จันทร์เสี้ยว ฮิลาล |
ปรากฏการณ์ทัศนะต่างของมุสลิมบ้านเราของการเห็นจันทร์เสี้ยวมีผลต่อการกำหนดวันเข้าบวชออกบวช โดยเฉพาะทัศนะที่ว่าการเห็นเดือนนั้น จะใช้เฉพาะประเทศที่เห็นเท่านั้น (ยึดถือมัฏละอฺ) ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของประเทศอื่น อย่างผู้ที่อยู่ชายแดนไทยติดชายแดนประเทสมาเลเซีย หากประเทศมาเลเซียเห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำวันที่ 29 ของเดือนชะอฺบาน หรือค่ำวันที่ 29 ของเดือนรอมาฎอน แต่ประเทศไทยมองไม่เห็นเดือน ก็ต้องรอให้ครบ 30 วัน ซึ่งปรากฏให้เห็นกันก็คือ แต่ละประเทศต่างเข้าบวช-ออกบวชตามที่ประเทศของตนเห็นดวงจันทร์ อาจพร้อมกันหรือไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยวของแต่ละประเทศดังกล่าว ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่ประเทศมาเลเซียได้เข้าบวช-ออกบวชก่อนประเทศไทย อันเนื่องจาก ในประเทศไทยมองจันทร์เสี้ยวไม่เห็นต้องรอให้ครบ 30 วัน นั้นเอง
ทัศนะของนักวิชาการว่าด้วยเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยว(هلال ฮิลาล)
หลักฐานการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวเมืองอื่น นักปราชญ์ส่วนมากที่ดำเนินตามแบบอย่างของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม หรือที่เรียก "อะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัญยะมะฮฺ" จึงเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดในโลกมุสลิมเห็นเดือน ก็เป็นการเพียงพอแล้ว และใช้ได้สำหรับประเทศอื่นๆด้วย
ในจำนวนที่เห็นตามทัสนะเช่นนี้ คือ
1)ผู้ดำเนินรอยตามมัซอับอิมามอบูหะนีฟะฮ์
2)ผู้ดำเนินรอยตามมัซอับอิมามมาลิก
3)ผู้ดำเนินรอยตามมัซฮับอิมามอะฮฺมัด อิบนิ ฮัมบัล
สำหรับผู้ดำเนินรอยตามมัซฮับอิมามชาฟิอีย์ มีความเห็นในเรื่องนี้เป็น 3 ทัศนะด้วยกัน คือ
ทัศนะที่ 1 การเห็นเดือนนั้น จะใช้เเฉพาะประเทศที่เห็นเท่านั้น (เรียกว่ายึดถือมัฏละอฺ) หรือการขึ้นของเดือนในแต่ละประเทศแตกต่างกัน
ทัศนะที่ 2 การเห็นเดือนนั้นถือว่าเป็นการใช้ได้แก่ประเทศที่มองเห็นและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แม้จะห่างไกลกันก็ตาม
ทัศนะที่ 3 การเห็นเดือนนั้นจะใช้ได้กับประเทศที่เห็นและประเทศที่ใกล้เคียง หรือประเทศที่อยู่ใน"มัฏละอฺ"เดียวกัน
สรุป ทัศนะของมัซฮับอิมามชาฟีอีย์ดังกล่าว คือ ท่านอิมามนะวะวีย์(มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ฮ.ศ.631-676) ซึ่งเป็นนักปราชญ์อาวุโสแห่งมัซฮับชาฟิอีย์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นมัซอับเดียว แต่ก็มีหลายทัศนะ ซึ่งในจำนวน 3 ทัศนะดังกล่าว ก็มีทัศนะหนึ่งที่เห็นด้วยกับมติของนักปราชญ์ในมัซฮับอื่นๆ ทั่วโลก ก็จำเป็นจะต้องจะต้องปฏิบัติตามประเทศที่ได้เห็นแล้ว อันที่จริงทัศนะที่ทำให้นักปราชญ์ส่วนที่ดำเนิตามมัซฮับชาฟิอีย์ เห็นว่าต้องถือมัฏละอฺ เกิดจากความเข้าใจจากรายงานที่จะกล่าวต่อไป (หมายถึงหะดิษของกุร็อยบฺที่เดินทางไปเมืองชาม และนำข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวมาแจ้งให้ท่านอิบนุ อับบาสได้ทราบ)
การเห็นจันทร์เสี้ยว |
หลักฐานการเห็นจันทร์เสี้ยวเข้า-ออกบวช
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตาอาลา ทรงตรัสว่า
شَهرُ رَمَضانَ الَّذى أُنزِلَ فيهِ القُرءانُ هُدًى لِلنّاسِ وَبَيِّنٰتٍ مِنَ الهُدىٰ وَالفُرقانِ ۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهرَ فَليَصُمهُ ۖ وَمَن كانَ مَريضًا أَو عَلىٰ سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِن أَيّامٍ أُخَرَ ۗ يُريدُ اللَّهُ بِكُمُ اليُسرَ وَلا يُريدُ بِكُمُ العُسرَ وَلِتُكمِلُوا العِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلىٰ ما هَدىٰكُم وَلَعَلَّكُم تَشكُرونَ
" เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว(เห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำคืนแรก) ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ" (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2:185)
รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.78) เล่าว่า อะอฺรอบีย์ท่านหนึ่ง(อะอฺรอบีย์คือผู้ที่อาศัยอยู่ตามทะเลทราย) มาหาท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุวะอาลัยฮิวะซัลลัม พลางกล่าวว่า "แท้จริงฉันเห็นจันทร์เสี้ยว (ท่านหะสันรายงานว่า เป็นจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมาฎอน) ดังงั้นท่านรสูลจึงกล่าวถามว่า ท่านปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพภักดีนอกจากพระองค์อัลลอฮฺเพียงองค์เดียวได้หรือไม่? เขาตอบว่า ได้ ท่านรสูลจึงตอบว่า ท่านจะปฏิญาณตนว่าท่านนบีมูฮัมหฺมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺได้หรือไม่ เขาตอบว่า ได้ ท่านรสูลจึงกล่าวขึ้นว่า โอ้บิลาล ท่านจงป่าวประกาศยังผู้คนทั้งหลายว่า พวกท่านจงถือศิลอดในวันพรุ่งนี้เถิด" (บันทึกหะดิษโดย อบู ดาวูด หะดิษเลขที่ 2340 , ติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 691 , นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 2112...)
จาหหะดิษ
-ท่านรสูลรับเดือนของอฺรับที่อาศัยอยู่ตามทะเลทรายท่านหนึ่ง ซึ่งเข้าใจได้ทันทีว่าเขามิใช่ชาวเมืองมะดีนะฮฺ หรือมิได้พำนักอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺ เห็นได้ว่าการรับข่าวการเห็นเดือนของท่านรสูลมิได้เจาะจงว่าต้องรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวเฉพาะชาวเมืองมะดีนะฮฺเท่านั้น หากเป็นชาวเมืองอื่นจะไม่รับเด็ดขาด อักทั้งแสดงให้เห็นว่าบุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าเขาจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด หรือมีเชื่อชาติใด หากเขาปฏิญาณตนว่าเขาเห็นจันทร์เสี้ยว เช่นนี้ถือว่าจะต้องรับการเห็นจันทร์เสี้ยวของบุคคลนั้น
-ท่านรสูลมิได้พิจารณาว่าอฺรับที่อาศัยอยู่ที่ทะเลทรายท่านนั้น จะเห็นจันทร์เสี้ยวที่ดินแดนไหนหรือเมืองใด แต่สิ่งที่ท่านรสูลต้องการคือให้เขากล่าวคำปฏิญาณเพื่อพิสูจน์ว่าเขาพูดความจริงเกี่ยวกับการเห็นจันทร์เสี้ยว
-การเป็นพยานเพื่อแจ้งการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนเข้าเดือนเราะมะฎอน อนุญาตให้แจ้งข่าวเพียงคนเดียวได้ ส่วนการแจ้งข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนจะออกเดือนเราะมาฎอน ต้องมีพยานตั้งแต่สองคนขึ้นไป
การดูจันทร์เสี้ยวเข้าออกบวช |
หลักฐานการเห็นจันทร์เสี้ยวตอนเข้ารอมาฎอนเห็นเพียงสองคน
รายงานจากท่านอับดุรฺเราะหฺมาน(เป็นศอหะบะฮฺ พำนักที่เมืองมะดีนะฮฺ) เล่าว่า เศาะหะบะฮฺของท่านรสูลเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า "พวกท่านจงถือศิลอดด้วยการเห็นดวงจันทร์เสี้ยว และจงเลิกถือศิลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว และพวกท่านจงประกอบอิบาดะฮฺ(หรือประกอบพิธีหัจญ์) เนื่องจากเห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้น หากมีเมฆหมอกมาบดบังเหนือพวกท่าน พวกท่านจงนับให้ครบ 30 วัน และหากมีผู้ทรงคุณธรรม 2 คน มาเป็นพยาน (ว่าเห็นจันทร์เสี้ยว) พวกท่านจงถือสิลอด และพวกท่านจงเลิกถือศิลอด" (บันทึกหะดิษโดย นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 2116 และอัดดารุกฏนีย์ หะดิษเลขที่ 3)
