อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นุ๊ก-สุทธิดาสนใจอิสลาม



 นุ๊ก-สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา อดีตนักร้องและนักแสดงสาวชื่อดังกำลังสนใจศึกษาอิสลาม

เธอเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศการละหมาดวันศุกร์ที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยด้วย

เธอมีการชี้แจงว่าไม่รับงานโป๊เปลือย

และได้มีคนสอบถามในในไอจีว่าเธอเข้ารับอิสลามแล้วจริงหรือไม่ นุ๊ก สุทธิดา ได้ตอบกลับว่า “ยังไม่ได้เข้ารับแต่สนใจอิสลามกำลังศึกษาอยู่ สนุกและมีความสุขกับการเรียนมาก”

ร่วมกันขอดุอาอฺและช่วยเป็นกำลังใจให้คุณนุ๊ก สุทธิดา สู่หนทางอิสลามด้วย ขออัลลอฮฺตะอาลา ทรงเปิดใจ อามีน…










อย่าละทิ้งละหมาดวันศุกร์





ละหมาดวันศุกร์นั้นมีความสำคัญสำหรับมุสลิมชายอย่างมาก เป็นวาญิบ(จำเป็น)สำหรับพวกเขาที่จะเอาใจใส่ไม่ทิ้งละหมาดวันศุกร์โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้เน้นย้ำอย่างมากที่จะให้มุสลิมไปร่วมละหมาดวันศุกร์ ถึงกับท่านเคยกล่าวสัมทับว่าท่านเคยคิดที่จะออกไปหากลุ่มบุคคลที่ไม่ไปร่วมละหมาดวันศุกร์ แล้วจะเผาบ้านของพวกเขา มุสลิมจึงไม่ควรละเลยที่จะไปละหมาดวันศุกร์โดยที่ไม่มีเหตุจำเป็นใดๆที่จะละทิ้งมัน ซึ่งแน่แท้ผู้ที่มีเจตนาละทิ้งมันโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ อัลลอฮฺตะอาลาจะประทับตราหัวใจของเขาให้เป็นผู้หลงลืม ไม่ได้รับฮิดายะฮฺจากพระองค์


ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
ฉันเองเคยคิดที่จะสั่งให้ใครสักคนทำหน้าที่นำละหมาดผู้คนแทนฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ออกไปหากลุ่มบุคคลที่ไม่มาร่วมละหมาดวันศุกร์ แล้วจะได้เผาบ้านของเขา (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 652)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
บรรดาผู้ชอบละทิ้งละหมาดวันศุกร์ จะเลิกพฤติกรรมนี้ หรืออัลลอฮฺจะปิดหัวใจของพวกเขา แล้วพวกเขาก็จะอยู่ในบรรดาผู้ที่หลงลืมอย่างแน่นอน (บันทึกหะดิษอิมามมุสลิม เลขที่ 865)

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
ผู้ที่ตั้งใจละทิ้งละหมาดวันศุกร์ 3 ครั้ง ด้วยปล่อยปละละเลย ไม่ให้ความสำคัญต่อมัน อัลลอฮฺจะประทับตรา(ปิด)หัวใจของเขา (คือไม่ได้รับฮิดายะฮฺ) (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1052 ชัยคฺอัล-อัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดิษที่หะซันเศาะฮีหฺ)


والله ولي التوفيق




วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เขาหาว่า ผมแอบอ้างอิบนุกะษีร


Zeeham Assiyamee
5 ชม. · มีการแก้ไข
ผมนี่ไม่รู้จะว่าเลยครัช
เมื่อคุณลุงอะสัน สะเดา ได้แอบอ้างว่า ข้อความในภาพดังกล่าวว่า เป็นคำพูดของท่านอิบนุกะษีร ที่กล่าวถึงท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ว่าเป็นเหตุให้อิบนุตัยมียะฮ์ถูกคุมขังโดยอธรรม ซึ่งความจริงแล้วถ้อยคำดังกล่าวไม่ใช่เป็นคำพูดของท่านอิบนุกะษีรและในหนังสืออัลบิดายะฮ์วันนิฮายะฮ์ ก็ไม่ได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้เลย เเต่มันเป็นคำพูดของอุลามาอ์วะฮบีที่มีชื่อว่า เชค อะลีย์ บิน บะคี๊ต อัซซะฮ์รอนีย์ ต่างหาก
*นี่แหละวิชาการศาสนาของวะฮ์ฮาบีที่มาจากการก็อบปี้หรือก็อบแปะ การชี้เเจงในโพสของผมนี้ก็เอามาจากลิงค์ที่ คุณลุงอะสัน เเห่งสะเดาอ้างอิงมานั้นเเหละคับ
วัสสลาม
.........................
ชี้แจง
สืบเนื่องมาจากที่ผมตั้งกระทู้ สาเหตุทีอิบนุตัยมียะฮถูกคุมขัง ก็มีพี่น้องอาชาอิเราะฮนามว่า Zeeham Assiyamee ร้อนเหมือนไฟ กล่าวหาว่าผมแอบอ้างอิบนุกะษีร ขอชี้แจงดังนี้
ด้วยกระทู้ที่ระบุว่า อิบนอะฏออ และคณะซูฟี เป็นผู้ที่กล่าวหาและเป็นเหตุให้อิบนุตัยมียะฮติดคุก อย่างไม่เป็นธรรม
ผมได้เอามาจากข้อมูลเว็บไซดือะฮลุลหะดิษ มีคนถาม ดร.อาลี บิน บาคีต อัซซะฮรอนีย์ อาจารย์ มหาลัยอุมมุลกุรอและผมได้ทำลิงค์อ้างอิงไว้ไม่ได้หมกเม็ด ขอมูลในเว็บอะฮลุลหะดิษมี ดังนี้
سؤال
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته ، وبعد :
كل عام وأنتم بخير ، شيخنا الفاضل: ما رأيكم بـ (الحِكَم العطائية) ؟ وهل هو صحيح بأنه لو صحَّت الصلاة بغير القرآن لصحت بهذا الحكم؟.
ถาม
อัสสลามมุอะลัยกุมวะเราะหมะตุลลอฮิวะบะเราะกาตุฮ
กุลลุอาม วะอันตุม บิคอ็ยริน ท่านอาจารย์ ผู้ประประเสริฐของเรา ,ท่านมีความเห็นอย่างไร เกี่ยวกับหนังสือ “อัลหิกัม อัลอะฏออียะอ ? และถุกต้องหรือไม่ ว่า ถ้าการละหมาดถูกต้อง โดยปราศจากอัลกุรอ่าน แน่นอน มันจะถูกต้องด้วยหนังสือฮิกัมนี้ ?
الجواب
الحمد لله ، والصلاة والسلام على رسول الله نبينا محمد وعلى آله وصحبه ومن اتَّبع هداه وبعد:
فـ(الحِكَم العطائية) كتيب لتاج الدين أحمد بن محمد بن عطاء الله الإسكندري المتوفى في القاهرة سنة (709) هـ، من كبار المتصوِّفة في عصره، وكان ممن قام على شيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله ، وتسبب مع جماعة من الصوفية في حبسه ظلماً بمصر سنة (707)هـ، حيث ادعى عليه أشياء لم يثبت منها شيء (البداية والنهاية 14/47
คำตอบ
มวลการสรรเสริญ เป็นของอัลลอฮ และขอให้พรและความสันติสุข จงประสบแด่ รซูลุลลอฮ นบีของเรา มุหัมหมัด ,บรรดาวงศวานและสาวกของท่าน และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามทางนำของท่าน
สำหรับ อัลฮิกัมอัลอะฏออียะฮ นั้น เป็นหนังสือ ของตายุดดีน อะหมัด บิน มุหัมหมัด บิน อะฏออิลละฮ อัลอิสกันดารีย์ เสียชีวิติที่ไคโร ปี อ.ศ ๗๐๙ เป็นส่วนหนึ่งจากปราชญ์ซูฟีระดับอวุโสในสมัยของเขา และ และปรากฏว่าเขา(อิบนุอะฏออิลละฮ) เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ต่อต้าน ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) และ เขา พร้อมกับคณะหนึ่งจากพวกซูฟีย์ เป็นเหตุ ในการที่อิบนุตัยมียะฮถูกคุมขัง อย่างไม่เป็นธรรม ที่ อิยิปต์ ปี ฮ.ศ 707 โดยที่เขาถูกกล่าวหา สิ่งต่างๆ โดยไม่เป็นความจริง – ดู อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ เล่ม 14 หน้า 47
ดร.ดร.อาลี บิน บาคีต อัซซะฮรอนีย์ ได้ ตอบคำถาม และอธิบายว่า ผู้เขียนตำราอัลฮิกัม เป็นต้นเหตุให้ อิบนุตัยมียะฮติดคุก อย่างไม่เป็นธรรมเป็นการกล่าวหาที่ปราศจากความจริง โดยท่านได้ อ้าง อัลบิดายะฮ วัล นิฮายะฮ ของท่านอิบนุกะษีร เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗
ใน อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ ระบุ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ 707 เกี่ยวกับกรณีอิบนุตัยมียะฮ ในหัวข้อ
ثُمَّ دَخَلَتْ سَنَةُ سَبْعٍ وَسَبْعِمِائَةٍ
ว่า
قَالَ الْبِرْزَالِيُّ : وَفِي شَوَّالٍ مِنْهَا شَكَى الصُّوفِيَّةُ بِالْقَاهِرَةِ عَلَى الشَّيْخِ تَقِيِّ الدِّينِ وَكَلَامِهِ فِي ابْنِ عَرَبِيٍّ وَغَيْرِهِ إِلَى الدَّوْلَةِ ، فَرَدُّوا الْأَمْرَ فِي ذَلِكَ إِلَى الْقَاضِي الشَّافِعِيِّ ، فَعُقِدَ لَهُ مَجْلِسٌ ، وَادَّعَى عَلَيْهِ ابْنُ عَطَاءٍ بِأَشْيَاءَ ، فَلَمْ يَثْبُتْ عَلَيْهِ مِنْهَا شَيْءٌ ، لَكِنَّهُ قَالَ : لَا يُسْتَغَاثُ إِلَّا بِاللَّهِ ، وَلَا يُسْتَغَاثُ بِالنَّبِيِّ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - اسْتِغَاثَةً بِمَعْنَى الْعِبَادَةِ ، وَلَكِنْ يُتَوَسَّلُ بِهِ ، وَيُتَشَفَّعُ بِهِ إِلَى اللَّهِ
อัลบิรซาลีย์ กล่าวว่า ในเดือนเชาวาลจาก มัน พวกซูฟีย์ ที่ไคโร ได้กล่าวหา เช็คตะกียุดดีน (หมายถึงอิบนุตัยมียะฮ) และคำพูดของเขา เกี่ยวกับ อิบนุอะเราะบีย์ และคนอื่นจากเขา ฟ้องร้อง ต่อทางการ และเรื่องดังกล่าวถูกนำ ไปยัง ผู้พิพากษา ที่สังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ และ และเขาได้ตั้งสถานที สำหรับใต่สวน อิบนุตัยมียะอ และอิบนุอะฏอฮฺ ได้กล่าวหาเขา ด้วยสิ่งต่างๆ โดยปราศจากความจริง เพียงแต่เขา(อิบนุตัยมียะฮ)กล่าวว่า “จะไม่ถูกขอความชวยเหลือ นอกจากอัลลอฮ และจะไม่ถูกขอความช่วยเหลือ กับนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม “อิษติฆอษะฮ ด้วยความหมาย ของการอิบาดะฮ แต่ว่า ท่านนบีจะถูกตะวัซซุล และถูกขอชาฟาอะฮต่อท่านนบี ไปยังอัลลอฮ... ดู อัลบิดายะฮ วัลนิฮายะฮ สำนักพิมพ์ ดารฺอัรรอ็ยยาน เล่ม 14 หน้า 47 เรื่อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ 707
...............
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผมไม่ได้อ้างเท็จและแอบอ้างอิบนุกะษีร เพราะท่านได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในตำราของท่าน ดังที่ระบุข้างต้น




