อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อย่าเข้าใกล้การละหมาดและพำนักในมัสยิดขณะที่เป็นผู้มีญะนาบะฮฺ



“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 21 : อย่าเข้าใกล้การละหมาดขณะที่มึนเมา และอย่าเข้าใกล้การละหมาดและพำนักในมัสยิดขณะที่เป็นผู้มีญะนาบะฮฺและการทำตะยัมมุมในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าเข้าใกล้การละหมาดขณะที่พวกเจ้ากำลังมึนเมาอยู่ จนกว่าพวกเจ้าจะรู้สิ่งที่พวกเจ้าพูดและก็จงอย่าเข้าใกล้การละหมาด ขณะที่เป็นผู้มีญะนาบะฮิ นอกจากผู้ที่ผ่านทางไปเท่านั้น จนกว่าพวกเจ้าจะอาบน้ำและหากพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง หรือคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้ามาจากที่ถ่ายทุกข์ หรือพวกเจ้าสัมผัสผู้หญิง แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำ ก็จงมุ่งสู่ดินที่ดี แล้วจงลูบใบหน้าของพวกเจ้าและมือของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงยกโทษเสมอ ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 43)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** การละหมาดเป็นศาสนกิจที่มีความสำคัญในชีวิตของการเป็นผู้ศรัทธา และเป็นศาสนกิจที่ผู้ศรัทธาทุกคนต้องเอาใจใส่และให้ความตระหนัก เพราการละหมาดจะช่วยสานสัมพันธ์อันดีและมั่นคงระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาล

**** อัลลอฮฺไม่ทรงต้องการให้บ่าวเข้าหาพระองค์ในสภาพที่จิตใจไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรและกล่าวอะไร แต่พระองค์ทรงต้องการให้บ่าวเข้าหาพระองค์ด้วยการมีสมาธิ รู้และตระหนักดีว่าตัวเองกำลังทำอะไรและกล่าวอะไรอยู่

**** การละหมาดในสภาพที่มึนเม หรือการที่สมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่น หรือการที่จิตใจไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว ย่อมทำให้การละหมาดไม่เกิดผลใด ๆ ต่อชีวิตของบุคคลหนึ่ง เพราะเขาจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวคุณค่าของการละหมาดในแต่ละอิริยาบถใด ๆ ได้เลย

**** การละหมาดของคนที่ไม่รู้ภาษาอาหรับนั้นถือว่าใช้ได้และมีความถูกต้อง เพราะอัลลอฮฺไม่ได้ดำรัสว่า “ถ้าหากเจ้าไม่เข้าใจความหมายของมัน” หรือ “เว้นเสียแต่ว่าเจ้าจะเข้าใจในสิ่งที่เจ้าได้กล่าวไป” แต่อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า “จนกว่าพวกเจ้าจะรู้สิ่งที่พวกเจ้าพูด” นั่นคือ ต้องมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังกล่าวอะไร

**** อัลลอฮฺทรงนำพาบรรดาผู้ศรัทธาให้ย่างก้าวไปตามที่พระองค์ทรงประสงค์อย่างมีขั้นตอน และทรงให้มนุษย์เป็นไปตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ทั้งหมด ด้วยรูปแบบที่พระองค์ทรงนำมาใช้ พระองค์ไม่ได้ตำหนิบรรดาผู้ที่ลุ่มหลงอยู่กับสิ่งมึนเมา แต่ในทางตรงกันข้ามอัลลอฮฺกลับนำเสนอแนะแนวทางประหนึ่งเป็นการฝึกฝนจิตใจของมนุษย์ด้วยรูปแบบวิธีการที่เรียบง่าย สะดวกต่อการนำมาปฏิบัติ และชาญฉลาดที่สุด

**** อิสลามจะใช้วิธีการที่นิ่มนวลแบบค่อยเป็นค่อยไปแก้ไขไปทีละขั้นตอน อิสลามจะพิจารณาตามสภาพและสถานการณ์ของเวลาอิสลามจะเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกทางศาสนา และการปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดทางด้านจิตใจให้เกิดขึ้นกับผู้ศรัทธาเป็นอันดับแรก

**** การห้ามผู้ศรัทธาหลีกห่างจากสิ่งมึนเมานั้น ได้เป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งรวมทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ แรกเริ่มอิสลามได้อนุญาตให้ดื่มสิ่งมึนเมาได้ แต่ต่อมาก็มีการรณรงค์ให้ละทิ้งมัน จากนั้นก็ได้ห้ามดื่มเมื่อเข้าใกล้เวลาละหมาด แต่ท้ายที่สุดอิสลามก็ได้ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมาโดยสิ้นเชิง ซึ่งการห้ามอย่างเป็นเป็นขั้นตอนนั้น ถือเป็นความละเอียดอ่อนของศาสนาอิสลามที่เข้าใจความรู้สึกของมนุษย์เป็นอย่างดี และบ่งชี้ถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวผู้ศรัทาต่อพระองค์

**** การละหมาด คือ การที่บ่าวผู้ศรัทธาได้เข้าเฝ้าต่อพระผู้อภิบาลของเขา จึงไม่คู่ควรอย่างยิ่งการที่บุคคลหนึ่งจะเข้าเฝ้าต่อพระองค์ในสภาพที่เปรอะเปื้อน หรือสภาพที่มีญุนุบ

**** อิสลามเป็นศาสนาที่มีความสะดวกและง่ายดาย ซึ่งอัลลอฮ.ไม่ทรงประสงค์ที่จะให้บ่าวของพระองค์ประสบกับความยากลำบากในการปฏิบัติศาสนกิจใด ๆ และไม่เปิดช่องว่างให้คนละทิ้งหรือเพิกเฉยต่อการละหมาดหรือล่าช้าจนปฏิบัติละหมาดไม่ทันเวลา เนื่องจากขาดน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดเป็นอันขาด ด้วยเหตุนี้จึงมีบัญญัติให้ทำการตะยัมมุม เพื่อเป็นการทดแทนการชำระทำความสะอาดโดยการใช้น้ำ และอนุญาตให้ตะยัมมุมด้วยทุกสิ่งที่อยู่บนพื้นดินซึ่งมีความสะอาดไม่ว่าจะเป็นดินฝุ่นหรือดินทรายหรือดินกรวดหรือดินโคลนเปียกหรือแห้ง

**** การตะยัมมุม จะช่วยรักษาความรู้สึกในเรื่องการทำความสะอาดตนเองและความศักดิ์สิทธิ์ของการละหมาด ถึงแม้ว่าเขาจะไม้สามารถใช้น้ำได้เป็นเวลานาน ดังนั้น ผู้ศรัทธาจะรักษากฎระเบียบเรื่องความสะอาดที่กำหนดไว้โดยหลักกฎหมายอิสลาม และจะระวังรักษาตัวเองให้สะอาดเสมอเพื่อการละหมาด และถือเป้นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประชาชาติอิสลาม

****อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ทรงยิ่งในการให้อภัยต่อปวงบ่าวของพระองค์ แม้นว่าความผิดที่บ่าวได้กระทำล่วงเลยมาแล้วในอดีตจะมากมายเพียงใด แต่พระองค์ทรงเมตตาและทรงยิ่งในการให้อภัย และทรงมอบโอกาสที่จะให้บ่าวของพระองค์กลับเนื้อกลับตัวไปสู่พระองค์ และเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่การเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์ และทำคุณประโยชน์ต่อสังคม

**** ผู้ศรัทธาที่ต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในรูปแบบที่ใสสะอาดและมีเกียรติ เขาจะต้องไม่ทำให้ความผิดของตัวเองในอดีตมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเขาอีก เขาต้องมีความเชื่อมั่นและมั่นใจว่าอัลลอฮฺเป็นพระผู้ทรงเมตตาและทรงยิ่งในการให้อภัย ดังนั้น ชีวิตใหม่หลังจากนี้จึงเป็นชีวิตที่จะนำเขาไปสู่ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

**** ดูข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้องเกี่ยวกับสิ่งมึนเมาเพิ่มเติมใน คำเรียกร้องที่ 38
………………………………………………………..
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] ) 

จงยืนหยัดในการศรัทธา




“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 26 : จงยืนหยัดในการศรัทธา...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เถิด และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ประทานลงมาแก่เราะสูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนนั้น และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมลาอิกะฮฺของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดาเราะสูลของพระองค์ และวันปรโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาก็ได้หลงทางไปแล้วอย่างไกล ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 136)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** บรรดาผู้ศรัทธาได้ถูกสั่งใช้ให้เชื่อมั่นในหลักการศรัทธาด้วยความจริงใจ นั่นเป็นเพราะการยอมรับความศรัทธาเป็นแค่เพียงการนำใครบางคนเข้าสู่อิสลาม แต่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของความเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงได้ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ที่หันมายอมรับอิสลามจึงได้ถูกเรียกร้องให้มีความเชื่อมั่นอย่างจริงใจและจริงจังในอิสลามและหล่อหลอมความคิด รสนิยม ทัศนคติ และความประพฤติของตนเองตามความเชื่อของตน รู้จักคบมิตรแยกศัตรูและดิ้นรนต่อสู้ตามความเชื่อของตนอย่างถึงที่สุด

****คำว่า “กุฟร์” ในอายะฮฺนี้มีความหมายสองประการด้วยกันคือ
- คนที่อาจปฏิเสธอิสลามออกมาโดยตรง
- คนที่ปากดีแต่พูดเรื่องอิสลาม แต่ไม่เชื่อในอิสลามอย่างจริงใจหรืออาจจะแสดงความประพฤติของตนออกมาว่าถึงแม้จะเข้ารับอิสลาม แต่ก็ไม่มีความเชื่อในอิสลาม

**** กุฟร์ทั้งสองชนิดไม่สามารถที่จะเคียงคู่ไปกับหลักการศรัทธาของอิสลามได้เลย และจะทำให้คนหลงออกจากสัจธรรมไปสู่หนทางที่เบี่ยงเบน

**** คนที่ไม่ได้ถือว่าเรื่องของความศรัทธาเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะปฏิบัติต่อความศรัทธาเหมือนกับของเล่นเพื่อตอบสนองอารมณ์ของตนเอง คนจำพวกนี้จะรับอิสลามถ้ามีคนชักจูงไป แต่ถ้าหากอีกฝ่ายมาชักจูงไปอีกด้าน พวกเขาก็จะเป็นผู้ปฏิเสธ หรือพวกนี้จะเป็นผู้ศรัทธาก็ต่อเมื่อมีผลประโยชน์ของพวกเขาเรียกร้องให้เป็น แต่ถ้าหากผลประโยชน์ของพวกเขาอยู่กับพวกปฏิเสธ พวกเขาก็จะเป็นผู้ปฏิเสธทันทีโดยไม่รีรอ ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าการให้อภัยและทางนำจากอัลลอฮฺจะไม่มีให้แก่คนพวกนี้ พวกเขาจะไม่หยุดการปฏิเสธของพวกเขา แต่จะดึงดันปฏิเสธมากยิ่งขึ้น พวกเขาจะพยายามหันเหผู้ศรัทธาคนอื่น ๆ ให้ออกจากอิสลาม วางแผนต่อต้านอิสลามและคิดทำร้ายอิสลามเพื่อที่ชูธง “กุฟร์” ขึ้นและดึงธงแห่งอิสลามลงมาเนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นที่เพิ่มเติมจากการปฏิเสธ ดังนั้น จึงสมควรได้การลงโทษมากกว่าความผิดของผู้ที่ปฏิเสธอิสลาม แต่ไม่ได้เป็นศัตรูต่ออิสลาม

**** อัลลอฮฺเท่านั้นที่มีอำนาจจะนำทางใครอย่างไรก็ได้ และไม่มีใครสามารถที่จะเลือกเอาทางใดไม่ว่าถูกหรือผิดได้ถ้าหากพระองค์ทรงไม่อนุมัติและไม่ช่วยเหลือ แต่พระองค์จะทรงอนุมัติและทรงช่วยเหลือทุกคนให้เดินทางบนทางที่แต่ละคนเลือกเพื่อตัวเอง ถ้าหากใครรักอัลลอฮฺและเป็นผู้แสวงหาสัจธรรมและตั้งใจที่จะปฏิบัติตามหนทางของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงอนุมัติและช่วยเหลือเขาให้คิดและปฏิบัติในสิ่งที่จะนำไปสู่หนทางที่ถูกต้อง และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพให้เขาในการดำเนินชีวิตบนแนวทางนั้น แต่ถ้าใครเลือกที่จะเดินทางผิดและดึงดันที่จะเดินอยู่บนทางนั้น อัลลอฮฺก็จะปิดประตูแห่งทางนำสำหรับเขาและจะเปิดหนทางแห่งความชั่วให้ตามที่เขาเลือกไว้เพื่อตัวเอง ไม่มีและป้องกันเขาเขาจากการใช้พลังของเขาในหนทางที่ชั่วร้าย

**** คนที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺนั้น คือคนที่อุทิศชีวิตของเขาทั้งหมดเพื่อพระองค์อย่างกระตือรือร้นและยึดมั่นต่อพระองค์แต่เพียงอย่างเดียว คนเช่นนี้จะมอบความจงรักภักดี ผลประโยชน์และจิตใจทั้งหมดให้แก่อัลลออฺแต่เพียงพระองค์เดียว กล่าวโดยสั้น ๆ ก็คือ ความผูกพันของเขากับอัลลอฮฺจะเข้มข้นจนถึงขนาดที่เขาพร้อมจะเสียสละผู้ใดหรือสิ่งใดก็ได้ให้แก่พระองค์
………………………………………………………..
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )

จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการเป็นพยาน



“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 25 : จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการเป็นพยานและอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ และแม้ว่าจะเป็นอันตรายแก่ตัวของพวกเจ้าเอง หรือผู้บังเกิดเกล่าทั้งสองและญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม หากเขาจะเป็นคนมั่งมีหรือคนยากจน อัลลอฮฺก็สมควร (ที่จะเคารพเชื่อฟัง) ยิ่งกว่าเขาทั้งสอง ดังนั้นจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำ ในการที่พวกเจ้าจะมีความยุติธรรม และหากพวกเจ้าบิดเบือนหรือผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮิทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่ ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 135)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ผู้ศรัทธาถูกสอนไมใช่เพียงให้มีความยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังถูกสอนและกำชับให้ดำรงรักษามาตรฐานแห่งความยุติธรรมไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะทำลายความอยุติธรรมและสร้างความถูกต้องและความยุติธรรมขึ้นมาแทนที่

**** ในฐานะผู้ศรัทธาเขาจะต้องอุทิศตนอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนความยุติธรรม เมือ่ใดก็ตามที่ความยุติธรรมต้องการการสนับสนุน

*** เป้าหมายเพียงอย่างเดียวในการเป็นพยานของผู้ศรัทธา ก็คือ เพื่อสร้างความพึงพอพระทัยแก่อัลลอฮฺ โดยจะต้องไม่มีความรู้สึกลำเอียง เกรงกลัว หรือต้องการจะเอาใจใคร หรือเห็นแก่พระโยชน์ของตนเอง คนในครอบครัว หรือเครือญาติ

**** อิสลามถือว่าความยุติธรรมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้จริยธรรมอิสลามสมบูรณ์ เพราะความยุติธรรมจะนำมาซึ่งการดำรงมั่นในความเป็นธรรมและรักในความสัตย์ ผู้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมจึงถือเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันน่าสรรเสริญ เพราะเป็นผู้มีเกียรติอย่างแท้จริง มีความยืนหยัดในความถูกต้อง ปราณีและมีใจบริสุทธิ์ต่ออัลลออฺ

**** อัลลอฮฺได้เตือนบรรดาผู้ศรัทธาว่าอย่าเป็นพยานในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยไม่ชอบธรรม ผู้ศรัทธาจะไม่เอนเอียงในการเป็นพยานให้อีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องเพราะฝ่ายนั้นเป็นคนที่มีความร่ำรวย มีฐานะ หรือมีหน้ามีตาในสังคม ในทำนองเดียวกัน ผู้ศรัทธาก็จะไม่ให้ความรู้สึกสงสารต่ออีกฝ่ายหนึ่งเนื่องด้วยฝ่ายนั้นเป็นคนที่ยากจนมีผลต่อการเป็นพยานของเขา แต่ผู้ศรัทธาต้องมีความยุติธรรมในการเป็นพยานต่อทุกฝ่ายและจะไม่ให้อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขามีส่วนที่จะทำให้ไม่เกิดความยุติธรรม ผู้ศรัทธาจะตระหนักดีว่าอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดีที่สุดในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และพวกเขาจะสำนึกอยู่เสมอว่าพระองค์ทรงรู้ดียิ่งแม้กระทั่งสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ ดังนั้น ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจะไม่บิดเบือนและจะไม่ผินหลังในการเป็นพยานเพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างเด็ดขาด
………………………………………………………..
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] ) 

