอดตามประเทศของตนเอง ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้คืออย่างไร ? ..
ซึ่งท่านเช็คบินบาสก็ได้ให้คำตอบว่า ...
اَلظَّاهِرُ مِنَ اْلأَدِلَّةِ الشَّرْعِيَّةِ هُوَ أَنَّ كُلَّ إِنْسَانٍ يُقِيْمُ فِىْ بَلَدٍ يَلْزَمُهُ الصِّيَامُ مَعَ أَهْلِهِ، لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ، وَلمِاَ عُلِمَ مِنَ الشَّرِيْعَةِ مِنَ اْلأَمْرِ بِاْلاجْتِمَاعِ وَالتَّحْذِيْرِ مِنَ الْفِرْقَةِ وَاْلاخْتِلاَ
“ตามรูปการณ์ที่ปรากฏจากบรรดาหลักฐานแห่งบทบัญญัติอิสลามก็คือ ประชาชนทุกคนซึ่งอาศัยอยู่ ณ เมืองใด เขาก็จำเป็นต้องถือศีลอด (และออกอีด) พร้อมๆกับชาวเมืองของตนเอง .. เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. “วัน (เริ่ม) ถือศีลอด ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ถือศีลอดกัน, วันอีดิ้ลฟิฏรี่ ก็คือวันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดฟิฏรี่กัน, และวันอีดอัฎหาอ์ก็คือ วันซึ่งพวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดอัฎหาอ์กัน .. และเนื่องมาจากสิ่งที่ทราบกันดีจากบทบัญญัติ อันได้แก่คำสั่งให้มีความพร้อมเพรียง (เอกภาพ) กัน และการห้ามปรามจากความแตกแยกและการขัดแย้งกัน ......”
(จากหนังสือ “เมาซูอะฮ์ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรฺอียะฮ์” เล่มที่ 2 หน้า 21) ...
ท่านอัล-อัลบานีย์ นักวิชาการหะดีษชื่อก้องในยุคหลังอีกท่านหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า หากปรากฏว่าที่ใดมีการเห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้มุสลิมทั่วโลกที่ได้รับข่าวการเห็นเดือนนั้นต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีการจำกัดหรือกำหนดโซน (مَطْلَعٌ) แต่อย่างใด .. ดังข้อเขียนของท่านในหนังสือ “ตะมามุล มินนะฮ์” หน้าที่ 398 ...
แต่ขณะเดียวกัน ท่านอัล-อัลบานีย์ก็ได้กำชับให้คำนึงถึง “เอกภาพเชิงปฏิบัติ” ในการถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของต่างประเทศ โดยท่านได้เสนอแนะไว้ในหนังสือเล่มและหน้าเดียวกันนั้นว่า ...
وَإِلَى أَنْ تَجْتَمِعَ الدُّوَلُ اْلإسْلاَمِيَّةُ عَلَىذَلِكَ فَإِنِّىْ أَرَى عَلَى شَعْبِ كُلِّ دَوْلَةٍ أَنْ يَصُوْمَ مَعَ دَوْلَتِهِ، وَلاَ يَنْقَسِمُ عَلَى نَفْسِهِ، فَيَصُوْمَ بَعْضُهُمْ مَعَهَا وَبَعْضُهُمْ مَعَ غَيْرِهَا تَقَدَّمَتْ فِىْ صِيَامِهَا أَوْ تَأَخَّرَتْ، لِمَا فِىْ ذَلِكَ مِنْ تَوْسِيْعِ دَائِرَةِ الْخِلاَفِ فِى الشَّعْبِ الْوَاحِدِ ...
“และแนวทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของรัฐหรือบรรดาประเทศต่างๆของอิสลามในเรื่องนี้ (การถือศีลอดและออกอีด) ฉันเห็นว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละกลุ่มในแต่ละประเทศ จะต้องถือศีลอดพร้อมกับรัฐหรือประเทศของตนเองเสียก่อน, พวกเขาจะต้องไม่แตกแยกกันเอง โดยการที่บางกลุ่ม ถือศีลอดพร้อมกับประเทศของตน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถือศีลอดพร้อมกับประเทศอื่นที่ถือศีลอดก่อนหรือหลังประเทศของตนเอง เพราะในการกระทำดังกล่าว จะเป็นการขยายแวดวงแห่งความขัดแย้งในกลุ่มเดียวกันให้ขยายกว้างออกไป .......”
