อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การอวยพรแสดงความยินดี กับคนกาเฟร ในวันคริสมาสและวันปีใหม่



-ชัยค์ ศอลิหฺ อิบนุ อัลอุษัยมีน รอหิมะฮุลลอฮุตะอาลา-

ถาม:

อะไรคือฮุกม(ข้อตัดสิน)ของการอวยพรแสดงความยินดีกับคนกาเฟร ในวันคริสต์มาสที่พวกเขาทำงานร่วมกับเรา? เราจะตอบกับพวกเขาอย่างไร เมื่อเขาชวนเราไปร่วมงาน?และอณุญาติหรือไม่ที่จะไปยังสถานที่จัดงานเฉลิมฉลองต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้ฉลองงานนี้กันอยู่
และ มันเป็นบาปหรือไม่กับคนที่เขาได้ทำสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วโดยไม่ได้มีเจตนาทำมันแต่ทำเพราะเป็นมารยาท เกรงใจ ลำบากใจ หรืออื่นๆจากเหตุผลดังกล่าว,และอณุญาติหรือไม่ที่จะปฏิบัติตามพวกเขาในสิ่งดังกล่าว? ช่วยให้คำชี้ขาดแก่เราถึงผลตอบแทนทั้งหลายด้วย

ตอบ:
การอวยพรแสดงความยินดีในวันคริสต์มาส หรือวันอื่นๆที่เป็นวันรื่นเริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของพวกเขา หะรอม(ห้าม,ไม่อณุญาต)ด้วยกับมติเอกฉันท์ ดังสิ่งที่เป็นหลักฐานของสิ่งดังกล่าวจาก ท่าน อิบนุ กอยยิม รอหิมะฮุลลอฮฺ ในตำราของเขา أحكام أهل الذمة "อะฮฺกาม อะฮฺลุซซิมมะฮฺ"ได้กล่าวไว้ว่า:
และสำหรับการอวยพรแสดงความยินดี ด้วยกับพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิเสธ(กุฟรฺ)นั้น เป็นสิ่งที่ หะรอม ด้วยกับมติเอกฉันท์ เช่นเดียวกับการอวยพรแสดงความยินดี กับวันรื่นเริงต่างๆของพวกเขา และการถือศีลอดของพวกเขา
ดังที่เขากล่าวว่า:สุขสันต์วันรื่นเริงสำหรับท่าน หรือ ขอให้มีความสุขในวันรื่นเริงนี้ และแบบเดียวกันกับมัน , และหากว่าเขาให้สลามตอบรับกับผู้ปฏิเสธที่กล่าวมัน ดังนั้นแล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องห้าม และมันได้เข้าอยู่ในตำแหน่งของการอวยพรให้กับการสุญูดของเขาต่อไม้กางเขน หามิได้สิ่งดังกล่าวนี้ คือบาปอันใหญ่หลวง ณ ที่อัลลอฮฺ และเป็นที่น่ารังเกียจอย่างมากที่เขาได้อวยพรให้กับการดื่มสุรา และการฆ่าตัวเอง และการร่วมเพศที่หะรอม และอื่นๆจากมัน
และจำนวนมากมาย ของผู้ที่ไม่เอาใจใส่กับศาสนา พวกเขานั้นได้ทำสิ่งดังกล่าว และไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้นมันคือความเลวทราม ดังนั้น ใครที่ไปอวยพรนั้น คือ บ่าวที่ทำการฝ่าฝืน หรือ บิดอะฮฺ (อุตริกรรม)หรือ กุฟรฺ (การปฏิเสธ )
แน่นอนอัลลออฺจะทรงให้เขาได้รับรู้ถึงความเกลีดชังและความโกรธกริ้วของพระองค์ - จบคำพูดของ ท่านอิบนุกอยยิม รอหิมะฮุลลอฮฺ -

