อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อกลุ่มชนที่ถูกอุปโลกน์ฉายาให้ว่า"พวกวะฮาบี"



📩 ขอฝากสาส์นนี้ไปยังผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อกลุ่มชนที่ถูกอุปโลกน์ฉายาให้ว่า"พวกวะฮาบี"...

👉 บางคนเกลียดวาฮาบี ด่าทอวะฮาบี สาปแช่งวะฮาบี ให้หุก่มที่ร้ายเเรงต่อวะฮาบี เลยเถิดไปจนถึงขั้นว่ามีราชครูบางสำนัก เวลาขึ้นบรรยายไม่ว่าจะกี่เวทีก็มีเเต่ข้อกล่าวหา คำใส่ไคล้ต่อกลุ่มที่ถูกเรียกว่าวะฮาบี และที่น่ารังเกียจที่สุดคือการเอาหุก่มกุฟรฺ(การปฏิเสธศรัทธา)มาครอบให้เเก่คนกลุ่มนี้ จนถึงขั้นประกาศว่าหะล้าลเลือดเนื้อ ทรัพย์สินของพวกวะฮาบี !!! (ขออัลลอฮฺทรงจัดการกับเขาด้วยความยุติธรรมของพระองค์ด้วยเถิด)

👉 เเต่มนุษย์จำพวกนี้เวลาที่เดินทางไปมักกะฮฺหรือมะดีนะฮฺ ซึ่งพูดกันง่ายๆว่าที่นั่นคือรังของวะฮาบีเลยทีเดียว พวกเขากลับไปละหมาดตามหลังชัยคฺ สุเดส , ชัยคฺ ชุเรม , ชัยคฺ มาฮิร , ชัยคฺ บันดัร กันได้หน้าตาเฉย !!!

👉 #ไม่รู้หรือว่า สุเดส ชุเรม มาฮิร บันดัร ที่ไปละหมาดตามหลังเขา มิหนำซ้ำบางทียังชื่นชอบเสียงของเขาเเล้วเอามาลอกเลียนแบบการอ่านกันเต็มบ้านเต็มเมืองนั้น ว่าท่านเหล่านั้นคือ"วะฮาบี" ที่พวกเขาด่าทอ สาปแช่ง หุก่มตกนรกกันไปแล้ว ! เเต่กลับไปละหมาดตามเขาได้หน้าตาเฉย ... !? ละหมาดใช้ได้ไหม ?

#ขอฝากคำถามเพียงเเค่นี้ ???


      ••┈┈•┈┈•⊰✿📚✿⊱•┈┈•┈┈•

👉 ส่วนเราขอบอกพวกท่านให้หูตาสว่างกันบ้างว่า : คำว่าวะฮาบี คือเกียรติของเรา !

📍 อัล-อัลลามะฮฺ ศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัล-เฟาซาน -หะฟิซอฮุลลอฮฺ- ถูกถามว่า :

   อะไรคือสาเหตุของการตั้งชื่อผู้เรียกร้องไปสู่เตาฮีดในทุกๆสถานที่ เรียกพวกเขาว่าวะฮาบียะฮฺ โดยเริ่มต้นจากชัยคฺ มุฮัมหมัด บิน อับดุลวะฮาบ รอหิมาฮุลลอฮฺ โดยคำๆนี้ได้กลายเป็นวาทกรรมที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากหนีออกจากบรรดาผู้ที่เรียกร้องไปสู่เตาฮีด(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ) ?

👉 ท่านตอบว่า :

   ไม่เลย , ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มันไม่ได้ทำให้ผู้คนหนีไปไหนเลย !

นี่คือเกียรติของเขา - มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ -

ถ้าหากว่าผู้ที่เรียกร้องไปสู่เตาฮีดถูกเรียกว่าวะฮาบี ถ้าเช่นนั้นผู้ที่เรียกร้องไปสู่ชิริกจะถูกเรียกว่าอะไรกันละ ?

        ถูกเรียกว่าอะไร ?

        ญาฮิลีย์(คนโง่เขลา)รึ ?

