อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไม กลุ่ม สะลาฟียฺ ถึงชอบโต้เถียง ?



ตอบคำถามโดย
ชัยเคาะฮฺ อุมมฺ อับดุลลอฮฺ อัล-มิซาวียฺ
[ปล.ในรูปเป็นเพียงภาพประกอบมิใช่ตัวจริง ของชัยเคาะฮฺ]



.............
คำถาม:ทำไม กลุ่ม สะลาฟียฺ ชอบโต้เถียง ในประเด็นปัญหาต่างๆ ?

คำตอบ: มวลการสรรเสริญ เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

มันเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ต้องออกมาตอบโต้ความเท็จ เพื่อปกป้องคำสอนบริสุทธิ์ของอิสลาม และซุนนะฮฺของท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศอลฯ ดังนั้น มันไม่ใช่การโต้เพื่อเพื่อตอบสนองอารมณ์ใคร่ หรือ เป็นเพราะว่าชื่นชอบในการโต้แย้ง แต่ที่ต้องโต้แย้งเพราะมันคือหน้าที่ ที่เราจะต้องชักชวนสู่ความดี และห้ามปราบความชั่ว(ซึ่งสองหน้าที่นี้มิได้แยกออกจากกัน หรือ ต้องเลือกทำเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง)

ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การโต้แย้ง หรือ การดีเบท แต่อยู่ที่ความรู้และวิธีการ ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอที่จะไปหักล้างความเท็จ อาจจะเกิดผลเสียได้ และถ้าใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น ดะวะฮฺ คนสมัยนี้ ที่เชื่อในวิทยาศาสตร์มากกว่า ด้วยกับวิธีที่ทำให้พวกเขามองว่าศาสนานั้นงมงาย (หรือ ไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อของตนได้ แบบเป็นเหตุเป็นผล หรือ เชิงประจักษ์) และต้องอยากลืมเรื่องของมารยาท แม้ว่าวันนี้ท่านอาจจะทำได้ไม่ดีนัก แต่ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จะต้องหยุดนำเสนอโดยสิ้นเชิง เพียงแค่ปรับเปลี่ยนมันให้ดีขึ้น และต้องอดทน ทั้งจากกาฟิร และจากมุสลิมด้วยกันเอง และบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ เพราะนีั้คือเงื่อนไขสำคัญของการที่อัลลอฮฺจะตอบรับทุกการงาน

นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เวลาทั้งหมดไปกับการโต้แย้ง และควรใช้เวลาให้เหมาะสม แบ่งเวลาเพื่อการ อิบาดะฮฺ และคนที่ท่านต้องให้สิทธิแก่พวกเขา(เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก) อย่างพอเหมาะ
.............
ประเด็นปัญหาต่อมาที่ควรตระหนัก ก็คือ ทำไมความเท็จถึงมีมากมายเหลือเกินในสังคม ส่วนหนึ่ง ก็เพราะการที่บรรดามุสลิมเรานั้นละเรยต่อการลบล้างความเท็จต่างๆ มุ่งมั่นอยู่กับการนำพาตัวของตัวเองให้ลอยตัวเหนือปัญหา จน"ชุบฮาต"ได้กระจายไปทั่ว และได้ทำตัวให้กลมกลืนกับ "ชุบฮาต" เหล่านั้น ทั้งๆที่มาตราฐานของศาสนานี้ได้มีมาแล้ว แต่หลายคนก็เลือกที่จะนิ่งเฉย หรือ อยู่ร่วมกับมัน(ชุบฮาต)อย่างสันติ

บ้านใดที่สกปรกย่อมไม่น่าอยู่ และคนที่อยู่ก็น่าตำหนิ
บ้านใดที่น่าอยู่ย่อมไม่สกปรก และคนที่อยู่ก็น่าชืนชม

และกับศาสนาของเรา ? ท่านคิดว่ายังไง ?
อยากให้สกปรก หรือ อยากให้สะอาดหมดจด ?


................................................
Mustafa Khan Al Kanchanaburi






การยึดมั่นด้วยกับสิ่งที่อยู่บนบรรดาศอฮาบะฮฺและการปฏิบัติตามพวกเขา









ถึงตรงนี้หลังจากได้สืบสายรายงานไปถึง ท่านอิมามอะหฺมัด รอหิมะฮุลลอฮฺ ท่านได้กล่าวว่า:
( หลักพื้นฐานของสุนนะฮฺ ณ ที่เรา นั้น คือ:การยึดมั่นด้วยกับสิ่งที่อยู่บนบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ อลัยฮิวัศศอลาตุวัสลาม)

ดังนั้นสิ่งที่อยู่บนบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ คือ เครื่องชี้วัด สำหรับผู้อยู่บนสัจธรรม ซึ่งพวกเขาได้ยึดมั่น ด้วย หลักพื้นฐานนี้ คือสิ่งที่อยู่บน ท่านรอซูล และ บรรดาศอฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติของท่าน, และท่านรอซูลุลลอฮฺและบรรดาศอฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติและบรรดาคอลีฟะฮฺ อัรรอชิดูน มิได้กระทำสิ่งใด นอกเสียจาก เขาได้อยู่บน ทางนำ และการชี้นำ บนคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และ บน สุนนะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ ใน เรื่องอะกีดะฮฺ และการทำอิบาดะฮฺ และเรื่องการใช้ชีวิตทั่วไป และการดำเนิน กิจการงานต่างๆของพวกเขา ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอะกีดะฮฺ,ดังนั้นอิมาม อะหฺมัด รอหิมะฮุลลอฮฺ จึงได้ชี้แนะ ไปยัง หลักพื้นฐานอันยิ่งใหญ่นี้ และนี่คือกฎที่ครอบคลุมซึ่งมันนั้นไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอิสลามที่หนีออกไปจากมัน และเรื่องที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ เรื่องอะกีดะฮฺ

และที่ท่านอิมามอะฮฺมัดได้กล่าวว่า( หลักพื้นฐานของสุนนะฮฺ ณ ที่เรา นั้น คือ:การยึดมั่นด้วยกับสิ่งที่อยู่บนบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม)
คือความแตกต่างกับพวกบิดอะฮฺ พวกเขานั้นได้ปฏิบัติตามอารมณ์ของพวกเขา และมุ่งไปยังการใช้สติปัญญาของพวกเขาแบบผิดพลาดเสียหาย หรือ ที่พวกเขาได้กล่าวอ้างกัน แท้จริงพวกเขานั้นมุ่งไปยังการอยู่บน หลักภาษาอาหรับ หรืออื่นๆของมัน จากการเปรียบเทียบต่างๆที่เป็นความผิดพลาดเสียหาย
ส่วนท่านอิมามอะหฺมัดและผู้ที่เป็นสะลัฟมาก่อนหน้าเขาจากบรรดาศอฮาบะฮฺ และบรรดาตาบิอีน และ บรรดาอิมามของอิสลาม แท้จริงพวกเขานั้นได้ยึดถือด้วยกับ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และสุนนะฮฺของท่านรอซูลลุลลอฮฺ อลัยฮิวัศศลาตุวัสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบเขตของเรื่องอะกีดะฮฺ พวกเขาจะไม่ออกไปจากสิ่งดังกล่าว- อินชาอัลลอฮฺ –และในสิ่งดังกล่าวนั้นคือทางนำอันเที่ยงตรง
และท่านอิมามอะฮฺมัดได้กล่าวว่า(และการดำเนินตามด้วยกับพวกเขา)
คือ การดำเนินตามด้วยกับบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านนบีย์มุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และพวกเขาคือ แบบฉบับและแบบอย่างที่ดีงาม และ มันเป็นการชี้แจงถึงหะดีษ ที่ว่า

فَعَليْكُمْ بسُنَّتِي وسُنَّةِ الخُلَفاءِ الرَّاشِدِينَ المَهْدِيِيِّنَ عَضُّوا عَلَيْهَا بالنَّواجِذِ، وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأُمُورِ

“ดังนั้นจำเป็นสำหรับพวกท่านจะต้องยึดมั่นต่อซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของบรรดาคูลาฟาฮฺอัรรอชีดีน(คอลีฟะห์ที่ได้รับการชี้นำอยู่ในทางนำที่ถูกต้อง) พวกท่านจงกัดมัน ด้วยกับฟันกราม และพวกท่านพึงระวัง จากการกระทำขึ้นมาใหม่ของกิจการงาน (ที่ถูกอุตริขึ้นมาในศาสนา)”
และเช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือ หะดีษของกลุ่มชนที่รอดพ้น ที่ท่านรอซูลได้บอกไว้ว่า

هده الأمةستفترق على ثلاث وسبعين فرقة كلها في النار إلاَّ واحدة
قالوا:من هي؟ قال: ماأناعليه واصحابي

“ประชาชาตินี้จะแตกออกเป็น73จำพวก ทุกๆจำพวกนั้นอยู่ในขุมนรก ยกเว้นจำพวกเดียวเท่านั้น”พวกเขาได้ถามว่า “คือผู้ใดเล่า? ท่านนบีย์ได้ตอบว่า”คือผู้ที่อยู่บนการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของฉันและบรรดาศอฮาบะฮฺของฉัน “
หลังจากนั้นท่านนบีย์ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกันในหะดีษอีกบทนึงว่า:

تركتكم على البيضاء ، ليلها كنهارها ، لا يزيغ عنها بعدي إلا هالك

“ฉันได้ทิ้งคำชี้นำที่ชัดเจนแก่พวกท่านแล้ว กลางคืนของมันนั้นเหมือนกลางวัน จะไม่มีใครหันเหออกไปจากมันนอกจากว่าเขานั้นเป็นผู้ที่หายนะ”
ดังนั้น บรรดาศอฮาบะฮฺ พวกท่านจงยึดมั่นด้วยกับเขา และพวกท่านจะไม่พบว่าในพวกเขานั้น เป็นผู้ที่หายนะ อินชาอัลลอฮฺ และบางคนที่หันเหออกไปหลังจากพวกเขา ,หมายถึง ในยุคสมัยอื่นของศอฮาบะฮฺ และสิ่งดังกล่าวนั้นคือในกลางยุคสมัยของบรรดาตาบิอีน หลังจากนั้น การทำบิดอะฮฺได้แพร่กระจาย และได้เริ่มมีการเกิดขึ้นของ กลุ่มคอวาริญจ์ และ ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺ สุดโต่ง ในตอนปลายของท่านคอลีฟะฮฺ อะลีย์ รอฏิยัลลอฮุอันฮุ ดังนั้นท่านจึงได้ส่ง ท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ไปยังพวกเขา เพื่ออภิปรายโต้แย้งพวกเขา,หลังจากสิ่งดังกล่าว พวกเขาได้ชักดาบขึ้นบน บรรดามุสลิม และเข่นฆ่าพวกเขา
ดังสิ่งที่ ท่านรอซูลลุลลอฮฺ อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม ได้สั่งใช้ด้วยกับสิ่งดังกล่าว และได้มีการลงมติกันบนสิ่งดังกล่าวในสมัยของท่าน จากบรรดาศอฮาบะฮฺ ไม่มีแม้ซักคนนึงที่ขัดแย้งกันในสิ่งดังกล่าว และไม่มีการขัดแย้งกันในสิ่งดังกล่าวสองศตวรรษ,เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า การปฏิบัติตามบรรดาศอฮาบะฮฺ ในมันนั้นคือการรอดพ้นปลอดภัย , มันคือ เรือที่รอดพ้นปลอดภัย เพราะว่าพวกเขานั้น คือผู้เป็นพยานในการลงวะฮีย์ และได้รับการถ่ายทอดความเข้าใจของอัลกุรอานและสุนนะฮฺ และ การรับรองเห็นชอบสิ่งดังกล่าว จากท่านรอซูลลุลลอฮฺ อลัยฮิวัศศอลาตุวัสลาม ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นแบบฉบับที่ดีงาม และสำหรับสิ่งนี้ ท่านนบีย์ อลัยฮิศศอลาตุวัสลาม จึงกล่าวว่า:
ماأناعليه واصحابي
”ผู้ที่อยู่บนการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของฉันและบรรดาศอฮาบะฮฺของฉัน “
และได้กล่าวว่า:
فَعَليْكُمْ بسُنَّتِي وسُنَّةِ الخُلَفاءِ الرَّاشِدِينَ المَهْدِيِيِّنَ
“จำเป็นสำหรับพวกท่านจะต้องยึดมั่นต่อซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของบรรดาคอลีฟะฮฺอัรรอชีดีนผู้ได้รับทางนำ”.



---------------------------------------------------------
ตำรา ชัรหฺ อุศูลุสสุนนะฮฺ ของ อิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล
โดย เชค รอบิอฺ บินฮาดีย์ อัล-มัดคอลีย์ หะฟิซอฮุลลอฮฺ หน้า 4-5


....................
Alif Taopalee



ละหมาดตะรอเวียะฮ์ คือชนิดหนึ่งของการละหมาดกิยามุลลัยล์



การละหมาดตะรอเวียะฮฺ ถือเป็นการละหมาดกิยามุลลัยล์
ไม่ว่าจะละหมาดช่วงหัวค่ำ หรือช่วงท้ายของกลางคืนก็ตาม
 ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่า การละหมาดทั้งสองนั้นแตกต่างกัน
 และไม่มีเงื่อนไขว่าเมื่อละหมาดกิยามุลลัย์ในรอมาฎอนแล้ว จำเป็นต้องละหมาดเป็นประจำนอกรอมาฎอนด้วย



الله أعلم بالصواب

.....................................................................
ตอบโดยเชคสุลัยมาน อับดุลลอฮ์ อัลมาญิด


ละหมาดวิตร์ก็ถือว่าเขาได้ละหมาดกิยามุลลัยล์




ละหมาดวิตร์ถือเป็นละหมาดอย่างหนึ่งที่เรียกว่ากิยามุลลัยล์
เพราะเวลาของกิยามุลลัยล์ เริ่มจากหลังละหมาดอิชาอ์ จนถึงละหมาดศุบฮฺ
 ดังนั้นที่ผู้ละหมาดวิตร์หลังละหมาดอิชาอ์ ก็ถือว่าเขาได้ละหมาดกิยามุลลัยล์

และกิยามุลลัยล์ที่ดีที่สุดก็คือ การละหมาดตะฮัจญุด โดยที่ผูละหมาดจะนอนหลับแต่หัวค่ำ และตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อทำการละหมาด


الله أعلم بالصواب


.....................................................................
ตอบโดยเชคสุลัยมาน อับดุลลอฮ์ อัลมาญิด



วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สูเจ้าทั้งสอง



"ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะอ้อนวอนขอสิ่งที่จำเป็นต่อพระองค์ พระองค์ทรงอยู่ในความอลังการทุกขณะ
ดังนั้น ความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลของสูเจ้าอันใดเล่าที่สูเจ้าทั้งสองปฏิเสธ" (กุรอาน 55 : 29 - 30)

นักอรรถาธิบายอัลกุรฺอานส่วนใหญ่กล่าวว่า คำว่า "เจ้าทั้งสอง" หมายถึงมนุษย์และญิน .. อันเป็นที่เข้าใจมาจากคำว่า ِالأنام ในอายะฮ์ที่ 10 ที่แปลว่า "สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย" .. ซึ่งมนุษย์และญินถือว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่โดดเด่นเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกนี้ จึงถูกพระองค์อัลลอฮ์เน้นด้วยคำว่า "เจ้าทั้งสอง" ดังที่ปรากฏในซูเราะฮ์นี้อีกหลายอายะฮ์

ถือศีลอด อย่าทิ้งละหมาด



ถือศีลอดแล้วทิ้งละหมาด ก็เหมือนบ้านที่มุงหลังคา แต่ไม่มีเสาของบ้าน !!
"จะศรัทธาคัมภีร์เพียงบางส่วน และปฏิเสธเป็นบางส่วน กระนั้นหรือ"

ตารอเวีย คือ ผลบุญมหาศาลที่มุมินฮ์ต่างขวนขวาย และเช่นเดียวกัน ละหมาด 5 เวลา คือ เสาหลักของศาสนา

ทำไมละหมาด 5 เวลา เราทำไม่ได้ แต่ตารอเวีย 20 รอกาอัต เราถึงทำได้ เราให้ความสำคัญกับเสาของบ้านน้อยไปหรือปล่าว

สุดท้ายอยากให้รอมาฏอนนี้ เป็นเดือนที่มุมินฮ์ทั้งหลายประสบความสำเร็จ

#อินชาอัลลอฮ์

................
Nat SC


คุณค่าของตะรอเวี๊ยะฮ (ฮะดีษปลอม)