อย่ายึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากผู้ศรัทธา



“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 27 : อย่ายึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากผู้ศรัทธา...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าได้ยึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าต้องการทีจะให้อัลลอฮฺมีหลักฐานอันชัดเจนจัดการกับพวกเจ้ากระนั้นหรือ ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 144)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** การที่อัลลอฮฺทรงห้ามบ่าวผู้ศรัทธามีความสนิทสนมกับผู้ปฏิเสธศรัทธา เพราะพระองค์ทรงรู้ดีว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นการก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นและจะทำให้บ่าวผู้ศรัทธามีความลำบาก ซึ่งถือเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของพระองค์

**** อัลลอฮฺได้เตือนบรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้ไว้วางใจบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และไม่ให้พึ่งพาและขอความช่วยเหลือจากพวกเขา เพราะบุคคลที่ผู้ศรัทธาสามารถไว้ใจได้ดีที่สุดและสามารถพึ่งพาและขอความช่วยเหลือนั้นคือบรรดาผู้ศรัทธาด้วยกัน และแน่นอนที่สุดอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่เราให้การมอบหมายที่ดีเยี่ยมที่สุด

**** ผู้ที่ยังคงดื้อรั้นเอาผู้ปฏิเสธศรัทธามาเป็นมิตรที่สนิทสนมแล้วก็แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ใช่ผู้ศรัทธาที่มีความจริงใจ ซึ่งเป็นการสร้างหลักฐานอันชัดเจนให้อัลลอฮฺทรงจัดการแก่เขาในฐานะที่เขาเป็นคนตลบตะแลงและกลับกลอก

**** ดูข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้องเพิ่มเติม ในคำเรียกร้องที่ 14
@@@@@@@@@@@

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 28 : จงรักษาบรรดาสัญญาให้ครบถ้วนและอนุมัติให้บริโภคปศุสัตว์ทั้งหลาย นอกจากบางประเภทเท่านั้น...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนเถิด สัตว์ประเภทปศุสัตว์นั้นได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว นอกจากที่ถูกอ่านให้พวกเจ้าฟัง โดยที่พวกเจ้ามิใช่ผู้ที่ให้สัตว์ที่จะถูกล่านั้นเป็นที่อนุมัติขณะที่พวกเจ้าอยู่ในอิหรอม แท้จ้ริงอัลลอฮฺนั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” (สูเราะฮฺ อัล – มาอิดะฮฺ : 1)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ผู้ศรัทธาจะต้องรักษาขอบเขตต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายของอัลลอฮฺ โดยจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

**** อัลลอฮฺเท่านั้นที่มีอำนาจโดยสมบูรณ์ในการออกกฎหมายใด ๆ ก็ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และบ่าวทั้งหลายของพระองค์นั้นไม่มีสิทธิอันใดที่จะมาซักถามพระองค์ ถึงแม้ว่าคำสั่งและคำบัญชาของพระองค์จะวางอยู่บนวิทยปัญญาและคำสั่งอันสูงส่งก็ตาม แต่ผู้ศรัทธาก็ไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งเหล่านี้เพียงเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเอง แต่ผู้ศรัทธาเชื่อฟังคำสั่งเหล่านี้ก็เพราะว่าเป็นคำสั่งของผู้ทรงเป็นอธิปไตยหรือผู้ทรงมีอำนาจสูงสุด

**** ถ้าหากพระองค์ประกาศว่าสิ่งใดไม่เป็นที่อนุมัติ สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่อนุมัติโดยไม่ต้องไปอาศัยเหตุผลเพราะว่ามันไม่เป็นที่อนุมัติโดยพระองค์ในทำนองเดียวกัน ถ้าหากพระองค์ได้อนุมัติสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นที่อนุมัติโดยไม่ต้องไปหาเหตุผลใด ๆ เพราว่าพระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่งอนุมัติให้บ่าวของพระองค์ใช้มัน

**** หลักการสำคัญประการเดียวที่ทำให้สิ่งใดก็ตามเป็นที่อนุมัติหรือเป็นที่ต้องห้ามนั้นอยู่ที่ว่าอัลลอฮฺผู้ทรงเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่งอนุมัติหรือไม่

**** เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ห้ามคนที่ครองอิหรอมล่าสัตว์ ก็เพราะการล่าสัตว์นั้นจะต้องใช้สมาธิและสติปัญญาทั้งหมดในการจดจ่อกับมัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าคนที่ล่าสัตว์นั้นไม่ว่าเขาจะถูกหนามทิ่มเท้าหรือสะดุดหกล้มจนเท้าถลอกหรือเลือดไหล แต่เขาก็จะไม่สนใจและบางทีจะไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ เพราะสมาธิและจิตใจของเขาทั้งหมดนั้นอยู่ที่สัตว์ที่เขากำลังล่า ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺจึงห้ามคนที่ครองอิหรอมล่าสัตว์ เพราะกริ่งเกรงว่าเขาจะลืมภารกิจที่สำคัญกว่า นั่นคือ การมุ่งสมาธิและจิตใจทั้งหมดไปยังอัลลออฺในช่วงที่ประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ

**** ดูข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้องเกี่ยวกับการห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิหรอมเพิ่มเติม ในคำเรียกร้องที่ 39 - 40
........................................................................

(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] ) 

จงมีความประจักษ์ชัดในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด



“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 24 : จงมีความประจักษ์ชัดในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ...
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก

………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในทางของอัลลอฮฺ (เดินทางไปสอดแนมความเคลื่อนไหวของศัตรู) ก็จงให้ประจักษ์ชัดเสียก่อน (ว่าใครเป็นศัตรูหรือไม่ก่อนที่จะจัดการใด ๆ) และจงอย่ากล่าวแก่ผู้ที่กล่าวสลามแก่พวกเจ้าว่า ท่านมิใช่เป็นผู้ศรัทธา โดยแสวงหาสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ แต่ ณ ที่อัลลอฮฺนั้นมีปัจจัยยังชีพอันมากมาย ในทำนองเดียวกนนั้นพวกเจ้าเคยเป็นมาก่อน แล้วอัลลอฮฺได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงให้ประจักษ์เสียก่อน แท้จริงอัลลอฮินั้นทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่ ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 94)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ในตอนยุคต้นของอิสลาม คำทักทายที่กล่าวว่า “อัสลามุอะลัยกุม” แปลว่า ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้รู้กันว่า ผู้ที่กล่าวคำทักทายนั้นเป็นผู้ศรัทธา เมื่อผู้ศรัทธาพบกันก็จะทักทายกันด้วยถ้อยคำนี้เหมือนกับจะบอกว่า “ฉันเป็นผู้อยู่ในประชาคมของพวกท่าน ฉันเป็นเพื่อนและเป็นผู้หวังดีต่อท่าน ฉันไม่มีอะไรนอกจากความสันติและความปลอดภัยให้แก่ท่าน ดังนั้น ขอท่านอย่าได้แสดงความเป็นศัตรูต่อฉัน และอย่าได้กลัวว่าฉันจะเป็นศัตรูและทำร้ายท่าน” มันเหมือนกับ “รหัส” ที่ใช้กันในกองทหารเมื่อจะเข้าหรือออกจากแนวป้องกันในตอนกลางคืน ทั้งนี้เพื่อที่จะแยกแยะได้ว่าใครเป็นมิตรใครเป็นศัตรู

**** คำทักทายดังกล่าวข้างต้นมีความสำคัญมากในเวลานั้น เพราะไม่มีอะไรเป็นสัญลักษณ์ที่แบ่งแยกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างอาหรับที่เป็นผู้ศรัทธากับอาหรับที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธา ทั้งนี้เพราะต่างฝ่ายต่างก็สวมเสื้อผ้าเหมือนกัน พูดภาษาเดียวกัน ปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นมาก็คือ ในบางครั้งเมื่อฝ่ายผู้ศรัทธาบุกโจมตีพวกอาหรับบางตระกูล ปรากฏว่าผู้ศรัทธาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้ตกเป็นเป้าของการโจมตีไปด้วย ในสภาวะเช่นนั้น คนที่เป็นผู้ศรัทธาก็จะร้องตะโกนออกมาว่า “อัสลามุอะลัยกุม” หรือ “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” แต่บรรดาผู้ศรัทธาที่บุกเข้าไปโจมตีจะระแวงว่าคนที่ตะโกนถ้อยคำดังกล่าวออกมาคือพวกปฏิเสธที่ใช้ถ้อยคำดังกล่าวเพียงเพื่อป้องกันตนเองให้พ้นจากอันตราย ดังนั้น พวกเขาจะฆ่าโดยไม่ยกเว้นและจะยึดเอาทรัพย์สินของผู้ที่ถูกฆ่าไว้เป็นทรัพย์ที่ยึดได้มาจากการทำสงคราม

**** อัลลอฮฺได้แก้ปัญหายุ่งยากดังกล่าวไว้ในอายะฮฺนี้ ซึ่งมีความหมายว่า “เจ้าไม่มีสิทธิ์ที่จะมากระตือรือร้นตัดสินคนที่ประกาศตนเองว่าเป็นผู้ศรัทธากำลังโกหกเพียงเพื่อจะรักษาชีวิตของตนเองไว้ เพราะมันอาจจะเป็นไปได้ว่าเขาพูดจริงเท่า ๆ กับที่มันอาจจะเป็นไปได้ว่าเขาโกหก และไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริงได้โดยปราศจากการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ที่จะมีการปล่อยผู้ปฏิเสธไปเพราะการยอมรับคำกล่าวทักทายของคนพวกนี้ว่าเป็นความจริง ในขณะเดียวกัน ก็เป็นไปได้ที่อาจจะมีการฆ่าผู้ศรัทธาที่บริสุทธิ์เกิดขึ้น”

**** การปล่อยผู้ปฏิเสธศรัทธาไปเพราะการถูกหลอกนั้นยังเป็นการดีกว่าการฆ่าผู้ศรัทธาเพราะการผิดพลาด

**** ครั้งหนึ่งบรรดาผู้ศรัทธาได้กระจัดกระจายกันอยู่ท่ามกลางพวกปฏิเสธ และเพราะความกลัวการกดขี่ข่มเหง พวกเขาจึงซ่อนเร้นอิสลามของพวกเขาไว้ และไม่สามารถที่จะหาสิ่งใดมาเป็นข้อพิสูจน์ความศรัทธาของพวกเขาได้นอกจากการแสดงออกโดยวาจา แต่เดี๋ยวนี้ ด้วยความปรานีของอัลลอฮฺที่ทำให้พวกเขาได้เข้ามามีชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และสามารถที่จะชูธงอิสลามต่อต้านบรรดาผู้ปฏิเสธได้ ดังนั้น วิธีการที่ถูกต้องในการแสดงความขอบคุณตอ่อัลลอฮฺที่ทรงปรานีต่อพวกเขา ก็คือการแสดงความปรานีและการผ่อนปรนต่อบรรดาผู้ศรัทธาที่ยังคงอยู่ในสภาพเดียวกับที่พวกเขาเคยประสบมาแล้วก่อนหน้านี้

**** ผู้ศรัทธาต้องเชื่อมั่นว่า อัลลอฮิทรงมองเห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกประการ พระองค์ทรงรู้ถึงความจริงต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทำของพวกเขา ทรงตระหนักถึงแรงจูงใจต่าง ๆ ที่ผลักดันให้พวกเขากระทำเป็นอย่างดี
………………………………………………………..
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] 

จงเตรียมกำลังและวางแผนให้พร้อมเพื่อการต่อสู้กับศัตรูอยู่เสมอ



“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 23 : จงเตรียมกำลังและวางแผนให้พร้อมเพื่อการต่อสู้กับศัตรูอยู่เสมอ และให้มีความเด็ดเดี่ยวเมื่อเข้าสู่สมรภูมิรบ ...
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเตรียมตัวสูเจ้าให้พร้อมเสมอ แล้วจงออกไปเป็นกลุ่ม ๆ หรือออกไปโดยรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 71)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ผู้ศรัทธาจะต้องมีการตระเตรียมร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอและต้องมีการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ รวมถึงการใช้อาวุธต่าง ๆ ให้เชี่ยวชาญ และควรมีการวางแผนในการเผชิญหน้ากับวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

**** ท่ามกลางอันตรายรอบด้าน และรวมถึงแผนการร้ายต่าง ๆ รอบตัวอีกมากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องของการทรยศหักหลังอีกด้วย สถานการณ์เช่นนี้เองที่ทำให้ผู้ศรัทธาจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างหนัก เพื่อป้องกันรักษาขบวนการอิสลามไว้ไมให้ล่มสลายและถูกทำลายต่อหน้าการข่มขู่คุกคามที่เป็นอยู่ในเวลานั่น

**** ท่ามกลางภยันตรายรอบด้าน และรวมถึงแผนการร้ายต่าง ๆรอบตัวอีกมากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องของการทรยศหักหลังอีกด้วย สถานการณ์เช่นนี้เองทำให้ผู้ศรัทธาจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู่อย่างหนัก เพื่อป้องกันรักษาขบวนการอิสลามไว้ไม่ให้ล่มสลายและถูกทำลายต่อหน้าการข่มขู่คุกคามที่เป็นอยู่ในเวลานั้น

**** ผู้ศรัทธาจะต้องทำการจัดเตรียมกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ขณะเคลื่อนกำลังพลเข้าหาศัตรู ห้ามไม่ให้ละทิ้งกันและห้ามทำให้เกิดความหวาดกลัว จะต้องมีการจัดเตรียมเสบียงและเคลื่อนกำลังพลด้วยความสงบและเป็นระเบียบ รวมถึงจัดหาที่พำนักที่เป็นจุดยุทธศาสนาอย่างดีที่สุด

**** ในภาวะศึกสงคราม บรรดาผู้ศรัทธาจะต้องจัดแบ่งกำลังพลและแต่งตั้งผู้ที่มีความชำนาญเรื่องเส้นทาง เรื่องการใช้อาวุธ และยามผู้คอยตรวจการ ต้องมีการจัดผู้คอยสอดแนมศัตรู และที่สำคัญให้ปรึกษาหารือในเรื่องการญิฮาดกับนักวิชาการด้านศาสนาและนักคิดนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ

**** ผู้ศรัทธาจะต้องมีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเมื่อเข้าสู่สมรภูมิรบ ความขี้ขลาดและการกลัวความตายจะไม่มีในความคิดของพวกเขา พวกเขาจะต่อสู้กับเหล่าศัตรูด้วยความสำนึกอยู่เสมอว่าพวกเขาคือกองกำลังทหารของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ให้มีชัยเหนือศัตรูหรือได้รับตำแหน่งอันมีเกียรตินั้นคือ “ชะฮีด” อย่างแน่นอน
………………………………………………………..

(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )

งเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูล และผู้ปกครองเถิด



ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมด 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////

**** ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? ****

...... คำเรียกร้องที่ 22 : จงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูล และผู้ปกครองเถิด และหากขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ...

เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
………………………….

อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังเราะสูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺและเราะสูล หากพวกเจ้าศรัทธาตอ่อัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งทีดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง ” (สูเราะฮฺ อัน – นิสาอ์ : 59)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** อัลลอฮฺได้วางพื้นฐานของระบบศาสนา วัฒนธรรมและการเมืองทั้งหมดของอิสลาม และเป็นมาตราแรกสุดของธรรมนูญแห่งอิสลามด้วยอายะฮฺนี้

**** ในระบบอิสลาม อัลลอฮฺผู้ทรงเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงจะต้องได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ดังนั้นผู้ศรัทธาจะต้องให้ความจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺเป็นหลักสำคัญ และจะต้องให้ความจงรักภักดีต่อสิ่งอื่นเป็นเรื่องรองลงไป ทั้งนี้เพราะพวกเขาได้ถูกเรียกร้องให้มอบความจงรักภักดีต่ออัลลออฺเป็นสิ่งแรก การจงรักภักดีและการเชื่อฟังผู้ใดอื่นจะเป็นที่ยอมรับ ถ้าหากว่ามันไม่ขัดต่อการจงรักภักดีและการเชื่อฟังอัลลอฮฺ การจงรักภักดีอื่น ๆ ทั้งหมดที่ขัดต่อการจงรักภักดีขั้นพื้นฐานนี้จะต้องถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง

**** การจงรักภักดีและการเชื่อฟังเราะสูลของอัลลอฮฺนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อฟังตอ่อัลลอฮฺในทางปฏิบัติอีกด้วย ท่านเราะสูลของอัลลอฮฺจะต้องได้รับการเชื่อฟัง เพราะท่านคือช่องทางเดียวที่เชื่อถือได้ที่เราจะได้รับคำบัญชาและคำสั่งจากอัลลอฮฺ ดังนั้น เราสามารถเชื่อฟังอัลลอฮฺได้ก็โดยการเชื่อฟังเราะสูลของพระองค์เท่านั้น เพราะไม่มีวิธีการเชื่อฟังอื่น ๆ ที่เป็นการที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ การไม่เชื่อฟังเราะสูลของอัลลอฮฺจึงเป็นการกบฏต่ออัลลอฮฺโดยปริยาย

**** นอกจากการจงรักภักดีตอ่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์แล้ว ผู้ศรัทธาจะต้องเชื่อฟังบรรดาผู้ที่ได้รับอบอำนาจในระหว่างพวกเขา นั้นคือ บุคคลทั้งหลายที่ควบคุมดูแลกิจการของผู้ศรัทธาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น นักวิชาการศาสนา นักคิด ผู้ทางการเมือง ผู้บริหาร ผู้พิพากษา หัวหน้าเผ่า และอะไรทำนองนี้ กล่าวโดยสั้น ๆ ก็คือ บรรดาผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จากบรรดาผู้ศรัทธาจะต้องได้รับการเชื่อฟัง และไม่เป็นการถูกต้องที่จะไปทำลายความสงบของสังคมมุสลิมโดยเข้าไปขัดแย้งกับคนเหล่านี้

