อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

อัลลอฮ์สร้างจักรวาลมาเพื่อให้มนุษย์เคารพภักดีพระองค์



อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :


أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ ( 30 ) 


“บรรดาผู้ปฏิเสธไม่พิจารณาหรือว่าชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินในตอนแรกนั้น เป็นมวลเดียวกัน หลังจากนั้น เราได้แยกมันออกจากกัน และเราได้สร้างทุกสิ่งที่มีชีวิตจากน้ำ ? แล้วพวกเขายังไม่เชื่ออีกหรือ ?” 
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันบิยาอ์ 21:30)

เป็นไปได้อย่างไร ? ใครบอก นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า  โลก และ ชั้นฟ้า เคยรวมอยู่ด้วยกันเป็นมวลเดียว ?
อัลลอฮฺผู้ทรงเลือก นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ให้เป็น นบี คนสุดท้าย และ เป็นศาสนทูตของพระองค์ ยังมนุษยชาติต่างหาก  ดังนั้น ลองพิจารณาหลักฐานดังกล่าวมาข้างต้นนี้  และ  ลองคิดถึงเรื่องการสร้างชั้นฟ้า และแผ่นดิน กลางวัน  และ กลางคืน ดวงอาทิตย์  และ  ดวงจันทร์  มหาสมุทร  และ ทะเล  และ สิ่งมีชีวิตอีกมากมายสุดคณานับ ที่อาศัยอยู่ในนั้น  ดูสิ่งเหล่านี้ไม่มีผู้สร้าง ที่คอยควบคุมมันไว้เพื่อมนุษยกระนั้นหรือและ การที่อัลลอฮทรงควบคุมมันไว้นั้น  มิได้มีวัตถุประสงค์อะไร  หรือ เป็นเรื่องยิ่งใหญ่เลยกระนั้นหรือ ?

ถ้าหากใครสักคนจะใช้เงินของตน  โดยไม่รู้ว่าใช้ไปเพื่ออะไร  เราก็จะถือว่าคนผู้นั้นเป็นคนไร้ความคิด แล้วอัลลอฮฺกับจักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้เล่า ? อัลลอฮฺทรงสร้างมันขึ้นมาโดยไร้วัตถุประสงค์ และ ประโยชน์กระนั้นหรือ ? ความจริงแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงสร้างจักรวาลมา เพื่อวัตถุประสงค์อันยิ่งใหญ่ กล่าวคือ เพื่อที่เราจะได้เคารพภักดีพระองค์ และ ยอมตนต่อพระองค์ และ ปฏิบัติตามแนวทาง ที่ถูกต้องของพระองค์
ไม่มีทางใดไปสวรรค์นอกจากหนทางของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  เพียงทางเดียวเท่านั้น ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะมายืนยันในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเครื่องบอกทางง่ายๆสำหรับใครก็ตาม  ที่มีหัวใจ  และสามารถได้ยิน และ มองเห็น  จงคิดถึงสิ่งเหล่านั้น  และ  ยืนยันด้วยตัวของคุณเอง  และ  ปฏิบัติตาม สิ่งที่ถูก ต้องก็แล้วกัน เพราะปลายทางชีวิตของคุณก็คือ  สวรรค์  หรือ ไม่ก็ นรก

والله أعلم بالصواب

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้จะถูกนำกลับด้วยการเสียชีวิตของอุลามาอฺ




มีรายงานหะดิษเกี่ยวกับการที่อัลลอฮฺจะถอดความรู้ไปที่ละน้อยๆ ด้วยการตายของอุลามาอฺ จนกระทั้งไม่มีใครบนโลก ดั่งหะดิษต่อไปนี้

وَكَتَبَ عُمَرُ بْنُ عَبْدِ الْعَزِيزِ إِلَى أَبِي بَكْرِ بْنِ حَزْمٍ انْظُرْ مَا كَانَ مِنْ حَدِيثِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَاكْتُبْهُ، فَإِنِّي خِفْتُ دُرُوسَ الْعِلْمِ وَذَهَابَ الْعُلَمَاءِ، وَلاَ تَقْبَلْ إِلاَّ حَدِيثَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم، وَلْتُفْشُوا الْعِلْمَ، وَلْتَجْلِسُوا حَتَّى يُعَلَّمَ مَنْ لاَ يَعْلَمُ، فَإِنَّ الْعِلْمَ لاَ يَهْلِكُ حَتَّى يَكُونَ سِرًّا‏.‏ حَدَّثَنَا الْعَلاَءُ بْنُ عَبْدِ الْجَبَّارِ قَالَ حَدَّثَنَا عَبْدُ الْعَزِيزِ بْنُ مُسْلِمٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ دِينَارٍ بِذَلِكَ، يَعْنِي حَدِيثَ عُمَرَ بْنِ عَبْدِ الْعَزِيزِ إِلَى قَوْلِهِ ذَهَابَ الْعُلَمَاءِ‏ 


                อุมัร อิบนิอับดิลอะซีซ ได้เขียนจดหมายถึง อบีบักร์ อิบนิฮัซมิน (มีใจความว่า)
            “ได้โปรดมองดูความรู้เรื่องราวของฮะดีษที่มาจากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และจงบันทึกมันไว้  เพราะฉันเกรงว่าความรู้เรื่องศาสนาจะเลือนหายด้วยการจากไปของบรรดาผู้รู้ และท่านอย่าได้ยอมรับสิ่งใด นอกจากฮะดีษของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เท่านั้น และได้โปรดถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้ต่อๆกันไปด้วย และได้โปรดจัดที่เรียนที่สอน จนกระทั่งผู้ที่ไม่รู้จะได้รู้  เพราะแท้จริงความรู้นั้นจะไม่พินาศ นอกจากจะถูกเก็บไปอย่างเงียบๆ

             
อัลอะลาอ์ อิบนุอับดิลญับบาร ได้เล่าให้เราฟัง โดยกล่าวว่า อับดุลอะซีซ อิบนุมุสลิม ได้เล่าให้เราฟังจาก อับดุลลอฮ์ บินดีนาร เกี่ยวกับเรื่องนี้ หมายถึงเรื่องราวของอุมัร บินอับดิลอะซีซ จนกระทั่งถึงคำว่า “การจากไปของบรรดาผู้รู้”

 عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرِو بْنِ الْعَاصِ، قَالَ سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ ‏"‏ إِنَّ اللَّهَ لاَ يَقْبِضُ الْعِلْمَ انْتِزَاعًا، يَنْتَزِعُهُ مِنَ الْعِبَادِ، وَلَكِنْ يَقْبِضُ الْعِلْمَ بِقَبْضِ الْعُلَمَاءِ، حَتَّى إِذَا لَمْ يُبْقِ عَالِمًا، اتَّخَذَ النَّاسُ رُءُوسًا جُهَّالاً فَسُئِلُوا، فَأَفْتَوْا بِغَيْرِ عِلْمٍ، فَضَلُّوا وَأَضَلُّوا ‏"‏‏
                           
                        อับดุลลอฮ์ อิบนิอัมร์ อิบนิลอาศ รายงานว่า ฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ จะไม่นำความรู้กลับไปโดยถอดมันออกจากบ่าว แต่อัลลอฮ์จะนำความรู้กลับไปด้วยการเสียชีวิตของบรรดาผู้รู้ จนกระทั่งแทบจะไม่เหลือผู้รู้  ฉะนั้นบรรดาผู้คนจึงได้ผู้นำที่โง่เขลา เมื่อเขาถูกถาม เขาก็จะแถลงโดยที่ไม่มีความรู้ ดังนั้นนอกจากเขาจะหลงทางแล้ว ยังนำพาผู้อื่นหลงทางอีกด้วย"(บันทึหหะดิษโดยบุคคอรี/หมวดที่3/บทที่34/ฮะดีษเลขที่ 100)



จากหะดิษ
อัลลอฮฺจะถอดความรู้ออกไปจากโลก แต่มันไม่ได้หมายความว่าอัลลอฮฺจะทิ้งโลก ทิ้งมนุษย์เอาไว้โดยปราศจากความรู้แต่อัลลอฮฺจะถอดความรู้ไปที่ละน้อยๆ ด้วยการตายของอุลามาอฺ จนกระทั้งไม่มีใครบนโลกที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ

จนกระทั้งเมื่อไม่มีอุลามาอฺอยู่ ประชาชนก็เอาคนโง่มาเป็นผู้นำ แล้วเขาก็ฟัตวาโดยไม่มีความรู้ มันทำให้พวกเขาทั้งหลายหลงผิด นั้นเป็นเพราะว่า พวกเขาตีความกรุอาน และหะดิษ ไปตามที่พวกเขาคิดเอง ทั้งที่มันต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และการตีความของชาวสลัฟฟุซซอและฮฺ ซึ่งพวกเขาคือผู้ที่เข้าใจศาสนาที่สุด


ซึ่งท่านรสูลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่าส่วนหนึ่งของสัญญาณแห่งวันสิ้นโลกจะมาถึง คือความรู้ในเรื่องศาสนาจะถูกนำกลับโดยการเสียชีวิตของอุลามาอฺ แต่จะนำความโง่มาแทนที่

จากหะดิษ
، عَنْ أَنَسٍ، قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ إِنَّ مِنْ أَشْرَاطِ السَّاعَةِ أَنْ يُرْفَعَ الْعِلْمُ، وَيَثْبُتَ الْجَهْلُ، وَيُشْرَبَ الْخَمْرُ، وَيَظْهَرَ الزِّنَا ‏"‏‏.‏  

            อนัส รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงส่วนหนึ่งของสัญญาณแห่งกาลอวสานนั้นคือ  ความรู้ (ในเรื่องของศาสนา) จะถูกนำกลับไป (โดยการเสียชีวิตของผู้รู้) และความโง่เขลาจะมาแทนที่, น้ำเมาจะถูกดื่ม (จนกลายเป็นเรืองปกติ) , การละเมิดทางเพศจะแพร่ระบาด"(บันทึกหะดิษโดยบุคคอรี/หมวดที่3/บทที่21/ฮะดีษเลขที่ 80)


อีกหะดิษหนึ่ง

عَنْ أَنَسٍ، قَالَ لأُحَدِّثَنَّكُمْ حَدِيثًا لاَ يُحَدِّثُكُمْ أَحَدٌ بَعْدِي سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ ‏"‏ مِنْ أَشْرَاطِ السَّاعَةِ أَنْ يَقِلَّ الْعِلْمُ، وَيَظْهَرَ الْجَهْلُ، وَيَظْهَرَ الزِّنَا، وَتَكْثُرَ النِّسَاءُ وَيَقِلَّ الرِّجَالُ، حَتَّى يَكُونَ لِخَمْسِينَ امْرَأَةً الْقَيِّمُ الْوَاحِدُ ‏"‏‏
  

                อนัส (บินมาลิก) กล่าวว่า ฉันจะบอกกับพวกท่านเอาไหม (ชาวเมืองบัศเราะห์) ซึ่งไม่มีใคร (ศอฮาบะห์คนใด) ถัดจากฉัน จะบอกกับพวกท่านอีก (เนื่องจากท่านอนัสเป็นศอฮาบะห์ท่านสุดท้ายที่เสียชีวิตที่เมืองบัศเราะห์)
                ฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ส่วนหนึ่งของสัญญาณแห่งกาลอวสานก็คือ ความรู้ทางศาสนาจะถดทอย ความโง่เขลาจะแพร่กระจาย การละเมิดทางเพศจะเกิดขึ้นดาษดื่น, ผู้หญิงจะมีมากขึ้น ผู้ชายจะมีจำนวนน้อย จนกระทั่งผู้ชายหนึ่งคนจะดูแลผู้หญิงถึงห้าสิบคน"(บันทึกหะดิษโดย บุคคอรี/หมวดที่3/บทที่21/ฮะดีษเลขที่ 81)

والله أعلم بالصواب


วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

เมื่อได้ยินเสียงอะซานเพื่อทำละหมาดวันศุกร์



เมื่อได้ยินเสียงอาซานเพื่อทำละหมาดวันศุกร์ พี่น้องมุสลิมก็จงรีบเร่งไปละหมาดวันศุกร์ และให้ละทิ้งการงานในโลกดุนยาไว้ก่อน

พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِن يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلَىٰ ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَٰلِكُمْ خَيْرٌ لَّكُمْ إِن كُنتُمْ تَعْلَمُونَ ( 9 ) 

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ญุมุอะฮฺ 62:9)

รายงานจากท่านอิบนิ มัสอู๊ด ร่อฎิญัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่กลุ่มชนที่ไม่ไปละหมาดวันศุกร์ว่า
"ที่จริง ฉันตั้งใจที่จะให้ชายคนหนึ่งนำประชาชนละหมาด (หมายถึงให้เป็นอิมามแทนฉัน) แล้วฉันก็จะไปเผาบ้านของพวกที่ไม่ยอมไปละหมาดวันศุกร์" (บันทึกโดยท่านอิมามมุสลิม)
والله أعلم بالصواب

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ




ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับคำอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยษะมีย์ สองนักวิชาการดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...

ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์  ได้กล่าวในหนังสือ  “ฟัตหุ้ลบารีย์”  เล่มที่  13  หน้า  253  ว่า ..

     فَالْبِدْعَةُ فِىْ عُرْفِ الشَّرْعِ  مَذْمُوْمَةٌ !   بِخِلاَفِ اللُّغَةِ  فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ  يُسَمَّى بِدْعَةً،  سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا أَوْ مَذْمُوْمًا ...

            “ดังนั้น  ความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม,   ต่างกับความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา, ..   เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน  จะถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (ตามหลักภาษา) ทั้งสิ้น   ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว” ...

คำอธิบายนี้  ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆเพิ่มเติมอีกแล้ว ...


ส่วนท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์  ก็ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ  “อัล-ฟะตาวีย์”  ของท่าน  ดังการอ้างอิงในหนังสือ  “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ”  หน้า  39  ว่า ...

     فَإِنَّ الْبِدْعَةَ الشَّرْعِيَّةَ ضَلاَلَةٌ !  كَمَاقَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ،   وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إِلَى حَسَنٍ وَغَيْرِحَسَنٍ  فَإِنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَةَ اللُّغَوِيَّةَ،   وَمَنْ قَالَ : كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ ..  فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَةُ الشَّرْعِيَّةُ ...                                                                          

“แน่นอน  สิ่งบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทุกอย่าง) เป็นความหลงผิด ! ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม,

..  นักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์  ก็เป็นเพียงการแบ่งมันตามหลักภาษาเท่านั้น ..