عن علي بن ابي طالب
رضي الله تعالى عنه أنه قال : ” سئل النبي عليه الصلاة والسلام عن فضائل التراويح فى شهر رمضان فقال
يخرج المؤمن ذنبه فى اول ليلة كيوم ولدته أمه
وفى الليلة الثانية يغفر له وللأبوية ان كانا مؤمنين
وفى الليلة الثالثة ينادى ملك من تحت العرش؛ استأنف العمل غفر الله ماتقدم من ذنبك
وفى الليلة الرابعة له من الاجر مثل قراءة التوراه والانجيل والزابور والفرقان
وفى الليلة الخامسة أعطاه الله تعالى مثل من صلى في المسجد الحرام ومسجد المدينة والمسجد الاقصى
وفى الليلة السادسة اعطاه الله تعالى ثواب من طاف بالبيت المعمور ويستغفر له كل حجر ومدر
وفى الليلة السابعة فكأنما أدرك موسى عليه السلام ونصره على فرعون وهامان
وفى الليلة الثامنة أعطاه الله تعالى ما أعطى ابراهيم عليه السلام
وفى الليلة التاسعة فكأنما عبد الله تعالى عبادة النبى عليه الصلاة والسلام
وفى الليلة العاشرة يرزقة الله تعالى خير الدنيا والآخرة
وفى الليلة الحادية عشر يخرج من الدنيا كيوم ولد من بطن أمه
وفى الليلة الثانية عشر جاء يوم القيامة ووجهه كالقمر ليلة البدر
وفى الليلة الثالثة عشر جاء يوم القيامة آمنا من كل سوء
وفى الليلة الرابعة عشر جاءت الملائكة يشهدون له أنه قد صلى التراويح فلا يحاسبه الله يوم القيامة
وفى الليلة الخامسة عشر تصلى عليه الملائكة وحملة العرش والكرسى
وفى الليلة السادسة عشر كتب الله له براءة النجاة من النار وبراءة الدخول فى الجنة
وفى الليلة السابعة عشر يعطى مثل ثواب الأنبياء
وفى الليلة الثامنة عشر نادى الملك ياعبدالله أن رضى عنك وعن والديك
وفى الليلة التاسعة عشر يرفع الله درجاته فى الفردوس
وفى الليلة العشرين يعطى ثواب الشهداء والصالحين
وفى الليلة الحادية والعشرين بنى الله له بيتا فى الجنة من النور
وفى الليلة الثانية والعشرين جاء يوم القيامة آمنا من كل غم وهم
وفى الليلة الثالثة والعشرين بنى الله له مدينة فى الجنة
وفى الليلة الرابعة والعشرين كان له اربعه وعشرون دعوة مستجابة
وفى الليلة الخامسة والعشرين يرفع الله تعالى عنه عذاب القبر
وفى الليلة السادسة والعشرين يرفع الله له ثوابه أربعين عاما
وفى الليلة السابعة والعشرين جاز يوم القيامة على السراط كالبرق الخاطف
وفى الليلة الثامنة والعشرين يرفع الله له ألف درجة فى الجنة
وفى الليلة التاسعة والعشرين اعطاه الله ثواب الف حجة مقبولة
وفى الليلة الثلاثين يقول الله : ياعبدى كل من ثمار الجنة واغتسل من مياه السلسبيل واشرب من الكوثرأنا ربك وأنت عبدى”
-------------------------------------------------
ผลบุญของการละหมาดตะรอเวี๊ยะในเดือนรอมฎอน คืนที่ 1-30
อ้างจากหนังสือดุรเราะตุนนาศีหีน อ้างถึงรายงานจากท่านอลีเราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า
คืนที่ 1 ผู้ละหมาดจะไม่มีบาปเหมือนกับตอนที่เขาถูกคลอดจากท้องมารดาใหม่ๆ
คืนที่ 2 อัลเลาะห์อภัยโทษแก่เขาและบิดาของเขาหากเขาทั้งสองเป็นผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์
คืนที่ 3 มาลาอีกะจะประกาศใต้อารัชว่าเจ้าจงเริ่มทำความดีเถิดเพราะความชั่วทั้งหลายถูกลบล้างออกไปหมดแล้วเจ้าจงใช้ชีวิตให้สวยงามต่อไป
คืนที่ 4 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับคนที่อ่านคัมภีร์เตารอต อินยีล ซาบูรและอัลกรุอาน
คืนที่ 5 ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ได้ไปละหมาดทีมัสยิดหะรอม มัสยิดนาบาวีมัสยิดอัลอักซอ
คืนที่ 6 ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ไปทำเตาวาฟ ณ บัลตุลมะมุร (กิบลัตของมาลาอีกะตรงกับบัยตุลเลาะ)หินและของมีค่าทั้งหมดในโลกนี้จะขออภัยให้แก่เขา
คืนที่ 7 ได้ผลบุญเหมือนกับเขาได้เกิดในสมัยที่ท่านนาบีมูซาสงครามกับฟิรอูนและฮามาน
คืนที่ 8 จะได้รับผลบุญเหมือนกับอัลเลาะห์ได้ประทานแก่นาบีอิบฮีม (อ.)
คืนที่ 9 บุญที่ได้รับจะเท่ากับบุญการอีบาดะของนาบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)
คืนที่ 10 อัลเลาะห์จะทรงบันดาลให้พบแต่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้า
คืนที่ 11 หากพวกเขาสิ้นชีวิตในคืนนี้ เขาก็เหมือนกับทากรที่ถูกคลอดใหม่ๆ
คืนที่ 12 เขาจะเกิดมาในวันกียามะด้วยใบหน้าที่ดุจดั่งจันทร์เพ็ญ
คืนที่ 13 เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในวันกียามะ
คืนที่ 14 ในวันกียามะมาลาอีกะจะเป็นพยานยืนเคียงข้างเขา
คืนที่ 15 มาลาอีกะตลอดจนมาลักที่แบกอารัชต่างๆจะอวยพรให้แก่เขา
คืนที่ 16 เขาจะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ปลอดภัยจากนรก
คืนที่ 17 เขาจะได้บุญเท่ากับผลบุญบรรดานาบีรวมกัน
คืนที่ 18 มาลาอีกะจะประกาศชื่อของเขาว่า แน่แท้พระองค์อัลเลาะห์ทรงอภัยในตัวเขาและบิดามารดาของเขา
คืนที่ 19 อัลเลาะห์จะยกฐานะอันสูงส่งในชั้นฟิรเดาส์
คืนที่ 20 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ตายชาฮีด
คืนที่ 21 อัลเลาะห์จะสร้างบ้านหลังหนึ่งที่เต็มไปด้วยรัศมีให้แก่เขา
คืนที่ 22 เขาจะไปปรากฏตัวในวันกียามะโดยปราศจากความทุกข์
คืนที่ 23 อัลเลาะห์ได้เตรียมเมืองไว้สำหรับให้เขาครอบครอง
คืนที่ 24 อัลเลาะห์เปิดโอกาสรับดุอายี ่สิบสี่ประการ
คืนที่ 25 อัลเลาะห์ทรงยกโทษในกุโบร์ให้แก่เขา
คืนที่ 26 อัลเลาะห์ทรงยกผลบุญเท่ากับทำอีบาดะสี่สิบปี
คืนที่ 27 เขาจะเดินผ่านสะพานซีร็อตดุจฟ้าแลบ
คืนที่ 28 อัลเลาะห์ทรงยกฐานะให้เขาหนึ่งพันชั้น
คืนที่ 29 อัลเลาะห์ทรงประทานผลบุญให้เท่ากับประกอบพิธีฮัจย์หนึ่งพั นครั้ง
คืนที่ 30 อัลเลาะห์ทรงกล่าวว่า " โอ้บ่าวของฉันจงมารับประทานผลไม้ในสวรรค์และจงอาบน้ำซัลซาบีล (ซึ่งเป็นน้ำทิพย์ในสวรรค์)จงดื่มน้ำอัลเกาซัรซึ่งเราเป็นเจ้าของ เจ้าเป็นบ่าวของเรา เจ้าได้ปฏิบัติ
หน้าที่ของเจ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว
---------------------------------------------------
สถานะฮะดีษ
فتاوى اللجنة الدائمة:
وهذا الحديث من الأحاديث المكذوبة على رسول الله صلى الله عليه وسلم، ولا يخفى ما فيه من علامات الوضع التي بينها أهل العلم في محلها، ولذلك لا يجوز للمسلم أن يذكره إلا على سبيل بيان أنه مكذوب على النبي صلى الله عليه وسلم.
ฟัตวา ลัจนะฮ อัดดาอิมะฮ
ฮะดีษบทนี้เป็นฮะดีษหนึ่งที่ได้ทำการโกหกให้ท่านร่อซูลซอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ,, และอย่าได้ปกปิดสิ่งที่อยุ่ในฮะดีษบทนี้ในสิ่งที่เป็นลักษณะของการโมเมซึ่งที่บรรดานักวิชาการได้อธิบายถึงสถานะของมันเอาไว้แล้ว และด้วยกับเหตุดังกล่าวไม่อนุญาตให้บรรดามุสลิมเอาฮะดีษบทนี้มาใช้หรือมากล่าวถึง ถ้า หากจะเอามาพูดถึงก้ให้พูดถึงใจแง่ของการอธิบายและตักเตือนว่าฮะดีษบทนี้เป็นการโกหกให้นบีี.....
# เมาดั๊วะ


สภาวะการณ์ที่ถูกหนดจากพระผู้เป็นเจ้า




สภาวะการณ์ที่ถูกหนดจากพระผู้เป็นเจ้า หรือกอฎอกอดัร นั้นเป็นระเบียบกฎเกณฑ์แห่งสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วทั้งจักรวาล ไม่ว่าสรรพสิ่งที่ถูกสร้างนั้นจะมีอนุภาคที่เล็กสุด อย่างอะตอมปรมาณูควาร์กไปจนถึงโครงสร้างทีใหญ่ที่สุด อย่างเช่นหมอกธาตุ ดาราจักร ไปจนถึงจักรวาล

ซึ่งหากจักรวาลดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะไร้สาระ หรือไรเบียบกฎเกณฑ์ มันก็จะคงวุ่นวายมาก ดวงจันทร์คงโคจรไปไหนต่อไหนตามยถากรรม โลกนี้ไม่มีน้ำขึ้นน้ำลง กระทบระบบนิเวศวิทยาและสิ่งมีชีวิตในทะเล โลกไม่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในวิถีโครจรอย่างที่เป็นอยู่ หากโลกนี้โคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ใกล้กว่าที่เป็นอยู่ หรือโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์ไกลกว่าที่กำลังเป็นอยู่ ย่อมส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะโลกจะร้อนเกินไปจนเดือด หรือเย็นจนเกินไปจนเป็นน้ำแข็ง สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ก็ไม่สามารถดำรงชีพอาศัยอยู่ได้

ดาราจักรทั้งหลายดวงดาวคงปลิวว่อนไม่เป็นระเบียบ ชนกันสะเปะสะปะไปหมด ไม่สามารถคงสภาพของดาราจักรเอาไว้ได้ หากการโคจรของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสในอะตอม ไม่เสถียรหรือไม่เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ อย่างที่เป็นอยู่ ย่อมไม่สามารถรวมกันเป็นอะตอมได้ เมื่อไม่มีอะตอมก็ไม่มีวัตถุสิ่งของต่างๆอันเกิดจากการรวมตัวเรียงตัวกันของโครงสร้างระดับจุลภาพอย่างอะตอม ก็จะไม่มีโลก ภูเขาแสงแดด สายลม ดวงดาว ดาราจักร หรือสิ่งมีชีวิตได้

แต่ที่สรรพสิ่งทั้งหลายยังคงอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ได้นั้น ก็เพราะสภาวะการณ์ที่ถูกหนดจากพระผู้เป็นเจ้านั้นเอง

الله أعلم بالصواب


อัลกุรอาน กล่าวถึงหลังคาเป็นดังเกราะป้องกัน



THE PROTECTED ROOF

พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนให้เราตระหนักถึงลักษณะที่น่าสนใจยิ่งของท้องฟ้า ไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ:

“ และเราได้ทำให้ชั้นฟ้าเป็นหลังคา ถูกรักษาไว้ไม่ให้หล่นลงมา
และพวกเขาก็ยังหันหลังให้สัญญาณต่างๆของมัน ”
(อัลกุรอาน 21:32)

ลักษณะดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20
บรรยากาศที่ล้อมรอบโลกนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต สะเก็ดดาวทั้งเล็กและใหญ่จะถูกทำลายขณะที่เข้ามาใกล้พื้นโลก เป็นการป้องกันมิให้ตกสู่พื้นโลกและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
นอกจากนี้ ชั้นบรรยากาศยังกรองรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเอาไว้ด้วย ที่น่าสนใจก็คือจะมีเพียงรังสีที่ไม่เป็นอันตรายและมีประโยชน์เท่านั้นที่ผ่านมายังโลกเรา นั่นคือ แสงที่สามารถมองเห็นได้  รังสีใกล้อัลตร้าไวโอเลตและคลื่นวิทยุ  ซึ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต รังสีใกล้อัลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะผ่านชั้นบรรยากาศลงมาบางส่วน ใช้สำหรับการสังเคราะห์แสงของพืช และการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ส่วนรังสีอัลตร้าไวโอเลตเข้มข้นจากแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะถูกกรองโดยชั้นโอโซน มีเฉพาะบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้นที่มาถึงผิวโลก
หน้าที่ในการป้องกันโลกยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ชั้นบรรยากาศยังป้องกันโลกจากความหนาวเย็นของอวกาศที่มีอุณหภูมิถึง -270 องศาเซลเซียส อีกด้วย
ภาพสะเก็ดดาวที่พุ่งมายังโลก เป็นวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศและอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อโลก แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งอย่างลงตัว ได้ทรงสร้างชั้นบรรยากาศมาเป็นหลังคาปกป้องโลก ทำให้สะเก็ดดาวต่างๆกลายเป็นเศษเล็กเศษน้อยในชั้นบรรยากาศ ก่อนที่จะตกลงมาถึงโลก
ผู้คนส่วนมากที่มองท้องฟ้ามักไม่ได้นึกถึงความสำคัญของชั้นบรรยากาศในการปกป้องโลก เราแทบไม่ทันคิดกันเลยว่าโลกจะเป็นอย่างไรถ้าปราศจากระบบป้องกันเช่นนี้ ภาพนี้เป็นภาพหลุมยักษ์อันเกิดจากสะเก็ดดาวที่ตกลงมายังเมืองอริโซนา สหรัฐอเมริกา หากไม่มีชั้นบรรยากาศ สะเก็ดดาวจำนวนนับล้านคงจะตกมายังโลก ซึ่งจะทำให้ไม่เหลือสิ่งมีชีวิตอยู่บนโลกอีกต่อไป ชั้นบรรยากาศซึ่งทำหน้าที่ปกป้องโลกจึงช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปลอดภัย นี่คือการที่พระผู้เป็นเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองมนุษย์ นับเป็นความมหัศจรรย์ที่ประกาศไว้ในอัลกุรอานโดยแท้

พลังเผาผลาญที่ปะทุจากดวงอาทิตย์ มีความรุนแรงมากเกินกว่าที่มนุษย์จะประมาณได้ การปะทุเพียงครั้งเดียวเท่ากับ แรงระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาถึงหนึ่งแสนล้านลูก แต่โลกนี้ก็ได้รับการปกป้องจากชั้นบรรยากาศ  
เหนือจากชั้นบรรยากาศของโลกขึ้นไป จะเป็นอากาศที่หนาวจัด โลกได้รับการปกป้องจากชั้นบรรยากาศให้พ้นจากความหนาวจัดที่มีอุณหภูมิถึง - 270 องศาเซลเซียส
ชั้นบรรยากาศแมกเนโตสเฟียร์ เกิดจากสนามแม่เหล็กโลกซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันโลกจากรังสีคอสมิกและจากวัตถุต่างๆในอวกาศ  ภาพนี้แสดงชั้นบรรยากาศแมกเนโตสเฟียร์ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่า “แนวแวนอัลเลน” แนวเหล่านี้อยู่เหนือโลกขึ้นไปถึง 1,000 กิโลเมตร ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตในโลกจากอันตรายต่างๆในอวกาศ ซึ่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า เป็นการปกป้องที่ได้ผล สิ่งที่สำคัญก็คือ การปกป้องดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน 1,400 ปีมาแล้วในอายะฮ์ที่ว่า “เราได้ทำให้ชั้นฟ้าเป็นหลังคาที่ปกป้องและคุ้มครอง

ชั้นบรรยากาศจะปล่อยให้แสงที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตผ่านมายังพื้นโลกเท่านั้น ดังตัวอย่างของรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่สามารถผ่านลงมายังโลกเพียงบางส่วน เฉพาะที่จำเป็นในการสังเคราะห์แสงของพืช และในการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต




ไม่เพียงแต่ชั้นบรรยากาศเท่านั้นที่ปกป้องโลกจากสิ่งอันตรายต่างๆ ยังมีชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า แนวแวนอัลเลน (Van Allen Belt ) ซึ่งเกิดจากสนามแม่เหล็กของโลก ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอนุภาคกัมมันตรังสีจากดวงอาทิตย์และดาวอื่นๆ  หากไม่มีแนวแวนอัลเลน พลังงานที่เกิดจากการปะทุบนดวงอาทิตย์ (พลังงานโซล่าร์) มีความรุนแรงจนสามารถทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ ดังคำกล่าวของ ดร. ฮิวจ์ รอสส์ (Dr. Hugh Ross) ดังนี้
“ในความเป็นจริงแล้ว โลกเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในระบบสุริยจักรวาล แกนโลกซึ่งประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลนี้ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ก่อให้เกิดแนวแวนอัลเลน ซึ่งเป็นเกราะป้องกันมิให้รังสีต่างๆพุ่งตรงเข้ามา หากปราศจากเกราะกำบังนี้ สิ่งมีชีวิตต่างๆก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในโลก ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์อีกเพียงดวงเดียวที่มีสนามแม่เหล็ก แต่ก็มีพลังน้อยกว่าโลกถึง 100 เท่า แม้แต่ดาวศุกร์ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับโลก ก็ยังไม่มีสนามแม่เหล็ก แนวแวนอัลเลนจึงนับว่าออกแบบมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะโลกเราจริงๆ” 1
พลังโซล่าร์จากดวงอาทิตย์ที่เพิ่งตรวจพบเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อเทียบกับแรงระเบิดปรมาณู ที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาก็จะเท่ากับ 1 แสนล้านลูก หลังจากการปะทุ 58 ชั่วโมงจะสังเกตได้ว่าเข็มทิศชี้ต่างไปจากเดิม และที่ 250 กิโลเมตรเหนือชั้นบรรยากาศของโลก อุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 2500 องศาเซลเซียส
กล่าวโดยสรุปว่า ระบบที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวมาแล้วนั้นช่วยปกป้องโลกและป้องกันอันตรายจากนอกโลกนั้น นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะเรียนรู้ไม่นานมานี้เอง แต่พระผู้เป็นเจ้าได้บอกแก่เราในอัลกุรอานมาหลายศตวรรษแล้ว





