ไม่มีสุนนะฮฺละหมาดก่อนละหมาดวันศุกร์หลังอาซาน |
เชคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวว่า "....."
ความว่า
"สหหรับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านไม่เคยละหมาดสุนนะฮฺก่อนละหมาดวันศุกร์หลังอะซานเลย และไม่มีใครรายงานในเรื่องดังกล่าวไว้สักคน แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น ในสมัยของท่านจะอะซานก็ต่อเมื่อท่านได้ขึ้นไปนั่งบนมิมบัรแล้ว บิลาลจึงอะซาน เสร็จแล้วท่านนบี ก็กล่าวคุฏบะฮฺ 2 คุฏบะฮฺ หลังจากนั้นบิลาลก็อิกอมะฮฺ ท่านก็นำผู้คนละหมาด ท่านจึงไม่สามารถที่จะละหมาดหลังอะซานได้ ไม่ว่าจะเป็นท่าน และมุสลิมคนใดที่ละหมาดรวมกับท่าน และไม่มีรายงานมาสักรายงานเลยว่า ท่านละหมาดที่บ้านก่อนออกไปละหมาดวันศุกร์ และไม่มีเวลาที่จะกล่าวว่า มีการสมมุติละหมาดขึ้นก่อนวันศุกร์ แต่คำพูดของท่านนบี มีการส่งเสริมให้ละหมาด เมื่อคนหนึ่งเข้ามัสยิดในวันศุกร์ โดยไม่ใช่เป็นช่วงเวลาละหมาด แต่เป็นละหมาดสุนนะฮฺทั่วๆไป เช่น
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า "....."
ความว่า
“บุคคลใดที่อาบน้ำ (เหมือนการอาบน้ำญะนาบะฮฺ) ในวันศุกร์จากนั้นเขาก็มาละหมาดวันศุกร์ แล้วเขาก็ละหมาดในสิ่งที่ถูกกำหนดไว้สำหรับเขา (หมายถึงการละหมาดสุนนะฮฺที่ไม่เจาะจงก่อนละหมาดวันศุกร์) จากนั้นเขาก็นิ่งฟัง (คุฏบะฮฺ) จนกระทั่งอิมามคุฏบะฮฺเสร็จ เขาก็ละหมาด (วันศุกร์) พร้อมกับอิมาม (การกระทำของเขาข้างต้น) ทำให้เขาถูกอภัยโทษในระหว่างศุกร์นี้ถึงศุกร์หน้าและเพิ่มอีกสามวัน (รวมเป็นสิบวันพอดี)” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1418)
ซึงเป็นรายงานจากบรรดาศ่อฮะบะฮฺ โดยที่พวกเขานั้น เมื่อพวกเขามามัสยิดในวันศุกร์ พวกเขาจะละหมาด ตั้งแต่พวกเขาเข้ามาตามที่เขาสะดวก
บางท่านละหมาด 8 ร็อกอะฮฺ
บางท่านละหมาด 10 ร็อกอะฮฺ
บางท่านละหมาด 12 ร็อกอะฮฺ
บางท่านละหมาดน้อยกว่านั้น
ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่านักวิชาการส่วนใหญ่จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ละหมาดสุนนะฮฺที่ระบุเวลาไว้มีจำนวนร็อกอะฮฺที่แน่นอนจึงไม่มี เพราะดังกล่าวนั้นมันจะต้องปรากฏจากคำพูดหรือการกระทำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ไม่มีสุนนะฮฺในเรื่องดังกล่าวแต่ประการใด ไม่ว่าจะเป็นทั้งคำพูดและการกระทำ
อนึ่ง ขณะที่อิมาม หรือเคาะฏีบกำลังคุฏบะฮฺอยู่นั้น ศาสนาอนุญาตให้ผู้ที่เข้าในมัสยิดละหมาดตะหิยะตุลมัสญิดได้ แต่พยายามละหมาดให้กระชับ
ท่านนบีมุหัมมัดกล่าวไว้ว่า"......."
ความว่า
“เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านมาละหมาดในวันศุกร์ขณะที่อิมาม (หรือเคาะฏีบ) กำลังคุฏบะฮฺ ดังนั้นเขาจงรุกูอฺสองร็อกอะฮฺ (คือละหมาดตะหิยะตุลมัสญิดสองร็อกอะฮฺ) โดยละหมาดสองร็อกอะฮฺให้กระชับ” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1449)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น