**** ผู้ศรัทธาจะต้องฟังและเชื่อฟังคำสั่งของบรรดาผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ ไม่ว่าเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตามถ้าหากเขาถูกสั่งให้ทำสิ่งที่เป็นบาป เขาจะต้องไม่เชื่อฟังคำของพวกเขาโดยเด็ดขาด

**** คำบัญชาของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านเราะสูลนั้นคือ หลักการพื้นฐานของกฎหมายและเป็นอำนาจสูงสุดในระบบอิสลาม ดังนั้น ถ้าหากมีการขัดแย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ในระหว่างผู้ศรัทธา หรือระหว่างผู้ปกครองกับผู้ปกครอง พวกเขาจะต้องกลับไปยังอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อการตัดสินใจ แ ละพวกเขาทั้งหมดจะต้องยอมจำนนต่อสองสิ่งนี้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าสิ่งจำเป็นในระบบอิสลามที่แยกมันออกจากระบบที่ไม่ใช่อิสลามก็คือ การยอมรับในคัมภีร์ของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านเราะสูลของพระองค์ เป็นสิ่งสุดท้ายในการตัดสินในทุกปัญหาของชีวิต ระบบใดก็๖มที่ขาดสิ่งนี้ย่อมไม่ใช่ระบบอิสลามอย่างแน่นอน

**** สิ่งที่ผู้ศรัทธาแตกต่างจากผู้ไม่ศรัทธาก็คือ ผู้ที่ไม่ศรัทธานั้นอ้างเสรีภาพโดยไม่มีขอบเขต แต่ผู้ศรัทธาถือว่าตนเองเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและใช้เสรีภาพตามจำนวนที่อิสลามได้กำหนดให้ ผู้ที่ไม่ศรัทธาจะตัดสินเรื่องทุกอย่างตามกฏและระเบียบที่พวกเขาสร้างขึ้นมาและไม่เชือ่ว่าพวกเขาจำเป็นต้องอาศัยแนวทางของพระเจ้า ในทางตรงกันข้ามผู้ศรัทธาจะหันกลับไปหาอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เพื่อเป็นทางนำก่อนอื่นใดในทุกสิ่ง และจะอาศัยสองสิ่งนี้เป็นมาตรการสำหรับการตัดสินใจ แต่ถ้าพวกเขาไม่พบคำบัญชาใด ๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้นแล้ว นั่นแหละพวกเขาถึงจะมีเสรีภาพที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นสิ่งถูกต้อง ซึ่งการที่กฎหมายของอัลลอฮฺไม่ได้กล่าวถึงในบางสิ่งนั้นเป็นข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายของพระองค์ให้เสรีภาพในการกระทำในเรื่องนั้น ๆ

**** เมื่อใดก็ตามที่สังคมละทิ้งคัมภีร์ของอัลลอฮฺและทางนำของท่านเราะสูลของพระองค์ไว้ข้างหลัง และปฏิบัติตามพวกผู้นำที่ไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์อย่างมืดบอด สังคมนั้นก็ไม่อาจที่จะหลีกหนีความชั่วช้าเลวทรามที่กลุ่มชนลูกหลานอิสรออีลประสบมาแล้วไปได้

ผู้ศรัทธาถูกสอนให้สร้างระบบแห่งชีวิตของพวกเขาบนหลักการดังกล่าว เพราะว่าในนั้นมีสิ่งดีอยู่สำหรับพวกเขา เพราะสิ่งนี้เท่านั้นที่สามารถทำให้พวกเขาอยู่บนหนทางที่ถูกต้องในโลกนี้และจะนำพวกเขาไปสู่ชีวิตที่เป็นสุขในโลกหน้า

**** ระบบอิสลามคือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงจินตนาการที่เป็นเพียงทฤษฎีที่ตายตัว แบบฉบับแห่งอิสลามจะเข้ามาอยู่กับชีวิตการเป็นอยู่ของมนุษย์ตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ระบบอิสลามจะเป็นผู้นำพามนุษย์ให้ก้าวเดินและนำไปสู่ความเป็นเลิศในเวลาเดียวกันไปสู่การเผชิญหน้าด้วยระบบการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสมและตามสภาพจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความเพ้อฝันที่ปราศจากความเป็นจริงที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงแต่อย่างใด
………………………………………………………..
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] 

ชีวิต คือการทบทวน



หนึ่งปี..ผ่านไป..เร็วนัก..ไม่เคยได้หยุดพักแรมข้ามปี..
..เฝ้าแต่..ทบทวน..บัญชีตัวเอง..ว่า..ได้กำไร..หรือขาดทุน..
..แต่ละย่างก้าว..ก้าวเข้าไปหาความเมตตาจากพระองค์...มากเพียงใด..
..ดั่งคำกล่าวของท่าน.นบี.ซล...
.."คนฉลาด..คือ..ผู้ที่ทบทวนตัวเอง..
..และทำงานเตรียมไว้หลังจากความตาย
..ส่วนคนโง่..คือ..ผู้ที่ทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง..และหวังต่ออัลลอฮ์..อย่างลมๆแล้งๆ.."
(โดย อิหม่าม อะห์มัด)
....ชีวิต...คือ..การทบทวน.....
..หากฉันไม่ได้ทบทวน..ก็เหมือน..ไม่ได้ส่องกระจก..ออกจากบ้าน..นั่นเอง..!!!

...อินซาอัลลอฮฺ...อัลฮัมดุลิลลาฮฺ...

ฉันนี่แหละ ดุนยา



เด็กผู้ชายคน๑พูดกับพ่อของเขาว่า‘ฉันเห็นผู้หญิงคน๑และฉันปรารถนาจะแต่งงานกับ
หล่อน หล่อนเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตา
งดงามมากและมีดวงตาเป็นประกายใครเห็นต้องสะกดใจ’
พ่อตอบลูกชายไปว่า: ได้สิลูกรัก ไปพาผู้หญิงคนนั้นมาสิ เมื่อผู้เป็นพ่อ
ได้เห็นเด็กผู้หญิงคนนั้นเขาเองก็ หลงไหลในความงามของหล่อนและกล่าวแก่ ลูกชายว่า: ‘ลูกไม่คู่ควรกับผู้หญิงคนนี้เลยหล่อน
ต้องการ ใครสักคนที่มีประสบการณ การดํารงชีวิตและ หล่อนสามารถพึ่งพาเขาได้ ใครสักคน..ใครสัก คนอย่างพ่อ’
ลูกชายประหลาดใจต่อท่าทีของพ่อจึง
บอกแก่ผู้ เป็นพ่อว่า: ‘หล่อนจะแต่งงานกับผมไม่ใช่พ่อ’ จากนั้นพวกเขาเริ่มถกเถียงและต่อสู้กัน จนสุดท้ายทั้งสองจึงตัดสินใจไปเจรจากันที่ สถานีตํารวจเพื่อจัดการปัญหานี้
เมื่อพวกเขาเล่าปัญหานี้ให้แก่เจ้าหน้า
ที่ตํารวจฟัง ตํารวจจึงกล่าวขึ้นว่า: ‘พาผู้หญิงคนนั้นมาและถามหล่อนว่า
หล่อนคิด เห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้’
เมื่อเจ้าหน้าที่ตํารวจได้เห็นความงดงามของผู้ หญิงคนนี้เขาจึงกล่าวแก่ชายอีกสองคน
(ผู้เป็นลูกชายและพ่อของเขา) ว่า: ‘หล่อนไม่คู่ควรกับพวกคุณ หล่อนต้องการใครสักคนที่มีชื่อเสียง และเกียรติยศอย่างเช่นฉัน’ จากนั้นชายทั้งสามคนเริ่มต่อสู้กันสุดท้ายจึง ตัดสินใจไปหารัฐมนตรีเพื่อให้แก่ปัญหานี้ ครั้นเมื่อรัฐมนตรีได้เห็นหน้าตาของผู้หญิงคนนั้น เขาจึงกล่าวขึ้นว่า: ‘หล่อนควรจะแต่งงานกับรัฐมนตรีอย่างฉัน’
ข่าวนี้รู้ถึงพระราชาและพระองคทรงเรียกคน เหล่านี้เขาพบเพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้ แต่เมื่อ พระราชายลโฉมของผู้หญิงคนนั้นพระองคกล่าว ขึ้นว่า:‘ผู้หญิงคนนี้จะแต่งงานกับฉัน’
และแล้วชายทั้งห้าคนจึงต่อสูกันท้ายที่สุดผู้หญิงคนนั้นจึงกล่าวขึ้นว่า: ฉันมีขอเสนอแก่พวกท่าน ฉันจะออกตัววิ่งและใครก็ตามที่สามารถ
จับฉันได้ เป็นคนแรกเขาจะได้เป็นเจ้าของของฉัน.. เมื่อหล่อนเริ่มออกวิ่งเด็กผู้ชายคนนั้นพ่อของเขา ตํารวจรัฐมนตรีและพระราชาก็วิ่งตามเพื่อ ต้องการจับหล่อน ทันใดนั้นเองผู้ชายทั้งหาคนก็พลัดตกลง
ไปใน หลุมใหญ มืดและลึกสุดลูกหูลูกตา
ผู้หญิงคนนั้นขยับเขาไปดูที่ปากหลุมยิ้มที่มุม ปากพร้อมกับกล่าวว่า: ‘คราวนี้รู้แล้วยังว่าฉันเป็นใคร?’ . . ฉันนี่แหละ- ดุนยา! ที่ผู้คนส่วนใหญ่ต้องการไล่จับและอยาก
ได้ฉัน มาครอบครอง พวกเขาต่างแข่งขันกันจนหลงลืมศาสนาของพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาต้องลงไปอยูใต้
ดิน ณ.ตอนนั้นพวกเขาปฏิเสธฉันซึ่งมันไม่มี
ประโยชนใดๆอีกแล้ว เพราะฉันได้เขาไปครอบครองทุกๆอย่างของ เขาเสียแล้ว....,

اسغفر الله



พวกท่านจงปฏิบัติตาม และพวกท่านอย่าประดิษย์บิดอะฮ



อิหม่ามอะหมัด (ร.ฮ) กล่าวว่า
أصُول السّنة عندنَا التَّمَسُّك بِمَا كَانَ عَلَيْهِ أَصْحَاب رَسُول الله -صلى الله عَلَيْهِ وَسلم- والاقتداء بهم
รากฐานอัสสุนนะฮ ในทัศนะของเราคือ การยึดถือปฏิบัติด้วย สิ่งที่บรรดาสาวกของรซูลุลลอฮ สอ็ล ฯได้ยืนหยัดอยู่บนมัน และปฏิบัติตามพวกเขา
أصول السنة (1/14).

บางเรื่อง เหล่าเศาะหาบะฮ ไม่เคยรู้เรื่อง และคนในยุคสะลัฟไม่ได้ปฏิบัติ แต่กลับมีคนส่งเสริมให้ทำและรับประกันว่า เป็นสุนัต ทำแล้วได้บุญ แล้วบุญนั้นจะเอาที่ใคร

อิบนุมัสอูด (ร.ฎ) กล่าวว่า

اتَّبِعُوا، وَلا تَبْتَدِعُوا فَقَدْ كُفِيتُمْ، كُلُّ بِدْعَةٍ ضَلالَةٌ

พวกท่านจงปฏิบัติตาม และพวกท่านอย่าประดิษย์บิดอะฮ เพราะแท้จริง (การปฏิบัติตามนั้น )พอเพียงแก่พวกท่านแล้ว ,ทุกๆบิดอะฮนั้น คือการลุ่มหลง
أخرجه الدارمي (1/80، رقم 205)، و الطبراني (9/154، رقم 8770).
>>>>>>>>>>
การเจริญรอยตาม สุนนะฮ นั้นพอเพียงแล้ว ทำไมจึงต้องดิ้นรน ที่จะทำสิ่งที่เป็นบิดอะฮ

เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุด ดังนี้ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 ว่า ..

فَالْبِدْعَةُ فِىْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ ! بِخِلاَفِ اللُّغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا أَوْ مَذْمُوْمًا ...

“ดังนั้น ความหมายของบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ (ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ต่างกับความหมายบิดอะฮ์ตามหลักภาษา, .. เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน จะถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (ตามหลักภาษา) ทั้งสิ้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องเลว


นิยามบิดอะฮในทางชัรอีย์
التعبد لله بما لم يشرعه الله
การอิบาดะฮ ต่ออัลลอฮ ด้วยสิ่งที่อัลลอฮไม่ได้บัญญัติไว้
. مجموع فتاوى ابن عثيمين (ج/2 ، ص/291
นี่คือนิยามสั้น เข้าใจง่ายสำหรับคนที่จะปฏิบัติตามสุนนะฮฺ


อิหม่ามชาฏิบีย์ ให้นิยามในทางชัรอียว่า
الْبِدْعَةُ : طَرِيقَةٌ فِي الدِّينِ مُخْتَرَعَةٌ ، تُضَاهِي الشَّرْعِيَّةَ ، يُقْصَدُ بِالسُّلُوكِ عَلَيْهَا مَا يُقْصَدُ بِالطَّرِيقَةِ الشَّرْعِيَّةِ .
บิดอะฮ คือ แนวทางในศาสนา ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เลียนแบบศาสนบัญญัติ โดยมีจุดประสงค์ในการปฏิบัติมัน เช่นเดียวกับสิ่งที่ถูกให้เป็นจุดประสงค์ด้วยแนวทางศาสนบัญญัติ – อัลเอียะติศอม 1/51

อิบนุตัยมียะฮ ให้นิยามว่า
أَنَّ الْبِدْعَةَ فِي الدِّيْنِ هِيَ مَا لَمْ يَشْرَعْهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ وَهُوَ مَا لَمْ يَأْمُرْ بِهِ أَمْرُ إِيْجَابٍ وَلاَ ِ
บิดอะฮ ในทางศาสนาคือ สิ่งที่ อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ไม่ได้บัญญัติมันไว้ และมันคือ สิ่งที่ไม่ได้ถูกสั่งด้วยมัน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งที่เป็นวายิย หรือ เป็นสุนัต -
مجموع الفتاوى (4/ 107-108


ละหมาด ที่เพียบพร้อม



.. ท่านฮาติมอัลอะศ่อมถูกถามเรื่องละหมาด ท่านจึงกล่าวตอบว่า
..... มารยาทของการละหมาด คือ
.. ท่านต้องลุกขึ้น(สู่การละหมาด)ด้วยเพราะพระบัญชาใช้(จากอัลเลาะฮฺ)
.. เดินไปด้วยความมุ่งปรารถนาในความโปรดปราน
.. เข้า(สู่การละหมาด)ด้วยเจตนา(อันบริสุทธิ์)
.. กล่าว "อัลลอฮู่อั๊กบั๊ร" ด้วยความเทิดเกียรติอันยิ่งใหญ่(ของอัลเลาะฮฺ)
.. อ่านอัลกุรอาน(อัลฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ)อย่างเนิบๆชัดถ้อยชัดคำ
.. รู่กั๊วะอฺ ด้วยสมาธิ
.. สุหญูด ด้วยความนอบน้อม
.. อ่านตะซะฮฺฮุด(อัตต้าหี้ยา) ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
.. และกล่าวสลาม ด้วยความเมตตา
..... กรรมวิธีของการละหมาด คือ
.. ให้อัลกะอฺบะฮฺ อยู่(เบื้องหน้า)ระหว่างคิ้วทั้งสองข้างของท่าน
.. ให้ตาชั่งพฤติกรรม อยู่ในใจท่านเสมอ
.. ให้สะพาน(อัศศี้ร๊อต) อยู่ใต้สองเท้าของท่าน
.. ให้สวรรค์ อยู่ทางด้านขวาของท่าน
.. ให้นรกอยู่ทางด้านซ้ายของท่าน
.. ให้ม่าล่ากุ้ลเมาต์(มลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่เก็บวิญญาณ) อยู่ด้านหลังท่าน ซึ่งกำลังไล่ล่าท่านอยู่
.. และท่านก็ไม่ทราบหรอกว่า หลังจากที่ท่านละหมาดไปนั้น ละหมาดของท่านจะถูกตอบรับหรือถูกส่งคืนกลับมาที่ตัวท่าน(หมายถึงมันไม่ถูกตอบรับ)
................................................
.. อัลเลาะฮฺซ.บ.ทรงกล่าวไว้ในซูเราะฮฺอัลอันกะบู๊ร อายะฮฺที่ 45 ว่า
.. "إِنَّ الصَّلَاةَ تَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ"
.. ่คำอ่าน "อินนัศศ่อลาต้า ตันฮา อ้านิ้ล ฟะหฺซาอี้ วั้ลมุนกั๊ร"
.. ความหมาย "แท้จริงการละหมาดนั้น จะยับยั้งจากสิ่งลามกและสิ่งผิด"
..." ละหมาดที่เพียบพร้อม คือละหมาดที่ทรงพลังยิ่งในการยับยั้งเรื่องผิดๆ พัฒนาละหมาดของเราทุกคน ให้ดีขึ้นเสมอๆนะครับ ".


