อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

จงเป็นผู้ที่ชอบให้อภัย




เขียนโดย อาฏิฟ อับดุรรอชีด


          การให้อภัยเป็นคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่มุสลิมจะต้องสร้างมารยาทอันนี้ แท้จริงอัลลอฮฺ ได้พรรณนาตัวของพระองค์ว่า พระองค์นั้นเป็นผู้ที่ให้อภัย และได้ใช้ให้บ่าวของพระองค์ให้เลียนแบบลักษณะนั้น อัลลอฮฺ  ทรงตรัสว่า





ความว่า “เจ้า(มุหัมมัด) จงยึดไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด”

(อัลอะอฺรอฟ : 199)

         การให้อภัยนั้น คือ การชัยชนะของจิตใจที่สงบต่อจิตใจที่ยุยงให้กระทำชั่ว โดยที่บุคคลหนึ่งจะแผ่ออกไปเมื่อมีบุคคลหนึ่งได้ทำอันตรายแก่เขา

แท้จริงท่านนบีมุหัมมัด  ได้สั่งเสียในเรื่องของท่านอภัย โดยท่านกล่าวว่า

 “การบริจาคทานจะไม่ทำให้ทรัพย์สินลดน้อยลง

และไม่มีบ่าวคนใดที่ให้อภัยนอกจากอัลลอฮ์จะทรงเพิ่มเกียรติยศให้แก่เขา

และไม่มีผู้ใดที่นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮ์ นอกจากอัลลอฮ์จะทรงยกเขาให้สูงขึ้น “

(รายงานโดย มุสลิม)

         ดังนั้นความประเสริฐของการให้อภัยยิ่งใหญ่มาก เมื่อการให้อภัยแผ่กระจายออกไปจะทำให้เกิดความรักในหมู่มนุษย์ และมันจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ส่งผลทำให้เกิดความรัก และความเป็นมิตรกัน แท้จริงรางวัลของผู้ที่ชอบให้อภัยนั้น คือ อัลลอฮฺจะทรงรักเขา ดังที่พระองค์กล่าวว่า



وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ

ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษและบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ อัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย”

(ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 134)


ตัวอย่างของการอภัย

เรื่องของ  อาลี ซัยนุลอาบีดีน

เด็กหนุ่มรับใช้ได้รินน้ำให้แก่นายของเขา แต่แล้วภาชนะได้ตกหล่นบนเท้าของอาลี และภาชนะนั้นก็ได้แตกหัก อาลี  จึงโกรธมาก จนกระทั่งใบหน้าเปลี่ยนสี

เด็กหนุ่มจึงได้กล่าวว่า " โอ้นายของฉัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงกล่าวว่า وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ  ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษ”

อาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวว่า   “แท้จริงฉันได้ข่มโทษของฉันแล้ว”

แล้วเด็กหนุ่มก็กล่าวขึ้นอีกว่า  “โอ้นายของฉัน และอัลลอฮ์ กล่าวว่า وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ  ความว่า “และบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์”

แล้วอาลี ซัยนุลอาบีดีน ก็กล่าวอีกว่า “โดยแน่นอนแท้จริง ฉันได้อภัยแก่เจ้าแล้ว”

ดังนั้นเด็กหนุ่มก็ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงตรัสว่า وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ ความว่า “และอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย” (ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 132)

ดังนั้นอาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวแก่เขาว่า “ฉันปล่อยท่านเป็นอิสระ เพื่อพระพักต์ของอัลลอฮ์”


ดุอาของท่านนบี ในวันสงความอุหุด

         ในวันที่เกิดสงความอุหุด บรรดามุชรีกีนได้ทำร้ายท่านนบีอย่างหนัก บรรดาศอหาบะได้กล่าวแก่ท่านนบี ว่า แม้นว่าท่านขอดุอาให้แก่พวกเขา ท่านรอซูลกล่าวว่า

“แท้จริงฉันไม่ใช่ส่งมาเพื่อสาปแช่ง แต่ฉันถูกส่งมาเพื่อเป็นผู้เรียกร้อง และ เป็นความเมตตา

โอ้อัลลอฮฺขอได้โปรดอภัยโทษแก่กลุ่มชนของฉันด้วยเถิด เพราะแท้จริงพวกเขานั้นเป็นผู้ที่ไม่รู้ ”

(มุตตาฟากุลอาลัย)

         เช่นนี้แหล่ะ ที่ท่านนบี  อภัยแก่ศัตรูของท่านและท่านนั้นไม่ได้ละทิ้งพวกเขา แต่ทว่าทรงขอดุอาให้พวกเขาให้ได้รับการอภัยและได้รับทางนำที่ถูกต้อง เพราะท่านนั้นถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก



จงเป็นผู้ที่ให้อภัย

จงรู้จักตัวของท่าน...ว่าเป็นผู้ที่ให้อภัยแก่คนอื่นหรือไม่ ?

          ไม่ใช่เรื่องยากการที่บุคคลหนึ่งๆจะกำหนดตัวเองว่าเขาเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ชอบให้อภัยหรือไม่ ดังนั้นมาเถิด มาพร้อมกับพวกเรา เพื่อที่เราจะได้รู้จักตัวของพวกเราเอง ระหว่างการตอบคำถามต่อไปนี้

1. เมื่อมีบุคคลหนึ่งทำให้ท่านโกรธท่านทำอะไรกับเขา ?

2. เมื่อมีบุคคลหนึ่งมาทำร้ายท่านและขออภัยจากท่านท่านดำเนินการอย่างไร ?

3. การให้อภัยแก่ผู้ที่ทำร้าย หรือ การแก้แค้น ทั้งสองนี้อย่างไหนประเสริฐที่สุด ?

4. ท่านชอบอ่านชีวประวัติของผู้ที่ให้ชอบอภัยแก่คนอื่นหรือไม่ ?

5. การให้อภัยของท่านมาก่อนการเป็นศัตรูหรือไม่ ?  และหลังจากนั้นท่านรู้สึกอย่างไร ?

6. เมื่อมีคนโง่มาทำอันตรายสร้างความไม่พอใจ ท่านจะดำเนินการอย่างไร ?

7. ท่านรังเกียจผู้ที่ทำอันตราย หรือสร้างความไม่พอใจกับท่านหรือไม่ ?

8. ท่านพิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดจากความโกรธหรือไม่ ?

9. ท่านจะตักเตือนเพื่อนของท่านอย่างไร เมื่อเขาสร้างความไม่พอใจต่อคนๆหนึ่ง ?

10.ท่านชอบที่จะให้อภัย และชอบที่จะให้ของขวัญแก่คนอื่นหรือไม่ ?



..............................
จากหนังสือ كن عفوا

ถอดความโดย อัลฟารีซี




เพื่อนบ้านนั้นสำคัญยิ่ง



เพื่อนบ้านคือ ผู้ที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้กัน หรืออยู่ห่างกัน ผู้เป็นเพื่อนบ้านก็มีสิทธิที่จะได้รับจากเรา และเราก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านด้วยมารยาทที่ดี
อิสลามได้ส่งเสริมเรื่องนี้เสมอ

Quran An-Nisaa' - (The Women) [4:36]
"และจงเคารพสักการะอัลลอฮ์เถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮ์ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด "

สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ท่านนบีสั่งสอนกับบรรดามุสลิมทั้งหลาย

“ ญิบรีลยังคงสั่งเสียแก่ฉัน เกี่ยวกับเพื่อนบ้านจนกระทั่งฉันคิดว่า เพื่อนบ้านจะสามารถรับมรดกของเพื่อนบ้านได้” (บันทึกโดย บุคอรี และมุสลิม)


1- และมีหะดีษกล่าวถึงดังต่อไปนี้

ومن كان يؤمن بالله واليوم الآخر فليكرم جاره

"ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงให้เกียรติเพื่อนบ้านของเขา"( บันทึกโดย บุคอรี และมุสลิม)

และในบางสำนวนของหะดีษนี้ระบุว่า

فليحسن إلى جاره

เขาก็จงทำดีต่อเพื่อนบ้านของเขา


2- والذي نفسي بيده لا يؤمن عبد حتى يحب لجاره ما يحب لنفسه

"ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ (อัลลอฮฺ) ศรัทธาของบ่าวคนหนึ่งจะไม่สมบูรณ์ จนกว่าเขาจะชอบให้เพื่อนบ้านของเขาได้รับสิ่งที่ตัวเขาเองชอบ" (บันทึกโดย มุสลิม)


3- وخير الجيران عند الله خيرهم لجاره

"และเพื่อนบ้านที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺตะอาลานั้น ก็คือเพื่อนบ้านที่ทำดีต่อเพื่อนบ้านของตนมากที่สุด"(บันทึกโดย อะหมัด และ ติรมิซีย์)




มารยาทที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติต่อเพื่อนบ้าน   
ได้แก่ :

- จะต้องทำดีกับเพื่อนบ้าน ให้การช่วยเหลือเขา ไปเยี่ยมเขาเมื่อเขาเจ็บป่วย แสดงความยินดีกับเขาเมื่อเขาได้รับสิ่งที่ดี แสดงความเสียใจและปลอบใจเขา เมื่อเขาประสบทุกข์ภัย และได้รับความเดือดร้อน ให้การสนับสนุนเขา พูดจากับเขาโดยดี

- ให้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนบ้าน ท่านอบูซัร รฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า แท้จริงมิตรของฉันคือท่านนบีมุฮำมัด ศ็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งเสียให้แก่ฉันว่า

“เมื่อท่านทำแกง ก็จงใส่น้ำแกงให้มาก แล้วท่านจงมองดูผู้อยู่ในบ้านจากบรรดาเพื่อนบ้านของท่าน แล้วจงมอบแกงส่วนหนึ่งให้แก่เขา เพื่อเขาจะได้รับประทาน” (บันทึกโดย มุสลิม)

- ให้เกียรติต่อเพื่อนบ้าน มีความรู้สึกเกรงอกเกรงใจเขาโดยอยู่ในหลักบัญญัติอิสลาม ขณะเดียวกันก็จะต้องให้คำแนะนำตักเตือนกัน ให้เพื่อนบ้านได้ปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของบัญญัติศาสนา



วัสลาม
..................
annisaa.com




อย่าโกรธกัน !!!นะพี่น้อง







          ความโกรธเป็นอาการที่แสดงออกถึงการไร้ความยับยั้งสติอารมณ์ชั่วครู่ชั่วขณะที่มีอาการโกรธ อาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ทันได้รู้สึกตัว  เมื่อใดที่อาการโกรธหายไปและรู้สึกตัวอีกครั้ง ความเสียใจก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่ยับยั้งตนแสดงความก้าวร้าวหรือก่อความเสียหายในขณะที่ตนมีอาการโมโหโกรธา

          ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงสั่งให้ระวังนิสัยชอบโกรธ เพราะมักจะเป็นภัยต่อมนุษย์มากกว่าให้คุณประโยชน์ การระงับความโกรธบางครั้งก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ดังนั้นผู้ที่สามารถยับยั้งตนและระงับความโกรธได้จึงถือเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง

ท่านรอซูล  ได้กล่าวไว้มีความว่า

 “ผู้ที่แข็งแกร่งนั้นไม่ใช่ผู้ที่สามารถล้มคู่ต่อสู้ได้ แต่ผู้ที่แข็งแกร่ง คือ ผู้ที่สามารถควบคุมตัวเองได้ในยามโกรธ”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

การระงับความโกรธจึงเป็นลักษณะของผู้ศรัทธาและผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ พระองค์ได้สาธยายถึงคุณลักษณะของบุคคลเหล่านี้ว่า

الَّذِينَ يُنفِقُونَ فِي السَّرَّاء وَالضَّرَّاء وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ (سورة آل عمران:134)

“คือบรรดาคนที่ใช้จ่ายให้ทานทั้งในยามสุขและยามทุกข์ อีกทั้งระงับความโมโหโกรธาและให้อภัยแก่คนอื่น
แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่กระทำความดีงาม”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน: 134)

          อาการโกรธเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นจึงต้องระวังตนอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ซึ่งอาจจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล เป็นที่เข็ดขยาดของคนอื่น และไม่มีผู้ใดอยากใกล้ชิด  ครั้งหนึ่งได้มีผู้ชายคนหนึ่งมาขอให้ท่านรอซูล  ตักเตือนเขา

ท่านรอซูล ได้สั่งเขาว่า
“ท่านจงอย่าโกรธ” ท่านได้ทวนเช่นนั้นหลายครั้งว่า อย่าโกรธ
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)

           เพราะอาการโกรธเกือบจะไม่เป็นผลดีใดๆ เลยต่อตัวมนุษย์ เป็นอาการที่เกิดจากการยุแหย่ล่อลวงของชัยฏอน ผู้ที่มีอาการเช่นนั้นจึงต้องหาวิธีเพื่อระงับความโกรธเสีย  ท่านรอซูล  ได้แนะนำวิธีการระงับความโกรธโดยให้กล่าวคำว่า

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ      “อาอูซุ บิลลาฮฺ มินัช ชัยฏอนิร รอญีม”

ความหมายคือ “ข้าขอให้อัลลอฮฺช่วยคุ้มครองให้พ้นจากการล่อลวงของชัยฏอน”
 (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

ท่านรอซูล  ยังได้กล่าวไว้อีกมีความว่า

“พึงรู้เถิดว่าความโกรธคือถ่านไฟที่อยู่ในใจของมนุษย์ พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่าตาของเขาแดงก่ำและกรามของเขาพองโต
เพราะฉะนั้นใครที่มีอาการเช่นนั้นให้เขารีบไปอาบน้ำวูฎูอฺ (อาบน้ำละหมาด)”
 (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์)

นอกจากนี้ผู้ที่สามารถระงับความโกรธจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ เช่น ท่านรอซูล  ได้กล่าวไว้มีความว่า

“ผู้ใดที่ระงับความโกรธไว้ในขณะที่เขาสามารถปะทุมันออกมาได้
ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะเรียกเขาท่ามกลางผู้คนมากมาย  และให้เขาเลือกจะเอานางสวรรค์คนใดก็ได้ตามใจเขา”
(รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์)

 .................................
 โดย อ.ซุฟอัม อุษมาน

Islam House

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

อิสลามในเยอรมัน



ฮีซามมุดดีน มุศตอฟา เขียน

อิสลามในเยอรมัน เป็นสิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งถึงการเข้ารับอิสลามที่เพิ่มมากขึ้นและคาดไม่ถึงว่าชาวเยอรมันจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามมากอย่างน่าตกใจถึงแม้ว่าอิสลามจะถูกมองในภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและถูกกล่าวหาต่างๆนาๆว่าเป็นศาสนาที่จอมปลอม. และชาวเยอรมันที่เปลี่ยนมารับนับถืออิสลาม

ในช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2004 ถึงเดือน มิถุนายน ปี 2005 มีจำนวนประมาณ 4000 คนโดยการเพิ่มขึ้น
ของมุสลิมใหม่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมากลับมีการเพิ่มขึ้นถึง4เท่าโดยปกติแล้วจำนวนผู้เข้ารับอิสลามในแต่ละปีประมาณ 300 คนต่อปี. นิตยสาร (Der Spiegel)ของประเทศเยอรมันพยายามสำรวจว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวเยอรมันหลั่งไหลมาเข้ารับอิสลามอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์โดยได้รับการช่วยเหลือในการหาข้อมูลจากคณะกรรมการอิสลามในประเทศเยอรมันและพบว่าสาเหตุที่ทำให้คนเยอรมันเข้าอิสลามเป็นจำนวนมากก็เกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่11 กันยายน 2001และการที่ชาวยุโรปกล่าวโจมตีให้ร้ายศาสนาอิสลามและผลที่ได้รับภายหลังจากการวาดการ์ตูนล้อเลี่ยนท่านนบีมูฮัมหมัด(ศอลฯ)จาการเผยแพร่ของหนังสือพิมพ์ในประเทศเดนมากและการที่สันตะปาปา เบเนดิกที่16ให้ความคิดเห็นต่อศาสนาอิสลามอย่างไม่เป็นธรรมและไม่สามารถหยุดการเผยแพร่กระจายของศาสนาอิสลามในเยอรมันและในยุโรปได้

ยิ่งไปกว่านั้นศาสนาอิสลามกลับกลายเป็นศาสนาที่มีคนเข้ารับมากว่าศาสนาอื่นๆในประเทศนี้. นิตยสารฉบับนี้ได้ยกคำพูดของท่าน ซาลิมอับดุลลอฮ์ ท่านบอกว่าผู้ที่เข้ารับอิสลามส่วนใหญ่จะมาจากผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์จากวงการต่างๆหรือจากสภาพสังคมที่แตกต่างกันไปจากผู้ที่เกิดความสงสัยในศาสนาของพวกเขาหรือว่าจากกลุ่มสตรีที่แต่งงานกับผู้ชายมุสลิมก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาของตนด้วยกับให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์ทั้งสองฝ้าย.