ดูเดือน |
หลักฐานการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้้ยวจากเมืองอื่น (หรือประเทศอื่น)
จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของมาลิก(เป็นตาบิอีน พำนักที่เมืองอัลบัศเราะฮฺ) เล่าว่า "เหล่าญาติพี่น้องฝ่ายพ่อของฉันซึ่งเป็นเศาะหะบะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺ พวกเขาเล่าให้ฉันฟังว่า "จันทร์เสี้ยวเดือนเชาวาลถุกบดบังยังพวกเรา (หมายถึงค่ำ 29 เดือนรอมาฎอน ไม่เห็นจันทร์เสี้ยว เพราะมีเมฆหมอกมาบดบัง จึงนับเดือนรอมาฎอนเป็น 30 วัน) ดังนั้น ในตอนเช้าพวกเราจึงถือศิลอด ต่อมามีกองคาราวานที่เดินทางโดยพาหนะเข้ามา (ยังเมืองของเรา) ในช่วงเวลาเย็น จากนั้นพวกเขามายืนยันต่อท่านรสูลุลลอฮฺว่า พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวเมื่อคืน (คืนค่ำวันที่ 29) เมื่อทราบเช่นนั้นท่านรสูลจึงใช้ให้พวกเขา(เหล่าบรรดาเศาะหะบะฮฺ)ละศิลอดและใช้ให้พวกเขาออกไปละหมาดอีดในวันพรุ่งนี้" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ มาญะฮฺ หะดิาเลขที่ 1653 , อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 20061...)
จากหะดิษ
-ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับการเห็นจันทร์เสี้ยวของเมืองอื่น จากกองคาราวานที่เดินทางโดยขี่อูฐหรือม้าเป็นพาหนะ นำข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวมาบอก ซึ่งพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนที่ 29 เดือนรอมาฎอน นอกนครมะดีนะฮฺ ขณะที่ในเมืองมะดีนะฮฺไม่เห็นจันทร์เสี้ยว
-การกล่าวว่ากองคาราวานเห็นจันทร์เสี้ยวนอกเมืองมะดีนะฮฺ เนื่องจากพวกเขาเดินทางโดยพาหนะ ซึ่งประมาณระยะทางที่พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวคือช่วงเวลามัฆริบ และมุ่งหน้ามาถึงเมืองมะดีนะฮฺในช่วงเย็นใกล้ค่ำ ฉะนั้นจึงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เช่นนั้นย่อมชี้ให้เห็นว่าพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวนอกเมืองมะดีนะฮฺ ก้เพราะที่เมืองมะดีนะฮิไม่มีการเห็นจันทร์เสี้ยว ฉะนั้นการที่ท่านรสูลยอมรับการเห็นจันทร์เสี้ยวของกลุ่มชนกองคาราวานย่อมชี้ชัดถึงการปฏิเสธในเรื่องการรับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยวโดยพิจารณาถึง"มัฏละอฺ" เพราะท่านรสูลมิได้ถามพวกเขาถึงสถานที่เห็นหรือแว่นแคว้นที่เห็นว่าใกล้กับเมืองมะดีนะฮฺมากน้อยเพียงใด
-ท่านรสูลยอมรับการเห็นของพวกเขาโดยดุษฎี โดยมิได้ถามว่า พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวที่ไหน? หรืสถานที่เห้นนั้นห่างจากเมืองมะดีนะฮฺกีกิโลเมตร ? หรือสถานที่ที่เห็นอยู่ห่างจากมาดีนะฮฺเป็นระยะทางที่ศาสนาอนุญาตให้ย่อและรวมละหมาดได้หรือไม? การที่ท่านรสูลไม่ถามเช่นนั้นก็เพราะยึดตามหลักเดิมคือ "พวกท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว" หะดิษข้างต้นกล่าวครอบคลุมสำหรับมุสลิมทั้งมวล ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม หากมีการการเห็นจันทร์เสี้ยวถือว่าส่งผลยังบรรดามุสลิมทั้งมวลด้วยเช่นกัน
ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า
عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا
“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง” บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า "เมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวพวกท่านจงถือศิลอด และเมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้น พวกท่านจงเลิกถือศิลอด และพวกท่านจงถือศิลอดจากความชัดเจนหนึ่งไปสู่อีกความชัดเจนหนึ่ง (คือ ชัดเจนในการเห็นจันทร์เสี้ยว)"
-ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า "หะดิษข้างต้นถือว่าการให้แก่มุสลิมทั้งมวล (ญะมาอะฮฺ) แต่ทว่า บุคคลหนึ่งหากอยู่ในสถานที่หนึ่งเพียงลำพังเช่นนั้นแล้ว เมื่อเขาเห็นจันทร์เสี้ยวก็ให้เขาถือศิลอดเพียงลำพัง เพราะที่นั้นไม่มีใครนอกจากเขาคนเดียว" (หนังสือ มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา อิบนุ ตัยมียะฮฺ เล่มที่ 25 หน้า 117)
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ ได้อธิบายหะดิษข้างต้นว่า การเห็นจันทร์เสี้ยวมิได้เจาะจง แต่เป็นการกล่าวครอบคลุมสำหรับมุสลิมทุกคน ดังนั้นหากมุสลิมคนใดเห็นจันทร์เสี้ยวก็นำข่าวการเห็นนั้นมาแจ้ง จากนั้นมุสลิมคนอื่นก็ปฏิบัติตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของเขา ยกเว้นกรณีเดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องแจ้งข่าวารเห็นจันทร์เสี้ยว คือกรณีที่บุคคลหนึ่งอาศัยอยู่ดินแดนนั้นเพียงลำพัง
ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ
“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810
นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า "วันอีดฟิฏริ คือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดฟิฏริ และวันอีดอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดอัฎฮา" (บันทึกโโยติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 802...)หะดิษข้างต้นบ่งบอกถึงการออกอีดพร้อมกันทั้งหมด เนื่องจากเมื่อบุคคลใดก้ตามเห็นจันทร์เสี้ยว ไม่ว่าอยู่ไกลหรอใกล้ก็ตาม ถือว่าการเห็นของเขามีผลบังคับต่อประชาชาติมุสลิมทั้งมวล เมื่อได้รับข่าวการเห็นจันทร์ของพวกเขา
ก็เหมือนเช่นหะดิษอื่นๆ ที่ท่านนบีกล่าวว่าพวกท่านทั้งหลาย ซึ่งหมายรวมถึงมุสลิมทุกคน เช่น ที่ท่านนบีกล่าวว่า "พวกท่านจงละหมาดเสมือนที่พวกท่านทั้งหลายเห็นฉันละหมาด"
หรือ "พวกท่านทั้งหลายจงขลิบหนวด และพวกเจ้าทั้งหลายจงไว้เครา"(บันทึกโดยติรฺมีซียื หะดิษเลขที่ 2913) เป็นต้น ซึ่งหมายความรวมมุสลิมที่อยู่ในเมืองอื่นด้วยไม่ใช่เฉพาะบรรดามุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺเท่านั้น
เมื่อรอมาฎอนมาเยือน |
หะดิษของกุร็อย
عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الفَضْلِ بِنْتَ الحَارِثِ بَعَثَتْهُ اِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَامِ قَالَ فَقَدِمْتُ الشَامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَليَّ رَمَضَانُ وَأنَا بِالشَامِ فَرَأيْتُ الهِلاَلَ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ المَدِيْنَةَ فِي آخِرِ الشَهْرِ فَسَألَنِي عَبْدُ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الهِلاَلَ فَقَالَ مَتَى رَأيْتُمُ الهِلاَلَ فَقُلْتُ رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ فَقَالَ أنْتَ رَأيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لكِنَّا رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ السَبْتِ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَلاَ تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ لاَ هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