..........................
อ.อับดุลเลาะห์ หนูรัก




ความผิดชอบในการให้การศึกษาด้านสุขภาพแก่บุตร


บิดามารดา หรือผู้ปกครองจำต้องให้การศึกษาแก่บุตร ในด้านสุขภาพ อบรมเลี้ยงดูบุตรของตนให้มีสุขภาพที่ดี และร่างกายข็งแรง ได้แก่ การจัดหาปัจจัยยังชีพให้กับครอบครัว อย่าให้คนในครอบครัวอยู่อย่างอดอยาก
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"เพียงพอแล้วที่จะถือว่ามันเป็นความชั่ว สำหรับคนที่เก็บปัจจัยยังชีพของเขาไว้ ไม่ยอมใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูบรรดาคนที่เขาต้องรับผิดชอบดูแล" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)


การทำตามสุนนะฮฺ เรื่องอาหารการกิน เครื่องดื่ม และการพักผ่อนหลับนอน

ให้ระมัดระวังโรคระบาด มีการแยกแยะเด็กที่กำลังป่วยออกจากเด็กคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค และอันตรายจากโรคติดต่อ

มีการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดเจ็บป่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง จำต้องดูแล่บุตรอย่างดี ละเมื่อป่วยไข้ก็ให้รักษา และหามาตรการป้องมิให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย

การเอาใจใส่ร่างกาย ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ฝึกใช้ชีวิตเรียบง่าย มีความสุขด้วยความเพียงพอ

การึกให้บุตรรู้จักใช้ชีวิตที่ทรหดอดทน กล้าหาญ เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

มนุษย์ในทัศนะอิสลาม




มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง ที่ประกอบด้วยร่างกาย และจิตวิญญาณ เมื่อสิ้นชีวิตลง ร่างกายจะเน่าเปื่อย และผุสลายไปตามกาลเวลา ส่วนวิญญาณจะดำรงชีวิตสืบต่อไป ความตายไม่ใช่การสูญสิ้น ฉะนั้น ตราบเท่าที่วันกิยามะฮฺ (วันแห่งการอวสานของโลก) ยังมาไม่ถึง วิญญาณจะพำนักอยู่ที่อาลัมบัรซัค (โลกภายหลังความตาย) เพื่อรอวันแห่งการตัดสิน อัล-กุรอานได้อธิบายขั้นตอน การสร้างมนุษย์ไว้อย่างละเอียด จนถึงขั้นตอนสุดท้าย พระผู้เป็นเจ้า จะเป่าดวงวิญญาณ ไปในร่างมนุษย์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า

ثُمَّ خَلَقْنَا النُّطْفَةَ عَلَقَةً فَخَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَامًا فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْمًا ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقًا آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ

“แล้วเราได้ทำให้เชื้ออสุจิ กลายเป็นก้อนเลือด ได้ทำให้ก้อนเลือด กลายเป็นก้อนเนื้อ ได้ทำให้ก้อนเนื้อ กลายเป็นกระดูก และได้หุ้มกระดูกนั้น ด้วยเนื้อ หลังจากนั้น ได้เป่าวิญญาณ ให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้น อัลลอฮฺทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง


والله أعلم بالصواب

การกำเนิดจักรวาล



ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับใน ทฤษฎี Big Bang ที่เชื่อว่าก่อนกำเนิดจักรวาลนั้น ทุกอย่างเป็นเพียงกลุ่มเมฆหมอก ที่รวมตัวกัน อัดแน่นและมีอุณหภูมิสูงจัด จากนั้นก็เกิดการระเบิดขนาดมหึมา เป็นที่มาของการเกิดจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลอย่างที่เราทราบกันในปัจจุบัน ในอัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนีไว้เมื่อ 1436 ปีผ่านมาแล้วว่า

ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء وَهِيَ دُخَانٌ
แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้าขณะที่มันเป็นไอหมอก [44 : 10]

أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاء كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ
และ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ [21 : 30]

ล้าน like ขอมนุษย์ หรือจะเท่า หนึ่ง like ของอัลลอฮ




รายงานจากอาอีฉะฮ (ร.ฎ)ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า

مَنِ الْتَمَسَ رِضَى اللَّهِ بِسَخَطِ النَّاسِ ، رَضِيَ الله عَنْهُ ، وَأَرْضَى النَّاسَ عَنْهُ ، وَمَنِ الْتَمَسَ رِضَا النَّاسِ بِسَخَطِ اللَّهِ ، سَخَطَ اللَّهُ عَلَيْهِ ، وَأَسْخَطَ عليه الناس

ผู้ใดแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ ด้วยการกริ้วของมนุษย์ ,อัลลอฮก็จะพอพระทัยต่อเขาและทรงบันดาลให้มนุษย์พอใจเขาด้วย และผู้ใดแสวงหาความพอใจของมนุษย์ ด้วยการกริ้วของอัลลอฮ อัลลอฮก็ทรงกริ้วเขาและทรงบันดาลให้มนุษย์กริ้วเขาด้วย رواه ابن حبان "الإحسان في تقريب صحيح ابن حبان" (1 /510)

ทุกๆคำพูดและการกระทำที่ไม่ปรากฏในยุคเศาะหาบะฮนั้น มันคือบิดอะฮ



อิหม่ามอิบนุกะษีร (ร.ฮ) กล่าวว่า

وَأَمَّا أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ فَيَقُولُونَ فِي كُلِّ فِعْلٍ وَقَوْلٍ لَمْ يَثْبُتْ عَنِ الصَّحَابَةِ : هُوَ بِدْعَةٌ ; لِأَنَّهُ لَوْ كَانَ خَيْرًا لَسَبَقُونَا إِلَيْهِ ؛ لِأَنَّهُمْ لَمْ يَتْرُكُوا خَصْلَةً مِنْ خِصَالِ الْخَيْرِ إِلَّا وَقَدْ بَادَرُوا إِلَيْهَا .

และสำหรับ อะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ นั้น พวกเขากล่าว ในทุกๆการกระทำ และทุกๆคำพูด ที่ไม่มีรายงานยืนยันจากเศาะหาบะฮนั้น มันคือ “บิดอะฮ” เพราะ ถ้าปรากฏว่ามันเป็นสิ่งที่ดี พวกเขาก็จะปฏิบัติมาก่อนพวกเราแล้ว เพราะว่า พวกเขาจะไม่ละทิ้ง ประการหนึ่งประการใดจากบรรดาสิ่งที่ดี นอกจาก พวกเขาจะรีบเร่งไปหามัน – ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 11 ซูเราะฮอัลอัลอะหกอฟ เล่ม 7 หน้า 278-279
>>>
กล่าวคือ ชาวอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮนั้น พวกเขาถือว่า ทุกๆการปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยวาจา และการกระทำทางกาย หากไม่มีรายงานยืนยันจากบรรดาเศาะหาบะฮ ถือว่า สิ่งนั้นคือ บิดอะฮ เพราะถ้าเป็นสิ่งที่ดีในศาสนา พวกเขาก็จะต้องปฏิบัติมาก่อนพวกเราแล้ว

เมื่อคุณได้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งฮารอม



ผู้ชายคนหนึ่ง ได้ถามผู้รู้ท่านหนึ่งว่า :
โอ้ เชค ครับ…
ผมได้นิกาฮกับภรรยาของผมมานานพอสมควร
เรามีลูกด้วยกันถึง 2 คน
แต่พักหลังๆ นี้ผมไม่ค่อยรู้สึกรัก เอ็นดูภรรยาผมเลย
และรู้สึกรังเกียจเธอมากด้วย
เชค (ผู้รู้) ได้ถามกลับไปว่า :
"ภรรยาคุณอ้วนกว่าเดิมใช่ไหม?"
ผู้ชายคนนั้นตอบว่า :
"เปล่าครับ เธอยังเหมือนเดิม"
เชค (ผู้รู้) ได้ถามอีกว่า :
"ภรรยาคุณประสบอุบัติเหตุจนทำให้เธอพิการใช่ไหม?"
ผู้ชายคนนั้นตอบว่า :
"ไม่ครับ เธอยังเหมือนเดิมทุกประการ"
แล้วเชคคนเดิมจึงได้ถามอีกว่า :
"คุณหลงรักผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาคุณ
คุณชอบมองผู้หญิงที่เดินผ่านหน้าคุณ
คุณทอดสายตามองผู้หญิงที่สวย ๆ รึป่าว ?"
และคุณชอบมองสิ่งที่ไม่ดี ชอบดูสื่อลามกต่าง ๆ ใช่หรือไม่?
ผู้ชายคนนั้นตอบด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า :
"ใช่ครับ แต่ทำไมเชคถึงได้รู้สิ่งที่ผมกระทำ"
เชคได้ตักเตือนว่า : "เมื่อคุณได้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งฮารอม ชอบทำในสิ่งที่ฮารอม
การหลับนอนและการหายใจก็จะเต็มไปด้วยสิ่งฮารอม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว
คุณจะรังเกียจในสิ่งที่ฮาลาล สำหรับคุณ ดั่งที่คุณรู้สึกรังเกียจภรรยาคุณ"

...........................................
ถอดความเรียงคำ อูลุล อัลบ๊าบ



การปฏิสนธิของมนุษน์ในครรภ์



คัมภีร์อัลกุรอ่าน ได้กล่าวถึงการปฏิสนธิของมนุษย์ในครรภ์ไว้ เมื่อ 1436 ปีผ่านมาแล้วซึ่งในยุคนั้น ยังไม่มี เครื่องอุลตร้าซาวด์เลย ว่า
ثُمَّ خَلَقْنَا النُّطْفَةَ عَلَقَةً فَخَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَامًا فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْمًا ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقًا آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
“แล้วเราได้ทำให้เชื้ออสุจิ กลายเป็นก้อนเลือด ได้ทำให้ก้อนเลือด กลายเป็นก้อนเนื้อ ได้ทำให้ก้อนเนื้อ กลายเป็นกระดูก และได้หุ้มกระดูกนั้น ด้วยเนื้อ หลังจากนั้น ได้เป่าวิญญาณ ให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้น อัลลอฮฺทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง - อัลมุมินูน/14

โลกกลม



โลกไม่ได้แบนเหมือนดังความเชื่อคนในสมัยก่อน แต่โลกมีลักษณะเป็นทรงวงรี โดยในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29% แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา นานมาแล้วที่คนส่วนใหญ่บนโลกรวมถึงในไบเบิลเชื่อว่าโลกแบน แต่ในอัลกุรอานได้ยืนยันว่าโลกกลม เมื่อ 1436 ปีมาแล้วว่า
خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ بِالْحَقِّ يُكَوِّرُ اللَّيْلَ عَلَى النَّهَارِ وَيُكَوِّرُ النَّهَارَ عَلَى اللَّيْلِ وَسَخَّرَ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ كُلٌّ يَجْرِي لِأَجَلٍ مُسَمًّى أَلَا هُوَ الْعَزِيزُ الْغَفَّارُ
พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินด้วยความจริงอันชัดแจ้ง พระองค์ทรงให้กลางคืนคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางวันและทรงให้กลางวันคาบเกี่ยว เข้าไปในกลางคืน และทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ (แก่มนุษย์) ทุกสิ่งโคจรไปตามวาระที่ได้กำหนดไว้ พึงทราบเถิด พระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงอภัยอย่างมาก [39 : 5]
คำว่า يُكَوِّرُ แปลว่า ม้วนเข้าไป ในอายะห์หมายถึง พระองค์ทรงให้กลางคืนม้วนเข้าไปในกลางวัน และให้กลางวันม้วนเข้าไปในกลางคืน จึงเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าโลกกลม
คัมภีร์อัลกุรอ่าน ไม่ใช่คัมภีร์ที่สอนบทสวด และพิธีกรรมทางศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ ยังสอนวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์อีกด้วย ถ้าศึกษาอัลกุรอ่าน อย่างเข้าใจ ก็ไม่ต้องเรียน ทฤษฎี ปีทาโกรัส ที่มีการอ้างว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับโลก กลม และหมุนรอบตัวเองรวมถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์


والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม

ลมช่วยให้เกสรเกิดการผสมกัน




ลมมีบทบาทที่สำคัญหลายประการ หนึ่งในนั้นคือช่วยพัดพาเอาเกสรต้นไม้ดอกไม้ให้มาผสมกัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับต้นไม้หลายหลายชนิดที่ไม่มีกลิ่นหอมยั่วยวนแมลงให้ทำหน้าที่นี้ หากไม่มีลมเหล่านี้แล้ว เกสรตัวผู้ก็ย่อมไม่สามารถผสมกับเกสรตัวผู้ตัวเมียได้ เรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านได้สอนไว้เมือ 1436 ปีผ่านมาแล้วว่า
وَأَرْسَلْنَا الرِّيَاحَ لَوَاقِحَ
และเราได้ส่งลมผสมเกสร [15 : 22]



การโคจรของดวงอาทิตย์



เมื่อ 1436 ปีที่แล้ว คัมภีรอัลกุรอ่านได้ สอนไว้แล้วว่า ดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่กับที่ แต่มันโคจร ไปตามทางโคจรของมัน ในทางวิทยศาสตร์ ระบุว่า "เส้นทางการโคจรของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปทุกฤดูกาล จากการวัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ขึ้นและตกพบว่าตำแหน่ง เปลี่ยนไปทุกวัน วันละประมาณ 15ลิปดา ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ในสูเราะห์ยาซีน อายัตที่ 28 กลับพบว่า
وَالشَّمْسُ تَجْرِي لِمُسْتَقَرٍّ لَّهَا ذَلِكَ تَقْدِيرُ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ
ความว่า : และดวงอาทิตย์โคจรตามวิถีของมัน นั่นคือ การกำหนดของพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้ (อัลกุรอาน 36/38)
ตามประวัติศาสตร์ ศาสดามุหัมหมัด ศอ็ลฯ ไม่เคยเรียน อ่าน เขียนไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบอกผ่านคำพูดศาสดามุหัมหมัด ศอ็ลฯ หากไม่ใช่คำสอนจากพระผู้ทรงสร้างดวงอาทิตย์ แล้วเป็นใครอีกหรือ



والله أعلم بالصواب

กินข้าวพร้อมหน้าลดปัญหาบ้านแตก



มีการวิจัยพบว่า เยาวชนจากครอบครัวที่กินอาหารเย็นพร้อมหน้าสมาชิกในครอบครัวบ่อยครั้ง ผลออกมาว่า คนในครอบครัวจะสูบบุหรี่ กินเหล้า ติดยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึมเศร้า และโน้มเอียงทางฆ่าตัวตาย น้อยกว่าเยาวชนจาก ครอบครัวที่ต่างคนต่างกิน หรือ ท่านอาหารไม่พร้อมหน้ากัน จึงเห็นได้ว่าความรักความผูกพันที่เกิดขึ้นบนโต๊ะอาหารเป็นรากฐานช่วยกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวให้แน่นแฟ้นได้ดี
การกินข้าวร่วมกันเป็นความรักความห่วงใย สายสัมพันธ์ของครอบครัว คนเราไม่จำเป็นต้องรอให้ตายจากกันแล้วค่อยมาคิดถึงกัน บนโต๊ะอาหารมันคือสิ่งที่ผูกพันกันให้คิดถึงกันได้ การรับประทานอาหารร่วมกันทำให้เราได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะเราจะคอยสังเกตคนโน้นคนนี้ ชอบกินอะไร ไม่ชอบกินอะไร จะช่วยให้เราเทคแคร์ดูแลกันดีขึ้น
ศาสดามุหัมหมัด ศอ็ลฯ ได้สอนให้ทานอาหารพร้อมกัน โดยกล่าวว่า
كُلُوا جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا ، فَإِنَّ الْبَرَكَةَ مَعَ الْجَمَاعَةِ "
พวกท่านจงทานอาหารพร้อมกัน และอย่าแยกกัน เพราะแท้จริง ความจำเริญ อยู่พร้อมกับการเป็นหมู่คณะ -รายงานโดยอิบนุมาญะฮ

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม

สังขารไม่เที่ยง



พินิจนิ่ง........ชมความจริง....สิ่งสังขาร
ผ่านมานาน...ก็เสื่อมบ้าง....ตามกระแส
ทุกสิ่งสรรพ...ย่อมลาลับ.......มีผันแปร
ไม่เที่ยงแท้...หาหยุดนิ่ง.....จริงแท้เอย
คัมภีร์อัลกุรอ่าน บท อัตตีน 4-5 ระบุไว้ว่า
لَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ فِي أَحْسَنِ تَقْوِيمٍ
โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง
ثُمَّ رَدَدْنَاهُ أَسْفَلَ سَافِلِينَ
แล้วเราได้ให้เขากลับสู่สภาพที่ตกต่ำยิ่ง