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หะดิษญารียะฮเฎาะอีฟจริงหรือ



หะดิษญารียะฮฺ
หะดิษต่อไปนี้เป็นหะดิษที่กลุ่มอะชาอีเราะฮยุคปัจจุบัน พยายามบิดเบือนเพื่อที่จะให้เป็นหะดิษเฎาะอีฟ ทั้งๆที่เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ทั้งนี้เพราะขัดกับความความเชื่อของพวกเขาที่ว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอา ทรงปราศจากสถานที่ ปราศจากทิศ คือ ทรงไม่อยู่เบื้องบน ,ทรงไม่อยู่เบื้องล่าง,ทรงไม่อยู่เบื้องขวา,ทรงไม่อยู่เบื้องซ้าย
และใครเชื่อว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาอยู่เบื้องสูง คนนั้น มีอากีดะฮที่หลงผิด ดังนั้น อายะฮอัลกุรอ่านหรือหะดิษที่ตัวบทได้ยืนยันว่าทรงอยู่ทิศเบื้องสูง พวกเขาก็จะต่อต้านโดยการเปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ก็พยายามหาเหตุมาสนับสนุนว่าหะดิษนั้นเฎาะอีฟ (หลักฐานอ่อน) และส่วนหนึ่งจากหะดิษดังกล่าวคือ หะดิษญารียะฮ ต่อไปนี้ รายงานจากมุอาวียะฮ บิน ลหะกัม อัสสะละมี กล่าวว่า
وَكَانَتْ لِيْ جَارِيَةٌ تَرْعَى غَنَمًا لِيْ اُحُدٍ وَالْجُوَانِيَةِ فَاطَّلَعْتُ ذَاتَ يَوْمٍ فَاِذَا بَالذِّئْبِ قَدْ ذَهَبَ بِشَاةٍ مِنْ غَنَمِهَا وَاَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِيْ آدَمَ اَسَفَ كَمَا يَاْسِفُوْنَ . لَكِنَّيْ صَكَكْتُهَا صَكَّةً فَاَتَيْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ . قُلْتُ يَارَسُوْلَ اللهِ اَفَلاَ اَعْتِقُهَا ؟ قَالَ : اِئْتِنِيْ بِهَا . فَقَالَ لَهَا : اَيْنَ اللهُ ؟ قَالَتْ : فِى السَّمَاءِ . قَالَ : مَنْ اَنَا ؟ قَالَتْ : اَنْتَ رَسُوْلُ اللهِ . قَالَ : اَعْتِقُهَا فِاِنَّهَا مُؤْمِنَة
มุอาวิยะฮ บิน หุกัม อัลอัสละมีย์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีทาสหญิงคนหนึ่ง เลี้ยงแพะให้ข้าพเจ้าที่ อุหุด และ ญุวัยนียะฮ ในวันหนึ่ง ข้าพเจ้า พบว่า แพะตัวหนึ่งที่นางดูแล ได้ถูกหมาป่าเอาไป และข้าพเจ้า เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่รู้สึกโกรธ เหมือนๆกับ บรรดาผู้ที่โกรธทั้งหลาย แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ทุบตีนาง แล้วข้าพเจ้าได้ไปหาท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัมแล้ว ท่านได้ตักเตือนข้าพเจ้า ในเรื่องดังกล่าว
ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า โอ้ รซูลุลลอฮ ข้าพเจ้าจะปล่อยนางให้เป็นอิสระได้ไหม? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “นำนางมาที่ฉัน แล้วรซูลุลลอฮได้กล่าวถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? นางกล่าวตอบว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ฉันเป็นใคร? นางกล่าวว่า “ท่านคือ ศาสนทูตของอัลลอฮ ท่านรซูลุลลอฮ จึงกล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด เพราะแท้จริงนางเป็นผู้หญิงที่ศรัทธา – รายงานโดย มุสลิม และอบีดาวูด
...........
หะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ คือ อยู่บนฟากฟ้า จะอยู่ในรูปแบบใดนั้น ไม่มีใครทราบได้นอกจากอัลลอฮ เพราะไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์
วิจารณ์หะดิษ
1.เช็คอัลบานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
وهذا الحديث صحيح بلا ريب، لا يشك في ذلك إلا جاهل أو مغرض من ذوي الأهواء، الذين كلما جاءهم نص عن رسول الله - صلى الله عليه وعلى آله وسلم - يخالف ما هم عليه من الضلال، حاولوا الخلاص منه بتأويله،
“และนี้คือหะดิษเศาะเฮียะอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่มีบุคคลใดสงสัย ไม่มีการสงสัยในหะดิษดังกล่าว นอกจากคนไม่มีความรู้ หรือ ผู้ที่มีอคติ จากผู้ที่ตามอารมณ์ บรรดาผู้ซึ่งทุกครั้งที่มีตัวบทมาถึงพวกเขาจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ขัดแย้งกับความหลงผิดที่พวกเขายืนหยัดอยู่บนมัน พวกเขาก็เปลี่ยนใจความจากตัวบทนั้น ด้วยการตีความ(ตะอฺวีล)มัน - มุคตะศอรอัลอะลูวี หน้า 82
2. หะดิษนี้รายงานโดยอิหม่ามมุสลิม (1/ 382) จากสายรายงาน ยะหยา บิน อบีกะษีร จากฮิลาล บิน อบีมัยมูนะฮ จากอะฏอฮฺ บิน ยะสัร จากมุอาวียะอ บิน อัลหะกัม สำหรับท่าน บิลาล บิน อบีมัยมูนะอ ท่านนี้ พวกอะชาอีเราะอ เช่น เช็ค หะซัน บิน อาลี อัสสักกอฟ คัดค้านไม่เอารายงานของเขามาเป็นหลักฐาน ทั้งๆที่อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม เอาบุคคลผู้นี้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง
ดังที่ อิหม่ามอัลหากิมได้กล่าวว่า
فقد اتفقا على الحجة بروايات هلال بن أبي هلال ويقال ابن أبي ميمونة ويقال ابن علي ويقال ابن أسامة وكله واحد
แท้จริง เขาทั้งสอง(หมายถึงอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม) เห็นฟ้องกัน ต่อการนำบรรดารายงานของฮิลาล บิน อบีฮิลาลมาเป็นหลักฐานอ้างอิง และเขาถูกเรียกว่า อิบนุอบีมัยมูนะฮ ,ถูกเรียกว่า “ อิบนุอาลี และ ถูกเรียกว่า “ อิบนุอุสามะฮ” และทั้งหมดนั้น คือ คนๆเดียวกัน - ดู อัลมุสตัดรอ็ก เล่ม 1 หน้า 208
3. อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า
هلال بن أبي ميمونة العامري المدني مولى آل عامر بن لؤي ثقة مشهور
"ฮิลาล บิน อบีมัยมูนะฮ อัลอามิรีย์ อัลมะดะนีย์ เป็นทาสของครอบครัวอามีร บินลุอัย นั้น เขาเชื่อถือได้ อีกทั้งเป็นที่รู้จัก
قال النسائي : ليس به بأس ، وقال أبو حاتم : شيخ يكتب حديثه
อัลนะสาอีย์ กล่าวว่า “ ไม่เป็นไร” และอบูหาติมกล่าวว่า “เขาเป็นผู้อวุโส หะดิษของเขาถูกบันทึก – สิยะรุอะลามอัลนุบะลาอฺ เล่ม 5 หน้า 266
และอิหม่ามอัซซะฮบีย์ ได้กล่าวถึงหะดิษข้างต้นอีกว่า
هذا حديث صحيح أخرجه مسلم وأبو داود والنسائي وغير واحد من الأئمة في تصانيفهم ، يمرونه كما جاء ولا يتعرضون له بتأويل ولا تحريف ، وهكذا رأينا كل من يسأل : أين الله ؟ ، يبادر بفطرته ويقول : في السماء ، ففي الخبر مسالتان :إحداهما : شرعية قول المسلم : أين الله .الثانية : قول المسؤول : في السماء . فمن أنكر هاتين المسألتين فإنما ينكر على المصطفى صلى الله عليه وسلم
นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม,อบูดาวูด,อันนะสาอีย์ และหลายคนจากบรรดาอิหม่ามในงานเขียนของพวกเขา ,โดยพวกเขาปล่อยให้มันผ่านไปและพวกเขาไม่คัดค้านมันด้วยการตีความและเปลี่ยนความหมาย และในทำนองเดียวกันนี้ เราเห็นว่า ทุกๆคนที่ถูกถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? ด้วยธรรมชาติของเขา เขาจะตอบทันทีว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ดังนั้น ในหะดิษนี้ แบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ
1. คำพูดของมุสลิมที่ว่า “อัลลอฮอยู่ใหน” ชอบด้วยหลักศาสนบัญญัติ
2. คำพูดของผู้ถูกถาม คือ อยู่บนฟากฟ้า
ดังนั้น ใครคัดค้าน สองประเด็นนี้ ความจริง เขาได้คัดค้านนบีมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – มุคตะศอรอัลอะลูย์ หน้า 81
4. อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า
هذا حديث صحيح ، رواه مسلم في " صحيحه " ومالك في " موطئه " وأبو داود والنسائي وأبو داود الطيالسي
นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ รายงานโดย มุสลิมในเศาะเฮียะของเขา,มาลิกรายงานในมุวัฏเฏาะ และ อบูดาวูด,อันนะสาอีย์และอบูดาวูดอัฏฏิยาลิสีย์ – กิตาบุลอะลูวีย์ หน้า 47
5. ส่วนหนึ่งของตัวบทอัลกุรอ่านที่สนับสนุนหะดิษข้างต้น คือ
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
أمنتم من فى السموات أن يخسف بكم الأرض فإذا هى تمور
ความว่า “พวกเจ้ารอดพ้น ผู้อยู่ในชั้นฟ้า ที่จะทำให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าลงไป แล้วมันก็สั่นสะเทือนอย่างนั้นหรือ ?” อัลมุลกิ 16 (1)
--------
(1) คือถ้าอัลลอฮฺจะทรงให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าทั้งหมดลงไปในก้นบึ้งของแผ่นดินนี้และขณะที่มันสูบพวกเจ้าลงไปนั้นมันจะสั่นสะเทือนหวั่นไหว พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ ?
1.2 อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
أم أمنتم من فى السموات أن يرسل عليكم حاصبا فستعلمون كيف نذير
ความว่า “หรือพวกเจ้าปลอดภัย(จาก)ผู้อยู่ในชั้นฟ้า ที่จะส่งลมหอบหินลงมาทับถมเหนือพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็จะได้รู้ว่า คำเตือนของข้านั้นเป็นอย่างไร ?” อัลมุลกิ 17
1.3 อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
مَن كَانَ يُرِيدُ الْعِزَّةَ فَلِلَّهِ الْعِزَّةُ جَمِيعاً إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ وَالَّذِينَ يَمْكُرُونَ السَّيِّئَاتِ لَهُمْ عَذَابٌ شَدِيدٌ وَمَكْرُ أُوْلَئِكَ هُوَ يَبُورُ [35.10
ผู้ใดต้องการอำนาจ ดังนั้น อำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮ์ คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์ และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญมัน และบรรดาผู้วางแผนชั่วร้ายทั้งหลายนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ และแผนการณ์ของชนเหล่านั้นย่อมจะพินาศ
……………
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หะดิษญารียะฮข้างต้นเป็นหะดิษที่นำมาเป็นหลักฐานได้อย่างไม่ต้องสงสัยและเป็นหะดิษที่สอดคล้องกับตัวบทแห่งอัลกุรอ่าน ที่ระบุถึงการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
ส่วนจะทรงอยู่อย่างไรนั้น ไม่มีใครรู้ เพราะพระองค์ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน และพระองค์ทรงสถิตอยู่บนฟากฟ้า อันเป็นการสถิตย์ที่เหมาะสมกับความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ได้ว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไรนอกจากพระองค์
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น……………
والله أعلم بالصواب "


