อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ละทิ้งสิ่งที่ไร้ผลประโยชน์



จากอบู ฮุร็อยเราะฮิ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า : ท่านร่อซูล (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า

"ส่วนดีของอิสลาม ที่ให้บุคคลถือปฏิบัตินั้น ก็คือ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเขา (ไม่ให้ผลประโยชน์แก่ตัวเขา)"

ฮะดิษนี้ เป็นฮะดิษฮะซัน บันทึกโดย ติรมีซี และนักฮะดิษอื่น ๆ

................................
(จากหนังสือ : สี่สิบฮะดิษ นะวะวี) 

การสดับฟังอัลกุรอาน




การสดับฟังและพินิจพิเคราะห์อัลกุรอานขณะที่ผู้อื่นอ่าน ท่านรสูลุลลอฮิ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้

รายงานจากท่านอิบนุ มัสอู๊ด ร่อียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮิ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวแก่ฉันว่า
“จงอ่านอัลกุรอานให้ฉันฟังเถิด ท่านอิบนุมัสอู๊ดกล่าวว่า : ท่านจะให้ฉันอ่านอัลกุรอานให้ท่านฟัง ทั้งๆที่อัลกุรอานถูกประทานแก่ท่านกระนั้นหรือ ท่านรสูลกล่าวว่า : ฉันอยากจะสดับฟังจากผู้อื่น และฉันก็อ่านสูเราะฮฺอันนิซาอฺให้ท่านรสูลจนถึงอายะที่ว่า “แล้วอย่างไรเล่า เมื่อเรานำพยานคนหนึ่ง จากแต่ละประชาชาติมา แล้วเราได้นำเจ้ามาเป็นพยานต่อชนเหล่านี้” ท่านรสูลกล่าวกับฉันว่า : พอแค่นี้ก่อน เมื่อฉันหันไปหาท่าน ฉันเห็นน้ำตาของท่านกำลังไหลออกมา” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านอิมามอันนะวะวีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ไดกล่าวไว้ในหนังสือ “ชัรอุมุสลิม” ขณะที่อธิบายหะดิษนี้ว่า : ในหะดิษนีมีประโยชน์หลายประการ ส่วนหนึ่งก็คือ
1. ชอบให้ฟังอัลกุรอานจากผู้อื่น และสดับฟังขณะที่ผู้นั้นอ่าน
2. ชอบให้ร้องไห้ขณะที่สดับฟังอัลกุรอาน
3. ชอบให้พินิจพิจารณาอัลกุรอานขระที่ผู้อื่นอ่าน (เมื่อผู้สดับฟังนั้นรู้ความหมาย เขาย่อมพลังในด้านการพิจาณายิ่งกว่าผู้ที่กำลังอ่าน)
4. ในหะดิษนี้ชี้ให้เห็นถึงความถ่อมตน ซึ่งสมควรสำหรับผู้ที่มีความรู้ต้องมีลักษณะเช่นนี้ และชอบให้ผู้มีความรู้ลักษณะเช่นนี้ต่อผู้เป็นศิษย์และผู้ติดตาม”


..................

เมื่อชีอะห์ลืมตะกียะห์




นี้คือคำพูดของรอฟีเฎาะฮฺชีอะฮฺ เมื่อลืมตะกียะห์ ได้เปิดเผยความจริงที่อยู่ในทรวงอกของพวกเขา

พวกเขากล่าวหา ดูถูกเกลียดชังท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา ภรรยาสุดที่รักของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม

สิ่งที่น่ารังเกียจในการละหมาด (مكر وها ت الصلاة )


                     
สิ่งที่น่ารังเกียจ  (  مكر وه )
   สิ่งที่น่ารังเกียจ  (  مكر وه )  คือ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่น่ายกย่อง น่าเกียจไม่เหมาะสม  สิ่งที่คนละทิ้งจะได้ผลบุญ  คนที่ทำก็ไม่ถูกลงโทษ สิ่งที่น่ารังเกียจในการละหมาดมีหลายอย่างแต่ก็ไม่ได้ทำให้ละหมาดนั้นเสีย มีดังต่อไปนี้

1.จับเสื้อผ้า หรือร่างกายของเขา

    จับเสื้อผ้า หรือร่างกายของเขายกเว้นเมื่อมีความจำเป็น ถ้าไม่เช่นนั้นถือว่า มัคโร๊ะ ( สิ่งที่น่าเกลียด )
รายงานจาก มุอัยกิบ ว่า ฉันได้ถามท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ถึงการลูบก้อนหิน
เล็กๆในขณะละหมาด ท่านได้กล่าวว่า

ﻻ تمسح الحصى و أ نت تصلي فإ ن كنت ﻻ بد فا علا فو احدة : تسو ية الحصى

ความว่า : “ท่านจงอย่าลูบก้อนหิน ขณะที่ท่านละหมาด ถ้าหากว่าจำเป็นต้องทำก็ให้ทำเพียงครั้งเดียว
เป็นการปรับให้มันเสมอ ”
                                                                                       (บันทึกโดย : อบูดาวูด)

รายงานจาก อบีษัรรินว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศอลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

إذاقا م أحدكم إلى الصلا ة فا ن الرحمة يواجهه فلايمسح الحصى

ความว่า : “เมื่อคนใดในหมู่พวกเจ้ายืนละหมาด แท้จริงเราะฮมัด( ความเมตตาของอัลลอฮ ) ก็จะประสบแก่เขา ดังนั้นเขาจงอย่าลูบหินอยู่ ”

                                                                                                      (บันทึกโดย : อบูดาวูด)


2.ท้าวสะเอวในขณะละหมาด

     รายงานจาก อบีหุร็อยเราะฮ ว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


         عن اﻻختصا رفي الصلاة نهى رسو ل الله

ความว่า : “ ห้ามมิให้ท้าวสะเอวในขณะละหมาด ”

                                                                            (บันทึกโดย : อบูดาวูด)

                     โดยกล่าวว่า หมายถึง เอามือวางบนสะเอวในขณะละหมาด



3. แหงนมองฟ้า

     รายงานจาก อบีหุร็อยเราะฮ ว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า


لينتهين أقوام يرفعون أبصا رهم الى السماءفي الصلاة أولتخطفن أبصا رهم


 ความว่า : “ แน่นอนไกล้ๆ วันกียามะฮนั้น จะมีกล่มชนหนึ่งที่ยกสายตาของพวกเขาไปสู่ฟากฟ้า  หรือสายตาของพวกเขาจะมองเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา  ”

                                                                                                   (บันทึกโดย : อะฮหมัด มุสลิม และอันนะซาอี)

4.มองสิ่งที่ทำให้กังวล

    รายงานจากอาอิชะฮ ว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดในเต้นท์
ที่ทำด้วยผ้าขนสัตว์มีลวดลาย ท่านจึงกล่าวว่า
"ลวดลายนี้มันทำให้ฉันกังวลใจ พวกท่านจงเอามันไปที่อบีญะฮมิน( อามิร บุตรหุซัยฟะฮ ) เถิดและจงเอาอัมบียานียะฮของเขา ( เป็นผ้าหนาไม่มีลวดลาย ) มาให้ฉันด้วย"
                 
                                                                                                         ( บันทึกโดย : บุคคอรีย และมุสลิม)


        รายงานจากอะนัสว่า ปรากฎว่าม่านของอาอีชะฮ ซึ่งนางใช้กั้นอยู่ทางบ้านของนางนั้น
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่นาง ว่า


أميطي قرامك ، فإ نه ﻻ تذال تصا ويره تعرض لي صلاتي
                                               
   ความว่า : “ เธอจงถอดม่านของเธอออกเสีย เพราะมันมีลวดลาย ทำให้ฉันมองเห็นขณะที่ฉันละหมาด

                                                                                        (บันทึกโดย : อะฮหมัด และบุคคอรีย)

        ในหะดิษบทนี้เป็นหลักฐานแสดงทำให้เห็นว่า การที่สายตาจ้องมองอยู่ที่ตัวหนังสือที่เขียนไว้
ในขณะละหมาดนั้นไม่ทำให้เสียละหมาด

5.หลับตาทั้งสองข้าง

     นักวิชาการบางท่านถือว่าการหลับตานั้นน่าเกลียด แต่บางท่านก็อนุญาติให้กระทำได้โดยไม่น่าเกลียด
หะดิษที่ถูกรายงานว่าน่าเกลียดนั้น เป็นหะดิษที่ไม่ถูกต้องนัก
      อิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า ที่ถูกนั้นควรจะต้องกล่าวว่า ถ้าหากการลืมตานั้นมันทำให้ขาดการสำรวม อันเนื่องจากทางทิศกิบละฮนั้น มีการประดับประดา หรือมีสีสรรค์ หรืออื่นๆ ที่จะทำให้หัวใจของเขากังวลในกรณีอย่างนั้น
การหลับตาก็ไม่เป็นที่น่าเกลียดแต่ประการใด คำกล่าวที่บอกว่าส่งเสริมให้กระทำในสภาพอย่างนี้นั้น มันใกล้กับพื้นฐานและเป้าหมายของศาสนบัญญัติมากกว่าที่จะบอกว่าน่าเกลียด

6.การให้สลามโดยใช้มือทั้งสองข้าง
    รายงานจากญาบิร บินสะมุราะฮ ว่า พวกเราเคยละหมาดตามท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม
แล้วท่านกล่าวว่า


مَا بَا لَ هَؤُ ﻻَءُيُسَلِّمُوْنَ بِأَ يْدِ يْهِمْ كَأَ نَّهَا أَذْ نَا بُ خَيْلِ شُمْسٍ إِنَّمَا يَكْفِيْ أَحَدُ

 كُمْ أَنْ يَضَعَ يَدَ هُ عَلَ فَخْذِهِ ثُمَّ يَقُوْ لُ : اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ


ความว่า : “พวกนั้นเขาเป็นอะไรไป ใช้มือให้สลาม มันช่างเหมือนกับหางม้าที่สะบัดอยู่กลางแดด แท้จริงการที่คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าเอามือของเขาวางไว้บนขาอ่อนเขาแล้ว กล่าวว่า “ อัสลามูอาลัยกุม อัสลามูอาลัยกุม ”ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ”

                                                                                     (บันทึกโดย : อันนะซาอี)
                                                               
     

7.การปิดปากและปล่อยผ้าให้ยาวถึงพื้น

    รายงานจากอบีหุร็อยเราะฮ ว่า


عَنِ السَّدْلِ فِيْ اصَّلاَةِ ، وَأَنْ يُغَطِّيَ الرَ جُلُ فَا هُ      نَهَى رَسُو لُ اللهِ

    ความว่า : “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้าม “สะดัล” ในขณะละหมาด และห้ามมิให้คนหนึ่งคนใดปิดปากของเขา ”

                                                                                                          (บันทึกโดย : อบูดาวูด)

อัฎฎ็อบรอนี ได้กล่าวว่า “สะดัล” คือ การปล่อยให้ผ้ายาวลงไปจรดพื้น
อัลกะมาล อิบนุล หุมาม ได้กล่าวว่า “สะดัล” คือ การสวมเสื้อคลุมโดยไม่เอามือสอดเข้าไปในแขนเสื้อ


8.การละหมาดเมื่อมีอาหารมาตั้งต่อหน้า

    รายงานจากอาอิชะฮ ว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

إِذَا وُضِعَ العَشَاءُ وَأُقِيْمَتْ الصَّلاَةُ فَا بْدَ ءُوْا بِا لْعَشَاءِ


ความว่า : “เมื่ออาหารเย็นถูกนำมาวาง แล้วการละหมาดก็ได้ถูกอิกอมะฉแล้ว พวกท่านจงรับประทาน                อาหารเย็นเสียก่อน ”

                                                                         บันทึกโดย : อะฮหมัด และมุสลิม


รายงานจากนาเฟี๊ยะอว่า  “แท้จริงอิบนะอุมัรนั้น เคยมีผู้เอาอาหารเย็นมาวางให้ และการละหมาดก็กำลังจถูกเริ่ม       ( อิกอมะฮ ) เขายังไม่มาละหมาดจนกว่าจะรับประทานเสร็จเสียก่อนโดยที่เขาได้ยินการอ่านของอิมาม ”

                                                                         (บันทึกโดย : บุคคอรีย)

อัลค็อฎฏอบีอได้กล่าวว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้ให้เริ่มทานอาหารเพื่อให้ร่างกายได้ความต้องการเสียก่อน ผู้ละหมาดก็จะมาเข้าสู่การละหมาดโดยสงบไม่กังวลกับการหิวอาหาร                ( ถ้ามิเช่นนั้น ) เป็นเหตุให้ต้องรีบ รุกั๊วะฮก็ไม่สมบูรณ์ สูหญูดก็ไม่สมบูรณ์ และหน้าที่ก็ไม่สมบูรณ์

9.การละหมาดโดยปวดปัสสาวะอุจาระ และที่คล้ายกับทั้งสอง ซึ่งทำให้ใจกังวล

    ทั้งนี้เพราะมีหะดิษที่บันทึกโดยอะฮหมัด อบูดาวูด และอัตติรมีซี โดยถือว่าเป็นหะซันจากเษาบานว่า     แท้จริงท่านนบี   ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า


ثَلاَثٌ ﻻَتَحِلَّ اﻷَ حَدُ أَنْ يَفْعَلَهُنَّ :  ﻻَ يَؤُمَّ رَجُلٌ قَوْ مًا فَيَخُصُّ نَفْسَهُ بِا لدُّ عَاءِ دُوْنَهُمْ فإ ن فَعَلَ فَقَدْ

خَا نَهُمْ وَلَ ينظر فِيْ قَعْرِ بَيْتٍ قَبْلَ أَنْ يُسْتَأْ ذَنُ ، فَإِ نْ فَعَلَ فَقَدْ دَخَلَ وَ ﻻَ يُصَلِّي وَهُوَ حَقِنٌ حَتَّي

 يَتَخَفّفَ

ความว่า  “  สามประการที่ไม่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใดทำ : (1)   คนหนึ่งคนใดไม่นำผู้คนละหมาด   และเขาอวยพรให้เขาเพียงคนให้เขาเพียงคนเดียว  โดยไม่ขอให้พวกเขา   ถ้าเขาทำอย่างนั้น    แน่นอนเขาได้ทรยศต่อพวกเขาเข้าแล้ว   (2)  เขาจะต้องไม่มองเข้าไปภายในบ้านก่อนที่จะได้รับอนุญาต  ถ้าเขาทำอย่างนั้นก็เท่ากับเขาบุกรุก(3)    เขาจะไม่ละหมาด  โดยที่เขากั้นปัสสาวะเอาไว้จนกว่ามันจะทุเลาลงไป  ”

                                                                                      (บันทึกโดย : อะหมัด   อบูดาวูด   และอัตติรมีซี)

จากรายงานของอาอิชะฮ ว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

ﻻ يصلي أحدٌ بحضر ة الطعا م ، و ﻻهو يدافعه اﻷ خبثا ن

ความว่า : “ คนหนึ่งคนใดจงอย่าละหมาดต่อหน้าอาหาร และไม่ละหมาด โดยที่เขาอดกลั้นปัสสาวะและอุจจาระ”

                                                                   (บันทึกโดย : อะฮหมัด มุสลิม อบูดาวูด)


หะดีษข้างต้นระบุชัดเจนว่า หากผู้ละหมาดปวดปัสสาวะ หรือปวดอุจจาระก็ตาม วาญิบจะต้องออกจากการละหมาดทันที เพราะถือว่าไม่มีคุชูอฺ (หรือสมาธิ) ในขณะที่ปวดปัสสาวะ หรืออุจจาระ ซึ่งการมีคุซูอฺนั้น ถือว่าเป็นหุก่นในละหมาด แม้ว่าเราจะออกจากละหมาด ซึ่งอาจจะทำให้เราหมดเวลาละหมาดฟัรฺฎูนั้นก็ตาม


10. การละหมาดขณะที่ง่วงนอน

       รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ.ว่า  แท้จริงท่านนบี   ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม   ได้กล่าวว่า