والله أعلم بالصواب

..........................
อะสัน  หมัดอะดั้ม



โลกไม่ได้นิ่งอยู่กับที่แต่มันโคจร



แต่ก่อนมนุษย์คิดว่าโลกนิ่งอยู่กับที่ เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างโคจรรอบโลก คนเฒ่า คนแก่สมัยก่อน เล่าว่า โลกนี้อยู่บนหลังวัว วัวยืนอยู่บนน้ำ แต่ความจริงที่ค้นพบในยุคหลังคือโลกไม่ได้อยู่กับที่ เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วประมาณ 29.783
กิโลเมตรต่อวินาที ใน คัมภีร์อัลกุรอ่านได้ระบุเรื่องโลกโคจร ไว้ เมื่อ 1436 ผ่านมาแล้วว่า

وَتَرَى الْجِبَالَ تَحْسَبُهَا جَامِدَةً وَهِيَ تَمُرُّ مَرَّ السَّحَابِ صُنْعَ اللَّهِ الَّذِي أَتْقَنَ كُلَّ شَيْءٍ إِنَّهُ خَبِيرٌ بِمَا تَفْعَلُونَ

และเจ้าจะเห็นขุนเขาทั้งหลาย เจ้าจะคิดว่ามันติดแน่นอยู่กับที่ แต่มันล่องลอยไปเช่นการลอยล่อยของเมฆ (นั่นคือ)การงานของอัลลอฮ์ซึ่งพระองค์ทรงทำทุกสิ่งอย่างเรียบร้อย แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงตระหนักในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ [27 : 88]
>>>>
ศาสดามุหัมหมัด ศอ็ลฯ ไม่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ แต่สิ่งนี้ได้ถูกสอนผ่านคำพูดของท่าน หากไม่ใช่มาจากคำสอนของพระเจ้าผู้สร้างโลก แล้วมันมาจากคำสอนของใครอีกหรือ....
والله أعلم بالصواب

เงื่อนไขของการงานที่ดี




وَقَالَ الفضيل بْنُ عِيَاضٍ فِي قَوْله تَعَالَى { لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا } قَالَ : أَخْلَصُهُ وَأَصْوَبُهُ قَالُوا يَا أَبَا عَلِيٍّ : مَا أَخْلَصُهُ وَأَصْوَبُهُ ؟ قَالَ : إذَا كَانَ الْعَمَلُ خَالِصًا وَلَمْ يَكُنْ صَوَابًا لَمْ يُقْبَلْ وَإِذَا كَانَ صَوَابًا وَلَمْ يَكُنْ خَالِصًا لَمْ يُقْبَلْ حَتَّى يَكُونَ خَالِصًا صَوَابًا ; وَالْخَالِصُ أَنْ يَكُونَ لِلَّهِ وَالصَّوَابُ أَنْ يَكُونَ عَلَى السُّنَّةِ


และอัลฟุฎัยลฺ บิน อิยาฎ กล่าวเกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮ ตาอาลาที่ว่า (เพื่อทดสอบพวกเจ้า ว่าผู้ใดในหมู่พวกเข้ามีผลงานที่ดียิ่ง) เขา(อัลฟุฎัยลฺ)กล่าวว่า หมายถึง ความบริสุทธิ์ใจของมันและความถูกต้องของมัน พวกเขากล่าวว่า "โออบูอาลี "อะไรคือความบริสุทธิ์ใจของมัน และความถูกถต้องของมัน ? เขากล่าวตอบว่า "การงานนั้น เมือมีความบริสุทธิ์ใจ และมันไม่มีความถูกต้อง มันก็ไม่ถูกรับ และ เมื่อมันถูกต้อง และไม่มีความบริสุทธิ์ใจ มันก็ไม่ถูกรับเช่นกัน จนกว่ามันจะมีความบริสุทธิ์ใจและมีความถูกต้อง ,และความบริสุทธิ์ใจนั้น มันเป็นไปเพื่ออัลลอฮ และความถูกต้องนั้น มันเป็นไปตามสุนนะฮ - ตัฟสีรอัลบัฆวีย 8/176 และ ญามิอุลอุลูม วัลฮิกัม 1/72

والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้ม

หะดิษการเสด็จลงมาของอัลลอฮ ในมุมมองปราชญ์ยุคสะลัฟ



عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ الله عَنْهُ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: "يَنْزِلُ رَبُّنَا تَبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا حِينَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الْآخِرُ فَيَقُولُ مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَجِيبَ لَهُ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَهُ مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَهُ

รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ)ว่ารซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ "พระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงบริสุทธิ์และสูงส่งยิ่ง จะลงมายังฟากฟ้าของดุนยาในทุกๆ คืนในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน และจะมีดำรัสว่า ผู้ใดที่วิงวอนข้า ข้าจะตอบรับเขา ผู้ใดที่ขอข้า ข้าจะให้เขา ผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้า ข้าจะอภัยให้เขา" – รายงานโดย บุคอรี ,มุสลิม และคนอื่นๆ
หะดิษข้างต้น

มีคนอ้างรายงานต่อไปนี้ว่า อิหม่ามมาลิกตีความ “คำว่า “เสด็จลงมา ว่า หมายถึงคำบัญชาของพระองค์ลงมา คือ

وقال ابن عدي حدثنا محمد بن هارون بن حسان حدثنا صالح بن أيوب حدثنا حبيب بن أبي حبيب حدثني مالك قال : يتنزل ربنا تبارك وتعالى أمره فأما هو فدائم لا يزول .
รายงานจากมาลิก บิน อะนัส ว่า เขาถูกถามเกี่ยวกับหะดิษ เกี่ยวกับอัลลอฮ จะเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยาในตอนกลางคืน แล้ว มาลิกกล่าวว่า “ คำบัญชาของพระองค์ลงมา แล้วสำหรับพระองค์ คือผู้ทรงมีมาแต่เดิม ไม่ทรงสูญหาย

วิจารณ์หะดิษที่อ้างว่าอิหม่ามมาลิกตีความข้างต้น
أن الرواية عن مالك لم تصح، فيها حبيب بن أبي حبيب قال أحمد "كان يكذب" وقال أبو داود "كان من أكذب الناس" وقال ابن حبان "أحاديثه كلها موضوعة
แท้จริงรายงาน จากมาลิก นั้นไม่เศาะเฮียะ ในรายงาน มี หะบีบ บิน อบีหะบีบ อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า “เขากล่าวเท็จ” ,อบูดาวูด กล่าวว่า เขาเป็นมนุษย์จอมโกหก และอิบนุหิบบาน กล่าวว่า “บรรดาหะดิษของเขา ทั้งหมด เป็นหะดิษปลอม
– ดู تهذيب التهذيب 2/181 التقريب (1087).

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
رُويت من طريق كاتبه حبيب بن أبي حبيب ، لكن هذا كذاب باتفاق أهل العلم بالنقل ، لا يقبل أحدٌ منهم نقله عن مالك
มันได้ถูกรายงานจากสายรายงานของผู้บันทึกมัน ,หะบีบ บิน อบีหะบีบ แต่ทว่า คนนี้ เป็นจอมโกหก โดยมติของนักวิชาการ เกี่ยวกับการ
รายงาน ,ไม่มีคนใด จากพวกเขา(บรรดานักวิชาการ) รับรองการรายงานของเขา (ที่รายงาน)จากมาลิก – อัลฟะตาวา เล่ม 5 หน้า 401

มาดูอุลามาอฺตัวจริงเขาอธิบาย

อิหม่ามอิบนุคุซัยมะฮ กล่าวว่า
نشهد شهادة مقر بلسانه مصدق بقلبه مستيقن بما في هذه الأخبار من ذكر نزول الرب من غير أن نصف الكيفية ، لأن نبينا المصطفى لم يصف لنا كيفية نزول خالقنا إلى سماء الدنيا وأعلمنا أنه ينزل والله جل وعلا لم يترك ولا نبيه عليه السلام بيان ما بالمسلمين الحاجة إليه من أمر دينهم فنحن قائلون مصدقون بما في هذه الاخبار من ذكر النزول غير متلكفين القول بصفته أو ((بصفة الكيفية)) إذ النبي لم يصف لنا كيفية النزول
เราขอปฏิญาน เป็นการปฏิญานของผู้ที่ยอมรับด้วย วาจาของเขา,เชื่อด้วยหัวใจของเขาและเชื่อมั่นด้วยสิ่งที่อยู่ในบรรดาหะดิษเหล่านี้ จากการระบุการเสด็จลงมาของพระผู้อภิบาล โดยเราไม่พรรณารูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร เพราะ นบีของเรา,อัลมุสเฏาะฟา(ผู้ทรงได้รับการคัดเลือก) ไม่ได้พรรณารูปแบบให้แก่เรา ว่าพระผู้ทรงสร้างเรา ทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยาอย่างไร และ ท่านได้บอกให้เรารู้ว่าทรงเสด็จลงมา และอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง และนบีของพระองค์ อะลัยฮิสสลาม จะไม่ละทิ้งการอธิบายสิ่งที่บรรดามุสลิมมีความจำเป็นต่อมัน จากกิจการศาสนาของพวกเขา (อย่างแน่นอน) ดังนั้น เราคือ ผู้กล่าว อีกทั้งเชื่อ ในสิ่งที่อยู่ในบรรดาหะดิษ ที่ระบุเกี่ยวกับการเสด็จลงมา(ของอัลลอฮ) โดยไม่กล่าวว่าลักษณะของมันเป็นอย่างไร หรือ(รูปแบบของมันว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร) เพราะท่านนบีไม่ได้ พรรณาลักณะรูปแบบวิธีการเสด็จลงมาให้เรารู้ - อัตเตาฮิด ของ อิบนุคุซัยมะฮ เล่ม 1 หน้า 289-290

……………
والله أعلم بلصواب


อะสัน  หมัดอะดั้ม




ห้ามละหมาดญะนาซะฮโดยสวมรองเท้าที่กุโบร์จริงหรือ?


เนื่องด้วยมีคนกล่าวหาว่าพี่น้องมุสลิม ที่เขาฉายาว่าวะฮบีย์ละหมาดญะนาซะฮ โดยใส่ร้องเท้า
ย่ำดินกุโบร์ที่เป็นน่ายิสละหมาดใช้ไม่ได้ เพราะมัษฮับของอิหม่ามชาฟีอี การสวมใส่รองเท้าที่เปลื่อนน่ายิสถือว่าเป็นการแบกน่ายิส ละหมาดโดยไม่ถอดรองเท้าแบบในภาพนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ !
>>>>>>>>>>>>>

จึงขอชี้แจง เพื่อให้เขาใจตรงกันดังนี้

ก่อนอื่นขอชี้แจงว่า ความจริงหากรองเท้าสะอาด เราสามารถใส่ร้องเท้าละหมาดได้ ไม่ว่าละหมาดอะไรก็ตาม

อัสสะฟารีนีย์ กล่าวว่า
وَقَدْ ثَبَتَ فِي الصَّحِيحَيْنِ عَنْ أَنَسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ { رَأَيْت رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّي فِي نَعْلَيْهِ }
และแท้จริง ได้ปรากฏรายงานยืนยันในเศาะเศาะเฮียะบุคอรีและมุสลิมจากอะนัส (ร.ฎ) โดยเขากล่าวว่า “ ข้าพเจ้าได้เห็นรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ละหมาด สวมใส่รองเท้าทั้งสองของท่าน

อัสสะฟารีนีย์ ได้กล่าวอีกว่า

وَفِي السُّنَنِ أَيْضًا { أَنَّهُ صَلَّى فِي نَعْلِهِ ، وَصَلَّى أَصْحَابُهُ فِي نِعَالِهِمْ ، فَخَلَعَ نَعْلَيْهِ ، فَخَلَعُوا نِعَالَهُمْ ، فَلَمَّا سَلَّمَ قَالَ : لِمَ خَلَعْتُمْ نِعَالَكُمْ ؟ قَالُوا : رَأَيْنَاك خَلَعْت نَعْلَيْك فَخَلَعْنَا نِعَالَنَا ، فَقَالَ : إنَّ جِبْرِيلَ أَتَانِي فَأَخْبَرَنِي أَنَّ فِيهِمَا أَذًى فَإِذَا أَتَى أَحَدُكُمْ الْمَسْجِدَ فَلْيَنْظُرْ فِي نَعْلَيْهِ فَإِنْ كَانَ فِيهِمَا أَذًى فَلْيَدْلُكْهُمَا بِالتُّرَابِ فَإِنَّ التُّرَابَ لَهُمَا طَهُورٌ }

และปรากฏในอัสสุนันอีกเช่นกันว่า (แท้จริงนบี ศอ็ลฯ ละหมาด ดดยสวมใส่รองเท้าของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮ ของท่านได้ละหมาดโดยสวมใส่รองเท้าของพวกเขา แล้ว ท่านนบี ได้ถอนรองเท้าทั้งสองของท่าน แล้วพวกเขา(เศาะหาบะฮ) ถอดรองเท้าของพวกเขาด้วย แล้วเมื่อท่านบี ให้สล่าม (จากการละหมาด) ท่านได้กล่าวว่า “ทำไมพวกท่านจึงถอดรองเท้าของพวกท่าน ? พวกเขากล่าวตอบว่า “พวกเราเห็นท่านถอดรองเท้าทั้งสองของท่าน พวกเราจึงถอดรองเท้าของพวกเราด้วย แล้วท่านนบี กล่าวว่า “ แท้จริงญิบรีล ได้มายังฉัน แล้วบอกฉันว่า ในรองเท้าทั้งสอง มีสิ่งสกปรก ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านไปมัสยิด ก็จงดูที่รองเท้าทั้งสองของเขา หากปรากฏว่าในมันทั้งสองมีสิ่งสกปรก ก็จงเช็ดมันทั้งสอง กับดิน เพราะแท้จริง ดินนั้น คือ สิ่งทำความสะอาดสำหรับมันทั้งสอง ) …..

และอัสสะฟารีนีย์ อธิบายว่า
فَصَلَاةُ الرَّجُلِ لِلْفَرْضِ وَالتَّطَوُّعِ وَالْجِنَازَةِ فِي الْحَضَرِ وَالسَّفَرِ فِي نَعْلَيْهِ مِنْ سُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ .
การละหมาด ฟัรดู ,ละหมาดสุนัต และ ละหมาดญะนาซะฮ ของบุคคล ในยามอยู่ที่บ้าน และในยามเดินทาง โดยสวมรองเท้าของเขานั้น เป็นส่วนหนึ่งจากสุนนะฮของรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ

وَسَوَاءٌ كَانَ يَمْشِي بِهِمَا فِي طُرُقَاتِ الْمَدِينَةِ الَّتِي فِي الْأَسْوَاقِ أَوْ غَيْرِهِمَا فَإِنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَصْحَابَهُ كَانُوا يَمْشُونَ فِي طُرُقَاتِ الْمَدِينَةِ وَغَيْرِهَا بِنِعَالِهِمْ وَيُصَلُّونَ فِيهَا .