........................
อะสัน หมัดอะดั้ม




อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า

قِصَّةِ الْجَارِيَةِ الَّتِي سَأَلَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ أَنْتِ مُؤْمِنَةٌ؟ قَالَتْ نَعَمْ ، قَالَ فَأَيْنَ اللَّهُ ؟
قَالَتْ فِي السَّمَاءِ ، فَقَالَ أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ ،
وَهُوَ حَدِيثٌ صَحِيحٌ أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ

เรื่อง
ราวของทาสหญิง ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามนางว่า
เธอเป็นผู้ศรัทธาใช่ไหม ? นางกล่าวว่า “ค่ะ ,ท่านนบีถามว่า
“อัลลอฮอยู่ใหน?นางตอบว่า อยู่บนฟากฟ้า ,แล้วท่านนบีกล่าวว่า
“จงปล่อยนางให้เป็นอิสระ เพราะแท้จริงนาง เป็นผู้ศรัทธา
,โดยที่มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม ๑๓
หน้า ๓๕
..............
ตัวอย่างข้างต้น ผู้อ่านลองพิจารณาดู ว่า ใครจริง ใครเท็จ ใครบิดเบือน เพราะเคยมีคนบอกว่า วะฮบีย์ไปเชื่อหะดิษทาสหญิงมีสติไม่ดี



 หะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบี ศอ็ลฯ ว่า อัลลอฮ อยู่บนฟ้า ได้ถูกบรรทึกในตำราหะดิษ และมีหลายสายรายงานล้วนแล้วแต่หะดิษเศาะเฮีย ดูข้างล่าง
قال معاوية بن الحكم السلمي:

(( أتيت رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم بجارية، فقلت: يا رسول الله، عليّ رقبة أفأعتقها؟ فقال لها رسول الله: (( أين الله؟ )) فقالت: في السماء، فقال: (( من أنا؟ ))، قالت: رسول الله، قال: (( اعتقها فإنّها مؤمنة )) )) أهـ.

وهذا الحديث الصحيح رواته :
رواه الإمام مالك في (( الموطأ )) (2/776 )،
والإمام الشافعيّ في (( الرّسالة )) (ص/75 -واللفظ لـه- )،

وابن أبي شيبة في (( الإيمان )) (ص/36 رقم: 84 )،

والإمام أحمد في (( المسند )) (5/448 )،

وأبو داود في (( السنن )) (1/260 الصحيح )،

والدّارميّ في (( الرّد على الجهميّة )) (ص/39 )، وفي (( الرّد على المريسي )) (1/491 )،

وعبد الله ابن الإمام أحمد في (( السنّة )) (1/306 )،

وابن خزيمة في (( التوحيد )) (1/279 )،

واللالكائيّ في (( شرح أصول الاعتقاد )) (3/392 )،

والبيهقيّ في(( الأسماء والصفات )) (ص/532 )، وفي(( السنن الكبرى )) (7/354 و10/98 )،

ومسلمٌ في (( صحيحه )) (5/23 رقم: 1199 )،

والذّهبي في (( العلو )) (ص/81 المختصر )،

وغيرهم -رحم الله الجميع





หลักฐานเท่าไหร่จึงจะพอครับ นั้นมาดูหะดิษญารียะฮอีกสายรายงานหนึ่ง ล้วนแล้วเศาะเฮียะเช่นกัน
من طرق؛ عن هلال بن أبي ميمونة، عن عطاء بن يسار، عن معاوية بن الحكم به؛
ورواه من طريق الزهري، عن أبي سلمة بن عبد الرحمن، عن معاوية بن الحكم
جماعة كما في (( المصنّف لعبد الرزاق )) (10/402 )، و (( مسند الإمام أحمد
)) (3/443 و5/448 ) وغيرهم -رحم الله الجميع-.

وهذا الحديث، وهو المشهور بحديث الجارية، حديثٌ صحيحٌ

باتفاق أهل النقل، صححه-تصريحاً أو ما يقوم مقامه - جمهرةٌ

من أهل العلم؛ منهم الإمام مسلم حيث أخرجه في ((صحيحه ))

(5/23 رقم: 1199 )، والحافظ ابن حجر في (( الفتح ))

(13/359 )، والبيهقيُّ في (( الأسماء والصفات )) (ص/533 )،

والذهبيّ في (( العلو ))(ص/81 مختصر )، والألبانيّ في مواضع

منها (( الإيمان ))(ص/36) لابن أبي شيبة، حيث قال-رحمه

الله-: (( إسناده صحيحٌ على شرط الشيخين ))،

وقال في (( مختصر العلو ))(ص/81): (( فإنّه مع صحّةِ إسناده،










เมืออิหม่ามอัชอะรีย์มีอะกีดะฮต่างจากอาชาอีเราะฮ




คำพูดของอิหมามอบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ ต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อของกลุ่มที่เรียกว่า อัล-อะชาอีเราะฮ มีความเชื่อ ต่างกับผู้ที่เขาอ้างว่าเป็นเจ้ามัซฮับของพวกเขา

الباب الخامس ذكر الاستواء على العرش
إن قال قائل: ما تقولون في الاستواء ؟
قيل له: نقول: إن الله عز وجل يستوي على عرشه استواء يليق به من غير طول استقرار، كما قال: (الرحمن على العرش استوى) (5 /20) ، وقد قال تعالى: (إليه يصعد الكلم الطيب والعمل الصالح يرفعه) من الآية (10 /35) ، وقال تعالى: (بل رفعه الله إليه) من الآية (158 /4) ، (2/ 106) وقال تعالى: (يدبر الأمر من السماء إلى الأرض ثم يعرج إليه) من الآية (5 /32) ، وقال تعالى حاكيا عن فرعون لعنه الله: (يا هامان ابن لي صرحا لعلي أبلغ الأسباب أسباب السماوات فأطلع إلى إله موسى وإني لأظنه كاذبا) من الآيتين (36 - 37 /40) ، كذب موسى عليه السلام في قوله: إن الله سبحانه فوق السماوات .
وقال تعالى: (أأمنتم من في السماء أن يخسف بكم الأرض) من الآية (16 /67
فالسماوات فوقها العرش، فلما كان العرش فوق السماوات قال: (أأمنتم من في السماء) من الآية (14 /67) ... لأنه مستو على العرش (2/ 107) الذي فوق السماوات، وكل ما علا فهو سماء، والعرش أعلى السماوات، وليس إذا قال: (أأمنتم من في السماء) من الآية (16 /67) يعني جميع السماوات، وإنما أراد العرش الذي هو أعلى السماوات، ألا ترى الله تعالى ذكر السماوات، فقال تعالى: (وجعل القمر فيهن نورا) من الآية (16 /7) ، ولم يرد أن القمر يملأهن جميعا، وأنه فيهن جميعا، ورأينا المسلمين جميعا يرفعون أيديهم إذا دعوا نحو السماء؛ لأن الله تعالى مستو على العرش الذي هو فوق السماوات، فلولا أن الله عز وجل على العرش لم يرفعوا أيديهم نحو العرش، كما لا يحطّونها إذا دعوا إلى الأرض 1 (2/ 108