นี่คือ คำแนะนำของนักวิชาการที่ได้ชื่อว่า มีความเข้าใจและยึดมั่นในซุนนะฮ์ของท่านศาสดาอย่างแท้จริง ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ซึ่งอ้างตนเองว่า เป็น “นักวิชาการซุนนะฮ์” ในประเทศไทย จะต้องรับฟังไว้บ้าง ...
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ (สิ้นชีวิตปีฮ.ศ.728) ได้กล่าวในหนังสือ “มัจญมูอะฮ์ อัล-ฟะตาวีย์” เล่มที่ 25 หน้า 114 (ดังคำอ้างในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 399 ว่า ...
(( إِذَا رَآى هِلاَلَ الصَّوْمِ وَحْدَهُ، أَوْهِلاَلَ الْفِطْرِ وَحْدَهُ، فَهَلْ عَلَيْهِ أَنْ يَصُوْمَ بِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ أَوْ يُفْطِرَبِرُؤْيَةِ نَفْسِهِ ؟ أَمْ لاَ يَصُوْمَ وَلاَ يُفْطِرَ إلاَّ مَعَ النَّاسِ؟ عَلَى ثَلاَثَةِ أَقْوَالٍ))
“เมื่อบุคคลใดเห็นเดือนเสี้ยวต้นเดือนรอมะฎอน หรือเห็นเดือนเสี้ยวของวันอีดิ้ลฟิฏรี่ตามลำพัง ปัญหาก็คือ เขาจะต้องถือศีลอดหรือออกอีดตามการเห็นเดือนของตนเอง? .. หรือจะต้องไม่ถือศีลอดและไม่ออกอีด เว้นแต่ต้องให้พร้อมกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ? .. ซึ่งเรื่องนี้ นักวิชาการมีความเห็นเป็น 3 ทัศนะด้วยกัน ...
ต่อจากนั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็ได้ตีแผ่ทัศนะที่หนึ่งและทัศนะที่สอง อันเป็นทัศนะของผู้ที่ถือว่า เมื่อที่ใดเห็นเดือนก็วาญิบสำหรับมุสลิมทั้งโลกจะต้องปฏิบัติตาม และทัศนะของผู้ที่ถือว่า ถ้าประเทศใดอยู่ใกล้กันหรืออยู่ในโซน (مَطْلَعٌ) เดียวกัน ก็ให้ตามการเห็นเดือนกันได้ ...
แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ก็ได้กล่าวถึงทัศนะที่ 3 ดังต่อไปนี้ ...
وَالثَّالِثُ : يَصُوْمُ مَعَ النَّاسِ، وَيُفْطِرُ مَعَ النَّاسِ، وَهَذَا أَظْهَرُ اْلأَقْوَالِ لِقَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : صَوْمُكُمْ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَفِطْرُكُمْ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَأَضْحَاُكْم يَوْمَ تُضَحُّوْنَ
“ทัศนะที่ 3 ก็คือ ให้เขาถือศีลอดพร้อมกับประชาชน(ส่วนใหญ่) และออกอีดพร้อมกับประชาชน (ส่วนใหญ่), .. ทัศนะนี้ คือทัศนะที่ชัดเจนที่สุดจากบรรดาทัศนะทั้งหลาย .. ทั้งนี้ เนื่องจากคำพูดของท่านศาสดาที่ว่า .. “การถือศีลอดของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนมาก) ถือศีลอดกัน, อีดิ้ลฟิฏรี่ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนมาก) ออกอีดิ้ลฟิฏรี่กัน, และอีดิ้ลอัฎหาอ์ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดิ้ลอัฎหาอ์กัน ............”
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัล ได้กล่าวเอาไว้ว่า ...