อายะฮฺอัลกุรอานที่กล่าวถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆในจักรวาล


พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

وَمِنْ آيَاتِهِ اللَّيْلُ وَالنَّهَارُ وَالشَّمْسُ وَالْقَمَرُ لَا تَسْجُدُوا لِلشَّمْسِ وَلَا لِلْقَمَرِ وَاسْجُدُوا لِلَّهِ الَّذِي خَلَقَهُنَّ إِن كُنتُمْ إِيَّاهُ تَعْبُدُونَ ( 37 )

"และส่วนหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ การมีกลางคืน และ กลางวัน และดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ พวกเจ้าอย่าได้สุญูด แต่อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างพวกมัน หากพวกเจ้าจะเคารพภักดีแด่พระองค์เท่านั้น" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺฟุศศิลัต 41:37)


تَبَارَكَ الَّذِي جَعَلَ فِي السَّمَاءِ بُرُوجًا وَجَعَلَ فِيهَا سِرَاجًا وَقَمَرًا مُّنِيرًا ( 61 )

"ความจำเริญยิ่งแด่พระผู้ทรงทำให้ชั้นฟ้ามีหมู่ดวงดาว และได้ทรงทำให้มีตะเกียง ในนั้น และดวงจันทร์มีแสงนวล" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน 25:61)


هُوَ الَّذِي جَعَلَ الشَّمْسَ ضِيَاءً وَالْقَمَرَ نُورًا وَقَدَّرَهُ مَنَازِلَ لِتَعْلَمُوا عَدَدَ السِّنِينَ وَالْحِسَابَ مَا خَلَقَ اللَّهُ ذَٰلِكَ إِلَّا بِالْحَقِّ يُفَصِّلُ الْآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ ( 5 )

"พระองค์ทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้าและดวงจันทร์มีแสงนวล และทรงกำหนดให้มันมีทางโคจร เพื่อพวกท่านจะได้รู้จำนวนปีและการคำนวณ อัลลอฮฺมิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้น เว้นแต่ด้วยความจริง พระองค์ทรงจำแนกสัญญาณต่าง ๆ สำหรับหมู่ชนที่มีความรู้" (อัลกุนอาน สูเราะฮฺยูนุส 10:5)


أَلَمْ تَرَوْا كَيْفَ خَلَقَ اللَّهُ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ طِبَاقًا ( 15 )

"พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ อย่างไร ?"

وَجَعَلَ الْقَمَرَ فِيهِنَّ نُورًا وَجَعَلَ الشَّمْسَ سِرَاجًا ( 16 )

"และทรงทำให้ดวงจันทร์ในชั้นฟ้าเหล่านั้นมีแสงสว่าง และทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้า"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺนูหฺ 71:15-16)

(ดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างจากตัวเอง
وَالشَّمْسُ تَجْرِي لِمُسْتَقَرٍّ لَّهَا ذَٰلِكَ تَقْدِيرُ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ ( 38 )

"และดวงอาทิตย์โคจรตามวิถีของมัน นั่นคือ การกำหนดของพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้"

وَالْقَمَرَ قَدَّرْنَاهُ مَنَازِلَ حَتَّىٰ عَادَ كَالْعُرْجُونِ الْقَدِيمِ ( 39 )

"และดวงจันทร์นั้น เราได้กำหนดให้มันโคจรตามตำแหน่ง จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นเช่นกิ่งอินทผลัมแห้ง"

لَا الشَّمْسُ يَنبَغِي لَهَا أَن تُدْرِكَ الْقَمَرَ وَلَا اللَّيْلُ سَابِقُ النَّهَارِ وَكُلٌّ فِي فَلَكٍ يَسْبَحُونَ ( 40 )

"ดวงอาทิตย์ก็ไม่สมควร (อนุมัติ) แก่มันที่จะไล่ตามใกล้ดวงจันทร์ และกลางคืนก็จะไม่ล้ำหน้ากลางวัน และทั้งหมดนั้นจะเวียนว่ายอยู่ในจักรราศี"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺยาสีน 36: 38-39)


فَلَا أُقْسِمُ بِمَوَاقِعِ النُّجُومِ ( 75 )

"ข้า (อัลลอฮ.) ขอสาบานด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ของดวงดาว"

وَإِنَّهُ لَقَسَمٌ لَّوْ تَعْلَمُونَ عَظِيمٌ ( 76 )

"และแท้จริงมันเป็นการสาบานอันยิ่งใหญ่ หากพวกเจ้ารู้"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-วากิอะฮฺ 56:75-76)

الشَّمْسُ وَالْقَمَرُ بِحُسْبَانٍ ( 5 )

"ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรตามวิถีที่แน่นอน"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัร-เราะห์มาน 55:5)


فَالِقُ الْإِصْبَاحِ وَجَعَلَ اللَّيْلَ سَكَنًا وَالشَّمْسَ وَالْقَمَرَ حُسْبَانًا ذَٰلِكَ تَقْدِيرُ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ ( 96 )

"ผู้ทรงเผยอรุโณทัย และทรงให้กลางคืนเป็นเวลาพักผ่อน และทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นการคำนวณ นั่นคือการกำหนดให้มีขึ้นของผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6:96)


وَسَخَّرَ لَكُمُ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ دَائِبَيْنِ وَسَخَّرَ لَكُمُ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ ( 33 )

"และพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า โดยโคจรเป็นปกติ และทรงให้กลางคืนและกลางวันเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อิบรอฮีม14: 33)






โลกมีสัณฐานกลม



THE ROUNDNESS OF THE EARTH




“พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินด้วยความจริงอันชัดแจ้ง พระองค์ทรงให้
กลางคืนที่คาบเกี่ยวเข้าไปในกลางวัน และทรงให้กลางวันคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางคืน…”
(อัลกุรอาน 39:5)

ในอัลกุรอาน คำที่ใช้บรรยายถึงจักรวาลนั้นน่าสนใจยิ่ง คำภาษาอาหรับว่า “ ตักวีร ” หมายความว่า “สิ่งหนึ่งเกยซ้อนกับอีกสิ่งหนึ่ง เหมือนกับการพับผ้า” (พจนานุกรมภาษาอาหรับอธิบายว่า เป็นการพันสิ่งหนึ่งเข้ากับอีกสิ่งหนึ่ง)
ข้อความในอายะฮ์เกี่ยวกับเวลากลางวันและกลางคืนที่คาบเกี่ยวซึ่งกันและกัน แสดงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัณฐานของโลก การคาบเกี่ยวกันในลักษณะดังกล่าวจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อโลกมีรูปทรงกลมเท่านั้น ความจริงข้อนี้ได้ปรากฏชัดอยู่ในอัลกุรอานตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 แล้ว ทั้งที่ในขณะนั้นเรื่องสัณฐานกลมของโลกยังไม่มีใครรู้เลย
อย่างไรก็ตามเราควรตระหนักว่าความเข้าใจทางดาราศาสตร์ในเวลานั้น ทำให้เรารับรู้เกี่ยวกับโลกได้แตกต่างกัน แต่ก่อนนั้นเคยเชื่อกันว่า โลกแบน การคำนวณและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ล้วนอาศัยความเชื่อนี้ แต่ทว่าข้อความในอัลกุรอานกลับมีข้อมูลที่มนุษย์เพิ่งจะค้นพบกันเมื่อศตวรรษที่แล้วนี้เอง เนื่องจากอัลกุรอานเป็นวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ทุกถ้อยคำในอัลกุรอานจึงเป็นจริงเสมอ รวมทั้งเรื่องที่กล่าวถึงจักรวาลก็เช่นกัน




วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แหล่งอ้างอิงของแต่ละมัซฮับ



แหล่งอ้างอิงของมัซอับหะนะฟีย์

1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์ (มติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์)
4.กิยาส (การเทียบสิ่งหนึ่งที่ไม่มีหลักฐานระบุถึงหุกุ่มของมัน กับสิ่งหนึ่งที่มีหลักฐานระบุหุก่มชัดเจน โดยที่ทั้งสองนั้นมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน)
5.อิสติหฺสาน (การพิจาณาเห็นชอบด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยปัญญาเป็นบรรทัดฐาน)
6.อุรฟฺ (หลักจารีต)
7.ทัศนะของเศาะหาบะฮฺ
8.ชะรีอะฮฺก่อนสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) (ชัรอฺ มัน ก็อบละนา)


แหล่งอ้างของมัซฮับมาลิกีย์

1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์
4.กิยาส
5.มะศอลิหฺ มุรสะละฮฺ
6.การปฏิบัติของชาวมะดีนะฮฺ (อะมัล อะฮฺลุล มะดีนะฮฺ)


แหล่งอ้างของมัซฮับชาฟิอีย์

1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์
4.กิยาส


แหล่งอ้างของมัซฮับหัมบาลีย์

1.นุศูฮฺ หมายถึง อัลกุรอาน และรายงานที่ถูกต้องจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
2.ฟัตวา ศอหาบะฮฺ เมื่อท่านพบเจอฟัตวาของศอหาบะฮฺ และไม่พบการโต้แย้งใดๆ ท่านก็จะใช้มันเป็นหลักฐาน และจะไม่แปรเปลี่ยนไปยังคำกล่าวของผู้อื่น
3.หากมีความขัดแย้งระหว่างศอหาบะฮฺ ท่านก็จะเลือกเอาทัศนะที่ใกล้เคียงกับอัลกุรอาน และอัสสุนนะฮฺมากที่สุด
4.ใช้หะดิษมุรสัลและหะดิษเฎาะอิฟ ท่านลำดับสิ่งนี้ก่อนกิยาส แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจในประเด็นนี้ คือ หะดิษเฎาะอิฟที่ท่านหมายถึงนั้น ในสมัยของท่าน มันเป็นหนึ่งในประเภทหะดิษที่ถูกยอมรับ(มักบูล) หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า หะดิษหะซัน เพราะในสมัยของท่านนั้น ยังไม่มีการแบ่งประเภทหะดิษเศาะเฮียะฮฺและหะซัน
5. กิยาส สิ่งนี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อไม่พบสิ่งต่างๆ ก่อนหน้านี้




หะดิษญารียะฮฺ





หะดิษต่อไปนี้เป็นหะดิษที่กลุ่มอะชาอีเราะฮยุคปัจจุบัน พยายามบิดเบือนเพื่อที่จะให้เป็นหะดิษเฎาะอีฟ ทั้งๆที่เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ทั้งนี้เพราะขัดกับความความเชื่อของพวกเขาที่ว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอา ทรงปราศจากสถานที่ ปราศจากทิศ คือ ทรงไม่อยู่เบื้องบน ,ทรงไม่อยู่เบื้องล่าง,ทรงไม่อยู่เบื้องขวา,ทรงไม่อยู่เบื้องซ้าย

และใครเชื่อว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาอยู่เบื้องสูง คนนั้น มีอากีดะฮที่หลงผิด ดังนั้น อายะฮอัลกุรอ่านหรือหะดิษที่ตัวบทได้ยืนยันว่าทรงอยู่ทิศเบื้องสูง พวกเขาก็จะต่อต้านโดยการเปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ก็พยายามหาเหตุมาสนับสนุนว่าหะดิษนั้นเฎาะอีฟ (หลักฐานอ่อน) และส่วนหนึ่งจากหะดิษดังกล่าวคือ หะดิษญารียะฮ ต่อไปนี้ รายงานจากมุอาวียะฮ บิน ลหะกัม อัสสะละมี กล่าวว่า

وَكَانَتْ لِيْ جَارِيَةٌ تَرْعَى غَنَمًا لِيْ اُحُدٍ وَالْجُوَانِيَةِ فَاطَّلَعْتُ ذَاتَ يَوْمٍ فَاِذَا بَالذِّئْبِ قَدْ ذَهَبَ بِشَاةٍ مِنْ غَنَمِهَا وَاَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِيْ آدَمَ اَسَفَ كَمَا يَاْسِفُوْنَ . لَكِنَّيْ صَكَكْتُهَا صَكَّةً فَاَتَيْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ . قُلْتُ يَارَسُوْلَ اللهِ اَفَلاَ اَعْتِقُهَا ؟ قَالَ : اِئْتِنِيْ بِهَا . فَقَالَ لَهَا : اَيْنَ اللهُ ؟ قَالَتْ : فِى السَّمَاءِ . قَالَ : مَنْ اَنَا ؟ قَالَتْ : اَنْتَ رَسُوْلُ اللهِ . قَالَ : اَعْتِقُهَا فِاِنَّهَا مُؤْمِنَة

มุอาวิยะฮ บิน หุกัม อัลอัสละมีย์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีทาสหญิงคนหนึ่ง เลี้ยงแพะให้ข้าพเจ้าที่ อุหุด และ ญุวัยนียะฮ ในวันหนึ่ง ข้าพเจ้า พบว่า แพะตัวหนึ่งที่นางดูแล ได้ถูกหมาป่าเอาไป และข้าพเจ้า เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่รู้สึกโกรธ เหมือนๆกับ บรรดาผู้ที่โกรธทั้งหลาย แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ทุบตีนาง แล้วข้าพเจ้าได้ไปหาท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัมแล้ว ท่านได้ตักเตือนข้าพเจ้า ในเรื่องดังกล่าว

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า โอ้ รซูลุลลอฮ ข้าพเจ้าจะปล่อยนางให้เป็นอิสระได้ไหม? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “นำนางมาที่ฉัน แล้วรซูลุลลอฮได้กล่าวถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? นางกล่าวตอบว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ฉันเป็นใคร? นางกล่าวว่า “ท่านคือ ศาสนทูตของอัลลอฮ ท่านรซูลุลลอฮ จึงกล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด เพราะแท้จริงนางเป็นผู้หญิงที่ศรัทธา – รายงานโดย มุสลิม และอบีดาวูด
...........

หะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ คือ อยู่บนฟากฟ้า จะอยู่ในรูปแบบใดนั้น ไม่มีใครทราบได้นอกจากอัลลอฮ เพราะไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์

...................................
โดย อะสัน หมัดอะดั้ม

เมื่อมุสลิมแตกออกเป็น 3 กลุ่ม ในการดูเดือน







คำฟัตวา เลขที่ 1657 คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการชี้ขาดปัญหาทางศาสนา ประเทศซาอุดิอาระเบีย




คำถาม



เราเป็นนักศึกษามุสลิมในประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา พวกเราประสบกับปัญหาทุกครั้งเกี่ยวกับการเริ่มต้นเดือนรอมฎอนจนเป็นเหตุให้มุสลิมแตกออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้


กลุ่มที่หนึ่ง จะถือศีลอดตามการค้นหาจันทร์เสี้ยวของเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่


กลุ่มที่สอง จะถือศีลอดพร้อมกับประเทศซาอุดิอารเบีย


กลุ่มที่สาม จะถือศีลอดเมื่อได้รับข่าวสารจากชมรมนักศึกษามุสลิมในอเมริกาและแคนาดา ซึ่งจะทำการค้นหาจันทร์เสี้ยวในสถานที่ต่างๆ ของประเทศอเมริกา และทันทีทันใดที่มีการเห็นจันทร์เสี้ยวที่เมืองหนึ่งเมืองใด ก็จะแจ้งข่าวอย่างครอบคลุมไปยังศูนย์กลางต่างๆ เกี่ยวกับการเห็นจันทร์เสี้ยว จึงทำให้มุสลิมในอเมริกาทั้งหมดถือศีลอดในวันเดียวกันทั้งๆ ที่ระยะทางของแต่ละเมืองห่างไกลกันมาก




ดังนั้นจากแนวทางใดที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดในการปฏิบัติตามเกี่ยวกับการถือศีลอดด้วยสาเหตุการเห็นจันทร์เสี้ยว ขอให้ท่านทั้งหลายได้ให้คำชี้ขาดด้วยและขอต่ออัลลอฮฺ ทรงได้ตอบแทนผลบุญท่านทั้งหลาย




คำตอบ



เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวทางสภาอุละมาฮฺอาวุโสของประเทศซาอุดิอารเบีย เคยมีการลงมติมาแล้วซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้



1. เรื่องความแตกต่างของการปรากฏจันทร์เสี้ยวเริ่มต้นเดือน(มัตละอฺ)นั้น เป็นเรื่องที่สามารถรับรู้ได้โดยปริยายทั้งทางความรู้สึก(สัมผัส) และสติปัญญา ไม่มีอุละมาอ (ผู้รู้) คนใดขัดแย้งกัน แต่ความเห็นที่แตกต่างของบรรดาผู้รู้ (อุละมาฮฺ)คือ การจะนำเอาความแตกต่างของตำแหน่งการปรากฏของจันทร์เสี้ยวในแต่ละส่วนของโลกมาเป็นประเด็นการกำหนดการถือศีลอดและการออกอีดหรือไม่ ?