บาบที่ 5
ซิกรฺ อัลอิสติวาอ์ อะลา อัลอัรชฺ
(กล่าวถึงการอยู่เหนืออะรัชของอัลลอฮฺ)
ถ้าหากเขากล่าวว่า “พวกท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของอิสติวาอ์ ?”
ให้กล่าวแก่เขาว่า “เราขอกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและสูงส่งทรงอยู่เหนืออะรัชของพระองค์ (ด้วยความเหนือที่เหมาะสมกับพระองค์ โดยปราศจากการสถิตอยู่เป็นเวลานาน ดังคำตรัสของพระองค์
(الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى)
“ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่เหนือบัลลังก์” (ฏอฮา/5)

(إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ)
“คำกล่าวที่ดีจะ (ถูกพา) ขึ้นสู่พระองค์ และการงานที่ดีก็จะ (ถูก) ยกขึ้นสู่พระองค์เช่นกัน” (ฟาฏิร/10)

(بَل رَّفَعَهُ اللّهُ إِلَيْهِ)
“หามิได้ อัลลอฮฺได้ทรงยกท่านนบีอีซาขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก” (อันนิสาอ์/158)

(يُدَبِّرُ الْأَمْرَ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ ثُمَّ يَعْرُجُ إِلَيْهِ)
“พระองค์ทรงบริหารกิจการจากชั้นฟ้าสู่แผ่นดิน แล้วมันจะขึ้นไปสู่พระองค์” (อัสสัจญ์ดะฮฺ/5)

และพระองค์ทรงตรัสเล่าเรื่องเกี่ยวกับฟิรเอาน์ (ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่ง-ว่า
(يَا هَامَانُ ابْنِ لِي صَرْحاً لَّعَلِّي أَبْلُغُ الْأَسْبَابَ أَسْبَابَ السَّمَاوَاتِ فَأَطَّلِعَ إِلَى إِلَهِ مُوسَى وَإِنِّي لأَظُنُّهُ كَاذِباً)
“โอ้ฮามานเอ๋ย! จงสร้างหอสูงให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่จะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่ชั้นฟ้าทั้งหลาย เพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก” (ฆอฟิร/36-37)
ฟิรเอาน์กล่าวหาว่ามูซาพูดโกหกในคำพูดของท่านที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงมหาบริสุทธิ์อยู่เหนือชั้นฟ้าทั้งหลาย”

พระองค์ทรงตรัสว่า
(أَأَمِنتُم مَّن فِي السَّمَاء أَن يَخْسِفَ بِكُمُ الأَرْضَ)
“พวกเจ้าคิดว่าจะวางใจจากผู้ที่อยู่บนฟากฟ้า (อัลลอฮฺ) ว่าจะไม่ทำให้แผ่นดินสูบพวกเจ้ากระนั้นหรือ” (อัลมุลก์/16)

ดังนั้น ชั้นฟ้าทั้งหลายเหนือมันมีอะรัชอยู่ ในเมื่ออะรัชอยู่เหนือชั้นฟ้าทั้งหลาย พระองค์จึงตรัสว่า “พวกเจ้าคิดว่าจะวางใจจากผู้ที่อยู่บนฟากฟ้า (อัลลอฮฺ) กระนั้นหรือ” เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนืออะรัชที่อยู่เหนือชั้นฟ้าทั้งหลาย และทุกๆสิ่งที่อยู่สูง (ด้านบน) มันก็คือฟ้า และอะรัชอยู่เหนือสุดของชั้นฟ้าทั้งหลาย...และเราเห็นชาวมุสลิมทั้งหลายต่างยกมือของพวกเขาขึ้นสู่ฟ้ายามที่พวกเขาขอดุอาอ์ เพราะอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งอยู่เหนืออะรัชที่อยู่เหนือชั้นฟ้าทั้งหลาย ถ้าหากว่าอัลลอฮฺไม่ได้อยู่เหนืออะรัช แน่นอนว่าพวกเขาจะไม่ยกมือของพวกเขาขึ้นไปยังอะรัช เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่ได้ชี้มือลงไปยังพื้นดินยามที่พวกเขาขอดุอาอ์
- อัลอิบานะฮ ๓๔ -๓๕

แต่ความเชื่อของอัลอะชาอีเราะฮปัจจุบัน ตีความ คำว่า อิสติวาอ์เหนืออะรัช หมายถึง อำนาจปกครอง หรือ การครอบครอง และพวกเขาปฏิเสธ คำว่า"อัลลอฮอยู่บนฟากฟ้า "ตามที่อัลกุรอ่านและหะดิษระบุ โดยตีความว่า หมายถึงความสูงส่งในด้านฐานะ
...........
والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดัม




อบู หะสัน อัลอัชอะรีย์ (ต.324 ฮ.ศ.) กล่าวว่า
وقد قال قائلون من المعتزلة والجهمية والحرورية إن معنى قول الله تعالى الرحمن على العرش استوى 5 /20
أنه استولى وملك وقهر وأن الله تعالى في كل مكان وجحدوا أن يكون الله عز وجل مستو على عرشه كما قال أهل الحق وذهبوا في الاستواء إلى القدرة
แท้จริง ชาวมุอฺตะซิละฮฺ ญะฮฺมิยะฮฺ และหะรูริยะฮฺ พวกเขากล่าวว่า “ความหมายของคำตรัสของอัลลอฮฺ
(الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى)
“ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงอยู่สูงเหนือบัลลังก์” (ฏอฮา/5)
หมายถึง “ยึดครอง (อิสเตาลา), ครอบครอง (มิลก์) และ เอาชนะ (ก็อฮร์) และอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ทุกหนแห่ง พวกเขาปฏิเสธการอยู่สูงเหนืออะรัชของอัลลอฮฺ ดังที่บรรดาผู้สัจจริงได้กล่าวไว้ และพวกเขายึดมั่นว่า อิสติวาอ์นั้นคือกุดเราะฮฺ (มีอำนาจเหนือ)”... (อัลอิบานะฮฺ ฉบับพิมพ์ที่ซาอุดีอาระเบีย- หน้า 98, มุคตะศ้อร อัลอุลูว์ หน้า 239, และดูเพิ่มเติมใน อัรร็อดอะลา อัลญะฮฺมิยะฮฺของอัดดาริมีย์ หน้า 34
.........
จะเห็นได้ว่า อะกีดะฮของอิหม่ามอบูฮาซัน อัลอัซอารีย์ ไม่ได้ตีความคำว่า الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى)
เหมือนกับ พวกอัลอะชาอีเราะฮในปัจจับัน ที่ตีความว่า "อำนาจปกครอง




ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ได้อ้างหลักฐานอีกว่า
ذينار عن نافع عن جبير عن أبيه رضي الله عنهم أجمعين أن النبي صلى الله عليه وسلم قال ينزل ربنا عز وجل كل ليلة إلى السماء الدنيا فيقول هل من سائل فأعطيه هل من مستغفر فأغفر له حتى يطلع الفجر
روى عبيدالله بن بكر قال ثنا هشام بن أبي عبدالله عن يحيى بن كثير عن أبي جعفر أنه سمع أبا حفص يحدث أنه سمع أبا هريرة رضي الله عنه قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا بقى ثلث الليل ينزل الله تبارك وتعالى فيقول من ذا الذي يدعوني أستجيب له من ذا الذي يستكشف الضر فأكشفه عنه من ذا الذي يسترزقني فأرزقه حتى ينفجر الفجر
อัมริน บุตร ดีนาร จากนาเฟียะ จากญุบัยร์ จากบิดาของเขา (ขออัลลอฮโปรดประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเขาทั้งหมดด้วยเถิด) ว่า แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "พระเจ้าของเราผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ได้เสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ในทุกๆคืน แล้วตรัสว่า มีผู้ใดจะขอไหม เราจะมอบให้แก่เขา ,มีผู้ใดขออภัยโทษไหม เราก็จะอภัยโทษให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น
รายงานโดยอุบัยดุลลอฮ บุตร บะกัร กล่าวว่า ฮิชาม บุตร อบีอับดิลละฮ ได้เล่าแก่เรา จากยะห์ยา บุตร กะษีร จากอบียะอฺฟัร ว่า เขาได้ยิน อบูหัฟศิน เล่าว่า เขาได้ยิน อบูฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "เมื่อเหลือหนึ่งในสามของกลางคืน อัลลอฮ ผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงสูงส่ง เสด็จลงมา แล้วตรัสว่า "ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่วิงวอนขอต่อข้า ข้าก็จะตอบรับให้แก่เขา,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอให้ปลดเปลื้องความเดือดร้อน ข้าก็จะปลดเปลื้องมันให้พ้นจากเขา ,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอปัจจัยยังชีพต่อข้า ข้าก็จะประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น" - ดู อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 111 ..........
..........
จะเห็นได้ว่า ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ไม่ได้ตีความ คำว่า "ينزل الله تبارك وتعالى ตามที่พวกอัลอะชาอีเราะฮ ปัจจุบันตีความว่า "ความเมตตาของอัลลอฮ"ได้ล่งมา



ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ได้อ้างหลักฐานอีกว่า
ذينار عن نافع عن جبير عن أبيه رضي الله عنهم أجمعين أن النبي صلى الله عليه وسلم قال ينزل ربنا عز وجل كل ليلة إلى السماء الدنيا فيقول هل من سائل فأعطيه هل من مستغفر فأغفر له حتى يطلع الفجر
روى عبيدالله بن بكر قال ثنا هشام بن أبي عبدالله عن يحيى بن كثير عن أبي جعفر أنه سمع أبا حفص يحدث أنه سمع أبا هريرة رضي الله عنه قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا بقى ثلث الليل ينزل الله تبارك وتعالى فيقول من ذا الذي يدعوني أستجيب له من ذا الذي يستكشف الضر فأكشفه عنه من ذا الذي يسترزقني فأرزقه حتى ينفجر الفجر
อัมริน บุตร ดีนาร จากนาเฟียะ จากญุบัยร์ จากบิดาของเขา (ขออัลลอฮโปรดประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเขาทั้งหมดด้วยเถิด) ว่า แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "พระเจ้าของเราผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ได้เสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ในทุกๆคืน แล้วตรัสว่า มีผู้ใดจะขอไหม เราจะมอบให้แก่เขา ,มีผู้ใดขออภัยโทษไหม เราก็จะอภัยโทษให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น
รายงานโดยอุบัยดุลลอฮ บุตร บะกัร กล่าวว่า ฮิชาม บุตร อบีอับดิลละฮ ได้เล่าแก่เรา จากยะห์ยา บุตร กะษีร จากอบียะอฺฟัร ว่า เขาได้ยิน อบูหัฟศิน เล่าว่า เขาได้ยิน อบูฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "เมื่อเหลือหนึ่งในสามของกลางคืน อัลลอฮ ผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงสูงส่ง เสด็จลงมา แล้วตรัสว่า "ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่วิงวอนขอต่อข้า ข้าก็จะตอบรับให้แก่เขา,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอให้ปลดเปลื้องความเดือดร้อน ข้าก็จะปลดเปลื้องมันให้พ้นจากเขา ,ผู้ใดเล่า เป็นผู้ที่ขอปัจจัยยังชีพต่อข้า ข้าก็จะประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา จนกระทั่งรุ่งอรุณขึ้น" - ดู อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 111 ..........
..........
จะเห็นได้ว่า ท่านอบูหะซัน อัลอัชอารีย์ ไม่ได้ตีความ คำว่า "ينزل الله تبارك وتعالى ตามที่พวกอัลอะชาอีเราะฮ ปัจจุบันตีความว่า "ความเมตตาของอัลลอฮ"ได้ล่ง




ใครอ้างว่า มีอะกีดะฮตรงกับอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ ได้โปรดนำหลักฐานมาแสดง

قُلْ هَاتُوا بُرْهَانَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ
จงประกาศเถิด พวกเจ้าจงนำหลักฐานของพวกเจ้ามา หากพวกเจ้า เป็นบรรดาผู้ที่สัจจริง












อะกีดะฮอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล




อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล (ฮ.ศ ๑๖๔ -๒๔๑) มีความเชื่อว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้าทั้งเจ็ด
อบูยูซุฟ บิน มูซา อัลกอฏฏอ็น (ฮ.ศ ๒๕๓) กล่าวว่า

قِيلَ لِأَبِي عَبْدِ اللَّهِ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ : " اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ فَوْقَ السَّمَاءِ السَّابِعَةِ عَلَى عَرْشِهِ بَائِنٌ مِنْ خَلْقِهِ ، وَقُدْرَتُهُ وَعِلْمُهُ فِي كُلِّ مَكَانٍ ؟ . قَالَ : نَعَمْ ، عَلَى الْعَرْشِ وَعِلْمُهُ لَا يَخْلُو مِنْهُ مَكَانٌ

“มีผู้กล่าวแก่ อบีอับดิลละฮ อะหมัด บินหัมบัล ว่า อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง อยู่เหนือ ฟากฟ้าทั้งเจ็ด บนอารัช แยกจากมัคลูคของพระองค์ ,อำนาจและความรอบรู้ของพระองค์อยู่ทุกสถานที่ใช่ไหม ?
เขากล่าวตอบว่า “ครับ ทรงอยู่บนอะรัช และความรอบรู้ของพระองค์นั้น ไม่มีสถานที่ใดๆเป็นอิสระจากมัน (หมายถึงเป็นอิสระหรือซ่อนเร้นจากความรอบรู้ของอัลลออ)

-ที่มา
شرح اعتقاد أهل السنة للالكائي (3 / 402)؛ ورواه الخلال في كتابه "السنة" عن شيخه يوسف بن موسى القطان عن الإمام أحمد، كما في كتابي الحافظ الذهبي "العرش" (ج2 ص247) و"العلو للعلي الغفار" (ص176)، قال: رواه الخلال عن يوسف. فسنده صحيح

หมายเหตุ คำว่า “ แยกจากมัคลูค “ หมายถึง เป็นอิสระจากมัคลูค คำว่าอยู่บนฟ้า หมายถึงอยู่เบื้องสูง เหนือฟากฟ้า เหนือบรรดามัคลูคทั้งหลาย

والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม



วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คนที่ปฏิเสธหะดิษญารียะฮ ปราชญ์บอกว่าเป็นคนงี้เง้าเบาปัญญา



อาชาอิเราะฮ ท่านหนึ่ง ปฏิเสธหะดิษญารียะฮ โดยอ้างหะดิษคัดค้าน ว่า ท่านอิหม่ามมาลิก กล่าวในหนังสืออัลมุวัฏเฏาะของท่านว่า

و حَدَّثَنِي مَالِك عَنْ ابْنِ شِهَابٍ عَنْ عُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ بْنِ مَسْعُودٍ
أَنَّ رَجُلًا مِنْ الْأَنْصَارِ جَاءَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِجَارِيَةٍ لَهُ سَوْدَاءَ فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّ عَلَيَّ رَقَبَةً مُؤْمِنَةً فَإِنْ كُنْتَ تَرَاهَا مُؤْمِنَةً أُعْتِقُهَا فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَتَشْهَدِينَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ قَالَتْ نَعَمْ قَالَ أَتَشْهَدِينَ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ قَالَتْ نَعَمْ قَالَ أَتُوقِنِينَ بِالْبَعْثِ بَعْدَ الْمَوْتِ قَالَتْ نَعَمْ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَعْتِقْهَا

ท่านอิมามมาลิกได้รายงานจากอุบัยดิลลาฮ์
บิน อับดิลลาฮ์ บิน อุตบะฮ์ บิน มัสอูด ว่า"มีชายคนหนึ่งจากชาวอันซอรได้มาหาท่านร่อซูลุลลอฮ(ซ.ล.)พร้อมกับเด็กทาสหญิงผิวดำ แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลเลาะฮ์ บนฉันนั้นต้องปล่อยทาสมีศรัทธาหนึ่งคน หากท่านเห็นว่าท่านเป็นผู้ศรัทธาก็จงปล่อยนางเถิด ดังนั้นท่านนบีจึงกล่าวแก่นางว่า เธอจะกล่าวปฏิญาณว่า
"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์" หรือไม่?
นางตอบว่า "จ้ะ"
(ฉันขอปฏิญาณ) ท่านนบีกล่าวอีกว่า แล้วเธอจะปฏิญาณว่า "แท้จริงนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะฮ์"
……
หรือไม่? นางตอบว่า "จ้ะ" (ฉันขอปฏิญาณ) ท่านนบีถามอีกว่า
"เธอเชื่อในการพื้นคืนชีพหลังจากความตายหรือไม่" นางตอบว่า "จ้ะ" ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.)
จึงกล่าวว่า ท่านจะปล่อยนางเถิด"

.......................
ขอชี้แจงดังนี้

หะดิษเศาะเฮียะ ที่นบี ศอ็ลฯ ถาม ทาสหญิงคนหนึ่งว่า

اَيْنَ اللهُ ؟ قَالَتْ : فِى السَّمَاءِ .

อัลลอฮ อยู่ใหน ? นางกล่าวตอบว่า “อยู่บนฟ้า .......รายงานโดย อิหม่ามมุสลิม ,อบูดาวูด และคนอื่นๆ
หะดิษนี้ เป็นหะดิษเศาะเฮียะชัดเจน

อิบนุอับดุลบัร อัลมาลิกีย์ (ฮ.ศ ๔๖๒) กล่าวว่า

وأما قوله في هذا الحديث للجارية: ”أين الله؟“ فعلى ذلك جماعة أهل السنة وهم أهل الحديث ورواته المتفقهون فيه وسائر نقلته كلهم يقول ما قال الله تعالى في كتابه {الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى} [طه : 5] وأن الله عز وجل في السماء وعلمه في كل مكان

สำหรับ คำพูดของท่านนบี ในหะดิษเกี่ยวกับทาสหญิง ที่ว่า “อัลลอฮอยูใหน? คณะหนึ่งของอะฮลุสสุนนะฮ อยู่บนดังกล่าวนั้น (คือเชื่อตามนั้น) พวกเขาคือ นักหะดิษ และบรรดานักรายงานมัน เป็นบรรดาผู้ที่เห็นฟ้องในมัน และบรรดาผู้รายงานของมันที่เหลือทั้งหมด กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาตรัสไว้ในคัมภีรของพระองค์ ที่ว่า (พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงประทับบนบัลลังค์ – ฏอฮา/๕ ว่า “และแท้จริง อัลลอฮผู้ทรงสูงส่ง และทรงเลิศยิ่ง อยู่บนฟ้า และความรู้
ของพระองค์ อยู่ในทุกสถานที่ – อัลอิสติซกัร ของ อิบนุอับดิลบัร เล่ม 7 หน้า 337)


อิหม่ามอัศศอบูนีย์ ได้กล่าวถึงอะกีดะฮของอิหม่ามชาฟิอีว่า

وإنما احتج الشافعي رحمة الله عليه على المخالفين في قولهم بجواز إعتاق الرقبة الكافرة في الكفارة بهذا الخبر؛ لاعتقاده أن الله سبحانه فوق خلقه، وفوق سبع سماواته على عرشه، كما معتقد المسلمين من أهل السنة والجماعة، سلَفِهم وخلفِهم؛ إذ كان رحمه الله لا يرو خبرًا صحيحًا ثم لا يقول به.

