อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จำนวนที่ถือว่าเป็นญะมาอะฮฺละหมาดวันศุกร์

วันศุกร์
จำนวนผู้ละหมาดที่จะถือเป็นละหมาดวันศุกร์

ทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับจำนวนของผู้ละหมาดวันศุกร์ ถือว่าละหมาดวันศุกร์(ญุมอัต)ใช่ไม่ได้ หากไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้

1) ทัศนะที่ว่า ต้องมีผู้ละหมาด จำนวน 4 คนขึ้นไป รวมถึงอิหม่ามด้วย เป็นทัศนะของอบูฮะนีฟะฮ์ (ฮะนาฟีย์)

2) ทัศนะที่ว่า ต้องมีผู้ละหมาด จำนวน 12 คนขึ้นไป นอกจากอิหม่าม เป็นทัศนะของอิหม่ามมาลิก

3) ทัศนะที่ว่า ต้องมีผู้ละหมาดที่เป็นชาย จำนวน 40 คนขึ้นไป  เป็นทัศนะของอิหม่ามชาฟีอี และอะฮฺมัด

#####################
จากหนังสือฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่ม 1 หน้า 531-532 , 534-535
อัซซัยยิด ซาบิก ไคโร แปลโดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ

จำนวนที่ถือว่าเป็นละหมาดวันศุกร์(ญุมอัต)

ไม่มีการขัดแย้งกันระหว่างนักวิชาการว่า การละหมาดรวมกัน (ญะมาอะฮฺ) นั้นถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งจากบรรดาเงื่อนไขที่ถือว่าการละหมาดวันศุกร์ใช้ได้

เพราะหะดิษที่รายงานโดยฏฮริก อิบนิ ชิหาบ ว่า "แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "........."
ความว่า 
"การละหมาดวันศุกร์นั้นเป็นหน้าที่ ที่จำเป็นแก่มุสลิมทุกคนโดยละหมาดรวมกัน"

            พวกเขามีความเห็นไม่ตรงกันในจำนวนที่ถือว่า ละหมาดวันศุกร์ใช้ได้ถึง 15 ทัศนะ ด้วยกัน ซึ่งอัลฮาฟิซ ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟัตฮุ้ลบารี แต่ทัศนะมีน้ำหนักที่สุดก็คือ การละหมาดวันศุกร์นั้น จะใช้ได้อย่างน้อยด้วยการละหมาดรวมกัน 2 คน หรือมากกว่านั้น 

เพราะท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "......."
ความว่า
"สองและเกินกว่าสองคนขึ้นไปถือว่าเป็นญะมาอะฮฺแล้ว"
           อัชเชากานี ได้กล่าวว่า "การละหมาดทั่วๆไปก็คือว่า ใช้ได้เป็นญะมาอะฮฺด้วยกับการละหมาดร่วมกัน 2 คน ทั้งนี้เป็นมติของนักวิชาการ การละหมาดวันศุกร์นั้นเป็นการละหมาดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่มีข้อชี้ขาด โดยเฉพาะที่จะแตกต่างกว่าละหมาดอื่นๆ นอกจากต้องมีหลักฐาน แต่ปรากฏว่าไม่มีหลักฐานระบุถึงจำนวนผู้ที่มาร่วมละหมาดเกินกว่าที่ได้ถูกพิจารณาไว้ในละหมาดอื่นๆ

            อับดุลฮัก ได้กล่าวว่า ไม่มีหะดิษสักบทหนึ่งที่ระบุถึงจำนวนที่ละหมาดวันศุกร์ใช้ได้เลย

             อัสสุยูฏี ได้กล่าวว่า ไม่มีหลักฐานอันใดจากบรรดาหะดิษที่เจาะจงถึงจำนวนที่แน่นอนเลย
ผู้มีความเห็นเช่นเดียวกันนี้ก็มี อัฏฏ็อบรี ดาวูด อันนะค่ออี และอิบนุฮัชมิน


 .....คนหนึ่งบอกว่า ละหมาดวันศุกร์จะใช้ไม่ได้นอกจากต้องมี 3 คน รวมทั้งอิหม่าม
-บางคนบอกว่า ต้องมี 4 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 7 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 9 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 12 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 20 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 30 คน
-บางคนบอกว่า จะไม่ถือว่าเป็นละหมาดวันศุกร์นอกจากต้องมี 40 คน
-บางคนบอกว่า ต้องมี 50 คน
-บางคนบอกว่า จะไม่ถือว่าเป็นละหมาดวันศุกร์นอกจากต้องมี 70 คน
-บางคนบอกว่า อยู่ในระหว่างนั้น
-บางคนบอกว่า ต้องมีคนเป็นจำนวนมากโดยไม่จำกัด...

