อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การมีคุชัวอ์และการค่อยๆอ่านอัลกุรอานขณะละหมาด

คุชัวอ์

การละหมาดอย่างนอบน้อม ถ่อมตน (คุชัวอ์) ต่ออัลลอฮ์ 

อัลลอฮฺตรัสว่า

 “แน่นอนบรรดา ผู้ศรัทธาได้ประสบความ สำเร็จแล้ว”
“บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อม ตน(คุชัวอ์)ในเวลาละหมาดของพวกเขา” [อัลมุอฺมีนูน23.1-2]  


ท่านอิบนุตัยมิยะหฺได้กล่าวว่า “พระดำรัสอัลลอฮฺที่ว่า
 “และจงขอความช่วยเหลือ ด้วยความอดทน และการละหมาด แน่นอน การละหมาดนั้นเป็นงานหนัก แต่ไม่ใช่กับบรรดาผู้ถ่อมตน(คุชัวอฺ)” [อัลบาเกาะเราะฮฺ 2.45] 
ซึ่ง จากอายะหฺ นี้อัลลอฮฺทรงตำหนิผู้ที่ไม่มีความคุชัวอฺ ซึ่งอัลลอฮฺจะไม่ตำหนิ สิ่งหนึ่งสิ่งใดเว้นแต่สิ่งนั้นเป็นการละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบ ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่า การละทิ้งคุชัวอฺเสมือนการละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบ อย่างหนึ่งนั่นเอง”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
 “ผู้ ใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาดและทำ(อาบน้ำละหมาด)อย่างดี(ถูกต้องสมบูรณ์) หลังจากนั้นทำการละหมาดสองรอกะอัตและมุ่งมั่นตั้งใจใน การละหมาดด้วยใบหน้าและหัวใจของเขา(นั่นคือการมีคุชัวอฺ) และไม่สนทนากับตัวเองในเวลาละหมาด เขาจะได้รับการ อภัยโทษในบาปที่เคยกระทำมา (บางสำนวนรายงาน “เว้น แต่สรวงสวรรค์เป็นสิ่งวาญิบสำหรับเขา(ทต้องเข้า)” (บันทึก โดย บุคอรียฺและนะซาอียฺ )


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า 
“การ ละหมาดห้าเวลาที่อัลลอฮฺทรง กำหนดให้เป็นฟัรฎู ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดอย่างดี(ถูกต้อง สมบูรณ์) และปฏิบัติการละหมาดดังกล่าวใน(ช่วงต้น)เวลา และปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ถูกต้องในรุกูอฺละหมาดด้วยความคุ ชูอฺแล้ว เขาผู้นั้นจะได้รับสัญญาจากอัลลอฮฺที่จะให้อภัยโทษ แก่เขา แต่หากผู้ใดไม่ปฏิบัติดังที่กล่าวนั้น(คือขาดสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง รวมถึงขาดคุชัวอฺ) เขาก็จะไม่มีสัญญาใดๆ จากอัลลอฮฺ หากอัลลอฮฺประสงค์ก็อาจจะลงโทษเขาหรืออาจจะให้อภัย เขา” (บันทึกโดยอบูดาวูด เชคอัลบานียฺกล่าวว่าเป็นฮาดีส ศอเฮียะหฺ) 


อย่ารีบอ่านอัลกุรฺอ่านในขณะละหมาด

 รายงานจากญาบีร บีนอับดุลเลาะห์ว่า
  "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้ามา (ในมัสยิด)(ท่านพบว่า)มีผู้คนในนั้นกำลังอ่านอัลกุรฺอ่านกันอยู่  ท่านนบี  จึงกล่าวว่าจงอ่านอัลกุรฺอ่านเถอะและจงแสวงหา (ความยินยอมของ)อัลลอฮฺด้วยกับอัลกุรฺอ่านก่อนที่จะมีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งปรากฎออกมาพวกเขาอ่านอัลกุรฺอ่านเหมือนกับคนที่ปล่อยลูกธนู   พวกเขาเร่งรีบและพวกเขาไม่อ่านอัลกุรฺอ่านอย่างช้าๆ"(บันทึกโดยอะห์มัด,บัยฮากี,และอาบูยะอ์ลาอัลเมาชูลี)

 รายงานจากอุมมุซะละมะฮ์ว่า "
"การอ่านของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  นั้นคือ (ท่านจะอ่าน)บิสมีลาฮีรรอห์มานีรรอฮีม,อัลฮำดุลิลลาฮิร๊อบบิลอาลามีน,อัรเราะห์มานิรรอฮีม,มาลิกิเยาว์มิดดีน โดยที่ท่านจะอ่านโองการดังกล่าวเหล่านั้นที่ละประโยค   (บันทึกโดยอาบูดาวูด,ฮาดิษฮาสัน)

เปรียบเทียบคลิป 2 คลิป ขณะละหมาด

คลิป ที่ 1 การละหมาดอย่างมีคุชัวอ์ และค่อยๆอ่านอัลกุรอาน และไพเราะ





คลิปที่ 2 การละหมาดอย่างรีบด่วน ไม่มีคุชัวอ์ และการอ่านอัลกุรอานอย่างเร่งรีบ



والله أعلم

ผู้ที่ไดรับการผ่อนผันให้ละศิลอดแต่ต้องถือศิลอดชดใช้


ศิลอด
ขณะเดินทางผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอด

ผู้ที่ศาสนาได้ผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดในเดือนรอมฎอน แต่จำเป็น(วาญิบ) ที่เขาจะต้องถือศิลอดชดใช้แทนในวันอื่นๆ พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า


وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ

ความว่า “และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในระหว่างเดินทาง ก็ให้เขาถือศีลอดใช้ในวันอื่น อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์ความลำบากแก่พวกเจ้า” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)

จากอัลกุรอาน ศาสนาได้ผ่อนผันบุคคลต่อไปนี้ไม่จำต้องถือศิลอด หากไม่มีความสามารถ แต่ต้องไปชดใช้แทนในวันอื่น กล่าวคือ

(1) ผู้ที่กำลังเดินทางไกล
ศาสนาเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางเลือกระหว่างการถือศีลอด หรือจะไม่ถือศีลอด แล้วไปชดใช้ในวันอื่นที่สามารถถือศิลอดได้แทน

     นั้นหมายความว่า ผู้ใดอยู่ขณะเดินทางไกลในเดือนรอมฎอน ผู้นั้นชอบที่จะศิลอด หรือไม่ก็ได้ ซึ่งผู้ที่ถือศิลอดขณะเดินทาง หรือไม่ถือศิลอดขณะเดินทาง มิได้ถูกตำหนิแต่อย่างใด แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่ไม่ได้ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ขณะเดินทาง ต้องถือสิลอดชดใช้ในภายหลัง และหากผูใดมีความอ่อนแอ หากละศิลอดจะเป็นการดี

จากหลักฐานหะดิษ
عن أنس قال : كنا نسافر مع النبي صلى الله عليه وسلم فلم يعب الصائم على المفطر وا المفطر على الصائم .

รายงานจากอะนัสอิบนมาลิก แจ้งว่า “ฉันได้เดินทางพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮฺในเดือนรอมฎอน ผู้ถือศีลอดมิได้ตำหนิผู้ละศีลอด และผู้ละศีลอดมิได้ตำหนิผู้ถือศีลอด” ( บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)


จากหลักฐานหะดิษ
 ฮัมซะฮฺ อิบนฺอัมร อัลอัสละมีย์ ได้ถามท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
"ฉันจะถือศีลอดในขณะเดินทางหรือไม่ ? เพราะเขาเป็นคนชอบถือศีลอดมาก ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบแก่เขาว่า “จงถือศีลอดหากท่านประสงค์ และจงละศีลอดหากท่านประสงค์”(บันทึกโดย : อันบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يكره أن تؤتى معصيتة
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบที่จะให้สิ่งที่เป็นที่อนุมัติถือปฏิบัติกัน เสมือนกับที่พระองค์ทรงชอบที่จะให้ความตั้งใจมั่นเป็นที่ปฏิบัติกัน”  (บันทึกโดย : อิบนฺฮิบบาน และอัลบัซซาร)


รายงานจากอะบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ แจ้งว่า
 “บรรดาศ่อฮาบะฮฺมีความเห็นว่า ผู้ใดพบว่าเขามีความแข็งแรงแล้วถือศีลอดก็เป็นการดี และผู้ใดพบว่าเขามีความอ่อนแอแล้วการละศีลอดก็เป็นการดี”  (บันทึกโดย : อัตติรมีซีย์ และอัลบ่ะฆอวีย์)

รายงานญาบิรเล่าว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 لَيْسَ مِنَ البِّرِّ الصِّيَامُ فِيْ السَّفَرَ ) أخرجه البخاري ومسلم عن جابر

ความว่า “ไม่เป็นความดีเลยที่จะถือศีลอดในขณะเดินทาง”(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม)

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ

ความว่า   “อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และไม่ทรงประสงค์ความยากลำบากแก่พวกเจ้า” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)

.........

(2) ผู้ป่วยที่มีหวังหาย
อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้คนป่วยละศีลอดได้ เป็นความเมตตาและเป็นการผ่อนผันให้แก่เขา คนป่วยที่อนุญาตให้ละศีลอดได้นั้น คือผู้ป่วยเมื่อถือศีลอดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือทำให้การเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หรือกลัวว่าการฟื้นจากการป่วยจะล่าช้าไป

สำหรับผู้ที่มิได้ป่วย แต่กลัวว่าหากถือสิลอดจะทำให้ป่วย ก็ให้ละศิลอดได้ เหมือนเช่นเดียวกับกับคนป่วย อย่างผู้ที่หิวหรือกระหายจัด กลัวว่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย

 والله أعلم




วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ละหมาดตะรอเวียะฮฺ 8 ร็อกอะฮฺ เป็นสุนนะฮฺ


ละหมาดกิยามุรอมฎอน หรือตะรอเวียะฮฺ 8 ร็อกอะฮฺ เป็นสุนนะฮฺนบี ส่วนที่มากกว่านี้เป็นที่ส่งเสริม


จากหนังสือ ฟิกฮุซุนนะฮฺ เล่ม 1 แปลโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ 
หน้า 340-342

ละหมาด
หลักฐานท่านนบีละหมาดกิยามุรอมฎอน 8 ร็อกอะฮฺ

จำนวนร็อกอะฮฺของละหมาดกิยามุรอมฎอน (หรือตะรอเวียะฮฺ)


ما كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يزيد في رمضان ولا غيره على إحدى عشرة ركعة يصلي أربعا فلا تسأل عن حسنهن وطولهن ثم يصلي أربعا فلا تسأل عن حسنهن وطولهن ثم يصلي ثلاثا

ท่านหญิงอาอิชะฮ์รายงานว่า
"ท่านรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ...."(หะดีษนี้ศอเฮียฮ์... บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ อัตติรมิซีย์ อบูดาวูด อันนะซาอีย์ อิมามมาลิก...)

 ญาบิร อิบนฺอับดิลลาฮฺ เห็นคล้อยกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ เขากล่าวว่า "......." ความว่า
“แท้จริงเมื่อท่านนะบีได้นำละหมาดร่วมกับมหาชนคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน ท่านได้ละหมาด 8 ร๊อกอะฮฺ และได้ทำวิตร”(บันทึกโดย : อิบนฮิบบาน และอัฎฎอบรอนีย์ และอิบนนัศร)
อิบนุคุซัยมะฮิ และอิบนุฮิบบาน ได้บันทึกไว้ในหนังสือส่อฮีฮฺของเขาทั้งสอง โดยได้รายงานมาจากญาบิร ว่า "........" ความว่า
"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดกับสาวก 8 ร็อกอะฮฺ และละหมาดวิตริ ในคืนต่อมา บรรดาสาวกต่างมาคอยท่าน แต่ท่านไม่ได้ออกมานำพวกเขา"

อบูยะอฺลา และอัฏฏ็อบรอนี ได้บันทึกรายงานจากญาบิรด้วยสายรายงานที่ดีว่า "........" ความว่า
"อุบัย อิบนุกะอฺบิน ได้มาหาท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า "เมือ่ึคืนนี้ฉันมีปัญหาเล็กน้อย "หมายถึงในคืนรอมฎอน ท่านนบี ได้ถามว่าเรื่องอะไรเล่า...อุบัย?" อุบัยตอบว่า "พวกสตรีกลุ่มหนึ่งที่บ้านของฉันได้กล่าวกันว่า พวกเราไม่ได้อ่านอัลกุรอานกันเลย ดังนั้นเราจะละหมาดอย่างที่ท่านละหมาด  (คือละหมาดตะรอเวียะฮฺ) จะได้ไหม?" แล้วฉันก็ได้ละหมาดนำพวกนาง 8 ร็อกอะฮฺ แล้วก็ได้ละหมาดวิตริ และนั้นเป็นแบบฉบับที่ท่านได้ยินยอมโดยท่านไม่ได้ว่าอะไรเลย"

สุนนะฮฺ
ละหมาดตะรอเวียะฮฺแปดร็อกอะฮฺ นั้นเป็นสุนนะฮฺ ส่วนที่มากกว่านี้เป็นที่ส่งเสริม


--->>>


            ที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางที่มาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องอื่นใดนอกจากนี้ และเป็นความจริงที่เล่ามาว่า บรรดาประชาชนในสมัยท่านอุมัร อุษมาน และอาลีได้ละหมาด 20 ร็อกอะฮฺ โดยเป็นทัศนะส่วนมากของนักวิชาการในมัซหับฮะนะฟี ฮัมบาลี และดาวูด