      

   ฉะนั้นนี่คือเกียรติของเรา

ปล่อยให้พวกเขาเรียกวะฮาบีไปเถิด - อัลฮัมดุลิลลาฮฺ -

ซึ่งนี่เป็นการยืนยันจากพวกเขาเองว่าแท้จริงการดะอฺวะฮฺของวะฮาบียะฮฺนั้น เป็นการเรียกร้องไปสู่เตาฮีด  !  ครับ

العلامة صالح الفوزان حفظه الله :

لا والله ما تْنَفِّر ،هذا فخر لنا ولله الحمد ، إنّو الّلي يدعو إلى التوحيد يسمى وهّابي ، إذن الّلي يدعو إلى الشرك وِيش يسمى ؟

يسمى إيش ؟

جاهلي

هذا فخر لنا خَلْهُم يْسَمُّون وهابي الحمد لله ، هذه شهادة منهم أن دعوة الوهابية أنها إلى التوحيد ، نعم .

[ที่มา] :  الدر النضيد في إخلاص كلمة التوحيد

#อิสลามตามแบบฉบับ



วะฮ์ฮาบียะฮฺ “ฟื้นฟูอิสลามตามวิถีสลัฟ”




        ก่อนปี ค.ศ. 1765
         
          คำว่า วะฮ์ฮาบียะฮฺ ได้มาจากชื่อบิดาของ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ (ค.ศ.1703-1791)
          วะฮ์ฮาบียะฮฺ คือขบวนการฟื้นฟูวิถีการปฏิบัติของสะลัฟ คนในกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า สะละฟียฺ(คนที่ปฏิบัติตามแนวทางของสลัฟที่ดี) แต่คนในกลุ่มอื่นจะเรียกพวกเขาว่า วะฮ์ฮาบียฺ และพยายามทำให้ชื่อเรียกนี้ฟังดูน่ากลัวเหมือนเป็นตัวอันตราย
          มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ ผู้นำทางจิตวิญญาณ และมุฮัมมัด บินสะอู๊ด(เสียชีวิต ค.ศ.1765) ผู้นำทางการเมือง ได้ร่วมมือกันจนสามารถก่อตั้งประเทศซาอุดิอารเบียได้สำเร็จ แม้ต่อมาจะถูกทำลายอีก 2 ครั้ง แต่ก็สามารถกอบกู้ขึ้นได้อีกเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้การนำของกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาละสะอูด(ค.ศ.1879-1953)
          ในเวลานั้นโลกอิสลามเต็มไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ มากมาย ที่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงความเชื่อและหลักปฏิบัติศาสนาไปจากสมัยสลัฟอย่างมาก ความพยายามเรียกร้องให้หวนกลับไปใช้แนวทางของสลัฟที่ดีจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของกลุ่มสะละฟียะฮฺ (มุสลิมที่ยึดมั่นแนวทางของสลัฟที่ดี)
         