ท่าน อับดุลลอฮ์ยังได้พูดถึงความน่าสนใจของชุมชนมุสลิมในประเทศเยอรมันอีกด้วยว่าเป็นแหล่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดผู้คนจำนวนมากมาเข้ารับอิสลามด้วยกับความมีน้ำใจความเป็นพี้น้องที่พวกเข้าได้รับจากที่นั้น. สถาบันศึกษาศาสนาของมหาวิทยาลัย Würzburg ของประเทศเยอรมนีได้ทำการศึกษานอกสถานที่ได้เปิดเผยถึงการให้ความสำคัญกับศาสนามีค่าลดน้อยลงและการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในยุโรปอย่างไม่มีขอบเขตและการศึกษาในครั้งนี้พบว่าวัยรุ่นในยุโรปมีทัศนคติที่มีต่อศาสนาเปลี่ยนไปและยังพบว่าความผูกพันที่มีต่อการศึกษาในเรื่องของศาสนาได้มีความแข็งตัวขึ้นในประเทศตุรกีและในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิกและความอ่อนแอลงในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์และการยอมเปิดเผยตัวของวัยรุ่นชาวเยอรมัน23เปอร์เซ็นต์ วัยรุ่นชาวโปแลนด์ 80 เปอร์เซ็นต์ วัยรุ่นชาวตุรกี 81 เปอร์เซ็นต์ว่าพวกเขานั้นมาจากครอบครัวที่มีความเคร่งครัดต่อศาสนา.

ดร. (Hans-Joerg Tcyprits)ได้พิจารณาว่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่มีมากขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวชาวมุสลิมและความสัมพันธ์ที่อ่อนแอลงของคนหนุ่มสาวชาวยุโรปที่มีต่อหลักศรัทธาความเชื่อต่อศาสนาคริสต์. การศึกษาของมัจลิซความมั่นคงอิสลามได้ชี้ให้เห็นถึงจำนวนของผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในเยอรมันประมาณ1000คนในในช่วงปี2006ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเยอรมัน(WolfgangSchäuble) ได้มีความวิตกกังวลถึงอันตรายของคลื่นความต้องการการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามภายในประเทศอย่างเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเยอรมัน(WolfgangSchäuble) ได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ที่แสดงถึงความวิตกกังวลถึงจำนวนผู้เข้ารับอิสลามของชาวเยอรมันที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงล่าสุดนี้โดยให้ข้อพิจารณาว่าพวกเขาจะสร้างความคุกคามต่อความปลอดภัยในประเทศเยอรมัน เขากล่าวต่ออีกว่า ฉันไม่ได้กล่าวถึงทุกคนที่เข้ารับอิสลามว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้ายใหม่แต่ความเป็นจริงที่แน่แท้ที่แสดงให้เห็นว่าลัทธิก่อการร้ายได้เกิดขึ้นในแผ่นดินของสังคมชาวเยอรมันแล้ว และไม่ได้มีปัจจัยจากภายนอกเพียงอย่างเดียวแต่จะนำไปสู่การถกเถียงกันในสังคมเยอรมันเกี่ยวกับผู้ที่เข้ารับอิสลามไปจนถึงการขอมีพรรคในการเข้าร่วมในการปกครองสังคมและขอเพิ่มการดูแลความปลอดภัยและติดตามความคืบหน้าของชุมชนและเรื่องของสื่อสำหรับมุสลิมใหม่. และสำหรับส่วนกรมกิจกรรมศาสนาได้มีความเห็นว่าสิ่งที่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเยอรมันตอนนี้ก็คือเรื่องของการให้การสนับสนุนเพื่อให้ศาสนาอิสลามมีสถานะภาพที่สำคัญในสังคมเยอรมัน จำนวนมุสลิมในประเทศเยอรมันมีประมาณ 3 ล้านคนและครึ่งล้านส่วนมากมาจากผู้อพยพชาวตุรกี

จำนวนประชากรมุสลิมในประเทศเยอรมันที่มีครั้งแรกในปี 1739 ในสมัยของกษัตร(FriedrichWilhelm) ซึ่งเป็นกษัตรแรกที่อยู่ในประเทศรัสเซียก่อนหน้านั้นก็ได้มีการก่อตั้งมัสยิดแห่งแรกในเมือง Potsdamในปี 1731 โดยอุทิศให้แก่ทหารชาวเติอร์กและจำนวนประชากรมุสลิมที่เป็นชาวอาหรับมีประมาณสองแสนห้าหมื่นคนพวกเขามาอาศัยในประเทศยุโรปเพราะได้รับโอกาสในการทำงานและจำนวนชาวเยอรมันที่เข้ารับอิสลามจนถึงปัจจุบันมีจำนวนประมาณหนึ่งแสนคนและจำนวนประชากรมุสลิมที่มีสิทธิเข้าร่วมในการเลื่องตั้งโดยประมาณหนึ่งล้านคนของประชากรในประเทศซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า2 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่สิทธิในการลงคะแนนเสียงทั้งหมดภายในประเทศ

จำนวนมัสยิดและสถานที่ละหมาดในประเทศเยอรมันมีประมาณ 2200 หลัง มัสยิดส่วนใหญ่จะอยู่ในสถาบันของชาวตุรกีซึ่งเป็นผลมาจากเพิ่มจำนวนมากขึ้นของมุสลิมชาวตุรกีและนับว่าเป็นกลุ่มชนมุสลิมส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศยุโรปจำนวนมัสยิดที่มีโดมและหออาซาน(รูปแบบดั้งเดิมของมัสยิด)มีมากกว่า 140 หลังและมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมันนับตั้งแต่ปี1995 ก็คือ มัสยิด อัลฟัตฮฺ อัลมูกอม ที่อยู่ในเมือง Mannheim.

ในฐานะผู้แปลขอยกคำดำรัสของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงตรัสว่า:

"และพวกเขาได้วางแผนและอัลลอฮ์ก็ทรงวางแผนด้วยและอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงวางแผนที่ดีเยี่ยม" (อัล-กรุอาน 3:54)

"แท้จริงพวกเขากำลังวางแผนการณ์กันอยู่และข้า(อัลลอฮ์)ก็วางแผนการณ์อยู่" (อัล-กรุอาน 86:15-16)

.....................................................................................
 http://anuchamas.blogspot.com/2013/08/blog-post.htm

Moses No-ah



สงครามบะดัร สงครามจำแนกระหว่างมุสลิมกับมุชริก



ดร.อัดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะฮ์มาน อัลค็อรอาน

ประมาณ5ปีแรกหลังจากการฮิจญ์เราะห์ ชาวกุเรชได้นำกองทหารเข้าสู่นครมะดีนะฮ์ โดยมีความมุ่งหวังจะทำลายรัฐอิสลามให้ราบคาบลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งจะนำเสนอโดยสรุปที่สำคัญๆ ได้แก่ สงครามบะดัร สงครามอุฮุด และสงครามอัลอะฮฺซ๊าบฯลฯ

สงครามบะดัร เป็นสงครามแรกที่จำแนกระหว่างบรรดามุสลิมกับบรรดามุชริก ซึ่งจากสาเหตุของสงคราม ตลอดจนขั้นตอน ทำให้ทราบได้ว่า แท้จริง อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีพระประสงค์ที่จะขจัดความอ่อนแอของบรรดามุสลิมที่ดำเนินวิถีชีวิตตามรูปแบบในมักกะฮ์ และพวกมุชริกได้กระทำต่อชาวมุสลิมอย่างทารุณโหดเหี้ยม เช่นเดียวกันกับที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้เป็นบทเรียนอันเจ็บปวดแก่บรรดาชาวกุเรช ตลอดจนการสลายอำนาจของพวกเขา และให้เป็นบทเรียนแก่คนทั่วไปว่า พลังที่แท้จริงนั้น คือพลังแห่งศรัทธา แท้จริงแล้ว อัลลอฮ์ซุบฯ ทรงช่วยเหลือคุ้มครองท่านนะบี รวมถึงศาสนาของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน

หลังจากที่ท่านเราะซูล ได้จัดระบบภายในของเมืองมะดีนะฮ์เรียบร้อยแล้ว จึงหันมาเพื่อทำการตอบโต้พวกกุเรชบ้าง และทวงสิ่งที่ถูกยึดจากบรรดาผู้อพยพกลับคืน ซึ่งมีทั้งทรัพย์สินและที่พักอาศัย

โอกาสได้มาถึง ในขณะที่ท่านทราบว่ากองคาราวานสินค้าของชาวกุเรชได้ออกมุ่งหน้าไปยังเมืองชาม ท่านจึงรอคอยกองคาราวานที่บรรทุกสินค้าต่างๆที่กำลังเดินทางกลับมา ครั้นเมื่อกองคาราวานมาถึงท่านจึงออกไปพร้อมกับบรรดาศอฮาบะฮ์ที่มีความสามารถ เพื่อกั้นขวางกองคาราวานนั้นอย่างรวดเร็ว ท่านนะบี ได้กล่าวว่า :

“ใครที่มีพาหนะพร้อม ก็ให้รีบออกไปกับเราทันที” (*1)

ท่านเราะซูล ได้ออกไปพร้อมกับศอฮาบะฮ์เพื่อสกัดกองคาราวานนั้น แต่อัลลอฮ์ซุบฯทรงมีพระประสงค์อื่น กองคารวานจึงได้หลุดรอดไป ผู้นำกองคารวานคือ อบูซุฟยาน ได้ส่งคนมาตรวจเส้นทางและรู้ว่าบรรดามุสลิมได้ออกมาสกัดกั้นเส้นทางนั้น เขาจึงหลบเลี่ยงเปลี่ยนไปเส้นทางอื่นด้านชายฝั่งทะเลแดงแทน พร้อมทั้งส่งคนไปบอกพวกกุเรช ให้ออกมาอารักขากองคาราวานสินค้าของพวกเขา จึงได้มีชาวกุเรชพากันออกมาเป็นจำนวนมากมีประมาณ 1300 นาย และหลังจากที่ได้ทราบข่าวการรอดพ้นของกองคาราวาน บางกลุ่มจึงเห็นว่าสมควรกลับสู่มักกะฮ์ แต่ อบูญะฮัล ได้หลงตนเองจึงคิดแผนการออกอุบาย แล้วเขาจึงพูดว่า :

“เรายังจะไม่กลับเข้ามักกะฮ์ จนกว่าเราจะได้ไปที่บะดัรเสียก่อน ไปอยู่สักสามวัน เราจะเชือดอูฐหนุ่มและกินดื่มสุราเลี้ยงฉลอง มีทั้งนักร้องนักเต้นให้เราได้ชม เพื่อว่าชาวอาหรับจะได้กล่าวขวัญถึงชื่อเสียงและความเป็นอยู่ของพวกเราอย่างยิ่งใหญ่ และพวกเขาจะได้มีความเกรงกลัวพวกเราตลอดไป”

มีคนจำนวนมากหลงเชื่อ ส่วนที่กลับมักกะฮ์มีประมาณ 300 นาย อบูญะฮัลได้พาพรรคพวกเดินทางไปจนไปถึงแหล่งน้ำที่บะดัร กองคาราวานของกุเรชได้ผ่านพ้นไปแล้ว และมีจำนวนมากของกุเรชได้มุ่งหน้าสู่บะดัรเพื่อเป็นการแสดงพลังของพวกตนเพื่อข่มขู่บรรดามุสลิม ท่านนบีมุฮัมหมัด จึงมีคำสั่งสำหรับสถานการณ์นี้ ท่านได้เรียกบรรดาศอฮาบะฮ์มาร่วมประชุมหารือกันในการที่จะต้องไปประจัญหน้ากับพวกกุเรชและทำการสู้รบ บรรดาผู้อาวุโสของมุฮาญิรีนจึงได้กล่าวสนับสนุนให้ออกไปต่อสู้และใช้คำพูดเพื่อปลุกเร้าทำให้เกิดความจูงใจ ท่านเราะซูล จึงกล่าวชมเชยและขอดุอาอ์ให้แก่พวกเขา และให้คนทั้งหลายเสนอความคิดเห็นอีก โดยท่านต้องการทราบท่าทีของชาวอันศ็อร เพราะพวกเขามีจำนวนมากกว่า และการทำสัตยาบันที่ “อะกอบะฮ์” ครั้งที่ 2 นั้น มิได้ระบุให้พวกเขาต้องออกทำสงครามพร้อมกับท่านที่นอกเมืองมะดีนะฮ์ แต่ชาวอันศ็อรมีความเข้าใจดีถึงเจตนาของท่านนบี ผู้ที่ถือธงนำทัพมีชื่อว่า : สะอัด บิน มุอ๊าซ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ จึงได้พูดว่า :

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ครับ ดูเหมือนว่าท่านหมายถึงพวกเรา

ท่านเราะซูลุลลอฮ์ จึงตอบว่า : ใช่แล้ว

ดังนั้น สะอัดจึงพูดต่อไปว่า :

แน่นอน พวกเราได้มีศรัธาต่อท่าน เชื่อตามท่านและเราได้ยืนยันแล้วว่าสิ่งที่ท่านนำมานั้นเป็นเรื่องจริง แล้วเราได้ให้คำมั่นสัญญาในการเชื่อฟังท่าน ดังนั้นขอท่านจงออกไปสู้เถิด ท่านเราะซูล ของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตามความประสงค์ของท่าน ฉันขอสาบานด้วยผู้ซึ่งที่ได้ส่งท่านมาพร้อมกับความจริง หากท่านนำพาพวกเราไปสู่ท้องทะเล แล้วท่านข้ามไป แน่นอนพวกเราก็จะข้ามไปพร้อมกับท่าน จะไม่มีใครจากพวกเราขาดหายไปแม้เพียงสักคนเดียว แล้วเราไม่รังเกียจต่อการที่พวกเราจะไปเผชิญหน้ากับศัตรูของพวกเราในวันพรุ่งนี้ พวกเราอดทนอย่างแน่นอน ในสภาวะสงครามที่เต็มไปด้วยความจริงใจในขณะประจัญบานและหวังว่าอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะให้ท่านได้เห็นสิ่งที่ตาทั้งสองของท่านจะมีความสุข ดังนั้น ท่านจงพาเราไปด้วยกับความจำเริญของอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เถิด

ท่านเราะซูลลุลลอฮ์ มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งกับคำพูดนั้น แล้วท่านได้พูดว่า : พวกท่าน จงออกไปพร้อมกับข่าวดีได้เลย

การสู้รบในสงครามบะดัร
บรรดามุสลิมได้ออกไปประจัญหน้ากับพวกมุชริกีนที แหล่งน้ำบะดัร และเพื่อว่าอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะทรงให้มีการสู้รบเกิดขึ้น พระองค์ทรงทำให้บรรดามุสลิมมองเห็นจำนวนของมุชริกีนมีจำนวนเพียงเล็กน้อย และทำให้ในสายตาพวกมุชริกีนมองเห็นบรรดามุสลิมีนมีจำนวนมาก
พระองค์ ทรงตรัสไว้ว่า :

“และจงรำลึกขณะที่พระองค์ให้พวกเจ้าเห็นพวกเขามีจำนวนน้อยในสายตาของพวกเจ้าขณะที่พวกเจ้าเผชิญหน้ากัน และทรงให้พวกเจ้ามีจำนวนมากในสายตาของพวกเขา เพื่อที่อัลลอฮ์ จะทรงให้งานหนึ่งเสร็จสิ้นไป ซึ่งงานนั้นได้ถูกกระทำไว้แล้ว และยังอัลลอฮ์นั้น กิจการทั้งหลายจะถูกนำกลับไป” (อัลอันฟาล 8:44)

การสู้รบได้เริ่มขึ้นโดยการดวลดาบกันของแต่ละฝ่าย แล้วได้จบสิ้นลงด้วยชัยชนะของฝ่ายมุสลิม ต่อมาการสู้รบอันรุนแรงได้ปะทุขึ้นอย่างหนักหน่วง ส่งผลให้พวกมุชริกีนได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก พวกเขาถูกสังหารไปถึง 70 ศพ ในจำนวนนั้นมีระดับหัวหน้ารวมอยู่ด้วย ได้แก่ อบูญะฮัล และถูกจับเป็นเชลยอีก 70 คน ส่วนบรรดามุสลิมีนได้เสียชีวิตในสงคราม (ชะฮีด) จำนวน 14 ท่านเท่านั้น

ชัยชนะในสงครามบะดัร
ผลของการทำสงครามที่บะดัรทำให้ชาวกุเรช รวมถึงเผ่าต่างๆที่เป็นมุชริกต้องเสียขวัญ และเป็นความแปลกประหลาดที่พวกวัตถุนิยมที่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้นี้ แต่นี่เป็นสิ่งยืนยันแล้วแก่บรรดาผู้ยอมรับแนวทางแห่งพระเจ้าในจักรวาล สาเหตุที่ชัดเจนแห่งชัยชนะของบรรดามุสลิมมีดังนี้ :

1. ความพอใจในสิ่งตัวเองที่มีอยู่ ท่านเราะซูล ได้ใช้อาวุธที่สำคัญยิ่ง คือการฝึกเหล่าซอฮาบะฮ์ให้มีความพอใจในสิ่งตัวเองมีในการสู้รบกับฝ่ายศัตรู ซึ่งจะชดเชยกับกำลังพลของฝ่ายมุสลิมีนที่มีน้อยกว่า และกำลังใจได้ตั้งมั่นอยู่บนความปรารถนาในสิ่งที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้แก่บรรดานักต่อสู้ด้วยกับผลบุญอันยิ่งใหญ่ จะเห็นตัวอย่างจาก เรื่องราวของ อุมัยร์ บิน อัลฮัมมาม รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ในขณะที่ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ได้ปลุกเร้าให้บรรดาซอฮาบะฮ์ ทำการต่อสู้โดยท่านกล่าวว่า :

“พวกท่านทั้งหลายจงไปสู่สวรรค์กันเถิด ซึ่งความกว้างใหญ่ไพศาลของสวรรค์นั้นดั่งบรรดาชั้นฟ้าและผืนดิน”

อุมัยร์ จึงได้พูดด้วยความปีติยินดีว่า :

“โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ สวรรค์ที่มีความกว้างดั่งบรรดาชั้นฟ้าและผืนแผ่นดินกระนั้นหรือ?!”