และความจริง อัชชาฟิอี (ร.ฮ) ได้อ้างหลักฐาน ตอบโต้บรรดาผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งในทัศนะของพวกเขา (ที่อ้างว่า) อนุญาตให้ปล่อยท่านหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟร ด้วยหะดิษนี้(หมายถึงหะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบีว่าอัลลอฮอยู่บนฟ้า) เพราะ อะกีดะฮของเขา(หมายถึงชาฟิอี)เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮ( ซ.บ) ทรงอยู่เหนื่อมัคลูคของพระองค์ และเหนือ บรรดาฟากฟ้าทั้งเจ็ดของพระองค์ ดังที่เป็นหลักความเชื่อของบรรดามุสลิม จากอะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ยุคสะลัฟและยุคเคาะลัฟ เพราะ ปรากฏว่าเขา(หมายถึงอิหม่ามชาฟิอี) เขาจะไม่รายงานหะดิษที่เศาะเอียะใดๆ แล้วต่อมาเขาไม่นำมากล่าวด้วยมัน
عقيدة السلف وأصحاب الحديث للصابوني ص118 و189]
....
อิหม่ามชาฟิอี ก็นำหะดิษญารียะฮมาอ้างเป็นหลักฐาน

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า

قِصَّةِ الْجَارِيَةِ الَّتِي سَأَلَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْتِ مُؤْمِنَةٌ؟ قَالَتْ نَعَمْ ، قَالَ فَأَيْنَ اللَّهُ ؟ قَالَتْ فِي السَّمَاءِ ، فَقَالَ أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ ، وَهُوَ حَدِيثٌ صَحِيحٌ أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ

เรื่องราวของทาสหญิง ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามนางว่า เธอเป็นผู้ศรัทธาใช่ไหม ? นางกล่าวว่า “ค่ะ ,ท่านนบีถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน?นางตอบว่า อยู่บนฟากฟ้า ,แล้วท่านนบีกล่าวว่า “จงปล่อยนางให้เป็นอิสระ เพราะแท้จริงนาง เป็นผู้ศรัทธา ,โดยที่มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม ๑๓ หน้า ๓๕

อิหม่ามอัลบัฆวีย์ กล่าวว่า

قَالَ : ائْتِنِي بِهَا فَجِئْتُ بِهَا ، فَقَالَ : أَيْنَ اللَّهُ ؟ قَالَتْ : فِي السَّمَاءِ ، قَالَ : مَنْ أَنَا ، قَالَتْ : أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ ، قَالَ : أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ هَذَا حَدِيثٌ صَحِيحٌ ، أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ

ท่านนบี กล่าวว่า จงนำนางมาหาฉัน แล้วข้าพเจ้า ก็นำนางมา แล้วท่านนบี กล่าวว่า “ อัลลอฮอยู่ใหน ? นางกล่าวตอบว่า “อยู่บนฟ้า ,ท่านนบีกล่าวว่า “ฉันเป็นใคร ,นางกล่าวตอบว่า “ ท่านคือ ศาสนทูตของอัลลอฮ ,ท่านนบีกล่าวว่า “จงปลอยนางให้เป็นไท เพราะแท้จริงนางคือ หญิงผู้ศรัทธา ,นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม – ชัรหุสุนนะฮ เล่ม 3 หน้า 43

และอิหม่ามอัซซะฮบีย์ ได้กล่าวถึงหะดิษข้างต้นอีกว่า

هذا حديث صحيح أخرجه مسلم وأبو داود والنسائي وغير واحد من الأئمة في تصانيفهم ، يمرونه كما جاء ولا يتعرضون له بتأويل ولا تحريف ، وهكذا رأينا كل من يسأل : أين الله ؟ ، يبادر بفطرته ويقول : في السماء ، ففي الخبر مسالتان :إحداهما : شرعية قول المسلم : أين الله .الثانية : قول المسؤول : في السماء . فمن أنكر هاتين المسألتين فإنما ينكر على المصطفى صلى الله عليه وسلم

นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม,อบูดาวูด,อันนะสาอีย์ และหลายคนจากบรรดาอิหม่ามในงานเขียนของพวกเขา ,โดยพวกเขาปล่อยให้มันผ่านไปและพวกเขาไม่คัดค้านมันด้วยการตีความและเปลี่ยนความหมาย และในทำนองเดียวกันนี้ เราเห็นว่า ทุกๆคนที่ถูกถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? ด้วยธรรมชาติของเขา เขาจะตอบทันทีว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ดังนั้น ในหะดิษนี้ แบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ

1. คำพูดของมุสลิมที่ว่า “อัลลอฮอยู่ใหน” ชอบด้วยหลักศาสนบัญญัติ

2. คำพูดของผู้ถูกถาม คือ อยู่บนฟากฟ้า

ดังนั้น ใครคัดค้าน สองประเด็นนี้ ความจริง เขาได้คัดค้านนบีมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – มุคตะศอรอัลอะลูย์ หน้า 81

. อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า

هذا حديث صحيح ، رواه مسلم في " صحيحه " ومالك في " موطئه " وأبو داود والنسائي وأبو داود الطيالسي

นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ รายงานโดย มุสลิมในเศาะเฮียะของเขา,มาลิกรายงานในมุวัฏเฏาะ และ อบูดาวูด,อันนะสาอีย์และอบูดาวูดอัฏฏิยาลิสีย์ – กิตาบุลอะลูวีย์ หน้า 47

มาดูความพยายามปฏิเสธหะดิษ ที่ระบุ “ อัลลอฮอยู่บนฟ้า ของอะชาอิเราะฮดังนี้

อะชาอิเราะฮ นำหะดิษเฎาะอีฟ ที่มีข้อความว่า

أُعْتِقُهَا فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَتَشْهَدِينَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ قَالَتْ نَعَمْ قَالَ أَتَشْهَدِينَ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ قَالَتْ نَعَمْ

ดังนั้นท่านนบีจึงกล่าวแก่นางว่า เธอจะกล่าวปฏิญาณว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์" หรือไม่? นางตอบว่า "จ้ะ" (ฉันขอปฏิญาณ) ท่านนบีกล่าวอีกว่า แล้วเธอจะปฏิญาณว่า "แท้จริงนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะฮ์"
หรือไม่? นางตอบว่า "จ้ะ" (ฉันขอปฏิญาณ)
......
หะดิษเต็มๆข้างต้นคือ

حديث مرفوع) وَحَدَّثَنِي مَالِك ، عَنْ ابْنِ شِهَابٍ ، عَنْ عُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ بْنِ مَسْعُودٍ ، أَنَّ رَجُلًا مِنْ الْأَنْصَارِ جَاءَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِجَارِيَةٍ لَهُ سَوْدَاءَ ، فَقَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، إِنَّ عَلَيَّ رَقَبَةً مُؤْمِنَةً ، فَإِنْ كُنْتَ تَرَاهَا مُؤْمِنَةً ، أُعْتِقُهَا ؟ فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " أَتَشْهَدِينَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ ؟ " قَالَتْ : نَعَمْ . قَالَ : " أَتَشْهَدِينَ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ ؟ " قَالَتْ : نَعَمْ . قَالَ : أَتُوقِنِينَ بِالْبَعْثِ بَعْدَ الْمَوْتِ ؟ قَالَتْ : نَعَمْ . فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " أَعْتِقْهَا " .
...........................
หะดิษข้างต้น ผู้อ้าง ไม่ได้ระบุสถานะหะดิษ เพียงแต่อ้างว่า กล่าวไว้ในอัลมุวัฏเฏาะ และในสายรายงานระบุว่า รายงานจาก

عُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ بْنِ مَسْعُودٍ

แต่อีกหะดิษหนึ่ง ที่รายงานโดย อุบัยดิลละฮ จากอบีฮุรัยเราะฮ กลับมีตัวบทดังนี้

حديث مرفوع) وَقَالَ الْمَسْعُودِيُّ ، عَنْ عَوْنٍ ، عَنْ أَخِيهِ عُبَيْدِ اللَّهِ هُوَ ابْنُ عُتْبَةَ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ، قَالَ : جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِجَارِيَةٍ أَعْجَمِيَّةٍ ، فَقَالَ : " يَا رَسُولَ اللَّهِ ، إِنَّ عَلَيَّ عِتْقَ رَقَبَةٍ مُؤْمِنَةٍ ، فَأَعْتِقُ هَذِهِ ؟ فَقَالَ لَهَا : أَيْنَ اللَّهُ ؟ فَأَشَارَتْ إِلَى السَّمَاءِ ، قَالَ : فَمَنْ أَنَا ؟ فَأَشَارَتْ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ إِلَى السَّمَاءِ ، قَالَ : أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ " . رَوَاهُ جَمَاعَةٌ ، عَنِ الْمَسْعُودِيِّ ، مِنْهُمْ : يَزِيدُ بْنُ هَارُونَ ، وَإِسْنَادُهُ حَسَنٌ

หะดิษนี้มีข้อความว่า

فَقَالَ لَهَا : أَيْنَ اللَّهُ ؟ فَأَشَارَتْ إِلَى السَّمَاءِ ،

แล้วนบี กล่าวแก่นางว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? แล้วนางชี้ ไปยังฟากฟ้า
หะดิษนี้ อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ ระบุว่า สายรายงานอยู่ในระดับดี - ดู อัลอุลุว์ ของอิหม่าอัซซะฮะบีย์ หะดิษหมายเลข 4

มาดูคำพูดของ ตะกียุดดีน อบูมุหัมหมัด อับดุลเฆาะนีย์ บิน อับดุลวาฮีด อัลมุกอ็ดดิสีย์ อัลหัมบะลีย (ฮ.ศ 600) สำหรับผู้ปฏิเสธหะดิษญารียะฮ โดยกล่าวว่า

ومن أجهل جهلاً، وأسخف عقلاً، وأضل سبيلاً، ممن يقول: إنه لا يجوز أن يُقال: أين الله؟ بعد تصريح صاحب الشريعة بقوله: أين الله؟

และจะมีใคร งี่เง้า ,เบาปัญญาและหลงทางยิ่งไปกว่า ผู้ที่กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้ถูกกล่าวว่า “อัลลอฮอยูใหน ? หลังจากที่เจ้าของศาสนบัญญัติได้ ชีแจงชัดเจน ด้วยการกล่าวว่า “อัลลอฮอยูใหน

) كتاب الصفات لعبد الغني المقدسي (ص75 و76

แค่หะดิษรายงานโดยมุสลิม ก็เกินพอ แต่มีคนกระเสือกกระสน จะปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮให้ได้

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม




มลาอิกะฮ ไม่รู้ว่าอัลลอฮอยู่ใหนจริงหรือ?