   ความเชื่อบางประการของกลุ่มนี้
          1. เรียกร้องให้กลับไปใช้วิธีการเข้าใจศาสนาตามแบบของสลัฟ คือการศึกษาอัลกุรอาน และหะดีษที่เชื่อถือได้ผ่านมุมมองความเข้าใจของสลัฟที่ดี เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่อัลลอฮฺและเราะสูลรับรองแล้ว
          2. ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบสถานะของฮะดีษ
          3. อิสลามให้การรับรองการปฏิบัติตามแนวทางของบรรพชน 3 รุ่นแรกของอิสลาม(สะลัฟ) ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางของสลัฟเรียกว่า สะละฟียฺ
          4. เชื่อว่า "ตัวบทกับปัญญาไม่ขัดแย้งกัน" ปัญญาที่ดีจะต้องคิดสอดคล้องกับตัวบทเสมอ หากเรื่องใดที่ปัญญายังไม่อาจเข้าใจ ก็จะยกตัวบทนำปัญญาเสมอ เพราะตัวบทคือสัจธรรมที่มาจากอัลลอฮฺ และปัญญาคือเครื่องมือทำความเข้าใจที่มีข้อจำกัดมากมาย
          5. แบ่งเตาฮีดเป็น 3 ประเภท คือ (1) เตาฮีดรุบูบียะฮฺ (2) เตาฮีดอุลูฮียะฮฺ และ (3) เตาฮีดพระนามและศิฟัต ที่ต้องแยกเรื่องเตาฮีดพระนามและศิฟัตออกมาจากเตาฮีดรุบูบียะฮฺ ก็เพราะเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้มุสลิมแตกเป็นกลุ่มต่าง ๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องแยกออกมาอธิบายเป็นการเฉพาะ
          6. ยืนยันศิฟัตทั้งหมดที่อัลลอฮฺหรือเราะสูลของพระองค์ยืนยัน ในแบบที่คู่ควรกับความสูงส่งของพระองค์ และไม่เหมือนกับมัคลู๊กใด ไม่มีการปฏิเสธ ไม่ตีความ ไม่เปรียบเทียบ และไม่ถามถึงรายละเอียดวิธีการ
          7. อัลกุรอานคือคำพูดของอัลลอฮฺทั้งคำและความหมาย อัลกุรอานไม่ใช่มัคลู๊ก
          8. ศรัทธา(อีมาน) ประกอบด้วยกาย วาจา และใจ ศรัทธามีเพิ่มมีลดได้ เพิ่มเมื่อทำความดี ลดเมื่อทำบาป ศรัทธาเริ่มแรกคือศรัทธาด้วยใจและปฏิญาณด้วยวาจา
          9. คนที่ทำบาปใหญ่ยังไม่พ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม นอกจากทำบาปที่ทำให้เสียอีมานเท่านั้น
          10. มุสลิมที่มีความชั่วมากกว่าความดี พระองค์จะลงโทษหรือให้อภัยก็ได้ตามประสงค์ของพระองค์
          11. บรรดานบีเท่านั้นที่เป็นผู้ไร้บาป(มะอฺศูม) เศาะฮาบะฮฺ หรือบรรดาลูกหลานนบี ไม่มีใครเป็นมะอฺศูม
          12. รักและให้เกียรติทั้งบรรดาเศาะฮาบะฮฺ ภรรยานบี และลูกหลานของนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม
          13. ไม่อนุญาตให้ใช้สื่อ(ตะวัสสุล)กับคนตายได้แม้จะเป็นนบีก็ตาม แต่อนุญาตใช้สื่อจากความดีที่ทำไปได้
          14. ให้อดทนกับผู้ปกครองที่ไม่ดี แม้จะถูกยึดทรัพย์หรือถูกโบยด้วยความไม่เป็นธรรมก็ตาม จนกว่าจะเห็นการกระทำที่เป็นปฏิเสธ(กุโฟร)อย่างแจ่มชัดไม่มีชุบฮะฮฺใด ๆ และการออกมาต่อต้านต้องมีผลดีมากกว่าผลร้ายที่จะตามมา
          15. ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะฮฺเป็นหลายประเภท เพื่อเป็นการให้เกียรติท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ที่กล่าวว่า "ทุกบิดอะฮฺคือการหลงผิด" และเพราะถือว่ามันคือประตูสู่การเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญที่หลายกลุ่มมักใช้เป็นข้ออ้าง
          16. ให้ความสำคัญกับเรื่องการรักเพื่ออัลลอฮฺ(วะลาอ์) โกรธเพื่ออัลลอฮฺ(บะรออ์) และการตักเตือน(นะศีหะฮฺ)
          17. เชื่อเรื่องการลงโทษในหลุมฝังศพ และการขอชะฟาอะฮฺในวันกิยามะฮฺ
         