และไม่ว่า เขาจะเดิน ด้วยมันทั้งสอง(ด้วยรองเท้าทั้งสอง) บน บรรดาหนทางในเมือง ที่มีบรรดาตลาด หรือ อื่นจากมันทั้งสอง เพราะแท้จริง นบี ศอ็ลฯ และบรรดา สาวกของท่าน พวกเขาเดิน บนบรรดาถนน มะดีนะฮและอื่นจากมัน ด้วยบรรดารองเท้าของพวกเขา และพวกเขาละหมาด ในมัน (หมายถึงละหมาดโดยสวมรองเท้า) – ดู ฆิซาอุลอัลบาบ ของ อัสสะฟารีนีย์ เล่ม 2 หน้า 302
>>>>>>>>>>
จะเห็นได้ว่า การละหมาด โดยสวมรองเท้าที่สะอาดจากนะญิสนั้น ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดู,ละหมาดสุนัตและ ละหมาดญะนาซะฮ นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ มีแบบอย่าง(สุนนะฮ)จากท่านนบี ศอ็ลฯ
การอ้างว่า พื้นดินกุโบร์ เป็นนะยิสนั้น เป็นการอ้างโดยไม่มีหลักฐาน เพราะถ้าเป็นนะยิส ท่านนบี ศอ็ลฯ จะไม่ละหมาดญะนาซะฮ ที่กุโบร์แน่นอน เพราะการละหมาดญะนาซะฮที่กุโบร์นั้น ต้องยืนบนพื้นดินกุโบร์ ไม่ว่าจะใส่รองเท้าหรือไม่ก็ตาม ส่วนการห้ามละหมาดฟัรดูที่กุโบร์นั้น เป็นการป้องกัน การอิบาดะฮต่อกุบูร และการยึดเอากุบูรเป็นมัสยิดเท่านั้น

ท่านนบี ศอ็ลฯ เคยละหมาดญะนาซะฮที่กุโบร์ ดังหะดิษ โดยอิหม่ามอัตติรมิซีย์ ว่า

حَدَّثَنَا الشَّعْبِيُّ أَخْبَرَنِي مَنْ رَأَى النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَرَأَى قَبْرًا مُنْتَبِذًا فَصَفَّ أَصْحَابَهُ خَلْفَهُ فَصَلَّى عَلَيْهِ فَقِيلَ لَهُ مَنْ أَخْبَرَكَهُ فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ قَالَ وَفِي الْبَاب عَنْ أَنَسٍ وَبُرَيْدَةَ وَيَزِيدَ بْنِ ثَابِتٍ وَأَبِي هُرَيْرَةَ وَعَامِرِ بْنِ رَبِيعَةَ وَأَبِي قَتَادَةَ وَسَهْلِ بْنِ حُنَيْفٍ قَالَ أَبُو عِيسَى حَدِيثُ ابْنِ عَبَّاسٍ حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ وَالْعَمَلُ عَلَى هَذَا عِنْدَ أَكْثَرِ أَهْلِ الْعِلْمِ مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَغَيْرِهِمْ وَهُوَ قَوْلُ الشَّافِعِيِّ وَأَحْمَدَ وَإِسْحَقَ

อัชชะอฺบีย์ ได้เล่าเรา ว่า ผู้ที่เห็นนบี ศอ็ลฯ ได้บอกเราว่า และนบี สอ็ลฯ ได้เห็นหลุมศพหนึ่ง ถูกแยกอยู่ตามลำพัง แล้วท่านได้ให้บรรดาสาวกของท่านเข้าแถว ตามหลังท่าน แล้วละหมาดญะนาซะฮ ให้เขา แล้วมีผู้กล่าวแก่เขาว่า “ใครบอกมันแก่ท่าน ? เขา(อัชชะอบีย) กล่าวว่า “อิบนุอับบาส” เขา(อิหม่ามอัตติรมิซีย) กล่าวว่า ในเรื่องนี้ รายงานจาก อะนัส ,บุรัยดะฮ ,ยะซีด บิน ษาบีต ,อบีฮุรัยเราะฮ ,อามีร บิน เราะบีอะฮ ,อบีเกาะตาดะฮ และ สะฮิล บิน หุนัยฟฺ ,อบูอีซา (หมายถึงอิหม่ามติรมิซีย์) กล่าวว่า หะดิษอิบนุอับบาส เป็นหะดิษ หะซัน เศาะเฮียะ และ นักวิชาการส่วนมาก จากบรรดาเศาะหะบะฮนบี ศอ็ลฯ และอื่นจากพวกเขา ปฏิบัติตามหะดิษนี้ และมันคือ ทัศนะของ ชาฟิอี ,อะหมัด และอิสหาก – ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ เรื่อง بَاب مَا جَاءَ فِي الصَّلَاةِ عَلَى الْقَبْرِ อธิบายหะดิษ หมายเลข 1037

>>>>

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม



วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความรับผิดชอบในการให้การศึกษาด้านจริยธรรมแก่บุตร



ผู้เป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่ให้การศึกษาด้านจริยธรรมแก่บุตร ไม่ว่าหลักจริยธรรม คุณค่าทางศิลธรรมที่จะต้องพร่ำสอนบุตรของตน เพื่อให้มีความเคยชินตั้งแต่วัยเด็กเล็กจนกระทั่งเขาบรรลุนิติภาวะ ซึ่งหลักทางจริยธรรมและคุณค่าทางศิลธรรมนั้นเป็นผลผลิตแห่งการอบรมสั่งสอนด้วยความศรัทธาที่ลึกซึ้งและศาสนาที่เที่ยงแท้ ทำให้บุตรเติบโตได้รับเลี้ยงดูตั้งแต่ช่วงอ่อนวัยให้ศรัทะาต่ออัลลอฮฺตะอาลา ภายใต้การหยั่งรู้ของพระองค์ การดูเอาใจใส่และและช่วยเหลือของพระองค์ บุตรจะพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเขาขึ้น เพื่อการยอมรับและเจริญรอยตามมาตรฐานในทางศิลธรรม และมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างดี 


ท่านรสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่มีคุณประโยชน์หรือความดีงามอันใด ที่พ่อให้ลูกๆของเขาจะมีค่ามากกว่าการอบรมเลี้ยงดูอย่างดี" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรฺมีซีย์)


รายงานจากอิบนุอับบาส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) เล่าว่า ท่านรสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"จงให้จิตใจทีมีคุณธรรมแก่บุตรของท่าน และให้การอบรมเลี้ยงดูที่ดีกับเขา " บันทึกหะดิษโดยอิมามอิบนุมาญะฮฺ)




มะลาอิกะฮฺญิบรีลมาแสดงละครให้เศาะหาบะฮฺดูจริงหรือ?



คำถาม

บรรดาผู้รู้ครูอาจารย์:
มีบางคนนำหะดีษญิบรีลบทนี้มาเป็นหลักฐานการอนุญาตในการแสดงละคร,หนัง โดยเขาอ้างว่า "มะลาอิกะฮฺญิบรีลมาแสดงละครให้เศาะหาบะฮฺดู" ความเข้าใจแบบนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องจากบรรดาสะละฟุศศอลิหฺและปราชญ์ที่เจริญรอยตามพวกเขา(สะลัฟ)หรือไม่ครับ?

ตอบโดยอาจารย์ฟารีดเฟ็นดี้

ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาเราและทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่นำฮะดีษญิบรีลไปกล่าวอ้างเป็นหลักฐานการแสดงละครด้วยเถิด
เนื่องจากการกล่าวอ้างของเขานี้เป็นการบิดเบือนวะฮีย์ของอัลลอฮ์

1. ญิบรีลคือมะลาอิกะห์ ที่ไม่กระทำการใดๆนอกจากที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงสั่ง

2 ญิบรีลจำแลงร่างในรูปของมนุษย์ไม่ใช่ทำเพราะความเห็นหรือความต้องการของตัวเองแต่ด้วยบัญชาของอัลลอฮ์

3 ญิบรีลจำแลงจริงๆมาในรูปมนุษย์จริงๆไม่ใ​​ช่การแสดง

4. และเหตุที่ญิบรีลมาในรูปมนุษย์ ณ ที่นั้นด้วย

4.1 มาถามในขณะที่พวกเจ้าไม่ถาม

4.2 มาเพื่อจะสอนให้รู้ถึงรากฐานของศาสนา

มีเวลาจะอธิบายรายละเอียดให้ทราบได้ยุติการกล่าวอ้างและเตาบัตตัว


.........................

เมื่ออัลลอฮมีบัญญัตให้ละหมาดห้าเวลาในคืนเมียะรอจญ์ ต่อมาอัลลอฮส่งมลาอิกะฮมานำละหมาดแก่นบี ศอ็ลฯ ห้าครั้ง เพื่อให้นบีได้รู้วิธีการละหมาดตามที่อัลลอฮต้องการ แล้วต่อมานบี ก็นำมาสอนเหล่าเศาะหาบะฮโดยการนำละหมาดแก่เหล่าเศาะหาบะฮตามแบบที่ญิบรีลสอน สรุป มลาอิกะฮญิบรีล และนบี ศอ็ลฯ เป็นนักแสดงอย่างนั้นหรือ ถ้าคิดแบบนี้ ก็เท่ากับสิ้นคิด



ความรับผิดชอบในการให้การศึกษาด้านศาสนาแก่บุตร



การให้บุตรได้มีการศึกษาด้านศาสนา ถือเป็นเป็นหน้าที่ผู้บิดามารดา หรือผู้ปกครอง จำเป็นที่จะให้บุตรของตนได้ศึกษา ทำความเข้าใจ ในหลักศรัทธา รุก่นอิสลาม และพื้นฐานของชะรีอะฮฺ (ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับอิสลาม ไม่ว่าหลักศรัทธา การทำอิบาดะฮฺ มายาท และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น) ตั้งแต่บุตรคนนั้นจำความได้

ดังนั้น ผู้เป็นบิดามารดาทุกคนต้องพร่ำสอนหลักการศรัทะาและคำสอนของอิสลามให้เข้าไปอยู่ในจิตวิญญาณของเด็ก

คำสั่งและข้อแนะนำจากท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ให้ผู้เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หมั่นสอดแทรกหลักศรัทธา และหลักอิสลามให้เข้าสู่จิตของเด็กในช่วงที่เขายังเล็กๆอยู่ ได้แก่

-การเปล่งเสียง ลาอิลาฮะ อิ้ลลั้ลลอฮฺ เป็นสิ่งแรกที่เด็กได้ยิน

-แนะนำให้บุตรรู้ถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ว่าสิ่งใดหะลาล สิ่งใดหะรอม

-บังคับให้บุตรทำการละหมาดเมื่ออายุ 7 ปี

-สอนให้ให้เขารักท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และครอบครัวของท่าน

-สอนให้บุตรอ่านอัลกุรอาน และท่องจำอัลกุรอาน

-มั่นอบรมให้บุตรศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และความมหัศจรรย์ของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง

-พร่ำสอนบุตรให้มีจิตวิญญาณแห่งการยอมจำนน ความเกรงกลัว และการยอมเป็นทาสรับใช้อัลลอฮฺ

-พัฒนาให้จิตวิญญาณของบุตรเกิดความยำเกรง ละปฏิบัติตามคำสั่งใช้ คำสั่งห้ามของอัลลอฮฺ

ฯลฯ







ความอ้างว้างปลกคลุมทุกหลุมศพ



คือจุดจบคนอวดโตสุดโอหัง

เคยมีทั้งอำนาจมาดคนดัง

ถูกเขาฝังสงบนิ่งทั้งหญิงชาย

คนอยู่หลังยังระเริงเพลิงราคะ

ปล่อยธรรมะไม่เทิดทูนให้สูญหาย

นำชีวิตเกลือกกลั้วมั่วอบาย

คิดกลับตัวก็สายปลายชีวิน

อีกทะนงหลงตนจนเป็นเหตุ

น่าสมเพชไม่ห้ามใจใฝ่ถวิล

ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นอาจิณ

เมื่อสูญสิ้นวิปโยคโศกอาลัย

เพราะดุนยาแห่งนี้ที่พำนัก

เรามาพักเพียงครู่อยู่อาศัย

ไม่นานนักต้องพลัดพรากจากกันไป

ติดตัวไว้เพียงบาปกรรมที่ทำมา..!!!


................................
Dariyah Muslimah



วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฮิดายะฮฺ ยอมิน



อัลลอฮุอักบัร:


เรื่องราวของสาวมุสลิมใหม่ชาวไทย "ฮิดายะฮฺยอมิน" กับอุบัติเหตุที่เธอประสบถึง 9 ครั้งในชีวิต
ทำให้เธอฉุกคิดว่าต้องมีใครที่คอยปกป้องดูแลเธออยู่
หันไปก็เจอเพียง แต่โดมมัสยิดอยู่กับตัวเองและความคิดในสมองเมื่อเธอรอดจากเหตุการณ์นี้มาได้ ผู้ที่อยู่เหนือทุกสิ่ง
ฮิดายะห์ ดำเนินชีวิตแบบวัยรุ่นที่มีความคิดมีความมั่นใจเป็นตัวของตัวเอง จนอุบัติเหตุครั้งสุดท้ายทำให้เธอศึกษาอิสลามและตัดสินใจในที่สุด
เมื่อเธอต้องการเข้ารับอิสลามเธอจึงบอกกับพ่อแม่ของเธอแล้วก็ต้องประหลาดใจเมื่อพ่อแม่ที่เลี้ยงเธอมาได้บอกว่า แต่ด้วยกำหนดของอัลลอฮ์

จากชีวิตที่ไร้แก่นสารขาดทิศทางในการดำเนินชีวิต และอัลฮะดีษ >> ด้วยความเชื่อมั่นว่าอัลลอฮ์คือพระเจ้าหนึ่งเดียวเท่านั้น

หลังจากเข้ารับอิสลาม 6 เดือนเธอก็ได้พบกับคู่ครอง
เป็นการแต่งก่อนจีบทั้งคู่ไม่ได้เริ่มด้วยความรัก แต่เพราะศรัทธาเดียวกัน
เธอบอกว่า "เรารักอัลลอฮ์รักนบีและอยากทำงานเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเธอเองก็เคยขอดุอาอฺไว้เช่นนี้อัลฮัมดุลิละฮ์คู่ครองของเธอเป็นเชฟมาหลายประเทศจึงช่วยกันในเรื่องอาหารฮาลาล
ช่วงเวลาหลังจากเข้ารับอิสลามเธอตั้งปณิธานไว้ว่าเวลาในชีวิตทุกวินาทีมีคุณค่า บางเวลาไม่อาจย้อนมาได้ เธอดำเนินชีวิตในแบบมุสลิมและยังเผยแพร่ศาสนาช่วยงานด้านการศึกษาและอาหารฮาลาลอย่างแข็งขัน
อัลอัมดุลิลละฮ์มาชาอัลลอฮ์ สู่แสงสว่างของชีวิตขอความเมตตาและความจำเริญและริซกีได้เพิ่มพูนให้กับชีวิตของเธอให้อยู่กับความมั่นคงในศาสนาตลอดไป

.......................

เครดิต Muttaqeen อัลอิสลาม


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

การอาซานและอิกอมะฮฺข้างหูของเด็กทารกแรกเกิด


อิสลามได้มีคำสั่งให้มีการอะซานด้วยเสียงเบาๆ (การประกาศเชิญชวนสู่การละหมาด ที่หูขวา และอิกอมะฮฺด้วยเสียงเบาๆ (การกล่าวก่อนเริ่มละหมาด)ที่หูข้างซ้ายของเด้กทารกทันทีที่เด็กคลอดออกมา


รายงานจากท่านอบีรอเฟียะอฺว่า

“แท้จริงฉันเห็นท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อาซานละหมาดใส่หูท่านฮาซัน อิบนุ อาลี ในขณะที่พระนางฟาติมะห์ให้กำเนิด” (บันทึกโดยอะหฺหมัด (6/9) อบูดาวูด (หมายเลข 5150) และติรมิซีย์ (หมายเลข 1553) ติรมิซีย์ระบุว่าเป็นหะดิษหะสัน อัลบานีย์ระบุว่าเป็นสายรายงานที่อ่อน ที่ถือว่าเป็นหะดิษอยู่ในระดับหะสัน )

เกี่ยวกับวิทยปัญญาของการอาซานและอิกอมะฮฺข้างหูของเด็กทารกแรกเกิด ท่านอิบนุ กอยยิม อัล-เญาซียะฮฺ ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ "ตุหฺฟะตุล-เมาลูด" ว่า
"เพื่อให้สิ่งรกที่สัมผัสประสาทการได้ยินของมนุษย์เป็นถ้อยคำของการเรียกร้องเชิญชวนที่ประกอบขึ้นด้วยความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ และประโยคปฏิญาณตนในการเข้ารับนับถืออิสลาม แม้จะยังไม่รู้เรื่อง อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้สัมผัสกับเอกเอกลักษณ์แห่งอิสลาม ในนาทีแรกที่เข้ามาสู่โลกนี้ เหมือนเช่นที่เราสอนคนตาย (ก่อนออกจากโลกนี้) ด้วยประโยคที่ว่าด้วยเอกภาพของอัลลอฮฺ" (อับดุลลอฮฺ นิศิหฺ อุลวาน, หน้า 70)




ไม่นานหรอก จันทร์เพ็ญจะขึ้นท่ามกลางความมืดมิด



.. ไม่นานนัก
.. สำหรับผู้มีศรัทธามั่น
.. ในอัลเลาะฮฺ ผู้ทรงเมตตา
.. พระองค์จะทรงส่งมา
.. ซึ่งความช่วยเหลือ
.. จากพระองค์
.. อัลเลาะฮฺซ.บ.ทรงกล่าวไว้ในซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 214 ว่า
"أَلَا إِنَّ نَصْرَ اللَّهِ قَرِيبٌ"
คำอ่าน "อ้าลา อินน่า นัศร้อลลอฮี่ ก้อรี๊บ"
ความหมาย "พึงทราบเถิดว่า แท้จริงการช่วยเหลือของอัลเลาะฮฺนั้น อยู่ใกล้ยิ่งนัก"


......................
อ.อับดุลเลาะห์ หนูรัก



การเดินทางภาคบังคับ




".. สั ก วั น ห นึ่ ง .."
.. วันหนึ่ง
.. เราทุกคน
.. ต้องออกเดินทาง
.. ภาคบังคับ
.. โดยไร้ซึ่ง
.. ผู้ร่วมเดินทาง
.. และสัมภาระใดๆ
.. น อ ก จ า ก
.. พฤติกรรมของเราเอง
.. วันนี้
.. คือวันเดียวเท่านั้น
.. ที่เราทุกคน
.. มีโอกาสทำ
.. สะสมสิ่งดีๆมากๆ
.. และห่างไกลให้มาก
.. จากสิ่งชั่วผิดหลักการ
..." ยาอัลเลาะฮฺ โปรดให้เส้นทางที่เราต้องเดินไปครั้งนั้น มีสวรรค์อยู่ปลายทางด้วยเทอญ อามีน อามีน อามีน "...


