อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดแต่ต้องเสียฟิดยะฮฺ


บวช
เสียฟิตยะฮฺ

ศาสนาได้ผ่อนผันไม่จำต้องถือศิลอด แต่วาญิบต้องเสียฟิดยะฮฺ หรือค่าปรับ


อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ


"และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) "( อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:184)


จากอัลกุรอานอายะฮ์ข้างต้นระบุถึงผู้ที่ไม่สามารถถือศิลอดได้ เช่นนี้วาญิบสำหรับเขาผู้นั้นจำต้องให้อาหารแก่คนยากยากจนแทนทุกๆวัน อันได้แก่บุคคลต่อไปนี้

1)คนป่วยเรื้อรัง หรือคนป่วยไม่มีหวังที่จะหาย

2)คนชราภาพ

3)คนทำงานหนัก ไม่มีทางเลือกอื่น ในการทำมาหารายได้เลี้ยงชีพ นอกจากต้องทำงานนั้นเท่านั้น ซึ่งหากเขาถือศิลอด จะทำให้เขาลำบากอย่างหนัก หรือลำบากตลอดทั้งปี เช่น กรรมกรที่ทำงานหนกตลอดเวลา...

>กรณีหญิงมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร

สำหรับกรณีผู้หญิงมีครรภ์ และหญิงที่ให้นมบุตร เมื่อนางทั้งสองกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตัวของนางเองหรืออันตรายต่อบุตรของนางทั้งสอง อนุญาตให้นางทั้งสองละศีลอดได้ แตได้มีความขัดแย้งกันในเรื่องการถือศิลอดชดใช้และการจ่ายฟิตยะฮฺ ของนักวิชาการ ในดังนี้

1) จำเป็นต้องจ่ายฟิตยะฮเท่านั้น ไม่ต้องถือศิลอดชดใช้ ได้แก่ทัศนะของอิบนุอับบาสและอิบนุอุมัร

ท่านสะอีด บุตรของญุบัยร์เล่าว่า ท่านอิบนุอับบาสอ่านอัลกุรอาน
"และบรรดาผู้ถือ(ศิลอด) โดยลำบากยิ่ง การชดใช้คือการให้อาหารแก่คนขัดสนหนึ่งคน) เขากล่าวว่า เป็นข้อผ่อนผันสำหรับชายชรา สตรีชรา โดยทั้งสองไม่สามารถถือศิลอดได้ ให้ทั้งสองละศิลอดแล้วจ่ายอาหารแทนแก่คนยากจนทุกๆวัน ส่วนสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร หากนางกลัวว่า (ท่านอบูดาวูดกล่าวว่า หมายถึง กลัวมีอันตรายต่อเด็กในครรภ์) เช่นนั้นให้นางละศิลอด แต่ให้จ่ายอาหาร (แก่คนยากจน) แทน" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2320)

ท่านนาฟิอฺเล่าเกี่ยวกับท่านอิบนุอุมัรฺว่า
"แท้จริงสตรีมีครรภ์นางหนึ่งถามเขา เขาตอบว่า เธอจงละศิลอด และเธอจงให้อาหารทุกๆ วันแก่คนยากจน โดยเธอไม่ต้อง(ถือศิลอด)ชดใช้แต่ประการใด"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอัดดารุฏนีย์ หะดิษเลขที่ 2413)

2)จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายฟิตยะฮ ได้แก่ทัศนะของนักวิชาการมัซฮับหะนะฟี

โดยมีเหตุผลว่า นางจำเป็นจะทำการถือศีลอดชดใช้เท่านั้น  เนื่องจากไม่มีหลักฐานในอัลกุรอ่านหรือตามซุนนะฮฺ ว่าให้ชดใช้โดยการให้อาหาร  ซึ่งเหตุผลข้อนี้ ท่านอบู ฮานีฟะ (ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน) ถือว่าจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ เนื่องจากในกรณีการให้อาหารชดใช้นั้น  ไม่มีหลักฐานใดๆ ให้ปฏิบัติตาม

และอ้างหลักฐานดังนี้

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
 แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อ และอีกทั้งผ่อนผันการถือศิลอดให้แก่หญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมบุตร"(บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ หะดิษที่ 719 และอันนาซาอีย์)
 ท่านอัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ดี และบางเล่ม(หมายถึงหนังสือหะดีษ) อัตติรมีซีย์ได้กล่าวว่า หะดีษที่ดี และถูกต้อง และท่านอิบนู คุซัยมะห์ให้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง

ในหะดีษบทนี้ ท่านนบีได้หุก่มสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรนั้น เหมือนกับหุก่มของผู้เดินทาง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้เดินทางนั้น อนุญาตให้ละศีลอดได้ แต่จำเป็นต้องถือชด ดังนั้น สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรก็เช่นเดียวกัน (ดู อะหฺกามุลกุรอาน โดยอัลญัศศอศ)