รายงานจากกุรอยบ์ว่า อุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม เขากล่าวว่า ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้ว ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวัศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉันแล้วก็คุนกันเรื่องเดือนเสี้ยว เขาถามว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวกันเมื่อไหร่ ฉันตอบว่า พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์ เขาถามต่อว่า ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ฉันตอบว่า ใช่ครับ และคนอื่นๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ก็ถือศีลอด เขากล่าวว่า แต่พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน ฉันถามว่า การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ เขาตอบว่า ไม่ อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา”
บันทึกฮะดีษ
( สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 629 สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2084 สุนันอบีดาวู๊ด ฮะดีษเลขที่ 1985 )
แต่สำนวนรายงานที่นำเสนอนี้จากบันทึก “ศอเฮียะฮ์มุสลิม” ของท่านอิหม่ามมุสลิม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด ฮะดีษเลขที่ 1819
ผู้รายงานฮะดีษ
ฮะดีษบทนนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านรอซูลได้เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการสนทนาระหว่างศอฮาะห์กับตาบีอีน คือท่านอิบนุอับอับาส ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านเป็นปราชญ์ในหมู่ศอฮาบะห์ ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ กุรอยบ์ มีชื่อเต็มว่า กุรอยบ์ อิบนุ อบีมุสลิม อัลฮาซิมีย์ มีสร้อยว่า อบูรุชดีน เป็นตาบีอีนรุ่นกลาง มีถิ่นฐานอยู่ที่มะดีนะห์ และเสียชีวิตที่มะดีนะห์ ในปีที่ 98 ฮิจเราะห์ศักราช
ประเภทฮะดีษ
เหตุการณ์และตำพูดที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้ประกอบด้วย
1 – คำพูดของกุรอยบ์ ที่อ้างการกระทำของศอฮาบะห์ชื่อ มุอาวิยะห์ อิบนิอบีซุฟยาน และชาวแค้วนชาม
2 – คำพูดของกุรอยบ์ในกานสนทนากับศอฮาบะห์คือท่านอิบนุอับบาส
3 – คำพูดของท่านอิบนุอับบาสในการสนทนาซักถาม และตอบคำถามแก่กุรอยบ์
4 – คำพูดของอิบนิอับบาสที่อ้างถึงคำสอนของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม
สิ่งที่เป็นมาตรฐานอันดับแรกจากทั้ง 4 ประการนี้ก็คือข้อที่ 4 คือการที่ท่านอิบนิอับบาสอ้างคำพูดของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม ที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงจัดอยู่ในประเภท ฮะดีษมัรฟัวฮ์ หมายถึงการที่ศอฮาบะห์อ้างการรายงานถึงท่านนบี ด้วยเหตุนี้คำของท่านอิบนิอับบาสจึงไม่ใช่ประเด็นการวินิจฉัย “อิจติฮาต” ของท่านเองอย่างที่บางคนเข้าใจ
ประเด็นวิเคราะห์
ก่อนที่จะเริ่มบทวิเคราะห์ ขอตั้งข้อสักเกตเล็กน้อยว่า เหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้มีมุมมองหลายกรณีด้วยกันคือ
- แค้วนชามตามที่ถูกกล่าวในฮะดีษนี้บางท่านกล่าวว่า คือประเทศซีเรียในปัจจุบัน แต่ความจริงแล้ว ชาม เป็นแคว้นในอดีตที่มีอณาเขตกว้างใหญ่มาก ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ของประเทศซีเรียเท่านั้น แต่ยังรวมถึง อิรัค จอร์แดน เลบานอนในปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นการที่ให้ความหมาย “ชาม” ว่าประเทศซีเรียนั้นจึงยังไม่ถูกต้องนัก
- กุรอยบ์ได้ออกเดินทางจากมดีนะห์ไปที่ชามก่อนที่จะเข้าสู่เดือนรอมฏอน และได้ไปเริ่มต้นถือศีล อดที่นั่น