ผู้รู้อวุโส ในเว็บไซด์กลุ่มอาชาอิเราะฮ ท่านหนึ่งกล่าวว่า
แม้แต่มะลาอิกะฮ์ที่ได้ชื่อว่า มะลาอิกะตุลมุก็อรร่อบีน (มะลาอิกะฮ์ผู้มีฐานะใกล้ชิดอัลเลาะฮ์) ยังไม่รู้เลยว่า อัลเลาะฮ์อยู่ที่ใหน

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.) ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) กล่าวว่า

أُذِنَ لِىْ أَنْ أُحَدِّثَ عَنْ مَلَكٍ قَدْ مَرَقَتْ رِجْلاَهُ فِى الأَرْضِ السَّابِعَةِ ، وَالْعَرْشُ عَلىَ مَنْكِبِهِ ، وَهُوَ يَقُوْلُ سَبْحَانَكَ أَيْنَ كُنْتَ وَأَيْنَ تَكُوْنُ

"ฉันได้รับอนุญาตให้เล่าจากเรื่องมะลาอิกะฮ์ท่านหนึ่ง ซึ่งทั้งสองเท้าของเขาผ่านเข้ามาในแผ่นดินชั้นที่ 7 โดยที่อารัช(บัลลังก์)อยู่บนบ่าของเขา และมะลาอิกะฮ์(ผู้แบกบัลลังก์)ก็กล่าวว่า มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน พระองค์ท่านทรงอยู่ใหนและพระองค์กำลังอยู่ใหน" หะดิษนี้ ซอฮิหฺ

........................

ขอชี้แจงดังนี้

หะดิษข้างต้นไม่ได้ปฏิเสธการอยู่ทิศเบื้องสูงของอัลลอฮ และไม่ได้ปฏิเสธว่ามลาอิกะฮ ทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนมากมาย ไม่รู้ว่าอัลลอฮอยูใหน ตามที่ท่านครูแห่งเว็บสุนนะฮสะติวเด้นอ้าง เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ

[70.4] มลาอิกะฮ์และอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกดุนยานี้) 
………….

ถ้าบรรดามลาอิกะฮไม่รู้ว่าอัลลอฮอยู่ใหน บรรดามลาอิกะฮและญิบรีล ขึ้นไปทำไม อีกทั้งอัลลอฮทรงยืนยันว่า บรรดามลาอิกะฮและญิบรีลขึ้นไปยังพระองค์ ส่วนหะดิษที่เศาะเฮียะระบุดังนี้

จากญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า :

أذن لي أن أحدث عن ملك من ملائكة الله من حملة العرش، إن ما بين شحمة أذنه إلى عاتقه مسيرة سبعمائة عام

;ความว่า “ฉันได้รับอนุญาตให้กล่าวถึงมลาอิกะฮฺท่านหนึ่งจากจำนวนบรรดามลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่แบกและค้ำบัลลังก์ของอัลลอฮฺ แท้จริงมลาอิกะฮฺ(ท่านนี้)ระยะระหว่างติ่งหูจนถึงหัวไหล่ของท่านมี(ความห่างเป็น)ระยะเวลา(การเดินทาง) 700 ปี” (รายงานโดยอบู ดาวูด : 3727, เป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ ดูใน เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3953 และรวมหะดีษเศาะฮีหฺของอัล-อัลบานีย์ : 151)

อิหม่ามอัลบัฆวีย์ อธิบายว่า
( وَالرُّوحُ) يعني جبريل عليه السلام ( إِلَيْهِ) أي إلى الله عز وجل

และอัรรูห์ หมายถึง ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม ( ไปยังพระองค์) หมายถึง ไปยังอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง - ดู ตัฟสีรอัลบัฆวีย์ อรรถาธิบายซูเราะฮ อัลมะอาริจญ อายะฮที่ 70

อิบนุญะรีร (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า

تَصْعَد الْمَلَائِكَة وَالرُّوح , وَهُوَ جِبْرِيل عَلَيْهِ السَّلَام إِلَيْهِ , يَعْنِي إِلَى اللَّه جَلَّ وَعَزَّ ; وَالْهَاء فِي قَوْله { إِلَيْهِ } عَائِدَة عَلَى اسْم اللَّه 
มลาอิกะฮและอัรรูหฺ ขึ้นไป และเขาคือ ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม ยังพระองค์ หมายถึง ไปยังอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง และ อักษรฮา ในคำตรัสที่ว่า(อิลัยฮิ) กลับไปยังพระนามของอัลลอฮ (หมายถึงเป็นสรรพนามแทนชื่ออัลลอฮ) – ดู – ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮอัลมะอาริจญ์ อายะฮที่ 4 ............ 
ข้างต้น ยืนยันชัดเจนว่า บรรดามลาอิกะฮและ ญิบรีลรู้ว่าอัลลอฮ อยู่ใหน เพราะพวกเขาขึ้นไปยังอัลลอฮ

عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال " يتعاقبون فيكم ملائكة بالليل وملائكة بالنهار ويجتمعون في صلاة الفجر وصلاة العصر،ثم يعرج الذين باتوا فيكم فيسألهم ربهم وهو أعلم بهم كيف تركتم عبادي؟ فيقولون تركناهم وهم يصلون ، وأتيناهم وهم يصلون". رواه البخاري ومسلم

รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า รซูลุลลอฮ กล่าวว่า บรรดามลาอิกะฮที่เฝ้าคอยติดตามพวกท่าน ในตอนกลางคืน และมลาอิกะฮที่(เฝ้าคอยติดตามพวกท่าน)ในตอนกลางวัน และพวกเขาจะมาชุมนุมกันในเวลาละหมาดศุบฮิและอัศริ หลังจากนั้น บรรดา(มลาอิกะฮ)ผู้ที่พักแรมในหมู่พวกท่าน ได้ขึ้นไป แล้วพระผู้อภิบาลของพวกเขาได้ทรงถามพวกเขา ทั้งๆที่พระองค์ทรงรู้ยิ่งเกี่ยวกับพวกเขา ว่า " พวกเจ้าได้ทิ้งบ่าวของข้ามา มีสภาพเป็นอย่างไร? แล้วพวกเขา(บรรดามลาอิกะฮ)กล่าวว่า "พวกข้าพระองค์ได้ทิ้งพวกเขามา โดยที่พวกเขากำลังละหมาด? และพวกข้าพระองค์ได้ไปยังพวกเขา โดยที่พวกเขากำลังละหมาด" - รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม 
........
العروج الصعود من أسفل إلى أعلى

อัลอุรูจญ์ คือ ขึ้นจากที่ต่ำไปยังที่สูง

จะเห็นได้ว่า บรรดามลาอิกะฮที่ทำหน้าที่เฝ้าติดตามบ่าวของอัลลอฮ พวกเขาขึ้นไปยังเบื้องสูง แล้วเมื่อเขาไม่รู้ว่าอัลลอฮอยู่ที่ใหน ตามที่ท่านครูอ้าง จึงขอถามว่า"แล้ว พวกเขาขึ้นไปทำไมหรือ ? แน่นอนพวกเขาย่อมรู้ดีว่าพระองค์อยู่ใหน พวกเขาจึงขึ้นไป 
......
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม



จากการเรียนรู้จากต่างศาสนิก



เราได้เรียนรู้จากต่างศาสนิก ที่พวกเขาได้สอนให้แก่เราว่า : บรรดาเครือญาติ ก็เปรียบเสมือนแมงป่อง (ที่มันจ้องแต่จะเล่นงานเราได้ทุกเวลา) หากแต่ท่านนบีฯ ได้สอนเราว่า : แท้จริงแล้ว เขาคนนั้นจะไม่ได้เข้าสวรรค์ ผู้ที่ตัดความสัมพันธ์กับบรรดาเครือญาติ เราได้เรียนรู้จากต่างศาสนิก ที่พวกเขาได้สอนให้แก่เราว่า : ความโศกเศร้าของผู้หญิง จะไม่มีวันหมดสิ้น และมันจะอยู่ควบคู่กันไปจนถึงวันตาย หากแต่ท่านนบีฯ ได้สอนเราว่า : แท้จริงแล้ว ลูกผู้หญิงเปรียบเสมือนลูกกุญแจในการไขประตูสวรรค์ เราได้เรียนรู้จากต่างศาสนิก ที่พวกเขาได้สอนให้แก่เราว่า : เมื่อสามีได้ปฏิบัติตนเป็นสามีที่ดีต่อภรรยาของเขา ตัวเขาจะเปรียบเสมือนตัวแกะหรือตัวกระต่าย หากแต่ท่านนบีฯ ได้สอนเราว่า : คนที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้า คือคนที่ปรนนิบัติคุณงามความดีให้แก่ครอบครัวของเจ้า และแท้จริงแล้ว อาหารที่ผู้เป็นสามีได้ป้อนให้แก่ภรรยาของเขา ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเศาะดะเกาะฮฺแล้ว เราได้เรียนรู้จากต่างศาสนิก ที่พวกเขาได้สอนให้แก่เราว่า : โปรดจงระวังจากศัตรูของเจ้าเพียงแค่ครั้งเดียว และจงระวังจากเพื่อนของเจ้าเป็นพันครั้ง หากแต่ท่านนบีฯ ได้สอนเราว่า : มีเจ็ดจำพวกที่อัลลอฮฺจะทรงกำบังพวกเขาไว้ใต้ร่มเงาของพระองค์ ณ วันที่ไม่มีร่มเงาใด นอกเหนือจากร่มเงาของพระองค์ หนึ่งในจำพวกนั้นก็คือ คนสองคนที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺ พวกเขาประสานติดต่อกันและกัน และพลัดพรากจากกันและกันเพื่อเอกองค์อัลลอฮฺเพียงผู้เดียวเท่านั้น .



บทความดี ๆ โดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول ( ص ) ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ




วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เมื่ออิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ต่อต้านการตีความ


อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า


أما بعد فإن كثيرا من الزائغين عن الحق من المعتزلة وأهل القدر مالت بهم أهواؤهم إلى تقليد رؤسائهم ومن مضى من أسلافهم فتأولوا القرآن على 
آرائهم تأويلا لم ينزل به الله سلطانا ولا أوضح به برهانا ولا نقلوه عن رسول رب العالمين ولا عن السلف المتقدمين

ดังนั้น ส่วนมากจากบรรดาผู้ที่เบี่ยงเบนออกจากความจริง จาก พวกมุอตะซิละฮและพวกเกาะดะรียะฮ ซึ่ง อารมณ์ของพวกเขาทำให้พวกเขาเอนเอียงไปสู่การตักลิด บรรดาหัวหน้าของพวกเขาและ บรรดาบรรพชนของพวกเขาที่อยู่ก่อนหน้าของพวกเขา แล้วพวกเขาได้ตีความอัลกุรอ่านตามความเห็นของพวกเขา โดยเป็นการตีความ ที่อัลลอฮไม่ทรงประทานอำนาจ ด้วยการนั้น ,ไม่ได้ทรงชี้แจงหลักฐานด้วยมันและพวกเขาไม่ได้รายงานมันจากรซูลของพระเจ้าแห่งสากลจักรวาล และไม่ได้รายงานมาจากชาวสะลัฟยุคก่อน - อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 14 .........
จะเห็นได้ว่า อัลอะชาอิเราะฮยุคหลังนั้น ได้ตีความอัลกุรอ่านและหะดิษ ในเรื่อง สิฟาตอัลลอฮ โดยความเห็น โดยไม่ได้เอามาจากหลักฐานจาก อัลกุรอ่าน,อัสสุนนะฮและคำสอนของชาวสะลัฟผู้ทรงธรรมยุคก่อน และจะเห็นได้ว่า การตีความในบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮ ที่มาจากอัลกุรอ่นและหะดิษ ส่วนใหญ่พวกอัลอะชาอีเราะฮยุคหลัง ไม่ได้เอามาจาก คำสอนของอิหม่ามอัลอัชอะรีย์ แต่เอาตามแนวคิดของพวกกะลามและพวกมุอฺตะซิละฮ .. والله أعلم بالصواب

................... อะสัน หมัดอะดั้ม

ทำไมอะกีดะฮอาชาอิเราะฮยุคหลังจึงไม่ตรงกับอิหม่ามอัชอะรีย์





فمذهب الأشاعرة في العقيدة قائم على آراء الإمام أبي الحسن الأشعري في المرحلة الثانية من حياته، وهي المرحلة التي وافق فيها ابن كلاب، وقد رجع الأشعري رحمه الله عن كثير من آرائه الاعتقادية التي تبناها في تلك المرحلة. وأثبت معتقده الموافق لأهل الحديث في الجملة في كتبه مقالات الإسلاميين والإبانة، ورسالة إلى أهل الثغر.
มัซฮับอัลอะชาอิเราะฮ ในเรื่องอะกีดะฮ ยืนอยู่บนความคิดเห็นของอิหม่ามอบูลหะซันอัลอัชอะรี ในระยะที่ สองของชีวิตของท่าน และมันเป็นช่วงระยะที่ท่านมีความเห็นสอดคล้องกับอิบนกุลลาบ(หัวหน้านักวิภาษวิทยา หรือ อะฮลุลกะลาม ที่ใช้ปัญญาเป็นหลักในการอธิบายเตาฮีด))ในระยะนั้น
และอิหม่ามอัลอัชอะรีย์ ได้กลับตัวจากส่วนมากที่มาจากความเห็นของท่านซึ่งเป็นอะกีดะฮในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และท่านได้ยืดยันอะกีดะฮของท่านที่สอดคล้องกับนักหะดิษ โดยรวมในหนังสือของท่าน คือ มะกอลาตอัลอิสลามียีนฐ อัลอิบานะฮและริสาละฮอิลาอะฮลิษษะอฺริ
http://www.islamweb.net/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php… ......... จะเห็นได้ว่า อะกีดะฮอะชาอิเราะฮจึงเพี้ยนไปจากอะกีดะฮจริงๆของอิหม่ามอัลอัชอะรีย เพราะสาเหตุดังกล่าว และไม่ตรงกับอะฮลุลหะดิษ



...................................
Ah-lulquran Was-sunnah

ห้ามประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้าของสัตว์



การประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้าของสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นที่ต้องห้าม และเป็นบาปใหญ่ เป็นการทำร้าย ทรมานสัตว์ และพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา และท่านรสูลของพระองค์ทรงสาปแช่งผู้ที่ประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้าสัตว์นั้น

ท่านญาบิร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า
ลาตัวหนึ่งได้เดินผ่านท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยที่มันถูกประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้า ท่านนบีจึงกล่าวว่า : อัลลอฮฺทรงสาปแช่งผู้ที่ประทับตราสัญลักษณ์มัน (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 2117)

ท่านญาบิร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า

ลาตัวหนึ่งถูกจูงผ่านท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยที่มันถูกประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้า ท่านนบีจึงกล่าวว่า : ฉันไม่ไดแจ้งแก่พวกท่านหรอกหรือว่า แท้จริงฉันได้สาปแช่งผู้ประทับตราสัญลักษณ์บนใบหน้าของปศุสัตว์ หรือตบตีบนใบหน้าของมัน แล้วท่านนบีก็ได้ห้ามจากการกระทำเช่นนั้น (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดวุด เลขที่ 2564 ชัยคฺอัล-อัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)

 




เมื่ออะกีดะฮอัชอะรีย์สวนทางกับอะกีดะฮอะชาอิเราะฮ


อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ (ฮ.ศ 673-748 )กล่าว เกี่ยวกับอิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ ว่า

وَقَدْ أَلَّفَ كِتَابًا سَمَّاهُ : " الْإِبَانَةَ " ، يَقُولُ فِيهِ : فَإِنْ قِيلَ : فَمَا الدَّلِيلُ عَلَى أَنَّ لِلَّهِ وَجْهًا وَيَدًا ؟ قَالَ : قَوْلُهُ : وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ وَقَوْلُهُ : مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ فَأَثْبَتَ تَعَالَى لِنَفْسِهِ وَجْهًا وَيَدًا . . . إِلَى أَنْ قَالَ : فَإِنْ قِيلَ : فَهَلْ تَقُولُونَ : إِنَّهُ فِي كُلِّ مَكَانٍ ؟ قِيلَ : مَعَاذَ اللَّهِ ! بَلْ هُوَ مُسْتَوٍ عَلَى عَرْشِهِ كَمَا أَخْبَرَ فِي كِتَابِهِ

และแท้จริงเขา(อบูลหะซัน)ได้แต่งตำรา เขาได้ตั้งชื่อมันว่า “อัลอิบานะฮ” โดยเขาได้กล่าวในตำรานั้นว่า “หากถูกกล่าวว่า “อะไรคือหลักฐาน ว่าแท้จริงอัลลอฮทรงมีพระพักต์และพระหัตถ์ ? เขากล่าวว่าคือ “คำตรัสของพระองค์ที่ว่า
وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ
และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่”
,คำตรัสของพระองค์ ที่ว่า
مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ
อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสองของข้า ?
เพราะพระองค์ทรง ยืนยัน ใบหน้าและ มือ แก่ตัวพระองค์เอง 

.....จนถึงที่เขา(อะบูลหะซัน)กล่าวว่า “แล้วถ้าถูกกล่าวว่า “พวกท่านจะกล่าวว่า “แท้จริงพระองค์อยู่ในทุกๆสถานที่ใช่ไหม? ก็จะถูกกล่าว(หมายถึงให้กล่าวตอบว่า)ว่า “ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮด้วยเถิด ! แต่ทว่า พระองค์คือผู้ทรงสถิตอยู่บน บัลลังค์ของพระองค์ ดังที่ทรงบอกในคัมภีร์ของพระองค์ - ดู สิยะรุอะลามอัลนุบะลาอฺ เล่ม 17 หน้า 558
.......... ข้างต้น ชัดเจนว่า อะกีดะฮอิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ แตกต่างจาก อะกีดะฮอาชาอิเราะฮยุคหลังอย่างสิ้นเชิง เพราะ อาชาอิเราะฮยุคหลัง ไม่ยอมรับในความหมายตามที่ทรงตรัสไว้ตามที่ปรากฏในตัวบท จึงตีความ(ตะวีล) ให้กินกับปัญญา

การยืนยันตามที่อัลลอฮ และนบีบอกนั้น ไม่ถือว่า เป็นการตัจบีฮ และตัขซ๊ม เพราะผู้ยืนยันไม่ได้เปรียบอัลลอฮกับมัคลูคครับ ท่านอิสหาก บิน รอฮาวียะฮ ปราชญ์ชาวสะลัฟ (ฮ.ศ 161 - 238 )กล่าวว่า إِنَّمَا يَكُونُ التَّشْبِيهُ إِذَا قَالَ يَدٌ كَيَدٍ أَوْ مِثْلُ يَدٍ أَوْ سَمْعٌ كَسَمْعٍ أَوْ مِثْلُ سَمْعٍ. فَإِذَا قَالَ سَمْعٌ كَسَمْعٍ أَوْ مِثْلُ سَمْعٍ فَهَذَا التَّشْبِيهُ وَأَمَّا إِذَا قَالَ كَمَا قَالَ الله تَعَالَى يَدٌ وَسَمْعٌ وَبَصَرٌ وَلَا يَقُولُ كَيْفَ وَلَا يَقُولَ مِثْلُ سَمْعٍ وَلاَ كَسَمْعٍ فَهَذَا لَا يَكُونُ تَشْبِيهًا وَهُوَ كَمَا قَالَ الله تَعَالَى فِى كِتَابِهِ: { لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ การตัชบีฮฺ(เปรียบกับมัคลูก)นั้นคือการที่เรากล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺก็เหมือนกับมือของฉันหรือใกล้เคียงกับมือของฉัน หรือการที่เขากล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับที่ฉันได้ยินหรือคล้ายกับที่ฉันได้ยิน แบบนี้แหละที่เขาเรียกว่าตัชบีฮฺ แต่หากเป็นการกล่าวในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้แล้ว เช่น พระหัตถ์, ทรงสดับฟัง, ทรงทอดพระเนตร พร้อมกับไม่ถามว่ามันเป็นอย่างไรแบบไหน ตลอดจนไม่กล่าวว่าอัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับฉันได้ยิน ดังนั้นแบบนี้ไม่เป็นการตัชบีฮฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา พระองค์กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนหรือคล้ายคลึงกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” (หนังสือ สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้าที่ 50-51) …………………… เพราะฉะนั้น การที่เราเชื่อ ตามที่อัลลอฮทรงบอกว่า ทรงมี พระหัตถ์ หรือ สิฟัตอื่นๆ ตามที่ทรงบอกไว้ ไม่ใช่ว่า เป็นการเปรียบเทียบกับมัคลูค หรือ มีรูปร่างเหมือนมัคลูค อย่างที่อาชาอิเราะญิฮาด อักซอกล่าวหา เพราะพระองค์ทรงบอกไว้แล้วว่า لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น
والله أعلم بالصواب



...................................
Ah-lulquran Was-sunnah