...ทัศนะต่างๆ เช่นนี้ ไม่มีพื้นฐานความรู้ และไม่พบในคัมภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ประการใ แม้พยัญชนะเดียวตามที่พวกเขาอ้างเป็นเงื่อนไขว่าละหมาดใช้ได้ หรือเป็นฟัรฎู หรือเป็นรู่ก่น มันเป็นเรื่องที่ประหลาดสิ้นดีที่พวกเขาแสดงทัศนะเช่นนั้นออกมา เอาความคิดที่ไร้สาระมาตั้งเป็นเงื่อนไข กฏเกณฑ์ ซึ่งไม่มีอยู่ในตัวบทแม้แต่น้อย ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของท่านรสูล ย่อมทราบเป็นอย่างดี เมื่อทราบเป็นอย่างดีแล้วย่อมจะมีความมั่นคงไม่โยกเยกหันเหออกไปจากหนทางที่เที่ยงตรงไปสู่คำพุดอย่างนั้นอย่างนี้ ฉะนั้นผู้ใดนำเอาทัศนะที่ผิดๆมา ความผิดนั้นก็จะต้องกลับไปหาเขา ไปรัดคอเขาเอง ข้อชี้ขาดระหว่างมนุษย์ก็คือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ......

###############

หมายเหตุ

-ทัศนะของอิหม่ามชาฟีอี และอะฮฺมัด ถือว่าละหมาดวันศุกร์ใช้ไม่ได้ นอกจากต้องมีผู้ละหมาดที่เป็นผู้ชาย 40 คน โดยอ้างหลักฐานจากหะดิษดังนี้

รายงานจากอับดุรเราะฮฺมาน บุตรกะอฺบ บุตรมาลิก ปรากฏว่าเขา (อับดุรเราะฮฺมาน) เป็นคนจูงบิดาของเขาหลังจากตาบอด ได้กล่าวว่า "......"
ความว่า
 "เมื่อบิดาของข้าพเจ้าได้ยินเสียงอาซานในวันศุกร์จะกล่าวว่า "ขออัลลอฮฺได้โปรดเมตตาแก่อัสอัด บุตรซูรอเราะฮฺ" ข้าพเจ้าจึงได้ถามเขาถึงการกระทำดังกล่าว ท่านได้ตอบว่า "เพราะเขาเป็นบุคคลแรกที่ได้ระดมพวกเราไปรวมกันในลาน น่าบีต (เป็นชื่อของอัมร บุตรมาลิก) จากพื้นที่ที่มีหินสีดำของตระกูล บ้ายาเดาะฮฺ ในบึงแห่งหนึ่งที่เรียกว่า บึงค่อดิมาต" ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า "ในวันนั้นพวกท่านมีกี่คน" ท่านตอบว่า "40 คน"(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ..บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด และอิบนุฮิบบาน ไบฮากี , ฮากิม )
 หะดิษข้างต้น เป็นเพียงคำถามว่า ในวันนั้นมีการละหมาดกันกี่คนเท่านั้น มิใช่ เป็นหะดิษที่กำหนด ว่า การละหมาดวันศุกร์ต้องมีผู้มาละหมาด 40 คน จึงจะถือว่าละหมาดวันศุกร์นั้นใช้ได้แต่ประการใด


-ทัศนะของอบูฮะนีฟะฮฺ ถือว่า ละหมาดวันศุกร์ถือว่าใช้ได้ เมื่อมีผู้ละหมาดจำนวน 4 คน ถึงแม้จะนับรวมอิหม่ามด้วย โดยอ้างหลักฐานจาหะดิษตอบรอนีว่า "......"
ความว่า
"ละหมาดวันศุกร์เป็นหน้าที่ที่จำเป็นเหนือตำบลทุกตำบลที่มีอิหม่าม ถึงแม้จะไม่มีใครเลยนอกจาก 4 คนก็ตาม"

 หะดิษข้างต้น เป็นการกล่าวว่าจำเป็น(วาญิบ)ต่อตำบลหนึ่งที่มีอิหม่าม ที่จะต้องละหมาดวันศุกร์ ถึงแม้จะมีแค่ 4 คน  มิใช่ เป็นหะดิษที่กำหนด ว่า การละหมาดวันศุกร์ต้องมีผู้มาละหมาด 4 คน จึงจะถือว่าละหมาดวันศุกร์นั้นใช้ได้แต่ประการใด


-ทัศนะของอิหม่ามมาลิก ถือว่า จำนวนที่ละหมาดวันศุกร์จะใช้ได้ คือ มีผู้ละหมาด 12 คน นอกจากอิหม่าม โดยอ้างหลักฐานจากหะดิษที่ว่า "......"
ความว่า
"ประชาชนพากันละทิ้งมัสยิดในขณะที่ท่านนบีกำลังอ่านคุตบะฮฺ ไม่มีผู้คนเหลืออยู่ในมัสยิดนอกจากคนเพียง 12 คน"


 หะดิษข้างต้น เป็นเพียงระบุว่าขณะที่ท่านนบีกำลังอ่านคุตบะฮฺ อยู่ในมัสยิด ประชาชนได้ออกไปจากมัสยิด เหลือเพียง 12 คน เท่านั้น  มิใช่ เป็นหะดิษที่กำหนด ว่า การละหมาดวันศุกร์ต้องมีผู้มาละหมาด 12 คน จึงจะถือว่าละหมาดวันศุกร์นั้นใช้ได้แต่ประการใด

สรุป ว่าไม่มีหะดิษสักบทเดียวที่ระบุถึงจำนวนผู้ที่ละหมาดวันศุกร์ใช้ได้ แต่ประการใด แต่มีหะดิษที่กล่าวถึงการละหมาดทั่วๆไป ว่าหากมีผู้ละหมาดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นญามาอะฮแล้ว


 والسلام 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น