- การสื่อสารและการส่งข่าวในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกว่าที่ชาวมะดีนะห์จะรู้ข่าวเรื่องการเข้าเดือนรอมฏอน ก็ล่วงเลยมาจนถึงปลายเดือน ขณะที่กุรอยบ์เดินทางกลับมาจากชามแล้ว
- กุรอยบ์ได้กลับมาที่นครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการดูเดือน และชาวมะดีนะห์ก็ยังถือศึลอดไม่ครบ 30 วันตามคำของอิบนุอับบาสที่ว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”
ปัญหามีอยู่ว่า การที่กุรอยบ์กลับมาถึงมะดีนะห์ในตอนปลายเดือนนั้น จะใช้เงื่อนไขใด ในการชวนท่านอิบนิอับบาสออกบวช เพระชาวมะดีนะห์ก็ยังไม่มีการดูเดือน อีกทั้งยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”
หรือว่าการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอนเพียงอย่างเดียวเพียงพอแล้วสำหรับการออกบวช โดยไม่ต้องดูจันทร์เสี้ยวตอนปลายเดือนและก็ยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่กุรอยบ์ได้กล่าวว่า “การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ” ซึ่งหมายถึงการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอน จะใช้กำหนดการออกบวชได้เลยอย่างนั้นหรือ
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นประเด็นของการตั้งข้อสังเกตเท่านั้น มิใช่ประเด็นวิเคราะห์ที่เราจะนำมาเป็นผลเลิศในการตัดสินข้อขัดแย้ง เพราะเนื่องจากคำพูดของอิบนุอับบาสที่อ้างคำสอนของท่านนบีที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ยังคงปรากฏอยู่ และถ้าหากเราไม่ใส่ใจคำของท่านนบีแต่ไปเอาคำของคนอื่นหรือเหตุการณ์อื่นมาเป็นผลเลิศละก็ แสดงว่าเรากำลังหลงประเด็นและกำลังเสียจุดยืนในการตออะฮ์ต่อท่านรอซูลอย่างแน่นอน
ฉะนั้นประเด็นที่เราต้องทำความเข้าใจจากฮะดีษบทนี้ก็คือคำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” แม้ว่าจะเป็นคำของท่านอิบนิอับบาส แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างถึงคำสอนของท่านนบี ที่ท่านได้เคยสอนแก่ศอฮาบะห์ไว้แล้ว ปัญหามีอยู่ว่า อย่างนี้แหละ ที่ท่านอิบนิอับบาสพูดถึง คืออย่างไหนกันแน่ เราลองมาพิจารณากันทีละข้อดังนี้
1 – ถ้า อย่างนี้แหละ หมายถึงประเทศใครประเทศมันตามที่มีบางท่านกล่าวอ้าง เราก็ต้องกลับไปดูว่า เคยมีคำสอนจากท่านรอซูลหรือไม่ ที่จริงแล้วประเด็นนี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะในขณะที่ท่านนบีประกาศอิสลามนั้นยังไม่มีขอบเขตของประเทศตามที่ปรากฏในแผนที่ขณะนี้ หรือการกล่าวว่า ชามก็คือประเทศซีเรียในปัจุบันก็เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ฉะนั้นการอ้างว่าท่านรอซูลเคยใช้เฉพาะประเทศใครประเทศมันนั้น เป็นการกุเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย และ เราก็คงตัดประเด็นนี้ออกไป
2 – ถ้าอย่างนี้แหละหมายถึงเมืองใครเมืองมันตามที่ท่านรอซูลเคยใช้ เราก็กลับไปตรวจสอบจากคำสอนของท่านรอซูลอีกเช่นกันว่า มีไหมที่ท่านรอซูลเคยใช้ไว้เช่นนี้ ก็ปรากฏว่าหาตัวบทหลักฐานมาสนับสนุนในทัศนะนี้ไม่ได้ ประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปเช่นเดียวกัน
3 – ถ้าอย่างนี้แหละที่หมายถึงมัฏละอ์ คือระยะที่ขึ้นของเดือน ก็ยิ่งไม่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูล ฉะนั้นประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปด้วยเช่นกัน
4 – หรือ อย่างนี้แหละ ที่หมายถึง เอาเฉพาะที่ใกล้ๆ เคียงกัน ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า คำว่าใกล้ หรือไกล นั้นผู้ใดจะเป็นผู้กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่พบในคำสอนของท่านรอซูลด้วยเช่นกัน จึงต้องตัดประเด็นนี้ออกไปด้วย