إذانعس أحدكم فليرقد حتي يذهب عنه النوم ، فإ نه إذاصلي وهوناعسٌ لعله يذهب

يستغفرفيسب نفسه


ความว่า : “  เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าหาวนอน   ก็จงนอนเสีย  จนกว่าการง่วงนอนนอนนั้นจะหายไปจากเขา   เพราะความจริง   เมื่อเขาละหมาดโดยที่หาวนอนบางทีเขาอาจขออภัยโทษ   แต่เป็นการด่าตัวเอง  ”
                                                                                                  (บันทึกโดย : อบูดาวูด)

11. การเจาะจงเอาสถานที่ในมัสยิด โดยเฉพาะเพื่อละหมาดยกเว้นอิหม่าม

       รายงานจาก อับดิรเราะฮมาน อิบนิชิบิล ว่า
                     
عن نقرة الغراب ، وافتراش السبع ، وأن يوطن الر جل المكا ن

 في المسجد كما يوطن البعير    
                                                                                                                                 


ความว่า  : “  ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามมิให้ละหมาดแบบนกกาจิกอาหาร และการนอนแบบเสือ และการที่คนหนึ่งโดยเฉพาะในมัสยิดหมือนกับอูฐเอาสถานที่ในการนอน  ”

                                                                (บันทึกโดย : อะฮหมัด  อิบนูคุซัยมะฮ  อินูฮิบบาน  และอัลฮากิม)

والله أعلم بالصواب
..................................
มัคโระในการละหมาด
http://akrom-bom.blogspot.com/




วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ห้ามการซักถามมากเกินเหตุ



จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ - อับดุลร็อฮมาน บินศ็อดร์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม) กล่าวว่า :

ฉันได้ยินท่านร่อซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า :

"สิ่งใดที่ฉัน ได้ห้ามพวกท่าน ท่านก็จงปฏิบัติตัวออกห่างจากมัน และสิ่งใดที่ฉันให้ทำพวกท่านก็จงปฏิบัติตารมเท่าที่สามารถทำได้ แท้จริง (สาเหตุของ) บรรดาผู้ที่พินาศ (ในยุค) ก่อนพวกท่านนั้นเป็นเพราะเขาถาม (ซักไซ้) มากเกินเหตุ และพวกเขาขัดขืน (ไม่ปฏิบัติตาม) นบีของพวกเขา"

ฮะดิษนี้ บันทึกโดย : บุคอรี - มุสลิม

......................
(จากหนังสือ : สี่สิบฮะดิษ นะวะวี) 

อย่าลืมตื่นละหมาดตะฮัดยุด



มีรายงานจากท่านญาบิรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

«إنَّ فِي اللَّيْلِ لَسَاعَةً لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيْراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ»

ความว่า “แท้จริงในเวลากลางคืนนั้นมีช่วงหนึ่งที่ไม่มีมุสลิมคนไหนที่ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้เขาได้สิ่งหนึ่งจากประการทางโลกหรืออาคิเราะฮฺซึ่งตรงกับช่วงดังกล่าวพอดี นอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งที่เขาขอแน่นอน และช่วงที่ว่านี้จะมีอยู่ทุกคืน”

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 757)

2- และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟»

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา”

(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1145 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 758)

...................................


ผู้ที่ได้ถูกกินความหนุ่มของเขา



รายงานท่านอบู ญุซุฟ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัลเคาะรอจฺญ์ของท่าน ว่า
: ครั้งหนึ่ง ท่านอุมัร อิบนุ อัลคอฏฏ็อบ ร่อฎยัลลอฮุอันฮุมา ได้ผ่านไปยังประตูบ้านของชนกลุ่มหนึ่ง

ณ ที่ประตูบ้านนั้นมีชายขอทานคนหนึ่งกำลังขอทานอยู่

ปรากฏว่าเขาเป็นชายชราและตาบอด

ท่านอุมัรฺ จึงได้ตีไปยังท่อนแขนของชายผู้นั้นจากเบื้องหลัง และพลางกล่าวว่า

 ; ท่านมาจากชาวคัมภีร์กลุ่มใด?

ชาววณิพกผู้นั้นตอบว่า : ยะฮูดีย์ (เป็นชาวยิว)

ท่านอุมัรฺ ถามต่อว่า : อะไรที่ทำให้ท่านต้องหันมามีสภาพเช่นสิ่งที่ฉันเห็นอยู่นี้ ? (คือเป็นเหตุที่ทำให้เขาต้องอดทนกับความลำบาก และจำต้องขอทาน)

ชายชราตอบว่า : ฉันกำลังขอเงินค่าส่วย(ญิซยะห์) ปัยจัยยังชีพที่จำเป็นและอายุขัย

เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้น ท่านอุมัร จึงได้นำชายชราผู้นั้นไปยังบ้านของท่าน

 และมอบสิ่งของภายในบ้านของท่านให้แก่ชายผู้นั้นจำนวนหนึ่ง

ต่อมาท่านได้ส่งคนไปแจ้งเจ้าหน้าที่การคลัง (บัยตุ้ลม้าล) ว่า

; ท่านจงดูแลบุคคลผู้นี้ และกลุ่มคนที่เหมือนกับเขา ขอสาบานต่อพระองค์อัลลอฮฺ

เราย่อมไม่ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลเช่นนี้

หากว่าได้กินความหนุ่มของเขา (เก็บส่วยหรือภาษีในช่วงที่เขายังเป็นหนุ่มฉกรรจ์)

แล้วต่อมาเราได้ทำให้เขาอดสูเมื่อยามชราภาพ

อันที่จริงทรัพย์บริจาคนั้นเป็นสิทธิของผู้ขัดสนและคนยากจน
 และชายผู้นี้เป็นผู้ขัดสนจากชาวคัมภีร์” (จาก “ตัรฺบิยะตุ้ลเอาลาด 1/142)

..........................................

การขัดแย้งและการรบรากันเองของประชาชาตินี้

اختلاف هذه الأمة وتقاتلها


ท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« إِنَّ اللَّهَ زَوَى لِىَ الأَرْضَ فَرَأَيْتُ مَشَارِقَهَا وَمَغَارِبَهَا وَإِنَّ أُمَّتِى سَيَبْلُغُ مُلْكُهَا مَا زُوِىَ لِى مِنْهَا وَأُعْطِيتُ الْكَنْزَيْنِ الأَحْمَرَ وَالأَبْيَضَ وَإِنِّى سَأَلْتُ رَبِّى لأُمَّتِى أَنْ لاَ يُهْلِكَهَا بِسَنَةٍ بِعَامَّةٍ وَأَنْ لاَ يُسَلِّطَ عَلَيْهِمْ عَدُوًّا مِنْ سِوَى أَنْفُسِهِمْ فَيَسْتَبِيحَ بَيْضَتَهُمْ وَإِنَّ رَبِّى قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنِّى إِذَا قَضَيْتُ قَضَاءً فَإِنَّهُ لاَ يُرَدُّ وَإِنِّى أَعْطَيْتُكَ لأُمَّتِكَ أَنْ لاَ أُهْلِكَهُمْ بِسَنَةٍ بِعَامَّةٍ وَأَنْ لاَ أُسَلِّطَ عَلَيْهِمْ عَدُوًّا مِنْ سِوَى أَنْفُسِهِمْ يَسْتَبِيحُ بَيْضَتَهُمْ وَلَوِ اجْتَمَعَ عَلَيْهِمْ مَنْ بِأَقْطَارِهَا - أَوْ قَالَ مَنْ بَيْنَ أَقْطَارِهَا - حَتَّى يَكُونَ بَعْضُهُمْ يُهْلِكُ بَعْضًا وَيَسْبِى بَعْضُهُمْ بَعْضًا » [أخرجه مسلم
[
“อัลลอฮฺทรงคลี่แผ่นดินให้ฉันดู แล้วฉันก็ได้เห็นตะวันออกและตะวันตกของมัน แท้จริงประชาชาติของฉัน อาณาเขตของพวกเขาจะแผ่ไปไกลเท่าที่ถูกคลี่ให้ฉันดู และแท้จริงฉันได้รับมอบขุมทรัพย์สีแดงและสีขาว(ทองและเงิน บ้างก็ว่า อาณาจักรโรมันและเปอร์เซีย –ผู้แปล) และแท้จริงฉันได้ขอพรจากพระผู้อภิบาลของฉันให้แก่ประชาชาติของฉัน ไม่ให้ทรงทำลายพวกเขาด้วยความแห้งแล้งยาวนาน และไม่ให้ศัตรูอื่นจากพวกเขามามีอำนาจเหนือพวกเขา มากุมกล่องดวงใจของพวกเขาได้ และแท้จริงพระผู้อภิบาลของฉันทรงตรัสว่า “มุหัมมัดเอ๋ย แท้จริงฉันนั้นเมื่อกำหนดสิ่งใดแล้ว มันย่อมไม่ถูกตีกลับ และแท้จริงฉันจะให้เจ้าตามที่ขอให้แก่ประชาชาติของเจ้า คือฉันจะไม่ทำลายพวกเขาด้วยความแห้งแล้งยาวนาน และฉันจะไม่ให้ศัตรูอื่นจากพวกเขามามีอำนาจเหนือพวกเขา มากุมกล่องดวงใจของพวกเขาได้  (คือ การเป็นกลุ่มก้อน และรากเหง้าของพวกเขา) และถึงแม้ว่าพวกเขา(ศัตรู)ได้รวมตัวกันจากทั่วทุกแว่นแคว้นเพื่อจัดการกับพวกเขา -หรือท่านได้กล่าวว่า ในระหว่างแว่นแคว้นทั้งหลาย-  จนกว่าพวกเขาจะทำลายกันเอง หรือจับพวกเดียวกันเองเป็นทาส”  บันทึกโดยมุสลิม

ท่านซะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم أَقْبَلَ ذَاتَ يَوْمٍ مِنَ الْعَالِيَةِ حَتَّى إِذَا مَرَّ بِمَسْجِدِ بَنِى مُعَاوِيَةَ دَخَلَ فَرَكَعَ فِيهِ رَكْعَتَيْنِ وَصَلَّيْنَا مَعَهُ وَدَعَا رَبَّهُ طَوِيلاً ثُمَّ انْصَرَفَ إِلَيْنَا فَقَالَ صَلىَّ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم « سَأَلْتُ رَبِّى ثَلاَثًا فَأَعْطَانِى ثِنْتَيْنِ وَمَنَعَنِى وَاحِدَةً سَأَلْتُ رَبِّى أَنْ لاَ يُهْلِكَ أُمَّتِى بِالسَّنَةِ فَأَعْطَانِيهَا وَسَأَلْتُهُ أَنْ لاَ يُهْلِكَ أُمَّتِى بِالْغَرَقِ فَأَعْطَانِيهَا وَسَأَلْتُهُ أَنْ لاَ يَجْعَلَ بَأْسَهُمْ بَيْنَهُمْ فَمَنَعَنِيهَا » [أخرجه مسلم]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม อยู่มาวันหนึ่งได้มาจากที่สูงจนกระทั้งผ่านมายังมัสยิดของตระกูลมุอาวะยะฮฺ ท่านได้เข้าไป แล้วละหมาด 2 ร็อกอะฮฺ และพวกเราก็ละหมาดพร้อมกับท่าน และท่านก็ได้ขอดุอาอ์จากพระผู้อภิบาลของท่านอย่างยาวนาน หลังจากนั้นท่านก็ออกมาหาพวกเรา แล้วท่านก็กล่าวว่า “ฉันได้ขอพระผู้อภิบาลฉัน 3 ประการ แล้วพระองค์ทรงให้ฉัน 2 ประการ และไม่ให้ฉัน 1 ประการ ฉันขอพระผู้อภิบาลของฉันไม่ให้ทรงทำลายประชาชาติของฉันด้วยความแล้งแค้นยาวนาน (คือ แห้งแล้งเป็นปีๆ) พระองค์ก็ทรงให้มันแก่ฉัน และฉันก็ขอพระองค์ไม่ให้ทรงทำลายประชาชาติของฉันด้วยการจมน้ำ พระองค์ก็ทรงให้มันแก่ฉัน และฉันก็ขอพระองค์ไม่ให้พวกเขาทำรบรากันเอง แต่พระองค์ไม่ทรงให้ฉัน””  บันทึกโดยมุสลิม

อธิบาย
การขัดแย้งของประชาชาตินี้ และการรบราฆ่าฟันเป็นเรื่องที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเตือนไว้ และเตือนให้ประชาชาติของท่านหาทางป้องกันความชั่วร้ายของมัน และกล่าวว่ามันเป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูอิสลามสามารถเข้ามามีอำนาจอยู่เหนือประชาชาติได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
เป็นการบอกเล่าของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ถึงการขัดแย้งของประชาชาติของท่านภายหลังที่ท่านจากไปแล้ว
ความขัดแย้งกันนั้นเป็นเหตุให้ถูกศัตรูเข้ามายึดกุมอำนาจ
จำเป็นต้องระวังการขัดแย้งของประชาชาติอิสลาม และรีบพยายามให้แถวของมุสลิมเป็นเอกภาพบนหลักการความถูกต้อง

.................................
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com


รู้ได้อย่างไรว่าหัวใจมืดดำ ?



ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
تُعْرَضُ الْفِتَنُ عَلَى الْقُلُوبِ كَالْحَصِيرِ عُودًا عُودًا فَأَيُّ قَلْبٍ أُشْرِبَهَا نُكِتَ فِيهِ نُكْتَةٌ سَوْدَاءُ وَأَيُّ قَلْبٍ أَنْكَرَهَا نُكِتَ فِيهِ نُكْتَةٌ بَيْضَاءُ حَتَّى تَصِيرَ عَلَى قَلْبَيْنِ عَلَى أَبْيَضَ مِثْلِ الصَّفَا فَلَا تَضُرُّهُ فِتْنَةٌ مَا دَامَتْ السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ وَالْآخَرُ أَسْوَدُ مُرْبَادًّا كَالْكُوزِ مُجَخِّيًا لَا يَعْرِفُ مَعْرُوفًا وَلَا يُنْكِرُ مُنْكَرًا إِلَّا مَا أُشْرِبَ مِنْ هَوَاهُ

“บรรดาฟิตนะห์(เช่น บาป)จะแนบติดหัวใจทีละนิดทีละน้อยดั่งเสื่อถักที่แนบติด(กับคนนอนหลับจนเห็น รอยเสื่อ) แล้วหัวใจดวงใดที่ดื่มด่ำกับฟิตนะห์(บาป) มันก็จะเกิดเป็นจุดดำขึ้นในหัวใจดวงนั้น แต่หัวใจดวงใดที่ปฏิเสธ(จากฟิตนะฮ์) มันก็จะเกิดเป็นจุดขาว(มีนูรรัศมี)ขึ้นในหัวใจ จนทำให้หัวใจนั้นกลายเป็นสองซีกด้วยกัน โดยทางซีกขาวเปรียบเสมือนหินแววไส ซึ่งฟิตนะห์ไม่สามารถที่จะแทรกซึมเข้าไปได้ตราบฟ้าดินสลาย ส่วนทางซีกดำนั้นจะดำหม่นหมอง เสมือนกับเหยือกน้ำที่คว่ำไว้ (ไร้ประโยชน์) ที่ไม่สามารถรับรู้ดีชั่วหรือถูกผิด นอกจากจะดื่มด่ำกับอารมณ์ใฝ่ต่ำเท่านั้น”

รายงานโดยมุสลิม, หะดีษลำดับที่ 144, มุสลิม บิน อัลฮัจญาจญฺ, ศ่อฮีห์มุสลิม, ตะห์กีก: มุฮัมมัด ฟุอ๊าด อับดุลบากีย์ (ไคโร: ดารุ เอี๊ยะห์ยาอฺ อัลกุตุบิลอะร่อบียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, ค.ศ. 1991/1412), เล่ม 1 หน้า 128.