إِنَّ النَّاسَ تَبِعَ اْلإِمَامَ، فَإِنْ صَامَ صَامُوْا وَإِنْ أَفْطَرَ أَفْطَرُوْا .... لِقَوْلِ النَّبِىِّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ (( اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تَفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ))
“ประชาชนต้องตามผู้นำ ! หากผู้นำถือศีลอด ก็ให้พวกเขาถือศีลอด, หากผู้นำออกอีด ก็ให้พวกเขาออกอีด ... ทั้งนี้ เพราะท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า .. วันถือศีลอด ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอด วันอีดิ้ลฟิฏริ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดิ้ลฟิฏริ, และวันอีดอัฎหาอ์ ก็คือวันที่พวกท่าน (ส่วนใหญ่) ออกอีดอัฎหาอ์กัน” ...
(จากหนังสือ “อัล-มุฆนีย์” ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่มที่ 3 หน้า 8, และหนังสือ “ซาดุ้ล มะอฺาด” เล่มที่ 1 หน้า 194) ...
ท่านอิบนุ หัสม์ ได้บันทึกรายงานบทหนึ่งมาจากท่าน มะอฺมัรฺ, จากท่านอบู กิลาบะฮ์ ซึ่งกล่าวว่า ...
أَنَّ رَجُلَيْنِ رَأَيَا الْهِلاَلَ فِىْ سَفَرٍ فَقَدِمَ الْمَدِيْنَةَ ضُحَى الْغَدِ (وَقَدْ أَصْبَحَ النَّاسُ صِيَامًا) فَأَخْبَرَا عُمَرَ، فَقَالَ ِلأَحَدِهِمَا : "أَصَائِمٌ أَنْتَ ؟" قَالَ : "نَعَمْ ! كَرِهْتُ أَن يَّكُوْنَ النَّاسُ صِيَامًا وَأَنَا أُفْطِرُ، كَرِهْتُ الْخِلاَفَ عَلَيْهِمْ" وَقَالَ لِْلآخَرِ "فَأَنْتَ ؟" قَالَ : "أَصْبَحْتُ مُفْطِرًا ِلأَنِّىْ رَأَيْتُ الْهِلاَلَ" فَقَالَ لَهُ عُمَرُ : "لَوْلاَ هَذَا – يَعْنِى الَّذِىْ صَامَ – َلأَوْجَعْنَا رَأْسَكَ، وَرَدَدْنَا شَهَادَتَكَ" ثُمَّ أَمَرَ النَّاسَ فَأَفْطَرُوْا ....
“ชาย 2 คนได้เห็นเดือนเสี้ยว (ของเดือนเชาวาล) ในขณะเดินทาง และเขาทั้งสองก็มาถึงนครมะดีนะฮ์ในยามสายของวันรุ่งขึ้น, (ขณะที่ประชาชนกำลังถือศีลอดอยู่ และไม่มีผู้ใดออกอีดกัน เพราะไม่มีผู้ใดเห็นเดือนเสี้ยวในคืนที่ผ่านมานั้น) .. ต่อมาเขาทั้งสองก็บอกเรื่องการเห็นเดือนแก่ท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ท่านอุมัรฺจึงถามชายคนหนึ่งจากสองคนนั้นว่า .. “ท่านถือศีลอดหรือ?” ชายผู้นั้นก็ตอบว่า .. “ครับ, ผมไม่ชอบที่คน (ส่วนใหญ่) ถือศีลอดกันแล้วผมไม่ถือ, และผมก็ไม่ชอบที่จะ (ทำอะไรให้) ขัดแย้งกับประชาชน (ส่วนใหญ่) ด้วย” .. ท่านอุมัรฺจึงหันไปถามอีกคนว่า .. “แล้วท่านล่ะ?” ชายผู้นั้นก็ตอบว่า .. “ผมก็ไม่ถือศีลอดนะซี เพราะผมเห็นเดือนเสี้ยว (ของวันอีด) แล้วนี่” ท่านอุมัรฺจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า .. “ถ้าไม่เพราะมีนายคนนี้ (ร่วมเห็นเดือน) ด้วยละก็ ฉันก็จะเอาเลือดหัวแกออก และก็จะปฏิเสธ (คือไม่รับข้ออ้าง) การเห็นเดือนของแกด้วย” .. ต่อจากนั้น ท่านอุมัรฺ ก็มีคำสั่งให้ประชาชนละศีลอด (และออกอีด)” ...