และผู้ใดที่กล่าวว่า  ทุกๆบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิด   ความหมายของเขาก็คือ  หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ” ...

คำกล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์   ถือว่า เป็นคำอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำแนกความเข้าใจอันสับสน --  แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ --  ระหว่าง  “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลักภาษา” ..  จึงสมควรจะต้องจดจำคำกล่าวนี้ให้ขึ้นใจ  เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องในเรื่องนี้ตลอดไป

ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ..
ทั้งนี้  เพราะท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.  เศาะหาบะฮ์ผู้เคร่งครัดในซุนนะฮ์ที่สุดท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ...

                             كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ،  وَإِنْ رَآهَـا النَّاسُ حَسَنَةً ...

“ทุกๆบิดอะฮ์  คือความหลงผิด,   แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม”
(บันทึกโดย  ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ  “المدخل إلى السنن الكبرى”  หมายเลข  191,   ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ  “السنة”  หน้า  24,    และท่านอัล-ลาลิกาอีย์ในหนังสือ  “شَرْحُ اُصُوْلِ اعْتِقَادِ أَهْلِ السُّنَّةِ”  เล่มที่  1  หน้า  92) ...

คำว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด”  ตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในที่นี้  หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติโดยปราศจากข้อสงสัย, ..  และคำกล่าวของท่านตอนหลังที่ว่า  “แม้มนุษย์จะเห็นว่า มันเป็นสิ่งดีก็ตาม”   แสดงว่า ท่านปฏิเสธและไม่ยอมรับว่า มีบิดอะฮ์ดีในบทบัญญัติอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งดีในมุมมองมนุษย์อย่างไรก็ตาม ...


ความเชื่อที่ว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ”  ค้านกับหะดีษของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ข้อนี้ ถือเป็น  “ตัวชี้ขาด”  ความผิดพลาดทั้งมวลของผู้ที่เข้าใจว่า  มีบิดอะฮ์ดีตามบทบัญญัติศาสนา  ทั้งนี้ เพราะท่านศาสดาได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆวาระว่า ...

                                                كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَ لَةٌ

“ทุกๆบิดอะฮ์  คือความหลงผิด” ...
และท่านยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่า ...

                                         إِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ اْلأُمُوْرِ،   فَإِنَّهَا ضَلاَلةَ ٌ!

“พวกท่านพึงระวังตนเองจาก สิ่งทั้งหลายที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ (ในศาสนา)  เพราะว่า มันคือความหลงผิด” ...
                                                .....ฯลฯ .....

ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  มิได้ถูกส่งมาเพื่อสอน  “ภาษา”  แก่ผู้ใด,   แต่ท่านถูกส่งมา  เพื่อสอน  “บทบัญญัติศาสนา”  ของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. แก่มนุษยชาติทั้งมวล ...

เมื่อท่านกล่าวเตือนอุมมะฮ์ของท่านว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ คือความหลงผิด”  ท่านจึงย่อมหมายถึงสิ่งบิดอะฮ์  “ตามบทบัญญัติ”, ..  มิใช่บิดอะฮ์  “ตามหลักภาษา”  แน่นอน

และก็ไม่เคยมีรายงานหะดีษมาแม้แต่บทเดียวว่า  ท่านศาสดาจะเคยกล่าวยกย่องชมเชยสิ่งใดที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนาของท่านว่า  เป็นสิ่งที่ดี ! ...


ดังนั้น  ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตาม  ก็จะไม่พบคำว่า  “มีบิดอะฮ์ดี”  ในบทบัญญัติ  นอกจากทั้งหมด จะเป็น  “บิดอะฮ์ต้องห้าม”  เพียงสถานเดียว ...

คำว่า  “บิดอะฮ์ดี”  ที่มีกล่าวกันแพร่หลายมิใช่อื่นใด   แต่เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ -- (ตาม  “มุมมอง”  ของมนุษย์, ..  ต่อสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา) -- ว่าเป็น  บิดอะฮ์ดี (คือ การริเริ่ม,  การประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี) ..  แค่นั้นเอง ...

ผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่า  “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ดี)ในบทบัญญัติ”   หากจะมองเพียงว่า  คำพูดของเขาไปค้านกับคำนิยามของคำว่า  “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์”   ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์,

หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ หะญัรฺ ทั้งสองท่าน,

หรือไปค้านกับคำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ที่กล่าวมาข้างต้น  ..

เพียงแค่นั้น  ก็คงไม่สู้กระไรนักหรอก ...
ที่สำคัญ  คำพูดของเขาดังกล่าวไป  “คัดค้าน”  คำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่บอกเขาว่า  “ทุกๆบิดอะฮ์ (ตามบทบัญญัติ) คือความหลงผิด” นี่สิ   มันเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์สำหรับมุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนเหลือเกิน ...

ยกตัวอย่าง

การอะซานในการนมาซวันอีด  ก็เป็นเรื่องดีตามบทบัญญัติเหมือนกัน โดยมองตาม  “หลักภาษา”   มันก็เป็น เป็นบิดอะฮ์ดี (หะสะนะฮ์)...แต่การอะซานเพื่อเรียกคนมานมาซวันอีด เป็นบิดอะฮ์ต้องห้ามตามบทบัญญัติ   เนื่องจากไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนจากท่านนบีย์และเศาะหาบะฮ์ของท่าน ...(เรื่องนี้ต้องนำไปเปรียบเทียบกับงานเมาลิด ซึ่งไม่ต่างอะไรกับอะซานในการนมาซอีดเลย ที่เพิ่งจะก่อเกิดหลังปี ฮ.ศ. 362)

สรุุป บิดดะฮฺหะสะนะฮ์ หรือบิดอะฮ์ดี เป็นเพียงศัพท์เทคนิคตามหลักภาษาที่ใช้เรียกสิ่งดีๆ หรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ดี ที่เรียกมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำและบุคคลทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา สำหรับบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ทุกบิดอะฮฺ คือสิ่งต้องห้ามและความหลงผิดทั้งสิ้น

والله أعلم بالصواب

นำข้อมูล จาก อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

ฟิดยะฮฺค่าชดใช้จากการละเมิดข้อห้ามในหัจญ์




ข้อห้ามสำหรับผู้ครองอิหฺรอมนั้นหากพิจารณาในส่วนของฟิดยะฮฺ อาจแบ่งได้ 4 ประเภท
1. การกระทำที่ไม่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺ : การสมรส
2. การกระทำที่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺขั้นหนัก : การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างพิธีหัจญ์ก่อนการตะหัลลุลเบื้องต้น ซึ่งฟิดยะฮฺในกรณีนี้ก็คือ อูฐหนึ่งตัว
3. การกระทำที่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺเป็นสัตว์ หรือตัวเทียบปรับ : การฆ่าสัตว์บกที่รับประทานได้
4. จ่ายฟิดยะฮฺเหมือนฟิดยะฮฺของผู้มีเหตุจำเป็น : การฝ่าฝืนข้อห้ามอื่นๆ เช่นโกนผม ใช้เครื่องหอม เป็นต้น

ผู้ที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นให้ต้องกระทำสิ่งต้องห้ามดังที่กล่าวมา (ยกเว้นการมีเพศสัมพันธ์) เช่น โกนผม หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่เย็บเข้ารูป ก็อนุญาตให้กระทำได้ แต่จำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺของผู้มีเหตุจำเป็น

ฟิดยะฮฺผู้มีเหตุจำเป็น สามารถเลือกได้ระหว่าง 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ถือศีลอด 3 วัน
2. หรือเลี้ยงอาหารผู้ยากไร้ 6 คน เป็นข้าวสาร หรืออินผลัม (ตามแต่อาหารหลักของแต่ละที่) คนละครึ่งศออฺ หรืออาจจะเลี้ยงอาหารคนละมื้อ ตามความเหมาะสมของแต่ละที่
3.หรือเชือดแพะ
อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า
(ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ)
ความว่า "แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลง หรือมีสิ่งที่ทำให้เขาเดือดร้อนบนศีรษะของเขา ก็ให้มีการชดเชย อันได้แก่การถือศีลอด การทำทาน หรือการเชือดสัตว์” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 196)            

การถือศีลอดสามารถกระทำที่ใดก็ได้ ส่วนการเลี้ยงอาหาร และการเชือดแพะนั้นให้ทำและแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ชาวมักกะฮฺเท่านั้น

หุก่มของผู้ที่กระทำสิ่งต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งจากที่กล่าวมา
ผู้ใดกระทำสิ่งต้องห้ามเหล่านี้ด้วยความไม่รู้ หลงลืม หรือเพราะถูกบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นบาปแต่อย่างใด และไม่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺ แต่จำเป็นต้องหยุดกระทำสิ่งต้องห้ามนั้นทันที
และถ้าผู้ใดกระทำโดยเจตนาเนื่องจากมีความจำเป็น ก็จำเป็นที่เขาต้องจ่ายฟิดยะฮฺแต่ไม่ถือว่าเป็นบาปแต่อย่างใด
ส่วนผู้ใดเจตนากระทำโดยที่ไม่มีความจำเป็นใดๆ จำเป็นที่เขาต้องจ่ายฟิดยะฮฺ และถือว่าเป็นบาป

ฟิดยะฮฺของการฆ่าสัตว์บก
ผู้ใดเจตนาฆ่าสัตว์บกในขณะที่ครองอิหฺรอม : ถ้าหากสัตว์ที่เขาฆ่านั้นมีกำหนดเทียบปรับเป็นปศุสัตว์ก็ให้เขาเลือกระหว่างการจ่ายเป็นปศุสัตว์ตัวเทียบนั้นโดยให้เชือดและแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ชาวมักกะฮฺ หรือตีราคาปศุสัตว์ตัวเทียบเป็นเงินแล้วนำเงินนั้นซื้ออาหารเลี้ยงผู้ยากไร้คนละครึ่งศออฺ หรือถือศีลอดแทนที่การเลี้ยงอาหารผู้ยากไร้ โดยให้ถือศีลอดหนึ่งวันต่อจำนวนผู้ยากไร้หนึ่งคน
แต่ถ้าหากไม่มีปศุสัตว์ตัวเทียบก็ให้ตีราคาสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นเป็นเงิน และให้เลือกระหว่างเลี้ยงอาหารกับถือศีลอด
อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า :


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَقْتُلُوا الصَّيْدَ وَأَنتُمْ حُرُمٌ وَمَن قَتَلَهُ مِنكُم مُّتَعَمِّدًا فَجَزَاءٌ مِّثْلُ مَا قَتَلَ مِنَ النَّعَمِ يَحْكُمُ بِهِ ذَوَا عَدْلٍ مِّنكُمْ هَدْيًا بَالِغَ الْكَعْبَةِ أَوْ كَفَّارَةٌ طَعَامُ مَسَاكِينَ أَوْ عَدْلُ ذَٰلِكَ صِيَامًا لِّيَذُوقَ وَبَالَ أَمْرِهِ عَفَا اللَّهُ عَمَّا سَلَفَ وَمَنْ عَادَ فَيَنتَقِمُ اللَّهُ مِنْهُ وَاللَّهُ عَزِيزٌ ذُو انتِقَامٍ (


ความว่า "ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าฆ่าสัตว์ล่าในขณะที่พวกเจ้ากำลังครองอิหฺรอมอยู่ และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าได้ฆ่ามันโดยเจตนาแล้วไซร้ การชดเชยก็คือ (ปศุสัตว์) ชนิดเดียวกับที่เขาฆ่า โดยผู้ที่ยุติธรรมสองคนในหมู่พวกเจ้าจะกระทำการชี้ขาดมัน ในฐานะเป็นสัตว์พลีที่ไปถึงอัล-กะอฺบะฮฺ หรือไม่ก็ให้มีการไถ่โทษ ด้วยการให้อาหารแก่บรรดาผู้ยากไร้ หรือถือศีลอดเทียบเท่ากับสิ่งนั้น (การให้อาหาร)" (อัล-มาอิดะฮฺ  : 95)

ฟิดยะฮฺสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างยังประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺไม่เสร็จสิ้น
1. ฟิดยะฮฺสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการตะหัลลุลเบื้องต้น คือ อูฐหนึ่งตัว ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ให้ถือศีลอด 3 วันในช่วงหัจญ์และอีก 7 วันเมื่อกลับไปถึงภูมิลำเนาของตน แต่ถ้าการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นหลังตะหัลลุลเบื้องต้นก็ให้จ่ายเช่นเดียวกับฟิดยะฮฺผู้มีเหตุจำเป็น ซึ่งสตรีก็ให้ยึดหุก่มเช่นเดียวกันเว้นแต่ว่านางจะถูกบังคับให้กระทำ
2. ฟิดยะฮฺสำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างพิธีอุมเราะฮฺก่อนการเดินสะแอ หรือโกนศีรษะเหมือนกับกรณีของผู้มีเหตุจำเป็น

หุก่มการตัดโค่นต้นไม้และล่าสัตว์ในเขตหะร็อม
1. ไม่อนุญาตให้ตัดต้นไม้ต้นหญ้าในเขตหะร็อมมักกะฮฺนอกจากต้นอิซค็อรฺและสิ่งที่มนุษย์เพาะปลูก ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพที่ครองอิหฺรอมหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าหากฝ่าฝืนก็ไม่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺแต่อย่างใด และห้ามฆ่าสัตว์ในเขตหะร็อม หากฝ่าฝืนจำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺ
2. ไม่อนุญาตให้ล่าสัตว์หรือตัดต้นไม้ในเขตหะร็อมมะดีนะฮฺ หากฝ่าฝืนก็ไม่มีฟิดยะฮฺแต่อย่างใด แต่จะต้องถูกลงโทษตามแต่ผู้มีอำนาจจะเห็นควร และถือว่าเป็นบาป ส่วนพืชจำพวกหญ้านั้นอนุญาตให้นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ตามแต่ความจำเป็น และไม่มีเขตหะร็อมอื่นใดในโลกนี้นอกเหนือจากทั้ง 2 หะร็อมนี้