ดังนั้นผู้ที่ยังคงทำบาปและฝ่าฝืนคำสั่งใช้ของอัลเลาะฮ์และร่อซูลุลเลาะ ฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บาปก็จะเกิดเป็นจุดดำ ติดแน่น และปกคลุมหัวใจทีละน้อย จนกระทั่งไม่น้อมรับความดีใดๆ การทำความสะอาดหัวใจจากจุดดำนี้ ก็ด้วยการเตาบะฮ์ที่มุ่งมั่นและจริงใจต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา เพราะท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
اَلتَّائِبُ مِنْ الذَّنْبِ كَمَنْ لَا ذَنْبَ لَهُ

“ผู้สารภาพผิดจากบาป เสมือนว่าเขาไม่มีบาปใดๆ” รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์, หะดีษลำดับที่ 4251, อิบนุ มาญะฮ์, สุนันอิบนุมาญะฮ์, เล่ม 2, หน้า 1420.

ดังนั้นการเตาบะฮ์ที่จริงใจจึงเปรียบได้กับกับผงซักฟอกที่ขจัดสิ่งสกปรก ที่อยู่บนภาชนะ จากนั้นภาชนะก็จะมีความสะอาดแวววาว ซึ่งเช่นเดียวกับการเตาบะฮ์ที่ล้างหัวใจให้บริสุทธิ์จากบาป หัวใจจึงกลับมาเจิดจรัสด้วยอีหม่านอีกครั้งหนึ่ง
ท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้ทำการอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับผู้กระทำบาปไว้อย่างน่าคิดว่า
مِثَالُ الْعَبْدِ إِذَا فَعَلَ الْمَعْصِيَةَ: كَالْقِدْرِ الْجَدِيْدِ، وَيُوْقَدُ تَحْتَهَا النَّارُ سَاعَةً فَتَسْوَدُّ، فَإِذَا بَادَرْتَ إِلَى غَسْلِهَا اِنْفَصَلَتْ مِنْ ذَلِكَ السَّوَادِ، وَإِنْ تَرَكْتَهَا وَطَبَخْتَ فِيْهَا مَرَّةً بَعْدَ مَرَّةٍ ثَبَتَ السَّوَادُ فِيْهَا حَتَّى تَتَسَكَّرَ، وَلاَ يُفِيْدُ غَسْلُهَا شَيْئاً، فَالتَّوْبَةُ هِيَ الَّتِي تَغْسِلُ سَوَادَ الْقَلْبِ، فَتَبْرُزُ الأَعْمَالُ وَعَلَيْهَا رَائِحَةُ الْقَبُوْلِ، فَاطْلُبْ مِنَ اللهِ تَعَالَى التَّوْبَةَ دَائِماً.

“อุปมาบ่าวคนหนึ่งเมื่อเขาได้ทำการฝ่าฝืน อุปไมยประหนึ่งภาชนะใบใหม่ และทำการจุดไฟข้างใต้มัน(เพื่อหุงต้ม)หนึ่งชั่วโมง ภาชนะนั้นก็จะมีสีดำ ดังนั้นเมื่อท่านรีบล้างมัน รอยสีดำดังกล่าวก็จะออกไปอย่างง่ายดาย แต่ถ้าหากปล่อยมันไว้และนำภาชนะนั้นไปหุงต้มครั้งแล้วครั้งเล่า รอยสีดำก็จะติดแน่นจนกระทั่งตกเป็นผลึก การล้างภาชนะนั้นก็จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกแล้ว ดังนั้นการเตาบะฮ์ก็คือสิ่งที่จะมาล้างรอยดำของหัวใจ ดังนั้นบรรดาอะมัลก็จะปรากฏขึ้นโดยมีกลิ่นอันหอมหวนของการตอบรับอะมัล เพราะฉะนั้นท่านจงขอการเตาบะฮ์จากอัลเลาะฮ์ตะอาลาอย่างสม่ำเสมอเถิด”

.............................
อิบนุ อะฏออิลลาฮ์, ตาญุลอะรูซ อัลฮาวี ลิตะฮ์ซีบ อันนุฟูซ, หน้า 5-6.

เราต้องการอะไรจากอิสลาม



บางทีตารางชีวิตที่แน่นเอี้ยดของเราก็เบียดบังเวลาของหัวใจไปบ้าง ลองให้เวลาตัวเองสักหน่อย นึกทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมา และที่กำลังจะผ่านไป คุยกับตัวเองให้รู้เรื่องถอะว่า...มีความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามว่าอย่างไร

เราต้องการอะไรจากอิสลาม และต้องการอะไรจากชีวิต การใคร่ครวญนี้โดยปกติแล้วมันมักจะนำเราไปสู่ตราชั่งประจำตัวที่เราจะใช้ในการชั่งน้ำหนักสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ การให้เวลาตัวเองได้ใคร่ครวญนี้บางทีอาจทำให้เรามองเห็นอะไรบางอย่างที่ละเลยไป และเชื่อว่าหากใครได้มีเวลาใคร่ครวญถึงความพิเศษของอิสลามอย่างจริงๆจังๆแล้ว เขาย่อมจะเป็นผู้หนึ่งที่หัวใจในอกมันตื่นตัวเสียเหลือเกินกับคำว่า ‘ ฉันดีใจที่ได้เกิดมา ภายใต้ร่มเงาอัลอิสลาม’ - อินชาอัลลอฮฺ นะคนดี

..................................
บ่าวอัลลอฮฺ ที่ศรัทธา

สำเนียงของอัลกุรอาน



สำเนียงของอัลกุรอาน ซึ่งต่างเป็นสำเนียงไพเราะ เหมาะสม สอดคลอดกับสำเนียงที่มีอยู่แพร่หลายในหมู่ชาวอาหรับ ในสมัยที่อัลกุรอานถูกวะฮฮีย์ หรือประทานลงมา ทั้งหมดมี 7 สำเนียง
ตามที่หลักฐานหะดิษ ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถุกประทานลงมา 7 สำเนียง แต่ละสำเนียงต่างก็ปัดเป่า(บำบัด)ที่พอเพียง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)

สำเนียงของอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียง คือ

1.สำเนียงของเผ่ากุเรช
2.สำนียงของเผ่าฮุซัยลฺ
3.สำนียงของเผ่าตะมีม
4.สำเนียงของเผ่าอัลอะซัด
5.สำเนียงของเผ่ารอบีอะฮฺ
6.สำเนียงของเผ่าฮะวาซิน และ
7.สำเนียงของเผ่าสะอิดิ อิบนิ บักรฺ

ทั้ง 7 สำเนียงดังกล่าว ล้วนเป็นสำเนียงของภาษาอาหรับทั้งสิ้น

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ ( 193 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 193

"อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา"

عَلَىٰ قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنذِرِينَ ( 194 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 194

"ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง"

بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُّبِينٍ ( 195 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 195

"เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ 26 : 193-195)

สำเนียงที่รู้จักดีที่สุด และส่วนใหญ่แห่งพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ประทานลงมา คือ สำเนียงของเผ่ากุเรช และเป็นสำเนียงที่ท่านอุสมาน อิบนุ อัฟฟาน ได้ถือเป็นหลัก ในการรวมนักท่องจำอัลกุรอาน เพื่อรวบรวมอัลกุรอานเป็นเล่ม

ท่านอุสมาน ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า
“เมื่อท่านทั้งหลายขัดแย้งกกันในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว (ในสำเนียงอัลกุรอาน) ก็จงเขียนและบำทึกด้วยสำเนียงของเผ่ากุเรช เพราะอัลกุรอานนั้นถูกประทานมาด้วยสำเนียงของเผ่านั้น”
 จึงประเป็นที่ประจักษ์ว่า บางทีท่านเจ้าของสำเนียงนั้นๆก็ได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺอ่านอัลกุรอานสำเนียงหนึ่ง ซึ่งเป็นการอ่านด้วยสำเนียงของเผาตน ใขณะที่เผ่าอื่นๆได้ยินท่านอ่านอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการอ่านตามสำเนียงของเผ่าอื่น จึง้ป็นเหตุให้การแตกต่างกันในด้านสำเนียงการอ่าน
ท่านอุมัร อิบนุลค็อฏฏ้อบ ร่อฎียัลลฮุอันฮุมา กล่าวว่า
“ฉันได้ยินท่านฮิชาม อิบนุ ฮะกีม อ่านสูเราะฮฺอัลฟุรกอนไม่เหมือนอย่างที่ฉันอ่านและไม่เหมือนอย่างที่รสูลได้เคยอ่านให้ฉันฟัง เมื่อฉันได้ยินเช่นนั้น ฉันจังบันดาลโทสะ จนกระทั่งฉันเกือบจะขัดจังหวะเขา แต่ฉันก็ระงับไว้ทัน แล้วฉันก็หันมาดึงเสื้อของเขา จากนั้นฉันก็นำตัวของเขาไปพบท่านรสูล แล้วฉันก็กล่าวว่า : โอ้ ร่อศูลุลลอฮฺ ฉันได้ยินท่านผู้นี้อ่านสูเราะฮฺอัลฟุรกอน ไม่เหมือนกับที่ท่านสอนให้ฉันอ่าน ท่านรสูลกล่าวว่า : จงปล่อยเขาเสีย เมื่อฉันปล่อยมือของฉันออกจากเสื้อของเขาแล้ว ท่านรสูลก็ให้เขาอ่าน เขาก็เริ่มด้วยสำเนียงการอ่านอย่าที่ฉันได้ยินเขาอ่าน เสร็จแล้วท่านรสูลก้ได้กล่าวว่า ; เช่นนี้แหละที่ถูกประทานลงมา จากนั้นท่านรสูลก็ใช้ให้ฉันอ่านบ้าง ฉันก็อ่านตามที่ฉันรับฟังมาจากท่านรสูล แล้วท่านรสูลก็ได้กล่าวขึ้นอีกว่า : เช่นนี้แหละที่ถุกประทานลงมา เพราะแท้จริง อัลกุรอานนี้ถูกประทานลงมา 7 สำเนียง ดังนั้น พวกท่านจงอ่านตามสำเนียงที่ท่านสะดวกเถิด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และอิมามมุสลิม)

والله أعلم بالصواب




สวนสวรรค์ : มีไว้เพื่อใคร ?





20. เพื่อกลุ่มชนที่หลีกห่างจากสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม

ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมีดำรัสว่า

"และปวงบ่าวของพระผู้ทรงกรุณาปรานี คือ บรรดาผู้ทีี่เดินบนแผ่นดินด้วยความสงบเสงี่ยมและเมื่อพวกโง่เขลากล่าวทักท่ายพวกเขา พวกเขาจะกล่าว ศานติหรือสลาม

และบรรดาผู้ใช้เวลากลางคืนทำการสุญูดและยืน (ละหมาด) เพื่อพระเจ้าของพวกเขา และบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา

และบรรดาผุ้ัที่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงปัดเป่าการลงโทษของนรกให้พ้นไปจากเรา แท้จริงการลงโทษของมันนั้นคงอยู่ตลอดกาล

แท้จริงมันเป็นที่อยู่และที่พำนักอันเลวร้ายยิ่ง

และบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่าย และไม่ตระหนี่ และระหว่างทั้งสองสภาพนั้นพวกเขาอยู่สายกลาง

และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ
และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม และพวกเขาไม่ผิดประเวณี และผู้ใดกระทำเช่นนนั้น เขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์

การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ

เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว และศรัทธาและประกอบการงานที่ีดี เขาเหล่านั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮฺเป็นผู้่ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

และผู้ใดกลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี แท้จริงเขากลับเนื้อกลับตัวเข้าหาอัลลอฮฺอย่างจริงจัง

และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอยางมีเกียรติ

และบรรดาผู้ที่เมื่อถูกกล่าวเตือนให้รำลึกถึงโองการทั้งหลายของพระเจ้าของพวกเขา พวกเขาจะไม่ผินหลังให้ในสภาพเช่นคนหูหนวกตาบอด

และบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเราให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

เขาเหล่านั้นจะได้รับการตอบแทนเป็นห้องหับในสวนสวรรค์เนื่องด้วยการที่พวกเขาอดทน และพวกเขาจะได้พบการกล่าวคำต้อนรับและสลาม

โดยพำนักอยู่้ในนั้นอย่างถาวรเป็ฯที่พำนักและที่อาศัยที่น่าอภิรมย์แท้"
(สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน : 63 - 76)

...................................
เขียนโดย : ฝ่ายวิชาการ ดารฺ อัล - วะฏ็อน

แปลโดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก (Waemuhammadsabri Waeyakoh)

อดทน เพื่อชัยชนะ

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จุดพบนบี



ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริง ความกว้างข...องบ่อน้ำของฉันมีความกว้างมากกว่าระยะทางระหว่างเมืองอัยละฮฺกับเมืองอะดัน
ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า

 ภาชนะของบ่อน้ำมากกว่าจำนวนดวงดาวในท้องฟ้า

และมีความเป็นสีขาวมากกว่านม และมีความหวานกว่าน้ำผึ้ง

ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์

 แท้จริงฉันจะกีดกั้นจากบ่อน้ำ เปรียบเสมือนเจ้าของอูฐที่จะกีดกั้นอูฐแปลกหน้าที่ไม่ใช่ของตัวเอง”

 ศ่อฮาบะฮฺถามว่า “โอ้ท่านร่อซูล ท่านจะรู้จักเราหรือ?”

ท่านนบีตอบว่า “ใช่แล้ว พวกเจ้าจะมายังบ่อน้ำของฉันโดยมีเครื่องหมายที่หน้าผาดและข้อมือข้อเท้าของพวกเจ้าเนื่องจากการอาบน้ำละหมาด

ไม่มีใครจะมีสัญญาณนี้นอกจากพวกเจ้า”

-------------------------
MadamSalamah Barbero

ชื่อเรียกพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน



พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานมีชื่อเรียกต่างๆดังนี้

1. อัลกุรอาน มีหลักฐานอยู่ในหลายสูเราะฮฺ เช่น

أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا ( 4 ) อัล-มุซซัมมิล - Ayaa 4
"หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)" (อัลกุรอาน ศูเราะฮฺอัลมุซซัมมิล 73:4)


إِنَّ هَٰذَا الْقُرْآنَ يَقُصُّ عَلَىٰ بَنِي إِسْرَائِيلَ أَكْثَرَ الَّذِي هُمْ فِيهِ يَخْتَلِفُونَ ( 76 ) อัน-นัมล์ - Ayaa 76
"แท้จริงอัลกุรอานนี้จะบอกเล่าแก่วงศ์วานของอิสรออีล ส่วนมากซึ่งพวกเขาขัดแย้งกัน" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อันนัมลฺ 27:76)

2. อัลฟุรกอน ซึ่งหมายถึงข้อจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ซึ่งหมายถึงพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานนั้นเอง มีกล่าวอยู่ในสูเราะฮฺอัลฟุรกอน ดังนี้

تَبَارَكَ الَّذِي نَزَّلَ الْفُرْقَانَ عَلَىٰ عَبْدِهِ لِيَكُونَ لِلْعَالَمِينَ نَذِيرًا ( 1 ) อัล-ฟุรกอน - Ayaa 1
ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงประทานอัลฟุรกอน แก่บ่าวของพระองค์(มุฮัมมัด) เพื่อเขาจะได้เป็นผู้ตักเตือนแก่ปวงบ่าวทั้งมวล" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลฟุรกอน 25:1)

3. อัลกิตาบ มีกล่าวไว้ดังนี้

كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُولُو الْأَلْبَابِ ( 29 ) ศอด - Ayaa 29
"กิตาบ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่าง ๆของอัลกุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺศ็อด 38:29)

4. อัซซิกรฺ มีหลักฐาน อยู่ในสูเราะฮฺฮิจญรฺ ดังนี้

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ ( 9 ) อัล-หิจญ์รฺ - Ayaa 9
"แท้จริงเราได้ประทานอัซซิกร์(คือคำตักเตือน หมายถึงอัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผุ้รักษามันอย่างแน่นอน" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลฮัจญรฺ 15:9)

....................


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เมืองแบกแดดในสมัยราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ



โดย : อ.บรรจง บินกาซัน
............