และการอวยพรแสดงความยินดีในวันรื่นเริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของกาเฟรนั้น หะรอม (เป็นที่ต้องห้าม) และมันจะถูกตอบแทนด้วยกับสิ่งที่ท่านอิบนุกอยยิมได้กล่าวไว้ เพราะว่ามันเป็นการยอมรับกับพิธีกรรมต่างๆของผู้ปฏิเสธ และพึงพอใจกับพวกเขา แท้จริงแล้วตัวของเขาต้องไม่พึงพอใจกับสิ่งที่เป็นการปฏิเสธ
หากแต่ว่ามัน เป็นที่ต้องห้ามบนมุสลิม ที่จะพึงพอใจกับพิธีกรรมต่างๆทีเป็นการปฏิเสธ หรือการอวยพร ด้วยกับสิ่งอื่นๆจากมัน เพราะว่า อัลลอฮฺตะอาลา ทรงไม่พึงพอใจกับสิ่งดังกล่าว ดังที่อัลลอฮฺตะอาลา ทรงตรัสไว้ว่า:
إِن تَكْفُرُوا فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنكُمْ وَلَا يَرْضَىٰ لِعِبَادِهِ الْكُفْرَ وَإِن تَشْكُرُوا يَرْضَهُ لَكُمْ
"หากพวกเจ้าปฏิเสธศรัทธา ดังนั้น แท้จริงอัลลอฮฺนั้น ทรงพอเพียงจากพวกเจ้าและจะไม่ทรงปิติยินดีต่อการเนรคุณของปวงบ่าวของพระองค์ และหากพวกเจ้ากตัญญู พระองค์ก็จะทรงปิติยินดีต่อพวกเจ้า "
(อัซ-ซุมัร :7)
และอัลลอฮฺตะอาลา ทรงตรัสไว้ว่า
(الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا) (المائدة:3)
ความว่า " วันนี้เราได้ให้ความสมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และเราได้ให้ครบถ้วนแล้วแก่พวกเจ้าซึ่งความกรุณา และเมตตาของเรา แก่พวกเจ้า และเราได้ยอมรับแล้วว่าอิสลามเป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้า "(อัลมาอิดะฮฺ:3)
และการที่ท่านได้อวยพรแสดงความยินดีกับพวกเขาด้วยกับสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ หะรอม ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานร่วมกันหรือไม่ก็ตาม
----------------------------------------------------
س: ما حكم تهنئة الكفار بعيد الكرسمس؛ لأنهم يعملون معنا؟ وكيف نرد عليهم إذا حيونا بها؟ وهل يجوز الذهاب إلى أماكن الحفلات التي يقيمونها بهذه المناسبة، وهل يأثم الإنسان إذا فعل شيئاً مما ذكر بغير قصد وإنما فعله إما مجاملة أو حياء أو إحراجاً أو غير ذلك من الأسباب، وهل يجوز التشبه بهم في ذلك ؟ أفتونا مأجورين.
جـ: تهنئة الكفار بعيد الكريسمس أو غيره من أعيادهم الدينية حرام بالاتفاق كما نقل ذلك ابن القيم رحمه الله في كتابه ( أحكام أهل الذمة ).
حيث قال: وأما التهنئة بشعائر الكفر المختصة به فحرام بالاتفاق مثل أن يهنئهم بأعيادهم وصومهم فيقول: عيد مبارك عليك أو تهنأ بهذا العيد ونحوه؛ فهذا إن سلم قائله من الكفر فهو من المحرمات وهو بمنزلة أن يهنئه بسجوده للصليب؛ بل ذلك أعظم إثماً عند الله وأشد مقتاً من التهنئة بشرب الخمر وقتل النفس وارتكاب الفرج الحرام ونحوه. وكثير ممن لا قدر للدين عنده يقع في ذلك ولا يدري قبح ما فعل، فمن هنأ عبداً بمعصية أو بدعة أو كفر؛ فقد تعرض لمقت الله وسخطه. انتهى كلامه رحمه الله.
وإنما كانت تهنئة الكفار بأعيادهم الدينية حراماً وبهذه المثابة التي ذكرها ابن القيم؛ لأن فيها إقراراً لما هم عليه من شعائر الكفر ورضى به لهم، وإن كان هو لا يرضى بهذا الكفر لنفسه، لكن يحرم على المسلم أن يرضى بشعائر الكفر أو يهنيء بها غيره؛ لأن الله تعالى لا يرضى بذلك كما قال الله تعالى: { إن تكفروا فإن الله غني عنكم ولا يرضى لعباده الكفر وإن تشكروا يرضه لكم } وقال تعالى: {اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام ديناً }. وتهنئتهم بذلك حرام سواء كانوا مشاركين للشخص في العمل أم لا.
العلامه محمد صالح العثيمين رحمه الله

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความเห็นต่าง เกี่ยวกับเสียงดนตรีและเครื่องดนตรีในอิสลาม 2


