อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การอิอฺติกาฟพำนักที่มัสยิด

พำนัก
อิอฺติกาฟ

อิอฺติกาฟ หมายถึง การที่บุคคลพยายามพำนักหรือเก็บตัวอยู่ในมัสยิดอย่างสงบตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้ ด้วยมุ่งมั่นในการทำอิบาดะฮฺ โดยเจตนาใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮฺ





อิมามอิบนุลก็อยยิม กล่าวไว้มีความว่า “ในเมื่อความดีเลิศอย่างต่อเนื่องของจิตใจในการมุ่งมั่นอยู่ในแนวทางของอัลลอฮฺนั้น ขึ้นอยู่กับการผินหน้าเข้าหาพระองค์องค์เดียว ทั้งนี้เพราะการสับสนของจิตใจจะรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียวไม่ได้นอกจากการหันหน้าเข้าหาอัลลอฮฺเท่านั้น"


หลักบทบัญญัติในการอิอฺติกาฟ

การอิอฺติกาฟมีสุนนะฮฺให้กระทำในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน หรือ 20 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน


รายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า

( كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعْتَكِفُ في كُلِّ رَمَضَانَ عَشَرَةَ أَيَّامٍ
فَلَمَّا كَانَ العَامُ الَّذِيْ قُبِضَ فِيْهِ اعْتَكَفَ عِشْرِيْنَ يَوْمَاً )
رواه البخاري ومسلم

ความว่า  “ท่านรสูลุลลอฮฺ ได้ทำอิอฺติกาฟในทุกเดือนรอมฎอนเป็นเวลาสิบวัน ต่อมาในปีที่ท่านเสียชีวิตท่านได้ทำเอี๊ยะอฺติก๊าฟเป็นเวลา 20 วัน”   (บันทึกโดย “ อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)


การอิอฺติกาฟเป็นสุนนะฮฺ แต่เป็นวาญิบสำหรับผู้บนบาน


ท่านอิบนุมุนซิรฺ ได้กล่าวในหนังสือ(อัลอิจญฺมาอฺ)ของท่าน(หน้า 53)ว่า

"وأجمعوا على أن الاعتكاف سنة لا يجب على الناس فرضا إلا أن يوجبه المرء على نفسه نذرا فيجب عليه" اهـ

ความว่า “และบรรดาอุละมาอฺได้มีมติเอกฉันท์ว่าการอิอฺติกาฟนั้นเป็นสุนนะฮฺไม่ใช่เป็นสิ่งที่วาญิบแก่มุสลิม นอกจากว่าเขาจะจงใจทำให้มันเป็นสิ่งวาญิบสำหรับเขาด้วยการนะซัรฺ(บนบาน) เช่นนั้นแล้วจึงถือเป็นสิ่งวาญิบแก่เขา”


รายงานจากท่านอุมัรฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)เคยกล่าวกับท่านนบีว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ ، إِنِّي نَذَرْتُ فِي الْجَاهِلِيَّةِ أَنْ أَعْتَكِفَ لَيْلَةً فِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ . قَالَ : « أَوْفِ بِنَذْرِكَ »

ความว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงฉันเคยบนบานไว้ก่อนที่ฉันจะเข้ารับอิสลามว่าฉันจะทำการอิอฺติกาฟในมัสญิดอัลหะรอมหนึ่งคืน  ท่านนบีตอบว่า “ท่านจงปฏิบัติตามคำบนบานของท่านเถิด” [รายงานโดยอัลบุคอรี (6697)]


และอิอฺติกาฟถูกบัญญัติขึ้นเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เพื่อแสวงหาคืนลัยละตุลก็อดรฺ ทั้งท่านนบีไม่เคยอิอฺติกาฟอื่นจากเดือนรอมฎอนเลย แต่สำหรับผู้ที่บนบานว่าจะอิอฺติกาฟในเดือนอื่นจากเดือนรอมฎอน เช่นนี้ก็อนุญาตให้เขาทำอิติกาฟที่มัสยิด แม้ว่าจะไม่อยู่ในเดือนรอมฎอนก็ตาม


ข้อกำหนดในการอิอฺติกาฟ

1) ต้องการเนียตตั้งเจตนาอิอฺติกาฟเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ

อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
       
               "إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى 
            ความว่า
               “แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ..."
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530  ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)

2) ต้องอิอฺติกาฟที่เป็นมัสยิดเท่านั้น


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ»

ความว่า “และท่านทั้งหลายอย่าร่วมประเวณีกับภรรยาของพวกท่าน ขณะที่พวกท่านอยู่ในมัสยิด (โดยตั้งเจตนาอิอฺติกาฟ)” [อัลบะเกาะเราะฮฺ: 167]

อายะฮ์ข้างต้นระบุถึงมัสยิดทั่วๆไป เพราะสำนวนของอายะฮฺใช้คำว่า "บรรดามัสยิดต่างๆ"

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَعَهِدْنَا إِلَى إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ أَنْ طَهِّرَا بَيْتِيَ لِلطَّائِفِينَ وَالْعَاكِفِينَ وَالرُّكَّعِ السُّجُودِ»