2. ปัญหาการนำเอาความแตกต่างของตำแหน่งการปรากฏของจันทร์เสี้ยว (มัตละอฺ)ในส่วนต่างๆ ของโลก หรือไม่นำเอาความแตกต่างดังกล่าวเป็นหลักบรรทัดฐาน
ในการกำหนดการถือศีลอดและการออกอีดนั้น เป็นปัญหาเชิงทฤษฎีที่เปิดช่องทางให้มีการวินิจฉัย (อิจติฮาด) ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุให้เกิดความแตกต่างทางความคิดได้ในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการด้านศาสนา ความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามกระบวนการวินิจฉัยปัญหา ซึ่งปราชญ์มุจญ์ติฮิด (ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาระดับมุจญ์ตะฮิด) หากเขาวินิจฉัยถูก เขาก็จะได้รับผลบุญสองเท่า คือ ผลบุญการวินิจฉัย (อิจญ์ติฮาด) และผลบุญความถูกต้อง ส่วนปราชญ์มุจญ์ตะฮิดที่วินิจฉัยผิดเขาก็จะได้รับผลบุญการวินิจฉัยของเขา (อิจญ์ติฮาด) อย่างเดียว


ดังนั้นบรรดาผู้รู้จึงมีทรรศนะที่แตกต่างกันในเรื่องนี้เป็นสองทรรศนะ คือ ทรรศนะที่ถือเอาความแตกต่างของจันทร์เสี้ยวตามตำแหน่งที่ปรากฏในส่วนต่างๆ ของโลก (ยึดความแตกต่างของมัตละอฺ) และทรรศนะที่มิได้ยึดเอาความแตกต่างของจันทร์เสี้ยวตามตำแหน่งที่ปรากฏในส่วนต่างๆ ของโลก (ไม่ยึดความแตกต่างของมัตละฮฺ) ซึ่งบรรดาผู้รู้ทั้งสองทรรศนะต่างก็ยึดหลักฐานจากอัลกุรอาน และอัซซุนนะฮฺ ทั้งสิ้น และในบางครั้งทั้งสองทรรศนะก็ใช้ตัวบทตัวเดียวกันในการอ้างหลักฐาน ประหนึ่งตัวบทดังกล่าวมีแง่มุมให้อ้างอิงได้ทั้งสองทรรศนะร่วมกัน เช่น พระดำรัสของอัลลอฮฺ


{ يَسْأَلُوْنَكَ عَنِ الأَهِلَّةِ قُلْ هِيَ مَوَاقِيْتُ للنَّاسِ وَ الْحَجِّ }


“ พวกเขาเหล่านั้น จะถามเจ้าเกี่ยวกับเดือนแรกขึ้น จงกล่าวเถิดว่า มันคือกำหนดเวลาต่างๆ สำหรับมนุษย์ และสำหรับประกอบพิธีฮัจญ์ ”


(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ โองการที่ 189)

และพระวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด ซอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม


(( صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَ أَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ ))


“ สูเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน (หมายถึงจันทร์เสี้ยวตอนเริ่มต้นเดือน)

และสูเจ้าจงออกจากการถือศีลอด (ออกอีด) เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน ”


เป็นผลมาจากความเข้าใจในตัวบทและแนวทางการยึดตัวบทในการอ้างอิงที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาจากมุมมองดังกล่าว ทางองค์กรอุละมาอฺอาวุโสมีทรรศนะและให้เกียรติต่อแนวการวินิจฉัยดังกล่าว ประกอบกับการวินิจฉัยที่แตกต่างกันของบรรดาผู้รู้ในประเด็น(มัสอะละอฺ)ดังกล่าว มิได้สร้างผลกระทบในบั้นปลายของมัน อันก่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าสะพรึงกลัว และด้วยเหตุที่ศาสนานี้ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา (กว่า) 14ศตวรรษ เราไม่ทราบเลยว่าตลอดระยะเวลาดังกล่าวจะมีสักช่วงหนึ่งที่ประชาชาติอิสลามมีความพร้อมเพรียงกันบนบรรทัดฐานการดูจันทร์เสี้ยวอันเดียวกัน (หมายถึงจากที่เดียวกัน)

ดังนั้นสมาชิกของสภาอุลามะอฺอาวุโสจึงมีความเห็นว่า ให้คงสภาพดังกล่าว (หมายถึงสภาพการเข้าบวชและการออกบวชที่ต่างกันของประชาชาติอิสลาม)ไว้เหมือนดังเช่นที่เป็นอยู่ และจะไม่เข้าไปขุดคุ้ยในเรื่องนี้ และให้ประเทศอิสลามแต่ละประเทศมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติตามทรรศนะหนึ่งทรรศนะใดจากสองทรรศนะนี้ ตามที่ได้ชี้แจงไว้เบื้องต้น โดยผ่านความเห็นชอบของบรรดาผู้รู้ (อุละมาอฺ) ของประเทศนั้นๆ เนื่องจากทั้งสองทรรศนะต่างก็ตั้งอยู่บนหลักฐานและบรรทัดฐาน






3. ทางสภาอุละมาอฺอาวุโส (ซาอุดิอารเบีย) ได้พิจารณาปัญหาการยืนยันจันทร์เสี้ยวด้วยการคำนวณทางดาราศาสตร์และตัวบทที่ระบุอยู่ในอัลกุรอาน และอัซซุนนะฮฺเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนทรรศนะและคำพูดของปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญของอัลอิสลาม ในประเด็นดังกล่าวทางสภาฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่อนุมัติให้ยึดเอาการคำนวณทางดาราศาสตร์เป็นการยืนยันการเกิดจันทร์เสี้ยวที่จะนำมายึดถือในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักศาสนา

เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

(( صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَ أَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ ))

“ สูเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน (หมายถึงจันทร์เสี้ยวตอนเริ่มต้นเดือน)

และสูเจ้าจงออกจากการถือศีลอด (ออกอีด) เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน ”

และพระวจนะศาสดาที่ว่า


تَرَوْهُ وَ لاَ تُفْطِرُوْا حَتَى تَرَوْهُ )) (( لاَ تَصُوْمًوْا حَتَى


“สูเจ้าทั้งหลายจงอย่าถือศีลอด จนกว่าสูเจ้าทั้งหลายจะได้เห็นมัน(จันทร์เสี้ยวเริ่มต้นของเดือน)

และสูเจ้าทั้งหลายจงอย่าออกจากการถือศีลอด (ออกอีด) จนกว่าสูเจ้าทั้งหลายจะได้เห็นมัน”




และพระวจนะศาสดา ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทำนองเดียวกันนี้ทางคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการให้คำชี้ขาดปัญหาศาสนา มีความเห็นว่า ชมรมนักศึกษามุสลิมในประเทศที่รัฐบาลไม่ใช่รัฐบาลอิสลาม ทำหน้าที่เสมือนรัฐบาลอิสลามเกี่ยวกับประเด็นการยืนยันการเห็นจันทร์เสี้ยวให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม

เมื่อมองตามเนื้อหาของย่อหน้าที่สองของมติสภาอุลามะอฺอาวุโสแล้ว ชมรมนักศึกษาฯมีสิทธิ์ที่จะเลือกตามทรรศนะหนึ่งทรรศนะใดจากสองทรรศนะ คือทรรศนะที่ถือตามความแตกต่างของตำแหน่งปรากฏจันทร์เสี้ยว (มัตละอฺ) กับทรรศนะที่ไม่ถือตามความแตกต่างดังกล่าว และทำหน้าที่ประกาศให้ครอบคลุมทั่วถึงในสิ่งที่ทางชมรมฯถือปฏิบัติให้กับมุสลิมทั้งหลายที่อยู่ในประเทศที่มีชมรมตั้งอยู่ และเป็นหน้าที่ของมุสลิมทั้งหลายที่จะถือปฏิบัติตามสิ่งที่ชมรมถือปฏิบัติและประกาศใช้ เพื่อความเป็นเอกภาพ ในการเริ่มการถือศีลอด และเป็นการออกจากความขัดแย้ง และความระส่ำระสายเป็นหน้าที่เหนือมุสลิมทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศดังกล่าว ต่างช่วยกันดูจันทร์เสี้ยวในประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ เมื่อมีผู้ที่น่าเชื่อถือคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน เห็นจันทร์เสี้ยวก็ให้พวกเขาถือศีลอด และแจ้งข่าวดังกล่าวให้กับทางชมรมทราบเพื่อทางชมรมจะได้ประกาศข่าวดังกล่าว ให้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมด นี่คือกรณีที่เข้าเดือนถือศีลอด แต่ถ้าหากกรณีที่จะออกจากการถือศีลอด (ออกอีด) จำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องมีผู้ที่ทรงธรรม (เชื่อถือได้) อย่างน้อย 2 คน ยืนยันการเห็นจันทร์เสี้ยวต้นเดือนเชาวาล หรือนับเดือนรอมฎอนให้ครบ 30 วัน กรณีที่ไม่เห็นจันทร์เสี้ยว หรือเห็นจันทร์เสี้ยวเพียงคนเดียว เนื่องจากท่านศาสดาได้กล่าวว่า


(( صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَ أَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ فَإِنْ غُمَّ عَلَيْكُمْ فَأََكْمِلُوْا عِدَّةَ شَعْبَانَ ثَلاَثِيْنَ يَوْمًا ))


“ สูเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน (หมายถึงจันทร์เสี้ยวตอนเริ่มต้นเดือน)

และสูเจ้าจงออกจากการถือศีลอด (ออกอีด) เพราะสาเหตุที่สูเจ้าได้เห็นมัน

แต่ถ้าหากมีเมฆปกคลุม (เป็นเหตุให้สูเจ้าไม่สามารถมองเห็น) ก็ให้สูเจ้านับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน”





ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดประทานความสำเร็จและทางนำ และขอต่อพระองค์ได้ทรงโปรดประทานความซอละวาต และสลามจงประสบแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด และวงศ์วานของท่าน และซอฮาบะฮฺของท่าน





แปลจากหนังสือ ฟะตาวา อัลลุจนะฮฺ อัดดาอิมะฮฺ ลิลบุหูษอัลอิลมียะฮฺ วัลอิฟตาอฺ หน้าที่ 109-112

http://www.islammore.com

Sulaimarn Darakai โพส




วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อิมาม อัล-นะวะวีย์



          อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ชื่อเต็มว่า มุหฺยิดดีน อบู ซะการียา ยะหฺยา บิน ชะรอฟ อัล ฮิซามียฺ อัน นะวาวียฺ เกิดปี ค.ศ 1233 ที่หมู่บ้านนะวา

ทางตอนใต้ของเมืองดะมัสกัช ซีเรีย เนื่องจากท่านมาจากหมู่บ้านนะวา ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัน นะวาวียฺ(ชาวนะวา)


ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

            อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่ได้มาจากตระกูลผู้รู้เช่นอุละมาอ์จำนวนมาก พ่อของท่านมีสวนแปลงหนึ่ง ซึ่งได้ปลูกพืชมาเป็นอาหารแก่ครอบครัว

ลักษณะสำคัญของครอบครัวนี้ก็คือ ความเคร่งครัดในสิ่งที่ฮะลาล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะรับประทานในสิ่งที่คลุมเครือ


            ในวัยเด็กอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่เหมือนเด็กทั่วไป คือไม่ชอบการละเล่นต่างๆ ดังนั้น ตั้งแต่วัยเด็กท่านชอบค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่าง

เอาจริงเอาจัง ท่านเกลียดกิจกรรมที่ทำให้ท่านห่างจากการท่องจำอัลกุรอาน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พวกเด็กๆในหมู่บ้านบังคับให้ท่านไปเล่น

ปรากฏว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ถึงกับร้องให้ เพราะเสียดายเวลาที่สูญเสียไป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ท่านสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มตั้งแต่วัยเด็ก


          เมื่อท่านอายุได้ 18 ปี พ่อได้นำท่านไปที่นครดามัสกัช เพื่อให้ท่านได้ศึกษาต่อ ที่นั่นท่านได้แสดงถึงความเป็นเลิศในการศึกษา

ท่านชำนาญในฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ ท่านสามารถท่องจำหนังสือต่างๆได้จำนวนมาก


          สถานที่ศึกษาแห่งแรกในดามัสกัชของท่านคือโรงเรียน ซารอมียะฮฺ จากนั้นก็ศึกษาต่อที่โรงเรียนรอฮาวียะฮฺ ท่านได้ใช้เวลาใน

การฟังบรรยายวันละ 12 ชั่วโมง และเมื่ออายุได้ 24 ปี ท่าได้เริ่มสอนหนังสือที่โรงเรียนฟัชรอฟียะฮฺ ความเป็นเลิศทางวิชาการของท่าน

เป็นที่ยอมรับท่ามกลางนักปราชญ์ทั้งหลาย


บุคลิกภาพ

          อิหม่ามอัน นะวาวียฺ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง ท่านอาศัยอยู่ในห้องพักเล็กๆที่มีหนังสือเต็มห้อง มีว่างเหลือสำหรับนั่งเท่านั้น ท่านได้ใช้เวลา

ทั้งหมดในแต่ละวันกับการหาความรู้และการสอนหนังสือ ท่านนอนหลับเพียงเล็กน้อยและตื่นขึ้นมาหาความรู้ต่อ ท่านเคยมุมานะในการเรียนจนกระทั่งว่า

มีอยู่สองปีที่ท่านไม่ได้ล้มตัวลงนอนหลับ เพียงแต่นั่งหลับเท่านั้น แม้แต่ว่าท่านเดิน ท่านก็ไม่ยอมเสียเวลา จะใช้เวลานี้ท่องจำและทบทวนหนังสือ

           ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ

ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์

          ท่านได้ถือศีลอดทุกวัน เว้นวันที่ศาสนาห้าม(ในทรรศนะของอัน นะวาวียฺ สามารถือศีลอดได้ทุกวัน ตราบที่ไม่ไปถือในวันที่ศาสนาห้าม เช่น วันอีด)

ท่านเคยรับค่าตอบแทนในการสอนปีแรก แต่ท่านได้ใช้มันหมดไปกับการซื้อหนังสือ และต่อมาท่านไม่รับค่าตอบแทนอีกเลย

              ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้

สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้

            จุดเด่นของท่านก็คือ การที่ท่านรักหนังสือมาก ท่านได้เก็บสะสมหนังสือดีๆมากมาย รวมทั้งหนังสือหายาก เมื่ออุละมาอ์ที่มีชื่อท่านหนึ่งคือ

ท่านตาญุดดีน อัซ ซุบกียฺ ถูกขอให้ทำการทำการเรียบเรียงหนังสือที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ แต่งไว้ไม่เสร็จ ชื่อหนังสือ “อัล มัจญมูอฺ”

ท่านซุบกียฺ ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ท่านไม่มีหนังสืออ้างอิงเท่ากับที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ มีอยู่

            คำถามอีกข้อหนึ่งที่มีต่อชีวิตของอิหม่ามอัน นะวาวียฺก็คือ เหตุใดท่านไม่แต่งงาน มีคำอธิบายมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง

แต่ดูเหมือนว่าคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ท่านปราศจากความต้องการความสุขในโลกนี้เช่นคนอื่นๆ ชีวิตของท่านปรารถนาแต่เพียง

การแสงหาความรู้และการถ่ายทอดมันให้แก่อุมมะฮฺอิสลามเท่านั้น

           ความจริง ครั้งหนึ่งท่านเคยสอนเรื่องแต่งงานว่าเป็นซุนนะฮฺอันยิ่งใหญ่ และท่านบอกว่าบางทีนี่เป็นเพียงซุนนะฮฺที่ท่านไม่สามารถทำได้

ท่านให้เหตุผลว่า “ฉันกลัวว่า ฉันอาจทำตามซุนนะฮฺหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันฉันต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ต้องห้ามอื่นๆ” นั่นคือสิทธิของภรรยา


ผู้ดำเนินตามมัซฮับตามเจตนารมณ์

            แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ จะสังกัดอยู่กับฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ  แต่ท่านไม่ใช่มุตะอัศศิบ(ผู้คลั่งไคล้มัซฮับ) ดังนั้น จึงพบในงานเขียนของท่าน

ไม่ได้ตามทรรศนะของมัซฮับชาฟิอียฺเสมอไป ดังที่จะพบได้ใหนังสืออัล มัจญมุอฺ และคำอธิบายเศาะฮีฮฺ มุสลิมของท่าน

         ท่านอิบนุ อัล อัตตาร ศิษย์คนหนึ่งของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้กล่าวว่า “ท่านเป็นผู้รักษาและท่องจำ(ทรรศนะทางฟิกฮฺของ)มัซฮับชาฟิอียฺ

ทั้งในหลักหลักการ หลักพื้นฐาน และประเด็นรองๆลงมา แต่ท่านยังเป็นผู้มีความรู้ในทรรศนะของเหล่าเศาะฮาบะฮฺและตาบีอีน ท่านมีความรู้

ในสิ่งที่อุละมาอ์เห็นพ้องต้องกันและที่พวกเขาเห็นแตกต่างกัน ด้วยเหตุผลนี้ทั้งหมด ท่านคือผู้ดำเนินตามวิถีทางของอุละมาอ์ยุคแรกของอิสลาม”

          ในฟิกฮฺ มัซฮับ ชาฟิอียฺนั้น มีอุละมาอ์ที่โด่งดังในมัซฮับนี้สองท่านที่ถูกเรียกว่า “อัช ชัยคอน” หรือเชคทั้งสอง คืออิหม่ามอัน นะวาวียฺ