อบูญะฟัรฺ อัล มันซูรฺ เคาะลีฟะฮฺคนที่สองของราชวงศ์อับบาซิยะฮฺ ได้สร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นใน คศ.762 โดยเลือกสร้างที่หมู่บ้านการค้าแห่งหนึ่งซึ่งเรียกกันว่าแบกแดด หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำไทกริสและมีคลองเชื่อมต่อไปยังแม่น้ำยูเฟรติส เมืองแบกแดดใช้เวลาก่อสร้างสี่ปีโดยเคาะลีฟะฮฺ ฮารูน อัรฺ-เราะชีด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเอง ดังนั้นเมืองนี้จึงเป็นเมืองที่สวยงามที่สุดในโลก เรามีบันทึกหลักฐานภาษาอาหรับและบันทึกของพ่อค้ามากมายที่บรรยายถึงความสวยงามของเมืองนี้

ในเวลานั้นเมืองแบกแดดมีประชากร 1.5 ล้านคน มีขนาดกว้าง 5 ไมล์ มีมัสยิดนับร้อยแห่งและห้องอาบน้ำสาธารณะ 65,000 แห่งนอกจากนี้แล้วยังมีสวน สนามแข่งขันกีฬาและซุ้มต่างฯอีกมากมาย ดังนั้นคนที่อาศัยอยู่ที่นั่นจึงได้ทิ้งวิถีชีวิตแบบทะเลทรายของอาหรับ หันมากินอาหารบนโต๊ะแทนเสื่อใช้เครื่องภาชนะเคลือบจากเมืองจีน เล่นกีฬาโปโลและหมากรุกจากเมืองจีน

งานวรรณกรรมและบทกวีมีความเจริญรุ่งเรืองในแบกแดด หนังสือเรื่อง “อาหรับราตรี”ก็เริ่มมาจากช่วงเวลานี้ หนังสือเรื่องนี้เป็นการรวบรวมเรื่องราวจากทั่วโลก บางเรื่องก็เขียนขึ้นในแบกแดด โดยนำเอาเรื่องราวของเคาะลีฟะฮฺฮารูนและคนในครอบครัวมาเป็นตัวละคร เรื่องเหล่านี้รวมถึงเรื่องอะลาดิน อะลีบาบา ซินเบดยอดกลาสีและเจ้าหญิงเชราเชดผู้เลอโฉมด้วย ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ได้พยายามวาดภาพให้เห็นว่าเรื่องที่ตนเขียนนั้นเป็นเรื่องโลกของเจ้าชายอาหรับผู้ห้าวหาญขี่ม้าขาวไปตามเมืองต่างฯ ที่มีหอสูงตามมัสยิดและผู้คนกำลังวุ่นวายอยู่กับการค้าขาย ภาพเช่นนี้เคยปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ซึ่งก็มีเรื่องจริงอยู่บ้าง

เมืองแบกแดดถูกสร้างเป็นรูปวงกลม มีความกว้างเกือบสองไมล์ ล้อมรอบด้วยกำแพงสูงลาดชันขนาดใหญ่สามด้านและมีคูน้ำลึกล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง กำแพงตรงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสูงถึง 112 ฟุต ฐานกำแพงมีความหนา 164 ฟุตและด้านบนสุดมีความหนา 46 ฟุต กำแพงนี้จะมีหอคอยสังเกตการณ์เป็นระยะฯ เมืองที่มีรูปร่างกลมนี้ถูกตัดออกเป็นรูปลิ่มสี่ส่วน โดยถนนใหญ่สองสายที่สร้างมาตัดกันตรงกลางเมือง ปลายถนนมาสิ้นสุดที่ประตูเมือง พื้นที่ระหว่างกำแพงด้านนอกและกำแพงส่วนกลางถูกทิ้งว่างไว้สำหรับใช้เป็นเขตป้องกันทางทหาร ระหว่างกำแพงชั้นกลางกับกำแพงชั้นในเป็นเขตที่อยู่อาศัยของข้าราชการบริพารในราชสำนักและนายทหาร หลังกำแพงชั้นในเป็นที่อาศัยของญาติเคาะลีฟะฮฺและเจ้าหน้าที่คนสำคัญ ส่วนประชาชนทั่วไปของเมืองแบกแดดนั้นอาศัยอยู่นอกกำแพง

ขณะนี้ไม่มีซากเมืองหลวงเบแดดของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺหลงเหลืออยู่ เพราะเมืองนี้ไม่ได้ถูกสร้างด้วยหิน แต่สร้างจากอิฐที่ทำมาจากดินตากแห้ง ดังนั้นจึงไม่มีความคงทน ผู้รุกราน(กองทัพมองโกล)ได้ทำลายเมืองนี้ส่วนใหญ่ลงจนราบคาบและได้สร้างเมืองแบกแดดสมัยใหม่ขึ้นมาบนซากเมืองเก่า อย่างไรก็ตาม สิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺยังคงหลงเหลือให้เราเห็นอยู่ในปัจจุบันที่เมืองสะมัรฺรอ(Samarra) เมืองนี้ถูกสร้างอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไทกริสห่างจากเมืองแบกแดด 80 ไมล์และเคยเป็นเมืองสำคัญของราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ จากคศ.833-893 เมืองสะมัรฺรอ มีมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างกันมาซึ่งเรียกว่า .”มัสยิดอันยิ่งใหญ่” (Great Mosque)และมีหอคอยสูงที่มีบันไดวนขึ้นไปบนยอด จากเมืองสะมัรฺรอนี้เองที่ทำให้เราได้เห็นร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองแบกแดดภายใต้ราชวงศ์อับบาสิยะฮฺ

.......................................................................
เครดิต : Moses No-ah และ อ.บรรจง บินกาซัน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=748798591802490&set=at.335255453156808.105024.100000170692731.100001066547169&type=1&theater

เกียรติภูมิและศักดิ์ศรี แห่งศรัทธาสตรี



***ขอสาบาน! อย่าได้หยุดยั้ง ถ้าฉันจะทำทาน***

คนขายเครา : เขียน #
.............................

อัลดุลลอฮฺ บิน ซุบัยรฺ ผู้เป็นหลานสุดรักที่ท่านหญิงอาอีชะฮฺ ซึ่งเลี้ยงดูมาด้วยตัวของท่านเอง

อับดุลลอฮฺ อดรนทนไม่ได้ที่เห็นท่านหญิงใช้ชีวิตในสภาพที่อดอยากยากแค้น ครั้งใดทีท่านหญิงมีเงิน ท่านจะแจกจ่ายให้แก่คนยากจน และใช้จ่่ายไปในการกุศลอย่างมากมาย

อับดุลลอฮฺ ปรึกษากับผู้ใกล้ชิด หาทางยับยั้งให้ท่านหญิงหยุดการกระทำเช่นนี้ ครั้งพอท่านหญิงทราบเรื่องนี้ ท่านมีอารมณ์โกรธทั้ง ๆ ที่อับดุลลอฮฺเป็นหลานที่ท่านรักมากที่สุด ตแ่ท่านถึงกับกล่าวสาบานว่า จะไม่ยอมพูดคุยกับอับดุลลอฮฺอีกชั่วชีวิตนี้

อับดุลลอฮฺ ตกใจและมีความกังวลใจต่อคำสาบานของท่านหญิงเป็นอย่างมาก เขาพยายามให้ผู้ใกล้ชิดสหายหลายต่อหลายคนเข้าไปพูดกับท่านหญิงแทนเขา แต่ท่านหญิงได้บอกกลับมาว่า

"ฉันได้ลั่นวาจาสาบานไปแล้ว และจะไม่ยอมกลับคำสาบานอย่างเด็ดขาด"

อับดุลลอฮฺ ไม่ยอมหยุดความพยายามทีจะทำความเข้าใจกับท่านหญิง เขาได้ไปขอร้องให้ญาติทางมารดาของท่านรอซูล 2 ท่านเข้าไปพบท่านหญิงเพื่อประนีประนอมให้กับเขา และในขณะที่ท่านหญิงซึ่งนั่งอยู่หลังม่านพูดอยู่กับญาติทั้งสอง เขาใช้โอกาสนั้นเข้าไปพบกับท่านหญิงหลังม่าน เขาตรงเข้าไปหมอบที่แทบเท้าของท่านหญิงพร้อมสะอื้นไห้ ร้องขอให้ท่านหญิงได้อภัยในความผิดของเขา ในขณะที่ญาติทั้งสองก็พยายามพูดไกล่เกลี่ยพร้อมกับกล่าวเตือนท่านหญิง ถึงการที่ท่านศาสดาห้ามมุสลิมตัดขาด และไม่ยอมพูดจากกับพี่น้องมุสลิมด้วยกัน

ท่านหญิงอาอีชะฮฺ ได้ยินการกล่าวเตือนเช่นนั้น เกิดเป็นความรู้สึกแห่งความกลัวต่อสิ่งที่อัลลอฮฺไม่พึงปรารถนา ท่านหญิงมีอาการเสียใจพร้อมกับร่ำไห้อย่างหนักและยอมอภัย หันมาพูดคุยกับอับดุลลอฮฺ

ท่านหญิงต้องเป็นผู้กลับคำสาบาน และเพื่อเป็นการลบล้างการเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสาบาน ท่านหญิงได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระคนแล้วคนเล่าเป็นจำนวนถึง 40 คนด้วยกัน และทุกคราที่ท่านหญิงนึกถึงเรื่องการเป็นผู้ผิดคำสาบาน ท่านจะร้องไห้ด้วยอาการเสียใจจนผ้าคลุมกายของท่านหญิงชื้นชุ่มด้วยน้ำตา

............................................
(จากหนังสือ : สหายสนิทศาสดา เล่ม 2)

อดทน เพื่อชัยชนะ

การแต่งงาน(นิกาหฺ)ของหญิงตั้งครรภ์

                   
 
           ปัญหาท้องก่อนแต่งในสังคมมุสลิมนับวันจะมีจำนวนมากขึ้น เมื่อท้องขึ้นมาแล้วก็แก้ไขด้วยการไปหาอิหม่ามให้รีบจัดการทำพิธีนิกะห์เพื่อให้สังคมได้รับรู้ จะได้ให้ลูกในท้องมีพ่อตามหลักศาสนาตามความเข้าใจของตน พวกเขาอาจจะสามารถปิดบังความชั่วกับสังคมได้แต่พวกเขาไม่สามารถปิดบังความชั่วของเขาทั้งสองจากอัลลอฮ์ ได้


พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสว่า


وَاللّهُ يَعْلَمُ مَا تُسِرُّونَ وَمَا تُعْلِنُونَ [16.19]

"และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้าปิดบังและสิ่งที่พวกเจ้าเปิดเผย"(อัลกุรอาน สูเราะฮอัน-นะห์ลฺ 16:19)

     ส่วนอิหม่ามก็สงสาร กลัวว่าคนทั้งสองจะอับอาย หรือเกรงใจผู้ปกครองทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จึงจัดพิธีนิกะห์ให้ ทั้งๆที่ อัลลอฮ์ทรงสั่งห้ามไม่ให้สงสารคนที่ประพฤติผิดทางเพศ หรือ ซีนา ดังที่ตรัสไว้เกี่ยวกับการลงโทษชายหญิงที่ผิดประเวณี(ซินา)ว่า

 الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا مِئَةَ جَلْدَةٍ وَلَا تَأْخُذْكُم بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِّنَ الْمُؤْمِنِينَ [24.2]

"หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที่
และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสองในบัญญัติของอัลลอฮ์เป็นอันขาด หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก
และจงให้กลุ่มหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพยานในการลงโทษเขาทั้งสอง" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัน-นูรฺ 24:2)

ลูกที่เกิดจากชายหญิงที่เสียกันโดยยังไม่ทำการนิกะหฺ


กรณีชายหญิงที่ได้เสียกันโดยยังมิได้นิกาหฺ (แต่งงาน) กัน จนกระทั่งผู้หญิงตั้งครรภ์ เช่นนี้ลูกที่เกิดมาถือว่าเป็นลูกซินา ไม่ว่าเด็กในครรภ์จะอายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นอยู่ที่สตรีท่านนั้นตั้งครรภ์ก่อนการนิกาห์ เด็กคนนั้นทางหุก่มศาสนาเรียกว่า "ลูกซินา" ถึงแม้ว่าสามีของนางจะเป็นพ่อของเด็กคนนั้นก็ตาม

หุก่มของหญิงตั้งครรภ์อันเนื่องจากการทำซินา

อิสลามจะไม่ลงโทษผู้กระทำผิดว่าด้วยเรื่องซินาในขณะที่นางตั้งครรภ์ โดยให้นางคลอดบุครเสียก่อน จากนั้นค่อยลงโทษนางตามบทบัญญัติของศาสนา นั้นหมายถึงหญิงทำซินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ได้รับการยกเว้นไม่ถูกลงโทษทันที่ เหมือนชายที่ทำซินาหรือหญิงที่ทำซินาแต่ไม่มีการตั้งครรภ์ ดังรายงานหะดิษ ดังนี้

ท่านอิมรอน บุตรของหุศัยน์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริงสตรีท่านหนึ่งจาก(เผ่า)ญุฮัยนะฮฺ มาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งอยู่ในสภาพตั้งครรภ์อันเนื่องจาการทำซินา โดยนางกล่าวว่า : โอ้...นบีของอัลลอฮฺ ฉันทำผิดหุก่มของศาสนา ฉะนั้นท่านจงลงโทษฉัน (ตามบทบัญญัติสาสนา)เถิด ท่านนบีจึงได้เรียกวะลีย์(ผู้ปกครองของนาง) มา แล้วกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงดูแลนางให้ดี เมื่อนางคลอดบุตร ท่านจงนำนางมาหาฉัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 4529 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

อิดดะฮฺของหญิงตั้งครรภ์

อิดดะฮฺ หรือช่วงระยะเวลาที่หญิงต้องรอคอยจนกว่าจะครบกำหนดตามที่บทบัญญัติศาสนา จากนั้นนั้นจึงอนุญาตให้นางแต่งงานใหม่ได้ ซึ่งอิดดะฮฺของสามีภรรยามีหย่าภรรยาในขณะที่นางตั้งครรภ์ อิดดะฮฺของนางคือ นางจะต้องคลอดบุตรของนางเสียก่อน
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า


وَأُولَاتُ الْأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَن يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ ( 4 ) อัฏ-เฏาะลาก - Ayaa 4
"และบรรดาสตรีที่ตั้งครรภ์ กำหนดอิดดะฮฺของพวกนางคือพวกนางคลอดบุตรที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง(เสียก่อน)" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัฏเกาะลากฺ 65 :4)

จากอัลกุรอาน อิดดะฮฺของสตรีตั้งครรภ์นั้น ภายหลังที่นางคลอดบุตรจึงถือว่าหมดอิดดะฮฺ จากนั้นนางจึงสามรถที่จะแต่งงานกับชายใดก็ได้ อิดดะฮฺของหญิงตั้งครรภ์นานกว่าอิดดะฮฺในประเภทอื่น การที่ให้หญิงนั้นคลอดบุตรก่อน เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่าทารกผู้นั้นเป็นลูกของสามีเดิม และหญิงตั้งครรภ์นั้นไม่มีหุก่มสำหรับนางในเรื่องการถุกหย่า จนกว่านางจะคลอดเสียก่อน เสมือนกับหุก่มหญิงที่ตั้งครรภ์อันเนื่องจากทำซินา นางจะไม่ถุกลงโทษตามบทบัญญัติสาสนาจนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน

ทารกรับมรดกได้เมื่อคลอดออกมา

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เมื่อทารกตกฟาก(ถูกคลอด) ออกมา ทารกผู้นั้นถูกได้รับมรดก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2922 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
จากหะดิษ ทารกที่อยู่ในครรภ์ เขาจะยังไม่ได้รับมรดกจนกว่าทารกนั้นคลอดออกมาเสียก่อน จะได้รู้ว่าทารกผู้นั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง เพื่อจะได้ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยพิสูจน์ถึงเพศทารกในครรภ์ก็ตาม ก็นำมาใช้ไม่ได้