มูบีน ครับhttps://www.facebook.com/thvoiceofgen/posts/475079535977077:0
เสียงสมัย Voice of Gen.
ชัยคฺอัลบานีย์กับข้อเขียนเรื่อง บัญญัติอิสลามว่าด้วยการเล่นดนตรี (ตอน 1)
สรุปโดย อามีน ลอนา
หมวดหมู่ บทความพิเศษ
ผมได้หนังสือเล่มหนึ่งมาหลายปีแล้ว มีชื่อว่า تحريم آلات الطرب เป็นหนังสือที่ถูกประพันธ์โดยชัยคฺอัลบานีย์ ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อตอบโต้นักวิชาการอิควานสองท่านคือ ท่าน ดร.ฆอซาลีย์กับ ดร.เกาะเราะฎอวีย์ เนื่องจากนักวิชาการอิควาน 2 ท่านนี้โด่งดังในเรื่องการออกตัวสนับสนุนความคิดที่ว่า ดนตรีเป็นสิ่งที่อนุญาตในศาสนาอิสลาม!
แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ท่านชัยคฺอัลบานีย์เขียนขึ้นเพื่อพิสูจน์ว่าดนตรีเป็นสิ่งต้องห้าม ไอ้กระผมเองจริงๆก็ได้หนังสือนี้มานมนานแล้ว แต่ไม่ยักกะมีเวลาอ่าน(และส่วนตัวก็ไม่ค่อยอยากอ่านเพราะมีความหลังกับเรื่องดนตรีมาช้านาน อุ้ย!) วันนี้ไม่รู้คิดอะไร อยู่ดีๆก็เลยหยิบมาอ่านซะงั้น เลยคิดว่าจะมาขอแชร์สิ่งที่อ่านแบบสรุปลวกๆให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน เผื่อว่าจะสะกิดต่อมบ้าดนตรีของใครให้เกิดสำนึกขึ้นมาได้บ้าง
ขอเล่าแบบสรุปๆจากหน้าหนังสือที่ผมอยากเล่าแล้วกัน ไม่เรียงหน้านะครับ มีหะดีษของท่านนบีในหนังสือของอิมามบุคอรีย์ ระบุว่า นบีห้ามเล่นห้ามใช้เครื่องดนตรี
. من عبد الرحمن بن غنم قالا حدثني أبو عامر أو أبو مالك الأشعري رضي الله عنهم سمع النبي صلى الله عليه وسلم يقول { ليكونن من أمتي قوم يستحلون الحر والحرير والخمر والمعازف } هذا حديث صحيح أخرجه البخاري في صحيحه محتجا به
“ท่านอบูมาลิก อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า เขาได้ยินท่านนบีกล่าวว่า จะมีคนกลุ่มหนึ่งจากประชาชาตินี้ที่เปลี่ยนสิ่งต้องห้ามตามบัญญัติศาสนามาเป็นสิ่งอนุญาต นั่นคือไปอนุญาต การผิดประเวณี ผ้าไหม สุรายาเมา และดนตรี”
หะดีษนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าเครื่องดนตรีเป้นที่ต้องห้ามในอิสลาม ทว่าท่านอิบนุฮัซมิน นักวิชาการผู้โด่งดังของอาณาจักรมุสลิมสเปนได้วิพากษ์ว่าหะดีษบทนี้อ่อน ด้วยเหตุผลต่อไปนี้
1. หะดีษบทนี้ขาดตอนในเรื่องสายรายงานระหว่างอิมามบุคอรีย์ กับ ฮิชาม และยังขาดตอนระหว่างอิมามบุคอรีย์กับศุดเกาะฮฺบินคอลิด หะดีษนี้จึงเป็นหะดีษอ่อนมาก
2. ท่านอบูมาลิกอัลอัชอะรีย์ ผู้รายงานหะดีษนี้จากตัวท่านนบีเป้นบุคคลที่ไม่รู้สถานภาพความน่าเชื่อถือในเรื่องการรายงานหะดีษ
ชัยคฺอัลบานีย์กล่าวว่า คำวิจารณ์ผิดๆของอิบนุฮัซมินนี้ทำให้ ดร.ฆอซาลีย์และ ดร.เกาะเราะฎอวีย์ หูหนวกตาบอดตามอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่รู้ว่าเพราะความโง่ในวิชาหะดีษหรือเพราะอารมณ์ใฝ่ต่ำก็มิอาจทราบได้
ในเบื้องต้นชัยคฺอัลบานีย์ได้วิจารณ์ว่า คำกล่าวของท่านอิบนุฮัซมินที่ว่า และยังขาดตอนระหว่างอิมามบุคอรีย์กับศุดเกาะฮฺบินคอลิด นั้นไม่ถูกต้องเพราะอิมามบุคอรีย์ไม่ได้รายงานหะดีษนี้จากศุดเกาะฮฺบินคอลิดแต่อย่างใด แต่รายงานจากฮิชามบินอัมมาร เพื่อให้การโต้แย้งนี้ละเอียดกระจ่าง ชัยคฺอัลบานีย์จึงได้ยกคำวิจารณ์ของท่านอัลลามะฮฺ อิบนุลก็อยยิมมานำเสนอดังนี้
ท่านอิบนุลก็อยยิมไดวิจารณ์ว่าทัศนะของอิบนุฮัซมินในเรื่องนี้เป็นทัศนะที่มดเท็จ ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
หนึ่ง ท่านอิมามบุคอรีย์ในประวัติชีวิตจริง ท่านได้เจอท่านฮิชามบินอัมมารจริง (รายงานจึงไม่ขาดตอนตามที่อ้างกัน) ด้วยเหตุนี้ท่านอิมามบุคอรีย์จึงใช้สำนวนรายงานว่า ท่านฮิชามกล่าวว่า ซึ่งสำนวนนี้นักปราชญ์หะดีษได้เห็นตรงกันหมดว่า หมายถึง ท่านอิมามบุคอรีย์รับจากท่านฮิชามโดยตรง