   ข้อกล่าวหาบางประการที่กลุ่มต่าง ๆ ใช้กับกลุ่มนี้
          1. กล่าวหาว่า "เป็นพวกตัจสีม" คือ ผู้ที่เชื่อว่าอัลลอฮฺมีอวัยวะ หรือมีร่างกาย แต่ในความเป็นจริงวะฮ์ฮาบียฺ เพียงบอกว่า มือเป็นศิฟัต(คุณลักษณะหนึ่ง)ของอัลลอฮฺ และไม่เหมือนกับมัคลู๊ก ไม่ให้ใช้คำว่า เป็นอวัยวะ หรือเป็นร่างกาย และถือว่าการใช้คำเหล่านั้นเป็นคำบิดอะฮฺ เราใช้ได้เฉพาะคำเดียวกับที่อัลลอฮฺ และเราะสูลใช้เท่านั้น ใช้เกินไปกว่านั้นไม่ได้ เพราะเรารู้จักพระองค์เท่าที่พระองค์และเราะสูลบอกให้เราทราบเท่านั้น เราไม่อาจใช้สติปัญญาตีความศิฟัตของอัลลอฮฺเอาเองโดยปราศจากหลักฐานจากตัวบทได้
          2. กล่าวหาว่า "เป็นพวกชอบหุก่มชาวบ้านไปทั่ว" แต่ในความเป็นจริง การชี้แจงความจริงอาจต้องมีการพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละกลุ่มด้วย ไม่มีการหุก่มที่ตัวบุคคลแต่อย่างใด (นอกจากบุคคลที่ศาสนารับรองเช่น ฟิรอูน อบูละฮับ เป็นต้น) หากมีก็เป็นเพียงการหุก่มที่ตัวของการกระทำ ไม่ใช่ที่ตัวผู้กระทำ และยังใช้ให้มองแง่ดีกับพี่น้องมุสลิมของเขาว่า เขาคนนั้นอาจยังมีข้อคลุมเครืออยู่หรือยังไม่รู้ความจริง ตัวเขามีหน้าที่ต้องพยายามอธิบายโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมสวยงาม
          3. กล่าวหาว่า "เป็นพวกชอบสร้างความแตกแยก" แต่หากเราได้ศึกษาประวัตินบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จะพบว่าท่านนบีเป็นบุคคลแรกที่ถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหานี้ แต่ท่านก็อดทน ทำงานเผยแผ่ของท่านต่อไปจนอิสลามได้มาถึงเราทุกวันนี้ หากท่านหยุดเสียแต่ตอนที่ได้ยินคำพูดนี้ พวกเราจะได้เป็นมุสลิมแบบทุกวันนี้หรือเปล่า สำหรับคนที่รักนบี การเรียกร้องให้กลับไปทำตามสุนนะฮฺนบี ไม่ใช่เป็นการสร้างความแตกแยก แต่เป็นการแยกสัจธรรมกับความเท็จให้ออกจากกัน
          4. กล่าวหาว่า "ชอบพูดจารุนแรง ก้าวร้าว ไม่มีมารยาท" เป็นพฤติกรรมส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับคำสอนของกลุ่ม บางคนที่เป็นอย่างนั้นเพราะความจริงใจ แต่ขาดความเข้าใจเรื่องวิธีการอธิบาย จึงพูดออกไปตรง ๆ ทำให้บางคนรับไม่ได้ หรือมีคนอ้างตนว่าเป็นสะละฟียฺบางคนแต่เขารู้จักวะฮ์ฮาบียฺ หรือสะละฟียฺเพียงผิวเผิน ก็เอาไปพูดจากับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ผิด ๆ ถูก ๆ จึงทำให้คนอื่นเข้าใจสะละฟียฺผิดไปจากความเป็นจริง





คำพูดจากปลายลิ้น

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...

พี่น้องที่รักทุกท่าน ความโปรดปรานอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราได้รับจากอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลาอย่างล้นเหลือ นั่นก็คือ “ลิ้น” ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัล-บะลัด 8-9 ความว่า

﴿ أَلَمۡ نَجۡعَل لَّهُۥ عَيۡنَيۡنِ ٨ وَلِسَانٗا وَشَفَتَيۡنِ ٩ ﴾  [البلد : 8-9]

“เรามิได้ทำให้เขามีดวงตาทั้งสองดอกหรือ และลิ้นและริมฝีปากทั้งสองด้วย”

หากใครมิได้ใช้ลิ้นไปในหนทางแห่งการภักดีต่ออัลลอฮฺ แน่นอนว่าจะเป็นความหายนะอย่างร้ายแรงต่อเจ้าของ อัลลอฮฺตรัส ความว่า

﴿ يَوۡمَ تَشۡهَدُ عَلَيۡهِمۡ أَلۡسِنَتُهُمۡ وَأَيۡدِيهِمۡ وَأَرۡجُلُهُم بِمَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٢٤ ﴾  [النور : 24]