และอิหม่ามรอฟิอียฺ ทั้งสองท่านมีการให้ทรรศนะบางอย่างที่แตกต่างกัน ผู้เล่าเรียนทางมัซฮับชาฟิอียฺบางท่านชอบอิหม่ามรอฟิอียฺมากกว่า

เพราะว่าใกล้เคียงกับวิธีคิดทางฟิกฮฺของมัซฮับชาฟิอียฺมากกว่า แต่ก็มีจำนวนมากที่ชอบทรรศนะของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ มากกว่า อันเนื่องจาก

ท่านมีความรู้ที่ลึกซึ้งในวิชาฮะดีษมากกว่า


ผู้สร้างสรรค์งานวิชาการ

            อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้ผลิตงานเขียนออกมาอย่างมากมาย หนึ่งในชุดตำราที่ได้รับความชื่อถือตลอดมาก็คือ คำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม

 ซึ่งถือว่าเป็นคำอธิบายเศาะฮีฮฺมุสลิมอันดับหนึ่ง คู่กับคำอธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียฺ ของอิหม่ามอิบนุ ฮะญัร อัล อัสกอลานียฺ(ชื่อฟัตหุล บารียฺ)

ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน

           งานเขียนที่ได้รับความนิยมชิ้นต่อมาของท่านคือ “ริยาฎุศ ศอลีฮีน”(อุทยานของคนดี) เป็นการนำอัลกุรอานและฮะดีษมาจัดหมวดหมู่

เป็นบทๆในเรื่องเกี่ยวกับความดีงามต่างๆ หนังสือชุดนี้ถูกนำไปอธิบายต่อโดยอุละมาอ์รุ่นหลัง ที่น่าสนใจคือคำอธิบายของ “เชค มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล อุษัยมีน”

            สำหรับหนังสือฟิกฮฺที่ชื่อ “อัล มัจญมูอฺ” ของท่าน ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง แม้จะเรียบเรียงไม่เสร็จสิ้นก็ตาม หนังสือชุดนี้ถูกถือว่า

เป็นหนังสือสารานุกรมทางฟิกฮฺคู่กับหนังสือ “อัล มุฆนียฺ” ของอิบนุ กุดามะฮฺจากมัซฮับฮัมบะลียฺ ซึ่งหนังสือทั้งสองชุดนี้ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่กับมัซฮับ

ของผู้แต่ง แต่เป้าหมายก็คือการนำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ

             ส่วนที่แพร่หลายมากที่สุดคือ การนำฮะดีษที่ครอบคลุมคำสอนอิสลามทั้งหมดมาลำดับไว้ เรียกว่า “สี่สิบ ฮะดีษ” หรือรู้จักกันในชื่อ

“สี่สิบฮะดีษ นะวาวียฺ”


ผู้กล้าเผชิญหน้ากับผู้ปกครองที่อธรรม

                อิหม่านอัน นะวาวียฺ มิได้มีความจริงจังในแง่วิชาการเท่านั้น เมื่อเผชิญกับความอธรรมบนหน้าแผ่นดิน ท่านไม่ยอมเงียบ แต่ได้ยืนขึ้นเพื่อ

หลักการอิสลาม แม้กระทั่งการตักเตือนผู้ปกครองทั้งหลาย วิธีหนึ่งที่ท่านนิยมทำก็คือการส่งจดหมายไปตักเตือนผู้ปกครองเหล่านั้น บางครั้งท่าน

ได้ร่างจดหมายถึงผู้ปกครอง โดยเซ็นร่วมกับอุละมาอ์ท่านอื่นๆจากสำนักฟิกฮฺต่างๆ

             ท่านได้คัดค้านความอยุติธรรมของผู้ปกครองหลายๆครั้ง ครั้งหนึ่ง ซุลฏอน(สุลต่าน)ในเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ต้องการให้อุละมาอ์ทุกคน

ออกฟัตวาเก็บทรัพย์สินกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับมองโกล แต่ท่านเป็นอุละมาอ์คนเดียวที่ยังไม่ยอมออกฟัตวาให้ สุลต่านจึงให้นำตัวอิหม่ามอัน นะวาวียฺ

มาถามถึงเหตุผล ท่านตอบว่า “ฉันรู้ว่า ท่านเคยเป็นทาสของอมีร บันดุการ์ และท่านไม่เคยมีทรัพย์ใดๆมาก่อนเลย แต่แล้วอัลลอฮฺได้ให้

ความโปรดปรานกับท่าน และท่านได้กลายเป็นผู้ปกครอง ฉันได้ยินมาว่า ท่านมีทาสชายถึงหนึ่งพันคน และแต่ละคนมีสายรัดด้วยทอง

และท่านยังมีทาสหญิงอีกสองพันคน แต่ละคนมีเครื่องประดับที่เป็นทอง หากท่านได้จ่ายมันทั้งหมดและได้ปล่อยทาสชายของท่านด้วยสายรัดผ้าแทน

สายรัดทอง และท่านได้ปล่อยทาสหญิงพร้อมเครื่องนุ่งห่มโดยไม่มีเครื่องประดับเพชรนิลจิลดา แล้วฉันจะฟัตวาให้ท่านสามารถเก็บทรัพย์สิน

จากประชาชนได้”

         กรณีนี้ แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวะวียฺ จะเห็นด้วยกับการรวบรวมทรัพย์ในการต่อสู้ แต่ท่านเห็นว่าต้องเก็บตามวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น


           สุลต่านโกรธแค้นมากและได้ขับไล่ท่านออกจากเมืองดามัสกัช ท่านได้จากไปอยู่หมู่บ้านนะวา เหล่าอะละมาอ์พยายามของให้ท่านกลับมาอีกครั้ง

แต่ท่านปฏิเสธ       การคัดค้านใดๆต่อผู้ปกครองที่อธรรมของท่านมีผลกระทบสูงมาก อันเนื่องจากท่านเป็นอุละมาอ์ที่อิสระ ไม่รับเงินเดือนจากใคร

มีวีถีชีวิตที่พอเพียง การคัดค้านของท่านจะได้รับการสนับสนุนจากอุละมาอ์และมวลชนมุสลิมเสมอ


วาระสุดท้าย

          ท่านอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ใช้ชีวิตในหมู่บ้านนะวาในช่วงสั้นๆ ท่านก็ล้มป่วยลง และเสียชีวิตในปี 1277 อายุเพียง 43 ปีเท่านั้น เมื่อข่าวการ

เสียชีวิตของท่านไปถึงดามัสกัช ผู้คนต่างพากันร้องให้ต่อการจากไปของอุละมาอ์ผู้อุทิศตัวให้แก่วิชาการ การมีชีวิตที่เรียบง่าย และมีความกล้าหาญ

          ในหนังสือคำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม ของท่าน ท่านได้แสดงถึงความต้องการที่ให้หลุมฝังศพของท่านเป็นไปตามแบบอย่างของท่านนบีฯ

ไม่ให้มีการสร้างความพิเศษใดๆให้แก่ท่าน และศิษย์ของท่านอิบนุ อัตตาร  ได้รายงานว่า เป็นความจริงที่ว่า ทุกครั้งที่ผู้คนได้เข้าไปสร้างโดมเหนือ

หลุมฝังศพของท่าน มันก็จะพังลงมา จนถึงทุกวันนี้หลุมฝังศพของท่านก็ยังอยู่ในสภาพธรรมดา


ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร  ศิษย์ท่านอิมามอันนะวาวีย์  กล่าวว่า

"ในขณะที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ถูกฝัง  ครอบครัวของท่านต้องการจะสร้างกุบบะฮ์(โดม)บนสุสาน  ดังนั้น  ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้มาหาเข้าฝันน้าสาวของท่าน  และกล่าวว่า "ท่านน้าสาวจงบอกแก่พี่น้องของฉันและกลุ่มชนด้วยว่า  อย่าให้พวกเขากระทำการเยี่ยงนี้ที่พวกเขาได้ตั้งใจทำการปลูกสร้าง  เพราะว่าทุกครั้งที่พวกเขาจะสร้างสิ่งใด(บนสุสานของฉันนั้น) มันก็จะพังทลายลงมา"

ดังนั้น  พวกเขายังงดกระทำสิ่งดังกล่าว  และนำหินมาล้อมรอบสุสาน

ท่านอิบนุฟัฏลุลลอฮ์  กล่าวว่า  พี่น้องของอิมามอันนะวาวีย์ คือชัยค์อับดุรเราะห์มาน  เล่าให้ฉันฟังว่า "ขณะที่อิมามอันนะวาวีย์ป่วยใกล้เสียชีวต เขาอยากทานแอ๊ปเปิ้ล  ดังนั้นจึงนำแอ๊ปเปิ้ลมาให้  แต่เขาทานมันไม่ได้  เมื่อเขาเสียชีวิต  สมาชิกในครอบครัวบางส่วนฝันเห็นท่าน  และกล่าวถามว่า  อะไรบ้างที่อัลเลาะฮ์ทรงปฏิบัติแก่ท่าน?  อิมามอันนะวาวีย์ตอบว่า  พระองค์ทรงให้เกียรติที่พำนักของฉัน  พระองค์ทรงรับการงานของฉัน  และสิ่งแรกที่พระองค์ทรงนำมาต้อนรับแขก  คือพระองค์ทรงนำแอ๊ปเปิ้ลให้แก่ฉัน"

สานุศิษย์ของท่านบางส่วนเล่าให้ฉันฟังว่า  มีชายคนหนึ่งได้มาที่สุสานของท่านอิมามอันนะวาวีย์  และกล่าวว่า  ท่านใช่ไหม?  ที่ขัดแย้งกับอิมามอัรรอฟิอีย์  และท่านกล่าวว่า "ฉันขอกล่าวว่า...............(คือกล่าวทัศนะที่ค้านกับอิมามอัรรอฟิอีย์ตามการวินิจฉัยของท่านในหนังสืออัลมินฮาจญ์)" โดยเขาทำการชี้มือไปยังสุสานอิมามอันนะวาวีย์  ดังนั้นเมื่อเขายืนขึ้นแมงป่องจึงต่อยเขา"

ฉัน(คืออิมามอัสสะยูฏีย์) ได้เห็นหนังสือ อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร  รอฮิมะฮุลลอฮ์  ในการนำเสนอประวัติของ อัลญะมาล อัรร๊อยมีย์  ผู้อธิบายหนังสือ อัตตัมบีฮ์  ว่า  "เขานั้นชอบพูดจาลดเกียรติชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(คืออิมามอันนะวาวีย์) ดังนั้นในขณะที่เขาได้เสียชีวิต  ขณะที่เขาอยู่สถานอาบน้ำมัยยิด มีแมวตัวหนึ่งได้คาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป  ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์"  ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 80 - 81

ในหนังสือ  อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร  รอฮิมะฮุลลอฮ์  ระบุถ้อยคำดังนี้  ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "ท่านอัลญะมาล อันมิสรีย์ ได้กล่าวแก่ฉันว่า  อัรรีมีย์นั้นเหยียดหยามอิมามอันนะวาวีย์เป็นอย่างมาก   ในขณะปล่อยใกล้ตายนั้น  ฉันเห็นลิ้นของเขาล่อออกมาและมีสีดำ  ดังนั้นได้มีแมวตัวหนึ่งคาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป   ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์" ดู 3/48

ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้

สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้    

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  กล่าวว่า

ท่านชัยค์  อิบนุ  อัลอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า "ชัยค์ อัศศ่อดูก  อบูลกอซิม  อัลมิซฺซีย์ - ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในหมู่นักปราชญ์ผู้มีคุณธรรม - ได้บอกเล่าแก่ฉันว่า  เขาได้ฝันเห็นว่า  ณ  หมู่บ้านอัลมิซฺซะฮ์  มีธงมากมาย  และกลองได้ถูกตีขึ้น  ฉันจึงกล่าวว่า นี้มันอะไรกันหรือ? จึงถูกกล่าวแก่ฉันว่า  ค่ำคืนนี้  เป็นคืนที่ยะห์ยา อันนะวาวีย์  ได้ถูกตั้งแต่ให้เป็นหัวหน้า(กุตบ์ - คือวะลียุลลอฮ์ผู้เป็นแกนหลักแห่งโลกในยุคนั้นที่อัลเลาะฮ์ทรงให้การดูแลคุ้มครองเป็นพิเศษ)  ดังนั้น  ฉันจึงตื่นขึ้นมาจากนอน ทั้งที่ฉันเองไม่เคยรู้จักชัยค์อันนะวาวีย์มาก่อนเลยและไม่เคยได้ยินชื่อเขามาก่อนหน้านี้เลย  ฉะนั้น  ฉันจึงเข้าไปที่เมืองดิมัชก์ เพราะมีความต้องการบางอย่าง  ฉันจึงบอกสิ่งดังกล่าวให้ชายคนหนึ่งทราบ  เขาจึงกล่าวว่า  เขา(คือชัยค์อันนะวาวีย์) ก็คืออาจารย์แห่งดารุลฮะดิษ  ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังนั่งอยู่ในนั้น  ฉันจึงเข้าไปหา  ดังนั้นในขณะที่ชัยค์อันนะวาวีย์มองมาที่ฉัน  เขาจึงลุกขึ้นมาทางด้านของฉัน  และกล่าวว่า "ท่านจงปกปิดสิ่งที่อยู่พร้อมกับท่าน(จากสิ่งที่ได้ฝันเห็น)และอย่าบอกเล่าให้คนใดฟัง" จากนั้นท่านชัยค์ก็กลับไปนั่งสถานที่เดิม"   ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 49 - 50

ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ

ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์        

ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า  ท่านกอฏอ อัลกุฏอฮ์  ญะมาลุดดีน อัซซัรอีย์  ได้เล่าเรื่องราวของอิมามอันนะนาวีย์ให้ฟังว่า "ตอนท่านอันนะวาวีย์ยังหนุ่มมีคนไปหามาหาสู่ท่านบ่อย  (เขากล่าวว่า) วันในหนึ่งฉันได้ไปหาท่านอันนะวาวีย์  พบว่าท่านกำลังทาน ค่อซีเราะห์ (แป้งผสมนมในภาชนะที่ตั้งไฟให้ร้อน)  ดังนั้น สุไลมาน กล่าวว่า  ท่านจงรับประทานเถิด แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่ค่อยอยากจะรับประทานนัก  ฉะนั้นน้องของท่านไปลุกขึ้นและมุ่งไปที่ตลาด  นำเนื้อย่างและของหวานมาให้  และกล่าวกับท่านอันนะวาวีย์ว่า ท่านจงรับประทานเถิด  แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่กิน  ดังนั้นน้องชายกล่าวว่า  โอ้ท่านพี่  สิ่งนี้ฮะรอมกระนั้นหรือ?  ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า  ไม่ฮะรอมหรอก  แต่มันเป็นอาหารของพวกทรราชย์"

ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า   "ท่านอิมามอันนะวาวีย์ไม่รับประทานแอ๊บเปิ้ลของเมืองดิมัชก์  ฉันจึงถามถึงสาเหตุดังกล่าว  ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า เมืองดิมัชก์นั้นมีที่ดินวะก๊าฟและที่ดินที่เป็นของผู้ถูกอายัตทรัพย์เยอะ  และการดำเนินการต่อแผ่นดินดังกล่าวนั้นไม่อนุญาตนอกจากบนหนทางที่ดี และทำการเกษตรแบบมะซากอฮ์(ในรูปแบบให้บุคคลหนึ่งเข้าไปทำการเพาะปลูกแล้วมาแบ่งปันผลผลิตที่ได้ตามที่ตกลงไว้)  ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้นักปราชญ์ก็มีทัศนะที่ขัดแย้งกัน  ซึ่งผู้ใดที่อนุญาต  ก็จะวางเงื่อนไขว่าต้องทำให้ดีอย่างถูกต้อง  แต่ทว่าบรรดาผู้คนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้  นอกจากเป็นเพียงส่วนหนึ่ง(ที่ดี)จากหนึ่งพันส่วนที่เป็นผลิตผลให้แก่ผู้ปกครอง  ดังนั้นฉันจะสบายใจที่ได้รับประทานสิ่งดังกล่าวได้อย่างไร?"

ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อรกล่าวว่า  ท่านชัยค์ อัลอารีฟ อัลมุฮักกิก อบู อับดุลฮะลีม มุฮัมมัด อัลอัคมีนีย์  กล่าวแก่ฉันว่า  "ท่านชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(อันนะวาวีย์)นั้น  ได้ดำเนินตามแนวทางของซอฮาบะฮ์  ซึ่งในยุคสมัยนี้ฉันไม่เคยทราบเลยว่าจะมีบุคคลหนึ่งที่ดำเนินตามแนวทางของซะฮาบะฮ์นอกจากชัยค์มั๊วะห์ยุดดีนอันนะวาวีย์" ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 45 - 47

ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน

ท่านอิมามอันนะวาวีย์  ได้กล่าวไว้ในบทนำหนังสือ  อธิบายซอฮิห์อัลบุคอรีย์  ความว่า "สำหรับซอฮิห์อัลอบุคอรีย์นั้น  ฉันเริ่มรวบรวมตำราในการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์  ซึ่งมีขนาดปานกลางไม่สั้นจนเกินไปและไม่ยืดยาวคนเกินไป  ไม่สั้นจนทำให้บกพร่องและไม่ยาวจนทำให้เบื่อหน่าย  และหากแม้นว่าปณิธานไม่อ่อนแอลงและหากบรรดาผู้ปรารถนาในหนังสือแบบยืดยาวมีมาก  ฉันก็จะทำการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์ให้ถึงหนึ่งร้อยเล่ม  พร้อมกลับห่างไกลการอธิบายแบบกล่าวซ้ำและเพิ่มเติมแบบไร้ประโยชน์"
ดังนั้น  หากท่านอิมามอันนะวาวีย์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  มีอายุยืนยาว  ผมคิดว่าตำราของท่านคงล้นดุนยา

ท่านอิบนุลอัฏฏ็อรกล่าวว่า  เราบอกเล่าให้ฉันทราบโดยชัยค์อะบุลกอเซ็ม อัลมิซซีย์ - ซึ่งเขาหนึ่งจากผู้มีคุณธรรม - ซึ่ง ณ หมู่บ้านมิซซะฮ์เขาได้ฝันเห็นธงมากมายและกลองก็ถูกตีขึ้น (ท่านอัลฮาฟิซฺอัลมิซซีย์กล่าวว่า) ฉันจึงถามว่า นี้คืออะไรหรือ?  ได้ถูกตอบแก่ฉันว่า  คือนี้เป็นค่ำคืนที่ยะห์ยาอันนะวาวีย์ได้ถูกตั้งให้เป็นแกนนำ(กุฏบ์) แล้วฉันก็ตื่นขึ้นมาจากการฝันทั้งที่ฉันเองก็ไม่เคยรู้จักและได้ยินท่านชัยค์(อันนะวาวีย์)มาก่อนหน้านี้เลย  ดังนั้นฉันจึงเดินทางไปที่ดิมัชก์เพื่อทำธุระบางอย่าง  ฉันจึงเล่าเรื่อง(การฝันถึงอิมามนะวาวีย์)ดังกล่าวแก่ชายคนหนึ่ง แล้วเขาก็กล่าวว่า ยะห์ยาอันนะวาวีย์เขาคือชัยค์(ปรมาจารย์)แห่งดารุลฮะดิษ  ขณะนี้เขาได้นั่งอยู่ที่นั่น  ฉันจึงเข้าไปที่ดารุลฮะดิษ  ดังนั้นในขณะที่ท่านอันนะวาวีย์ได้เห็นฉัน  เขาจึงลุกขึ้นยืนมาทางฉันและกล่าวว่า "ท่านจงปกปิดสิ่งที่อยู่ ณ ที่ท่าน (คือข่าวคราวเรื่องความฝัน) และท่านอย่าบอกเล่าให้คนใดทราบ" หนังสืออัลมินฮาจญุสศะวีย์ ฟีตัรญะมะฮ์อิมามอันนะวาวีย์ หน้า 49-50 ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์

ยุคหลังจากท่านอิมามอันนะวาวีย์นั้น  ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลมิซซีย์  ก็ได้เป็นปรมาจารย์แห่งสำหนักดารุลฮะดิษอัลอัชร่อฟีย์ รับช่วงต่อไปจากปราชญ์นักฮะดิษรุ่นพี่ ๆ หลังจากนั้นอีกสองรุ่น ท่านอัลฮาฟิซฺอิบนุกะษีร ก็รับช่วงในเป็นอาจารย์แห่งสำนักดารุลฮะดิษต่อจากนั้น

รอมฎอนเดือนแห่งการใคร่ครวญ




แบบอย่างของบรรพชนยุคก่อน (ชาวสลัฟ) คือ การให้รอมฎอนเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิต ภายหลังรอมฎอนจากไปเป็นเวลา 6 เดือน พวกเขายังคงหมั่นขอดุอาอฺให้การงานที่ปฏิบัติไว้ช่วงรอมฎอนเป้นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ตะอาลา และอีก 6 เดือนก่อนที่รอมฎอนจะมาถึงพวกเขาต่างขอให้ตนเองได้ใช้ชีวิตในรอมฎอนอีกครั้ง เรียกได้ว่าปีทั้งปีคิดถึงแต่รอมฎอน

เพื่อการใช้ชีวิตอย่างเสถียรและมั่่นคงกับเดือนต่าง ๆ นอกรอมฎอน ใคร่ขอนำเสนอส่วนหนึ่งแห่งบทเรียนที่ได้รับจากเดือนอันทรงเกียรติ ดังนี้

1) ความยำเกรง

หากสัญลักษณ์แห่งรอมฎอน คือ การถือศีลอด, ความยำเกรง (ตักวา) น่าจะเป็นบทเรียนแรกที่เราควรกล่าวถึง เพราะอัลลอฮฺบัญญัติการถือศีลอดมาก็เพื่อให้ผู้ศรัทธาเกิดความยำเกรงต่อพระองค์ ดังโองการที่ว่า

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติสำหรับพวกเจ้าดังเช่นที่ถูกบัญญัติให้กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 183)

วิธีตรวจสอบคุณภาพองการถือศีลอดและอิบาดะฮฺ (การภักดี) อื่น ๆ ในรอมฎอนว่าเป็นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺหรือไม่ สามารถดูได้จากความยำเกรงที่เกิดขึ้นในหัวใจนั่นเอง

2) อัลกุรอาน

รอมฎอนคือ ช่วงหนึ่งของเวลาในรอบปีที่ไม่มีใครสามารถเหนี่ยวรั้งช่วงเวลานั้นให้คงอยู่ตลอดไปได้ ถือเป็นการกำหนดของอัลลอฮฺที่ให้มีวันที่เราพบเจอรอมฎอน และมีวันที่รอมฎอนต้องจากเราไป การแสดงออกถึงความรักความคิดถึงที่มีต่อรอมฎอนวิธีหนึ่งคือ การหยิบอัลกุรอานมาอ่าน ท่องจำ ศึกษาเรียนรู้ และนำสู่การปฏิบัติ เพราะอัลกุรอานคือคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาช่วงเดือนรอมฎอนแต่จะไม่จากผู้ศรัทธาไปเช่นการจากไปของรอมฎอน ทว่าจะยังคงอยู่คู่กับมนุษยชาติจวบจนวันสุดท้าย

ดังนั้น ใครคิดถึงรอมฎอนแล้วไม่คิดถึงอัลกุรอาน การคิดถึงนั้นย่อมด้อยค่าลง เพราะที่รอมฎอนประเสริญเนื่องจากเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา

"เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่ อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับ มนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่าง ความจริงกับความเท็จ" (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185)

3) ทำความดี ต้องมีบัญชา

1 - 2 วันก่อนรอมฎอนท่านนบีห้ามศรัทธาถือศีลอด เช่นเดียวกับที่ห้ามมิให้ถือศีลอดในวันอีดิ้ลฟิตรฺ วันแรกที่เราเสร็จสิ้นจากการถือศีลอดเดือนรอมฎอนนั่นเอง

บทเรียนที่ได้รับตรงนี้คือ อิบาดะฮฺ (ศาสนกิจ) ทุกประกานจำต้องรอคำสั่ง คำบัญชาจากอัลลอฮฺ เราจะปฏิบัติตามอำเภอใจไม่ได้ เราจะคิดเองว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดีแล้วนำมาปฏิบัติเพื่อถือเป็นการทำความดีต่ออัลลอฮฺไม่ได้เป็นอันขาด ทุกความดีต้องได้รับคำบัญชาจากอัลลอฮฺอาจเป็นคำบัญชาโดยตรงที่ปรากฏในอัลกุรอาน หรือ คำบัญชาที่ผ่านคำพูด การกระทำ และการยอมรับองท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้เช่นกัน

4) ให้อิบาดะฮฺเป็นแกนกลางของชีวิต

ตลอดเดือนรอมฎอนเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามุสลิมสามารถทำให้การถือศีลอดเป็นกิจกรรมหลักของชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมอื่น ๆ จำเป็นต้องถูกจัดเรียงให้สอดคล้องกับการถือศีลอด

ตารางของมุสลิมช่วงเดือนรอมฎอนต้องเปลี่ยนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเวลารับประทานอาหาร เวลาทำงาน เวลาเล่น เวลาทำธุระส่วนตัว และเวลาอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับการถือศึลอดรวมถึงการละหมาดตะรอวีหฺ

เปลี่ยนจากการที่เคยรับประทานอาหาร 3 มื่้อ เช้า เที่ยง เย็น มาเป็นวันละ 2 มื้อ คือ ช่วงละศีลอและอาหารสุโฮร์

เวลานอนอาจต้องนอนดึกขึ้นเพื่อละหมาดตะรอวีหฺฺและตื่นเช้ากว่าเดิมเพื่อรับทานอาหารสุโอร์

เวลาจะนัดกับใครไม่ว่าธุระนั้นหรือผู้นักคนนั้นจะสำคัญขนาดไหนก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถนัดตรงกับเวลาละศีลอด ยกเว้นนัดกันไปละศีลอด

เมื่อเราสามารถให้การถือศีลอดซึ่งเป็นอิบาดะฮฺหนึ่งเป็นแกนกลางในการดำเนินชีวิตได้แล้วทำไมเราจะไม่สามารถให้อิบาดะฮฺฺอื่น ๆ เป็นแกนกลางของชีวิตเหมือนการถือศีลอด

นอกเดือนรอมฎอนหากเราไม่สามารถทำให้ทุกอิบาดะฮฺเป็นแกนกลางในชีวิตของเราได้ อย่างน้อยขอให้การละหมาดคือแกนกลาง คือเสาหลักในชีวิตของเราก็เพียงพอ เพราะท่านนบี กล่าวว่า

"เสาของอิสลามนั้นคือการละหมาด" รายงานโดย ติรมีซีย์

จงให้ละหมาด 5 เวลา คือแกนกลางของชีวิต ชนิดที่กิจกรรมใดหรือใครก็ไม่สามารถละเมิดเวลาละหมาดองเราได้ ไม่มีกิจกรรมใดในชีวิตมนุษย์ที่สำคัญกว่าการละหมาดแล้ว เพราะการละหมาดคือสัญลักษณ์แห่งการภักดีที่เด่นชัดที่สุด อัลลอฮฺ กล่าวว่า

"และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใดเว้นแต่เพื่อเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ต่อข้า" (บทอัชชาริยาต โองการที่ 56)

5) ความสุขที่ได้ละศีลอด ความสุขที่ได้พบพระเจ้า

ท่านนบีสัญญาไว้ว่าสำหรับผู้ถือศีลอดนั้นจะมีความสุข 2 ครั้งด้วยกัน นั่นคือ ความสุขขณะละศีลอด และความสุขขณะที่กลับไปพบพระเจ้า (รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม) ทุกวันในเดือนรอมฎอนเราต่างเตรียมตัวพบกับความสุขแรกด้วยการเลือกซื้ออาหารที่ดีที่สุด เลือกซื้ออาหาร เครื่องดื่มที่เราชอบและอยากรับประทานเพื่อต้อนรับความสุขแห่งการละศีลอดนี้

ไม่ถือเป็นความผิดที่ เราจะเตรียมตัวพบกับความสุขตอนละศีลอด

แต่คงน่าเกลียดหากเราจะละเลยความสุขอีกประการที่ท่านนบีสัญญาไว้ ความสุขในวันที่เราจะได้พบกับพระเจ้าองเรา อัลลอฮฺ ตะอาลา เป็นอีกความสุขหนึ่งที่ไม่มีผู้ถือศีลอดคนใดเคยสัมผัส สิ่งที่ต้องตระเตรียมเพื่อพบกับความสุขนี้คงไม่ใช่การเตรียมอาหาร - เครื่องดื่มที่ดีและหลากชนิด การทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺต่างหาก คือ เสบียงชั้นเยี่ยมเพื่อนำกลับไปพบกับอัลลอฮฺ

อัลลอฮฺ ตะอาลา กล่าวว่า

"ดังนั้น ใครที่หวังว่าจะพบกับพระเจ้าของเขา ก็จงปฏิบัติความดี และอย่าได้ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระองค์ในการทำอิบาดะฮฺของเขา" (บทอัล-กะฮฺฟฺ โองการที่ 110)

6) ขอบคุณ และ อดทน

การขอบคุณ และความอดทน คืออีกสองบทเรียนที่เราได้รับจารกการถือศีลอดช่วงเดือนรอมฎอน ผู้ศรัทธาจะใช้ความอดทนขณะที่เขาต้องอดอาหาร และพวกเขาจะขอบคุณต่อผู้ประทานอหารเวลาที่เาละศีลอด ดังนั้น ไม่ว่าจะช่วงเวลาทีี่ผู้ศรัทธาอดอาหารยามกลางวัน หรือ ละศีลอดยามกลางคืน เขาก็จะได้รับความดีทั้งสิ้น ดังที่ท่านนบีบอกว่า

"การงานของผู้ศรัทธานั้นช่างแปลกเสียจริง การงานของเขานั้นดีไปเสียทั้งหมด ซึ่งมันจะไม่เกิดเช่นนี้กับใครนอกจากกับผู้ศรัทธาเท่านั้น หากความสุขมาประสบกับเขา ๆ จะขอบคุณ ความดีก็เป็นของเขา และหากความทุกข์มารประสบกับเขา ๆ จะอดทน ความดีก็เป็นของเขา" รายงานโดยมุสลิม

ชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะในหรือนอกรอมฎอนก็มีแค่นี้แหละครับ บางทีก็ได้รับความโปรดปราน บางครั้งก็ถูกทดสอบ การถือศีลอดช่วงรอมฎอนสอนให้เรารู้จักขอบคุณเมื่อได้รับความโปรดปราน และเผชิญกับความทุกข์ยากด้วยการอดทนต่อบททดสอบของพระองค์


..........................................
เขียนโดย : นาอีม วงศ์เสงี่ยม
(จากหนังสือ : รอมฎอนเดือนแห่งการใคร่ครวญ)
อดทน เพื่อสู่ชัยชนะ โพส

มิหฺรอบในมัสยิดอัล-หะรอมของแต่ละมัซฮับในอดีต






ในช่วงเวลาหนึ่งที่มัสยิดอัล-หะรอม บรรดาผู้ติดตามมัซอับต่างได้สร้างและมีมิหฺรอบ ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะที่อิมามใช้นำละหมาด เป็นของตนเอง กลุ่มที่ยึดถือในมัซฮับชาฟิอีย์ ก็จะไม่ละหมาดเป็นมะมูมตามกลุ่มที่ยึดถือมัซฮับหะนะฟีย์ และกลุ่มที่ยึดถือมัซฮับหัมบาลีย์ ก็จะไม่ละหมาดเป็นมะมูมตามกลุ่มที่ยึดถือในมัซฮับมาลิกย์ คือไม่ละหมาดตามกันและกัน นอกจากคนในมัซฮับเดียวกันเท่านั้น  ในละหมาดครั้งหนึ่งมีถึงสีญะมาอะฮฺ มีอิมาม สี่คน ในมัสยิดอัล-หะรอม

แต่ทว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ มวลการสรรเสริญทั้งหมดเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ที่เรื่องดังกล่าวนี้ได้เลือดนจนหายไปจากประชาคมมุสลิม และพวกเขาก็ได้ละหมาดร่วมกันเป็นญะมาอะฮฺที่มัสยิดอัล-หะรอม ตามหลังอิมามคนเดียวกันแล้ว

ซึ่งหากการละหมาดยังแยกกันอยู่ในมัสยิดอัล-หะรอมยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ความสับสนวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการละหมาดอย่างแน่นอน


มิหฺรอบของแต่ละมัซฮับในมัสยิดอัล-หะรอมในอดีต














ชัยอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺกับการเปิดโปงพวกซูฟี


มีตัวอย่างหลายๆ เหตุการณ์ที่ท่านฃัยอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้ปะทะกับกลุ่มซูฟี

ท่านโต้แย้งพวกเขา และเปิดโปงการกระทำของพวกเขา

  อาทิ การที่พวกเขาเข้าไปในกองเพลิงแล้วออกมา โดยไม่ได้รับอันตรายอะไร

 หลังจากนั้นก็อ้างว่า นี้คือสัญญาณบ่งชี้ถึงความวิเศษของพวกเขา

 ชัยคุลอิสลามได้อธิบายชี้แจงไปว่า : แม้ว่าพวกเขาจะสามารถทำการเช่นนี้ หรือสามารถลอยล่องอยู่ในอากาศได้ แต่นี่ก็ไม่ใช่หลักฐานที่สามารถนำมาใช้ เพื่อบอกว่าการที่พวกเขาฝ่าฝืนชะรีอะฮฺนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ ท่านยังท้าพวกเขาให้เข้าไปในกองเพลิงอีกครั้ง

แต่คราวนี้พวกเขาต้องอาบน้ำด้วยน้ำส้มสายชู และน้ำร้อนเสียก่อน

ในท้ายที่สุดพวกเขาก็ถูกเปิดโปง

พวกเขาพ่ายแพ้และยอมยึดอัลกุรอานและสุนนะฮฺไว้อย่างสมบูรณ์

(ดู อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ 14/36 และ มัจมูอฺ อัลฟะตาวา 11/456-457)























ขอจงเชื่อมั่น


"ไม่มีน้ำตาหยดใด ที่อัลลอฮฺไม่แลเห็น

ไม่มีเสี้ยววินาทีใด ที่อัลลอฮฺไม่ใส่ใจในบ่าว

ไม่มีคำวอนขอใด ที่อัลลอฮฺไม่ได้ยิน
~ ขอจงเชื่อมั่น ~


.......................................
ร่องรอยแห่งความเมตตา
มอ.หาดใหญ่



วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ศาสนทูตมุหัมมัด อบรมสั่งสอนเด็กๆ อย่างไร



ไปให้พ้นๆ เลย!!
หยุดเดี๋ยวนี้นะ เจ้าเด็กน่ารำคาญ!!