ท่านตอบว่า : “ใช่แล้ว”

แล้วเขาได้เอาผลอินทผลัมหลายผลที่ติดตัวอยู่ออกมาและรับประทานไปบ้าง หลังจากนั้นเขากล่าวว่า :

“แน่นอน หากฉันมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกินอินทผลัมนี้หมด มันช่างเป็นชีวิตที่ยาวนานมาก”

แล้วเขาได้ขว้างผลอินทผลัมที่เหลือทิ้งไปและทำการสู้รบจนเขาถูกสังหารในที่สุด (*2)

2. การขอดุอาอฺ ท่านเราะซูล ได้ใช้อาวุธอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผลให้ได้รับชัยชนะ คือ การขอดุอาอ์ ซึ่งในดุอาอ์นั้นจะนำมาซึ่งชัยชนะจากผู้ที่ให้ชัยชนะ
ดังคำตรัสของพระองค์ที่ ว่า :

“หากว่าอัลลอฮ์ ทรงช่วยเหลือพวกเจ้า ก็จะไม่มีผู้ใดชนะพวกเจ้าได้ และหากพระองค์ทรงทอดทิ้งพวกเจ้าแล้ว ก็ผู้ใดเล่าจะช่วยเหลือพวกเจ้าได้หลังจากพระองค์ และแด่อัลลอฮ์นั้น ผู้ศรัทธาทั้งหลายจงมอบหมายเถิด ” (อาละอิมรอน 3 160)

ท่านนะบี ได้ลุกขึ้นในยามค่ำคืนของสงคราม ในขณะที่ผู้คนทั้งหลายกำลังนอนหลับสนิท ท่านได้เฝ้าขอดุอาอ์ต่อพระเจ้าของท่านด้วยการวิงวอนต่อพระองค์ให้ได้รับชัยชนะ และเป็นอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งรุ่งเช้า ท่านอบูบักร รอฎิยัลลอฮุอันฮุ รู้สึกสงสาร เห็นใจท่าน และกล่าวกับท่านนะบี ว่า :

“โอ้ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ท่านพอได้แล้วจากการขอต่อพระผู้อภิบาลของท่าน แท้จริง พระองค์จะทรงประทานให้กับท่านตามที่พระองค์ได้ทรงให้สัญญาไว้” (*3)

3.การเข้าร่วมรบของบรรดามลาอิกะฮ์ อีกสาเหตุหนึ่งแห่งชัยชนะของบรรดาผู้ศรัทธาได้แก่ อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงส่งบรรดามลาอิกะฮ์มาเป็นกำลังเสริม ทำให้หัวใจของพวกเขามั่นคง เหล่ามลาอิกะฮ์ได้สู้รบกับศัตรูพร้อมกับพวกเขาด้วย ดังมีหลักฐานจากอัลกุรอานได้บ่งชี้ไว้ ตลอดจนมีหะดีษที่ซอเฮี๊ยะที่ระบุว่า บรรดามลาอิกะฮ์มาร่วมรบพร้อมกับบรรดาผู้ศรัทธา (*4) สงครามบะดัรจบลงตามเป้าหมายที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประสงค์ ดังคำตรัสของพระองค์ ว่า :

"และจงรำลึกขณะที่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงสัญญาไว้กับพวกเจ้า ซึ่งหนึ่งในสองกลุ่มว่ามันเป็นของพวกเจ้าและพวกเจ้าชอบที่จะให้กลุ่มที่ไม่มีกำลังอาวุธนั้นเป็นของพวกเจ้า แต่อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงต้องการให้ความจริงเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นด้วยพจนารถของพระองค์ และจะทรงตัดขาดซึ่งคนสุดท้ายของผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย

เพื่อพระองค์จะทรงให้สิ่งที่เป็นจริงได้เป็นที่ประจักษ์ และให้สิ่งเท็จได้เป็นที่ประจักษ์ชัดและแม้ว่าบรรดาอาชญากรผู้กระทำความผิดจะเกลียดชังไม่พอใจก็ตาม” (อัล อันฟาล 8 : 7-8)


*1.ดูซอฮี๊ฮฺ มุสลิม กิตาบ อิมาเราะฮ์ บาบ ษุบูตุ้ลญันนะฮ์ ลิชชะฮีด

*2.เรื่องของอุมัยรฺ ดูที่หนังสือซอฮี๊ฮฺ มุสลิม เล่ม 3 \1509\1510 หะดีษที่ 1901 ซีเราะตุบนิฮิชาม หน้า 267-268 อิบนุ สะอ์ดฺ อัฏฏอบะก็อต อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 25

*3.การขอดุอาอฺของท่านนบีและการสำรวมของท่านในสงครามบะดัร ดู ซอฮี๊ฮฺ อัลบุคอรีย์ กิตาบ อัล มะฆอซีย์ บาบ “อิซตัษตะฆีษูนะร็อบบะกุม” หะดีษที่ 3959 ซอฮี๊ฮฺ มุสลิม กิตาบ อัล ญิฮาด บาบ อัล อิมดาดบิลมลาอิกะฮฺ ซีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชาม หน้า 267

*4.คัดมาจากหะดีษซอฮี๊ฮฺของอัลบุคอรีย์ กิตาบ อัล มะฆอซีย์ บาบ ซุฮูบุลมลาอิกะฮ์บัดรอน และซอฮี๊ฮฺมุสลิม กิตาบุ้ลญิฮาด บาบ อัลอิมดาดบิลมลาอิกะฮฺ


...........................................................
ที่มา : คลังบทความนักเรียนเก่าซูดาน
http://tssd2.blogspot.com/search?updated-max=2010-10-13T08%3A55%3A00-07%3A00&max-results=7&start=4&by-date=false


ที่มา http://anuchamas.blogspot.com

อัลกุรอ่านบอกไว้..ให้มนุษย์เข้าใจในเรื่อง "ปวด"



โดย Sukree Ibn Qadir

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ใน "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" ว่า..

" แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อสัญญาณต่างๆ ของเรานั้น เราจะให้พวกเขาเข้าไปในไฟนรก คราใดที่ผิวหนังพวกเขาสุก เราก็เปลี่ยนผิวหนังให้แก่พวกเขาใหม่ซึ่งมิใช่ผิวหนังเดิม เพื่อพวกเขาจะได้ลิ้มรสการลงโทษ แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ " (อัลกุรอาน 4:56)

ถ้าเราลองพิจารณาโองการดังกล่าวนี้ดูแล้ว จะพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจยิ่งอยู่ตอนหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยต่อยอดไปอย่างกว้างขวาง... นั่นก็คือ "ต่อมรับรู้ความเจ็บปวดที่อยู่บริเวณผิวหนัง"
ดังที่ในโองการข้างต้นความว่า...

"...คราใดที่ผิวหนังพวกเขาสุก เราก็เปลี่ยนผิวหนังให้แก่พวกเขาใหม่ซึ่งมิใช่ผิวหนังเดิม เพื่อพวกเขาจะได้ลิ้มรสการลงโทษ..."

ตรงจุดนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไมในโองการดังกล่าวถึงเน้นย้ำและพยายามพูดถึง "ผิวหนัง" ของมนุษย์ว่าจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การลิ้มรส "ความเจ็บปวด" (จากการลงโทษด้วยความร้อนของไฟนรก) ?

ภาพโครงสร้างผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งจะมีต่อมรับความรู้สึกเจ็บปวด (pain receptor) ชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วๆ ไป (ในรูปนี้ แสดงด้วยสีฟ้า)

..คำตอบของมันก็คือ คัมภีร์อัลกุรอ่าน (ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระเจ้าผู้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา) กำลังบอกความลับให้เราได้ทราบว่า "ตำแหน่งของต่อมที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นอยู่ตรงที่ผิวหนังนั่นเอง" (วัลลอฮุอะหฺลัม - พระองค์เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในทุกสิ่ง)
หากว่ากล่าวไปแค่นี้ว่า "ต่อมรับความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ที่ผิวหนัง"... แน่นอนว่าจะต้องมีหลายๆ คนรีบแย้งขึ้นมาว่า "เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กประถม มัธยม หรือเป็นผู้ใหญ่คนใหน ต่างก็รู้กันอยู่แล้วนี่ เพราะมันมีสอนอยู่ในวิชาชีววิทยา หรือวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป"

ครับ... ผมคงไม่แย้งในประเด็นนั้น แต่อยากให้เราลองคิดย้อนกลับไปในมุมกลับกันว่า เนื้อหาที่อัลกุรอ่านบอกกล่าวเอาไว้ในโองการนี้ มันได้ถูกประทานลงมาเป็นระยะเวลาตั้ง 1,400 กว่าปีมาแล้ว !
ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนั้น (เมื่อ 1,400 กว่าปีก่อน) มนุษย์ยังไม่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงพอ (ที่จะมาช่วยศึกษาเรื่องเหล่านี้) อย่างเช่นที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน..


แสดง "Pain pathway" หรือเส้นทางการรับรู้ความรู้สึกปวดที่เริ้มต้นตั้งแต่บริเวณต่อมใต้ผิวหนังไปจนถึงศูนย์แปลผลที่สมอง

อีกทั้ง ถ้าเราลองศึกษาดูถึงเรื่องประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ เกี่ยวกับการเริ่มต้นศึกษาและเริ่มค้นพบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "สรีระวิทยาของความปวดและโครงสร้างของตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด" นั้นมันเพิ่งมาเริ่มเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ มานี้เอง โดยกล่าวถึงแค่สมองไว้เป็นสำคัญ และต่อมาก็เริ่มมีการขยายความในรายละเอียดของ "กระบวนการรับรู้ความเจ็บปวดของร่างกาย" มากขึ้นโดยนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศษคือ René Descartes ซึ่งเขาเริ่มมีการกล่าวถึงตั้งแต่อวัยวะเริ่มต้นที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (ผิวหนัง) ไปจนถึงตำแหน่งที่มีการแปลผล (สมอง) โดยที่เขาเรียกเส้นทางรับรู้ความรู้สึกนี้ว่า "pain pathway" (ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำนี้อยู่เช่นกัน)

..ครับ เรื่องราวความเป็นจริงมากมายเหล่านี้ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน นับว่าเป็นความอัศจรรย์ใจยิ่งและไม่อาจหาคำอธิบายได้สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อว่ามันได้ถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง...

แต่สำหรับ มุสลิม ผู้ศรัทธาในพระเจ้าที่เที่ยงแท้และเชื่อว่าทุกถ้อยคำในคัมภีร์อัลกุรอ่านมาจากพระองค์แล้ว ความอัศจรรย์เหล่านี้อาจไม่ได้มีความสำคัญใดๆ มากไปกว่าความศรัทธาที่เขายิ่งมีมากขึ้น... เพราะแม้พระองค์อัลลอฮฺไม่ได้ให้มนุษย์เห็นความอัศจรรย์ใดๆ ให้ล่องลอยออกมาจากอัลกุรอ่านให้เห็นชัดๆ ด้วยตา แต่หัวใจของเขาก็เฝ้าคิดใคร่ครวญถึงความอัศจรรย์อื่นๆ ที่อยู่รายรอบตัวเขาอยู่แล้ว... ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ;

"แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง และพวกเขาพินิจพิจารณากัน (ถึงความน่าอัศจรรย์) ในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้จุดมุ่งหมายเลย! มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด " (อัลกุรอ่าน ,3 : 190-191.)


........................................................................................
http://anuchamas.blogspot.com/2013/06/blog-post_13.html 

รอยับ ฏอยยิบ อุรฺดูฆอน นายกรัฐมนตรีตุรกี ผู้ดับแสงลัทธิเซคคิวลาร์



รุ่งอรุณ เเห่งอิสลาม เรียบเรียง

จากเด็กชนบทธรรมดาคนหนึ่งที่เห็นความเป็นไปอันพิกลพิการของศาสนาและความเป็นตัวตนของประเทศตนเอง ยอมเสียที่จะละทิ้งความสะดวกสบาย ในโรงเรียนรัฐที่ถูกหยาบโลนไปด้วยระบอบของอตาเติร์ก อันเป็นระบอบที่ทำลายอาณาจักรอิสลามแห่งสุดท้ายลงเมื่อ 80 ปีก่อนนั้น (อาณาจักรอุษมานียะฮฺหรือออตโตมัน มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วง ค.ศ.1453-1923) ทำให้เด็กชายตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งขอผู้ซึ่งเป็นบิดาให้ส่งตัวเองไปเรียนในโรงเรียนศาสนาอันไม่มีเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลให้ได้หยิบจับกัน ซ้ำยังโดนจับตาจากอำนาจฝ่ายรัฐที่จ้องจะเล่นงานยกเลิกการเรียนการสอนอีกนั้น เด็กชายผู้นี้เลือกที่จะมาเรียนที่นี้ เพียงเพื่อหวังที่จะหลีกหนีความพิกลพิการทางศาสนาของประเทศและคนตุรกีสมัยนั้น เพื่อที่ว่าตนเองจะได้สัมผัสอิสลามแม้เสี้ยวเดียวในโรงเรียนซอมซ่อแห่งนั้น และประเทศตนเองที่ไม่มีกลิ่นอายแห่งอิสลามให้ได้เชยชมแล้วก็ตาม

เด็กชาย ฏอยยิบุดดีน อุรฺดูฆอน เกิดในปี ค.ศ.1954 ครอบครัวของเขาอพยพมาอยู่เมืองอิสตันบูลหรือเมืองแห่งอิสลาม อดีตเมืองคอนสแตนติโนเปิลของกษัตริย์คอนสแตนตินแห่งโรมันตะวันออก เมืองที่สุลต่านหนุ่มวัย 21 ปี มุฮัมมัด อัล-ฟาติหฺ (Sultan Muhammad Al-Fatih) ได้พิชิตมาจากโรมันเมื่อสมัยโบราณ อุรฺดูฆอนเติบโตมาในสังคมมุสลิมที่แยกศาสนาออกจากชีวิตปกติประจำวัน (ระบบเซคคิวลาร์ – secularism) เบียดเรื่องศาสนาให้มิด และอุดอู้อยู่แต่ในมัสญิด ไม่ใช่แค่นั้น มุสฏอฟา กมาล อตาเติร์ก ผู้ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งตุรกี ใหม่นั้น (หลังจากรับใช้ยิวโค่นอำนาจเคาะลีฟะฮฺอุษมานียะฮฺในปี 1924 ลงได้) ยังได้บังอาจเปลี่ยนการอะซานในตุรกีให้เป็นภาษาเติร์กอีก และยังสั่งใช้ไม่ให้ผู้หญิงมุสลิมใส่หิญาบ (ทั้งที่ตนเองก็อ้างว่าเป็นมุสลิม) ผู้ชายห้ามใส่หมวกตอรฺบุช (กาปีเยาะฮฺชนิดหนึ่ง) หมอนี่ยังได้คิดริเริ่มปฏิรูปประเทศลงเหวลึกยากจะกู่กลับด้วยการให้ผู้คนคลั่งไคล้ชาตินิยมอีกด้วย โรงเรียนทุกแห่งห้ามสอนกุรอานเป็นภาษาอาหรับ ห้ามเรียนภาษาอาหรับ ต้องใช้ภาษาเติร์กเท่านั้น และอีกมากมายแผนการชั่วที่ถูกคิดค้น