.........................
อ.อับดุลเลาะห์ หนูรัก



วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

รู้ไหมว่า กว่าที่แม่จะกำเนิดเราขึ้นมานั้นมันยาวนานแค่ไหน



แม่ต้องอุ้มท้องมากกว่า 9 เดือน
ถ้าคิดเป็นสัปดาห์ก็นานถึง 36 สัปดาห์
ถ้าคิดเป็นวันก็นานถึง 252 วันหรือ
ถ้าคิดเป็นชั่วโมง ก็นานถึง 6,048 ชั่วโมง
ถ้าคิดเป็นนาที ก็นานถึง 362,880 หรือ
ถ้าคิดเป็นวินาทีก็นานถึง 21,772,800 วินาที
มันยากที่จะลุกจะนั่ง จะกินลำบาก นอนก็ปวดหลัง
กว่าจะคลอดลูกออกมาได้ ก็ต้องทนเจ็บท้องคลอดอยู่นาน
นี้ยังไม่รวมเวลาที่แม่อุตสาห์เฝ้าฟูมฟักเลี้ยงดูลูกมานานจนถึงวันนี้
ซึ่งมากกว่า 9 เดือนในท้องอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า...
"ในจำนวนบาปใหญ่ทั้งหลายคือการเนรคุณต่อพ่อแม่"
(รายงานบุคอรีย์และมุสลิม)
การอกตัญญูต่อพ่อแม่นั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรง
แต่การอกตัญญูต่อแม่นั้นมีบาปที่มหันต์ยิ่งกว่า
เพราะท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้บอกอย่างเจาะจงเลยว่าอัลลอฮฺทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นแม่
ท่านได้กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงห้ามการอกตัญญูต่อผู้เป็นมารดา"
(บันทึกโดย อัลบุคอรี)
คำสอนที่กำหนดให้การทำดีกับพ่อแม่เป็นภาระหน้าที่สำคัญ
รองลงมาจากการศรัทธาและอิบาดะฮฺ
ในขณะที่ความสำคัญของแม่เพียงผู้เดียว
ก็เป็นที่เด่นชัดและถูกกำชับมากขึ้นอีก เพราะอัลลอฮฺได้สั่งให้ทำดีกับพ่อแม่
และได้เจาะจงพูดถึงแม่ด้วยการอธิบายถึงความยากลำบาก
และความเหนื่อยยากในการอุ้มท้อง
"แท้จริงสวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของมารดา


...............................
อับดุลรอมาน หะระตี

สอนลูกด้วยอิสลาม




เราจะคาดหวังให้เด็กๆ เชื่อฟังพ่อแม่ของพวกเขาได้อย่างไร ในเมื่อ….
ทาร์ซาน »» ใช้ชีวิตเปลือยเปล่าครึ่งตัว
ซินเดอร์เลล่า »» กลับบ้านเวลาเที่ยงคืน
พิน๊อกคิโอ »» โกหกตลอดเวลา
อะลาดิน »» เป็นราชาโจร
ทอมแอนด์เจอรี่ »» หาทางทำร้ายกันอยู่ตลอดเวลา
แบทแมน »» ขับรถเร็วเกินกว่า 200 ไมล์ต่อชั่วโมง
เจ้าหญิงนิทรา »» เป็นเด็กสาวผู้เกียจคร้าน
และสโนไวน์ »» อยู่กับผู้ชายถึง 7 คน
ดังนั้น เราก็คงไม่ต้องประหลาดใจ
เวลาที่เราเห็นเด็กๆ มีพฤติกรรมที่ไม่ดี
นั่นเป็นเพราะพวกเขาซึมซับมาจากนิทานที่พวกเขาได้ฟังหรืออ่าน
และจากการ์ตูนที่พวกเขาดู
คุณพ่อ คุณแม่ทั้งหลาย...
สอนลูกๆ ของคุณด้วยเรื่องราวของอิสลาม
เรื่องราวจากอัลกุรอาน
เรื่องราวของบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ
เรื่องราวของบรรดาเศาะหาบะฮฺ เถิด
เรื่องราวเหล่านี้ย่อมให้สาระประโยชน์
แก่ลูกๆ ของเรามากกว่าเรื่องแต่งจอมปลอมเหล่านั้น


••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
แปลเรียบเรียงและเพิ่มเติมจากข้อความทางเพจ Revert Muslims association بنت الاسلا
อับดุลรอมาน หะระตี โพสต์

คนล้มละลายในวันกิยามะฮ



ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ أَتَدْرُونَ مَا الْمُفْلِسُ قَالُوا الْمُفْلِسُ فِينَا مَنْ لَا دِرْهَمَ لَهُ وَلَا مَتَاعَ فَقَالَ إِنَّ الْمُفْلِسَ مِنْ أُمَّتِي يَأْتِي يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِصَلَاةٍ وَصِيَامٍ وَزَكَاةٍ وَيَأْتِي قَدْ شَتَمَ هَذَا وَقَذَفَ هَذَا وَأَكَلَ مَالَ هَذَا وَسَفَكَ دَمَ هَذَا وَضَرَبَ هَذَا فَيُعْطَى هَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ فَإِنْ فَنِيَتْ حَسَنَاتُهُ قَبْلَ أَنْ يُقْضَى مَا عَلَيْهِ أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ فَطُرِحَتْ عَلَيْهِ ثُمَّ طُرِحَ فِي النَّارِ

แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "พวกท่านรู้หรือไม่ว่า ใครคือคนล้มละลาย?" พวกเขาตอบว่า "ผู้ที่ล้มละลายในหมู่พวกเรา คือผู้ที่ไม่มีเงินและไม่มีทรัพย์สิน ดังนั้นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ผู้ที่ล้มละลายจากประชาชาติของฉันก็­คือ ในวันกิยามะฮ์ เขาจะมาด้วยการมี(ผลงานของการ)ละหมาด การถือศีลอด และการออกซะกาต(ที่ได้ถูกตอบรับจากอัลเลาะ­ฮ์) แต่เขาเคยด่าคนนั้น เคยกล่าวหาคนนี้ เคยบริโภคทรัพย์สินของคนนั้น(โดยมิชอบ) เคยนองเลือดกับคนนี้ และเคยทุบตีคนนั้น ดังนั้นผู้ล้มละลายก็นั่งลง แล้วบรรดาความดีงามของเขาก็ถูกนำไปให้กับค­นนั้น และบรรดาความดีงามของเขาก็ถูกนำมาให้คนนี้ แล้วถ้าหากบรรดาความดีของเขาหมดก่อนความผิ­ดต่างๆ จะถูกชดใช้ ความผิดต่างๆ ของพวกเขาก็จะถูกโยนลงมาบนเขา(ให้แบกรับภา­ระไว้แทน) หลังจากนั้นเขาก็ถูกโยนลงในนรก"รายงา­นโดยท่านมุสลิม, หะดีษลำดับที่ 2581, ศอฮีห์มุสลิม, เล่ม 4, หน้า 1997; และอัตติรมีซีย์, หะดีษลำดับที่ 2418, สุนัน อัตติรมีซีย์, เล่ม 4, หน้า 613

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สรุปคนล้มละลายในวันกิยามะฮคือ คนที่ตายไป ได้ประกอบการงานที่ดีต่างๆเช่น ละหมาด การถือศีลอด การออกซะกาต เป็นต้น แต่ ในทางสังคม เขาได้ละเมิดสิทธิผู้อื่น เช่น เค่ยด่าทอ ,เคยกล่าวหา หรือใส่ร้าย ผู้คน เคยทำร้ายผู้คน เป็นต้น
ในทีสุดความดีของเขาจะถูกนำไปชดใช้ เมื่อไม่พอ เขาก็ถูกให้แบกรับความผิดของผู้ที่เขาเคยละเมิดสิทธิ์ในดุนยา จนในที่สุดเขาถูกนำสู่นรก


والله أعلم بالصواب

ทำอย่างไรจึงจะรอดพ้นจากแนวทางชีอะฮฺอันสุดแสนอันตราย‬



ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เที่ยงแท้ ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้อิสลามแปดเปื้อนไปได้ นั่นหมายความว่าถ้ามีสิ่งใดที่เข้ามาทำให้อิสลามแปดเปื้อนแล้ว ก็ต้องมีการพิสูจน์ทันทีว่าสิ่งนั้นอันนี้จริงหรือเท็จ และการพิสูจน์นั้นย่อมต้องกลับไปกีตาบุลลอฮและซุนนะฮฺ
จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า
“แท้จริงอิสลามวางอยู่บนรากฐานห้าประการ หนึ่ง..การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การกราบไว้นอกจากอัลลอฮฺ
สอง..การดำรงการละหมาด สาม..การจ่ายซะกาต สี่..การถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน ห้า..การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ”
(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 8 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 16 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)
ดังนั้นใครที่ไม่มีองค์ประกอบของหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติแบบนี้ ก็คงจะไม่ต้องสงสัยใด ๆ ว่าเขาผู้นั้นเป็นมุสลิมหรือไม่ เราจะคบค้าสมาคมกับใคร เราจะบอกได้ว่าใครคือพี่น้องร่วมศรัทธาหรือไม่ แน่นอนเราก็ต้องดูที่หลักศรัทธา หากหลักศรัทธาต่างกันจะเป็นพี่น้องร่วมศรัทธาได้อย่างไร ?
เพราะอัลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า
“แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธานั้น เป็นพี่น้องกัน”
(อัลฮุญุร็อต 4 /10)
อายะฮฺนี้ได้บอกไว้ชัดเจนว่ามุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นเมื่อเราจะต้องเป็นพี่น้องกับผู้ศรัทธาเท่านั้น แล้วเราจะเป็นพี่น้องร่วมศรัทธากับชีอะฮฺได้ไหม ? ซึ่งคำตอบมีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือ ไม่มีทางทีเราจะเป็นพี่น้องร่วมศรัทธากับกลุ่มชีอะฮฺไปได้ ชีอะฮฺจะเป็นพี่น้องกับมุสลิมผู้ศรัทธาได้อย่างไรในเมื่อเขาก่นด่าสาปแช่งมารดาของเรา ทั้งที่มารดาของเราคือผู้ที่เผยแผ่ความรุ้เกี่ยวกับศาสนาที่มานบี ได้สอนไว้ ?
เราจะเข้าใกล้ชิดอยู่กับกลุ่มที่ปฏิเสธอัลกุรอานได้อย่างไร ? เราจะใกล้ชิดกลุ่มคนที่กระทำในนบีห้ามได้อย่าง ? สิ่งที่บอกว่ากลุ่มนี้ปฏิเสธอัลกุรอาน คือ การที่ชีอะฮฺได้กล่าวมาแล้วว่า อัลกุรอานฉบับปัจุบันนั้นไม่สมบูรณ์ นี่คือสิ่งที่ชีอะฮฺท้ทายอำนาจของพระเจ้า อีกทั้งการก่นด่าสาปแช่งบรรดาสหายของท่านนบี ที่ชีอะฮฺชอบกระทำ
นบีมุฮัมมัด ได้ห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า
อาดัม บินอบีอิยาสเล่าให้เราฟัง ชุอ์บะฮ์เล่าให้เราฟัง จากอัลอะอ์มัชเล่าว่า ฉันได้ยินซักวานเล่ามาจากท่านอะบีสะอีด อัลคุดรี เขากล่าวว่า:
ท่านนบีมุฮัมมัด กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าด่าทอซอฮาบะฮ์ของฉัน เพราะหากพวกท่านบริจาคทองประหนึ่งดังภูเขาอุฮุด ก็จะไม่เท่ากับพวกเขาบริจาคหนึ่งมุดหรือเพียงครึ่งมุด
นบี ได้สั่งห้ามการก่นด่าซอฮาบะฮฺของท่านนบีแต่ชีอะฮฺกลับปฏิเสธคำสั่งนบี อย่างชัดเจนเช่นกัน โดยพวกเขาไม่เว้นแม้แต่ท่านอบูบักร ท่านหญิงอาอีชะฮฺ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างสูงต่อศาสนาอิสลาม อีกคำถามที่มักเกิดขึ้นกับใครหลายคนก็คือ การอ้างว่า เราจะไปกล่าวหาชีอะฮฺว่าเป็นกาเฟรได้อย่างไร ในเมื่อเขากาลีมะฮฺเดียวกับซุนนี แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
“ลาอีละฮฺฮาอิลลัลลอฮ มูฮัมมัดดัรรอซูลลุลลอฮ อาลียุนวะลียุลลอฮคอไมนีฮุจญาตัลลอฮฺ "
(จากหนังสือวะฮฺดะฮฺอิสลามี หน้า 4)
นี่คือการกล่าวกาลีมะฮฺแบบนี้ที่ชนชาวชีอะฮฺกล่าว แล้วเราจะบอกว่าเขาคือพี่น้องร่วมศรัทธาของมุสลิมได้อย่างไร ! ตราบใดที่เขายังมีกาลีมะฮฺชาฮาดะฮฺต่างกับเรา เขาจะเป็นพี่น้องเราได้อย่างไร ? พอที่จะมองออกแล้วไหม...ว่าทำไมเราจะต้องห่างไกลกับชีอะฮฺ เนื่องจากชีอะฮฺนั้นเป็นกาเฟร เป็นแนวทางที่ทำลายอัลกุรอาน และอัลฮาดิษที่บริสุทธิ์
แต่เราจะหลีกห่างกลุ่มนี้ได้อย่างไร ?
จากคำถามนี้ หากเราได้เรียนรู้ธาตุแท้ของชีอะฮฺแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ชีอะฮฺทำตนแข็งกร้าวต่ออำนาจพระเจ้า ซึ่งเราจะเห็นความใกล้เคียงของชีอะฮฺกับยิว
ดังนั้นเราสามารถวางตัวได้ว่า ชีอะฮฺ คือ ยิวกลุ่มหนึ่ง เขาเชื่อในพระเจ้าก็จริง แต่อย่าลืมว่า คริสต์ ยูดาย ต่างก็เชื่อพระเจ้า และสองกลุ่มนี้ได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธไปเสียแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราพึงกระทำก็คือ อย่าไปคลุกคลีกับกลุ่มนี้ เนื่องจากพวกเขามีลักษณะของ มูนาฟิก แล้วยังมีแนวคิดยิวมาปะปนด้วย อีกทั้งเมื่อกลุ่มนี้เป็นกาเฟร เราก็คงจะต้องกล่าวว่า ศาสนาของท่านก็คือศาสนาของท่าน ศาสนาของเราก็ศาสนาของเรา


ที่มาบทความ
http://www.islammore.com/main/content.php…

ดุอาอ์ขอให้เด็กแรกเกิด



การขอดุอาอฺ มีสุนนะฮฺให้พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องขอดุอาอฺให้แก่เด็กทารกด้วยสำนวนดั่งนี้

 คำอ่าน “ อุอีซุกะ (ถ้าเป็นเพศหญิงให้กล่าวว่า อุอีซุกิ) บิกะลิมาติลลาฮิตตามมาติ มิน กุลลิชัยฏอนิน วะฮามมะติน วะมินกุลลิอัยนิน ลามมะติน"

 คำแปล “ ฉันขอความคุ้มครองให้แก่เจ้าด้วยถ้อยดำรัสของอัลลอฮฺอันสมบูรณ์ยิ่ง ให้พ้นจาก (การล่อลวงของ) ชัยฏอน, ให้พ้นจากสัตว์พิษ และให้พ้นจากทุกๆ สายตาที่ให้ร้าย (หรือสายตาที่อิจฉา)"
(บันทึกโดยบุคอรีย์ และท่านอื่นๆ)



การโกนผมทารกแรกเกิด


การโกนผมให้เด็กทารกตามแนวคำสอนของอิสลามนั้น มีแบบอย่างจากท่านนบีมุหัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยให้กระทำในวันที่ 7 นับแต่วันคลอด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำอากีเกาะฮฺ (สิ่งที่ถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด) เมื่อทำการโกนผมเด็กทั้งศีรษะแล้ว ให้นำเอาผมทั้งหมดนั้นไปชั่งน้ำหนัก แล้วเทียบค่าน้ำหนักด้วยเงิน และนำไปบริจาคแก่คนยากจน

 ศาสนาไม่อนุญาตให้โกนผมหรือตัดผมของทารกแรกเกิดบางส่วนและละทิ้งอีกบางส่วน ที่เรียกในภาษาอาหรับว่า "อัล-เกาะซะอุ"
เช่น โกนเป็นหย่อมๆ และเว้นไว้เป็นหย่อมๆ, โกนตรงกลางศีรษะและเอาไว้รอบๆ, โกนรอบๆ เอาไว้ตรงกลาง(จุก) หรือโกนด้านหน้าเอาไว้ด้านหลัง

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“ เด็กทารกทุกคนถูกประกันด้วยอะกีเกาะฮฺของเขา (กล่าวคือ สัตว์อะกีเกาะฮฺ) ถูกเชือดในแก่ทารกในวันที่เจ็ด (นับวันคลอดด้วย), โกนศีรษะ และตั้งชื่อทารกผู้นั้น (ในวันที่เจ็ดด้วยเช่นกัน)"(บันทึกโดยอบูดาวูด และท่านอื่นๆ)
ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) ว่า
"เธฮจงโกนศีษะเขา จากนั้นเธอจงบริจาคฟิฏเฏาะฮฺ (หมายถึงเงินแท้) ให้แก่บรรดาผู้ที่ยากจน เท่ากับน้ำหนักเส้นผมของเขาเถิด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด เลขที่ 25930 เช็คนาศิรุดีน อัลบานีย์ ถือว่าหะดิษหะสัน)

ท่านอิมามมาลิก (ร่อฮิมาฮุลลอฮฺ) รายงานในอัลมุวัฏเฏาะฮฺ ว่าพ่อของญะฟัร อิบนิ มุหัมมัด กล่าวว่า
"ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) ได้ชั่งน้ำหนักผมของ หะสัน กับหุสัยนฺ, ซับหนับ และอุลมุล กัลษูม และนำจำนวนเงินที่เท่ากับน้ำหนักนั้นให้กับคนจน"