สอง หากท่านอิมามบุคอรีย์ไม่ได้รับหะดีษจากฮิชามโดยตรง ท่านจะไม่ใช้สำนวนที่มั่นใจชัดเจนแบบนั้นแน่ ถ้าจะมีจริงๆคงในกรณีที่อิมามบุคอรีย์มั่นใจแล้วว่า ท่านฮิชามผู้เป็นอาจารย์ของตนเองได้รายงานหะดีษนั้นจริงๆจากการที่มีนักหะดีษร่วมสมัยรายงานเรื่องดังกล่าวจากอาจารย์ของท่านอย่างแพร่หลาย และแน่นอนในโลกมนุษย์นี้หากจะมีใครเป็นพวกมุดัลลิซีน(คือพวกที่รับรายงานจากคนโกหกแล้วมาปกปิดชื่อโดยอ้างข้ามการรายงานไปยังคนอื่นอีกที) อิมามบุคอรีย์คงเป็นคนสุดท้ายของมนุษย์โลกแล้วที่จะเป็นพวกแบบนั้น!
สาม อิมามบุคอรีย์รายงานหะดีษนี้ในหนังสือ เศาะฮีฮฺของท่าน ด้วยสำนวนมั่นใจชัดเจนแม้จะเป็นมุอัลลัก(ขาดตอน)ตามที่อ้างก็เถอะ แต่เป็นมุอัลลักแบบสำนวนที่ชัดเจน เพราะหากเป็นมุอัลลักประเภทไม่ชัดเจน ท่านจะใช้สำนวนอีกแบบว่า ถูกรายงานกันมาจากท่านนบี หรือ มีคนกล่าวว่า เป็นต้น แต่เมื่อท่านใช้สำนวนการรายงานแบบมั่นใจชัดเจนว่ามาจากนบี หะดีษนี้จึงเศาะฮีฮฺตามเงื่อนไขที่ท่านวางไว้เป็นกฏในการรวบรวมหะดีษในตำราของท่าน
สี่ สมมติหะดีษนี้ในบุคอรีย์อ่อนตามที่อ้างกัน ก็ยังมีหะดีษเศาะฮีฮฺกระแสอื่นๆมาสนับสนุนอีก หะดีษจากการรายงานของอิสมาอีลีย์ และท่านอิบนุศอละฮฺปราชญ์หะดีษผู้โด่งดังก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุกอดดิมะฮฺ หน้า 72 ว่ามีหะดีษกระแสอื่นที่ถูกต้องตามเงื่อนไขหะดีษเศาะฮีฮฺมาสนับสนุน
ห้า ท่านอิบนุหะญัร ปราชญ์หะดีษได้กล่าวว่า นักปราชญ์หะดีษจะทราบกันดีว่า หากตัวอิมามบุคอรีย์ได้รายงานหะดีษในลักษณะมุอัลลักมาด้วยสำนวนชัดเจน อันนี้รู้กันว่าจริงๆแล้วหะดีษนั้นเศาะฮีฮฺและมีสายรายงานต่อเนื่องจริงๆ จากตัวของอิมามบุคอรีย์กับตัวของคนที่ท่านรับรายงาน นักปราชญ์หะดีษกล่าวสรุปว่าที่อิมามบุคอรีย์ใช้ลักษณะมุอัลลักนั้น เพราะวงการหะดีษเป็นที่รู้กันแล้วว่าท่านรับหะดีษจากบุคคลผู้นั้นจริง มีการสืบเนื่องของรายงานจริง แต่ที่ท่านใช้สำนวนมุอัลลักเพราะต้องการให้เกิดความกระชับของการรายงานและหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำซากๆ ด้วยเหตุนี้ครูบาอาจารย์แห่งวงการหะดีษผู้สอนวิชาหะดีษแก่ท่านอิบนุหะยัรจึงได้เขียนวิเคราะห์เชิงลึกในหนังสือ علوم الحديث และ شرح الترمذي เพื่อปูพื้นฐานให้เข้าใจว่าอิมามบุคอรีย์รับหะดีษจากท่านฮิชามบินอัมมารจริงๆ
ประเด็นต่อมาที่อ้างว่า ท่านอบูมาลิกอัลอัชอะรีย์ ผู้รายงานหะดีษนี้จากตัวท่านนบีเป้นบุคคลที่ไม่รู้สถานภาพความน่าเชื่อถือในเรื่องการรายงานหะดีษ ถือเป็นการวิเคราะห์ที่คลาดเคลื่อน เพราะนักวิชาการผู้ชำนาญด้านประวัตินักรายงานหะดีษ อาทิ อิมามบุคอรีย์และอิบนุหะญัร ต่างบันทึกกันหมดว่า ท่านอบูมาลิกอัลอัชอะรีย์ เป็นเศาะฮาบะฮฺของท่านนบี จึงน่าเชื่อถือโดยปราศจากข้อสงสัย
ไว้มาต่อกัน ตอน 2
มูบีน ครับhttps://www.facebook.com/thvoiceofgen/photos/pb.394488244036207.-2207520000.1450976973./475319342619763/?type=3&theater
เสียงสมัย Voice of Gen.
ชัยคฺอัลบานีย์กับข้อเขียนเรื่อง บัญญัติอิสลามว่าด้วยการเล่นดนตรี (ตอน 2)
สรุปโดย อามีน ลอนา
หมวดหมู่ บทความพิเศษ
มีรายงานจากชาวสะลัฟที่บ่งชี้ถึงวิทยปัญญาของการห้ามเล่นดนตรีดังนี้ ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวว่า "การร้องรำทำเพลงจะช่วยให้การกลับกลอกเติบโตขึ้นในหัวใจ" รายงานนี้บันทึกโดยท่านอิบนุอบิดดุนยา ในหนังสือ ซัมมฺอัลมะลาฮีย์และในสุนันของท่านอัลบัยฮะกีย์
อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะตั้งข้อสงสัยกับสายรายงานของมันเพราะมันถูกรายงานมาว่า ท่านฮัมมาดรายงานจากอิบรอฮีม อันนะเคาะอีย์ กล่าวว่า ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวว่า