“วันที่ลิ้น มือ และเท้าของพวกเขาจะเป็นสักขีพยานต่อพวกเขา ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัล-นูร : 24)

และยังมีหลักฐานอีกมากมายที่ส่งเสริมให้ระวังรักษาลิ้น ดังที่อัลลอฮฺตรัส  ความว่า

﴿ مَّا يَلۡفِظُ مِن قَوۡلٍ إِلَّا لَدَيۡهِ رَقِيبٌ عَتِيدٞ ١٨  ﴾   [ق : 18]

“ไม่มีคำพูดใดที่เขากล่าวออกมา เว้นแต่จะมีมะลัก(เทวฑูต)ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อมที่จะบันทึก”(กอฟ : 18)

และพระองค์ยังตรัสอีก  ความว่า

﴿ وَلَا تَقُولُواْ لِمَا تَصِفُ أَلۡسِنَتُكُمُ ٱلۡكَذِبَ هَٰذَا حَلَٰلٞ وَهَٰذَا حَرَامٞ لِّتَفۡتَرُواْ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَۚ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَفۡتَرُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ لَا يُفۡلِحُونَ ١١٦ ﴾  [النحل : 116]

“และพวกเจ้าอย่าได้กล่าวเท็จตามที่ลิ้นของพวกเจ้าต้องการ ว่าสิ่งนี้หะลาลและสิ่งนี้หะรอม เพื่อที่พวกเจ้าจะกล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ

แท้จริงบรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลฮฺจะไม่ประสบผลสำเร็จ” (อัล-นะหฺลฺ : 116)

สำหรับหะดีษมีด้วยกันหลายบท อาทิเช่น

          หะดีษที่รายงานโดยมุอ๊าซฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เขาได้ถามท่านเราะสูล  เกี่ยวกับการงานที่นำไปสู่สวรรค์และห่างไกลจากไฟนรก ท่านนบี  จึงได้บอกเขาเกี่ยวกับเรื่องหลักๆ ของกิจการนี้ คืออิสลาม รวมทั้งละหมาดที่เป็นเสาหลัก และการญิฮาดที่ถือว่าเป็นจุดสุดยอดของมัน แล้วท่านจึงกล่าวถามมุอ๊าซฺ  ว่า

«أَلَا أُخْبِرُكَ بِمَلَاكِ ذَلِكَ كُلِّهِ؟» قُلْتُ: بَلَى يَا نَبِيَّ اللَّهِ، فَأَخَذَ بِلِسَانِهِ، قَالَ: «كُفَّ عَلَيْكَ هَذَا»، فَقُلْتُ: يَا نَبِيَّ اللَّهِ وَإِنَّا لَمُؤَاخَذُونَ بِمَا نَتَكَلَّمُ بِهِ؟، فَقَالَ : «ثَكِلَتْكَ أُمُّكَ يَا مُعَاذُ، وَهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ فِي النَّارِ عَلَى وُجُوهِهِمْ أَوْ عَلَى مَنَاخِرِهِمْ إِلَّا حَصَائِدُ أَلْسِنَتِهِمْ» [رواه الترمذي برقم 2616، وقال : هذا حديث حسن صحيح]

“เอาไหมล่ะ หากฉันจะบอกเจ้าซึ่งสิ่งที่ครอบคลุมทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด?”

ฉัน(มุอ๊าซฺ)ตอบว่า “เอาครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ”

แล้วท่านก็จับลิ้นของท่าน และกล่าวว่า “ท่านจงระงับสิ่งนี้”

ฉันจึงกล่าวว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ พวกเราจะถูกสอบสวนในสิ่งที่เราได้พูดด้วยกระนั้นหรือ ?”