หญิงตั้งครรภ์จะนิกะหฺขณะตั้งครรภ์อยู่ได้หรือไม่

เมื่อผู้หญิงที่ทำซินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ หรือท้องก่อนแต่งนั้น ชายกับหญิงที่ทำซินากันนั้น บุคคลทั้งสองจะแต่งงานกันได้หรือไม่? กล่าวคือ กรณีที่ผู้ชายที่ทำซินากับผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วผู้หญิงคนนั้นก็ตั้งครรภ์ เช่นนี้นางต้องการแต่งงานกับเขาซึ่งเป็นคนทำซินากับนาง

นักวิชาการให้ทัศนะเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวดังนี้

ทัศนะที่ 1 อนุญาตให้แต่งงานใช้กันได้ เป็นทัศนะของอิมามหะนะฟียะฮฺ และอิมามชาฟิอีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ

แต่อิมามทั้งสอง มีความเห็นต่างกัน คือ อิมามอบูหะนีฟะฮฺห้ามร่วมหลับนอน จนกว่าจะพ้นสภาพอิดดะฮฺ นั้นคือต้องคลอดทารกของนางเสียก่อน

ส่วนอิมามชาฟิอีย์ มีความเห็นว่าถือเป็นที่น่ารังเกียจ (มักรูหฺ) และบรรดาสานุศิษย์ของอิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า ไม่เป็นที่ต้องห้าม

เหตุผลเพราะการตั้งครรภ์ของสตรีไม่ใช่เงื่อนไขการแต่งงาน ฉะนั้นหากสตรีตั้งครรภ์สามารถแต่งงานได้ (ส่วนการทำความผิดในเรื่องซินานั่นอีกประเด็นหนึ่ง) แต่มีเงื่อนไขว่าเจ้าบ่าวจะต้องเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่ทำซินากับนางจนตั้งครรภ์, อนึ่งหากแต่งงานในขณะที่เจ้าสาวตั้งครรภ์ก็มิได้กำหนดอายุครรภ์ไว้

ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า

          "เมื่อผู้หญิง ได้ทำผิดประเวณี ก็ไม่จำเป็นที่นางจะต้องมีอิดดะฮ ไม่ว่านางจะไม่ตั้งครรภ์หรือตังครรภ์(จากการซินานั้น)ก็ตาม แล้วถ้านางไม่ได้ตั้งครรภ์(จากการซีนา) ก็อนุญาตแก่ชายชู้และอื่นจากชายชู้ ทำพิธีนิกะห์กับนางได้ แต่ถ้านางตั้งครรภ์ เนื่องจากการซินานั้น ก็เป็นการน่าเกลียด(มักรูฮ) ในการทำพิธีนิกะห์กับนาง ก่อนการคลอดบุตร"
(รายงานจากอบูหะนีฟะฮ, อิหม่ามมาลิก ,อัษเษารีย์, อะหมัด และอิสหาก)

ทัศนะที่ 2 ไม่อนุญาตให้แต่งงานจนกว่าผู้หญิงจะต้องคลอดบุตรเสียก่อน เป็นทัศนะของอิมามอะหฺมัด และอิมามมาลิก ร่อหิมะฮุลลอฮฺ

 เหตุผล เนื่องจากว่าผู้ที่ทำซินากล้าทำจะต้องกล้ารับผิด และยังทำให้ผู้คนทั้งหลายรู้ว่าเด็กคนนั้นเป็นลูกซินา
และหญิงที่ผิดประเวณีนั้น จำเป็นจะต้องมีอิดดะฮ เช่น เดียวกับหญิงที่ถูกร่วมเพศ ด้วยสาเหตุของความเคลือบแคลง(ชุบฮาต) แล้วถ้าปรากฏว่านางไม่ได้ตั้งครรภ์(จากการซีนา) ก็ให้นางมีอิดดะฮ สามครั้งการมีประจำเดือน และถ้าปรากฏว่านางตั้งครรภ์ (จากการซีนา)ก็ให้นางมีอิดดะฮ โดยการคลอดบุตรก่อน และการทำพิธีนิกะห์นางก่อนการคลอดบุตรนั้นใช้ไม่ได้

 นักวิชาการมัซฮับมาลิกีย์ ได้อ้างหลักฐานว่า ไม่อนุญาตให้ทำการนิกะห์กับหญิงที่ผิดประเวณี แม้ว่าผู้ที่จะทำการนิกะห์กับนางมาจากชายที่เป็นชู้กับนางก็ตาม โดยอาศัยคำพูดของ อิบนุมัสอูด ที่ว่า

          “ เมื่อชายคนหนึ่ง ได้ทำผิดประเวณีกับผู้หญิง หลังจากนั้น เขาได้ทำการนิกะห์กับนาง เขาทั้งสองคนก็ทำการซีนากันตลอดไป เพราะการนิกะห์นั้น เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และส่วนหนึ่งจากการห้ามนั้น คือ การไม่ให้รด(น้ำอสุจิที่ดี)บนน้ำอสุจิที่เลว แล้วทำให้สิ่งหะลาลผสมปนเปกับสิ่งหะรอม และทำให้น้ำที่อัปยศปะปนกับน้ำที่มีเกียรติ  "

ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด

ท่านยะหยา บิน อับดุรเราะหมานอัลเคาฏีบ ได้กล่าวไว้ในหนังของท่าน ชื่อว่า อะหกามอัลมัรอะฮหามีล หน้า 22 ว่า

"แท้จริง ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดคือ ทัศนะของ อัลหะนาบะละฮ (นักวิชาการมัซฮับอิหม่ามอะหมัด) ซึ่งพวกเขากล่าวว่า
 :ห้ามทำการนิกะห์หญิงที่ผิดประเวณี จนกว่านางจะพ้นจากสภาพอิดดะฮ หรือ เตาบะฮจากการทำผิดประเวณี ไม่ว่าผู้ที่ทำการนิกะห์กับนางนั้น จะเป็นชายทำผิดประเวณีกับนางหรือคนอื่นก็ตาม และนี่คือ แนวทางของคณะหนึ่งจากชาวสะลัฟและเคาะลัฟ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ เกาะตาดะฮ,อิสหากและอบูอุบัยดะฮ” 

หลักฐานและเหตผล กรณีหญิงตั้งครรภ์ไม่อนุญาตให้นางนิกะหฺนอกจากนางคลอดบุตรเสียก่อน

หลักฐานและเหตุผล ที่ไม่อนุญาตให้หญิงที่ทำซินาแล้วเกิดการตั้งครรภ์จาการทำวินานั้น จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน ดังนี้

-ท่านรสูลุลลฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งห้ามมีเพสสัมพันธ์กับสตรีมีครรภ์

รายงานจากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"(ทาส)หญิงตั้งครรภ์จะไม่ถูกมีเพศสัมพันธ์ จนกว่านางจะคลอดเสียก่อน และ(ทาส)หญิงที่มิได้ตั้งครรภ์จะไม่ถูกมีเพศสัมพันธ์จนกว่านางจะมีรอบเดือน 1 ครั้งเสียก่อน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด เลขที่ 11911 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
"ด้วยหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนว่า ห้ามแต่งงานกับหญิงตั้งครรภ์ ไม่ว่านางจะตั้งครรภ์จากสามี หรือ นาย หรือจากเข้าใจผิด (ชุบฮาต) หรือจากการทำซินาก็ตาม"

-หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากทำซินาไม่อนุญาตให้แต่งงานก่อนจนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน เป็นการบอกให็รู้ว่าลูกของนางคือลูกซินา ชาวบ้านจะได้รับรู้ ซึ่งไม่อาจปิดบังได้ และภายหลังคลอดบุตรแล้วแต่งงานกันเป็นการเหมาะสมกันระหว่างนางหญิงที่ทำซินา กับชายที่ร่วมทำวินา
พระองค์อััลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

الزَّانِي لَا يَنكِحُ إِلَّا زَانِيَةً

"ชายที่จะทำซินาจะไม่แต่งงาน(กับหยิงใด)ยกเว้นกับหหยิงที่ทำซินา" 

أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لَا يَنكِحُهَا إِلَّا زَانٍ

"และสตรีที่ทำซินาจะไม่มีบุคคลใดแต่งงานกับนาง ยกเว้น ชายที่ทำซินา(เท่านั้น)" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนูรฺ 24 อายะ 3)

-หุก่มของหญิงตั้งครรภ์ นักวิชาการพุดถึงประเด็นตั้งครรภ์ ฉะนั้นหญิงนางหนึ่งตั้งครรภ์ด้วยการทำซินา นั้นพิจารณาที่นางตั้งครรภ์ ซึ่งหุก่มศาสนาของหญิงตั้งครรภ์ คือ ให้นางคลอดบุตรแล้ว ลงโทษนางตามบทบัญญัติศาสนา ดังหะดิษที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ

ท่านอิมรอน บุตรของหุศัยน์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริงสตรีท่านหนึ่งจาก(เผ่า)ญุฮัยนะฮฺ มาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งอยู่ในสภาพตั้งครรภ์อันเนื่องจาการทำวินา โดยนางกล่าวว่า : โอ้...นบีของอัลลอฮฺ ฉันทำผิดหุก่มของศาสนา ฉะนั้นท่านจงลงโทษฉัน (ตามบทบัญญัติสาสนา)เถิด ท่านนบีจึงได้เรียกวะลีย์(ผู้ปกครองของนาง) มา แล้วกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงดูแลนางให้ดี เมื่อนางคลอดบุตร ท่านจงนำนางมาหาฉัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 4529 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

เมื่อคลอดบุตรออกมาแล้ว จักต้องถุกลงโทษตามบทบัญญัติของอิสลาม แม้ประเทศนั้นไม่ใช่กฏหมายอิสลามก้ตาม หญิงที่ทำวินาจนตั้งครรภ์ จำเป้นต้องกระทำตามหลักการของอิสลามก่อน

-เมื่อนางคลอดบุตรให้ลงโทษตามบทบัญญัติของศาสนา แต่กรณีประเทศใด ไม่มีการลงโทษทางศาสนา เช่นประเทศไทย ก็ให้นางขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ ทำความดีให้มาก แต่นางไม่สามารถทำอะไรได้ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะหุก่มของหญิงตั้งครรภ์ล้วนพิจารณาเฉพาะหลังคลอดบุตร ไม่ว่า การที่นางจะแต่งงานใหม่ หรือการที่จะลงโทษนางเนื่องจากการทำซินา ก็ตาม

ดังนั้น หญิงที่ทำวินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ ศาสนาไม่อนุญาติให้นางทำสิ่งใด ไม่ว่านางจะมีเพศสัมพันธ์กับใคร? หรือนางจะไปแต่งงานกับใคร แม้ว่านางจะแต่งงานกับชายผู้เป็นพ่อของทารกในครรภ์ก็ตาม เพราะหุก่มของนาง คือ หญิงตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ วาญิบจำเป็นจะต้องให้นางคลอดบุตรเสียก่อน แล้วหุ่มก่มของศาสนาจะมีผลบังคับได้ นั้นคือ เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว หุก่มที่จะแต่งงานใหม่ หรือจะถูกลงโทษเนื่องจากทำซินาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อหุก่มห้ามหญิงที่ตั้งครรภ์(ไม่ว่าตั้งครรภ์จากชายที่แต่งงานด้วย หรือจากชายที่ทำซินาแล้วเกิดการตั้งครรภ์ก่อนมีการแต่งงาน) ไม่อนุญาตให้แต่งงานโดยเด้็ดขาดจนกว่าจะคลอดบุตรเสียก่อน ขนาดเรื่องซินาชายหญิงที่ทำวินายังกล้ากระทำ แล้วถ้านางกับเขาจะแต่งงานกันขณะที่นางตั้งครรภ์อยู่นั้น ถือว่าการแต่างนั้นไม่เศาะห์หรือใช้ไม่ได้ นี้หลักฐาและเหตุผลของทัศนะไม่อนุญาตให้แต่งงานจนกว่าผู้หญิงจะต้องคลอดบุตรเสียก่อน ซึ่งถือเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด



ข้อโต้แย้งทัศนะที่ว่าอนุญาตให้หญิงที่ทำซินาเกิดตั้งครรภ์ทำการแต่งงานขณะตั้งครรภ์ได้

ส่วนเหตุผลของทัศนะที่ว่าอนุญาตให้หญิงแต่งงานขณะตั้งครรภ์ได้นั้น โดยอ้างเหตุผลว่า เงื่อนไขการแต่งงานมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่ วะลีย์ เจ้าบ่าว พยาน และการกล่าวคำเสนอ และการกล่าวตอบรับคำเสนอ เมื่อครบเงื่อนไขดังกล่าว การแต่งงาน ถือว่าเศาะหฺใช้ได้นั้น

การอ้างเหตุผลดังกล่าวฟังไม่ขึ้น เพราะหุก่มของการแต่งงาน กับหญิงตั้งครรภ์ เป็นหุก่มแยกต่างหากกัน หุก่มของหญิงตั้งครรภ์ คือต้องรอให้คลอดบุตรเสียก่อน บทบัญญัติสาสนาจึงมีผลบังคับใช้ เช่น สามีหย่านาง หรือ สามีตาย ขณะที่นางกำลังตั้งครรภ์อยู่ นางจะแต่งงานใหม่ไม่ได้ อิดดะฮฺของนางคือคลอดบุตร เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว จึงจะแต่งงานใหม่ได้ สตรีตั้งครรภ์เนื่องจาการทำซินา ก็ไม่ต่างอะไรกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งขณะนั้นนางถูกสามีหย่า หรือสามีตายแต่อย่างใด นั้นคือต้องคลอดบุตรก่อน หุก่มอื่นจะมีผลบังคับ นั้นคือ การแต่งงาน หรือการลงโทษตามบทบัญญัติของศาสนานั้นเอง

และจากหะดิษที่ยกมากล่าวแล้วนั้น ท่านรสูลกล่าวได้สั่งใช้ให้ผู้เป็นวะลีย์ให้ดูแแลลูกสาวอย่างดี คลอดบุตรแล้วจึงนำมาลงโทษ วะลีย์จึงแต่งงานให้นางไม่ได้จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน

ถือว่าทัศนะการให้ฝ่ายหญิงคลอดก่อนแล้วแต่งงานทีหลังนั้นถือว่าสมควรกระทำมากกว่า เพราะมิเช่นนั้นแล้ว สังคมมุสลิมจะไม่ขจัดความชั่วว่าด้วยเรื่องการทำซินาได้เลย เพราะเมื่อผู้หญิงที่คลอดบุตรแล้วมาแต่งงานทีหลังจะทำให้นางเกิดความอับอาย และได้รับการรังเกียจจากสังคมภายนอกซึ่งจะทำให้ผู้ที่จะคิดทำซินาเกิดความกลัวที่จะถูกการปฏิเสธจากสังคม จึงละทิ้งการทำซินาในที่สุดนั่นเอง และถือเป็นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุดถึงอย่างไรเสียลูกที่เกิดมา ก็เป็นลูกที่เกิดนอกสมรสตามหลักศาสนาอิสลามอย่างไม่ต้องสงสัย


والله أعلم بالصواب









วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การกู้ยืมในอิสลามเพื่อการช่วยเหลือไม่ใช่เพื่อหากำไร




การกูยืม นั้นคือ ทรัพย์ที่ผู้กู้ยืม เอาไปจากผู้ให้กู้ และสัญญาว่าจะชดใช้คืน ตามจำนวนที่กู้ยืมไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมทรัพย์ใช้สิ้นเปลือง เช่น การยืมน้ำมัน , อาหาร , เครื่องดื่ม เป็นต้น ก็ให้คืนทรัพย์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่ยืมไป การยืมทรัพย์ที่ใช้ไม่สิ้นเปลือง เช่น การยืมรถ , เรือ , ไม้ เป็นต้น ก็ให้คืนทรัพย์ที่ยืมไปนั้นโดยตรง การกู้ยืมเงิน ไม่จำต้องคืนเงิน เป็นเหรียญ หรือฉบับที่กู้ยืมไป แต่ให้คืนเงินตามจำนวนที่กู้ยืม แต่ทรัพย์ที่ให้กู้ยืมต้องเป็นทรัพย์ที่หะล้าล

รายงานจากท่านอบูรอฟิอฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ เคยยืมอูฐรุ่นๆ จากชายผู้หนึ่ง" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 4193 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