ท่านยะหฺยา บิน กะบีรฺ รายงานจากท่านอนัส บิน มาลิก (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) สั่งให้โกนผมหะสัน กับหุสัยนฺในวันที่เจ็ด และหลังจากที่โกนผมล้วนั้น ก็ให้นำจำนวนเงินที่เท่ากับผมที่ชั่งไว้ไปให้แก่คนยากจน"
วิทยปัญญาของการปฏิบัติการโกนผมให้เด็กทารกแรกเกิดนั่น ในด้านสุขภาพของศีรษะและอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับศีรษะที่ได้รับการเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาด และอีกด้านหนึ่ง ผลในทางสังคม ที่เห็นได้จากการบริจาค ให้ทาน






วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

การยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู


เรื่องไม่ยกมือคือ ดุอาหลังละหมาดฟัรดูห้าเวลา ดังฟัตวาต่อไปนี้
السؤال
هل يذكر الحديث أن الدعاء بعد الصلاة مستجاب، وأن رفع اليدين من السنة ؟ وكيف نقول لشخص يرفع يديه بعد الصلاة بأن النبي - صلى الله عليه وسلم - لم يرفع يديه بعد الصلاة ؟
ถาม
มีหะดิษถูกระบุไว้หรือไม่ว่า การอ่านดุอาหลังละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ และการยกมือทั้งสองเป็นสุนนะฮ ? เราจะกล่าวอย่างไรดี สำหรับผู้ที่ยกมือทังสองของเขา หลังจากละหมาด โดยที่ท่านนบี ไม่ได้ยกมือทั้งสองของท่านหลังจากละหมาด?
الجواب
لا يوجد حديث أن الدعاء بعد الصلاة مستجاب، بل الدعاء في صلب الصلاة أولى من الدعاء بعدها، ولا يشرع رفع اليدين إذا دعا بعد الصلاة الفريضة أو النافلة؛ لعدم ورود ذلك ، وهو أمر تعبدي توقيفي ، لا يفعل إلا بنص، والله أعلم.
ตอบ
ไม่พบหะดิษบทใดเลยที่ว่า การอ่านดุอาหลังจากละหมาดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ แต่ทว่า การอ่านดุอาในละหมาด ย่อมดีกว่า การอ่านดุอาหลังละหมาด และไม่มีบัญญัติใช้ให้ยกมือทั้งสอง เมื่อขอดุอาหลังจากละหมาดฟัรดูและละหมาดอาสา เพราะดังกล่าวนั้นไม่มีรายงาน ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ อิบาดะฮ ที่เกียวกับการหยุดอยู่ที่คำสั่ง เขาอย่าได้กระทำ นอกจาก ด้วยหลักฐานเท่านั้น


والله أعلم

.............................................................................
http://www.islamtoday.net/pen/show_question_content.cfm


وقد سئل علماء اللجنة الدائمة للإفتاء : هل الدعاء بعد صلاة الفرض سنة ؟ وهل الدعاء مقرون برفع اليدين ؟ وهل ترفع مع الإمام أفضل أم لا ؟
บรรดาปราชญ์ คณะกรรมการถาวรเพือตอบปัญหาศาสนา ถูก ถามว่า “ ดุอาหลังละหมาดฟัรดู เป็นสุนนะฮหรือไม่ ? ดุอาพร้อมกับยกมือทั้งสองไหม? การยกมือพร้อมกับอิหม่าม มีความประเสริฐหรือไม่?
فأجابوا : "ليس الدعاء بعد الفرائض بسنة إذا كان ذلك برفع الأيدي ، سواء كان من الإمام وحده أو المأموم وحده أو منهما جميعا، بل ذلك بدعة؛ لأنه لم ينقل عن النبي صلى الله عليه وسلم ولاعن أصحابه رضي الله عنهم، أما الدعاء بدون ذلك فلا بأس به لورود بعض الأحاديث في ذلك" انتهى.
พวกเขาตอบว่า “ ดุอาอาหลังจากละหมาดฟัรดู ไม่มีสุนนะฮ เมื่อปรากฏว่า การกระดังกล่าวนั้น ด้วยการยกมือทั้งสอง ไม่ว่า อิหม่ามปฏิบัติคนเดียว หรือ มะมูมปฏิบัติคนเดียว หรือ ปฏิบัติร่วมกัน จากเขาทั้งสอง แต่ทว่า ดังกล่าวนั้นเป็นบิดอะฮ เพราะไม่มีรายงานจากนบี ศอ็ลฯ และ จากบรรดาสาวกของท่าน ,สำหรับ ดุอา โดยไม่ยกมือนั้น ไม่เป็นไร หากว่ามีรายงาน บางส่วนของบรรดาหะดิษ ในดังกล่าวนั้น
"فتاوى اللجنة الدائمة" (7/103) .

http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=121277

บางคนอ้างว่านบี ศอ็ลฯ ดุอายกมือหลังจากละหมาดฟัรดูโดยอ้างหะดิษต่อไปนี้คือ
ท่านอัลฏ็อบรอนีย์ ได้รายงานจาก มุฮัมมัด บิน อบี ยะห์ยา ซึ่งเขาได้กล่าวว่า
رأيت عبدالله بن الزبير ورأى رجلا رافعا يديه يدعو فبل أن يفرغ من صلاته ، فلما فرغ منها قال له : إن رسول الله لم يكن يرفع يديه حتى يفرغ من صلاته
"ฉันได้เห็นท่านอับดุลเลาะห์ บุตร ซุบัยร์ ท่านได้เห็นผู้ชายคนหนึ่งได้ยกสองมือวอนขอก่อนจากเสร็จละหมาด(ในละหมาด) ต่อมาในขณะที่เขาเสร็จละหมาด ท่านอับดุลเลาะห์ ได้กล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยยกสองมือวอนขอในละหมาดเลย จนกว่าท่านจะเสร็จละหมาด" ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์ กล่าวว่า นักรายงานของฮะดิษนี้ เชื่อถือได้ (ษิก็อต) หนังสือมัญมะอ์ชาวาเอ็ด 1/196
>>>>>>>>>>>>>>
ชี้แจง
มาดูสายรายงานหะดิษข้างต้น
حَدَّثَنَا سُلَيْمَانُ بْنُ الْحَسَنِ الْعَطَّارُ ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَبُو كَامِلٍ الْجَحْدَرِيُّ ، قَالَ : حَدَّثَنَا الْفُضَيْلُ بْنُ سُلَيْمَانَ ، قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي يَحْيَى ، قَالَ : رَأَيْتُ عَبْدَ اللَّهِ بْنَ الزُّبَيْرِ ، وَرَأَى رَجُلًا رَافِعًا يَدَيْهِ يَدْعُو قَبْلَ أَنْ يَفْرَغَ مِنْ صَلاتِهِ ، فَلَمَّا فَرَغَ مِنْهَا ، قَالَ : " إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَكُنْ يَرْفَعُ يَدَيْهِ ، حَتَّى يَفْرَغَ مِنْ صَلاتِهِ " .
ผู้รายงานคือ
1. سُلَيْمَانُ بْنُ الْحَسَنِ الْعَطَّارُ
2. أَبُو كَامِلٍ الْجَحْدَرِيُّ
3. الْفُضَيْلُ بْنُ سُلَيْمَانَ
4. مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي يَحْيَى
5. عبد الله بن الزبير
หะดิษข้างต้น สายรายงานเฎาะอีฟ ด้วยสาเหตุดังนี้
1. รายรายงานขาดตอน ระหว่าง มุหัมหมัด บิน อบียะหยา ซึ่ง เสียชีวิต ปีฮ.ศ 144 ในขณะที่ อับดุลลอฮ บิน อัซซุบัยรฺ เสียชีวิต ปี ฮ.ศ 72
เช็คบักรฺ อบู เซด (ร.ฮ) กล่าวว่า
في سنده انقطاع بين محمد بن أبي يحيى الأسلمي وبين عبد الله بن الزبير " انتهى .
ในสายรายงาน ของมัน ขาดตอน ระหว่าง มุหัมหมัด บิน อบี ยะหยา อัลอัสละมีย์ และระหว่าง อับดุลลอฮ บิน อัซซุบัยรฺ
" تصحيح الدعاء " (ص/440)
2. ผู้รายงานที่ชื่อ อัลฟุฎัยลฺ บิน สุลัยมาน นักวิชาการส่วนมากระบุว่า เขาหลักฐานอ่อน (เฎาะอีฟ) เช่น อิบนุ มุอีน,อับดุรเราะหมาน บิน มะฮดีย์ ,อันนะสาอีย์ และคนอื่นๆ ดูคำวิจารณ์ของพวกเข้าได้ใน อัตตะฮซีบุตตะฮซีบ 4/481
3. อัลหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า
صدوق له خطأ كثير"
เป็นมีสัจจะ เขามีความผิดพลาดมากมาย –ดู ตักรีบุตตะฮซีบ หะดิษหมายเลข 5462




ในเวลาที่คุณเชื่อมั่นว่า...



เมื่อคุณได้เผชิญกับความยากลำบากแล้ว คุณก็จะได้พบเจอกับความสุขสบายอย่างแน่นอน
เมื่อน้ำตาของคุณได้แห้งเหือดแล้ว รอยยิ้มของคุณก็จะเข้ามาแทนที่
เมื่อความเหนื่อยล้าของคุณได้หายไปแล้ว ความสุขสมในการพักผ่อนหย่อนใจก็จะเข้ามาแทนที่
เมื่อคุณได้ลาจากโลกดุนยานี้ไปแล้ว สวนสวรรค์จะเป็นที่รองรับสำหรับคุณ
ก็เพราะว่าคุณกำลังทำอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่อยู่ ที่เรียกว่า การคาดการณ์ที่ดีที่มาจากอัลลอฮฺซุบหานะฮุวะตะอาลา



.
ข้อความดี ๆ โดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول ( ص )
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

ความหมายของ .... ความดี


รุ่นพี่นักทำงานคนหนึ่งบอกว่า บางทีสังคมเราเกิดการแย่งชิงผลบุญเพื่อตัวเอง แต่ละเลยต่อคนรอบข้าง อย่างง่ายๆคือแย่งแถวหน้าเพื่อละหมาดจะได้บุญเยอะๆ แต่แทบไม่เคยช่วยเหลือคนยากจนอะไรเลย ... ไปจนถึงเรื่องการทำฮัจญซ้ำๆซากๆ เพื่อเอาบุญเยอะๆ แต่ไม่สนใจต่อการช่วยเหลือดูแลการสอนอัลกุรอานเด็กๆ ในหมู่บ้านเอาเลย ... แล้วเขาก็เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า .... ความเห็นแก่ตัวในการทำความดี
ไม่กี่วันก่อนผมดูคลิปที่มีการโต้แย้งกันในวงการของศาสนาของคนไม่ใช่มุสลิม มีคำวิจารณ์ของนักวิชาการท่านหนึ่ง ท่านมองว่า คนกำลังถูกชักจูงให้ทำบุญโดยความโลภ โลภต่อผลบุญที่จะได้รับ จนเบียดเบียนชีวิตอื่น ๆ ... เขาเรียกว่า อยากได้บุญแบบมีกิเลสอยู่
ทำให้ผมนึกถึงงานของเชค สัลมาน อัลเอาดะฮฺ ท่านพูดถึงคนหนุ่มสาวที่มุ่งจะทำความดีที่คนจ้องมอง หรือพูดง่ายๆคือ เลือกทำความดีที่ได้ดัง หรือ “ได้หรอย” ว่างั้นแหละ ... ท่านยกตัวอย่าง เด็กหนุ่มในประเทศท่าน ที่ออกไปทำญิฮาด แถมบางคนกลับมาโชว์แผลที่ได้จากสงครามอีก ... หลายคนจึงมองเห็นการทำดีต่อพ่อแม่ เป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป(เพราะไม่ดัง แถมเป็นความดีที่ดูเชยๆ ) ทั้งที่สมัยท่านนบีได้ให้เด็กหนุ่มบางคนยุติการออกไปร่วมสมรภูมิรบ โดยท่านนบีสั่งว่า ไปญิฮาด(ด้วยการทำความดี)ต่อพ่อแม่ของเจ้า !
ไม่ว่าการทำดีอย่างเห็นแก่ตัว หรือโลภในบุญ หรือเลือกทำดีที่ได้ดัง ... ล้วนแต่มีปัญหา เพราะเป็นการทำดีที่มองเห็นตัวเองเป็นเป้า มากกว่าจะมองเห็นผู้เป็นเจ้า ... เรื่องศาสนิกอื่น ผมไม่ได้แปลกใจ แต่การเป็นมุสลิม เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะการสอนเน้นเป้านั้นชัดเจนมาก คือ “เพื่ออัลลอฮฺ” เท่านั้น
สิ่งนี้สำคัญมาก จนกระทั่งอิม่ามอันนะวาวียฺ ได้วางหะดีษเรื่อง “เหนียต” คือการกระทำต่างๆ ขึ้นอยู่กับเจตนา ไว้เป็นหะดีษแรกในงานสิสีบหะดีษอันโด่งดังของท่าน
แต่นั่นแหละ มันไม่ได้ง่ายเลย ถึงจะเป็นผู้ที่เชื่อในอัลลอฮฺ และกำหนดอัลลอฮฺเป็นเป้าเสมอ เพราะอย่างไรมนุษย์ก็อยู่กับตัวเอง มองเห็นตัวเองได้มากกว่าคนอื่นหรือสิ่งอื่นเสมอ... จนกว่าชีวิตจะตระหนักได้ว่า ชีวิตคืออะไร? ชีวิตของใคร? ชีวิตใครสร้าง? ชีวิตนี้ต้องเดินไปสู่โลกที่เป็นแบบไหน? ชีวิตนี้ดำรงอยู่แบบไหน? ชีวิตนี้อยู่เพื่อสิ่งใดกันแน่?
คำถามพวกนี้ ผมบอกตรงๆ แบบวัยรุ่นว่า โคตรยาก ! เท่าที่เคยเจอมาในชีวิต เรื่องนี้ยากที่สุด ... เหมือนจะง่าย เพราะมีคำตอบจากที่ได้เรียนรู้อยู่แล้ว จึงสบายมาก ตอนที่พูด ตอนที่เขียน แต่เอาเข้าจริงมันยากมากที่จะเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดให้เป็นไปตามคำตอบพวกนี้
จนบางครั้งเคยคิดว่าชีวิตนี้จะทำให้มันนิ่งจริงๆ กับคำตอบพวกนี้ได้หรือป่าวก็ไม่รู้ ... แต่ก็ได้นึกถึงว่า ชาวสลัฟก็เคยโอดครวญอย่างนี้ ตั้งแต่ท่านสุฟยานอัษเษารียฺ มาจนถึงยุคหลังๆ อย่างท่านอิบนุ กอยยิม ต่างก็แสดงให้เห็นว่า ภาวะอารมณ์ที่ให้นิ่งกับเรื่องอัลลอฮฺนั้น มันยากกว่าทุกเรื่อง ... ท่านอิบนุ กอยยิมถึงกับบอกว่า เหมือนไปอยู่ในทะเลกว้างที่หาฝั่งไม่เจอ
การทำความดีด้วยความเห็นแก่ตัว ทำบุญด้วยความโลภ เอาความดีแต่เบียดเบียนคนอื่น ... ล้วนแต่การมองเห็นความดีที่มองไม่เห็นเป้าหมาย ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า การมองเห็นผลบุญของความดี และการมองเห็นการลงโทษในนรก จะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง มันต้องคิดถึงตัวเองด้วยแนวคิดเรื่องบาปเรื่องบุญอยู่แล้ว ... แต่ประเด็นคือ การมองเห็นแค่สิ่งเหล่านี้ โดยละเลยต่อเป้าหมายของชีวิตว่า ทำดีจริงๆ ไปเพื่อสถานะการเป็นบ่าวที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ ... อัลลอฮฺคือเป้าหมายที่แท้จริงของความดีต่างหาก
การมองที่ขาดเป้าที่ชัดเจน ทำให้เกิดการตีความความดีเข้าหา(ประโยชน์)ตัวเองอยู่างเดียว โดยมองไม่เห็นว่า ความดีมีการกระจายออกไปสู่คนอื่นๆ เป็นความสมดุลที่แสดงถึงความเผื่อแผ่ต่อชีวิตอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ... มันจึงกลายเป็นความดีทีเห็นแก่ตัวเอง หรือแค่โชว์ชีวิตตัวเองไป
ผมว่าไม่เป็นการเสียเวลาเลย ที่จะหาเวลาเงียบๆ ไปนั่งคิดให้มากๆว่า ... ชีวิตนี้ดำรงอยู่ เพื่ออะไรกัน? เพราะไม่เพียงแต่ทำให้เราตอกย้ำว่าชีวิตจริงๆแล้วคืออะไรกัน ? ดำรงอยู่เพื่ออะไร? มันยังช่วยให้เรามองเห็นความหมายที่แท้จริงของการทำความดีในชีวิตอีกด้วย


........
al akh