นักวิชาการร่วมสมัยหลายคนไปตั้งข้อสงสัยกับรายงานนี้ว่าไม่น่าจะถูกต้อง เพราะท่านอิบรอฮีม อันนะเคาะอีย์เกิดไม่ทันท่านอิบนุมัสอูด ผู้เป็นสาวก จึงทำให้สายรายงานนี้มุรซัล(ขาดตอน)ไป
ชัยคฺอัลบานีย์ได้ชี้แจงว่า รายงานกระแสนี้พอจะเชื่อถือได้ว่ามาจากท่านอิบนุมัสอูด เนื่องจากมีคำพูดของท่านอิบรอฮีมที่ระบุว่า หากท่านรายงานหะดีษโดยใช้สำนวนว่า ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวว่า ตรงนี้ท่านหมายถึงว่า ตัวท่านอิบรอฮีมรับรายงานกระแสนี้จากครูบาอาจารย์หะดีษของท่านหลายคนซึ่งรับมาจากท่านอิบนุมัสอูดอีกที
ตามประวัติแล้ว ท่านอิบรอฮีม อันนะเคาะอีย์ เป็นตาบิอีน(คนรุ่นที่ทันเศาะฮาบะฮฺ) ซึ่งรายงานหะดีษในระดับเศาะฮีฮฺ ท่านรายงานหะดีษจากครูหะดีษของท่านผู้เป็นลูกศิษย์ของบรรดาสาวกอีกทีหลายคน ทั้งครูของท่านที่มีสถานภาพเดียวกับท่านหรือครูของท่านที่อาวุโสกว่าท่าน ฉะนั้นรายงานของท่านอิบรอฮีมที่รับมาจากบรรดาครูหะดีษของท่านจึงสามารถจัดให้อยู่ในระดับที่เชื่อถือและมั่นใจได้ เนื่องจากรายงานที่ชาวสะลัฟได้รายงานจากอิบนุมัสอูดในเรื่องดังกล่าวมีมากมาย และคงเป็นไปไม่ไดที่บรรดาปราชญ์หะดีษตาบิอีนเหล่านั้นจะรวมหัวกันใส่ความเล่าเรื่องเท็จแก่ท่านอิบนุมัสอูด
ด้วยเหตุนี้เองบรรดาปราชญ์หะดีษหลายท่านจึงได้วางกฎว่าหะดีษมุรซัลที่ตาบิอีนอาวุโสรายงานมา สามารถเชื่อถือได้หากมีรายงานในเรื่องดังกล่าวปรากฏในหลายกระแส อาทิท่านอิบนุตัยมียะฮฺ และนักวิชาการหลายท่านจึงได้ให้สถานภาพเศาะฮีฮฺแก่หะดีษมุรซัลของท่านนะเคาะอีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านบัยฮะกีย์ที่ได้ให้เศาะฮีฮฺเป็นกรณีพิเศษหากท่านอันนะเคาะอีย์รายงานแบบมุรซัลไปยังอิบนุมัสอูด ดังปรากฏในหนังสือ มะรอซีล อัลลาอีย์ หน้า 168
มีการตำหนิสายรายงานในอีกจุดนึงคือ ผู้รายงานที่ชื่อ ฮัมมาด ซึ่งท่านอิบนุฮะญัรได้วิจารณ์ว่า “เศาะดู๊ก(ตามภาษาแปลว่าซื่อสัตย์ไม่โกหก-ผู้เขียน)แต่ทว่ามีการทำผิดพลาดในการรายงานหะดีษ”
บรรดานักวิชาการร่วมสมัยที่สนันนุนดนตรีหลายคนเลยอ้างว่าหะดีษนี้อ่อน เพราะไม่เข้าใจสำนวนการวิจารณ์ของอิบนุฮะญัร เพราะสำนวนการวิจารณ์เช่นนี้ของอิบนุฮะญัร หมายถึงผู้รายงานคนนี้ใช้เป็นหลักฐานได้(คือรับหะดีษจากเขาได้)หากไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าหะดีษบทดังกล่าวนั้นมีข้อตำหนิในเรื่องตัวบทที่สามารถชี้ว่ารายงานมาแบบผิดพลาดหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเขาได้รายงานตัวบทหะดีษมาโดยไปขัดกับผู้รายงานที่น่าเชื่อถือกว่า ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีรายงานในเรื่องดนตรีจากผู้รายงานที่น่าเชื่อถือกว่ามาแย้งรายงานของท่านฮัมมาดแต่อย่างใด ฉะนั้นการให้เฎาะอีฟของนักวิชาการร่วมสมัยจึงถือว่าเป็นกระทำที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย!
Sarin Kesphanich ชัยคอัลบานีย์ ประดุจแสงสว่างที่สะท้อนจากดาบเมื่อมันถูกชักออกมา
เขียนข้อความตอบกลับ...
Asan Madadam มูบีน ครับ ฉะนั้นการให้เฎาะอีฟของนักวิชาการร่วมสมัยจึงถือว่าเป็นกระทำที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย!>>>>>>>>>หรือครับ ท่อนนี้ผุ้เขียนพูดเองหรือว่า แปลมาจากคพูดอุลามาอฺครับ
Sarin Kesphanich อ. เชื่อว่า ฏออีฟ หรือครับ
Asan Madadam ผมมองว่า เขาประมวลหลายๆหะดิษ มาสรุปเป็นหุกุม มากกว่า มันเป็นความเข้าใจของปราชญ์ในมุมหนึ่ง วึ่งผมเห็นว่าในทางโลกมันไม่คับแคบ และดนตรีมันคือสิ่งที่ให้ความบรรเทิงมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพียงแต่อยู่ในขอบเขตที่ไม่เลยเถิด ผมเห็นด้วย ส่วนใครจะคิดต่างผมไม่ได้ไปตำหนิ ผมมีจุดยืนของผมแบบนี้ ใครจะมาบังคับผมไม่ได้