5 – หรือ อย่างนี้แหละ หมายถึงการให้เอาระยะทางละหมาดย่อเป็นเกณฑ์ ก็ยิ่งเป็นการเอาฮุก่มคนละเรื่องมาโยงกัน ซึ่งในทางปฏิบัติก็ยิ่งจะเกิดความโกลาหลอย่างแน่นอน และในบ้านเมืองของเราคงต้องเกิดฮุก่มใหม่กลายเป็นเมืองใครเมืองมัน จังหวัดใครจังหวัด ซึ่งไม่ปรากฏว่าท่านรอซูลได้เคยสอนเรื่องนี้มาก่อน
ถ้าเช่นนั้น คำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” คือประเด็นไหนกันแน่
หากเราได้ย้อนกลับไปทบทวนข้อความของอิบนุอับบาสที่ได้กล่าวไว้ก่อนที่ท่านจะพูดประโยคนี้เพียงเล็กน้อย เราจะพบคำของท่านดังต่อไปนี้คือ “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน” อย่างนี้ท่านรอซูลเคยใช้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้สำรวจดูแล้วก็ปรากฏว่าท่านรอซูลเคยสั่งใช้ในประเด็นนี้จริงๆ ซึ่งมีรายงานอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น
ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ
“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810
นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ
หรือหากจะมองประเด็นที่เกี่ยวข้องจากเหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในเนื้อหาของฮะดีษ นั่นคือการเป็นพยาน เพราะกุรอยบ์เพียงผู้เดียวที่กลับมารายงานเรื่องการเห็นเดือนตอนเข้ารอมฏอนที่ชามแก่อิบนิอับบาส แต่ที่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูลนั้น การแจ้งข่าวเรื่องการเห็นเดือนเพื่อออกจากรอมฏอน จะต้องมีพยานยืนยันจำนวน 2 คน เป็นอย่างน้อย
ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า
عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا
“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง” บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991
และนี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท่านรอซูลเคยใช้ ซึ่งเป็นอีกประการหนึ่งของการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และไม่ได้ออกนอกกรอบจากเนื้อหาของฮะดีษเลย
สรุปว่า คำของอิบนิอับบาสที่กล่าวว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ได้ชี้ให้เห็นถึงคำสอนของท่านรอซูลสองประการด้วยกันคือ
1 – การเข้าและออกจากเดือนรอมฏอนโดยการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น และหากไม่มีผู้ใดเห็นก็ให้นับเดือนรอมฏอนให้ครบ 30 วัน
2 – หากมีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายืนยันเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น ก็ให้มุสลิมถือปฏิบัติตามการยืนยันนั้น
ทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งที่ท่านรอซูลได้เคยใช้เหล่าศอฮาบะห์จริงๆ ตามตัวบทที่ได้แสดงแล้วข้างต้น แต่ไม่ทราบว่าเพระเหตุใดจึงมีผู้นำเอาฮะดีษบทนี้ไปชี้ประเด็นอื่นๆที่หาหลักฐานมาอธิบายไม่ได้ อย่างนี้มิเท่ากับเป็นการบิดเบือนเป้าหมายคำของท่านอิบนิอับบาสตามที่ปรากฏในฮะดีษกุรอยบ์นี้หรอกหรือ วัลลอฮุอะอ์ลัม
ฉะนั้นประเด็นการยึดมัฏละอฺ (แหล่งหรือมุมจัทร์เสี้ยวปรากฎ) ในการกำหนดการรับข่าวการเห้นจันทร์จึงเป็นเพียงทัศนะเท่านั้น โดยไม่พบตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดิษเป็นหลักฐานรองรับ อักทั้งอิบนุ อับบาสปฏิเสธการเห็นจันทร์เสี้ยวที่เมืองชามมิใช่เพราะสาเหตุของการต่างมัฏละอฺ หรือการต่างเมือง แต่ปฏิเสธก้ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านรสูลได้สั่งให้ปฏิบัติ
والسلام
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น