เขตหะร็อมมะดีนะฮฺ
ทางทิศตะวันออก เริ่มจาก อัล-หัรฺเราะฮฺ อัล-ชัรฺกิยะฮฺ
ทางทิศตะวันตก เริ่มจาก อัล-หัรฺเราะฮฺ อัล-ฆ็อรฺบิยะฮฺ
ทางทิศเหนือ เริ่มจาก ภูเขาเษารฺ
ทางทิศใต้ เริ่มจาก ภูเขาอีรฺ โดยเชิงเขาทางตอนเหนือของเขาอีรฺคือวาดิลอะกีก

หุก่มของผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามมากกว่าหนึ่งครั้ง
ผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามข้อใดข้อหนึ่ง และได้ฝ่าฝืนซ้ำข้อเดิมโดยที่ยังไม่ได้จ่ายฟิดยะฮสำหรับครั้งแรกก็ให้เขาจ่ายเพียงครั้งเดียว ต่างจากการล่าสัตว์ ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามหลายๆประเภท เช่น โกนศีรษะ และใช้เครื่องหอม เช่นนั้นแล้วจำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺสำหรับแต่ละข้อเป็นกรณีๆไป
ไม่อนุญาตให้ทำการสมรสขณะที่ครองอิหฺรอม และถือเป็นโมฆะ แต่ไม่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺแต่อย่างใด ส่วนการคืนดีของคู่หย่าร้างที่ยังไม่หย่าขาดนั้นถือว่าอนุญาตให้กระทำได้

ผู้ที่จำเป็นต้องเชือดฮัดย์(สัตว์เชือดสำหรับหัจญ์ประเภทตะมัตตุอฺและกิรอน)
ผู้ที่จำเป็นต้องเชือดฮัดย์ คือ ผู้ที่ประกอบพิธีหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ และกิรอนในกรณีที่ทั้งสองไม่ใช่ชาวมักกะฮฺ ซึ่งวาญิบให้เชือดแพะหนึ่งตัว หรือ 1/7 ส่วนของอูฐ หรือ 1/7 ส่วนของวัว ส่วนผู้ที่ไม่สามารถหาฮัดย์ได้ก็ให้ถือศีลอด 3 วันในช่วงหัจญ์ จะก่อนหรือหลังวันอะเราะฟะฮฺก็ได้โดยให้อยู่ภายในวันที่ 13 ซึ่งเช่นนี้ถือว่าดีที่สุด และให้ถืออีก 7 วันเมื่อกลับไปยังถิ่นฐานภูมิลำเนาของตน ส่วนผู้ที่ทำแบบอิฟรอดนั้นไม่ต้องเชือดฮัดย์
อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า :

وَأَتِمُّوا الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلَّهِ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ وَلَا تَحْلِقُوا رُءُوسَكُمْ حَتَّىٰ يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوْ بِهِ أَذًى مِّن رَّأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِّن صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ فَإِذَا أَمِنتُمْ فَمَن تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ذَٰلِكَ لِمَن لَّمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ ( 196 )
 ความว่า “ผู้ใดที่แสวงหาประโยชน์จนกระทั่งถึงเวลาหัจญ์ด้วยการทำอุมเราะฮฺ (ประกอบพิธีหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ) แล้วก็ให้เชือดสัตว์พลีตามที่หาได้ ส่วนผู้ใดหาไม่ได้ก็ให้ถือศีลอดสามวันในระหว่างการทำหัจญ์ และอีกเจ็ดวันเมื่อพวกเจ้ากลับถึงบ้าน นั่นคือสิบวันเต็ม กรณีดังกล่าวนั้นสำหรับที่ครอบครัวของเขามิได้ประจำอยู่ที่มัสยิดหะรอม และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และพึงรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรง“ (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 196)

การเชือดฮัดย์และการเลี้ยงอาหารนั้นจำเป็นต้องแจกจ่ายให้ผู้ยากไร้ในเขตหะร็อม ส่วนฟิดยะฮฺผู้มีเหตุจำเป็น ฟิดยะฮฺจากการสวมใส่เสื้อผ้า และดัมจากการมีอุปสรรคขวางกั้นให้จ่าย ณ สถานที่เกิดเหตุ ส่วนข้อปรับจากการล่าสัตว์ในเขตหะร็อมก็ให้แจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ในเขตหะร็อม ส่วนการถือศีลอดนั้นจะกระทำที่ใดก็ได้
ฮัดย์ของผู้ครองอิหฺรอมแบบตะมัตตุอฺและแบบกิรอน สุนัตให้เก็บไว้ทานส่วนหนึ่ง ให้เป็นฮะดิยะฮฺ และแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ในเขตหะร็อม
ผู้ที่มีอุปสรรคกั้นขวางทำให้ไม่สามารถประกอบพิธีกรรมทั้งหมดให้เสร็จสิ้นได้จำเป็นต้องเชือดฮัดย์เท่าที่จะหาได้ ถ้าหากเขาไม่สามารถหาฮัดย์ได้ก็ถือว่าเขาสิ้นสุดจากการครองอิหฺรอมโดยที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสิ่งใดชดเชย

หุก่มของสัตว์บกที่มีปศุสัตว์ตัวเทียบกับที่ไม่มีตัวเทียบ
1. สัตว์บกที่มีปศุสัตว์กำหนดไว้เป็นตัวเทียบ เช่น นกกระจอกเทศ ต้องจ่ายเป็นอูฐหนึ่งตัว ม้าลาย วัวป่า ต้องจ่ายเป็นวัวหนึ่งตัว ส่วนหมาในให้เทียบปรับเป็นแพะตัวผู้หนึ่งตัว กวางให้เทียบปรับเป็นแพะตัวเมียหนึ่งตัว กระต่ายให้เทียบปรับเป็นลูกแพะตัวเมียที่อายุยังไม่ครบ 2 ปี นกพิราบและสัตว์ที่ใกล้เคียงให้เทียบปรับเป็นแพะหนึ่งตัว ส่วนสัตว์ประเภทอื่นๆให้เลือกคนสองคนที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมาเป็นทำหน้าที่ตัดสินว่าต้องเทียบปรับเป็นสัตว์ประเภทใด
2. สัตว์บกที่ไม่มีปศุสัตว์ใดๆเป็นตัวเทียบ ให้เทียบราคาเป็นเงินแล้วซื้ออาหารแจกจ่ายผู้ยากไร้ โดยแจกให้คนละหนึ่งอุ้งมือ หรือถือศีลอดแทนที่

ประเภทของดัม(สัตว์เชือดต่างๆ ทั้งหมด)ในพิธีหัจญ์
1. ดัมตะมัตตุอฺ และกิรอน ประเภทนี้ให้ผู้ประกอบพิธีหัจญ์รับประทานส่วนหนึ่ง และแจกจ่ายอีกส่วนหนึ่ง อีกส่วนที่เหลือให้เลี้ยงผู้ยากไร้
2. ดัมฟิดยะฮฺ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนข้อหนึ่งข้อใดจากข้อห้ามสำหรับผู้ครองอิหฺรอม เช่น โกนศีรษะ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่เย็บเข้ารูป เป็นต้น
3. ดัมเทียบปรับ สำหรับผู้ที่ล่าสัตว์บกที่รับประทานได้
4. ดัมผู้ที่มีอุปสรรคขวางกั้นทำให้ไม่สามารถประกอบพิธีให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนได้ และไม่ได้ตั้งเงื่อนไขไว้ครั้งที่ทำการเนียต
5. ดัมผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการตะหัลลุล
ซึ่งดัมใน 4 กรณีสุดท้ายไม่อนุญาตให้ผู้จ่ายรับประทาน แต่ให้เชือดและแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ในมักกะฮฺ

หุก่มการขนย้ายเนื้อออกนอกเขตหะร็อม
สิ่งที่ผู้ประกอบพิธีหัจญ์เชือดนั้นมี 3 ประเภท
1. ฮัดย์ตะมัตตุอฺ หรือกิรอน ให้เชือดในเขตหะร็อม ให้รับประทานส่วนหนึ่ง และแจกจ่ายให้ผู้ยากไร้ โดยสามารถขนย้ายออกไปนอกเขตหะร็อมได้
2. สิ่งที่เชือดในเขตหะร็อมเพื่อเป็นการเทียบจ่ายเนื่องจากล่าสัตว์บก หรือเป็นฟิดยะฮฺของผู้ที่มีความจำเป็น หรือได้ฝ่าฝืนกระทำสิ่งต้องห้าม ทั้งหมดนี้ให้แจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ชาวมักกะฮฺโดยไม่เก็บไว้รับประทานเอง
3. สิ่งที่เชือดนอกเขตหะร็อม เช่น ฮัดย์ผู้ที่มีอุปสรรคขวางกั้น หรือฟิดยะฮฺเทียบจ่ายเนื่องจากล่าสัตว์บก หรือในกรณีอื่นๆ ก็ให้แจกจ่าย ณ สถานที่เชือด แต่ก็อนุญาตให้ขนย้ายไปที่อื่น โดยต้องไม่เก็บไว้รับประทานเอง



والله أعلم بالصواب



มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

แปลโดย: อัสรอน  นิยมเดชา
ترجمة: عصران    نئيوم ديشا

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เจ๊กตาบอดเกี่ยวอะไรกับการแต่งงานและการหย่าในอิสลาม


คำว่า เจ๊ก หรือ แต้จิ๋ว มาจากภาษาจีน แปลว่า อา แล้วอาจเรียกติดปากมาเรื่อย  จนกลายเป็น คำแสลง ที่่หมายถึงคนจีน

สำหรับคำว่า จินอบูตอ(cina buta) เป็นภาษามลายู คำว่า จีนอ แปลว่า จีน และ บูตอ แปลว่า บอด รวมคำแล้ว แปลว่า จีนบอด หรือจีนตาบอด เมื่อนำมาใช้กับภาษาไทย ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เจ๊กตาบอด นั้นเอง

สำหรับคำว่า จินอบูตอ หรือเจ๊กตาบอด ซึ่งกล่าวถึงคนจีนที่ตาบอดนั้น เกี่ยวกันอย่างไรกับการหย่าร้างในอิสลาม? จริงๆแล้ว ชาวจีนที่ตาบอดเขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการหย่าร้างตามบทบัญญัติอิสลามแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการเปรียบเทียบกับผู้หนึ่งที่ต้องยอมเป็นคนที่โง่เขล่า ยอมมองไม่เห็น ทำเป็นไม่รู้เพื่อกระทำการใดให้ผู้หนึ่งสำเร็จตามเป้าหมายโดยได้รับมีค่าตอบแทนหากสำเร็จตามจุดประสงค์นั้น แต่ไม่ทราบเหตุผลที่ชาวมลายูนำคนจีนมาเปรียมเปรยเช่นนี้

สาเหตุที่เป็นบุคคลจินอบูตอ หรือเจ๊กตาบอด

ตามบทบัญญัติอิสลาม หากหญิงผู้เป็นภริยาถูกชายผู้เป็นสามีทำการหย่า 3 เฏาะล๊าก(ครั้งที่ 3) อิสลามได้กำหนดบทลงโทษสามีผู้นั้นไว้โดยการไม่อนุญาตให้กลับมาแต่งงานกับภริยาที่ตัวเองหย่าไปแล้วได้อีก จนกว่าภรรยาของตนไปแต่งงานกับชายอื่นและอยู่กินฉันสามีภรรยาจริง ๆ ก่อน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ภรรยาได้เลือกสามีใหม่  เพราะการหย่าที่จะคืนดีกันได้นั้นมีเพียง 2 ครั้ง ภายในเวลาอิดดะฮฺนั้น หากหญิงที่ถูกหย่า 3 เฏาะล๊าก ไปแต่งงานกับชายคนใหม่อยู่กินกันฉันสามีภริยา โดยมีเจตนาอยู่กินฉันสามีภริยากันจริงๆ กล่าวคือ สามีมีเจตนาที่อุปการะเลี้ยงดูภริยา ด้วยความสมัครรักใคร่ซึ่งกันและกัน  ช่วยกันสร้างครอบครัว มีลูกสืบสกุล ช่วยกันตักเตือนและปฏิบัติอยู่ในกรอบอิสลาม และมีการร่วมหลับนอนและมีเพศสัมพันธ์์กัน เป็นต้น

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮา ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ภริยาของริฟาอะฮฺ ว่า
"ไม่ได้ จนกว่าได้ดื่มน้ำผึ่งของเขา และเขาจะได้ดื่มน้ำผึ้งของเธอ" (บันทึกหะดิษโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
และหากนางไม่สามารถอยู่กินฉันสามีภริยากับสามีคนใหม่ได้ และสามีคนใหม่บอกเลิกหย่านาง และเลยเวลาอิดดะฮฺ คือ 3 เดือน นับแต่เวลาที่ถูกสามีใหม่หย่า หญิงผู้นั้นก็สามารถกลับไปแต่งงานกับชายผู้เคยเป็นสามีเดิมได้ เมื่อนางกลับไปหาสามีคนเดิมด้วยความสัมพันธ์ใหม่ และฝ่ายชายก็มีสิทธิครอบครองหย่าใหม่ทั้ง 3 เฏาะล๊าก นั้นก็เพราะสามีคนที่สองของนางได้ทำให้การอนุญาตอันแรกได้สิ้นสุดไป แล้วเมื่อนางได้กลับมาแต่งงานกับสามีคนเดิมใหม่ การอะกัดนิกะฮฺก็จะทำให้เกิดอนุญาตใหม่ๆขึ้น

พระองค์อัลลอฮ ศุบฮานาฮูวะตาอาลา ตรัสว่า
"الطَّلَاقُ مَرَّتَانِ" ความว่า "การหย่านั้นมี 2 ครั้ง"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:229)

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวาตะอาลา ตรัสว่า
فَإِن طَلَّقَهَا فَلَا تَحِلُّ لَهُ مِن بَعْدُ حَتَّىٰ تَنكِحَ زَوْجًا غَيْرَهُ فَإِن طَلَّقَهَا فَلَا جُنَاحَ عَلَيْهِمَا أَن يَتَرَاجَعَا إِن ظَنَّا أَن يُقِيمَا حُدُودَ اللَّهِ وَتِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ يُبَيِّنُهَا لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ ( 230 ) 
"ถ้าหากเขาได้หย่านางอีก(ครบ 3 เฏาะล๊าก)  นางก็ไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขาหลังจากนั้น จนกว่าจะแต่งงานกับสามีอื่นจากเขา แล้วหากสามีนั้นหย่านาง ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่ทั้งสอง ที่จะคืนดีกันใหม่ หากเขาทั้งสองคิดว่า จะดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮ์ได้และนั่นแหละคือขอบเขตของอัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงแจกแจงมันอย่างแจ่มแจ้งแก่กลุ่มชนที่รู้ดี" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:230)