การกู้ยืมนั้นถือเป็นอะมานะฮฺ หรือความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันไม่ว่าด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ โดยผู้ให้กู้ส่งทรัพย์ที่กู้ยืม ผู้กู้ก็ต้องคืนทรัพย์ตามชนิด และเวลาที่ตกกันไว้

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا تَدَايَنتُم بِدَيْنٍ إِلَىٰ أَجَلٍ مُّسَمًّى) อัล-บะเกาะเราะฮ - Ayaa 282

“โอ้ผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย เมื่อสูเจ้าต่างมีหนี้สินกัน จะด้วยหนี้สินใดก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลา(ใช้หนี้)ที่ถูกระบุไว้” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ 2:282)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บรรดามุสลิมอยู่บนเงื่อนไข(ตกลงกัน)ของพวกเขา” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 3596 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)

เมื่อผู้กู้ยืมได้ยืมแล้วก็มีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ที่กู้ยืม หากกู้ยืมเขาแล้วเป็นหนี้ แล้วไม่ยอมคืนทรัพย์ที่กู้ยืมหรือไม่ยอมจ่ายหนี้ ศาสนาถือว่าเขาผู้นั้นกำลังคดโกง

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ที่มีเงิน(ลูกหนี้) แล้วไม่ยอมจ่ายหนี้(หรือล่าช้าในการชดใช้หนี้)ถือว่าฉ้อโกง(อธรรม)แล้ว" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 2287)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"แท้จริงผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน คือ ผู้ที่ดีที่สุดในการใช้หนี้" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 2305)

แต่กรณีผู้กู้ยืม หรือลูกหนี้มีความประสงค์จะคืนทรัพย์ที่กู้ยืม หรือใช้หนี้ แต่เขาเสียชีวิตก่อนหนี้สินของเขาจะหมด เช่นนี้ถือว่าไม่มีความผิด เพราะเขาทำสุดความสามารถแล้ว

อิสลามห้ามการกู้ยืมที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ ถือเป็นดอกเบี้ย

การให้กู้ยืมนั้น มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากของผู้คน ทำให้มีสะดวกในการดำเนินชีวิตของพวกเขา ถือว่าเป็นสื่อหนึ่งซึ่งทำให้ใกล้ชิดพระองค์อัลลอฮฺ การกู้ยืมจึงไม่ใช่เพื่อเป็นการแสวงหาผลประโยชน์แต่งอย่างใดทั้งสิ้น

อิสลามส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีฐานะดีช่วยเหลือผู้ที่ฐานะยากจน ซึ่งจะขจัดช่องว่างอันจะทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งเป็นการขจัดทุกข์ให้พ้นไปจากตัวของผู้กู้ยืม

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลหนึ่งได้เข้าสวรรค์ ซึ่งเขาเห็นที่หน้าประตูสวรรค์มีข้อความว่า การบริจาค (เศาะดะเกาะฮฺ) ได้ 10 เท่า ส่วนการให้กู้ยืมนั้นได้ 18 เท่า” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบัยฮะกีย์ เลขที่ 34๐5 หะดิษอยู่ในสถานะหะซัน)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดที่บรรเทาความทุกข์ยากหนึ่งจากความทุกข์ยากต่างๆ ของผู้ศรัทธาขณะอยู่บนโลกดุนยานี้(เช่นนั้น) พระองค์อัลลอฮฺจักทรงบรรเทาความทุกข์ยากหนึ่งจากความทุกยากต่างๆให้แก่เขาในวันกิยามะฮฺ...” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 7028 หะดิษมีสถานะเศาะเฮียะฮฺ)

ศาสนาจึงไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เกินกว่าที่กู้ยืมอันทำให้เกิดผลประประโยชน์โดยเด็ดขาด และถือเป็นดอกเบี้ย

เจตนารมณ์ของหลักนิติศาสตร์อิสลามระบุว่า
“ทุกๆ การกู้ยืมที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งสิ้น” (หนังสือ “ฟิกฮุสสุนนะฮ” เล่ม 3 หน้า 180)

รายงานจากท่านอิบนุ มัสอูดเล่าว่า
" لعن رسول الله صلى الله عليه وسلم آكل الربا وموكله  ความว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺสาปแช่งบุคคลที่กินดอกเบี้ย และบุคคลที่ให้ดอกเบี้ย" (บันทึกโดยมุสลิม)

สำนวนของติรฺมิซีย์เพิ่มอีกว่า " وشاهديه وكاتبه "
 ความว่า
"บุคคลที่เป็นพยาน (เกี่ยวกับดอกเบี้ย) และบุคคลที่บันทึก (เกี่ยวกับดอกเบี้ยก็ถูกสาปแช่งด้วย)

การกู้ยืมอันทำให้เกิดผลประโยชน์นี้เป็นที่ต้องห้ามโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าการกู้ยืมนั้นไปเพื่อช่วยเหลือทางครอบครัว นำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประการใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นใดก็ตาม เช่น กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ที่ต้องคืนเงินให้แก่ผู้กู้เกินกว่าที่กู้ยืมมา ,ครูมุสลิมที่กู้ยืมจากสหกรณ์ครูซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ย , การกู้เงินจากสหกรณ์อิสลามมาจำนวนหนึ่ง ครั้งพอจ่ายคืนต้องจ่ายคืนมากกว่าจำนวนที่ยืม เป็นต้น ถือเป็นการกู้ยืมเกินกว่าที่กู้ยืม ก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้นแก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้น

แต่หากกรณีที่ผู้ให้กู้ยืมและผู้กู้ยืมไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ไม่ได้ตกลงให้จ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมนอกจากทรัพย์ หรือเงินที่ให้กู้ยืม แต่ผู้กู้ยืมยินดีจะมอบเป็นของขวัญให้เอง เช่น ผู้ให้กู้ยืมทำสัญญาให้ผู้กู้ยืมเงิน โดยให้คืนตามที่จำนวนที่กู้ยืมไป โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆอีกนอกจากใช้คืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ต่อมาผู้กู้ได้คืนเงินที่กู้ยืมให้ผู้ให้กู้ทั้งหมด พร้อมมอบกระเช้าอาหารเสริมให้แก่ผู้ให้กู้ เพื่อตอบแทนที่ช่วยเหลือตนเองพ้นจากความเดือดร้อนนั้นๆ โดยสิ่งดังกล่าวไม่ได้อยู่ในข้อตกลงกัน เช่นนี้ผู้กู้ยืมหรือลูกหนี้ก็สามารถกระทำได้ ส่วนผู้ให้กู้ยืมก็สามารถรับได้โดยไม่มีข้อตำหนิอย่างใดเช่นเดียวกัน

รายงานจากญาบิร บุตรของอับดุลลอฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“ปรากฏว่าท่านนบีมุหัมมัดมีหนี้สินอยู่กับฉัน แล้วท่านนบีก็ใช้หนี้ฉัน ซึ่งท่านเพิ่มมาให้ฉันอีก” ( บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม เลขที่ 1689 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)


والله أعلم بالصواب




วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เมื่อรู้สึกมีปัสสาวะออกมาขณะละหมาด



                              การที่เรารู้สึกว่ามีปัสสาวะออกมานั้นไม่เสียน้ำละหมาด และไม่อนุญาตให้เขาออกจากการละหมาดที่เป็นวายิบ ( จำเป็นต้องทำต่อ ) เพียงแค่สงสัยเท่านั้น
เพราะได้มียืนยันจากท่านนบีมูฮัมมัด (ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) ว่าเขาได้ถูกถามจากชายคนหนึ่งพบว่ามีสิ่งหนึ่งในละหมาด  ท่านนบี ( ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ) กล่าวว่า อย่าพึ่งออกจาก
ละหมาดจนกว่าเขาจะได้ยินเสียงหรือพบว่ามีกลิ่นออกมา และส่วนเมื่อเขาแน่ใจว่ามีปัสสาวะออกมายังภายนอกอวัยวะเพศ  แน่นอนเขาได้เสียน้ำละหมาดแล้วจำเป็น


وَعَنْ عَبَّادِ بْنِ تَمِيمٍ، عَنْ عَمِّهِ، أَنَّهُ شَكَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الرَّجُلُ الَّذِي يُخَيَّلُ إِلَيْهِ أَنَّهُ يَجِدُ الشَّىْءَ فِي الصَّلاَةِ‏.‏ فَقَالَ ‏"‏ لاَ يَنْفَتِلْ ـ أَوْ لاَ يَنْصَرِفْ ـ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا ‏"‏‏ 


          อับบาด บินตะมีม รายงานจากลุงของเขา (อับดุลลอฮ์ บินเซด) ว่า เขาถามท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวชายผู้หนึ่งที่สันนิฐานว่าตัวเขาเองประสบกับภาวะเสียน้ำละหมาด (ผายลม) ในขณะที่เขากำลังละหมาดอยู่ ท่านตอบว่า   “ไม่ต้องเลิกละหมาด หรือ ไม่ต้องออกจากละหมาด จนกว่าจะได้ยินเสียง (ผายลม) หรือได้กลิ่น”
(เศาะเฮียะฮฺบุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 137)

เขาต้องทำการล้างให้เกลี้ยง นอกจากเขาเป็นโรคปัสสาวะเล็ดประจำฉะนั้นการละหมาดของเขาไม่เสียเมื่อเขาทำการอาบน้ำละหมาดทุกๆเวลา
..................................
โดย...ท่าน เชคอะฏียะห์ ซ๊อกร์ จากหนังสือไคโรสาร ฉบับที่ 36 ปีที่ 27 ประจำปี 2539

กรือเซะ




กรือเซะเป็นมัสยิดเก่าแก่ของปัตตานี มีมาตั้งแต่สมัยที่ปัตตานียังเป็นรัฐอิสระ ทำการค้าระหว่างประเทศกว้างขวางจนปรากฏทั้งชื่อเสียงและเรื่องราวในจดหมายเหตุต่างชาติทั่วไป นับตั้งแต่จีน, ญี่ปุ่น, โปรตุเกส, ฮอลันดา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส

ว่ากันว่ากรือเซะเป็นมัสยิดที่ก่ออิฐถือปูนแห่งแรกของอุษาคเนย์ด้วย

เพียงเท่านี้กรือเซะก็ไม่ใช่ "โบราณสถาน" ธรรมดาๆ เสียแล้ว ผมคิดว่าถ้าเทียบกับทางพุทธของชาวไทย ก็พอๆ กับพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเมื่อตอนที่ไปบูรณะสร้างกันขึ้นใหม่นั้น เชื่อกันว่าเป็นพระสถูปเจดีย์องค์แรกในแผ่นดินไทย เป็นประจักษ์พยานถึงก้าวแรกของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้
...............................................................................
แต่น่าเสียดายที่ประวัติของกรือเซะที่ถูกนำมาเล่าให้คนนอก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวฟังนั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาอิสลามหรือความรุ่งเรืองของปัตตานีในอดีตสักเท่าไร เพราะเขาเอานิทานหรือตำนานอันหนึ่งซึ่งเป็นตำนานที่คนเชื้อสายจีนในปัตตานีเล่าสืบกันมาเป็นตัวเล่าเรื่องกรือเซะแทน

นิทานหรือตำนานเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งผมขอเท้าความแต่ย่อๆ 
...............................................................................
แต่ในหลักฐานของต่างชาติและมลายูท้องถิ่น มัสยิดใหญ่หรือกรือเซะ (อันมีชื่อว่าปินตูกรือบังนี้) สร้างเสร็จและใช้เป็นมัสยิดตามปกติด้วย ถ้าผมจำไม่ผิด แต่ก่อนนี้มีร่องรอยเศษกระเบื้องหลังคาตกอยู่ทั่วไปด้วยซ้ำ

ฉะนั้น เรื่องกรือเซะในนิทานหรือตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จึงต้องเกิดขึ้นเมื่อกรือเซะถูกทิ้งร้างไปแล้ว (คือเมื่อเมืองปัตตานีถูกกองทัพไทยโจมตียึดครอง และย้ายไปอยู่ที่เมืองปัตตานีทุกวันนี้ ผู้คนร่วงโรยไปไม่มีกำลังบำรุงมัสยิดใหญ่ขนาดนั้นจนปรักหักพังไปเอง แต่หลักฐานท้องถิ่นกล่าวว่าถูกกองทัพไทยปล้นสะดมและทำลาย)



แม้เป็นตำนานที่เกิดภายหลังกรือเซะนาน แต่กลับถูกนำมาเล่าเป็นประวัติของกรือเซะไปเสียฉิบ
.................................................................................
คิดจากจุดยืนของชาวมุสลิมบ้างนะครับ นิทานหรือตำนานลิ้มกอเหนี่ยวบอกว่าผี (เจ๊ก) ใหญ่กว่าศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้จะสร้างศาสนสถานเพื่อประกอบศาสนกิจตามพระบัญชา ผียังบันดาลให้ฟ้าผ่าจนสร้างไม่สำเร็จ ฉะนั้น ก็ต้องพิสูจน์ว่าความเฮี้ยนในตำนานนั้นไม่จริง ทั้งนี้ยังไม่นับสัญลักษณ์อันน่าภาคภูมิใจที่กรือเซะมีต่อชาวมุสลิมตามประวัติศาสตร์อีกด้วย

กรมศิลปากรไม่ยอมรับ อ้างว่าเป็น "โบราณสถาน" ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2478 ฉะนั้น จะไปสร้างเสริมเติมต่อและเอาไปใช้ไม่ได้ ผมเข้าใจว่าความขัดแย้งนี้ไม่เคยลงเอย แต่ในที่สุดชาวมุสลิมก็สร้างหลังคาง่ายๆ ขึ้นคลุม "โบราณสถาน" ของกรมศิลปากร แล้วใช้เป็นมัสยิดสืบมา อย่างที่เราเห็นในภาพข่าว ซึ่งผมยอมรับว่าไม่น่าดูเท่าไร

แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไม "โบราณสถาน" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจึงใช้ไม่ได้ ก็วิหารพระพุทธชินราชก็เป็น "โบราณสถาน" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเหมือนกัน ก็เห็นทั้งพระทั้งฆราวาสใช้กันอยู่หนาแน่น ซ้ำร้ายทั้งกรมศิลปากรไม่ค่อยระวัง ปล่อยให้มีการปรุงแต่งบางส่วนจนทำให้แสงเข้าสู่ภายในอาคารมากเกินไปด้วย

ถ้าชาวมุสลลิมอยากใช้กรือเซะเป็นมัสยิด ก็ต้องปรับปรุงให้ใช้การได้เป็นธรรมดา จะบอกว่าให้ไปสร้างมัสยิดใหม่ที่อื่น ก็เหมือนบอกพวกเราชาวพุทธว่า ยกพระปฐมเจดีย์ไปวางไว้ที่อื่น ก็วางได้เหมือนกันนะครับ แต่มันไม่เหมือนกันทั้งความรู้สึก, ทั้งศรัทธาปสาทะ จะบอกว่าชาวพุทธหาเรื่องคงไม่ได้
.................................................................................
ผมควรกล่าวด้วยว่า ศาสนาอิสลามนั้นอาจแพร่มาถึงปัตตานีก่อนเมืองปะไซบนฝั่งสุมาตราก็ได้ ถึงไม่ก่อนก็ไม่ได้มาจากสายเดียวกัน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นอิสลามจากสายเหนือคือจากจีน ไม่ได้ขยายมาจากมะละกาเหมือนอิสลามในรัฐมลายูทั่วไป

เพียงแค่นี้ผมก็เห็นว่าน่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยแล้ว 

เพราะประจักษ์พยานหนึ่งของความหลากหลายกระแสของอิสลามในอุษาคเนย์นั้น พึงดูได้จากมัสยิดกรือเซะซึ่งได้ซ่อมปรุงจนเหมือนเดิมโดยฝีมือรัฐบาลไทย

หากแขกเมืองของเราลงไปทางใต้ กรือเซะก็เป็นอีกทีหนึ่งซึ่งเราอาจนำไปอวดของดีของเราได้ ถ้าเขาเป็นมุสลิมเขาก็อาจร่วมละหมาดกับชาวบ้านที่กรือ