ท่านตอบว่า “แม่ของท่านได้เสียท่านแล้ว โอ้ มุอ๊าซฺเอ๋ย (เป็นสำนวนพูดในภาษาอาหรับที่กล่าวออกมาเพื่อเป็นการเตือนหรือติงคู่สนทนา) แล้วที่มนุษย์ต้องถลำหน้าหรือจมูกเข้าไปในไฟนรกมิใช่เพราะผลพวงมาจากลิ้นดอกหรือ?” (บันทึกโดย อัต-ติรฺมิซียฺ  : 2616)

จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

«إِنَّ الْعَبْدَ لَيَتَكَلَّمُ بِالْكَلِمَةِ مَا يَتَبَيَّنُ مَا فِيهَا، يَهْوِي بِهَا فِي النَّارِ أَبْعَدَ مَا بَيْنَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ» [رواه البخاري برقم 6477، ومسلم برقم 2988]

“บ่าวผู้หนึ่งอาจจะพูดจาด้วยคำพูด โดยที่เขาไม่ทราบว่าอัลลอฮฺทรงกริ้วหรือไม่

แต่แล้วมันกลับเป็นเหตุทำให้เขาตกไปในหุบเหวแห่งไฟนรก ที่มีความลึกเฉกเช่นความห่างของทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 6477 และมุสลิม : 2988)

จากสะฮ์ลฺ อิบนุ สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَنْ يَضْمَنْ لِي مَا بَيْنَ لَحْيَيْهِ وَمَا بَيْنَ رِجْلَيْهِ، أَضْمَنْ لَهُ الْجَنَّةَ» [رواه البخاري برقم 6474]

“ผู้ใดที่ประกันตนเองได้ว่าจะรักษาลิ้นและอวัยวะเพศของเขาจากการละเมิดได้ แน่นอนฉันจะรับประกันสวรรค์ให้แก่เขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6474)

จากอุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ถามท่านเราะสูลว่าสิ่งใดที่จะทำให้รอดพ้นจากไฟนรก ท่าน ตอบว่า

قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا النَّجَاةُ؟، قَالَ: «أَمْسِكْ عَلَيْكَ لِسَانَكَ، وَلْيَسَعْكَ بَيْتُكَ، وَابْكِ عَلَى خَطِيئَتِكَ» [رواه الترمذي برقم 2406]

“จงจับลิ้นของท่านให้ดี(ระมัดระวังคำพูด หยุดพูดในสิ่งที่ไม่ดี) และให้บ้านของท่านเป็นที่ปลอดภัยสำหรับท่าน และจงร้องไห้ต่อความผิดของท่าน” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ  : 2406)

จากสุฟยาน อัษ-ษะเกาะฟีย์ เล่าว่า เขาได้พูดกับท่านเราะสูล  ในวันหนึ่งว่า

قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ حَدِّثْنِي بِأَمْرٍ أَعْتَصِمُ بِهِ، قَالَ : «قُلْ رَبِّيَ اللَّهُ ثُمَّ اسْتَقِمْ»، قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا أَخْوَفُ مَا تَخَافُ عَلَيَّ؟، فَأَخَذَ بِلِسَانِ نَفْسِهِ ثُمَّ قَالَ : «هَذَا» [رواه الترمذي برقم 2410]

ท่านกรุณาสอนฉันสักเรื่องหนึ่งเพื่อที่ฉันจะได้ถือปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ท่านเราะสูลจึงตอบว่า  “เจ้าจงกล่าวว่าพระเจ้าของฉันคืออัลลอฮฺ แล้วจงยืนหยัดอย่างมั่นคงในศาสนา”

ต่อมาฉันถามท่านอีกว่า สิ่งใดที่ท่านคิดว่าน่ากลัวที่สุดสำหรับฉัน? ท่านได้ชี้ไปที่ลิ้นของท่านแล้วบอกว่า “สิ่งนี้แหล่ะ” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซียฺ  : 2410)

จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า “ฉันขอเตือนท่านทั้งหลายว่าอย่าได้พูดมากอย่างพร่ำเพรื่อ ให้พูดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น” (หนังสืออัศ-ศ็อมตฺ) ของอิบนุ อะบิดดุนยา หน้า 241 )

มีรายงานว่ามุฮัมหมัด อิบนุ วาสิอฺ พูดกับมาลิก อิบนุ ดีนารฺ ว่า

“โอ้ อบู ยะหฺยา  การรักษาลิ้นเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้คนมากทีเดียว และยากยิ่งมากกว่าการรักษาทรัพย์สินเสียอีก” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 120)