อุรฺดูฆอน ไปสมัครเข้าโรงเรียนชั้นษะนาวีย์แห่งหนึ่ง (มัธยม) ในวันหนึ่งคุณครูได้ถามนักเรียนว่า ใครละหมาดเป็นบ้าง ช่วยออกมาแสดงให้เพื่อน ๆ ดูหน้าห้องหน่อยสิ… เด็กชายอุรฺดูฆอนยกมือและได้ออกมาหน้าห้อง คุณครูจึงเตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อปูชั่วคราวให้เขาได้ละหมาด แต่อุรฺดูฆอนได้ปฏิเสธที่จะใช้มัน เหตุผลที่คุณครูคนนั้นเล่ามาก็คือ เพราะที่หนังสือพิมพ์นั้น มีรูปดาราผู้หญิงอยู่ นับแต่นั้นอุรฺดูฆอนจึงได้รับฉายาจากครูว่า รอยับ เป็นภาษาตุรกี แปลว่า ผู้มีความเคร่ง วันนี้เราจึงได้รู้จักเค้าคนนี้ในชื่อ รอยับ ฏอยยิบ อุรฺดูฆอน (Recep Tayyip Erdogan) นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศตุรกี

...................................
Marco Solomon

หมาเฝ่าไร่ฝิ่น



เมื่อสหรัฐอเมริกาโค่นรัฐบาลตอลีบันโดยการช่วยเหลือของชีอะฮฺจากอิหร่านแล้ว พวกเขา(สหรัฐอเมริกา)ก็ได้ทุ่มเงินจำนวนกว่าพันล้าน ทดลองใช้หลากหลายวิธีการในการควบคุมการแพร่กระจายของฝิ่น แต่ความสำเร็จมีเพียงน้อยนิดเท่านั้นเมื่อเทียบกับความสำเร็จของรัฐบาลตอลีบัน และความจริงที่ดูไม่ค่อยสบอารมณ์เท่าไหร่ก็คือ เมื่อเทียบกับการปกครองของรัฐบาลตอลีบัน 7 ปีหลังจากสหรัฐอเมริการุกรานอัฟกานิสถานและตั้งรัฐบาลหุ่นของนายฮามิดคาร์ไซขึ้นมาบริหารประเทศกลับทำให้ฝิ่นกระจายเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ฝิ่น90 % ของเฮโรอีนทั่วโลก กลับมีต้นตอจากอัฟกานิสถาน[9][9] ซึ่ง 2 ใน 3 ของเฮโรอีนมาจากเมือง เฮลมานด์ และ ณ เวลานี้ ที่เมืองเฮลมานด์ก็กำลังเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ของNATO ที่ใช้ต่อต้านรัฐบาลตอลีบัน และ คุณ Gretchen Peter เองก็เคยกล่าวว่า ถ้าเฮลมานด์ ถูกแยกออกออกไปตั้งเป็นอีกประเทศหนึ่งแล้วละก็ อัฟกานิสถานจะเป็นรองและต้องกลายเป็นประเทศผลิตฝิ่นอันดับ 2 ส่วนเฮลมานด์ก็จะกลายเป็นประเทศผลิตฝิ่นอันดับหนึ่งของโลก!!!

ต่อไปนี้คือประเด็นที่คุณ James Fergusson เตือนให้ตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถานสำหรับผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง

1 อย่างน้อยที่สุด รัฐบาลตอลีบัน ได้ทำให้ประชาชนได้จำขึ้นใจแล้วว่า ฝิ่น เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลาม เพราะก่อนนี้ประชาชนส่วนหนึ่งยังคงมองว่ามันเป็นที่อนุญาต

2 เงินค้ายาเสพติด ณ ขณะนี้ กำลังสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลของรัฐบาลหุ่นของนายฮามิด คาร์ไซ อย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน และเงินค้ายาเสพติดนี้ยังคงทำลายนโยบายการสร้าง

สถียรภาพของตะวันตกในอัฟกานิสถาน ส่วนในอนาคต นโยบายตะวันตกที่ใช้เงินเป็นตัวการสำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนให้เลิกจากการปลูกฝิ่นดูเหมือนว่าจะยังคงเป็นไปได้ แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้ผลก็ยังไม่ปรากฎ มีแต่จะถอยหลังลงคลอง

3 ชาวอัฟกันเคยแย้งว่า เฮโรอีนนั้นคือความชั่วร้ายของตะวันตก ฉะนั้นปัญหานี้เป็นของตะวันตกอย่างเดียวพวกเขาไม่เกี่ยว กล่าวคือ การขายเฮโรอีนบางครั้งถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม จากการสำรวจของ UN ในปี 2007 พบว่า ในอัฟกานิสถานมีผู้ใช้เฮโรอีนเกือบ 50,000 คน และส่วนผู้ใช้ฝิ่นยอดทะลุถึง150,000 คน สถิติเหล่านี้เกิดหลังการล่มสลายของรัฐบาลตอลีบันทั้งสิ้น และเป็นยุคสมัยที่ประชาธิปไตยปกครองอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 2002-ปัจจุบัน


จากข้อมูลการวิจัยของNations International Drug Control Programmeที่เรานำเสนอไปข้างต้นนั้นกลับเผยข้อมูลออกมาว่า ผู้ที่สวมหน้ากากเป็นตำรวจคอยดูและความสงบสุขของชาวโลกกลับกลายเป็นอาชญากรผู้กระจายยาเสพติดเสียเองคนพวกนี้ไปที่ไหนยาเสพติดเพิ่มขึ้นที่นั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าหดหู่ยิ่งนักสำหรับมนุษยชาติผู้ต้องการอิสรภาพที่แท้จริง มันอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวที่ยากจะยอมรับสำหรับผู้นิยมชมชอบ“ภาพยนต์ฮอลีวูด” พวกเขาอาจจะนึกภาพไม่ค่อยออกว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่หากท่านลองทบทวนเหตุการณ์ช่วงปลายเดือนมกราคมในบ้านเมืองของเราดูว่าผู้ที่ถูกจับในคดียาเสพติดพันล้านนั้น ทำไมหนึ่งในนั้นถึงเป็นนายทหารยศระดับนายพัน?[10][10]และข้อเสนอที่ถูกยื่นให้กับนายพันท่านนั้นในการส่งยาคือเที่ยวละ 1 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่ยั่วยวนพอ

สมควรสำหรับผู้ที่ไร้ซึ่งอุดมการณ์สุดท้ายก็ต้องจบด้วยกับถ้อยแถลงของผู้ก่อการร้ายที่อยู่ใน “บัญชีดำ”ของสหรัฐอเมริกา “มุลลาฮฺ อับดุล บาชิร” หนึ่งในสมาชิกของรัฐบาลตอลีบันที่ได้กล่าวกับคุณ James Fergusson นักข่าวอิสระผู้คลุกคลีอยู่ในอัฟกานิสถานเป็นเวลากว่า 14 ปี ว่า


“เราคือหนึ่งในผู้ที่สั่งการลดปริมาณการปลูกฝิ่น อมีรุลมุฮฺมินีน มุลลาฮฺ มุฮัมหมัด อุมัร ออกฟัตวา(คำประกาศ) ต่อต้านสิ่งเหล่านี้และเราก็กำลังประสบความสำเร็จในการประกาศยกเลิกฝิ่น เราไม่สามารถที่จะหยุดมันให้หมดเกลี้ยงได้ภายในครั้งเดียว มันต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปเหมือนการให้เด็กเล็กเลิกกินนม เรากำลังจะบรรลุเป้าแล้ว แต่น่าเสียดายที่ทหารอเมริกันเข้ามาเหยียบดินแดนอัฟกานิสถานเสียก่อน”

“อย่าลืมพี่น้องมุญาฮิดีนในดุอาฮฺของท่าน”

.............................................
Marco Solomon




ฮิซบุลลอฮฺแห่งเลบานอน : เครื่องมือของชีอะฮฺแห่งประเทศอิหร่านในการหลอกชาวมุสลิม



ในมุมมองของผมเหตุการณ์ที่อิสราเอลถล่มเลบานอนอย่างรุนแรงนั้นเป็นเรื่องปกติในบรรยากาศตะวันออกกลางที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและสงครามในหลายรูปแบบ การที่มุสลิมเป็นเหยื่อหรือฝ่ายที่ถูกอธรรมก็เป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน(ถึงแม้ว่าความรุนแรงในบางครั้งจะมากกว่าก็ตาม) แต่ภาพที่จะปรากฏคือภาพของมุสลิมที่ไม่สามารถตอบโต้ผู้อธรรม เพราะประเทศมหาอำนาจ สังคมโลก ตลอดจนองค์การสหประชาชาติ มักจะเข้าข้างฝ่ายผู้อธรรมซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม

ในเหตุการณ์ครั้งนี้มีเรื่องที่ผิดปกติบางประการ จึงสร้างความสับสนแก่พี่น้องมุสลิมมากมาย เนื่องจากว่าสงครามครั้งนี้เป็นการปะทะระหว่างยิวกับฮิซบุลลอฮฺ ซึ่งเป็นขบวนการที่มีอุดมการณ์ของชีอะฮฺอิมามียะฮฺและมีข้อเกี่ยวพันกับประเทศอิหร่านด้านลัทธิอย่างเหนียวแน่น หลายๆคนมองว่านี่เป็นสงครามระหว่างยิวกับมุสลิม แต่สำหรับผมและนักวิชาการมุสลิมมากมายได้มองอีกมุมมองหนึ่ง เพราะกลุ่มฮิซบุลลอฮฺถึงแม้จะอ้างตนว่าเป็นมุสลิม แต่ในเชิงหลักศรัทธามั่นและข้อแตกต่างระหว่างซุนนีกับชีอะฮฺถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อนอกรีตอิสลาม เพราะกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรอานไม่สมบูรณ์ และมีความเชื่อในว่าอะฮฺลุลบัยตฺบางท่านนั้นผู้ศรัทธาสามารถวิงวอนหรือกราบไหว้เขาได้ รวมถึงความเชื่อในบรรดาอิมามของเขาว่าเป็นมะอฺศูมเหมือนบรรดานบีและร่อซูล ตลอดจนความเชื่อต่อสาวกนบีว่าเป็นผู้ทรยศและตกศาสนา ซึ่งเมื่อพิจารณาความเชื่อของลัทธินี้อย่างละเอียดจะพบว่าสวนกับหลักศรัทธาของอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อย่างสิ้นเชิง ข้อวิพากษ์นี้เกี่ยวกับความเชื่อ ไม่เกี่ยวกับการตัดสินต่อบุคคลคนหนึ่งว่านอกรีตศาสนาหรือไม่ ดังนั้นความเชื่อต่อฮิซบุลลอฮฺนั้นก็หมายถึง เชื่อว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อที่ไม่ใช่อิสลาม จึงไม่สมควรที่จะถือว่าฮิซบุลลอฮฺนั้น(โดยนิติบุคคล)เป็นกลุ่มมุสลิม

นอกเหนือจากนั้นวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนไหวของอิหร่านกับกลุ่มฮิซบุลลอฮฺคือ เพื่อขยายอำนาจของชีอะฮฺไปทั่วโลกโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เพื่อเป้าหมายนี้อิหร่านจึงได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์สำหรับข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งล้วนเป็นประเทศซุนนีทั้งสิ้น อาวุธปรมาณูของอิหร่านไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อข่มขู่อเมริกาหรืออิสรออีล เพราะในประวัติของอิหร่านเคยร่วมมือกับอเมริกาและอิสรออีลในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่านสมัยที่ ซัดดัม ฮุสเซ็น ยังเป็นประธานาธิบดีของอิรัก และได้ร่วมมือกับประเทศอเมริกาเพื่อถล่มรัฐบาลฏอลีบันและกลุ่มกออิดะฮฺในอัฟฆอนิสถาน จนถึงช่วงที่อเมริกาเข้าไปยึดครองอิรักนั้นก็ไม่มีใครที่ยื่นมือให้การสนับสนุนเหมือนกลุ่มชีอะฮฺในประเทศอิหร่านและในประเทศอิรักด้วย

กลุ่มฮิซบุลลอฮฺก็เช่นเดียวกันได้รับนโยบายให้กระจายอำนาจของกลุ่มชีอะฮฺทั่วประเทศเลบานอน เพราะเลบานอนเคยเป็นแหล่งของชีอะฮฺในอดีต และการปะทะระหว่างฮิซบุลลอฮฺ กับอิสรออีลตลอดอดีตนั้นก็เป็นการปะทะที่มีกติกากรอบและขอบเขต เสมือนเป็นการเล่นเกมระหว่างสองฝ่าย เพราะกลุ่มฮิซบุลลอฮฺที่เฝ้าชายแดนทางใต้ของเลบานอน(ซึ่งติดกับชายแดนตอนเหนือของประเทศอิสรออีล)ได้ทำหน้าที่ปราบปรามทุกกลุ่มที่ต้องการปฏิบัติการถล่มหรือระเบิดพลีชีพทางตอนบนของอิสรออีล จึงนับเป็นตำรวจตระเวนชายแดนที่อาสาปกป้องดินแดนของอิสรออีล

บางคนอาจสับสนว่าการถล่มอย่างรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตมากขนาดนี้ จะเรียกว่าเป็นเกมได้อย่างไร แท้จริงการที่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับฝ่ายประเทศเลบานอนนั้นไม่ใช่หมายรวมว่าฮิซบุลลอฮฺเสียหายอยู่ฝ่ายเดียว เพราะมีกลุ่มซุนนีและศาสนาอื่นที่ร่วมอาศัยอยู่ในแผ่นดินนั้นด้วย และฮิซบุลลอฮฺก็ไม่ได้กังวลมากนักเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิต เพราะชาวเลบานอนมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และความเสียหายนี้จะเป็นเครื่องมือสำหรับฮิซบุลลอฮฺในการเรียกร้องความสงสารและการสนับสนุนจากโลกมุสลิมทั้งหลาย ซึ่งใครที่ติดตามสถานการณ์จะพบว่าฮิซบุลลอฮฺได้ใช้สื่อมวลชนในทำนองนี้อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่เฉพาะโฆษณาความเป็นวีรบุรุษของตน แต่ยังโฆษณาความเชื่อของลัทธิชีอะฮฺไปด้วย ซึ่งข้อสรุปที่หนีพ้นไม่ได้ในเหตุการณ์นี้คือ ฮิซบุลลอฮฺไม่ได้ญิฮาดเพื่ออิสลาม และไม่ใช่ญิฮาดเพื่อมุสลิม แต่สร้างสถานการณ์เพื่อผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและประเทศอิหร่าน ประโยชน์ที่ประเทศอิหร่านได้มาคือข้อต่อรองกับประเทศมหาอำนาจที่กำลังเล่นงานอิหร่านเกี่ยวกับปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอิหร่านสามารถบอกกับประเทศมหาอำนาจได้ว่า เราไม่ใช่ประเทศธรรมดาๆ เราเป็นประเทศที่มีอำนาจกว้างขวางเหมือนกัน และสามารถสร้างสถานการณ์ที่อาจกระทบความมั่นคงของประเทศที่เป็นพันธมิตรกับอเมริกาด้วย(คือประเทศอิสรออีล) ประโยชน์ที่กลุ่มฮิซบุลลอฮฺจะได้จากสถานการณ์นี้คือ ความเชื่อถือที่ชาวเลบานอนจะให้แก่ฮิซบุลลอฮฺ เพราะแน่นอนในบรรดาพรรคและกลุ่มที่มีอำนาจในเลบานอนนั้นมีอยู่กลุ่มเดียวที่คะแนนขึ้นสูงมากในช่วงสถานการณ์นี้ เพราะฮิซบุลลอฮฺได้เหมารับผิดชอบปกป้องดินแดนเลบานอนและอาสาทำหน้าที่ตอบโต้ประเทศอิสรออีลแทนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ซีเรีย อิหร่าน และเลบานอนด้วย ภาพพจน์คือโลกมุสลิมไม่มีใครสามารถเผชิญหน้ากับอิสรออีลนอกจากฮิซบุลลอฮฺ(ซึ่งเป็นเครื่องมือของอิหร่าน) ซึ่งจะเป็นข้อสรุปในอนาคตว่า กลุ่มชีอะฮฺเท่านั้นที่มีผลงานในการต่อต้านศัตรูอิสลาม