ตามบทบัญญัติศาสนาดังกล่าว จึงทำให้ชายผู้เป็นสามีที่บอกเลิกหย่า จนครบ 3 เฏาะล๊าก ไม่สามารถกลับมาคืนดีกับหญิงผู้เคยเป็นภริยาได้ และกลัวว่าจะไม่มีชายใดมาสู่ขอหญิงที่ตนบอกหย่าขาด หรือไม่ยอมให้ชายใดมาแตะต่องนาง แต่ต้องการให้เข้าเงื่อนไขอิสลาม จึงหาช่องทางเพื่อกลับคืนดีกับภริยาของตน จึงไปว่าจ้างชายอื่นที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่มาเป็นสามีคนใหม่  โดยอาจมีข้อตกลงเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามสัมผัสนาง ห้ามหลับนอนและมีเพศสัมพันธ์กับนาง หรือเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับนางครั้งหนึ่งก็ให้บอกหย่านางทันที เป็นต้น และหลังจากได้เสียกันแล้ว หรือไม่มีการการเสียตัวกับสามีคนใหม่เลยก็ตาม ก็ให้หย่านางเพื่อที่ตนจะได้แต่งงานหลังจากการหย่าร้างของคนที่ถูกจ้างเมื่อครบอิดอะฮฺ  พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า แต่งงานกันหลอกๆ หรือเล่นๆ นั้นเอง ชายผู้ที่ถูกจ้างให้เป็นสามีคนใหม่ของนางนี้แหละ ที่เขาเรียกว่า จีนอบูตอ หรือ เจ๊กตาบอด หรือที่เรียกในภาษาอาหรับว่า มุฮัลลิ้ลฺ  (مُحَلِّلٌ)  ส่วนผู้รับทำ(ฝ่ายภริยาที่ถูกหย่า 3 เฏาะล๊าก) เรียกว่ามุฮัลละละฮฺ  ซึ่งดูเหมือนว่าชายที่รับจ้างนั้นต้องเป็นคนที่โง่เง่าเบาปัญญาที่สุดในละแวกนั้น   และการแต่งงานเช่นนี้เรีกว่า นิกาฮฺตะฮฺลีล ซึ่งหูกุมคือฮารอม การแต่งงานดังกล่าวนั้นเสียหาย ใช้ไม่ได้ ไม่ถูกต้อง เพราะการที่อัลลอฮฺสาปแช่งนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อนุมัติในหลักศาสนา คือหญิงคนนั้นก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้แก่สามีคนแรกของนาง ถึงแม่ว่าจะได้วางเงื่อนไขที่จะทำให้นางเป็นที่อนุมัติขณะทำอะกัด(สัญญา)ก็ตาม ตราบที่เขามีความตั้งใจอย่างนั้น เพราะการพิจารณานั้น ถือตามเป้าหมาย และการตั้งเจตนา(เหนียต)

หลักฐานการนิกาฮฺตะฮฺลีล (จีนอบูตอ หรือ เจ๊กตาบอด) เป็นที่ต้องห้าม

รายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮุม ว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"อัลลฮฺได้ทราบแช่ง มุฮัลลิ้ล (ผู้ทำจินอบุตอ) และมุฮัลละละฮฺ (ผู้รับทำจินอบุตอ)"(บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด ด้วยสายรายงานที่ดี)

รายงานจากอิบนุ อับบาส รอฎีญัลลอฮุอันฮุม  เล่าว่า
แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกถามเกี่ยวกับ มุฮัลลิล ท่านตอบว่า "ใช้ไม่ได้ นอกจากเป็นการแต่งงานที่เกิดจากความปรารถนา ไม่ใช่แต่งงานเล่นๆ และไม่ใช่แต่งงานแบบเหยียดหยามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงสูงส่ง จนกว่านางจะลิ้มรสน้ำผึ้งของเขา(มีเพศสัมพันธ์)"(บันทึกหะดิษโดยอบูอิสหาก อัลญูซญานี)
รายงานจากอับดุลลอฮฺ บุตรมัสอู๊ด รอฎีญัลลอฮุอันฮุม ว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทราบแช่งมุฮัลลิล และมุฮัลละละฮฺ (บันทึกหะดิษโดยอัตติรฺมีซีย์ โดยกล่าวว่า เป็นหะดิษหะซัน เศาะเฮียะฮฺ หะดิษนี้ถูกรายงานมาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลายสายรายงาน)

รายงานจากอุกบะฮฺ บุตรเอามิร เล่าว่า แท้จริง ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
"เอาไหม ฉันจะบอกให้พวกท่านทราบถึงก้นที่เช่ามา" เหล่าเศาะหะบะฮฺตอบว่า "เอาสิครับ ท่านรสูลของอัลลอฮฺ" ท่านกล่าวว่า "มันคือมุฮัลลิล ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งมุฮัลลิลและมุฮัลละละฮฺด้วยเถิด" (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ และอัลฮากิม โดยอบูซุร่ออะฮฺ และอบูฮาติม ได้วิจารณ์ว่า เป็นหะดิษมุรซัล(สายรายสุดที่ตาบีอีน , อัลบุคอรีย์ ไม่ชอบหะดิษบทนี้ เพราะในสายรายงานมีญะฮฺยา บุตรอุษมาน ซึ่งถือเป็นผู้อ่อนหลักฐาน)

รายงานจากท่านอุมัรฺ  รอฎีญัลลอฮุอันฮุม ได้กล่าวว่า
"มุฮัลลิล และมุฮัลละละฮฺ จะไม่ถูกนำมา นอกจากฉันต้องขว้างเขาทั้งสอง" มีผู้ถามท่านถึงเรื่องดังกล่าว ท่านตอบว่า "ทั้งสองคนนั้นเป็นผู้ทำซินา"(บันทึกหะดิษโดยอิบนุลมุนษิร และอิบนุ อบีชัยบะฮฺ และอับดุรร็อซซ๊าก)

ทัศนะของนักวิชาการ

ชายคนหนึ่งได้ถามท่านอิบนุอุมัรฺ ว่า ท่านจะว่าอย่างไรกับหญิงคนหนึ่งที่ฉันแต่งงานกับนาง เพื่อเป็นที่อนุมัติแก่สามีคนเดิมของนาง ซึ่งเขามิได้ใช้ฉัน และไม่ได้ให้ฉันรู้?"
ท่านอิบนิ อุมัรฺ ได้กล่าวแก่เขาว่า "ไม่ได้ นอกจากเป็นการแต่งงานที่เกิดจากความปรารถนาหากท่านชอบนาง ก็ให้เอานางไว้ และหากท่านไม่ชอบนาง ก็ให้ท่านแยกจากนาง และความจริงเราถือว่าการทำอย่างนั้นถือเป็นฆาตรกรในสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม"
และท่านกล่าวว่า "ทั้งสองยังคงเป็นผู้ทำซินา ถึงแม้เขาจะอยู่ด้วยกันถึง 20 ปีก็ตาม โดยที่เขาทราบดีว่า เขาต้องการให้นางเป็นที่อนุมัติ"

ท่านอบูยูซุป ถือว่า การอะกัด(สัญญา)นั้น เป็นอะกัดที่ชั่ว ใช้ไม้ได้ เพราะมันเป็นการแต่งงานชั่วคราว"

ท่านอิมามชาฟีอี กล่าวว่า "มุฮัลลิลที่ทำให้อะกัดนิกะฮฺเสียนั้น คือ ผู้แต่งงานกับนาง เพื่อให้นางเป็นที่อนุมัติ หลังจากนั้นเขาก็หย่านาง ส่วนการที่ชายคนหนึ่งมิได้ระบุเงื่อนไขในอะกัดนิกาฮฺ การอะกัดนั้น ถือว่าถูกต้องใช้ได้"

อิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า "ไม่มีการจำแนก สำหรับชาวมะดีนะฮฺ และนักวิชาการหะดิษและนิติศาสตร์อิสลาม ในการตั้งเงื่อนไขดังกล่าว ด้วยระบุออกมาเป็นคำพูดแหรือด้วยการตั้งใจ เพราะเป้าหมายของการทำสัญญา (อะกัด) สำหรับพวกเขานั้นเป็นที่ยอมรับ และการกระทำนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา
...ความจริงแล้ว การแต่งงานนั้นเป็นเพียงพิธีการ และรูปแบบเท่านั้น ถือเป็นการโกหก หลอกลวง ซึ่งอัลลอฮฺมิได้บัญญัติไว้ในศานาและไม่อนุญาตให้แก่ผู้ใด ซึ่งมีแต่ผลเสีย และอันตราย ไม่เป็นที่ซ่อนเร้นแก่ผู้ใด"

ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า "ศาสนาของอัลลอฮฺนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทินเกินกว่าการที่จะให้อวัยวะเพศหนึ่งอวัยวะเพศใดเป็นที่ต้องห้าม จนกระทั้งจะต้องมีการเช่ากันเช่นนั้น พระองค์ไม่ทรงชอบการแต่งงาน การผูกพันธ์กับทางครอบครัว หรือการคงอยู่กับสตรี ในกรณีเช่นนั้น การทำให้เป็นที่อนุญาตเช่นนั้น เป็นการฆาตกรรม และการซินา ดังที่บรรดาสาวกของท่านนรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ขนานามเอาไว้..."

สรุปว่า
เจ๊กตาบอด หรือจีนอ-บูตอ หรือที่ภาษาอาหรับเรียกว่า มุฮัลลิ้ลฺ คือชายที่ถูกรับจ้างให้เป็นสามีคนใหม่กับหญิงที่ถูกสามีเดิมหย่าครบ 3 เฎาะล๊าก เพื่อให้นางเป็นที่อนุมัติที่จะกลับไปแต่งงานกับสามีคนเดิมหลังจากสามีใหม่ได้หย่าและเลยเวลาอิดดะฮฺแล้ว ซึ่งการแต่งานเช่นนี้เรียก นิกาฮฺตะฮฺลีล ซึ่งเป็นหูกุมต้องห้ามตามบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งท่านนบีเปรียบกับก่นที่ถูกเช่า และท่านสาปแช่งการกระทำดังกล่าว การแต่งงานเช่นนี้เป็นการเยียดหยามคัมภีร์ของพระองค์อัลลอฮฺ และทำให้ศาสนาของอัลลอฮฺอันสะอาดบริสุทธิ์เป็นที่เสื่อมเสียเป็นอย่างมาก


والله أعلم بالصواب

ดาวน์โหลด PDF เจ็กตาบอด หรือ จีนอบูตอ...



วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ร่วมกันปกป้องนบีของเรา


เมื่อมีผู้ไม่หวังดีได้กระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามท่านรสูลุุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม ผู้เป็นอันที่รักของมุสลิมผูศรัทธาทุกคน ด้วยการสร้างภาพยนต์ และภาพการ์ตูนล้อเลียน อันเป็นการดูหมิ่นใส่ร้ายต่างๆนานา เป็นการบิดเบือนออกจากความจริงเพื่อให้คนนอกศาสนิกมองภาพลบต่ออิสลาม  ดังนั้นเราจึงต้องออกมารว่มกันปกป้องนบีของเรากันเถอะ

ท่านนบีมูฮัมหฺมัด ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม คือผู้ที่เป็นที่รักของเรามากที่สุด มากยิ่งกว่ารักตัวเอง และยิ่งกว่ารักบิดามารดาผู้บังเกิดกล่าวของเราเสียอีก ถึงเวลาแล้วที่เราต้องออกมาญิฮาด( جهاد )ปกป้องนบีของเรา อิสลามของเรา และออกมาชี้แจงความจริงให้พวกเขารับทราบ

รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน ฮิชาม เล่าว่า
"ครั้งหนึ่งเราอยู่พร้อมกับนบี  และท่านเอามือไปจับมืออุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ อุมัรได้กล่าวแก่ท่านว่า"โอ้รสูลของอัลลอฮฺ แท้จริงท่านเป็นคนที่ฉันรักมากกว่าสิ่งอื่นใดนอกจากตัวฉันเองเท่านั้น" ดังนั้นท่านนบี  จึงกล่าวขึ้นว่า "ไม่ ฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่ตัวฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ จนกว่าตัวฉันจะเป็นที่รักของเจ้ามากกว่าตัวของเจ้าเอง"ดังนั้นอุมัรจึงกล่าวแก่ท่านว่า "แท้จริง ขณะนี้ ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ว่าแท้จริงท่านนั้นเป็นที่รักของฉันมากกว่าตัวของฉันเอง"ดังนั้นนบี  จึงกล่าวว่า "บัดเดี๋ยวนี้แหละ โอ้อุมัร" (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 6632)

อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า แท้จริง ท่านรสูลุุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
"ดังนั้นฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่ตัวฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกเจ้าจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าฉันจะกลายเป็นคนที่เขารักมากกว่าผู้ให้บังเกิดของเขาและลูกของเขา" (อัลบุคอรีย์ หมายเลข 14)

รายงานจากท่านอนัส เล่าว่า  ท่านรสูลุุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม   กล่าวว่า
"บ่าวคนหนึ่งจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าฉันจะกลายเป็นคนที่เขารักมากกว่าครอบครัวของเขา มากกว่าทรัพย์สินของเขา และมากกว่ามนุษย์ทุกๆคน"  (มุสลิม หมายเลข 69 อบู ยะอฺลา หมายเลข 3895)
 พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮาฮูวาตาอาลา ตรัสว่า

قُلْ إِن كَانَ آبَاؤُكُمْ وَأَبْنَاؤُكُمْ وَإِخْوَانُكُمْ وَأَزْوَاجُكُمْ وَعَشِيرَتُكُمْ وَأَمْوَالٌ اقْتَرَفْتُمُوهَا وَتِجَارَةٌ تَخْشَوْنَ كَسَادَهَا وَمَسَاكِنُ تَرْضَوْنَهَا أَحَبَّ إِلَيْكُم مِّنَ اللَّهِ وَرَسُولِهِ وَجِهَادٍ فِي سَبِيلِهِ فَتَرَبَّصُوا حَتَّىٰ يَأْتِيَ اللَّهُ بِأَمْرِهِ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْفَاسِقِينَ ( 24 ) 
“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากบรรดาบิดาของพวกเจ้า และบรรดาลูก ๆ ของพวกเจ้า และบรรดาพี่น้องของพวกเจ้า และบรรดาคู่ครองของพวกเจ้า และบรรดาญาติของพวกเจ้า และบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออก และบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และการต่อสู้ในทางของพระองค์แล้วไซร้ ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งกำลัง ของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัต- เตาบะฮฺ9:24)