“มันไม่น่าจะถือว่าเป็น “เรื่องปกติ” ที่ปัจจุบันนี้ในสังคมส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักจะพูดจากับเด็กๆ ด้วยน้ำเสียง และถ้อยคำที่ไม่ดีแบบนั้น”

พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และผู้ปกครอง คนดูแลเด็ก
สามารถที่จะสูญเสียการควบคุมอารมณ์
และขาดความอดทนกับพฤติกรรมที่ดื้อซนของเด็กๆ
ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเด็กๆ เหล่านั้น
เป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบ
ช่างสงสัย คล่องแคล่ว ว่องไว กล้าหาญ
มีความมั่นใจในตัวเองและสนุกสนานร่าเริงเป็นพิเศษ

“เด็กๆ” คือของขวัญชิ้นใหญ่จากอัลลอฮฺ
การมีลูกและการที่จะเลี้ยงดูพวกเขาให้เป็นคนดีมีศีลธรรม
อยู่ในหลักการศาสนาได้นั้นจำต้องอาศัยรากฐานของ
โครงสร้างครอบครัวที่มั่นคง แข็งแรง

ในขณะที่พวกเราหลายคนต่างทราบกันดี
และต่างเคี่ยวเข็ญเด็กๆ ในเรื่อง “สิทธิของพ่อแม่ในอิสลาม”
หากแต่ว่าพวกเรากลับมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กตัวเล็กๆ
เหล่านั้น ต่างก็เกิดมาพร้อมด้วย
“สิทธิในอิสลามบางประการที่เรามีหน้าที่ที่จะต้องมอบสิทธิ
เหล่านั้นให้กับพวกเขา”
ด้วยเช่นกัน แม้แต่ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ยังมีสิทธิของพวกเขา
ที่สามารถเป็นเหตุให้การแบ่งมรดกนั้นล่าช้าออกไปได้
เช่นเดียวกันกับที่มันมีผลต่อกฏเกณฑ์ของการหย่าร้างในอิสลามด้วย

ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ได้รับมือกับเด็กๆ รวมไปถึงเด็กเล็กที่มีพฤติกรรม
อุปนิสัยที่แตกต่างกันไปในหลายๆ สถานการณ์
ด้วยความอดทนและด้วยความเมตตา

ด้วยเพราะอัลลอฮฺทรงสั่งใช้พวกเราในอัลกุรอาน
ว่าให้ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของศาสนทูตมุหัมมัด
ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอพระทัยของพระองค์
ในโลกหน้า

ดังนั้นเราจึงควรศึกษาว่าศาสนทูตขัดเกลา
อบรมตักเตือนเด็กเล็กๆ
อย่างไร ในเวลาที่พวกเขาทำบางสิ่งบางอย่าง
ที่อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ทดสอบความอดทน
อดกลั้นของผู้ใหญ่ที่มีความเคร่งเครียด
และอารมณ์เสียง่ายอย่างเราๆ ในปัจจุบัน

“อดทนต่อการขับถ่ายของเสียของเด็ก”
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เด็กที่อยู่ในวัยที่ต่ำกว่า 1 ขวบ จะน่ากอด จ้ำม้ำ และน่ารัก
ทุกคนต่างอยากจะเข้าไปอุ้ม หอม กอด และเล่นด้วย
จนกระทั่งเมื่อพวกเขาขับถ่าย หรือปัสสาวะในผ้าอ้อมจนมีกลิ่นเหม็น

ทันทีที่สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น

“ผู้ใหญ่ที่แสนดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาสุภาพบุรุษ)”
ที่กำลังอุ้มเด็กน้อยอยู้ ก็รีบยีบจมูกแสดงความรังเกียจ
และรีบยื่นเด็กน้อยกลับไปให้กับผู้เป็นแม่
หรือคนดูแลเด็กเพื่อทำความสะอาด

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สิ่งที่ท่านนบี มุหัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เคยทำ เมื่อท่านอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น
ท่านมักจะอุ้มเด็กทารกมาวางไว้บนตักของท่าน
แม้ว่าในช่วงเวลานั้นจะไม่มีผ้าอ้อมสำเร็จรูปเช่นทุกวันนี้ก็ตาม

จากหะดีษรายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ

“เด็กทารกชายคนหนึ่งได้ถูกนำมายัง
ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เพื่อทำ ตะฮฺนิกให้เขา แต่เด็กน้อยได้ปัสสาวะรดท่าน
อย่างไรก็ตามศาสนทูตได้เอาน้ำราดไปตรงที่ที่มีปัสสาวะ
(เพื่อทำความสะอาด) {รายงานโดยอัลบุคอรียฺ}

ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ได้ยับยั้งตัวท่านจากการแสดงความรังเกียจหรือ
แสดงปฏิกิริยาปฏิเสธเด็กแรกเกิดที่ปัสสาวะรดใส่ท่าน
นี่แสดงให้เห็นถึงแบบอย่าง...ความอดทนอดกลั้นขั้นสูง
ที่ท่านมีต่อธรรมชาติของเด็ก
เพราะมันเป็นเรื่องปกติที่เด็กแรกเกิดจะปัสสาวะบ่อยครั้ง

บทเรียนสำหรับเราจากการกระทำของท่านคือ
การไม่แสดงความหงุดหงิดต่อการขับถ่ายของเสียของเด็ก
ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
(ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ หรืออ้วกนม)
แม้ว่ามันอาจจะเปื้อนบนเสื้อผ้าของเราก็ตาม
อีกทั้งเรายังควรช่วยทำความสะอาดของเสียที่
เกิดขึ้นโดยปราศจากความกังวลต่อเกียรติทางสังคมของเรา

“อดทนต่อพฤติกรรมของเด็กวัยหัดเดิน”
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาก็จะเข้าสู่วัยหัดเดิน
ที่มีความกระตือรือร้นคล่องแคล่ว ว่องไว
(หรือในปัจจุบันเรียกว่า เด็กก่อนวัยเรียน)
พวกเขารักการปีนป่ายขึ้นตัก
ขึ้นหลังผู้ใหญ่และทำตัวป่วน วุ่นวาย

เป็นที่ทราบกันดีว่าศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ไม่เพียงแค่ปล่อยให้เด็กในวัยนี้เข้าไปในมัสญิด
ขณะละหมาดฟัรฎูญะมาอะฮฺเท่านั้น
หากแต่ท่านยังอดทนต่อพฤติกรรมของพวกเขาขณะที่ท่าน
ทำการละหมาดด้วย แม้ว่าพฤติกรรมของเด็กๆ
จะก่อให้เกิดเสียง หรือการรบกวนก็ตาม

จากหะดีษบทหนึ่ง ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ ชาดดัด
รายงานจากการบอกเล่าของบิดาของท่านว่า
ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้เข้ามานำละหมาด
ให้พวกเราในคืนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นเวลามัฆริบ หรืออีชา

และขณะนั้นท่านกำลังอุ้มหะซัน หรือหุซซัยนฺ
หลานของท่านคนใดคนหนึ่งอยู่
ท่านเดินเข้ามาอยู่ข้างหน้าและวางหลานของท่านลง
จากนั้นท่านจึงกล่าวตักบีรและเริ่มละหมาด
ท่านสูญูดเป็นเวลานาน บิดาของฉันเล่าต่อว่า
“พ่อเงยหน้าขึ้น และเห็นหลานของท่านอยู่บนหลังของท่าน
ขณะที่ท่านกำลังสุญูด เมื่อเห็นเช่นนั้น พ่อจึงก้มลงไปสูญูดต่อ”

เมื่อศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมละหมาดเสร็จ
ผู้คนจึงกล่าวต่อท่านว่า

“โอ้ เราะสูลลุลลอฮฺ ขณะที่ท่านละหมาด
ท่านสุญูดนานจนพวกเราคิดว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน
หรือท่านกำลังรับวะฮียฺเสียอีก”

ท่านตอบว่า “ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นหรอก
แต่ลูกชายของฉันขี่บนหลังของฉัน
ฉันจึงไม่อยากจะรบกวนเขา จนกว่าเขาจะพอใจ” {อันนะซาอียฺ}

หะดีษบทนี้เป็นอีกหนึ่งแบบอย่างที่ดีงามที่ทำให้
เห็นว่าศาสนทูตมุหัมมัดอดทนต่อความซนของเด็กๆ
เพียงใด คุณลองจินตนาการดูสิว่า
หากมีเด็กวัย 2-4 ขวบขึ้นขี่หลังอีหม่ามในระหว่างการละหมาด
ในปัจจุบันนี้ คุณคิดว่าปฏิกิริยาของเขาจะเป็นเช่นไร

มากไปกว่านั้น ศาสนทูตมุหัมมัดยังได้ยืดระยะเวลา
การสูญูดของท่านให้นานขึ้นเพื่อให้เด็กได้สนุกกับ
การเล่นที่ไร้เดียงสาของเขาต่อไป
อันเป็นเหตุให้บรรดาเศาะหาบะฮฺที่ยืนละหมาดญะมาอะฮฺ
อยู่ข้างหลังท่านเกิดความสงสัย กังวลใจ