ความว่า “และเราได้บัญชาให้อิบรอฮีมและอิสมาอีลทำความสะอาดบ้านของเรา เพื่อพวกที่เฏาะวาฟ พวกที่พำนักอยู่ (อิอฺติกาฟ) และพวกที่รุกูอฺสุญูด” [อัลบะเกาะเราะฮฺ: 125]



3) ผู้ที่อิอฺติกาฟ ต้องเป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ ปราศจากญุนุบ เลือดประจำเดือน และเลือดหลังคลอดบุตร

การเริ่มต้นอิอฺติกาฟ

นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ให้เริ่มต้นอิอฺติกาฟในคืนที่ 21 เดือนรอมฎอน โดยไม่ใช่เข้าอิอฺติกาฟหลังละหมาดศุบฮฺในวันที่ 21 เดือนรอมฎอน
แต่มีนักวิชาการบาวส่วนมีทัศนะว่า "ให้เริ่มต้นอิอฺติกาฟหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺแล้ว

โดยอ้างหลักฐาน รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า
"เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการอิอฺติกาฟ ท่านรสูลละหมาดศุบฮฺ จากนั้นท่านรสูลก็เข้าอิอฺติกาฟ"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2842 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

ซึ่งหะดิษข้างต้น ทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่า "ท่านรสูล ปลีกตัวจากผู้คนภายนอกหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ แต่ท่านนบีจะเนียตอิอฺติกาฟในช่วงกลางคืน เพราะการเริ่มต้นนับวันใหม่ของสิบคืนสุดท้าย ต้องภายหลังดวงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าของวันที่ 20 เท่านั้น" (มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา ชัย อิบนุษัยมีน" เล่ม 20 หน้า 170)

สิ่งทีอนุญาตให้ผูทำอิอฺติกาฟกระทำ

ศาสนาอนุญาตให้ผู้ที่อิอฺติกาฟออกจากมัสญิดที่พำนักอยู่เพื่อถ่ายทุกข์ อาบน้ำละหมาด ละหมาดวันศุกร์ กิน ดื่ม และอื่นๆ เช่น เยี่ยมคนป่วย หรือเดินตามญะนาซะฮฺ (ศพ) ของผู้ที่มีพระคุณหรือมีสิทธิต่อเขา เช่นพ่อแม่ ญาติใกล้ชิด เป็นต้น

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า
"ปรากกว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยื่นศีราะมายังฉัน(ห้องติดกับมัสยิด) ในขระที่ท่านรสูล(อิอฺติกาฟ) ในมัสยิด เช่นนั้นฉันก็สระผมให้แก่ท่านรสูล ซึ่งปรากฏว่าท่านรสูลจะไม่เข้าบ้าน นอกจากความจำเป็น ขณะที่ท่านรสูลอิอฺติกาฟ" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 2029)

สิ่งที่ทำให้เสียอิอฺติกาฟ

1) การออกจากมัสยิดโดยเจตนา ซึ่งไม่มีธุระใด ที่ศาสนาอนุโลมให้ออกนอกมัสยิด เพราะการพำนักอยู่ในมัสยิดเป็นรุก่นของการอิอฺติกาฟ

2)การร่วมเพศขณะอิอฺติกาฟที่มัสยิด


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

«وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ»

ความว่า “และท่านทั้งหลายอย่าร่วมประเวณีกับภรรยาของพวกท่าน ขณะที่พวกท่านอยู่ในมัสยิด (โดยตั้งเจตนาอิอฺติกาฟ)” [อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ: 167]


3) ผู้อิอฺติกาฟตกศานา(มุรฺตัด)

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَلَقَد أوحِىَ إِلَيكَ وَإِلَى الَّذينَ مِن قَبلِكَ لَئِن أَشرَكتَ لَيَحبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكونَنَّ مِنَ الخٰسِرينَ 

"และโดยแน่นอน ได้มีวะฮียฺมายังเจ้า (มุฮัมมัด) และมายังบรรดานะบีก่อนหน้าเจ้าหากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัซซุมัรฺ 39:65)


อนุญาตให้มุสลิมะฮฺอิอฺติกาฟที่มัสยิด


รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮา)กล่าวว่า

«كَانَ يَعْتَكِفُ الْعَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللَّهُ ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ»

ความว่า“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน  ต่อมาบรรดาภรรยาของท่านได้ทำการอิอฺติกาฟ  ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไป”  [บันทึกโดยอัลบุคอรี (2026) และมุสลิม (1172)]


เงื่อนไขที่ศาสนาอนุญาตให้มุสลีมะฮฺอิอฺติกาฟที่มัสยิด
1)ต้องได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน
2)ต้องไม่มีฟิตนะฮฺใดๆขณะอิอฺติกาฟที่มัสยิด เช่น ต้องสำรวมต่อเพศตรงข้าม ต้องระวังเรื่องเอาเราะฮฺของนาง



والله أعلم بالصواب









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น