โทษฐานผู้พยายามบ่อนทำลายอิสลาม คือ ชีวิตของเขา


พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮาฮูวาตาอาลา ตรัสว่า




إِنَّمَا جَزَاءُ الَّذِينَ يُحَارِبُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيَسْعَوْنَ فِي الْأَرْضِ فَسَادًا أَن يُقَتَّلُوا أَوْ يُصَلَّبُوا أَوْ تُقَطَّعَ أَيْدِيهِمْ وَأَرْجُلُهُم مِّنْ خِلَافٍ أَوْ يُنفَوْا مِنَ الْأَرْضِ ذَٰلِكَ لَهُمْ خِزْيٌ فِي الدُّنْيَا وَلَهُمْ فِي الْآخِرَةِ عَذَابٌ عَظِيمٌ ( 33 ) 
"แท้จริงการตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่ทำสงครามต่ออัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ และพยายามบ่อนทำลายในแผ่นดิน นั้นก็คือการที่พวกเขาจะถูกฆ่า หรือถูกตรึงบนไม่กางเขน หรือมือของพวกเขาและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง หรือถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน นั้นก็คือพวกเขาจะได้รับความอัปยศในโลกนี้ และจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวงในปรโลก" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ 5:33)

 والله أعلم بالصواب

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลการกล่าวคำหย่า 3 เฏาะล๊าก ด้วยถ่อยคำเดียว


การหย่า หรือเฏาะล๊าก  (الطلاق) ตามหลักภาษาหมายถึง การแก้ ข้อผูกมัดของการแต่งงานออกโดยใช้คำหย่า (เฏาะล๊าก)

ประเด็นที่จะกล่าวในที่นี้ก็คือว่า การกล่าวคำหย่า 3 ครั้ง เอาไว้ในถ่อยคำเดียว ในเวลา และสถานที่เดียวกันนั้น จะถือว่าเป็นการหย่า 3 เฏาะล๊ากหรือไม่ เช่น ชายผู้เป็นสามีกล่าวกับหญิงผู้เป็นภริยาว่า"เธอถูกหย่าสามเฏาะลาก" หรือ "ฉันหย่าเเธอ ,ฉันหย่าเธอ ,ฉันหย่าเธอ" หรือ "นางถูกหย่า นางถูกหย่า นางถูกหย่า" เป็นต้น ซึ่งขณะกล่าวคำหย่าต้องสมบูรณ์ตามที่ศาสนบัญญัติไว้ครบถ้วน กล่าวคือ หญิงผู้เป็นภริยาอยู่ในช่วงที่สะอาด ปราศจากมีเลือดประจำเดือน  หรือเลือดหลังคลอดบุตร และก่อนหย่านั้นไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับนาง (แต่ไม่ได้ห้ามกรณีหญิงผู้เป็นภริยากำลังตั้งครรภ์ ซึ่งการหย่าจะไม่ตกแก่นางผู้ตั้งครรภ์ เกินกว่า 1 เฏาะล๊าก และปล่อยนางไว้อย่างนั้นจนกว่านางจะคลอดบุตร หลังจากนั้นการหย่าทุกครั้งก็จะตก) ชายผู้เป็นสามีเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะ  และตัดสินใจด้วยตนเองได้  ไม่ได้ถูกบังคับ หรือมึนเมาโดยไม่รู้ว่าตัวเองพูดอะไร หรือโกรธที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

การรวมเอาการหย่า  3  ครั้งเอาไว้ด้วยถ้อยคำเดียว  จึงมีทัศนะของนักวิชาการต่างกันเป็น  3  ฝ่ายดังนี้

1. ทัศนะที่ว่าการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว เป็นทัศนะของปวงปราชญ์  ส่วนหนึ่งคือ ท่านอิบ อิหม่ามทั้ง  4  และ  กลุ่มอัซซอฮิรียะฮฺ   โดยมีรายงานจากซอฮาบะฮฺส่วนใหญ่  เช่น  ค่อลีฟะฮฺทั้ง  4  (ยกเว้นท่านอบูบักร)  และบรรดาอับดุลลอฮฺทั้ง  4  ท่าน  (คืออิบนุ  อุมัร,  อิบนุ  อัมร์,  อิบนุ  อับบ๊าส  และอิบนุ  มัสอู๊ด)  และอบูฮุรอยเราะฮฺ  เป็นต้น

โดยอาศัยหลักฐานดังนี้

รายงานจากมุยาฮิด เล่าว่า
 "ข้าพเจ้าได้อยู่กับอิบนิอับบาส ได้มีชายคนหนึ่งมาหาอิบนิอับบาส แล้วกล่าวว่า "ฉันได้หย่าภริยาของฉัน 3 เฏาะล๊าก อิบนิอับบาสนิ่ง จนฉันคิดว่าอิบนิอับบัสจะให้ผู้หญิงคืนดีกับเขา หลังจากนั้นเขาได้กล่าวว่า "คนหนึ่งของพวกท่านรีบร้อน เขาจึงกระทำเหมือนคนโง่" ต่อมาชายคนนั้นได้กล่าวว่า "โอ้อิบนิอับบาส แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า "และผูใดที่มีความย่ำเกลงอัลลอฮฺ พระองค์จะให้เขามีทางออก" แต่ท่านไม่มีความย่ำเกลงอัลลอฮฺ ดังนั้น ฉันจึงไม่มีทางออกของท่าน ท่านได้ละเมิดพระผู้อภิบาลของท่าน และภริยาของท่าน ก็ขาดกันกับท่าน(บาอิน)"(สายรายงานเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด)
รายงานจากสะฮัล อิบนุ สะอัด เล่าว่า
"เมื่อพี่น้องตระกูลอัจญะลานได้สาบานว่า ภริยาของเขาทำซีนา เขาได้กล่าวว่า โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ ฉันอธรรมต่อนาง ถ้าฉันยังยึดเอานางไว้ นางถูกหย่า นางถูกหย่า นางถูกหย่า" (บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด)
รายงานจากอุบบาดะฮฺ อิบนุศศอมิต เล่าว่า
"คุณปู่ของฉันได้หย่าภริยาของเขา 1,000 เฏาะล๊าก แล้วก็ออกไปหาท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไปเล่าให้ท่านรสูลฟัง ท่านรสูลได้กล่าวแก่เขาว่า "ปู่ของเจ้าไม่กลัวอัลลอฮฺหรือ หย่า 3 เฏาะล๊ากนั้นเป็นสิทธิ์ของเขา ส่วนอีก 997 เฏาะล๊าก เป็นการสร้างศัตรู และอธรรม ถ้าอัลลอฮฺประสงค์ พระองค์ก็จะลงโทาเขา และพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ทรงอภัยโทษให้แก่เขา"

ทัศนะของนักวิชาการ

ท่านอิมามมาลิก อิบนุ อนัส กล่าวในเรื่องการหย่าขั้นเด็ดขาดว่า "ถ้าผู้หย่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงคนนั้นแล้ว การหย่าก็ตก 3 เฏาะล๊าก"

ท่านอิมามชาฟีอี กล่าวว่า "ถ้าเขาตั้งใจ 1 เฏาะล๊าก ก็ตก 1 เฏาะล๊าก และสามารถกลับคืนดีอีกได้ ถ้าเขาตั้งใจ 2 เฏาะล๊าก ก็ตก 2 และถ้าเขาตั้งใจ 3 เฏาะล๊าก ก็ตก 3"

2. ทัศนะที่ว่าคำพูดดังกล่าวไม่ตกเฏาะล๊ากเลยเล ได้แก่ทัศนะบางท่านในหมู่อัตตาบิอีน มีรายงานเล่ามาจาก ท่านอิบนิอะลียะฮฺ ฮิชาม อิบนิล หะกัม และท่านอบูอุบัยดะฮฺ และบางคนในหมู่อะฮฺลิซซอฮิรฺ (มัซฮับดาวู๊ด อัซซอฮีรีย์) รวมถึงฝ่ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ  ถือว่าไม่มีการหย่าเกิดขึ้น

3.ทัศนะที่ว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ถือว่าเป็นการตกเป็นการหย่า 1 ครั้ง เป็นทัศนะของของฝ่ายซัยดียะฮฺและอัซซอฮีรียะฮฺบางส่วน,อาลี อิบนีอับบาส , อับดุรเราะฮฺมาน บุตรเอาฟ์ , ซุบัยรฺ บุตร เอาวาม , อะตออฺ , ตอวูส , อินบุ ดีนาร , อิกมะฮฺ สานุศิษย์ของอิมามมาลิก ฮะนาฟี และอะหฺมัด บางท่าน   อิบนุ  อิสหาก,  อิบนุตัยมียะฮฺและอิบนุ  อัลก็อยยิม




หลักฐานทัศนะที่ว่าการกล่าวคำหย่า 3 ครั้ง ด้วยถ่อยคำเดียว ถือเป็นการหย่า 1 เฏาะล๊าก

หลักฐานจากอัลกุรอาน

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวาตะอาลา ตรัสว่า
الطَّلَاقُ مَرَّتَانِ فَإِمْسَاكٌ بِمَعْرُوفٍ أَوْ تَسْرِيحٌ بِإِحْسَانٍ وَلَا يَحِلُّ لَكُمْ أَن تَأْخُذُوا مِمَّا 
آتَيْتُمُوهُنَّ شَيْئًا إِلَّا أَن يَخَافَا أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ اللَّهِ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ اللَّهِ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْهِمَا فِيمَا افْتَدَتْ بِهِ تِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ فَلَا تَعْتَدُوهَا وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ اللَّهِ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ ( 229 ) 
"การหย่านั้นมีสองครั้ง แล้วให้มีการยับยั้งไว้โดยชอบธรรม หรือไม่ก็ปล่อยไปพร้อมด้วยการทำความดี และไม่อนุญาตแก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง (มะฮัร) นอกจากทั้งทั้งสองเกรงว่าจะไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮ์ได้เท่านั้น ถ้าหากพวกเจ้าเกรงว่า เขาทั้งสองจะไม่ดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮ์แล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขาทั้งสองในสิ่งที่นางใช้มันไถ่ตัวนาง เหล่านั้นแหละคือขอบเขตของอัลลอฮ์ พวกเจ้าจงอย่าละเมิดมัน และผู้ใดละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์แล้ว ชนเหล่านั้นแหละคือผู้ที่อธรรมแก่ตัวเอง(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 2:229)


จากอัลกุรอาน ไม่ได้บ่งบ่งถึงการหย่าที่ต่อเนื่องกันด้วยคำพูดแต่อย่างเดียว หากแต่ต่อเนื่องด้วยการติดตามมาด้วยการนับเป็นครั้ง ซึ่งนักอธิบายอัลกุรอานบางท่านจึงกล่าวว่า "การที่อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูวะตาอาลา ได้ตรัสว่าการหย่านั้น 2 ครั้ง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เห็นว่าสมควรที่จะให้การหย่านั้นมีขึ้นเป้นครั้งๆ มิใช่หย่า 2 เฏาะล๊ากรวดเดียวเลย เพราะถ้าหากพระองค์อัลลอฮฺทรงประสงค์เช่นนั้น พระองค์จะตรัสว่า "การหย่านั้น เฏาะล๊ากและสิ่งที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งหนึ่ง แล้วก็อีกครั้งหนึ่งนั้น มุกัลลัฟ ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำให้เกิดขึ้นในครั้งเดียวพร้อมกัน เช่นเดียวกับการสาปแช่ง(อัลลิอาน) ชายคนหนึ่งสาปแช่งภริยาของเขา  จะกล่าวว่าสาบานกี่สาบาน หรือยอมรับกี่ครั้ง ก็ถือเป็นครั้งเดียว

อายะฮฺอัลกุรอานข้างต้น มิใช้ระบุอย่างที่มีความเข้าใจกันว่า การกล่าวหย่าต่อเนื่องกันด้วยคำพูดเดียวกัน เท่ากับตกสาม และประเพณีก็ไม่ได้เป็นไปดังว่าการกระทำจะเกิดขึ้นซ้ำกันโดยเพียงคำพูดครั้งเดียว การหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดคำเดียว ไม่เคยปรากฏในสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม




หลักฐานจากหะดิษ

รายงานจากมะฮฺมูด บุตร ละบีด รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
"ได้มีผู้เล่าให้ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ฟังถึงชายคนหนึ่ง ที่ได้หย่าภริยาของเขาหมดทั้ง 3 เฏาะลาก ท่านนบีได้ลุกขึ้นด้วยอาการโกรธ แล้วกล่าวว่า "คัมภีร์ของอัลลอฮฺจะถูกล้อเล่นอย่างนั้นหรือ ทั้งที่ฉันยังอยู่ในหมู่พวกท่าน? " จนในที่สุดชายคนหนึ่งลุกขึ้นยืน แล้วกล่าวว่า "โอ้ ท่านรสูลุลลอฮฺ ฉันจะไม่ฆ่าเขาหรือ" (บันทึกหะดิษโดยน่าซาอี ด้วยสายรายงานที่ดี)
 รายงานจากอิกริมะฮฺ จากอิบนิ อับบาสรอฎีญัลลอฮุอันฮุมา
 "รุนานะฮฺ บุตร อับดุยะซีด ได้หย่าภริยาของเขา 3 เฏาะลาก ในสถานที่แห่งเดียว ต่อมา รุกานะฮฺ เกิดความเสียใจอย่างรุ่นแรง  ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามเขาว่า "ท่านหย่าหล่อนอย่างไร?" เขาตอบว่า "สาม" ท่านถามว่า "ในสถาที่เดียวใช้ไหม?" เขาตอบว่า "ถูกแล้ว" ท่านรสูลกล่าวว่า "ความจริงมันเป็นเพียงหนึ่งเท่านั้น จงกลับไปคืนดีกับหล่อนเถิด ถ้าหากท่านต้องการ ผู้เล่ากล่าวว่า "รุกานะฮฺ ได้กลับไปคืนดีกับหล่อน "(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด, อบูดาวูด และอบียะอฺลา)