แต่ข้อเท็จจริงที่ผู้วิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิดจะเห็นได้ชัดคือ อิหร่านและฮิซบุลลอฮฺไม่มีนโยบายและไม่เคยมีประวัติในการทำสงครามกับประเทศอิสรออีล และกลุ่มชีอะฮฺดังกล่าวพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับอิสรออีลและอเมริกาเพื่อถล่มกลุ่มซุนนีดังที่เคยปรากฏในประเทศอัฟฆอนิสถานและอิรัก ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ขบวนการของ มุคตะดา อัศศอด ผู้นำชีอะฮฺในอิรักได้แสดงนโยบายของกลุ่ม มุคตะดา อัศศอด ว่า "เราพร้อมที่จะร่วมมือกับกลุ่มฮิซบุลลอฮฺในการต่อต้านอเมริกาและอิสรออีล ในขณะเดียวกันเราก็พร้อมที่จะร่วมมือกับอเมริกาและอิสรออีลเพื่อถล่มกลุ่มมุญาฮิดีนซุนนีที่ประเทศอิรัก" ประชาชนส่วนมากไม่รู้ว่ากลุ่มชีอะฮฺในอิรักได้สังหารชาวซุนนีไปจำนวนมากกว่าหนึ่งแสนคน ตามแถลงการณ์ของอัชชัยคฺฮาริษ อัฎฎอรียฺ (เลขาธิการคณะอุละมาอฺมุสลิมีนในประเทศอิรัก ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของกลุ่มซุนนี) และผลงานของประเทศอิหร่านในการสังหารชาวซุนนะฮฺภายในประเทศอิหร่านก็เป็นที่รู้กันอย่างดีในวงนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งกล่าวได้ว่าในอิหร่านนั้น ชาวยิว ชาวคริสต์ และศาสนาอื่นๆ มีสิทธิมากกว่าชาวซุนนะฮฺ

จากข้อมูลข้างต้นผมไม่อยากให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผมยินดีที่จะให้ประเทศอิสรออีลได้รับชัยชนะ เพราะความประสงค์เช่นนี้ไม่เป็นความประสงค์ของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีอุดมการณ์ ผมสนับสนุนทุกวิถีทางที่จะเป็นการถล่มและยับยั้งอุบายของประเทศอิสรออีลในตะวันออกกลาง ทั้งนี้ถ้าชาวซุนนะฮฺทั่วโลกต้องการต่อต้านประเทศอิสรออีลก็มีทางเลือกที่เป็นขบวนการต่อต้านอิสรออีลอื่นจากฮิซบุลลอฮฺ กล่าวคือ การสนับสนุนฮิซบุลลอฮฺ(ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชีอะฮฺ)นั้นไม่ถูกต้องและจะไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะเป้าหมายของฮิซบุลลอฮฺไม่ใช่เป้าหมายของชาวซุนนะฮฺทั่วโลก ดังนั้น ไม่เป็นจุดยืนที่แปลกประหลาดถ้าเราประกาศว่า ไม่สนับสนุนฮิซบุลลอฮฺและไม่อยากให้อิสรออีลได้รับชัยชนะในสงครามนี้ แต่เราต้องการให้มีขบวนการของซุนนะฮฺเองที่ทำหน้าที่ต่อต้านประเทศอิสรออีล ซึ่งปัจจุบันนี้มีทางเลือกหลายกลุ่ม แต่ไม่เป็นที่นิยมในสายตาโลกมุสลิม เพราะถูกระบุในแบล๊คลิสต์ของอเมริกาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย อาทิเช่น กลุ่มฮามาส กลุ่มญิฮาดอิสลามียฺ(ประเทศปาเลสไตน์) และกลุ่มอิควานมุสลิมีน(ประเทศเลบานอน)

ความขัดแย้งระหว่างซุนนีกับชีอะฮฺอยู่ในระดับความมั่นคงที่ต้องจัดการทุกเวลา หมดยุคแล้วสำหรับคำพูดที่ว่า ความขัดแย้งกับชีอะฮฺเก็บไว้ก่อน เพราะมีศัตรูที่ฉกาจกว่าชีอะฮฺ เพราะความขัดแย้งดังกล่าวไม่เคยถูกพิจารณาอย่างเป็นธรรม มิหนำซ้ำจะถูกเก็บโดยตลอดและบางกลุ่มจะพยายามกลบความขัดแย้งดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ถึงแม้ว่าหลักการศาสนาจะเสียหายก็ตาม

จุดยืนอันบริสุทธิ์ของชาวซุนนะฮฺคือไม่เคยร่วมมือกับศัตรูอิสลามเพื่อถล่มชาวชีอะฮฺตลอดประวัติศาสตร์ และในสงครามครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน แต่จุดยืนของชีอะฮฺตรงข้ามกับจุดยืนของชาวซุนนะฮฺตลอดประวัติศาสตร์ เมื่ออิบนุลอัลกอมีรกับ นะศีรุดดีน อัตตูซียฺ ได้ร่วมมือกับกองทัพมองโกล(ใน ฮ.ศ.7) เพื่อยึดเมืองบัฆแดด, และอาณาจักรศ็อฟวียะฮฺแห่งอิหร่าน(เป็นชาวชีอะฮฺที่ขัดขวางมิให้อาณาจักรอุษมานียะฮฺได้ขยายอิสลามในยุโรปและพยายามยุแหย่สร้างสถานการณ์มาโดยตลอด(ช่วง ฮ.ศ.9-10)), ตลอดจน อะลี อัสซิซตานียฺ ผู้นำสูงสุดของชีอะฮฺในประเทศอิรักที่ออกฟัตวาห้ามมิให้ชีอะฮฺต่อต้านทหารอเมริกาและส่งเสริมให้ชาวชีอะฮฺในอิรักร่วมมือกับรัฐบาลอเมริกา หากใครถามว่า แล้วฮิซบุลลอฮฺเกี่ยวอะไรกับข้อมูลดังกล่าว ? คำตอบก็คือ เพราะทุกชื่อทุกกลุ่มที่ระบุข้างต้นล้วนเป็นกลุ่มชีอะฮฺ 12 อิมามเหมือนกันและมีอุดมการณ์เหมือนกัน

หะซัน นัศรุลลอฮฺ ได้ออกฟัตวาว่า กลุ่มวะฮะบียฺไม่เกี่ยวกับอิสลามแต่อย่างใด และเคยมีบทบาทเข่นฆ่าชาวซุนนีในสงครามระหว่างกลุ่มต่างๆที่ขัดแย้งทางการเมืองภายในเลบานอน เพราะฉะนั้นในทัศนะของผมไม่เห็นด้วยที่จะยอมให้เห็นว่า หะซัน นัศรุลลอฮฺ เป็นวีรบุรุษของประชาชาติ เพราะเป็นบุคคลที่ทำร้ายอิสลามอย่างชัดเจน ทำนองเดียวกับกลุ่มชีอะฮฺในประเทศไทยที่มีอะกีดะฮฺ จุดยืน และนโยบาย เป็นกันหนึ่งอันเดียวกับอิหร่านและฮิซบุลลอฮฺ ซึ่งไม่เคยมีความเป็นธรรมกับชาวซุนนีในประเทศไทยมาโดยตลอด และความแตกแยกในภาคใต้ก็เพราะกลุ่มชีอะฮฺที่ทำให้ประชาชนกลายเป็นสองฝ่ายสองซีกที่ไม่เห็นพ้องกัน สถานทูตอิหร่านในประเทศไทยก็มีบทบาทสูงในการสร้างความแตกแยกในสังคมมุสลิมไทย เพราะมีเป้าหมายที่ต้องการขยายลัทธิชีอะฮฺและได้กระทำทุกวิถีทางเพื่อให้ชื่อเสียงของชีอะฮฺปรากฏในทุกสนาม กระนั้นสำหรับชาวซุนนะฮฺเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่าปัญหาชีอะฮฺไกล่เกลี่ยไม่ได้ หรือประนีประนอมให้เป็นกลางไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะการเห็นชอบกับกลุ่มนี้ก็เสมือนว่าได้สละสิทธิ์ในความเป็นมุสลิมอย่างแท้จริง

.............................
Marco Solomon



วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ความประเสริฐของการละหมาดคนตาย การส่งศพ และข้อปฏิบัติบางประการ



ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า

«مَنْ شَهِدَ الجَنَازَةَ حَتَّى يُصَلَّى عَلَيْهَا فَلَهُ قِيْرَاطٌ، وَمَنْ شَهِدَهَا حَتَّى تُدْفَنَ فَلَهُ قِيْرَاطَان. قِيْلَ: وَمَا القِيْراطَان؟ قَالَ: مِثْلَ الجَبَلَيْنِ العَظِيْمَيْنِ» [متفق عليه]

“ผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกละหมาดให้ เขาจะได้ 1 กีรอฏ และผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกฝัง เขาจะได้ 2 กีรอฏ มีคนกล่าวว่า “และกีรอฏคืออันใดหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “เหมือนภูเขามหึมา 2 ลูก”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

ท่านบะรออ์ บินอาซิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«أَمَرَنا رَسُوْلُ اللهِ ﷺ  بِسَبْعٍ: بِعِيَادَةِ المَرِيْض، واتِبَاعِ الجَنَائِز، وَتَشْمِيْتِ العَاطِس وَنَصْرِ الضَعِيْفِ وَعَوْنِ المَظْلومِ وإِفْشَاءِ السَّلامِ وإِبْرارِ المُقْسَم» [متفق عليه]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับใช้เราปฏิบัติ 7 ประการ คือ เยี่ยมเยียนคนป่วย ตามไปส่งคนตาย กล่าวตัชมัตให้คนจาม ช่วยเหลือคนอ่อนแอ ช่วยเหลือคนโดนรังแก กล่าวสลามให้แพร่หลาย และทำตามคำสาบานของผู้สาบาน” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
(ความหมายของคำว่า ตัชมีตให้คนจาม คือ ให้กล่าว ยัรหะมุกัลลอฮฺ และคำว่า อิบรอรมุกสิม (ในหะดีษ) คือ ให้เราทำในที่ผู้สาบานได้สาบานไว้ เพื่อให้เขาเป็นคนรักษาคำสาบาน)

ท่านอบู สะอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้รายงานถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«إِذَا رَأَيْتُمْ الجَنَازَةَ فَقُوْمُوا، فَمَنْ تَبِعَها فَلا يَقْعُدْ حَتَى تُوْضَعَ» [أخرجه البخاري]
“เมื่อพวกท่านเห็นคนตาย ก็จงยืนขึ้น แล้วผู้ใดที่เขาตามไปส่งคนตาย เขาก็จงอย่าได้นั่งจนกว่า(คนตาย)เขาจะถูกฝัง” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ


ท่านอุมมุ อะฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า
نُهِيْنَا عَنْ اتِّبَاعِ الجَنَائِزِ وَلَمْ يَعْزِمْ عَلَيْنَا. [أخرجه البخاري]
“พวกเรา(ผู้หญิง)ถูกห้ามมิให้ตามไปส่งคนตาย ท่านไม่ได้กำชับแก่พวกเรา” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

อธิบาย
การเดินไปส่งคนตายจนถึงฝังเสร็จเป็นเรื่องที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม สนับสนุนให้ผู้ชายทำ ไม่ใช่ผู้หญิง และท่านได้บอกว่าผู้ที่ตามไปส่งคนตายเขาจะได้รางวัลที่ใหญ่โตเท่าภูเขาลูกมหึมา และท่านได้ชี้แนะถึงผู้ที่ตามไปส่งคนตายไม่ให้นั่งจนกว่าจะฝังเสร็จ

ประโยชน์ที่ได้รับ
การตามไปส่งคนตายถือเป็นสุนนะฮฺประการหนึ่ง
ความมหาศาลของผลบุญของผู้ทำตามเรื่องดังกล่าว
เป็นสุนนะฮฺสำหรับผู้ตามไปส่งคนตายไม่ให้เขานั่งจนกว่าจะฝังเสร็จ
ห้ามผู้หญิงเดินตามไปส่งคนตาย

والله أعلم بالصواب

.......................
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

อนุญาตการร้องไห้ให้คนตาย ตราบใดที่ไม่ตีโพยตีพาย ไม่แสดงการขุ่นเคือง



ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า

دَخَلْنَا عَىَั أَبِيْ سَيْفِ القَيْن - وَكَانَ ظِئْراً لِإِبْراهِيْمَ عليه السلام - (أيْ: زَوْجَ مُرْضِعَتِهِ) فَأَخَذَ رَسُوْلُ اللهِﷺ إِبْرَاهِيْمَ فَقَبَّلَهُ وَشَمَّهُ، ثُمَّ دَخَلْناَ عَلَيْه بَعْدَ ذَلِك - وَإِبراهِيْم يَجُوْدُ بِنَفْسِهِ فَجَعَلَتْ عَيْنَا رَسُوْلِ اللهِ ﷺ تَذْرِفَان، فَقَالَ عَبْدُ الرَحْمن بنُ عَوْف:وَأَنْتَ يَا رَسُوْلَ اللهِ؟! فَقَالَ: «يَا ابْنَ عَوْف إِنَّهَا رَحْمَةٌ»، ثُمَّ أَتْبَعَهَا بِأُخْرَى (أيْ: بِدَمْعَةٍ أُخْرى) فقال ﷺ  : «إِنَّ العَيْنَ تَدْمَعُ وَالقَلْبُ يَحْزَنُ وَلَا نَقُوْلُ إِلَّا مَا يَرْضَى رَبُّنَا، وَإَنَّا لَفِرَاقُكَ يَا إِبْراهِيْمَ لَمَحْزُوْنُوْنَ» [أخرجه البخاري[

“เราได้เข้าไปยัง(บ้าน)อบู สัยฟ์ อัล-ก็อยน์ –เขาเป็นสามีของแม่นมอิบรอฮีม บุตรชายของท่านนบีที่เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก- แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้อุ้มอิบรอฮีม จูบและหอมเขา แล้วจากนั้นเราก็ได้เข้าไปหาท่าน และอิบรอฮีมนั้นดูน่ารักน่าเอ็นดู แล้วดวงตาทั้งสองของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มีน้ำตาไหลออกมา แล้วท่านอับดุรเราะหฺมาน บินเอาฟ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็ได้พูดว่า “ท่าน(ก็ร้องไห้)ด้วยหรือ? โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ” แล้วท่านก็กล่าวตอบว่า “ บุตรของเอาฟฺเอ๋ย มันคือความอาทร” หลังจากนั้นน้ำตาท่านก็ไหลออกมาอีก แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “แท้จริงดวงตาก็หลั่งน้ำตา และหัวใจก็เศร้าโศก แต่เราก็จะไม่พูดสิ่งใดเว้นแต่ที่ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย และแท้จริงเรากับการจากไปของเจ้า อิบรอฮีมเอ๋ย เราอาดูร”  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

ท่านอุสามะฮฺ บินซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
أَرْسَلَتْ بِنْتُ النَّبِيِّ
 ﷺ  إِنّ ابْنِيْ قَدْ احتَضَرَ فَاشْهِدْنا، فَأرْسل يُقْرِئُ السَلَامَ وَيَقُوْلُ: «إِنَّ للهَ مَا أَخَذَ وَلَهُ مَا أَعْطَى وَكُلّ شَيْءٍ عِنْدَهُ بِأَجَلٍ مُسَمَّى، فَلْتَصْبِرْ وَلْتَحْتَسِبْ»، فَأَرْسَلَتْ تُقْسِم عَلَيْه لَيَأْتِيَنَّهَا، فَقَامَ وَمَعَهُ سَعْدُ بْنُ عُبَادَة، وَمُعَاذُ بْنُ جَبَل، وأُبَيُّ بْنُ كَعْب، وَزَيْدُ بْنُ ثَابِت وَرِجَال رَضِيَ اللهُ عَنْهُم، فَرَفَعَ إِلى النَّبِي ﷺ  الصَبِيَّ فَأَقْعَدَهُ فِيْ حُجرِهِ ونَفْسُه تَقَعْقَع، فَفَاضَتْ عَيْناه ﷺ  فَقالَ: سَعْد: يا رسولَ اللهِ ما هذا ؟ قال: «هذِهِ رَحْمَة جَعَلَها اللهُ فِيْ قُلوبِ مَنْ شَاءَ مِنْ عِبَادِه، وَإِنَّما يَرْحَمُ اللهُ مِنْ عِبَادِه الرُحَمَاء» [متفق عليه]
บุตรีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่ง(คน)มาแจ้งว่า “แท้จริงบุตรของฉันใกล้จะสิ้นใจแล้ว ท่านโปรดมาร่วมอยู่กับเรา” แล้วท่านเราะสูลก็ได้ส่ง(คน)ไปกล่าวสลาม และกล่าวว่า “แท้จริงเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺสิ่งที่พระองค์จะเอาไป และเป็นของพระองค์สิ่งที่พระองค์ให้มา และทุกสิ่ง ณ ที่ของพระองค์เป็นไปตามอายุขัยที่ถูกกำหนด ดังนั้นเธอจงอดทนเถิด และจงหวังในผลบุญตอบแทน” แล้วนางก็ได้ส่ง(คน)มาบอกว่านางสาบานว่าท่านต้องมา แล้วท่านก็ได้ลุกออกไปพร้อมกับท่านสะอฺด์ บิน อุบาดะฮฺ ท่านมุอาซ บินญะบัล ท่านอุบัยย์ บิน กะอับ ท่านซัยดฺ บิน ษาบิต และคนอื่นๆ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม แล้วเด็กก็ถูกอุ้มยกไปให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านก็วางเขาไว้บนตักของท่าน และตัวของท่านก็สะอื้น แล้วตาทั้งสองของท่านก็มีน้ำตาไหลรินออกมา แล้วท่านสะอฺด์ก็ได้กล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ นี่อันใดหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “มันความความเมตตาที่อัลลอฮฺสร้างมันขึ้นในหัวใจของบ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ และอันที่จริงนั้น อัลลอฮจะทรงเมตตาต่อผู้มีความเมตตาในหมู่บ่าวของพระองค์” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

อธิบาย

การร้องไห้ให้คนตายเพราะความเมตตา และความโศกเศร้านั้นเป็นเรื่องอนุญาตให้กระทำได้ อัลลอฮฺไม่ทรงถือสาเอาความตราบที่ไม่ถึงกับการตีโพยตีพาย และไม่เป็นการแสดงความขุ่นข้องหมองใจต่อกำหนดของอัลลอฮฺ ท่านนบีเองก็ร้องไห้ตอน อิบรอฮีม บุตรชายของท่านเสียชีวิตไป พร้อมกับที่ท่านเองก็มีศรัทธาและพอใจอย่างบริบูรณ์กับเกาะฎออ์และเกาะดัรฺของพระองค์

ประโยชน์ที่ได้รับ
อนุญาตการร้องไห้ให้คนตายที่ไม่ใช่การร้องไห้คร่ำครวญ ตีโพยตีพาย หรือแสดงความขุ่นข้องหมองใจต่อกำหนดของอัลลอฮฺ
แสดงถึงความเมตตา และความอ่อนโยนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

والله أعلم بالصواب

..........................