อัล-เอาซาอีย์กล่าวว่า “ ท่านเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ ได้ส่งสาส์นมาให้แก่พวกเรา ซึ่งไม่มีใครท่องจำได้นอกจากฉันกับมักหูลเท่านั้น จดหมายดังกล่าวมีใจความว่า

ใครก็แล้วแต่ที่เขานึกถึงความตาย เขาจะพอใจกับสิ่งน้อยนิดที่เขาครอบครองอยู่ในโลกนี้

และใครก็ตามที่เขาเอาคำพูดของเขามาเทียบชั่งกับการกระทำของตัวเอง เขาก็จะลดการพูดในสิ่งที่ไร้สาระ” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 112)

อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าไม่มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การกักขัง(ขังลืม)มากไปกว่าลิ้น” (อิห์ยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3  หน้า 200)

อิหม่าม อัน-นะวาวีย์ กล่าวว่า “พึงรู้เถิดว่า...เป็นการสมควรอย่างยิ่งแก่มุกัลลัฟ(ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ)ทุกคนจะต้องรักษาลิ้นของเขาจากคำพูดที่ไร้สาระ แต่ต้องพูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ หากเห็นว่าประโยชน์กับโทษเท่ากันก็ให้นิ่งเงียบจะดีกว่า เพราะมันอาจจะชักนำไปสู่คำพูดที่หะรอมหรือมักรูฮฺได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น และยากที่จะหยุดยั้งไว้ได้” (ชัรหฺ เศาะฮีหฺมุสลิม เล่ม 2  หน้า 19)

การเคลื่อนไหวของลิ้นนับได้ว่าชั่วช้าที่สุดในบรรดาการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย และเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดของคนเรา

          อิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า “ช่างน่าฉงนเหลือเกินที่ผู้คนต่างพยายามที่จะปกปักษ์ตัวเองจากการกินทรัพย์สินที่หะรอม การอธรรม การผิดประเวณี การลักขโมย การดื่มเหล้า และการมองสิ่งที่หะรอม เป็นต้น แต่เป็นเรื่องยากเอามากๆ ที่เขาจะรักษาลิ้นของเขาได้ คนบางคนเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นว่าเป็นผู้ดีมีศาสนา แต่เขากลับพูดในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกริ้วโดยไม่แยแส อันเป็นเหตุทำให้ตกนรกได้ด้วยคำพูดเพียงคำเดียว ในบางครั้งท่านเจอคนที่ดูเลื่อมใสในศาสนา ไม่ยุ่งเรื่องชั่วช้าลามก แต่วาจาของเขาชอบถากถางและเชือดเฉือนเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่นทั้งที่ยังมีวิตอยู่และที่ตายไปแล้ว โดยที่เขาไม่แยแสว่าพูดอะไรออกไป” (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟี ลิมัน สะอะละ อัน อัด-ดะวาอ์ อัช-ชาฟี  หน้า 140)

หากท่านต้องการทราบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว ขอให้ทบทวนหะดีษที่รายงานโดยญุนดุบ อิบนุ อับดิลลาฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ حَدَّثَ أَنَّ رَجُلًا قَالَ : «وَاللَّهِ لَا يَغْفِرُ اللَّهُ لِفُلَانٍ. وَإِنَّ اللَّهَ تَعَالَى قَالَ : مَنْ ذَا الَّذِي يَتَأَلَّى عَلَيَّ أَنْ لَا أَغْفِرَ لِفُلَانٍ، فَإِنِّي قَدْ غَفَرْتُ لِفُلَانٍ وَأَحْبَطْتُ عَمَلَكَ» [رواه مسلم برقم 2621]

ท่านเราะสูลได้กล่าวถึงชายผู้หนึ่งที่เขาพูดว่า  “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าอัลลอฮฺจะไม่ให้อภัยแก่คนนั้นคนนี้

อัลลอฮฺจึงกล่าวว่า ใครนะที่บังอาจพูดว่าฉันจะไม่ให้อภัยแก่คนนั้นคนนี้ อันแท้จริงฉันได้ให้อภัยแก่เขาแล้ว และได้ทำให้การงานของเจ้าเสียหายไม่มีภาคผลใดๆ ทั้งสิ้น” (บันทึกโดยมุสลิม  : 2621)

          อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “เพราะเขาได้พูดคำๆ หนึ่งที่ทำลายดุนยาและอาคิเราะฮฺของเขา และชายผู้หนึ่งได้ใส่ร้ายผู้อื่น เพื่อนของเขาจึงถามเขาว่า คุณได้เคยออกรบกับชาวโรมันแล้วหรือเปล่า? เขาตอบว่า ไม่เคยครับ เขาจึงกล่าวกับเพื่อนว่า แปลกน่ะที่ชาวนะศอรอ(คริสเตียน)รอดพ้นจากเงื้อมมือคุณ แต่พี่น้องของคุณกลับไม่รอดพ้นจากปลายลิ้นของคุณ”

อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า “ความผิด( บาป )ถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นเกิดจากลิ้น (หรือเก้าส่วนสิบ)”

นักกวีผู้หนึ่งกล่าวว่า

ลิ้นของเจ้าพึงรักษาโอ้มนุษย์
 
อย่าปล่อยให้มันฉกเจ้า เพราะแท้จริงมันอสรพิษ

กี่มากน้อยในกุโบร์ที่กลายเป็นเหยื่อของลิ้นตัวเอง

แม้แต่เหล่าผู้กล้าก็ไม่อาจหาญจะเผชิญมัน

         อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า “ภัยอันตรายจากปลายลิ้นมีสองประการใหญ่ๆ หากเขารอดพ้นจากประการหนึ่งประการใดยากที่เขาจะรอดพ้นจากอีกประการ นั่นคือ 1) ไม่กล้าพูดความจริง และ 2) กล้าที่จะพูดความเท็จและอุปโลกน์ความชั่ว ความเลวร้ายของทั้งสองอาจเลื่อมล้ำกันตามสภาพและเวลา ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่กล้าพูดความจริงถือได้ว่าเป็นชัยฏอนใบ้ ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ชอบโต้เถียง ชอบต่อรอง หากเขาไม่กลัวว่าตัวเองจะเจอกับจุดจบ ตัวอย่างก็คือผู้ที่สามารถจะยับยั้งความชั่วต่อหน้าเขาได้ แต่เขากลับไม่ทำ

ท่านนบี  กล่าวว่า

«مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الْإِيمَانِ» [رواه مسلم برقم 49]

“ผู้ใดที่พบเห็นความชั่วก็จงยับยั้งด้วยอำนาจที่เขามี หากไม่มีอำนาจก็ให้ยับยั้งด้วยวาจา

แต่หากไม่สามารถทำได้อีกก็ให้นิ่งเงียบเถิด และการนิ่งเงียบถือว่าการมีอีหม่านที่อ่อนที่สุดแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม  : 49)

         สำหรับผู้ที่กล้าจะพูดความเท็จ และอุปโลกน์ความชั่ว เขาคือมารร้ายพูดเก่งที่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ มีผู้คนจำนวนมากที่งมงายโดยการโน้มน้าวหรือการนิ่งเงียบของเขา

           แต่ผู้ที่อยู่ระหว่างเส้นทางทั้งสองนี้เป็นผู้ที่เดินบนเส้นทางอันเที่ยงตรง เขายับยั้งที่จะพูดความเท็จ หรือแม้แต่สิ่งที่ไร้สาระ และกล้าพูดความจริงที่จะเกิดประโยชน์แก่เขาในโลกอาคิเราะฮฺ บางครั้งเราเห็นว่า คนๆ หนึ่งทำความดีมากมายดั่งภูผา แต่เขากลับทำลายมันเพียงด้วยปลายลิ้นที่ไร้กระดูก และผู้หนึ่งทำความชั่วอย่างมากมาย แต่เขาได้ทำลายมันด้วยกับการกล่าวซิกรุลลอฮฺ – จบการอ้าง  (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟี ลิมัน สะอะละ อัน อัด-ดะวาอ์ อัช-ชาฟี หน้า 142)

ขอความช่วยเหลือและขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ทรงอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างด้วยเถิด อามีน
والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .