อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ละศิลอดด้วยผลอินทผลัม(อันนะศิล)

อินทผลัมสด

ผลอินทผลัม (อ่านว่าอินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae
ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ
(اَلنَّخِيْلُ ) เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมี รสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก  เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ(نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน” (نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง




คุณค่าที่ได้รับจากอินทผลัมสดขณะละศิลอด


พระองค์อัลลอฮฺทรงตัสกับมัรยัมว่า

وَهُزّى إِلَيكِ بِجِذعِ النَّخلَةِ تُسٰقِط عَلَيكِ رُطَبًا جَنِيًّا

“และเธอ(มัรฺยัม)จงเขย่าต้นอินทผลัม ให้มันเอนมาทางตัวเธอ มันจะหล่นลงมาที่ตัวเธอเป็นอินทผลัมที่สดและสุกน่ากิน” (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม อายะฮฺที่ 25)



عَنْ أَنَسٍ بنِ مَاْلِكٍ رَضِيَ الله عَنْهُ قَالَ : كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُفْطِرُ قَبْلَ أَنْ يُصَلِّيْ عَلىَ رُطَبَاْتٍ، فَإِنْ لَّمْ تَكُنْ رُطَبَاْتٌ فَتُمَيْرَاْتٍ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تُمَيْرَاتٌ حَسَا حَسَوَاتٍ مِنْ مَّآءٍ.  (الترمذي رقم 632، صحيح سنن الترمذي للألباني رقم560 : صحيح)


ความว่า จากท่าน อะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะละศีลอดก่อนละหมาด(มัฆริบ)ด้วยลูกอินทผาลัมสดจำนวนเล็กน้อย ถ้าไม่มีอินทผาลัมสดท่านจะละศีลอดด้วยอินทผาลัมแห้งเล็กๆ จำนวนหนึ่ง หรือถ้าไม่มีอินทผาลัมแห้ง ท่านจะจิบหรือดื่มน้ำสองสามครั้ง” (รายงานโดย อัต-ติรฺมิซีย์ หมายเลข 632 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ ของ อัล-อัลบานีย์ หมายเลข 560 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

รอมา
ละศิลอดด้วยผลอินทผลัม

         ท่านร่อซูลจะละศีลอดด้วยกับอินทผลัมสด โดยท่านให้เหตุผลว่า การถือศีลอดนั้นทำให้กระเพาะอาหารปราศจากอาหารเมื่อเรากินทผลัมสดเข้าไป จะทำให้ความหวานของมันไปหล่อเลี้ยงตับ
และอวัยวะต่างๆของร่างกายให้กลับมาชุ่มชื่นขึ้น และตามด้วยอาหารต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ นับเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ และวงการแพทย์วินัจฉัยว่า อินทผลัมทุกชนิดมีโปตัสเซียมสูงมาก และมีประโยชน์ต่อร่างกาย




       บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะว่า วิทยปัญญาในการส่งเสริมให้มีการละศีลอดด้วยลูกอินทผลัมนั้น เนื่องจากความหวานของมันสามารถทำให้เกิดพละกำลัง อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เนื่องจากความหวานนั้นจะสอดคล้องกับความศรัทธา และสามารถทำให้หัวใจมีความอ่อนโยน ด้วยเหตุนี้เหล่าตาบิอีนบางท่านเห็นว่า ผู้ที่ถือศีลอดสามารถที่จะละศีลอดด้วยของหวานอย่างอื่นก็ได้ เช่น น้ำผึ้ง เป็นต้น

อิบนุ หะญัร อัล-มักกีย์ กล่าวว่า ความประเสริฐต่างๆ ของลูกอินทผลัมคือ เมื่อลูกอินทผลัมเข้าไปในกระเพาะขณะที่ท้องว่างนั้นจะกลายเป็นอาหาร โดยที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารจากลูกอินทผลัมนั่นเอง

ส่วนวิทยปัญญาในการละศีลอดด้วยน้ำนั้น เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งที่มีความบริสุทธิ์ และสามารถบรรเทาความกระหายอันเป็นสิ่งที่คอยรบกวนในการประกอบอิบาดะฮฺ เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แนะนำให้อ่านดุอาอ์ในการละศีลอด ความว่า “ความกระหายได้หายไป” และหวังว่าด้วยการดื่มน้ำสามารถทำให้ร่างกายและใจมีความสะอาด

อินทผลัมที่ยังไม่สุก

การรับประทานผลไม้ขณะท้องว่าง


1. ขณะที่ท้องว่าง ร่างกายจะดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุจากผลไม้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สุด

2. ใยอาหารในผลไม้จะทำหน้าที่กวาดล้างสารพิษที่ตกค้างอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารได้ดี และช่วยแก้ปัญหาเรื่องท้องผูกให้เราได้

3. ลำไส้จะได้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เพราะผลไม้มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยตัวมันเองได้อยู่แล้ว ถ้าไม่มีอาหารปะปนอยู่ ร่างกายก็จะอยู่เฉยๆ ปล่อยให้ผลไม้จัดการย่อยตัวเอง เป็นการให้เวลาลำไส้ได้พักผ่อนไปในตัว

4. เอนไซม์จากผลไม้จะอยู่ได้ไม่นาน ถ้าเรากินผลไม้ขณะที่ในท้องมีอาหารอื่นอยู่ด้วย ผลไม้ก็จะต้องถูกอัดอยู่ในท้องนานเกินไป จนเอนไซม์ที่มีประโยชน์ของมันตาย แต่ประโยชน์ทั้งหมดนี้จะหายไปไม่มีเหลือถ้าผลไม้ที่คุณกินเป็นผลไม้หมักดอง หรือผลไม้กระป่อง ฉะนั้น การกินผลไม้ทั้งทีต้องกินสดๆ ถึงจะดีที่สุด อย่างอินทผลัม ซึ่งขณะจะละศิลอด ท้องว่างมาตลอดทั้งวัน


والله أعلم




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น