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com





ทำอย่างไร เมื่อผู้ศรัทธาต้องเลือกผู้นำ ?



คำถาม

ผมได้เลือกผู้สมัครคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ขณะเดียวกันมีผู้สมัครที่เป็นมุสลิมลงสมัครด้วย สิ่งที่ผมทำไปนั้นขัดแย้งต่อคำสอนของอิสลามหรือไม่ ?
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แห่งอัลลอฮ

คำตอบ

ห้ามสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธา ถ้าหากว่ามีผู้สมัครที่เป็นผู้ศรัทธาแข่งขันด้วย เพราะการให้ผู้ไม่ศรัทธามาปกครอง ผู้ศรัทธานั้นเป็นสิ่งต้องห้ามตามมติเอกฉันท์ของนักวิชาการอิสลาม ดังอัลลอฮตรัสว่า

ولن يجعل الله للكافرين على المؤمنين سبيلا ( النساء 141)

“และอัลลอฮจะไม่ทรงให้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธามีทางใดเหนือบรรดาผู้ศรัทธาเป็นอันขาด”

(อันนิซาอ 141)

ในหนังสือ เมาซูอะห์ อัลฟิกฮียะห์ (6/218) ได้กล่าวถึง เงื่อนไขของการเป็นผู้นำ ซึ่งนักวิชาการได้ตั้งเงื่อนไขของการเป็นผู้นำไว้หลายเงื่อนไข บางเงื่อนไขนักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกัน แต่บางเงื่อนไขพวกเขาก็มีความเห็นแตกต่างกัน


เงื่อนไขที่นักวิชาการเห็นพ้องกันคือ

1- ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาอิสลาม เพราะมันเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการเป็นพยาน และเป็นเงื่อนไขของการปกครองที่ชอบธรรม

2- ต้องมีสภาวะผู้นำ รวมถึงมีความคิด สติปัญญา และบรรลุนิติภาวะ เด็กหรือคนวิกลจริตจะเป็นผู้นำไม่ได้ ตามหลักการอิสลาม

3- ต้องเป็นผู้ชาย ไม่ถูกต้องที่จะให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ เพราะตำแหน่งผู้นำ ต้องเกี่ยวข้องกับงานที่มีความเสี่ยง และบางทีต้องใช้อาศัยร่างกายที่แข็งแรง โดยธรรมชาติร่างกายผู้หญิงอ่อนแอ รับไม่ไหวกับการเป็นผู้นำกองทัพ หรือดูแลกองทัพ หรือบางทีต้องเข้าร่วมรบด้วย

4- เชื่อมั่นในตัวเอง คือเป็นคนเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เสียสละ เพราะทั้งหมดจะเป็นสิ่งทีทำให้มีการเชื่อฟังคำสั่งในการทำสงคราม หรือเรื่องนโยบายในการปกครองและเป็นกำลังใจของประชาชน

5- เป็นเสรีชน

6- มีไหวพริบ ปฏิภาณ ร่างกายไม่พิการ เพื่อการเป็นผู้นำที่แข้มแข็ง

ทั้งหมดคือเงื่อนไขของการเป็นผู้นำที่นักวิชาการมีความเห็นพ้องกัน


เชคยิบรีน ถูกถามว่า ฮุก่มอย่างไรการที่มุสลิมไปร่วมในการปกครอง และไปร่วมในการคัดเลือกผู้ปกครอง ?

ท่านตอบว่า ไม่อนุญาติไห้ผู้ศรัทธามีส่วนร่วมในการให้กำลังใจผู้ปฎิเสธ หรือคัดเลือกเขาให้เป็นผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการส่งเสริมช่วยเหลือสนับสนุนและนับถือพวกเขา อัลลอฮให้ตัดการติดต่อ และตัดความอาทรระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ไม่ศรัทธา ถึงแม้จะเป็นญาติพี่น้องกันทางสายเลือด ดังพระองค์ตรัสว่า

لا تتخذوا أباءكم وإخوانكم أولياء إن استحبوا الكفر على الإيمان ( التوبة 23)

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าได้ถือเอาบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องของพวกเจ้าเป็นมิตร หากพวกเขาชอบการปฏิเสธศรัทธาเหนือการอีมาน”

(เตาบะห์ 23)

แต่ถ้าหากว่ามีผู้ศรัทธาเข้าไปร่วมในการปกครอง แล้วทำให้พวกเขาฟังเสียงมุสลิมหรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนที่เป็นมุสลิม แต่ถ้าปล่อยการปกครองทั้งหมดให้กับผู้ปฏิเสธแล้วมันจะเป็นผลร้ายต่อสังคมมุสลิม และไม่มีหนทางที่มุสลิมจะเลือกผู้ปกครองที่เป็นมุสลิมมาปกครองมุสลิมได้ ก็อนุญาตไห้ไปร่วมปกครองกับผู้ปฏิเสธได้ เพื่อเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์กับสังคมมุสลิมโดยรวม แต่การที่มุสลิมไปเลือกผู้ปฏิเสธเป็นผู้นำนั้นไม่อนุญาตตามหลักการอิสลาม เพราะจะทำให้ผู้ปฏิเสธออกกฎมาปกครองมุสลิม ทั้งหมดคือคำตอบของเชคยิบรีน

ท่านต้องรับผิดชอบที่ไปเลือกผู้ไม่ศรัทธามาเป็นผู้นำผู้ศรัทธา แต่ถ้าไม่มีผู้ศรัทธาลงสมัครรับเลือกตั้งเลยก็ไม่ผิดหลักการอิสลาม ในการที่ผู้ศรัทธาจะเลือกคนที่เป็นอันตรายน้อยที่สุดและทำประโยชน์ไห้กับผู้ศรัทธามากที่สุดมาเป็นผู้นำของเขา

والله أعلم

الإسلام سؤال وجواب

شريف الريس แปล

Credit : islammore.com

Islam is my Life 

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่งเสริมขอดุอาอฺให้มากๆในวันศุกร์


ศาสนาส่งเสริมให้ขอดุอาอฺให้มาก ๆในวันศุกร์ เพื่อให้ตรงกับช่วงเวลาที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ

จากความประเสริฐของวันศุกร์นั้นก็คือ ในวันนี้มีชั่วโมงที่มีเกียรติ ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้กับบ่าวของพระองค์ และส่งเสริมให้ขอดุอาอฺในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَكَرَ يَوْمَ الْجُمُعَةِ فَقَالَ فِيهِ سَاعَةٌ لَا يُوَافِقُهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ وَهُوَ قَائِمٌ يُصَلِّي يَسْأَلُ اللَّهَ تَعَالَى شَيْئًا إِلَّا أَعْطَاهُ إِيَّاهُ وَأَشَارَ بِيَدِهِ يُقَلِّلُهَاِ

“ความจริงแล้วท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวถึงวันศุกร์ ท่านกล่าวว่าในวัน ศุกร์นั้นมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่เขาละหมาดและขอสิ่งใดต่ออัลลอฮฺตรงกับช่วงเวลานี้ นอกจากอัลลอฮฺจะประทานให้กับเขาเป็นการเฉพาะ และท่านร่อซูลทำท่าด้วยมือของท่านแสดง ถึงช่วงเวลาที่สั้น ”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องวันศุกร์ )

มีรายงานจากลุบาบะฮฺ อิบนิ อับดิลมุนซิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

وَفِيهِ سَاعَةٌ لَا يَسْأَلُ اللَّهَ فِيهَا الْعَبْدُ شَيْئًا إِلَّا أَعْطَاهُ مَا لَمْ يَسْأَلْ حَرَامًا

“...และวันนี้นั้นมีช่วงเวลาหนึ่ง ที่บ่าวคนหนึ่งขอสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องห้ามต่ออัลลอฮฺ เว้นแต่ว่าอัลลอฮฺ จะประทานให้กับเขา...”
(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ บทที่ว่าด้วยเรื่องความประเสริฐของวันศุกร์ หมายเลข : 1084 มุสนัดอิหม่ามอะหมัด 430/3 อัลบานียฺระบุว่าหะดีษนี้หะซัน ในเศาะเหี๊ยะหฺอิบนุมาญะฮฺ 321/1 ในมิชกาตุลมะศอเบี๊ยะฮฺ 400/1)

ช่วงเวลาที่ดุอาอฺถูกตอบรับในวันศุกร์นั้นคือเวลาไหน ?

ท่านอิบนุหะญัร อัลอัซกอลานียฺ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : มีมุมมองที่เห็นต่างกันในประเด็นนี้มากกว่า 40 ทรรศนะ (อิบนุหะญัร อัลอัซกอลานียฺ,บุลูฆุลมะรอม บทที่ว่าด้วยเรื่องละหมาดวันศุกร์ หน้า 63)

ท่านอิบนุล ก็อยยิม ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : ทรรศนะที่น่าจะมีน้ำหนักนั้นมีอยู่ 2 ทรรศนะ ซึ่งทั้งสอง ทรรศนะมีหะดีษต่าง ๆ มากำกับไว้ด้วย และหนึ่งในสองทรรศนะนั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นทรรศนะที่มี น้ำหนักกว่า(ซะอี๊ด อิบนุ อะลี อิบนุ วะฮฺฟ อัลเกาะหฺฏ่อนียฺ,เศาะลาตุลญุมุอะฮฺ หน้า 35-36)

ทรรศนะที่หนึ่ง : ช่วงเวลาที่อิหม่ามนั่ง (บนมิมบัร) จนเสร็จสิ้นจากการละหมาด

หลักฐานของทรรศนะนี้ก็คือ

- มีรายงานจากอบีบุรดะฮฺ อิบนุ อบีมูซา อัลอัชอะรียฺ เล่าว่า : อับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร ได้ถามฉันว่า : ท่านไม่ได้ยินที่พ่อของท่าน (อุมัร) เล่าหะดีษจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับช่วงเวลา (ที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ) ในวันศุกร์หรือ ? เขา (อับดุลลอฮฺ) เล่าว่า ฉันได้กล่าวว่า ใช่ เคยได้ยิน ฉันเคยได้ยินบิดา (อุมัร) กล่าวว่า ฉัน (อุมัร) เคยได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

هِيَ مَا بَيْنَ أَنْ يَجْلِسَ الْإِمَامُ إِلَى أَنْ تُقْضَى الصَّلَاةُ

“ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ระหว่างตอนที่อิหม่ามนั่ง (บนมิมบัร) จนเสร็จสิ้นการละหมาด”

(บันทึกโดยมุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องละหมาดวันศุกร์ : 853)

ทรรศนะที่สอง : ช่วงท้ายของวันศุกร์หลังจากละหมาดอัศริ

หลักฐานของทรรศนะนี้ก็คือ

- มีรายงานจากญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

يَوْمُ الْجُمُعَةِ اثْنَتَا عَشْرَةَ سَاعَةً ، لَا يُوجَدُ فِيهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ يَسْأَلُ اللَّهَ شَيْئًا إِلَّا آتَاهُ إِيَّاهُ , فَالْتَمِسُوهَا آخِرَ سَاعَةٍ بَعْدَ الْعَصْرِ

“วันศุกร์นั้นมี 12 ชั่วโมง ซึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนหนึ่งที่เขาขอสิ่งหนึ่งต่ออัลลอฮฺแล้ว เว้นแต่พระองค์จะ ประทานให้กับเขา ฉะนั้นจงแสวงหาเวลานั้น ก็คือช่วงเวลาท้ายของวันหลังละหมาดอัศริ ”

(บันทึกโดยอบูดาวุด : 1046 นะซาอียฺ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาดวันศุกร์ บทที่ว่าด้วยเรื่องเวลาละหมาด วันศุกร์ : 99/3)

- มีรายงานจากมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

الْتَمِسُوا السَّاعَةَ الَّتِي تُرْجَى فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ بَعْدَ الْعَصْرِ إِلَى غَيْبُوبَةِ الشَّمْسِ

“พวกท่านทั้งหลายจงแสวงหาช่วงเวลา (ที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ) ซึ่งที่หวังจะพบในวันศุกร์ หลังละหมาด อัศริจนถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เข้าเวลามัฆริบ) ิ ”

(บันทึกโดยติรมิซียฺ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาดวันศุกร์ : 489 อัลบะเฆาะวียฺ ในชัรหุซซุนนะฮฺ : 1051 เศาะเหี๊ยะหฺตัรฆีบ : 793 อัลบานียฺกล่าวว่าหะซันในเศาะเหี๊ยะฮฺตืรมีซียฺ 1/277)

ช่วงเวลาที่ดุอาอฺถูกตอบรับคือช่วงเวลาท้ายหลังละหมาดอัศริของวันศุกร์ตามทรรศนะที่มีน้ำหนัก

อิหม่ามอะหมัด อิบนิ ฮัมบัล ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : หะดีษส่วนมากที่เกี่ยวกับชั่วโมงที่ดุอาอฺจะ ถูกตอบรับ คือ เวลาหลังละหมาดอัศริ และหลังดวงอาทิตย์คล้อย (ซัยยิด ซาบิก ในฟิกฮุซซุนนะฮฺ บทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาดวันศุกร์ เรื่องการขอดุอาอฺในวันศุกร์)

ความจริงแล้วอัลลอฮฺ ตะอาลาทรงปกปิดไม่ให้ทราบแบบชัดเจนว่าเวลาที่ดุอาอฺถุกตอบรับนั้นคือ ช่วงแรกของวัน ? หรือ ช่วงกลางของวัน ? หรือ ช่วงท้ายของวัน ? เพื่อเป็นข้อคิดที่ให้บ่าวนั้นแสวงหาช่วงเวลานั้นทั้งวัน เพราะถ้าหากว่าพระองค์ทรงแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนแล้ว ผู้คนก็จะให้ความสำคัญเฉพาะเวลานั้น เพียงแค่ช่วง เวลาเดียว ดังที่พระองค์ทรงปกปิดความรู้ในคืนลัยละตุลก็อดรฺนั่นเอง


والله أعلم بالصواب

ไม่ทำลายคุณค่าของปัญญาด้วยพิษร้ายของสุรา



สุราหรือน้ำเมา ถูกขนานนามว่า “แม่แห่งอบายมุข”

 ด้วยเหตุที่มันเป็นต้นตอของทุกการกระทำที่น่ารังเกียจ และชั่วช้า

 ท่านอันนะสาอีย์ ได้รายงาจากท่านอุสมาน ว่า :พวกท่านจงหลีกห่างสุรา(น้ำเมา)