“ตักเตือนด้วยการใช้มือ”
~~~~~~~~~~~~~~
เด็กๆ ชอบเวลามีคนแสดงความรัก
ความเมตตาต่อพวกเขาด้วยภาษากาย
และพวกเขาชอบการถูกสัมผัส แทนที่เราจะลงโทษ
พวกเขาด้วยการพร่ำบ่นยืดเยื้อหรือเทศนา
เพื่อให้พวกเขาแก้ไขความผิดพลาดของเขา
การปกป้องเขาให้พ้นจากอันตรายด้วยภาษากายนั้น
มีประสิทธิภาพมากกว่า

หะดีษรายงานโดยท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ

‘อินทผลัมได้ถูกนำมามอบให้ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม

ทันทีที่ถูกเก็บมาจากต้น
แต่ละคนจะนำอินทผลัมของพวกเขามาวางไว้
(ข้างหน้าท่าน) จนกระทั่งมันรวมกันเป็นกองใหญ่
(อยู่ตรงหน้าท่าน) ครั้งหนึ่งท่านอัลหะซันและท่านอัลหุซัยนฺ
หลานของท่านได้มาเล่นอินทผลัมทีี่กองไว้
และท่านใดท่านหนึ่งในสองคนนั้น
ได้หยิบอินทผลัมเข้าปาก
เมื่อศาสนทูตมุหัมมัดเห็นเช่นนั้น
ท่านจึงใช้มือหยิบเอาอินทผลัมออกมาจากปาก
ของหลานท่านและบอกกับหลานของท่านว่า
“เจ้าไม่รู้หรือว่าลูกหลานของมุหัมมัดจะไม่ทานของบริจาค?”
(อัลบุคอรียฺ)

ศาสนทูตมุหัมมัดหยิบเอาอินทผลัมออกจากปากของหลาน
ด้วยตัวท่านเอง ขณะเดียวกันท่านก็ได้อธิบาย
เหตุผลสั้นๆ ต่อหลานของท่าน
ด้วยวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้เด็กตัวเล็กๆ
เต็มใจที่จะคายอินทผลัมหวานๆ ออกจากปากของพวกเขาเองด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
กลับใช้วิธีการตะคอกใส่ลูก
เพื่อไม่ให้พวกเขาหยิบจับสิ่งของบางอย่าง

หรือให้ออกห่างจากบริเวณที่มีอันตรายแทน
ซึ่งการกระทำดังกล่าวมักจะถูกเพิกเฉยจากเด็ก
และเมื่อเด็กไม่ทำตาม พ่อแม่ก็จะแผดเสียงด่า
ทอลูกอย่างรุนแรงต่อหน้าผู้คน ที่ลูกๆ ไม่เชื่อฟังพวกเขา

บทเรียนที่ได้จากหะดีษบทนี้ในการรับมือ
กับสถานการณ์ดังกล่าวที่ถูกต้องคือ
ผู้ใหญ่ควรรีบลุกขึ้นและนำตัวเด็กออกมาให้พ้นจากอันตราย
และตักเตือนพวกเขาด้วยคำอธิบายสั้นๆ กระชับได้ใจความ

หะดีษอีกบทที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการรับมือ
ในรูปแบบเดียวกันของศาสนทูตมุหัมมัดคือ

ท่านอนัสเล่าว่า “ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
คือหนึ่งในบรรดามวลมนุษย์ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด

วันหนึ่งท่านใช้ให้ฉันไปทำบางอย่างให้ท่าน
และฉันบอกท่านว่า
“ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ กระผมจะไม่ไปหรอกครับ”
แต่ในใจของฉัน ฉันรู้สึกว่าฉันควรจะไปทำในสิ่งที่ท่านสั่งใช้ฉัน
จากนั้นเมื่อฉันออกไปและเจอกลุ่มเด็กผู้ชาย
ที่กำลังเล่นกันอยู่ระหว่างทาง
ฉันจึงเข้าไปเล่นด้วย

ทันใดนั้นศาสนทูตมุหัมมัดก็มายืนอยู่ข้างหลังฉัน
และจับที่ด้านหลังคอของฉัน และเมื่อฉันมองท่าน
ท่านก็หัวเราะ และบอกฉันว่า “ไปที่ที่ฉันบอกให้เธอไปนะ
อนัสตัวน้อย” ฉันจึงตอบท่านว่า “ครับๆ กระผมจะไปเดี๋ยวนี้เราะสูลุลลอฮฺ”
(อบูดาวูด)

ศาสนทูตมุหัมมัดใช้วิธีการสัมผัสและคำพูดตักเตือน
ที่อ่อนโยนพร้อมๆ กันเพื่อให้ท่านอนัสรู้ตัวว่าเขากำลังลืม
ท่านทราบว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เด็กตัวเล็กๆ
จะเสียสมาธิจากการพบเห็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน
เล่นระหว่างทาง จนลืมหน้าที่

หะดีษบทนี้ ยังเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าเมื่อเด็กผ่านพ้นวัยหัดเดิน
เราสามารถที่จะฝึกให้พวกเขาทำงานง่ายๆ ได้
แต่เราก็ต้องจำไว้ว่ามันเป็นเรื่องปกติที่เด็ก
จะต่อต้านคำสั่งทันทีทันใดในตอนแรกและ
อาจเสียสมาธิได้ง่ายเมื่อพบเห็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันเล่นอยู่

“ให้คำอธิบายที่สั้นกระชับ ในการอบรมตักเตือน”
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เมื่อเด็กเติบโต อยู่ในวัยระหว่าง 6-7 ขวบ
พวกเขาก็จะเข้าสู่วัยที่เริ่มมีความเข้าใจว่าอะไรถูก
อะไรผิด เมื่ิอศาสนทูตมุหัมมัดพบว่าเด็กทำผิด
ทำสิ่งที่ไม่ควร ท่านจะตักเตือนสั่งสอน
พวกเขาด้วยวิธีการที่อ่อนโยนและอธิบาย
ถึงสิ่งที่ถูกต้องต่อเด็กด้วยถ้อยคำที่สั้นกระชับ
โดยปราศจากการด่าทอ การตำหนิที่รุนแรง
หรือทำให้พวกเขาเกิดความละอายต่อหน้าคนอื่น

ท่านอุมัร อิบนุ อบู ซะลามะฮฺรายงานว่า
‘ตอนที่ฉันยังเป็นเด็กอยู่ภายใต้การดูแลของท่านนบี
มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ฉันเคยใช้หมุนมือไปรอบๆ จานอาหาร

ครั้งหนึ่งท่านจึงบอกฉันว่า

“กล่าวพระนามของอัลลอฮฺ ( กล่าว บิสมิลลาฮฺ)
และทานด้วยมือขวา และเริ่มทานจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของเธอ”
(อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

เด็กตัวเล็กๆ มักจะมีสมาธิสั้น
มีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
มีความกระตือรือร้นสูง และมีความสงสัยใคร่รู้
พวกเขาอยากจะสำรวจทดลองทุกๆ สิ่งในโลกใบนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่ยังเป็นเรื่องใหม่
ของใหม่สำหรับพวกเขา อย่างไรตาม
มันก็เป็นไปได้ว่าเราก็อาจจะคาดเดาความหมายจากปฏิกิริยา
การกระทำต่างๆ ของพวกเขาได้อย่างผิดๆ
เว้นเสียแต่ว่าเราจะฝึกความอดทนต่อพฤติกรรมของพวกเขา
โดยปราศจากการตำหนิ ด่าทอ หรือว่ากล่าวพวกเขา
อย่างรุนแรงหรือไม่เป็นธรรม

เพราะเด็กๆ คือสมบัติที่มีค่าที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ
เราควรที่จะพร่ำบอกกับตัวเองอยู่เสมอไม่ให้กระทำการใดๆ
ที่รุนแรงกับพวกเขา อัลลอฮฺยังมิได้ทรงบันทึกบาปใดๆ
แก่พวกเขาเลยด้วยซ้ำ

แม้ว่าพวกเขาจะทำถ้วย จาน ชามแตก หรือหยิบจับรื้อค้นสิ่งที่อยู่ในตู้หรือลิ้นชักที่เราเก็บไว้อย่างดีแล้วก็ตาม

ในฐานะพ่อแม่ หากว่าเราขาดความอดทนกับลูกๆ ของเราและปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างผิดๆ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺอย่างจริงใจโดยทันทีทันใด

พ่อแม่ที่ไม่รู้สึกเสียใจหรือสำนึกผิดต่อความผิดพลาด
ที่พวกเขาทำต่อลูกๆ ของพวกเขาขณะที่ลูกๆ
ของพวกเขายังเป็นเด็ก อ่อนแอ
และยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากเขา
ย่อมต้องจบลงด้วยการเผชิญกับลูกหลานที่เติบโตขึ้นมาพร้อม
กับการมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายกับพวกเขา

และทำตัวห่างเหินจากพวกเขาเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยชรา
นั่นเป็นเพราะเด็กน้อยเติบโตมาด้วยความทรงจำ
ที่เลวร้ายจนกลายเป็นความโกรธที่ฝังลึกเก็บไว้ในใจนานหลายปี

ดังนั้นการอ่านและศึกษาเรื่องราวความรัก
ความใส่ใจ และพฤติกรรมที่อ่อนโยน
ของศาสนทูตมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม

ที่มีต่อเด็กๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ
เราย่อมสามารถป้องกันตัวเราเองให้พ้น
จากการปฏิบัติต่อลูกๆ ของเราด้วยพฤติกรรม
ที่อาจสร้างความโกรธกริ้วต่ออัลลอฮฺ
และปกป้องตัวเราเองให้พ้นจากการสร้างความเสียหาย
ต่อความสัมพันธ์กับพวกเขาในระยะยาวด้วย

******************
จากบทความ How Prophet Muhammad reprimanded children
เขียนโดย Sadaf Farooqi
แปล เรียบเรียง: بنت الاسلام
สายลมแห่งความห่วงใย  โพส

เพิ่งได้รู้ว่ารักเธอ



[[[ เรื่องสั้น...เพิ่งได้รู้ว่ารักเธอ ]]]

ว๊า...พรุ่งนี้จะถึงเดือนRamdanอีกแล้วหรอ เครียดจัง ข้าวก็อดกิน ทีวีก็อดดู เกมส์ก็อดเล่น แล้วทั้งเดือนนี้ฉันจะทำอะไรได้ว๊า นี่คือเดือนที่ล่ามซัยฎอน หรือล่ามฉันกันว๊า เฮ้อเซ็งๆๆ

"ยาซีรลูกรัก คืนนี้ไปตารอเวี๊ยะกับบาบอนะ (พ่อเอ่ยบอกแก่ลูก ด้วยใบหน้าที่ตื่นเต้น และมีความสุขมากต่อคืนแรกของRamdan เสมือนกับว่า จะไปรับเงินรางวัลก้อนโต) "

แต่ตรงกันข้าม ยาซีรรู้สึกว่าตนนั้นจะต้องไปสถานที่ที่อึดอัดคับแคบ และน่าเบื่อหน่ายที่สุดแห่งหนึ่ง ที่เขาไม่อยากก้าวเข้าไปเลยแม้แต่น้อย

ขณะละหมาดตารอเวี๊ยะ บาบอของเขาละหมาดด้วยน้ำตาที่รินไหล เพราะความยำเกรงและสำนึกในนิอฺมัตของอัลลอฮฺ ซบ ในใจของเขาไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากอัลลอฮฺ

ส่วนยาซีรขณะที่เขาละหมาด ในใจของเขาไม่มีอัลลอฮฺเลย นอกจากสิ่งที่ไร้สาระต่างๆนาๆ เขายังแอบบ่นในใจว่า เมื่อไหร่จะเสร็จว๊า เมื่อยจนตะคริวจะกินแล้ว นี่ถ้าพ่อไม่อยู่คงจะหนีออกตั้งแต่สองรอกาอัตแรกแล้ว หรือไม่ ก็คงไม่เข้าตั้งแต่แรกหรอก

"เฮ้อกว่าจะเสร็จ" (ยาซีรบ่นในใจ พร้อมกับถอนหายใจยาวออกมา)
คงเหนื่อยซิ๊น๊าลูกรัก เดี๋ยวระหว่างทางกลับบ้าน เราแวะร้านน้ำชาข้างทางน๊า

ซื๊ด... ซื๊ด...ซื๊ด...เสียงซดน้ำชาประสานเสียงกันอย่างเป็นจังหวะ จากผู้คนมากหน้าหลายตา ที่แวะเข้าร้านน้ำชาร้านเก่าๆข้างทางนี้หลังจากที่ละหมาดเสร็จ ผู้คนต่างก็นั่งสุนทรีย์อยู่กับการซดน้ำชา มองรถผ่านไปมาข้างถนนยามราตรี สลับกับการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ

บาบอกระดกแก้วแล้วค่อยๆซดน้ำชาดังซื๊ดดด จากนั้นก็กล่าวบอกแก่ยาซีรลูกรักว่า ยาซีรลูกรักเอ๋ย ลูกรู้ถึงความประเสริฐของรอมฎอนรึเปล่า? แน่นอนถ้าลูกได้รู้ถึงความประเสริฐอย่างถ่องแท้แล้ว ลูกคงไม่ปล่อยให้เวลาสูญเปล่าไป แม้สักวินาทีเดียวอย่างแน่นอน Ramdanเป็นเดือนแห่งโบนัส ผลบุญนั้นทวีคูณเกินคณานับ ผลบุญนี้นะ ถ้าได้เห็นเป็นเงินบนโลกดุนยานี้ละก็ คงแย่งกันกอบโกยโดยไม่หยุดหายใจเป็นแน่ SUBHANALLAH

Alhamdulillah บาบอดีใจมากๆ ที่อัลลอฮฺยังทรงเมตตาไว้ชีวิตบาบอจนถึงRamdanนี้อีกครั้ง นี่บาบอก็แก่มากแล้ว แถมยังมีโรคเรื้อรังอีก ไม่รู้ว่าบาบอจะมีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอนหน้าหรือเปล่า ลูกพยายามใช้ชีวิตที่มีเพื่ออัลลอฮฺให้เต็มที่นะ เด็กก็ใช่ว่าจะไม่ตาย

ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ในเมื่อเราอยูในเดือนที่ประเสริฐนี้แล้ว ก็จงกอบโกยให้สุดกำลังเถิด เพื่อจะได้ไม่เสียใจภายหลัง เมื่อสิ้นสุดคำพ่อสอน ทั้งคู่ก็ซดน้ำชาจนหมดแก้ว แล้วก็เดินทางกลับบ้าน (ยาซีรฟังเพียงผ่าน คิดเพียงว่าเป็นแค่คำเทศนาของคนแก่เท่านั้น)

วันเวลาของรอมฎอนได้ผ่านเลยไป เย้...พรุ่งนี้จะถึงวันอีดิลฟิตรีแล้ว สิ้นสุดเสียทีเดือนRamdan ยาซีรตะโกนดังลั่นในห้องนอนของตน ด้วยความดีใจจนออกนอกหน้า แต่หน้าบ้านของเขา มีบาบอนั่งอยู่ที่ม้านั่งเก่าๆในสวนหย่อม บาบอนั่งเหม่อลอยน้ำตาซึมอยู่คนเดียว เพราะเสียใจ

ที่Ramdanกำลังจะจากเขาไป เมื่อพระอาทิตย์เริ่มคล้อยจะตกดิน วันสุดท้ายแห่งความประเสริฐของเดือนRamdanยังไม่ทันจะสิ้นสุดลง บาบอที่นั่งซึมอยู่หน้าบ้านทรุดตัวล้มลงกับพื้นหญ้าในสวนนั้น เนื่องจากโรคที่เรื้อรังได้ย่ามกรายเขา

เผอิญแม่เดินออกมาหน้าบ้าน เพื่อจะตามบาบอเข้าบ้านละศีลอดพอดี แม่เห็นจึงรีบวิ่งไปยังพ่อทันที พร้อมตะโกนเรียกยาซีรด้วยความตกใจ เมื่อยาซีรออกมาถึง

บาบอของเขาอ่อนแรงเต็มที หัวใจก็เริ่มเต้นแผ่วเบาลงทุกวินาที บาบอพยายามเปล่งเสียงออกมาด้วยกำลังสุดท้ายที่มีอยู่ เสียงที่สั้นคลอแต่แสนอ่อนโยนนั้นได้กล่าวว่า "อย่าได้ร้องไห้และเสียใจเลย เรามาจากอัลลอฮฺเราก็ต้องกลับคืนสู่พระองค์ "

เราจะเสียใจอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อ เรากลับไปหาพระองค์แต่พระองค์ทรงโกรธกริ้วเรา นั่นเป็นการเนรคุณโดยแท้ตัวเรา ฉะนั้นอย่าได้ตายก่อนที่จะเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง หวังว่าเราจะได้อยู่พร้อมหน้ากันในสรวงสวรรค์นะอิงชาอัลลอฮฺ ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ...

เมื่อสิ้นสุดคำกล่าวชาฮาดะฮ์ ลมหายใจของเขาก็ได้สิ้นสุดลง เสียงของบาบอเงียบไป มีแต่เสียงของแม่อ่านดุอาอฺที่ดังขึ้นพร้อมๆกับเสียงอาซานมัฆริบ ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ และเป็นเสียงที่บ่งบอกว่า Ramdanปีนี้ได้จากไปแล้ว.................................

ถัดจากวันที่เสียบาบอไป ยาซีรได้ระลึกทบทวนสิ่งดีๆที่เคยสอนไว้ โดยเฉพาะคำสอนสุดท้ายที่บอกถึงความประเสริฐของรอมฎอน เลยเพิ่งได้เข้าใจว่าทำไมบาบอถึงได้รักรอมฎอนมากถึงเพียงนี้

*ถ้าคุณผู้อ่านเป็นยาซีรสิ่งแรกที่คุณจะคิดคืออะไร?
*คุณผู้อ่าน เห็นค่าของ Ramdan หรือเปล่า ?
*Ramdan มีเวลาประมาณ 2,592,000วินาที แล้วคุณใช้ไปกี่วินาทีเพื่ออัลลอฮฺ ?
*ทั้งๆที่โบนัสทวีคูณเกินคณานับได้มาหาคุณ แต่คุณไม่เห็นค่าของมัน ไม่กอบโกยมันไว้ ความฉลาดอยู่ไหนกัน!!!

..............................
Cr: ฟูอัด ชีวิตวิทยา




รอมาฎอน เข้ามาใกล้!!




ความสัมพันธ์ ที่เรียกว่า..แฟน..ห่างไกล หรือยัง??

ความสัมพันธ์ ที่อ้างว่า แค่เพื่อน...เหมือนเดิมไหม ??

ความผูกพันธ์ที่คอย ปลุกละหมาดซูบฮี อยู่ทุกวัน
ความผูกพันธ์ที่คอย ให้กำลังใจ เพราะเบื่อเหง่า

ความเคยชิน ที่เคยอ้าง...หาเรื่องคุย..

ยังไม่เลิก และยังคงเดิมอยู่อีกใช่ไหม ??

หากไม่เลิก ณ วันนี้
รอมาฎอนของเรา ก็คงได้แค่ อด..และหิวกระหายเท่านั้น

เพราะนัฟซู..ยังไม่เลิกที่จะไขว่คว้าคนที่ทำให้เรา ห่างไกลจากรอมาฎอน

จนห่างไกล จากอัลลอฮในที่สุด

นาอูซุบิลลาฮิมินซาลิก
..................................
โดย ชะบ๊าบ ก๊อลบุนสะลีม
เครดิตภาพแสงสว่าง ของใบไม้


เขาทิ้งพ่อแม่ไปพร้อมกับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ



การที่ลูกทิ้งบิดามารดาของเขาให้อยู่ตามลำพังและทนทุกข์กับความชราภาพ ความเหงา ความเดียวดาย แต่ตนเองกลับอยู่อย่างสุขสบายกับสามีหรือภรรยา โดยที่เขาคิดเอาเองว่า การที่บิดามารดาของเขาตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ยังคงดีกว่าการหย่าร้างกับภรรยาหรือสามี
แต่การที่เขากลับไปหาภรรยาหรือสามีของเขา และปล่อยบิดามารดาของเขาอยู่อย่างเดียวดาย ไร้คนดูแล เท่ากับว่าเขากลับไปพร้อมกับความโกรธกริ้วจากอัลลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา)


ท่านรสูุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของบิดามารดา และความโกรธกริ้วของอัลลอฮฺก็ขึ้นอยู่กับความโกรธ ไม่พอใจของบิดามารดา" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอิบนิ ฮิบบาน)

الله أعلم بالصواب


คลิปที่ทำให้คนเข้ารับอิสลามอย่างมากมาย



คลิปนี้ถูกเผยแพร่หลายต่อหลายครั้งและถูกลบหลายครั้งใน Youtube

เพราะคลิปนี้ได้ทำให้คนเข้ารับอิสลามอย่างมากเลยทีเดียว ด้วยบทความที่สั้น แต่เจาะใจและกระตุ้นสมองของผู้ฉลาด และได้ข้อคิดอย่างมาก
และเราช่วยกันเผยแพร่กันน่ะคัฟ

คลิก https://www.facebook.com/photo.phpv=10202906828526068&set=vb.1063358771&type=2&theater








บาฏินียฺ

บาฏินียฺ คือกลุ่มคนของลัทธิหนึ่งในศตวรรตที่ 3 ซึ่งตรงกับสมัยของอัลมะอ์มูน

พวกเขาเชื่อว่าอัลกุรอานเป็นแค่คำพูดของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และในนั้นมีความหมายแฝงที่มีคนเพียงไม่กี่คนทราบ

นอกจากนี้ พวกเขาก็เชื่อว่าการรักร่วมเพศและการมีเพศสัมพันธ์กับพี่น้องของตัวเอง นั้นเป็นสิ่งทีี่อนุญาต

กลุ่มคนที่รับเอาแนวคิดของคนกลุ่มนี้มา ได้แก่พวกเกาะรอมิเฏาะฮฺและพวกอิสมาอีลียะฮฺในยุคแรกๆ และต่อมาในยุคหลังๆ คือพวกก็อดยานียฺและบาไฮ

คนกลุ่มนี้สร้างความเสียหายให้แก่มุสลิมเป็นอย่างมาก จนพวกเขาถูกกวาดล้างโดยผู้นำสมัยอับบาสิด ที่ชื่อ อัลมุกตาฟียฺ ในฮิจเราะฮฺที่ 300
(ดู ฟัรกฺ บัยนฺ อัลฟิร็อก หน้า 382)


เกาะดะรียฺ


เกาะดะรียฺ คือกลุ่มคนที่อ้างว่าบ่าว คือ ผู้กำหนดการงานต่างๆ ของตัวเอง

และอัลลอฮฺไม่มีอำนาจในการไม่มีอำนาจในการควบคุมจัดการสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น

บุคคลแรกที่เรียกร้องสู่ความคิดนี้ คือ มะอ์บัด อัลญุฮานียฺ

นอกจากนี้ ก็อาจมีฆ็อยลาน อัดดิมัชกียฺ หรือ เซาซัน อันอัศรอนียฺ ด้วย

ความคิดอุตริเช่นนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงท้ายขอศตวรรตแรก

พวกเกาะดะรียฺบางคนปฏิเสธว่าอัลลอฮฺทรงทราบเหตุการณ์ล้วงหน้าก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ก็ล้มหายตายจากไปแล้ว ดังที่อัลนะวะวีได้กล่าวไว้
(ดู ชัรฮฺ อุถศูล อัลอิอฺติกอด 1/23 และ 3/534 และ ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม ของอัลลาลิกาอิ)







รอวินดียฺ


รอวินดียฺ คือผู้ปฏิบัติตามแนวทางของอัลกอชิม บินรอวันด์

พวกเขาเชื่อว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้แต่งตั้งให้อัลอับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิบ เป็นเคาะลีฟะฮฺต่อจากท่าน

และเชื่อว่ามุสลิมทุกคล้วนตกศาสนา เพราะพวกเขาห้ามไม่ให้อัลอับบาสขึ้นมาเป็นผู้นำ

นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อด้วยว่า สิทธิในการเป็นผู้นำต้องเป็นของผู้ที่สืบสายตระกูลมาจากอัลอับบาสเท่านั้น และอิมามมะฮฺดีก็จะเป็นคนจากครอบครัวของเขา



วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดะฮฺรียฺ


ดะฮฺรียฺ (มาจากคำว่า "ดะฮฺร" แปลว่า เวลา)
คือกลุ่มที่เชื่อว่าชีวิตหลังความตายนั้นไม่มีอยู่จริง
และวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นซ็ำทุกๆ 36,000 ปี
พวกเขาบอกว่า ไม่มีอะไรทำลายพวกเขาได้นอกจากเวลา (อัดดะฮฺร)

(ดู ตัฟสีร อัลกุรอาน อัลอะซีม ของอิบนุกะษีร 4/190)




มุชับบีฮะฮฺ


มุชับบีฮะฮฺ คือ กลุ่มคนที่มีความคิดสุดโต่งในเรื่องคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮฺ
พวกเขาถึงกับเชื่อว่าพระองค์ทรงเหมือนมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์เอง

คนกลุ่มนี้แตกออกมาจากพวกชีอะฮฺสุดโต่ง
 คนที่มีชื่อในเรื่องแนวคิดนี้ คือ ดาวูด อัลญะวัรบียฺ และฮิชาม บินอัลหะกัม ซึ่งเป็นรอฟีเฎาะฮฺ (ชีอะฮฺ)

มีผู้ที่กระทำสิ่งที่เป็นอุตรกรรมทางศาสนาบางคนกล่าวหาอะลุสสุนะฮฺว่าเป็นพวกมุชับบะฮะฮฺ ทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้เป็น
(ดู อัลมิลัล วันนิฮัล ของอัชชะฮฺรอสตานี้ 1/103 และมะกอลาต อัลอิสลามิยีน ของอัลอัชอะรียฺ หน้า 221, 491, 518, 521, 564)