.........................
นิธิ เอียวศรีวงศ์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอ่าน




อัลกุรอ่าน เป็นนามคัมภีร์สูงสุดของศาสนาอิสลามที่ได้ประทานแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮุอาลัย
ฮิวะซัลลัม) เป็นช่วงเป็นตอนตามสถานการณ์ จนครบถ้วนอย่างในปัจจุบัน เป็นเวลาทั้งสิ้น 22 ปี แบ่งออกเป็น 30 ส่วน (ญุจอฺ) 114 บท (ซูเราะฮ์) มีโองการ (อายะฮฺ) ทั้งสิ้น 6,000 กว่าโองการ

อัลกุรอ่านมีสำนวนภาษาที่สูงส่ง เป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์ ซึ่งกวีชั้นสูงไม่อาจประพันธ์เทียบเคียงได้ แม้แต่ท่านนบีเองก็ไม่ได้เขียนขึ้นเอง เพราะท่านนบีมีลักษณะเฉพาะที่เขียนไม่เป็นและอ่านไม่ได้ตามที่
อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าอัลกุรอ่านเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์จริง


ชื่อของอัลกุรอ่านมีนามเรียกกันอีกมากมาย เช่น กะลามุลลอฮฺ อัลบุชรอ อัลฟุรกอน อัลมะญีด และอัลวะหฺยุน เป็นต้น

การประทานอัลกุรอ่านเริ่มขึ้นในเดือนรอมฎอน ตามที่อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า
شَهْرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِىٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلْقُرْءَانُ
ความว่า “เดือนรอมฎอน เป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอ่าน” และยังมีระบุกำหนดชัดอีกว่า “เป็นคืนอัลกอดรฺ” (2 : 185)


إِنَّآ أَنزَلْنَٰهُ فِى لَيْلَةِ ٱلْقَدْرِ

ความว่า “แท้จริงเรา (อัลเลาะฮ์) ได้ประทานอัลกุรอ่านในคืนอัลกอดรฺ” (97 : 1)



วิธีประทานอัลกุรอ่าน มี 2 แนวทาง คือ

การดลใจ เรียกในภาษาอาหรับว่า “วะฮฺยุน เคาะฟีย์” หมายถึง การที่อัลเลาะฮ์ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในจิตใจของผู้รับ

การส่งผู้นำสารจากอัลเลาะฮ์ คือ มลาอิกะฮ์ชื่อว่าญิบรีล มายังท่านนบี เพื่อบอกโองการจาก อัลเลาะฮ์ เรียกว่า “วะฮฺยุน มัตลู” ดังเช่นที่ท่านนบีได้รับโองการครั้งแรกที่ถ้ำฮิรออฺ ที่ภูเขานูร ณ เมืองมักกะฮ์


ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ เช่น กรณีในคืนอัลเมียะราจ ในเรื่องบัญญัติละหมาด ซึ่งเป็นการรับวะฮฺยู
จากอัลเลาะฮ์โดยตรง



การบันทึกอัลกุรอ่าน แบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

การบันทึกสมัยท่านรอซูล ซึ่งท่านรอซูลเป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น ว่าจะให้ใครบันทึกและจะใช้วิธีอย่างไร เช่น ท่านรอซูลสั่งให้ อบูบะกัรฺ, อุษมาน, อะลี, มุอาวิยะฮฺ, อับบาส, คอลิด, อุบัยดฺ และซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นต้น โดยบันทึกที่กิ่งอินทผาลัมบ้าง หนังสัตว์บ้าง แผ่นหินบ้าง หรือแม้แต่กระทั่งกระดูกสัตว์ ดังนั้น แผ่นต่าง ๆ จึงมิได้เป็นหมวดหมู่ แล้วแต่ใครจะเก็บรักษาไว้ ไม่ได้รวบรวมเป็นเล่ม

การบันทึกสมัยอบูบะกัรฺ ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์ท่านแรก ในยุคของท่านจำเป็นต้องปราบเสี้ยนหนามของอิสลามมากต่อมากครั้ง การทำศึกสงครามย่อมทำความเสียหายมากมาย ทั้งทรัพย์สิน ผู้คน ที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านก็ได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ท่านอุมัรฺเองได้ปรึกษากับท่านอบูบะกัรฺว่า ควรจะได้รีบบันทึกอัลกุรอ่านไว้เป็นเล่ม ๆ ในช่วงแรกอบูบะกัรฺไม่เห็นด้วย แต่ในที่สุดก็ยอมจำนนด้วยเหตุผลของท่านอุมัรฺว่า สักวันหนึ่งจะไม่มีผู้จำอัลกุรอ่านเหลืออยู่ อัลกุรอ่านก็จะไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ท่าน
อบูบะกัรฺจึงสิ่งให้ ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นผู้นำในการรวบรวม โดยรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆ ที่ท่านรอซูลเคยสั่งให้ทำไว้ อัลกุรอ่านฉบับนี้เมื่อรวบรวมเสร็จได้เก็บไว้ที่ท่านอบูบะกัรฺ ต่อมาก็เก็บไว้ที่ท่านอุมัรฺ และที่สุดอยู่กับท่านหญิง ฮัฟเซาะฮฺ ต่อมาในยุคของอุษมาน ท่านได้เรียกมาแล้วคัดลอกใหม่

การบันทึกสมัยอุษมาน ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 25 การผันผวนในสำนวนการอ่านทำให้ผิดแผกกันไปมาก ฮุซัยฟะฮ์รู้สึกตกใจว่า ต่อไปจะมีปัญหาจึงได้เรียนเรื่องนี้กับท่านอุษมานเพื่อให้รีบดำเนินการแก้ไข ท่านได้ส่งตัวแทนไปพบกับท่านหญิงฮัฟเซาะฮฺ เพื่อขอมาคัดลอกใหม่ ปรับให้เป็นการอ่านเหมือนกันหมด โดยอุษมานจัดตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต ซึ่งเป็นชาวอันศอรฺ, อับดุลเลาะฮ์ อิบนุ ซูบัยรฺ, สะอีด อิบนุ อัลอาศ และอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ อัลฮาริษ ซึ่งที่สุดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี กุรอ่านเป็นสำนวนภาษาที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์อ่าน รวมทั้งเรียงบท วรรค ตอน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน



........................
Ref : skthai.org


การเผยแพร่อัลกุรอ่าน


เมื่อคอลีฟะฮ์อุษมานได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการคัดลอกและจัดระเบียบกุรอ่าน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และดำเนินการเผยแพร่ไปยังเมืองต่าง ๆ พร้อมผู้เชี่ยวชาญในการอ่านเพื่อแนะนำถึงวิธีอ่าน รวม 5 เมืองด้วยกัน คือ
1. เมืองบัสเราะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อามิรฺ อิบนุ ซัยดฺ
2. เมืองกูฟะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อบู อับดุรฺเราะฮฺมาน อัสสะลามี
3. เมืองชาม ผู้เชี่ยวชาญ คือ มุฆีเราะฮฺ อิบนุ ซิฮาบ
4. เมืองมักกะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อับดุลเลาะฮฺ อิบนุ ซาอิบ
5. เมืองมะดีนะฮฺ ผู้เชี่ยวชาญ คือ ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต

และฉบับสุดท้ายเก็บไว้ที่คอลีฟะฮฺอุษมาน ส่วนอัลกุรอ่านฉบับที่เคยเก็บรักษาที่ฮัฟเซาะฮ์และ
ท่านอุษมานได้ขอยืมมานั้น ท่านก็ได้คืนไปเก็บไว้ที่ท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ตามเดิม จนกระทั่งยุคของมัรวาน
อิบ นุ หะกัม เป็นคอลีฟะฮ์ของอาณาจักรแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ มุอาวิยะฮ์ ประมาณช่วงปีฮิจเราะฮ์ศักราช 64-65 ได้ตั้งตัวแทนมาขออัลกุรอ่านฉบับดังกล่าว แต่ท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ไม่ยินยอมให้ จนกระทั่งท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ถึงแก่ชีวิต กุรอ่านดังกล่าวจึงตกไปถึง อับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ

ต่อมาคอลีฟะฮ์มัรวานก็ส่งคนมาทาบทามอีก โดยให้เหตุผลว่าจะนำไปเผาทำลาย เพราะในฉบับ
ดัง กล่าวมีหลากหลายด้านภาษาและแนวการอ่าน เกรงว่าจะเกิดความสับสนตามที่ท่านอุษมาน ผู้เป็นอดีต คอลีฟะฮ์ได้ปรารภไว้ อับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ก็เห็นด้วยจึงให้ไปและก็ถูกเผาไปในที่สุด

จุดมุ่งหมายในการอ่านอัลกุรอ่าน
อัลกุรอ่านถือเป็นคัมภีร์ที่มุสลิมทุกคนจะต้องอ่านเป็นประจำ มีทั้งการบังคับให้อ่าน เช่น ในละหมาด และไม่บังคับ เช่น ในวาระอื่น ๆ ผู้อ่านอาจไม่รู้ความหมายก็ได้ แต่เมื่ออ่านแล้วจะเกิดความซาบซึ้ง สอดคล้อง สร้างสรรค์ศรัทธา เพราะเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์
มีคนเป็นจำนวนมากที่ทั้งฟังอัลกุรอ่านและอ่านกุรอ่านโดยที่ไม่รู้ความหมาย แต่เขาก็พอใจที่จะฟังและอ่านด้วยความนอบน้อมและยำเกรงยิ่ง อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า

إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ الَّذِينَ إِذَا ذُكِرَ اللَّهُ وَجِلَتْ قُلُوبُهُمْ وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَىٰ رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

ความว่า “อัน ที่จริงบรรดาผู้ศรัทธาได้แก่บรรดาผู้ซึ่งเมื่อมีการกล่าวระลึกถึงอัลเลาะ ฮ์แล้ว หัวใจของเขาก็สะทกสะท้าน และเมื่อมีการอัญเชิญโองการต่าง ๆ ของพระองค์ โองการเหล่านั้นก็จะเพิ่มพูนความศรัทธาแก่เขา และพวกเขามีจิตที่มอบหมายต่อองค์อภิบาลของพวกเขา” (8 : 2)



เวลาอ่านอัลกุรอ่าน

อัลกุรอ่าน อ่านได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางคืน กลางวัน เช้า บ่าย เย็น แม้ขณะที่เดินทาง หรือขณะที่อยู่บ้าน ในมัสยิด ตามป่า ตามเขา ในท้องทะเลได้ทั้งสิ้น
ในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ชาวสลัฟบางท่านอ่านกุรอ่านจบภายใน 2 เดือน บางท่านเดือนละ 1 จบ บางท่านทุก ๆ 10 คืน 1 จบ บางท่านทุก ๆ 8 คืน 1 จบ บางท่าน 7 คืน 1 จบ และบางท่าน 6 คืน 1 จบ 5 คืน 4 คืน แม้กระทั่งวันละ 1 จบ 2 วัน 1 จบ ก็มี ทั้งนี้ ท่านเหล่านี้ได้อ่านวนเวียนกันอยู่เสมอ จึงเห็นได้ว่ามุสลิมผู้ศรัทธามั่นในยุคก่อนได้อ่านอัลกุรอ่านกันอย่างจริง จัง ด้วยความนอบน้อม ความภักดี และความดื่มด่ำในอรรถรสโดยเห็นว่าเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์



"""""""""""""""""
Ref : skthai.org

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พิทักษ์อัลกุรอานจากการบิดเบือน



       อิมามอัลกุรฏุบีย์ ได้บันทึกเอาไว้ในหนังสือตัฟสีรฺของท่นนว่า : ชายคนหนึ่งปรารถนาที่จะทดสอบศาสนา 3 ศาสนาด้วยกัน คือ ยูดาย ,คริสต์ และอิสลาม ว่าศาสนาใดถุกต้องและดีที่สุด? ชายผู้นี้เป็นนักเขียนคัดลายมือที่ชำนาญการเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงมุ่งเป้าไปยังคัมภีร์ทั้งสาม คือ อัตเตารอต ,อัลอินญิล(ไบเบิลใหม่) และคัมภีร์อัลกุรอาน และลงมือคัดลายมืออย่างบรรจงวิจิตรและสวยงามยิ่ง แต่ทว่าเขามีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องของแต่ละศาสนา ที่เป็นเจ้าของคัมภีร์ทั้ง 3 เล่ม เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้อาศัยวิธีการเพิ่มเติมและตัดทอนถ้อยความในคัมภีร์ที่เขาได้คัดลอกอย่างวิจิตรบรรจง เมื่อคัดลอกเสร็จสิ้น ชายผู้นี้ก็ได้นำคัมภีร์เตารอตไปเสนอแก่บรรดานักปราชญ์ชาวยิว พวกนักปราชญ์ชาวยิวเมื่อเห็นว่าเป็นคัมภีร์อัตเตารอตที่ถูกคัดลอกอย่างงดงามก็พากันจูบคัมภีรืนั้น และเปิดดูในแต่ละหน้าอย่างพินอบพิเทา แถมยังได้มอบทรัพย์สินจำนวนหนึ่งให้แก่ชายผู้นี้ เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติ

ต่อมาชายผู้นี้ ได้นำคัมภีร์อัลอินญิลซึ่งเขาได้บรรจงคัดลอกอย่างสวยงามด้วยมือของเขาเอง เสนอแก่เหล่าบาทหลวงในคริสต์ศาสนา ฝ่ายนี้เมื่อพบว่าเป็นคัมภีร์ที่ได้จากการคัดลอกอย่างดีและมีลายเขียนที่งดงามก็ขอซื้อจากชายผู้นี้ด้วยทรัพย์สินในราคาสูง อีกทั้งยังแสดงความให้เกียรติแก่ชายผู้นี้อีกด้วย
ครั้นต่อมาภายหลังเขาก็ได้นำคัมภีร์อัลกุรอานฉบับคัดลอกของตนที่ได้ทุ่มเทคัดลอกอย่างสวยงามเสนอแก่เหล่านักวิชาการมุสลิม ครั้นเมื่อเหล่านักวิชาการมุสลิมได้มองดูถ้อยความในคัมภีร์เล่มดังกล่าว พวกเขาก้พบว่ามีการเพิ่มเติมถ้อยความบางส่วนและมีอีกบางส่วนตกหล่น จึงได้จับกุมชายผุ้นี้ไว้และพร้อมได้เฆี่ยนตีชายผู้นี้อีกด้วย

จนในที่สุด เรื่องของชายผู้นี้ถุกนำแจ้งให้สุลฏอนได้ทรงทราบเพื่อชำระคดีความ และแล้วสุลฏอนก็ได้ตัดสีนให้ประหารชีวิตชายผู้นี้ ด้วยข้อบิดเบือนคัมภีร์อัลกุรอาน เมื่อเพชฌฆาตจะลงมือประหาร ชายผุ้นี้ก็ได้ชิงประกาศการเข้ารับอิสลามของตน และบอกเรื่องราวที่มาของตนแก่เหล่าชนมุสลิมให้ทราบว่า เขาได่ทำการทดสอบศาสนาต่างๆทั้งสามและเขาก็รู้แล้วในบัดนี้ว่า “ศาสนาอิสลามคือสาสนาแห่งสัจธรรม” พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมีพระดำรัสว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ ( 9 ) อัล-หิจญ์รฺ - Ayaa 9

"แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผุ้รักษามันอย่างแน่นอน"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลหิจฺญ์รุ 15:9 )
 การพิทักษ์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานของพระองค์  นั้นคือการักรักษาอัลกุรอานจากการเพิ่มเติมการตัดทอนที่บกพร่อง การเปลี่ยนแปลงในรูปต่างๆ และเมื่อพระองค์ทรงดำรัสแจ้งว่าพระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์อัลกุรอานด้วยพระองค์เอง ก็ย่อมไม่มีผู้ใดสามารถกระทำการใดๆ ที่บิดเบือนต่ออัลกุรอานได้เลยแม้แต่น้อย”

(จากหนังสือ”ตัฟสีรฺ ศ็อฟวะห์ อัตตะฟาสีรฺ ของชัยค์มุหัมมัด อาลี ศอบูนีย์ 2/106)