 เพราะสุรานั้นคือ แม่แห่งความชั่วช้าทั้งมวล

ดังที่มีชายคนหนึ่งอยู่ในยุคก่อนหน้าพวกท่าน

เขาเป็นประพฤติธรรมที่เคร่งครัด

 ต่อมามีหญิงนางหนึ่งซึ่งมีจริยามารยาทแพรวพราวได้หลุ่มรักชายผู้นี้

 นางจึงส่งสาวใช้ไปหานักปฏิบัติธรรมผู้นั้นโดยกล่าวว่า

 : พวกเราขอเชิญชวนท่านมาร่วมเป็นสักขีพยานในกิจธุระหนึ่ง

 ชายผู้นั้นออกไปพร้อมกับสาวใช้

ครั้นเมื่อบุรุษทรงศิลได้เข้าสู่นิวาสสถานของหญิงผู้เป็นนาย

 นางสาวใช้ปิดประตูตามหลังทุกบาน

ไปจวบจนกระทั่งเขาเดินเข้ามาพบกับหญิงผู้นั้นซึ่งมีรูปโฉมสวยงามและสะอาดยิ่งนัก

และ ณ ที่นางยังมีเด็กทารกกับเหยือกสุราอีกด้วย

 และแล้วนางก็กล่าวขึ้นว่า : ฉันนมิได้เชิญชวนท่านมาเป็นสักขีพยานหรอก

 แต่หากเชื้อเชิญท่านเพื่อร่วมหลับนอนกับฉัน

 หรือไม่ท่านก็ต้องดื่มสุรานี้สักแก้วหนึ่ง

 หรือไม่เช่นนั้นท่านก็ต้องฆ่าทารกผู้นี้

 บุรุษผู้ทรงศิลก็กล่าวขึ้นว่า : ถ้าเช่นนั้นก็ขอให้เธอรินสุราให้ฉันสักแก้วหนึ่งเถิด

 ว่าแล้วนางก็รินสุราให้ผู้ทรงศิล

 เมื่อสุราเข้าปาก ความติดใจในรสชาติก็ทำให้บุรุษผู้ทรงศิลต้องขอให้นางรินสุราเพิ่มอีก

 จอกแล้วจอกเล่า จนเมื่อขาดสติและเกิดความเมามายในรสชาติของสุรา

 บุรุษผู้ทรงศิลก็ถึงคราบะแตก และร่วมสังวาสกับกับหญิงนางนั้น

 อีกทั้งยังได้ฆ่าชีวิตอันบริสุทธิ์ของทารก

ฉะนั้นพวกท่านพึงหลีกห่างจากสุราเถิด
 ขอสาบานต่อพระองค์อัลลอฮฺ

ความศรัทธาย่อมมิอาจอยู่ร่วมกับการเสพสุรา

นอกเสียจากหนึ่งในสองประการนั้นจะนำพาให้ผู้นั้นหลุดออกไปในที่สุด”
 (จาก “ตัฟสีรฺ ศ็อฟวะห์ อัตตะฟฟาสีรฺ 1/143)

...................................

ผู้ที่อ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิในวันศุกร์


ศาสนาส่งเสริมมุสลิมให้อ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิ สูเราะฮฺที่ 8 ในวันศุกร์ ซึ่งมีหลักฐานว่า ผู้ใดที่อ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิในวันศุกร์ พระองค์อัลลอฮฺจะให้แสงสว่างจากรัศมีกับเขา จากศุกร์ที่เขาอ่านไปจนอีกถึงอีกศุกร์หนึ่ง

มีรายงานจากอบีสะอี๊ด อัลคุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ความจริง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

مَنْ قَرَأَ سُورَةَ الْكَهْفِ فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ أَضَاءَ لَهُ مِنَ النُّورِ مَا بَيْنَ الْجُمُعَتَيْنِ

“บุคคลใดอ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิในวันศุกร์ อัลลอฮฺจะให้แสงสว่างจากรัศมีกับเขา จากศุกร์หนึ่ง ถึงศุกร์หนึ่ง ”

(บันทึกโดยฮากิม  : 368/2 บัยฮากียฺ : 249/3)

.......................................

กี่คนจึงจะนับเป็นละหมาดญะมาอะฮฺ





โดย อับดุศศอมัด อัน นัดวียฺ


คำถาม ในการละหมาดญะมาอะฮฺนั้นจะต้องมีกี่คนจึงจะได้รับรางวัลของการละหมาดญะมาอะฮฺ? แล้วจะนับรวมเด็กที่โตพอจะแยกแยะอะไรได้แล้วเป็นมะอฺมูมด้วยได้หรือไม่?

คำตอบ  ในเรื่องจำนวน บรรดาอุละมาอ์เห็นพ้องกันว่า จำนวนอย่างน้อยของละหมาดญะมาอะฮฺนั้นต้องมีสองคน คืออิมามหนึ่งคนและมะอฺมูมหนึ่งคน  โดยมีหลักฐานจากหะดีษต่อไปนี้

عَن مَالِكِ بْنِ الْحُوَيْرِثِ  قَالَ أَتَى رَجُلَانِ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ يُرِيدَانِ السَّفَرَ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا
أَنْتُمَا خَرَجْتُمَا فَأَذِّنَا ثُمَّ أَقِيمَا ثُمَّ لِيَؤُمَّكُمَا أَكْبَرُكُمَا

จากมาลิก บิน อัลหุวัยริษ ได้กล่าวว่า  มีชายสองคนมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม   โดยที่คนทั้งสองต้องการเดินทาง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม   ได้กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งสองได้ออกไปแล้ว(เมื่อถึงเวลาละหมาด)ก็จงอะซานและอิกอมะฮฺ จากนั้นก็ให้คนที่อาวุโสกว่าเป็นอิมามนำละหมาด  (รายงานโดยอัลบุคอรียฺ)

عَنْ  أَبِي سَعِيدٍ  : أن  رَجُلاً جَاءَ وَقَدْ صَلَّى النبي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ فَقَال من يتصدق عَلَى هَذَا فَقَامَ رَجُلٌ فَصَلَّى مَعَهُ

จากอบู สะอีด ได้รายงานว่า มีชายคนหนึ่งเข้ามา ในขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม  ละหมาดเสร็จแล้ว ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ใดประสงค์จะได้รับผลบุญจากการเศาะดะเกาะฮฺในเรื่องนี้ แล้วก็มีชายคนหนึ่ง(ท่านอบูบักร)ลุกขึ้นไปร่วมละหมาดกับชายคนแรก(รายงานโดยอบูดาวูด อัตติรมีซียฺ อัดดาริมียฺ และอะหฺมัด)

                และเรื่องจำนวนของผู้ร่วมละหมาดญะมาอะฮฺนี้ มีทัศนะว่าให้ใช้กับเรื่องจำนวนของผู้ร่วมละหมาดวันศุกร์ด้วย เพราะละหมาดวันศุกร์ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการละหมาดญะมาอะฮฺ นั่นก็หมายความว่าถ้ามีสองคนก็ให้คนหนึ่งคุฏบะฮฺ คนหนึ่งเป็นผู้ฟัง
           
           ส่วนใน เรื่องที่ว่าจะนับเป็นละหมาดญะมาอะฮฺหรือไม่ถ้ามีเด็กโตที่รู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆแล้ว(มุมัยยิซ)เป็นมะอฺมูม(โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีกันแค่สองคน)อุละมาะอ์มีความเห็นแตกต่างกัน แต่ตามทัศนะที่หนักแน่นนั้นเห็นว่าให้นับเด็กโตด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีหลักฐานใดห้ามในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าถ้าเป็นเด็กแล้วให้ดูก่อนว่าเป็นละหมาดฟัรฎูหรือละหมาดสุนัต  ดังนั้นการเป็นมะอฺมูมของเด็กโตนั้นใช้ได้ นี่เป็นทัศนะของมัซฮับฮะนะฟียฺ มัซฮับชาฟิอียฺ และเป็นรายงานหนึ่งของอิมามอะหฺมัด

           
 ...............................................................
(อ้างอิงจาก เศาะฮีฮฺ ฟิกฮุซซุนนะฮฺ โดย อบูมาลิก กะมาล อิบนุ อัซซัยยิด ซาลิม เล่มหนึ่ง หน้า510)

วันศุกร์ส่งเสริมให้เศาะละวาตให้ท่านนบีมากๆ


สำหรับในวันศุกร์นั้น ศาสนาส่งเสริมให้เศาะละวาตให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาก ๆ

มีรายงานจากเอาซฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวกับฉันว่า :

إِنَّ مِنْ أَفْضَلِ أَيَّامِكُمْ يَوْمَ الْجُمُعَةِ , فِيهِ خُلِقَ آدَمُ , وَفِيهِ قُبِضَ , وَفِيهِ النَّفْخَةُ , وَفِيهِ الصَّعْقَةُ , فَأَكْثِرُوا عَلَيَّ مِنَ الصَّلاةِ فِيهِ , فَإِنَّ صَلاتَكُمْ مَعْرُوضَةٌ عَلَيَّ   قَالُوا : وَكَيْفَ تُعْرَضُ صَلاتُنَا عَلَيْكَ وَقَدْ أَرِمْتَ ؟ ! فَقَالَ : إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ حَرَّمَ عَلَى الأَرْضِ أَنْ تَأْكُلَ أَجْسَادَ الأَنْبِيَاءَِ

“จากความประเสริฐของวันต่าง ๆ สำหรับพวกท่าน ก็คือวันศุกร์ อาดัมถูกสร้างในวันนี้ อาดัมถูกเอาชีวิต ในวันนี้ สังข์ถูกเป่าในวันนี้ เสียงกัมปนาทเกิดขึ้นในวันนี้ ดังนั้นพวกท่านจงเศาะละวาตให้กับฉันมาก ๆ ในวันนี้ เพราะการเศาะละวาตของพวกท่านจะถูกนำเสนอให้กับฉัน บรรดาเศาะฮาบะฮฺได้กล่าวถามว่า : และการเศาะละวาตของเราจะถูกนำเสนอแก่ท่านอย่างไร โดยที่ร่างของท่านสลายไปแล้ว ? ท่านนบี ตอบว่า : ความจริงแล้วอัลลอฮฺ ผู้สูงส่ง ได้ทรงห้ามแผ่นดินในการที่จะกลืนร่างกายของบรรดานบี"
(บันทึกโดยอบูดาวุด : 1047 นะซาอียฺ : 91/3 อิบนุมาญะฮฺ : 1085 มุสนัดอิหม่ามอะหมัด : 8/4)

ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า ส่งเสริมให้เศาะละวาตให้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้มาก ๆ ในวันศุกร์ และในคืนวันศุกร์ (สายรายงานเศาะเหี๊ยะ บันทึกโดยฮากิม 519/2 บัยฮากียฺ 170/3 อิบนุญะรีร 22/30) ดังหะดีษที่ว่า

أَكْثِرُوا مِنَ الصَّلاةِ عَلَيَّ يَوْمَ الْجُمُعَةِ وَلَيْلَةَ الْجُمُعَةِ ، فَمَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلاةً صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ عَشْرًاَ

“พวกท่านทั้งหลายจงเศาะละวาตให้กับฉันมาก ๆ ในวันศุกร์ และคืนวันศุกร์ ผู้ใดขอพรให้แก่ฉัน หนึ่งครั้ง อัลลอฮฺจะให้พรแก่เขาสิบครั้ง ”
(บันทึกโดยบัยฮากียฺ บทที่ว่าด้วยการละหมาดวันศุกร์ : 249/3 อิหม่ามชาฟิอียฺ : 172/1)

والله أعلم بالصواب


.....................

ความรักที่จะทำให้หูหนวกตาบอด



จงระวังความรักที่จะทำให้ท่านหูหนวกตาบอดอย่างที่ท่านรอซูลได้กล่าวไว้ในฮาดิษหนึ่งมีความหมายว่า

“ความ รักของท่านต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะทำให้ท่านหูหนวกตาบอด” 
(รายงานโดย อะหฺมัด 5:94 และอบู ดาวูด 5130)


เมื่อความรักทำให้ท่านมีสภาพเหมือนคนที่มีหูแต่เขาผู้นั้นก็มิอาจที่จะได้ยินสิ่งที่ดีและถูกต้อง เปรียบเสมือนคนที่หูหนวกไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย

และคนที่มีตาแต่ไม่สามารถมองเห็นความถูกต้องได้นั้นก็เปรียบเสมือนคนที่ตาบอดที่ไม่สามารถเห็นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

..................................
หนูชื่อ เจ๊ นูรีฮัน มาเลเซีย





วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

เงื่อนไขการดะวะฮฺสู่อะกีดะฮฺของอัสสะละฟุศศอและห์



การดะวะฮฺหรือเรียกร้องร้องเชิญชวนสู่อะกีดะฮฺของอัสสะละฟุศศอและห์ จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยเงื่อนไข ดังนี้

1. การศรัทธาที่ถุกต้อง เราต้องศรัทธามั่นเหมือนอย่างที่ชาวอัสสะฟุศศอและห์ศรัทธาเชื่อมั่นทั้งในเรื่องเตาฮีดอัรรุบูบียะฮฺ เตาฮีดอัลอุลูฮิยะฮฺ เตาฮีดอัสมาอฺ วะศิฟาต และเรื่องอะกีดะฮฺอื่นๆ ทั้งหมด

2.แนวทางทีถูกต้อง ต้องเข้าใจต่ออัลกิตาบและอัสสุนนะฮฺอย่างชัดเจน ตามที่ชาวอัสสะฟุศศอและห์ได้กำหนดไว้เป็นรากฐาน(อุศูล) หรือที่พวกเขาวางเอาไว้เป็นหลักเกณฑ์

3.การปฏิบัติที่ถุกต้อง เราต้องไม่พยายามอุตริสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺขึ้นมาในเรื่องการปฏิบัติศาสนา ทว่าต้องทำอะมั้งนั้นโดยบริสุทธิ์ใจต้อพะรองค์อัลลอฮฺ และต้องให้สอดคล้องตรงกับบทบัญญัติของพระองค์ด้วย ไม่ว่าอะมั้งนันเป็นทางความเชื่อ ท่งปฏิบัติหรือทางคำพูดก็ตาม

والله أعلم بالصواب

.....................

เรื่องได้คิดจากเด็ก





ชายชราคนหนึ่ง เดินอยู่ชายหาด ในขณะนั้น

ได้เห็นเด็กคนหนึ่งกำลังเอาน้ำละหมาด แล้วก็ร้องไห้ด้วย ชายชราคนนั้น จึงพูดขึ้นว่า “โอ้เจ้าเด็กน้อย อะไรทำให้เธอร้องไห้”

เด็กน้อยนั้นตอบว่า… “ฉันได้อ่านกุรอ่าน พออ่านถึงโองการที่ว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงปกป้องตัวของท่านให้พ้นไฟนรก” “ฉันกลัวว่า อัลลอฮ์จะโยนฉันลงไปในนรก” ( ซูเราะห์อัตตะห์รีม โองการที่ 6 )

ชายชราคนนั้นพูดว่า “โอ้เจ้าเด็กน้อย เธอยังไม่มีความผิด เธอไม่ต้องกลัวเธอจะไม่ตกนรก”

เด็กน้อยจึงพูดขึ้นว่า… “โอ้ผู้เฒ่า ท่านเป็นคนมีปัญญามิใช่หรือ ? ท่านไม่เคยเห็นหรือว่า เวลาคนเขาสุมไฟฟืน เพื่อที่จะประกอบอาหารนั้น เขาจะเริ่มสุมไฟด้วยการเอาไม้ชิ้นเล็ก ๆ สุมก่อน แล้วจึงใส่ไม้ท่อนใหญ่”

ชายชราผู้นั้นถึงกับร้องไห้ พลางรำพึงว่า แท้จริงเด็กคนนี้ เขากลัวนรกมากกว่าเราเสียอีก เราจะมีสภาพเป็นอย่างไร? จงพิจารณาดูเถิด โอ้ บรรดาผู้ที่มีปัญญาทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ร้องไห้ ให้กับตัวของท่าน ที่ท่านได้จำนำมันไว้กับนรกอเวจี ทั้ง ๆ ที่ความตายก็กำลังขี่คอท่านอยู่แล้ว ตลอดจนกูโบร์ ก็คือ สถานที่พำนักของท่าน

"ให้น้ำใจ ไร้น้ำตา ให้เวลา ปัญหาคลี่คลาย"

Credit : muslimchiangmai.net

Islam is my Life  

สาเหตุที่ได้สรรเสริญเยินยอ


ครั้งหหนึ่ง ได้มีชาวอาหรับชนบทเข้าเฝ้าฯ เคาะลีฟะห์ฮิชาม อิบนุ อับดิลมะลิก และกล่าวสรรเสริญเยินยอพระองค์ต่อหน้าพระที่นั่ง

เคาลีฟะห์จึงกล่าวขึ้นว่า : โอ้ท่านผู้นี้ แท้จริงการสรรเสริญเยินยอบุคคลต่อหน้านั้นเป็นสิ่งที่ไม่บังควรและถูกห้ามตามหลักการของศาสนา ฉะนั้นท่านจงอย่าสรรเสิญเยินยอผู้คนต่อหน้าพวกเขา!

 ชาวอาหรับชนบทจึงกล่าวขึ้นว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ท่านฮิชาม อันตัวฉันนี้มีิได้สรรเสริญเยินยอท่านเลยแม้แต่น้อย

หากแต่ฉันกระตุ้นเตือนให้ท่านได้ระลึกและเกิดความสำนึกต่อความโปรดปรานอันมากมายของพระองค์อัลลอฮฺ ที่มีต่อท่าน

เพื่อท่านนั้นจักได้ไม่ลืมตัว และหมั่นระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เสมอ การณ์เป็นเช่นนี้ต่างหาก!"
(จาก "อัลมุฟริดุ้ลอะลัม ฟี รอสมิลเกาะลัม หน้าที่ 92)

................................

กอบีลกับฮาบีล



อัลลอฮฺตรัสว่า : [และเจ้าจงอ่านให้พวกเขาฟัง ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับบุตรชายสองคนของอาดัมตามความเป็นจริง ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสองคน และมันมิได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง เขา (กอบีล) จึงได้กล่าวว่า แน่นอนข้าจะฆ่าเจ้าให้ได้ เขา (ฮาบีล) กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับจากหมู่ผู้มีความยำเกรงเท่านั้น หากท่านยื่นมือของท่านมายังฉันเพื่อจะฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ยื่นมือของฉันไปยังท่านเพื่อจะฆ่าท่าน แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺผู้เป็นพระอภิบาลแห่งสากลจักรวาล แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป แล้วท่านก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวนรก และนั่นแหละคือ การตอบแทนก่บรรดาู้ผู้อธรรม แ้ล้วจิตใจของเขาก็คล้อยตามเขาในการที่จะฆ่าน้องชายของเขา แล้วเขาก็ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นเขาจึงได้กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ขาดทุน แล้วอัลลอฮฺก็ได้ส่งกาตัวหนึ่งมาคุ้ยหาในดิน เพื่อที่จะให้เขาเห็นว่าเขาจะกลบศพน้องชายของเขาอย่างไร เขากล่าวว่า โอ้ความพินาศของฉัน ฉันไม่สามารถที่จะเป็นเช่นกาตัวนี้แล้วกลบศพน้องชาขของฉันเชียวหรือนี่ แล้วเขาก็กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ตรอมใจ]
(กุรอาน 5 : 27 - 34)

[ขณะที่ทั้งสองไ้ด้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลี] คือ สิ่งพลีของกอบีลผู้เป็นพี่คือ ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ เพราะเขาเป็นผู้ทำไร่ ส่วนสิ่งพลีของฮาบีลนั้นคือแกะ เพราะเขาเป็นผู้เลี้ยงแกะ [แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป] คือ นำกลัยไปยังอัลลอฮฺในวันปรโลก เพื่อรับการลงโทษจากพระองค์ ในเรื่องนี้บรรดานักอรรถธิบายอัลกุรอานได้ให้ความหมายว่า : ฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปที่ฆ่าฉัน และบาปของท่านเองกลับไป


......บุคลิกภาพของกอบีลและฮาบีล

กอบีลคือ ตัวแทนของชัยฏอน อารมณ์ใฝ่ต่ำชักจูงเขา.....ความอิจฉาริษยา......และชัยฏอนทำให้เขาตาบอด ซึ่งทำให้เขามองไม่เห็นสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

ฮาบีล คือ ตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตายิ่ง การอีมานการศรัทธาชักนำเขาไปสู่การประกอบคุณงามความดี

(ตอนต่อไป....จุดเริ่มเรื่อง,.....เรื่องสิ่งพลี)
.............................
(จากหนังสือ : เรื่องเล่ากุรอาน เล่ม 1)

อดทน เพื่อชัยชนะ

กอบีลกับฮาบีล(จุดเริ่มเรื่อง)



บรรดานักปราชญ์ กล่าวว่า : แท้จริงนางเฮาวาอ์ได้ให้กำเนิดบุตรกับอาดัม โดบออกมาเป็นคู่แฝด ในทุึก ๆ ท้องจะมีทารกเพศชายหนึ่งคนและทารกเพศหญิงหนึ่งคน ปรากฏว่านางเฮาวาอ์ไ้ดให้กำเนิดลูกทั้งหมด 40 คน ใน 20 ท้อง ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งคู่แรก คือ กอบีล กับ ฮิกลีมา คู่ต่อมา คือ ฮาบีล กับ ละบูดา และท้องสุดท้าย อับดุลมุฆีษคู่กับ อะมะตุลมุฆีษ ต่อมาอัลลอฮฺทรงทำให้เชื้อสายของอาดัมเพิ่มพูนขึ้นมากมาย

ปรากฏว่าท่านนบีอาดัมจะจับลูกชายทุกท้องให้แต่งงานกับลูกสาวอีกท้องหนึ่ง ขณะที่ กอบีล เกิดมาคู่กับ อิกลีมา ส่วย ฮาบีล เกิดมาคู้กับ ละบูดา ซึ่งระหว่าง 2 คู่นี้ มีอายุต่างกัน 2 ปีั อัลลอฮฺทรงบัญชาใช้ให้ท่านนบีอาดัม จับกอบีลแต่งงาน กับ ละบูดา ซึ่งเป็นน้องสาวท้องเดียวกับ ฮาบีล และจับ ฮาบีลแต่งงานกับ อิกลีมา ซึ่งเป็นน้องสา่วเดียวกับ กอบีล ปรากฏว่า อิกลีมาซึ่งเป็นน้องสาว (ท้องเดียวกับ) กอบีล เป็นผู้หญิงที่งามกว่าที่สุดในบรรดาพี่น้อง และมีจรรยามารยาทเหนือกว่าคนอื่น ๆ เช่นกัน ท่านนบีอาดัมได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ฮาบีลได้รับทราบ ฮาบีลไ้ดรับฟังดังนั้น ก็พอใจสิ่งที่ีบิดาเสนอ ส่วนกอบีลกลับไม่พอใจ และกล่าวว่า : อิกลีมาเป็นน้องสาวท้องเดียวกับฉันนางดีกว่า สวยกว่า ละบูดา ดังนั้นฉันมีสิทธิ์ได้นางมากกว่าเขา บิืดาของเขากล่าวว่า : นางไม่เป็นที่อนุมัติแก่เจ้า แล้วกอบีลก็ปฏิเสธที่จะยอมรับตามคำสั่งของบิดา และกล่าวว่า : แท้จริงอัลลอฮฺมิได้ทรงบัญชาใช้กับเรื่องดังกล่าวนี้เลย แต่ทว่าเป็นเพียงความเห็นของเขาเท่านั้นเอง อาดัมกล่าวกับลูกทั้งสองของเขาว่า : เจ้าทั้งสองจงหาสิ่งที่ใช้พลีต่ออัลลอฮฺ ถ้าพระองค์ทรงรับสิ่งพลีของผุ้ใด เขาผุ้นั้นมีสิืทธิ์ได้ อิกลีมา ไปครอง


.....เรื่องสิ่งพลี

สิ่งพลีนั้นหากพระองค์ทรงรับสิ่งที่เขานำไปพลี ก็จะมีไฟลงมาจากฟากฟ้าแล้วก็กินสิ่งพลีนั้น หากว่าพระองค์ไม่ทรงรับสิ่งพลีนั้น ไฟก็จะไม่มากนสิ่งพลีนั้น แล้วกอบีล กับฮาบีล ก็ออกมาเพื่อที่จะนำสิ่งพลีมาถวายต่อพระองค์ กอบีลนั้นเก่งทางด้านการเกษตรเพาะปลูกพืชพันธุ์ เขาจึงนำเอาเมล็ดพันธุ์เกรดเลว มาพลีต่อพระองค์กองหนึ่ง ในใจก็นึกไปว่า ไม่สนใจจะรับหรือไม่รับการพลีก็ชั่ง ส่วนฮาบีลเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ เขาได้นำแกะอ้วนมาตัวหนึ่ง โดยคัดสรรมาอย่างดีนำมาพลีต่อพระองค์ ในใจก็คิดไปว่า เพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์และหวังว่าพระองค์จะทรงรับการงานนี้ แล้วทั้งสองคนก็วางสิ่งพลีไว้ที่บนภูเขา แล้วไฟก็ลงมาจากฟากฟ้า แล้วก็กินแกะอ้วนตัวนั้น แต่ไม่กินสิ่งพลีของ กอบีล ศึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์..... แล้วพวกเขาก็ลงมาจากภูเขาและแยกย้ายกันออกไป แน่นอน กอบีลไม่พอใจขณะที่พระองค์ไม่ทรงรับพลีของเขา และทำให้การอิจฉาริษยาและการฝ่าฝืนของเขาเริ่มประจักษ์ขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกปิดซ่อนในใจ


.............................
(จากหนังสือ : เรื่องเล่ากุรอาน เล่ม 1)

อดทน เพื่อชัยชนะ

กอบีลกับฮาบีล(ความเสยใจ)




กอบีลได้มาหาฮาบีลเกี่ยวกับเรื่องที่พระองค์ทรงรับการพลีของฮาบีลเพียงอย่างเดียว กอบีลกล่าวว่า : ฉันจะฆ่าเจ้า

ฮาบิล กล่าววว่า : เพราะเหตุใดหรือ ? (ถึงจะฆ่าฉัน)

กอบีล กล่าวว่า : เพราะว่าอัลลอฮฺทรงรับการพลีของเจ้า แต่ไม่ทรงรับการพลีของฉัน อีกทั้งเจ้ายังจะมาแต่งงานกับ อีกลีมา ซึ่งทั้งสวยทั้งดี ส่วนฉันกลับถูกใ้หแต่งงานกับน้องสาวของเจ้าซึ่งขี้เหร่ แล้วผู้คนก็จะคุยกันว่า เจ้านั้นดีกว่าประเสริฐกว่าฉัน และลูกของเจ้าที่เกิดมาก็จะดีกว่าลุูกของฉันอีกด้วย

ฮาบีล กล่าวกับเขาว่า : มันเป็นความผิดของฉันด้วยหรือ ? แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับการงานจากหมู่ผู้ที่มีความยำเกรงเท่านั้น หากท่านยื่นมือของท่านมาเพื่อที่จะฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ยื่นมือของฉันไปต่อสู้กับท่านเพื่อสังหารท่าน แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺผู้เป็นพระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล

อับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัร กล่าวว่า : แท้จริงคนที่ถูกสังหารนั้นมีความกล้าหาญหนักแน่นกว่า แต่กับหักห้ามสองมือเขาที่จะเข้าไปต่อสู้กับพี่ชายของเขา [แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป (ยังอัลลอฮฺ) แล้วท่านก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวนรก และนั่นแหละคือการตอบแทนแก่บรรดาผู้อธรรม]
(กุรอาน 5 : 29)

คำพูดนี้เป็นการเตือนให้หยุดการกระทำความชั่ว [และจิตใจของเขา (กอบีล) ก็คล้อยตามเขาในการที่จะฆ่าน้องชายของเขา แล้วก็ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นเขาจึงได้กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ขาดทุน]
(กุรอาน 5 : 30)

อัซซะอ์ดีย์ กล่าวว่า : เมื่อกอบีลตั้งใจที่จะฆ่าฮาบีลเขาก็ใช้กลอุบายให้ฮาบีลขึ้นไปที่ยอดเขา มีอยู่วันหนึ่งฮาบีลนอนหลับอยู่ กอบิลจึงยกหินก้อนหนึ่งทุ่มลงบนศีีรษะของฮาบิลแล้วเขาก็สิ้นใจลง

อิบนุญะรีจญ์ กล่าวว่า : กอบีลไม่รู้ว่าจะฆ่าน้องของเขาให้ตายได้อย่างไร อิบลีสจึงแสดงตัวอย่างให้เห็น โดยเอานกมาตัวหนึ่ง แล้วเอาหัวของมันวางลงบนหิน แล้วเอาหินอีกก้อนหนึ่งมาทุ่มลงไปบนหัวของมัน แล้วนกตัวนั้นก็สิ้นใจตาย วันที่ฮาบีลสิ้นชีวิตนั้นเขามีอายุได้ 20 ปี

[ดังนั้นเขา (กอบีล) จึงได้กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ขาดทุน] คือ ขาดทุนทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ (ปรโลก) และการขาทุนในอาคิเราะฮฺถือว่ายิ่งใหญ่กว่าการขาดทุนในโลกดุนยา

เมื่อกอบีลฆ่าน้องชายของเขาแล้ว เขาก็ไม่รู้จะจัดการกับศพอย่างไรดี เพราะมันคือศพแรกของมวลมนุษยชาติที่เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน (เพื่อให้มนุษย์ได้เรียนรู้) อัลลอฮฺจึงส่งนกกาสองตัวมา (เพื่อเป็นการแสดงสอนวิธ๊การจัดการกับศพอย่างไร) ทั้งสองตัวต่างต่อสู้่กัน จนกระทั่งตัวหนึ่งฆ่าอีกตัวหนึ่งตาย ตัวที่มีชีวิตรอดใช้ตีนและจงอยปากของมันคุ้ยดินให้เป็นหลุมทำท่าว่ากำลังคุ้ยเขี่ยหาอาหารจนกระทั่งเป็นหลุม มันจึงคุ้ยตัวที่ตายลงหลุมแล้วก็เขี่ยกลบ ขณะเดียวกัน กอบีล ก็เฝ้ามองอยู่้ เมื่อเห็นดังนี้เขาจึงกล่าวว่า : โอ้ความพินาศของฉัน ฉันไม่สามารถที่จะเป็นเช่นกาตัวนี้แล้วกลบศพน้องชายของฉันเชียวหรือนี่ แล้วเขาก็กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ตรอมใจ อัลฮะซัน กล่าวว่า : อัลลอฮฺทรงให้มีความเสียใจหลังจากการขาดทุน


........บทเรียนจากเรื่องนี้
1. พึงพอใจใสสิ่งที่อัลลอฮฺทรงจัดสรรค์ให้และสวรรค์ในโลกดุนยาเป็นที่พักพิงชั่วคราวของผู้เคารพภักดีต่อพระองค์

2. รักในตัวตนที่สัมผัสได้ ชอบในความงาม รักในเกียรติของตนเอง จึงเป็นสาเหตุโดยชักจูงให้กอบีลต้องฆ่าน้องชายของเขาและนำชัยฏอนให้ปฏิเสธต่อการสุญูดอาดัม

3. ความดีไม่เคยเหือดหาย ความผิดไม่เคยถูกลืม ผู้พิพากษา (อัลลอฮฺ) ทรงเป็นอมตะนิจนิรันดร

4. การยำเกรง คือสาเหตุแห่งการรับการงาน [แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับ(การงาน) จากหมู่ผู้มีความยำเกรงเท่านั้น] (กุรอาน 5 : 27)

เมื่ออามิร อิบนิ อับดุลลอฮฺ ใกล้ตายเขาก็ร้องไห้ มีผู้กล่าวกับเขาว่า : อะไรที่ทำให้ท่านต้องร้องไห้ เขากล่าวว่า : ฉันได้ยินพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า : [แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับ (การงาน) จากหมู่ผู้ที่ีมีความยำเกรงเท่านั้น]
(กุรอาน 5 : 27)


......................................
(จากหนังสือ : เรื่องเล่ากุรอาน เล่ม 1)

อดทน เพื่อชัยชนะ

ละหมาดกิยามุลลัยล์และถือศีลอดเฉพาะวันศุกร์



ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในการเจาะจงละหมาดกิยามุลลัยล์ และถือศีลอดเฉพาะวันศุกร์

มีรายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

لَا تَخْتَصُّوا لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ بِقِيَامٍ مِنْ بَيْنِ اللَّيَالِي ، وَلَا تَخُصُّوا يَوْمَ الْجُمُعَةِ بِصِيَامٍ مِنْ بَيْنِ الْأَيَّامِ ، إِلَّا أَنْ يَكُونَ فِي صَوْمٍ يَصُومُهُ أَحَدُكُمْ

“พวกท่านอย่าได้เจาะจงละหมาดในค่ำคืนวันศุกร์คืนเดียว นอกเหนือจากคืนอื่น ๆ และอย่าได้เจาะจง ถือศีลอดในวันศุกร์วันเดียว นอกเหนือจากวันอื่น ๆ เว้นแต่ว่า มันเป็นวันถือศีลอดที่คนใดในหมู่พวก เจ้าถือศีลอดอยู่ (ถือศีลอดชดใช้ หรือถือติดต่อกับวันพฤหัสหรือติดต่อด้วยวันเสาร์-ผู้แปล) ”

(บันทึกโดยมุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด บทที่ว่าด้วยเรื่องที่ไม่สมควรถือศีลอดวันศุกร์วันเดียวเฉพาะ  : 1144)

والله أعلم بالصواب

............................