เมื่อจะละศิลอด |
ให้รีบเร่งในการละศิลอด
เมื่อเข้าเวลามัฆริบเเล้ว สุนัตให้รีบเร่งละศีลอด ด้วยการปฎิบัติเช่นนี้ ผู้ที่รีบเร่งละศีลอด จะได้ผลบุญมากกว่าผู้ที่ล่าช้าในการละศีลอด เมื่อถึงเวลาละศิลอดแล้ว
รายงานจากซะห์ละฮ์ บินซะอ์ดุ ว่าเเท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" มนุษย์นั้นจะคงดำรงอยู่บนความดีตราบเท่าที่พวกเขารีบเร่งในการละศีลอด"(บันทึกโดยบุคอรีเเละมุสลิม)
ร่วมละศิลอด |
ให้ละศิลอดก่อนทำละหมาดมัฆริบและไม่เร่งรีบ
การถือศีลอดก่อนทำละหมาดมัฆริบในการละศีลอดนั้นจะต้องไม่รีบเร่ง เเต่ทว่าให้รับประทานอาหารอย่างสุภาพในช่วงเวลาที่สมควร ไม่ใช่จนหมดเวลาละหมาดมัฆริบสำหรับผู้ที่ถือศีลอดเเล้ว เขาควรรับประทานอาหารละศีลอดที่ได้ถูกนำไปวางเตรียมเอาก่อนทำละหมาดมัฆริบ
รายงานจากอานัสว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" เมื่ออาหารค่ำได้ถูกนำมาวางไว้ข้างหน้าให้สูเจ้ารับประทานอาหารค่ำก่อนทำละหมาดมัฆริบเเละจงอย่าเร่งรีบในขณะที่รับประทานอาหาร”(บันทึกโดยบุคอรีเเละมุสลิม)
ขณะที่จะละศิลอด ให้ขอดุอาอ์มากๆ
ผู้ที่ละศีลอดนั้นเขาได้รับคำสัญญาจากอัลลอฮฺว่า ดุอาของเขานั้นย่อมจะถูกตอบรับอย่างเเน่นอน กล่าวคืออัลลอฮฺจะไม่ทรงเพิกเฉยต่อการขอของคนที่ละศีลอดนั้นๆ ดังนั้นช่วงเวลาในขณะที่จะละศีลอด คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่พวกเราสมควรต้องขอดุอาให้มากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งดุอาขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ
ท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า
ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ الْإِمَامُ الْعَادِلُ وَالصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ
“สามคนด้วยกัน ที่การขอดุอาอฺของพวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ อิหม่ามที่ยุติธรรม คนถือศีลอดจนกว่าจะละศีลอด และการขอดุอาอฺ ของคนที่ถูกข่มเหง” (บันทึกโดยอะหฺมัด :7983)
รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรุ บินอัลอาซว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“แท้จริงการขอดุอาของผู้ที่ถือศีลอดในขณะที่ละศีลอดนั้นจะไม่ถูกปฎิเสธ” ดังนั้นเมื่อบ่าวของอัลเลาะห์คนหนึ่งนั้นจะละศีลอด เขาจงกล่าวเถิดว่า:โอ้อัลลอฮฺ! ฉันขอวิงวอนขอเราะห์มัตจากพระองค์ที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ขอได้โปรดประทานอภัยโทษเเก่ฉันด้วยเถิด" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุมาญะห์)
...ดุอาอ์ละศิลอด...
ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ
คำอ่าน "ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"
ความหมาย "ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ" (บันทึกหะดิษโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2359)
ละศิลอดกับอินทผลัม |
ให้ละศิลอดกับอินทผลัมหรือน้ำเป็นอันดับแรก
อาหารที่ดีที่สุดในการละศีลอดคือผลอินผลัม ถ้าหากว่าไม่มีผลอินทผลัม ก็ให้เขาละศีลอดด้วยน้ำสะอาด ทั้งนี้เนื่องจากว่า น้ำสะอาดนั้นคือยาสำหรับผู้ที่ถือศีลอด นอกจากนี้ผู้ที่ละศีลอดด้วยกับอินทผลัมหรือน้ำยังจะได้รับผลบุญเนื่องจากปฎิบัติตามซุนนะฮฺของท่านรสูลอีกด้วย
รายงานจากสุลัยมาน บินอามีรอัดดอบี อัซซอฮาบี ว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِذَا أَفْطَرَ َأَحَدُكُمْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ تَمْرٍ فَإِنْ لَمْ يَجِدْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ مَاءٍ فَإِنَّهُ طَهُوْرٌ
“เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ละศีลอด ให้เขาจงละศีลอดด้วยอินทผลัม ถ้าหากไม่มีให้เขาละศีลอดด้วยน้ำ เพราะมันสระอาด” (เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺ หะดิษเลขที่36 อาบูดาวุดเเละติรมีซี )
สำคัญผิดว่าถึงเวลาละศิลอด |
กรณีละศิลอดก่อนเข้าเวลามัฆริบเพราะความสำคัญผิด
กรณีผู้ถือศิอดเข้าใจว่าเข้าเวลาละหมาดมัฆริบแล้ว อันเนื่องจากท้องฟ้าอาจมืดมน หรือมีฝนตกจนกระทั่งช่วงเวลากลางวันนั้นมืดมิด เเละความมืดที่ยาวนาน ไม่มีนาฬิกา หรือเครื่องวัดเวลาอื่นๆ จนไม่อาจรู้เวลาได้อย่างเเน่นอน จึงได้ละศิลอด แต่หลังจากที่ได้ละศีลอด ปรากฎว่าฝนได้หยุดตกเเละท้องฟ้าก็เเจ่มใส ดวงอาทิตย์ก็ปรากฎออกมาดังเดิม จึงทราบว่ายังไม่เข้าเวลามัฆริบ ในเหตุการณ์เช่นนี้ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม ไม่ได้กล่าวว่า การถือศีลอดเป็นโมฆะ ดังนั้นการถือศีลอดจึงถือว่าใช้ได้
รายงานจากอัซมาอ์ บินตี้ อาบูบักร ว่า
" วันหนึ่งฉันได้ละศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยที่วันๆนั้น มีเมฆหมอกปกคลุมในสมัยที่ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัม ยังมีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นดวงอาทิตย์ก็โผล่ออกมา”(บันทึกหะดิษโดย บุคอรี)والله أعلم
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น