""""""""""""""""""""""""""

นบีอีซา(การช่วยเหลือของอัลลอฮฺ)


[ครั้งเมื่ออีซารู้สึกว่ามีการปฏิเสธศรัทธาเกิดขึ้นในหมู่พวกเขา (ชาวบนีอิสรออีล) จึงได้กล่าวว่า ใครบ้างจะเป็นผุ้ช่วยเหลือฉันไปสู่ (ศาสนาของ) อัลลอฮิ บรรดาสาวกผู้บริสุทธิ์ใจกล่าวว่า พวกเราเคือผู้ช่วยเหลือ (ศาสนาของ) อัลลอฮฺ พวกเราศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว และท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเรานั้นคือผู้น้อมตาม ข้าแต่พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ศรัทธาแล้วต่อสิ่งที่พระองค์ได้ประทานลงมา และพวกข้าพระองค์ก็ได้ปฏิบัติตามศาสนทูตแล้ว ได้โปรดบันทึกพวกข้าพระองค์ร่วมกับบรรดาผู้ที่กล่าวปฏิญาณยืนยันทั้งหลายด้วยเถิด]
(อัลกุรอาน 3 : 52 - 53)

คือกล่าวปฏิญาณยืนยันในเอกภาพแห่งการเป็นพระเจ้าของพระองค์แล้ว ในการยอมรับศาสนทูตของพระองค์ที่พระองค์ส่งมา [และพวกเขาได้วางแผน]
(อัลกุรอาน 3 : 54)


คือชาวบนีอิสรออีลที่ปฏิเสธศรัทธาวางแผนที่จะสังหารนบีอีซา [และอัลลอฮฺก็ทรงวางแผนด้วย และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้วางแผนที่ดีเยี่ยม]
(อัลกุรอาน 3 : 54)

คือพระองค์ไดวางแผนที่จะปกป้องนบีอีซาให้พ้นจากการทำร้ายของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้น

..........ประกาศข่าวดีศาสนทูตท่านสุดท้าย

[และจงรำลึกเมื่ออีวาอิบนิมัรฺยัม ได้กล่าวว่า โอ้ชาวบนีอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นศาสนทูตของอัลลออฺมายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยังสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์เตารอตก่อนหน้าฉัน และเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงศาสนทูตท่านหนึ่งผู้จะมาภายหลังจากฉัน ชื่อของเขาคือ อะห์มัด ครั้งเมื่อเขา (อะห์มัด) ได้ยังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งแล้ว พวกเขากล่าวว่า นี่คือมายากลแท้ ๆ ]
(อัลกุรอาน 61 : 6)

นบีอีซาได้แจ้งข่าวดีแก่ชาวบนีอิสรออีลว่า ฉันเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺมายังพวกท่าน เพื่อยืนยันข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในคัมภีร์เตารอต และเป็นหลักฐานยืนยันถึงการเรียกร้องของฉันให้เคารพภักดีต่องอัลลอฮฺเช่นเดียวกับพวกท่านได้ศรัทธาต่อมูซา ฮารูน ดาวูด และสุลัยมาน ดังนั้นพวกท่านจงศรัทธาต่อฉัน นอกจากนี้ฉันยังเป็นผู้แจ้งข่าวดีว่า จะมีศาสนทูตคนหนึ่งถูกแต่งตั้งมาภายหลังจากฉัน นามว่า อะห์มัด หมายถึง นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ด้วยเหตุนี้ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า ฉันเป็นผู้ได้รับคำวิงวอนของบิดาของฉัน อิบรอฮีม และเป็นผู้ได้รับแจ้งข่าวดีของอีซา กล่าวคือขณะที่อิบรอฮีมและอิสมาอีลได้สร้างบ้าน (บัยตุลลอฮฺ) ทั้งสองได้กล่าววิงวอนไว้ตามที่พระองค์ได้กล่าวไว้วว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดส่งศาสนทูตคนหนึ่งจากพวกเขาไปยังพวกเขา เพื่อที่จะได้สาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์ให้พวกเขาฟัง อีกโองการหนนึ่ง ครั้งเมื่อเขา (มุฮัมมัด) ได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง คือ พร้อมด้วยหลักบานที่บ่งชี้ถึงการเป็นศาสนทูตจริงและจำเป็นต้องปฏิบัติตามเขาในเรื่องเกี่ยวกับการศรัทธาและบทบัญญัติ แต่พวกเขาได้ปฏิเสธศรัทธาต่อเขาและกล่าวว่า นี่คือมายากลแท้ ๆ เสมือนกับที่ฟิรเอานฺได้กล่าวกับมูซาและชาวบนีอิสรออีลได้กล่าวกับอีซา

โองการนี้ก็เช่นกันได้กล่าวถึงนบีมุฮัมมัดหลังจากนบีอีซา [คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามศาสนทูต (มุฮัมมัด) ผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็นที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในคัมภีร์เตารอตและในคัมภีร์อิลญีล]
(อัลกุรอาน 7 : 157)

คือชาวยะฮูดีย์และชาวนัซรอนีย์ได้พบชื่อและลักษณะของนบีมุฮัมมัดถูกจารึกอยู่ในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อิลญีลว่า เป็นผู้จะอุบัติขึ้นเป็นนบีและร่อซูลท่านสุดท้าย [โดยที่เขา (มุฮัมมัด) จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขาไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ และจะอนุมัติให้แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา]
(อัลกุรอาน 7 : 157)

คำว่าภาระหนักและห่วงคอนั้นเป็นคำเปรียบเทียบ ซึ่งหมายถึงบัญญัติศาสนาที่กำหนดให้พวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่ยากลำบากแก่พวกเขา เช่น การชดใช้ชีวิตด้วยชีวิต กล่าวคือถ้าฆ่าคนอื่นจะด้วยเจตนา หรือผิดพลาดก็ตาม จะต้องถูกฆ่าให้ตายตามกันโดยไม่มีการรับค่าทำขวัญใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น [ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขาและให้ความสำคัญแก่เขา และช่วยเหลือเขาและปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขาแล้วชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ]
(อัลกุรอาน 7 : 157)


................................
(จากหนังสือ : เรื่องเล่ากุรอาน เล่ม 3)

อดทน เพื่อชัยชนะ


กองทัพช้าง


[เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระเจ้าของเจ้าได้กระทำกับพวกเจ้าของช้างอย่างไร พระองค์ไม่ได้ทรงทำให้แผนการของพวกเขาสูญสิ้นดอกหรือ]
(อัลกุรอาน 105 : 1 – 2)

คือมุฮัมมัด ไม่รู้ดอกหรือว่า อัลลอฮฺทรงกระทำกับเจ้าของช้างอย่างไร คือ “อับรออะฮฺ อัลฮัชร็อม” กษัตริย์เยเมน ซึ่งอับรออะฮฺได้ยกกองทัพช้างมาเพื่อทำลายกะอฺบะฮฺในนครมักกะฮฺ โดยได้สร้างวิหารใหญ่โตสวยงามอย่างวิจิตรขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อจะทดแทนกะบะฮฺ แล้วให้ชาวอาหรับมุ่งหน้าไปสู่วิหารที่เยเมน เพื่อเป็นศูนย์กลางสถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ ในเวลาเดียวกันก็มีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจหรือต้องการให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ในภูมิภาคนั้น ดังนั้นพระองค์จึงทำลายแผนการของพวกเขาในการที่จะเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ในเยเมนให้สูญสลายไป [และได้ทรงส่งนกเป็นฝูง ๆ ลงมาบนพวกเขา มันได้ขว้างพวกเขาด้วยก้อนหินที่ทำด้วยดินแข็ง]
(อัลกุรอาน 105 : 3 – 4)

ทั้งนี้ด้วยการส่งนกมาเป็นฝูง ๆ นกทุกตัวจะมีก้อนหินเล็ก ๆ 3 ก้อน ก้อนหนึ่งจะคาบอยู่ที่จะงอยปากของมัน อีกสองก้อนอยู่ที่ขาทั้งสองข้าง แล้วฝูงนกนั้นก็จะทิ้งก้อนหินแต่ละก้อนลงมา เพื่อทำลายล้างพลพรรคของอับรอฮะฮฺให้ราบคาบไป ก้อนหินแต่ละก้อนนั้นเปรียบเสมือนลูกกระสุนปืนที่ยิงเจาะเข้าไปในเรือนร่างของทหารแต่ละคน เหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งนี้ตรงกับปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เกิด ในราวปีคริสต์ศักราช 570) อันเป็นปีที่นบีมุฮัมมัดเกิดพอดี จึงตั้งชื่อปีที่เกิดว่า ปีช้าง [แล้วพระองค์ทรงทำให้พวกเขาเป็นเช่นใบไม้ที่ถูก (สัตว์) กิน]
(อัลกุรอาน 105 : 5)

คืออัลลอฮฺได้ทำให้บรรดาทหารเหล่านั้นเป็นเช่นใบไม้ที่ถูกพายุพัดพาเอาไปเพื่อให้สัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการบ่งชี้ถึงการที่อัลลอฮฺทรงยกย่องให้เกียรติแก่กะอฺบะฮฺหรือบัยตุลลอฮฺและโปรดปรานแก่ชาวกุเรซด้วยการปกป้องให้พ้นจากการรุกรานของศัตรู

วัลลอฮุอะลัม
.............................
อดทน เพื่อชัยชนะ

การกล่าวอามีนเมื่ออีมามอ่านสูเราะฮฺอัลฟาตีหะฮฺจบในละหมาด


التَأْمِيْنُ  

เมื่ออ่านอัลฟาติฮะฮ์จบต้นแล้ว ให้กล่าวว่า “ อามีน ” ( آمِيْن ) ทั้งอิมาม,มะอ์มูมและผู้ที่ละหมาดคนเดียว ทั้งนี้ให้กล่าวโดยลากเสียงให้ยาวและออกเสียงให้ดังพร้อม ๆ กันทั้งอิหม่ามและมะอ์มูม ทั้งนี้เฉพาะการละหมาด ที่อ่านเสียงดังเท่านั้น ส่วนการละหมาดที่ต้องอ่านฟาติฮะฮ์ค่อยก็ให้กล่าวอามีนค่อย ท่านอาบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إذَا أَمَّنَ الإمَامُ فَأَمِّنُوا فَإنَّهُ مَنْ وَافَقَ تَأْمِيْنُـهُ تَأْمِيْنَ المَلائِكَةِ غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ

“ เมื่ออิหม่ามกล่าว “อามีน” พวกท่านก็จงกล่าว “อามีน” เพราะผู้ใดที่กล่าวอามีนพร้อมการกล่าวอามีน ของ มะลาอิกะฮ์ เขาจะได้รับอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา”

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

ท่านอิบนุชิฮาบได้กล่าว อธิบายหะดีษนี้ว่า “ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า อามีน ”


والله أعلم بالصواب

.......................

ผู้ศรัทธาจะรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆของอิสลาม


             ผู้ศรัทธานั้นพยายามดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆของอิสลาม เช่น การละหมาดวันศุกร์ ละหมาดญะมาอะฮฺ พิธีฮัจญ์ การญิฮาด และจะเข้าร่วมพิธีในวาระโอกาสต่างๆ เหล่านั้นร่วมกับบรรดาผู้นำทั้งหลายไม่ว่าในเรื่องส่วนตัวผู้นำคนนั้น จะเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ตาม ซึ่งแตกต่างกับพวกบิดอะฮฺที่มักรุนแรงและลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่อารมณ์ตนยอมรับเท่านั้น

ผู้ศรัทธาจะเร่งรีบหรือให้ความสำคัญต่อการละหมาดฟัรฎู และปฏิบัติมันในช่วงต้นของเวลาพร้อมกับญะมาอะฮฺ เพราะเวลาช่วงแรกของมันย่อมดีกว่าช่วงสุดท้าย พวดเขาจะกำชับกันในเรื่องของความมีสมาธิ(คุชั๊วะอฺ) และความสวยงามเรียบร้อยในการละหมาดอันเป็นการปฏิบัติตามคำรัสของพระองค์อัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า

قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُونَ ( 1 ) อัล-มุอ์มินูน - Ayaa 1

"แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาได้ประสบความสำเร็จแล้ว"

الَّذِينَ هُمْ فِي صَلَاتِهِمْ خَاشِعُونَ ( 2 ) อัล-มุอ์มินูน - Ayaa 2

"บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนในเวลาละหมาดของพวกเขา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมุอฺมีนูน 23:1-2)

والله أعلم بالصواب

.......................

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การกล่าวหาและการนินทา



ท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"พวกท่านรู้ไหมว่าอะไรคือการนินทา ? พวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺและรอซู้ลของพระองค์เท่านั้นที่รอบรู้ดี ท่านตอบว่า การนินทาคือการกล่าวถึงเพื่อนของคุณ ซึ่งถ้าเขาได้ยิน เขาจะโกรธกริ้ว มีคนถามว่า แล้วท่านไม่เห็นดอกหรือหากเพื่อนของฉันมีสิ่งตามที่ฉันว่าเขาจริง ? ท่านตอบว่า ถ้าเขามีสิ่งตามที่เจ้าว่าจริงแสดงว่าเจ้าได้นินทาเขา และถ้าไม่มีจริงตามที่เจ้าว่า แสดงว่าเจ้าได้กล่าวหาเขา "

(มุสลิม 4/2001 เลขที่ 2589)
และอิสลามสั่งห้ามไม่ให้แอบฟังการพูดคุยของผู้อื่น โดยที่เจ้าตัวไม่อนุญาติเพราะท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ใครแอบฟังการพูดคุยของชนกลุ่มหนึ่งโดยพวกเขาไม่ปรารถนาหรือพวกเขาพยายามหลีกหนีไม่ให้เขาฟัง ในวันปรโลกจะถูกเทตะกั่วเลวเข้าในหูของเขา"
(อัลบุคอรีย์ 6/2581 เลขที่ 6635)

.....................................................
จากหนังสือ สาส์นอิสลาม

Dunt Bung

การเรียกร้องสูแนวทางสลัฟ(อัดดะอ์วะฮฺอัสสะละฟียะฮฺ)



ท่านชัยคฺมุหัมมัด นาสิรุดดีน อัลอัลบานีย์ (ขออัลลอฮฮฺทรงเมตตาท่าน) ท่านได้กล่าวว่า
การฟื้นฟูศาสนาของพระองคือัลลอฮฺนั้นในความเป็นจริงแล้ว คือการที่เราต้องทำดะอ์วะฮฺ(เรียกร้องผู้คน)ศู่แนวทางสลัฟ (อัดดะอ์วะฮฺอัสสะละฟียะฮฺ) อันประกอบไปด้วยหน้าที่เหล่านี้

1.การป่าวประกาศให้คนหันไปยึดอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเข้มงวดโดยละทิ้งการยึดติดกับความของผู้รู้ที่ตนเองชอบ แบบไม่สนใจหลักฐานและความถูกต้องดังที่ประชาชาติหลายกลุ่มเป็นอยู่

2.การทำลายบิดอะฮฺทุกประเภทที่มีอยู่ในประชาชาติอิสลาม

3. คือ การเคลื่อนไหวเพื่อประกาศเตาฮีดแก่บรรดามสลิมหลายส่วนที่ยังตกอยู่ภายใต้พิธีกรรมที่ชีริก

4. การสอนสั่งความรู้ต่างๆที่มีประโยชน์แก่ประชาชน

5. การสร้างกระบวนการขัดเกลาจิตใจของมวลมุสลิมให้มีศาสนาและศิลธรรม เพื่อหลีกห่างจากอบายมุขต่างๆ

6.การสอนประชาชนให้ระวังและรู้พิษภัยของกลุ่มหลงผิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประชาชาติ และกำลังบ่อนทำลายอิสลามตลอดจนการสอนประชาชาชนให้รู้ถึงความคิดของอิสลามในเรื่องต่างๆที่ถูกต้อง
(อัลญามิอฺอัศเศาะฆีรฟีอะฮาดีษอัลบะชิรอันนะสี้ร หน้า 22)

............................................