Sarin Kesphanich ดูครับ และผมเชื่อว่าฮะรอมครับ มีดนตรี มีเอาเราะฮ์
Asan Madadam ครับ ผมก็ว่า เห็นคนเปิดเอาเราะฮ มันก้หะรอม แต่ผมจะดูข่าว นี่ครับ มันก็หนีไม่พ้น เพราะฉะน้น การหะรอมมันมีสิ่งอื่นมาประกอบ
Sarin Kesphanich ดนตรีก็ฮะรอมครับ
Asan Madadam จะเอามาประกวดสักเท่าไหร่มันก็เป็นประเด็นที่เห็นต่าง หลักฐานไม่เด็ดขาด مفتى الجمهورية يوضح حكم الاستماع إلى المعازف
มุฟตี อัลญุมฮูรียะฮ(อียิปต์ ชี้แจงหุกุมเกี่ยวกับการฟังเครื่องดนตรี
قال الدكتور شوقى علام، مفتى الجمهورية، إن الاستماع إلى المعازف أو استخ...ดูเพิ่มเติม

SI UD อัลฮัมดุลิลลาฮ์ จากความเห็นของอาจารย์ทั้งสองท่านที่ดิฉันติดตามอ่านเกี่ยวกับเสียงดนตรีและเครื่องดนตรี สรุปว่า อาจารย์ปราโมทย์ฯ เห็นว่าไม่เป็นที่อนุญาต และไม่พบอุละมาอ์สลัฟที่กล่าวอนุญาตเครื่องดนตรีเลย (หากเข้าใจผิดอาจารย์ทักท่วงด้วยค่ะ)
สำหรับอาจารย์อะสันฯ เห็นว่าเป็นที่อนุญาตหากไม่มีสิ่งหะรอมมาเกี่ยวข้อง