รายงานจาก อะบี อัซซอฮฺบาอฺ  รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
"แท้จริงเขาได้กล่าวแก่อิบนิอับบาสว่า "ท่านทราบไหมว่า หย่าสามถูกนับเป็นหนึ่ง ในสมัยของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอบูบักร์ และสามปีแรกของการปกครอง โดยอุมัร"      อิบนุอับบาส ตอบว่า "ถูกแล้ว"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม อบูดาวูด และอะหฺมัด)
รายงานจากอิบุอับบาส รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
"การหย่าในสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในสมัยอบูบักร์ และอีกสองปีของการดำรงตำแหน่ง คอลีฟะฮฺ  ของท่านอุมัรฺนั้น การหย่าสาม เป็นหนึ่ง (คำพูดเดียว 3 เฏาะลาก=  1 เฏาะลาก) ท่านอุมัรฺ บุตรของอัลคอตต็อบ ได้กล่าวว่า "ความจริงประชนรีบร้อนในงานชิ้นหนึ่ง ทั้งที่ความจริงพวกเขาควรมีความสุขุมในงานชิ้นนั้น และพวกเราก็ควรที่จะกำหนดมันใช้บังคับแก่ประชาชน" ท่านอุมัรฺจึงกำหนดมันใช้บังคับแก่ประชาชน(คือท่านอุมัร รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา ก็ได้กำหนดให้หย่าสามเฏาะลากในคำพูดเดียวเป็นสามเฏาะลาก ท่านอุมัรฺได้เรียกอัครสาวกมาประชุมปรึกษาหารือในเรื่องดังกล่าว พวกเขาเห็นพ้องกับท่านอุมัรฺ ท่านอุมัรฺจึงได้นำข้อบังคับใช้กับประชนชนว่าเป็น 3 เฏาะลาก)" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม อบูดาวูด และอะหฺมัด)

 รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ   รอฎีญัลลอฮุอันฮา เล่าว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า"การหย่าทาสหญิงนั้น คือ ทำได้ 2 ครั้ง และกำหนดกักตัว(อิดดะฮฺ)ของหล่อน ก็คือ 2 ประจำเดือน" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด และติรฺมีซีย์)

รายงานจาก ท่านอุมัร  รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
"แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้หย่าฮัฟเซาะฮฺ แล้วกลับคืนดีกับนาง(ตามคำสั่งของอัลลอฮฺ โดยมีวะฮีย์มายังท่าน"(บันทึกหะดิษโดยอะบูดาวูด และน่าซาอี)
รายงานจากอิบนิอับบาส รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
"ปรากฏว่าชายคนหนึ่งเมื่อได้หย่าภรรยาของเขาแล้ว เขาก็มีสิทธิยิ่งที่จะคืนดีกับนาง แม้จะหย่าหล่อนถึง 3 ครั้งก็ตาม การเช่นนั้นได้ถูกยกเลิกด้วยคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานาฮูวาตาอาลา ที่ว่า "การหย่า(ที่กลับคืนดีกันได้) มีเพียงสอง ดังนั้นให้ยึดไว้ให้ดี หรือปล่อยไปโดยคุณธรรม"(บันทึกหะดิษโดยอบูดาวุด ติรฺมีซีย์ และนาซาอี)





ทัศนะของนักวิชาการว่าการกล่าวคำหย่า 3 ครั้ง ด้วยถ่อยคำเดียว ถือเป็นการหย่า 1 เฏาะล๊าก


อิบนุ ก้อยยิม ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิฆอษะตุ้ลละฮฺฟาน ว่า "ท่านได้ถือว่าเขาคนนั้นทำเล่นๆ กับคัมภีร์ของอัลลอฮฺ เพราะผู้นั้นได้ฝ่าฝืนนัยแห่งการหย่า เขาประสงค์ในสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ประสงค์ เพราะอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ต้องการให้หย่าเพียง 1 เฏาะล๊าก เขาก็มีสิทธิ์กลับมาอยู่กับภริยาเมื่อเขาประสงค์ แล้วก็หย่าอีก 1 เฏาะล๊าก โดยที่เขาประสงค์ที่จะไม่กลับไปคืนดีกับนาง
ในทำนองเดียวกัน การตก 3 เฏาะลาก ในที่เดียวนั้นเป็นการฝ่าฝืนคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า "الطَّلَاقُ مَرَّتَانِ" ความว่า "การหย่านั้นมี 2 ครั้ง"
คำว่า 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง ในภาษาของอัลกุรอาน และสุนนะฮฺ รวมทั้งภาษาอาหรับและภาษาของชนชาติอื่นๆ มันหมายความว่า หย่าที่ละครั้ง ที่ละครั้ง แล้วเมื่อเอา 2 ครั้ง และหลายครั้งมารวมกันไว้ในการพูดครั้งเดียว ถือเป็นการละเมิดขอบเขตของอัลลอฮฺ ตะอาลา และสิ่งที่คัมภีร์ของพระองค์บ่งชี้ แล้วเหตุใดที่เป้าหมายกับคำหย่าอย่างนั้นจะเป็นข้อชี้ขาดที่ตรงกันข้ามกับเป้าประสงค์ของบทบัญญัติ"

อิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่าในหนังสือ ฟะตาวา เล่มที่ 2 หน้าที่ 22 ว่า "ไม่มีหลักฐานทางศาสนา คือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ สุนนะฮฺของท่านรสูล มติของนักปราชญ์ และหลักฐานว่าจำเป็นต้องตก 3 เฏาะลากเลย การนิกะฮฺของเขายังมั่นคงอย่างแน่ใจ ภริยาของเขายังเป็นที่ต้องห้ามแก่คนอื่นด้วยความแน่ใจ และในการที่บอกว่าจำเป็นที่ต้องห้ามแก่เขา เพื่อปกป้องการแต่งงานที่อัลลอฮฺ และรสูลของพระองค์ทรงห้าม เพราะการแต่งงานเพื่อทำให้ภริยาเป็นที่อนุมัติแก่สามีเดิม ไม่เคยปรากฏอย่างชัดเจนในสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และสมัยบรรดาฆ่อลีฟะฮฺของท่าน และไม่เคยมีใครรายงานมาเลยว่า มีหญิงที่กลับไปแต่งงานกับสามีเดิมอีก หลังจากถูกหย่า 3 เฏาะลาก แล้วในสมัยของพวกเขาด้วยการแต่งงานชั่วระยะหนึ่งเพื่อให้นางกลับไปคืนดีกับสามีเดิม แต่ความจริงแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่งผู้ดำเนินการ และผู้ถูกดำเนินการ (คือเรื่องจินอบุตอฺ หรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า "เจ๊กตาบอด") จนกระทั้งเขา (อิบนุตัยมียะฮฺ) กล่าวว่า
สรุปแล้วบัญญัติที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำมาสู่ประชาชาติของท่านนั้น เป็นบัญญัติที่จำเป็นนั้นไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไม่สามารถจะยกเลิกได้หลังจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้จากไปแล้ว"

อิบนุล ก็อยยิม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า "ได้มีรายงานอย่างถูกต้องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ความจริงการหย่า 3 เฏาะลากนั้น ถือเป็นเฏาะลากเดียวในสมัยการปกครองของท่านอบีบักรฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮุ และในช่วงแรกๆของสมัยการปกครองของท่านอุมัรฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮุ และในที่สุดในสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นมาทั้งๆ ทั้งๆที่มันห่างไกลกัน เพราะบรรดาเศาะหะบะฮฺนั้นพวกเขาเคยปฏิบัติอย่างนั้น โดยไม่มีรายงานเป็นอย่างอื่น อย่างนี้แหละ ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันชี้ให้เห็นว่าพวกเขาชี้ขาดอย่างนั้นในช่วงที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่ และในช่วงการเป็นฆ่อลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺ ความจริงแล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เคยชี้ขาดอย่างนั้น และนั้นคือ การชี้ขาดของท่าน และการกระทำของบรรดาสาวกของท่านโดยที่เอาแบบอย่างกันมา โดยผ่านมือต่อมือ และไม่มีการค้านกัน"


ท่านอิมามอัชเชากานียฺ กล่าวว่า "นักวิชาการมีความเห็นไม่ตรงกัน การกล่าว 3 เฏาะล๊ากรวดเดียวว่าจะตกเป็น 3 หรือ 1 เท่านั้น ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าตกเป็นสาม คนอื่นๆมีความเห็นว่าตกเป็นหนึ่งเท่านั้น และนั้นเป็นของแท้ และฉันได้รายงานไว้มากมายในตำราที่ฉันได้เรียบเรียงขึ้น  และฉันจัดเรื่องนี้ไว้ในสาส์นฉบับหนึ่งต่างหาก"

"ท่านอุมัร รอฎีญัลลอฮุอันฮุ มีความเห็นว่า เป็นการปรามมิให้ผู้คนหย่ากันอย่างพล่อยๆ จึงให้ตก 3 เฏาะลากทีเดียว เพื่อเป็นการลงโทษผู้คน ซึ่งท่านก็เห็นว่ามันเกิดความจำเป็นในช่วงวิกฤตเช่นนั้น นั่นเป็นการวินิจฉัยของท่านเอง สรุปก็คือ การหย่าในสมัยนั้น มันเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ท่านได้ทำไปเพื่อผลประโยชน์ของสังคมที่ท่านเห็นว่าควรจะทำอย่างนั้น โดยที่จะไม่ทิ้งคำตัดสิ้นชี้ขาดที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยปฏิบัติเป็นแบบอย่างเอาไว้ และเคยเป็นที่ยึดถือของบรรดาสาวกของท่านในสมัยเหล่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏอย่างนั้น คนหนึ่งก็จงกล่าวเถิดว่า นั้นเป็นไปตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และด้วยอัลลอฮฺเท่านั้น คือความสำเร็จ"

ท่านอัชชากานี ได้กล่าวว่า เจ้าของหนังสืออัลบะฮฺริ ได้กล่าวไว้เช่นนั้น โดยรายงานมาจากอบีมูซา และรายงานหนึ่งจากอะลี อิบนิอับบาส ฏอวูส อะวูส อะฏอฮฺ ญาบิร อิบนุ เชด อัลฮาดี อัลกอเซ็ม อัลบากิร อะหฺมัด อิบนุอีซา อับดุลลอฮฺ อิบนุมูซา อิบนุอับดิลลาฮฺ และรายงานหนึ่งจาก เชด อิบนุ อะลี รอฎีญัลลอฮุอันฮุม

สิ่งที่เรียกร้องให้ท่านอุมัรฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮุ ปรึกษาหารือกับบรรดาเศาะหะบะฮฺในเรื่องการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ก็เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้คือ "ผู้คนทั้งหลายรีบด่วนในงานที่พวกเขาจำเป็นต้องค่อยทำค่อยไป"

ท่านอิบนิตัยมียะฮฺ กล่าวว่า "การที่ท่านอุมัรฺ  รอฎีญัลลอฮุอันฮุ ถือว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊าก ทำให้ตกเป็นสาม ก็เนื่องจากผู้คนทั้งหลายกล่าวเฏาะล๊าก(คำหย่า)กันพล่อยๆ ท่านจึงลงโทษคนเหล่านั้นด้วยการให้ตกเป็น 3 เฏาะล๊ากไปเลย และนี่เนื่องจากการใช้การวินิจฉัย(อิจญ์ติฮาด) ของท่าน เช่นเดียวกับการเพิ่มโทษการเฆี่ยนผู้ดื่มสุราจาก 40 ยุคท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และยุคฆ่อลีฟะฮฺอบูบักร์ รอฎีญัลลอฮุอันฮุ เป็น 80 ที เนื่องจากมีคนดื่มกันมาก และเป็นไปอย่างโจ่งแจ้ง จึงไม่ขัดข้องในการเพิ่มอัตราโทษในการเฆี่ยนตี"




การนำมาใช้ในศาลประเทศอียิปต์

ทัศนะนี้ที่เป็นแนวทางที่ดำเนิน และถือปฏิบัติกันในศาลในประเทศอียิปต์ในระยะหลังนี้ ซึ่งได้ระบุอยู่ในมาตรา 3 ของกฎหมาย ข้อที่ 25 ปี ค.ศ.1929 โดยมีข้อความต่อไปนี้ "การหย่าที่ระบุจำนวนเป็นคำพูดออกมา หรือทำสัญญาณ ถือว่าตก 1 เฏาะลากเท่านั้น"
ได้ระบุอยู่ในรายละเอียดเป็นข้อความที่อธิบายมาตรงนี้ว่า จึงจำเป็นที่ต้องเลือกเอาว่าตก 1 เฏาะล๊ากนั้น ก็เพราะว่าเป็นการปกป้องเพื่อให้เกิความสุขกับครอบครัว และเพื่อให้หลุดพ้นจากเรื่องมุฮัลลิล (จินอบุตอ , เจ๊กตาบอด) ซึ่งถือเป็นเรื่องสร้างความเสื่อมเสียให้กับบทบัญญัติอันสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งที่ศาสนานั้นมิได้เป็นอย่างที่ผู้คนเข้าใจกับความจริงแล้วเรื่องมุฮัลลิล และมุฮัลละละฮฺ นั้นได้ถูกสาปแช่งไว้ และเพื่อหาทางออก แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องการหย่าร้าง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ทำลายสถาบันครอบครัวให้ถูกต้องตามนัยของศาสนา

สรุป 
การกล่าวคำหย่า(เฏาะล๊าก)ซ้ำๆ หรือรวบรัดทีเดียว ในถ่อยคำเดียวกันนั้น มีผลเป็นการหย่า 1 หย่า (เฏาะล๊าก) ตามหลักฐานอัลกุรอานและหะดิษที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ในยุคฆ่อลีฟะฮฺอุมัรฺ รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา จะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียวก็ตาม ก็เกิดขึ้นด้วยความจำเป็น อันเนื่องจากผู้คนในยุคนั้นต่างกล่าวคำหย่ากันพล่อยๆ และรีบด่วน ท่านจึงลงโทษคนเหล่านั้นด้วยการให้ตกเป็น 3 เฏาะล๊าก แต่ท่านไม่ได้ให้ทิ้งคำตัดสิ้นชี้ขาดที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยปฏิบัติเป็นแบบอย่างเอาไว้ และเคยเป็นที่ยึดถือของบรรดาสาวกของท่านในสมัยเหล่านั้นแต่อย่างใด กล่าวคือหลัก ต้องนำหลักฐานการตัดสิ้นชี้ขาดจากท่านรสูล  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่าการกล่าวคำหย่าครั้งหนึ่ง มีผลเป็นการหย่า 1 เฏาะล๊ากเท่านั้น และหากอยู่ในช่วงวิกฤตมีความจำเป็นเช่นยุคฆ่อลีฟะฮฺอุมัรฺ  รอฎีญัลลอฮุอันฮุมา จึงจะนำหลักการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียวมาใช้ได้ แยกเป็นประเด็นไป

 والله أعلم بالصواب

***ดาวน์โหลด PDF การหย่า 3 เฏาะล๊าก






วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ลัทธิชีอะฮฺนุศ็อยรีย์ในซีเรีย


           เมื่อชาวซีเรียอยู่ในอุ่มมือของเล่าปิศาจร้ายมาช้านาน พวกเขาได้ประสบกับมรสุมชีวิตมากมาย แต่ไม่มียุคไหนทีมีความโหดเหี้ยมและสร้างสะพรึงกลัวเหมือนในยุคลัทธิชีอะฮฺนุศ็อยรีย์ อะละวีย์อีกแล้ว เพราะมันเป็นการโหมโรงไฟแค้นของลัทธิมาญูซีย์(ลัทธิบูชาไฟ) ความป่าเถื่อนของคริสเตียนยุคโบราณ และความเจ้าเล่ห์เพทุบายของยิวมาผสมผสานในลัทธิเดียวกัน

          โดยเฉพาะในยุคฮาฟิศ อะสัด ซึ่งมีความเชื่อตามลัทธิชีอะฮฺนุศ็อยรีย์ ยึดครองอำนาจล้มล้างรัฐบาลซีเรียโดยวิธีรัฐประหาร และตนถูกคัดเลือกเป็นประธานาธิบดีซีเรียตั้งแต่ ปี ค.ศ.1970 และเมื่อนายฮาฟิศเสียชีวิตก็มีนายบัชชาร์ อะสัด ลูกชายสืบทอดอำนาจผู้นำซีเรียจนถึงปัจจุบัน ผลงานของฮาฟิศอะสัด คือความเลวร้ายที่สุดให้แก่ประชาชนชาวซีเรีย ไม่ว่าเป็นการสถาปนารัฐแห่งความน่ากลัว มีการเข่นฆ่า เชือดคอ ปล้นสะดมทั่วทุ่งแห่ง ประชาชนไม่มีความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สิน สถาปนาซีเรียกลายเป็นทุ่งสังหารที่เต็มไปด้วยโสกนาฏกรรมอันน่าสยดสยองอันมากมาย อย่างทุ่งสังหารเมืองอิดลิบ ทุ่งสังหารเมืองตัดมุร  ทุ่งสังหารสัรมาดา เป็นต้น และความโหยร้ายป่าเถื่อนของผู้นำที่มีความเชื่อตามลัทธิชีอะฮฺนุศ็อยรีย์ ยังสืบทอดเรื่อยมาจนถึงลูกนายบัชชาร์ อะสัด จนถึงปัจจุบัน
ครอบครัวอัลอะสัดผู้นับถือลัทธิชีิอะฮฺนุศ็อยรีย์ในซีเรีย

นิยามและที่มาของลัทธิอันน-นุศ็อยริยะฮฺ(النصيرية)

 อัน-นุศ็อยริยะฮฺ คือ กลุ่มลัทธิบาฏีนิยะฮฺ (คือลัทธิที่เชื่อว่าบทบัญญัติมีทั้งสิ่งที่เปิดเผยและสิ่งซ่อนเร้น และพวกเขาเท่านั้นที่สามารถรับรู้ถึงบทบัญญัติที่ซ่อนเร้น) ซึ่งอุบัติขึ้นในฮิจญ์เราะฮฺศตวรรษที่ 3 ผู้ทำตามแนวทางของกลุ่มนี้ถือเป็นชาวชีอะฮฺที่มีแนวคิดสุดโต่ง ซึ่งเชื่อว่าคุณลักษณะการเป็นพระผู้เป็นเจ้าแฝงตัวอยู่ในตัวท่านอะลีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ดังนั้นพวกเขายึดถือว่าอะลีย์เป็นพระเจ้า

 บุคคลที่ก่อตั้งกลุ่มนี้คือ อบูชุอัยบฺ มุหัมหมัด เบ็น นุศ็อยรฺ อัล-บัศรีย์ อัน-นุมัยรีย์   ( เสียชีวิตเมื่อ ปี ฮ.ศ. 270 เขาผู้นี้ทันกับสมัยอิหม่ามชีอะฮฺ 3 ท่านด้วยกัน คือ อะลีย์ อัล-ฮาดีย์ (อิหม่ามคนที่ 10) อัล-หะสัน อัล-อัสกะรีย์ (อิหม่ามคนที่ 11) และมุหัมหมัด อัล-มะฮฺดีย์ (อิหม่ามคนที่ 12 – ผู้ที่ชีอะฮฺอ้างว่าได้หายตัวไปและจะปรากฏตัวอีกครั้งในยุคสุดท้ายของโลก)


        อบูชุอัยบฺ อ้างตนว่าเป็นอัล-บาบ (ประตูความรู้) ของอิหม่าม อัล-หะสัน อัล-อัสกะรีย์ เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ของเขา เป็นที่พึงหรือที่อ้างอิงด้านวิชาการของชาวชีอะฮฺ หลังจากอิหม่าม อัล-อัสกะรีย์ และอ้างว่าคุณสมบัติการเป็นที่อ้างอิงและอัล-บาบยังคงอยู่กับตัวของเขาหลังการสูญหายของอิหม่ามอัล-มะฮฺดีย์

          อบูชุอัยบฺ อ้างตนเองว่าเป็นศาสนทูตและรับวิวรณ์(วะหฺยู) จากอัลลอฮฺ และเขาได้เทิดทูนบรรดาอิหม่ามของชีอะฮฺจนเกินเลยถึงขั้นพระผู้เป็นเจ้า อบูชุอัยบฺได้แต่งตั้งมุหัมหมัด เบ็น ญุนดุบ เป็นผู้นำลัทธิต่อจากเขา

         ต่อมา อบูมุหัมหมัด อับดุลลอฮฺ เบ็น มุหัมหมัด อัล-ญินาน อัล-ญุนบะลานีย์ (ฮ.ศ. 235-287 )  ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำลัทธิต่อ เขามีถิ่นกำเนิดที่ เมืองญุนบะลา แคว้นเปอร์เซีย เขามีฉายานามว่า อัล-อาบิด อัซ-ซาฮิด และอัล-ฟาริสีย์ เขาได้เดินทางไปยังอียิปต์ และได้แนะนำเชิญชวนแนวคิดของเขาแก่อัล-เคาะศีบีย์

          หุซัยนฺ เบ็น อะลีย์ เบ็น อัล-หุซัยนฺ เบ็น หัมดาน อัล-เคาะศีบีย์ เกิดเมื่อปี ฮ.ศ. 260 เป็นชาวอียิปต์โดยกำเนิด เขาได้เดินทางออกจากประเทศอียิปต์มายังเมืองญุนบะลาพร้อมกับอาจารย์ของเขา อับดุลลอฮฺ เบ็น มุหัมหมัด อัล-ญุนบะลานีย์ ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำหลังจากการเสียชีวิตของอาจารย์ เขาได้อาศัยอยู่ภายใต้อาณัติของอาณาจักรอัล-หัมดานิยะฮฺ  ที่เมืองหะลับ (Aleppo) ผู้ปกครองอาณาจักรแห่งนี้ได้จัดตั้งศูนย์กลางแนวคิดอัน-นุศ็อยริยะฮฺจำนวน 2 แห่ง คือ ที่เมืองหะลับ โดยมีมุหัมหมัด อะลีย์ อัล-ญะลีย์ เป็นหัวหน้าศูนย์ และที่กรุงแบกแดด (Bagdad) มีอะลีย์ อัล-ญะสะรีย์ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ
         อัล-เคาะศีบีย์ ได้เสียชีวิต ณ เมืองหะลับ สุสานของเขาเป็นที่รู้จักของชาวเมืองเป็นอย่างดี เขาผู้นี้มีงานเขียนมากมายเกี่ยวกับแนวทางของเขา ตลอดจนมีบทกวีที่ชื่นชมวงศ์วานของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เขาผู้นี้เชื่อมั่นในทัศนะการว่ายเวียนตายเกิดของมนุษย์ ศูนย์กลางอัน-นุศ็อยริยะฮฺ ณ กรุงแบกแดดได้ล่มสลายหลังจากการรุกรานของกองทัพฮูลากู (Hulagu Khan) ส่วนศูนย์กลางอัน-นุศ็อยริยะฮฺ ณ เมืองหะลับ ได้ย้ายไปยังเมือง อัล-ลาซิกิยะฮฺ (Lattakia) โดยมีหัวหน้าศูนย์คนใหม่คือ อบูสะอัด อัล-มัยมูน สุรูร เบ็น กอสิม อัฏ-เฏาะบะเราะนีย์ (ฮ.ศ. 358-427) ชาวเคิร์ดและชาวเติร์กได้รุกรานพวกอัน-นุศ็อยริยะฮฺอย่างรุนแรงทำให้พวกเขาต้องร้องขอความช่วยเหลือจากอัล-อะมีรฺ หะสัน เบ็น ยูซุฟ อัล-มักซูน อัส-สินญารีย์ (ฮ.ศ. 583-638) เจ้าเมืองสินญารฺ (อยู่ทางตอนเหนือในประเทศอิรักติดพรมแดนประเทศซิเรีย) ทำให้เกิดการปะทะในพื้นที่ถึงสองครั้ง ซึ่งในครั้งแรกกองทัพอัน-นุศ็อยริยะฮฺประสบกับความล้มเหลว ส่วนในครั้งที่สองพวกเขาประสพความสำเร็จเอาชนะศัตรูที่มารุกรานได้ ซึ่งทำให้ลัทธิอัน-นุศ็อยริยะฮฺได้ปักหลักในพื้นที่เทือกเขาอัล-ลาซิกิยะฮฺอย่างถาวร


          ในประวัติศาสตร์ลัทธินี้รู้จักกันในนาม อัน-นุศ็อยริยะฮฺ ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของกลุ่มนี้ แต่ครั้งเมื่อมีการก่อตั้งพรรคการเมืองหนึ่งในซีเรีย ชื่อว่าพรรคอัล-กุตละฮฺ อัล-วะเฏาะนิยะฮฺ (The National Bloc Party) พรรคการเมืองนี้มีเป้าหมายที่จะดึงพวกอัน-นุศ็อยริยะฮฺมาเป็นสมาชิก พวกเขาจึงตั้งชื่อลัทธินี้ใหม่ว่า กลุ่มอัล-อะละวิยีน ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใจพวกเขาเป็นอย่างมากและใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน อาณานิคมฝรั่งเศสได้สถาปนารัฐหนึ่งให้แก่พวกเขาโดยตั้งชื่อว่ารัฐอัล-อะละวิยีน ตั้งแต่ ค.ศ.1920 - ค.ศ. 1936
ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นผู้นำซีเรียลัทธินุศ็อยริยะฮฺกับผู้นำอิหร่านชีอะฮฺอิมามสิบสอง

         มุหัมหมัด อามีน ฆอลิบ อัฏ-เฏาะวีล เป็นบุคคลสำคัญของกลุ่มอัน-นุศ็อยริยะฮฺ เป็นผู้นำกลุ่มสมัยการล่าอาณานิคมฝรั่งเศสเหนือประเทศซิเรีย เขาผู้นี้ได้แต่งหนังสือ ตารีค อัล-อะละวิยีน ซึ่งกล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของกลุ่มอัน-นุศ็อยริยะฮฺ

         สุไลมาน อัล-อะหฺมัด ดำรงตำแหน่งสำคัญทางศาสนาสมัยอาณาจักรอัล-อะละวิยีน เมื่อปี ค.ศ. 1920

พวกอัน-นุศ็อยริยะฮฺ หรือ อัล-อะละวิยะฮฺสามารถแทรกซึมเข้าแฝงตัวในองค์กรและสมาคมต่างๆในซิเรีย และพวกเขากลายเป็นผู้มีอิทธิพลในรัฐบาลซิเรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับชาวซุนนะฮฺ จากนั้นพวกเขาได้รวบรวมอำนาจจากแนวคิดสังคมนิยม ชาตินิยม และแนวคิดพรรคบาธ (Ba’ath Party-ฟื้นฟูสังคมนิยมอาหรับ) ด้วยการก่อปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1971 นับตั้งแต่บัดนั้นซิเรียก็ถูกปกครองโดยพวกอัล-อะละวิยีน(อัน-นุศ็อยริยะฮฺ) ภายใต้การนำของประธานาธิบดีฮาฟิซ อัล-อะสัด ซึ่งต่อมาบุตรชายของเขาบัชชารฺ อัล-อะสัด สืบทอดอำนาจหลังการเสียชีวิตของผู้เป็นบิดา

หลักความเชื่อของลัทธิอัน-นุศ็อยริยะฮฺ(Nosairis)

-นับถืออะลี เป้นพระเจ้า พวกเขายังเชื่อว่าการปรากฏตัวเป้นตัวตนของอาลี เปรียบเสมือนกับการปรากฏตัวของญิบรีลในรูปของมนุษย์

-พวกเขายย่องอับดุลเราะหฺมาน บิน มุลญิม ฆาตกรที่ฆ่าอะลี บิน อบีฏอลิบ เนื่องจากเขาเชื่อว่าคนๆนี้ ได้เปลี่ยนสถานะของอาลีจากมนุษย์ธรรมดาเป็นพระเจ้า และสถานะของความเป็นพระเจ้านี้สามารถสิงสถิตอยู่ในบุคคลอื่นเป็นการเฉพาะด้วย


- การที่พระเจ้าอวตารมาในรูปร่างของอะลีย์ที่เป็นมนุษย์นั้นไม่มีจุดประสงค์ใดนอกจากจะให้บ่าวของพระองค์รูสึกคุ้นเคยกับพระองค์

-พวกเขาเชื่อว่าท่านอาลีได้สิงสถิตอยู่ในดวงจันทร์ บางกลุ่มเชื่อว่าพำนักอยู่ในดวงอาทิตย์

- พวกเขาเชื่อว่าหลังจากที่อะลีย์เสียชีวิตวิญญาณหลุดจากร่างแล้ว วิญญาณนั้นจะสถิตอยู่ในหมู่เมฆ ดังนั้นเมื่อหมู่เมฆพัดผ่านต่อหน้าพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า ขอความศานติจงประสบแด่ท่านด้วย โอ้บิดาของท่านอัล-หะสัน และพวกเขายังเชื่ออีกว่าฟ้าร้องคือเสียงของท่านอะลีย์ส่วนฟ้าแลบนั้นคือแส้ของท่านอะลีย์

- พวกเขาเชื่อว่าอะลีย์เป็นผู้สร้างท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และมุหัมมัดได้สร้างสัลมาน อัล-ฟาริสีย์ และสัลมาน อัล-ฟาริสีย์ได้สร้างเด็กกำพร้า 5 คน คือ
1. อัล-มิกดาด บิน อัล-อัสวัด และพวกเขาถือว่าผู้นี้เป็นพระเจ้า เป็นผู้สร้าง และรับหน้าที่ดูแลฟ้าร้อง
2. อบูซัรฺ อัล-ฆิฟารีย์ ถูกมอบให้ดูแลการโคจรของดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆ
3. อับดุลลอฮฺ บิน เราะวาหะฮฺ ถูกมอบให้ดูแลเรื่องลม และถอนวิญญาณมนุษย์
4. อุษมาน บิน มัซอูน ถูกมอบให้ดูแลเรื่องกระเพาะ ความร้อนของร่างกาย และโรคภัยต่างๆของมนุษย์
5. กุนบุร บิน กาดาน ถูกมอบให้ดูแลเรื่องการเป่าวิญญาณสู่ร่างกายมนุษย์

- พวกเขามีคืนหนึ่งที่ปะปนเพื่อสมสู่กันระหว่างชายหญิง เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มอัล-บาฏินียะฮฺ

- พวกเขาให้ความสำคัญกับสุรา ให้ความสำคัญกับต้นองุ่น และพวกเขาจะตำหนิการถอนหรือตัดต้นองุ่น อันเป็นที่มาของสุรา โดยพวกเขาตั้งชื่อสุราว่า อัน-นูรฺ

- พวกเขาละหมาดวันหนึ่ง 5 เวลา แต่ทว่าการละหมาดของเขาจะแตกต่างในจำนวนร็อกอะฮฺ ไม่มีการสุญูด แม้ว่าจะมีการรุกูอฺในบางครั้ง

- พวกเขาไม่ละหมาดวันศุกร์ และไม่ทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำยกหะดัษก่อนทำการละหมาด

- พวกเขาไม่มีมัสยิด แต่จะละหมาดตามบ้านของพวกเขา และในการละหมาดพวกเขาจะอ่านบทคาถางมงาย

- พวกเขามีพิธีการคล้ายพิธีการของศาสนาคริสต์ เช่น กุดดาสอัฏ-ฏีบ (ศีลน้ำหอม) กุดดาสอัล-บะคูรฺ (ศีลธูปจากไม้หอม) และกุดดาสอัล-อะซาน

- พวกเขาไม่ยอมรับพิธีหัจญ์ เพราะเชื่อว่าการเดินทางไปทำหัจญ์ที่มักกะฮฺเป็นการปฏิเสธศรัทธาและถือว่าเป็นการเคารพบูชารูปปั้น

- พวกเขาไม่ยอมรับในบทบัญญัติการจ่ายซะกาตตามที่ชาวมุสลิมทั่วไปยอมรับ แต่พวกเขาจะจ่ายส่วยภาษีแก่บรรดาปราชญ์ของพวกเขาด้วยอัตรา 1 ส่วน 5 จากทรัพย์ที่ครอบครองทั้งหมด

- การถือศีลอดในทัศนะของพวกเขาคือการงดเว้นจากการร่วมนอนหลับระหว่างสามีภรรยาตลอดทั้งคืนในเดือนเราะมะฎอน

- พวกเขามีความโกรธเคืองต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺอย่างมาก พวกเขาจะสาปแช่งท่านอบูบักรฺ อุมัรฺ และอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม

- พวกเขาอ้างว่า หลักการศรัทธานั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ อัซ-ซอฮิรฺ(เปิดเผย) และ อัล-บาฏิน(เร้นลับ) และพวกเขาเท่านั้นที่รู้เกี่ยวความลับของอัล-บาฏิน เช่น พวกเขาเชื่อว่า อัล-ญะนาบะฮฺ คือการภักดีต่อศัตรูและโง่เขลาต่อความรู้เกี่ยวกับส่วนที่เร้นลับ, อัฏ-เฏาะฮาเราะฮฺ(ความสะอาด) คือ การเป็นปฏิปักษ์กับศัตรูและรู้เกี่ยวกับส่วนที่เร้นลับ, อัศ-ศิยาม(การถือศีลอด) คือ การรักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับชาย 33 คนและหญิง 33 คน , อัซ-ซะกาต คือสัญลักษณ์ตัวตนของ สัลมาน , อัล-ญิฮาด (การต่อสู้) คือการสาปแช่งต่อศัตรูและผู้เปิดโปงความลับ, อัล-วิลายะฮฺ (การปกครอง) คือความจริงใจต่อครอบครัวอัน-นุศ็อยรียะฮฺ และเกลียดชังผู้ที่เป็นศัตรูกับอัน-นุศ็อยรียะฮฺ , อัช-ชะฮาดะฮฺ (การกล่าวคำปฏิญาณ) คือการชี้ด้วยวาจาว่า อัยนฺ มีม สีน, อัลกุรอาน คือ บทนำสู่การมอบความบริสุทธิ์ใจต่ออิหม่ามอะลีย์ และสัลมาน ได้ปรากฏตนในร่างของญิบรีลมาสอนอัลกุรอานแก่ท่านนบีมุหัมมัด, อัศ-เศาะลาฮฺ (การละหมาด) คือสัญลักษณ์ของชื่อบุคคล 5 ท่าน คือ อะลีย์ หะสัน หุสัยนฺ มุหฺสิน และฟาฏิมะฮฺ  มุหฺสิน คนนี้คือความลับ พวกเขาอ้างว่ามุหฺสินเป็นชื่อลูกของฟาฏิมะฮฺที่แท้ง การกล่าวชื่อทั้งห้าชื่อนั้นถือว่าเป็นการทำแทนการอาบน้ำญะนาบะฮฺ และการอาบน้ำละหมาด


นักปราชญ์มุสลิมเห็นพ้องว่า ไม่อนุญาตให้ชาวมุสลิมแต่งานกับพวกอัน-นุศ็อยรีย์ ห้ามรับประทานสัตว์เชือดของพวกเขา ไม่อนุญาตให้ละหมาดญะนาซะฮฺแก่พวกเขาที่ตาย ไม่อนุญาตให้ฝังศพร่วมกับบรรดาชาวมุสลิม และไม่อนุญาตให้เกณฑ์พวกเขาเป็นทหารประจำการบริเวณชายแดนหรือป้อมปราการต่างๆ
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “กลุ่มชนที่เรียกตนว่า อัน-นุศ็อยรียะฮฺนั้น พวกเขาทั้งหมดและพวกอัล-เกาะรอมิเฏาะฮฺ อัล-บาฏินียะฮฺ เป็นพวกที่ปฏิเสธศรัทธาร้ายแรงยิ่งกว่าชาวยิวและคริสเตียนเสียอีก ซ้ำยังปฏิเสธศรัทธายิ่งกว่าชาวมุชริกีน ความอันตรายร้ายกาจของพวกเขายิ่งกว่ากุฟฟารฺที่รุกรานชาวมุสลิมอย่างพวกตะตาร์ (Tatars) และพวกฝรั่ง พวกเขาจะอยู่เคียงข้างศัตรูของชาวมุสลิมเสมอ พวกเขาเคียงข้างกับชาวคริสต์ในการรุกรานมุสลิม ความเจ็บปวดที่รุนแรงสำหรับพวกเขาคือการที่ชาวมุสลิมมีชัยชนะเหนือพวกตะตาร์ เนื่องจากพวกเขาอยู่เคียงข้างตะตาร์ ทุกครั้งที่พวกตะตาร์ยกทัพมารุกรานประเทศมุสลิมและสังหารเคาะลีฟะฮฺ ณ กรุงแบกแดดนั้นหรือกษัตริย์อื่นๆ ของชาวมุสลิมนั้นก็ด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจากพวกอัน-นุศ็อยรียะฮฺ”


วันเฉลิมฉลองของลัทธิอัน-นุศ็อยริยะฮฺ

     วันอีด (วันเฉลิมฉลอง) ของพวกเขานั้นมีมากมาย ซึ่งสามารถบ่งบอกว่าหลักการความเชื่อมั่นของพวกเขาได้ ดังเช่นต่อไปนี้
- วันอีด อัน-นัยรูซ คือวันเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย ซึ่งตรงกับวันที่ 4 ของเดือนเมษายน
- วันอีด อัล-เฆาะดีรฺ
- วันอีด อัล-ฟิรอชฺ การเยี่ยมเยียนในวันอาชูรออ์ ในวันที่สิบของเดือนอัล-มุหัรร็อม เพื่อรำลึกถึงวันเสียชีวิตของอัล-หุสัยนฺที่เมืองกัรฺบะลาอ์
- วันอัล-มุบาฮะละฮฺ หรือวันอัล-กิสาอ์ ในวันที่ 9 ของเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล เพื่อรำลึกถึงการที่ท่านนบี เชิญชวนชาวคริสเตียนนัจญ์รอนมาทำการมุบาฮาละฮฺ (สาบานต่ออัลลอฮฺว่าหากใครพูดเท็จผู้นั้นจะประสบกับความหายนะ)
- วันอีด อัล-อัฎหา พวกเขาจะเฉลิมฉลองในวันที่ 12 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

        พวกเขาเฉลิมฉลองในวันเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ด้วย เช่น อีด อัล-ฆุฏอส อีด อัล-อุนศุเราะฮฺ อีดเซนต์บาร์บารา วันคริสต์มาส วันไม้กางเขน ซึ่งพวกเขานำมาเป็นฤกษ์ในการทำเกษตรและเก็บเกี่ยวไม้ผล อีกทั้งเป็นฤกษ์ในการทำมาค้าขาย และทำสัญญาเช่าหรือให้เช่า
          พวกเขาเฉลิมฉลองในวันดะลาม คือวันที่ 9 ของเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล ซึ่งเป็นวันแห่งการสังหารท่านอุมัรฺ เบ็น อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เพื่อเป็นการแสดงความยินดีต่อการเสียชีวิตของอุมัรฺ และกล่าวด่าประณามท่านอุมัรฺ


รากเหง้าและที่มาของแนวคิด

-นำหลักความเชื่อของพวกบูชาเจว็ดมาผสมผสาน และบูชาดวงดาวต่างๆและเชื่อว่าดวงดาวเหล่านั้นเป็นที่สถิตของอิหม่ามอะลีย์

-ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาเพลโต โดยนำทฤษฎีการทอแสงของรัศมีบนวัตถุ
สร้างหลักความเชื่อบนพื้นฐานของหลักความเชื่อของนักปรัชญาเปอร์เซีย

-รับอิทธิพลความเชื่อจากชาวคริสต์ และชาวคริสต์นิกาย อัล-เฆาะนูศิยะฮฺ (Gnosticism) พร้อมกับศรัทธาต่อไม้กางเขน พิธีกรรมต่างๆ และอนุญาตให้ดื่มสุรา

-รับอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับการว่ายเวียนตายเกิดจากหลักความเชื่อของชาวอินเดียหรือเอเชียตะวันออก

พวกเขาคือพวกชีอะฮฺที่สุดโต่ง ซึ่งทำให้หลักการและแนวคิดของพวกเขามาจากแนวคิดของชีอะฮฺ ตามทัศนะที่อัร-เราะฟิเฎาะฮฺส่วนใหญ่ยึดถือ หรือตามที่พวกอัส-สะบะอียะฮฺ (กลุ่มของอับดุลลอฮฺ บิน สะบาอ์ ชาวยิว) เป็นการเฉพาะ

สถานที่เผยแพร่แนวคิด

พวกอัน-นุศ็อยรีย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาอัล-ลาซิกิยะฮฺ และในระยะหลังๆได้แพร่กระจายไปยังทุกพื้นที่ของประเทศซีเรียที่อยู่ใกล้เคียง

และพวกเขามีจำนวนที่ไม่น้อยอาศัยอยู่ในเขตอะนาฎูล (Anatolia-Turkey) ตะวันตก ซึ่งรู้จักกันในนามของกลุ่ม อัล-ตัคตะญิยะฮฺ (al-Takhtajiyah) และ อัล-หัฏฏอบูน (al-Hattaboun)

กลุ่มอัน-นุศ็อยรียะฮฺที่อาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกของอัล-อะนาฎูล รู้จักกันในนาม อัล-เกาะซัล บาเชห์  ส่วนในเขตอื่นๆ ของตุรกีและแอลบาเนีย รู้จักพวกนี้นามของกลุ่ม อัล-บิกตาชิยะฮฺ (Bektashiyah)
บางพวกอาศัยอยู่ในเปอร์เซีย และตุรกิสถาน (Turkestan) รู้จักกันในนามกลุ่ม อัล-อะลีย์ อิลาฮิยะฮฺ และพวกเขาบางคนอาศัยอยู่ในประเทศเลบานอนและปาเลสไตน์

 والله أعلم بالصواب

วิดีโอภาพอันน่าสยดสยองของลัทธิชีอะฮฺนุศ็อยริยะฮฺต่อชาวซีเีรีย


























คลิปนี้พวกนุศ็อยรียะฮฺล้อเลียนการละหมาด




ที่มาของบทความบางส่วน
http://www.saaid.net/feraq/mthahb/35.htm
จากหนังสือ อัล-เมาสูอะฮฺ อัล-มุยัสสะเราะฮฺ ฟี อัล-อัดยาน วะ อัล-มะษาฮิบ โดยสภายุวมุสลิมโลก