(บันทึกโดย ท่านอิบนุหัสม์ ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 3 ส่วนที่ 6 หน้า 238 และท่านสะอีด บิน มันศูรฺ ... ดังการอ้างอิงในหนังสือ “อัล-อัซอิละฮ์ วัล-อัจญ์วิบะฮ์” ของท่านเช็คอับดุลอะซีซ มุหัมมัด ซัลมาน เล่มที่ 2 หน้า 137) ...
หากจะถามว่า ทำไมท่านอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. จึงโกรธผู้ที่ออกอีด.. ทั้งๆที่ตามข้อเท็จจริง การออกอีดในวันนั้นเป็นเรื่องถูกต้องสำหรับเขา เพราะเมื่อเขาเห็นเดือนเสี้ยวในตอนกลางคืนที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้นก็ต้องเป็นวันอีดของเขา และวันอีดก็เป็นวันห้ามถือศีลอดดังเป็นที่ทราบกันดี ...
คำตอบก็คือ แม้ตามข้อเท็จจริงเขาและเพื่อนร่วมทางจะเห็นเดือนเสี้ยวจริง แต่ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นและยังถือศีลอดกันอยู่ การออกอีดของเขาจึงเป็นการขัดแย้งกับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางกับคำสั่งของหะดีษที่ให้มีเอกภาพในการถือศีลอดและการออกอีดดังกล่าวมาแล้ว ...
ข้อมูลและรายงานในลักษณะนี้ มีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่า ประชาชนในเมืองใดหรือประเทศใดก็ตาม ไม่บังควรเป็นอย่างยิ่งที่จะไปถือศีลอดหรือออกอีดโดยพลการ, ไม่ว่าการถือศีลอดหรือออกอีดนั้น เพราะเป็นการเห็นเดือนเสี้ยวด้วยตนเองหรือเพราะได้รับฟังข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวจากแหล่งอื่นใดก็ตาม เว้นแต่จะต้องให้พร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่หรือได้รับฟังการประกาศยอมรับการเห็นเดือนเสี้ยวนั้นจากองค์กรกลางหรือผู้นำมุสลิมภายในประเทศเสียก่อนเสมอ ...
ข้อมูลจากอัล-กุรฺอาน, จากอัล-หะดีษ และจากคำอธิบายของนักวิชาการระดับโลกทั้งหมดที่ผมนำเสนอมานี้ น่าจะเป็นการเพียงพอสำหรับผู้มีใจเป็นธรรมว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป ...
แต่มีนักวิชาการบางท่าน ยังหาทางเลี่ยงจากการถือบวชออกบวชพร้อมกับประชาชนส่วนใหญ่ภายในประเทศตนเอง โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เช่น ...
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งซึ่งถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่ไม่ใช่อิสลาม จึงไม่ถือว่าเป็นผู้นำที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามบ้างละ ...
บางท่านยอมรับการเป็นผู้นำของจุฬาราชในตรี แต่กล่าวหาว่า จุฬาราชมนตรีบางท่านมีการกระทำในลักษณะชิริก จึงไม่ขอปฏิบัติตามบ้างละ .. เป็นต้น ...
เพื่อความกระจ่างของเรื่องนี้ ผมจึงขออนุญาตเขียนอธิบายต่อไปตามหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ ...
1. จุฬาราชมนตรี ถือเป็นผู้นำของมุสลิมในประเทศไทยหรือไม่ ? ...
2. จำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำจะต้องเป็น “มะอฺศูม” (ผู้ไร้บาป) ? ...
3. การฏออัต(เชื่อฟัง) ผู้นำ..จากหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (หะดีษถูกต้อง) …
4. ประวัติความเป็นมาของตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ...
โปรดรออ่านครับถ้าไม่เบื่อเสียก่อน ...
แต่ถ้าท่านเบื่อ ผมก็จะไม่เขียนเพราะแต่ละตอนยอมรับว่าค่อนข้างยาว โปรดเสนอแนะด้วยครับว่าจะให้เขียนต่อหรือไม่ ...