ซึ่งทัศนะที่ไม่อนุญาต ยกเว้นบางกรณีที่ระบุไว้ในหะดิษ เช่น ช่วงแต่งงาน วันอีด ตอนสงคราม เป็นต้น

ส่วนทัศนะอนุญาต ได้นำหลักฐานจากหะดิษต่างๆ ที่ฝ่ายไม่อนุญาตนำเป็นข้อยกเว้น อย่างอุลามาอ์ร่วมสมัยชัยคกอรฏอวีย ซัลมานอัลเอาะฮ ซึ่งท่านอนุญาตให้แสดงภาพยนต์ด้วย

สำหรับดิฉัน ในอดีตเคยหมุกมุ่นกับเสียงดนตรี นักร้อง จนรู้สึกคล้อยตาม และห่างเหินศาสนา แต่เมื่อได้ศึกษาศาสนา เลยละทิ้งมัน และฟังแต่อัลกุรอาน ไม่ว่าในบ้าน หรือในรถ จะไม่มีการเปิดเสียงเพลง เว้นเปิดทีวีแล้วเจอ และเลื่อนไปช่องอื่น ทำให้รู้สึกว่าสบายใจขึ้นเยอะ
ดิฉันเห็นมุสลิมปัจจุบันหลายคนหมกมุ่นกับสิ่งเหล่านี้จนเกินไป อย่างตอนไปทัศนะศึกษา ฉันกลับเคลียดกับมัน เมื่อเห็นสภาพมุสลิมที่เปิดเพลงร้องคาราโอเกะตลอดทาง โดยเฉพาะมุสลีมะฮ์ คลุมผ้าเรียบร้อย แต่กลับร้องเพลงเต้นระบำกันอย่างลืมผ้าบนหัว เมื่อหยุดละหมาดเสร็จก็ขึ้นมาเต้นกันต่อ ยิ่งตอนกลางคืนก็มีไฟแว็บเหมือนคลับ ฉันรับกับสภาพเช่นนี้ไม่ได้ค่ะ
สรุปแล้ว แม้ว่าเสียงดนตรี และเครื่องดนตรี จะเป็นที่อนุญาตหรือไม่ ดิฉันก็จะไม่หมกมุนกับมัน และจะหลีกห่างมันให้มากที่สุดค่ะ

Sarin Kesphanich Asan Madadam เชคกัลบานีย์มีความน่าเชื่อถือในการออกฟัตวาขนาดไหนครับ ผมเคยอ่านเจอว่า

Shaikh Saleh Allihaidan
Shaikh Abdul Aziz Al Fouzan
Dr Mohammad Al Hamoud Al Najdi

เตือนเชคกัลบานีย์อยู่นะครับ
Shaikh Abdul Aziz Al Fouzan กล่าวไว้ว่า "Al Kalbani has made himself a mufti without any Islamic knowledge or piety"

Asan Madadam อิหม่ามอัชเชากานีย์กล่าวว่า
وَحَكَى الرُّويَانِيُّ عَنْ الْقَفَّالِ أَنَّ مَذْهَبَ مَالِكِ بْنِ أَنَسٍ إبَاحَةُ الْغِنَاءِ بِالْمَعَازِفِ . وَحَكَى الْأُسْتَاذُ أَبُو مَنْصُورٍ وَالْفُورَانِيُّ عَنْ مَالِكٍ جَوَازَ الْعُودِ . وَذَكَرَ أَبُو طَالِبٍ الْمَكِّيُّ فِي قُوتِ الْقُلُوبِ عَنْ شُعْبَةَ أَنَّهُ سَمِعَ طُنْبُورًا فِي بَيْتِ الْمِنْهَالِ بْنِ عَمْرٍو الْمُحَدِّثِ الْمَشْهُورِ . وَحَكَى أَبُو الْفَضْلِ بْنُ طَاهِرٍ فِي مُؤَلَّفِهِ فِي السَّمَاعِ أَنَّهُ لَا خِلَافَ بَيْنَ أَهْلِ الْمَدِينَةِ فِي إبَاحَةِ الْعُودِ
อัรรูยานีย์ ได้รายงานมาจาก อัลกอ็ฟฟาล ว่าแท้จริง มัซฮับมาลิก บิน อานัส นั้น อนุญาตให้ร้องเพลง ด้วยบรรดาเรื่องดนตรี และอัลอุสตาซ อบูมันศูร และอัลเฟารอนีย์ ได้รายงานมาจากมาลิก ว่าอนุญาต ให้เล่นพิณได้ และอบูฏอลิบ อัลมักกีย์ ได้ระบุใน “กูติลกุลูบ” จากชุอฺบะฮว่า แท้จริง เขาได้ฟัง กลองเล็ก ในบ้านของอัลมินฮาล บิน อัมริน นักหะดิษททีมืชื่อเสียง และ อบูอัลฟัฎลฺ บิน กอฮีร ในข้อเขียนของเขา ในเรื่องการฟังว่า แท้จริง ไม่มีการเห็นขัดแย้ง ระหว่งชาวมะดีนะฮ ในการอนุญาต (ฟังเสียง)พิณ – ดูนัลลุลเอาฏอร 8/114 เรือง เครื่องดนตรี
Sarin Kesphanich ครับ เสียงพิณ เป็นเสียงดนตรีไหมครับ

Sarin Kesphanich ปราโมทย์ ศรีอุทัย อ.ปราโมทย์ครับ รบกวนเช็คสายรายงานนี้หน่อยครับ ดูเหมือนว่าเราจะเจออุลามาอ์สะลัฟ ที่เป็นถึงอิหม่ามใน 4 ท่าน บอกว่าดนตรีอนุญาต
SI UD