3)จำเป็นต้องถือชดใช้และจ่ายฟิตยะฮพร้อมกัน  ได้แก่ทัศนะของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และหัมบะลีย์

ซึ่งหลักฐานจากอายะฮ์

وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ" [البقرة: 184]

เนื่องจากนางมีความสามารถที่จะถือศีลอด แต่การละศีลอดของนางเพื่อลูกของนาง

มีนักปราชญ์รุ่นหลังนี้คนหนึ่งชื่อ “อับดุล-มุตะอาล อัศเศาะอีดีย์” เป็นชาวอียิปต์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ ว่า ข้อความที่ว่านั้น หมายถึงผู้ที่สามารถจะถือศีลอดได้ แต่ไม่ถือ ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้นอกจากจะต้องถือศีลอดใช้แล้ว เขาจะต้องให้อาหารแก่คนมิสกีนอีกด้วย ทั้งนี้เป็นชดเชย ท่านได้ให้เหตุผลว่า “ผู้ที่เดินทางก็ดี หรือผู้ป่วยก็ดี โดยที่เขางดเว้นการถือศีลอดนั้น เขายังจำเป็นต้องถือใช้ในวันอื่นด้วย แล้วคนที่มิได้เดินทาง และมิได้ป่วย แต่ไม่ยอมถือศีลอดนั้น แน่นอนเขาย่อมจะต้องถือใช้ยิ่งกว่า คนเดินทาง และคนป่วย ด้วยเหตุนี้ อัล-กรุอานจึงมิได้ระบุว่า ผู้ที่สามารถจะถือศีลอดได้ แต่เขาไม่ถือนั้นจำเป็นต้องถือศีลอดใช้ ทั้งนี้เพราะถือว่าย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้ว

4)ไม่จำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้ และไม่จำเป็นต้องจจ่ายฟิดยะฮฺ ได้แก่ทัศนะของอิบนุหัซมิน


การจ่ายฟิตยะฮฺ (ค่าปรับ)

จากหลักฐานอัลกุรอาน


อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ


"และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) "( อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:184)

หลักฐานชัดเจนว่าให้จ่ายฟิตยะฮฺ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎชัดว่าต้องจ่ายฟิดยะฮฺ ในปริมาณเท่านไร ไม่พบหลักฐาที่ชัดเจน จึงต้องอาศัยคำอธิบายของเศาะหะบะฮฺ และบรรดานักวิชาการ ที่ระบุปริมาณของฟิตยะฮฺ ซึ่งมีความแตกต่างกัน

-การจ่ายฟิดยะฮฺในปริมาณ 2 มุด หรือครึ่งศออ์ = 1.4 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับประเทศอาหรับ ประมาณ 1.5 กิโลกรม

ตามทัศนะของนักอธิบายอัลกุรอาน (ตัฟสีรฺ) ได้อธิบายซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 184 ว่า "แท้จริงเป้าหมายของบรรดาผู้ถือศิลอดด้วยความยากลำบากยิ่ง บรรดาผู้ที่ไม่มีความสามารถถือศิลอดได้ และไม่ต้องชดใช้การถือศิลอดนั้นด้วย เช่น คนชาภาพ คนป่วยเรื้อรัง แต่ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกๆวันๆละครึ่งศออ์ (1.5 กิโลกรัม) โดยปริมาณ จากข้าวสาลี ข้าวเจ้า หรือสิ่งถูกบริโภคของแต่ละท้องถิ่น"

-ทัศนะที่ระบุว่าจ่ายฟิอยะฮฺ จำนวน 1 มุด = 7 ขีด
ท่านนาฟิอฺเล่าว่า
"แท้จริงท่านอินุ อุมัรฺ ถูกถามจากสตรีท่านหนึ่งที่อุ้มครรภ์ซึ่งนางกลัวส่งผลต่อเด็กในครรภ์(หากนางถือศิลอด) เขาอบว่า เธอจงละศิลลอด และเธอจงให้อาหารทุกๆวันแก่คนยากจนในปริมาณ 1 มุด จากข้าวสาลี"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยบัยฮะกีย์ หะดิษเลขที่ 8335)

อนึ่ง นักวิชาการบางท่านระบุว่า ให้เลี้ยงอาหารแก่คนยากจนหนึ่งมื้อ หรือสองมื้อในวันหนึ่งก็ได้

การจ่ายข้าวฟิดยะฮฺ โดยจ่ายให้แก่บุคคลที่ยากจนขัดสนเพียงจำพวกเดียวเท่านั้น และสามารถจ่ายได้ทันทีเลย หรือจะรวมจ่ายก็ได้ เช่น จ่ายฟิดยะฮฺวันต่อวัน หรือ 10 วันจ่ายครั้งหนึ่ง หรือจะจ่ายทีเดียวทั้งเดือนก็ได้.

 والسلام 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น