            อัตติรมีซี ได้กล่าวว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ถือตามที่ได้รายงานมาจากอุมัร อะลี และสาวกคนอื่นๆ ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือ 20 ร็อกอะฮฺ ซึ่งเป็นคำพูดของอัษเษารี อิบนุลมุบาร็อก และอิมามชาฟีอี โดยอิมามชาฟีอี ได้กล่าวว่า "ดังนั้นแหละฉันได้เห้นประชาชนในมักกะฮฺละหมาด 20 ร้อกอะฮฺ" (อิมามมะลิก ถือว่า จำนวนร็อกอะฮฺ ของละหมาดตะรอเวียะฮฺมี 36 ร็อกอะฮฺ โดยไม่รวมละหมาดวิตรฺ 
             อัซซัรกอนี กล่าวว่า "อิบนุฮิบบานได้ระบุว่าละหมาดตะรอเวียะฮฺในระยะแรกนั้น 11 ร็อกอะฮฺ พวกเขาอ่านกันยาวมากจึงเกิดความลำบาก พวกเขาจึงอ่านให้สั้นลง แล้วเพิ่มจำนวนร็อกอะฮฺ จึงกลายเป็น 20 ร็อกอะฮฺ ไม่รวมละหมาดวิตริ หลังจากนั้นก็ลดการอ่านให้น้อยลง และเพิ่มจำนวนร้อกอะฮฺเป็น 36 ร็อกอะฮฺ   โดยไม่รวมละหมาดวิตริ เรื่องจึงดำเนินเป็นอย่างนี้เรื่อยมา")

             นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า สิ่งที่เป็นสุนนะฮฺนั้น คือ 11 ร็อกอะฮฺรวมทั้งวิตริ ส่วนที่เหลือเป็นมุสตะฮับ(เรื่องที่ส่งเสริม)

             อัลกะมาล อิบนุลหุมาม ได้กล่าวว่า ตามหลักฐานนั้น ถือว่า 20 ร้อกอะฮฺเป็นสุนนะฮฺที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ปฏิบัติไว้ แล้วท่านก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเกรงว่าจะเป็นฟัรฏูแก่พวกเรา ดังนั้นส่วนที่เกิน 8 ร้อกอะฮฺ จึงเป็นมุสตะฮับ (เรื่องที่ส่งเสริม)

             ความจริงปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาด 11 ร้อกอะฮฺ รวมทั้งละหมาดวิตริ ดังปรากฏรายงานอยู่ในหนังสือศ่อฮีฮฺอัลบุคอรียฺและมุสลิม ดังนั้นเป็นฐานเดิมของบรรดาคณาจารย์ของเราก็คื 8 ร็อกอะฮฺ ส่วนอีก 12 ร็อกอะฮฺ ที่เหลือนั้นเป็นเรื่องที่ส่งเสริม

..........

หมายเหตุ...ท่านรสูลกล่าวว่า " ...... " ความว่า "ละหมาดในยามค่ำคืน ทีละสองร็อกอะฮฺ ทีละสองร็อกอะฮฺ" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์) 



 والله أعلم

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรณีวาญิบจะต้องละศิลอดและวาญิบต้องถือศิลอดชดใช้


สตรี
หญิงเมื่อมีรอบดือนขณะถือศิลอด












วาญิบสำหรับหญิงที่มีรอบเดือน จะต้องละสิลอด และวาญิบที่ต้องถือศิลอดชดใช้ในวันอื่น
รายงานจากท่านหญิงงอาอิชะฮฺ เล่าว่า

"ปรากฏว่าพวกเรามีรอบเดือนในสมัยของท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เช่นนั้นท่านนบี จึงสั่งให้พวกเราชดใช้การถือศิลอดนั้น" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 1739)


 ปัญหาหญิงมีรอบเดือนขณะถือศิลอด



-กรณีขณะถือศิลอดมีรอบเดือนมาก่อนที่ดวงอาทิตย์จะตก

การที่หญิงที่กำลังถือศีลอดอยู่นั้น  เกิดมีเลือดรอบเดือนมา  การถือศีลอดในวันนั้นจะถือว่าใช้ไม่ได้  แม้ว่าการมาของรอบเดือนนั้นจะมาก่อนที่ดวงอาทิตย์จะตกดินเพียงเล็กน้อย  ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้  และเป็นที่ต้องห้ามในการที่จะทำการถือศีลอดต่อไป  เมื่อเธอมีเลือดรอบเดือน

บรรดานักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่า  ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับหญิงที่มีรอบเดือน  หรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร ในการถือศีลอด  และถ้าหากพวกนางขาดการถือศีลอดในเดือนรอมาฎอนเนื่องจากสาเหตุดังกล่าว  ก็ให้ทำการถือศีลอดชดใช้  แต่ถ้าฝ่าฝืนและถือศีลอดต่อไปในขณะที่มีเลือดรอบเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร  การถือศีลอดดังกล่าวถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับ


ท่านเชคอิบนุ อุศอยมีน (ขอความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวเอาไว้ใน Majaalis Shahr Ramadaan หน้าที่ 39 ว่า

         ถ้าประจำเดือนได้มาขณะที่สตรีกำลังถือศีลอด  แม้ว่าจะมีมาก่อนดวงอาทิตย์จะตกเพียงเล็กน้อย  การถือศีลอดของนางในวันนั้นก็ถือว่าใช้ไม่ได้ และนางจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้ด้วย และไม่เป็นการอนุญาตให้สตรีทำการถือศีลอดขณะที่นางมีประจำเดือน และการถือศีลอดของนางนั้นก็ใช้ไม่ได้




حَدَّثَنَا سَعِيدُ بْنُ أَبِي مَرْيَمَ، قَالَ أَخْبَرَنَا مُحَمَّدُ بْنُ جَعْفَرٍ، قَالَ أَخْبَرَنِي زَيْدٌ ـ هُوَ ابْنُ أَسْلَمَ ـ عَنْ عِيَاضِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ، عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ، قَالَ خَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فِي أَضْحًى ـ أَوْ فِطْرٍ ـ إِلَى الْمُصَلَّى، فَمَرَّ عَلَى النِّسَاءِ فَقَالَ ‏"‏ يَا مَعْشَرَ النِّسَاءِ تَصَدَّقْنَ، فَإِنِّي أُرِيتُكُنَّ أَكْثَرَ أَهْلِ النَّارِ ‏"‏‏.‏ فَقُلْنَ وَبِمَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ ‏"‏ تُكْثِرْنَ اللَّعْنَ، وَتَكْفُرْنَ الْعَشِيرَ، مَا رَأَيْتُ مِنْ نَاقِصَاتِ عَقْلٍ وَدِينٍ أَذْهَبَ لِلُبِّ الرَّجُلِ الْحَازِمِ مِنْ إِحْدَاكُنَّ ‏"‏‏.‏ قُلْنَ وَمَا نُقْصَانُ دِينِنَا وَعَقْلِنَا يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ ‏"‏ أَلَيْسَ شَهَادَةُ الْمَرْأَةِ مِثْلَ نِصْفِ شَهَادَةِ الرَّجُلِ ‏"‏‏.‏ قُلْنَ بَلَى‏.‏ قَالَ ‏"‏ فَذَلِكَ مِنْ نُقْصَانِ عَقْلِهَا، أَلَيْسَ إِذَا حَاضَتْ لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ ‏"‏‏.‏ قُلْنَ بَلَى‏.‏ قَالَ ‏"‏ فَذَلِكَ مِنْ نُقْصَانِ دِينِهَا ‏"‏‏

                  อบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ออกไปที่ มุศ็อลลา (ที่โล่งซึ่งจัดเตรียมไว้สำหรับละหมาดอีด อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของนครมะดีนะห์) ในวันอีดิ้ลอัฏฮา หรือ อีดิ้ลฟิตร์ (หลังจากละหมาดเสร็จ) ท่านก็เดินไปที่หมู่สตรี แล้วกล่าวว่า "โอ้บรรดาสตรีทั้งหลาย พวกเธอจงบริจาคกันให้มากเถิด เพราะฉันเห็นว่าพวกเธอส่วนมากเป็นชาวนรก มีหญิงผู้หนึ่งถามว่า  ด้วยเพราะเหตุใดหรือ โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ท่านตอบว่า เพราะพวกเธอชอบสาปแช่ง และดื้อดึงต่อสามี  ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดบกพร่องทั้งปัญญาและศาสนาในเวลาเดียวกันมากไปกว่าพวกเธอเลย  หญิงนั้นถามว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ความบกพร่องทางศาสนาและปัญญาของพวกเราเป็นเช่นใดหรือ  ท่านตอบว่า ก็การเป็นพยานของหญิงคนหนึ่งเท่ากับครึ่งในการเป็นพยานของผู้ชายไม่ใช่หรือ นางตอบว่า ใช่  ท่านกล่าวว่า นี่แหละคือความบกพร่องทางปัญญา และการที่หญิงมีเลือดประจำเดือนไม่ต้องละหมาดและไม่ต้องถือศีลอดมิใช่หรือ นางตอบว่า ใช่  ท่านกล่าวว่า นี่แหละคือความบกพร่องทางศาสนาของนาง" (บุคคอรี/หมวดที่6/บทที่6/ฮะดีษเลขที่ 304)


ท่าน อะบูซาอีด  ได้กล่าวว่า

 “ท่านนบีมุฮัมมัด   ได้กล่าวว่า  สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนนั้น  เธอไม่ต้องทำการละหมาดและถือศีลอด”  (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)

         สำหรับสตรีที่มีรอบเดือนและสตรีที่มีเลือดหลังจากการคลอดบุตรถูกจัดเป็นกลุ่มเดียวกัน  คือเป็นผู้ที่มีเลือดนิฟาสและเป็นผู้ที่มีเลือดรอบดือน  จะใช้กฎข้อบังคับเดียวกันคือ  ถ้าหากพวกนางมีเลือดรอบเดือนในช่วงต้นของวัน  การถือศีลอดในวันนั้นถือว่าใช้ไม่ได้  ซึ่งเงื่อนไขนี้จะเหมือนกันไม่ว่าเลือดประจำเดือนนั้นจะมาในช่วงต้นหรือช่วงท้ายของวัน  และถ้าหากนางยังตั้งใจที่จะทำการถือศีลอดต่อไป  ด้วยกับการงดการกินการดื่ม  ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าเป็นเรื่องที่ต้องห้าม  การกระทำนี้ถือว่านางมีความผิด  และการถือศีลอดนั้น  ถือว่าใช้ไม่ได้

......................


-กรณีที่นางรู้สึกว่ารอบเดือนนั้นกำลังจะมา แต่ยังไม่มีสิ่งใดออกมาจนกระทั่งดวงอาทิตย์ได้ตกดิน

การถือศีลอดของหญิง ที่รอบเดือนมาหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว  ศีลอดนั้นถือว่าใช้ได้และไม่จำเป็นจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้

.......................

-กรณีเมื่อสิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้วหญิงได้ทำการถือศีลอดแต่ในวันนั้นได้มีเลือดประจำเดือนมาอีก

ถ้าลักษณะที่เห็นเป็นเลือดรอบเดือน ก็ให้นางหยุดการละหมาดและถือศีลอด และให้ทำการชดใช้การถือศีลอดในวันนั้น  ถ้าเป็นการถือศีลอดที่เป็นวาญิบ  แต่ถ้าลักษณะที่เห็นเป็นคราบสีขาว  ก็ถือว่าร่างกายของนางสะอาดแล้ว ให้ทำการละหมาดและถือศีลอดต่อไปได้

والله أعلم

http://www.islamqa.com/en/cat/69&page=1




วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด

บวช
กรณีที่ไม่ทำให้เสียศิลอด

สิ่งใดเป็นเรื่องที่ศาสนาห้ามนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องนำสิ่งที่ห้ามนั้นบอกกล่าวแก่ศอหะบะฮฺ หรือบัญญัติเป็นศาสนา แต่ถ้าท่านรสูลมิได้บอกไว้ ก็แสดงว่าสิ่งดังกล่าวเป็นที่อนุญาตให้กระทำในขณะถือศิลอด โดยไม่ทำให้การเสียศิลอดเป็นโมฆะแต่ประการใดทั้งสิ้น


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า...


وَما يَنبَغى لِلرَّحمٰنِ أَن يَتَّخِذَ وَلَدًا
"และเรา (ญิบรีล) มิได้ลงมา เว้นแต่ด้วยพระบัญชาของพระเจ้าของท่าน สำหรับพระองค์นั้น สิ่งที่อยู่ระหว่างเบื้องหน้าของเราและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเรา และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองและพระเจ้าของท่านนั้นมิทรงหลงลืมสิ่งใดเลย"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ มัรยัม 19:64

การหยอกล้อและจุมพิต(จูบ)ภรรยาขณะถือศิลอด

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา ได้เล่าว่า:

كَانَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم  يُـقَبِّلُ وَيُبَاشِرُ وَهُوَ صَائِمٌ وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإرْبِـهِ

ความว่า: "ท่านนะบี  ได้จูบและเล้าโลมในขณะที่ท่านถือศีลอด และท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของท่านได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1927 และมุสลิม หมายเลข 1106 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)


รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า



أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ

“ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม  และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้  ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย”(บันทึกหะดิษโดยอัลบัยฮะกีย์  ด้วยรายงานหะดีษที่เศาะเฮียะฮฺ)

การที่ผู้ชายจูบภรรยาของเขา ลูบคลำ และเล้าโลมผ่านเสื้อผ้าในขณะที่เขาถือศีลอดถือว่าเป็นที่อนุญาตถึงแม้ว่าจะเกิดอารมณ์ใคร่ก็ตามเมื่อเขามั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของตนเองได้ และถ้าหากเกรงว่าอาจจะพลั้งตกอยู่ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามเช่นการหลั่งน้ำอสุจิ เช่นนี้ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์  กล่าวว่า

وَتُكْرَهُ الْقُبْلَةُ لِمَنْ حُرِّكَتْ شَهْوَتُهُ وَالْأَوْلَى لِغَيْرِهِ قُلْت : هِيَ كَرَاهَةُ تَحْرِيمٍ فِي الْأَصَحِّ ، اللَّهُ أَعْلَمُ

“มักโระฮ์ทำการจูบสำหรับผู้(ถือศีลอด)ที่อารมณ์ความใคร่ถูกขับเคลื่อน  และที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่อารมณ์ไม่ถูกขับเคลื่อน(เช่น คนชรา)  แต่ฉัน(คืออิมามอันนะวาวีย์)ขอกล่าวว่า  การจูบ(สำหรับผู้กำลังถือศีลอด)นั้นเป็นมักโระฮ์แบบฮะรอมตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า  วัลลอฮุอะลัม” มินฮาญุฏฏอลิบีน หน้า 31.

ท่านอิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  กล่าวอธิบายว่า  

“การจูบ , การกอด , การสัมผัส , และอื่น ๆ โดยไม่มีสิ่งใดมากั้น  ในช่วงกลางวันของเดือนร่อมะฎอนนั้น  ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่เป็นการกระทำสิ่งที่ฮะรอม  เพราะอาจจะเป็นการทำให้เสียอิบาดะฮ์ศีลอดโดยทางอ้อม เนื่องจากบุคอรีและมุสลิมได้รายงานหะดิษความว่า 

مَنْ حَامَ حَوْلَ الْحِمَي يُوْشِكُ أَنْ يَقَعَ فِيْهِ

“ผู้ใดที่ล้ำเข้าไปในเขตหวงห้ามเขาย่อมเกือบจะตกลงไปในมัน”

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานหะดีษที่ซอฮิห์จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า 

أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ

“ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม  และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้  ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย”

แต่หากเขาได้จูบ , กอด , สัมผัสภรรยาโดยไม่มีสิ่งกั้นขวาง แล้วจากนั้นอสุจิหลั่งออกมา ย่อมทำให้เสียศีลอด” มุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 171.


การอาบน้ำ การใช้น้ำรดศีรษะขณะถือศิลอด

รายงานจากอาบูบัก บิน อับดุลเราะห์มาน จากซอฮาบัตท่านหนึ่งของท่านศาสดา(ซ.ล)ว่า 
“ฉันเห็นท่านศาสดา(ซ.ล)รดน้ำลงบนศีรษะของท่านเนื่องจากความกระหายหรือความร้อนโดยที่ท่านนั้นถือศีลอด"(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2361)
คนที่ถือศีลอดนั้นสามารถที่จะอาบน้ำได้ทั้งในตอนเช้า สาย เเละตอนบ่าย เนื่องจากกระหายหรือความร้อนนอกจากนี้เขายังสามารถเเช่ตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากอากาศร้อนหรือเพื่อป้องกันจากอันตรายอื่นๆได้อีกด้วย  อนึ่งมีนักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าคนถือศีลอดที่เเช่ตัวในน้ำหรือล้างตัวของเขาด้วยกับน้ำเพื่อดับความร้อนนั้น เขาได้กระทำสิ่งที่น่าตำหนิ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยใช้น้ำราดศีรษะเนื่องจากอากาศร้อน หรือกระหายขณะที่ท่านศีลอด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ก็เคยทำให้ผ้าของท่านเปียกชุ่มขณะถือศีลอดเพื่อลดความร้อนหรือความกระหาย การที่เสื้อหรือตัวเปียกน้ำไม่มีผลต่อการถือศีลอด เนื่องจากน้ำไม่ได้เข้าไปในร่างกาย


การบ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูกและการแปรงฟันขณะถือศิลอด


อาซิม บิน ล่ากีฏ บิน ซ่อบิเราะฮ์  รายงานจากบิดาของเขา  ได้กล่าวว่า

قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَخْبِرْنِي عَنْ الْوُضُوءِ قَالَ ‏ ‏أَسْبِغْ ‏ ‏الْوُضُوءَ ‏ ‏وَخَلِّلْ ‏ ‏بَيْنَ الْأَصَابِعِ وَبَالِغْ فِي ‏ ‏الِاسْتِنْشَاقِ إِلَّا أَنْ تَكُونَ صَائِمًا

"ฉันกล่าวว่า  โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์  จงโปรดจงบอกฉันจากเรื่องการอาบน้ำละหมาดด้วยเถิด  ท่านร่อซูลุลลอฮ์กล่าวว่า  ท่านจงอาบน้ำละหมาดให้ทั่วถึงสมบูรณ์  และจงสรางระหว่างนิ้ว(มือและเท้า)  และจงสูดน้ำเข้าจมูกลึก ๆ นอกจากเสียว่าท่านเป็นผู้ถือศีลอด" (บันทึกหะดิษโดยติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 718  ท่านอิตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษนี้ฮะซันเศาะเฮียะฮฺ)


ท่านรสูลเคยใช้น้ำกลั้วปากแล้วบ้วนทิ้งและสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออกด้วยมือซ้ายในขณะที่ท่านถือศีลอด แต่ท่านห้ามมิให้ผู้ถือศีลอดกระทำมากเกินไป


ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่าความว่า

ความว่า “หากไม่เป็นการยากลำบากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว ฉันจะใช้ให้พวกเขาแปรงฟันในเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้ง”(บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านร่อซูลมิได้เจาะจงให้แปรงฟันเฉพาะผู้ถือศีลอดเท่านั้น ในการนี้เป็นการบ่งชี้ให้แปรงฟันสำหรับผู้ถือศีลอด และผู้ที่ไม่ได้ถือศีลอดด้วยในขณะเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้งและทุกเวลาละหมาด โดยที่ต้องระมัดระวังมิให้กลืนมันลงไป



การกรอกเลือด และการฉีดยาขณะถือศิลอด

 รายงานจากอิบนุ อับบาส เล่าว่า


(اِحْتَجَمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ مُحْرِمٌ وَاحْتَجَمَ وَهُوَ صَائِمٌ)
   ความว่า “ท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้กรอกเลือดขณะที่ท่านครองเอี๊ยะฮ์รอม และท่านได้กรอกเลือด ขณะที่ท่านถือศีลอด” ( หนังสือศ่อฮีฮ์ อัลบุคอรีย์ )

   รายงานจากษาบิต อัลบุนานีย์ เล่าว่า ความจริงเขาได้กล่าวแก่อะนัส อิบนุ มาลิก ว่า
 
 (أَكُنْتُمْ تَكْرَهُوْنَ الْحِجَامَةَ لِلصَّائِمِ عَلىَ عَهْدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ؟ قَالَ : لاَ إِلاَّ مِنْ اَجْلِ الضَّعْفِ)
   ความว่า “พวกท่านไม่ชอบการกรอกเลือดสำหรับผู้ถือศีลอดในสมัยของท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ใช่ไหม ? เขาตอบว่า ไม่หรอกยกเว้นอันเนื่องจากความอ่อนแอเท่านั้น” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรี)

  รายงานจากอะฏ๊ออ์ อิบนุ ยะซ๊าร เล่าว่า
   (ثَلاَثٌ لاَيُفْطِرْنَ الصَّائِمَ: اَلْحِجَامَةُ وَالْقَيْءُ وَالاِحْتِلاَمُ)
   ความว่า “สามประการที่ไม่ทำให้ผู้ถือศีลอดเสียศีลอด คือการกรอกเลือด การอาเจียร และการฝัน (ทางเพศ)” (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ อะบีซัยบะ)


 
   ฮะดีษทั้งหมดที่กล่าวมานั้น และอื่น ๆ อีกมากมายเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการบัญญัติเกี่ยวกับการกรอกเลือด สำหรับผู้ถือศีลอด

และการฉีดยาทุกประเภท ไม่ว่าจะฉีดยาด้วยสาเหตุใดก้ตาม จะฉีดกล้ามเนื้อ หรือฉีดเส้นเลือด ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ เพราะการฉีดยาเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่เป็นการเข้าภายในแบบปกติ

การทาตา การหยอดตา หู จมูก และการใช้ยาพ่นขณะถือศิลอด

รายงานจาก ท่านอนัส เล่าว่า "ปรากฏว่าเขาเคยทายาตา ในขณะที่เขาถือศิลอด" (หะดิษหะซัน...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2380)

การใช้สิ่งเหล่านี้ทา หยอดตา และดมยา ไม่เป็นการเสียศีลอดถึงแม้จะมีรสชาดของมันในลำคอหรือไม่มีก็ตาม นี่คือแนวคามคิดที่ชัยคุลอิสลามให้น้ำหนักมากกว่าในบทความเรื่อง “ข้อเท็จจริงของการถือศีลอด” และลูกศิษย์ของเขาคืออิบนุก็อยยิม ในหนังสือของเขา “ซาดุลมะอ๊าด” และอิหม่ามอัลบุคอรียฺในหนังสือ “ศ่อฮี้ฮฺ” ของเขา ได้กล่าวว่าอะนัส อิบนมาลิก และอัลหะซัน อัลบัศรีย์ และอิบรอฮีมอันนัคอีย์ มีความเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านี้ทาและหยอดตาสำหรับผู้ถือศีลอดไม่เป็นไร คือไม่เป็นการเสียศีลอด

และในทำนองเดียวกัน การพ่นยารักษาโรคหอบหืดทางปาก ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากในปัจจุบันเห็นว่าไม่ทำให้เสียศีลอด


ชิมอาหารขณะถือศิลอด

รายงานจากอิบนฺอับบาส กล่าวว่า
“ไม่เป็นความผิดหรือไม่เป็นไรที่จะชิมรสชาติของน้ำส้มหรืออาหาร ตราบใดที่ไม่เข้าสู่ลำคอ(บ้วนทิ้ง)ในขณะถือศีลอด” (บันทึกโดย อิบนฺอะบีชัยบะฮฺ และอัลบัยฮะกีย์)

สำนวนของท่านบุคอรีย์ ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า "ไม่เป็นไรจะชิมอาหาร และ (หรือชิม) สิ่งหนึ่งเพื่อที่เขาต้องการจะซื้อ (จากนั้นก็บ้วนทิ้ง)" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ ..บุคอรีย์ เลขที่ 617)

ท่านอิบนุ ตัยมิยะฮฺกล่าวว่า
"การดมกลิ่นหอม หรือสูดกลิ่นหอมเข้าไป ไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอด" ( ดูหนังหนือ "ฟิกฮุสสุนนะฮฺ" เล่ม 1 หน้า 342)

ทั้งนี้โดยมีขอบเขตมิให้อาหารเข้าสู่ลำคอ เมื่อชิมเสร็จก็บ้วนทิ้ง


และศาสนาถือว่าไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอดเมื่อประสบกับสิ่งที่หลี่ยงไม่ได้ หรือหลีกเลี่ยงลำบาก ไม่ทำให้เสียศิลอด เช่น การกลืนน้ำลาย กลืนเสมหะเข้าไป หรือหรือการสูดดมควันอาหาร เป็นต้น

กรณีอื่นที่ไม่ทำให้เสียศิลอด

-การที่เลือดออกตามร่างกายไม่ทำให้เสียศีลอด ยกเว้นเลือดประจำเดือนเท่านั้นที่ทำให้เสียศีลอดดังนั้นสามารถถือศีลอดต่อไปได้

-การบีบสิว

-การตัดเล็บ  , ตัดผม

เป็นต้น
. والله أعلم







การถือศิลอดในเดือนรอมฎอน

ศิลอด

 พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้เคยถูกกำหนดแก่กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ  183)

شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ

“เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่คัมภีร์อัลกุรอ่านได้ถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจน เกี่ยวกับทางนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จะจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น” (อัลบะกอเราะฮฺ  185)


      ความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของการถือศีลอดนั้น ก็คือ ผลตอบแทนของการถือศีลอดนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังที่ท่านนบีนั้น ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ในฮะดีสบทหนึ่ง มีรายงานมาจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ هُوَ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ

“การงานทุกประการของมนุษย์นั้น (จะได้รับผลบุญ) ตามส่วนที่เขาได้กระทำ ยกเว้นการถือศีลอด (ผลตอบแทน) การถือศีลอดนั้นเป็น สิทธิของฉัน และฉันจะตอบแทนเอง…” (บันทึกโดยมุสลิม : 1151 อันนะซาอียฺ : 2216,2217)

แน่นอนเหลือเกินว่าผลบุญของผู้ที่ถือศีลอดนั้นมากมายเหลือเกิน ถ้าหากเขารักษาการถือศีลอดของเขาให้มีความสมบูรณ์ตลอดในแต่ละวัน อีกทั้งการถือศีลอด นั้นเป็นตัวช่วยให้ความผิดที่ผ่านมานั้นก็จะได้รับการอภัยโทษเช่นกัน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา”(บันทึกโดยบุคอรีย์  : 38 มุสลิม : 760)

      والله أعلم

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อสัมผัสอวัยวะเพศ ขณะมีน้ำละหมาด

เพศ
สัมผัสอวัยวะเพศจะเสียน้ำละหมาดหรือไม่?

รายงานท่านฏ็อลกิน เล่าว่า ชายผู้หนึ่งถามท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
"โอ้นบีของอัลลอฮฺ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ในกรณีที่ชายคนหนึ่ง สัมผัสอวัยวะเพศของเขา ภายหลังที่เขาอาบน้ำละหมาดแล้ว? ท่านรสูลตอบว่า "แท้จริงอวัยวะเพศมิใช่สิ่งใด นอกจากจะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชายผู้นั้น หรือ เป็นส่วนหนึ่งจาก (ร่างกาย) ของเขา" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษที่ 155 ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 78 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 165 และอิบนุ มาญะฮฺ หะดิษเลขที่ 476)
          ท่านรสูลุลลอฮฺได้กล่าวถึงอวัยเพศเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนั้นหากเราสัมผัสแขน ขา เราไม่เสียน้ำละหมาดก็เท่ากับว่าการสัมผัสอวัยวะเพศก็ไม่เสียน้ำละหมาด

แต่หากสัมผัสอวัยวะเพศแล้วเกิดมีความรู้สึกทางเพศ เช่นนี้ ทำให้เสียน้ำละหมาด ตามหลักฐานหะดิษที่ระบุว่า "บุคคลใดที่สัมผัสอวัยวะเพศของเขา เขาจงอาบน้ำละหมาด" 

والله أعلم

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อจะละศิลอด


บวช
เมื่อจะละศิลอด

ให้รีบเร่งในการละศิลอด

                เมื่อเข้าเวลามัฆริบเเล้ว สุนัตให้รีบเร่งละศีลอด ด้วยการปฎิบัติเช่นนี้ ผู้ที่รีบเร่งละศีลอด จะได้ผลบุญมากกว่าผู้ที่ล่าช้าในการละศีลอด เมื่อถึงเวลาละศิลอดแล้ว

รายงานจากซะห์ละฮ์ บินซะอ์ดุ  ว่าเเท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" มนุษย์นั้นจะคงดำรงอยู่บนความดีตราบเท่าที่พวกเขารีบเร่งในการละศีลอด"(บันทึกโดยบุคอรีเเละมุสลิม)


             
แก้บวช
ร่วมละศิลอด

ให้ละศิลอดก่อนทำละหมาดมัฆริบและไม่เร่งรีบ

         
            การถือศีลอดก่อนทำละหมาดมัฆริบในการละศีลอดนั้นจะต้องไม่รีบเร่ง เเต่ทว่าให้รับประทานอาหารอย่างสุภาพในช่วงเวลาที่สมควร ไม่ใช่จนหมดเวลาละหมาดมัฆริบสำหรับผู้ที่ถือศีลอดเเล้ว เขาควรรับประทานอาหารละศีลอดที่ได้ถูกนำไปวางเตรียมเอาก่อนทำละหมาดมัฆริบ

รายงานจากอานัสว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" เมื่ออาหารค่ำได้ถูกนำมาวางไว้ข้างหน้าให้สูเจ้ารับประทานอาหารค่ำก่อนทำละหมาดมัฆริบเเละจงอย่าเร่งรีบในขณะที่รับประทานอาหาร”(บันทึกโดยบุคอรีเเละมุสลิม)



ขณะที่จะละศิลอด ให้ขอดุอาอ์มากๆ

                 ผู้ที่ละศีลอดนั้นเขาได้รับคำสัญญาจากอัลลอฮฺว่า ดุอาของเขานั้นย่อมจะถูกตอบรับอย่างเเน่นอน กล่าวคืออัลลอฮฺจะไม่ทรงเพิกเฉยต่อการขอของคนที่ละศีลอดนั้นๆ  ดังนั้นช่วงเวลาในขณะที่จะละศีลอด คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่พวกเราสมควรต้องขอดุอาให้มากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งดุอาขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ


ท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า

ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ الْإِمَامُ الْعَادِلُ وَالصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ

สามคนด้วยกัน ที่การขอดุอาอฺของพวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ อิหม่ามที่ยุติธรรม คนถือศีลอดจนกว่าจะละศีลอด และการขอดุอาอฺ ของคนที่ถูกข่มเหง” (บันทึกโดยอะหฺมัด :7983)


รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรุ บินอัลอาซว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริงการขอดุอาของผู้ที่ถือศีลอดในขณะที่ละศีลอดนั้นจะไม่ถูกปฎิเสธ”  ดังนั้นเมื่อบ่าวของอัลเลาะห์คนหนึ่งนั้นจะละศีลอด เขาจงกล่าวเถิดว่า:โอ้อัลลอฮฺ! ฉันขอวิงวอนขอเราะห์มัตจากพระองค์ที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ขอได้โปรดประทานอภัยโทษเเก่ฉันด้วยเถิด" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุมาญะห์)

...ดุอาอ์ละศิลอด...

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

คำอ่าน "ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"

ความหมาย "ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2359)

รอมา
ละศิลอดกับอินทผลัม

ให้ละศิลอดกับอินทผลัมหรือน้ำเป็นอันดับแรก

          อาหารที่ดีที่สุดในการละศีลอดคือผลอินผลัม ถ้าหากว่าไม่มีผลอินทผลัม ก็ให้เขาละศีลอดด้วยน้ำสะอาด ทั้งนี้เนื่องจากว่า น้ำสะอาดนั้นคือยาสำหรับผู้ที่ถือศีลอด นอกจากนี้ผู้ที่ละศีลอดด้วยกับอินทผลัมหรือน้ำยังจะได้รับผลบุญเนื่องจากปฎิบัติตามซุนนะฮฺของท่านรสูลอีกด้วย


รายงานจากสุลัยมาน บินอามีรอัดดอบี อัซซอฮาบี  ว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إِذَا أَفْطَرَ َأَحَدُكُمْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ تَمْرٍ فَإِنْ لَمْ يَجِدْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ مَاءٍ فَإِنَّهُ طَهُوْرٌ
“เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ละศีลอด ให้เขาจงละศีลอดด้วยอินทผลัม ถ้าหากไม่มีให้เขาละศีลอดด้วยน้ำ เพราะมันสระอาด” (เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺ  หะดิษเลขที่36 อาบูดาวุดเเละติรมีซี )





ศิลอด
สำคัญผิดว่าถึงเวลาละศิลอด


กรณีละศิลอดก่อนเข้าเวลามัฆริบเพราะความสำคัญผิด

       


             กรณีผู้ถือศิอดเข้าใจว่าเข้าเวลาละหมาดมัฆริบแล้ว  อันเนื่องจากท้องฟ้าอาจมืดมน หรือมีฝนตกจนกระทั่งช่วงเวลากลางวันนั้นมืดมิด เเละความมืดที่ยาวนาน ไม่มีนาฬิกา หรือเครื่องวัดเวลาอื่นๆ จนไม่อาจรู้เวลาได้อย่างเเน่นอน  จึงได้ละศิลอด แต่หลังจากที่ได้ละศีลอด ปรากฎว่าฝนได้หยุดตกเเละท้องฟ้าก็เเจ่มใส ดวงอาทิตย์ก็ปรากฎออกมาดังเดิม จึงทราบว่ายังไม่เข้าเวลามัฆริบ ในเหตุการณ์เช่นนี้ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม ไม่ได้กล่าวว่า การถือศีลอดเป็นโมฆะ ดังนั้นการถือศีลอดจึงถือว่าใช้ได้


รายงานจากอัซมาอ์ บินตี้ อาบูบักร ว่า
" วันหนึ่งฉันได้ละศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยที่วันๆนั้น มีเมฆหมอกปกคลุมในสมัยที่ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัม ยังมีชีวิตอยู่  หลังจากนั้นดวงอาทิตย์ก็โผล่ออกมา”(บันทึกหะดิษโดย บุคอรี)
  والله أعلم







วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เวลางดรับประทานอาหารสะฮูลและสิงใดๆที่ทำให้เสียศิลอด

ศุบฮฺ
งดดื่มกินเมื่อเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ





                 ผู้ถือศิลอดจะต้องงดเว้น การกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ หรือข้อห้ามอื่นใด ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น (เข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ) เรื่อยไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้า






พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานาฮูวาตาอาลา ทรงตรัสว่า

وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ

"และท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่ม  จนกว่าเส้นด้ายสีขาว  จากเส้นด้ายสีดำ  ของแสงอรุณจะปรากฏแก่พวกท่าน  จากนั้นให้พวกท่านจงถือศีลอดให้ครบถึงกลางคืนเถิด" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลบะกอเราะฮ์ 2:187)
คำ ว่า "เส้นด้ายสีขาว"  คือแสงอรุณจริงของกลางวัน  คำที่ว่า "เส้นด้ายสีดำ"  คือความมืดของเวลากลางคืน  คำที่ว่าแสงอรุณ  หมายถึงแสงอรุณที่ขอบฟ้าซึ่งเป็นสิ่งบ่งบกว่าสิ้นสุดเวลากลางคืนและเริ่ม เข้าสู่กลางวัน  ดังนั้นเมื่อแสงอรุณจริงขึ้นแล้ว แสดงว่าเข้าเวลาช่วงกลางวันแล้ว 


รายงาน จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  เขากล่าวว่า

‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏إِنَّ ‏ ‏بِلَالًا ‏ ‏يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُنَادِيَ ‏ ‏ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ ‏ ‏ثُمَّ قَالَ وَكَانَ رَجُلًا أَعْمَى لَا يُنَادِي حَتَّى يُقَالَ لَهُ أَصْبَحْتَ أَصْبَحْتَ ‏

"แท้จริงท่าน ร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า  "แท้จริงบิล้าลได้ทำการอะซาน(ครั้งแรก)ในช่วงกลางคืนอยู่(ก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ)  ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่มเถิด  จนกระทั่งอิบนุอุมมุมักตูมได้ทำการอะซาน(ครั้งที่สอง) หลังจากท่านได้กล่าวว่า  อิบนุอุมมุมักตูมเป็นชายตาบอด  ซึ่งจะทำการอะซานจนกว่าถูกบอกให้แก่เขาว่า ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว  ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ 582)

จากฮะดิษนี้บ่งชี้ให้ทราบว่า  การอะซานละหมาดศุบฮฺ นั้นมี 2 ครั้ง  คืออะซานตอนที่แสงอรุณไม่จริงขึ้น (ฟัจญ์กาซิบ) และอะซานช่วงที่แสงอรุณจริงขึ้น (ฟัจญ์ศอดิก) ซึ่งเมื่อแสงอรุณนั้นถือว่าเข้าเวลาศุบฮ์(ต่างกับบ้านเราที่มีการอาซานครั้งเดียว คือเป็นการอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน) นั่นเอง  ดังนั้นท่านบิล้าลได้ทำการอะซานในช่วงที่แสงอรุณไม่จริงขึ้นคือยังอยู่ใน ช่วงเวลากลางคืนอยู่  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงใช้ให้บรรดาซอฮาบะฮ์ทำการกินและดื่มต่อไป จนกระทั่งท่านอิบนุอุมมุมักตูมได้อะซานนั่นแหละจึงหยุดรับประทาน

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«لاَ يَغُرَّنَ أَحَدُكُمْ نِدَاءَ بِلاَلٍ مِنَ السَّحُوْرِ، وَلاَ هَذَا البَيَاضَ حَتَّى يَسْتَطِيْرَ»
“คน หนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าจงอย่างหลงเชื่อกับการอาซานของบิลาล (เพราะบิลาลจะอาซานของเข้าเวลาฟะญัร) และกับแสงสีขาวจนกว่าแสง (แห่งรุ่งอรุณ) จะปกคลุมท้องฟ้า” (เศาะฮีหฺมุสลิม, เลขที่ 1094)

ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า “แท้จริงบิลาลจะอาซานตอนกลางคืน (ก่อนรุ่งอรุณ) ดังนั้นนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะกล่าว (กำชับ) ว่า:
«كلوا واشربوا حتى يؤذن ابن أم مكتوم، فإنه لا يؤذن حتى يطلع الفجر»
“พวก เจ้าจงกินและดื่มจนกว่าอิบนุอมมิมักตูมจะอาซาน เพราะเขาจะไม่อาซานจนกว่าแสงแห่งรุ่งอรุณ (ฟะญัร) จะขึ้น (ปกคลุมท้องฟ้า)” (เศาะฮีหฺอัลบุคอรีย์, เลขที่ 1919)

บวช
เวลาเริ่มศิลอด

สำหรับหะดิษต่อไปนี้ มีความขัดแย้งในทัศนะของนักวิชาการ

รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ฮุร็อยเราะฮ์ความว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

 ‏إِذَا سَمِعَ أَحَدُكُمْ النِّدَاءَ وَالْإِنَاءُ عَلَى يَدِهِ فَلَا يَضَعْهُ حَتَّى يَقْضِيَ حَاجَتَهُ مِنْهُ

"เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน  โดยภาชนะอยู่บนมือเขา  ดังนั้นก็อย่าวางมันจนกว่าจะรับประทานให้เสร็จสิ้นจากมัน"( มุสนัดอิมามอะห์มัด 10220 สุนันอะบีดาวูด 2003)

รายงานจากท่านอบูอุมามะฮฺ เล่าว่า
"เมื่อมีอาซาน(ศุบฮ์) ขณะนั้นแก้วน้ำอยู่ในมือของท่านอุมัรฺ เราจึงเอ่ยถามท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ ฉันจะดื่มน้ำได้ไหม? ท่านรสูล ตอบว่า ดื่มได้สิ เขาจึงดื่ม"(สายรายงานหะซัน บันทึกโดยอบูยะอฺลา เล่ม 1 หะดิษเลขที่ 1292)

ทัศนะที่ 1 กรณีที่บุคคลหนึ่งมีแก้วน้ำอยู่ในมือ หรือมีอาหารอยู่ในปาก สมารถจะดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารนั้นได้ เป็นข้อยกเว้น แม้จะมีเสียงอะซานเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ(การอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน เป็นการอาซานละหมาดศุบฮฺในบ้านเรา)


ทัศนะที่ 2 เมื่อได้ยินเสียงอะซานซุบฮ์ในช่วงเวลาที่แสงอรุณขึ้น(การอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน เป็นการอาซานละหมาดศุบฮฺในบ้านเรา)  แม้บุคคลหนึ่งมีแก้วน้ำอยู่ในมือ หรือมีอาหารอยู่ในปาก ก็ห้ามดื่มน้ำ ห้ามรับประทานอาหารนั้นเด็ด  และหากเขาผู้นั้นมีการรับประทานอาหารและดื่มอีกหลังจากนั้น  ถือว่าการถือศีลอดของเขาย่อมใช้ไม่ได้และต้องกอฏอชดในช่วงวันอื่นจากรอมาฎอน

โดยถือว่าหะดิษข้างต้นขัดกับอัลกุรอาน และหะดิษที่กล่าวว่า อย่าหลงเชื่อเสียงอาซานของบิลาล แต่รับประทานไปจนเสียงอาซานของอิบนุอุมมิมักตูม และมีแสงปกคลุมท้องฟ้า

 อิบนุอับดิลบัรฺกล่าวว่า “หะดีษนี้(หะดิษอย่าลหลงเชื่ออาซานของบิลาล และหะดิษที่ให้ไปจนอิบนุอุมมิมักตูมจะอาซาน) เป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าการทานอาหารสะหูรนั้นจะเกิดขึ้นก่อนเวลา รุ่งอรุณ เพราะคำพูดที่ว่า “แท้จริงบิลาลจะอาซานตอนกลางคืน (ก่อนรุ่งอรุณ)” เสร็จแล้วท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ห้ามไม่ให้พวกเขาทานอาหารสะหูรเมื่อถึงเวลาอาซานของอิบนุอมมิมักตูม...” (อัตตัมฮีด, เล่ม 10 หน้า 62)

ท่านกล่าว เพิ่มเติมว่า “และแท้จริงปวงปราชญ์มุสลิมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ใดที่แน่ใจว่าเวลารุ่งอรุณได้มาถึงแล้ว จะไม่อนุญาตให้เขากินและดื่มอีกต่อไป”  (หมายความว่า ต้องหยุดกินและดื่มทันที) (อัตตัมฮีด, เล่ม 10 หน้า 63)

อันนะวะวีย์กล่าวว่า “ในหะดีษนี้เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับรุ่งอรุณที่มีผลต่อหุกมการถือศิยาม นั่นคือ (การปรากฏของ) รุ่งอรุณที่สองซึ่งเป็นรุ่งอรุณที่แท้จริง” (ชัรหฺเศาะฮีหฺมุสลิม, เล่ม 8 หน้า 212)

 والله أعلم

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้ที่อ่านสูเราะฮ์อัลมุลก์ทุกคืนอัลลอฮฺทรงยับยั้งการลงโทษเขาในกุบูรฺ

ตะบาร่อกั้ล
ตะบาร่อกั้ลล่าซี (อัลมุลก์)


ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่อ่าน "ตะบาร่อกั้ลล่าซี บี้ย่าดี้ฮิ้ลมุลก์" (สูเราะฮฺอัลมุลก์) ทุกคืน(เช่นนี้) พระองค์อัลลอฮฺทรงห้ามเขาจากการลงโทษในกูบูรฺสาเหตุจากการอ่านสูเราะฮฺข้างต้น" (หะดิษหะสัน...บันทึกโดยสุนันนะสาอีย์ อัลกุบรอ หะดิาเลขที่ 10547)
 ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"สูเราะฮฺ "ตะบาร่อก้า"(สูเราะฮฺอัลมุลก์ สูเราะฮฺที่67) นั้นยับยั้งจากการลงโทษในกุบูรฺ" (เชคอัลบานีย์ ระบุเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอบุลชัยค์ หะดิษเลขที่ 264)
อัล
สูเราะฮฺอัลมุลก์ 
อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลมุลกฺ ( سورة الملك , Al-Mulk)  สูเราะฮฺที่ 67 อายะฮฺ 1-30

تَبٰرَكَ الَّذى بِيَدِهِ المُلكُ وَهُوَ عَلىٰ كُلِّ شَيءٍ قَديرٌ
1. ความเจริญสุขจงมีแด่พระผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์  และพระองค์คือผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

 الَّذى خَلَقَ المَوتَ وَالحَيوٰةَ لِيَبلُوَكُم أَيُّكُم أَحسَنُ عَمَلًا ۚ وَهُوَ العَزيزُ الغَفورُ
2. พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความเป็น เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงให้อภัยเสมอ

 الَّذى خَلَقَ سَبعَ سَمٰوٰتٍ طِباقًا ۖ ما تَرىٰ فى خَلقِ الرَّحمٰنِ مِن تَفٰوُتٍ ۖ فَارجِعِ البَصَرَ هَل تَرىٰ مِن فُطورٍ
3. พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ เจ้าจะไม่เห็นแต่อย่างใดในความไม่ได้สัดส่วนในการสร้างของพระผู้ทรงกรุณาปรานี  ดังนั้นเจ้าจงหันกลับมามองดูซิ เจ้าเห็นรอยร้าวหรือช่องโหว่บ้างไหม ?

 وَلَقَد زَيَّنَّا السَّماءَ الدُّنيا بِمَصٰبيحَ وَجَعَلنٰها رُجومًا لِلشَّيٰطينِ ۖ وَأَعتَدنا لَهُم عَذابَ السَّعيرِ
4. แล้วจงหันกลับมามองอีกเป็นครั้งที่สอง สายตานั้นก็จะกลับมายังเจ้าด้วยการยอมจำนนและในสภาพที่ละเหี่ย

 وَلَقَد زَيَّنَّا السَّماءَ الدُّنيا بِمَصٰبيحَ وَجَعَلنٰها رُجومًا لِلشَّيٰطينِ ۖ وَأَعتَدنا لَهُم عَذابَ السَّعيرِ
5. และโดยแน่นอนเราได้ประดับท้องฟ้าของโลกนี้ด้วยดวงดาวเป็นแสงประทีป และเราได้ทำให้มันเป็นอาวุธไล่ชัยฏอน และเราได้เตรียมการลงโทษด้วยไฟอันร้อนแรงสำหรับพวกมัน

وَلِلَّذينَ كَفَروا بِرَبِّهِم عَذابُ جَهَنَّمَ ۖ وَبِئسَ المَصيرُ
6. และสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการลงโทษแห่งนรกญะฮันนัม และมันเป็นทางกลับที่ชั่วช้ายิ่ง

  إِذا أُلقوا فيها سَمِعوا لَها شَهيقًا وَهِىَ تَفورُ
7. เมื่อพวกเขาถูกโยนลงไปในนรกพวกเขาจะได้ยินเสียงของมันครวญครางขณะที่มันกำลังกเดือนพล่าน

 تَكادُ تَمَيَّزُ مِنَ الغَيظِ ۖ كُلَّما أُلقِىَ فيها فَوجٌ سَأَلَهُم خَزَنَتُها أَلَم يَأتِكُم نَذيرٌ
8. มันแทบจะระเบิดออกไปเพราะความเคียดแค้น  ทุกครั้งที่พวกหนึ่งถูกโยนลงไปในมัน ยามเฝ้านรกจะถามพวกเขาว่า มิได้มีผู้ตักเตือนมายังพวกเจ้าดอกหรือ

قالوا بَلىٰ قَد جاءَنا نَذيرٌ فَكَذَّبنا وَقُلنا ما نَزَّلَ اللَّهُ مِن شَيءٍ إِن أَنتُم إِلّا فى ضَلٰلٍ كَبيرٍ
9. พวกเขากล่าวว่า มี ได้มีผู้ตักเตือนมายังเรา แต่พวกเราได้ปฏิเสธ และเรากล่าวอีกว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงประทานสิ่งใดลงมาพวกท่านต่างหากที่อยู่ในการหลงผิดอย่างมาก

 وَقالوا لَو كُنّا نَسمَعُ أَو نَعقِلُ ما كُنّا فى أَصحٰبِ السَّعيرِ
10. และพวกเขากล่าวอีกว่า หากพวกเราฟังและใช้สติปัญญาใคร่ครวญ พวกเราก็จะมิได้มาอยู่เป็นชาวนรกอย่างนี้ดอก

 فَاعتَرَفوا بِذَنبِهِم فَسُحقًا لِأَصحٰبِ السَّعيرِ
11. พวกเขายอมสารภาพในความผิดของพวกเขา แต่มันห่างไกลไปเสียแล้วสำหรับชาวนรก

 إِنَّ الَّذينَ يَخشَونَ رَبَّهُم بِالغَيبِ لَهُم مَغفِرَةٌ وَأَجرٌ كَبيرٌ
12. แท้จริงบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระเจ้าของพวกเขาโดยทางลับ  สำหรับพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง

 وَأَسِرّوا قَولَكُم أَوِ اجهَروا بِهِ ۖ إِنَّهُ عَليمٌ بِذاتِ الصُّدورِ
13. และพวกเจ้าจงปิดบังคำพูดของพวกเจ้าหรือเปิดเผยมันก็ตาม แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในทรวงอก

  أَلا يَعلَمُ مَن خَلَقَ وَهُوَ اللَّطيفُ الخَبيرُ
14. พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง

هُوَ الَّذى جَعَلَ لَكُمُ الأَرضَ ذَلولًا فَامشوا فى مَناكِبِها وَكُلوا مِن رِزقِهِ ۖ وَإِلَيهِ النُّشورُ
15. พระองค์คือผู้ทรงทำแผ่นดินนี้ให้ราบเรียบสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นจงสัญจรไปตามขอบเขตของมันและจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระองค์ และยังพระองค์เท่านั้นการฟื้นคืนชีพ

  ءَأَمِنتُم مَن فِى السَّماءِ أَن يَخسِفَ بِكُمُ الأَرضَ فَإِذا هِىَ تَمورُ
16. พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ จากการที่พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้าจะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าแล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว

أَم أَمِنتُم مَن فِى السَّماءِ أَن يُرسِلَ عَلَيكُم حاصِبًا ۖ فَسَتَعلَمونَ كَيفَ نَذيرِ
17. หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากการที่พระผู้ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้า จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าจะได้รู้ว่าการตักเตือนของข้าเป็นเช่นใด ?

وَلَقَد كَذَّبَ الَّذينَ مِن قَبلِهِم فَكَيفَ كانَ نَكيرِ
18. และโดยแน่นอน บรรดา (หมู่ชน) ก่อนหน้าพวกเขาได้ปฏิเสธมาก่อนแล้ว ดังนั้นการปฏิเสธคำเตือนของข้ามีผลเป็นอย่างไร?

 أَوَلَم يَرَوا إِلَى الطَّيرِ فَوقَهُم صٰفّٰتٍ وَيَقبِضنَ ۚ ما يُمسِكُهُنَّ إِلَّا الرَّحمٰنُ ۚ إِنَّهُ بِكُلِّ شَيءٍ بَصيرٌ
19. พวกเขามิได้มองไปดูนกที่ (บิน) อยู่เบื้องบนพวกเขาดอกหรือ? มันกาวปีกและหุบปีก (ของมัน) ไม่มีผู้ใดจะไปดึงมันไว้ได้นอกจากพระผู้ทรงกรุณาปรานี แท้จริงพระองค์ทรงมองเห็นทุกสิ่งอย่าง

 أَمَّن هٰذَا الَّذى هُوَ جُندٌ لَكُم يَنصُرُكُم مِن دونِ الرَّحمٰنِ ۚ إِنِ الكٰفِرونَ إِلّا فى غُرورٍ
20. หรือผู้ใดเล่า ซึ่งเขาเป็นพลพรรคของพวกเจ้าที่จะช่วยเหลือพวกเจ้าอื่นจากพระผู้ทรงกรุณาปรานี? พวกปฏิเสธศรัทธานั้นมิใช่อื่นใดเลยนอกจากในการหลอกลวงเท่านั้น

 أَمَّن هٰذَا الَّذى يَرزُقُكُم إِن أَمسَكَ رِزقَهُ ۚ بَل لَجّوا فى عُتُوٍّ وَنُفورٍ
21. หรือผู้ใดเล่าซึ่งเขาจะให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า หากพระองค์ทรงระงับปัจจัยยังชีพของพระองค์ไว้ แต่ว่าพวกเจ้าดื้อรั้นอยู่ในความหยิ่งยะโส และห่าไกลจากความจริง

أَفَمَن يَمشى مُكِبًّا عَلىٰ وَجهِهِ أَهدىٰ أَمَّن يَمشى سَوِيًّا عَلىٰ صِرٰطٍ مُستَقيمٍ
22. ผู้ที่เดินคว่ำคมำบนใบหน้าของเขาจะเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกว่า หรือว่าผู้ที่เดินตัวตรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง

 قُل هُوَ الَّذى أَنشَأَكُم وَجَعَلَ لَكُمُ السَّمعَ وَالأَبصٰرَ وَالأَفـِٔدَةَ ۖ قَليلًا ما تَشكُرونَ
23. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจะขอบคุณ

 قُل هُوَ الَّذى ذَرَأَكُم فِى الأَرضِ وَإِلَيهِ تُحشَرونَ
24. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์เป็นผู้ทรงแพร่เผ่าพันธ์ของพวกเจ้าในแผ่นดินและพวกเจ้าจะถูกรวบรวมให้กลับไปหาพระองค์

وَيَقولونَ مَتىٰ هٰذَا الوَعدُ إِن كُنتُم صٰدِقينَ
25. และพวกเขากล่าวว่า เมื่อใดเล่าสัญญานี้จะเกิดขึ้น หากพวกท่านเป็นผู้สัตย์จริง

 قُل إِنَّمَا العِلمُ عِندَ اللَّهِ وَإِنَّما أَنا۠ نَذيرٌ مُبينٌ
26. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ความรู้ในเรื่องนั้นอยู่ที่อัลลอฮฺ ความจริงฉันเป็นเพียงผู้ตักเตือนอันแจ่มแจ้งเท่านั้น

 فَلَمّا رَأَوهُ زُلفَةً سيـَٔت وُجوهُ الَّذينَ كَفَروا وَقيلَ هٰذَا الَّذى كُنتُم بِهِ تَدَّعونَ
27. ต่อเมื่อพวกเขาเห็นมัน (การลงโทษ) ใกล้เข้ามาแล้ว ใบหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาก็จะหม่นหมอง และจะมีเสียงกล่าวว่า นี่คือสิ่งที่่พวกเจ้าร้องขอ (ในโลกดุนยา)

 قُل أَرَءَيتُم إِن أَهلَكَنِىَ اللَّهُ وَمَن مَعِىَ أَو رَحِمَنا فَمَن يُجيرُ الكٰفِرينَ مِن عَذابٍ أَليمٍ
28. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจะบอกฉันซิว่า หากอัลลอฮฺจะทรงทำลายฉันและผู้ที่อยู่ร่วมกับฉันหรือจะทรงเมตตาแก่พวกเรา ดังนั้นผู้ใดเล่าจะช่วยพวกปฏิเสธศรัทธาให้พ้นจากการลงโทษอันเจ็บปวด

قُل هُوَ الرَّحمٰنُ ءامَنّا بِهِ وَعَلَيهِ تَوَكَّلنا ۖ فَسَتَعلَمونَ مَن هُوَ فى ضَلٰلٍ مُبينٍ
29. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือพระผู้ทรงกรุณาปราณี เราศรัทธาต่อพระองค์แล้วเราขอมอบหมายแด่พระองค์แล้วจะได้รู้ว่าใครผู้ใดอยู่ในการหลงผิดอันชัดแจ้ง

 قُل أَرَءَيتُم إِن أَصبَحَ ماؤُكُم غَورًا فَمَن يَأتيكُم بِماءٍ مَعينٍ
30. จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจงบอกฉันซิว่า หากแหล่งน้ำของพวกท่านเหือดแห้งลง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำน้ำที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน

. والله أعلم

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วาญิบจะต้องเจตนา(มีเนียต)ถือศิลอดตั้งแต่กลางคืน

เจตนา
วาญิบเนียตถือศิดอดตั้งแต่กลางคืนก่อนเวลาละหมาดศุบฮฺ

การตั้งเจตนาเนียตถือศิลอดฟัรฎู

เงื่อนไข(หุก่ม) ที่เป็นวาญิบในการถือศิลอด(บวช ,ปวช (รากศัพท์บาลี-สันสกฤต),ปอซอ ,ปัวซอ(มาเลย์) อัศเซาม์ ,อัศ-ศิยาม(อหฺรับ)) สำหรับมุสลิมทุกคนผู้ที่ถือศิลอดนั้นคือ การตั้งเจตนารมณ์ หรือมีการเนียตตั้งแต่กลางคืน ก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ (สำหรับถือศิลอดฟัรดู)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ไม่มีเจตนารมณ์ถือศิลอด(ฟัรฎู)ก่อนละหมาดศุบฮฺ การถือศิลอดของเขา(วันนั้น) ใช้ไม่ได้(เป็นโมฆะ)" (หะดิษเศะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2456) 
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ไม่ตั้งเจตนารมณ์ถือศิลอด(ฟัรฎูู) ตั้งแต่กลางคืน เช่นนี้การถือของเขาใช้ไม่ได้(เป็นโมฆะ)" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนาสาอีย์ หะดิาเลขที่ 2346)

ดังนั้นทุกๆการถือสิลอดฟัรฎู ไม่ว่าจะเป็นการถือศิดอดในเดือนรอมาฎอน(شهر رمضان المبارك) หรือการถือศิลอดฟัรฎูอื่นๆ เช่น การถือสิลอดเนื่องจากบนบาน เช่นนี้วาญิบสำหรับผู้ถือศิลอดจะต้องตั้งเจตนาเนียต การถือศิดอดฟัรฎูนั้นในช่วงกลางคืนก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ หากไม่มีการตั้งเจตนาเนียตในช่วงกลางคืน ถือว่าการถือศิลอดฟัรฎูของเป็นโมฆะ วาญิบที่เขาจะชดใช้ในวันอื่น


อนึ่งการตั้งเจตนาเนียตในการถือศิลอด นั้นเกิดขึ้นภายในจิตใจไม่ใช่การกล่าวออกมา  คือ การตั้งใจ การจงใจ หรือการมุ่งหมาย ซึ่งสภาพเช่นนั้น มีความรู้สึกนึกคิด สภาพสติปัญญาปกติ ไม่ได้เกิดจาการเพ้อฝัน หรือละเมอ หรือจิตไม่สมประกอบในขณะนั้นแต่อย่างใด


อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
         
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هُجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيْبُهَا أَوِامْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إِلََى مَاهَاجَرَإِلَيْهِ". (البخاري ومسلم) .
 
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ดังนั้น ใครที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพรพะองค์ การอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่อโลกนี้ ที่เขาจะได้มัน หรือสตรีเพศที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามนั้น”.
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)

### ส่วนบุคคลใดกล่าวที่กล่าวคำเหนียต(ตะลัฟฟุซ)ออกมาเป็นคำพูด ถือว่าการกล่าวคำเหนียตเช่นนี้ ไม่มีหลักฐานทางศาสนามารองรับ ไม่พบตัวบทหลักฐานในเรื่องนี้ จากคำสอน หรือการกระทำของท่านรอสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยไม่มีคำรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮ์ หรือฎออิฟ ก็ตาม ตลอดจนเหล่าศอฮาบะฮ์ของท่านนบีก็ไม่มีใครรู้และปฏิบัติในเรื่องนี้  รวมถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ด้วย โดยเฉพาะท่านอิหม่ามชาฟีอี ที่คนบ้านเราประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะถือตาม ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยสั่งสอนบรรดาสิษย์ของท่านให้กล่าวคำเหนียต  วาญิบต้องละทิ้งเด้ดขาด

การเจตนาเนียตถือศิลอดสุนนะฮฺ 

สำหรับการถือศิลอดสุนนะฮฺต่างๆนั้น ไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องตั้งเจตนาเนียตในช่วงกลางคืน ก่อนเวลาละหมาดศุบฮฺ แต่อย่างใด

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะศัลลัม เข้ามาหาแันในวันหนึ่ง พลางกลาวว่า โอ้อาอิชะฮฺ เช้านี้มีอะไรทานบ้าง? นางเล่าว่า นางตอบว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ เช้านี้ไม่มีอะไรทานเลย ท่านรสูล ตอบว่า วันนี้ฉันถือศิลอด" (หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2770)
จากหะดิษ บ่งชี้ว่า การถือศิลอดสุนนะฮฺทั่วไป โดยไม่มีเจตนาถือศิลอดในตอนกลางคืน แต่กลับมีเจตนาจะถือสิลอดหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺแล้ว ถือว่าใช้ได้ แต่ผู้นั้นต้องไม่รับประทานอะไรเลยก่อนการตั้งเจตนาถือสิลอดสุนนะฮฺ 
***สำหรับที่รสูลกล่าวว่า "วันนี้ฉันถือศิลอด"   เป็นเพียงข้อความการแจ้งให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ทราบ เพื่อจะได้ไม่ต้องการจัดหาอาหารให้ท่านรสูล ไม่ใช่เป็นการกล่าวคำเหนียตแต่อย่างใด...

والله أعلم


อาหารสะฮูร


อาหาร
อาหารสะฮุรเพื่อถือศิลอด


การรับประทานอาหารสะฮูรคือข้อแตกต่างในการถือศิลอดของมุสลิมกับพวกอะฮฺลุลกิตาบ(ยิว,คริสต์)

รายงานจากอัมรฺ อิบนุลอ๊าศ แจ้งว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
(فصل مابين صيامنا وصيام أهل الكتاب أكلة السحر) رواه مسلم
“ข้อแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับการถือศีลอดของพวกอะฮฺลุลกิตาบ คือการกินสะฮูร” (บันทึกโดย : มุสลิม)

เมื่อการถือศีลอดได้ถูกบัญญัติให้แก่พวกอะฮฺลุลกิตาบในสมัยก่อนอิสลามนั้น ในเวลาถือศีลอด ถ้าพวกเขานอนหลับเสียก่อนการแก้ศีลอด   ในคืนนั้นทั้งคืนพวกเขาจะไม่มีโอกาสได้กินได้ดื่มและร่วมหลับนอนกับภรรยาของพวกเขาจนกระทั่งในวันรุ่งขึ้น 

เมื่อการถือศีลอดได้ถูกบัญญัติให้แก่บรรดามุสลิมด้วยในระยะแรกของการถือศีลอด และต่อมาบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิก ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้ใช้ให้มีการกินสะฮูร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับการถือศีลอดของพวกอะฮฺลุลกิตาบ

อาหารสะฮูรเป็นอาหารที่มีความจำเริญ(บะร่อกะฮฺ)


รายงานจากอะบีสะอี๊ีดอัลคุดรีย์ แจ้งว่าท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( السَّحُوْرُ أَكْلُهُ بَرَكَةٍ ، فَلاَ تَدَعُوْهُ وَلَوْ أَنْ يَجْرَعَ أَحَدُكُمْ جَرْعَةً مِنْ مَاءٍ ،
 فَإِنَّ اللهَ وَالْمَلاَئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى الْمُتَسَحِّرِيْنَ )
 أخرجه أحمد بإسناد قوي أنظر الترغيب
ความว่า “สะฮูรเป็นอาหารที่มีความจำเริญ (บะร่อกะฮฺ) ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ละเว้นมัน แม้ว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะดื่มน้ำสักอึกหนึ่ง เพราะอัลลอฮฺจะประทานความเมตตา และมะลาอิกะฮฺของพระองค์จะขอพรให้แก่บรรดาผู้กินสะฮูร”  (บันทึกโดย : อะหมัด ด้วยสายสืบที่แข็งแรง)



ـ عن أبي عثمان النهدي عن سلمان الفارسي ـ رضي الله عنه ـ قال : قال رسول الله ـ صلى الله عليه وسلم ـ : " البركة في ثلاثة : في الجماعة والثريد والسحور "
มีรายงานจากซัลมาน อัลฟาริซีย์ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ความจำเริญ (บะร่อกะฮฺ) นั้นมีอยู่ใน 3 ประการคือ การรวมกันเป็นหมู่คณะ (อัลญะมาอะฮฺ) น้ำซุปผสมกับขนมปัง (อัซซะรีด) และการกินสะฮูร”  (บันทึกโดย : อัฏฏ็อบรอนีย์)



รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิลฮาริซ จากชายคนหนึ่งที่เป็นสาวกของท่านนะบี      กล่าวว่าฉันได้เข้าไปหาท่านนะบี ในขณะที่ท่านกำลังกินสะฮูรอยู่ ท่านได้กล่าวว่า
إن السحور بركة أعطاكموها الله عزّ وجل فلا تدعوها
“แท้จริงสะฮูรนั้นเป็นความจำเริญ (บะร่อกะฮฺ) อัลลอฮฺได้ประทานให้แก่พวกท่านโดยเฉพาะ ดังนั้นพวกท่านอย่าละเว้นการกินสะฮูร”    (บันทึกโดย : อะหมัดและอันนะซาอียฺ)


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( هَلُمَّ إِلَى الغَدَاءِ الْمُبَارَك ) يعني السحور.  حديث صحيح رواه أحمد وابن حبان
ความว่า “จงมาร่วมกินอาหารเช้าที่มีความจำเริญ หมายถึงกินสะฮูร”  (หะดีษศ่อฮี้ฮฺ บันทึกโดย : อะหมัด และอิบนฺฮิบบาน)
บวช
จำเป็นต้องกินสะฮูร


จำเป็นต้องรับประทานอาหารสะฮูร

รายงานของอะบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
تسحروا ولو بجرعة من ماء
“พวกท่านจงกินสะฮูรเถิด ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำสักอึกหนึ่ง”   (บันทึกโดย : อะบูดาวู๊ด อิบนิฮิบบาน และอัลบัยฮะกีย์ )

ท่านร่อซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

( مَنْ أَرَادَ أَنْ يَصُوْمَ فَلْيَتَسَحِّرْ بِشَيْءٍ )
حديث حسن رواه ابن أبي شيبة وأحمد
ความว่า “ผู้ใดประสงค์จะถือศีลอดก็จงกินสะฮูรด้วยสิ่งหนึ่ง”  (หะดีษหะซัน บันทึกโดย : อิบนฺอะบีชัยบะฮฺ และอะหมัด)

จากรายงานของอะบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
نعم سحور المؤمن التمر
“อาหารสะฮูรที่เป็นที่โปรดปรานของมุอฺมินคืออินทผลัม”   (บันทึกโดย : อะบูดาวู๊ด อิบนิฮิบบาน และอัลบัยฮะกีย์)

การรับประทานอาหารสะฮูรให้ล่าช้าออกไป



 أن نبي الله صلى الله عليه وسلم  وزيد بن ثابت  رضي الله عنه تسحرا فلما فرغا من سحورهما قام نبي الله صلى الله عليه وسلم إلى الصلاة فصلى فقلنا لأنس  كم كان بين فراغهما من سحورهما ودخولهما في الصلاة قال كقدر ما يقرأ الرجل خمسين آية
มีรายงานจากอะนัส จากเซดอิบนฺซาบิต กล่าวว่า ”เราได้กินสะฮูรพร้อมกับท่านนะบี แล้วท่านได้ลุกขึ้นไปละหมาด ฉันได้ถามท่านว่าระยะเวลาระหว่างการอะซานและการกินสะฮูรยาวนานเท่าใด ? ท่านตอบว่าประมาณ 50 อายะฮฺ”   (บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 والسلام






วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การค่อยๆอ่านอัลกุรอาน และการอ่านด้วยเสียงที่ไพเราะ

อัลกุร-อ่าน
อ่านอัลกุรอาน ด้วยเสียงไพเราะ

"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เหมือนกับที่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวาตะอาลา ได้ทรงใช้ท่าน ค่อยๆอ่านอัลกุรอาน ไม่ช้า และไม่เร็ว แต่เป็นการอ่าน ที่มีการขยายความ ที่ละอักษร อักษร"(บันทึกโดยอิบุน อัลมุบาร็อก อบูดาวู้ด...)
จนกระทั้ง "ท่านค่อยๆอ่านซูเราะฮฺเพื่อมันจะได้เป็นซูเราะฮฺที่ยาวกว่ามัน" (บันทึกโดยมุสลิม และมาลิก)
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
"มีผู้กล่าวแก่ผู้อ่านอัลกุรอานว่า ท่านจงอ่าน และจงลุกขึ้น และค่อยๆอ่าน เหมือนกับที่ท่านได้ค่อยๆอ่านในโลกดุนยา เพราะว่าแท้จริง  บ้านของท่านนั้นอยู่ตรงท้ายของอายะฮฺที่ท่านได้อ่านไป" (บันทึกโดยอบูดาวู้ด และติรฺมีซีย์) 
ท่านรสูลุลลอฮิ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"แท้จริง ในบรรดาผู้อ่านอัลกุรอานได้ไพเราะที่สุดนั้น คือ ผู้ที่เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินเขาอ่าน ท่านทั้งหลายก็คิดว่าเขาเกรงกลัวอัลลอฮฺ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนุ อัลมุบาร็อก อิบนุ นัศรฺ...)
ท่านรสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ไม่ใช่พวกของเรา ผู้ที่มิได้ขับร้องด้วยอัลกุรอาน" (บันทึกโดยอบูดาวู้ด ฮากิม...) 


วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พวกท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว

จันทร์เสี้ยว ฮิลาล
           
                ปรากฏการณ์ทัศนะต่างของมุสลิมบ้านเราของการเห็นจันทร์เสี้ยวมีผลต่อการกำหนดวันเข้าบวชออกบวช โดยเฉพาะทัศนะที่ว่าการเห็นเดือนนั้น จะใช้เฉพาะประเทศที่เห็นเท่านั้น (ยึดถือมัฏละอฺ) ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของประเทศอื่น อย่างผู้ที่อยู่ชายแดนไทยติดชายแดนประเทสมาเลเซีย หากประเทศมาเลเซียเห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำวันที่ 29 ของเดือนชะอฺบาน หรือค่ำวันที่ 29 ของเดือนรอมาฎอน  แต่ประเทศไทยมองไม่เห็นเดือน ก็ต้องรอให้ครบ 30 วัน ซึ่งปรากฏให้เห็นกันก็คือ แต่ละประเทศต่างเข้าบวช-ออกบวชตามที่ประเทศของตนเห็นดวงจันทร์ อาจพร้อมกันหรือไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยวของแต่ละประเทศดังกล่าว ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่ประเทศมาเลเซียได้เข้าบวช-ออกบวชก่อนประเทศไทย อันเนื่องจาก ในประเทศไทยมองจันทร์เสี้ยวไม่เห็นต้องรอให้ครบ 30 วัน นั้นเอง
ทัศนะของนักวิชาการว่าด้วยเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยว(هلال ฮิลาล)

หลักฐานการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวเมืองอื่น นักปราชญ์ส่วนมากที่ดำเนินตามแบบอย่างของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม หรือที่เรียก "อะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัญยะมะฮฺ" จึงเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดในโลกมุสลิมเห็นเดือน ก็เป็นการเพียงพอแล้ว และใช้ได้สำหรับประเทศอื่นๆด้วย
ในจำนวนที่เห็นตามทัสนะเช่นนี้ คือ
1)ผู้ดำเนินรอยตามมัซอับอิมามอบูหะนีฟะฮ์
2)ผู้ดำเนินรอยตามมัซอับอิมามมาลิก
3)ผู้ดำเนินรอยตามมัซฮับอิมามอะฮฺมัด อิบนิ ฮัมบัล

สำหรับผู้ดำเนินรอยตามมัซฮับอิมามชาฟิอีย์ มีความเห็นในเรื่องนี้เป็น 3 ทัศนะด้วยกัน คือ

ทัศนะที่ 1 การเห็นเดือนนั้น จะใช้เเฉพาะประเทศที่เห็นเท่านั้น (เรียกว่ายึดถือมัฏละอฺ) หรือการขึ้นของเดือนในแต่ละประเทศแตกต่างกัน

ทัศนะที่ 2 การเห็นเดือนนั้นถือว่าเป็นการใช้ได้แก่ประเทศที่มองเห็นและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แม้จะห่างไกลกันก็ตาม

ทัศนะที่ 3 การเห็นเดือนนั้นจะใช้ได้กับประเทศที่เห็นและประเทศที่ใกล้เคียง หรือประเทศที่อยู่ใน"มัฏละอฺ"เดียวกัน

สรุป ทัศนะของมัซฮับอิมามชาฟีอีย์ดังกล่าว คือ ท่านอิมามนะวะวีย์(มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ฮ.ศ.631-676)  ซึ่งเป็นนักปราชญ์อาวุโสแห่งมัซฮับชาฟิอีย์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นมัซอับเดียว แต่ก็มีหลายทัศนะ ซึ่งในจำนวน 3 ทัศนะดังกล่าว ก็มีทัศนะหนึ่งที่เห็นด้วยกับมติของนักปราชญ์ในมัซฮับอื่นๆ ทั่วโลก ก็จำเป็นจะต้องจะต้องปฏิบัติตามประเทศที่ได้เห็นแล้ว อันที่จริงทัศนะที่ทำให้นักปราชญ์ส่วนที่ดำเนิตามมัซฮับชาฟิอีย์ เห็นว่าต้องถือมัฏละอฺ เกิดจากความเข้าใจจากรายงานที่จะกล่าวต่อไป (หมายถึงหะดิษของกุร็อยบฺที่เดินทางไปเมืองชาม และนำข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวมาแจ้งให้ท่านอิบนุ อับบาสได้ทราบ)
การเห็นจันทร์เสี้ยว

หลักฐานการเห็นจันทร์เสี้ยวเข้า-ออกบวช

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตาอาลา ทรงตรัสว่า

شَهرُ رَمَضانَ الَّذى أُنزِلَ فيهِ القُرءانُ هُدًى لِلنّاسِ وَبَيِّنٰتٍ مِنَ الهُدىٰ وَالفُرقانِ ۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهرَ فَليَصُمهُ ۖ وَمَن كانَ مَريضًا أَو عَلىٰ سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِن أَيّامٍ أُخَرَ ۗ يُريدُ اللَّهُ بِكُمُ اليُسرَ وَلا يُريدُ بِكُمُ العُسرَ وَلِتُكمِلُوا العِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلىٰ ما هَدىٰكُم وَلَعَلَّكُم تَشكُرونَ
" เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว(เห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำคืนแรก) ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ" (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:185)

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.78) เล่าว่า อะอฺรอบีย์ท่านหนึ่ง(อะอฺรอบีย์คือผู้ที่อาศัยอยู่ตามทะเลทราย) มาหาท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุวะอาลัยฮิวะซัลลัม พลางกล่าวว่า "แท้จริงฉันเห็นจันทร์เสี้ยว (ท่านหะสันรายงานว่า เป็นจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมาฎอน) ดังงั้นท่านรสูลจึงกล่าวถามว่า ท่านปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภักดีนอกจากพระองค์อัลลอฮฺเพียงองค์เดียวได้หรือไม่? เขาตอบว่า ได้ ท่านรสูลจึงตอบว่า ท่านจะปฏิญาณตนว่าท่านนบีมูฮัมหฺมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺได้หรือไม่ เขาตอบว่า ได้ ท่านรสูลจึงกล่าวขึ้นว่า โอ้บิลาล ท่านจงป่าวประกาศยังผู้คนทั้งหลายว่า พวกท่านจงถือศิลอดในวันพรุ่งนี้เถิด" (บันทึกหะดิษโดย อบู ดาวูด หะดิษเลขที่ 2340 , ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 691 , นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 2112...)

จาหหะดิษ
-ท่านรสูลรับเดือนของอฺรับที่อาศัยอยู่ตามทะเลทรายท่านหนึ่ง ซึ่งเข้าใจได้ทันทีว่าเขามิใช่ชาวเมืองมะดีนะฮฺ หรือมิได้พำนักอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺ เห็นได้ว่าการรับข่าวการเห็นเดือนของท่านรสูลมิได้เจาะจงว่าต้องรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวเฉพาะชาวเมืองมะดีนะฮฺเท่านั้น หากเป็นชาวเมืองอื่นจะไม่รับเด็ดขาด อักทั้งแสดงให้เห็นว่าบุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าเขาจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด หรือมีเชื่อชาติใด หากเขาปฏิญาณตนว่าเขาเห็นจันทร์เสี้ยว เช่นนี้ถือว่าจะต้องรับการเห็นจันทร์เสี้ยวของบุคคลนั้น

-ท่านรสูลมิได้พิจารณาว่าอฺรับที่อาศัยอยู่ที่ทะเลทรายท่านนั้น จะเห็นจันทร์เสี้ยวที่ดินแดนไหนหรือเมืองใด แต่สิ่งที่ท่านรสูลต้องการคือให้เขากล่าวคำปฏิญาณเพื่อพิสูจน์ว่าเขาพูดความจริงเกี่ยวกับการเห็นจันทร์เสี้ยว

-การเป็นพยานเพื่อแจ้งการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนเข้าเดือนเราะมะฎอน อนุญาตให้แจ้งข่าวเพียงคนเดียวได้ ส่วนการแจ้งข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนจะออกเดือนเราะมาฎอน ต้องมีพยานตั้งแต่สองคนขึ้นไป


การดูจันทร์เสี้ยวเข้าออกบวช

หลักฐานการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนเข้ารอมาฎอนเห็นเพียงสองคน
รายงานจากท่านอับดุรฺเราะหฺมาน(เป็นศอหะบะฮฺ พำนักที่เมืองมะดีนะฮฺ) เล่าว่า เศาะหะบะฮฺของท่านรสูลเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า "พวกท่านจงถือศิลอดด้วยการเห็นดวงจันทร์เสี้ยว และจงเลิกถือศิลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว และพวกท่านจงประกอบอิบาดะฮฺ(หรือประกอบพิธีหัจญ์) เนื่องจากเห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้น หากมีเมฆหมอกมาบดบังเหนือพวกท่าน พวกท่านจงนับให้ครบ 30 วัน และหากมีผู้ทรงคุณธรรม 2 คน มาเป็นพยาน (ว่าเห็นจันทร์เสี้ยว) พวกท่านจงถือสิลอด และพวกท่านจงเลิกถือศิลอด" (บันทึกหะดิษโดย นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 2116 และอัดดารุกฏนีย์ หะดิษเลขที่ 3)
ดูเดือน


หลักฐานการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้้ยวจากเมืองอื่น (หรือประเทศอื่น)

จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของมาลิก(เป็นตาบิอีน พำนักที่เมืองอัลบัศเราะฮฺ) เล่าว่า "เหล่าญาติพี่น้องฝ่ายพ่อของฉันซึ่งเป็นเศาะหะบะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺ พวกเขาเล่าให้ฉันฟังว่า "จันทร์เสี้ยวเดือนเชาวาลถุกบดบังยังพวกเรา (หมายถึงค่ำ 29 เดือนรอมาฎอน ไม่เห็นจันทร์เสี้ยว เพราะมีเมฆหมอกมาบดบัง จึงนับเดือนรอมาฎอนเป็น 30 วัน) ดังนั้น ในตอนเช้าพวกเราจึงถือศิลอด ต่อมามีกองคาราวานที่เดินทางโดยพาหนะเข้ามา (ยังเมืองของเรา) ในช่วงเวลาเย็น จากนั้นพวกเขามายืนยันต่อท่านรสูลุลลอฮฺว่า พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวเมื่อคืน (คืนค่ำวันที่ 29) เมื่อทราบเช่นนั้นท่านรสูลจึงใช้ให้พวกเขา(เหล่าบรรดาเศาะหะบะฮฺ)ละศิลอดและใช้ให้พวกเขาออกไปละหมาดอีดในวันพรุ่งนี้" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ มาญะฮฺ หะดิาเลขที่ 1653 , อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 20061...)

จากหะดิษ
-ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับการเห็นจันทร์เสี้ยวของเมืองอื่น จากกองคาราวานที่เดินทางโดยขี่อูฐหรือม้าเป็นพาหนะ นำข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวมาบอก ซึ่งพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนที่ 29 เดือนรอมาฎอน นอกนครมะดีนะฮฺ ขณะที่ในเมืองมะดีนะฮฺไม่เห็นจันทร์เสี้ยว

-การกล่าวว่ากองคาราวานเห็นจันทร์เสี้ยวนอกเมืองมะดีนะฮฺ เนื่องจากพวกเขาเดินทางโดยพาหนะ ซึ่งประมาณระยะทางที่พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวคือช่วงเวลามัฆริบ และมุ่งหน้ามาถึงเมืองมะดีนะฮฺในช่วงเย็นใกล้ค่ำ ฉะนั้นจึงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เช่นนั้นย่อมชี้ให้เห็นว่าพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวนอกเมืองมะดีนะฮฺ ก้เพราะที่เมืองมะดีนะฮิไม่มีการเห็นจันทร์เสี้ยว ฉะนั้นการที่ท่านรสูลยอมรับการเห็นจันทร์เสี้ยวของกลุ่มชนกองคาราวานย่อมชี้ชัดถึงการปฏิเสธในเรื่องการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวโดยพิจารณาถึง"มัฏละอฺ" เพราะท่านรสูลมิได้ถามพวกเขาถึงสถานที่เห็นหรือแว่นแคว้นที่เห็นว่าใกล้กับเมืองมะดีนะฮฺมากน้อยเพียงใด

-ท่านรสูลยอมรับการเห็นของพวกเขาโดยดุษฎี โดยมิได้ถามว่า พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวที่ไหน? หรืสถานที่เห้นนั้นห่างจากเมืองมะดีนะฮฺกีกิโลเมตร ? หรือสถานที่ที่เห็นอยู่ห่างจากมาดีนะฮฺเป็นระยะทางที่ศาสนาอนุญาตให้ย่อและรวมละหมาดได้หรือไม? การที่ท่านรสูลไม่ถามเช่นนั้นก็เพราะยึดตามหลักเดิมคือ "พวกท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว" หะดิษข้างต้นกล่าวครอบคลุมสำหรับมุสลิมทั้งมวล ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม หากมีการการเห็นจันทร์เสี้ยวถือว่าส่งผลยังบรรดามุสลิมทั้งมวลด้วยเช่นกัน

ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า
عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا
“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง” บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า "เมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวพวกท่านจงถือศิลอด และเมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้น พวกท่านจงเลิกถือศิลอด และพวกท่านจงถือศิลอดจากความชัดเจนหนึ่งไปสู่อีกความชัดเจนหนึ่ง (คือ ชัดเจนในการเห็นจันทร์เสี้ยว)"

-ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า "หะดิษข้างต้นถือว่าการให้แก่มุสลิมทั้งมวล (ญะมาอะฮฺ) แต่ทว่า บุคคลหนึ่งหากอยู่ในสถานที่หนึ่งเพียงลำพังเช่นนั้นแล้ว เมื่อเขาเห็นจันทร์เสี้ยวก็ให้เขาถือศิลอดเพียงลำพัง เพราะที่นั้นไม่มีใครนอกจากเขาคนเดียว" (หนังสือ มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา อิบนุ ตัยมียะฮฺ เล่มที่ 25 หน้า 117)

ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ ได้อธิบายหะดิษข้างต้นว่า การเห็นจันทร์เสี้ยวมิได้เจาะจง แต่เป็นการกล่าวครอบคลุมสำหรับมุสลิมทุกคน ดังนั้นหากมุสลิมคนใดเห็นจันทร์เสี้ยวก็นำข่าวการเห็นนั้นมาแจ้ง จากนั้นมุสลิมคนอื่นก็ปฏิบัติตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของเขา ยกเว้นกรณีเดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องแจ้งข่าวารเห็นจันทร์เสี้ยว คือกรณีที่บุคคลหนึ่งอาศัยอยู่ดินแดนนั้นเพียงลำพัง


ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ
พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า "วันอีดฟิฏริ คือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดฟิฏริ และวันอีดอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดอัฎฮา" (บันทึกโโยติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 802...)
หะดิษข้างต้นบ่งบอกถึงการออกอีดพร้อมกันทั้งหมด เนื่องจากเมื่อบุคคลใดก้ตามเห็นจันทร์เสี้ยว ไม่ว่าอยู่ไกลหรอใกล้ก็ตาม ถือว่าการเห็นของเขามีผลบังคับต่อประชาชาติมุสลิมทั้งมวล เมื่อได้รับข่าวการเห็นจันทร์ของพวกเขา

ก็เหมือนเช่นหะดิษอื่นๆ ที่ท่านนบีกล่าวว่าพวกท่านทั้งหลาย ซึ่งหมายรวมถึงมุสลิมทุกคน เช่น ที่ท่านนบีกล่าวว่า "พวกท่านจงละหมาดเสมือนที่พวกท่านทั้งหลายเห็นฉันละหมาด"
หรือ "พวกท่านทั้งหลายจงขลิบหนวด และพวกเจ้าทั้งหลายจงไว้เครา"(บันทึกโดยติรฺมีซียื หะดิษเลขที่ 2913) เป็นต้น ซึ่งหมายความรวมมุสลิมที่อยู่ในเมืองอื่นด้วยไม่ใช่เฉพาะบรรดามุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺเท่านั้น
เมื่อรอมาฎอนมาเยือน

หะดิษของกุร็อย

عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الفَضْلِ بِنْتَ الحَارِثِ بَعَثَتْهُ اِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَامِ قَالَ فَقَدِمْتُ الشَامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَليَّ رَمَضَانُ وَأنَا بِالشَامِ فَرَأيْتُ الهِلاَلَ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ المَدِيْنَةَ فِي آخِرِ الشَهْرِ فَسَألَنِي عَبْدُ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الهِلاَلَ فَقَالَ مَتَى رَأيْتُمُ الهِلاَلَ فَقُلْتُ رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ فَقَالَ أنْتَ رَأيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لكِنَّا رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ السَبْتِ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَلاَ تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ لاَ هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ


รายงานจากกุรอยบ์ว่า อุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม เขากล่าวว่า ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้ว ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวัศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉันแล้วก็คุนกันเรื่องเดือนเสี้ยว เขาถามว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวกันเมื่อไหร่ ฉันตอบว่า พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์ เขาถามต่อว่า ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ฉันตอบว่า ใช่ครับ และคนอื่นๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ก็ถือศีลอด เขากล่าวว่า แต่พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน ฉันถามว่า การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ เขาตอบว่า ไม่ อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา”

บันทึกฮะดีษ

( สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 629 สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2084 สุนันอบีดาวู๊ด ฮะดีษเลขที่ 1985 )
แต่สำนวนรายงานที่นำเสนอนี้จากบันทึก “ศอเฮียะฮ์มุสลิม” ของท่านอิหม่ามมุสลิม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด ฮะดีษเลขที่ 1819

ผู้รายงานฮะดีษ

ฮะดีษบทนนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านรอซูลได้เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการสนทนาระหว่างศอฮาะห์กับตาบีอีน คือท่านอิบนุอับอับาส ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านเป็นปราชญ์ในหมู่ศอฮาบะห์ ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ กุรอยบ์ มีชื่อเต็มว่า กุรอยบ์ อิบนุ อบีมุสลิม อัลฮาซิมีย์ มีสร้อยว่า อบูรุชดีน เป็นตาบีอีนรุ่นกลาง มีถิ่นฐานอยู่ที่มะดีนะห์ และเสียชีวิตที่มะดีนะห์ ในปีที่ 98 ฮิจเราะห์ศักราช

ประเภทฮะดีษ

เหตุการณ์และตำพูดที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้ประกอบด้วย
1 – คำพูดของกุรอยบ์ ที่อ้างการกระทำของศอฮาบะห์ชื่อ มุอาวิยะห์ อิบนิอบีซุฟยาน และชาวแค้วนชาม
2 – คำพูดของกุรอยบ์ในกานสนทนากับศอฮาบะห์คือท่านอิบนุอับบาส
3 – คำพูดของท่านอิบนุอับบาสในการสนทนาซักถาม และตอบคำถามแก่กุรอยบ์
4 – คำพูดของอิบนิอับบาสที่อ้างถึงคำสอนของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม

สิ่งที่เป็นมาตรฐานอันดับแรกจากทั้ง 4 ประการนี้ก็คือข้อที่ 4 คือการที่ท่านอิบนิอับบาสอ้างคำพูดของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม ที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงจัดอยู่ในประเภท ฮะดีษมัรฟัวฮ์ หมายถึงการที่ศอฮาบะห์อ้างการรายงานถึงท่านนบี ด้วยเหตุนี้คำของท่านอิบนิอับบาสจึงไม่ใช่ประเด็นการวินิจฉัย “อิจติฮาต” ของท่านเองอย่างที่บางคนเข้าใจ

ประเด็นวิเคราะห์

ก่อนที่จะเริ่มบทวิเคราะห์ ขอตั้งข้อสักเกตเล็กน้อยว่า เหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้มีมุมมองหลายกรณีด้วยกันคือ
- แค้วนชามตามที่ถูกกล่าวในฮะดีษนี้บางท่านกล่าวว่า คือประเทศซีเรียในปัจจุบัน แต่ความจริงแล้ว ชาม เป็นแคว้นในอดีตที่มีอณาเขตกว้างใหญ่มาก ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ของประเทศซีเรียเท่านั้น แต่ยังรวมถึง อิรัค จอร์แดน เลบานอนในปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นการที่ให้ความหมาย “ชาม” ว่าประเทศซีเรียนั้นจึงยังไม่ถูกต้องนัก

- กุรอยบ์ได้ออกเดินทางจากมดีนะห์ไปที่ชามก่อนที่จะเข้าสู่เดือนรอมฏอน และได้ไปเริ่มต้นถือศีล อดที่นั่น

- การสื่อสารและการส่งข่าวในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกว่าที่ชาวมะดีนะห์จะรู้ข่าวเรื่องการเข้าเดือนรอมฏอน ก็ล่วงเลยมาจนถึงปลายเดือน ขณะที่กุรอยบ์เดินทางกลับมาจากชามแล้ว

- กุรอยบ์ได้กลับมาที่นครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการดูเดือน และชาวมะดีนะห์ก็ยังถือศึลอดไม่ครบ 30 วันตามคำของอิบนุอับบาสที่ว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”

ปัญหามีอยู่ว่า การที่กุรอยบ์กลับมาถึงมะดีนะห์ในตอนปลายเดือนนั้น จะใช้เงื่อนไขใด ในการชวนท่านอิบนิอับบาสออกบวช เพระชาวมะดีนะห์ก็ยังไม่มีการดูเดือน อีกทั้งยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”
หรือว่าการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอนเพียงอย่างเดียวเพียงพอแล้วสำหรับการออกบวช โดยไม่ต้องดูจันทร์เสี้ยวตอนปลายเดือนและก็ยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่กุรอยบ์ได้กล่าวว่า “การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ” ซึ่งหมายถึงการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอน จะใช้กำหนดการออกบวชได้เลยอย่างนั้นหรือ

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นประเด็นของการตั้งข้อสังเกตเท่านั้น มิใช่ประเด็นวิเคราะห์ที่เราจะนำมาเป็นผลเลิศในการตัดสินข้อขัดแย้ง เพราะเนื่องจากคำพูดของอิบนุอับบาสที่อ้างคำสอนของท่านนบีที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ยังคงปรากฏอยู่ และถ้าหากเราไม่ใส่ใจคำของท่านนบีแต่ไปเอาคำของคนอื่นหรือเหตุการณ์อื่นมาเป็นผลเลิศละก็ แสดงว่าเรากำลังหลงประเด็นและกำลังเสียจุดยืนในการตออะฮ์ต่อท่านรอซูลอย่างแน่นอน

ฉะนั้นประเด็นที่เราต้องทำความเข้าใจจากฮะดีษบทนี้ก็คือคำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” แม้ว่าจะเป็นคำของท่านอิบนิอับบาส แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างถึงคำสอนของท่านนบี ที่ท่านได้เคยสอนแก่ศอฮาบะห์ไว้แล้ว ปัญหามีอยู่ว่า อย่างนี้แหละ ที่ท่านอิบนิอับบาสพูดถึง คืออย่างไหนกันแน่ เราลองมาพิจารณากันทีละข้อดังนี้

1 – ถ้า อย่างนี้แหละ หมายถึงประเทศใครประเทศมันตามที่มีบางท่านกล่าวอ้าง เราก็ต้องกลับไปดูว่า เคยมีคำสอนจากท่านรอซูลหรือไม่ ที่จริงแล้วประเด็นนี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะในขณะที่ท่านนบีประกาศอิสลามนั้นยังไม่มีขอบเขตของประเทศตามที่ปรากฏในแผนที่ขณะนี้ หรือการกล่าวว่า ชามก็คือประเทศซีเรียในปัจุบันก็เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ฉะนั้นการอ้างว่าท่านรอซูลเคยใช้เฉพาะประเทศใครประเทศมันนั้น เป็นการกุเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย และ เราก็คงตัดประเด็นนี้ออกไป

2 – ถ้าอย่างนี้แหละหมายถึงเมืองใครเมืองมันตามที่ท่านรอซูลเคยใช้ เราก็กลับไปตรวจสอบจากคำสอนของท่านรอซูลอีกเช่นกันว่า มีไหมที่ท่านรอซูลเคยใช้ไว้เช่นนี้ ก็ปรากฏว่าหาตัวบทหลักฐานมาสนับสนุนในทัศนะนี้ไม่ได้ ประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปเช่นเดียวกัน

3 – ถ้าอย่างนี้แหละที่หมายถึงมัฏละอ์ คือระยะที่ขึ้นของเดือน ก็ยิ่งไม่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูล ฉะนั้นประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปด้วยเช่นกัน

4 – หรือ อย่างนี้แหละ ที่หมายถึง เอาเฉพาะที่ใกล้ๆ เคียงกัน ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า คำว่าใกล้ หรือไกล นั้นผู้ใดจะเป็นผู้กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่พบในคำสอนของท่านรอซูลด้วยเช่นกัน จึงต้องตัดประเด็นนี้ออกไปด้วย

5 – หรือ อย่างนี้แหละ หมายถึงการให้เอาระยะทางละหมาดย่อเป็นเกณฑ์ ก็ยิ่งเป็นการเอาฮุก่มคนละเรื่องมาโยงกัน ซึ่งในทางปฏิบัติก็ยิ่งจะเกิดความโกลาหลอย่างแน่นอน และในบ้านเมืองของเราคงต้องเกิดฮุก่มใหม่กลายเป็นเมืองใครเมืองมัน จังหวัดใครจังหวัด ซึ่งไม่ปรากฏว่าท่านรอซูลได้เคยสอนเรื่องนี้มาก่อน

ถ้าเช่นนั้น คำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” คือประเด็นไหนกันแน่

หากเราได้ย้อนกลับไปทบทวนข้อความของอิบนุอับบาสที่ได้กล่าวไว้ก่อนที่ท่านจะพูดประโยคนี้เพียงเล็กน้อย เราจะพบคำของท่านดังต่อไปนี้คือ “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน” อย่างนี้ท่านรอซูลเคยใช้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้สำรวจดูแล้วก็ปรากฏว่าท่านรอซูลเคยสั่งใช้ในประเด็นนี้จริงๆ ซึ่งมีรายงานอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ

“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ

หรือหากจะมองประเด็นที่เกี่ยวข้องจากเหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในเนื้อหาของฮะดีษ นั่นคือการเป็นพยาน เพราะกุรอยบ์เพียงผู้เดียวที่กลับมารายงานเรื่องการเห็นเดือนตอนเข้ารอมฏอนที่ชามแก่อิบนิอับบาส แต่ที่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูลนั้น การแจ้งข่าวเรื่องการเห็นเดือนเพื่อออกจากรอมฏอน จะต้องมีพยานยืนยันจำนวน 2 คน เป็นอย่างน้อย

ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า
عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا


“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง” บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991

และนี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท่านรอซูลเคยใช้ ซึ่งเป็นอีกประการหนึ่งของการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และไม่ได้ออกนอกกรอบจากเนื้อหาของฮะดีษเลย

สรุปว่า คำของอิบนิอับบาสที่กล่าวว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ได้ชี้ให้เห็นถึงคำสอนของท่านรอซูลสองประการด้วยกันคือ
1 – การเข้าและออกจากเดือนรอมฏอนโดยการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น และหากไม่มีผู้ใดเห็นก็ให้นับเดือนรอมฏอนให้ครบ 30 วัน
2 – หากมีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายืนยันเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น ก็ให้มุสลิมถือปฏิบัติตามการยืนยันนั้น

ทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งที่ท่านรอซูลได้เคยใช้เหล่าศอฮาบะห์จริงๆ ตามตัวบทที่ได้แสดงแล้วข้างต้น แต่ไม่ทราบว่าเพระเหตุใดจึงมีผู้นำเอาฮะดีษบทนี้ไปชี้ประเด็นอื่นๆที่หาหลักฐานมาอธิบายไม่ได้ อย่างนี้มิเท่ากับเป็นการบิดเบือนเป้าหมายคำของท่านอิบนิอับบาสตามที่ปรากฏในฮะดีษกุรอยบ์นี้หรอกหรือ วัลลอฮุอะอ์ลัม

ฉะนั้นประเด็นการยึดมัฏละอฺ (แหล่งหรือมุมจัทร์เสี้ยวปรากฎ) ในการกำหนดการรับข่าวการเห้นจันทร์จึงเป็นเพียงทัศนะเท่านั้น โดยไม่พบตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดิษเป็นหลักฐานรองรับ อักทั้งอิบนุ อับบาสปฏิเสธการเห็นจันทร์เสี้ยวที่เมืองชามมิใช่เพราะสาเหตุของการต่างมัฏละอฺ หรือการต่างเมือง แต่ปฏิเสธก้ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านรสูลได้สั่งให้ปฏิบัติ

 والسلام