เขียนข้อความตอบกลับ...
มูบีน ครับ โต๊ะครูใส่โตบไว้เครา ดีดกีตาร์ ทุเรศไปไหมครับ
Asan Madadam นี่คือ อัลอูดالْعُودِ ใหนบอกว่าอนุญาตเฉพาะดุฟ ทัศนะที่อนุญาตดนตรีโดยมีเงื่อนไข มันเป็นทัศนะพวกอิควานหรือ พวกอุลามาอฟิตนะอหรือ
Asan Madadam มูบีน ครับ โต๊ะครูใส่โตบไว้เครา ดีดกีตาร์ ทุเรศไปไหมครับ ...โต๊ีะครที่ใหนบ้าถึงขนาดตั้งวงดนตรีครับ คำว่ากาละเทสะ และความเหมาะสมต้องคำนึ่งไมใช่หรือครับ การตัดสินว่าหะรอมโดยสิ้นเชิง มันไม่ง่ายไปหรือ
Sarin Kesphanich ถ้ามันฮะลาลจะกลัวอะไรครับ ไม่เข้าใจ
SI UD
เขียนข้อความตอบกลับ...
Asan Madadam ผมไม่เคยเล่นดนตรี ไม่บ้าจี้ เข้าชมคอนเสิรต หรอก เพียงแต่วา ผมเชื่อว่าศาสนาต้องสอดคล้องกับธรรมชาติมนุษย์ ในทางโลก มันเปิดกว้าง จะหุกุมอะไรว่าหะรอม ต้องระวัง
Asan Madadam อย่าเที่ยวเอาอารมณ์มาคุยกับผม
Asan Madadam ผมชี้แจงแค่นี้ ไม่อยากเสียเวลาอีก
Asan Madadam Sarin Kesphanich ถ้ามันฮะลาลจะกลัวอะไรครับ ไม่เข้าใจ>>>>มันเป็นสิทธิของผม และคำว่าอนุยาต มีเงือนไขอย่างไร ก็ได้นำฟัตวามาเสนอแล้ว และ เมื่ออนุยาตใช่ว่าจะต้องชอบ ต้องทำ ถามแบบนี้มันเป็นการยัดเยียดใช้อารมณ์
Asan Madadam ผมได้ลิงค์ตำราฝ่ายที่อนุญาตโดยมีเงื่อนไข และฝ่ายที่ไม่อนุญาตให้แล้วทั้งสองฝ่าย โหลดไปอ่านกัน ไม่ต้องรบกวนอ.ปราโมทย์ และผมเองก็ไม่ได้ฟุมฟายว่าจะเอาชนะในเรื่องนี้ เพียงแต่ บอกเห็นด้วยตามหลักการที่ชัยค์กอรฎอวีย์ และท่านอื่นๆได้กำหนดหลักเกณไว้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องทางโลก ไม่ใช่หลักการเกี่ยวกับอิบาดะฮ การหุกุมว่าหะรอม แบบไม่มีข้อยกเว้นนั้น ควรระวัง
Sarin Kesphanich อ.ปราโมทย์บอกในคอมเม้นแรกว่าไม่เจอ อุลามาอ์สะลัฟเลยที่ว่าดนตรีอนุญาต ผมก็เลยอยากให้ อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย ช่วยตรวจสอบไงครับ อ. Asan Madadam ถ้ามันจริงตาม อ.ว่า
SI UD
เขียนข้อความตอบกลับ...
Asan Madadam ครับนี่คำตอบของ อ.ปราโมทย
Sarin Kesphanich ก็ถ้ามีแล้วมันจริง อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย จะได้เจอไงครับ
SI UD
เขียนข้อความตอบกลับ...
Ibnu Mohamed Zikir Binsontoyo อาจารย์ช่วยถอดความให้เป็นภาษาไทยให้หน่อยได้ไหมครับ
Asan Madadam ฟะตาวาบรรดาปราชณ์อวุุโสจากชาวสะลัฟและบรรดาปราชณ์ร่วมสมัยในการอนญาตดนตรีและการร้องเพลงพร้อมกับระบุที่มา
Asan Madadam ผมคงไม่มีเวลาแปลแต่ลิงต์ให้อ่าน. ใครจะยอมรับหรือไม่ยอมรับเป็นสิทธืของเขา. เช่น หนังชึวประวัตินบีมุหัมหมัด. มีดนตรี ผมใช้เป็นสื่อประกอบการสอน. ส่วนคนที่ยืนกระตายขาเดียวว่าหะรอม. ก็ให้เขาตัดสินไปเป็นสิทธิเขา. ผมคงไม่หัวฟัดหัวเวี่ยงตีโพยตีพายให้ประสาทเสีย